SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
1
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด
พรทิพย์ สารีโส พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)
สํานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เมื่อศึกษาบทความนี้แล้ว จะสามารถ
1. ระบุสาเหตุ อาการ อาการแสดง การวินิจฉัยและการรักษาผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดได้
2. อธิบายพยาธิสรีรภาพของการเกิดภาวะภาวะซีดในผู้สูงอายุได้ถูกต้อง
3. ระบุผลกระทบของภาวะซีดที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้ถูกต้อง
4. วางแผนการพยาบาลเพื่อให้การพยาบาลแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดได้ถูกต้อง
บทนํา
ภาวะซีดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ตามประชากรผู้สูงอายุของประเทศ ผลที่ตามมาจากภาวะซีดมีได้ตั้งแต่อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
ความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันลดลง พลัดตกหกล้ม กระดูกหัก ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน
ผู้สูงอายุ ความบกพร่องในการรู้คิด โรคสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า ระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานขึ้นและ
อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ดังนั้น จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ภาวะซีดในผู้สูงอายุจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อ
ลดอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะซีด ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ทําให้คุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคซึ่งเป็นผลตามมา พยาบาลเป็นบุคลากรที่
ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด จึงควรมีบทบาทในการป้องกันภาวะซีดและการรักษาพยาบาลเพื่อป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดตามมาได้
คําจํากัดความของภาวะซีด
ภาวะซีดหรือโลหิตจาง (Anemia) หมายถึง ภาวะที่มีจํานวนเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์หรือระดับ
ฮีโมโกลบิน (Hb) ในเลือดต่ํากว่าปกติ ทําให้การขนส่งออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อไม่เพียงพอ องค์การอนามัยโลก
(World Health Organization; WHO) ได้กําหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะซีดในผู้ใหญ่เพศชายมีระดับ Hb
น้อยกว่า 13 g/dl และในเพศหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์น้อยกว่า 12 g/dl (De Benoist, et al., 2008)
อุบัติการณ์ของภาวะซีดในผู้สูงอายุ
อุบัติการณ์ของภาวะซีดในผู้สูงอายุในต่างประเทศ มีความแตกต่างกันในแต่ละงานวิจัยซึ่งพบว่า อยู่
ระหว่างร้อยละ 5.5-37.8 โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ประเทศไทยพบผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดอยู่ระหว่างร้อย
ละ 16.5-62.6 (สุรีย์พันธุ์ บุญวิสุทธิ์ พิมพร วัชรางค์กุล สมศรี ภู่ศรีม่วง ศิริพร จันทร์ฉาย และแสงโสม สี
นะวัฒน์, 2541; กันยา แผนกุลม 2545; ภูวดล พลศรีประดิษฐ์, 2547; งามเนตร ทองฉิม, 2551) จากรายงาน
การสํารวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ระหว่างปี พ.ศ.2551-2552 โดยสํานักงาน
สํารวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) พบภาวะซีดเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น จนสูงสุดร้อยละ 60.7 ในกลุ่มอายุ
ตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ความชุกของภาวะซีดในเพศหญิงสูงกว่าเพศชายทุกกลุ่มอายุ แต่มีความใกล้เคียงกันเมื่ออายุ
มากกว่า 80 ปีขึ้นไป (วิชัย เอกพลากร, 2552)
2
สาเหตุของภาวะซีดในผู้สูงอายุ
ภาวะซีดโดยทั่วไปมีสาเหตุหลักๆ 3 ประการคือ 1) การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง 2) การทําลายเม็ด
เลือดแดงมากขึ้นและ 3) เสียเลือด สําหรับภาวะซีดที่พบในผู้สูงอายุสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการสร้างเม็ด
เลือดแดงลดลงหรือมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ (Balducci, 2003;
Guralnik, Eisentstaedt, Ferrucci, Klein, & Woodman, 2004; Petrosyan, Blaison, Andres, &
Federici, 2012; Shavelle, MacKenzie, & Paculdo, 2012) ได้แก่
1. ขาดสารอาหาร เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการขาดธาตุเหล็ก โฟเลตและ
วิตามินบี 12 (Woodman, Ferrucci, & Guralnik, 2005; De Benoist, et al., 2008) ธาตุเหล็กเป็น
สารอาหารที่มีความจําเป็นต่อการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน (Hb synthesis) ส่วนโฟเลตและวิตามินบี 12 มี
ประโยชน์ต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA synthesis) เมื่อร่างกายขาดสารอาหารที่จําเป็นเหล่านี้จะมีผลทําให้
เม็ดเลือดแดงมีการเจริญเติบโตผิดปกติและผิดรูปร่างได้ (Palazuolli, Gallotta, Iovine, & Silverberg,
2008) สารอาหารประเภทโฟเลต วิตามินบี 12 และวิตามินซี ยังช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ดังนั้น เมื่อขาด
สารอาหารดังกล่าวจึงส่งผลให้ระดับความรุนแรงของภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นด้วย ภาวะซีดจาก
การขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ ยังเกิดจากการทํางานของระบบย่อยอาหารลดลง กล่าวคือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่
ต้องใช้ฟันปลอมในการบดเคี้ยวอาหาร มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือก ทําให้รับประทานอาหารไม่สะดวก
รับประทานอาหารได้น้อยลง อีกทั้งการทํางานของต่อมรับรส การหลั่งเอ็นไซม์ทั้งในกระเพาะอาหารและลําไส้
เล็กลดลง การบีบตัวของลําไส้และพื้นที่ในการดูดซึมสารอาหารลดลง รวมถึงระบบการไหลเวียนเลือดในระบบ
ทางเดินอาหาร (splanchnic circulation) ก็ลดลงด้วย (Caruso, & Silliman, 2008) ทําให้อาหารค้างอยู่ใน
กระเพาะอาหารนานขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อกระบวนการย่อยและการดูดซึมอาหารของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุรู้สึกรับประทานอาหารไม่อร่อย ไม่อยากรับประทาน ส่งผลให้รับประทานอาหารไม่เพียงพอ (ภูวดล
พลศรีประดิษฐ์, 2547; ณัฐติยา เตียวตระกูล, 2554; Palazuolli, Gallotta, Iovine, & Silverberg, 2008)
2. โรคเรื้อรังหรือการอักเสบเรื้อรัง เชื่อว่าเมื่อมีการติดเชื้อจะทําให้มีการปล่อยไซโตไคน์เข้าไปใน
กระแสเลือด ทําให้ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กและทําให้เกิดภาวะซีด
ตามมาได้ นอกจากนั้น สารไซโตไคน์ที่หลั่งมาจากกระบวนการอักเสบจะไปกดการสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิติน
(erythropoietin) และทําให้ช่วงชีวิต (life span) ของฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินสั้นลง จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ที่มีการ
ติดเชื้อเกิดภาวะซีด นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีการสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินลดลง จึงทําให้ผู้สูงอายุ
ที่เป็นโรคไตเรื้อรังเกิดภาวะซีดขึ้นได้ ซึ่งโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นตามหลังโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (Woodman, Ferrucci, &
Guralnik, 2005).
3. กระบวนการเสื่อมตามอายุ (Aging process) เมื่ออายุมากขึ้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ภายในเซลล์ไขกระดูก มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงทดแทนเซลล์เก่าช้าลง ทําให้จํานวนเม็ดเลือดแดงและ
ระดับ Hb ลดลง รวมถึงการทําหน้าที่ของไตลดลงจึงอาจส่งผลให้การสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินลดลง ซึ่ง
ฮอร์โมนชนิดนี้มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินที่
ลดลง โดยที่ไม่จําเป็นต้องมีโรคไตร่วม (ณัฐติยา เตียวตระกูล, 2554; วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2554) จึงทําให้เกิด
ภาวะซีดตามมาได้
3
4. ไม่ทราบสาเหตุ พบถึงร้อยละ 34-39 ของผู้ที่มีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 65 ปี ส่วนใหญ่จะมี
ลักษณะซีดในระดับเพียงเล็กน้อย ทําให้ไม่ได้รับการวินิจฉัย (Guralnik, Eisentstaedt, Ferrucci, Klein, &
Woodman, 2004; Shavelle, MacKenzie, & Paculdo, 2012)
พยาธิสรีรภาพของการเกิดภาวะซีดในผู้สูงอายุ
ภาวะซีดส่งผลให้มีการลดลงของ Hb ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย 4 หน่วยย่อย
ในแต่ละหน่วยย่อยมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบและในแต่ละหน่วยของ Hb มีความสามารถในการจับกับ
ออกซิเจนได้ 1 หน่วยโมเลกุล ดังนั้นถ้าจํานวนของ Hb ลดลง ส่งผลให้การขนส่งออกซิเจนลดลง ร่างกายจะมี
การปรับตัวโดยหัวใจทํางานมากขึ้น บีบตัวและเต้นเร็วขึ้นเพื่อให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาที
(cardiac output; CO) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้มากขึ้น ผลที่ตามมาจากการบีบตัวมากขึ้น
ของหัวใจทําให้ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนเพิ่มขึ้น ผนังภายในหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้นจากการทํางาน
ที่หนัก ส่งผลให้ CO ลดลงและการกําซาบของออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อก็ลดลงด้วย
อาการและอาการแสดง
ภาวะซีดที่พบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยเท่านั้น จึงมักไม่มีอาการและอาการแสดง อย่างไรก็
ตาม ภาวะซีดระดับรุนแรงส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทําให้เกิดภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง จนกระทั่ง
อาจทําให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอาการและอาการแสดงนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับความรุนแรงของ
ภาวะซีด ความเร็วในการสูญเสียเลือด ระยะเวลาของการเกิดภาวะซีด อายุ อาการและอาการแสดงของโรค
ร่วมอื่นๆ ตัวกําหนดความรุนแรงของภาวะซีดคือระดับของ Hb ในเลือด ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ระดับความรุนแรงของภาวะซีดและอาการแสดงทางคลินิก (Corbett & Buchsel, 2005)
Hb level degree อาการแสดงทางคลินิก (clinical manifestations)
10-12 g/dl mild โดยปกติจะไม่แสดงอาการ (asymptomatic) อาจมีเพียงอาการเหนื่อย
เวลาออกแรง (dyspnea on exertion; DOE)
6-10 g/dl moderate หายใจลําบาก (short of breath) ใจสั่น (palpitation) เหงื่ออก
มากกว่าปกติเมื่อทํากิจกรรมที่ต้องใช้แรง และมีอาการอ่อนเพลียหรือ
อ่อนล้าอย่างเรื้อรัง
< 6 g/dl severe ผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบในร่างกาย (multiple body
system) โดยอาการแสดงจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะซีด (ตารางที่ 2)
แต่ในผู้ป่วยที่เป็น (chronic renal failure) อาจไม่มีอาการเนื่องจาก
ภาวะซีดเกิดขึ้นอย่างช้าและเป็นเรื้อรัง
4
ตารางที่ 2 อาการและอาการแสดงในผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดรุนแรง (ระดับของ Hb < 6 g/dl) (Corbett &
Buchsel, 2005)
ระบบ/ อวัยวะที่ตรวจพบ อาการแสดงทางคลินิก
อาการทั่วไป ซีด (pallor) อ่อนเพลีย (fatigue) มีความรู้สึกไม่สบาย (malaise) อ่อนแรง
(weakness) ไข้ (fever) เหนื่อยหรือหายใจลําบากเมื่อมีการออกแรงหรือทํา
กิจกรรมที่ต้องใช้แรง ปวดศีรษะ (headache) เวียนศีรษะ (vertigo) ไวต่อ
การกระตุ้นจากอากาศเย็น น้ําหนักลด
ผิวหนัง ซีด เย็นชื้น เหลือง (พบในผู้ป่วยที่เป็น hemolytic anemia) เห็นได้ชัด
บริเวณริมฝีปาก เยื่อบุตา ฝ่ามือ เหงือก ใบหู ผิวแห้ง เล็บเปราะ หรือมี
spoon nail
ตา ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ตาเหลืองและอาจมีเลือดออกใน retina (พบใน
ผู้ป่วยที่เป็น hemolytic anemia)
ปาก เยื่อบุกระพุ้งแก้มเรียบ ลิ้นเลี่ยนมัน (glossy tongue) ลิ้นเป็นแผล
ระบบหายใจ หายใจลําบาก (dyspnea) นอนราบไม่ได้ (orthopnea)
ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) ใจสั่น (palpitation) พบเสียง murmur เจ็บ
หน้าอก (angina pain) หัวใจโต (cardiomegaly) อาการปวดขาเป็นระยะ
เหตุจากการขาดเลือด (intermittent claudication) หัวใจวาย (heart
failure) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
ระบบทางเดินอาหาร เบื่ออาหาร (anorexia) การกลืนลําบาก (dysphagia) อาเจียนเป็นเลือด
(hematemesis) อุจจาระเป็นมัน (tarry stool) ตับโต (hepatomegaly)
ม้ามโต (splenomegaly)
ระบบทางเดินปัสสาวะและ
ระบบสืบพันธุ์
ภาวะขาดระดู (amenorrhea) ปัสสาวะมีเลือดปน (hematuria)
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ
ระบบประสาท ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม (fainting) สับสน เฉื่อยชา คิดช้า สมาธิสั้น
ซึมเศร้า การรับความรู้สึกที่ส่วนปลายผิดปกติ (paresthesia)
การตรวจวินิจฉัยภาวะซีดในผู้สูงอายุ
การวินิจฉัยภาวะซีดในผู้สูงอายุนั้น ประกอบด้วย การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยคัดกรองภาวะซีด โดยเฉพาะการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (complete blood
count; CBC) ร่วมกับการย้อมสีเม็ดเลือดและการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (peripheral blood smear) โดย
ดูจากค่าความเข้มข้นของเลือดหรือฮีมาโตคริต (Hct) หรือ Hb นอกจากนี้อาจดูได้จาก mean corpuscular
volume (MCV) หรือ red cell distribution width (RDW) หรือ red cell morphology index (RCMI)
เมื่อพบว่าค่าต่ํากว่าปกติถือว่ามีภาวะซีด (ปราณี ทู้ไพเราะและพิจิตรา เล็กดํารงกุล, 2554) อย่างไรก็ตาม การ
ตรวจ CBC เป็นเพียงคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดเบื้องต้นเท่านั้น การค้นหาสาเหตุเป็นสิ่งจําเป็นที่จะช่วยให้
