SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5
ปีการศึกษา 2562
ชื่อโครงงาน โรคจิต
ชื่อผู้ทาโครงงาน
ชื่อ นายโยธิน จันทร์รังษี เลขที่ 23
นายอติวิชญ์บัวทอง เลขที่40 ชั้นม.6 ห้อง 12
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานร่วม เขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 62
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม .……
1.นาย โยธิน จันทร์รังษี เลขที่ 23
นาย อติวิชญ์บัวทอง เลขที่40
คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน(ภาษาไทย) :โรคจิต
ชื่อโครงงาน(ภาษาอังกฤษ) : (Psychosis)
ประเภทโครงงาน การศึกษา
ชื่อผู้ทาโครงงาน นาย โยธิน จันทร์รังษี เลขที่ 23
นาย อติวิชญ์ บัวทอง เลขที่40
ชื่อที่ปรึกษาครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ชื่อที่ปรึกษาร่วม ครูนภดล ขอดคำ
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่1 และภาคเรียนที่ 2
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน(อธิบายถึงที่มา แนวคิด และเหตุผล ของการทาโครงงาน)
ทุกคนคงเคยได้ยินชื่อโรคชื่อนี้ เป็นโรคที่อยู่กับคนไทยมานานแสนนาน โรคจิต (Psychosis) คือ
ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
อาการโรคจิตหรือวิกลจริตนี้เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในอย่างความผิดปกติทางจิตต่างๆ
อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และปัจจัยภายนอกอย่างการใช้ยาหรือสารเสพติด
แม้อาการบางอย่างของผู้ป่วยโรคจิตจะทาให้ครอบครัวและบุคคลรอบข้างเป็นกังวล แต่หากได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนที่เหมาะสม
ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะอาการดีขึ้นจนกลับมาใช้ชีวิตประจาวันตามปกติได้
ขอบเขตโครงงาน(คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 และนักเรียนยุพราช
3
หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทาโครงงาน)
โรคจิต (Psychosis) คือ ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่ว
เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง อาการโรคจิตหรือวิกลจริตนี้เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ทั้งปัจจัยภายในอย่างความผิดปกติทางจิตต่างๆอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และปัจจัยภายนอกอย่างการใช้ยาหรือสารเสพติด
แม้อาการบางอย่างของผู้ป่วยโรคจิตจะทาให้ครอบครัวและบุคคลรอบข้างเป็นกังวล แต่หากได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนที่เหมาะสม
ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะอาการดีขึ้นจนกลับมาใช้ชีวิตประจาวันตามปกติได้
อาการโรคจิต
ผู้ป่วยโรคจิตแต่ละคนอาจมีลักษณะท่าทางและอาการที่ปรากฏแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มอาการหลัก ๆ ของโรคจิต ได้แก่
 ประสาทหลอน ประสาทรับรู้ทั้ง 5 เปลี่ยนแปลงและผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็นภาพหลอน มองเห็นสีหรือรูปร่างผิดแผกไป
ได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินรู้สึกถึงการสัมผัสทั้งที่ไม่มีใครแตะตัว ได้กลิ่นที่คนอื่นไม่รู้สึก และรับรู้ถึงรสชาติทั้ง ๆที่ไม่มีอะไรอยู่ในปากในขณะนั้น
เป็นต้น
 หลงผิด มีความคิดหรือความเชื่ออย่างแน่วแน่ในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เช่น หลงผิดคิดว่าตนเองกาลังถูกปองร้ายหรือมีคนวางแผนฆ่าตนเอง
หลงผิดว่าตนเองเป็นบุคคลสาคัญที่มีอานาจ หรือมีพลังวิเศษ เป็นต้น
 มีความคิดสับสนวุ่นวาย หรือมีรูปแบบกระบวนการคิดที่ไม่เป็นลาดับ ซึ่งส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ เช่น พูดไม่คิด พูดออกมาในทันที พูดเร็ว
พูดแล้วฟังไม่ได้ศัพท์ จัดเรียงลาดับคาในประโยคไม่ถูกต้อง สื่อสารไม่เข้าใจ พูดขาด ๆหาย ๆ พูดไม่ต่อเนื่อง หยุดพูดเป็นระยะ เป็นต้น
 ขาดการตระหนักรู้ ผู้ป่วยโรคจิตมักไม่รับรู้ว่าอาการหลงผิดและประสาทหลอนที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความจริง ทาให้ผู้ป่วยเกิดอาการอื่น ๆ
ที่เป็นปัญหาตามมา เช่น อาการตื่นตระหนก ตกใจกลัว ทุกข์ทรมาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคจิตอาจมีอาการอื่น ๆ ปรากฏด้วย เช่น
 ซึมเศร้า เก็บตัว
 แยกตัวจากเพื่อนและครอบครัว
 นอนนานกว่าปกติ หรือนอนไม่พอ
 หวาดระแวง ขี้สงสัย
 วิตกกังวล กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ
 อารมณ์แปรปรวน มีอาการซึมเศร้ามากหรือดีใจมากผิดปกติ
 ไม่รักษาความสะอาด
 ไม่สนใจทากิจกรรมใด ๆอย่างที่เคย
 มีความคิดแปลก ๆ
 มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้ากว่าปกติ แปลก หรือผิดปกติ
 มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น
 มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
สาเหตุของโรคจิต
แม้ในทางการแพทย์จะยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของอาการโรคจิตได้
แต่มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับปัจจัยสาคัญที่อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยเผชิญภาวะโรคจิต ได้แก่
ปัจจัยภายใน
 ความผิดปกติทางสมองและระดับสารเคมีในสมอง นักวิจัยหลายคนเชื่อว่า อาการโรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ทาหน้าที่ควบคุมกระบวนการคิดและการรับรู้ที่นาไปสู่การเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ
หากการทางานของสมองและสารสื่อประสาทได้รับความกระทบกระเทือน อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้
4
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สนับสนุนแนวคิดนี้ด้วยหลายงานค้นคว้าวิจัย ที่แสดงลักษณะทางกายภาพของสมองผ่านภาพสแกนสมอง
และการทดลองควบคุมระดับโดปามีน ซึ่งมีส่วนช่วยลดการเกิดอาการโรคจิตได้ด้วย
 ความผิดปกติทางจิต โรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตหรือทางบุคลิกภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia)
