SlideShare a Scribd company logo
 
 
 
Disaster and traumatic management:
Road map to preparedness management in ER
ผศ.ดร.กรองได อุณหสูต
ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั้งจากสาเหตุทางธรรมชาติหรือเทคโนโลยีที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทําให้หน่วย
อุบัติ-เหตุฉุกเฉิน (ER) ต้องเตรียมการวางแผนให้พร้อมต่อทุกสถานการณ์ในการให้การดูแลรักษาทั้งในภาวะ
ปกติ คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน (emergency) และการดูแลรักษาอุบัติภัยกลุ่มชน (mass casualty) ใน
ขณะเดียวกัน การวางแผนจึงเป็นบทบาทที่สําคัญของทีมที่ให้ดูแลรักษาใน ER เนื่องจาก ER ถูกออกแบบมา
ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลืออุบัติภัยกลุ่มชนที่มารับบริการในคราว
เดียวเป็นจํานวนมาก จากทีมการดูแลรักษาและเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีจํานวนเท่าเดิม การเตรียมการเพื่อรองรับ
อุบัติภัยกลุ่มชนในหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน จึงรวมถึง การเตรียมแผนรองรับอุบัติภัยหมู่ การกําหนดแนวทางการ
ปฏิบัติตามแผน และความพร้อมในทักษะปฏิบัติของทีมในการดูแลรักษาในการช่วยชีวิตภาวะภัยพิบัติ
(disaster life support)
การรองรับอุบัติภัยกลุ่มชน (Mass Casualty Situation: MCS) เป็นการปฏิบัติให้การดูแลรักษา
ผู้รับบริการเนื่องจากอันตรายต่างๆชนิดเดียวกัน ในคราวเดียวกัน มากกว่า 20 ราย ตามแผนรองรับอุบัติภัย
กลุ่มชน ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติงานในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน พัฒนาโดยคณะกรรมการในการจัดทําแผนจาก
ทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล มีการกําหนดนโยบายในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ความรับผิดชอบของ
บุคคลากรและหน่วยงาน และแนวปฏิบัติกลางในการทํางาน (Standard Operating Guidelines; SOGs หรือ
Standard Operating Procedures ; SOPs) โดยจะกล่าวถึงกิจกรรมการปฏิบัติรองรับสถานการณ์ต่างๆ เช่น
internal disasters เช่น ไฟไหม้ ระเบิด อันตรายจากการรั่วไหลของวัสดุต่างๆ external disasters ทั้งขนาด
เล็ก (minor) และมีผู้ประสบภัยเป็นจํานวนมาก (major) และอันตรายขนาดใหญ่ที่มีผลต่อโรงพยาบาลหรือ
ชุมชน และชุมชนข้างเคียง ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ
การจัดการ MCS ในโรงพยาบาล เป็นการจัดการที่ต่อเนื่องมาจาก การจัดการ ณ จุดเกิดเหตุ และการ
ส่งต่อเพื่อการรักษา ซึ่งจะใช้ HICS (Hospital Incident Commander System) ในการจัดการ แต่การ
จัดการ MCS ใน ER นอกจากจะขึ้นอยู่กับการนําส่ง หรือความต้องการมารับการรักษาแล้ว ยังขึ้นอยู่กับจํานวน
โรงพยาบาลใกล้เคียงที่เกิดเหตุ ความรุนแรงของผู้ประสบภัย ศักยภาพของโรงพยาบาลที่สามารถให้การช่วย
เหลือ1,2
ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของโรงพยาบาล จํานวนบุคคลากร อุปกรณ์เครื่องมือ และการเตรียมการในการ
 
 
 
รองรับ MCS ของโรงพยาบาลนั้นๆ3
ตลอดจนความสะดวกของเส้นทางในการนําส่ง และเครือข่ายในการ
ช่วยเหลือ
Road map to preparedness management in ER
Road map to preparedness management in ER หรือแผนที่เส้นทางในการจัดการเตรียมการใน
ER คือ การจัดการเพื่อเตรียมการรองรับ MCS ที่มารับบริการพร้อมกันเป็นจํานวนมาก และมีการประกาศใช้
แผนรองรับ MCS ในการจัดการให้การดูแลรักษา Road map การจัดการเตรียมการใน ER เป็นการเตรียม
การรองรับ MCS ที่เป็นระบบ ประกอบด้วย ตั้งแต่ก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษา (preadmission) การจัดการ
สถานการณ์ฉุกเฉิน (emergency situation management) และการสรุปบทเรียนการเรียนรู้จากการปฎิบัติ
ในการให้การดูแลรักษาตลอดการใช้แผนรองรับ MCS (debriefing and lessons learned)
1. การเตรียมการก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษา (Preadmission preparedness)
1.1 การเตรียมการก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษาเป็นการวางแผนจัดการ MCS โดยคาดการณ์ถึงชนิด
และขอบเขตของสถานการณ์ เพื่อมอบหมายงานให้แก่ทีมที่ให้การดูแลรักษาใน ER ขณะประกาศใช้แผน
รองรับ MCS การมอบหมายงานใน ER จะต้องมอบตามลําดับความสําคัญของงาน คือ ผู้จําแนกประเภท
ผู้ประสบภัย (Triage officer) ผู้อํานวยการดูแลการรักษา (Medical director) และพยาบาล ER ที่รับผิดชอบ
ในแต่ละพื้นที่ การมอบหมายงานต้องใช้เวลาสั้นๆ โดยพูดถึงการปฏิบัติของทีมในการดูแลรักษา เครื่องมือ และ
อุปกรณ์ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตาม SOGs ของแต่ละโรงพยาบาล
1.2 การเตรียมการใน ER จะต้องเตรียมการ ตั้งแต่ทันทีที่ได้รับแจ้งว่ามี MCS เกิดขึ้น เช่น
1.2.1 เปิด SOGs และปฏิบัติตามรายการ (checklist)
1) ถามข้อมูลให้แน่ชัดว่ามีจํานวนผู้ประสบเหตุเท่าไร ประสบเหตุอะไร อาการเป็น
อย่างไร กลุ่มอายุเป็นอย่างไร ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะส่งถึงโรงพยาบาล
2) บันทึกข้อมูลที่ได้รับ เพราะข้อมูลเบื้องต้นที่ส่งข่าวมาที่โรงพยาบาลในระยะแรก
มักจะเป็นข้อมูลสั้นๆ สับสน จากผู้ให้ข้อมูลที่มีความตระหนกจากเหตุการณ์
 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น ตํารวจ
 ยืนยันข้อมูลให้แน่ชัดก่อนตัดสินว่าเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น
3) ตรวจสอบแนวทางในการรายงานผู้ตรวจการเบื้องต้นจาก SOGs ถึงสถานการณ์
ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น การตรวจสอบการปฏิบัติในรายการจาก SOGs จะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความ
รวดเร็วและคล่องตัวก่อนที่จะเกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยจะช่วยให้ทราบว่า เวลาใดจึงจะประกาศใช้
 
 
 