ผู้สูงอายุได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะลดอัตราการตายและความรุนแรงของโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุได้
WHO กําหนดค่าปกติความเข้มข้นของเลือด ดังตารางที่ 3 ถ้าผลการตรวจมี ค่าที่ต่ํากว่า ปกติถือว่ามีภาวะซีด
5
ตารางที่ 3 เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซีด (Corbett & Buchsel, 2005)
Hb (g/dl) Hct (mg%)
Adult Male 13.0 40
Female 12.0 36
Pregnant
1st
&3rd
trimester
2nd
trimester
11.0
10.5
33
Child 6-14 years 12.0 36
6 months-6 years 11.0 33
ผลกระทบของภาวะซีดในผู้สูงอายุ
ผลกระทบของภาวะซีดในผู้สูงอายุขึ้นกับระยะเวลาและระดับความรุนแรงของภาวะซีด ถ้าภาวะซีด
ไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง อาจส่งผลรุนแรงจนกระทั่งทําให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้ จากการทบทวนวรรณกรรม
พบภาวะซีดมีผลต่อภาวะสุขภาพ ดังนี้
1. อัตราตายและการนอนโรงพยาบาล (mortality and hospitalization) ภาวะซีดทําให้อัตรา
ตายในผู้สูงอายุสูงขึ้นและทําให้ระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานขึ้นอีกด้วย ในผู้สูงอายุเพศชายและหญิงที่มีอายุ
ตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มเป็น 2 เท่า (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีระดับ Hb
อยู่ในเกณฑ์ปกติ (Izaks, Westendrop, & Knook, 1999) นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่
ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันที่มีระดับของ Hb ต่ํา มีความสัมพันธ์กับ
อัตราการตายที่สูงขึ้น และทําให้มีความเสี่ยงต่อการเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นด้วย (Wu, Rathore, Wang,
Radford, & Krumholz, 2001)
2. การทําหน้าที่ของร่างกาย (physical functioning) ผู้ที่มีภาวะซีดในระดับน้อยมักจะทํา
กิจกรรมต่างๆ ได้ลดลง มีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ทํากิจวัตรประจําวันได้ลดลง หน้า
มืด ตาลาย วิงเวียนศีรษะเวลาออกแรง เนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองน้อย ผู้สูงอายุจะมีความสามารถใน
การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันต่างๆ ได้น้อยลง รวมถึงประสิทธิภาพการทํางานของร่างกายลดลงด้วย เช่น การ
ทรงตัว ความเร็วในการเดิน การลุกจากเก้าอี้ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตลดลง โดยผู้สูงอายุที่มีระดับ
ของ Hb > 12 กรัมต่อเดซิลิตร จะมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แรงในการบีบมือ แรงของการเหยียดข้อเข่า
ความสามารถในการลุกจากเก้าอี้ การทรงตัวและความเร็วในการเดินดีกว่าผู้สูงอายุที่มีระดับ Hb < 12 กรัมต่อ
เดซิลิตร (กันยา แผนกุล, 2545; Chaves, Ashar, Guralnik, & Fried, 2002; Dharmarajan, &
Dharmarajan, 2007; Sabol, et al., 2010)
3. การเกิดภาวะหกล้ม เนื่องจากภาวะซีดทําให้ความแข็งแรงและมวลความหนาแน่นของกล้ามเนื้อ
ลดลง จึงส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อเกิดการพลัดตกหกล้มและกระดูกหักได้ง่าย
4. ระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะซีดก่อให้เกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยที่ผู้สูงอายุ
ไม่เคยมีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุ มีอาการหัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดปกติ เหนื่อย
ง่าย (Dharmarajan, & Dharmarajan, 2007) ด้วยเหตุที่ CO เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียน
สูงขึ้น ทําให้ผนังภายในกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น ประสิทธิภาพในการบีบตัวลดลง ส่งผลให้เกิด
6
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและภาวะหัวใจวายเลือดคั่งซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
ตามมาได้ (Andres, Federici, Serraj, & Kaltenbach, 2008)
5. ระบบประสาท ผู้สูงอายุที่ภาวะซีดจะเกิดความบกพร่องในการรู้คิด ได้แก่ ความสามารถในการ
บริหารความคิด เช่น การวางแผน การตรวจตราและการแก้ปัญหา ทําให้ไม่สามารถจัดการกับกิจกรรมใน
ชีวิตประจําวันได้และในระยะยาวอาจทําให้เกิดโรคสมองเสื่อม (Malouf, & Evans, 2009)
6. ด้านจิตใจ เนื่องจากภาวะซีดส่งผลให้ผู้สูงอายุทํากิจวัตรประจําวันได้ลดลง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะ
หกล้ม กระดูกหัก ซึ่งอาจทําให้ผู้สูงอายุต้องกลายเป็นบุคคลพึ่งพาบุคคลอื่น จึงอาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ
ตามมาได้ ยิ่งกว่านั้น ในระยะยาวยังส่งผลให้ผู้สูงอายุเพศหญิงมีภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย (Umegaki,
Yanagawa, & Endo, 2011)
การรักษาภาวะซีด
การรักษาผู้ป่วยภาวะซีดที่สําคัญที่สุดคือ การค้นหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ โดยมีแนวทางการ
รักษา ดังนี้ (ปราณี ทู้ไพเราะและพิจิตรา เล็กดํารงกุล, 2554)
1. การรักษาทั่วไป เป็นการบําบัดอาการของภาวะซีด ในระหว่างการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น
- การให้ออกซิเจน ในผู้ป่วยภาวะซีดรุนแรง เพื่อช่วยป้องกันภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน (tissue
hypoxia) และช่วยลดการทํางานของหัวใจ
- การให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
- การให้ธาตุเหล็กทดแทน มักจะให้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซีดในระดับน้อย (mild anemia) ซึ่งอาจให้
ในรูปแบบยารับประทาน สําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition syndrome) หรือไม่สามารถ
รับประทานทางปากได้ หรือมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง แพทย์อาจพิจารณาให้ธาตุเหล็กทางหลอดเลือดดํา
- การให้เลือดทดแทน (blood transfusion) เป็นการรักษาที่จําเป็น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะซีด
จากการเสียเลือดแบบเฉียบพลันจาการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุหรือผู้ป่วยที่มีภาวะซีดรุนแรง
2. การรักษาเฉพาะ เป็นการรักษาที่สาเหตุ โดยเน้นการให้ยาหรือสารอาหารทดแทน เช่น ผู้ที่มีภาวะ
ซีดจากการขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต จะรักษาโดยให้วิตามินบี 12 ร่วมกับการให้กรดโฟลิกทดแทน ซึ่งจะมี
ผลช่วยลดความเข้มข้นของสารโฮโมซีสเตอีนในเลือด (serum homocysteine) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคหัวใจ
ขาดเลือด อีกทั้งกรดโฟลิกยังสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้และยังช่วยป้องกัน
การเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย (Malouf, & Sastre, 2009; Sabol, et al. 2010) ถ้าภาวะซีดเกิดจาก
การขาดธาตุเหล็กจะรักษาโดยการให้ธาตุเหล็กทดแทน เป็นต้น
3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือผลกระทบที่เกิดจากภาวะซีด ที่พบมากในผู้สูงอายุได้แก่ ภาวะ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง รวมถึงภาวะหกล้ม กระดูกหัก
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. ผู้สูงอายุที่ไม่แสดงอาการ ผู้สูงอายุถึงแม้จะมีภาวะซีด แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดง เนื่องจาก
ภาวะซีดอยู่ระดับน้อย ดังนั้น พยาบาลต้องตระหนักอยู่เสมอว่า “ผู้สูงอายุทุกรายมีภาวะซีด” ดังนั้นการ
พยาบาลที่สําคัญจึงมุ่งเน้นการป้องกันการเกิดโรคอื่นๆ จากภาวะซีด โดยการค้นหาผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด การให้
ความรู้ คําแนะนําเพื่อป้องกันผลกระทบและลดอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะซีด รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ
สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
7
แนวทางป้องกันผลกระทบจากภาวะซีดสําหรับผู้สูงอายุที่ยังไม่แสดงอาการ มีดังนี้
1) ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลควรติดตามผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการในผู้สูงอายุทุกราย เนื่องจากภาวะซีดในระดับน้อย จะไม่แสดงอาการ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ
ซีดควรเน้นการทํางานแบบสหสาขาวิชาชีพ มีการประสานงานกับแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะซีด
รวมถึงการให้สารอาหารหรือยาทดแทน นอกจากนี้ในแต่ละโรงพยาบาลควรมีแนวทางในการดูแลรักษาภาวะ
ซีดในผู้สูงอายุที่ครอบคลุม เริ่มตั้งแต่การคัดกรอง การดูแลรักษา การป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการ
ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ
2) ผู้สูงอายุในชุมชน ควรได้รับการคัดกรองภาวะซีด โดยการซักประวัติเพื่อค้นหาอาการที่อาจ
เกิดจากภาวะซีด รวมถึงพฤติกรรมสุขภาพที่อาจทําให้เกิดภาวะซีด อันจะช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วยจนต้องเข้า
รับการรักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้ภาวะซีดในระดับน้อย อาจส่งผลต่อการทํากิจวัตรประจําวันของ
ผู้สูงอายุ เช่น มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้
ลดลงได้ อีกทั้งควรเน้นการทํางานแบบสหสาขาวิชาชีพ เนื่องจากปัญหาในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่ซับซ้อน เช่น
ทันตแพทย์ เข้ามาดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปาก นักโภชนาการเข้ามาให้คําแนะนําเรื่องอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
หรืออาหารที่ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ควรนํา อ.ส.ม.เข้ามามีส่วนร่วม และใช้แหล่งประโยชน์ใน
ชุมชน โดยเฉพาะ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สถานีอนามัยและโรงพยาบาลเครือข่าย ร้านค้าและตลาดนัดใน
หมู่บ้าน ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (งามเนตร ทองฉิม, 2551)
2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด การพยาบาลจะมุ่งเน้นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอาการของ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะซีด เช่น อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ กระดูกหักจากการหกล้ม โรคทางหัวใจ
และหลอดเลือด เป็นต้น การบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะซีด เป้าหมายของการพยาบาล เพื่อเพิ่มพลังงาน
หรือออกซิเจนให้กับผู้ป่วย ลดหรือสงวนการใช้พลังงานหรือการใช้ออกซิเจนและเฝ้าระวังอาการและอาการ
แสดงของภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
แนวทางการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด โดยใช้กระบวนการพยาบาล มีดังนี้
1) การประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด
1.1 การซักประวัติ
- ปัญหาสุขภาพในอดีตที่มีผลทําให้เกิดภาวะซีดได้ เช่น พยาธิลําไส้ อุจจาระร่วงเรื้อรัง
ประวัติการเลียเลือดบ่อย เช่น เลือดกําเดาออกเสมอๆ มีเลือดอกตามไรฟัน อุจจาระสีดํา
หรือมีเลือดปน อุจจาระมีพยาธิ โรคเรื้อรังอื่นๆ ริดสีดวงทวาร โรคติดเชื้อ โรคตับ โรคไต
เป็นต้น
- ประวัติอาการที่อาจเกิดจากภาวะซีด เช่น อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายเวลา
ทํางาน อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นต้น
- ประวัติการรับประทานยาเป็นประจํา โดยเฉพาะยากลุ่ม NSAID เนื่องจากอาจมีการเสีย
เลือดเรื้อรังได้
- พฤติกรรมสุขภาพที่อาจทําให้เกิดภาวะซีด เช่น การรับประทานอาหารที่ยับยั้งการดูดซึม
ธาตุเหล็ก การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจํา เป็นต้น
- ประวัติภาวะโลหิตจางในครอบครัว เช่น thalassemia G6PD เป็นต้น
- ประเมินแบบแผนสุขภาพ โดยเน้นแบบแผนที่มีโอกาสเกิดปัญหา เช่น ความทนในการทํา
กิจกรรม ภาวะโภชนาการ ภาวะติดเชื้อ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น
8
1.2 การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะระบบผิวหนัง เน้นบริเวณเนื้อเยื่อบางๆ เช่น เปลือกตา ฝ่า
มือ ริมฝีปาก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรตรวจร่างกายให้ครบทุกระบบ เนื่องจากภาวะซีดที่รุนแรงจะทําให้
ผู้ป่วยเกิดอาการและอาการแสดงได้ในทุกระบบของร่างกายดังกล่าวแล้วข้างต้น
1.3 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยประเมินจาก CBC ซึ่งต้องประเมินทุกตัวที่กล่าวมา
ข้างต้น โดยเฉพาะ Hb และ Hct เมื่อพบความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุของภาวะ
ซีดและวางแผนการพยาบาลต่อไป
9
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการ
พยาบาล
เป้าหมายทางการ
พยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
1. ความทนต่อการทํา
กิจกรรมลดลง
เนื่องจากเนื้อเยื่อ
ได้รับออกซิเจนไม่
เพียงพอ
ผู้ป่วยมีความทน
ต่อการทํากิจกรรม
เพิ่มขึ้น
1. วางแผนในการทํากิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุโดย แบ่งเวลาที่จะให้ผู้ป่วยพักและกําหนดกิจกรรมโดยให้พักเป็นระยะๆ
หยุดทํากิจกรรมเมื่อรู้สึกเหนื่อย
2. ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทํากิจวัตรประจําวันเท่าที่จําเป็นและส่งเสริมให้ผู้ป่วยทํากิจกรรมเองโดยเน้นกิจกรรมที่
ออกแรงน้อย
3. วางอุปกรณ์ของใช้ไว้ใกล้ตัวผู้สูงอายุ เพื่อสงวนพลังงาน
4. จํากัดคนเยี่ยม ถ้าเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พักผ่อนและเฝ้าติดตามสัญญาณชีพ Hct และ Hb เพื่อเป็นแนวทาง
ในการวางแผนการทํากิจกรรม
5. ให้ยาที่จําเป็นต่อการสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กหรือ
กรดโฟลิก เป็นต้น
6. ถ้าจําเป็นควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ packed RBCs เพื่อเพิ่มระดับ Hct ในเลือด
2. ได้รับอาหารไม่
เพียงพอกับความ
ต้องการของร่างกาย
เนื่องจากขาด
ความรู้/เบื่ออาหาร/