ทาให้มีอาการหลงผิดและประสาทหลอน ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) ที่ทาให้มีอาการซึมเศร้าหรืออารมณ์ดีสุดขีด
(Mania) มีความเครียด ความวิตกกังวลอย่างหนัก หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
 ความเจ็บป่วยทางร่างกาย เมื่อผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ
ภาวะน้าตาลในเลือดต่า โรคไข้จับสั่นหรือมาลาเรีย โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคปลอกประสาทอักเสบ
(Multiple Sclerosis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซิฟิลิส การติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มอาการเอดส์ มีเนื้องอกในสมอง เป็นต้น
 กรรมพันธุ์ บางทฤษฎีเชื่อว่าอาการโรคจิตมีแนวโน้มถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นได้
ปัจจัยภายนอก
การใช้ยาหรือการได้รับสารเคมีใด ๆเข้าสู่ร่างกายในทางที่ผิด หรือในปริมาณที่เกินพอดี อาจส่งผลกระทบทาให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น
การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพยาเสพติดอย่างโคเคน ยาบ้า (Amphetamine) ยาไอซ์(Methamphetamine) ยาอี(MDMA: Ecstasy)
ยาเค(Ketamine) หรือกัญชา เป็นต้น
อีกกรณีหนึ่ง หากผู้ป่วยหยุดใช้สารดังกล่าวข้างต้นหลังจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน อาจทาให้เกิดอาการโรคจิตได้
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในอาการถอนพิษยา
นอกจากนี้ แม้เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก แต่ในบางครั้งอาการโรคจิตอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาบางชนิดได้
หรืออาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาดได้เช่นกัน
การวินิจฉัยโรคจิต
หากผู้ป่วยเผชิญกับอาการต่าง ๆ ที่เป็นสัญญาณของโรคจิต ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาในทันที เพราะการบาบัดรักษาแต่เนิ่น ๆ
จะเป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วย
แต่หากผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าป่วย ไม่รับรู้สถานการณ์ และไม่ยอมไปพบแพทย์ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้น แล้วปรึกษาแพทย์
ติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือพาผู้ป่วยไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
เมื่อไปพบแพทย์ ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการ เพื่อหาสาเหตุของอาการโรคจิตที่เกิดขึ้น
โดยแพทย์อาจถามเกี่ยวกับอาการและภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร
การดาเนินชีวิตในแต่ละวันที่ผ่านมา ประวัติการใช้ยาและสารเสพติด และประวัติการป่วยด้วยปัญหาสุขภาพจิตภายในครอบครัว เป็นต้น
หากตรวจอาการในเบื้องต้นแล้วแพทย์มีความเห็นว่าผู้ป่วยอาจมีอาการโรคจิตจริง แพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยให้ไปตรวจรักษากับจิตแพทย์
ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต จิตแพทย์จะทาหน้าที่ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการโรคจิต
เพื่อวางแผนรักษาผู้ป่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวช เช่น นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่พยาบาล
โดยกระบวนการทั้งหมดอาจเกี่ยวข้องกับการใช้เทคนิคและเครื่องมือประกอบการตรวจวินิจฉัย ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของผู้ป่วยด้วย
การรักษาโรคจิต
โรคจิตรักษาและบรรเทาอาการได้ โดยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจาวันต่าง ๆได้ดีขึ้น หรือได้ตามปกติ
โดยกระบวนการรักษาหลัก คือ การรักษาด้วยยา และการบาบัดทางจิต
การรักษาด้วยยา
อาการโรคจิตมักรักษาควบคุมอาการได้ด้วยการใช้ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) ซึ่งเป็นยาตามคาสั่งแพทย์เท่านั้น
แพทย์อาจให้ยาแบบรับประทานหรือให้ผู้ป่วยมาพบเพื่อรับการฉีดยาเป็นระยะ
ยาต้านอาการทางจิตจะออกฤทธิ์ยับยั้งโดปามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง เป็นการช่วยลดการเกิดอาการประสาทหลอนและอาการหลงผิด
ช่วยให้ผู้ป่วยคิดและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น โดยยาต้านอาการทางจิตมีอยู่หลายชนิด
แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรจะใช้ยาชนิดใดและจะใช้เป็นเวลานานเท่าใด
5
การรักษาทางยาเป็นการรักษาที่สาคัญมากวิธีหนึ่ง ดังนั้น
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่าเสมอจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาต้านอาการทางจิตรักษาในช่วงสั้นๆ
ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยานี้เพื่อรักษาควบคุมอาการโรคจิตไปตลอดชีวิต
เนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยที่อาจทาให้อาการโรคจิตกาเริบกลับมาได้หากหยุดใช้ยา เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia)
อย่างไรก็ตามการใช้ยาต้านอาการทางจิตอาจส่งผลข้างเคียงและไม่นาไปใช้กับการรักษาผู้ป่วยทุกรายเสมอไป
แพทย์อาจต้องดูแลอาการอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยโรคลมชัก เพราะยาต้านอาการทางจิตอาจส่งผลทาให้การเกิดอาการชักได้
หรือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะยาอาจส่งผลต่อการทางานของหัวใจ หลอดเลือด และการหมุนเวียนเลือด
ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยได้
ส่วนผลข้างเคียงทั่วไปที่อาจพบในผู้ป่วยบางรายหลังการใช้ยาต้านอาการทางจิต ได้แก่ อาการง่วงซึม ปากแห้ง เวียนหัว ท้องผูก ตัวสั่น ใจสั่น
กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ความต้องการทางเพศลดลง น้าหนักตัวเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อกระตุกหรือหดเกร็งจนอาจทาให้เกิดความเจ็บปวด
ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ชัดเจน เป็นต้น
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยพบอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทาการตรวจรักษาให้ทันท่วงทีต่อไป
