SlideShare a Scribd company logo
1 of 51
Download to read offline
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ (ง31244) เรื่องการ
สร้างเอกสารจาก Microsoft office word 2010 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
ชิโนรสวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทาวิจัย
ดังนี้
1. การศึกษา
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. Microsoft Office
5. สื่อการเรียนการสอน
6. หลักและทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์
7. คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
8. แผนการจัดการเรียนรู้
9. ความพึงพอใจ
1. การศึกษา
การศึกษา หรือ “Education” ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Educare
แปลว่า บารุง เลี้ยง อบรม รักษา ทาให้งอกงาม หรืออีกนัยหนึ่ง Educare หมายถึง การอบรมเด็กทั้ง
ทางกาย และทางสมอง ส่วนคาว่า “การศึกษา” ในภาษาไทยนั้น เป็นคามาจากภาษาสันสกฤต ตรง
กับภาษาบาลีว่า สิกขา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า การเล่า
เรียน ฝึกฝน และอบรม
1.1 ความหมายของการศึกษาตามทัศนะของชาวต่างประเทศ
อริสโตเติล (Aristotle ก่อน ค.ศ.384-322) ชาวกรีก กล่าวว่า การศึกษา หมายถึง การอบรม
คนให้เป็นพลเมืองดี และดาเนินชีวิตด้วยการทาดี
จอห์น ล๊อค (John Locke ค.ศ.1632-1704) ชาวอังกฤษ กล่าวว่า การศึกษา คือ
องค์ประกอบของพลศึกษา จริยศึกษา และพุทธิศึกษา
ยอง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau ค.ศ. 1712-1778) กล่าวว่า การศึกษา คือ การนา
ความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับ ธรรมชาติ
ของบุคคล
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey ค.ศ.1857-1952) ชาวอเมริกัน กล่าวว่า การศึกษา คือชีวิต
(Education is life) ไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตในภายหน้า การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
(Education is growth) ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
ทัลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parson) นักสังคมวิทยา กล่าวว่า การศึกษาคือ เครื่องมือเตรียม
เด็กและเยาวชนให้มีบทบาทในวงการอาชีพต่าง ๆ ของผู้ใหญ่
1.2 ความหมายของการศึกษาตามทัศนะของนักการศึกษาไทย
สาโรช บัวศรี ให้ความหมายว่า การศึกษา คือ การพัฒนาขันธ์ 5 โดยใช้มรรค 8 เพื่อให้
อกุศลมูล คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ลดน้อยลง หรือเบาบางลงมากที่สุด
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย
- รูป คือ ร่างกาย (Physical Structure)
- เวทนา คือ ความรู้สึก (Feeling หรือ Sensation)
- สัญญา คือ ความทรงจา (Memory หรือ Perception)
- สังขาร คือ เครื่องปรุงแต่ง (Aggregatet) เช่น ทัศนคติ ความสนใจ
ความสามารถ และทักษะ เป็นต้น
- วิญญาณ คือ การเกิดความรู้ (Consciousness)
วิจิตร ศรีสะอ้าน กล่าวว่า การศึกษา เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลให้
เป็นไปในแนวทางที่พึงปรารถนา การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นไปอย่างจงใจ มีการกาหนด
จุดมุ่งหมายและดาเนินการอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการเหมาะสมและผ่านสถาบันทางสังคม ที่
ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่ด้านการศึกษา
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Achievement)
2.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Achievement) เป็นผลที่เกิดจากปัจจัยต่างๆในการ
จัดการศึกษา นักศึกษาได้ให้ความสาคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนเป็นดัชนีประการหนึ่งที่สามารถบอกถึงคุณภาพการศึกษา ดังที่ อนาตาซี (1970 : 107 อ้าง
ถึงใน ปริยทิพย์บุญคง, 2546 : 7) กล่าวไว้พอสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์กับ
องค์ประกอบด้านสติปัญญาและองค์ประกอบด้านที่ไม่ใช้สติปัญญาได้แก่ องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ
สังคม แรงจูงใจ และองค์ประกอบที่ไม่ใช้สติปัญญาด้านอื่น
ไอแซงค์อาโนลด์ และไมลี (อ้างถึงใน ปริยทิพย์ บุญคง, 2546 : 7) ให้ความหมายของ
คาว่า ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ขนาดของความสาเร็จที่ได้จากการทางานที่ต้องอาศัยความพยายาม
อย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทาที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถทั้งทางร่างกายและทางสติปัญญา
ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนจึงเป็ นขนาดของความสาเร็จที่ได้จากการเรียนโดยอาศัย
ความสามารถเฉพาะตัวบุคคล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอาจได้จากกระบวนการที่ไม่ต้องอาศัย
การทดสอบ เชนการสังเกต หรือการตรวจการบ้าน หรืออาจได้ในรูปของเกรดจากโรงเรียน ซึ่งต้อง
อาศัยกระบวนการที่ซับซ้อนและระยะเวลานานพอสมควรหรืออาจได้จากการวัดแบบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับ ไพศาล หวังพานิช (2536 : 89) ที่ให้ความหมายผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนว่า หมายถึง คุณลักษณะและความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการเรียนการสอนเป็น
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมหรือการสอบ จึงเป็น
การตรวจสอบระดับความสามารถของบุคคลว่าเรียนแล้วมีความรู้เท่าใด สามารถวัดได้โดยการใช้
แบบทดสอบต่าง ๆเช่นใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ข้อสอบวัดภาคปฏิบัติ สามารถวัดได้2 รูปแบบ ดังนี้
1. การวัดด้านปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบระดับความสามารถในการปฏิบัติโดย
ทักษะของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถดังกล่าว ในรูปของการกระทา
จริงให้ออกเป็นผลงาน การวัดต้องใช้ข้อสอบภาคปฏิบัติ
2. การวัดด้านเนื้อหา เป็นการตรวจสอบความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งเป็น
ประสบการณ์เรียน รวมถึงพฤติกรรมความสามารถในด้านต่างๆ สามารถวัดได้โดยใช้แบบ
วัดผลสัมฤทธิ์
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลการวัด การ
เปลี่ยนแปลง และประสบการณ์การเรียนรู้ ในเนื้อหาสาระที่เรียนมาแล้วว่าเกิดการเรียนรู้เท่าใด
มีความสามารถชนิดใดโดยสามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ในลักษณะต่าง ๆ
และการวัดผลตามสภาพจริง เพื่อบอกถึงคุณภาพการศึกษาความหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
2.2 ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ไว้ดังนี้
สมนึก ภัททิยธนี (2546 : 78-82) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนว่า หมายถึง แบบทดสอบวัดสมรรถภาพทางสมองต่างๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้
ผ่านมาแล้ว ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบทดสอบที่ครูสร้างกับแบบทดสอบมาตรฐาน
แต่เนื่องจากครูต้องทาหน้าที่วัดผลนักเรียน คือเขียนข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ตนได้สอน ซึ่งเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับแบบทดสอบที่ครูสร้างและมีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้มี 6 แบบ ดังนี้
2.2.1 ข้อสอบแบบอัตนัยหรือความเรียง ลักษณะทั่วไปเป็นข้อสอบที่มีเฉพาะ
คาถาม แล้วให้นักเรียนเขียนตอบอย่างเสรี เขียนบรรยายตามความรู้ และข้อคิดเห็นแต่ละ
คน
2.2.2 ข้อสอบแบบกาถูก-ผิด ลักษณะทั่วไป ถือได้ว่าข้อสอบแบบกาถูก-ผิด คือ
ข้อสอบแบบเลือกตอบที่มี 2 ตัวเลือก แต่ตัวเลือกดังกล่าวเป็นแบบคงที่และมีความหมาย
ตรงกันข้าม เช่น ถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่ จริง-ไม่จริง เหมือนกัน-ต่างกัน เป็นต้น
2.2.3 ข้อสอบแบบเติมคา ลักษณะทั่วไปเป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยประโยค
หรือข้อความที่ยังไม่สมบูรณ์ให้ผู้ตอบเติมคา หรือประโยค หรือข้อความลงในช่องว่างที่
เว้นไว้นั้น เพื่อให้มีใจความสมบูรณ์และถูกต้อง
2.2.4 ข้อสอบแบบตอบสั้นๆ ลักษณะทั่วไป ข้อสอบประเภทนี้คล้ายกับข้อสอบ
แบบเติมคา แต่แตกต่างกันที่ข้อสอบแบบตอบสั้นๆ เขียนเป็นประโยคคาถามสมบูรณ์
(ข้อสอบเติมคาเป็นประโยคที่ยังไม่สมบูรณ์) แล้วให้ผู้ตอบเป็นคนเขียนตอบ คาตอบที่
ต้องการจะสั้นและกะทัดรัดได้ใจความสมบูรณ์ไม่ใช่เป็นการบรรยายแบบข้อสอบอัตนัย
หรือความเรียง
2.2.5 ข้อสอบแบบจับคู่ ลักษณะทั่วไป เป็นข้อสอบเลือกตอบชนิดหนึ่งโดยมีคา
หรือข้อความแยกจากกันเป็น 2 ชุด แล้วให้ผู้ตอบเลือกจับคู่ว่า แต่ละข้อความในชุดหนึ่ง
(ตัวยืน) จะคู่ กับคา หรือข้อความใดในอีกชุดหนึ่ง (ตัวเลือก) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใด
อย่างหนึ่งตามที่ผู้ออกข้อสอบกาหนดไว้
2.2.6 ข้อสอบแบบเลือกตอบลักษณะทั่วไป ข้อสอบแบบเลือกตอบนี้จะ
ประกอบด้วย 2 ตอน ตอนนาหรือคาถามกับตอนเลือก ในตอนเลือกนี้จะประกอบด้วย
ตัวเลือกที่เป็นคาตอบถูกและตัวเลือกที่เป็นตัวลวง ปกติจะมีคาถามที่
กาหนดให้นักเรียนพิจารณาแล้วหาตัวเลือกที่ถูกต้องมากที่สุดเพียงตัวเลือก
เดียวจากตัวเลือกอื่นๆ และคาถามแบบเลือกตอบที่ดีนิยมใช้ตัวเลือกที่ใกล้เคียงกัน ดู
เผินๆ จะเห็นว่าทุกตัวเลือกถูกหมด แต่ความจริงมีน้าหนักถูกมากน้อยต่างกัน
พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2543 : 96) ได้กล่าวถึงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน
ทานองเดียวกันว่า หมายถึง แบบทดสอบที่วัดความรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว ซึ่งมักจะเป็น
ข้อคาถามให้นักเรียนตอบด้วยกระดาษและดินสอกับให้นักเรียนปฏิบัติจริง
จากความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง แบบทดสอบที่วัดความรู้ความสามารถทางการเรียน
ด้านเนื้อหา ด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆของวิชาต่าง ๆ
2.3 หลักเกณฑ์ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์จากนักการศึกษา
หลายๆท่านที่กล่าวถึงหลักเกณฑ์ไว้สอดคล้องกัน และได้ลาดับเป็นขั้นตอนดังนี้
2.3.1 เนื้อหาหรือทักษะที่ครอบคลุมในแบบทดสอบนั้น จะต้องเป็นพฤติกรรมที่
สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้
2.3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้แบบทดสอบวัดนั้นถ้านาไปเปรียบเทียบกัน
จะต้องให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆเหล่านั้นได้ครอบคลุมและเท่าเทียมกัน
2.3.3 วัดให้ตรงกับจุดประสงค์ การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรจะ
วัดตามวัตถุประสงค์ทุกอย่างของการสอน และจะต้องมั่นใจว่าได้วัดสิ่งที่ต้องการจะวัดได้จริง
2.3.4 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการวัดความเจริญงอกงามของ
นักเรียน การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าไปสู่วัตถุประสงค์ที่วางไว้ดังนั้น ครูควรจะ
ทราบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีความรู้ความสามารถอย่างไร เมื่อเรียนเสร็จแล้วมีความรู้
แตกต่างจากเดิมหรือไม่ โดยการทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน
2.3.5 การวัดผลเป็นการวัดผลทางอ้อม เป็นการยากที่จะใช้ข้อสอบแบบเขียนตอบวัด
พฤติกรรมตรง ๆ ของบุคคลได้ สิ่งที่วัดได้ คือ การตอบสนองต่อข้อสอบ ดังนั้น การเปลี่ยน
วัตถุประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมที่จะสอบ จะต้องทาอย่างรอบคอบและถูกต้อง
2.3.6 การวัดการเรียนรู้ เป็นการยากที่จะวัดทุกสิ่งทุกอย่างที่สอนได้ภายในเวลาจากัดสิ่งที่
วัดได้เป็นเพียงตัวแทนของพฤติกรรมทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นต้องมั่นใจว่าสิ่งที่วัดนั้นเป็น
ตัวแทนแท้จริงได้
2.3.7 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องช่วยพัฒนาการสอนของครู และเป็น
เครื่องช่วยในการเรียนของเด็ก
2.3.8 ในการศึกษาที่สมบูรณ์นั้น สิ่งสาคัญไม่ได้อยู่ที่การทดสอบแต่เพียงอย่าง
เดียวการทบทวนการสอนของครูก็เป็นสิ่งสาคัญยิ่ง
2.3.9 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรจะเน้นในการวัดความสามารถในการใช้ความรู้
ให้เป็นประโยชน์ หรือการนาความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
2.3.10 ควรใช้คาถามให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและวัตถุประสงค์ที่วัด
2.3.11 ให้ข้อสอบมีความเหมาะสมกับนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ความยากง่าย
พอเหมาะ มีเวลาพอสาหรับนักเรียนในการทาข้อสอบ
จากที่กล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ในการสร้างแบบทดสอบให้มีคุณภาพ วิธีการสร้าง
แบบทดสอบที่เป็นคาถาม เพื่อวัดเนื้อหาและพฤติกรรมที่สอนไปแล้วต้องตั้งคาถามที่
สามารถวัดพฤติกรรมการเรียนการสอนได้อย่างครอบคลุมและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้
2.4 ชนิดของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538 : 146) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ว่า เป็นแบบทดสอบที่วัดความรู้ของนักเรียนหลังจากที่
ได้เรียนไปแล้วซึ่งมักจะเป็นข้อคาถามให้นักเรียนตอบด้วยกระดาษและดินสอกับให้
นักเรียนปฏิบัติจริง ซึ่งแบ่งแบบทดสอบประเภทนี้เป็น 2 ประเภท คือ
2.4.1 แบบทดสอบของครู หมายถึง ชุดของข้อคาถามที่ครูเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นข้อ
คาถามที่เกี่ยวกับความรู้ที่นักเรียนได้เรียนในห้องเรียน เป็นการทดสอบว่านักเรียนมีความรู้
มากแค่ไหนบกพร่องในส่วนใดจะได้สอนซ่อมเสริม หรือเป็นการวัดเพื่อดูความพร้อมที่จะ
เรียนในเนื้อหาใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของครู
2.4.2 แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละ
สาขาวิชา หรือจากครูที่สอนวิชานั้น แต่ผ่านการทดลองหาคุณภาพหลายครั้ง จนมีคุณภาพดี
จึงสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบนั้น สามารถใช้หลักและเปรียบเทียบผลเพื่อประเมินค่า
ของการเรียนการสอนในเรื่องใดๆ ก็ได้ แบบทดสอบมาตรฐานจะมีคู่มือดาเนินการสอบ
บอดถึงวิธีการ และยังมีมาตรฐานในด้านการแปลคะแนนด้วยทั้งแบบทดสอบของครูและ
แบบทดสอบมาตรฐาน จะมีวิธีการในการสร้างข้อคาถามที่เหมือนกัน เป็นคาถามที่วัด
เนื้อหาและพฤติกรรมในด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
2.4.2.1 วัดด้านการนาไปใช้
2.4.2.2 วัดด้านการวิเคราะห์
2.4.2.3 วัดด้านการสังเคราะห์
2.4.2.4 วัดด้านการประเมินค่า
3. วิชาคอมพิวเตอร์
ความหมายของวิชาคอมพิวเตอร์
ภาพ 1 อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.1 คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็น
เครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทน
ความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สาคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกาหนดชุดคาสั่ง
ล่วงหน้า หรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทางานได้หลากหลาย
รูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคาสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทาให้สามารถนาคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้
อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การ
ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทางานได้
อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทางานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
1 รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทาการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล
(input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทาการประมวลผลกับข้อมูล
เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา
ยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทาการเก็บผลลัพธ์จากการ
ประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
3.2 คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคานวณ อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทางานคานวณผลและ
เปรียบเทียบค่าตามชุดคาสั่งด้วยความ เร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คาจากัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่อง
อิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทาหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สาหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและ
ซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องมือที่ช่วย
ในการคานวณและการประมวลผลข้อมูล จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิด
เลข เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. ความเร็ว (Speed) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทางานได้ด้วยความเร็วสูงมาก ซึ่ง
หน่วยความเร็วของการทางานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
- มิลลิเซกัน (Millisecond) ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที หรือ
ของวินาที
- ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที หรือ
ของวินาที
- นาโนเซกัน (Nanosecond) ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000
วินาที หรือของวินาที
ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค ซึ่งได้มี
การพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวล
ข้อมูล ได้เร็วในเวลาไม่เกิน 1 วินาที จะทาให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนามาเป็น
เครื่องมือใช้งานอย่างดียิ่ง
2. หน่วยความจา (Memory) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจา ซึ่ง
สามารถใช้บันทึกและเก็บ ข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคาสั่ง (Instructions)
ต่อๆกันได้ที่เราเรียกว่าโปรแกรม แลนามาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทาให้
คอมพิวเตอร์สามารถทางานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น การสารวจสามะโน
ประชากร หรือรายงานผลการเลือกตั้งซึ่งทาให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง จาก
การที่หน่วยความจาสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้ ทาให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถทางานได้อย่างอัตโนมัติ ในกรณีที่มีงานที่ต้อง
ทาซ้าๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทา งานเหล่านั้นก็จะทาให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยาและประหยัดเนื่องจากการเขียน
คาสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทางาน ซ้าๆได้คราวละจานวนมากๆ
3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไป
ด้วยหน่วยคานวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถใน การคานวณแล้วยังสามารถใช้ใน
การเปรียบเทียบซึ่งความสามารถนี้เองที่ทาให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และ
คุณสมบัตินี้ทีทาให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้ อย่างกว้างขวาง เช่น
การจัดเรียงข้อมูลจาเป็นต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทางานซ้าๆตามเงื่อนไขที่กาหนด
หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในกิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงาน
จากคอมพิวเตอร์แทนแรงงานจากมนุษย์ทาให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยา เป็นการ
ผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก
3.3 ยุคของคอมพิวเตอร์
ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่ง
ใช้กาลังไฟฟ้ าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบาย
ความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่อง
คอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค
(UNIVAC)
ภาพ 2 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 1 รุ่น มาร์ค วัน (MARK I)
ภาพ 3 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 1 รุ่น อีนิแอค (ENIAC)
ภาพ 4 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 1 รุ่น ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้
ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจา มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสารองในรูปของ
สื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดย
สามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถ
เข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้
งานมาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้
วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่
ภายในมากมายทาให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็น
โปรแกรมย่อย ๆ ในการกาหนดชุดคาสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มี
ความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทางานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
ภาพ 5 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 3 วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้
วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่
บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทาให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
สามารถตั้งบนโต๊ะในสานักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋ าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้
ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสาเร็จให้
เลือกใช้กันมากทาให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
ภาพ 6 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนามาเพื่อช่วยในการ
ตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง
สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็น
ผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่
ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกาลังสนใจค้นคว้าและพัฒนา
ทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง
ภาพ 7 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 5
4. Microsoft Office
Microsoft Office คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์เช่นในการ
ออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมใน
ระดับทั้งโครงงาน แทนการดูแลส่วนของชิ้นงาน ซึ่งในกลุ่มนี้อาจรวมถึงโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์
ภาพ 8 Microsoft Office
4.1 Microsoft office Excel 2010
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภทสเปรดชีต (spreadsheet) หรือโปรแกรม
ตารางทางานซึ่งใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ สูตรคานวณ ลงบนแผ่นตารางงานคล้ายกับการเขียนข้อมูลลงไป
ในสมุดที่มีการตีช่องตารางทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ตารางแต่ละช่องจะมีชื่อกากับไว้ในแนวตั้งหรือ
สดมภ์ของตารางเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเริ่มจาก A,B,C,...เรื่อยไปจนสุดขอบตารางทางขวา มี
ทั้งหมด 256 สดมภ์ (Column) แนวนอนมีหมายเลขกากับเป็นบรรทัดที่ 1,2,3,...เรื่อยไปจนถึง
บรรทัดสุดท้ายจานวนบรรทัดจะต่างกันในแต่ละโปรแกรมในที่นี้เท่ากับ 65,536 แถว (Row) ช่องที่
แนวตั้งและแนวนอนตัดกันเรียกว่า เซลล์ (Cell) ใช้บรรจุข้อมูล ข้อความ หรือสูตรคานวณ ปัจจุบัน
โปรแกรมตารางทางาน มีความสามารถ 3 ด้าน คือ คานวณ นาเสนองานด้วยกราฟและแผนภูมิ
จัดการฐานข้อมูล โปรแกรมประเภทตารางทางานมีผู้พัฒนาขึ้นมาหลายโปรแกรม เช่น ปี 2522ใช้
โปรแกรมตารางทางานชื่อว่า วิสิแคล(VisiCalc) ต่อมาปรับปรุงชื่อว่า ซุปเปอร์แคล (SuperCalc) ใน
ปี 2525 ในพัฒนาโปรแกรมชื่อว่า มัลติแพลน (Multiplan) ปี 2526ได้ปรับปรุงโปรแกรมชื่อว่า
โลตัส 1-2-3 (Lotus 1-2-3) เป็นที่นิยมอย่างมาก
ภาพ 10 สัญลักษณ์ของ โปรแกรม Microsoft Office Excel 2010
คุณสมบัติของโปรแกรม Microsoft Excel 2010
4.1.1 ความสามารถด้านการคานวณ Excel สามารถป้ อนสูตรการคานวณทางคณิตศาสตร์
เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
4.1.2 ความสามารถด้านใช้ฟังก์ชั่น เช่นฟังก์ชั่นเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข วันที่ ฟังก์ชั่น
เกี่ยวกับการเงิน หรือเกี่ยวกับการตัดสินใจ
4.1.3 ความสามารถในการสร้างกราฟ Excel สามารถนาข้อมูลที่ป้ อนลงในตารางมาสร้าง
เป็นกราฟได้ทันที
4.1.4. ความสามารถในการตกแต่งตารางข้อมูล Excel สามารถตกแต่งตารางข้อมูลหรือ
กราฟ ข้อมูลด้วยภาพ สี และรูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและทาให้แยกแยะ
ข้อมูลได้ง่ายขึ้น
4.1.5. ความสามารถในการเรียงลาดับข้อมูล Excel สามารถคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ
มาวิเคราะห์ได้
4.1.6. ความสามารถในการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ Excel สามารถพิมพ์งานทั้งข้อมูล
และรูปภาพหรือกราฟออกทางเครื่องพิมพ์ได้ทันที ซึ่งทาให้ง่ายต่อการสร้างรายงาน
4.1.7. ความสามารถในการแปลงข้อมูลในตารางให้เป็นเว็บเพจ เพื่อนาไปแสดงใน
โฮมเพจ
1. การจัดการเอกสารของคุณในมุมมอง Backstage
ในมุมมอง Microsoft Office Backstage จะสามารถทาทุกอย่างกับแฟ้ มได้โดยที่ไม่
ต้องเข้าไปทาในแฟ้ มนั้น นวัตกรรมล่าสุดในส่วนติดต่อผู้ใช้ Microsoft Office Fluent และ
คุณลักษณะเสริมสาหรับ Ribbon นั่นคือ มุมมอง Backstage ซึ่งเป็นที่ที่จะจัดการกับแฟ้ ม
ของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง บันทึกเอกสารของเรา
2. แท็บแฟ้ ม จะแทนที่ ปุ่ ม Microsoft Office และเมนูแฟ้ ม ที่ใช้ใน Microsoft
Office รุ่นก่อนหน้านี้
โดยแท็บ แฟ้ ม จะอยู่ที่มุมบนซ้ายของโปรแกรม Microsoft Office 2010 เมื่อคลิก
ที่แท็บแฟ้ ม จะเห็นคาสั่งพื้นฐานเช่นเดียวกับที่เห็นเมื่อคลิกที่ ปุ่ม Microsoft Office หรือ
เมนูแฟ้ ม ใน Microsoft Office รุ่นก่อนหน้า ซึ่งจะพบกับคาสั่ง เปิด บันทึก และ พิมพ์
เช่นเดียวกับคาสั่งใหม่ของมุมมอง Backstageคือ แถบบันทึกและส่ง ซึ่งจะมีตัวเลือก
หลากหลายเพื่อส่งหรือใช้เอกสารร่วมกัน
3. การค้นหาสิ่งที่ต้องการในเอกสารขนาดยาวด้วย บานหน้าต่างนาทางเอกสาร
และ การค้นหาแบบใหม่
ใน Microsoft Excel 2010 เราสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการในเอกสารที่มีความยาว
มากได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถจัดระเบียบเอกสารของเราใหม่ได้ง่ายๆ ด้วยการลากแล้ว
ปล่อยส่วนหัว แทนการคัดลอกและวาง และสามารถค้นหาเนื้อหาได้โดยการใช้การค้นหา
เพิ่มเติม ดังนั้น เราจึงไม่จาเป็นต้องทราบแน่นอนถึงสิ่งที่กาลังค้นหาในการค้นหานั้นๆ
4. การปรับแต่งข้อความด้วยคุณลักษณะ OpenType
Microsoft Excel 2010 สนับสนุนคุณลักษณะการจัดรูปแบบข้อความขั้นสูง ซึ่ง
รวมถึงการตั้งค่าตัวอักษรควบแบบต่างๆ และตัวเลือกของชุดอักษรดัดแปลงและรูปแบบ
ตัวเลข ซึ่งสามารถใช้คุณลักษณะใหม่เหล่านี้กับแบบอักษร OpenType มากมายเพื่อการ
พิมพ์ที่สวยงามขึ้นไปอีกระดับ
5. การเพิ่มลักษณะพิเศษแนวศิลป์ ให้กับรูปภาพ
Microsoft Excel 2010 สามารถนาลักษณะพิเศษ “ แนวศิลป์ ” ที่ซับซ้อนมาใช้กับ
รูปภาพในเอกสาร เพื่อทาให้รูปภาพดูเหมือนภาพร่าง ภาพวาด หรือภาพระบายสีได้ ซึ่ง
เป็นวิธีง่ายๆในการปรับรูปภาพต่างๆโดยที่ไม่ต้องใช้โปรแกรมแก้ไขรูปภาพอื่นๆเพิ่มเติม
ทาให้การจัดการรูปภาพต่างๆในเอกสารสะดวกและสวยงามยิ่งขึ้น
6. การเอาพื้นหลังของรูปภาพออกโดยอัตโนมัติ
ตัวเลือกการแก้ไขรูปภาพขั้นสูงอีกอย่างหนึ่งในโปรแกรม Microsoft Excel 2010
ก็คือ ความสามารถในการเอาส่วนของภาพที่ไม่ต้องการ เช่น พื้นหลังออกโดยอัตโนมัติ
เพื่อเน้นหรือทาให้ภาพเด่นขึ้น หรือ นารายละเอียดที่เบี่ยงเบนความสนใจออกไปจาก
รูปภาพที่ใส่ลงในเอการ
7. การแทรกภาพหน้าจอ
โปรแกรม Microsoft Excel 2010 สามารถเพิ่มภาพจากหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์
ได้เอง โดยจะมีคาสั่งที่ใช้ในการจับภาพหน้าจอและรวมภาพลงในหน้าเอกสารของ
โปรแกรม และ หลังจากที่เพิ่มภาพหน้าจอแล้ว ก็ยังสามารถใช้เครื่องมือบนแท็บ
เครื่องมือรูปภาพ ในการแก้ไขและปรับรูปภาพได้
8. เค้าโครงภาพกราฟิก SmartArt ใหม่
เราสามารถใช้เค้าโครงรูปภาพกราฟิก SmartArt แบบใหม่ เพื่อเล่าเรื่องราวได้ด้วย
รูปถ่ายหรือ รูปอื่นๆ ได้ เพียงแค่แทรกรูปภาพลงไปในรูปร่าง SmartArt ของเค้าโครง
ไดอะแกรมรูปภาพ และ รูปร่างแต่ละรูปก็สามารถใส่คาอธิบายต่างๆลงไปในภาพนั้นได้
อีกด้วยยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากมีรูปภาพอยู่ในเอกสารอยู่แล้ว ก็สามารถแปลงรูปภาพให้เป็น
กราฟิก SmartArt ได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับข้อความในเอกสารนั่นเอง
5. สื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้
สื่อ (Medium,pl.medie) เป็นภาษาละตินว่า "Medium" แปลว่า "ระหว่าง" "Between"
หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางให้ข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่ง
ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตามจุดประสงค์
ในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนาสื่อมาใช้ประกอบการสอนจะเรียกว่า "สื่อการสอน"
และนามาให้ผู้เล่าเรียนใช้เรียกว่า "สื่อการเรียน" (Learning media) โดยเรียกรวมกันว่า "สื่อการ
เรียนการสอน" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "สื่อการสอน" หมายถึง สิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทป
บันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ ซื่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหา
เกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดจากเนื้อหาวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์
ทางกายภาพที่นามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสาหรับทาให้
การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือ
จุดมุ่งหมายที่ผู้สอน วางไว้ได้เป็นอย่างดี
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้
คาจากัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการ
เรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ
เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จาพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจน
เกิดผลการ เรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น
เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการ
สัมภาษณ์และการสารวจเป็นต้น
เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสาหรับทา
ให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทา ให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้
เป็น อย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอน
เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย ที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่าง
มีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคาอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน
เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว
สื่อการศึกษา คือ ระบบการนาวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่
ผู้เรียนโดยทั่วไป
โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นามาใช้ในห้องเรียน หรือนามาประกอบการสอนใด
ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
5.1 คุณค่าของสื่อเพื่อการเรียนรู้
สื่อหรือตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน มีคุณค่าต่อการ
เรียนการสอน ทั้งกับผู้สอนและผู้เรียนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในส่วนของผู้สอนสื่อ ช่วย
ให้บรรยากาศในการสอน น่าสนใจยิ่งขึ้น ช่วยแบ่งเบาภาระของครู ในการเตรียม
เนื้อหา เพราะอาจให้นักเรียนศึกษาได้จากสื่อ และยังช่วยให้ผู้สอนคิดค้นเทคนิคใหม่ๆที่
ช่วยในการเรียนรู้ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
ในส่วนของผู้เรียน สื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นใน
เวลาอัน สั้นเกิดความคิดรวบยอดได้ถูกต้อง สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนได้
