SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5
ปีการศึกษา 2562
ชื่อโครงงาน โรคสมาธิสั้น ใกล้ตัวกว่าที่คิด
ชื่อผู้ทำโครงงาน
ชื่อ นางสาว พัชรพร ผิวคำ เลขที่ 6 ชั้น ม.6 ห้อง 6
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 62
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม
1. นางสาวพัชรพร ผิวคำ เลขที่ 6
คำชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
โรคสมาธิสั้น ใกล้ตัวกว่าที่คิด
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
(ADHD-Attention Deficit Hyperactivity Disorder)
ประเภทโครงงาน การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวพัชรพร ผิวคำ
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2562
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันถึงแม้การตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคซนสมาธิสั้นจะทําได้ใน สถานพยาบาลหลายแห่ง
ทุกจังหวัดทั่วประเทศ กลับพบว่าเด็กที่ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือ ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้า จาก
การสํารวจความคิดเห็นของครู 4,980 คน จาก 826 โรงเรียน โดย วินัดดา ปิยะศิลป์ พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีปัญหาการ
เรียนแต่โรงเรียนไม่มีระบบการประเมินปัญหา และติดตามระยะยาวการประเมินและแก้ปัญหาให้เด็กขึ้นกับความ
สนใจของครูประจําชั้น โรงเรียนเกือบ ทั้งหมดไม่มีการทํางานเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบกับโรงพยาบาล ทั้งที่ปัจจุบันมี
วิธีรักษาเด็กที่ป่วยเป็น โรคที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการเรียนได้ ในปี 2551-2552 ทางสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวง ศึกษาธิการ ได้ดําเนินการคัดกรองเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้มีรายละเอียดได้แก่
1. โครงการนี้ใช้เครื่องมือคัดกรอง KUS-SI กับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่มีปัญหา การเรียนรู้ใน
โรงเรียนสังกัด สพฐ. ซึ่งปัจจุบันได้ดําเนินการไปแล้วประมาณ 5,000 โรงเรียน (ครอบคลุม โรงเรียนทุกอําเภอและทุก
จังหวัดในประเทศไทย) จากโรงเรียนทั้งหมดประมาณ 30,000 โรงเรียน นโยบายปี 2553 จะยังคงดําเนินการต่อเนื่อง
ใน5,000 โรงเรียนเดิมต่อไปเพื่อพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง และสนับสนุนให้ครูทําวิจัยเพื่อพัฒนาการสอนให้ดีขึ้น
2. นักเรียนที่ผลการคัดกรองบ่งชี้ว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือออทิสติกจะได้รับการ จัดการเรียนการ
สอนพิเศษ ส่วนนักเรียนที่มีสมาธิสั้นซึ่งต้องอาศัยการรักษาจากแพทย์รวมด้วยยังได้รับ การดูแลไม่ทั่วถึงเนื่องจาก
ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และขาดการเชื่อมโยงกับกระทรวงสาธารณสุข ทํา ให้กระบวนการช่วยเหลือเด็กที่ผลการ
คัดกรองเป็นบวกยังเป็นปัญหา เนื่องจากจํานวนแพทย์ไม่เพียงพอ และระบบการช่วยเหลือไม่ชัดเจน นอกจากนี้ยัง
ขาดระบบการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน หรือ การรักษาเด็กที่มีปัญหา เพื่อให้ทราบว่าเด็กมีพัฒนาการไป
ในทางที่ดีขึ้นหรือไม่
ดังนั้น ตระหนักรู้ และการรับรู้ถึงปัญหา จะสามารถรักษาโรคมสาธิสั้นได้ เพราะโรคสมาธิสั้นส่งผลต่อ
การศึกษา การใช้ชีวิตในสังคม เพื่อให้สามารถป้องกันการเกิดปัญหาและรักษาต่อไป
3
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น
2.เพื่อศึกษาและหาวิธีการป้องกันโรคสมาธิสั้น
3.เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดข้อมูลที่ได้
ขอบเขตโครงงาน
1.ศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น
2.ศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
หลักการและทฤษฎี
โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit hyperactivity disorder: ADHD) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหุนหัน
พลันแล่น อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ และซน โรคนี้พบบ่อยในเด็ก แต่อาการของโรคยังสามารถคงอยู่จนกระทั่งเข้าสู่ช่วง
วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้
เดิมทีโรคสมาธิสั้นใช้ชื่อว่า Attention deficit disorder (ADD) จนถึงปี ค.ศ. 1987 ก่อนที่จะมีการเพิ่มคำว่า
hyperactivity เข้าไป กลายเป็น Attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการ
วินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ที่
กำหนดโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบันยังมีการใช้คำว่า ADD และ ADHD ในความหมายเดียวกัน หรือบางคนอาจเรียกเด็กที่มีปัญหา
เฉพาะด้านสมาธิแต่ไม่ซนว่าเป็นกลุ่ม ADD แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเห็นด้วยว่าคำว่า ADD ถือเป็นคำที่ล้าสมัยไปแล้ว
และการใช้คำนี้เป็นการระบุถึงโรคอาจทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะว่าโรค ADHD ก็มีประเภทย่อยต่างๆ ที่สามารถ
อธิบายแต่ละภาวะได้อยู่แล้ว
โรคนี้มีสาเหตุหลักมาจากความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ
และการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีอาการสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ สมาธิสั้น ขาดความยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น และมี
พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
อาการสมาธิสั้นในเด็ก
หากโรคสมาธิสั้นเกิดขึ้นในเด็กก็จะสังเกตได้ว่าเด็กมีพฤติกรรมซนกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน แต่โรคนี้ไม่ได้
เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เพราะเมื่อเด็กสมาธิสั้นได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กปกติ
อาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ทุกคนจะมีอาการตั้งแต่เด็ก แต่อาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ทำให้
ผู้ปกครองหรือพ่อแม่คิดว่าเด็กเพียงแต่มีนิสัยดื้อรั้นเท่านั้น อาการของโรคสมาธิสั้นที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ เช่น มา
ทำงานสายเป็นประจำ ทำงานตกๆ หล่นๆ ทำงานผิดพลาดจนถูกตำหนิบ่อยครั้ง เหม่อลอยเวลาทำงานที่ต้องใช้สมาธิ
เบื่อง่าย ทำอะไรนานๆ ไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ ส่งงานไม่ทันตามกำหนด พูดแทรกคนอื่น เครียด หงุดหงิดง่าย เป็นต้น
4
ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองมีภาวะนี้ โดยอาจแค่รู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องที่ลำบาก
และท้าทายเท่านั้น จึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่วนคนรอบข้างก็ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดปัญหา
ต่างๆ ตามมามากมาย ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งนี้บางคนอาจสังเกตว่าอาการของ
ตนเองค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่อีกหลายคนยังคงมีอาการอยู่อย่างต่อเนื่อง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคสมาธิสั้น
ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่แน่ใจว่าโรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมาธิสั้น
ในเด็ก ได้แก่
- พันธุกรรม โรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุยีนที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ชัดเจน
- การสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะตะกั่ว
- การใช้แอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
- การได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายของสมอง
- การคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น
หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น
- ล้มเหลวทางการศึกษา
- ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง
- ติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด
- ทำพฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย
- มีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
- เพื่อนน้อย หรือแทบไม่มีสังคม
โรคที่สามารถเกิดร่วมกับโรคสมาธิสั้นได้
- เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น
- โรควิตกกังวล
- ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
- โรคซึมเศร้า
- โรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์ (ภาวะที่มีอาการทั้งซึมเศร้าและร่าเริงเกินปกติ)
5
- โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่ส่งผลให้มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุก
รูปแบบ
- โรคเกเร (Conduct disorder) เป็นโรคที่มีพฤติกรรมในแง่ลบ เช่น โกหก ขโมยของ ใช้กำลัง หรือล้อเลียน
ผู้อื่น
- Tourette syndrome เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่จะมีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
- ปัญหาทางการนอนหลับ
- ปัสสาวะรดที่นอน
วิธีดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงาน
1. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น และอันตรายจากโรค
2. สำรวจสถิติของของโรคสมาธิสั้น และแนวโน้มในอนาคตในการเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงของของ
ประชากผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1.คอมพิวเตอร์
2.หนังสือพิมพ์
3.อินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ลำดับ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
12
1
3
1
4
1
5
16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน / / พัชรพร
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล / / พัชรพร
3 จัดทำโครงร่างงาน / พัชรพร
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน / / / พัชรพร
5 ปรับปรุงทดสอบ / / พัชรพร
6 การทำเอกสารรายงาน / / / / พัชรพร
7 ประเมินผลงาน / / พัชรพร
8 นำเสนอโครงงาน / พัชรพร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ศึกษาถึงปัญหา พฤติกรรม การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาโรคสมาธิสั้นทั้งโรคสมาธิสั้นในเด็กและโรค
สมาธิสั้นผู้ใหญ่
6
สถานที่ดำเนินการ
ที่บ้าน ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และห้อง Resorce
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขและพลศึกษา
2. .กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แหล่งอ้างอิง
คลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ.(2560).สมาธิสั้นใกล้ตัวเด็กกว่าที่คิด
[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/adhd-
disorder (วันที่สืบค้น 30 กันยายยน 2562)
นพ.ชลภัฏ จาตุรงคกุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ.
(2559).ลูกซนแค่ไหนจัดเป็น “สมาธิสั้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.psychiatry.or.th (วันที่
สืบค้น 30 กันยายยน 2562)
พญ. นิดา ลิ้มสุวรรณ.(2561).โรคสมาธิสั้น. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/09042014-1854
(วันที่สืบค้น 30 กันยายยน 2562)

