SlideShare a Scribd company logo
1
จูฬนารทกัสสปชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๔. จูฬนารทกัสสปชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๗๗)
ว่าด้วยกัสสปดาบสสอนจูฬนารทดาบส
(พระโพธิสัตว์ถามลูกชายว่า)
[๔๐] ฟืนลูกก็มิได้ผ่า น้าลูกก็มิได้ตัก แม้ไฟลูกก็มิได้ก่อให้โพลงขึ้น
ทาไมหนอ ลูกจึงซบเซาเหมือนคนปัญญาอ่อน
(ดาบสกุมารตอบว่า)
[๔๑] พ่อกัสสปะ ลูกหมดความพยายามที่จะอยู่ป่าต่อไป ขอกราบลาพ่อ
การอยู่ในป่าลาบาก ลูกต้องการจะไปยังเมือง
[๔๒] พ่อพราหมณ์ ลูกไปจากที่นี้แล้ว ไปอยู่ชนบทใดชนบทหนึ่ง
พึงศึกษาอาจาระอันเป็นประเพณีที่ควรศึกษา
(หมายถึงมารยาทซึ่งเป็ นจารีตประเพณีที่ควรศึกษาของสถานที่นั้น)
ขอพ่อกรุณาสอนธรรม (ธรรม หมายถึงจารีตประเพณีของชาวชนบทนั้น)
นั้นให้ลูกด้วย
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๔๓] ถ้าลูกทิ้งป่าและมูลผลาหารในป่า พอใจการอยู่ในเมือง
ลูกจงตั้งใจฟังธรรมนั้นจากพ่อ
[๔๔] อย่าเสพของมีพิษ ๑ จงเว้นเหวให้ห่างไกล ๑
อย่าจมลงในเปือกตม ๑ พึงระมัดระวังเมื่ออยู่ใกล้อสรพิษ ๑
(ดาบสกุมารเมื่อไม่รู้ความหมายของคาที่พ่อกล่าวโดยย่อ จึงถามว่า)
[๔๕] อะไรหนอคือของมีพิษ เหว หรือเปือกตม
สาหรับผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อะไรที่พ่อกล่าวว่า เป็ นอสรพิษ ลูกถามแล้ว
ขอพ่อจงบอกเรื่องนั้น
(ฝ่ายพระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๔๖] พ่อนารทะ ของหมักดองในโลกที่เขาเรียกชื่อว่าสุรา
ทาใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม น่าพอใจ มีรสอร่อยเหมือนน้าผึ้ง สุรานั้น
พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า เป็นของมีพิษสาหรับพรหมจรรย์
[๔๗] พ่อนารทะ หญิงทั้งหลายในโลกย่อมย่ายีชายผู้ประมาทแล้ว
พวกหล่อนย่อมชักจูงจิตของชายหนุ่มไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่พลัดตกจากต้น
สภาพนั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นเหวสาหรับพรหมจรรย์
[๔๘] ลาภ ๑ ความมีชื่อเสียง ๑ สักการะ ๑ การบูชาในสกุลอื่นๆ ๑
พ่อนารทะ นี้แหละบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นเปือกตมของพรหมจรรย์
2
[๔๙] พ่อนารทะ พระราชาทั้งหลายทรงมีศัสตราวุธ
ทรงปกครองแผ่นดินนี้ พระราชาผู้จอมมนุษย์ ผู้ยิ่งใหญ่เช่นนั้น เจ้าควรระวัง
[๕๐] พ่อนารทะ พระราชาผู้เป็นอิสระ เป็ นอธิบดีเหล่านั้น
เจ้าอย่าอยู่ใกล้ชิดเลย พระราชานี้แหละบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นอสรพิษสาหรับพรหมจรรย์
[๕๑] อนึ่ง คนผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร
พึงเข้าไปยังเรือนหลังใดหลังหนึ่ง บรรดาเรือนเหล่านี้ เจ้าพึงเที่ยวแสวงหาอาหาร
ในเรือนหลังที่ตนทราบว่าดีงาม
[๕๒] ครั้นเข้าไปยังสกุลอื่นเพื่อประโยชน์แก่น้าหรือโภชนาหาร
ควรขบเคี้ยวบริโภคแต่พอประมาณ ไม่ควรใฝ่ใจในรูป
[๕๓] คอกโค ๑ โรงสุรา ๑ นักเลง ๑ หอประชุม ๑ สถานที่เก็บเงินทอง
๑ เจ้าจงเว้นให้ห่างไกล เหมือนคนขับยานพาหนะเว้นหนทางที่ขรุขระ
จูฬนารทกัสสปชาดกที่ ๔ จบ
-------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
จุลลนารทกัสสปชาดก
ว่าด้วย พิษเหวเปือกตมและอสรพิษ
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงพระปรารภการประเล้าประโลมของสาวเทื้อ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
เล่ากันมาว่า ธิดาของสกุลชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่งมีอายุประมาณ ๑๕-๑๖
ปี เป็นหญิงมีรูปเลอโฉม แต่ไม่มีใครสู่ขอนาง. ลาดับนั้น มารดาของนางคิดว่า
ธิดาของเราเป็นสาวแล้ว แต่ไม่มีใครสู่ขอนางเลย
เราต้องใช้นางล่อประเล้าประโลมภิกษุของพระศากยะรูปหนึ่ง
เหมือนล่อปลาด้วยเหยื่อ ให้สึกเสียจนได้ แล้วจักอาศัยเธอเลี้ยงชีพ.