สะดวกช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง กระตุ้นความสนใจในการเรียนและสนอง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้ดี
5.2 ความสาคัญของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้
ไชยยศ เรืองสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาอย่างหนึ่งในการสอนก็คือ แนวทางการ
ตัดสินใจจัดดาเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น ตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งการ
สอนโดยทั่วไป ครูมักมีบทบาทในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระ
หรือทักษะและมีบทบาทในการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัว
ผู้เรียนแต่ละคนด้วยว่า ผู้เรียนมีความต้องการอย่างไร ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนใน
รูปแบบนี้ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการเรียนการสอนจึงมีความสาคัญมาก ทั้งนี้เพื่อ
สร้างบรรยากาศและแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้และ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา
ค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทั้งมวลที่จัด
ขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้น ก็คือ การเรียนการสอนนั่นเอง
5.3 เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสาคัญของสื่อการสอน ดังนี้
5.3.1สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็ นรูปธรรมขึ้นในความคิดของ
ผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็น
นามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สาหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เ รี ย น ย่ อ ม ไ ม่ มี
ความสามารถจะทาได้การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทาให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และสร้างรูปธรรมขึ้น
ในใจ ได้
5.3.2 สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้
ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่าง
เดียว
5.3.3 เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจาอย่างถาวร
ผู้เรียนจะสามารถนาประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐาน
ประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
5.3.4 ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันทาให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ สิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของ
สิ่งมีชีวิต
5.3.5 ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมาย
ของคาใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้
เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกันเปรื่อง กุมุท ให้ความสาคัญของสื่อการสอน
ดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมี ความหมาย
ชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กาหนดไว้จานวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียน
การสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจา ประทับความรู้สึก และทาอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลาบากโดยการช่วยแก้ปัญหา
หรือข้อจากัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
- ทาสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
- ทานามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
- ทาสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
- ทาสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
- ทาสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
- นาอดีตมาศึกษาได้
- นาสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสาเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น เมื่อทราบ
ความสาคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ
ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน ดังจะกล่าวต่อไปดังนี้
ประเภทของสื่อการสอน
เอ็ดการ์ เดล จาแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลาดับจากประสบการณ์ที่
เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่
เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์"
(Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น
1. สื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาจแบ่งได้ดังนี้
1.1 สื่อเพื่อฝึกการรับรู้
1.1.1 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับขนาด ได้แก่ การจัดหาวัสดุสิ่งของ กล่อง
บล็อก วางให้เด็กจับต้อง วางซ้อนกัน นาของสองสิ่ง สามสิ่งมาเปรียบเทียบขนาด
เล็กใหญ่ เล็กที่สุด ใหญ่ที่สุด
1.1.2 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ครูให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ ลองวาง
ชิ้นส่วนให้พอดีกับช่อง เช่น ช่องวงกลม เด็กต้องหยิบรูปวงกลมวางลงในช่อง
สี่เหลี่ยม เด็กต้องหยิบรูปสี่เหลี่ยมวางได้ถูกต้อง นอกจากนี้ให้เด็กแยกรูปร่าง
สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงรี ได้
1.1.3 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องสี แนะนาให้เด็กรู้จักสี เล่นสิ่งของ
เครื่องใช้ บล็อก แผ่นกระดาษรูปทรงเรขาคณิตที่มีสีต่าง ๆ โดยเฉพาะเด็กชอบสี
สดใส ให้เด็กแยกสิ่งของ วัตถุ รูปภาพ ที่มีสีเหมือนกัน
1.1.4 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อผิวของวัตถุ ให้เด็กได้สารวจสิ่งของ
ใกล้ตัว ได้รับได้สัมผัสสิ่งของที่มีความอ่อน นุ่ม แข็ง หยาบ และบอกได้ว่าของแต่
ละชิ้น มีลักษณะอย่างไร เช่น กระดาษทราบหยาบ สาลีนุ่ม ก้อนหินแข็ง ฯลฯ
1.2 สื่อเพื่อฝึกความคิดรวบยอด อาจใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการจัดสิ่งแวดล้อม
เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ ครูควรจัดสวนสัตว์จาลอง เล่านิทาน เชิดหุ่น
เกี่ยวกับสัตว์ สนทนาซักถามเกี่ยวกับสัตว์ที่เด็กรู้จัก เปรียบเทียบลักษณะของสัตว์
แต่ละชนิด วาด ปั้น ฉีก แปะ รูปร่างสัตว์
การจัดกิจกรรมความคิดรวบยอดเกี่ยวกับอาชีพ เกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้
และบุคคลในสังคม ครูควรใช้สื่อสถานการณจาลอง เสริมให้เด็กเข้าใจได้ถูกต้อง
รวดเร็วขึ้น
การรู้จักตัวเลขมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ด้วยการใช้วิธีการให้
เด็กค้นพบด้วยตนเอง จัดวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดุมสีต่าง ๆ ฝาเบียร์ ดอกไม้ใบไม้
ขวด บล็อก ให้เด็กจับต้อง นับ สอนให้เข้าใจเลขคี่เลขคู่
2. สื่อเพื่อพัฒนาทางด้านภาษา
การใช้สื่อพัฒนาการทางภาษาจะต้องคานึงถึงพัฒนาการที่สาคัญของเด็กเล็กและ
ต้องศึกษาว่าการรับฟังและการเข้าใจภาษาของเด็กว่าอยู่ระดับที่สามารถฟังและ แยกเสียง
ต่าง ๆ ได้ เช่น เสียงสัตว์ เสียงดนตรีบางชนิด ฟังประโยคและข้อความสั้นและยาว
พอสมควร เข้าใจคาจากัดความ เข้าใจหน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ แยกภาพตามหน้าที่ได้ เช่น สิ่งที่
ใช้กินนอน หรือสิ่งที่อยู่ในบ้าน ในครัว เปรียบเทียบภาพเหมือนไม่เหมือนได้ อ่านรูปภาพ
จาชื่อตัวเองและเพื่อนได้เป็นต้น ดังนั้นครูเด็กเล็กจะต้องใช้สื่อประเภทวิธีการ สื่อประเภท
วัสดุอุปกรณ์มาจัดกิจกรรมเสริมความพร้อมทางด้านภาษาให้เด็กได้ พัฒนาตามเกณฑ์
ดังกล่าวข้างต้น สื่อที่ครูควรจัดเพื่อเสริมพัฒนาการทางภาษา ได้แก่ หนังสือภาพ แผ่นภาพ
ภาพประกอบคาคล้องจอง หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ หุ่นเชิด หุ่นถุงกระดาษ เกมเลียนเสียงสัตว์ เกม
สัมพันธ์ภาพกับคา เกมเรียนรู้ด้านการฟัง เกมทายเรื่อง เกมจับคู่ภาพเหมือนและแยกภาพ
ต่าง ๆ การเล่นนิ้วมือประกอบคาร้องหรือเรื่องราว วิธีการเล่นบทบาทสมมุติ มุมบล็อค
ต่างๆ ให้เล่นเป็นกลุ่มในมุมบ้าน เทป วิทยุ เครื่องเสียง
3. สื่อเพื่อพัฒนาความพร้อมกล้ามเนื้อเล็กใหญ่ และประสาทสัมพันธ์
ครูจะต้องศึกษา พัฒนาเกี่ยวกับการทรงตัว ความมั่นคงของการใช้กล้ามเนื้อตาม
วัย เพื่อจะเลือกใช้สื่อได้เ หมาะ สื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ครูสามารถเลือกใช้
ได้มีดังนี้
ลูกบอล ดนตรี กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ ตีขณะที่ให้เด็กยืนทรงตัว เพื่อให้เกิด
ความว่องไวในการบังคับกล้ามเนื้อ
ลูกบอล ตุ๊กตาผ้า ลูกตุ้มทาด้วยฟางข้าว หรือผ้าสาหรับแข่งขว้างไกล ๆ
รองเท้า เชือกผูกรองเท้า กระดุม ซิป สาหรับฝึกการบังคับกล้ามเนื้อมือ
และฝึกสายตา
แผ่นภาพ รูปภาพ สิ่งของ นามาแขวนจัดเรียงกันให้เด็กมองกรอกสายตา
ตามภาพหรือของที่วางไว้
ขีดเส้นใต้เติมตามเส้นคดเคี้ยว แผ่นภาพขีดเป็นช่องสาหรับใช้นิ้วลากตาม
เส้นทางที่ครูกาหนด ดินเหนียวให้เด็กใช้ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ อุปกรณ์วาดภาพ สีไม้ สี
เทียน สีดินสอ สีจากพืช
ฉีกกระดาษปะเป็นรูปต่าง ๆ ขยากระดาษหนังสือพิมพ์ ร้อยดอกไม้ เล่น
ตัดเมล็ดพืช เป่าสีด้วยหลอดกาแฟ ต่อภาพแบบโยนโบว์ลิ่ง ตวงทราย กรอกน้าใส่
ขวด เรียงลูกคิดลงหลัก วางแผ่นรูปทรงลงในช่องที่กาหนด เดินกระดานแผ่นเดียว
เล่นภาพตัดต่อ เล่นเครื่องเล่นสนาม ยิงปืนก้านกล้วย ร้อยเชือกรอบแผ่นภาพ ฝึก
ประสาทสัมพันธ์ เล่นเกมจาแนกหมวดหมู่
สื่อดังกล่าวนี้มักจะถูกเลือกมาใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งอาจมีการใช้ครั้ง
ละชนิดหรือใช้พร้อมกันเกินกว่าหนึ่งชนิด หรือใช้ตามลาดับก่อนหลังก็ได้
4. แนวโน้มการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้
การพิจารณาแนวโน้มการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้จะต้องดูแนวโน้มของการ จัด
การศึกษาในอนาคตควบคู่กันไปด้วย จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการจัดการศึกษาไทย
เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าด้าน
เทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมรวมถึง การเปลี่ยนแปลง
แนวคิดและปรัชญาการศึกษาที่มุ่งให้การศึกษาต่อเนื่องตลอด ชีวิตกับคนทุกคนและแนว
ทางการจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด แนวโน้มการใช้สื่อการเรียนรู้ในอนาคต
น่าจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นสื่อที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งใน
ด้าน เวลาและสถานที่ ความสนใจ ความพร้อม ฯลฯ ให้มีสิทธิเสมอภาค และมี
โอกาศในการเรียนรู้ เท่าเทียมกัน เช่น สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต การสอนทางไกล
- เป็นสื่อที่สนองจุดประสงค์ในการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ
การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้แก้ไขปัญหา เช่น สถานการณ์
จาลอง เกมชุดการเรียน ฯลฯ
- เป็นสื่อจากแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เช่นห้องสมุดประชาชน
พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะเป็นต้น
- สื่อที่อาศัยคลื่นความถี่เป็นตัวนา หรือสื่อผ่านระบบเครือข่าย เช่น วิทยุ
โทรทัศน์ โทรคมนาคม จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ ในระบบดรงเรียน
นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างจิงจัง และมีประสิทธิภาพ
- สื่อที่จัดอยู่ในลักษณะของประสบการณ์สาเร็จรูป เพื่อสอนเนื้อหาเรื่อง
ใดเรื่องหนึ่ง ที่จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนผ่านสื่อ จน
ประสบผลสาเร็จ จะได้รับความนิยมมากขึ้น อาทิ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอน (CAI) ชุดการเรียน ( model) เป็นต้น
6. หลักและทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์
ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นเรื่องที่สาคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ครูจะต้องศึกษาก่อนการ เขียนแผนการ
จัดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ จะทาให้ครูเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผล
โดยตรงกับ ผู้เรียน ในการจัดการเรียนรู้ถ้าครูศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ก่อนแล้วนาแนวคิดจากทฤษฎี
ไป สู่การปฏิบัติคือการจัดการเรียนรู้ จะทาให้การจัดการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างรวดเร็ว ซึ่ง
จะดีกว่าการที่เราจัดการเรียนรู้โดยไม่มีทฤษฎีรองรับเพราะทฤษฎีต่างๆ นั้นได้มีการค้นคว้าทดลอง
จนเป็นที่ยอมรับ พูดง่าย ๆ ก็คือได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว สามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้เลย ทิศนา
แขมมณี (2550 : 40 - 107) ได้สรุปแนวคิดและแนวปฏิบัติของทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ตั้งแต่แนวคิด
เกี่ยวกับ การกระทาหรือพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมี 3 แนวคิด แนวที่ 1 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการ
กระทาของมนุษย์ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตนเอง แนวที่ 2 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทา
ของมนุษย์ เกิดขึ้นจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม มิใช่มาจากแรงกระตุ้นภายใน แนวที่ 3 เชื่อว่า
พฤติกรรมหรือการกระทาของมนุษย์ เกิดขึ้นทั้งจากสิ่งแวดล้อมและจากแรงกระตุ้นภายในตัวบุคคล
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่เน้นการฝึกจิต
หรือสมอง กลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติและกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยง ความคิด
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มี 4 กลุ่มคือกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพุทธินิยม
กลุ่มมนุษยนิยมและกลุ่มผสมผสาน นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย เช่น
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองและการประมวลข้อมูล ทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย
ตนเอง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานและทฤษฎีการเรียนรู้ แบบ
ร่วมมือ เป็นต้น
ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) ได้กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อน
คริสต์ศตวรรษที่ 20 และหลักการจัดการศึกษาและการสอนไว้ดังนี้
นัก คิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้
ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกาลังกาย ในการ
ฝึกจิตหรือสมองนี้ทาได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึก
ให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (Bigge,1964 : 19 – 30
อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 45 – 48)
1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สาคัญของกลุ่มนี้
คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ
(Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.1.1มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทาใด ๆ ของมนุษย์เกิด
จากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
1.1.2มนุษย์พร้อที่จะทาความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
1.1.3สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับ
การฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทาให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
1.1.4 การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจาเป็นต่อการ
พัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
1.1.5 การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์
ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสาคัญใน
การฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี
2.การฝึกจิตจะต้องทาอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ ลงโทษ
เป็นสิ่งจาเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
3.การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา
ภาษาลาตินและภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
4.การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า จะช่วยให้
ผู้เรียนเป็นคนดี
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)
บทที่2 (เสร็จ)

