SlideShare a Scribd company logo
 
 
 
หลักการ: การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ
ผศ.ดร.กรองได อุณหสูต
ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภัยพิบัติมีผลกระทบต่อมวลมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด มนุษย์จึงพยายามลดการเผชิญกับภัยพิบัติ
ไม่ว่าจะเป็นระยะเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุ และการฟื้นฟูบูรณะ การหลีกเลี่ยงกับการเผชิญกับภัยพิบัตินี้ เรียกว่า
การจัดการภัยพิบัติ (disaster management) เพราะเป็นการจัดการเพื่อลดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และ
สิ่งแวดล้อม แต่การจัดการภัยพิบัตินี้ไม่มีรูปแบบแน่ชัด ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และการทําลายของภัย
พิบัติ ตลอดจนการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเหตุผลอื่นๆ ทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ภัยพิบัติจึงเป็นเหตุการณ์
ที่ควรจดจํา นอกจากจะมีการทําลาย ยังเกิดซ้ําแล้วซ้ําเล่า เช่น โรคระบาด “Black plague” ในยุโรป เมื่อ
ศตวรรษที่ 14 ภัยธรรมชาติจาก El Niño ในศตวรรษที่ 18 และ 191
ที่เป็นผลต่อเนื่องที่ทําให้เกิดภัยแล้ง น้ํา
ท่วม แผ่นดินไหว และสึนามิ เฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพียง4 ครั้ง คือ แผ่นดินไหวและสึนามิ (2547) แคช
เมียร์ (2548) สิฉวน (2551) และไฮติ (2553) มีจํานวนคนตายมากกว่า 499,000 คน
เมื่อศึกษาความเป็นมาของการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ จะพบว่าการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ มีมา
นานแล้ว เช่น ก่อนคริสต์ศตวรรษในคัมภีร์ไบเบิ้ลบันทึกไว้ว่า โนอาได้สร้างเรือขนาดใหญ่บรรทุกครอบครัวและ
สัตว์ต่างๆ เพื่อหนีน้ําท่วม หรือในยุคต้นก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3200 ชาวอิรัคจะขอคําปรึกษาการตัดสินใจจาก
Asipu ทุกครั้งเมื่อตกอยู่ในภาวะเสี่ยงหรืออันตราย และในศตวรรษที่ 79 ภูเขาไฟ Vesuvius ระเบิด เมือง
Herculaneum ถูกไหม้เกือบจะทันทีเพราะเป็นทางผ่านของ lavaขณะที่ประชาชนเมืองPompeii ส่วนใหญ่
รอดชีวิต เพราะเมือง Pompeii อยู่ห่างจากบริเวณภูเขาไฟหลายชั่วโมงกว่าเถ้าถ่านจะปกคลุมทั้งเมือง เจ้า
เมืองอพยพประชาชนได้ทัน ประชาชนเมือง Pompeii จึงรอดตาย
การจัดการภัยพิบัติแนวใหม่ (modern disaster management) ได้เริ่มเมื่อกลางศตวรรษที่ 20โดย
ใช้เป็นมาตรฐานสากลในภาวะฉุกเฉินในหลายๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ คานาดา สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และ
แอลจีเรีย โดยกล่าวถึงการเตรียมการ (preparedness) การบรรเทาความรุนแรง (mitigation) และการรับมือ
(response) และมีการพัฒนาขึ้นเป็นระบบปฏิบัติการประกอบด้วยการคาดการณ์ การเตือนการล่วงหน้า การ
จัดเตรียมที่พักพิง การค้นหาและช่วยเหลือที่เป็นทีม และการกํากับประสานงานทั้งในส่วนท้องที่และภูมิภาคใน
ปี 1987 องค์กรสหประชาชาติได้กําหนด “International Decade for Natural Disaster Reduction:
IDNDR” เพื่อส่งเสริมการกํากับดูแลลดความสูญเสียและการทําลายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของประเทศใน
ภาคี และอีก 2 ปีถัดมา (1989) องค์กรสหประชาชาติได้เพิ่มเติมในข้อกําหนดเลขที่ 44/236 ไว้ว่าองค์กร
สหประชาชาติจะเป็นผู้กํากับการปฏิบัติของ IDNDR และในปี 1994 องค์กรสหประชาชาติได้มีการประชุม
 
 
 
ระดับโลกในเรื่องการลดภัยพิบัติจากธรรมชาติ ที่โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น โดยประเมินความก้าวหน้าของ
IDNDR พร้อมกันนี้ได้พัฒนา The Yokohama Strategyและแผนปฏิบัติพิทักษ์โลก ซึ่งผู้เข้าประชุมจากนานา
ประเทศได้ตกลงนําข้อปฏิบัติทั้ง 10 ข้อ ไปปฏิบัติใช้ ส่วน Hyogo framework ซึ่งนิยมใช้เป็นกรอบแนวคิดใน
การวางแผนจัดการภัยพิบัตินั้น องค์กรสหประชาชาติได้จัดขึ้นเมื่อ ปี 2005 Hyogo framework กล่าวถึง
ยุทธศาสตร์เป้าหมาย 3 ข้อ และข้อปฏิบัติสําคัญ 5ข้อ ในการปฏิบัติเพื่อลดความสูญเสียชีวิต สังคม เศรษฐกิจ
และสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนและระดับประเทศ2
ส่วน ICN framework of disaster nursing
competencies นั้น พัฒนาโดย The International Council of Nurses และ WHO ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
เมื่อปี 2009 โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลในการช่วยชีวิต การบาดเจ็บ และความ
ตายของผู้ประสบภัย และระบบสุขภาพให้ดํารงไว้ซึ่งสุขภาวะขณะที่มีภาวะคุกคามจากภัยพิบัติ โดยกล่าวถึง
ความจําเป็นของสมรรถนะของการพยาบาลในภาวะภัยพิบัติ และสมรรถนะ 4 ประการ คือ สมรรถนะในการ
บรรเทาความรุนแรง/การป้องกัน (mitigation/prevention competencies) สมรรถนะในการเตรียมการ
(preparedness competencies) สมรรถนะในการรับมือ (response competencies) และสมรรถนะใน
การฟื้นฟู/บูรณะ (recovery/rehabilitation competencies)3
การจัดการภัยพิบัติ (disaster management)
สถิติการเกิดภัยพิบัติที่ต่อเนื่องและสม่ําเสมอทําให้นักวิทยาศาสตร์และนักจัดการภัยพิบัติต้องกลับมา
พิจารณาถึงลักษณะธรรมชาติของภัยพิบัติที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีผลทําให้เกิดผู้ที่ได้รับ
ผลกระทบจากภัยพิบัติมีจํานวนทวีมากขึ้น การคาดการณ์แนวโน้มของภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น น่าจะเป็นความ
สําคัญอย่างยิ่งในกระบวนการจัดการภัยพิบัติ จึงมีการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติแนวใหม่ (modern disaster
management)ขึ้น ซึ่งเป็นการจัดการภัยพิบัติที่ครอบคลุมการปฏิบัติ 4 ระยะ4
คือ การบรรเทาความรุนแรง
(mitigation) การเตรียมการ (preparedness) การรับมือ (response) และการฟื้นฟูบูรณะ (recovery)
วงจรการจัดการภัยพิบัติ(disaster management cycle)
Adapted from J Twigg, (2004)5
 
 
 
การบรรเทาความรุนแรง
(mitigation)
การเตรียมการ
(preparedness)
การรับมือ
(response)
การฟื้นฟูบูรณะ
(recovery)
- เป็นการใช้บทเรียนจาก
ผลกระทบและอันตราย
ต่อชีวิต และการทําลาย
สังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม
ของภัยพิบัติที่ผ่านมา ใน
การวางแผนป้องกันภัย
พิบัติที่อาจเกิดขึ้น
- กําหนดมาตรการในการ
บรรเทาภัยพิบัติรวมถึงการ
สร้างความตระหนักของ
ประชาชนในการเฝ้าระวัง
ภัยพิบัติ และการให้ความรู้
ฝึกอบรมเกี่ยวกับภัยพิบัติ
- กําหนดมาตรการต่างๆ
เกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร
สถานที่ เพื่อป้องกันความ
เสี่ยงที่ทําให้เกิดภัยพิบัติ
หรือปัจจัยเสริมจากภัย
พิบัติ
- เป็นการเพิ่มขีดความ
พร้อมของรัฐบาลและทุก
ภาคส่วน ในการรับมือและ
ฟื้นฟูบูรณะผลกระทบจาก
ภัยพิบัติ
- เป็นการเตรียมความ
พร้อมของบุคคล หรือผู้
พร้อมให้ความช่วยเหลือให้
มีความเข้าใจในแผนและ
การใช้แผนในการ
ช่วยเหลือขณะเกิดภัยพิบัติ
- กําหนดมาตรการการ
เตือนภัยล่วงหน้า เช่น การ
เกิดภัยทางธรรมชาติ
- กําหนดมาตรการอื่นๆ
เกี่ยวกับอันตรายที่ทําให้
เกิดการบาดเจ็บ เช่น ภัย
จากยานพาหนะ การ
ระบาดของโรคอุบัติใหม่
- วางแผนเกี่ยวกับแผน
เหตุการณ์ฉุกเฉิน ระบบ
การให้ข้อมูลข่าวสาร การ
สื่อสาร หรือที่พักพิง
- เป็นการให้การช่วยเหลือ
ฉุกเฉินในระยะเวลาสั้นๆ
ขณะเกิดเหตุทันที เช่น
แผ่นดินไหว ไฟไหม้
โรงงานอุตสาหกรรม
- มุ่งที่การช่วยชีวิต การ
ค้นหา ให้การช่วยเหลือ
ภาวะวิกฤตจากอาหาร น้ํา
ดื่ม และที่อยู่อาศัย
- ลดความเสี่ยงที่ทําให้เกิด
การบาดเจ็บ ให้การ
ช่วยเหลือความต้องการ
พื้นฐาน เช่น ติดตามหา
ญาติ ให้การดูแลสุขภาพ
สุขาภิบาล และที่พักพิง
- ลดและป้องกันผลกระทบ
ที่ทําให้เกิดความทุกข์
ทรมาน และการสูญเสีย
ทางเศรษฐกิจ
- เป็นการดูแลช่วยเหลือ
หลังระยะเกิดภัยพิบัติให้
กลับมาใช้ชีวิตดังปกติ
- มีส่วนร่วมในการฟื้นฟู
บูรณะของเจ้าของพื้นที่
และทุกภาคส่วน
- กําหนดกิจกรรมการ
ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ในระยะยาว เพื่อฟื้นฟูวิถี
ชีวิตการศึกษา และสังคม
ที่เป็นผลกระทบจากภัย
พิบัติ
- บูรณะ ก่อสร้างปรับปรุง
โครงสร้างพื้นฐานที่อยู่
อาศัยและการกลับคืนของ
ชุมชน
จากวงจรการจัดการภัยพิบัติจะเห็นว่าการเกิดเหตุจะมีระยะเวลาที่สั้น ในขณะที่ต้องใช้ระยะเวลาที่
นานมากในการฟื้นฟู การจัดการภัยพิบัติจึงเป็นกระบวนการจัดการความเสี่ยงที่ทําลายโครงสร้างของสังคมใน
ชุมชน เป็นการบรรเทาความรุนแรงจากภัยพิบัติ (disaster mitigation) โดยการลดความเสี่ยงด้วยการเตือน
ภัยล่วงหน้า
 