การย่อยการดูดซึม
ลดลง
ได้รับอาหาร
เพียงพอต่อความ
ต้องการของ
ร่างกาย
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่จําเป็นโดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ใน 1 วัน
2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานตามสาเหตุ ดังนี้
- ในผู้สูงอายุที่ขาดเหล็กแนะนําอาหารที่มีเหล็กสูง เช่น เลือดหมู เลือดไก่ ตับ เครื่องใน เนื้อสัตว์ เพิ่มอาหารที่
อุดมด้วยวิตามินซีเพื่อช่วยในการดูดซึมเหล็ก ผักพื้นบ้าน เช่น ผักกูด ผักโขม ขมิ้นขาว ดอกโสน ยอดมะกอก
กระถิน ใบชะพลู ขี้เหล็ก เป็นต้น แนะนําให้หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เพราะขัดขวางการดูดซึมเหล็ก ให้
รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงเพราะจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
- ผู้สูงอายุที่ขาดโฟเลตแนะนําอาหารที่มี โฟเลตสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว เนื้อสัตว์ นม ไข่ และไม่ประกอบอาหาร
สุกจนเกินไป
3. ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องรับประทานยาธาตุเหล็กเสริม ควรให้แนะนํา ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ นม พร้อมอาหารหรือยาเพราะขัดขวางการดูดซึมเหล็ก
10
ข้อวินิจฉัยทางการ
พยาบาล
เป้าหมายทางการ
พยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
- แนะนําให้รับประทานยาพร้อมอาหารทันทีเนื่องจากยาอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและอาจทําให้เกิด
อาการคลื่นไส้อาเจียนได้
- ในระหว่างรับประทานยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กผู้สูงอายุอาจมีอาการท้องผูก จึงควรแนะนําให้
รับประทานอาการที่มีกากใยสูง
- ควรรับประทานยาธาตุเหล็กร่วมกับวิตามินซีหรือน้ําส้มเพื่อช่วยในการดูดซึม
- อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ธาตุเหล็กได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสีย และถ่าย
อุจจาระสีดํา
4. แนะนําให้รับประทานครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งในแต่ละวัน
5. ชั่งน้ําหนักทุกวันเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
6. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุบันทึกรายการอาหารประจําวัน (food daily) เพื่อประเมินอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
7. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลสุขอนามัยในช่องปากที่ดี
3. มีโอกาสเกิด
อุบัติเหตุในขณะที่
เปลี่ยนท่าเนื่องจาก
อ่อนเพลีย/
ออกซิเจนไปเลี้ยง
สมองไม่เพียงพอ
จากเม็ดเลือดแดง
น้อย
ไม่เกิดอุบัติเหตุ 1. แนะนําให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ และพักเป็นระยะๆ
2. ช่วยเหลือผู้สูงอายุขณะลงจากเตียง หรือขณะเดิน
3. แนะนําการใช้กริ่งขอความช่วยเหลือ
4. ยกข้างเตียงให้สูงทุกครั้งที่ไม่มีคนอยู่กับผู้สูงอายุ
5. จัดสิ่งของต่างๆให้อยู่ใกล้ผู้สูงอายุ หยิบใช้ง่าย
11
สรุป
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด เริ่มตั้งแต่การเฝ้าระวังภาวะซีดในผู้สูงอายุทุกราย การค้นหาสาเหตุที่ทํา
ให้เกิดภาวะซีดเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการรักษาที่เหมาะสม การให้การพยาบาลเพื่อลดการใช้ออกซิเจนและ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาจากภาวะซีด การป้องกันภาวะซีดในผู้สูงอายุควรเน้นการให้คําแนะนํา
เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กและ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก นอกจากนี้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดควร
เน้นสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
กันยา แผนกุล. (2545). ภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่นําไปสูภาวะโลหิตจางจากการธาตุเหล็กในผู้สูงอายุ ตําบล
แม่แฝกใหม่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
ส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
งามเนตร ทองฉิม. (2551). โครงการของพยาบาลเวชปฏิบัติเพื่อการจัดการภาวะซีดสําหรับผู้สูงอายุในชนบท.
วิทยานิพนธ์พยาบาลมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ณัฐติยา เตียวตระกูล. (2554). Anemia in Older Adults. โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 21(4),
267-272
ปราณี ทู้ไพเราะและพิจิตรา เล็กดํารงกุล. (2554). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซีด ใน ปราณี ทู้ไพเราะและ
คณะ (บรรณาธิการ), การพยาบาลอายุรศาสตร์ 2 (หน้า 60-96). เอ็นพีเพรส: กรุงเทพฯ.
ภูวดล พลศรีประดิษฐ์. (2547). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุบ้านสุขัง ตําบล
ตะคุ อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
โภชนาการชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิชัย เอกพลากร. (2552). การสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2.
นนทบุรี : เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จํากัด.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. โครงการตํารา คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
สุรีย์พันธุ์ บุญวิสุทธิ์ พิมพร วัชรางค์กุล สมศรี ภู่ศรีม่วง ศิริพร จันทร์ฉาย และแสงโสม สีนะวัฒน์. (2541).
ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุไทย. Retrieved November 11, 2012, From
http://advisor.anamai.moph.go.th /213/21308.html
Andres, E., Federici, L., Serraj, K & Kaltenbach, G. (2008). Update of nutrient-deficiency
anemia in elderly patients. European Journal of Internal Medicine. 19(2008),488-493.
Balducci, L. (2003). Epidemiology of Anemia in the elderly: Information on diagnostic
evaluation. Journal of the American Geriatrics Society. 51(3),52-59.
Balducci, L., Ershler, W. B. & Krantz, S. (2006). Anemia in the elderly-clinical findings and
impact on health. Oncology/Hematology. 58,156-165.
Caruso, L. B., & Silliman, R. A. (2008). Geriatric medicine. In D. L. Kasper, E. Braunwald, A. S.
Fauci, S. L. Hauser, D. L. Longo, & J. L. Jameson (Eds.), Harrisons’ Principles of Internal
Medicine (17th
ed., pp. 53–62). New York: McGraw-Hill Medical Publishing.
12
Chaves, P. H., Ashar, B., Guralnik, J. M., & Fried, L. P. (2002). Look at the relationship between
hemoglobin concentration and prevalent mobility difficulty in older women. should
the criteria currently used to define anemia in older people be reevaluated. Journal
of the American Geriatric Society, 50, 1257–1264.
Corbett, T. C., & Buchsel, P. C. (2005). Management of clients with hematologic disorders. In
Black, J. W., & Hawks, J. H. (eds.) Medical-Surgical Nursing: Clinical Management for
Positive outcomes (7th
ed.) (vol.2). 2271-2285. Elsevier Sauders: St. Louis.
De Benoist, B., McLean, E., Egli, I. & Cogswell, M. (2008). Worldwide Prevalence of Anaemia
1993-2005. WHO Global Database on Anaemia. WHO, Geneva. Retrieved November
10, 2012, From htt://tinyurl.com/n6pgoc
Dharmarajan, T. S. & Dharmarajan, L. (2007). Anemia in older adults: An indicator requiring
evaluation. Family Practice Recertification. 29(6), 16-26.
Duh, M. S., et al. (2008). Anemia and the risk of Injurious fall in a Community-Dwelling Elder
population. Drugs Aging. 25(4), 325-334.
Guralnik, J. M., Eisentstaedt, R. S., Ferrucci, L. M., Klein, H. G., & Woodman, R. C. (2004).
Prevalence of anemia in persons 65 years and older in the United States: Evidence
for a high rate of unexplained anemia. Blood,104(8), 2263–2268.
Izaks, G, J., Westendrop, R, G, J., & Knook, D, L. (1999). The definition of anemia in older
persons. JAMA; 281(18):1714-7.
Malouf, R & Evans, J. G. (2009). Folic acid with or without vitamin B12 for the
prevention and treatment of healthy elderly and demented people. Retrieved
November 10, 2012, From http://www.thecochranelibrary.com
Malouf, R. & Sastre, A. A. (2009). Vitamin B12 for cognition. Retrieved November 10, 2012,
From http://www.thecochranelibrary.com
Palazuolli, A., Gallotta, M., Iovine, F., & Silverberg, D. S. (2008). Anaemia in heart failure : a
common interaction with renal insuffiency called the cardio-renal anaemia
syndrome. International Journal of Clinical Practice, 62, 281-286.
Petrosyan, I., Blaison, G., Andres, E. & Federici, L. (2012). Anemia in the elderly: An aetiologc
profile of prospective cohort of 95 hospitalised patients. European Journal of Internal
Medicine. 23(6), 524-528.
Shavelle, R. M., MacKenzie, R. & Paculdo, D. R. (2012). Anemia and mortality in older person:
does the type of anemia affect survival?. International Journal of Hematology. 95,
248-256.
Sabol et al. (2010). Anemia and it impact on function in nursing home residents: What do we
know. Journal of the American Academy of Nurse Practitioners. 22, 3-16.
Umegaki, H., Yanagawa, M. & Endo, H. (2011). Association of lower hemoglobin level with
depressive mood in elderly women at high risk of requiring care. Japan Geriatrics
Society. 11, 262-266.
13
Woodman, R., Ferrucci, L. & Guralnik, J. (2005). Anemia in older adults. Current Opinion in
Hematology. 12(2), 123-128.
Wu, W., Rathore, S., Wang, Y., Radford, M. & Krumholz, H. (2001). Blood transfusion in elderly
patients with acute myocardial infarction. The New England Journal of
Medicine.345,230-6.
14
คําถามท้ายบทความ
1. เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะซีดคือข้อใด
1. เพศชายมีระดับ Hb = 15 g/dl, Hct = 40 mg%
2. เพศหญิงมีระดับ Hb <15 g/dl,Hct < 36 mg%
3. เพศชายมีระดับ Hb <13 g/dl, Hct < 40 mg%
4. เพศหญิงมีระดับ Hb=13 g/dl, Hct =36 mg%
2. ข้อใดอธิบายการเกิดภาวะซีดในผู้สูงอายุได้ถูกต้อง
1. กระบวนการสูงอายุส่งผลให้การทําลายเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น
2. กระบวนการอักเสบเรื้อรังส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
3. การทํางานของไตลดลงทําให้การสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินลดลง
4. เลือดไปเลี้ยงระบบทางเดินอาหารเพิ่มขึ้นทําให้การดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น
3. ผลกระทบระยะยาวของภาวะซีดในผู้สูงอายุที่สําคัญที่สุดคือข้อใด
1. หกล้ม
2. สมองเสื่อม
3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง
4. การทํากิจวัตรประจําวันลดลง
4. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุรายใดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดมากที่สุด
1. เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย
2. รับประทานผักสด ผลไม้ทั้งเปลือกเป็นประจํา
3. ดื่มน้ําน้อย ท้องผูก ถ่ายลําบาก มีเลือดปนบางครั้ง
4. ซื้อยาแก้ปวดกลุ่ม NSID รับประทานเมื่อมีอาการปวด
5. ข้อใด ไม่ใช่ คําแนะนําในการป้องกันภาวะซีดที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในผู้สูงอายุ
1. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ
2. รับประทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
3. ควรรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวบ่อยครั้ง
4. ควรดื่มนมพร้อมกับการรับประทานยาธาตุเหล็ก
6. ผู้สูงอายุมาปรึกษาพยาบาลว่า มักมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะเวลาเปลี่ยนท่าบ่อยครั้ง กลัวว่าจะเกิด
อุบัติเหตุ ท่านจะให้คําแนะนําผู้สูงอายุรายนี้อย่างไร
1. ให้เปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ
2. ให้ไปตรวจวัดความดันโลหิต
3. ออกกําลังกายตอนเช้าทุกวัน
4. หลับตาก่อนเปลี่ยนท่าทางทุกครั้ง
15
สถานการณ์ใช้ตอบคําถามข้อ 7-9
ผู้สูงอายุ ไม่มีโรคประจําตัว มาโรงพยาบาลด้วยอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยและใจเต้นเร็วเวลาออกแรง
มีอาการเวียนศีรษะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเวลาลุกจากที่นอน ตรวจร่างกายพบเปลือกตาวซีด ปลายมือปลายเท้า
เย็นชื้น
7. ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ ข้อใด ไม่จําเป็น ในการค้นหาสาเหตุของภาวะซีด
1. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
2. รับประทานอาหารต้มเปื่อย
3. รับประทานยาแก้ปวดเป็นประจํา
4. รับประทานเครื่องในสัตว์เป็นประจํา
8. ผลตรวจเลือดพบ Hb = 4.5 mg/dl ภาวะแทรกซ้อนที่พยาบาลควรเฝ้าระวังมากที่สุดในผู้ป่วยรายนี้คือข้อ
ใด
1. อุบัติเหตุ
2. หัวใจวายเลือดคั่ง
3. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
4. การทําหน้าที่ของร่างกายลดลง
9. แพทย์มีแผนการรักษาให้ O2 cannular 3 LPM, จอง PRC 2 unit , FBC 1x3 pc, Folic acid 1x1
pc การพยาบาล อันดับแรก เพื่อลดการใช้ออกซิเจนคือข้อใด
1. ให้ PRC
2. ให้ได้รับยา
3. ให้ออกซิเจน
4. ให้พักบนเตียง
10. ผู้สูงอายุ โรคไตเรื้อรัง บ่นเหนื่อยง่ายเวลาทํากิจกรรม รู้สึกใจสั่นเวลาออกแรง ตรวจร่างกายพบเปลือกตา
ซีด Hb = 7 mg/dl การพยาบาลที่สําคัญที่สุดสําหรับผู้สูงอายุรายนี้คือข้อใด
1. ปรึกษาแพทย์ในการให้เลือด
2. ติดตามอาการ เหนื่อย หายใจลําบาก
3. วางแผนการทํากิจกรรมสําหรับผู้ป่วย
4. ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย

More Related Content

What's hot

11แผน
11แผน11แผน
11แผนFmz Npaz
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuipiyarat wongnai
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็กRofus Yakoh
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)Weerawan Ueng-aram
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)pueniiz
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)piyarat wongnai
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจtechno UCH
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำNickson Butsriwong
 
Cvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringCvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringpiyarat wongnai
 
แนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาล
แนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาลแนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาล
แนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาลpiyarat wongnai
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อUtai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผน
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็ก
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)
 
จำแนกประเภท
จำแนกประเภทจำแนกประเภท
จำแนกประเภท
 
EKG in ACLS
EKG in ACLSEKG in ACLS
EKG in ACLS
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
 
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชนคู่มือยาจิตเวชชุมชน
คู่มือยาจิตเวชชุมชน
 
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
1.6.3 สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
 
Cvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoringCvp central venous pressure monitoring
Cvp central venous pressure monitoring
 
แนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาล
แนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาลแนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาล
แนวปฏิบัติการพยาบาลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตภายในโรงพยาบาล
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
 

Viewers also liked

การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจKrongdai Unhasuta
 
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัดการดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัดtechno UCH
 
การดูดเสมหะ Paramedic msu
การดูดเสมหะ Paramedic msuการดูดเสมหะ Paramedic msu
การดูดเสมหะ Paramedic msuNantawan Tippayanate
 
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิดNeonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิดNarenthorn EMS Center
 

Viewers also liked (6)

Ems hypovolemic shock
Ems hypovolemic shockEms hypovolemic shock
Ems hypovolemic shock
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
 
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัดการดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
การดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบำบัด
 
การดูดเสมหะ Paramedic msu
การดูดเสมหะ Paramedic msuการดูดเสมหะ Paramedic msu
การดูดเสมหะ Paramedic msu
 
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิดNeonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
Neonatal resuscitation การช่วยฟื้นชีวิตทารกและทารกแรกเกิด
 
Airway (Thai)
Airway (Thai)Airway (Thai)
Airway (Thai)
 

Similar to ภาวะซีด

วัฒนา
วัฒนาวัฒนา
วัฒนาsupphawan
 
Aging and androgen augmentation therapy
Aging and androgen augmentation therapyAging and androgen augmentation therapy
Aging and androgen augmentation therapyUtai Sukviwatsirikul
 