More Related Content

What's hot

แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...
แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...
แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...เล็ก น่ารัก
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตMam Chongruk
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น
เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น
เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น Wijitta DevilTeacher
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการsomdetpittayakom school
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก Jeerapob Seangboonme
 
การหางานจากพื้นที่ใต้กราฟ
การหางานจากพื้นที่ใต้กราฟการหางานจากพื้นที่ใต้กราฟ
การหางานจากพื้นที่ใต้กราฟjirupi
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์Anusara Sensai
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2dnavaroj
 
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptxTinnakritWarisson
 
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบssuserf8d051
 
โครงงานผักผลไม้กำจัดสนิม
โครงงานผักผลไม้กำจัดสนิมโครงงานผักผลไม้กำจัดสนิม
โครงงานผักผลไม้กำจัดสนิมlily lily
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทKannika Kerdsiri
 
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่menton00
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะKodchaporn Siriket
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะแบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะJariya Jaiyot
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องkrupornpana55
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้าdnavaroj
 

What's hot (20)

แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...
แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...
แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามขั้นตอนของโพลยา เรื่อง พื้นที่ผิวและปริ...
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น
เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น
เอกสารประกอบ เรื่อง สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก
 
การหางานจากพื้นที่ใต้กราฟ
การหางานจากพื้นที่ใต้กราฟการหางานจากพื้นที่ใต้กราฟ
การหางานจากพื้นที่ใต้กราฟ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
 
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ PPT เเก้ไขได้ ล่าสุด.pptx
 
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
 
โครงงานผักผลไม้กำจัดสนิม
โครงงานผักผลไม้กำจัดสนิมโครงงานผักผลไม้กำจัดสนิม
โครงงานผักผลไม้กำจัดสนิม
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บท
 
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะ
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะแบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
 

Similar to บทที่2 (เสร็จ)

บทที่2เสร็จ
บทที่2เสร็จบทที่2เสร็จ
บทที่2เสร็จAnnop Phetchakhong
 
ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2Paranee Srikhampaen
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรTawatchai Bunchuay
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมApisit Chaiya
 
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54Jiraporn
 
โครงงานคอมพิวเตอร์3
โครงงานคอมพิวเตอร์3โครงงานคอมพิวเตอร์3
โครงงานคอมพิวเตอร์3PeeEllse3
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2PeeEllse3
 
โครงงานคืออะไร
โครงงานคืออะไรโครงงานคืออะไร
โครงงานคืออะไรTrepet Parungnantakul
 
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...Weerachat Martluplao
 
แบบทดสอบที่ 1
แบบทดสอบที่ 1แบบทดสอบที่ 1
แบบทดสอบที่ 1ohmzariffer
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8Niraporn Pousiri
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางIaon Srichiangsa
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai kruwanida
 

Similar to บทที่2 (เสร็จ) (20)

บทที่2เสร็จ
บทที่2เสร็จบทที่2เสร็จ
บทที่2เสร็จ
 
ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
ใบงานที่ 2 16
ใบงานที่ 2 16ใบงานที่ 2 16
ใบงานที่ 2 16
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54รายงานการประเมินตนเอง 2 54
รายงานการประเมินตนเอง 2 54
 
งานคอม 11
งานคอม 11งานคอม 11
งานคอม 11
 
โครงงานคอมพิวเตอร์3
โครงงานคอมพิวเตอร์3โครงงานคอมพิวเตอร์3
โครงงานคอมพิวเตอร์3
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2
 
โครงงานคืออะไร
โครงงานคืออะไรโครงงานคืออะไร
โครงงานคืออะไร
 
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน   หลักสูตรแกนกลาง 2551               ...
การออกแบบการจัดการการเรียนรู้อิงมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง 2551 ...
 