การบาบัดทางจิต
การบาบัดทางจิตอาจช่วยคลายความตึงเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากอาการโรคจิต เช่น
การบาบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) เป็นวิธีการดูแลสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้พูดคุย
บอกเล่าถึงสิ่งที่พวกเขากาลังเผชิญจนทาให้เกิดความทุกข์ นักบาบัดจะคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยทาความเข้าใจถึงสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
เพื่อให้พวกเขาผ่อนคลายและหาทางออกจากความทุกข์เหล่านั้นได้ในที่สุด
วิธีการนี้มักได้ผลดีกับผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวแล้วไม่เกิดประสิทธิผลมากเท่าที่ควร
อีกทั้งเป็นวิธีที่อาจส่งผลดีในระยะยาวได้จากการที่ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะปรับ จัดการ จัดระเบียบรูปแบบความคิดและพฤติกรรมของพวกเขาเอง
การบาบัดแบบครอบครัว เป็นวิธีการที่ให้ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวได้มาพูดคุยถึงความคิดความรู้สึก
และปรึกษาหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบกับสมาชิกคนอื่น ๆในครอบครัวไปด้วย
ช่วยทาให้ญาติจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยได้ดีขึ้น มีความรู้สึกเครียดกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยน้อยลง
โดยขั้นตอนทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักบาบัดเช่นกัน วิธีการนี้มักเกิดประสิทธิผลที่ดีทั้งต่อตัวผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวในระยะยาวด้วย
เพราะนาไปสู่การเกิดความรักความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจกันภายในครอบครัวมากยิ่งขึ้น
การเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-Help Goups)
นักบาบัดจะคอยดูแลสนับสนุนให้ผู้ป่วยที่เคยมีอาการโรคจิตได้พูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
เนื่องจากการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่เคยเผชิญเหตุการณ์คล้าย ๆกัน อาจช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย
และเข้าใจสถานการณ์ได้ดีจนเกิดประสิทธิผลที่ดีในการบาบัดรักษาตามมา
ภาวะแทรกซ้อนของโรคจิต
 การใช้ยาในทางที่ผิดและการใช้สารเสพติด ผู้ป่วยที่มีประวัติอาการโรคจิตมีแนวโน้มที่จะใช้ยาและสารเสพติดต่าง ๆ
อย่างผิดจุดประสงค์หรือเกินขนาด เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น การใช้ยาหรือสารเสพติดในลักษณะนี้
อาจมีผลทาให้อาการโรคจิตกาเริบและทรุดหนักลง
 การทาร้ายตนเองและการฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่มีประวัติอาการโรคจิตมีแนวโน้มในการทาร้ายร่างกายตนเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย
โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมผิวหนังและร่างกายไว้แม้ในสภาพอากาศที่ร้อนมากก็ตาม
เพื่อไม่ให้คนภายนอกมองเห็นร่องรอยหรือบาดแผลที่เกิดจากการทาร้ายตนเอง บุคคลใกล้ชิดจึงควรสังเกตอาการของผู้ป่วย
หากพบเห็นสัญญาณของการทาร้ายตนเอง เช่น รอยแผลที่หาสาเหตุไม่ได้ รอยฟกช้า รอยไหม้จากการถูกบุหรี่จี้ ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
การป้องกันการเกิดอาการโรคจิต
โรคจิตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเตุ ซึ่งบางปัจจัยก็เป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ในบางกรณี
อาจป้องกันการเกิดอาการโรคจิตได้ด้วยการลดความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น
 หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดให้โทษทุกชนิด ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติด
6
 หลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างผิดจุดประสงค์ หรือเกินปริมาณที่แพทย์กาหนด
 ออกกาลังกายอย่างเหมาะสมสม่าเสมอเพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในสมองเซโรโทนิน ซึ่งช่วยในการกระตุ้นอารมณ์ผ่อนคลายต่าง ๆ
 เรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด สร้างความผ่อนคลายให้แก่ร่างกายแลจิตใจ โดยไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจทาให้เกิดปัญหาอื่น ๆ
ตามมาได้อย่างการดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติด
 บริหารอารมณ์และความคิด มองโลกในแง่ดี และคิดแก้ไขจัดการปัญหาต่าง ๆอย่างสร้างสรรค์
 หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบความผิดปกติหรือมีข้อสงสัยใด ๆ
ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือไปพบแพทย์ตรวจรักษา
วิธีดาเนินงาน
แนวทางการดาเนินงาน
-เลือกหัวข้อโครงาน
-นาเสนอหัวข้อแก่ครูผู้สอน
-ศึกษารวบรวมข้อมูล
-จัดทารายงาน
-นาเสนอครูผู้สอน
-ปรับปรุงและแกไข
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
-คอมพิวเตอร์
-โทรศัพท์มือถือ
-อินเตอร์เน็ต
งบประมาณ
200-300บาท
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
7
ลาดับ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
3 จัดทาโครงร่างงาน
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
5 ปรับปรุงทดสอบ
6 การทาเอกสารรายงาน
7 ประเมินผลงาน
8 นาเสนอโครงงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทาโครงงาน)
1.ผู้จัดทามีความเข้าใจในหัวข้อที่สนใจมากขึ้น
2.สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้จริง
3.สามารถนาความรู้ไปเผยแพร่ให้เพื่อนหรือบุคคลที่สนใจได้
4.ผู้จัดทามีการทางานเป็นระบบยิ่งขึ้น
สถานที่ดาเนินการ
ห้องคอมพิวเตอร์โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆที่นามาใช้การทาโครงงาน)
https://www.phukethospital.com/th/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0
%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A
1%E0%B8%B9%E0%B9%88-en/cancer/
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9
%87%E0%B8%87