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric CarePolyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Carekridauakridathikarn
 
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Kamol Khositrangsikun
 
ให้ความรู้สู้โรคเบาหวาน
ให้ความรู้สู้โรคเบาหวานให้ความรู้สู้โรคเบาหวาน
ให้ความรู้สู้โรคเบาหวานMay Pasapun
 
2007821172158 466 6438_1
2007821172158 466 6438_12007821172158 466 6438_1
2007821172158 466 6438_1New Srsn
 
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”เทพไซเบอร์ฯ ร้านค้าดอทคอม
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf60941
 
เบาหวาน
เบาหวานเบาหวาน
เบาหวานiceconan25
 
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555Utai Sukviwatsirikul
 
โรคจากการสูบบุหรี
โรคจากการสูบบุหรีโรคจากการสูบบุหรี
โรคจากการสูบบุหรีWan Ngamwongwan
 
Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1vora kun
 
กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3Wan Ngamwongwan
 
เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)
เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)
เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)Wan Ngamwongwan
 

Similar to ภาวะซีด (20)

วัฒนา
วัฒนาวัฒนา
วัฒนา
 
Pah guideline 2013
Pah guideline 2013Pah guideline 2013
Pah guideline 2013
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
Aging and androgen augmentation therapy
Aging and androgen augmentation therapyAging and androgen augmentation therapy
Aging and androgen augmentation therapy
 
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric CarePolyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
 
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
 
ให้ความรู้สู้โรคเบาหวาน
ให้ความรู้สู้โรคเบาหวานให้ความรู้สู้โรคเบาหวาน
ให้ความรู้สู้โรคเบาหวาน
 
Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560
Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560
Ncd forum2016แผนการดำเนินงาน ปี 2560
 
2007821172158 466 6438_1
2007821172158 466 6438_12007821172158 466 6438_1
2007821172158 466 6438_1
 
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
การป้องกันโรคไตแบบบูรณาการ “งานของหมอและประชาชน”
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
 
เบาหวาน
เบาหวานเบาหวาน
เบาหวาน
 
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืด ในประเทศไทย V.5 สําหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555
 
District health system
District health systemDistrict health system
District health system
 
โรคจากการสูบบุหรี
โรคจากการสูบบุหรีโรคจากการสูบบุหรี
โรคจากการสูบบุหรี
 
Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1Step3 Tutorial by SWU book1
Step3 Tutorial by SWU book1
 
กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3
 
เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)
เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)
เรื่อง โรคหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis)
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 