แผนรองรับ MCS เวลาใดจะเริ่มอพยพเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เมื่อไรควรจะเปิดบริเวณให้การดูแลรักษาเพิ่มเติม จะ
เริ่มเตรียมหน่วยประชาสัมพันธ์เมื่อไร และเวลาใดจะเริ่มเวลาปฏิบัติให้ดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน3
1.3 การเตรียมการของทีมในการดูแลรักษา ควรกําหนดบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจน เช่น
Triage officer ควรเป็นศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ต้องอยู่ทางเข้า ER
เพื่อจําแนกประเภทผู้ประสบภัยจากความรุนแรง ณ นาทีที่ผ่านเข้า ER และส่งไปยังพื้นที่ที่ให้การดูแลรักษาที่
เหมาะสมกับอาการของผู้ประสบภัย
Medical director ควรเป็นศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษา สามารถให้
คําแนะนําและกํากับการทํางานของทีมในการดูแลรักษาให้เป็นไปด้วยความคล่องตัว มีอํานาจสูงสุดที่จะบอก
ว่าผู้ประสบภัยควรได้รับการรักษาใน ER หรือไปรับการรักษาที่หน่วยอื่น3
Nurse ควรแบ่งพยาบาล ER ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะการทํางานตามแผนรองรับ MCS
ดังนี้
Nurse number 1 เป็นพยาบาลผู้ทําหน้าที่ร่วมกับ Medical director ในการ
พิจารณาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเก่าออกจาก ER ว่ารายใดควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล หรือรายใดจําเป็นต้อง
จําหน่าย โดยต้องรีบทําอย่างรวดเร็ว
Nurse number 2 เป็นพยาบาลผู้จัดเตรียมบุคคลากรและหมุนเวียนบุคคลากรที่
ทํางานใน ER ทําหน้าที่ให้คําแนะนําการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยอุบัติภัยกลุ่มชน (Mass Casualty Advanced
Trauma Life Support; MC-ATLS) และทบทวนการปฏิบัติงานตามแนวทางในแผนรองรับ MCS ให้กับ
พยาบาลที่เข้ามาปฏิบัติงานใน ER
Nurse number 3 เป็นพยาบาลผู้ทําหน้าที่ในการเตรียมรถฉุกเฉิน (emergency
cart) และอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมใช้ในการช่วยชีวิต การทําหัตถการ และรักษาดูแลผู้ประสบภัย โดยเตรียม
ให้พร้อมใช้พร้อมกันอย่างน้อย 2-4 ชุด
Nurse number 4 เป็นพยาบาลผู้ปฏิบัติให้การดูแลรักษาร่วมกับแพทย์ และทีมที่
ให้การดูแลรักษา ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ประสบภัย อาจต้องช่วยผู้ประสบภัยที่มีภาวะ
คุกคามชีวิต ชนิดเร่งด่วน หรือเป็นเพียงการดูแลด้านจิตใจให้คลายจากความตื่นตระหนก
Trauma coordinator nurse5
จะทําหน้าที่ประสานความร่วมมือกับ Medical director
เพื่อกํากับการดูแลรักษาให้เป็นไปตาม SOGs ประสานการส่งต่อผู้ป่วยไปตรวจรักษาต่อที่หอผู้ป่วยหรือ
โรงพยาบาลอื่นๆ ให้ข้อมูลกับญาติ และเมื่อเสร็จสิ้นจากสถานการณ์ฉุกเฉินและประกาศเลิกใช้แผนรองรับ
MCS จะต้องวางแผนร่วมกับ Medical director ในการสรุปการนําเสนอบทเรียนการปฏิบัติงานของหน่วย
ต่างๆ ระหว่างการประกาศใช้แผนรองรับ MCS เพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนา SOGs ต่อไป
พยาบาลยังคงมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอื่นๆ เช่น พยาบาลหัวหน้าหน่วย ER
จะต้องบริหารโดยการยึดการจัดการ MCS ตาม SOGs และอํานวยความสะดวกในการทํางานของทีมการดูแล
 
 
 
รักษาใน ER6
และพยาบาลที่มาจากหน่วยงานอื่นๆ ที่มาปฏิบัติงานช่วยเหลือ ER จะเป็นผู้ให้การดูแลช่วยเหลือ
ผู้ประสบ ภัยที่มีความรุนแรงเล็กน้อยในบริเวณที่ใกล้กับ ER เช่น ทําแผล และเฝ้าระวังผู้ประสบภัยภายหลัง
จากให้การช่วยเหลือก่อนส่งไปรักษาที่หอผู้ป่วย หรือส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น
1.3 การเตรียมความพร้อมในทักษะปฏิบัติของทีมในการดูแลรักษาในการช่วยชีวิตภาวะภัยพิบัติ
(disaster life support) ซึ่งต้องเตรียมเป็น 3 ระดับ7
ดังนี้
1.3.1 Core Course of Disaster Life Support เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภัย
พิบัติกับบุคคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเช่น อันตรายจากภัยพิบัติ (disaster hazards) กรอบ
แนวคิดของภัยพิบัติ (D-I-S-A-S-T-E-R)การเตรียมการในการจัดการภัยพิบัติ (preparedness for disasters)
และการใช้กรอบแนวคิดของภัยพิบัติในการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
1.3.2 Basic Course of Disaster Life Support เป็นการให้ความรู้และทักษะเบื้องต้นใน
การให้การดูแลรักษาอุบัติภัยกลุ่มชน เพิ่มเติมจากความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภัยพิบัติกับบุคคลากรทางการแพทย์
ทุกคนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล เช่น การเตรียมการรับภัยพิบัติของบุคคลากรทางการแพทย์ (health care
preparedness for disasters) อุบัติภัยกลุ่มชน (mass-casualty-incident) การคัดแยกประเภทผู้ประสบภัย
(BDLS triage model) ทักษะการช่วยเหลือผู้ที่ได้อันตรายจากภัยพิบัติ (disaster hazards Skills)
1.3.3 Advanced Course of Disaster Life Support เป็นให้ความรู้และทักษะการ
ช่วยชีวิตผู้ที่ได้รับอันตรายจากภัยพิบัติเฉพาะผู้ปฏิบัติงานใน ER ขณะประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม
จากความรู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภัยพิบัติ และความรู้และทักษะเบื้องต้นในการให้การดูแลรักษาอุบัติภัยกลุ่ม
ชน เช่น เทคนิคการชะล้างผู้ที่ได้อันตรายจากการปนเปื้อนเชื้อ (decontamination techniques with
contaminated casualties) การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และสารเคมี
(Personal Protective Equipment; PPE for nuclear, biological and chemical)และทักษะการช่วย
ผู้ประสบภัยจากอันตรายจากภัยพิบัติ (skills: response-treatment of disaster hazards)
1.4 การซ้อมแผนเป็นหนึ่งบทบาทที่สําคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเมื่อไร ยุคใด ให้ผลการศึกษา
ตรงสรุปกันว่า การซ้อมแผนช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน8,9
นอกจากนี้การซ้อมแผนยังช่วย
ประเมินว่าแผนที่วางไว้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉินมากน้อยเพียงไร ทั้งยังทําให้บุคลากร
แต่ละคนรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนในขณะที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร
2. การเตรียมการในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency situation management
preparedness)
การเตรียมการในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินจะต้องเตรียมการว่า ทันทีที่ผู้ประสบภัยรายแรกมาถึง
จะปฏิบัติอย่างไร เช่น นําการเตรียมการก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษาตาม SOGs ในแผนรองรับ MCS มาใช้ ทีม
การดูแลรักษาจะปฏิบัติในบทบาทและหน้าที่ตามแผน ไม่มีการใช้แผนการรักษาอื่นๆ ในการตัดสินรักษาดูแล
 
 
 