More Related Content

What's hot

ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นKorakrit Jindadang
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project ssuser8b423e
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5pimrapat_55
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5pimrapat_55
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5Papitchaya_19
 
Pathological gamers
Pathological gamersPathological gamers
Pathological gamersssuserab0e2b
 
2561 project
2561 project 2561 project
2561 project asirwa04
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ปราณปริยา สุขเสริฐ
 
2562-final-project
 2562-final-project  2562-final-project
2562-final-project mew46716
 
2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanokpimchanokSirichaisop
 

What's hot (18)

ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
Project com no.38 (1)
Project com no.38 (1)Project com no.38 (1)
Project com no.38 (1)
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
 
W.111
W.111W.111
W.111
 
Pathological gamers
Pathological gamersPathological gamers
Pathological gamers
 
2561 project
2561 project 2561 project
2561 project
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
2562-final-project
 2562-final-project  2562-final-project
2562-final-project
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
Project
ProjectProject
Project
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
Com final2
Com final2Com final2
Com final2
 
AT1
AT1AT1
AT1
 
2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok
 

Similar to 2562 final-project 23-40

2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 
2562 final-project 26-sathaporn
2562 final-project 26-sathaporn 2562 final-project 26-sathaporn
2562 final-project 26-sathaporn SathapornTaboo
 
2562 final-project 14-610
2562 final-project 14-6102562 final-project 14-610
2562 final-project 14-610ssuser015151
 
Work 1 piyathida
Work 1 piyathidaWork 1 piyathida
Work 1 piyathidaasirwa04
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ pimrapat_55
 
ใบงานที่6-โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่6-โครงร่างโครงงานใบงานที่6-โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่6-โครงร่างโครงงานNatthanaSriloer
 
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์bamhattamanee
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์barbeesati
 
งานคอมสมบูรณ์
งานคอมสมบูรณ์งานคอมสมบูรณ์
งานคอมสมบูรณ์KPainapa
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานNapatcha Jeno
 