 
 
อันตรายของภัยพิบัติ (Disaster Hazards)
อันตรายของภัยพิบัติ คือ สภาวะที่ทําให้เกิดผลต่อชีวิต การบาดเจ็บ การทําลาย และการสูญเสีย รวม
ถึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เกิดจาก 2 ประเภท ดังนี้
1. Natural hazards เป็นอันตรายที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว (earthquakes) แผ่นดิน
เลื่อน (landslides) สึนามิ (tsunami) ภัยแล้ง (drought) พายุ (storm) ไฟป่า (wildfire)
2. Technological or man-made or intentional hazards เป็นอันตรายที่เกิดจากการ
เทคโนโลยีหรือมนุษย์กระทํา เช่น การคมนาคมขนส่ง (transportation) ไฟดับ (power failure)
การสื่อสารล้มเหลว (telecommunication system failures, computer network failures)
เขื่อนแตก (dam failure) การก่อร้าย (terrorism) ก่อการจลาจล (civil unrest)
3. Mixed เป็นอันตรายที่เกิดจาก natural hazards และ man-made or intentional hazards
เช่น ไฟป่า อาจเกิดจากการทิ้งเศษบุหรี่ ทําให้ไฟไหม้แล้วลุกลามกระทั่งใหญ่โต
ภัยพิบัติจึงทําให้เกิดความเสี่ยง (risk) และกลุ่มเสี่ยง (vulnerability) เพราะอันตรายที่เกิดขึ้นเป็น
ความเสี่ยงส่วนหนึ่งของชีวิตที่อาจหลีกเลี่ยงได้และไม่ได้ อาจเกิดจากการทํางาน เล่นกีฬา กิจวัตรประจําวัน
หรือผลกระทบของภัยพิบัติที่ผ่านมา เช่น ถนน สภาพที่อยู่อาศัย หนี้สิน ธุรกิจ ความเสี่ยงของภัยพิบัติแบ่งการ
เกิดออกเป็น 6 ช่วงเวลา คือ เกิดเหตุการณ์ทุกปี เกิดทุก 1-2 ปี เกิดทุก 2-20 ปี เกิดทุก 20-50 ปี และเกิดทุก
50-100 ปี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทําให้บุคคลเสียชีวิต บาดเจ็บ หรือสูญเสียทรัพย์สิน ชุมชนสูญเสียโครงสร้าง
ประเทศสูญเสียความเป็นปึกแผ่น แต่ละภาคส่วนที่มีโอกาสได้รับภัยพิบัตินี้ เรียกว่า กลุ่มเสี่ยง
การจัดการภัยพิบัติในชุมชนและในโรงพยาบาล
The Jennings Disaster Nursing Management Model
Jennings-Sanders ได้พัฒนารูปแบบการจัดการภัยพิบัติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพยาบาลในภาวะภัย
พิบัติ “Jennings Disaster Nursing Management Model”6
ซึ่งเหมาะที่จะใช้เป็นบทเรียนสําหรับนักศึกษา
พยาบาลที่ฝึกปฏิบัติในชุมชน และเหมาะกับพยาบาลชุมชนในการใช้รูปแบบการจัดการนี้ ในการวางแผนและ
จัดการภัยพิบัติในสถานที่ทํางานร่วมกับหน่วยอื่นๆ ในระยะต่างๆ ทั้ง 4 ระยะ คือ ระยะก่อนเกิดเหตุ (pre-
disaster) ระยะเกิดเหตุ (disaster) ระยะหลังเกิดเหตุ (post-disaster) และระยะผลลัพธ์ประชากร (positive
client/population outcomes) ซึ่งระยะที่ 1-3 จะเป็นระยะที่มีผลต่อระยะที่ 4
ระยะที่ 1 ระยะก่อนเกิดเหตุ (pre-disaster) เป็นการประเมินสถานที่ตั้งของหน่วยงาน ในด้านความ
เพียงพอของแหล่งและความไม่เพียงพอที่จะทําให้เกิดเสี่ยงในการปฏิบัติงานของพยาบาล เช่น งบประมาณ ที่
พักพิง ข้อตกลงความร่มมือในชุมชน การอบรมเกี่ยวกับภัยพิบัติ และแผนรองรับภัยพิบัติที่บอกถึงความ
รับผิดชอบของบุคลากรทุกๆ คน รวมถึงอาสาสมัครที่ร่วมปฏิบัติงาน จะต้องให้การป้องกันในลําดับแรก คือ
 
 
 
ช่วยเหลือด้านภาวะสุขภาพดีที่สุดเท่าที่จะพึงให้ได้ เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการอพยพ การเตรียม
อาหาร และเครื่องใช้ที่จําเป็น การให้ข้อมูลในการปฏิบัติตนระหว่างการเกิดภัยพิบัติ
ระยะที่ 2 ระยะเกิดเหตุ (disaster) พยาบาลจะปฏิบัติตนในหน้าที่ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถ
จําแนกระดับความรุนแรงที่ผู้ประสบภัยได้รับและจัดลําดับความเร่งด่วน ให้การช่วยเหลือทั้งทางด้านร่างกาย
อารมณ์ และจิตใจสังคมเพื่อความเป็นปกติสุขของผู้ประสบภัย ต้องเป็นผู้รู้ สามารถให้การป้องกันระดับที่ 2 ได้
โดยสามารถระบุปัญหาและการช่วยเหลือเบื้องต้น ตลอดจนการให้ความรู้บอกและข้อมูลสุขภาพที่ผู้ประสบ
ภัยกําลังประสบ และต้องเป็นผู้จัดการให้การดูแลสามารถประสานงานการส่งต่อทั้งในการอพยพและการรักษา
ระยะที่ 3 ระยะหลังเกิดเหตุ (post-disaster) จะรวมถึงการประเมินซ้ํา เพื่อติดตามการให้การช่วย
เหลือผู้ประสบภัย ให้การป้องกันระดับที่ 3 คือ การลดความพิการเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บ
ระหว่างการฟื้นฟู มีการวางแผนที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ และมีการบันทึกการปฏิบัติเพื่อเป็นข้อมูลในการ
พัฒนาการจัดการภัยพิบัติ
ระยะที่ 4 ระยะผลลัพธ์ประชากร (positive client/population outcomes) เป็นระยะการประเมิน
อัตราตาย ค่าใช้จ่าย ภาวะสุขภาพ ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ และการประสานความช่วยเหลือ ซึ่งเป็น
ผลกระทบจากระยะที่ 1-3
Jennings Disaster Nursing Management Model จึงเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมในการใช้การ
จัดการกับภัยพิบัติของพยาบาลในชุมชน มีแนวทางชัดเจนให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานในชุมชนวางแผนการจัดการ
ภัยพิบัติร่วมกับชุมชนได้ เช่น ในระยะก่อนเกิดเหตุ จะมีแนวทางการปฏิบัติ ตั้งแต่การประเมินการ การวาง
แผน และการปฏิบัติในการเตรียมการในระยะเกิดเหตุบทบาทของพยาบาลควรเป็นอย่างไรและจะต้องปฏิบัติ
อย่างไรบ้าง ระยะหลังเกิดเหตุ ประกอบด้วย การประเมิน การวางแผน และการปฏิบัติระยะหลังเกิดเหตุ ส่วน
ระยะผลลัพธ์ประชากร มีแนวทางชัดเจนว่าจะต้องประเมินอะไรบ้าง ซึ่งมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนทั้งยังปฏิบัติได้ไม่ยาก
ในการเตรียมการจัดการรับภัยพิบัติในชุมชน สามารถใช้เป็นบทเรียนหรือการเรียนรู้ได้ครบทุกระยะของการ
ปฏิบัติการ
 
 
 