ผู้ประสบภัยการจัดการดูแลรักษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน จะใช้หลักการรักษาชีวิตและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
โดยให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ประสบภัยในขณะนั้น (optimal care) ซึ่งเตรียมการในดูแลรักษาใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้
2.1 การระบุตัวผู้ประสบภัย (identification) โดยให้ป้ายกํากับที่เป็นตัวเลข เนื่องจากการถามชื่อหรือ
ประวัติ จะต้องใช้เวลาเพราะผู้ประสบเหตุยังคงตระหนกกับเหตุการณ์ ตัวเลขนี้จะเป็นเสมือนชื่อชั่วคราวของผู้
ประสบเหตุ จะรวมถึงการใช้ในการบันทึกการตรวจรักษา จะถ่ายรูปผู้ประสบภัยทุกรายที่ไม่รู้สึกตัวเพื่อ
ประชาสัมพันธ์ถึงญาติ หรือเพื่อนให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย
2.2 การจําแนกแยกประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล (in-hospital triage) เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม
กับความรุนแรงผู้ป่วย โดยปกติมีการปฏิบัติ มี 3 ชนิด ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละโรงพยาบาลที่จะเลือกใช้10,11
ดังนี้
ประเภท 3 ระดับ ได้แก่ emergent (class 1), urgent (class 2), และ non-urgent
(class 3)
ประเภท 4 ระดับ ได้แก่ emergent (class 1A), emergent (class 1), urgent (class 2),
และ non-urgent (class 3)
ประเภท 5 ระดับ ได้แก่ emergent (class 1A), emergent (class 1), urgent (class 2),
ED care (class 3), non-urgent ambulatory care (class 4)
แต่การจําแนกประเภท MCS ในโรงพยาบาลเพื่อให้การดูแลรักษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน แบ่งเป็น
3 ประเภท เพื่อให้การช่วยเหลือได้รวดเร็ว ดังนี้
 วิกฤติ (critical) ได้แก่ ผู้ประสบภัยที่มีภาวะคุกคามชีวิต ต้องได้รับการทําหัตถการและ
ให้การดูแลรักษาทันที
 รุนแรง (severe) ได้แก่ ผู้ประสบภัยที่ต้องได้รับการทําหัตถการเนื่องจากมีการบาดเจ็บ
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทําให้เสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ จําเป็นต้องให้การดูแลรักษา
ทันที
 ปานกลาง (moderate) ได้แก่ ผู้ประสบภัยที่สามารถรอรับการทําหัตถการได้ ไม่ทําให้
เสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะในชั่วโมงนั้น
2.3 การให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย10,11,12
ดังนี้
 การประเมินร่างกายที่เป็นระบบรวดเร็ว โดยประเมินตามหลัก Advance Trauma Life
Support
ได้แก่ Airway and cervical spine immobilization, Breathing and
ventilation, Circulation, Disability and neurological deficit, Exposure and
environmental control (ABCDE)
 การจัดการให้การดูแลช่วยเหลือในบริเวณที่ให้การช่วยชีวิต (resuscitation area)
 
 
 
 การให้การดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน นิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ
และสารเคมี
 การประเมินและจัดการการบาดเจ็บเฉพาะ เช่น แผลไหม้ บาดเจ็บจากแรงระเบิด
 การบริหารยาที่จําเป็น ได้แก่ pain control, antibiotics, tetanus immunization
2.4 การตรวจวินิจฉัย การทํา ultrasonography (US) เป็นวิธีที่สามารถพยากรณ์การมีเลือดออกใน
ช่องท้องได้ โดยไม่จําเป็นต้องทํา Computed Tomography (CT) ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า และระหว่างการ
จัดการ MCS ไม่ควรใช้ mobile radiography นอกจากจะทําให้โกลาหลเพิ่มขึ้น ยังทําให้เกิดอันตรายกับทีม
ผู้ดูแลรักษา หากต้องการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมควรรับผู้ประสบภัยไว้รักษาและตรวจที่หอผู้ป่วย
2.5 ระบบการบันทึก จะบันทึกเฉพาะเพียงการวินิจฉัยเบื้องต้นและเวลาที่ทําหัตถการหรือได้รับการ
ดูแลรักษาเท่านั้น การบันทึกรายละเอียดส่วนอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลาควรปฏิบัติต่อที่หอผู้ป่วย
2.6 การจําหน่ายผู้ประสบภัยออกจาก ER เมื่อจําหน่ายออกจาก ER แล้ว จะไม่รับกลับมาดูแลรักษา
ต่อที่ ER อีก ดังนั้น medical director จึงเป็นผู้ตัดสินว่าผู้ประสบเหตุแต่ละรายเมื่อออกจาก ER แล้วจะไป
ไหน เช่น CT, OR, ICU หรือหอผู้ป่วย
 การจําหน่ายผู้ประสบเหตุเพื่อไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น จะต้องมีการวางแผน
ก่อนส่งต่อ ประสานงานการใช้เส้นทาง เพื่อให้การส่งต่อใช้ระยะเวลาที่น้อยที่สุด
 ก่อนจําหน่ายผู้ประสบเหตุเพื่อไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นต้องจําแนกแยก
ประเภทผู้ประสบภัยซ้ํา (secondary triage) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประสบภัยมีอาการคงที่
ก่อนเคลื่อนย้ายส่งต่อ
2.7 การให้ข้อมูลกับสาธารณชน ควรให้หน่วยประชาสัมพันธ์เพียงหน่วยเดียวเป็นผู้ให้ข้อมูล จะได้มี
การวิเคราะห์กลั่นกรองข้อมูลที่ถูกต้องก่อนสื่อไปยังสาธารณชน หากเป็นการสัมภาษณ์ควรเป็นผู้อํานวยการ
หรือประชาสัมพันธ์ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อํานวยการเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ควรจัดสถานที่ในการให้สัมภาษณ์ให้
เหมาะสม
2.8 เมื่อสิ้นสุด MCS การปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินจะเสร็จสิ้นเมื่อมีการประกาศเลิกใช้แผน
รองรับ MCS แล้วเท่านั้น และทีมผู้ดูแลรักษาจะกลับไปทํางานในหน่วยงานเดิมได้ตามปกติหลังจากการประชุม
สรุปการนําเสนอบทเรียนการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ ระหว่างการประกาศใช้แผนรองรับ MCS ยังคงมีเพียง
หน่วยประชาสัมพันธ์เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้นที่ยังให้บริการเช่นเดิม
 
 
 
3. การเตรียมการในการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้ (debriefing and lessons learned
preparedness)
การสรุปบทเรียนและการเรียนรู้เป็นการทบทวนการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ ระหว่างการประกาศ
ใช้แผนรองรับ MCS อย่างเป็นระบบมีการกําหนดจุดมุ่งหมาย เปิดใจ และไม่มีการตัดสิน เป็นการบอกเล่าถึง
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการ เช่น เริ่มที่หัวหน้างานแต่ละส่วน เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการในงานที่
รับผิดชอบ แล้วตามด้วยหัวหน้าแต่ละทีมเล่าเกี่ยวกับหัตถการ การดูแลรักษา การสนับสนุน การจัดสรร
บุคคลากร และการจัดการการเตรียมการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้จึงต้องสรุปตามตัวชี้วัดของผลลัพธ์ในการ
ปฏิบัติ เพราะข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลสําคัญในการพัฒนาคุณภาพการเตรียมการและการจัดการ MCS ของ
หน่วยงาน4
โดยมีคณะกรรมการการจัดการ MCS ของโรงพยาบาลเป็นผู้วิเคราะห์การดูแลรักษา การจัดการ
การสนับสนุน และการสื่อสาร จากการเรียนรู้ที่ได้รับ เพื่อนําบทเรียนดังกล่าวไปพัฒนาปรับแผนการจัดการ
MCS ให้มีความทันสมัยพร้อมรับอุบัติภัยที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
การเตรียมการในการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานของ ER ควรปฏิบัติดังนี้4
3.1 เวลา
1) เวลาที่ได้รับแจ้งเหตุ
2) เวลาที่ผู้ประสบภัยรายแรกที่มาถึงโรงพยาบาล
3) เวลาที่ผู้ประสบภัยรายสุดท้ายที่มาถึงโรงพยาบาล
4) รวมเวลาที่ปฏิบัติงานในการประกาศใช้แผนรองรับ MCS
3.2 ผู้ประสบภัย
1) จํานวนผู้ประสบภัยที่เข้ารับการรักษาทึ่ ER
2) จํานวนผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตที่ ER
3) จํานวนผู้ประสบภัยที่ส่งต่อออกจาก ER ไปยัง OR
4) จํานวนผู้ประสบภัยที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (admission)
5) จํานวนผู้ประสบภัยที่ต้องพักรักษาตัวใน ICU
6) จํานวนผู้ประสบภัยที่ส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น
3.3 การเตรียมการของ ER
1) สามารถอพยพผู้ป่วยเก่าออกจาก ER ได้หรือไม่
2) สามารถเตรียมบริเวณให้การดูแลรักษาได้หรือไม่
3) พยาบาลหัวหน้าผู้รับผิดชอบมอบหมายงานหรือไม่
4) พยาบาลผู้รับผิดชอบแต่ละบริเวณมอบหมายงานหรือไม่
5) มีบุคลากรหมุนเวียนให้การดูแลรักษาเพียงพอหรือไม่
 
 
 