More Related Content

What's hot

2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanokpimchanokSirichaisop
 
2561 project 37
2561 project 37  2561 project 37
2561 project 37 chadaa
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ปราณปริยา สุขเสริฐ
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์barbeesati
 
2562 final-project 14-610
2562 final-project 14-6102562 final-project 14-610
2562 final-project 14-610ssuser015151
 
2558 project (4)
2558 project  (4)2558 project  (4)
2558 project (4)pornkanok02
 
ใบงาน แบบสำรวจและประวัติของ นางสาวณัฐวดี บรรลือ
ใบงาน   แบบสำรวจและประวัติของ     นางสาวณัฐวดี บรรลือใบงาน   แบบสำรวจและประวัติของ     นางสาวณัฐวดี บรรลือ
ใบงาน แบบสำรวจและประวัติของ นางสาวณัฐวดี บรรลือNutz Dobii
 
2562 final-project 612-33
2562 final-project 612-332562 final-project 612-33
2562 final-project 612-33Mai Lovelove
 
ใบงานสำรวจตนเอง M611
ใบงานสำรวจตนเอง M611ใบงานสำรวจตนเอง M611
ใบงานสำรวจตนเอง M611Tanutcha Japunya
 
ใบงานสำรวจตนเอง M6หยก
ใบงานสำรวจตนเอง M6หยกใบงานสำรวจตนเอง M6หยก
ใบงานสำรวจตนเอง M6หยกYokyok' Nnp
 

What's hot (19)

2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok
 
2561 project 37
2561 project 37  2561 project 37
2561 project 37
 
Project
ProjectProject
Project
 
at1
at1at1
at1
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
2562 final-project 14-610
2562 final-project 14-6102562 final-project 14-610
2562 final-project 14-610
 
Project2222
Project2222Project2222
Project2222
 
2558 project (4)
2558 project  (4)2558 project  (4)
2558 project (4)
 
ใบงาน แบบสำรวจและประวัติของ นางสาวณัฐวดี บรรลือ
ใบงาน   แบบสำรวจและประวัติของ     นางสาวณัฐวดี บรรลือใบงาน   แบบสำรวจและประวัติของ     นางสาวณัฐวดี บรรลือ
ใบงาน แบบสำรวจและประวัติของ นางสาวณัฐวดี บรรลือ
 