Com
ComCom
Com
 
แบบทดสอบที่ 1
แบบทดสอบที่ 1แบบทดสอบที่ 1
แบบทดสอบที่ 1
 
Com 1
Com 1Com 1
Com 1
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
Com 2-8
Com 2-8Com 2-8
Com 2-8
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
Wanida 134 cai
Wanida 134 cai Wanida 134 cai
Wanida 134 cai
 

More from Annop Phetchakhong

สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจสรุปผลการประเมินความพึงพอใจ
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจAnnop Phetchakhong
 
โครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาค
โครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาคโครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาค
โครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาคAnnop Phetchakhong
 
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
ใหม่ _ชื่อโครงการ โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค วิชาเทคโนโลยีสา...
ใหม่  _ชื่อโครงการ  โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค   วิชาเทคโนโลยีสา...ใหม่  _ชื่อโครงการ  โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค   วิชาเทคโนโลยีสา...
ใหม่ _ชื่อโครงการ โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค วิชาเทคโนโลยีสา...Annop Phetchakhong
 
บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)Annop Phetchakhong
 
บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)Annop Phetchakhong
 

More from Annop Phetchakhong (11)

สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจสรุปผลการประเมินความพึงพอใจ
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ
 
โครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาค
โครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาคโครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาค
โครงการติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบปลายภาค
 
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
กิตติกรรมประกาศ (เสร็จ)
 
บทที่5
บทที่5บทที่5
บทที่5
 
บทที่4
บทที่4บทที่4
บทที่4
 
บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)
 
บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)
 
ใหม่ _ชื่อโครงการ โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค วิชาเทคโนโลยีสา...
ใหม่  _ชื่อโครงการ  โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค   วิชาเทคโนโลยีสา...ใหม่  _ชื่อโครงการ  โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค   วิชาเทคโนโลยีสา...
ใหม่ _ชื่อโครงการ โครงการ ติวเตอร์ เตรียมลุยข้อสอบกลางภาค วิชาเทคโนโลยีสา...
 
บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)บทที่3 (เสร็จ)
บทที่3 (เสร็จ)
 
บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)
 
บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)บทที่1(เสร็จ)
บทที่1(เสร็จ)
 

บทที่2 (เสร็จ)

  • 1. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ (ง31244) เรื่องการ สร้างเอกสารจาก Microsoft office word 2010 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ชิโนรสวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทาวิจัย ดังนี้ 1. การศึกษา 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. Microsoft Office 5. สื่อการเรียนการสอน 6. หลักและทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ 7. คอมพิวเตอร์กับการศึกษา 8. แผนการจัดการเรียนรู้ 9. ความพึงพอใจ 1. การศึกษา การศึกษา หรือ “Education” ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Educare แปลว่า บารุง เลี้ยง อบรม รักษา ทาให้งอกงาม หรืออีกนัยหนึ่ง Educare หมายถึง การอบรมเด็กทั้ง ทางกาย และทางสมอง ส่วนคาว่า “การศึกษา” ในภาษาไทยนั้น เป็นคามาจากภาษาสันสกฤต ตรง กับภาษาบาลีว่า สิกขา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า การเล่า เรียน ฝึกฝน และอบรม 1.1 ความหมายของการศึกษาตามทัศนะของชาวต่างประเทศ อริสโตเติล (Aristotle ก่อน ค.ศ.384-322) ชาวกรีก กล่าวว่า การศึกษา หมายถึง การอบรม คนให้เป็นพลเมืองดี และดาเนินชีวิตด้วยการทาดี จอห์น ล๊อค (John Locke ค.ศ.1632-1704) ชาวอังกฤษ กล่าวว่า การศึกษา คือ องค์ประกอบของพลศึกษา จริยศึกษา และพุทธิศึกษา
  • 2. ยอง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau ค.ศ. 1712-1778) กล่าวว่า การศึกษา คือ การนา ความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับ ธรรมชาติ ของบุคคล จอห์น ดิวอี้ (John Dewey ค.ศ.1857-1952) ชาวอเมริกัน กล่าวว่า การศึกษา คือชีวิต (Education is life) ไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตในภายหน้า การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม (Education is growth) ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ทัลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parson) นักสังคมวิทยา กล่าวว่า การศึกษาคือ เครื่องมือเตรียม เด็กและเยาวชนให้มีบทบาทในวงการอาชีพต่าง ๆ ของผู้ใหญ่ 1.2 ความหมายของการศึกษาตามทัศนะของนักการศึกษาไทย สาโรช บัวศรี ให้ความหมายว่า การศึกษา คือ การพัฒนาขันธ์ 5 โดยใช้มรรค 8 เพื่อให้ อกุศลมูล คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ลดน้อยลง หรือเบาบางลงมากที่สุด ขันธ์ 5 ประกอบด้วย - รูป คือ ร่างกาย (Physical Structure) - เวทนา คือ ความรู้สึก (Feeling หรือ Sensation) - สัญญา คือ ความทรงจา (Memory หรือ Perception) - สังขาร คือ เครื่องปรุงแต่ง (Aggregatet) เช่น ทัศนคติ ความสนใจ ความสามารถ และทักษะ เป็นต้น - วิญญาณ คือ การเกิดความรู้ (Consciousness) วิจิตร ศรีสะอ้าน กล่าวว่า การศึกษา เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลให้ เป็นไปในแนวทางที่พึงปรารถนา การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นไปอย่างจงใจ มีการกาหนด จุดมุ่งหมายและดาเนินการอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการเหมาะสมและผ่านสถาบันทางสังคม ที่ ได้รับมอบหมายให้ทาหน้าที่ด้านการศึกษา 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Achievement) 2.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Achievement) เป็นผลที่เกิดจากปัจจัยต่างๆในการ จัดการศึกษา นักศึกษาได้ให้ความสาคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนเป็นดัชนีประการหนึ่งที่สามารถบอกถึงคุณภาพการศึกษา ดังที่ อนาตาซี (1970 : 107 อ้าง ถึงใน ปริยทิพย์บุญคง, 2546 : 7) กล่าวไว้พอสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์กับ
  • 3. องค์ประกอบด้านสติปัญญาและองค์ประกอบด้านที่ไม่ใช้สติปัญญาได้แก่ องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ สังคม แรงจูงใจ และองค์ประกอบที่ไม่ใช้สติปัญญาด้านอื่น ไอแซงค์อาโนลด์ และไมลี (อ้างถึงใน ปริยทิพย์ บุญคง, 2546 : 7) ให้ความหมายของ คาว่า ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ขนาดของความสาเร็จที่ได้จากการทางานที่ต้องอาศัยความพยายาม อย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทาที่ต้องอาศัยทั้งความสามารถทั้งทางร่างกายและทางสติปัญญา ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนจึงเป็ นขนาดของความสาเร็จที่ได้จากการเรียนโดยอาศัย ความสามารถเฉพาะตัวบุคคล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอาจได้จากกระบวนการที่ไม่ต้องอาศัย การทดสอบ เชนการสังเกต หรือการตรวจการบ้าน หรืออาจได้ในรูปของเกรดจากโรงเรียน ซึ่งต้อง อาศัยกระบวนการที่ซับซ้อนและระยะเวลานานพอสมควรหรืออาจได้จากการวัดแบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับ ไพศาล หวังพานิช (2536 : 89) ที่ให้ความหมายผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนว่า หมายถึง คุณลักษณะและความสามารถของบุคคลอันเกิดจากการเรียนการสอนเป็น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์การเรียนที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมหรือการสอบ จึงเป็น การตรวจสอบระดับความสามารถของบุคคลว่าเรียนแล้วมีความรู้เท่าใด สามารถวัดได้โดยการใช้ แบบทดสอบต่าง ๆเช่นใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ข้อสอบวัดภาคปฏิบัติ สามารถวัดได้2 รูปแบบ ดังนี้ 1. การวัดด้านปฏิบัติ เป็นการตรวจสอบระดับความสามารถในการปฏิบัติโดย ทักษะของผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถดังกล่าว ในรูปของการกระทา จริงให้ออกเป็นผลงาน การวัดต้องใช้ข้อสอบภาคปฏิบัติ 2. การวัดด้านเนื้อหา เป็นการตรวจสอบความสามารถเกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งเป็น ประสบการณ์เรียน รวมถึงพฤติกรรมความสามารถในด้านต่างๆ สามารถวัดได้โดยใช้แบบ วัดผลสัมฤทธิ์ จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลการวัด การ เปลี่ยนแปลง และประสบการณ์การเรียนรู้ ในเนื้อหาสาระที่เรียนมาแล้วว่าเกิดการเรียนรู้เท่าใด มีความสามารถชนิดใดโดยสามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ในลักษณะต่าง ๆ และการวัดผลตามสภาพจริง เพื่อบอกถึงคุณภาพการศึกษาความหมายของการวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน
  • 4. 2.2 ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไว้ดังนี้ สมนึก ภัททิยธนี (2546 : 78-82) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนว่า หมายถึง แบบทดสอบวัดสมรรถภาพทางสมองต่างๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ ผ่านมาแล้ว ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบทดสอบที่ครูสร้างกับแบบทดสอบมาตรฐาน แต่เนื่องจากครูต้องทาหน้าที่วัดผลนักเรียน คือเขียนข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ตนได้สอน ซึ่งเกี่ยวข้อง โดยตรงกับแบบทดสอบที่ครูสร้างและมีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้มี 6 แบบ ดังนี้ 2.2.1 ข้อสอบแบบอัตนัยหรือความเรียง ลักษณะทั่วไปเป็นข้อสอบที่มีเฉพาะ คาถาม แล้วให้นักเรียนเขียนตอบอย่างเสรี เขียนบรรยายตามความรู้ และข้อคิดเห็นแต่ละ คน 2.2.2 ข้อสอบแบบกาถูก-ผิด ลักษณะทั่วไป ถือได้ว่าข้อสอบแบบกาถูก-ผิด คือ ข้อสอบแบบเลือกตอบที่มี 2 ตัวเลือก แต่ตัวเลือกดังกล่าวเป็นแบบคงที่และมีความหมาย ตรงกันข้าม เช่น ถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่ จริง-ไม่จริง เหมือนกัน-ต่างกัน เป็นต้น 2.2.3 ข้อสอบแบบเติมคา ลักษณะทั่วไปเป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยประโยค หรือข้อความที่ยังไม่สมบูรณ์ให้ผู้ตอบเติมคา หรือประโยค หรือข้อความลงในช่องว่างที่ เว้นไว้นั้น เพื่อให้มีใจความสมบูรณ์และถูกต้อง 2.2.4 ข้อสอบแบบตอบสั้นๆ ลักษณะทั่วไป ข้อสอบประเภทนี้คล้ายกับข้อสอบ แบบเติมคา แต่แตกต่างกันที่ข้อสอบแบบตอบสั้นๆ เขียนเป็นประโยคคาถามสมบูรณ์ (ข้อสอบเติมคาเป็นประโยคที่ยังไม่สมบูรณ์) แล้วให้ผู้ตอบเป็นคนเขียนตอบ คาตอบที่ ต้องการจะสั้นและกะทัดรัดได้ใจความสมบูรณ์ไม่ใช่เป็นการบรรยายแบบข้อสอบอัตนัย หรือความเรียง 2.2.5 ข้อสอบแบบจับคู่ ลักษณะทั่วไป เป็นข้อสอบเลือกตอบชนิดหนึ่งโดยมีคา หรือข้อความแยกจากกันเป็น 2 ชุด แล้วให้ผู้ตอบเลือกจับคู่ว่า แต่ละข้อความในชุดหนึ่ง (ตัวยืน) จะคู่ กับคา หรือข้อความใดในอีกชุดหนึ่ง (ตัวเลือก) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใด อย่างหนึ่งตามที่ผู้ออกข้อสอบกาหนดไว้ 2.2.6 ข้อสอบแบบเลือกตอบลักษณะทั่วไป ข้อสอบแบบเลือกตอบนี้จะ ประกอบด้วย 2 ตอน ตอนนาหรือคาถามกับตอนเลือก ในตอนเลือกนี้จะประกอบด้วย ตัวเลือกที่เป็นคาตอบถูกและตัวเลือกที่เป็นตัวลวง ปกติจะมีคาถามที่
  • 5. กาหนดให้นักเรียนพิจารณาแล้วหาตัวเลือกที่ถูกต้องมากที่สุดเพียงตัวเลือก เดียวจากตัวเลือกอื่นๆ และคาถามแบบเลือกตอบที่ดีนิยมใช้ตัวเลือกที่ใกล้เคียงกัน ดู เผินๆ จะเห็นว่าทุกตัวเลือกถูกหมด แต่ความจริงมีน้าหนักถูกมากน้อยต่างกัน พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2543 : 96) ได้กล่าวถึงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ทานองเดียวกันว่า หมายถึง แบบทดสอบที่วัดความรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว ซึ่งมักจะเป็น ข้อคาถามให้นักเรียนตอบด้วยกระดาษและดินสอกับให้นักเรียนปฏิบัติจริง จากความหมายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึง แบบทดสอบที่วัดความรู้ความสามารถทางการเรียน ด้านเนื้อหา ด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆของวิชาต่าง ๆ 2.3 หลักเกณฑ์ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์จากนักการศึกษา หลายๆท่านที่กล่าวถึงหลักเกณฑ์ไว้สอดคล้องกัน และได้ลาดับเป็นขั้นตอนดังนี้ 2.3.1 เนื้อหาหรือทักษะที่ครอบคลุมในแบบทดสอบนั้น จะต้องเป็นพฤติกรรมที่ สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ 2.3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้แบบทดสอบวัดนั้นถ้านาไปเปรียบเทียบกัน จะต้องให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆเหล่านั้นได้ครอบคลุมและเท่าเทียมกัน 2.3.3 วัดให้ตรงกับจุดประสงค์ การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรจะ วัดตามวัตถุประสงค์ทุกอย่างของการสอน และจะต้องมั่นใจว่าได้วัดสิ่งที่ต้องการจะวัดได้จริง 2.3.4 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการวัดความเจริญงอกงามของ นักเรียน การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าไปสู่วัตถุประสงค์ที่วางไว้ดังนั้น ครูควรจะ ทราบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีความรู้ความสามารถอย่างไร เมื่อเรียนเสร็จแล้วมีความรู้ แตกต่างจากเดิมหรือไม่ โดยการทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน 2.3.5 การวัดผลเป็นการวัดผลทางอ้อม เป็นการยากที่จะใช้ข้อสอบแบบเขียนตอบวัด พฤติกรรมตรง ๆ ของบุคคลได้ สิ่งที่วัดได้ คือ การตอบสนองต่อข้อสอบ ดังนั้น การเปลี่ยน วัตถุประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมที่จะสอบ จะต้องทาอย่างรอบคอบและถูกต้อง 2.3.6 การวัดการเรียนรู้ เป็นการยากที่จะวัดทุกสิ่งทุกอย่างที่สอนได้ภายในเวลาจากัดสิ่งที่ วัดได้เป็นเพียงตัวแทนของพฤติกรรมทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นต้องมั่นใจว่าสิ่งที่วัดนั้นเป็น ตัวแทนแท้จริงได้
  • 6. 2.3.7 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องช่วยพัฒนาการสอนของครู และเป็น เครื่องช่วยในการเรียนของเด็ก 2.3.8 ในการศึกษาที่สมบูรณ์นั้น สิ่งสาคัญไม่ได้อยู่ที่การทดสอบแต่เพียงอย่าง เดียวการทบทวนการสอนของครูก็เป็นสิ่งสาคัญยิ่ง 2.3.9 การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรจะเน้นในการวัดความสามารถในการใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์ หรือการนาความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ 2.3.10 ควรใช้คาถามให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและวัตถุประสงค์ที่วัด 2.3.11 ให้ข้อสอบมีความเหมาะสมกับนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ความยากง่าย พอเหมาะ มีเวลาพอสาหรับนักเรียนในการทาข้อสอบ จากที่กล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ในการสร้างแบบทดสอบให้มีคุณภาพ วิธีการสร้าง แบบทดสอบที่เป็นคาถาม เพื่อวัดเนื้อหาและพฤติกรรมที่สอนไปแล้วต้องตั้งคาถามที่ สามารถวัดพฤติกรรมการเรียนการสอนได้อย่างครอบคลุมและตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.4 ชนิดของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538 : 146) ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ว่า เป็นแบบทดสอบที่วัดความรู้ของนักเรียนหลังจากที่ ได้เรียนไปแล้วซึ่งมักจะเป็นข้อคาถามให้นักเรียนตอบด้วยกระดาษและดินสอกับให้ นักเรียนปฏิบัติจริง ซึ่งแบ่งแบบทดสอบประเภทนี้เป็น 2 ประเภท คือ 2.4.1 แบบทดสอบของครู หมายถึง ชุดของข้อคาถามที่ครูเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นข้อ คาถามที่เกี่ยวกับความรู้ที่นักเรียนได้เรียนในห้องเรียน เป็นการทดสอบว่านักเรียนมีความรู้ มากแค่ไหนบกพร่องในส่วนใดจะได้สอนซ่อมเสริม หรือเป็นการวัดเพื่อดูความพร้อมที่จะ เรียนในเนื้อหาใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของครู 2.4.2 แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละ สาขาวิชา หรือจากครูที่สอนวิชานั้น แต่ผ่านการทดลองหาคุณภาพหลายครั้ง จนมีคุณภาพดี จึงสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบนั้น สามารถใช้หลักและเปรียบเทียบผลเพื่อประเมินค่า ของการเรียนการสอนในเรื่องใดๆ ก็ได้ แบบทดสอบมาตรฐานจะมีคู่มือดาเนินการสอบ บอดถึงวิธีการ และยังมีมาตรฐานในด้านการแปลคะแนนด้วยทั้งแบบทดสอบของครูและ แบบทดสอบมาตรฐาน จะมีวิธีการในการสร้างข้อคาถามที่เหมือนกัน เป็นคาถามที่วัด เนื้อหาและพฤติกรรมในด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
  • 7. 2.4.2.1 วัดด้านการนาไปใช้ 2.4.2.2 วัดด้านการวิเคราะห์ 2.4.2.3 วัดด้านการสังเคราะห์ 2.4.2.4 วัดด้านการประเมินค่า 3. วิชาคอมพิวเตอร์ ความหมายของวิชาคอมพิวเตอร์ ภาพ 1 อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ 3.1 คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็น เครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทน ความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สาคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกาหนดชุดคาสั่ง ล่วงหน้า หรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทางานได้หลากหลาย รูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคาสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทาให้สามารถนาคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้ อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การ ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทางานได้ อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทางานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ 1 รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทาการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