3.4 การจําแนกประเภทผู้ประสบภัย
1) มีแพทย์เป็นผู้จําแนกประเภทผู้ประสบภัยหรือไม่
2) ผู้ประสบภัยทุกรายได้รับจําแนกประเภทที่ด่านแรกหน้า ER หรือไม่
3) การจําแนกประเภทผู้ประสบภัยมีปัญหาหรือไม่
3.5 การดูแลรักษา
1) การสื่อสารของ medical manager เป็นอย่างไร
2) medical manager แจ้งเรื่องเตียง ICU OR หรือแหล่งสนับสนุนอื่นๆ หรือไม่
3) มีผู้ประภัยกี่รายที่ส่งเข้า OR ฉุกเฉิน
4) มีผู้ประภัยกี่รายที่ส่งเข้าไป CT ฉุกเฉิน
5) มีการประกาศเลิกใช้แผนรองรับ MCS หรือไม่
อาจสรุปได้ว่า Roadmap ในการจัดการเตรียมการใน ER นอกจากจะช่วยจัดเตรียมการรองรับ MCS
ที่มารับบริการพร้อมกันเป็นจํานวนมากอย่างเป็นระบบและขั้นตอน ยังสามารถใช้ประเมินคุณภาพในการดูแล
รักษาผู้ประสบภัยใน ER ขณะที่มีประกาศใช้แผนรองรับ MCS ได้ชัดเจน เพราะมีหลักฐานจากการปฏิบัติทุก
ขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ และประเมินผลด้วยการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนําไป
วิเคราะห์ และพัฒนาการวางแผนรองรับ MCS ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปได้
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
1. Burstein JL, Schwartz RB, Swienton RE. Medical response to terrorism. Preparedness and
clinical practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.
2. Levi L, Michaelson M, Admi H, Bergman D, Bar-Nahor R. National strategy for mass casualty
situations and its effects on the hospital. Prehospital and Disaster Medicine 2002;17(1):12–
6.
3. Michaelson M, Hyams G, Blumenfeld A, Peleg K, Klein Y, Stein M, Poles L. Preparedness of
health systems for mass casualty situations–Guidelines. Haifa, Israel: NATO Advanced
Research Workshop on Mass Casualty Situations; 2005.
4. Blumenfeld A. Quality assurance and performance improvement. In Michaelson M, Hyams
G, Blumenfeld A, Peleg K, Klein Y, Stein M, Poles L, editors. Preparedness of health
systems for mass casualty situations–Guidelines. Haifa, Israel: NATO Advanced
Research Workshop on Mass Casualty Situations; 2005. p.58–60.
5 Hyams G, Kradshtein H, Ben L. The role of a trauma coordinator in mass casualty
situations. The 2nd
Internationak Conference on preparedness & response to emergency &
disasters. Tel Aviv; 2012.
6 Hyams G, Admi H, Utilz L, Eilon Y. Nursing roles in mass casualty events: The key for
success. The 2nd
Internationak Conference on preparedness & response to emergency &
disasters. Tel Aviv; 2012.
7. Dallas C, Horner J, James J. Mass casualty emergency response training: The National
Disaster Life Support (NDLS) Course Series. The 2nd
International Conference on
preparedness & response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012.
8. Hoe W. Preparing civilian medical responders for disaster incidents: A Singapore
experience. The 2nd
International Conference on preparedness & response to emergency
& disasters. Tel Aviv; 2012.
9. Gens I. Multi-organizational training model for improving preparedness for earthquakes.
The 2nd
International Conference on preparedness & response to emergency & disasters.
Tel Aviv; 2012.
10. Tener GV. Disaster nursing and emergency preparedness for chemical, biological, and
radiological terrorism and other hazards. New York: Springer publishing; 2007.
 
 
 
11. Conlon L, Wiechula R. Preparing nurses for future disasters: The Sichuan experience.
Australasian Emergency Nursing Journal. 2011;(14):246-50.
12. Ashkenazi I, Turegano F, Kessel B, Dudkevich M, Ofir A, et al. Optimal trauma care in
conversional mass casualty incidents following terrorist explosions and shooting:
classifying urgency of operations. The 2nd
International Conference on preparedness &
response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012.
 

More Related Content

What's hot

Trauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurseTrauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurseKrongdai Unhasuta
 
3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก
3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก
3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก
งานพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
Aphisit Aunbusdumberdor
 
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
Chamada Rinzine
 
นวัตกรรมแพทย์
นวัตกรรมแพทย์นวัตกรรมแพทย์
นวัตกรรมแพทย์taem
 
คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย  สีทิพย์คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย  สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย สีทิพย์taem
 
Lesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอน
Lesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอนLesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอน
Lesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอน
Aphisit Aunbusdumberdor
 
นวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแก
นวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแกนวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแก
นวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแกtaem
 

What's hot (11)

Triage
TriageTriage
Triage
 
Triage
TriageTriage
Triage
 
Trauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurseTrauma treatment skills for nurse
Trauma treatment skills for nurse
 
3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก
3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก
3.หน่วยฉุกเฉิน ฝ่ายผู้ป่วยนอก
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
ภาพที่ 9-5 ตัวอย่างบทความวิจัย (Research Article)
 
นวัตกรรมแพทย์
นวัตกรรมแพทย์นวัตกรรมแพทย์
นวัตกรรมแพทย์
 
คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย  สีทิพย์คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย  สีทิพย์
คนฉุกเฉินตามทันมั๊ย ..อ.ศรีทัย สีทิพย์
 
Lesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอน
Lesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอนLesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอน
Lesson plan และแนวทางแนวการเขียนแผนการสอน
 
นวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแก
นวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแกนวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแก
นวัตกรรมกรรมพยาบาล ทีมโรงพยาบาลทับสะแก
 
17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
17.แผนรับสาธารณภัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 

Similar to Road map to preparedness management in er

TAEM10:Pain management for nurse
TAEM10:Pain management for nurseTAEM10:Pain management for nurse
TAEM10:Pain management for nurse
taem
 
TAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉิน
TAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉินTAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉิน
TAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉิน
taem
 
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
Suradet Sriangkoon
 
Trauma nurse coordinator role and resposibility
Trauma nurse coordinator role and resposibilityTrauma nurse coordinator role and resposibility
Trauma nurse coordinator role and resposibilityKrongdai Unhasuta
 
Ppt.trigger tool
Ppt.trigger toolPpt.trigger tool
Ppt.trigger tool
Prachaya Sriswang
 
TRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdfTRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdf
Krongdai Unhasuta
 
TRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdfTRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdf
Krongdai Unhasuta
 
Thai mert 2011
Thai mert 2011Thai mert 2011
Thai mert 2011
nsawan
 
การพยาบาลก่อนฉายรังสี
การพยาบาลก่อนฉายรังสีการพยาบาลก่อนฉายรังสี
การพยาบาลก่อนฉายรังสีtechno UCH
 
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdfรูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
paweenpolYokaew
 
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdfรูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
paweenpolYokaew
 
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookMiddle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
Utai Sukviwatsirikul
 
3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf
3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf
3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf
SuraphanCharoentanya
 
Emergency department triage
Emergency department triageEmergency department triage
Emergency department triage
Duangruethai Tunprom
 

Similar to Road map to preparedness management in er (16)

TAEM10:Pain management for nurse
TAEM10:Pain management for nurseTAEM10:Pain management for nurse
TAEM10:Pain management for nurse
 
TAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉิน
TAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉินTAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉิน
TAEM11: การพัฒนาและธำรงรักษาบุคลากรฉุกเฉิน
 
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
 
Trauma nurse coordinator role and resposibility
Trauma nurse coordinator role and resposibilityTrauma nurse coordinator role and resposibility
Trauma nurse coordinator role and resposibility
 
Ppt.trigger tool
Ppt.trigger toolPpt.trigger tool
Ppt.trigger tool
 
TRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdfTRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdf
 
TRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdfTRAUMA SYSTEM.pdf
TRAUMA SYSTEM.pdf
 
Thai mert 2011
Thai mert 2011Thai mert 2011
Thai mert 2011
 
การพยาบาลก่อนฉายรังสี
การพยาบาลก่อนฉายรังสีการพยาบาลก่อนฉายรังสี
การพยาบาลก่อนฉายรังสี
 