ภาวะซีด

  • 1. 1 การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด พรทิพย์ สารีโส พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่) สํานักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อศึกษาบทความนี้แล้ว จะสามารถ 1. ระบุสาเหตุ อาการ อาการแสดง การวินิจฉัยและการรักษาผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดได้ 2. อธิบายพยาธิสรีรภาพของการเกิดภาวะภาวะซีดในผู้สูงอายุได้ถูกต้อง 3. ระบุผลกระทบของภาวะซีดที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้ถูกต้อง 4. วางแผนการพยาบาลเพื่อให้การพยาบาลแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดได้ถูกต้อง บทนํา ภาวะซีดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามประชากรผู้สูงอายุของประเทศ ผลที่ตามมาจากภาวะซีดมีได้ตั้งแต่อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันลดลง พลัดตกหกล้ม กระดูกหัก ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน ผู้สูงอายุ ความบกพร่องในการรู้คิด โรคสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า ระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานขึ้นและ อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น ดังนั้น จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ภาวะซีดในผู้สูงอายุจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อ ลดอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะซีด ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ทําให้คุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคซึ่งเป็นผลตามมา พยาบาลเป็นบุคลากรที่ ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด จึงควรมีบทบาทในการป้องกันภาวะซีดและการรักษาพยาบาลเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดตามมาได้ คําจํากัดความของภาวะซีด ภาวะซีดหรือโลหิตจาง (Anemia) หมายถึง ภาวะที่มีจํานวนเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์หรือระดับ ฮีโมโกลบิน (Hb) ในเลือดต่ํากว่าปกติ ทําให้การขนส่งออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อไม่เพียงพอ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้กําหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะซีดในผู้ใหญ่เพศชายมีระดับ Hb น้อยกว่า 13 g/dl และในเพศหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์น้อยกว่า 12 g/dl (De Benoist, et al., 2008) อุบัติการณ์ของภาวะซีดในผู้สูงอายุ อุบัติการณ์ของภาวะซีดในผู้สูงอายุในต่างประเทศ มีความแตกต่างกันในแต่ละงานวิจัยซึ่งพบว่า อยู่ ระหว่างร้อยละ 5.5-37.8 โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ประเทศไทยพบผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดอยู่ระหว่างร้อย ละ 16.5-62.6 (สุรีย์พันธุ์ บุญวิสุทธิ์ พิมพร วัชรางค์กุล สมศรี ภู่ศรีม่วง ศิริพร จันทร์ฉาย และแสงโสม สี นะวัฒน์, 2541; กันยา แผนกุลม 2545; ภูวดล พลศรีประดิษฐ์, 2547; งามเนตร ทองฉิม, 2551) จากรายงาน การสํารวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ระหว่างปี พ.ศ.2551-2552 โดยสํานักงาน สํารวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.) พบภาวะซีดเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น จนสูงสุดร้อยละ 60.7 ในกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ความชุกของภาวะซีดในเพศหญิงสูงกว่าเพศชายทุกกลุ่มอายุ แต่มีความใกล้เคียงกันเมื่ออายุ มากกว่า 80 ปีขึ้นไป (วิชัย เอกพลากร, 2552)
  • 2. 2 สาเหตุของภาวะซีดในผู้สูงอายุ ภาวะซีดโดยทั่วไปมีสาเหตุหลักๆ 3 ประการคือ 1) การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง 2) การทําลายเม็ด เลือดแดงมากขึ้นและ 3) เสียเลือด สําหรับภาวะซีดที่พบในผู้สูงอายุสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการสร้างเม็ด เลือดแดงลดลงหรือมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ (Balducci, 2003; Guralnik, Eisentstaedt, Ferrucci, Klein, & Woodman, 2004; Petrosyan, Blaison, Andres, & Federici, 2012; Shavelle, MacKenzie, & Paculdo, 2012) ได้แก่ 1. ขาดสารอาหาร เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการขาดธาตุเหล็ก โฟเลตและ วิตามินบี 12 (Woodman, Ferrucci, & Guralnik, 2005; De Benoist, et al., 2008) ธาตุเหล็กเป็น สารอาหารที่มีความจําเป็นต่อการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน (Hb synthesis) ส่วนโฟเลตและวิตามินบี 12 มี ประโยชน์ต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA synthesis) เมื่อร่างกายขาดสารอาหารที่จําเป็นเหล่านี้จะมีผลทําให้ เม็ดเลือดแดงมีการเจริญเติบโตผิดปกติและผิดรูปร่างได้ (Palazuolli, Gallotta, Iovine, & Silverberg, 2008) สารอาหารประเภทโฟเลต วิตามินบี 12 และวิตามินซี ยังช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ดังนั้น เมื่อขาด สารอาหารดังกล่าวจึงส่งผลให้ระดับความรุนแรงของภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นด้วย ภาวะซีดจาก การขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ ยังเกิดจากการทํางานของระบบย่อยอาหารลดลง กล่าวคือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ต้องใช้ฟันปลอมในการบดเคี้ยวอาหาร มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเหงือก ทําให้รับประทานอาหารไม่สะดวก รับประทานอาหารได้น้อยลง อีกทั้งการทํางานของต่อมรับรส การหลั่งเอ็นไซม์ทั้งในกระเพาะอาหารและลําไส้ เล็กลดลง การบีบตัวของลําไส้และพื้นที่ในการดูดซึมสารอาหารลดลง รวมถึงระบบการไหลเวียนเลือดในระบบ ทางเดินอาหาร (splanchnic circulation) ก็ลดลงด้วย (Caruso, & Silliman, 2008) ทําให้อาหารค้างอยู่ใน กระเพาะอาหารนานขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อกระบวนการย่อยและการดูดซึมอาหารของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุรู้สึกรับประทานอาหารไม่อร่อย ไม่อยากรับประทาน ส่งผลให้รับประทานอาหารไม่เพียงพอ (ภูวดล พลศรีประดิษฐ์, 2547; ณัฐติยา เตียวตระกูล, 2554; Palazuolli, Gallotta, Iovine, & Silverberg, 2008) 2. โรคเรื้อรังหรือการอักเสบเรื้อรัง เชื่อว่าเมื่อมีการติดเชื้อจะทําให้มีการปล่อยไซโตไคน์เข้าไปใน กระแสเลือด ทําให้ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กและทําให้เกิดภาวะซีด ตามมาได้ นอกจากนั้น สารไซโตไคน์ที่หลั่งมาจากกระบวนการอักเสบจะไปกดการสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิติน (erythropoietin) และทําให้ช่วงชีวิต (life span) ของฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินสั้นลง จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ที่มีการ ติดเชื้อเกิดภาวะซีด นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีการสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินลดลง จึงทําให้ผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคไตเรื้อรังเกิดภาวะซีดขึ้นได้ ซึ่งโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นตามหลังโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง (Woodman, Ferrucci, & Guralnik, 2005). 3. กระบวนการเสื่อมตามอายุ (Aging process) เมื่ออายุมากขึ้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภายในเซลล์ไขกระดูก มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงทดแทนเซลล์เก่าช้าลง ทําให้จํานวนเม็ดเลือดแดงและ ระดับ Hb ลดลง รวมถึงการทําหน้าที่ของไตลดลงจึงอาจส่งผลให้การสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินลดลง ซึ่ง ฮอร์โมนชนิดนี้มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับการสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินที่ ลดลง โดยที่ไม่จําเป็นต้องมีโรคไตร่วม (ณัฐติยา เตียวตระกูล, 2554; วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2554) จึงทําให้เกิด ภาวะซีดตามมาได้
  • 3. 3 4. ไม่ทราบสาเหตุ พบถึงร้อยละ 34-39 ของผู้ที่มีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 65 ปี ส่วนใหญ่จะมี ลักษณะซีดในระดับเพียงเล็กน้อย ทําให้ไม่ได้รับการวินิจฉัย (Guralnik, Eisentstaedt, Ferrucci, Klein, & Woodman, 2004; Shavelle, MacKenzie, & Paculdo, 2012) พยาธิสรีรภาพของการเกิดภาวะซีดในผู้สูงอายุ ภาวะซีดส่งผลให้มีการลดลงของ Hb ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในเม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย 4 หน่วยย่อย ในแต่ละหน่วยย่อยมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบและในแต่ละหน่วยของ Hb มีความสามารถในการจับกับ ออกซิเจนได้ 1 หน่วยโมเลกุล ดังนั้นถ้าจํานวนของ Hb ลดลง ส่งผลให้การขนส่งออกซิเจนลดลง ร่างกายจะมี การปรับตัวโดยหัวใจทํางานมากขึ้น บีบตัวและเต้นเร็วขึ้นเพื่อให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาที (cardiac output; CO) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้มากขึ้น ผลที่ตามมาจากการบีบตัวมากขึ้น ของหัวใจทําให้ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนเพิ่มขึ้น ผนังภายในหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้นจากการทํางาน ที่หนัก ส่งผลให้ CO ลดลงและการกําซาบของออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อก็ลดลงด้วย อาการและอาการแสดง ภาวะซีดที่พบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยเท่านั้น จึงมักไม่มีอาการและอาการแสดง อย่างไรก็ ตาม ภาวะซีดระดับรุนแรงส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทําให้เกิดภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง จนกระทั่ง อาจทําให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอาการและอาการแสดงนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับความรุนแรงของ ภาวะซีด ความเร็วในการสูญเสียเลือด ระยะเวลาของการเกิดภาวะซีด อายุ อาการและอาการแสดงของโรค ร่วมอื่นๆ ตัวกําหนดความรุนแรงของภาวะซีดคือระดับของ Hb ในเลือด ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ระดับความรุนแรงของภาวะซีดและอาการแสดงทางคลินิก (Corbett & Buchsel, 2005) Hb level degree อาการแสดงทางคลินิก (clinical manifestations) 10-12 g/dl mild โดยปกติจะไม่แสดงอาการ (asymptomatic) อาจมีเพียงอาการเหนื่อย เวลาออกแรง (dyspnea on exertion; DOE) 6-10 g/dl moderate หายใจลําบาก (short of breath) ใจสั่น (palpitation) เหงื่ออก มากกว่าปกติเมื่อทํากิจกรรมที่ต้องใช้แรง และมีอาการอ่อนเพลียหรือ อ่อนล้าอย่างเรื้อรัง < 6 g/dl severe ผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบในร่างกาย (multiple body system) โดยอาการแสดงจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะซีด (ตารางที่ 2) แต่ในผู้ป่วยที่เป็น (chronic renal failure) อาจไม่มีอาการเนื่องจาก ภาวะซีดเกิดขึ้นอย่างช้าและเป็นเรื้อรัง
  • 4. 4 ตารางที่ 2 อาการและอาการแสดงในผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดรุนแรง (ระดับของ Hb < 6 g/dl) (Corbett & Buchsel, 2005) ระบบ/ อวัยวะที่ตรวจพบ อาการแสดงทางคลินิก อาการทั่วไป ซีด (pallor) อ่อนเพลีย (fatigue) มีความรู้สึกไม่สบาย (malaise) อ่อนแรง (weakness) ไข้ (fever) เหนื่อยหรือหายใจลําบากเมื่อมีการออกแรงหรือทํา กิจกรรมที่ต้องใช้แรง ปวดศีรษะ (headache) เวียนศีรษะ (vertigo) ไวต่อ การกระตุ้นจากอากาศเย็น น้ําหนักลด ผิวหนัง ซีด เย็นชื้น เหลือง (พบในผู้ป่วยที่เป็น hemolytic anemia) เห็นได้ชัด บริเวณริมฝีปาก เยื่อบุตา ฝ่ามือ เหงือก ใบหู ผิวแห้ง เล็บเปราะ หรือมี spoon nail ตา ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ตาเหลืองและอาจมีเลือดออกใน retina (พบใน ผู้ป่วยที่เป็น hemolytic anemia) ปาก เยื่อบุกระพุ้งแก้มเรียบ ลิ้นเลี่ยนมัน (glossy tongue) ลิ้นเป็นแผล ระบบหายใจ หายใจลําบาก (dyspnea) นอนราบไม่ได้ (orthopnea) ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) ใจสั่น (palpitation) พบเสียง murmur เจ็บ หน้าอก (angina pain) หัวใจโต (cardiomegaly) อาการปวดขาเป็นระยะ เหตุจากการขาดเลือด (intermittent claudication) หัวใจวาย (heart failure) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) ระบบทางเดินอาหาร เบื่ออาหาร (anorexia) การกลืนลําบาก (dysphagia) อาเจียนเป็นเลือด (hematemesis) อุจจาระเป็นมัน (tarry stool) ตับโต (hepatomegaly) ม้ามโต (splenomegaly) ระบบทางเดินปัสสาวะและ ระบบสืบพันธุ์ ภาวะขาดระดู (amenorrhea) ปัสสาวะมีเลือดปน (hematuria) ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม (fainting) สับสน เฉื่อยชา คิดช้า สมาธิสั้น ซึมเศร้า การรับความรู้สึกที่ส่วนปลายผิดปกติ (paresthesia) การตรวจวินิจฉัยภาวะซีดในผู้สูงอายุ การวินิจฉัยภาวะซีดในผู้สูงอายุนั้น ประกอบด้วย การซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยคัดกรองภาวะซีด โดยเฉพาะการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (complete blood count; CBC) ร่วมกับการย้อมสีเม็ดเลือดและการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (peripheral blood smear) โดย ดูจากค่าความเข้มข้นของเลือดหรือฮีมาโตคริต (Hct) หรือ Hb นอกจากนี้อาจดูได้จาก mean corpuscular volume (MCV) หรือ red cell distribution width (RDW) หรือ red cell morphology index (RCMI) เมื่อพบว่าค่าต่ํากว่าปกติถือว่ามีภาวะซีด (ปราณี ทู้ไพเราะและพิจิตรา เล็กดํารงกุล, 2554) อย่างไรก็ตาม การ ตรวจ CBC เป็นเพียงคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดเบื้องต้นเท่านั้น การค้นหาสาเหตุเป็นสิ่งจําเป็นที่จะช่วยให้ ผู้สูงอายุได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะลดอัตราการตายและความรุนแรงของโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุได้ WHO กําหนดค่าปกติความเข้มข้นของเลือด ดังตารางที่ 3 ถ้าผลการตรวจมี ค่าที่ต่ํากว่า ปกติถือว่ามีภาวะซีด