Jennings Disaster Nursing Management Model
Adapted from Andrea Jennings-Sanders (2004)6
Hospital Incident Commander System (HICS)
Hospital Emergency Incident Commander System (HEICS) พัฒนาเมื่อยุคต้น 1980 เพื่อ
นํามาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นรูปแบบ ICS ของ US Forestry service และ fire department personnel
ที่รู้จักกันว่า “FIRESCOPE” HEICS ใช้ในโรงพยาบาลทั่วโลกเรื่อยมา กระทั่งปี 2005 ได้พัฒนาเป็น HEICS
IV เพื่อให้ครอบคลุมถึงการจัดการในการสั่งการภัยพิบัติ “CBRNE” คือ ภัยพิบัติจากสารเคมี (chemical)
Jennings Disaster Nursing Management Model
Community health nurse included in each phase
Phase I Pre-disaster Phase II Disaster Phase III Post-disaster Phase IV
Population Outcomes
Assessment
- Identification of resources
and risks in a work setting
- Education: Primary levels
ofprevention
Role of nurses
Caregiver
- Triage
- Provide holistic
care
Case manager
- Liaison
- Provide referrals
- Coordination of
Services
- Tracking system
Educator
- Secondary levels
of prevention
Planning
- Allocation of resources
- Planning cooperative
agreements
- Defining roles
- Development/activation
of disaster assessment
tools
- Development of
education programs
- Development of
volunteer opportunities
Implementation
- Practice the disaster plan
Assessment
- Re-evaluate healthcare
needs of clients
- Education: Tertiary
levels of prevention
- Re-evaluate current
disaster plan
Assessment
- Decreased mortality rates
- Decreased healthcare cost
- Decreased disaster related
costs
- Improved health status
- Increased knowledge
- Increased effectiveness of
disaster plan
- Increased collaborative
relationships
Planning
- Revise existing plan
- Plan for next potential
Disaster
Implementation
- Practice new/revised
disaster plan
- Disseminated findings
 
 
 
ชีวภาพ (biological) รังสี (radiological) นิวเคลียร์ (nuclear) และระเบิด (explosive) ซึ่งสามารถใช้ได้ใน
ทุกขนาดของหน่วยงานในปัจจุบันนี้ HEICS ได้ตัด “E” ออก เหลือเพียง HICS (Hospital Incident
Commander System) เพื่อให้ครอบคลุมและยืดหยุ่นในการวางแผนและใช้ในเหตุการณ์ที่ไม่ฉุกเฉิน7
 
 
 
 
Hospital Emergency Incident Commander System
Adapted from Robert Power and Elaine Daily (2010)7
Incident Commander
Safety officer
Liaison officer
Medical/Technical
specialist 
Public information officer
Operation
Section Chief
Planning
Section Chief
Logistics
Section Chief
Finance/Administration
Section Chief
Staging manager
(Labor pool)
Medical care
Branch director
Infrastructure
Branch director
Security
Branch director
Business
Community
Branch director
Resource
Unit Leader
Situation
Unit Leader
Documentation
Unit Leader
Demobilization
Unit Leader
Service
Branch director
Support
Branch director
Time/Compensation
Claims unit Leader
Procurement
Cost unit Leader
 
 
 
HICS ใช้เป็นหลักในการสั่งการ โดยมีทีมในการจัดการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ข้อมูลผู้สั่ง
การในการสั่งการ ในการปฏิบัติ ฝ่าย operations จะเป็นกําลังที่สําคัญที่สุด เนื่องจากต้องให้การช่วยเหลือ
ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ประกาศใช้แผนรองรับภัยพิบัติ ทั้งในส่วนการดูแลรักษาผู้ประสบภัย ไฟฟ้า
สิ่งแวดล้อม น้ํา อาหาร และความปลอดภัย ฝ่าย planning จะช่วยวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อปรับแผนในการ
ทํางาน ฝ่าย logistics จะช่วยสนับสนุนด้านการสื่อสารข้อมูล กํากับประสานงานการส่งต่อผู้ประสบเหตุ รวบ
รวมกําลังพลและอื่นๆ ที่ช่วยให้การทํางานเป็นไปด้วยความคล่องตัว และฝ่าย finance และ administration
จะช่วยติดตามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจากแหล่งทุนต่างๆ เนื่องจากภัยพิบัติเป็นเรื่องของความช่วยเหลือจากองค์กร
และอาสาสมัครจากแหล่งต่างๆ HICS จึงถูกใช้เป็นกรอบการปฏิบัติงานในการรองรับภัยพิบัติในโรงพยาบาลที่
เป็นสากล เพื่อช่วยให้การทํางานในสภาวะของความกดดันมีความคล่องตัว
ภัยพิบัติและการจัดการที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา (1980-2010) เฉพาะจากสาเหตุภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติ ได้แก่ ภัยแล้ง น้ําท่วม พายุ ภัยหนาว แผ่นดินไหว และโคลนถล่ม เกิดภัยพิบัติจํานวน 105 ครั้ง
ประชาชนเสียชีวิตทั้งหมด 11,922 คน โดยเฉลี่ยการเสียชีวิต 385 คนต่อปี ผู้ที่ได้รับผลกระทบ 2,069,394
คนต่อปี และสูญเสียเศรษฐกิจ 194,282US$ ต่อปี8
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งมีสถานะเป็น
ประเทศสมาชิกศูนย์ลดภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Reduction Center: ADRC) จึงได้ดําเนินการ
รับมือกับภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกร่วมกับประเทศญี่ปุ่น และแคนาดาในการจัดทํายุทธศาสตร์ด้าน
การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
(Strategy for Disaster Risk Reduction and Emergency Preparedness and Response in the Asia
Pacific Region) 2010-2014 ตามHyogo framework เพื่อเพิ่มศักยภาพของกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยในการจัดการภัยพิบัติ 3 ข้อ คือการจัดทําแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการ
จัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานและการให้ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติในระดับจังหวัดและระดับ
ท้องถิ่น ซึ่งจะลงปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดลําปาง ลําพูน และนครศรีธรรมราช9
ตัวอย่างการดําเนินงานของชุมชนและองค์กรอิสระในการเตรียมพร้อมและตั้งรับภัยพิบัติ10
- เทศบาลเมืองป่าตองจังหวัดภูเก็ตได้จัดเตรียมความพร้อมให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานอื่นๆใน
พื้นที่ในด้านอัคคีภัย คลื่นยักษ์สึนามิ ดินโคลนถล่ม และอุทกภัย
- องค์การบริหารส่วนตําบลนิคมพัฒนาจังหวัดสตูลมีการกําหนดนโยบายการจัดการภัยพิบัติของ
องค์การบริหารส่วนตําบล๓ข้อตามช่วงเวลาของการเกิดภัยพิบัติ คือก่อนเกิดภัยขณะเกิดภัย
และหลังเกิดภัย
- องค์การบริหารส่วนตําบลบ้านทุ่งหวังจังหวัดสงขลามีการประชุมกรรมการผู้ใหญ่บ้านเตรียม
รับมือกับภัยพิบัติทุกเดือนมีการฝึกซ้อมการให้ความช่วยเหลือการใช้เสียงตามสายเพื่อ
 
 
 
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ประชาชนในพื้นที่การเตรียมอุปกรณ์สํารองการจัดตั้งกองทุนเพื่อ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาผลของภัยพิบัติและการสํารวจพื้นที่ในชุมชนเพื่อแก้ไขและ
รับมือกับภัยพิบัติ
- องค์การบริหารส่วนตําบลคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานีกําหนดแนวทางในการเตรียมรับมือภัยพิบัติ
จากการวิเคราะห์ปัจจัยและข้อมูลจากภัยพิบัติที่ผ่านมาโดยระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของ
ศูนย์บัญชาการและผู้ใหญ่บ้าน ในการเตรียมความพร้อมประชาชนในพื้นที่เพื่อรับมือกับปัญหา
อุทกภัยและดินโคลนถล่ม
- เทศบาลเมืองคอหงส์ จ.สงขลาได้เตรียมแผนการจัดการอุทกภัยโดยการสํารวจภายในพื้นที่การ
ประสานงานกับทางเทศบาลเพื่อเปิดช่องทางขอเงินอุดหนุนการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและระวังภัย
การฝึกอบรมสมาชิกในศูนย์ป้องกันและระวังภัยและการขุดลอกเพื่อระบายนํ้า
- องค์การบริหารส่วนตําบลบางกลํ่า จ.สงขลาได้จัดทําโครงการบรรเทาอุทกภัยอําเภอหาดใหญ่ซึ่ง
เป็นโครงการในพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยการยกคันคลองและทําร่องนํ้า
ลึกในทะเลสาบสงขลาสร้างสํานึกร่วมในการแก้ไขปัญหานํ้าท่วมและประชาสัมพันธ์เพื่อรับการ
ช่วยเหลือจากแหล่งอื่นๆ
- เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จ.สงขลาได้จัดทําแผนจัดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยนํา
รูปแบบแผนภัยพิบัติของเทศบาลนครสงขลามาเป็นต้นแบบโดยกําหนดป้องกันและบรรเทาสา
ธารณภัยที่มีลําดับความสําคัญที่สูงและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกําหนดแผนงานทั้งในระยะก่อน
เกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ
- เทศบาลเมืองเกาะสมุย จ.สุราษธานีได้จัดทํามาตรการการจัดการสาธารณภัยของเทศบาลเมือง
เกาะสมุยทั้ง 3 ระยะ โดยจัดตั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เทศบาลจัดเตรียม
อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจัดเตรียมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยเช่นเครื่องสูบนํ้าและเรือ
สําหรับทําการอพยพการจัดชุดเจ้าหน้าที่สํารวจความเสียหายและชดเชยให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยตามหลักของกระทรวงการคลังหลังเกิดเหตุ
- เทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลามีการจัดการเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ที่จะนําไปสู่อุทกภัย
เกิดขึ้นและมีแผนการเตรียมการรับมือในกรณีที่เกิดสาธารณภัยระดับเทศบาลโดยการจัดตั้ง
ศูนย์อํานวยการย่อยสําหรับรับผิดชอบดูแลและจัดการอุทกภัยการกระจายข้อมูลไปยังศูนย์ย่อย
เพื่อป้องกันข่าวลือการเฝ้าระวังติดตามการพยากรณ์อากาศโดยใช้แหล่งข่าวทั้งในไทยและ
ต่างประเทศและการจัดช่องทางให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและระดับชุมชนให้ความรู้ด้าน
วิธีการรับมือน้ําท่วมมีข้อมูลในการจัดการเมื่อเกิดเหตุซ้อมในเหตุการณ์จําลองในระดับความ
รุนแรงต่างๆเพื่อให้ทราบวิธีปฏิบัติ
 
 
 
จากหลักฐานในการจัดการภัยพิบัติในประเทศไทยเท่าที่ปรากฏ จะพบการจัดการภัยพิบัติ 2P2R หรือ
PPRR (prevention, preparedness/mitigation, response, recovery) ที่ชัดเจนได้จากการจัดการของ
ชุมชน หลักฐานเหล่านี้สามารถนําไปใช้วางแผนได้แต่ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์การเกิดภัยพิบัติที่
ประสบ
การปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพยาบาลเมื่อประกาศใช้แผนรองรับภัยพิบัติ
เมื่อมีการประกาศใช้แผนรองรับอุบัติภัยกลุ่มชนจากภัยพิบัติ พยาบาลหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและ
พยาบาลในหน่วยต่างๆ ต้องปฏิบัติงานตามกรอบ HICS ของแต่ละโรงพยาบาลที่กําหนดขึ้น เครือข่ายพยาบาล
อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ได้วิเคราะห์บทบาทและหน้าที่ในงานที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติดังแผนภูมิด้านล่าง
 
 
 
 
 
 
 
 
การปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพยาบาลเมื่อประกาศใช้แผนรองรับภัยพิบัติ
ประยุกต์จากกรองได อุณหสูต (2554)11
Incident Commander
Liaison officer
Operation
Section Chief
Planning
Section Chief
Logistics
Section Chief
Transportation
Unit leader Medical care
director
Material supply
Unit leader CPR
Unit leader
Psychosocial
support
Unit leader
Labor pool
Unit leader
Nursing
Unit leader
Patient
tracking
officer
Patient
information
officer
Ancillary service
director
Human service
director
Treatment
areas
Supervisor
Inpatient
areas
Supervisor
Surgical service
Unit leader
Maternal-child
Unit leader
Critical care
Unit leader
General nursing
Unit leader
Outpatient
service
Unit leader
Triage
Unit leader
Delayed treatment
Unit leader
Immediate treatment
Unit leader
Morgue
Unit leader
Discharge
Unit leader
Minor treatment
Unit leader
 
 
 
การเตรียมพร้อมและตั้งรับภัยพิบัติ จะต้องประกอบไปด้วย PPRR (prevention, preparedness,
response, recovery) เสมอ เพราะในmitigation นั้นจะใช้คําว่า prevention แทน ก็คือการนําบทเรียนใน
การจัดการภัยพิบัติที่ผ่านมาเป็นตัวกําหนดพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติครั้งต่อไปให้ดีขึ้น การประชุมหลังจากการ
ปฏิบัติงาน (debrief)และการบันทึกจึงเป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้รู้ว่าการปฏิบัตินั้นๆ รวดเร็ว มีปัญหาอุปสรรค และ
ได้แก้ไขอย่างไร ซึ่งสามารถนําไปสู่ preparedness หรือการเตรียมการที่มีความพร้อมมากขึ้นทั้งยัง response
ให้การช่วยเหลือได้ทันการ ส่วน recovery นั้น เป็นการปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ระยะเกิดเหตุเสร็จสิ้น และต้อง
ติดตามต่อเนื่อง 5 ปี อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีการรายผลการติดตามในระยะ midterm phase คือ 1-3 ปี
อาจสรุปได้ว่าภัยพิบัติไม่ใช่ความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้อง
ใส่ใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่มีความรุนแรง ทั้งยังไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผลกระทบที่ได้รับ
จะเป็นอย่างไร การใช้ชีวิตที่ไม่ประมาทจะเป็น prevention และ preparedness ได้ดีกว่า response และ
rehabilitation ตามกรอบแนวคิดของภัยพิบัติอย่างแน่นอน
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
1. Fagan B. Floods, famines, and empires. New York: Basic Book; 1999.
2. International Strategy for Disaster Reduction (ISDR). Hyogo framework for action 2005-
2015. World Conference on Disaster Reduction. January 18-22. Hyogo, Japan; 2005.
3. International Council of Nurses and World Health Organization (Western pacific region).
ICN Framework of disaster nursing competencies; 2009.
4. Damon PC. International disaster management. Burlington: Elsevier; 2011.
5. Jtwigg. Disaster risk reduction: Mitigation and preparedness in development and
emergency program. London: HPN Good Practice Review 9; 2004.
6. Andrea Jennings-Sanders. Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings Disaster
Nursing Management Model.Nurse Education in Practice2004;4: 69–76.
7. Robert Power and Elaine Daily.International disaster nursing. London: Cambridge
University Press; 2010.
8. Center for hazards and risk research at Columbia University. Thailand Natural Disaster
Profile.[cited 2012 Dec 30] Available from: URL:http://www.ideo.columbia.edu/chrr/
research/profile
9. การประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ(International cooperation).[cited 2012 Dec 30]
Availablefrom:URL:http://www.disaster.go.th/dpm/users/files/policy/book_annual/six1.pdf
10. การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย ในวันที่ 13 ตุลาคม 2554. มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์.[cited 2012 Dec 30] Available from http://v-reform.org/wp-content/upload
11. กรองได อุณหสูต (บรรณาธิการ).คู่มือปฏิบัติในหน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์;
2554.

More Related Content

What's hot

ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
Utai Sukviwatsirikul
 
Cancer cycle
Cancer cycle Cancer cycle
Cancer cycle
piyarat wongnai
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
Genogram
GenogramGenogram
Genogram
George Sonthi
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
Suradet Sriangkoon
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
Utai Sukviwatsirikul
 
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Utai Sukviwatsirikul
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
Vai2eene K
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 Yanee Tongmanee
 
TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่
TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่
TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่taem
 
ความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพ
Utai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 3 พลังงานทดแทน
บทที่  3 พลังงานทดแทนบทที่  3 พลังงานทดแทน
บทที่ 3 พลังงานทดแทน
อัจฉรา นาคอ้าย
 
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยคู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
Supakarn Yimchom
 
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Utai Sukviwatsirikul
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ชัญญานุช เนริกูล
 
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยPoramate Minsiri
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสสำเร็จ นางสีคุณ
 

What's hot (20)

ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
 
Cancer cycle
Cancer cycle Cancer cycle
Cancer cycle
 
mass casualty management
mass casualty managementmass casualty management
mass casualty management
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
Genogram
GenogramGenogram
Genogram
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
Pharmacotherapy anticoagulation 56 01 24
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
 
TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่
TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่
TAEM11: การจัดการภัยพิบัติระดับพื้นที่
 
ความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพความรู้การตรวจสุขภาพ
ความรู้การตรวจสุขภาพ
 
บทที่ 3 พลังงานทดแทน
บทที่  3 พลังงานทดแทนบทที่  3 พลังงานทดแทน
บทที่ 3 พลังงานทดแทน
 
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยคู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
 
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
Palliative Care คู่มือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ
 
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
 
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
 

Viewers also liked

TAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติ
TAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติTAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติ
TAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติ
taem
 
ทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติ
ทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติ
ทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติ
freelance
 
คอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรี
คอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรีคอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรี
คอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรี
นอนอ. ยิ้มแฉ่งง'
 
Road map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in erRoad map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in erKrongdai Unhasuta
 
การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษ
การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษ
การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษ
taem
 
Implement life threaten cnpg
Implement life threaten cnpgImplement life threaten cnpg
Implement life threaten cnpgKrongdai Unhasuta
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งPichamon Sudecha
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
ประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
ประพันธ์ เวารัมย์
 
Listening Lesson Plan
Listening Lesson PlanListening Lesson Plan
Listening Lesson Plan
Silence Aholic
 

Viewers also liked (14)

สาธารณภัยกับศูนย์ประสานงาน
สาธารณภัยกับศูนย์ประสานงานสาธารณภัยกับศูนย์ประสานงาน
สาธารณภัยกับศูนย์ประสานงาน
 
TAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติ
TAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติTAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติ
TAEM11: การบริหารจัดการภัยพิบัติ ระดับชาติ
 
ทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติ
ทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติ
ทุนทางสังคมในการจัดการภัยพิบัติ
 
คอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรี
คอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรีคอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรี
คอม นายกษิดิ์เดช-บุษย์ศรี
 
Road map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in erRoad map to preparedness management in er
Road map to preparedness management in er
 
งานนำเสนอจัดตั้งบริษัท
งานนำเสนอจัดตั้งบริษัทงานนำเสนอจัดตั้งบริษัท
งานนำเสนอจัดตั้งบริษัท
 
การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษ
การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษ
การแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษ
 
Implement life threaten cnpg
Implement life threaten cnpgImplement life threaten cnpg
Implement life threaten cnpg
 
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
 
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
แนวข้อสอบ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ...
 
แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 ok
แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 okแนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 ok
แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมุลข่าวสาร 2540 ok
 
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
 
Listening Lesson Plan
Listening Lesson PlanListening Lesson Plan
Listening Lesson Plan
 

Similar to หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ

หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556
หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556
หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556
Narong Jaiharn
 
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...Poramate Minsiri
 
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
Thira Woratanarat
 
Public Health Emergency Management
Public Health Emergency ManagementPublic Health Emergency Management
Public Health Emergency Management
Vongsakara Angkhakhummoola
 
ร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชน
ร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชนร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชน
ร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชนPoramate Minsiri
 
คอม
คอมคอม
คอม
Min Jidapa
 
งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60
งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60
งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60
gel2onimal
 
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032
Kasem Boonlaor
 
H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852
viroonya vindubrahmanakul
 
103 Green Justice - Introduction
103 Green Justice - Introduction103 Green Justice - Introduction
103 Green Justice - Introduction
GreenJusticeKlassroom
 

Similar to หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ (11)

หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556
หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556
หลักการดำเนินคดีส่งแวดล้อมและการดำเนินคดีอาญา 2556
 
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
การจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัย กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศ...
 
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
 
Public Health Emergency Management
Public Health Emergency ManagementPublic Health Emergency Management
Public Health Emergency Management
 
ร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชน
ร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชนร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชน
ร่างแผนงานภาพรวมการรับมือภัยพิบัติภาคประชาชน
 
คอม
คอมคอม
คอม
 
คอม
คอมคอม
คอม
 
งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60
งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60
งานนำเสนองานป้องกันฯ 26 05- 60
 
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032
ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032
 
H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852
 
103 Green Justice - Introduction
103 Green Justice - Introduction103 Green Justice - Introduction
103 Green Justice - Introduction
 

More from Krongdai Unhasuta

Trauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patientsTrauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patients
Krongdai Unhasuta
 
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast TrackTrauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Krongdai Unhasuta
 
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
5  scope and practice  _ update 17 เมย. 25605  scope and practice  _ update 17 เมย. 2560
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
4  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 25604  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 2560
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
3  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 25603  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 2560
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
Krongdai Unhasuta
 
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
2  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 25602  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 2560
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 25601. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
Trauma scoring
Trauma scoringTrauma scoring
Trauma scoring
Krongdai Unhasuta
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
Krongdai Unhasuta
 
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยKrongdai Unhasuta
 
Common problems in trauma of elderly
Common problems in trauma of elderlyCommon problems in trauma of elderly
Common problems in trauma of elderlyKrongdai Unhasuta
 
Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558Krongdai Unhasuta
 
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558Krongdai Unhasuta
 
Trauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurseTrauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurseKrongdai Unhasuta
 
Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558Krongdai Unhasuta
 
Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558Krongdai Unhasuta
 
Management of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injuryManagement of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injuryKrongdai Unhasuta
 
Management of multiple trauma
Management of multiple traumaManagement of multiple trauma
Management of multiple traumaKrongdai Unhasuta
 
Monitor traumatic shock 16 พค.58
Monitor traumatic shock  16 พค.58Monitor traumatic shock  16 พค.58
Monitor traumatic shock 16 พค.58Krongdai Unhasuta
 
Detect traumatic shock 16 พค.58
Detect traumatic shock  16 พค.58Detect traumatic shock  16 พค.58
Detect traumatic shock 16 พค.58Krongdai Unhasuta
 

More from Krongdai Unhasuta (20)

Trauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patientsTrauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patients
 
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast TrackTrauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
 
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
5  scope and practice  _ update 17 เมย. 25605  scope and practice  _ update 17 เมย. 2560
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
 
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
4  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 25604  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 2560
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
 
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
3  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 25603  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 2560
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
 
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
2  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 25602  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 2560
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
 
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 25601. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
 
Trauma scoring
Trauma scoringTrauma scoring
Trauma scoring
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
 
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
 
Common problems in trauma of elderly
Common problems in trauma of elderlyCommon problems in trauma of elderly
Common problems in trauma of elderly
 
Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558
 
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558
 
Trauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurseTrauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurse
 
Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558
 
Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558
 
Management of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injuryManagement of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injury
 
Management of multiple trauma
Management of multiple traumaManagement of multiple trauma
Management of multiple trauma
 
Monitor traumatic shock 16 พค.58
Monitor traumatic shock  16 พค.58Monitor traumatic shock  16 พค.58
Monitor traumatic shock 16 พค.58
 
Detect traumatic shock 16 พค.58
Detect traumatic shock  16 พค.58Detect traumatic shock  16 พค.58
Detect traumatic shock 16 พค.58
 

หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ

  • 1.       หลักการ: การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ ผศ.ดร.กรองได อุณหสูต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภัยพิบัติมีผลกระทบต่อมวลมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด มนุษย์จึงพยายามลดการเผชิญกับภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นระยะเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุ และการฟื้นฟูบูรณะ การหลีกเลี่ยงกับการเผชิญกับภัยพิบัตินี้ เรียกว่า การจัดการภัยพิบัติ (disaster management) เพราะเป็นการจัดการเพื่อลดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และ สิ่งแวดล้อม แต่การจัดการภัยพิบัตินี้ไม่มีรูปแบบแน่ชัด ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และการทําลายของภัย พิบัติ ตลอดจนการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเหตุผลอื่นๆ ทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ภัยพิบัติจึงเป็นเหตุการณ์ ที่ควรจดจํา นอกจากจะมีการทําลาย ยังเกิดซ้ําแล้วซ้ําเล่า เช่น โรคระบาด “Black plague” ในยุโรป เมื่อ ศตวรรษที่ 14 ภัยธรรมชาติจาก El Niño ในศตวรรษที่ 18 และ 191 ที่เป็นผลต่อเนื่องที่ทําให้เกิดภัยแล้ง น้ํา ท่วม แผ่นดินไหว และสึนามิ เฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพียง4 ครั้ง คือ แผ่นดินไหวและสึนามิ (2547) แคช เมียร์ (2548) สิฉวน (2551) และไฮติ (2553) มีจํานวนคนตายมากกว่า 499,000 คน เมื่อศึกษาความเป็นมาของการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ จะพบว่าการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ มีมา นานแล้ว เช่น ก่อนคริสต์ศตวรรษในคัมภีร์ไบเบิ้ลบันทึกไว้ว่า โนอาได้สร้างเรือขนาดใหญ่บรรทุกครอบครัวและ สัตว์ต่างๆ เพื่อหนีน้ําท่วม หรือในยุคต้นก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3200 ชาวอิรัคจะขอคําปรึกษาการตัดสินใจจาก Asipu ทุกครั้งเมื่อตกอยู่ในภาวะเสี่ยงหรืออันตราย และในศตวรรษที่ 79 ภูเขาไฟ Vesuvius ระเบิด เมือง Herculaneum ถูกไหม้เกือบจะทันทีเพราะเป็นทางผ่านของ lavaขณะที่ประชาชนเมืองPompeii ส่วนใหญ่ รอดชีวิต เพราะเมือง Pompeii อยู่ห่างจากบริเวณภูเขาไฟหลายชั่วโมงกว่าเถ้าถ่านจะปกคลุมทั้งเมือง เจ้า เมืองอพยพประชาชนได้ทัน ประชาชนเมือง Pompeii จึงรอดตาย การจัดการภัยพิบัติแนวใหม่ (modern disaster management) ได้เริ่มเมื่อกลางศตวรรษที่ 20โดย ใช้เป็นมาตรฐานสากลในภาวะฉุกเฉินในหลายๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ คานาดา สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และ แอลจีเรีย โดยกล่าวถึงการเตรียมการ (preparedness) การบรรเทาความรุนแรง (mitigation) และการรับมือ (response) และมีการพัฒนาขึ้นเป็นระบบปฏิบัติการประกอบด้วยการคาดการณ์ การเตือนการล่วงหน้า การ จัดเตรียมที่พักพิง การค้นหาและช่วยเหลือที่เป็นทีม และการกํากับประสานงานทั้งในส่วนท้องที่และภูมิภาคใน ปี 1987 องค์กรสหประชาชาติได้กําหนด “International Decade for Natural Disaster Reduction: IDNDR” เพื่อส่งเสริมการกํากับดูแลลดความสูญเสียและการทําลายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของประเทศใน ภาคี และอีก 2 ปีถัดมา (1989) องค์กรสหประชาชาติได้เพิ่มเติมในข้อกําหนดเลขที่ 44/236 ไว้ว่าองค์กร สหประชาชาติจะเป็นผู้กํากับการปฏิบัติของ IDNDR และในปี 1994 องค์กรสหประชาชาติได้มีการประชุม
  • 2.       ระดับโลกในเรื่องการลดภัยพิบัติจากธรรมชาติ ที่โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น โดยประเมินความก้าวหน้าของ IDNDR พร้อมกันนี้ได้พัฒนา The Yokohama Strategyและแผนปฏิบัติพิทักษ์โลก ซึ่งผู้เข้าประชุมจากนานา ประเทศได้ตกลงนําข้อปฏิบัติทั้ง 10 ข้อ ไปปฏิบัติใช้ ส่วน Hyogo framework ซึ่งนิยมใช้เป็นกรอบแนวคิดใน การวางแผนจัดการภัยพิบัตินั้น องค์กรสหประชาชาติได้จัดขึ้นเมื่อ ปี 2005 Hyogo framework กล่าวถึง ยุทธศาสตร์เป้าหมาย 3 ข้อ และข้อปฏิบัติสําคัญ 5ข้อ ในการปฏิบัติเพื่อลดความสูญเสียชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนและระดับประเทศ2 ส่วน ICN framework of disaster nursing competencies นั้น พัฒนาโดย The International Council of Nurses และ WHO ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เมื่อปี 2009 โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลในการช่วยชีวิต การบาดเจ็บ และความ ตายของผู้ประสบภัย และระบบสุขภาพให้ดํารงไว้ซึ่งสุขภาวะขณะที่มีภาวะคุกคามจากภัยพิบัติ โดยกล่าวถึง ความจําเป็นของสมรรถนะของการพยาบาลในภาวะภัยพิบัติ และสมรรถนะ 4 ประการ คือ สมรรถนะในการ บรรเทาความรุนแรง/การป้องกัน (mitigation/prevention competencies) สมรรถนะในการเตรียมการ (preparedness competencies) สมรรถนะในการรับมือ (response competencies) และสมรรถนะใน การฟื้นฟู/บูรณะ (recovery/rehabilitation competencies)3 การจัดการภัยพิบัติ (disaster management) สถิติการเกิดภัยพิบัติที่ต่อเนื่องและสม่ําเสมอทําให้นักวิทยาศาสตร์และนักจัดการภัยพิบัติต้องกลับมา พิจารณาถึงลักษณะธรรมชาติของภัยพิบัติที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีผลทําให้เกิดผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากภัยพิบัติมีจํานวนทวีมากขึ้น การคาดการณ์แนวโน้มของภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น น่าจะเป็นความ สําคัญอย่างยิ่งในกระบวนการจัดการภัยพิบัติ จึงมีการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติแนวใหม่ (modern disaster management)ขึ้น ซึ่งเป็นการจัดการภัยพิบัติที่ครอบคลุมการปฏิบัติ 4 ระยะ4 คือ การบรรเทาความรุนแรง (mitigation) การเตรียมการ (preparedness) การรับมือ (response) และการฟื้นฟูบูรณะ (recovery) วงจรการจัดการภัยพิบัติ(disaster management cycle) Adapted from J Twigg, (2004)5
  • 3.       การบรรเทาความรุนแรง (mitigation) การเตรียมการ (preparedness) การรับมือ (response) การฟื้นฟูบูรณะ (recovery) - เป็นการใช้บทเรียนจาก ผลกระทบและอันตราย ต่อชีวิต และการทําลาย สังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม ของภัยพิบัติที่ผ่านมา ใน การวางแผนป้องกันภัย พิบัติที่อาจเกิดขึ้น - กําหนดมาตรการในการ บรรเทาภัยพิบัติรวมถึงการ สร้างความตระหนักของ ประชาชนในการเฝ้าระวัง ภัยพิบัติ และการให้ความรู้ ฝึกอบรมเกี่ยวกับภัยพิบัติ - กําหนดมาตรการต่างๆ เกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร สถานที่ เพื่อป้องกันความ เสี่ยงที่ทําให้เกิดภัยพิบัติ หรือปัจจัยเสริมจากภัย พิบัติ - เป็นการเพิ่มขีดความ พร้อมของรัฐบาลและทุก ภาคส่วน ในการรับมือและ ฟื้นฟูบูรณะผลกระทบจาก ภัยพิบัติ - เป็นการเตรียมความ พร้อมของบุคคล หรือผู้ พร้อมให้ความช่วยเหลือให้ มีความเข้าใจในแผนและ การใช้แผนในการ ช่วยเหลือขณะเกิดภัยพิบัติ - กําหนดมาตรการการ เตือนภัยล่วงหน้า เช่น การ เกิดภัยทางธรรมชาติ - กําหนดมาตรการอื่นๆ เกี่ยวกับอันตรายที่ทําให้ เกิดการบาดเจ็บ เช่น ภัย จากยานพาหนะ การ ระบาดของโรคอุบัติใหม่ - วางแผนเกี่ยวกับแผน เหตุการณ์ฉุกเฉิน ระบบ การให้ข้อมูลข่าวสาร การ สื่อสาร หรือที่พักพิง - เป็นการให้การช่วยเหลือ ฉุกเฉินในระยะเวลาสั้นๆ ขณะเกิดเหตุทันที เช่น แผ่นดินไหว ไฟไหม้ โรงงานอุตสาหกรรม - มุ่งที่การช่วยชีวิต การ ค้นหา ให้การช่วยเหลือ ภาวะวิกฤตจากอาหาร น้ํา ดื่ม และที่อยู่อาศัย - ลดความเสี่ยงที่ทําให้เกิด การบาดเจ็บ ให้การ ช่วยเหลือความต้องการ พื้นฐาน เช่น ติดตามหา ญาติ ให้การดูแลสุขภาพ สุขาภิบาล และที่พักพิง - ลดและป้องกันผลกระทบ ที่ทําให้เกิดความทุกข์ ทรมาน และการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ - เป็นการดูแลช่วยเหลือ หลังระยะเกิดภัยพิบัติให้ กลับมาใช้ชีวิตดังปกติ - มีส่วนร่วมในการฟื้นฟู บูรณะของเจ้าของพื้นที่ และทุกภาคส่วน - กําหนดกิจกรรมการ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในระยะยาว เพื่อฟื้นฟูวิถี ชีวิตการศึกษา และสังคม ที่เป็นผลกระทบจากภัย พิบัติ - บูรณะ ก่อสร้างปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ อาศัยและการกลับคืนของ ชุมชน จากวงจรการจัดการภัยพิบัติจะเห็นว่าการเกิดเหตุจะมีระยะเวลาที่สั้น ในขณะที่ต้องใช้ระยะเวลาที่ นานมากในการฟื้นฟู การจัดการภัยพิบัติจึงเป็นกระบวนการจัดการความเสี่ยงที่ทําลายโครงสร้างของสังคมใน ชุมชน เป็นการบรรเทาความรุนแรงจากภัยพิบัติ (disaster mitigation) โดยการลดความเสี่ยงด้วยการเตือน ภัยล่วงหน้า
  • 4.       อันตรายของภัยพิบัติ (Disaster Hazards) อันตรายของภัยพิบัติ คือ สภาวะที่ทําให้เกิดผลต่อชีวิต การบาดเจ็บ การทําลาย และการสูญเสีย รวม ถึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เกิดจาก 2 ประเภท ดังนี้ 1. Natural hazards เป็นอันตรายที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว (earthquakes) แผ่นดิน เลื่อน (landslides) สึนามิ (tsunami) ภัยแล้ง (drought) พายุ (storm) ไฟป่า (wildfire) 2. Technological or man-made or intentional hazards เป็นอันตรายที่เกิดจากการ เทคโนโลยีหรือมนุษย์กระทํา เช่น การคมนาคมขนส่ง (transportation) ไฟดับ (power failure) การสื่อสารล้มเหลว (telecommunication system failures, computer network failures) เขื่อนแตก (dam failure) การก่อร้าย (terrorism) ก่อการจลาจล (civil unrest) 3. Mixed เป็นอันตรายที่เกิดจาก natural hazards และ man-made or intentional hazards เช่น ไฟป่า อาจเกิดจากการทิ้งเศษบุหรี่ ทําให้ไฟไหม้แล้วลุกลามกระทั่งใหญ่โต ภัยพิบัติจึงทําให้เกิดความเสี่ยง (risk) และกลุ่มเสี่ยง (vulnerability) เพราะอันตรายที่เกิดขึ้นเป็น ความเสี่ยงส่วนหนึ่งของชีวิตที่อาจหลีกเลี่ยงได้และไม่ได้ อาจเกิดจากการทํางาน เล่นกีฬา กิจวัตรประจําวัน หรือผลกระทบของภัยพิบัติที่ผ่านมา เช่น ถนน สภาพที่อยู่อาศัย หนี้สิน ธุรกิจ ความเสี่ยงของภัยพิบัติแบ่งการ เกิดออกเป็น 6 ช่วงเวลา คือ เกิดเหตุการณ์ทุกปี เกิดทุก 1-2 ปี เกิดทุก 2-20 ปี เกิดทุก 20-50 ปี และเกิดทุก 50-100 ปี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทําให้บุคคลเสียชีวิต บาดเจ็บ หรือสูญเสียทรัพย์สิน ชุมชนสูญเสียโครงสร้าง ประเทศสูญเสียความเป็นปึกแผ่น แต่ละภาคส่วนที่มีโอกาสได้รับภัยพิบัตินี้ เรียกว่า กลุ่มเสี่ยง การจัดการภัยพิบัติในชุมชนและในโรงพยาบาล The Jennings Disaster Nursing Management Model Jennings-Sanders ได้พัฒนารูปแบบการจัดการภัยพิบัติที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพยาบาลในภาวะภัย พิบัติ “Jennings Disaster Nursing Management Model”6 ซึ่งเหมาะที่จะใช้เป็นบทเรียนสําหรับนักศึกษา พยาบาลที่ฝึกปฏิบัติในชุมชน และเหมาะกับพยาบาลชุมชนในการใช้รูปแบบการจัดการนี้ ในการวางแผนและ จัดการภัยพิบัติในสถานที่ทํางานร่วมกับหน่วยอื่นๆ ในระยะต่างๆ ทั้ง 4 ระยะ คือ ระยะก่อนเกิดเหตุ (pre- disaster) ระยะเกิดเหตุ (disaster) ระยะหลังเกิดเหตุ (post-disaster) และระยะผลลัพธ์ประชากร (positive client/population outcomes) ซึ่งระยะที่ 1-3 จะเป็นระยะที่มีผลต่อระยะที่ 4 ระยะที่ 1 ระยะก่อนเกิดเหตุ (pre-disaster) เป็นการประเมินสถานที่ตั้งของหน่วยงาน ในด้านความ เพียงพอของแหล่งและความไม่เพียงพอที่จะทําให้เกิดเสี่ยงในการปฏิบัติงานของพยาบาล เช่น งบประมาณ ที่ พักพิง ข้อตกลงความร่มมือในชุมชน การอบรมเกี่ยวกับภัยพิบัติ และแผนรองรับภัยพิบัติที่บอกถึงความ รับผิดชอบของบุคลากรทุกๆ คน รวมถึงอาสาสมัครที่ร่วมปฏิบัติงาน จะต้องให้การป้องกันในลําดับแรก คือ
  • 5.       ช่วยเหลือด้านภาวะสุขภาพดีที่สุดเท่าที่จะพึงให้ได้ เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการอพยพ การเตรียม อาหาร และเครื่องใช้ที่จําเป็น การให้ข้อมูลในการปฏิบัติตนระหว่างการเกิดภัยพิบัติ ระยะที่ 2 ระยะเกิดเหตุ (disaster) พยาบาลจะปฏิบัติตนในหน้าที่ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย สามารถ จําแนกระดับความรุนแรงที่ผู้ประสบภัยได้รับและจัดลําดับความเร่งด่วน ให้การช่วยเหลือทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจสังคมเพื่อความเป็นปกติสุขของผู้ประสบภัย ต้องเป็นผู้รู้ สามารถให้การป้องกันระดับที่ 2 ได้ โดยสามารถระบุปัญหาและการช่วยเหลือเบื้องต้น ตลอดจนการให้ความรู้บอกและข้อมูลสุขภาพที่ผู้ประสบ ภัยกําลังประสบ และต้องเป็นผู้จัดการให้การดูแลสามารถประสานงานการส่งต่อทั้งในการอพยพและการรักษา ระยะที่ 3 ระยะหลังเกิดเหตุ (post-disaster) จะรวมถึงการประเมินซ้ํา เพื่อติดตามการให้การช่วย เหลือผู้ประสบภัย ให้การป้องกันระดับที่ 3 คือ การลดความพิการเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บ ระหว่างการฟื้นฟู มีการวางแผนที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ และมีการบันทึกการปฏิบัติเพื่อเป็นข้อมูลในการ พัฒนาการจัดการภัยพิบัติ ระยะที่ 4 ระยะผลลัพธ์ประชากร (positive client/population outcomes) เป็นระยะการประเมิน อัตราตาย ค่าใช้จ่าย ภาวะสุขภาพ ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ และการประสานความช่วยเหลือ ซึ่งเป็น ผลกระทบจากระยะที่ 1-3 Jennings Disaster Nursing Management Model จึงเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมในการใช้การ จัดการกับภัยพิบัติของพยาบาลในชุมชน มีแนวทางชัดเจนให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานในชุมชนวางแผนการจัดการ ภัยพิบัติร่วมกับชุมชนได้ เช่น ในระยะก่อนเกิดเหตุ จะมีแนวทางการปฏิบัติ ตั้งแต่การประเมินการ การวาง แผน และการปฏิบัติในการเตรียมการในระยะเกิดเหตุบทบาทของพยาบาลควรเป็นอย่างไรและจะต้องปฏิบัติ อย่างไรบ้าง ระยะหลังเกิดเหตุ ประกอบด้วย การประเมิน การวางแผน และการปฏิบัติระยะหลังเกิดเหตุ ส่วน ระยะผลลัพธ์ประชากร มีแนวทางชัดเจนว่าจะต้องประเมินอะไรบ้าง ซึ่งมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนทั้งยังปฏิบัติได้ไม่ยาก ในการเตรียมการจัดการรับภัยพิบัติในชุมชน สามารถใช้เป็นบทเรียนหรือการเรียนรู้ได้ครบทุกระยะของการ ปฏิบัติการ
  • 6.       Jennings Disaster Nursing Management Model Adapted from Andrea Jennings-Sanders (2004)6 Hospital Incident Commander System (HICS) Hospital Emergency Incident Commander System (HEICS) พัฒนาเมื่อยุคต้น 1980 เพื่อ นํามาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นรูปแบบ ICS ของ US Forestry service และ fire department personnel ที่รู้จักกันว่า “FIRESCOPE” HEICS ใช้ในโรงพยาบาลทั่วโลกเรื่อยมา กระทั่งปี 2005 ได้พัฒนาเป็น HEICS IV เพื่อให้ครอบคลุมถึงการจัดการในการสั่งการภัยพิบัติ “CBRNE” คือ ภัยพิบัติจากสารเคมี (chemical) Jennings Disaster Nursing Management Model Community health nurse included in each phase Phase I Pre-disaster Phase II Disaster Phase III Post-disaster Phase IV Population Outcomes Assessment - Identification of resources and risks in a work setting - Education: Primary levels ofprevention Role of nurses Caregiver - Triage - Provide holistic care Case manager - Liaison - Provide referrals - Coordination of Services - Tracking system Educator - Secondary levels of prevention Planning - Allocation of resources - Planning cooperative agreements - Defining roles - Development/activation of disaster assessment tools - Development of education programs - Development of volunteer opportunities Implementation - Practice the disaster plan Assessment - Re-evaluate healthcare needs of clients - Education: Tertiary levels of prevention - Re-evaluate current disaster plan Assessment - Decreased mortality rates - Decreased healthcare cost - Decreased disaster related costs - Improved health status - Increased knowledge - Increased effectiveness of disaster plan - Increased collaborative relationships Planning - Revise existing plan - Plan for next potential Disaster Implementation - Practice new/revised disaster plan - Disseminated findings
  • 7.       ชีวภาพ (biological) รังสี (radiological) นิวเคลียร์ (nuclear) และระเบิด (explosive) ซึ่งสามารถใช้ได้ใน ทุกขนาดของหน่วยงานในปัจจุบันนี้ HEICS ได้ตัด “E” ออก เหลือเพียง HICS (Hospital Incident Commander System) เพื่อให้ครอบคลุมและยืดหยุ่นในการวางแผนและใช้ในเหตุการณ์ที่ไม่ฉุกเฉิน7         Hospital Emergency Incident Commander System Adapted from Robert Power and Elaine Daily (2010)7 Incident Commander Safety officer Liaison officer Medical/Technical specialist  Public information officer Operation Section Chief Planning Section Chief Logistics Section Chief Finance/Administration Section Chief Staging manager (Labor pool) Medical care Branch director Infrastructure Branch director Security Branch director Business Community Branch director Resource Unit Leader Situation Unit Leader Documentation Unit Leader Demobilization Unit Leader Service Branch director Support Branch director Time/Compensation Claims unit Leader Procurement Cost unit Leader
  • 8.       HICS ใช้เป็นหลักในการสั่งการ โดยมีทีมในการจัดการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ข้อมูลผู้สั่ง การในการสั่งการ ในการปฏิบัติ ฝ่าย operations จะเป็นกําลังที่สําคัญที่สุด เนื่องจากต้องให้การช่วยเหลือ ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ประกาศใช้แผนรองรับภัยพิบัติ ทั้งในส่วนการดูแลรักษาผู้ประสบภัย ไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม น้ํา อาหาร และความปลอดภัย ฝ่าย planning จะช่วยวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อปรับแผนในการ ทํางาน ฝ่าย logistics จะช่วยสนับสนุนด้านการสื่อสารข้อมูล กํากับประสานงานการส่งต่อผู้ประสบเหตุ รวบ รวมกําลังพลและอื่นๆ ที่ช่วยให้การทํางานเป็นไปด้วยความคล่องตัว และฝ่าย finance และ administration จะช่วยติดตามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายจากแหล่งทุนต่างๆ เนื่องจากภัยพิบัติเป็นเรื่องของความช่วยเหลือจากองค์กร และอาสาสมัครจากแหล่งต่างๆ HICS จึงถูกใช้เป็นกรอบการปฏิบัติงานในการรองรับภัยพิบัติในโรงพยาบาลที่ เป็นสากล เพื่อช่วยให้การทํางานในสภาวะของความกดดันมีความคล่องตัว ภัยพิบัติและการจัดการที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา (1980-2010) เฉพาะจากสาเหตุภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ ได้แก่ ภัยแล้ง น้ําท่วม พายุ ภัยหนาว แผ่นดินไหว และโคลนถล่ม เกิดภัยพิบัติจํานวน 105 ครั้ง ประชาชนเสียชีวิตทั้งหมด 11,922 คน โดยเฉลี่ยการเสียชีวิต 385 คนต่อปี ผู้ที่ได้รับผลกระทบ 2,069,394 คนต่อปี และสูญเสียเศรษฐกิจ 194,282US$ ต่อปี8 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งมีสถานะเป็น ประเทศสมาชิกศูนย์ลดภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Reduction Center: ADRC) จึงได้ดําเนินการ รับมือกับภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกร่วมกับประเทศญี่ปุ่น และแคนาดาในการจัดทํายุทธศาสตร์ด้าน การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Strategy for Disaster Risk Reduction and Emergency Preparedness and Response in the Asia Pacific Region) 2010-2014 ตามHyogo framework เพื่อเพิ่มศักยภาพของกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยในการจัดการภัยพิบัติ 3 ข้อ คือการจัดทําแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการ จัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานและการให้ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติในระดับจังหวัดและระดับ ท้องถิ่น ซึ่งจะลงปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดลําปาง ลําพูน และนครศรีธรรมราช9 ตัวอย่างการดําเนินงานของชุมชนและองค์กรอิสระในการเตรียมพร้อมและตั้งรับภัยพิบัติ10 - เทศบาลเมืองป่าตองจังหวัดภูเก็ตได้จัดเตรียมความพร้อมให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานอื่นๆใน พื้นที่ในด้านอัคคีภัย คลื่นยักษ์สึนามิ ดินโคลนถล่ม และอุทกภัย - องค์การบริหารส่วนตําบลนิคมพัฒนาจังหวัดสตูลมีการกําหนดนโยบายการจัดการภัยพิบัติของ องค์การบริหารส่วนตําบล๓ข้อตามช่วงเวลาของการเกิดภัยพิบัติ คือก่อนเกิดภัยขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย - องค์การบริหารส่วนตําบลบ้านทุ่งหวังจังหวัดสงขลามีการประชุมกรรมการผู้ใหญ่บ้านเตรียม รับมือกับภัยพิบัติทุกเดือนมีการฝึกซ้อมการให้ความช่วยเหลือการใช้เสียงตามสายเพื่อ