Similar to 2562 final-project 23-40 (20)

2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
Final project
Final projectFinal project
Final project
 
2562 final-project 26-sathaporn
2562 final-project 26-sathaporn 2562 final-project 26-sathaporn
2562 final-project 26-sathaporn
 
2562 final-project 14-610
2562 final-project 14-6102562 final-project 14-610
2562 final-project 14-610
 
Work 1 piyathida
Work 1 piyathidaWork 1 piyathida
Work 1 piyathida
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบงานที่6-โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่6-โครงร่างโครงงานใบงานที่6-โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่6-โครงร่างโครงงาน
 
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
 
Do you-know-green-tea
Do you-know-green-teaDo you-know-green-tea
Do you-know-green-tea
 
2560 project .doc2
2560 project .doc22560 project .doc2
2560 project .doc2
 
The effect of sleep deprivation
The effect of sleep deprivationThe effect of sleep deprivation
The effect of sleep deprivation
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Work1.1
Work1.1Work1.1
Work1.1
 
งานคอมสมบูรณ์
งานคอมสมบูรณ์งานคอมสมบูรณ์
งานคอมสมบูรณ์
 
W.1
W.1W.1
W.1
 
2561 project -2
2561 project -22561 project -2
2561 project -2
 
2562 final-project -1-23-1
2562 final-project -1-23-12562 final-project -1-23-1
2562 final-project -1-23-1
 
2558 project
2558 project 2558 project
2558 project
 
2561 project com
2561 project com2561 project com
2561 project com
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
 

More from mearnfunTamonwan

More from mearnfunTamonwan (12)

Sen3
Sen3Sen3
Sen3
 
Sen(3)
Sen(3)Sen(3)
Sen(3)
 
5555
55555555
5555
 
Blood donation power point templates
Blood donation power point templatesBlood donation power point templates
Blood donation power point templates
 
Computer project (1)
Computer project (1)Computer project (1)
Computer project (1)
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
White and black introduction to minimalist design presentation
White and black introduction to minimalist design presentationWhite and black introduction to minimalist design presentation
White and black introduction to minimalist design presentation
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
Presentation 3 (1)
Presentation 3 (1)Presentation 3 (1)
Presentation 3 (1)
 