  • 5. 5 ตารางที่ 3 เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซีด (Corbett & Buchsel, 2005) Hb (g/dl) Hct (mg%) Adult Male 13.0 40 Female 12.0 36 Pregnant 1st &3rd trimester 2nd trimester 11.0 10.5 33 Child 6-14 years 12.0 36 6 months-6 years 11.0 33 ผลกระทบของภาวะซีดในผู้สูงอายุ ผลกระทบของภาวะซีดในผู้สูงอายุขึ้นกับระยะเวลาและระดับความรุนแรงของภาวะซีด ถ้าภาวะซีด ไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง อาจส่งผลรุนแรงจนกระทั่งทําให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้ จากการทบทวนวรรณกรรม พบภาวะซีดมีผลต่อภาวะสุขภาพ ดังนี้ 1. อัตราตายและการนอนโรงพยาบาล (mortality and hospitalization) ภาวะซีดทําให้อัตรา ตายในผู้สูงอายุสูงขึ้นและทําให้ระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานขึ้นอีกด้วย ในผู้สูงอายุเพศชายและหญิงที่มีอายุ ตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มเป็น 2 เท่า (p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีระดับ Hb อยู่ในเกณฑ์ปกติ (Izaks, Westendrop, & Knook, 1999) นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันที่มีระดับของ Hb ต่ํา มีความสัมพันธ์กับ อัตราการตายที่สูงขึ้น และทําให้มีความเสี่ยงต่อการเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นด้วย (Wu, Rathore, Wang, Radford, & Krumholz, 2001) 2. การทําหน้าที่ของร่างกาย (physical functioning) ผู้ที่มีภาวะซีดในระดับน้อยมักจะทํา กิจกรรมต่างๆ ได้ลดลง มีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ทํากิจวัตรประจําวันได้ลดลง หน้า มืด ตาลาย วิงเวียนศีรษะเวลาออกแรง เนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองน้อย ผู้สูงอายุจะมีความสามารถใน การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันต่างๆ ได้น้อยลง รวมถึงประสิทธิภาพการทํางานของร่างกายลดลงด้วย เช่น การ ทรงตัว ความเร็วในการเดิน การลุกจากเก้าอี้ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตลดลง โดยผู้สูงอายุที่มีระดับ ของ Hb > 12 กรัมต่อเดซิลิตร จะมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แรงในการบีบมือ แรงของการเหยียดข้อเข่า ความสามารถในการลุกจากเก้าอี้ การทรงตัวและความเร็วในการเดินดีกว่าผู้สูงอายุที่มีระดับ Hb < 12 กรัมต่อ เดซิลิตร (กันยา แผนกุล, 2545; Chaves, Ashar, Guralnik, & Fried, 2002; Dharmarajan, & Dharmarajan, 2007; Sabol, et al., 2010) 3. การเกิดภาวะหกล้ม เนื่องจากภาวะซีดทําให้ความแข็งแรงและมวลความหนาแน่นของกล้ามเนื้อ ลดลง จึงส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อเกิดการพลัดตกหกล้มและกระดูกหักได้ง่าย 4. ระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะซีดก่อให้เกิดโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยที่ผู้สูงอายุ ไม่เคยมีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุ มีอาการหัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดปกติ เหนื่อย ง่าย (Dharmarajan, & Dharmarajan, 2007) ด้วยเหตุที่ CO เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียน สูงขึ้น ทําให้ผนังภายในกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวขึ้น ประสิทธิภาพในการบีบตัวลดลง ส่งผลให้เกิด
  • 6. 6 ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและภาวะหัวใจวายเลือดคั่งซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ตามมาได้ (Andres, Federici, Serraj, & Kaltenbach, 2008) 5. ระบบประสาท ผู้สูงอายุที่ภาวะซีดจะเกิดความบกพร่องในการรู้คิด ได้แก่ ความสามารถในการ บริหารความคิด เช่น การวางแผน การตรวจตราและการแก้ปัญหา ทําให้ไม่สามารถจัดการกับกิจกรรมใน ชีวิตประจําวันได้และในระยะยาวอาจทําให้เกิดโรคสมองเสื่อม (Malouf, & Evans, 2009) 6. ด้านจิตใจ เนื่องจากภาวะซีดส่งผลให้ผู้สูงอายุทํากิจวัตรประจําวันได้ลดลง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะ หกล้ม กระดูกหัก ซึ่งอาจทําให้ผู้สูงอายุต้องกลายเป็นบุคคลพึ่งพาบุคคลอื่น จึงอาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ ตามมาได้ ยิ่งกว่านั้น ในระยะยาวยังส่งผลให้ผู้สูงอายุเพศหญิงมีภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย (Umegaki, Yanagawa, & Endo, 2011) การรักษาภาวะซีด การรักษาผู้ป่วยภาวะซีดที่สําคัญที่สุดคือ การค้นหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ โดยมีแนวทางการ รักษา ดังนี้ (ปราณี ทู้ไพเราะและพิจิตรา เล็กดํารงกุล, 2554) 1. การรักษาทั่วไป เป็นการบําบัดอาการของภาวะซีด ในระหว่างการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น - การให้ออกซิเจน ในผู้ป่วยภาวะซีดรุนแรง เพื่อช่วยป้องกันภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน (tissue hypoxia) และช่วยลดการทํางานของหัวใจ - การให้ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง - การให้ธาตุเหล็กทดแทน มักจะให้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซีดในระดับน้อย (mild anemia) ซึ่งอาจให้ ในรูปแบบยารับประทาน สําหรับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition syndrome) หรือไม่สามารถ รับประทานทางปากได้ หรือมีการเสียเลือดอย่างเรื้อรัง แพทย์อาจพิจารณาให้ธาตุเหล็กทางหลอดเลือดดํา - การให้เลือดทดแทน (blood transfusion) เป็นการรักษาที่จําเป็น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะซีด จากการเสียเลือดแบบเฉียบพลันจาการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุหรือผู้ป่วยที่มีภาวะซีดรุนแรง 2. การรักษาเฉพาะ เป็นการรักษาที่สาเหตุ โดยเน้นการให้ยาหรือสารอาหารทดแทน เช่น ผู้ที่มีภาวะ ซีดจากการขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต จะรักษาโดยให้วิตามินบี 12 ร่วมกับการให้กรดโฟลิกทดแทน ซึ่งจะมี ผลช่วยลดความเข้มข้นของสารโฮโมซีสเตอีนในเลือด (serum homocysteine) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคหัวใจ ขาดเลือด อีกทั้งกรดโฟลิกยังสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้และยังช่วยป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย (Malouf, & Sastre, 2009; Sabol, et al. 2010) ถ้าภาวะซีดเกิดจาก การขาดธาตุเหล็กจะรักษาโดยการให้ธาตุเหล็กทดแทน เป็นต้น 3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือผลกระทบที่เกิดจากภาวะซีด ที่พบมากในผู้สูงอายุได้แก่ ภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง รวมถึงภาวะหกล้ม กระดูกหัก การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 1. ผู้สูงอายุที่ไม่แสดงอาการ ผู้สูงอายุถึงแม้จะมีภาวะซีด แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดง เนื่องจาก ภาวะซีดอยู่ระดับน้อย ดังนั้น พยาบาลต้องตระหนักอยู่เสมอว่า “ผู้สูงอายุทุกรายมีภาวะซีด” ดังนั้นการ พยาบาลที่สําคัญจึงมุ่งเน้นการป้องกันการเกิดโรคอื่นๆ จากภาวะซีด โดยการค้นหาผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด การให้ ความรู้ คําแนะนําเพื่อป้องกันผลกระทบและลดอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะซีด รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
  • 7. 7 แนวทางป้องกันผลกระทบจากภาวะซีดสําหรับผู้สูงอายุที่ยังไม่แสดงอาการ มีดังนี้ 1) ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลควรติดตามผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการในผู้สูงอายุทุกราย เนื่องจากภาวะซีดในระดับน้อย จะไม่แสดงอาการ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ ซีดควรเน้นการทํางานแบบสหสาขาวิชาชีพ มีการประสานงานกับแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะซีด รวมถึงการให้สารอาหารหรือยาทดแทน นอกจากนี้ในแต่ละโรงพยาบาลควรมีแนวทางในการดูแลรักษาภาวะ ซีดในผู้สูงอายุที่ครอบคลุม เริ่มตั้งแต่การคัดกรอง การดูแลรักษา การป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการ ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 2) ผู้สูงอายุในชุมชน ควรได้รับการคัดกรองภาวะซีด โดยการซักประวัติเพื่อค้นหาอาการที่อาจ เกิดจากภาวะซีด รวมถึงพฤติกรรมสุขภาพที่อาจทําให้เกิดภาวะซีด อันจะช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วยจนต้องเข้า รับการรักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้ภาวะซีดในระดับน้อย อาจส่งผลต่อการทํากิจวัตรประจําวันของ ผู้สูงอายุ เช่น มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ ลดลงได้ อีกทั้งควรเน้นการทํางานแบบสหสาขาวิชาชีพ เนื่องจากปัญหาในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่ซับซ้อน เช่น ทันตแพทย์ เข้ามาดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปาก นักโภชนาการเข้ามาให้คําแนะนําเรื่องอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง หรืออาหารที่ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ควรนํา อ.ส.ม.เข้ามามีส่วนร่วม และใช้แหล่งประโยชน์ใน ชุมชน โดยเฉพาะ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สถานีอนามัยและโรงพยาบาลเครือข่าย ร้านค้าและตลาดนัดใน หมู่บ้าน ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (งามเนตร ทองฉิม, 2551) 2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด การพยาบาลจะมุ่งเน้นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอาการของ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะซีด เช่น อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ กระดูกหักจากการหกล้ม โรคทางหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น การบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะซีด เป้าหมายของการพยาบาล เพื่อเพิ่มพลังงาน หรือออกซิเจนให้กับผู้ป่วย ลดหรือสงวนการใช้พลังงานหรือการใช้ออกซิเจนและเฝ้าระวังอาการและอาการ แสดงของภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน แนวทางการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด โดยใช้กระบวนการพยาบาล มีดังนี้ 1) การประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด 1.1 การซักประวัติ - ปัญหาสุขภาพในอดีตที่มีผลทําให้เกิดภาวะซีดได้ เช่น พยาธิลําไส้ อุจจาระร่วงเรื้อรัง ประวัติการเลียเลือดบ่อย เช่น เลือดกําเดาออกเสมอๆ มีเลือดอกตามไรฟัน อุจจาระสีดํา หรือมีเลือดปน อุจจาระมีพยาธิ โรคเรื้อรังอื่นๆ ริดสีดวงทวาร โรคติดเชื้อ โรคตับ โรคไต เป็นต้น - ประวัติอาการที่อาจเกิดจากภาวะซีด เช่น อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายเวลา ทํางาน อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นต้น - ประวัติการรับประทานยาเป็นประจํา โดยเฉพาะยากลุ่ม NSAID เนื่องจากอาจมีการเสีย เลือดเรื้อรังได้ - พฤติกรรมสุขภาพที่อาจทําให้เกิดภาวะซีด เช่น การรับประทานอาหารที่ยับยั้งการดูดซึม ธาตุเหล็ก การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจํา เป็นต้น - ประวัติภาวะโลหิตจางในครอบครัว เช่น thalassemia G6PD เป็นต้น - ประเมินแบบแผนสุขภาพ โดยเน้นแบบแผนที่มีโอกาสเกิดปัญหา เช่น ความทนในการทํา กิจกรรม ภาวะโภชนาการ ภาวะติดเชื้อ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น
  • 8. 8 1.2 การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะระบบผิวหนัง เน้นบริเวณเนื้อเยื่อบางๆ เช่น เปลือกตา ฝ่า มือ ริมฝีปาก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรตรวจร่างกายให้ครบทุกระบบ เนื่องจากภาวะซีดที่รุนแรงจะทําให้ ผู้ป่วยเกิดอาการและอาการแสดงได้ในทุกระบบของร่างกายดังกล่าวแล้วข้างต้น 1.3 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยประเมินจาก CBC ซึ่งต้องประเมินทุกตัวที่กล่าวมา ข้างต้น โดยเฉพาะ Hb และ Hct เมื่อพบความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุของภาวะ ซีดและวางแผนการพยาบาลต่อไป
  • 9. 9 2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล ข้อวินิจฉัยทางการ พยาบาล เป้าหมายทางการ พยาบาล กิจกรรมการพยาบาล 1. ความทนต่อการทํา กิจกรรมลดลง เนื่องจากเนื้อเยื่อ ได้รับออกซิเจนไม่ เพียงพอ ผู้ป่วยมีความทน ต่อการทํากิจกรรม เพิ่มขึ้น 1. วางแผนในการทํากิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุโดย แบ่งเวลาที่จะให้ผู้ป่วยพักและกําหนดกิจกรรมโดยให้พักเป็นระยะๆ หยุดทํากิจกรรมเมื่อรู้สึกเหนื่อย 2. ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทํากิจวัตรประจําวันเท่าที่จําเป็นและส่งเสริมให้ผู้ป่วยทํากิจกรรมเองโดยเน้นกิจกรรมที่ ออกแรงน้อย 3. วางอุปกรณ์ของใช้ไว้ใกล้ตัวผู้สูงอายุ เพื่อสงวนพลังงาน 4. จํากัดคนเยี่ยม ถ้าเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พักผ่อนและเฝ้าติดตามสัญญาณชีพ Hct และ Hb เพื่อเป็นแนวทาง ในการวางแผนการทํากิจกรรม 5. ให้ยาที่จําเป็นต่อการสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กหรือ กรดโฟลิก เป็นต้น 6. ถ้าจําเป็นควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ packed RBCs เพื่อเพิ่มระดับ Hct ในเลือด 2. ได้รับอาหารไม่ เพียงพอกับความ ต้องการของร่างกาย เนื่องจากขาด ความรู้/เบื่ออาหาร/ การย่อยการดูดซึม ลดลง ได้รับอาหาร เพียงพอต่อความ ต้องการของ ร่างกาย 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่จําเป็นโดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ใน 1 วัน 2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานตามสาเหตุ ดังนี้ - ในผู้สูงอายุที่ขาดเหล็กแนะนําอาหารที่มีเหล็กสูง เช่น เลือดหมู เลือดไก่ ตับ เครื่องใน เนื้อสัตว์ เพิ่มอาหารที่ อุดมด้วยวิตามินซีเพื่อช่วยในการดูดซึมเหล็ก ผักพื้นบ้าน เช่น ผักกูด ผักโขม ขมิ้นขาว ดอกโสน ยอดมะกอก กระถิน ใบชะพลู ขี้เหล็ก เป็นต้น แนะนําให้หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เพราะขัดขวางการดูดซึมเหล็ก ให้ รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงเพราะจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น - ผู้สูงอายุที่ขาดโฟเลตแนะนําอาหารที่มี โฟเลตสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ถั่ว เนื้อสัตว์ นม ไข่ และไม่ประกอบอาหาร สุกจนเกินไป 3. ในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องรับประทานยาธาตุเหล็กเสริม ควรให้แนะนํา ดังนี้ - หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ นม พร้อมอาหารหรือยาเพราะขัดขวางการดูดซึมเหล็ก