ครั้งนั้น กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่งบวชถวายชีวิตในพระศาสนา
ตั้งแต่กาลที่อุปสมบทแล้วก็ละทิ้งสิกขาบท เกียจคร้าน มัวแต่ประดับสรีระอยู่.
มหาอุบาสิกาจัดแจงยาคูและข้าว ขาทนียโภชนียะไว้ในเรือน ยืนที่ประตูเรือน
ใคร่ครวญ บรรดาภิกษุที่พากันเดินไปในระหว่างถนน สักรูปหนึ่ง
ซึ่งมีท่าทางที่นางสามารถจะเกี้ยวได้ด้วยรสตัณหา.
เมื่อขบวนพระผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรงพระวินัย
พากันเดินไปกับบริวารเป็นอันมาก ก็ยังไม่เห็นรูปไรๆ ในกลุ่มที่พอจะเกาะไว้ได้
ในกลุ่มแห่งพระธรรมกถึกผู้กล่าวธรรมไพเราะก็ดี
ในกลุ่มแห่งพระผู้สมาทานปิณฑบาตเป็ นวัตร ผู้เช่นกับวลาหกอันกระจายฝอยก็ดี
ผู้เดินไปภายหลังแห่งภิกษุกลุ่มนั้น ก็คงยังไม่เห็นสักรูปหนึ่งเลย.
ครั้นเห็น ภิกษุรูปหนึ่งหยอดยาตาจนถึงขอบตา
3
นุ่งอันตรวาสกทาด้วยผ้าทุกูลพัสตร์ ห่มจีวรเนื้อเกลี้ยงเป็ นมันระยับ
ประคองบาตรสีเหมือนแก้วมณี กั้นร่มอันชวนใจให้ยินดี ปล่อยอินทรีย์
ร่างกายล่าสันอันใหญ่โตกาลังเดินมา คิดว่า เราอาจเกี้ยวภิกษุนี้ได้
จึงเดินไปไหว้รับบาตร กล่าวว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าข้า พามาเรือนให้นั่ง
แล้วเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคูเป็นต้น กล่าวกะภิกษุนั้น ผู้ฉันเสร็จว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ตั้งแต่บัดนี้ไป พระคุณเจ้าพึงมาที่นี้เท่านั้นนะ เจ้าคะ.
ตั้งแต่นั้น ภิกษุนั้นก็ไปบ้านนั้นเป็นประจา ต่อมาได้คุ้นเคยกัน.
อยู่มาวันหนึ่ง มหาอุบาสิกายืนอยู่ในระยะพอที่เธอจะได้ยิน กล่าวว่า
ในเรือนนี้ มีเครื่องอุปโภคบริโภคพอประมาณ แต่ลูกชายหรือลูกเขยอย่างนั้น
ที่สามารถจะตรวจตราเหย้าเรือนไม่มีเลย เธอฟังคาของนาง คิดว่า
นางพูดเพื่อประโยชน์อะไรเล่านะ ได้เป็นเหมือนถูกเจาะที่หัวใจเข้าไปหน่อย.
นางกล่าวกะธิดาว่า เจ้าจงยั่วยวนภิกษุนี้ให้เป็นไปในอานาจของเจ้าให้ได้เถิด.
ตั้งแต่นั้นมา นางก็ประดับกายพริ้วเพรา
ยั่วยวนเธอด้วยกระบิดกระบวนสตรีต่างๆ.
ก็ที่เรียกนางสาวเทื้อนั้น ไม่พึงเห็นว่ามีร่างกายอ้วน
จะอ้วนหรือผอมก็ตาม คงเรียกว่าสาวเทื้อได้
เพราะหนาไปด้วยราคะประกอบด้วยกามคุณ ๕ ประการ.