การพยาบาลก่อนฉายรังสี
การพยาบาลก่อนฉายรังสีการพยาบาลก่อนฉายรังสี
การพยาบาลก่อนฉายรังสี
 
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdfรูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
 
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdfรูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
รูปแบบการเขียนโครงร่างการวิจัย-อิอิ.pdf
 
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV HandbookMiddle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus : MERS-CoV Handbook
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
 
3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf
3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf
3.rapid response sepsis ratapum 2565.pdf
 
Emergency department triage
Emergency department triageEmergency department triage
Emergency department triage
 

More from Krongdai Unhasuta

Trauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patientsTrauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patients
Krongdai Unhasuta
 
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast TrackTrauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Krongdai Unhasuta
 
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
5  scope and practice  _ update 17 เมย. 25605  scope and practice  _ update 17 เมย. 2560
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
4  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 25604  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 2560
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
3  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 25603  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 2560
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
Krongdai Unhasuta
 
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
2  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 25602  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 2560
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 25601. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
Krongdai Unhasuta
 
Trauma scoring
Trauma scoringTrauma scoring
Trauma scoring
Krongdai Unhasuta
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
Krongdai Unhasuta
 
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยKrongdai Unhasuta
 
หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ
หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติหลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ
หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติKrongdai Unhasuta
 
Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558
Krongdai Unhasuta
 
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558Krongdai Unhasuta
 
Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558Krongdai Unhasuta
 
Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558Krongdai Unhasuta
 
Management of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injuryManagement of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injury
Krongdai Unhasuta
 
Management of multiple trauma
Management of multiple traumaManagement of multiple trauma
Management of multiple trauma
Krongdai Unhasuta
 
Monitor traumatic shock 16 พค.58
Monitor traumatic shock  16 พค.58Monitor traumatic shock  16 พค.58
Monitor traumatic shock 16 พค.58Krongdai Unhasuta
 
Detect traumatic shock 16 พค.58
Detect traumatic shock  16 พค.58Detect traumatic shock  16 พค.58
Detect traumatic shock 16 พค.58Krongdai Unhasuta
 
Fluid management 14 พค.58
Fluid management 14 พค.58Fluid management 14 พค.58
Fluid management 14 พค.58
Krongdai Unhasuta
 

More from Krongdai Unhasuta (20)

Trauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patientsTrauma in geriatric patients
Trauma in geriatric patients
 
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast TrackTrauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
Trauma Care System and Role of Nurses in Trauma Fast Track
 
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
5  scope and practice  _ update 17 เมย. 25605  scope and practice  _ update 17 เมย. 2560
5 scope and practice _ update 17 เมย. 2560
 
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
4  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 25604  research utilization & qi  _ update 17 เมย. 2560
4 research utilization & qi _ update 17 เมย. 2560
 
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
3  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 25603  how to develop guideline and protocol  _ update 17 เมยฬ 2560
3 how to develop guideline and protocol _ update 17 เมยฬ 2560
 
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
2  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 25602  trauma care & outcome  _ update 17 เมย. 2560
2 trauma care & outcome _ update 17 เมย. 2560
 
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 25601. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
1. บทบาทและคุณสมบัติของ te n cs __ update 17 เมย. 2560
 
Trauma scoring
Trauma scoringTrauma scoring
Trauma scoring
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
 
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
 
หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ
หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติหลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ
หลักการ การเตรียมพร้อมและการตั้งรับภัยพิบัติ
 
Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558Trauma scoring 23 พค.2558
Trauma scoring 23 พค.2558
 
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558Trauma treatment skills for nurses  22 พค.2558
Trauma treatment skills for nurses 22 พค.2558
 
Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558Life threatening chest injuries 15 พค.2558
Life threatening chest injuries 15 พค.2558
 
Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558Hemorrhagic shock 15 พค.2558
Hemorrhagic shock 15 พค.2558
 
Management of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injuryManagement of traumatic brain injury
Management of traumatic brain injury
 
Management of multiple trauma
Management of multiple traumaManagement of multiple trauma
Management of multiple trauma
 
Monitor traumatic shock 16 พค.58
Monitor traumatic shock  16 พค.58Monitor traumatic shock  16 พค.58
Monitor traumatic shock 16 พค.58
 
Detect traumatic shock 16 พค.58
Detect traumatic shock  16 พค.58Detect traumatic shock  16 พค.58
Detect traumatic shock 16 พค.58
 
Fluid management 14 พค.58
Fluid management 14 พค.58Fluid management 14 พค.58
Fluid management 14 พค.58
 

Road map to preparedness management in er

  • 1.       Disaster and traumatic management: Road map to preparedness management in ER ผศ.ดร.กรองได อุณหสูต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั้งจากสาเหตุทางธรรมชาติหรือเทคโนโลยีที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทําให้หน่วย อุบัติ-เหตุฉุกเฉิน (ER) ต้องเตรียมการวางแผนให้พร้อมต่อทุกสถานการณ์ในการให้การดูแลรักษาทั้งในภาวะ ปกติ คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน (emergency) และการดูแลรักษาอุบัติภัยกลุ่มชน (mass casualty) ใน ขณะเดียวกัน การวางแผนจึงเป็นบทบาทที่สําคัญของทีมที่ให้ดูแลรักษาใน ER เนื่องจาก ER ถูกออกแบบมา ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลืออุบัติภัยกลุ่มชนที่มารับบริการในคราว เดียวเป็นจํานวนมาก จากทีมการดูแลรักษาและเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีจํานวนเท่าเดิม การเตรียมการเพื่อรองรับ อุบัติภัยกลุ่มชนในหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน จึงรวมถึง การเตรียมแผนรองรับอุบัติภัยหมู่ การกําหนดแนวทางการ ปฏิบัติตามแผน และความพร้อมในทักษะปฏิบัติของทีมในการดูแลรักษาในการช่วยชีวิตภาวะภัยพิบัติ (disaster life support) การรองรับอุบัติภัยกลุ่มชน (Mass Casualty Situation: MCS) เป็นการปฏิบัติให้การดูแลรักษา ผู้รับบริการเนื่องจากอันตรายต่างๆชนิดเดียวกัน ในคราวเดียวกัน มากกว่า 20 ราย ตามแผนรองรับอุบัติภัย กลุ่มชน ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติงานในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน พัฒนาโดยคณะกรรมการในการจัดทําแผนจาก ทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล มีการกําหนดนโยบายในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ความรับผิดชอบของ บุคคลากรและหน่วยงาน และแนวปฏิบัติกลางในการทํางาน (Standard Operating Guidelines; SOGs หรือ Standard Operating Procedures ; SOPs) โดยจะกล่าวถึงกิจกรรมการปฏิบัติรองรับสถานการณ์ต่างๆ เช่น internal disasters เช่น ไฟไหม้ ระเบิด อันตรายจากการรั่วไหลของวัสดุต่างๆ external disasters ทั้งขนาด เล็ก (minor) และมีผู้ประสบภัยเป็นจํานวนมาก (major) และอันตรายขนาดใหญ่ที่มีผลต่อโรงพยาบาลหรือ ชุมชน และชุมชนข้างเคียง ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ การจัดการ MCS ในโรงพยาบาล เป็นการจัดการที่ต่อเนื่องมาจาก การจัดการ ณ จุดเกิดเหตุ และการ ส่งต่อเพื่อการรักษา ซึ่งจะใช้ HICS (Hospital Incident Commander System) ในการจัดการ แต่การ จัดการ MCS ใน ER นอกจากจะขึ้นอยู่กับการนําส่ง หรือความต้องการมารับการรักษาแล้ว ยังขึ้นอยู่กับจํานวน โรงพยาบาลใกล้เคียงที่เกิดเหตุ ความรุนแรงของผู้ประสบภัย ศักยภาพของโรงพยาบาลที่สามารถให้การช่วย เหลือ1,2 ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของโรงพยาบาล จํานวนบุคคลากร อุปกรณ์เครื่องมือ และการเตรียมการในการ
  • 2.       รองรับ MCS ของโรงพยาบาลนั้นๆ3 ตลอดจนความสะดวกของเส้นทางในการนําส่ง และเครือข่ายในการ ช่วยเหลือ Road map to preparedness management in ER Road map to preparedness management in ER หรือแผนที่เส้นทางในการจัดการเตรียมการใน ER คือ การจัดการเพื่อเตรียมการรองรับ MCS ที่มารับบริการพร้อมกันเป็นจํานวนมาก และมีการประกาศใช้ แผนรองรับ MCS ในการจัดการให้การดูแลรักษา Road map การจัดการเตรียมการใน ER เป็นการเตรียม การรองรับ MCS ที่เป็นระบบ ประกอบด้วย ตั้งแต่ก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษา (preadmission) การจัดการ สถานการณ์ฉุกเฉิน (emergency situation management) และการสรุปบทเรียนการเรียนรู้จากการปฎิบัติ ในการให้การดูแลรักษาตลอดการใช้แผนรองรับ MCS (debriefing and lessons learned) 1. การเตรียมการก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษา (Preadmission preparedness) 1.1 การเตรียมการก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษาเป็นการวางแผนจัดการ MCS โดยคาดการณ์ถึงชนิด และขอบเขตของสถานการณ์ เพื่อมอบหมายงานให้แก่ทีมที่ให้การดูแลรักษาใน ER ขณะประกาศใช้แผน รองรับ MCS การมอบหมายงานใน ER จะต้องมอบตามลําดับความสําคัญของงาน คือ ผู้จําแนกประเภท ผู้ประสบภัย (Triage officer) ผู้อํานวยการดูแลการรักษา (Medical director) และพยาบาล ER ที่รับผิดชอบ ในแต่ละพื้นที่ การมอบหมายงานต้องใช้เวลาสั้นๆ โดยพูดถึงการปฏิบัติของทีมในการดูแลรักษา เครื่องมือ และ อุปกรณ์ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตาม SOGs ของแต่ละโรงพยาบาล 1.2 การเตรียมการใน ER จะต้องเตรียมการ ตั้งแต่ทันทีที่ได้รับแจ้งว่ามี MCS เกิดขึ้น เช่น 1.2.1 เปิด SOGs และปฏิบัติตามรายการ (checklist) 1) ถามข้อมูลให้แน่ชัดว่ามีจํานวนผู้ประสบเหตุเท่าไร ประสบเหตุอะไร อาการเป็น อย่างไร กลุ่มอายุเป็นอย่างไร ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะส่งถึงโรงพยาบาล 2) บันทึกข้อมูลที่ได้รับ เพราะข้อมูลเบื้องต้นที่ส่งข่าวมาที่โรงพยาบาลในระยะแรก มักจะเป็นข้อมูลสั้นๆ สับสน จากผู้ให้ข้อมูลที่มีความตระหนกจากเหตุการณ์  ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตํารวจ  ยืนยันข้อมูลให้แน่ชัดก่อนตัดสินว่าเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น 3) ตรวจสอบแนวทางในการรายงานผู้ตรวจการเบื้องต้นจาก SOGs ถึงสถานการณ์ ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น การตรวจสอบการปฏิบัติในรายการจาก SOGs จะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความ รวดเร็วและคล่องตัวก่อนที่จะเกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน โดยจะช่วยให้ทราบว่า เวลาใดจึงจะประกาศใช้
  • 3.       แผนรองรับ MCS เวลาใดจะเริ่มอพยพเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เมื่อไรควรจะเปิดบริเวณให้การดูแลรักษาเพิ่มเติม จะ เริ่มเตรียมหน่วยประชาสัมพันธ์เมื่อไร และเวลาใดจะเริ่มเวลาปฏิบัติให้ดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน3 1.3 การเตรียมการของทีมในการดูแลรักษา ควรกําหนดบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจน เช่น Triage officer ควรเป็นศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ต้องอยู่ทางเข้า ER เพื่อจําแนกประเภทผู้ประสบภัยจากความรุนแรง ณ นาทีที่ผ่านเข้า ER และส่งไปยังพื้นที่ที่ให้การดูแลรักษาที่ เหมาะสมกับอาการของผู้ประสบภัย Medical director ควรเป็นศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษา สามารถให้ คําแนะนําและกํากับการทํางานของทีมในการดูแลรักษาให้เป็นไปด้วยความคล่องตัว มีอํานาจสูงสุดที่จะบอก ว่าผู้ประสบภัยควรได้รับการรักษาใน ER หรือไปรับการรักษาที่หน่วยอื่น3 Nurse ควรแบ่งพยาบาล ER ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะการทํางานตามแผนรองรับ MCS ดังนี้ Nurse number 1 เป็นพยาบาลผู้ทําหน้าที่ร่วมกับ Medical director ในการ พิจารณาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเก่าออกจาก ER ว่ารายใดควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล หรือรายใดจําเป็นต้อง จําหน่าย โดยต้องรีบทําอย่างรวดเร็ว Nurse number 2 เป็นพยาบาลผู้จัดเตรียมบุคคลากรและหมุนเวียนบุคคลากรที่ ทํางานใน ER ทําหน้าที่ให้คําแนะนําการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยอุบัติภัยกลุ่มชน (Mass Casualty Advanced Trauma Life Support; MC-ATLS) และทบทวนการปฏิบัติงานตามแนวทางในแผนรองรับ MCS ให้กับ พยาบาลที่เข้ามาปฏิบัติงานใน ER Nurse number 3 เป็นพยาบาลผู้ทําหน้าที่ในการเตรียมรถฉุกเฉิน (emergency cart) และอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมใช้ในการช่วยชีวิต การทําหัตถการ และรักษาดูแลผู้ประสบภัย โดยเตรียม ให้พร้อมใช้พร้อมกันอย่างน้อย 2-4 ชุด Nurse number 4 เป็นพยาบาลผู้ปฏิบัติให้การดูแลรักษาร่วมกับแพทย์ และทีมที่ ให้การดูแลรักษา ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ประสบภัย อาจต้องช่วยผู้ประสบภัยที่มีภาวะ คุกคามชีวิต ชนิดเร่งด่วน หรือเป็นเพียงการดูแลด้านจิตใจให้คลายจากความตื่นตระหนก Trauma coordinator nurse5 จะทําหน้าที่ประสานความร่วมมือกับ Medical director เพื่อกํากับการดูแลรักษาให้เป็นไปตาม SOGs ประสานการส่งต่อผู้ป่วยไปตรวจรักษาต่อที่หอผู้ป่วยหรือ โรงพยาบาลอื่นๆ ให้ข้อมูลกับญาติ และเมื่อเสร็จสิ้นจากสถานการณ์ฉุกเฉินและประกาศเลิกใช้แผนรองรับ MCS จะต้องวางแผนร่วมกับ Medical director ในการสรุปการนําเสนอบทเรียนการปฏิบัติงานของหน่วย ต่างๆ ระหว่างการประกาศใช้แผนรองรับ MCS เพื่อนําข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนา SOGs ต่อไป พยาบาลยังคงมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอื่นๆ เช่น พยาบาลหัวหน้าหน่วย ER จะต้องบริหารโดยการยึดการจัดการ MCS ตาม SOGs และอํานวยความสะดวกในการทํางานของทีมการดูแล
  • 4.       รักษาใน ER6 และพยาบาลที่มาจากหน่วยงานอื่นๆ ที่มาปฏิบัติงานช่วยเหลือ ER จะเป็นผู้ให้การดูแลช่วยเหลือ ผู้ประสบ ภัยที่มีความรุนแรงเล็กน้อยในบริเวณที่ใกล้กับ ER เช่น ทําแผล และเฝ้าระวังผู้ประสบภัยภายหลัง จากให้การช่วยเหลือก่อนส่งไปรักษาที่หอผู้ป่วย หรือส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น 1.3 การเตรียมความพร้อมในทักษะปฏิบัติของทีมในการดูแลรักษาในการช่วยชีวิตภาวะภัยพิบัติ (disaster life support) ซึ่งต้องเตรียมเป็น 3 ระดับ7 ดังนี้ 1.3.1 Core Course of Disaster Life Support เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภัย พิบัติกับบุคคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเช่น อันตรายจากภัยพิบัติ (disaster hazards) กรอบ แนวคิดของภัยพิบัติ (D-I-S-A-S-T-E-R)การเตรียมการในการจัดการภัยพิบัติ (preparedness for disasters) และการใช้กรอบแนวคิดของภัยพิบัติในการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล 1.3.2 Basic Course of Disaster Life Support เป็นการให้ความรู้และทักษะเบื้องต้นใน การให้การดูแลรักษาอุบัติภัยกลุ่มชน เพิ่มเติมจากความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภัยพิบัติกับบุคคลากรทางการแพทย์ ทุกคนที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล เช่น การเตรียมการรับภัยพิบัติของบุคคลากรทางการแพทย์ (health care preparedness for disasters) อุบัติภัยกลุ่มชน (mass-casualty-incident) การคัดแยกประเภทผู้ประสบภัย (BDLS triage model) ทักษะการช่วยเหลือผู้ที่ได้อันตรายจากภัยพิบัติ (disaster hazards Skills) 1.3.3 Advanced Course of Disaster Life Support เป็นให้ความรู้และทักษะการ ช่วยชีวิตผู้ที่ได้รับอันตรายจากภัยพิบัติเฉพาะผู้ปฏิบัติงานใน ER ขณะประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน เพิ่มเติม จากความรู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภัยพิบัติ และความรู้และทักษะเบื้องต้นในการให้การดูแลรักษาอุบัติภัยกลุ่ม ชน เช่น เทคนิคการชะล้างผู้ที่ได้อันตรายจากการปนเปื้อนเชื้อ (decontamination techniques with contaminated casualties) การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และสารเคมี (Personal Protective Equipment; PPE for nuclear, biological and chemical)และทักษะการช่วย ผู้ประสบภัยจากอันตรายจากภัยพิบัติ (skills: response-treatment of disaster hazards) 1.4 การซ้อมแผนเป็นหนึ่งบทบาทที่สําคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเมื่อไร ยุคใด ให้ผลการศึกษา ตรงสรุปกันว่า การซ้อมแผนช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน8,9 นอกจากนี้การซ้อมแผนยังช่วย ประเมินว่าแผนที่วางไว้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉินมากน้อยเพียงไร ทั้งยังทําให้บุคลากร แต่ละคนรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนในขณะที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร 2. การเตรียมการในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency situation management preparedness) การเตรียมการในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินจะต้องเตรียมการว่า ทันทีที่ผู้ประสบภัยรายแรกมาถึง จะปฏิบัติอย่างไร เช่น นําการเตรียมการก่อนรับผู้ประสบภัยไว้รักษาตาม SOGs ในแผนรองรับ MCS มาใช้ ทีม การดูแลรักษาจะปฏิบัติในบทบาทและหน้าที่ตามแผน ไม่มีการใช้แผนการรักษาอื่นๆ ในการตัดสินรักษาดูแล
  • 5.       ผู้ประสบภัยการจัดการดูแลรักษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน จะใช้หลักการรักษาชีวิตและป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ประสบภัยในขณะนั้น (optimal care) ซึ่งเตรียมการในดูแลรักษาใน สถานการณ์ฉุกเฉิน ดังต่อไปนี้ 2.1 การระบุตัวผู้ประสบภัย (identification) โดยให้ป้ายกํากับที่เป็นตัวเลข เนื่องจากการถามชื่อหรือ ประวัติ จะต้องใช้เวลาเพราะผู้ประสบเหตุยังคงตระหนกกับเหตุการณ์ ตัวเลขนี้จะเป็นเสมือนชื่อชั่วคราวของผู้ ประสบเหตุ จะรวมถึงการใช้ในการบันทึกการตรวจรักษา จะถ่ายรูปผู้ประสบภัยทุกรายที่ไม่รู้สึกตัวเพื่อ ประชาสัมพันธ์ถึงญาติ หรือเพื่อนให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ประสบภัย 2.2 การจําแนกแยกประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล (in-hospital triage) เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม กับความรุนแรงผู้ป่วย โดยปกติมีการปฏิบัติ มี 3 ชนิด ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละโรงพยาบาลที่จะเลือกใช้10,11 ดังนี้ ประเภท 3 ระดับ ได้แก่ emergent (class 1), urgent (class 2), และ non-urgent (class 3) ประเภท 4 ระดับ ได้แก่ emergent (class 1A), emergent (class 1), urgent (class 2), และ non-urgent (class 3) ประเภท 5 ระดับ ได้แก่ emergent (class 1A), emergent (class 1), urgent (class 2), ED care (class 3), non-urgent ambulatory care (class 4) แต่การจําแนกประเภท MCS ในโรงพยาบาลเพื่อให้การดูแลรักษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน แบ่งเป็น 3 ประเภท เพื่อให้การช่วยเหลือได้รวดเร็ว ดังนี้  วิกฤติ (critical) ได้แก่ ผู้ประสบภัยที่มีภาวะคุกคามชีวิต ต้องได้รับการทําหัตถการและ ให้การดูแลรักษาทันที  รุนแรง (severe) ได้แก่ ผู้ประสบภัยที่ต้องได้รับการทําหัตถการเนื่องจากมีการบาดเจ็บ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทําให้เสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ จําเป็นต้องให้การดูแลรักษา ทันที  ปานกลาง (moderate) ได้แก่ ผู้ประสบภัยที่สามารถรอรับการทําหัตถการได้ ไม่ทําให้ เสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะในชั่วโมงนั้น 2.3 การให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย10,11,12 ดังนี้  การประเมินร่างกายที่เป็นระบบรวดเร็ว โดยประเมินตามหลัก Advance Trauma Life Support ได้แก่ Airway and cervical spine immobilization, Breathing and ventilation, Circulation, Disability and neurological deficit, Exposure and environmental control (ABCDE)  การจัดการให้การดูแลช่วยเหลือในบริเวณที่ให้การช่วยชีวิต (resuscitation area)
  • 6.        การให้การดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน นิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และสารเคมี  การประเมินและจัดการการบาดเจ็บเฉพาะ เช่น แผลไหม้ บาดเจ็บจากแรงระเบิด  การบริหารยาที่จําเป็น ได้แก่ pain control, antibiotics, tetanus immunization 2.4 การตรวจวินิจฉัย การทํา ultrasonography (US) เป็นวิธีที่สามารถพยากรณ์การมีเลือดออกใน ช่องท้องได้ โดยไม่จําเป็นต้องทํา Computed Tomography (CT) ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า และระหว่างการ จัดการ MCS ไม่ควรใช้ mobile radiography นอกจากจะทําให้โกลาหลเพิ่มขึ้น ยังทําให้เกิดอันตรายกับทีม ผู้ดูแลรักษา หากต้องการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมควรรับผู้ประสบภัยไว้รักษาและตรวจที่หอผู้ป่วย 2.5 ระบบการบันทึก จะบันทึกเฉพาะเพียงการวินิจฉัยเบื้องต้นและเวลาที่ทําหัตถการหรือได้รับการ ดูแลรักษาเท่านั้น การบันทึกรายละเอียดส่วนอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลาควรปฏิบัติต่อที่หอผู้ป่วย 2.6 การจําหน่ายผู้ประสบภัยออกจาก ER เมื่อจําหน่ายออกจาก ER แล้ว จะไม่รับกลับมาดูแลรักษา ต่อที่ ER อีก ดังนั้น medical director จึงเป็นผู้ตัดสินว่าผู้ประสบเหตุแต่ละรายเมื่อออกจาก ER แล้วจะไป ไหน เช่น CT, OR, ICU หรือหอผู้ป่วย  การจําหน่ายผู้ประสบเหตุเพื่อไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น จะต้องมีการวางแผน ก่อนส่งต่อ ประสานงานการใช้เส้นทาง เพื่อให้การส่งต่อใช้ระยะเวลาที่น้อยที่สุด  ก่อนจําหน่ายผู้ประสบเหตุเพื่อไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นต้องจําแนกแยก ประเภทผู้ประสบภัยซ้ํา (secondary triage) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประสบภัยมีอาการคงที่ ก่อนเคลื่อนย้ายส่งต่อ 2.7 การให้ข้อมูลกับสาธารณชน ควรให้หน่วยประชาสัมพันธ์เพียงหน่วยเดียวเป็นผู้ให้ข้อมูล จะได้มี การวิเคราะห์กลั่นกรองข้อมูลที่ถูกต้องก่อนสื่อไปยังสาธารณชน หากเป็นการสัมภาษณ์ควรเป็นผู้อํานวยการ หรือประชาสัมพันธ์ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อํานวยการเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ควรจัดสถานที่ในการให้สัมภาษณ์ให้ เหมาะสม 2.8 เมื่อสิ้นสุด MCS การปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินจะเสร็จสิ้นเมื่อมีการประกาศเลิกใช้แผน รองรับ MCS แล้วเท่านั้น และทีมผู้ดูแลรักษาจะกลับไปทํางานในหน่วยงานเดิมได้ตามปกติหลังจากการประชุม สรุปการนําเสนอบทเรียนการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ ระหว่างการประกาศใช้แผนรองรับ MCS ยังคงมีเพียง หน่วยประชาสัมพันธ์เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้นที่ยังให้บริการเช่นเดิม
  • 7.       3. การเตรียมการในการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้ (debriefing and lessons learned preparedness) การสรุปบทเรียนและการเรียนรู้เป็นการทบทวนการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ ระหว่างการประกาศ ใช้แผนรองรับ MCS อย่างเป็นระบบมีการกําหนดจุดมุ่งหมาย เปิดใจ และไม่มีการตัดสิน เป็นการบอกเล่าถึง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการ เช่น เริ่มที่หัวหน้างานแต่ละส่วน เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการในงานที่ รับผิดชอบ แล้วตามด้วยหัวหน้าแต่ละทีมเล่าเกี่ยวกับหัตถการ การดูแลรักษา การสนับสนุน การจัดสรร บุคคลากร และการจัดการการเตรียมการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้จึงต้องสรุปตามตัวชี้วัดของผลลัพธ์ในการ ปฏิบัติ เพราะข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลสําคัญในการพัฒนาคุณภาพการเตรียมการและการจัดการ MCS ของ หน่วยงาน4 โดยมีคณะกรรมการการจัดการ MCS ของโรงพยาบาลเป็นผู้วิเคราะห์การดูแลรักษา การจัดการ การสนับสนุน และการสื่อสาร จากการเรียนรู้ที่ได้รับ เพื่อนําบทเรียนดังกล่าวไปพัฒนาปรับแผนการจัดการ MCS ให้มีความทันสมัยพร้อมรับอุบัติภัยที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเตรียมการในการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานของ ER ควรปฏิบัติดังนี้4 3.1 เวลา 1) เวลาที่ได้รับแจ้งเหตุ 2) เวลาที่ผู้ประสบภัยรายแรกที่มาถึงโรงพยาบาล 3) เวลาที่ผู้ประสบภัยรายสุดท้ายที่มาถึงโรงพยาบาล 4) รวมเวลาที่ปฏิบัติงานในการประกาศใช้แผนรองรับ MCS 3.2 ผู้ประสบภัย 1) จํานวนผู้ประสบภัยที่เข้ารับการรักษาทึ่ ER 2) จํานวนผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตที่ ER 3) จํานวนผู้ประสบภัยที่ส่งต่อออกจาก ER ไปยัง OR 4) จํานวนผู้ประสบภัยที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (admission) 5) จํานวนผู้ประสบภัยที่ต้องพักรักษาตัวใน ICU 6) จํานวนผู้ประสบภัยที่ส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น 3.3 การเตรียมการของ ER 1) สามารถอพยพผู้ป่วยเก่าออกจาก ER ได้หรือไม่ 2) สามารถเตรียมบริเวณให้การดูแลรักษาได้หรือไม่ 3) พยาบาลหัวหน้าผู้รับผิดชอบมอบหมายงานหรือไม่ 4) พยาบาลผู้รับผิดชอบแต่ละบริเวณมอบหมายงานหรือไม่ 5) มีบุคลากรหมุนเวียนให้การดูแลรักษาเพียงพอหรือไม่
  • 8.       3.4 การจําแนกประเภทผู้ประสบภัย 1) มีแพทย์เป็นผู้จําแนกประเภทผู้ประสบภัยหรือไม่ 2) ผู้ประสบภัยทุกรายได้รับจําแนกประเภทที่ด่านแรกหน้า ER หรือไม่ 3) การจําแนกประเภทผู้ประสบภัยมีปัญหาหรือไม่ 3.5 การดูแลรักษา 1) การสื่อสารของ medical manager เป็นอย่างไร 2) medical manager แจ้งเรื่องเตียง ICU OR หรือแหล่งสนับสนุนอื่นๆ หรือไม่ 3) มีผู้ประภัยกี่รายที่ส่งเข้า OR ฉุกเฉิน 4) มีผู้ประภัยกี่รายที่ส่งเข้าไป CT ฉุกเฉิน 5) มีการประกาศเลิกใช้แผนรองรับ MCS หรือไม่ อาจสรุปได้ว่า Roadmap ในการจัดการเตรียมการใน ER นอกจากจะช่วยจัดเตรียมการรองรับ MCS ที่มารับบริการพร้อมกันเป็นจํานวนมากอย่างเป็นระบบและขั้นตอน ยังสามารถใช้ประเมินคุณภาพในการดูแล รักษาผู้ประสบภัยใน ER ขณะที่มีประกาศใช้แผนรองรับ MCS ได้ชัดเจน เพราะมีหลักฐานจากการปฏิบัติทุก ขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ และประเมินผลด้วยการสรุปบทเรียนและการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนําไป วิเคราะห์ และพัฒนาการวางแผนรองรับ MCS ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไปได้
  • 9.       เอกสารอ้างอิง 1. Burstein JL, Schwartz RB, Swienton RE. Medical response to terrorism. Preparedness and clinical practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004. 2. Levi L, Michaelson M, Admi H, Bergman D, Bar-Nahor R. National strategy for mass casualty situations and its effects on the hospital. Prehospital and Disaster Medicine 2002;17(1):12– 6. 3. Michaelson M, Hyams G, Blumenfeld A, Peleg K, Klein Y, Stein M, Poles L. Preparedness of health systems for mass casualty situations–Guidelines. Haifa, Israel: NATO Advanced Research Workshop on Mass Casualty Situations; 2005. 4. Blumenfeld A. Quality assurance and performance improvement. In Michaelson M, Hyams G, Blumenfeld A, Peleg K, Klein Y, Stein M, Poles L, editors. Preparedness of health systems for mass casualty situations–Guidelines. Haifa, Israel: NATO Advanced Research Workshop on Mass Casualty Situations; 2005. p.58–60. 5 Hyams G, Kradshtein H, Ben L. The role of a trauma coordinator in mass casualty situations. The 2nd Internationak Conference on preparedness & response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012. 6 Hyams G, Admi H, Utilz L, Eilon Y. Nursing roles in mass casualty events: The key for success. The 2nd Internationak Conference on preparedness & response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012. 7. Dallas C, Horner J, James J. Mass casualty emergency response training: The National Disaster Life Support (NDLS) Course Series. The 2nd International Conference on preparedness & response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012. 8. Hoe W. Preparing civilian medical responders for disaster incidents: A Singapore experience. The 2nd International Conference on preparedness & response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012. 9. Gens I. Multi-organizational training model for improving preparedness for earthquakes. The 2nd International Conference on preparedness & response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012. 10. Tener GV. Disaster nursing and emergency preparedness for chemical, biological, and radiological terrorism and other hazards. New York: Springer publishing; 2007.
  • 10.       11. Conlon L, Wiechula R. Preparing nurses for future disasters: The Sichuan experience. Australasian Emergency Nursing Journal. 2011;(14):246-50. 12. Ashkenazi I, Turegano F, Kessel B, Dudkevich M, Ofir A, et al. Optimal trauma care in conversional mass casualty incidents following terrorist explosions and shooting: classifying urgency of operations. The 2nd International Conference on preparedness & response to emergency & disasters. Tel Aviv; 2012.