  • 10. 10 ข้อวินิจฉัยทางการ พยาบาล เป้าหมายทางการ พยาบาล กิจกรรมการพยาบาล - แนะนําให้รับประทานยาพร้อมอาหารทันทีเนื่องจากยาอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและอาจทําให้เกิด อาการคลื่นไส้อาเจียนได้ - ในระหว่างรับประทานยาที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กผู้สูงอายุอาจมีอาการท้องผูก จึงควรแนะนําให้ รับประทานอาการที่มีกากใยสูง - ควรรับประทานยาธาตุเหล็กร่วมกับวิตามินซีหรือน้ําส้มเพื่อช่วยในการดูดซึม - อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ธาตุเหล็กได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสีย และถ่าย อุจจาระสีดํา 4. แนะนําให้รับประทานครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งในแต่ละวัน 5. ชั่งน้ําหนักทุกวันเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ 6. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุบันทึกรายการอาหารประจําวัน (food daily) เพื่อประเมินอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน 7. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดูแลสุขอนามัยในช่องปากที่ดี 3. มีโอกาสเกิด อุบัติเหตุในขณะที่ เปลี่ยนท่าเนื่องจาก อ่อนเพลีย/ ออกซิเจนไปเลี้ยง สมองไม่เพียงพอ จากเม็ดเลือดแดง น้อย ไม่เกิดอุบัติเหตุ 1. แนะนําให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ และพักเป็นระยะๆ 2. ช่วยเหลือผู้สูงอายุขณะลงจากเตียง หรือขณะเดิน 3. แนะนําการใช้กริ่งขอความช่วยเหลือ 4. ยกข้างเตียงให้สูงทุกครั้งที่ไม่มีคนอยู่กับผู้สูงอายุ 5. จัดสิ่งของต่างๆให้อยู่ใกล้ผู้สูงอายุ หยิบใช้ง่าย
  • 11. 11 สรุป การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีด เริ่มตั้งแต่การเฝ้าระวังภาวะซีดในผู้สูงอายุทุกราย การค้นหาสาเหตุที่ทํา ให้เกิดภาวะซีดเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการรักษาที่เหมาะสม การให้การพยาบาลเพื่อลดการใช้ออกซิเจนและ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาจากภาวะซีด การป้องกันภาวะซีดในผู้สูงอายุควรเน้นการให้คําแนะนํา เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กและ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก นอกจากนี้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซีดควร เน้นสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น เอกสารอ้างอิง กันยา แผนกุล. (2545). ภาวะโลหิตจางและปัจจัยที่นําไปสูภาวะโลหิตจางจากการธาตุเหล็กในผู้สูงอายุ ตําบล แม่แฝกใหม่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ ส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. งามเนตร ทองฉิม. (2551). โครงการของพยาบาลเวชปฏิบัติเพื่อการจัดการภาวะซีดสําหรับผู้สูงอายุในชนบท. วิทยานิพนธ์พยาบาลมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ณัฐติยา เตียวตระกูล. (2554). Anemia in Older Adults. โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 21(4), 267-272 ปราณี ทู้ไพเราะและพิจิตรา เล็กดํารงกุล. (2554). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซีด ใน ปราณี ทู้ไพเราะและ คณะ (บรรณาธิการ), การพยาบาลอายุรศาสตร์ 2 (หน้า 60-96). เอ็นพีเพรส: กรุงเทพฯ. ภูวดล พลศรีประดิษฐ์. (2547). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุบ้านสุขัง ตําบล ตะคุ อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา โภชนาการชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิชัย เอกพลากร. (2552). การสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. นนทบุรี : เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จํากัด. วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. โครงการตํารา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุรีย์พันธุ์ บุญวิสุทธิ์ พิมพร วัชรางค์กุล สมศรี ภู่ศรีม่วง ศิริพร จันทร์ฉาย และแสงโสม สีนะวัฒน์. (2541). ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุไทย. Retrieved November 11, 2012, From http://advisor.anamai.moph.go.th /213/21308.html Andres, E., Federici, L., Serraj, K & Kaltenbach, G. (2008). Update of nutrient-deficiency anemia in elderly patients. European Journal of Internal Medicine. 19(2008),488-493. Balducci, L. (2003). Epidemiology of Anemia in the elderly: Information on diagnostic evaluation. Journal of the American Geriatrics Society. 51(3),52-59. Balducci, L., Ershler, W. B. & Krantz, S. (2006). Anemia in the elderly-clinical findings and impact on health. Oncology/Hematology. 58,156-165. Caruso, L. B., & Silliman, R. A. (2008). Geriatric medicine. In D. L. Kasper, E. Braunwald, A. S. Fauci, S. L. Hauser, D. L. Longo, & J. L. Jameson (Eds.), Harrisons’ Principles of Internal Medicine (17th ed., pp. 53–62). New York: McGraw-Hill Medical Publishing.
  • 12. 12 Chaves, P. H., Ashar, B., Guralnik, J. M., & Fried, L. P. (2002). Look at the relationship between hemoglobin concentration and prevalent mobility difficulty in older women. should the criteria currently used to define anemia in older people be reevaluated. Journal of the American Geriatric Society, 50, 1257–1264. Corbett, T. C., & Buchsel, P. C. (2005). Management of clients with hematologic disorders. In Black, J. W., & Hawks, J. H. (eds.) Medical-Surgical Nursing: Clinical Management for Positive outcomes (7th ed.) (vol.2). 2271-2285. Elsevier Sauders: St. Louis. De Benoist, B., McLean, E., Egli, I. & Cogswell, M. (2008). Worldwide Prevalence of Anaemia 1993-2005. WHO Global Database on Anaemia. WHO, Geneva. Retrieved November 10, 2012, From htt://tinyurl.com/n6pgoc Dharmarajan, T. S. & Dharmarajan, L. (2007). Anemia in older adults: An indicator requiring evaluation. Family Practice Recertification. 29(6), 16-26. Duh, M. S., et al. (2008). Anemia and the risk of Injurious fall in a Community-Dwelling Elder population. Drugs Aging. 25(4), 325-334. Guralnik, J. M., Eisentstaedt, R. S., Ferrucci, L. M., Klein, H. G., & Woodman, R. C. (2004). Prevalence of anemia in persons 65 years and older in the United States: Evidence for a high rate of unexplained anemia. Blood,104(8), 2263–2268. Izaks, G, J., Westendrop, R, G, J., & Knook, D, L. (1999). The definition of anemia in older persons. JAMA; 281(18):1714-7. Malouf, R & Evans, J. G. (2009). Folic acid with or without vitamin B12 for the prevention and treatment of healthy elderly and demented people. Retrieved November 10, 2012, From http://www.thecochranelibrary.com Malouf, R. & Sastre, A. A. (2009). Vitamin B12 for cognition. Retrieved November 10, 2012, From http://www.thecochranelibrary.com Palazuolli, A., Gallotta, M., Iovine, F., & Silverberg, D. S. (2008). Anaemia in heart failure : a common interaction with renal insuffiency called the cardio-renal anaemia syndrome. International Journal of Clinical Practice, 62, 281-286. Petrosyan, I., Blaison, G., Andres, E. & Federici, L. (2012). Anemia in the elderly: An aetiologc profile of prospective cohort of 95 hospitalised patients. European Journal of Internal Medicine. 23(6), 524-528. Shavelle, R. M., MacKenzie, R. & Paculdo, D. R. (2012). Anemia and mortality in older person: does the type of anemia affect survival?. International Journal of Hematology. 95, 248-256. Sabol et al. (2010). Anemia and it impact on function in nursing home residents: What do we know. Journal of the American Academy of Nurse Practitioners. 22, 3-16. Umegaki, H., Yanagawa, M. & Endo, H. (2011). Association of lower hemoglobin level with depressive mood in elderly women at high risk of requiring care. Japan Geriatrics Society. 11, 262-266.
  • 13. 13 Woodman, R., Ferrucci, L. & Guralnik, J. (2005). Anemia in older adults. Current Opinion in Hematology. 12(2), 123-128. Wu, W., Rathore, S., Wang, Y., Radford, M. & Krumholz, H. (2001). Blood transfusion in elderly patients with acute myocardial infarction. The New England Journal of Medicine.345,230-6.
  • 14. 14 คําถามท้ายบทความ 1. เกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยภาวะซีดคือข้อใด 1. เพศชายมีระดับ Hb = 15 g/dl, Hct = 40 mg% 2. เพศหญิงมีระดับ Hb <15 g/dl,Hct < 36 mg% 3. เพศชายมีระดับ Hb <13 g/dl, Hct < 40 mg% 4. เพศหญิงมีระดับ Hb=13 g/dl, Hct =36 mg% 2. ข้อใดอธิบายการเกิดภาวะซีดในผู้สูงอายุได้ถูกต้อง 1. กระบวนการสูงอายุส่งผลให้การทําลายเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น 2. กระบวนการอักเสบเรื้อรังส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง 3. การทํางานของไตลดลงทําให้การสร้างฮอร์โมนอิริโทรโพอิตินลดลง 4. เลือดไปเลี้ยงระบบทางเดินอาหารเพิ่มขึ้นทําให้การดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น 3. ผลกระทบระยะยาวของภาวะซีดในผู้สูงอายุที่สําคัญที่สุดคือข้อใด 1. หกล้ม 2. สมองเสื่อม 3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง 4. การทํากิจวัตรประจําวันลดลง 4. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุรายใดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดมากที่สุด 1. เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย 2. รับประทานผักสด ผลไม้ทั้งเปลือกเป็นประจํา 3. ดื่มน้ําน้อย ท้องผูก ถ่ายลําบาก มีเลือดปนบางครั้ง 4. ซื้อยาแก้ปวดกลุ่ม NSID รับประทานเมื่อมีอาการปวด 5. ข้อใด ไม่ใช่ คําแนะนําในการป้องกันภาวะซีดที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในผู้สูงอายุ 1. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ 2. รับประทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง 3. ควรรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวบ่อยครั้ง 4. ควรดื่มนมพร้อมกับการรับประทานยาธาตุเหล็ก 6. ผู้สูงอายุมาปรึกษาพยาบาลว่า มักมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะเวลาเปลี่ยนท่าบ่อยครั้ง กลัวว่าจะเกิด อุบัติเหตุ ท่านจะให้คําแนะนําผู้สูงอายุรายนี้อย่างไร 1. ให้เปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ 2. ให้ไปตรวจวัดความดันโลหิต 3. ออกกําลังกายตอนเช้าทุกวัน 4. หลับตาก่อนเปลี่ยนท่าทางทุกครั้ง
  • 15. 15 สถานการณ์ใช้ตอบคําถามข้อ 7-9 ผู้สูงอายุ ไม่มีโรคประจําตัว มาโรงพยาบาลด้วยอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อยและใจเต้นเร็วเวลาออกแรง มีอาการเวียนศีรษะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเวลาลุกจากที่นอน ตรวจร่างกายพบเปลือกตาวซีด ปลายมือปลายเท้า เย็นชื้น 7. ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ ข้อใด ไม่จําเป็น ในการค้นหาสาเหตุของภาวะซีด 1. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด 2. รับประทานอาหารต้มเปื่อย 3. รับประทานยาแก้ปวดเป็นประจํา 4. รับประทานเครื่องในสัตว์เป็นประจํา 8. ผลตรวจเลือดพบ Hb = 4.5 mg/dl ภาวะแทรกซ้อนที่พยาบาลควรเฝ้าระวังมากที่สุดในผู้ป่วยรายนี้คือข้อ ใด 1. อุบัติเหตุ 2. หัวใจวายเลือดคั่ง 3. กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 4. การทําหน้าที่ของร่างกายลดลง 9. แพทย์มีแผนการรักษาให้ O2 cannular 3 LPM, จอง PRC 2 unit , FBC 1x3 pc, Folic acid 1x1 pc การพยาบาล อันดับแรก เพื่อลดการใช้ออกซิเจนคือข้อใด 1. ให้ PRC 2. ให้ได้รับยา 3. ให้ออกซิเจน 4. ให้พักบนเตียง 10. ผู้สูงอายุ โรคไตเรื้อรัง บ่นเหนื่อยง่ายเวลาทํากิจกรรม รู้สึกใจสั่นเวลาออกแรง ตรวจร่างกายพบเปลือกตา ซีด Hb = 7 mg/dl การพยาบาลที่สําคัญที่สุดสําหรับผู้สูงอายุรายนี้คือข้อใด 1. ปรึกษาแพทย์ในการให้เลือด 2. ติดตามอาการ เหนื่อย หายใจลําบาก 3. วางแผนการทํากิจกรรมสําหรับผู้ป่วย 4. ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย