SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
Download to read offline
ชื่องานวิจัย การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ
ปลายภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียน
ระดับประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย ครูอนุสรา เสนไสย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรียนชั้น
ป.5 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียนชั้น ป.5 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ
ปลายภาคเรียน ประจาปีการศึกษา 2552 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จานวน
180 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ ซึ่งเรียนด้วยการสอนแบบ
หลากหลาย อาทิ สาธิตการทดลอง บรรยาย เล่าเรื่อง ถามคาถาม ทั้งนี้ขึ้นกับความสอดคล้องกับบทเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามพฤติกรรมนักเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์ 2) ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ผู้วิจัยหาค่าเฉลี่ยต่างๆ และตรวจสอบ
คุณภาพข้อสอบตามวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ใช้สูตร KR-21 โดยคานวณจากโปรแกรม Excel
ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนระดับชั้น ป.5 มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงบวก
2. นักเรียนมีเจตคติต่อบทเรียนในภาคเรียนที่ 2 ป.5 เรียงลาดับบทเรียนจากชอบมากที่สุดไปหา
น้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) วัฏจักรของน้า 2) ทิศ 3) เสียงกับการได้ยิน 4) สภาพอากาศ 5) กลุ่มดาว 6)
แรงเสียดทาน 7) แรงลัพธ์ 8) ความดันแรงดัน และ 9) แรงลอยตัวและการจมลอย
3. ข้อสอบที่ใช้วัดผลนักเรียนมีค่าความเชื่อมันเท่า 0.8297 ซึ่งจัดเป็นข้อสอบที่มีคุณภาพ
น่าเชื่อถือแต่มีข้อสอบที่ควรตัดทิ้งจานวน 7 ข้อ และควรปรับปรุงก่อนนาไปใช้จานวน 7 ข้อ
2
ชื่องานวิจัย การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของ
ข้อสอบปลายภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของ
นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย ครูอนุสรา เสนไสย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
เนื้อหา
1. ความเป็นมาและความสาคัญของงานวิจัย
2. เอกสารและงานวิจัยอ้างอิง
3. วิธีดาเนินการวิจัย
4. ผลการวิจัย
5. สรุปผลการวิจัย
3
คานา
แบบการวิจัยฉบับนี้เป็นการทาการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ
แบบทดสอบวัดผลปลายภาคเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาราษฎร์-
บาเพ็ญ โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ออกแบบสอบถามพฤติกรรมและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และ
เจตคติต่อรายบทเรียน เพื่อพัฒนาวิธีการสอนเป็นรายบทเรียน
นอกจากนี้ผู้วิจัยยังคานึงถึงคุณภาพของข้อสอบที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ปลายภาคเรียน จึง
ทาการหาคุณภาพข้อสอบเพื่อคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพไว้ทดสอบในปีการศึกษาต่อไป
ผู้ทาการวิจัย
อนุสรา เสนไสย
4
บทที่ 1
บทนา
1. ความเป็นมาและความสาคัญของงานวิจัย
ในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ยังประสบปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นด้าน
กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูส่วนมากจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนจดจาเนื้อหาทฤษฎีตามที่ครูสอน
มากกว่าการที่จะให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองด้วยเหตุนี้ เมื่อนักเรียนไป
พบสภาพปัญหาที่แตกต่างจากในห้องเรียนนักเรียนจึงไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ และจากการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และ
ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในขั้นต่าไม่เป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้นักเรียน
ขาดความกระตือรือร้นในการใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนไม่มีความรับผิดชอบในงานที่รับมอบหมาย ทั้งนี้
เนื่องมาจากการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักเรียนจดจาเนื้อหาเพื่อนาไปตอบคาถามในแบบทดสอบ
เท่านั้น ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้นักเรียนก็จะมีแต่ความรู้ในหลักทฤษฎีในเนื้อหาบทเรียนแต่ขาดทักษะ
ที่จะนาไปใช้ในการดารงชีวิตประจาวันก็จะทาให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจาวันได้
ดังนั้นการปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูเป็นสิ่งที่จะทาจะช่วยพัฒนาปัจจัยต่างๆ
อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีลักษณะที่พึงประสงค์ คือ เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขในการดารงชีวิต การ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมหลากหลายก็เป็นวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มองเห็น
ปัญหาด้วยตนเองและคิดค้นหาแนวทางที่จะศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ตามความสนใจ ความสามารถ
พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ มีการทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะเพื่อเสริมสร้างจิตสานึกในด้าน
ประชาธิปไตยในสังคมและผู้เรียนมีความสุขในการที่จะได้ศึกษาตามความสามารถและความสนใจของ
ตน ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของรัฐธรรมนูญไทยมาตราที่ 81 และแนวการจัดการศึกษาของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตราที่ 22 โดยสนับสนุนแนวทางปฏิรูปการศึกษาที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสาคัญ
ครูควรศึกษาวิจัยค้นคว้าและหาวิธีปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และ
พัฒนาแบบทดสอบให้ได้คุณภาพยิ่งขึ้น โดยครูศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเรียนการสอน เพื่อ
ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษายังไม่บรรลุผล
เท่าที่ควร ทั้งที่นักเรียนโรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญในปีการศึกษา 2552 ได้รับการสอนหลากหลาย
รูปแบบขึ้นอยู่กับความสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน ในปีนี้ผู้วิจัยได้สารวจเจตคติต่อการเรียนราย
บทเรียน เพื่อจะได้นาไปปรับปรุงวิธีการสอนในบทเรียนที่นักเรียนมีเจตคติเชิงลบ นอกจากนี้ผู้วิจัยยัง
5
เห็นความสาคัญของแบบทดสอบจึงได้ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบปลายภาคเรียน เพื่อนาข้อที่มี
คุณภาพไปใช้ทดสอบกับนักเรียนในปีการศึกษาต่อไป
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรียนชั้น ป.5
2. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียนชั้น ป.5
3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบปลายภาคเรียน ประจาปีการศึกษา 2552
3. ขอบเขตการวิจัย
3.1 ขอบเขตของเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งประกอบด้วย
5 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 มาสนุกกับแรง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เสียงกับการได้ยิน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หยาดน้าฟ้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 สภาพอากาศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า
3.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปี
การศึกษา 2552 จานวน 180 คน
3.3 ตัวแปรที่ศึกษา
ไม่มี
4. คาจากัดความที่ใช้ในการวิจัย
1. เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
หลังจากมีประสบการณ์ในการเรียนตามกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้น และเป็น
พฤติกรรมที่นักเรียนสนองตอบต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ไปในทางใดทางหนึ่งหรือลักษณะใดลักษณะ
หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ความพอใจ ศรัทธา และซาบซึ้ง เห็นคุณค่าและประโยชน์ รวมทั้งมีคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ โดยวัดได้จากแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัย
สร้างขึ้น ซึ่งกาหนดมาตรวัดของคาตอบในแต่ละข้อเป็น 4 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างมากที่สุด มาก น้อย
และน้อยที่สุด ผู้ตอบได้คะแนนสูงสุด หมายความว่าเป็นผู้ที่เห็นด้วยอย่างมากเกี่ยวกับรายการที่ประเมิน
2.เจตคติต่อรายบทเรียน หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาในแต่ละบทเรียน หลังจาก
ได้เรียนทุกบทเรียน โดยวัดได้จากแบบวัดฉบับเดียวกับแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็น
ส่วนที่ผู้วิจัยได้เพิ่มเติมขึ้นมา
6
3. การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ หมายถึง การหาค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ค่าความ
ยากง่าย และหาค่าอานาจจาแนกของข้อสอบ ข้อสอบที่มีคุณภาพควรมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.02
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อรายบทเรียนเพื่อนาข้อมูลไป
ปรับปรุงเทคนิคการสอนเป็นรายบทเรียน อีกทั้งได้ตรวจหาคุณภาพข้อสอบปลายภาคเพื่อใช้พัฒนา
ข้อสอบในภาคเรียนต่อไป
7
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยอ้างอิง
1. เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์
1.1 ความหมายของเจตคติ
คาว่าเจตคติ แปลว่า ความโน้มเอียง บางครั้งก็เรียกว่า “ทัศนคติ” ซึ่งในที่นี้จะถือว่าเป็นการ
กล่าวถึงในที่นี้จะถือว่าเป็นการกล่าวถึงในสิ่งเดียวกัน มีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย หรือให้คาจากัด
ความ ดังนี้
เทอร์สโตน (Thurstone อ้างถึงใน สมปอง ม้ายนอุเทศ, 2542, หน้า 11) ได้กล่าวว่าเจตคติเป็น
ระดับความมากน้อยของความรู้สึกในด้านบวกและลบที่มีต่อสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น
สิ่งของ บทความ บุคคล องค์การ ความคิด ฯลฯ ความรู้สึกเหล่านี้ผู้รู้สึกสามารถบอกความแตกต่างได้ว่า
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
เคนเลอร์ (Kendler อ้างถึงใน อุษณีย์ วรรณจิยี, 2536, หน้า 74) ได้กล่าวว่าเจตคติ คือ ความพร้อม
ของบุคคลที่จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสังคมแวดล้อม หรือเป็นความโน้มเอียงที่จะ
แสดงพฤติกรรมที่จะสนับสนุน หรือคัดค้านประสบการณ์บางอย่าง บุคคล สถาบัน ตลอดจน
แนวความคิดบางอย่าง การแสดงออกของเจตคติโดยอาศัยพฤติกรรม แบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ
แสดงออกในลักษณะที่เห็นด้วย พึงพอใจหรือชอบกับไม่เห็นด้วย ไม่พึงพอใจ ไม่ชอบ
อัลพอร์ท (Allport อ้างถึงใน จินตนา กุลทัพ, 2540, หน้า 8) ได้กล่าวว่า เจตคติ หมายถึง สภาวะ
ความพร้อมของจิตและประสาท อันเกิดจากประสบการณ์เป็นตัวกาหนดทิศทางปฏิกิริยาการแสดงออก
โบการ์ดัส (Bogaudus อ้างถึงใน วันชัย มีกลาง, 2530, หน้า 35) ได้กล่าวว่าเจตคติ คือ แนวโน้ม
ของการกระทาที่แสดงต่อหรือต้านบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อม ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นค่านิยม
ทางบวกหรือทางลบต่อสิ่งนั้น
ฟิชบายน์ และไอเซ็น (Fishbein & Ajzen อ้างถึงใน ฉัตรชัย มุระดา, 2540, หน้า 40) ให้คานิยาม
ว่า เจตคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หมายถึง ผลรวมของการประเมินความเชื่อที่บุคคลมีต่อสิ่งนั้นและเขียนเป็น
แบบจาลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ทานายพฤติกรรมความตั้งใจของบุคคลได้
สมจิตรา เรืองศรี (2527, หน้า 9) กล่าวว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึก เป็นสภาพความพร้อมทาง
จิตใจที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมาในลักษณะชอบ ไม่ชอบหรือไม่พอใจ เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยเป็นพฤติกรรมทางจิตใจที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง สามารถสรุปพาดพิงจากพฤติกรรม
ภายนอกที่แสดงออก
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์ (2527, หน้า 66) ได้กล่าวว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่ง
ต่างๆ อันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
หรือแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
8
จากทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกในการตอบสนองต่อสิ่งใด
สิ่งหนึ่งตามความโน้มเอียงภายในตัวบุคคล
1.2 ความหมายของเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์
เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกพอใจ ชอบ หรือความเบื่อหน่ายเกี่ยวกับ
ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ (อนันต์ จันทร์กวี, 2523: 61)
เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อวิทยาศาสตร์
ทางด้านต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมา 2 ทาง คือ (นวลจิตต์ โชตินันท์, 2524: 9)
1) เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงนิรนาม (Positive attitudes toward science) เป็น
พฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะพอใจ ชอบ อยากเรียน อยากเรียน อยากเข้าใกล้สิ่งต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
2) เจตคติเชิงนิเสธ (Negative attitudes toward science) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะ
ไม่พอใจ ไม่ชอบ ไม่อยากเข้าใกล้เบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
1.3 องค์ประกอบของเจตคติ
เจตคติเป็นระบบที่มีลักษณะมั่นคงอันหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ฟรี
แมน (Freeman อ้างถึงใน ศักดิ์ สุนทรเสณี, 2531, หน้า 4-5) คือ
1) องค์ประกอบทางด้านการรู้ (Cognitive Component) เป็นเรื่องของการรู้ของบุคคลในเรื่อง
ใดเรื่องหนึ่ง อาจเป็นการรับรู้เกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ บุคคล หรือเหตุการณ์ต่างๆ ว่ารู้สิ่งต่างๆ ดังกล่าวนั้น
ได้อย่างไร รู้ในทางที่ดีหรือไม่ดี ทางบวกหรือทางลบ ซึ่งจะก่อให้เกิดเจตคติขึ้น ถ้าเรารู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ในทางที่ดี เราก็จะมีเจตคติต่อสิ่งนั้นในทางที่ดี และถ้ารู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางไม่ดี เราก็จะมีเจตคติไม่ดีต่อ
สิ่งนั้นด้วย ถ้าเราไม่รู้จักสิ่งใดเลยเจตคติก็จะไม่เกิดขึ้น หรือไม่มีสิ่งใดในโลก เราก็จะไม่เกิดเจตคติต่อ
สิ่งใดๆ เลย
2) องค์ประกอบทางด้านความรู้สึก (Affective Component or Feeling Component) เป็น
องค์ประกอบทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งถูกเร้าขึ้นจากการรู้นั้น เมื่อเราเกิดการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว จะ
ทาให้เราเกิดความรู้สึกในทางดีหรือไม่ดี ถ้าเรารู้สึกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางที่ไม่ดี เราก็จะไม่ชอบ
หรือไม่พอใจในสิ่งนั้น ซึ่งความรู้สึกนี้จะทาให้เกิดเจตคติในทางในทางหนึ่ง คือชอบหรือไม่ชอบ
ความรู้สิ่งนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก ไม่เหมือนกับความจริง (Fact) ต่างๆ ซึ่งจะ
เปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าถ้ามีเหตุผลเพียงพอ
3) องค์ประกอบทางด้านแนวโน้มในเชิงพฤติกรรมหรือการกระทา (Action Tendency
Component or Behavioral Component) เป็นความพร้อมที่จะตอบสนองต่าสิ่งนั้นๆ ในทางใดทางนึ่ง
คือพร้อมที่จะสนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือในทางทาลายขัดขวาง ต่อสู้ เป็นต้น
9
1.4 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดเจตคติ
การเกิดเจตคตินี้จาเป็นจะต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบต่างๆ ด้วยว่า แต่ละส่วนประกอบนั้น
เกิดขึ้นได้อย่างไร เจตคติอาจเกิดได้จาก (อดุลย์ นันท์บัญชา, 2532, หน้า 21-22)
1.4.1 ประสบการณ์ที่บุคคลพบเห็น เกิดอาการประทับใจ
1.4.2 กระบวนกรเรียนรู้ จากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ ครอบครัว ประเพณี วัฒนธรรม
และความเชื่อต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
1.4.3 การเลียนแบบ
1.4.4 อิทธิพลของกลุ่มสังคม
1.4.5 การสรุปตีความจากคุณลักษณะที่ปรากฏว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น หรือ น่าจะเป็นอย่าง
นี้
1.4.6 ความผิดปกติในเรื่องการปรับตัวของคนที่มีสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์
สุวิรัช รัตนมณีโชติ (2536, หน้า 13-14) กล่าวว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดเจตคติ ได้แก่
1) องค์ประกอบด้านตัวบุคคล (Individual) อายุ ความเจ็บป่วย การศึกษาแลบุคลิกภาพที่ต่างกัน
ย่อมมีผลทาให้เจตคติของบุคคลต่างกันออกไป โดยที่ผู้ที่อายุมากมักจะอนุรักษ์นิยมเมื่อพบกับเจตคติ
ใหม่ ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงสามารถพิจารณาสิ่งที่มาชักจูงให้เปลี่ยนเจตคติได้มากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่า
กว่า ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบต่างๆ มีอิทธิพลต่อการชักจูงให้เกิดและยอมรับเจตคติใหม่ได้ต่างกัน
2) สัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล (Communication from Others) บุคคลจะเกิดเจตคติเมื่อได้ติดต่อ
สื่อความหมายกับผู้อื่น เจตคติของบุคคลมักจะเปลี่ยนไปตามเจตคติของหมู่คณะ เช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่ม
เพื่อน กลุ่มสังคม กลุ่มอ้างอิง เนื่องจากบุคคลที่มีเจตคติที่เหมือนกันมีโอกาสที่จะทากิจกรรมร่วมกัน