2562 final-project 23-40
2562 final-project 23-402562 final-project 23-40
2562 final-project 23-40
 
2562 final-project 612-33
2562 final-project 612-332562 final-project 612-33
2562 final-project 612-33
 
Ocd
OcdOcd
Ocd
 
ใบงานสำรวจตนเอง M611
ใบงานสำรวจตนเอง M611ใบงานสำรวจตนเอง M611
ใบงานสำรวจตนเอง M611
 
ใบงานสำรวจตนเอง M6หยก
ใบงานสำรวจตนเอง M6หยกใบงานสำรวจตนเอง M6หยก
ใบงานสำรวจตนเอง M6หยก
 
นฤมิต
นฤมิตนฤมิต
นฤมิต
 
Work1.1
Work1.1Work1.1
Work1.1
 

Similar to AT1

Similar to AT1 (20)

Adhd
AdhdAdhd
Adhd
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
2561 project -2
2561 project -22561 project -2
2561 project -2
 
Comm 1-final
Comm 1-finalComm 1-final
Comm 1-final
 
2562 final-project 26-sathaporn
2562 final-project 26-sathaporn 2562 final-project 26-sathaporn
2562 final-project 26-sathaporn
 
ความขี้เกียจจงออกไปเอาความขยันกลับคืนมา
ความขี้เกียจจงออกไปเอาความขยันกลับคืนมาความขี้เกียจจงออกไปเอาความขยันกลับคืนมา
ความขี้เกียจจงออกไปเอาความขยันกลับคืนมา
 
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
 
2562 final-project 11-thunyarat
2562 final-project 11-thunyarat2562 final-project 11-thunyarat
2562 final-project 11-thunyarat
 
2562 final-project 11-thunyarat
2562 final-project 11-thunyarat2562 final-project 11-thunyarat
2562 final-project 11-thunyarat
 
W.11
W.11W.11
W.11
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
Com final
Com finalCom final
Com final
 
Great
GreatGreat
Great
 
Daniellll
DaniellllDaniellll
Daniellll
 
Daniellll
DaniellllDaniellll
Daniellll
 
โครงร่างบีม
โครงร่างบีมโครงร่างบีม
โครงร่างบีม
 
Comdaniel
ComdanielComdaniel
Comdaniel
 
2561 project 609
2561 project 6092561 project 609
2561 project 609
 

AT1

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5 ปีการศึกษา 2562 ชื่อโครงงาน โรคสมาธิสั้น ใกล้ตัวกว่าที่คิด ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อ นางสาว พัชรพร ผิวคำ เลขที่ 6 ชั้น ม.6 ห้อง 6 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 62 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาวพัชรพร ผิวคำ เลขที่ 6 คำชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) โรคสมาธิสั้น ใกล้ตัวกว่าที่คิด ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) (ADHD-Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ประเภทโครงงาน การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวพัชรพร ผิวคำ ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2562 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ในปัจจุบันถึงแม้การตรวจยืนยันเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคซนสมาธิสั้นจะทําได้ใน สถานพยาบาลหลายแห่ง ทุกจังหวัดทั่วประเทศ กลับพบว่าเด็กที่ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือ ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้า จาก การสํารวจความคิดเห็นของครู 4,980 คน จาก 826 โรงเรียน โดย วินัดดา ปิยะศิลป์ พบว่าเด็กกลุ่มนี้มีปัญหาการ เรียนแต่โรงเรียนไม่มีระบบการประเมินปัญหา และติดตามระยะยาวการประเมินและแก้ปัญหาให้เด็กขึ้นกับความ สนใจของครูประจําชั้น โรงเรียนเกือบ ทั้งหมดไม่มีการทํางานเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบกับโรงพยาบาล ทั้งที่ปัจจุบันมี วิธีรักษาเด็กที่ป่วยเป็น โรคที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการเรียนได้ ในปี 2551-2552 ทางสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวง ศึกษาธิการ ได้ดําเนินการคัดกรองเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้มีรายละเอียดได้แก่ 1. โครงการนี้ใช้เครื่องมือคัดกรอง KUS-SI กับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่มีปัญหา การเรียนรู้ใน โรงเรียนสังกัด สพฐ. ซึ่งปัจจุบันได้ดําเนินการไปแล้วประมาณ 5,000 โรงเรียน (ครอบคลุม โรงเรียนทุกอําเภอและทุก จังหวัดในประเทศไทย) จากโรงเรียนทั้งหมดประมาณ 30,000 โรงเรียน นโยบายปี 2553 จะยังคงดําเนินการต่อเนื่อง ใน5,000 โรงเรียนเดิมต่อไปเพื่อพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง และสนับสนุนให้ครูทําวิจัยเพื่อพัฒนาการสอนให้ดีขึ้น 2. นักเรียนที่ผลการคัดกรองบ่งชี้ว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือออทิสติกจะได้รับการ จัดการเรียนการ สอนพิเศษ ส่วนนักเรียนที่มีสมาธิสั้นซึ่งต้องอาศัยการรักษาจากแพทย์รวมด้วยยังได้รับ การดูแลไม่ทั่วถึงเนื่องจาก ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และขาดการเชื่อมโยงกับกระทรวงสาธารณสุข ทํา ให้กระบวนการช่วยเหลือเด็กที่ผลการ คัดกรองเป็นบวกยังเป็นปัญหา เนื่องจากจํานวนแพทย์ไม่เพียงพอ และระบบการช่วยเหลือไม่ชัดเจน นอกจากนี้ยัง ขาดระบบการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน หรือ การรักษาเด็กที่มีปัญหา เพื่อให้ทราบว่าเด็กมีพัฒนาการไป ในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ดังนั้น ตระหนักรู้ และการรับรู้ถึงปัญหา จะสามารถรักษาโรคมสาธิสั้นได้ เพราะโรคสมาธิสั้นส่งผลต่อ การศึกษา การใช้ชีวิตในสังคม เพื่อให้สามารถป้องกันการเกิดปัญหาและรักษาต่อไป
  • 3. 3 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้น 2.เพื่อศึกษาและหาวิธีการป้องกันโรคสมาธิสั้น 3.เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดข้อมูลที่ได้ ขอบเขตโครงงาน 1.ศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น 2.ศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น หลักการและทฤษฎี โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit hyperactivity disorder: ADHD) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหุนหัน พลันแล่น อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ และซน โรคนี้พบบ่อยในเด็ก แต่อาการของโรคยังสามารถคงอยู่จนกระทั่งเข้าสู่ช่วง วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้ เดิมทีโรคสมาธิสั้นใช้ชื่อว่า Attention deficit disorder (ADD) จนถึงปี ค.ศ. 1987 ก่อนที่จะมีการเพิ่มคำว่า hyperactivity เข้าไป กลายเป็น Attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการ วินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ที่ กำหนดโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันยังมีการใช้คำว่า ADD และ ADHD ในความหมายเดียวกัน หรือบางคนอาจเรียกเด็กที่มีปัญหา เฉพาะด้านสมาธิแต่ไม่ซนว่าเป็นกลุ่ม ADD แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเห็นด้วยว่าคำว่า ADD ถือเป็นคำที่ล้าสมัยไปแล้ว และการใช้คำนี้เป็นการระบุถึงโรคอาจทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะว่าโรค ADHD ก็มีประเภทย่อยต่างๆ ที่สามารถ อธิบายแต่ละภาวะได้อยู่แล้ว โรคนี้มีสาเหตุหลักมาจากความบกพร่องในการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีอาการสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ สมาธิสั้น ขาดความยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น และมี พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง อาการสมาธิสั้นในเด็ก หากโรคสมาธิสั้นเกิดขึ้นในเด็กก็จะสังเกตได้ว่าเด็กมีพฤติกรรมซนกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน แต่โรคนี้ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับสติปัญญา เพราะเมื่อเด็กสมาธิสั้นได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กปกติ อาการสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ทุกคนจะมีอาการตั้งแต่เด็ก แต่อาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ทำให้ ผู้ปกครองหรือพ่อแม่คิดว่าเด็กเพียงแต่มีนิสัยดื้อรั้นเท่านั้น อาการของโรคสมาธิสั้นที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ เช่น มา ทำงานสายเป็นประจำ ทำงานตกๆ หล่นๆ ทำงานผิดพลาดจนถูกตำหนิบ่อยครั้ง เหม่อลอยเวลาทำงานที่ต้องใช้สมาธิ เบื่อง่าย ทำอะไรนานๆ ไม่ได้ หลงๆ ลืมๆ ส่งงานไม่ทันตามกำหนด พูดแทรกคนอื่น เครียด หงุดหงิดง่าย เป็นต้น
  • 4. 4 ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองมีภาวะนี้ โดยอาจแค่รู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องที่ลำบาก และท้าทายเท่านั้น จึงทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่วนคนรอบข้างก็ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดปัญหา ต่างๆ ตามมามากมาย ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งนี้บางคนอาจสังเกตว่าอาการของ ตนเองค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่อีกหลายคนยังคงมีอาการอยู่อย่างต่อเนื่อง สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคสมาธิสั้น ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่แน่ใจว่าโรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมาธิสั้น ในเด็ก ได้แก่ - พันธุกรรม โรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุยีนที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ชัดเจน - การสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะตะกั่ว - การใช้แอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ - การได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายของสมอง - การคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น - ล้มเหลวทางการศึกษา - ไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน - มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ - เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง - ติดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด - ทำพฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย - มีปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน - เพื่อนน้อย หรือแทบไม่มีสังคม โรคที่สามารถเกิดร่วมกับโรคสมาธิสั้นได้ - เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น - โรควิตกกังวล - ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ - โรคซึมเศร้า - โรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์ (ภาวะที่มีอาการทั้งซึมเศร้าและร่าเริงเกินปกติ)
  • 5. 5 - โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่ส่งผลให้มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุก รูปแบบ - โรคเกเร (Conduct disorder) เป็นโรคที่มีพฤติกรรมในแง่ลบ เช่น โกหก ขโมยของ ใช้กำลัง หรือล้อเลียน ผู้อื่น - Tourette syndrome เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่จะมีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ - ปัญหาทางการนอนหลับ - ปัสสาวะรดที่นอน วิธีดำเนินงาน แนวทางการดำเนินงาน 1. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น และอันตรายจากโรค 2. สำรวจสถิติของของโรคสมาธิสั้น และแนวโน้มในอนาคตในการเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงของของ ประชากผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 1.คอมพิวเตอร์ 2.หนังสือพิมพ์ 3.อินเทอร์เน็ต ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน ลำดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 12 1 3 1 4 1 5 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน / / พัชรพร 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล / / พัชรพร 3 จัดทำโครงร่างงาน / พัชรพร 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน / / / พัชรพร 5 ปรับปรุงทดสอบ / / พัชรพร 6 การทำเอกสารรายงาน / / / / พัชรพร 7 ประเมินผลงาน / / พัชรพร 8 นำเสนอโครงงาน / พัชรพร ผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้ศึกษาถึงปัญหา พฤติกรรม การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาโรคสมาธิสั้นทั้งโรคสมาธิสั้นในเด็กและโรค สมาธิสั้นผู้ใหญ่
  • 6. 6 สถานที่ดำเนินการ ที่บ้าน ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และห้อง Resorce กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 1.กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขและพลศึกษา 2. .กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แหล่งอ้างอิง คลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ.(2560).สมาธิสั้นใกล้ตัวเด็กกว่าที่คิด [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/adhd- disorder (วันที่สืบค้น 30 กันยายยน 2562) นพ.ชลภัฏ จาตุรงคกุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ศูนย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2559).ลูกซนแค่ไหนจัดเป็น “สมาธิสั้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.psychiatry.or.th (วันที่ สืบค้น 30 กันยายยน 2562) พญ. นิดา ลิ้มสุวรรณ.(2561).โรคสมาธิสั้น. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/09042014-1854 (วันที่สืบค้น 30 กันยายยน 2562)