  • 8. 2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทาการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ 3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา ยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ 4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทาการเก็บผลลัพธ์จากการ ประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนามาใช้ใหม่ได้ในอนาคต 3.2 คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคานวณ อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทางานคานวณผลและ เปรียบเทียบค่าตามชุดคาสั่งด้วยความ เร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คาจากัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่อง อิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทาหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สาหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและ ซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องมือที่ช่วย ในการคานวณและการประมวลผลข้อมูล จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิด เลข เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1. ความเร็ว (Speed) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทางานได้ด้วยความเร็วสูงมาก ซึ่ง หน่วยความเร็วของการทางานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น - มิลลิเซกัน (Millisecond) ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที หรือ ของวินาที - ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที หรือ ของวินาที - นาโนเซกัน (Nanosecond) ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที หรือของวินาที ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค ซึ่งได้มี การพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวล ข้อมูล ได้เร็วในเวลาไม่เกิน 1 วินาที จะทาให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนามาเป็น เครื่องมือใช้งานอย่างดียิ่ง 2. หน่วยความจา (Memory) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจา ซึ่ง สามารถใช้บันทึกและเก็บ ข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคาสั่ง (Instructions) ต่อๆกันได้ที่เราเรียกว่าโปรแกรม แลนามาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทาให้ คอมพิวเตอร์สามารถทางานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น การสารวจสามะโน
  • 9. ประชากร หรือรายงานผลการเลือกตั้งซึ่งทาให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง จาก การที่หน่วยความจาสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้ ทาให้เครื่อง คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถทางานได้อย่างอัตโนมัติ ในกรณีที่มีงานที่ต้อง ทาซ้าๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทา งานเหล่านั้นก็จะทาให้เกิด ประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยาและประหยัดเนื่องจากการเขียน คาสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทางาน ซ้าๆได้คราวละจานวนมากๆ 3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไป ด้วยหน่วยคานวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถใน การคานวณแล้วยังสามารถใช้ใน การเปรียบเทียบซึ่งความสามารถนี้เองที่ทาให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และ คุณสมบัตินี้ทีทาให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้ อย่างกว้างขวาง เช่น การจัดเรียงข้อมูลจาเป็นต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทางานซ้าๆตามเงื่อนไขที่กาหนด หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในกิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงาน จากคอมพิวเตอร์แทนแรงงานจากมนุษย์ทาให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยา เป็นการ ผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก 3.3 ยุคของคอมพิวเตอร์ ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่ง ใช้กาลังไฟฟ้ าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบาย ความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่อง คอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC) ภาพ 2 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 1 รุ่น มาร์ค วัน (MARK I)
  • 10. ภาพ 3 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 1 รุ่น อีนิแอค (ENIAC) ภาพ 4 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 1 รุ่น ยูนิแวค (UNIVAC) คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจา มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสารองในรูปของ สื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดย สามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถ เข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้ งานมาจนถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ ภายในมากมายทาให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็น
  • 11. โปรแกรมย่อย ๆ ในการกาหนดชุดคาสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มี ความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทางานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง ภาพ 5 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 3 วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทาให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง สามารถตั้งบนโต๊ะในสานักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋ าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสาเร็จให้ เลือกใช้กันมากทาให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง ภาพ 6 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 4
  • 12. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนามาเพื่อช่วยในการ ตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็น ผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกาลังสนใจค้นคว้าและพัฒนา ทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง ภาพ 7 ยุคคอมพิวเตอร์ที่ 5 4. Microsoft Office Microsoft Office คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์เช่นในการ ออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งขอบเขตงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรม โดยอาจมีส่วนร่วมใน ระดับทั้งโครงงาน แทนการดูแลส่วนของชิ้นงาน ซึ่งในกลุ่มนี้อาจรวมถึงโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์ ภาพ 8 Microsoft Office
  • 13. 4.1 Microsoft office Excel 2010 โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภทสเปรดชีต (spreadsheet) หรือโปรแกรม ตารางทางานซึ่งใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ สูตรคานวณ ลงบนแผ่นตารางงานคล้ายกับการเขียนข้อมูลลงไป ในสมุดที่มีการตีช่องตารางทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ตารางแต่ละช่องจะมีชื่อกากับไว้ในแนวตั้งหรือ สดมภ์ของตารางเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเริ่มจาก A,B,C,...เรื่อยไปจนสุดขอบตารางทางขวา มี ทั้งหมด 256 สดมภ์ (Column) แนวนอนมีหมายเลขกากับเป็นบรรทัดที่ 1,2,3,...เรื่อยไปจนถึง บรรทัดสุดท้ายจานวนบรรทัดจะต่างกันในแต่ละโปรแกรมในที่นี้เท่ากับ 65,536 แถว (Row) ช่องที่ แนวตั้งและแนวนอนตัดกันเรียกว่า เซลล์ (Cell) ใช้บรรจุข้อมูล ข้อความ หรือสูตรคานวณ ปัจจุบัน โปรแกรมตารางทางาน มีความสามารถ 3 ด้าน คือ คานวณ นาเสนองานด้วยกราฟและแผนภูมิ จัดการฐานข้อมูล โปรแกรมประเภทตารางทางานมีผู้พัฒนาขึ้นมาหลายโปรแกรม เช่น ปี 2522ใช้ โปรแกรมตารางทางานชื่อว่า วิสิแคล(VisiCalc) ต่อมาปรับปรุงชื่อว่า ซุปเปอร์แคล (SuperCalc) ใน ปี 2525 ในพัฒนาโปรแกรมชื่อว่า มัลติแพลน (Multiplan) ปี 2526ได้ปรับปรุงโปรแกรมชื่อว่า โลตัส 1-2-3 (Lotus 1-2-3) เป็นที่นิยมอย่างมาก ภาพ 10 สัญลักษณ์ของ โปรแกรม Microsoft Office Excel 2010 คุณสมบัติของโปรแกรม Microsoft Excel 2010 4.1.1 ความสามารถด้านการคานวณ Excel สามารถป้ อนสูตรการคานวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น 4.1.2 ความสามารถด้านใช้ฟังก์ชั่น เช่นฟังก์ชั่นเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข วันที่ ฟังก์ชั่น เกี่ยวกับการเงิน หรือเกี่ยวกับการตัดสินใจ
  • 14. 4.1.3 ความสามารถในการสร้างกราฟ Excel สามารถนาข้อมูลที่ป้ อนลงในตารางมาสร้าง เป็นกราฟได้ทันที 4.1.4. ความสามารถในการตกแต่งตารางข้อมูล Excel สามารถตกแต่งตารางข้อมูลหรือ กราฟ ข้อมูลด้วยภาพ สี และรูปแบบตัวอักษรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและทาให้แยกแยะ ข้อมูลได้ง่ายขึ้น 4.1.5. ความสามารถในการเรียงลาดับข้อมูล Excel สามารถคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ มาวิเคราะห์ได้ 4.1.6. ความสามารถในการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ Excel สามารถพิมพ์งานทั้งข้อมูล และรูปภาพหรือกราฟออกทางเครื่องพิมพ์ได้ทันที ซึ่งทาให้ง่ายต่อการสร้างรายงาน 4.1.7. ความสามารถในการแปลงข้อมูลในตารางให้เป็นเว็บเพจ เพื่อนาไปแสดงใน โฮมเพจ 1. การจัดการเอกสารของคุณในมุมมอง Backstage ในมุมมอง Microsoft Office Backstage จะสามารถทาทุกอย่างกับแฟ้ มได้โดยที่ไม่ ต้องเข้าไปทาในแฟ้ มนั้น นวัตกรรมล่าสุดในส่วนติดต่อผู้ใช้ Microsoft Office Fluent และ คุณลักษณะเสริมสาหรับ Ribbon นั่นคือ มุมมอง Backstage ซึ่งเป็นที่ที่จะจัดการกับแฟ้ ม ของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง บันทึกเอกสารของเรา 2. แท็บแฟ้ ม จะแทนที่ ปุ่ ม Microsoft Office และเมนูแฟ้ ม ที่ใช้ใน Microsoft Office รุ่นก่อนหน้านี้ โดยแท็บ แฟ้ ม จะอยู่ที่มุมบนซ้ายของโปรแกรม Microsoft Office 2010 เมื่อคลิก ที่แท็บแฟ้ ม จะเห็นคาสั่งพื้นฐานเช่นเดียวกับที่เห็นเมื่อคลิกที่ ปุ่ม Microsoft Office หรือ เมนูแฟ้ ม ใน Microsoft Office รุ่นก่อนหน้า ซึ่งจะพบกับคาสั่ง เปิด บันทึก และ พิมพ์ เช่นเดียวกับคาสั่งใหม่ของมุมมอง Backstageคือ แถบบันทึกและส่ง ซึ่งจะมีตัวเลือก หลากหลายเพื่อส่งหรือใช้เอกสารร่วมกัน 3. การค้นหาสิ่งที่ต้องการในเอกสารขนาดยาวด้วย บานหน้าต่างนาทางเอกสาร และ การค้นหาแบบใหม่ ใน Microsoft Excel 2010 เราสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการในเอกสารที่มีความยาว มากได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถจัดระเบียบเอกสารของเราใหม่ได้ง่ายๆ ด้วยการลากแล้ว
  • 15. ปล่อยส่วนหัว แทนการคัดลอกและวาง และสามารถค้นหาเนื้อหาได้โดยการใช้การค้นหา เพิ่มเติม ดังนั้น เราจึงไม่จาเป็นต้องทราบแน่นอนถึงสิ่งที่กาลังค้นหาในการค้นหานั้นๆ 4. การปรับแต่งข้อความด้วยคุณลักษณะ OpenType Microsoft Excel 2010 สนับสนุนคุณลักษณะการจัดรูปแบบข้อความขั้นสูง ซึ่ง รวมถึงการตั้งค่าตัวอักษรควบแบบต่างๆ และตัวเลือกของชุดอักษรดัดแปลงและรูปแบบ ตัวเลข ซึ่งสามารถใช้คุณลักษณะใหม่เหล่านี้กับแบบอักษร OpenType มากมายเพื่อการ พิมพ์ที่สวยงามขึ้นไปอีกระดับ 5. การเพิ่มลักษณะพิเศษแนวศิลป์ ให้กับรูปภาพ Microsoft Excel 2010 สามารถนาลักษณะพิเศษ “ แนวศิลป์ ” ที่ซับซ้อนมาใช้กับ รูปภาพในเอกสาร เพื่อทาให้รูปภาพดูเหมือนภาพร่าง ภาพวาด หรือภาพระบายสีได้ ซึ่ง เป็นวิธีง่ายๆในการปรับรูปภาพต่างๆโดยที่ไม่ต้องใช้โปรแกรมแก้ไขรูปภาพอื่นๆเพิ่มเติม ทาให้การจัดการรูปภาพต่างๆในเอกสารสะดวกและสวยงามยิ่งขึ้น 6. การเอาพื้นหลังของรูปภาพออกโดยอัตโนมัติ ตัวเลือกการแก้ไขรูปภาพขั้นสูงอีกอย่างหนึ่งในโปรแกรม Microsoft Excel 2010 ก็คือ ความสามารถในการเอาส่วนของภาพที่ไม่ต้องการ เช่น พื้นหลังออกโดยอัตโนมัติ เพื่อเน้นหรือทาให้ภาพเด่นขึ้น หรือ นารายละเอียดที่เบี่ยงเบนความสนใจออกไปจาก รูปภาพที่ใส่ลงในเอการ 7. การแทรกภาพหน้าจอ โปรแกรม Microsoft Excel 2010 สามารถเพิ่มภาพจากหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้เอง โดยจะมีคาสั่งที่ใช้ในการจับภาพหน้าจอและรวมภาพลงในหน้าเอกสารของ โปรแกรม และ หลังจากที่เพิ่มภาพหน้าจอแล้ว ก็ยังสามารถใช้เครื่องมือบนแท็บ เครื่องมือรูปภาพ ในการแก้ไขและปรับรูปภาพได้ 8. เค้าโครงภาพกราฟิก SmartArt ใหม่ เราสามารถใช้เค้าโครงรูปภาพกราฟิก SmartArt แบบใหม่ เพื่อเล่าเรื่องราวได้ด้วย รูปถ่ายหรือ รูปอื่นๆ ได้ เพียงแค่แทรกรูปภาพลงไปในรูปร่าง SmartArt ของเค้าโครง ไดอะแกรมรูปภาพ และ รูปร่างแต่ละรูปก็สามารถใส่คาอธิบายต่างๆลงไปในภาพนั้นได้ อีกด้วยยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากมีรูปภาพอยู่ในเอกสารอยู่แล้ว ก็สามารถแปลงรูปภาพให้เป็น กราฟิก SmartArt ได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับข้อความในเอกสารนั่นเอง
  • 16. 5. สื่อการเรียนการสอน ความหมายของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ สื่อ (Medium,pl.medie) เป็นภาษาละตินว่า "Medium" แปลว่า "ระหว่าง" "Between" หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางให้ข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่ง ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตามจุดประสงค์ ในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนาสื่อมาใช้ประกอบการสอนจะเรียกว่า "สื่อการสอน" และนามาให้ผู้เล่าเรียนใช้เรียกว่า "สื่อการเรียน" (Learning media) โดยเรียกรวมกันว่า "สื่อการ เรียนการสอน" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "สื่อการสอน" หมายถึง สิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทป บันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ ซื่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหา เกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดจากเนื้อหาวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ ทางกายภาพที่นามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสาหรับทาให้ การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทาให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือ จุดมุ่งหมายที่ผู้สอน วางไว้ได้เป็นอย่างดี นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้ คาจากัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จาพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจน เกิดผลการ เรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการ สัมภาษณ์และการสารวจเป็นต้น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสาหรับทา ให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทา ให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้ เป็น อย่างดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอน เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย ที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่าง มีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคาอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