เป็นสาเหตุให้บุคคลมีความคิด ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน
3) การได้รับประสบการณ์เฉพาะด้าน (Specific Experience) บุคคลจะเกิดเจตคติต่อสิ่งหนึ่งเมื่อ
ได้รับประสบการณ์สิ่งนั้นด้วยตนเอง และรู้สึกประทับใจต่อประสบการณ์นั้นอย่างคงที่และเป็น
เวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นความประทับใจในทางบวกหรือทางลบก็ได้
4) องค์ประกอบของสถาบัน (Institutional Factors) สถาบันทุกสถาบันย่อมมีกฎข้อบังคับ
ระเบียบแบบแผนแนวทางให้บุคคลยึดถือปฏิบัติ บุคคลอาจเกิดเจตคติ เนื่องมาจากอิทธิพลของสถาบันที่
เกี่ยวข้องได้
การที่จะรู้ว่าบุคคลมีเจตคติต่อสิ่งต่างๆ ในทางบวกหรือลบเราสามารถวัดได้โดยการให้
บุคคลได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและพฤติกรรมต่อสิ่งนั้นๆ
10
1.5 เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์
1.5.1 ลักษณะเจตคติทางวิทยาศาสตร์
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกับเจตคติของบุคคล ที่แสดงพฤติกรรมต่อสิ่งต่างๆ
โดยทั่วไป เจตคติทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการ (Process) ที่นักวิทยาศาสตร์ได้กระทา เพื่อค้นหา
ความรู้และให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ถูกต้อง เป็นจริง และเป็นที่ยอมรับ ดังนั้น บุคคลที่มีเจตคติทาง
วิทยาศาสตร์จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
1.5.2 คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. เป็นคนที่มีเหตุผล
1) จะต้องเป็นคนที่ยอมรับ และเชื่อในความสาคัญของเหตุผล
2) ไม่เชื่อโชคลาง คาทานาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ
3) ค้นหาสาเหตุของปัญหาหรือเหตุการณ์ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุกับผลที่
เกิดขึ้น
4) ต้องเป็นบุคคลที่สนใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และจะต้องเป็นบุคคลที่
พยายามค้นหาคาตอบว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และทาไมจึง
เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น
2. เป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็น
1) มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
2) ตระหนักถึงความสาคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเสมอ
3) จะต้องเป็นบุคคลที่ชอบซักถาม ค้นหาความรู้โดยวิธีการต่าง ๆ อยู่เสมอ
3. เป็นบุคคลที่มีใจกว้าง
1) เป็นบุคคลที่กล้ายอมรับการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลอื่น
2) เป็นบุคคลที่จะรับรู้และยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ อยู่เสมอ
3) เป็นบุคคลที่เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดให้แก่บุคคลอื่น
4) ตระหนักและยอมรับข้อจากัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน
4. เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ และมีใจเป็นกลาง
1) เป็นบุคคลที่มีความซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
2) เป็นบุคคลที่มีความมั่นคง หนักแน่นต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์
3) สังเกตและบันทึกผลต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา ไม่ลาเอียง และมีอคติ
5. มีความเพียรพยายาม
1) ทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์
2) ไม่ท้อถอยเมื่อผลการทดลองล้มเหลว หรือมีอุปสรรค
11
3) มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการค้นหาความรู้
6. มีความละเอียดรอบคอบ
1) รู้จักใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใด ๆ
2) ไม่ยอมรับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนกว่าจะมีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้
3) หลีกเลี่ยงการตัดสินใจ และการสรุปผลที่ยังไม่มีการวิเคราะห์แล้วเป็นอย่างดี
1.6 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ กับจุดมุ่งหมายของการสอนวิทยาศาสตร์
ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา ทุกระดับชั้นก็ต้องยึดถือหลักการ
ดังกล่าวเช่นเดียวกัน คือ จะต้องสอนให้ผู้เรียนเจริญงอกงามไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน โดยในแต่ละ
ระดับชั้น หรือแต่ละหลักสูตอาจมีการเน้นหรือกาหนดสัดส่วนที่แตกต่างกันไปบ้างเท่านั้นซึ่งเจตคติที่
สาคัญทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์นั้นประกอบไปด้วย
1) ด้านความรู้ความคิดหรือพุทธิพิสัย (C) เป็นจุดมุ่งหมายที่ต้องการพัฒนา
ทางด้านสติปัญญา ความคิด หรือพัฒนาสมองของผู้เรียนให้เจริญงอกงาม ซึ่งก็คือการสอนให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหลายในส่วนที่เป็น ตัวองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ( Body
of scientific knowledges ) อันได้แก่ ข้อเท็จจริง (Fact) แนวความคิด หรือสังกัป ( Concept )
หลักการหรือกฎ ( Principle & Law ) และ ทฤษฎี (Theory ) ซึ่งจะมีความลึกซึ้ง กว้างขวางแตกต่าง
กันไปตามระดับชั้นหรือหลักสูตร
2) ด้านความรู้สึก หรือ จิตพิสัย ( A ) เป็นจุดมุ่งหมายที่ต้องการทาให้ผู้เรียนได้พัฒนาเจริญ
งอกงามในส่วนที่เป็นเรื่องของจิตใจและความรู้สึก ที่สาคัญได้แก่ ความสนใจ ( Interests ) ความ
ซาบซึ้ง (Appreciations ) ค่านิยมและความเชื่อ (Values & Beliefs ) และ เจตคติ ( Attitudes )
3) ด้านทักษะปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติพิสัย ( P ) เป็นจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
พัฒนาให้ผู้เรียนได้เจริญงอกงาม มีทักษะ ความชานาญในการปฏิบัติ หรือ ทาเป็น
1.7 การวัดเจตคติ
เจตคติเป็นพฤติกรรมภายในที่มีลักษณะเป็นนามธรรมซึ่งตัวเองเท่านั้นที่ทราบวิธีการวัดเจตคติ
โดยตรงจึงทาไม่ได้ การศึกษาเจตคติทาได้ 3 วิธี (ศักดิ์ สุนทรเสนณี, 2531, หน้า 16-18) คือ
1.7.1 การสังเกต (Observation) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ศึกษาเจตคติโดยใช้ประสาทหูและตาเป็น
สาคัญ การสังเกตเป็นวิธีการศึกษาพฤติกรรมที่แสดงออกของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วนาข้อมูลที่
สังเกตนั้นไปอนุมานว่าบุคคลนั้นมีเจตคติต่อสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
ปัจจัยสาคัญที่จะช่วยให้สังเกตได้รับผลดี ผู้สังเกตต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการดูเรน
(Duren อ้างถึงใน ศักดิ์ สุนทรเสณี, 2531, หน้า 16) คือ
1) มีความใส่ใจต่อสิ่งที่สังเกต (Attention)
12
2) มีประสาทสัมผัสที่ดี (Sensation)
3) มีการรับรู้ที่ดี (Perception)
4) มีความคิดรวบยอดที่ดี (Conception) สามารถสรุปเรื่องราวได้ถูกต้องและเชื่อถือได้
1.7.2 การให้รายงานตัวเอง (Self-Report) เป็นวิธีศึกษาเจตคติของบุคคลโดยให้บุคคลนั้นเล่า
ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นออกมา เช่น อาจรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเห็นว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งผู้รายงานตนเอง จะ
เล่าหรือบรรยายความรู้สึกนึกคิดของเขาออกมาตามประสบการณ์ และความสามารถที่เขามีอยู่ ซึ่งจะ
แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล จากการฟังสิ่งที่เขาบอกเล่าเหล่านี้ก็สามารถที่จะกาหนดค่าคะแนน
ของเจตคติได้ วิธีการศึกษาเจตคติแบบนี้เป็นวิธีการของเทอร์สโตน ชลิเคอร์ท กัทท์แมน และออสกูดที่
ได้พยายามสร้างสเกลการวัดเจตคติขึ้น คะแนนที่ได้จากการวัดเจตคติแบบสเกลนี้จัดแบ่งออกเป็นช่วงๆ
โดยแต่ละช่วงจะมีขนาดเท่ากันสามารถที่จะนามาเปรียบเทียบความมากน้อยของเจตคติได้ วิธีนี้เป็นวิธี
ที่นิยมใช้วัดเจตคติกันมาก โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์
1.7.3 เทคนิคการฉายออก (Projective Techniques) เป็นวิธีวัดเจตคติโดยการให้สร้าง
จินตนาการจากภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลนั้นแสดงความคิดเห็นออกมาจะได้สังเกตและ
วัดได้ว่าบุคคลนั้นมีความรู้สึกอย่างไร ซึ่งบุคคลย่อมแสดงออกตามประสบการณ์ที่เขาเคยได้รับมาแต่ละ
คนจะมีการแสดงออกไม่เหมือนกัน
2. การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ
การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบควรจะหาคุณภาพในด้านต่างๆ (รจนา จันทร์ทอง ครูชานาญการ
พิเศษ, 2552) มีดังนี้
1. ความตรงของแบบทดสอบ
2. ความเที่ยงของแบบทดสอบ
3. ความยากง่ายและค่าอานาจจาแนกของแบบทดสอบ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 ความตรงของแบบทดสอบ
2.1.1 ความตรงเชิงเนื้อหา เป็นการหาคุณภาพก่อนที่จะนาแบบทดสอบไปใช้จริง โดยคณะ
ผู้ศึกษาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบข้อคาถามทั้งหมดว่า ครบถ้วนทุกเนื้อหาตรงตามตาราง วิเคราะห์
หลักสูตร และพิจารณาคาถามรายข้อว่าวัดเนื้อหาตามที่ต้องการครบถ้วน
2.1.2 ความตรงเชิงโครงสร้าง เป็นการหาคุณภาพก่อนที่จะนาแบบทดสอบไปใช้จริง เพื่อ
ตรวจสอบว่าลักษณะพฤติกรรมของข้อคาถามมีความสอดคล้องกับลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด
หรือไม่ โดยคณะผู้ศึกษาได้ร่วมกันพิจารณาว่าแบบทดสอบสามารถวัดพฤติกรรม ในด้านต่าง ๆ ได้ตรง
ตามที่กาหนดไว้ในตารางวิเคราะห์หลักสูตร และให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล ได้
ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
13
2.1.3 ความตรงตามสภาพ เป็นการตรวจสอบเพื่อดูว่า แบบทดสอบที่สร้างขี้น จะให้ผลของ
การวัดได้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
2.2 ความเที่ยงของแบบทดสอบ ( Reliability )
ความเที่ยงของแบบทดสอบ ( Reliability ) หมายถึง ความคงเส้นคงวาของผลการสอบ ไม่ว่าจะ
สอบกี่ครั้ง นักเรียนคนเดิมควรจะได้คะแนนไม่แตกต่างจากเดิม วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น มีหลายวิธี
เช่น การสอบซ้า ( Test-retest ) , การทดสอบจากข้อสอบคู่ขนาน ( Parallel form ) ฯ แต่ถ้าเป็นการ
ทดสอบครั้งเดียวกับนักเรียนกลุ่มเดียว ได้แก่ Split-half, KR-20, KR-21 และ Cronbach’s Alpha ซึ่งจะ
มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง +1 (ค่าความเชื่อมั่นที่ดีนั้น ไม่มีการกาหนดแน่นอน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย
ประการ เช่น คุณลักษณะของกลุ่มผู้สอบ , สภาพแวดล้อม , การกาหนดเวลาในการสอบ ฯลฯ
โดยทั่วไปค่าที่น่าเชื่อถือควรจะมากกว่า 0.70 )
2.3 ความยากง่ายและค่าอานาจจาแนกของแบบทดสอบ
ความยากง่ายและค่าอานาจจาแนกของแบบทดสอบ เป็นส่วนหนึ่งของการหาคุณภาพรายข้อ
ของข้อสอบ พบว่าในปัจจุบัน ภาควิชาต่าง ๆ ได้มีการหาคุณภาพของข้อสอบ ในส่วนของการวิเคราะห์
รายข้อโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบ ดังนั้นจึงไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนของขั้นตอนการ
คานวณในการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ แต่จะเน้นในส่วนของการอ่านผลที่ได้จากการวิเคราะห์รายข้อ
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
2.3.1 ค่าความยากง่าย ( Difficulty ) เป็นสัดส่วนระหว่าง จานวนผู้ตอบคาถามนั้น ๆ ได้ถูกต้อง
กับจานวนผู้ที่ตอบทั้งหมด แทนด้วยสัญลักษณ์ P ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
ค่า P ระหว่าง 0.00-0.19 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากมาก
ค่า P ระหว่าง 020-0.40 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก
ค่า P ระหว่าง 0.41-0.60 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากง่ายพอเหมาะ
ค่า P ระหว่าง 0.61-0.80 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย
ค่า P ระหว่าง 0.81-1.00 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ง่ายมาก
2.3.2 ค่าอานาจจาแนก ( Discrimination ) หมายถึง ประสิทธิภาพของแบบทดสอบในการแยก
ความสามารถ เก่ง-อ่อน ของผู้ตอบ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราส่วนระหว่างเด็กเก่งและ
เด็กอ่อน ( คือ ถ้าเด็กกลุ่มเก่งสามารถทาข้อสอบนี้ได้ และเด็กกลุ่มอ่อนไม่สามารถทาข้อสอบนี้ได้ แสดง
ว่าข้อสอบนี้ สามารถจาแนกความสามารถของเด็กได้ ถือว่าเป็นข้อสอบที่ดี) ค่าอานาจจาแนกจะใช้ค่า
14
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความเก่ง -อ่อน และการตอบถูก -ผิดของผู้ตอบเป็นหลัก แทนด้วย
สัญลักษณ์ r ซึ่งมีค่าตั้งแต่ -1.00 ถึง +1.00 และมีความหมายดังนี้
ค่า r เป็น ลบ แสดงว่า มีค่าอานาจจาแนกในทางตรงกันข้าม
ค่า r ระหว่าง 0.00-0.19 แสดงว่า ไม่มีค่าอานาจจาแนก
ค่า r ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป แสดงว่า มีค่าอานาจจาแนกดี
3. เกณฑ์การพิจารณาข้อสอบ
1. ข้อสอบดีมาก คือ ข้อสอบที่มีความยากง่ายพอเหมาะ ( P ระหว่าง 0.41-0.60 ) และ มีค่า
อานาจจาแนกดี ( r มากกว่าหรือเท่ากับ 0.20 )
2. ข้อสอบดี คือ ข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย ( P ระหว่าง 0.61-0.80 ) หรือข้อสอบที่ค่อน ข้างยาก ( P
ระหว่าง 0.20-0.40 )และมีค่าอานาจจาแนกดี (r มากกว่าหรือเท่ากับ 0.20 )
3. ข้อสอบพอใช้ได้ คือ ข้อสอบที่มีความยากง่ายพอเหมาะ ( P ระหว่าง 0.21-0.80 ) และมีค่า
อานาจจาแนกต่า ( r ระหว่าง 0.00-0.19 ) หรือข้อสอบที่มีค่าอานาจจาแนกดี (r มากกว่าหรือเท่ากับ 0.20)
แต่มีความยากมาก ( P ระหว่าง 0.00-0.19 ) หรือมีความง่ายมาก ( P ระหว่าง 0.81-1.00 )
4. ข้อสอบไม่ดี คือ ข้อสอบที่มีความยากมาก ( P ระหว่าง 0.00-0.19 ) หรือข้อสอบที่มีความง่าย
มาก ( P ระหว่าง 0.81-1.00 ) และมีค่าอานาจจาแนกน้อย ( r ระหว่าง 0.00-0.19 )
5. ข้อสอบใช้ไม่ได้ คือ ข้อสอบที่มีค่าอานาจจาแนกในทางกลับกัน หรือไม่มีค่าอานาจจาแนก
( r เป็นลบ )
จากที่กล่าวมาสรุปได้ดังตารางด้านล่าง
ตาราง 1 เกณฑ์การพิจารณาข้อสอบ
P r เป็นลบ r ระหว่าง 0.00-0.19 r ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป
น้อยกว่า 0.20 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี พอใช้ได้
0.20-0.40 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี ดี
0.41-0.60 ใช้ไม่ได้ พอใช้ได้ ดีมาก
0.61-0.80 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี ดี
มากกว่า 0.80 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี พอใช้ได้
15
บทที่ 3
วิธีดาเนินการวิจัย
วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มี 5
ขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. กาหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
3. สร้างเครื่องมือในการวิจัย
4. ดาเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
5. วิเคราะห์ข้อมูล
มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 มาสนุกกับแรง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เสียงกับการได้ยิน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หยาดน้าฟ้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 สภาพอากาศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า
ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ จาก
หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
2. การกาหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
นักเรียนในระดับชั้น ป.5 โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ ภาคเรียนที่ 2 ในปีการศึกษา 2552
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้น ป.5/1-ป.5/5 จานวน 180 คน โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ ภาคเรียนที่ 2 ปี
การศึกษา 2552
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถามพฤติกรรมนักเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ (ปรากฏใน
ภาคผนวก)
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 (ปรากฏในภาคผนวก)
16
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
ไม่มี
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ดาเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ป.5 ปีการศึกษา 2552 ใช้แบบสอบถามพฤติกรรม
นักเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังสอนจบตามหลักสูตร โดยใช้แบบสอบถามนี้กับ
นักเรียนจานวน 180 คน
นาผลการสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 มาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพ
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5.1 วัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ตามหลักการของลิเคอร์ท ( Likert’ s Scale) โดยนา
คะแนนที่ได้จากการวัดเจตคติแบบสเกลนี้จัดแบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยแต่ละช่วงจะมีขนาดเท่ากัน
สามารถที่จะนามาเปรียบเทียบความมากน้อยของเจตคติได้ สาหรับวิธีการของตรวจสอบคุณภาพ
ข้อสอบตามหลักการของลิเคอร์ท ( Likert’ s Scale) ได้แบ่งสเกลเป็น 5 ช่วง แต่ผู้วิจัยต้องการคาตอบ
ชัดเจน จึงได้ทาแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งสเกลระดับความคิดเห็น
เป็น 4 ระดับหรือ 4 ช่วงเท่านั้น ผู้วิจัยหาค่าเฉลี่ยต่างๆ โดยคานวณจากโปรแกรม Excel
5.2 ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบตามวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน โดยใช้สูตร KR-21 โดยคานวณ
จากโปรแกรม Excel
17
บทที่ 4
ผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบปลาย
ภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 แบ่งออกเป็น 2
ตอน ดังต่อไปนี้
- ตอนที่ 1 วิเคราะห์เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์
- ตอนที่ 2 เปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียน
- ตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบ
ตอนที่ 1 วิเคราะห์เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์
ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นหรือความรู้สึกระหว่าง ความหมาย
3.26-4.00 มากที่สุด (4)
2.51-3.25 มาก (3)
1.76-2.5 น้อย (2)
1-1.75 น้อยที่สุด (1)
จากการสารวจความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้น ป.5 ปีการศึกษา 2552 ปรากฏผลดังนี้
รายการประเมิน ค่าเฉลี่ยระดับความ
คิดเห็นหรือความรู้สึก
ระหว่าง
ความหมาย
1. นักเรียนคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เข้าใจได้ง่าย 3.31 มาก
2. นักเรียนเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจจริง 3.08 มาก
3. นักเรียนคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก 1.83 น้อย
4. นักเรียนชอบเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอื่นๆ 2.56 มาก
5. นักเรียนเบื่อหน่ายเมื่อถึงเวลาเรียนวิทยาศาสตร์ 1.81 น้อย
6. นักเรียนชอบการทดลองวิทยาศาสตร์ 3.77 มากที่สุด
7. นักเรียนชอบจดบันทึกตามคุณครู 3.06 มาก
8. นักเรียนชอบตอบคาถามด้วยตนเอง 2.65 มาก
9. นักเรียนชอบอ่าน ค้นคว้าด้วยตนเอง 2.40 น้อย
10. นักเรียนชอบฟังคาอธิบายจากครู 3.27 มากที่สุด
11. นักเรียนเบื่อวิธีการสอนวิทยาศาสตร์ 1.75 น้อยที่สุด
18
รายการประเมิน ค่าเฉลี่ยระดับความ
คิดเห็นหรือความรู้สึก
ระหว่าง
ความหมาย
12. นักเรียนรักษาระเบียบวินัย และปฏิบัติตามหน้าที่ของ
ตนเองเสมอ
2.58 มาก
13. นักเรียนชอบตามกระแสแฟชั่น 2.04 น้อย
14. นักเรียนคิดว่าตนเองสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก
หรือผิด อะไรควรทาไม่ควรทา
2.94 มาก
15. นักเรียนทบทวนความรู้ด้วยตนเองเสมอ 2.27 น้อย
16. นักเรียนอยากเล่นมากกว่าอ่านหนังสือ 2.55 มาก
17. ผู้ปกครองมีเวลาอบรมนักเรียน 3.00 มาก
18. นักเรียนจะเป็นคนดีของสังคม 3.42 มากที่สุด
19. นักเรียนมีความใฝ่ฝัน กระตือรือร้น 3.04 มาก
20. นักเรียนชอบอยู่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน 2.44 น้อย
21. นักเรียนคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ควรศึกษา 3.44 มากที่สุด
22. นักเรียนรู้สึกกระตือรือร้นเมื่อได้เรียนวิทยาศาสตร์ 2.42 น้อย
23. วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ช่วยให้นักเรียนรู้จัดคิด อ่าน
และทางานอย่างมีแบบแผน
3.23 มาก
24. นักเรียนชอบกิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชา
อื่นๆ
2.96 มาก
25. ความรู้ที่ได้จากวิชาวิทยาศาสตร์สามารถนามาใช้ใน
ชีวิตประจาวันได้จริง
2.23 มาก
26. รู้สึกชอบสื่อการสอน และการทดลองที่ครูสาธิต 3.38 มากที่สุด
27. วิชาวิทยาศาสตร์มีประโยชน์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับวิชา
อื่นๆ
1.83 น้อย
28. ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 1.70 น้อยที่สุด
29. นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งเมื่อได้เรียนวิทยาศาสตร์ 2.29 น้อย
30. นักเรียนรู้สึกเบื่อหน่ายกับสื่อการสอนที่ครูใช้ 1.79 น้อย
19
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียน
เรื่อง ค่าเฉลี่ยลาดับที่ชอบ
ความดัน แรงดัน 5.88
แรงลอยตัว และการจมลอย 5.98
แรงลัพธ์ 5.29
แรงเสียดทาน 5.27
เสียงกับการได้ยิน 3.98
วัฏจักรของน้า 3.40
สภาพอากาศ 4.44
ทิศ 3.50
กลุ่มดาว 5.10
เรียงลาดับบทเรียนจากชอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) วัฏจักรของน้า 2) ทิศ 3) เสียง
กับการได้ยิน 4) สภาพอากาศ 5) กลุ่มดาว 6) แรงเสียดทาน 7) แรงลัพธ์ 8) ความดันแรงดัน และ
9) แรงลอยตัวและการจมลอย
ตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบ
ข้อสอบอยู่ในภาคผนวก
ข้อที่ ค่าความยาก
(P)
ความหมาย ค่าอานาจจาแนก
r
ความหมาย
1 0.70 ค่อนข้างง่าย 0.4 ดี
2 0.75 ค่อนข้างง่าย 0.3 ค่อนข้างดี
3 0.85 ง่ายมาก 0.3 ค่อนข้างดี
4 0.40 ปานกลาง 0 ตัดทิ้ง
5 0.70 ค่อนข้างง่าย 0.2 ปรับปรุง
6 0.35 ค่อนข้างยาก 0.7 ดี
7 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.7 ดี
8 0.45 ปานกลาง 0.9 ดี
9 0.50 ปานกลาง 0.6 ดี
10 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.1 ตัดทิ้ง
11 0.75 ค่อนข้างง่าย 0.5 ดี
20
ข้อที่ ค่าความยาก
(P)
ความหมาย ค่าอานาจจาแนก
r
ความหมาย
12 0.80 ง่ายมาก 0.2 ปรับปรุง
13 0.45 ปานกลาง 0.1 ตัดทิ้ง
14 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.3 ค่อนข้างดี
15 0.10 ยากมาก 0.2 ปรับปรุง
16 0.90 ง่ายมาก 0 ตัดทิ้ง
17 0.85 ง่ายมาก 0.3 ค่อนข้างดี
18 0.70 ค่อนข้างง่าย 0.2 ปรับปรุง
19 0.30 ค่อนข้างยาก 0.4 ดี
20 0.80 ง่ายมาก 0.4 ดี
21 0.35 ค่อนข้างยาก 0.7 ดี
22 0.35 ค่อนข้างยาก 0.5 ดี
23 0.85 ง่ายมาก 0.1 ตัดทิ้ง
24 0.75 ค่อนข้างง่าย 0.5 ดี
25 0.80 ง่ายมาก 0.4 ดี
26 0.60 ค่อนข้างง่าย 0.4 ดี
27 0.25 ค่อนข้างยาก 0.5 ดี
28 0.55 ปานกลาง 0.3 ค่อนข้างดี
29 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.5 ดี
30 0.25 ค่อนข้างยาก 0.1 ตัดทิ้ง
31 1 ปานกลาง 1 ดี
32 0 ปานกลาง 1 ดี
33 1 ปานกลาง 1 ดี
34 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี
35 1 ค่อนข้างง่าย 0 ดี
36 1 ปานกลาง 0 ค่อนข้างดี
37 1 ปานกลาง 0 ปรับปรุง
38 0 ปานกลาง 1 ดี
39 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี
40 1 ปานกลาง 1 ดี
21
ข้อที่ ค่าความยาก
(P)
ความหมาย ค่าอานาจจาแนก
r
ความหมาย
41 1 ค่อนข้างง่าย 0 ตัดทิ้ง
42 1 ค่อนข้างง่าย 0 ปรับปรุง
43 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี
44 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี
45 1 ค่อนข้างง่าย 0 ปรับปรุง
ข้อสอบที่ควรตัดทิ้ง ได้แก่ ข้อที่ 4, 10, 13, 16, 23, 30, 41 (จานวน 7 ข้อ)
ข้อสอบที่ควรปรับปรุง ได้แก่ 5, 12, 15, 18, 37, 42, 45 (จานวน 7 ข้อ)
ข้อสอบที่พอใช้ได้ ได้แก่ 2, 3, 14, 17, 28, 36 (จานวน 6 ข้อ)
ข้อสอบที่ดี ได้แก่ 1, 6, 7, 8, 9, 11, 19, 20, 21, 22, 24, 25, 26, 27, 29, 31, 32, 33, 34, 35, 38, 39, 40, 43,
44 (จานวน 25 ข้อ)
ข้อสอบวัดผลปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ฉบับนี้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8297
22
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ
1. นักเรียนระดับชั้น ป.5 มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงบวก
2. นักเรียนมีเจตคติต่อบทเรียนในภาคเรียนที่ 2 ป.5 เรียงลาดับบทเรียนจากชอบมากที่สุดไปหา
น้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) วัฏจักรของน้า 2) ทิศ 3) เสียงกับการได้ยิน 4) สภาพอากาศ 5) กลุ่มดาว
6) แรงเสียดทาน 7) แรงลัพธ์ 8) ความดันแรงดัน และ 9) แรงลอยตัวและการจมลอย
3. ข้อสอบที่ใช้วัดผลนักเรียนมีค่าความเชื่อมันเท่า 0.8297 ซึ่งจัดเป็นข้อสอบที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ
แต่มีข้อสอบที่ควรตัดทิ้งจานวน 7 ข้อ และควรปรับปรุงก่อนนาไปใช้จานวน 7 ข้อ
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
1. นักเรียนชอบเรียนเรื่อง วัฏจักรของน้า มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ครูสอนโดยการวาดภาพ พร้อม
กับการบรรยายประกอบภาพ และชอบเรื่องทิศเนื่องจากครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติเดินทางตาม
แผนที่โดยใช้ทิศจริง
2. นักเรียนชอบเรียน เรื่อง แรงลอยตัวและการจมลอยน้อยสุด อาจเกิดจากครูสอนโดยการ
ท่องจานักเรียนได้ดูการสาธิตเพียงเล็กน้อย
3. ครูควรปรับวิธีการสอน เรื่อง แรงลัพธ์ ความดันแรงดัน แรงลอยตัวและการจมลอย โดยให้
นักเรียนทากิจกรรมหรือปฏิบัติด้วยตนเอง
4. ข้อสอบที่ใช้วัดผลการสอบปลายภาคมีค่าความเชื่อมั่นที่เหมาะสม แต่ควรพัฒนาข้อสอบให้มี
คุณภาพยิ่งขึ้น
23
บรรณานุกรม
จินตนา กุลทัพ. (2540).การศึกษาเจตคติของผู้ป่วยนอกต่อการให้บริการของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จัหวัด
สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
ฉัตรชัย มุระดา. (2540). การศึกษาความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับระบบและเจตคติต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของ
ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2527).การวัดทัศนคติและบุคลิกภาพ.กรุงเทพฯ: สานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2520.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา.เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
รจนา จันทร์ทอง ครูชานาญการ. (2552).การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ.
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/9999softmeas/unit6/test.doc.
นวลจิตต์ โชตินันท์. (2524).ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านวารสารทางวิทยาศาสตร์กับเจตคติทางวิทยาศาสตร์และ
เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันชัย มีกลาง. (2530). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ ความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตามและการได้รับการถ่ายทอดทาง
พุทธศาสนาของนิสิตระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร.กัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร .
ศักดิ์ สุนทรเสณี. (2531).เจตคติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูบ้าน
สมเด็จ.
สมจิตรา เรืองศรี. (2527).การสร้างแบบทดสอบ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง
สมปอง ม้ายนอุเทศ. (2542).การศึกษาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบทดสอบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ
ที่สร้างโดยวิธีลิเคอร์ทที่มีการจัดกลุ่มข้อสอบและรูปแบบคาตอบต่อกัน.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร .
สุวิรัช รัตนมณีโชติ. (2536). ความรู้และเจตคติของพยาบาลต่อการบริจาคอวัยวะ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมห
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
อดุลย์ นันท์บัญชา. (2532).เจตคติที่มีต่อวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตการศึกษา 8.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุษณีย์ วรรณจิยี. (2536). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้เทคนิคการสร้างไดอะแกรมกับการสอนอ่านตามคู่มือ
ครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร
24
ภาคผนวก
25
1. เมื่อคว่าแก้วที่มีกระดาษติดอยู่ด้านใน
ก้นแก้ว เพราะเหตุใดกระดาษจึงไม่
เปียก
ก. เพราะมีแรงลอยตัว
ข. เพราะแก้วและกระดาษมีความ
หนาแน่นน้อยกว่าน้า
ค. เพราะแรงดันน้าดันแก้วไว้เพื่อไม่ให้
แก้วจม
ง. เพราะแรงดันอากาศในแก้วดันน้า
ไม่ให้เข้าไปในแก้ว
(ว 4.1 ป.5/2)
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแรงดันของ
น้าที่ระดับความลึกต่างกัน
ก. ที่ระดับความลึกต่างกันไม่มีผลต่อ
แรงดันของน้า
ข. แรงดันของน้ามีค่าคงที่เมื่อความลึกเกิน
ระดับหนึ่ง
ค. ยิ่งลึกลงไป แรงดันของน้าจะมีค่ามากขึ้น
ง. ยิ่งลึกลงไป แรงดันของน้าจะมีค่าลดลง
(ว 4.1 ป5/3)
3. วัตถุที่ลอยน้าต้องมีลักษณะอย่างไร
ก. มีน้าหนักมากกว่าน้า
ข. ความหนาแน่นน้อยกว่าน้า
ค. มีน้าหนักเท่ากับน้า
ง. ความหนาแน่นมากกว่าน้า
(ว 4.1 ป.5/4)
4. ข้อใดที่ไม่ใช่ปัจจัยที่ทาให้วัตถุจมหรือ
ลอย ก. ความดันของของเหลว
ข. ความหนาแน่นของวัตถุ
ค. น้าหนัก
ง. ปริมาตร
(ว 4.1 ป.5/4)
5. พื้นที่บริเวณใดมีความดันอากาศน้อย
ที่สุด
ก. ที่ราบ ข. ยอดเขา
ค. หุบเขา ง. ชายทะเล
(ว 4.1 ป.5/2)
แบบทดสอบวัดผลปลายปี ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ สานักงานเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 15101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คาชี้แจง 1. แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกคาตอบ
จานวน 45 ข้อ คะแนนเต็ม 15 คะแนน
2. ให้ทาข้อสอบในกระดาษคาตอบที่กาหนดให้
3. เวลาในการทาแบบทดสอบ 60 นาที
คาสั่ง ให้นักเรียน X ทับข้อที่มีคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว (3 ข้อ ต่อ 1 คะแนน)
26
6. จากภาพ แรงลัพธ์ คือข้อใด
ก. 95 N ไปด้านขวา ข. 95 N ไปด้านซ้าย
ค. 55 N ไปด้านขวา ง. 55 N ไปด้านซ้าย
(ว 4.1 ป.5/1)
7. ในการเล่นชักเย่อ ถ้าแรงดึงเชือกทั้ง 2
ข้างเท่ากัน เชือกจะเคลื่อนที่ไปทางทิศ
ใด
ก. ไม่เคลื่อนที่
ข. เคลื่อนที่ไปด้านซ้าย
ค. เคลื่อนที่ไปด้านขวา
ง. ไม่มีข้อถูก
(ว 4.1 ป.5/1)
8. นักเรียนตัวแทน ป.5/1 แข่งขันชักเย่อ
กับนักเรียน ป.5/2 โดย ป.5/1 ออกแรง
ไปทางขวา 200 นิวตัน ส่วน ป.5/2
ออกแรงไปทางซ้าย 100 นิวตัน แรง
ลัพธ์ คือข้อใด
ก. 300 นิวตันไปทางขวา
ข. 300 นิวตันไปทางซ้าย
ค. 100 นิวตันไปทางขวา
ง. 100 นิวตันไปทางซ้าย
(ว 4.1 ป.5/1)
9. แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลต่อค่าใดของ
วัตถุ
ก. มวล ข. น้าหนัก
ค. ปริมาตร ง. ความหนาแน่น
(ว 4.1 ป.5/4)
10. ถ้าเราออกแรง 10 นิวตัน ผลักวัตถุ แต่
วัตถุไม่ขยับ แสดงว่าแรงเสียดทาน
ระหว่างผิวสัมผัสของพื้นกับวัตถุเป็น
อย่างไร
ก. เท่ากับ 10 นิวตัน
ข. น้อยกว่า 10 นิวตัน
ค. มากกว่า 10 นิวตัน
ง. สรุปไม่ได้
(ว.4.2 ป.5/1)
11. ข้อความใดอธิบายแรงเสียดทานได้
ถูกต้อง
ก. แรงที่ทาให้วัตถุเคลื่อนที่
ข. แรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ค. แรงที่ทาให้วัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ง. แรงที่มีทิศเดียวกับทิศที่วัตถุ
เคลื่อนที่
(ว.4.2 ป.5/1)
12. ข้อความใดผิด
ก. แรงเสียดทานมากทาให้วัตถุเคลื่อนที่
เร็วขึ้น
ข. ถ้าวัตถุมีน้าหนักมาก แรงเสียดทานจะ
มาก
ค. วัตถุที่มีพื้นผิวเรียบจะมีแรงเสียดทาน
น้อย
ง. ถ้าวัตถุมีน้าหนักน้อย แรงเสียดทานจะ
น้อย
(ว.4.2 ป.5/1)
13. พื้นใดเกิดแรงเสียดทานมากที่สุด
ก. พื้นไม้ ข. พื้นกระจก
ค. พื้นยาง ง. พื้นหินอ่อน
(ว.4.2 ป.5/1)
20 N 75 N
27
14. วิภาทาการทดลองโดยเทน้าร้อนลงใน
ขวดแล้วใช้ลูกโป่งสวมปากขวด
จากนั้นเทน้าเย็นราดขวดจะปรากฏผล
เป็นอย่างไร (คิดสิ อากาศหด หรือ
ขยาย)
ก. ลูกโป่งจะถูกไฟไหม้
ข. ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
ค. ลูกโป่งจะบุ๋มลงในขวด
ง. ลูกโป่งจะโป่งพองขึ้น
(ว 4.1 ป.5/2)
15. ถ้าเราเอาขวดน้าพลาสติกในตู้เย็นที่น้า
หมดปิดฝา แล้วเอาออกมาตั้งด้านนอก
จะเกิดอะไรขึ้น
ก. ขวดเล็กลง ข. ขวดใหญ่ขึ้น
ค. ขวดบุบลง ง. ขวดพองขึ้น
(ว 4.1 ป.5/2)
16. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบที่ช่วยในการ
ได้ยินเสียง
ก. ตัวกลาง ข. แหล่งกาเนิดเสียง
ค. ระยะทาง ง. อวัยวะรับเสียง
(ว 5.1 ป.5/1)
17. เสียงก้องเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด
ก. การสะท้อนกลับของเสียง
ข. ฝาผนังสั่นสะเทือน
ค. เสียงดังอยู่ในที่โล่ง
ง. อากาศมีความกดดันสูง
(ว 5.1 ป.5/1)
18. เสียงเดินทางผ่านสิ่งใดได้ดีที่สุด
ก. สุญญากาศ ข. ไนโตรเจน
ค. ขวดแก้ว ง. น้าทะเล
(ว 5.1 ป.5/1)
19. อะไรคือสาเหตุที่ทาให้เครื่องดนตรี
ประเภทสายเกิดเสียงสูง-ต่า
ก. สีของเชือก
ข. ความสั้นยาวของสาย
ค. ความแรงในการดีด
ง. ไม่มีข้อถูก
(ว 5.1 ป.5/2)
20. คลื่นเสียงเดินทางจากแหล่งกาเนิด
เสียง อย่างไร
ก. ไปด้านหน้าด้านเดียว
ข. แผ่ออกเป็นวงรอบทิศทาง
ค. แผ่ขนานกับพื้นโลก
ง. ขึ้น ลงตามแรงโน้มถ่วง
(ว 5.1 ป.5/1)
21. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ถ้าอยู่ใกล้แหล่งกาเนิดเสียงเราจะได้
ยินเสียงดัง
ข. ถ้าตีกลองแรงๆ จะได้ยินเสียงดัง
ค. ขวดที่มีน้าน้อยเป่าแล้วได้ยินเสียง
แหลม
ง. ขวดแก้วที่มีน้ามากเคาะแล้วได้ยิน
เสียงต่ากว่าขวดน้าน้อย
(ว 5.1 ป.5/2)
22. ถ้าจับสายกีตาร์ยาวแล้วดีด เสียงที่
เกิดขึ้นมีลักษณะต่างจากจับสายกีตาร์
สั้นอย่างไร
ก. สายยาวได้เสียงทุ้มกว่า
ข. สายยาวเสียงแหลมกว่า
ค. สายยาวเสียงดังกว่า
ง. สายยาวเสียงเบากว่า
(ว 5.1 ป.5/2)
28
23. แหล่งกาเนิดเสียงที่ดังมากที่สุดคือ
อะไร
ก. เสียงจราจรตามถนน
ข. เสียงพูดคุยภายในห้อง
ค. เสียงขุดเจาะอุโมงค์
ง. เสียงเครื่องบินกาลังขึ้นบิน
(ว 5.1 ป.5/3)
24. ถ้าเกิดมีเสียงดังขึ้นฉับพลัน เราควรทา
อย่างไร
ก. ใช้นิ้วมืออุดหู
ข. ตะโกนโต้ตอบ
ค. วิ่งหนีให้เร็วที่สุด
ง. หันหลังให้แหล่งกาเนิดเสียง
(ว 5.1 ป.5/4)
25. เมฆชนิดใดมีลักษณะเป็นริ้วๆ คล้าย
ขนกลอยอยู่สูง
ก. เมฆคิวมูลัส ข. เมฆเซอรัส
ค. คิวมูโลนิมบัส ง. เมฆสเตรตัส
(ว 6.1 ป.5/1)
26. ลูกเห็บมักเกิดขึ้นในเมฆชนิดใด
ก. เซอรัส ข. สเตรตัส
ค. อัลโตคิวมูลัส ง. คิวมูโลนิมบัส
(ว 6.1 ป.5/1)
27. เพราะเหตุใดเราจึงเห็นหยดน้าเกาะที่
แก้วน้าแข็งที่ตั้งอยู่ในห้องเรียน
ก. ไอน้ารอบๆ แก้วน้าแข็งควบแน่น
ข. น้าระเหยออกจากแก้วน้า
ค. อุณหภูมิของน้าในแก้วลดลง
ง. แก้วน้าแข็งรั่ว
(ว 6.1 ป.5/2)
28. ข้อใดกล่าวผิด
ก. ลมบกเกิดในตอนกลางคืนลม
ทะเลเกิดในตอนกลางคืน
ข. อากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่
ร้อนไปบริเวณที่เย็นกว่า
ค. อากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มี
ความกดอากาศสูงไปต่า
(ว 6.1 ป.5/3)
29. ถ้าต้องการวัดความดันอย่างต่อเนื่อง
ต้องใช้เครื่องมือชนิดใด
ก. บารอกราฟ ข. ไฮโกรมิเตอร์
ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. บารอมิเตอร์
(ว 6.1 ป.5/3)
30. ผู้ที่ทาการพยากรณ์คาดการณ์ความ
เปลี่ยน-แปลงของอากาศ เรียกว่าอะไร
ก. นักพยากรณ์อากาศ
ข. นักธรณีวิทยา
ค. นักวิทยาศาสตร์
ง. นักอุตุนิยมวิทยา
(ว 6.1 ป.5/3)
31. ข้อใดเกิดขึ้นจากการได้รับความร้อน
ก. น้ากลายเป็นน้าแข็ง
ข. ไอน้ากลายเป็นหยดน้า
ค. น้ากลายเป็นไอน้า
ง. หยดน้ากลายเป็นน้าแข็ง
(ว 6.1 ป.5/2)
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์