Project com 612
Project com 612Project com 612
Project com 612
 

2562 final-project 23-40

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5 ปีการศึกษา 2562 ชื่อโครงงาน โรคจิต ชื่อผู้ทาโครงงาน ชื่อ นายโยธิน จันทร์รังษี เลขที่ 23 นายอติวิชญ์บัวทอง เลขที่40 ชั้นม.6 ห้อง 12 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานร่วม เขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 62 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม .…… 1.นาย โยธิน จันทร์รังษี เลขที่ 23 นาย อติวิชญ์บัวทอง เลขที่40 คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน(ภาษาไทย) :โรคจิต ชื่อโครงงาน(ภาษาอังกฤษ) : (Psychosis) ประเภทโครงงาน การศึกษา ชื่อผู้ทาโครงงาน นาย โยธิน จันทร์รังษี เลขที่ 23 นาย อติวิชญ์ บัวทอง เลขที่40 ชื่อที่ปรึกษาครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ชื่อที่ปรึกษาร่วม ครูนภดล ขอดคำ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่1 และภาคเรียนที่ 2 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน(อธิบายถึงที่มา แนวคิด และเหตุผล ของการทาโครงงาน) ทุกคนคงเคยได้ยินชื่อโรคชื่อนี้ เป็นโรคที่อยู่กับคนไทยมานานแสนนาน โรคจิต (Psychosis) คือ ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง อาการโรคจิตหรือวิกลจริตนี้เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในอย่างความผิดปกติทางจิตต่างๆ อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และปัจจัยภายนอกอย่างการใช้ยาหรือสารเสพติด แม้อาการบางอย่างของผู้ป่วยโรคจิตจะทาให้ครอบครัวและบุคคลรอบข้างเป็นกังวล แต่หากได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะอาการดีขึ้นจนกลับมาใช้ชีวิตประจาวันตามปกติได้ ขอบเขตโครงงาน(คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 และนักเรียนยุพราช
  • 3. 3 หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทาโครงงาน) โรคจิต (Psychosis) คือ ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็นจริง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง อาการโรคจิตหรือวิกลจริตนี้เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในอย่างความผิดปกติทางจิตต่างๆอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และปัจจัยภายนอกอย่างการใช้ยาหรือสารเสพติด แม้อาการบางอย่างของผู้ป่วยโรคจิตจะทาให้ครอบครัวและบุคคลรอบข้างเป็นกังวล แต่หากได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะอาการดีขึ้นจนกลับมาใช้ชีวิตประจาวันตามปกติได้ อาการโรคจิต ผู้ป่วยโรคจิตแต่ละคนอาจมีลักษณะท่าทางและอาการที่ปรากฏแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มอาการหลัก ๆ ของโรคจิต ได้แก่  ประสาทหลอน ประสาทรับรู้ทั้ง 5 เปลี่ยนแปลงและผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็นภาพหลอน มองเห็นสีหรือรูปร่างผิดแผกไป ได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินรู้สึกถึงการสัมผัสทั้งที่ไม่มีใครแตะตัว ได้กลิ่นที่คนอื่นไม่รู้สึก และรับรู้ถึงรสชาติทั้ง ๆที่ไม่มีอะไรอยู่ในปากในขณะนั้น เป็นต้น  หลงผิด มีความคิดหรือความเชื่ออย่างแน่วแน่ในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เช่น หลงผิดคิดว่าตนเองกาลังถูกปองร้ายหรือมีคนวางแผนฆ่าตนเอง หลงผิดว่าตนเองเป็นบุคคลสาคัญที่มีอานาจ หรือมีพลังวิเศษ เป็นต้น  มีความคิดสับสนวุ่นวาย หรือมีรูปแบบกระบวนการคิดที่ไม่เป็นลาดับ ซึ่งส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ เช่น พูดไม่คิด พูดออกมาในทันที พูดเร็ว พูดแล้วฟังไม่ได้ศัพท์ จัดเรียงลาดับคาในประโยคไม่ถูกต้อง สื่อสารไม่เข้าใจ พูดขาด ๆหาย ๆ พูดไม่ต่อเนื่อง หยุดพูดเป็นระยะ เป็นต้น  ขาดการตระหนักรู้ ผู้ป่วยโรคจิตมักไม่รับรู้ว่าอาการหลงผิดและประสาทหลอนที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความจริง ทาให้ผู้ป่วยเกิดอาการอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาตามมา เช่น อาการตื่นตระหนก ตกใจกลัว ทุกข์ทรมาน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคจิตอาจมีอาการอื่น ๆ ปรากฏด้วย เช่น  ซึมเศร้า เก็บตัว  แยกตัวจากเพื่อนและครอบครัว  นอนนานกว่าปกติ หรือนอนไม่พอ  หวาดระแวง ขี้สงสัย  วิตกกังวล กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ  อารมณ์แปรปรวน มีอาการซึมเศร้ามากหรือดีใจมากผิดปกติ  ไม่รักษาความสะอาด  ไม่สนใจทากิจกรรมใด ๆอย่างที่เคย  มีความคิดแปลก ๆ  มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้ากว่าปกติ แปลก หรือผิดปกติ  มีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น  มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย สาเหตุของโรคจิต แม้ในทางการแพทย์จะยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของอาการโรคจิตได้ แต่มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับปัจจัยสาคัญที่อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยเผชิญภาวะโรคจิต ได้แก่ ปัจจัยภายใน  ความผิดปกติทางสมองและระดับสารเคมีในสมอง นักวิจัยหลายคนเชื่อว่า อาการโรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ทาหน้าที่ควบคุมกระบวนการคิดและการรับรู้ที่นาไปสู่การเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ หากการทางานของสมองและสารสื่อประสาทได้รับความกระทบกระเทือน อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้