  • 17. สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนาวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นามาใช้ในห้องเรียน หรือนามาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น 5.1 คุณค่าของสื่อเพื่อการเรียนรู้ สื่อหรือตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน มีคุณค่าต่อการ เรียนการสอน ทั้งกับผู้สอนและผู้เรียนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ในส่วนของผู้สอนสื่อ ช่วย ให้บรรยากาศในการสอน น่าสนใจยิ่งขึ้น ช่วยแบ่งเบาภาระของครู ในการเตรียม เนื้อหา เพราะอาจให้นักเรียนศึกษาได้จากสื่อ และยังช่วยให้ผู้สอนคิดค้นเทคนิคใหม่ๆที่ ช่วยในการเรียนรู้ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ในส่วนของผู้เรียน สื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นใน เวลาอัน สั้นเกิดความคิดรวบยอดได้ถูกต้อง สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนได้ สะดวกช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง กระตุ้นความสนใจในการเรียนและสนอง ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนได้ดี 5.2 ความสาคัญของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ ไชยยศ เรืองสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาอย่างหนึ่งในการสอนก็คือ แนวทางการ ตัดสินใจจัดดาเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้น ตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งการ สอนโดยทั่วไป ครูมักมีบทบาทในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระ หรือทักษะและมีบทบาทในการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัว ผู้เรียนแต่ละคนด้วยว่า ผู้เรียนมีความต้องการอย่างไร ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนใน รูปแบบนี้ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการเรียนการสอนจึงมีความสาคัญมาก ทั้งนี้เพื่อ สร้างบรรยากาศและแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้และ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทั้งมวลที่จัด ขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้น ก็คือ การเรียนการสอนนั่นเอง
  • 18. 5.3 เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสาคัญของสื่อการสอน ดังนี้ 5.3.1สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็ นรูปธรรมขึ้นในความคิดของ ผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็น นามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สาหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เ รี ย น ย่ อ ม ไ ม่ มี ความสามารถจะทาได้การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทาให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และสร้างรูปธรรมขึ้น ในใจ ได้ 5.3.2 สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่าง เดียว 5.3.3 เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจาอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนาประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐาน ประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว 5.3.4 ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันทาให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ สิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของ สิ่งมีชีวิต 5.3.5 ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมาย ของคาใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกันเปรื่อง กุมุท ให้ความสาคัญของสื่อการสอน ดังนี้ 1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมี ความหมาย ชัดเจนต่อผู้เรียน 2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กาหนดไว้จานวนหนึ่ง 3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียน การสอน 4. ช่วยให้ผู้เรียนจา ประทับความรู้สึก และทาอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น 5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน 6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลาบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจากัดต่าง ๆ ได้ดังนี้ - ทาสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น - ทานามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
  • 19. - ทาสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง - ทาสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง - ทาสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น - นาอดีตมาศึกษาได้ - นาสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้ 7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสาเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น เมื่อทราบ ความสาคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน ดังจะกล่าวต่อไปดังนี้ ประเภทของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล จาแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลาดับจากประสบการณ์ที่ เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่ เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น 1. สื่อเพื่อพัฒนาสติปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อาจแบ่งได้ดังนี้ 1.1 สื่อเพื่อฝึกการรับรู้ 1.1.1 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับขนาด ได้แก่ การจัดหาวัสดุสิ่งของ กล่อง บล็อก วางให้เด็กจับต้อง วางซ้อนกัน นาของสองสิ่ง สามสิ่งมาเปรียบเทียบขนาด เล็กใหญ่ เล็กที่สุด ใหญ่ที่สุด 1.1.2 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ครูให้เด็กเล่นภาพตัดต่อ ลองวาง ชิ้นส่วนให้พอดีกับช่อง เช่น ช่องวงกลม เด็กต้องหยิบรูปวงกลมวางลงในช่อง สี่เหลี่ยม เด็กต้องหยิบรูปสี่เหลี่ยมวางได้ถูกต้อง นอกจากนี้ให้เด็กแยกรูปร่าง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงรี ได้ 1.1.3 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องสี แนะนาให้เด็กรู้จักสี เล่นสิ่งของ เครื่องใช้ บล็อก แผ่นกระดาษรูปทรงเรขาคณิตที่มีสีต่าง ๆ โดยเฉพาะเด็กชอบสี สดใส ให้เด็กแยกสิ่งของ วัตถุ รูปภาพ ที่มีสีเหมือนกัน 1.1.4 สื่อฝึกการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อผิวของวัตถุ ให้เด็กได้สารวจสิ่งของ ใกล้ตัว ได้รับได้สัมผัสสิ่งของที่มีความอ่อน นุ่ม แข็ง หยาบ และบอกได้ว่าของแต่ ละชิ้น มีลักษณะอย่างไร เช่น กระดาษทราบหยาบ สาลีนุ่ม ก้อนหินแข็ง ฯลฯ
  • 20. 1.2 สื่อเพื่อฝึกความคิดรวบยอด อาจใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการจัดสิ่งแวดล้อม เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ ครูควรจัดสวนสัตว์จาลอง เล่านิทาน เชิดหุ่น เกี่ยวกับสัตว์ สนทนาซักถามเกี่ยวกับสัตว์ที่เด็กรู้จัก เปรียบเทียบลักษณะของสัตว์ แต่ละชนิด วาด ปั้น ฉีก แปะ รูปร่างสัตว์ การจัดกิจกรรมความคิดรวบยอดเกี่ยวกับอาชีพ เกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้ และบุคคลในสังคม ครูควรใช้สื่อสถานการณจาลอง เสริมให้เด็กเข้าใจได้ถูกต้อง รวดเร็วขึ้น การรู้จักตัวเลขมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ด้วยการใช้วิธีการให้ เด็กค้นพบด้วยตนเอง จัดวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดุมสีต่าง ๆ ฝาเบียร์ ดอกไม้ใบไม้ ขวด บล็อก ให้เด็กจับต้อง นับ สอนให้เข้าใจเลขคี่เลขคู่ 2. สื่อเพื่อพัฒนาทางด้านภาษา การใช้สื่อพัฒนาการทางภาษาจะต้องคานึงถึงพัฒนาการที่สาคัญของเด็กเล็กและ ต้องศึกษาว่าการรับฟังและการเข้าใจภาษาของเด็กว่าอยู่ระดับที่สามารถฟังและ แยกเสียง ต่าง ๆ ได้ เช่น เสียงสัตว์ เสียงดนตรีบางชนิด ฟังประโยคและข้อความสั้นและยาว พอสมควร เข้าใจคาจากัดความ เข้าใจหน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ แยกภาพตามหน้าที่ได้ เช่น สิ่งที่ ใช้กินนอน หรือสิ่งที่อยู่ในบ้าน ในครัว เปรียบเทียบภาพเหมือนไม่เหมือนได้ อ่านรูปภาพ จาชื่อตัวเองและเพื่อนได้เป็นต้น ดังนั้นครูเด็กเล็กจะต้องใช้สื่อประเภทวิธีการ สื่อประเภท วัสดุอุปกรณ์มาจัดกิจกรรมเสริมความพร้อมทางด้านภาษาให้เด็กได้ พัฒนาตามเกณฑ์ ดังกล่าวข้างต้น สื่อที่ครูควรจัดเพื่อเสริมพัฒนาการทางภาษา ได้แก่ หนังสือภาพ แผ่นภาพ ภาพประกอบคาคล้องจอง หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ หุ่นเชิด หุ่นถุงกระดาษ เกมเลียนเสียงสัตว์ เกม สัมพันธ์ภาพกับคา เกมเรียนรู้ด้านการฟัง เกมทายเรื่อง เกมจับคู่ภาพเหมือนและแยกภาพ ต่าง ๆ การเล่นนิ้วมือประกอบคาร้องหรือเรื่องราว วิธีการเล่นบทบาทสมมุติ มุมบล็อค ต่างๆ ให้เล่นเป็นกลุ่มในมุมบ้าน เทป วิทยุ เครื่องเสียง 3. สื่อเพื่อพัฒนาความพร้อมกล้ามเนื้อเล็กใหญ่ และประสาทสัมพันธ์ ครูจะต้องศึกษา พัฒนาเกี่ยวกับการทรงตัว ความมั่นคงของการใช้กล้ามเนื้อตาม วัย เพื่อจะเลือกใช้สื่อได้เ หมาะ สื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ครูสามารถเลือกใช้ ได้มีดังนี้ ลูกบอล ดนตรี กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ ตีขณะที่ให้เด็กยืนทรงตัว เพื่อให้เกิด ความว่องไวในการบังคับกล้ามเนื้อ ลูกบอล ตุ๊กตาผ้า ลูกตุ้มทาด้วยฟางข้าว หรือผ้าสาหรับแข่งขว้างไกล ๆ
  • 21. รองเท้า เชือกผูกรองเท้า กระดุม ซิป สาหรับฝึกการบังคับกล้ามเนื้อมือ และฝึกสายตา แผ่นภาพ รูปภาพ สิ่งของ นามาแขวนจัดเรียงกันให้เด็กมองกรอกสายตา ตามภาพหรือของที่วางไว้ ขีดเส้นใต้เติมตามเส้นคดเคี้ยว แผ่นภาพขีดเป็นช่องสาหรับใช้นิ้วลากตาม เส้นทางที่ครูกาหนด ดินเหนียวให้เด็กใช้ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ อุปกรณ์วาดภาพ สีไม้ สี เทียน สีดินสอ สีจากพืช ฉีกกระดาษปะเป็นรูปต่าง ๆ ขยากระดาษหนังสือพิมพ์ ร้อยดอกไม้ เล่น ตัดเมล็ดพืช เป่าสีด้วยหลอดกาแฟ ต่อภาพแบบโยนโบว์ลิ่ง ตวงทราย กรอกน้าใส่ ขวด เรียงลูกคิดลงหลัก วางแผ่นรูปทรงลงในช่องที่กาหนด เดินกระดานแผ่นเดียว เล่นภาพตัดต่อ เล่นเครื่องเล่นสนาม ยิงปืนก้านกล้วย ร้อยเชือกรอบแผ่นภาพ ฝึก ประสาทสัมพันธ์ เล่นเกมจาแนกหมวดหมู่ สื่อดังกล่าวนี้มักจะถูกเลือกมาใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งอาจมีการใช้ครั้ง ละชนิดหรือใช้พร้อมกันเกินกว่าหนึ่งชนิด หรือใช้ตามลาดับก่อนหลังก็ได้ 4. แนวโน้มการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ การพิจารณาแนวโน้มการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้จะต้องดูแนวโน้มของการ จัด การศึกษาในอนาคตควบคู่กันไปด้วย จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการจัดการศึกษาไทย เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าด้าน เทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมรวมถึง การเปลี่ยนแปลง แนวคิดและปรัชญาการศึกษาที่มุ่งให้การศึกษาต่อเนื่องตลอด ชีวิตกับคนทุกคนและแนว ทางการจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด แนวโน้มการใช้สื่อการเรียนรู้ในอนาคต น่าจะมีลักษณะดังนี้ - เป็นสื่อที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งใน ด้าน เวลาและสถานที่ ความสนใจ ความพร้อม ฯลฯ ให้มีสิทธิเสมอภาค และมี โอกาศในการเรียนรู้ เท่าเทียมกัน เช่น สื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต การสอนทางไกล - เป็นสื่อที่สนองจุดประสงค์ในการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้แก้ไขปัญหา เช่น สถานการณ์ จาลอง เกมชุดการเรียน ฯลฯ
  • 22. - เป็นสื่อจากแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เช่นห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะเป็นต้น - สื่อที่อาศัยคลื่นความถี่เป็นตัวนา หรือสื่อผ่านระบบเครือข่าย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ ในระบบดรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างจิงจัง และมีประสิทธิภาพ - สื่อที่จัดอยู่ในลักษณะของประสบการณ์สาเร็จรูป เพื่อสอนเนื้อหาเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง ที่จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนผ่านสื่อ จน ประสบผลสาเร็จ จะได้รับความนิยมมากขึ้น อาทิ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน (CAI) ชุดการเรียน ( model) เป็นต้น 6. หลักและทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นเรื่องที่สาคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ครูจะต้องศึกษาก่อนการ เขียนแผนการ จัดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ จะทาให้ครูเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผล โดยตรงกับ ผู้เรียน ในการจัดการเรียนรู้ถ้าครูศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ก่อนแล้วนาแนวคิดจากทฤษฎี ไป สู่การปฏิบัติคือการจัดการเรียนรู้ จะทาให้การจัดการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างรวดเร็ว ซึ่ง จะดีกว่าการที่เราจัดการเรียนรู้โดยไม่มีทฤษฎีรองรับเพราะทฤษฎีต่างๆ นั้นได้มีการค้นคว้าทดลอง จนเป็นที่ยอมรับ พูดง่าย ๆ ก็คือได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว สามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้เลย ทิศนา แขมมณี (2550 : 40 - 107) ได้สรุปแนวคิดและแนวปฏิบัติของทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ตั้งแต่แนวคิด เกี่ยวกับ การกระทาหรือพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งมี 3 แนวคิด แนวที่ 1 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการ กระทาของมนุษย์ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตนเอง แนวที่ 2 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทา ของมนุษย์ เกิดขึ้นจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม มิใช่มาจากแรงกระตุ้นภายใน แนวที่ 3 เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการกระทาของมนุษย์ เกิดขึ้นทั้งจากสิ่งแวดล้อมและจากแรงกระตุ้นภายในตัวบุคคล ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่เน้นการฝึกจิต หรือสมอง กลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติและกลุ่มที่เน้นการรับรู้และเชื่อมโยง ความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มี 4 กลุ่มคือกลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพุทธินิยม กลุ่มมนุษยนิยมและกลุ่มผสมผสาน นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย เช่น ทฤษฎีกระบวนการทางสมองและการประมวลข้อมูล ทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย ตนเอง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานและทฤษฎีการเรียนรู้ แบบ ร่วมมือ เป็นต้น
  • 23. ทิศนา แขมมณี (2550 : 45 - 50) ได้กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อน คริสต์ศตวรรษที่ 20 และหลักการจัดการศึกษาและการสอนไว้ดังนี้ นัก คิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกาลังกาย ในการ ฝึกจิตหรือสมองนี้ทาได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึก ให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (Bigge,1964 : 19 – 30 อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 45 – 48) 1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สาคัญของกลุ่มนี้ คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 1.1.1มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทาใด ๆ ของมนุษย์เกิด จากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active) 1.1.2มนุษย์พร้อที่จะทาความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม 1.1.3สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับ การฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทาให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ 1.1.4 การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจาเป็นต่อการ พัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด 1.1.5 การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น หลักการจัดการศึกษา/การสอน 1.การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสาคัญใน การฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี 2.การฝึกจิตจะต้องทาอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ ลงโทษ เป็นสิ่งจาเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง 3.การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาตินและภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี 4.การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า จะช่วยให้ ผู้เรียนเป็นคนดี