More Related Content

What's hot

ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์Supaporn Khiewwan
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 9
สุขฯ ม.2 หน่วย 9สุขฯ ม.2 หน่วย 9
สุขฯ ม.2 หน่วย 9supap6259
 
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556dnavaroj
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้Ploykarn Lamdual
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะKodchaporn Siriket
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนkrupornpana55
 
ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์Dnavaroj Dnaka
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อkrupornpana55
 
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะโรงเรียนเดชอุดม
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4Thanawut Rattanadon
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์Aomiko Wipaporn
 
สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์
สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์
สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์แวมไพร์ แวมไพร์
 
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์Moll Kim
 
แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3
แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3
แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3Khunnawang Khunnawang
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1Sivagon Soontong
 
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1dnavaroj
 
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)kroofon fon
 

What's hot (20)

ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 9
สุขฯ ม.2 หน่วย 9สุขฯ ม.2 หน่วย 9
สุขฯ ม.2 หน่วย 9
 
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556
แผนการจัดหน่วยการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะ
 
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
 
ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
 
สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์
สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์
สมุดบันทึกกิจกรรม ทัศนะศึกษาสัปดาห์วิทยาศาสตร์
 
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
 
แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3
แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3
แบบทดสอบ การอ่าน(นักเรียน) ป.3
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ ๒ ภาษาไทย (Key)_ม.1
 
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ภาคเรียน 1
แบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ 5 ภาคเรียน 1
 
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
 

Similar to วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์

วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558Anusara Sensai
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คSalisa Khonkhayan
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คSalisa Khonkhayan
 
บทคัดย่่อครูวรินทร
บทคัดย่่อครูวรินทรบทคัดย่่อครูวรินทร
บทคัดย่่อครูวรินทรPiyarerk Bunkoson
 
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัยวิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.
สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.
สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.Kaisorn Sripuwong
 
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนppisoot07
 
วิพากษ์วิจารณ์
 วิพากษ์วิจารณ์ วิพากษ์วิจารณ์
วิพากษ์วิจารณ์home
 
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557Anusara Sensai
 
วิจัยชั้นเรียน ดอยเต่า
วิจัยชั้นเรียน ดอยเต่าวิจัยชั้นเรียน ดอยเต่า
วิจัยชั้นเรียน ดอยเต่าNDuangkaew
 
แผน 5 มัลติมีเดีย
แผน 5 มัลติมีเดียแผน 5 มัลติมีเดีย
แผน 5 มัลติมีเดียkrupornpana55
 
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ 03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ JeeraJaree Srithai
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8josodaza
 
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิตงานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิตWichai Likitponrak
 
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตงานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตkrunum11
 

Similar to วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์ (20)

วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
บทคัดย่่อครูวรินทร
บทคัดย่่อครูวรินทรบทคัดย่่อครูวรินทร
บทคัดย่่อครูวรินทร
 
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัยวิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
 
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบวิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
 
สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.
สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.
สอบ วิจัย อ.สมพงษ์ มข.
 