ก็แล เธอยังหนุ่ม ยังตกอยู่ในอานาจกิเลส คิดว่า บัดนี้
เราคงไม่อาจดารงอยู่ในพระพุทธศาสนาได้ กล่าวว่า ฉันต้องไปวิหาร
มอบบาตรและจีวรแล้ว จักไปที่ตรงโน้น เธอจงส่งผ้าของฉันไปที่นั้น
แล้วไปสู่วิหาร มอบบาตรจีวร กราบเรียนพระอาจารย์อุปัชฌาย์ว่า
ผมจะสึกละครับ.
ท่านเหล่านั้นพาเธอไปสู่สานักพระศาสดา กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้จะสึก พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอจะสึกจริงหรือ. เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบว่า จริง
พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า เหตุอะไรให้เธอสึก. เมื่อเธอกราบทูลให้ทรงทราบว่า
นางสาวเทื้อ พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในครั้งก่อน
นางคนนี้ก็เคยกระทาอันตรายแก่พรหมจรรย์
ก่อความเสื่อมเสียอย่างมหันต์แก่เธอผู้อยู่ในป่า
เธอยังจะอาศัยนางนี้คนเดียวกันสึกเสียอีก เพราะเหตุไรเล่า.
พวกภิกษุพากันกราบทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดง
ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ มีสมบัติมากในแคว้นกาสี เรียนศิลปะ
4
สาเร็จตั้งหลักฐาน. ลาดับนั้น ภรรยาของท่านคลอดบุตรคนหนึ่ง
ได้ถึงแก่กรรมไป. ท่านได้คิดว่า ความตายมีได้แก่ภรรยาที่รักของเราฉันใด
ความตายจักต้องมาถึงเราฉันนั้น เราจะต้องการอะไรด้วยฆราวาส บวชเถอะน่ะ
ละกามทั้งหลาย พาลูกชายเข้าสู่หิมพานต์ บวชเป็นฤาษีกับลูกชายนั้น
ยังฌานอภิญญาให้เกิด ได้มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ในราวป่า.
ครั้งนั้น พวกโจรชาวปัจจันตคามเข้าสู่ชนบทปล้นบ้าน
จับคนเป็ นเชลยให้ขนข้าวของเดินทางไปสู่ชายแดน. ในกลุ่มเชลยนั้น
หญิงสาวผู้หนึ่งงามประกอบด้วยปรีชาในเชิงล่อลวง. นางคิดว่า
โจรเหล่านี้จับพวกเราไป คงจักใช้สอยอย่างใช้ทาส
เราต้องหาอุบายอันหนึ่งหนีไปเสียให้ได้. นางจึงกล่าวว่า นายเจ้าข้า
ดิฉันประสงค์จะกระทาสรีรกิจ โปรดหยุดรอสักหน่อยเถิดเจ้าคะ
แล้วลวงพวกโจรหนีไป.
เมื่อท่องเที่ยวไปในป่า บรรลุถึงอาศรมในเวลาเช้า
ตอนที่พระโพธิสัตว์ให้ลูกชายเฝ้ าอาศรม แล้วไปหาผลาผล
จึงยั่วยวนดาบสเด็กนั้น ด้วยการยินดีในกาม ทาลายศีลเขาเสีย
ให้ตกอยู่ในอานาจตนแล้ว กล่าวว่า เธอจะมาอยู่ในป่าทาอะไร มาเถิดนะ
เราพากันไปสู่บ้าน เพราะในถิ่นบ้านนั้น กามคุณมีรูปเป็นต้น หาได้ง่าย.
ฝ่ายเขาก็รับคาว่า ดี แล้วกล่าวว่า พ่อของฉันไปหาผลาผลมาจากป่า
เราทั้งสองพบท่านแล้ว ค่อยไปพร้อมกันเลย. นางคิดว่า ดาบสนี้เป็นเด็กรุ่น
ไม่รู้จักอะไร แต่บิดาของเขาคงบวชเมื่อแก่ เขามาแล้วคงโบยตีเราว่า
มึงทาอะไรที่นี้ จักตีเราฉุดไปโยนทิ้งเสียในป่าก็ได้ เมื่อเขายังไม่มานั่นแหละ
เราต้องหนีไปเสีย. ครั้งนั้น นางจึงกล่าวกะเขาว่า ฉันจะไปล่วงหน้า
เธอพึงไปภายหลังนะ แล้วบอกที่หมายในหนทาง หลบไป.
ตั้งแต่กาลที่นางไปแล้ว เขาเกิดโทมนัส ไม่กระทาวัตรอะไรๆ
เหมือนแต่ก่อน คลุมศีรษะซบเซาอยู่ภายในบรรณศาลา.
พระมหาสัตว์นาผลาผลมา เห็นรอยเท้าของนาง คิดอยู่ว่า
นี้เป็นรอยเท้าของมาตุคาม ศีลของลูกชายเราคงถูกทาลายแล้วเป็นแน่
พลางเข้าสู่บรรณศาลา วางผลาผลลงเรียบร้อย.