  • 9.       ประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่ประชาชนในพื้นที่การเตรียมอุปกรณ์สํารองการจัดตั้งกองทุนเพื่อ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาผลของภัยพิบัติและการสํารวจพื้นที่ในชุมชนเพื่อแก้ไขและ รับมือกับภัยพิบัติ - องค์การบริหารส่วนตําบลคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานีกําหนดแนวทางในการเตรียมรับมือภัยพิบัติ จากการวิเคราะห์ปัจจัยและข้อมูลจากภัยพิบัติที่ผ่านมาโดยระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของ ศูนย์บัญชาการและผู้ใหญ่บ้าน ในการเตรียมความพร้อมประชาชนในพื้นที่เพื่อรับมือกับปัญหา อุทกภัยและดินโคลนถล่ม - เทศบาลเมืองคอหงส์ จ.สงขลาได้เตรียมแผนการจัดการอุทกภัยโดยการสํารวจภายในพื้นที่การ ประสานงานกับทางเทศบาลเพื่อเปิดช่องทางขอเงินอุดหนุนการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและระวังภัย การฝึกอบรมสมาชิกในศูนย์ป้องกันและระวังภัยและการขุดลอกเพื่อระบายนํ้า - องค์การบริหารส่วนตําบลบางกลํ่า จ.สงขลาได้จัดทําโครงการบรรเทาอุทกภัยอําเภอหาดใหญ่ซึ่ง เป็นโครงการในพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยการยกคันคลองและทําร่องนํ้า ลึกในทะเลสาบสงขลาสร้างสํานึกร่วมในการแก้ไขปัญหานํ้าท่วมและประชาสัมพันธ์เพื่อรับการ ช่วยเหลือจากแหล่งอื่นๆ - เทศบาลเมืองเขารูปช้าง จ.สงขลาได้จัดทําแผนจัดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยนํา รูปแบบแผนภัยพิบัติของเทศบาลนครสงขลามาเป็นต้นแบบโดยกําหนดป้องกันและบรรเทาสา ธารณภัยที่มีลําดับความสําคัญที่สูงและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกําหนดแผนงานทั้งในระยะก่อน เกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ - เทศบาลเมืองเกาะสมุย จ.สุราษธานีได้จัดทํามาตรการการจัดการสาธารณภัยของเทศบาลเมือง เกาะสมุยทั้ง 3 ระยะ โดยจัดตั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เทศบาลจัดเตรียม อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจัดเตรียมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยเช่นเครื่องสูบนํ้าและเรือ สําหรับทําการอพยพการจัดชุดเจ้าหน้าที่สํารวจความเสียหายและชดเชยให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยตามหลักของกระทรวงการคลังหลังเกิดเหตุ - เทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลามีการจัดการเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ที่จะนําไปสู่อุทกภัย เกิดขึ้นและมีแผนการเตรียมการรับมือในกรณีที่เกิดสาธารณภัยระดับเทศบาลโดยการจัดตั้ง ศูนย์อํานวยการย่อยสําหรับรับผิดชอบดูแลและจัดการอุทกภัยการกระจายข้อมูลไปยังศูนย์ย่อย เพื่อป้องกันข่าวลือการเฝ้าระวังติดตามการพยากรณ์อากาศโดยใช้แหล่งข่าวทั้งในไทยและ ต่างประเทศและการจัดช่องทางให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและระดับชุมชนให้ความรู้ด้าน วิธีการรับมือน้ําท่วมมีข้อมูลในการจัดการเมื่อเกิดเหตุซ้อมในเหตุการณ์จําลองในระดับความ รุนแรงต่างๆเพื่อให้ทราบวิธีปฏิบัติ
  • 10.       จากหลักฐานในการจัดการภัยพิบัติในประเทศไทยเท่าที่ปรากฏ จะพบการจัดการภัยพิบัติ 2P2R หรือ PPRR (prevention, preparedness/mitigation, response, recovery) ที่ชัดเจนได้จากการจัดการของ ชุมชน หลักฐานเหล่านี้สามารถนําไปใช้วางแผนได้แต่ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์การเกิดภัยพิบัติที่ ประสบ การปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพยาบาลเมื่อประกาศใช้แผนรองรับภัยพิบัติ เมื่อมีการประกาศใช้แผนรองรับอุบัติภัยกลุ่มชนจากภัยพิบัติ พยาบาลหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและ พยาบาลในหน่วยต่างๆ ต้องปฏิบัติงานตามกรอบ HICS ของแต่ละโรงพยาบาลที่กําหนดขึ้น เครือข่ายพยาบาล อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ได้วิเคราะห์บทบาทและหน้าที่ในงานที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติดังแผนภูมิด้านล่าง
  • 11.                 การปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพยาบาลเมื่อประกาศใช้แผนรองรับภัยพิบัติ ประยุกต์จากกรองได อุณหสูต (2554)11 Incident Commander Liaison officer Operation Section Chief Planning Section Chief Logistics Section Chief Transportation Unit leader Medical care director Material supply Unit leader CPR Unit leader Psychosocial support Unit leader Labor pool Unit leader Nursing Unit leader Patient tracking officer Patient information officer Ancillary service director Human service director Treatment areas Supervisor Inpatient areas Supervisor Surgical service Unit leader Maternal-child Unit leader Critical care Unit leader General nursing Unit leader Outpatient service Unit leader Triage Unit leader Delayed treatment Unit leader Immediate treatment Unit leader Morgue Unit leader Discharge Unit leader Minor treatment Unit leader
  • 12.       การเตรียมพร้อมและตั้งรับภัยพิบัติ จะต้องประกอบไปด้วย PPRR (prevention, preparedness, response, recovery) เสมอ เพราะในmitigation นั้นจะใช้คําว่า prevention แทน ก็คือการนําบทเรียนใน การจัดการภัยพิบัติที่ผ่านมาเป็นตัวกําหนดพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติครั้งต่อไปให้ดีขึ้น การประชุมหลังจากการ ปฏิบัติงาน (debrief)และการบันทึกจึงเป็นสิ่งสําคัญที่ทําให้รู้ว่าการปฏิบัตินั้นๆ รวดเร็ว มีปัญหาอุปสรรค และ ได้แก้ไขอย่างไร ซึ่งสามารถนําไปสู่ preparedness หรือการเตรียมการที่มีความพร้อมมากขึ้นทั้งยัง response ให้การช่วยเหลือได้ทันการ ส่วน recovery นั้น เป็นการปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ระยะเกิดเหตุเสร็จสิ้น และต้อง ติดตามต่อเนื่อง 5 ปี อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีการรายผลการติดตามในระยะ midterm phase คือ 1-3 ปี อาจสรุปได้ว่าภัยพิบัติไม่ใช่ความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้อง ใส่ใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่มีความรุนแรง ทั้งยังไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผลกระทบที่ได้รับ จะเป็นอย่างไร การใช้ชีวิตที่ไม่ประมาทจะเป็น prevention และ preparedness ได้ดีกว่า response และ rehabilitation ตามกรอบแนวคิดของภัยพิบัติอย่างแน่นอน
  • 13.       เอกสารอ้างอิง 1. Fagan B. Floods, famines, and empires. New York: Basic Book; 1999. 2. International Strategy for Disaster Reduction (ISDR). Hyogo framework for action 2005- 2015. World Conference on Disaster Reduction. January 18-22. Hyogo, Japan; 2005. 3. International Council of Nurses and World Health Organization (Western pacific region). ICN Framework of disaster nursing competencies; 2009. 4. Damon PC. International disaster management. Burlington: Elsevier; 2011. 5. Jtwigg. Disaster risk reduction: Mitigation and preparedness in development and emergency program. London: HPN Good Practice Review 9; 2004. 6. Andrea Jennings-Sanders. Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings Disaster Nursing Management Model.Nurse Education in Practice2004;4: 69–76. 7. Robert Power and Elaine Daily.International disaster nursing. London: Cambridge University Press; 2010. 8. Center for hazards and risk research at Columbia University. Thailand Natural Disaster Profile.[cited 2012 Dec 30] Available from: URL:http://www.ideo.columbia.edu/chrr/ research/profile 9. การประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ(International cooperation).[cited 2012 Dec 30] Availablefrom:URL:http://www.disaster.go.th/dpm/users/files/policy/book_annual/six1.pdf 10. การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย ในวันที่ 13 ตุลาคม 2554. มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.[cited 2012 Dec 30] Available from http://v-reform.org/wp-content/upload 11. กรองได อุณหสูต (บรรณาธิการ).คู่มือปฏิบัติในหน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: ก้องการพิมพ์; 2554.