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
 
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
 
วิพากษ์วิจารณ์
 วิพากษ์วิจารณ์ วิพากษ์วิจารณ์
วิพากษ์วิจารณ์
 
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
 
วิจัยชั้นเรียน ดอยเต่า
วิจัยชั้นเรียน ดอยเต่าวิจัยชั้นเรียน ดอยเต่า
วิจัยชั้นเรียน ดอยเต่า
 
แผน 5 มัลติมีเดีย
แผน 5 มัลติมีเดียแผน 5 มัลติมีเดีย
แผน 5 มัลติมีเดีย
 
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ 03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
R nattapong
R nattapongR nattapong
R nattapong
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิตงานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
งานวิจัยในชั้นเรียนต้นทุนชีวิต
 
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตงานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
 
2222
22222222
2222
 

วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์

  • 1. ชื่องานวิจัย การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ ปลายภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียน ระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ชื่อผู้วิจัย ครูอนุสรา เสนไสย กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรียนชั้น ป.5 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียนชั้น ป.5 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ ปลายภาคเรียน ประจาปีการศึกษา 2552 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จานวน 180 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ ซึ่งเรียนด้วยการสอนแบบ หลากหลาย อาทิ สาธิตการทดลอง บรรยาย เล่าเรื่อง ถามคาถาม ทั้งนี้ขึ้นกับความสอดคล้องกับบทเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามพฤติกรรมนักเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 2) ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ผู้วิจัยหาค่าเฉลี่ยต่างๆ และตรวจสอบ คุณภาพข้อสอบตามวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ใช้สูตร KR-21 โดยคานวณจากโปรแกรม Excel ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนระดับชั้น ป.5 มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงบวก 2. นักเรียนมีเจตคติต่อบทเรียนในภาคเรียนที่ 2 ป.5 เรียงลาดับบทเรียนจากชอบมากที่สุดไปหา น้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) วัฏจักรของน้า 2) ทิศ 3) เสียงกับการได้ยิน 4) สภาพอากาศ 5) กลุ่มดาว 6) แรงเสียดทาน 7) แรงลัพธ์ 8) ความดันแรงดัน และ 9) แรงลอยตัวและการจมลอย 3. ข้อสอบที่ใช้วัดผลนักเรียนมีค่าความเชื่อมันเท่า 0.8297 ซึ่งจัดเป็นข้อสอบที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือแต่มีข้อสอบที่ควรตัดทิ้งจานวน 7 ข้อ และควรปรับปรุงก่อนนาไปใช้จานวน 7 ข้อ
  • 2. 2 ชื่องานวิจัย การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของ ข้อสอบปลายภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ชื่อผู้วิจัย ครูอนุสรา เสนไสย กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เนื้อหา 1. ความเป็นมาและความสาคัญของงานวิจัย 2. เอกสารและงานวิจัยอ้างอิง 3. วิธีดาเนินการวิจัย 4. ผลการวิจัย 5. สรุปผลการวิจัย
  • 3. 3 คานา แบบการวิจัยฉบับนี้เป็นการทาการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ แบบทดสอบวัดผลปลายภาคเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาราษฎร์- บาเพ็ญ โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ออกแบบสอบถามพฤติกรรมและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และ เจตคติต่อรายบทเรียน เพื่อพัฒนาวิธีการสอนเป็นรายบทเรียน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังคานึงถึงคุณภาพของข้อสอบที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ปลายภาคเรียน จึง ทาการหาคุณภาพข้อสอบเพื่อคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพไว้ทดสอบในปีการศึกษาต่อไป ผู้ทาการวิจัย อนุสรา เสนไสย
  • 4. 4 บทที่ 1 บทนา 1. ความเป็นมาและความสาคัญของงานวิจัย ในสภาพปัจจุบันการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ยังประสบปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นด้าน กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูส่วนมากจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนจดจาเนื้อหาทฤษฎีตามที่ครูสอน มากกว่าการที่จะให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองด้วยเหตุนี้ เมื่อนักเรียนไป พบสภาพปัญหาที่แตกต่างจากในห้องเรียนนักเรียนจึงไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ และจากการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และ ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในขั้นต่าไม่เป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้นักเรียน ขาดความกระตือรือร้นในการใฝ่รู้ใฝ่เรียนนักเรียนไม่มีความรับผิดชอบในงานที่รับมอบหมาย ทั้งนี้ เนื่องมาจากการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักเรียนจดจาเนื้อหาเพื่อนาไปตอบคาถามในแบบทดสอบ เท่านั้น ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้นักเรียนก็จะมีแต่ความรู้ในหลักทฤษฎีในเนื้อหาบทเรียนแต่ขาดทักษะ ที่จะนาไปใช้ในการดารงชีวิตประจาวันก็จะทาให้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจาวันได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูเป็นสิ่งที่จะทาจะช่วยพัฒนาปัจจัยต่างๆ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีลักษณะที่พึงประสงค์ คือ เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขในการดารงชีวิต การ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมหลากหลายก็เป็นวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มองเห็น ปัญหาด้วยตนเองและคิดค้นหาแนวทางที่จะศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ตามความสนใจ ความสามารถ พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ มีการทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะเพื่อเสริมสร้างจิตสานึกในด้าน ประชาธิปไตยในสังคมและผู้เรียนมีความสุขในการที่จะได้ศึกษาตามความสามารถและความสนใจของ ตน ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของรัฐธรรมนูญไทยมาตราที่ 81 และแนวการจัดการศึกษาของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตราที่ 22 โดยสนับสนุนแนวทางปฏิรูปการศึกษาที่เน้น ผู้เรียนเป็นสาคัญ ครูควรศึกษาวิจัยค้นคว้าและหาวิธีปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และ พัฒนาแบบทดสอบให้ได้คุณภาพยิ่งขึ้น โดยครูศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเรียนการสอน เพื่อ ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษายังไม่บรรลุผล เท่าที่ควร ทั้งที่นักเรียนโรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญในปีการศึกษา 2552 ได้รับการสอนหลากหลาย รูปแบบขึ้นอยู่กับความสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียน ในปีนี้ผู้วิจัยได้สารวจเจตคติต่อการเรียนราย บทเรียน เพื่อจะได้นาไปปรับปรุงวิธีการสอนในบทเรียนที่นักเรียนมีเจตคติเชิงลบ นอกจากนี้ผู้วิจัยยัง
  • 5. 5 เห็นความสาคัญของแบบทดสอบจึงได้ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบปลายภาคเรียน เพื่อนาข้อที่มี คุณภาพไปใช้ทดสอบกับนักเรียนในปีการศึกษาต่อไป 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเรียนชั้น ป.5 2. เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียนชั้น ป.5 3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบปลายภาคเรียน ประจาปีการศึกษา 2552 3. ขอบเขตการวิจัย 3.1 ขอบเขตของเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาวิทยาศาสตร์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 มาสนุกกับแรง หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เสียงกับการได้ยิน หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หยาดน้าฟ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 สภาพอากาศ หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า 3.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปี การศึกษา 2552 จานวน 180 คน 3.3 ตัวแปรที่ศึกษา ไม่มี 4. คาจากัดความที่ใช้ในการวิจัย 1. เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ หลังจากมีประสบการณ์ในการเรียนตามกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้น และเป็น พฤติกรรมที่นักเรียนสนองตอบต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ไปในทางใดทางหนึ่งหรือลักษณะใดลักษณะ หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ความพอใจ ศรัทธา และซาบซึ้ง เห็นคุณค่าและประโยชน์ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ โดยวัดได้จากแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น ซึ่งกาหนดมาตรวัดของคาตอบในแต่ละข้อเป็น 4 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างมากที่สุด มาก น้อย และน้อยที่สุด ผู้ตอบได้คะแนนสูงสุด หมายความว่าเป็นผู้ที่เห็นด้วยอย่างมากเกี่ยวกับรายการที่ประเมิน 2.เจตคติต่อรายบทเรียน หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาในแต่ละบทเรียน หลังจาก ได้เรียนทุกบทเรียน โดยวัดได้จากแบบวัดฉบับเดียวกับแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็น ส่วนที่ผู้วิจัยได้เพิ่มเติมขึ้นมา
  • 6. 6 3. การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ หมายถึง การหาค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ค่าความ ยากง่าย และหาค่าอานาจจาแนกของข้อสอบ ข้อสอบที่มีคุณภาพควรมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.02 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อรายบทเรียนเพื่อนาข้อมูลไป ปรับปรุงเทคนิคการสอนเป็นรายบทเรียน อีกทั้งได้ตรวจหาคุณภาพข้อสอบปลายภาคเพื่อใช้พัฒนา ข้อสอบในภาคเรียนต่อไป
  • 7. 7 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยอ้างอิง 1. เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ 1.1 ความหมายของเจตคติ คาว่าเจตคติ แปลว่า ความโน้มเอียง บางครั้งก็เรียกว่า “ทัศนคติ” ซึ่งในที่นี้จะถือว่าเป็นการ กล่าวถึงในที่นี้จะถือว่าเป็นการกล่าวถึงในสิ่งเดียวกัน มีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย หรือให้คาจากัด ความ ดังนี้ เทอร์สโตน (Thurstone อ้างถึงใน สมปอง ม้ายนอุเทศ, 2542, หน้า 11) ได้กล่าวว่าเจตคติเป็น ระดับความมากน้อยของความรู้สึกในด้านบวกและลบที่มีต่อสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น สิ่งของ บทความ บุคคล องค์การ ความคิด ฯลฯ ความรู้สึกเหล่านี้ผู้รู้สึกสามารถบอกความแตกต่างได้ว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เคนเลอร์ (Kendler อ้างถึงใน อุษณีย์ วรรณจิยี, 2536, หน้า 74) ได้กล่าวว่าเจตคติ คือ ความพร้อม ของบุคคลที่จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสังคมแวดล้อม หรือเป็นความโน้มเอียงที่จะ แสดงพฤติกรรมที่จะสนับสนุน หรือคัดค้านประสบการณ์บางอย่าง บุคคล สถาบัน ตลอดจน แนวความคิดบางอย่าง การแสดงออกของเจตคติโดยอาศัยพฤติกรรม แบ่งออกเป็นสองลักษณะ คือ แสดงออกในลักษณะที่เห็นด้วย พึงพอใจหรือชอบกับไม่เห็นด้วย ไม่พึงพอใจ ไม่ชอบ อัลพอร์ท (Allport อ้างถึงใน จินตนา กุลทัพ, 2540, หน้า 8) ได้กล่าวว่า เจตคติ หมายถึง สภาวะ ความพร้อมของจิตและประสาท อันเกิดจากประสบการณ์เป็นตัวกาหนดทิศทางปฏิกิริยาการแสดงออก โบการ์ดัส (Bogaudus อ้างถึงใน วันชัย มีกลาง, 2530, หน้า 35) ได้กล่าวว่าเจตคติ คือ แนวโน้ม ของการกระทาที่แสดงต่อหรือต้านบางสิ่งบางอย่างในสภาพแวดล้อม ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นค่านิยม ทางบวกหรือทางลบต่อสิ่งนั้น ฟิชบายน์ และไอเซ็น (Fishbein & Ajzen อ้างถึงใน ฉัตรชัย มุระดา, 2540, หน้า 40) ให้คานิยาม ว่า เจตคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หมายถึง ผลรวมของการประเมินความเชื่อที่บุคคลมีต่อสิ่งนั้นและเขียนเป็น แบบจาลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ทานายพฤติกรรมความตั้งใจของบุคคลได้ สมจิตรา เรืองศรี (2527, หน้า 9) กล่าวว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึก เป็นสภาพความพร้อมทาง จิตใจที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมาในลักษณะชอบ ไม่ชอบหรือไม่พอใจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยเป็นพฤติกรรมทางจิตใจที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง สามารถสรุปพาดพิงจากพฤติกรรม ภายนอกที่แสดงออก เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์ (2527, หน้า 66) ได้กล่าวว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่ง ต่างๆ อันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียนรู้และประสบการณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม หรือแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
  • 8. 8 จากทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกในการตอบสนองต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่งตามความโน้มเอียงภายในตัวบุคคล 1.2 ความหมายของเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกพอใจ ชอบ หรือความเบื่อหน่ายเกี่ยวกับ ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ (อนันต์ จันทร์กวี, 2523: 61) เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อวิทยาศาสตร์ ทางด้านต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมา 2 ทาง คือ (นวลจิตต์ โชตินันท์, 2524: 9) 1) เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงนิรนาม (Positive attitudes toward science) เป็น พฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะพอใจ ชอบ อยากเรียน อยากเรียน อยากเข้าใกล้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 2) เจตคติเชิงนิเสธ (Negative attitudes toward science) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะ ไม่พอใจ ไม่ชอบ ไม่อยากเข้าใกล้เบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 1.3 องค์ประกอบของเจตคติ เจตคติเป็นระบบที่มีลักษณะมั่นคงอันหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ฟรี แมน (Freeman อ้างถึงใน ศักดิ์ สุนทรเสณี, 2531, หน้า 4-5) คือ 1) องค์ประกอบทางด้านการรู้ (Cognitive Component) เป็นเรื่องของการรู้ของบุคคลในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง อาจเป็นการรับรู้เกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ บุคคล หรือเหตุการณ์ต่างๆ ว่ารู้สิ่งต่างๆ ดังกล่าวนั้น ได้อย่างไร รู้ในทางที่ดีหรือไม่ดี ทางบวกหรือทางลบ ซึ่งจะก่อให้เกิดเจตคติขึ้น ถ้าเรารู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในทางที่ดี เราก็จะมีเจตคติต่อสิ่งนั้นในทางที่ดี และถ้ารู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางไม่ดี เราก็จะมีเจตคติไม่ดีต่อ สิ่งนั้นด้วย ถ้าเราไม่รู้จักสิ่งใดเลยเจตคติก็จะไม่เกิดขึ้น หรือไม่มีสิ่งใดในโลก เราก็จะไม่เกิดเจตคติต่อ สิ่งใดๆ เลย 2) องค์ประกอบทางด้านความรู้สึก (Affective Component or Feeling Component) เป็น องค์ประกอบทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งถูกเร้าขึ้นจากการรู้นั้น เมื่อเราเกิดการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว จะ ทาให้เราเกิดความรู้สึกในทางดีหรือไม่ดี ถ้าเรารู้สึกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางที่ไม่ดี เราก็จะไม่ชอบ หรือไม่พอใจในสิ่งนั้น ซึ่งความรู้สึกนี้จะทาให้เกิดเจตคติในทางในทางหนึ่ง คือชอบหรือไม่ชอบ ความรู้สิ่งนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก ไม่เหมือนกับความจริง (Fact) ต่างๆ ซึ่งจะ เปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าถ้ามีเหตุผลเพียงพอ 3) องค์ประกอบทางด้านแนวโน้มในเชิงพฤติกรรมหรือการกระทา (Action Tendency Component or Behavioral Component) เป็นความพร้อมที่จะตอบสนองต่าสิ่งนั้นๆ ในทางใดทางนึ่ง คือพร้อมที่จะสนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือในทางทาลายขัดขวาง ต่อสู้ เป็นต้น
  • 9. 9 1.4 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดเจตคติ การเกิดเจตคตินี้จาเป็นจะต้องพิจารณาถึงส่วนประกอบต่างๆ ด้วยว่า แต่ละส่วนประกอบนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เจตคติอาจเกิดได้จาก (อดุลย์ นันท์บัญชา, 2532, หน้า 21-22) 1.4.1 ประสบการณ์ที่บุคคลพบเห็น เกิดอาการประทับใจ 1.4.2 กระบวนกรเรียนรู้ จากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ ครอบครัว ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 1.4.3 การเลียนแบบ 1.4.4 อิทธิพลของกลุ่มสังคม 1.4.5 การสรุปตีความจากคุณลักษณะที่ปรากฏว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น หรือ น่าจะเป็นอย่าง นี้ 1.4.6 ความผิดปกติในเรื่องการปรับตัวของคนที่มีสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ สุวิรัช รัตนมณีโชติ (2536, หน้า 13-14) กล่าวว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดเจตคติ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านตัวบุคคล (Individual) อายุ ความเจ็บป่วย การศึกษาแลบุคลิกภาพที่ต่างกัน ย่อมมีผลทาให้เจตคติของบุคคลต่างกันออกไป โดยที่ผู้ที่อายุมากมักจะอนุรักษ์นิยมเมื่อพบกับเจตคติ ใหม่ ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงสามารถพิจารณาสิ่งที่มาชักจูงให้เปลี่ยนเจตคติได้มากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่า กว่า ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบต่างๆ มีอิทธิพลต่อการชักจูงให้เกิดและยอมรับเจตคติใหม่ได้ต่างกัน 2) สัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล (Communication from Others) บุคคลจะเกิดเจตคติเมื่อได้ติดต่อ สื่อความหมายกับผู้อื่น เจตคติของบุคคลมักจะเปลี่ยนไปตามเจตคติของหมู่คณะ เช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่ม เพื่อน กลุ่มสังคม กลุ่มอ้างอิง เนื่องจากบุคคลที่มีเจตคติที่เหมือนกันมีโอกาสที่จะทากิจกรรมร่วมกัน เป็นสาเหตุให้บุคคลมีความคิด ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน 3) การได้รับประสบการณ์เฉพาะด้าน (Specific Experience) บุคคลจะเกิดเจตคติต่อสิ่งหนึ่งเมื่อ ได้รับประสบการณ์สิ่งนั้นด้วยตนเอง และรู้สึกประทับใจต่อประสบการณ์นั้นอย่างคงที่และเป็น เวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นความประทับใจในทางบวกหรือทางลบก็ได้ 4) องค์ประกอบของสถาบัน (Institutional Factors) สถาบันทุกสถาบันย่อมมีกฎข้อบังคับ ระเบียบแบบแผนแนวทางให้บุคคลยึดถือปฏิบัติ บุคคลอาจเกิดเจตคติ เนื่องมาจากอิทธิพลของสถาบันที่ เกี่ยวข้องได้ การที่จะรู้ว่าบุคคลมีเจตคติต่อสิ่งต่างๆ ในทางบวกหรือลบเราสามารถวัดได้โดยการให้ บุคคลได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและพฤติกรรมต่อสิ่งนั้นๆ
  • 10. 10 1.5 เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ 1.5.1 ลักษณะเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกับเจตคติของบุคคล ที่แสดงพฤติกรรมต่อสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป เจตคติทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการ (Process) ที่นักวิทยาศาสตร์ได้กระทา เพื่อค้นหา ความรู้และให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ถูกต้อง เป็นจริง และเป็นที่ยอมรับ ดังนั้น บุคคลที่มีเจตคติทาง วิทยาศาสตร์จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.5.2 คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 1. เป็นคนที่มีเหตุผล 1) จะต้องเป็นคนที่ยอมรับ และเชื่อในความสาคัญของเหตุผล 2) ไม่เชื่อโชคลาง คาทานาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ 3) ค้นหาสาเหตุของปัญหาหรือเหตุการณ์ และหาความสัมพันธ์ของสาเหตุกับผลที่ เกิดขึ้น 4) ต้องเป็นบุคคลที่สนใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และจะต้องเป็นบุคคลที่ พยายามค้นหาคาตอบว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และทาไมจึง เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น 2. เป็นคนที่มีความอยากรู้อยากเห็น 1) มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรู้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ 2) ตระหนักถึงความสาคัญของการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเสมอ 3) จะต้องเป็นบุคคลที่ชอบซักถาม ค้นหาความรู้โดยวิธีการต่าง ๆ อยู่เสมอ 3. เป็นบุคคลที่มีใจกว้าง 1) เป็นบุคคลที่กล้ายอมรับการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลอื่น 2) เป็นบุคคลที่จะรับรู้และยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ อยู่เสมอ 3) เป็นบุคคลที่เต็มใจที่จะเผยแพร่ความรู้และความคิดให้แก่บุคคลอื่น 4) ตระหนักและยอมรับข้อจากัดของความรู้ที่ค้นพบในปัจจุบัน 4. เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ และมีใจเป็นกลาง 1) เป็นบุคคลที่มีความซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ 2) เป็นบุคคลที่มีความมั่นคง หนักแน่นต่อผลที่ได้จากการพิสูจน์ 3) สังเกตและบันทึกผลต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา ไม่ลาเอียง และมีอคติ 5. มีความเพียรพยายาม 1) ทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ 2) ไม่ท้อถอยเมื่อผลการทดลองล้มเหลว หรือมีอุปสรรค
  • 11. 11 3) มีความตั้งใจแน่วแน่ต่อการค้นหาความรู้ 6. มีความละเอียดรอบคอบ 1) รู้จักใช้วิจารณญาณก่อนที่จะตัดสินใจใด ๆ 2) ไม่ยอมรับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนกว่าจะมีการพิสูจน์ที่เชื่อถือได้ 3) หลีกเลี่ยงการตัดสินใจ และการสรุปผลที่ยังไม่มีการวิเคราะห์แล้วเป็นอย่างดี 1.6 เจตคติทางวิทยาศาสตร์ กับจุดมุ่งหมายของการสอนวิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา ทุกระดับชั้นก็ต้องยึดถือหลักการ ดังกล่าวเช่นเดียวกัน คือ จะต้องสอนให้ผู้เรียนเจริญงอกงามไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน โดยในแต่ละ ระดับชั้น หรือแต่ละหลักสูตอาจมีการเน้นหรือกาหนดสัดส่วนที่แตกต่างกันไปบ้างเท่านั้นซึ่งเจตคติที่ สาคัญทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์นั้นประกอบไปด้วย 1) ด้านความรู้ความคิดหรือพุทธิพิสัย (C) เป็นจุดมุ่งหมายที่ต้องการพัฒนา ทางด้านสติปัญญา ความคิด หรือพัฒนาสมองของผู้เรียนให้เจริญงอกงาม ซึ่งก็คือการสอนให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหลายในส่วนที่เป็น ตัวองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ( Body of scientific knowledges ) อันได้แก่ ข้อเท็จจริง (Fact) แนวความคิด หรือสังกัป ( Concept ) หลักการหรือกฎ ( Principle & Law ) และ ทฤษฎี (Theory ) ซึ่งจะมีความลึกซึ้ง กว้างขวางแตกต่าง กันไปตามระดับชั้นหรือหลักสูตร 2) ด้านความรู้สึก หรือ จิตพิสัย ( A ) เป็นจุดมุ่งหมายที่ต้องการทาให้ผู้เรียนได้พัฒนาเจริญ งอกงามในส่วนที่เป็นเรื่องของจิตใจและความรู้สึก ที่สาคัญได้แก่ ความสนใจ ( Interests ) ความ ซาบซึ้ง (Appreciations ) ค่านิยมและความเชื่อ (Values & Beliefs ) และ เจตคติ ( Attitudes ) 3) ด้านทักษะปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติพิสัย ( P ) เป็นจุดมุ่งหมายที่ต้องการ พัฒนาให้ผู้เรียนได้เจริญงอกงาม มีทักษะ ความชานาญในการปฏิบัติ หรือ ทาเป็น 1.7 การวัดเจตคติ เจตคติเป็นพฤติกรรมภายในที่มีลักษณะเป็นนามธรรมซึ่งตัวเองเท่านั้นที่ทราบวิธีการวัดเจตคติ โดยตรงจึงทาไม่ได้ การศึกษาเจตคติทาได้ 3 วิธี (ศักดิ์ สุนทรเสนณี, 2531, หน้า 16-18) คือ 1.7.1 การสังเกต (Observation) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ศึกษาเจตคติโดยใช้ประสาทหูและตาเป็น สาคัญ การสังเกตเป็นวิธีการศึกษาพฤติกรรมที่แสดงออกของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วนาข้อมูลที่ สังเกตนั้นไปอนุมานว่าบุคคลนั้นมีเจตคติต่อสิ่งนั้นเป็นอย่างไร ปัจจัยสาคัญที่จะช่วยให้สังเกตได้รับผลดี ผู้สังเกตต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการดูเรน (Duren อ้างถึงใน ศักดิ์ สุนทรเสณี, 2531, หน้า 16) คือ 1) มีความใส่ใจต่อสิ่งที่สังเกต (Attention)
  • 12. 12 2) มีประสาทสัมผัสที่ดี (Sensation) 3) มีการรับรู้ที่ดี (Perception) 4) มีความคิดรวบยอดที่ดี (Conception) สามารถสรุปเรื่องราวได้ถูกต้องและเชื่อถือได้ 1.7.2 การให้รายงานตัวเอง (Self-Report) เป็นวิธีศึกษาเจตคติของบุคคลโดยให้บุคคลนั้นเล่า ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นออกมา เช่น อาจรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเห็นว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งผู้รายงานตนเอง จะ เล่าหรือบรรยายความรู้สึกนึกคิดของเขาออกมาตามประสบการณ์ และความสามารถที่เขามีอยู่ ซึ่งจะ แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล จากการฟังสิ่งที่เขาบอกเล่าเหล่านี้ก็สามารถที่จะกาหนดค่าคะแนน ของเจตคติได้ วิธีการศึกษาเจตคติแบบนี้เป็นวิธีการของเทอร์สโตน ชลิเคอร์ท กัทท์แมน และออสกูดที่ ได้พยายามสร้างสเกลการวัดเจตคติขึ้น คะแนนที่ได้จากการวัดเจตคติแบบสเกลนี้จัดแบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยแต่ละช่วงจะมีขนาดเท่ากันสามารถที่จะนามาเปรียบเทียบความมากน้อยของเจตคติได้ วิธีนี้เป็นวิธี ที่นิยมใช้วัดเจตคติกันมาก โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ 1.7.3 เทคนิคการฉายออก (Projective Techniques) เป็นวิธีวัดเจตคติโดยการให้สร้าง จินตนาการจากภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลนั้นแสดงความคิดเห็นออกมาจะได้สังเกตและ วัดได้ว่าบุคคลนั้นมีความรู้สึกอย่างไร ซึ่งบุคคลย่อมแสดงออกตามประสบการณ์ที่เขาเคยได้รับมาแต่ละ คนจะมีการแสดงออกไม่เหมือนกัน 2. การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบควรจะหาคุณภาพในด้านต่างๆ (รจนา จันทร์ทอง ครูชานาญการ พิเศษ, 2552) มีดังนี้ 1. ความตรงของแบบทดสอบ 2. ความเที่ยงของแบบทดสอบ 3. ความยากง่ายและค่าอานาจจาแนกของแบบทดสอบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 ความตรงของแบบทดสอบ 2.1.1 ความตรงเชิงเนื้อหา เป็นการหาคุณภาพก่อนที่จะนาแบบทดสอบไปใช้จริง โดยคณะ ผู้ศึกษาเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบข้อคาถามทั้งหมดว่า ครบถ้วนทุกเนื้อหาตรงตามตาราง วิเคราะห์ หลักสูตร และพิจารณาคาถามรายข้อว่าวัดเนื้อหาตามที่ต้องการครบถ้วน 2.1.2 ความตรงเชิงโครงสร้าง เป็นการหาคุณภาพก่อนที่จะนาแบบทดสอบไปใช้จริง เพื่อ ตรวจสอบว่าลักษณะพฤติกรรมของข้อคาถามมีความสอดคล้องกับลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด หรือไม่ โดยคณะผู้ศึกษาได้ร่วมกันพิจารณาว่าแบบทดสอบสามารถวัดพฤติกรรม ในด้านต่าง ๆ ได้ตรง ตามที่กาหนดไว้ในตารางวิเคราะห์หลักสูตร และให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล ได้ ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
  • 13. 13 2.1.3 ความตรงตามสภาพ เป็นการตรวจสอบเพื่อดูว่า แบบทดสอบที่สร้างขี้น จะให้ผลของ การวัดได้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง 2.2 ความเที่ยงของแบบทดสอบ ( Reliability ) ความเที่ยงของแบบทดสอบ ( Reliability ) หมายถึง ความคงเส้นคงวาของผลการสอบ ไม่ว่าจะ สอบกี่ครั้ง นักเรียนคนเดิมควรจะได้คะแนนไม่แตกต่างจากเดิม วิธีการหาค่าความเชื่อมั่น มีหลายวิธี เช่น การสอบซ้า ( Test-retest ) , การทดสอบจากข้อสอบคู่ขนาน ( Parallel form ) ฯ แต่ถ้าเป็นการ ทดสอบครั้งเดียวกับนักเรียนกลุ่มเดียว ได้แก่ Split-half, KR-20, KR-21 และ Cronbach’s Alpha ซึ่งจะ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง +1 (ค่าความเชื่อมั่นที่ดีนั้น ไม่มีการกาหนดแน่นอน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ประการ เช่น คุณลักษณะของกลุ่มผู้สอบ , สภาพแวดล้อม , การกาหนดเวลาในการสอบ ฯลฯ โดยทั่วไปค่าที่น่าเชื่อถือควรจะมากกว่า 0.70 ) 2.3 ความยากง่ายและค่าอานาจจาแนกของแบบทดสอบ ความยากง่ายและค่าอานาจจาแนกของแบบทดสอบ เป็นส่วนหนึ่งของการหาคุณภาพรายข้อ ของข้อสอบ พบว่าในปัจจุบัน ภาควิชาต่าง ๆ ได้มีการหาคุณภาพของข้อสอบ ในส่วนของการวิเคราะห์ รายข้อโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบ ดังนั้นจึงไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนของขั้นตอนการ คานวณในการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ แต่จะเน้นในส่วนของการอ่านผลที่ได้จากการวิเคราะห์รายข้อ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้ 2.3.1 ค่าความยากง่าย ( Difficulty ) เป็นสัดส่วนระหว่าง จานวนผู้ตอบคาถามนั้น ๆ ได้ถูกต้อง กับจานวนผู้ที่ตอบทั้งหมด แทนด้วยสัญลักษณ์ P ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ค่า P ระหว่าง 0.00-0.19 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากมาก ค่า P ระหว่าง 020-0.40 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก ค่า P ระหว่าง 0.41-0.60 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยากง่ายพอเหมาะ ค่า P ระหว่าง 0.61-0.80 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย ค่า P ระหว่าง 0.81-1.00 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ง่ายมาก 2.3.2 ค่าอานาจจาแนก ( Discrimination ) หมายถึง ประสิทธิภาพของแบบทดสอบในการแยก ความสามารถ เก่ง-อ่อน ของผู้ตอบ เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของอัตราส่วนระหว่างเด็กเก่งและ เด็กอ่อน ( คือ ถ้าเด็กกลุ่มเก่งสามารถทาข้อสอบนี้ได้ และเด็กกลุ่มอ่อนไม่สามารถทาข้อสอบนี้ได้ แสดง ว่าข้อสอบนี้ สามารถจาแนกความสามารถของเด็กได้ ถือว่าเป็นข้อสอบที่ดี) ค่าอานาจจาแนกจะใช้ค่า
  • 14. 14 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความเก่ง -อ่อน และการตอบถูก -ผิดของผู้ตอบเป็นหลัก แทนด้วย สัญลักษณ์ r ซึ่งมีค่าตั้งแต่ -1.00 ถึง +1.00 และมีความหมายดังนี้ ค่า r เป็น ลบ แสดงว่า มีค่าอานาจจาแนกในทางตรงกันข้าม ค่า r ระหว่าง 0.00-0.19 แสดงว่า ไม่มีค่าอานาจจาแนก ค่า r ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป แสดงว่า มีค่าอานาจจาแนกดี 3. เกณฑ์การพิจารณาข้อสอบ 1. ข้อสอบดีมาก คือ ข้อสอบที่มีความยากง่ายพอเหมาะ ( P ระหว่าง 0.41-0.60 ) และ มีค่า อานาจจาแนกดี ( r มากกว่าหรือเท่ากับ 0.20 ) 2. ข้อสอบดี คือ ข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย ( P ระหว่าง 0.61-0.80 ) หรือข้อสอบที่ค่อน ข้างยาก ( P ระหว่าง 0.20-0.40 )และมีค่าอานาจจาแนกดี (r มากกว่าหรือเท่ากับ 0.20 ) 3. ข้อสอบพอใช้ได้ คือ ข้อสอบที่มีความยากง่ายพอเหมาะ ( P ระหว่าง 0.21-0.80 ) และมีค่า อานาจจาแนกต่า ( r ระหว่าง 0.00-0.19 ) หรือข้อสอบที่มีค่าอานาจจาแนกดี (r มากกว่าหรือเท่ากับ 0.20) แต่มีความยากมาก ( P ระหว่าง 0.00-0.19 ) หรือมีความง่ายมาก ( P ระหว่าง 0.81-1.00 ) 4. ข้อสอบไม่ดี คือ ข้อสอบที่มีความยากมาก ( P ระหว่าง 0.00-0.19 ) หรือข้อสอบที่มีความง่าย มาก ( P ระหว่าง 0.81-1.00 ) และมีค่าอานาจจาแนกน้อย ( r ระหว่าง 0.00-0.19 ) 5. ข้อสอบใช้ไม่ได้ คือ ข้อสอบที่มีค่าอานาจจาแนกในทางกลับกัน หรือไม่มีค่าอานาจจาแนก ( r เป็นลบ ) จากที่กล่าวมาสรุปได้ดังตารางด้านล่าง ตาราง 1 เกณฑ์การพิจารณาข้อสอบ P r เป็นลบ r ระหว่าง 0.00-0.19 r ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป น้อยกว่า 0.20 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี พอใช้ได้ 0.20-0.40 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี ดี 0.41-0.60 ใช้ไม่ได้ พอใช้ได้ ดีมาก 0.61-0.80 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี ดี มากกว่า 0.80 ใช้ไม่ได้ ไม่ดี พอใช้ได้
  • 15. 15 บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย วิธีดาเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มี 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. กาหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 3. สร้างเครื่องมือในการวิจัย 4. ดาเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล 5. วิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 มาสนุกกับแรง หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เสียงกับการได้ยิน หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 หยาดน้าฟ้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 สภาพอากาศ หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ จาก หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต 2. การกาหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากร นักเรียนในระดับชั้น ป.5 โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ ภาคเรียนที่ 2 ในปีการศึกษา 2552 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้น ป.5/1-ป.5/5 จานวน 180 คน โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2552 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามพฤติกรรมนักเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ (ปรากฏใน ภาคผนวก) ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 (ปรากฏในภาคผนวก)
  • 16. 16 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ไม่มี 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ดาเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ป.5 ปีการศึกษา 2552 ใช้แบบสอบถามพฤติกรรม นักเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังสอนจบตามหลักสูตร โดยใช้แบบสอบถามนี้กับ นักเรียนจานวน 180 คน นาผลการสอบปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 มาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพ 5. การวิเคราะห์ข้อมูล 5.1 วัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ตามหลักการของลิเคอร์ท ( Likert’ s Scale) โดยนา คะแนนที่ได้จากการวัดเจตคติแบบสเกลนี้จัดแบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยแต่ละช่วงจะมีขนาดเท่ากัน สามารถที่จะนามาเปรียบเทียบความมากน้อยของเจตคติได้ สาหรับวิธีการของตรวจสอบคุณภาพ ข้อสอบตามหลักการของลิเคอร์ท ( Likert’ s Scale) ได้แบ่งสเกลเป็น 5 ช่วง แต่ผู้วิจัยต้องการคาตอบ ชัดเจน จึงได้ทาแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งสเกลระดับความคิดเห็น เป็น 4 ระดับหรือ 4 ช่วงเท่านั้น ผู้วิจัยหาค่าเฉลี่ยต่างๆ โดยคานวณจากโปรแกรม Excel 5.2 ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบตามวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน โดยใช้สูตร KR-21 โดยคานวณ จากโปรแกรม Excel
  • 17. 17 บทที่ 4 ผลการวิจัย การวิจัยเรื่อง การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบปลาย ภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังต่อไปนี้ - ตอนที่ 1 วิเคราะห์เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ - ตอนที่ 2 เปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียน - ตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบ ตอนที่ 1 วิเคราะห์เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นหรือความรู้สึกระหว่าง ความหมาย 3.26-4.00 มากที่สุด (4) 2.51-3.25 มาก (3) 1.76-2.5 น้อย (2) 1-1.75 น้อยที่สุด (1) จากการสารวจความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้น ป.5 ปีการศึกษา 2552 ปรากฏผลดังนี้ รายการประเมิน ค่าเฉลี่ยระดับความ คิดเห็นหรือความรู้สึก ระหว่าง ความหมาย 1. นักเรียนคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เข้าใจได้ง่าย 3.31 มาก 2. นักเรียนเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจจริง 3.08 มาก 3. นักเรียนคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก 1.83 น้อย 4. นักเรียนชอบเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชาอื่นๆ 2.56 มาก 5. นักเรียนเบื่อหน่ายเมื่อถึงเวลาเรียนวิทยาศาสตร์ 1.81 น้อย 6. นักเรียนชอบการทดลองวิทยาศาสตร์ 3.77 มากที่สุด 7. นักเรียนชอบจดบันทึกตามคุณครู 3.06 มาก 8. นักเรียนชอบตอบคาถามด้วยตนเอง 2.65 มาก 9. นักเรียนชอบอ่าน ค้นคว้าด้วยตนเอง 2.40 น้อย 10. นักเรียนชอบฟังคาอธิบายจากครู 3.27 มากที่สุด 11. นักเรียนเบื่อวิธีการสอนวิทยาศาสตร์ 1.75 น้อยที่สุด
  • 18. 18 รายการประเมิน ค่าเฉลี่ยระดับความ คิดเห็นหรือความรู้สึก ระหว่าง ความหมาย 12. นักเรียนรักษาระเบียบวินัย และปฏิบัติตามหน้าที่ของ ตนเองเสมอ 2.58 มาก 13. นักเรียนชอบตามกระแสแฟชั่น 2.04 น้อย 14. นักเรียนคิดว่าตนเองสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก หรือผิด อะไรควรทาไม่ควรทา 2.94 มาก 15. นักเรียนทบทวนความรู้ด้วยตนเองเสมอ 2.27 น้อย 16. นักเรียนอยากเล่นมากกว่าอ่านหนังสือ 2.55 มาก 17. ผู้ปกครองมีเวลาอบรมนักเรียน 3.00 มาก 18. นักเรียนจะเป็นคนดีของสังคม 3.42 มากที่สุด 19. นักเรียนมีความใฝ่ฝัน กระตือรือร้น 3.04 มาก 20. นักเรียนชอบอยู่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน 2.44 น้อย 21. นักเรียนคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ควรศึกษา 3.44 มากที่สุด 22. นักเรียนรู้สึกกระตือรือร้นเมื่อได้เรียนวิทยาศาสตร์ 2.42 น้อย 23. วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ช่วยให้นักเรียนรู้จัดคิด อ่าน และทางานอย่างมีแบบแผน 3.23 มาก 24. นักเรียนชอบกิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์มากกว่าวิชา อื่นๆ 2.96 มาก 25. ความรู้ที่ได้จากวิชาวิทยาศาสตร์สามารถนามาใช้ใน ชีวิตประจาวันได้จริง 2.23 มาก 26. รู้สึกชอบสื่อการสอน และการทดลองที่ครูสาธิต 3.38 มากที่สุด 27. วิชาวิทยาศาสตร์มีประโยชน์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับวิชา อื่นๆ 1.83 น้อย 28. ถ้าเลือกได้นักเรียนจะไม่เลือกเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 1.70 น้อยที่สุด 29. นักเรียนรู้สึกง่วงนอนทุกครั้งเมื่อได้เรียนวิทยาศาสตร์ 2.29 น้อย 30. นักเรียนรู้สึกเบื่อหน่ายกับสื่อการสอนที่ครูใช้ 1.79 น้อย
  • 19. 19 ตอนที่ 2 เปรียบเทียบเจตคติต่อรายบทเรียน เรื่อง ค่าเฉลี่ยลาดับที่ชอบ ความดัน แรงดัน 5.88 แรงลอยตัว และการจมลอย 5.98 แรงลัพธ์ 5.29 แรงเสียดทาน 5.27 เสียงกับการได้ยิน 3.98 วัฏจักรของน้า 3.40 สภาพอากาศ 4.44 ทิศ 3.50 กลุ่มดาว 5.10 เรียงลาดับบทเรียนจากชอบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) วัฏจักรของน้า 2) ทิศ 3) เสียง กับการได้ยิน 4) สภาพอากาศ 5) กลุ่มดาว 6) แรงเสียดทาน 7) แรงลัพธ์ 8) ความดันแรงดัน และ 9) แรงลอยตัวและการจมลอย ตอนที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบ ข้อสอบอยู่ในภาคผนวก ข้อที่ ค่าความยาก (P) ความหมาย ค่าอานาจจาแนก r ความหมาย 1 0.70 ค่อนข้างง่าย 0.4 ดี 2 0.75 ค่อนข้างง่าย 0.3 ค่อนข้างดี 3 0.85 ง่ายมาก 0.3 ค่อนข้างดี 4 0.40 ปานกลาง 0 ตัดทิ้ง 5 0.70 ค่อนข้างง่าย 0.2 ปรับปรุง 6 0.35 ค่อนข้างยาก 0.7 ดี 7 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.7 ดี 8 0.45 ปานกลาง 0.9 ดี 9 0.50 ปานกลาง 0.6 ดี 10 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.1 ตัดทิ้ง 11 0.75 ค่อนข้างง่าย 0.5 ดี
  • 20. 20 ข้อที่ ค่าความยาก (P) ความหมาย ค่าอานาจจาแนก r ความหมาย 12 0.80 ง่ายมาก 0.2 ปรับปรุง 13 0.45 ปานกลาง 0.1 ตัดทิ้ง 14 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.3 ค่อนข้างดี 15 0.10 ยากมาก 0.2 ปรับปรุง 16 0.90 ง่ายมาก 0 ตัดทิ้ง 17 0.85 ง่ายมาก 0.3 ค่อนข้างดี 18 0.70 ค่อนข้างง่าย 0.2 ปรับปรุง 19 0.30 ค่อนข้างยาก 0.4 ดี 20 0.80 ง่ายมาก 0.4 ดี 21 0.35 ค่อนข้างยาก 0.7 ดี 22 0.35 ค่อนข้างยาก 0.5 ดี 23 0.85 ง่ายมาก 0.1 ตัดทิ้ง 24 0.75 ค่อนข้างง่าย 0.5 ดี 25 0.80 ง่ายมาก 0.4 ดี 26 0.60 ค่อนข้างง่าย 0.4 ดี 27 0.25 ค่อนข้างยาก 0.5 ดี 28 0.55 ปานกลาง 0.3 ค่อนข้างดี 29 0.65 ค่อนข้างง่าย 0.5 ดี 30 0.25 ค่อนข้างยาก 0.1 ตัดทิ้ง 31 1 ปานกลาง 1 ดี 32 0 ปานกลาง 1 ดี 33 1 ปานกลาง 1 ดี 34 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี 35 1 ค่อนข้างง่าย 0 ดี 36 1 ปานกลาง 0 ค่อนข้างดี 37 1 ปานกลาง 0 ปรับปรุง 38 0 ปานกลาง 1 ดี 39 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี 40 1 ปานกลาง 1 ดี
  • 21. 21 ข้อที่ ค่าความยาก (P) ความหมาย ค่าอานาจจาแนก r ความหมาย 41 1 ค่อนข้างง่าย 0 ตัดทิ้ง 42 1 ค่อนข้างง่าย 0 ปรับปรุง 43 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี 44 1 ค่อนข้างง่าย 1 ดี 45 1 ค่อนข้างง่าย 0 ปรับปรุง ข้อสอบที่ควรตัดทิ้ง ได้แก่ ข้อที่ 4, 10, 13, 16, 23, 30, 41 (จานวน 7 ข้อ) ข้อสอบที่ควรปรับปรุง ได้แก่ 5, 12, 15, 18, 37, 42, 45 (จานวน 7 ข้อ) ข้อสอบที่พอใช้ได้ ได้แก่ 2, 3, 14, 17, 28, 36 (จานวน 6 ข้อ) ข้อสอบที่ดี ได้แก่ 1, 6, 7, 8, 9, 11, 19, 20, 21, 22, 24, 25, 26, 27, 29, 31, 32, 33, 34, 35, 38, 39, 40, 43, 44 (จานวน 25 ข้อ) ข้อสอบวัดผลปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ฉบับนี้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8297
  • 22. 22 บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. นักเรียนระดับชั้น ป.5 มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เชิงบวก 2. นักเรียนมีเจตคติต่อบทเรียนในภาคเรียนที่ 2 ป.5 เรียงลาดับบทเรียนจากชอบมากที่สุดไปหา น้อยที่สุด ได้ดังนี้ 1) วัฏจักรของน้า 2) ทิศ 3) เสียงกับการได้ยิน 4) สภาพอากาศ 5) กลุ่มดาว 6) แรงเสียดทาน 7) แรงลัพธ์ 8) ความดันแรงดัน และ 9) แรงลอยตัวและการจมลอย 3. ข้อสอบที่ใช้วัดผลนักเรียนมีค่าความเชื่อมันเท่า 0.8297 ซึ่งจัดเป็นข้อสอบที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ แต่มีข้อสอบที่ควรตัดทิ้งจานวน 7 ข้อ และควรปรับปรุงก่อนนาไปใช้จานวน 7 ข้อ ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย 1. นักเรียนชอบเรียนเรื่อง วัฏจักรของน้า มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ครูสอนโดยการวาดภาพ พร้อม กับการบรรยายประกอบภาพ และชอบเรื่องทิศเนื่องจากครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติเดินทางตาม แผนที่โดยใช้ทิศจริง 2. นักเรียนชอบเรียน เรื่อง แรงลอยตัวและการจมลอยน้อยสุด อาจเกิดจากครูสอนโดยการ ท่องจานักเรียนได้ดูการสาธิตเพียงเล็กน้อย 3. ครูควรปรับวิธีการสอน เรื่อง แรงลัพธ์ ความดันแรงดัน แรงลอยตัวและการจมลอย โดยให้ นักเรียนทากิจกรรมหรือปฏิบัติด้วยตนเอง 4. ข้อสอบที่ใช้วัดผลการสอบปลายภาคมีค่าความเชื่อมั่นที่เหมาะสม แต่ควรพัฒนาข้อสอบให้มี คุณภาพยิ่งขึ้น
  • 23. 23 บรรณานุกรม จินตนา กุลทัพ. (2540).การศึกษาเจตคติของผู้ป่วยนอกต่อการให้บริการของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จัหวัด สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ฉัตรชัย มุระดา. (2540). การศึกษาความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับระบบและเจตคติต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2527).การวัดทัศนคติและบุคลิกภาพ.กรุงเทพฯ: สานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2520. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา.เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์. รจนา จันทร์ทอง ครูชานาญการ. (2552).การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ. http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/9999softmeas/unit6/test.doc. นวลจิตต์ โชตินันท์. (2524).ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านวารสารทางวิทยาศาสตร์กับเจตคติทางวิทยาศาสตร์และ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันชัย มีกลาง. (2530). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ ความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตามและการได้รับการถ่ายทอดทาง พุทธศาสนาของนิสิตระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร.กัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร . ศักดิ์ สุนทรเสณี. (2531).เจตคติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูบ้าน สมเด็จ. สมจิตรา เรืองศรี. (2527).การสร้างแบบทดสอบ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง สมปอง ม้ายนอุเทศ. (2542).การศึกษาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบทดสอบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ ที่สร้างโดยวิธีลิเคอร์ทที่มีการจัดกลุ่มข้อสอบและรูปแบบคาตอบต่อกัน.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร . สุวิรัช รัตนมณีโชติ. (2536). ความรู้และเจตคติของพยาบาลต่อการบริจาคอวัยวะ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมห บัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล. อดุลย์ นันท์บัญชา. (2532).เจตคติที่มีต่อวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตการศึกษา 8. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อุษณีย์ วรรณจิยี. (2536). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนอ่านโดยใช้เทคนิคการสร้างไดอะแกรมกับการสอนอ่านตามคู่มือ ครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร
  • 25. 25 1. เมื่อคว่าแก้วที่มีกระดาษติดอยู่ด้านใน ก้นแก้ว เพราะเหตุใดกระดาษจึงไม่ เปียก ก. เพราะมีแรงลอยตัว ข. เพราะแก้วและกระดาษมีความ หนาแน่นน้อยกว่าน้า ค. เพราะแรงดันน้าดันแก้วไว้เพื่อไม่ให้ แก้วจม ง. เพราะแรงดันอากาศในแก้วดันน้า ไม่ให้เข้าไปในแก้ว (ว 4.1 ป.5/2) 2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแรงดันของ น้าที่ระดับความลึกต่างกัน ก. ที่ระดับความลึกต่างกันไม่มีผลต่อ แรงดันของน้า ข. แรงดันของน้ามีค่าคงที่เมื่อความลึกเกิน ระดับหนึ่ง ค. ยิ่งลึกลงไป แรงดันของน้าจะมีค่ามากขึ้น ง. ยิ่งลึกลงไป แรงดันของน้าจะมีค่าลดลง (ว 4.1 ป5/3) 3. วัตถุที่ลอยน้าต้องมีลักษณะอย่างไร ก. มีน้าหนักมากกว่าน้า ข. ความหนาแน่นน้อยกว่าน้า ค. มีน้าหนักเท่ากับน้า ง. ความหนาแน่นมากกว่าน้า (ว 4.1 ป.5/4) 4. ข้อใดที่ไม่ใช่ปัจจัยที่ทาให้วัตถุจมหรือ ลอย ก. ความดันของของเหลว ข. ความหนาแน่นของวัตถุ ค. น้าหนัก ง. ปริมาตร (ว 4.1 ป.5/4) 5. พื้นที่บริเวณใดมีความดันอากาศน้อย ที่สุด ก. ที่ราบ ข. ยอดเขา ค. หุบเขา ง. ชายทะเล (ว 4.1 ป.5/2) แบบทดสอบวัดผลปลายปี ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนประชาราษฎร์บาเพ็ญ สานักงานเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 15101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คาชี้แจง 1. แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกคาตอบ จานวน 45 ข้อ คะแนนเต็ม 15 คะแนน 2. ให้ทาข้อสอบในกระดาษคาตอบที่กาหนดให้ 3. เวลาในการทาแบบทดสอบ 60 นาที คาสั่ง ให้นักเรียน X ทับข้อที่มีคาตอบที่ถูกต้องเพียงคาตอบเดียว (3 ข้อ ต่อ 1 คะแนน)
  • 26. 26 6. จากภาพ แรงลัพธ์ คือข้อใด ก. 95 N ไปด้านขวา ข. 95 N ไปด้านซ้าย ค. 55 N ไปด้านขวา ง. 55 N ไปด้านซ้าย (ว 4.1 ป.5/1) 7. ในการเล่นชักเย่อ ถ้าแรงดึงเชือกทั้ง 2 ข้างเท่ากัน เชือกจะเคลื่อนที่ไปทางทิศ ใด ก. ไม่เคลื่อนที่ ข. เคลื่อนที่ไปด้านซ้าย ค. เคลื่อนที่ไปด้านขวา ง. ไม่มีข้อถูก (ว 4.1 ป.5/1) 8. นักเรียนตัวแทน ป.5/1 แข่งขันชักเย่อ กับนักเรียน ป.5/2 โดย ป.5/1 ออกแรง ไปทางขวา 200 นิวตัน ส่วน ป.5/2 ออกแรงไปทางซ้าย 100 นิวตัน แรง ลัพธ์ คือข้อใด ก. 300 นิวตันไปทางขวา ข. 300 นิวตันไปทางซ้าย ค. 100 นิวตันไปทางขวา ง. 100 นิวตันไปทางซ้าย (ว 4.1 ป.5/1) 9. แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลต่อค่าใดของ วัตถุ ก. มวล ข. น้าหนัก ค. ปริมาตร ง. ความหนาแน่น (ว 4.1 ป.5/4) 10. ถ้าเราออกแรง 10 นิวตัน ผลักวัตถุ แต่ วัตถุไม่ขยับ แสดงว่าแรงเสียดทาน ระหว่างผิวสัมผัสของพื้นกับวัตถุเป็น อย่างไร ก. เท่ากับ 10 นิวตัน ข. น้อยกว่า 10 นิวตัน ค. มากกว่า 10 นิวตัน ง. สรุปไม่ได้ (ว.4.2 ป.5/1) 11. ข้อความใดอธิบายแรงเสียดทานได้ ถูกต้อง ก. แรงที่ทาให้วัตถุเคลื่อนที่ ข. แรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ ค. แรงที่ทาให้วัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้น ง. แรงที่มีทิศเดียวกับทิศที่วัตถุ เคลื่อนที่ (ว.4.2 ป.5/1) 12. ข้อความใดผิด ก. แรงเสียดทานมากทาให้วัตถุเคลื่อนที่ เร็วขึ้น ข. ถ้าวัตถุมีน้าหนักมาก แรงเสียดทานจะ มาก ค. วัตถุที่มีพื้นผิวเรียบจะมีแรงเสียดทาน น้อย ง. ถ้าวัตถุมีน้าหนักน้อย แรงเสียดทานจะ น้อย (ว.4.2 ป.5/1) 13. พื้นใดเกิดแรงเสียดทานมากที่สุด ก. พื้นไม้ ข. พื้นกระจก ค. พื้นยาง ง. พื้นหินอ่อน (ว.4.2 ป.5/1) 20 N 75 N
  • 27. 27 14. วิภาทาการทดลองโดยเทน้าร้อนลงใน ขวดแล้วใช้ลูกโป่งสวมปากขวด จากนั้นเทน้าเย็นราดขวดจะปรากฏผล เป็นอย่างไร (คิดสิ อากาศหด หรือ ขยาย) ก. ลูกโป่งจะถูกไฟไหม้ ข. ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ค. ลูกโป่งจะบุ๋มลงในขวด ง. ลูกโป่งจะโป่งพองขึ้น (ว 4.1 ป.5/2) 15. ถ้าเราเอาขวดน้าพลาสติกในตู้เย็นที่น้า หมดปิดฝา แล้วเอาออกมาตั้งด้านนอก จะเกิดอะไรขึ้น ก. ขวดเล็กลง ข. ขวดใหญ่ขึ้น ค. ขวดบุบลง ง. ขวดพองขึ้น (ว 4.1 ป.5/2) 16. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบที่ช่วยในการ ได้ยินเสียง ก. ตัวกลาง ข. แหล่งกาเนิดเสียง ค. ระยะทาง ง. อวัยวะรับเสียง (ว 5.1 ป.5/1) 17. เสียงก้องเกิดขึ้นได้เพราะเหตุใด ก. การสะท้อนกลับของเสียง ข. ฝาผนังสั่นสะเทือน ค. เสียงดังอยู่ในที่โล่ง ง. อากาศมีความกดดันสูง (ว 5.1 ป.5/1) 18. เสียงเดินทางผ่านสิ่งใดได้ดีที่สุด ก. สุญญากาศ ข. ไนโตรเจน ค. ขวดแก้ว ง. น้าทะเล (ว 5.1 ป.5/1) 19. อะไรคือสาเหตุที่ทาให้เครื่องดนตรี ประเภทสายเกิดเสียงสูง-ต่า ก. สีของเชือก ข. ความสั้นยาวของสาย ค. ความแรงในการดีด ง. ไม่มีข้อถูก (ว 5.1 ป.5/2) 20. คลื่นเสียงเดินทางจากแหล่งกาเนิด เสียง อย่างไร ก. ไปด้านหน้าด้านเดียว ข. แผ่ออกเป็นวงรอบทิศทาง ค. แผ่ขนานกับพื้นโลก ง. ขึ้น ลงตามแรงโน้มถ่วง (ว 5.1 ป.5/1) 21. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง ก. ถ้าอยู่ใกล้แหล่งกาเนิดเสียงเราจะได้ ยินเสียงดัง ข. ถ้าตีกลองแรงๆ จะได้ยินเสียงดัง ค. ขวดที่มีน้าน้อยเป่าแล้วได้ยินเสียง แหลม ง. ขวดแก้วที่มีน้ามากเคาะแล้วได้ยิน เสียงต่ากว่าขวดน้าน้อย (ว 5.1 ป.5/2) 22. ถ้าจับสายกีตาร์ยาวแล้วดีด เสียงที่ เกิดขึ้นมีลักษณะต่างจากจับสายกีตาร์ สั้นอย่างไร ก. สายยาวได้เสียงทุ้มกว่า ข. สายยาวเสียงแหลมกว่า ค. สายยาวเสียงดังกว่า ง. สายยาวเสียงเบากว่า (ว 5.1 ป.5/2)
  • 28. 28 23. แหล่งกาเนิดเสียงที่ดังมากที่สุดคือ อะไร ก. เสียงจราจรตามถนน ข. เสียงพูดคุยภายในห้อง ค. เสียงขุดเจาะอุโมงค์ ง. เสียงเครื่องบินกาลังขึ้นบิน (ว 5.1 ป.5/3) 24. ถ้าเกิดมีเสียงดังขึ้นฉับพลัน เราควรทา อย่างไร ก. ใช้นิ้วมืออุดหู ข. ตะโกนโต้ตอบ ค. วิ่งหนีให้เร็วที่สุด ง. หันหลังให้แหล่งกาเนิดเสียง (ว 5.1 ป.5/4) 25. เมฆชนิดใดมีลักษณะเป็นริ้วๆ คล้าย ขนกลอยอยู่สูง ก. เมฆคิวมูลัส ข. เมฆเซอรัส ค. คิวมูโลนิมบัส ง. เมฆสเตรตัส (ว 6.1 ป.5/1) 26. ลูกเห็บมักเกิดขึ้นในเมฆชนิดใด ก. เซอรัส ข. สเตรตัส ค. อัลโตคิวมูลัส ง. คิวมูโลนิมบัส (ว 6.1 ป.5/1) 27. เพราะเหตุใดเราจึงเห็นหยดน้าเกาะที่ แก้วน้าแข็งที่ตั้งอยู่ในห้องเรียน ก. ไอน้ารอบๆ แก้วน้าแข็งควบแน่น ข. น้าระเหยออกจากแก้วน้า ค. อุณหภูมิของน้าในแก้วลดลง ง. แก้วน้าแข็งรั่ว (ว 6.1 ป.5/2) 28. ข้อใดกล่าวผิด ก. ลมบกเกิดในตอนกลางคืนลม ทะเลเกิดในตอนกลางคืน ข. อากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่ ร้อนไปบริเวณที่เย็นกว่า ค. อากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มี ความกดอากาศสูงไปต่า (ว 6.1 ป.5/3) 29. ถ้าต้องการวัดความดันอย่างต่อเนื่อง ต้องใช้เครื่องมือชนิดใด ก. บารอกราฟ ข. ไฮโกรมิเตอร์ ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. บารอมิเตอร์ (ว 6.1 ป.5/3) 30. ผู้ที่ทาการพยากรณ์คาดการณ์ความ เปลี่ยน-แปลงของอากาศ เรียกว่าอะไร ก. นักพยากรณ์อากาศ ข. นักธรณีวิทยา ค. นักวิทยาศาสตร์ ง. นักอุตุนิยมวิทยา (ว 6.1 ป.5/3) 31. ข้อใดเกิดขึ้นจากการได้รับความร้อน ก. น้ากลายเป็นน้าแข็ง ข. ไอน้ากลายเป็นหยดน้า ค. น้ากลายเป็นไอน้า ง. หยดน้ากลายเป็นน้าแข็ง (ว 6.1 ป.5/2)