  • 4. 4 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สนับสนุนแนวคิดนี้ด้วยหลายงานค้นคว้าวิจัย ที่แสดงลักษณะทางกายภาพของสมองผ่านภาพสแกนสมอง และการทดลองควบคุมระดับโดปามีน ซึ่งมีส่วนช่วยลดการเกิดอาการโรคจิตได้ด้วย  ความผิดปกติทางจิต โรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตหรือทางบุคลิกภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) ทาให้มีอาการหลงผิดและประสาทหลอน ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) ที่ทาให้มีอาการซึมเศร้าหรืออารมณ์ดีสุดขีด (Mania) มีความเครียด ความวิตกกังวลอย่างหนัก หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง  ความเจ็บป่วยทางร่างกาย เมื่อผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะน้าตาลในเลือดต่า โรคไข้จับสั่นหรือมาลาเรีย โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซิฟิลิส การติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มอาการเอดส์ มีเนื้องอกในสมอง เป็นต้น  กรรมพันธุ์ บางทฤษฎีเชื่อว่าอาการโรคจิตมีแนวโน้มถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นได้ ปัจจัยภายนอก การใช้ยาหรือการได้รับสารเคมีใด ๆเข้าสู่ร่างกายในทางที่ผิด หรือในปริมาณที่เกินพอดี อาจส่งผลกระทบทาให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพยาเสพติดอย่างโคเคน ยาบ้า (Amphetamine) ยาไอซ์(Methamphetamine) ยาอี(MDMA: Ecstasy) ยาเค(Ketamine) หรือกัญชา เป็นต้น อีกกรณีหนึ่ง หากผู้ป่วยหยุดใช้สารดังกล่าวข้างต้นหลังจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน อาจทาให้เกิดอาการโรคจิตได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในอาการถอนพิษยา นอกจากนี้ แม้เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก แต่ในบางครั้งอาการโรคจิตอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาบางชนิดได้ หรืออาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาดได้เช่นกัน การวินิจฉัยโรคจิต หากผู้ป่วยเผชิญกับอาการต่าง ๆ ที่เป็นสัญญาณของโรคจิต ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาในทันที เพราะการบาบัดรักษาแต่เนิ่น ๆ จะเป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วย แต่หากผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าป่วย ไม่รับรู้สถานการณ์ และไม่ยอมไปพบแพทย์ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้น แล้วปรึกษาแพทย์ ติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือพาผู้ป่วยไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เมื่อไปพบแพทย์ ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการ เพื่อหาสาเหตุของอาการโรคจิตที่เกิดขึ้น โดยแพทย์อาจถามเกี่ยวกับอาการและภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร การดาเนินชีวิตในแต่ละวันที่ผ่านมา ประวัติการใช้ยาและสารเสพติด และประวัติการป่วยด้วยปัญหาสุขภาพจิตภายในครอบครัว เป็นต้น หากตรวจอาการในเบื้องต้นแล้วแพทย์มีความเห็นว่าผู้ป่วยอาจมีอาการโรคจิตจริง แพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยให้ไปตรวจรักษากับจิตแพทย์ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต จิตแพทย์จะทาหน้าที่ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการโรคจิต เพื่อวางแผนรักษาผู้ป่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวช เช่น นักจิตวิทยา และเจ้าหน้าที่พยาบาล โดยกระบวนการทั้งหมดอาจเกี่ยวข้องกับการใช้เทคนิคและเครื่องมือประกอบการตรวจวินิจฉัย ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของผู้ป่วยด้วย การรักษาโรคจิต โรคจิตรักษาและบรรเทาอาการได้ โดยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจาวันต่าง ๆได้ดีขึ้น หรือได้ตามปกติ โดยกระบวนการรักษาหลัก คือ การรักษาด้วยยา และการบาบัดทางจิต การรักษาด้วยยา อาการโรคจิตมักรักษาควบคุมอาการได้ด้วยการใช้ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) ซึ่งเป็นยาตามคาสั่งแพทย์เท่านั้น แพทย์อาจให้ยาแบบรับประทานหรือให้ผู้ป่วยมาพบเพื่อรับการฉีดยาเป็นระยะ ยาต้านอาการทางจิตจะออกฤทธิ์ยับยั้งโดปามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง เป็นการช่วยลดการเกิดอาการประสาทหลอนและอาการหลงผิด ช่วยให้ผู้ป่วยคิดและเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น โดยยาต้านอาการทางจิตมีอยู่หลายชนิด แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรจะใช้ยาชนิดใดและจะใช้เป็นเวลานานเท่าใด
  • 5. 5 การรักษาทางยาเป็นการรักษาที่สาคัญมากวิธีหนึ่ง ดังนั้น การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสม่าเสมอจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาต้านอาการทางจิตรักษาในช่วงสั้นๆ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยานี้เพื่อรักษาควบคุมอาการโรคจิตไปตลอดชีวิต เนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยที่อาจทาให้อาการโรคจิตกาเริบกลับมาได้หากหยุดใช้ยา เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) อย่างไรก็ตามการใช้ยาต้านอาการทางจิตอาจส่งผลข้างเคียงและไม่นาไปใช้กับการรักษาผู้ป่วยทุกรายเสมอไป แพทย์อาจต้องดูแลอาการอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยโรคลมชัก เพราะยาต้านอาการทางจิตอาจส่งผลทาให้การเกิดอาการชักได้ หรือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะยาอาจส่งผลต่อการทางานของหัวใจ หลอดเลือด และการหมุนเวียนเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยได้ ส่วนผลข้างเคียงทั่วไปที่อาจพบในผู้ป่วยบางรายหลังการใช้ยาต้านอาการทางจิต ได้แก่ อาการง่วงซึม ปากแห้ง เวียนหัว ท้องผูก ตัวสั่น ใจสั่น กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ความต้องการทางเพศลดลง น้าหนักตัวเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อกระตุกหรือหดเกร็งจนอาจทาให้เกิดความเจ็บปวด ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ชัดเจน เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยพบอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทาการตรวจรักษาให้ทันท่วงทีต่อไป การบาบัดทางจิต การบาบัดทางจิตอาจช่วยคลายความตึงเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากอาการโรคจิต เช่น การบาบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) เป็นวิธีการดูแลสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้พูดคุย บอกเล่าถึงสิ่งที่พวกเขากาลังเผชิญจนทาให้เกิดความทุกข์ นักบาบัดจะคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยทาความเข้าใจถึงสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้พวกเขาผ่อนคลายและหาทางออกจากความทุกข์เหล่านั้นได้ในที่สุด วิธีการนี้มักได้ผลดีกับผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวแล้วไม่เกิดประสิทธิผลมากเท่าที่ควร อีกทั้งเป็นวิธีที่อาจส่งผลดีในระยะยาวได้จากการที่ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะปรับ จัดการ จัดระเบียบรูปแบบความคิดและพฤติกรรมของพวกเขาเอง การบาบัดแบบครอบครัว เป็นวิธีการที่ให้ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวได้มาพูดคุยถึงความคิดความรู้สึก และปรึกษาหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบกับสมาชิกคนอื่น ๆในครอบครัวไปด้วย ช่วยทาให้ญาติจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยได้ดีขึ้น มีความรู้สึกเครียดกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยน้อยลง โดยขั้นตอนทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักบาบัดเช่นกัน วิธีการนี้มักเกิดประสิทธิผลที่ดีทั้งต่อตัวผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวในระยะยาวด้วย เพราะนาไปสู่การเกิดความรักความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจกันภายในครอบครัวมากยิ่งขึ้น การเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง (Self-Help Goups) นักบาบัดจะคอยดูแลสนับสนุนให้ผู้ป่วยที่เคยมีอาการโรคจิตได้พูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เนื่องจากการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่เคยเผชิญเหตุการณ์คล้าย ๆกัน อาจช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย และเข้าใจสถานการณ์ได้ดีจนเกิดประสิทธิผลที่ดีในการบาบัดรักษาตามมา ภาวะแทรกซ้อนของโรคจิต  การใช้ยาในทางที่ผิดและการใช้สารเสพติด ผู้ป่วยที่มีประวัติอาการโรคจิตมีแนวโน้มที่จะใช้ยาและสารเสพติดต่าง ๆ อย่างผิดจุดประสงค์หรือเกินขนาด เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น การใช้ยาหรือสารเสพติดในลักษณะนี้ อาจมีผลทาให้อาการโรคจิตกาเริบและทรุดหนักลง  การทาร้ายตนเองและการฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่มีประวัติอาการโรคจิตมีแนวโน้มในการทาร้ายร่างกายตนเองหรือพยายามฆ่าตัวตาย โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักสวมใส่เสื้อผ้าปกคลุมผิวหนังและร่างกายไว้แม้ในสภาพอากาศที่ร้อนมากก็ตาม เพื่อไม่ให้คนภายนอกมองเห็นร่องรอยหรือบาดแผลที่เกิดจากการทาร้ายตนเอง บุคคลใกล้ชิดจึงควรสังเกตอาการของผู้ป่วย หากพบเห็นสัญญาณของการทาร้ายตนเอง เช่น รอยแผลที่หาสาเหตุไม่ได้ รอยฟกช้า รอยไหม้จากการถูกบุหรี่จี้ ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที การป้องกันการเกิดอาการโรคจิต โรคจิตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเตุ ซึ่งบางปัจจัยก็เป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ในบางกรณี อาจป้องกันการเกิดอาการโรคจิตได้ด้วยการลดความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น  หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดให้โทษทุกชนิด ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติด
  • 6. 6  หลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างผิดจุดประสงค์ หรือเกินปริมาณที่แพทย์กาหนด  ออกกาลังกายอย่างเหมาะสมสม่าเสมอเพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเคมีในสมองเซโรโทนิน ซึ่งช่วยในการกระตุ้นอารมณ์ผ่อนคลายต่าง ๆ  เรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด สร้างความผ่อนคลายให้แก่ร่างกายแลจิตใจ โดยไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจทาให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้อย่างการดื่มสุรา หรือการใช้ยาเสพติด  บริหารอารมณ์และความคิด มองโลกในแง่ดี และคิดแก้ไขจัดการปัญหาต่าง ๆอย่างสร้างสรรค์  หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือบุคคลใกล้ชิด ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากพบความผิดปกติหรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือไปพบแพทย์ตรวจรักษา วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน -เลือกหัวข้อโครงาน -นาเสนอหัวข้อแก่ครูผู้สอน -ศึกษารวบรวมข้อมูล -จัดทารายงาน -นาเสนอครูผู้สอน -ปรับปรุงและแกไข เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ -คอมพิวเตอร์ -โทรศัพท์มือถือ -อินเตอร์เน็ต งบประมาณ 200-300บาท ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
  • 7. 7 ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล 3 จัดทาโครงร่างงาน 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน 5 ปรับปรุงทดสอบ 6 การทาเอกสารรายงาน 7 ประเมินผลงาน 8 นาเสนอโครงงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทาโครงงาน) 1.ผู้จัดทามีความเข้าใจในหัวข้อที่สนใจมากขึ้น 2.สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้จริง 3.สามารถนาความรู้ไปเผยแพร่ให้เพื่อนหรือบุคคลที่สนใจได้ 4.ผู้จัดทามีการทางานเป็นระบบยิ่งขึ้น สถานที่ดาเนินการ ห้องคอมพิวเตอร์โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆที่นามาใช้การทาโครงงาน) https://www.phukethospital.com/th/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0 %B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A 1%E0%B8%B9%E0%B9%88-en/cancer/ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9 %87%E0%B8%87