เมื่อจะถามลูกชายจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ฟืนเจ้าก็มิได้หัก น้าเจ้าก็มิได้ตักมา แม้กองไฟเจ้าก็มิได้ก่อให้ลุกโพลง
เหตุไรหนอเจ้าจึงเหมือนคนโง่เขลา นอนซบเซาอยู่.
เขาได้ยินคาของบิดาแล้ว ลุกขึ้นกราบบิดา เมื่อจะเรียนให้ทราบ
เพื่อจะไปสู่ที่อยู่ของมนุษย์ จากที่อยู่ในป่า ด้วยความเคารพ จึงกล่าวคาถา ๒
คาถาว่า
ข้าแต่คุณพ่อกัสสปะ ผมอดทนอยู่ในป่าไม่ได้ ผมจะขอลาคุณพ่อไป
5
การอยู่ในป่าลาบาก ผมปรารถนาจะไปสู่บ้านเมือง.
ข้าแต่คุณพ่อผู้เป็นดุจพรหม ผู้ออกจากป่านี้ไปอยู่ ณ ชนบทใดๆ
จะพึงศึกษาขนบธรรมเนียม ที่ชาวชนบทเขาประพฤติกันอย่างไร
ขอคุณพ่อจงพร่าสอนขนบธรรมเนียมนั้นแก่ผมด้วยเถิด.
พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดีละพ่อ ฉันแสดงจารีตของประเทศแก่เจ้า.
แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ถ้าเจ้าละป่า เหง้ามันและผลไม้ในป่า พึงพอใจอยู่ในบ้านเมือง
เจ้าจงสาเหนียกจารีตของชนบทนั้นของเราไว้.
เจ้าจงอย่าเสพของมีพิษ จงเว้นเหวโดยเด็ดขาด อย่าจมอยู่ในเปือกตม
ในที่ใกล้อสรพิษ จงเตรียมตัวให้พร้อม.
ดาบสกุมาร เมื่อไม่รู้เนื้อความของคาที่บิดากล่าวไว้โดยย่อ จึงถามว่า
ผมขอถาม คุณพ่อกล่าวอะไรว่าเป็นพิษ เป็ นเหว เป็นเปือกตม
เป็นอสรพิษของพรหมจรรย์ ผมถามแล้ว
ขอคุณพ่อโปรดบอกความข้อนั้นแก่ผมเถิด.
ฝ่ายดาบสโพธิสัตว์ได้พยากรณ์แก่บุตรว่า
ดูก่อนนารทะ น้าดองในโลกเขาเรียกว่าสุรา สุรานั้นทาใจให้ฮึกเหิม
มีกลิ่นหอม ทาให้พูดมาก มีรสหวาน แหลมปานน้าผึ้ง
พระอริยะทั้งหลายกล่าวสุรานั้น ว่าเป็ นพิษของพรหมจรรย์.
ดูก่อนนารทะ หญิงทั้งหลายในโลก ย่อมย่ายีบุรุษผู้ประมาทแล้ว
หญิงเหล่านั้นย่อมจูงจิตของบุรุษไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่หล่นจากต้นไปฉะนั้น
นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็ นเหวของพรหมจรรย์.
ดูก่อนนารทะ ลาภ สรรเสริญ สักการะและการบูชาในตระกูลอื่น
นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็ นเปือกตมของพรหมจรรย์.
ดูก่อนนารทะ พระราชาเป็นใหญ่ครอบครองแผ่นดินนี้
เจ้าอย่าเข้าไปใกล้พระราชาผู้เป็นใหญ่ เป็ นจอมแห่งมนุษย์เช่นนั้น.
ดูก่อนนารทะ
เจ้าอย่าเที่ยวไปใกล้บาทมูลแห่งพระราชาทั้งหลายผู้เป็นอิสระและเป็นอธิบดีเหล่า
นั้น พระราชานั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นอสรพิษของพรหมจรรย์.
บุคคลผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร พึงเข้าไปใกล้เรือนใด พึงรู้กุศล
คืออโคจร ๕ ที่ควรเว้นในสกุลนั้น แล้วพึงเที่ยวแสวงหาอาหารในเรือนนั้น
บุคคลเข้าไปสู่ตระกูลอื่นเพื่อปานะ หรือโภชนะแล้ว พึงรู้จักประมาณ
บริโภคแต่พอควร และไม่พึงใส่ใจในรูปหญิง.
เจ้าจงเว้นให้ห่างไกลซึ่งการตั้งคอกโค ร้านขายสุรา คนเกเร ที่ประชุม
และขุมทรัพย์ทั้งหลาย เหมือนบุคคลผู้ไปด้วยยาน เว้นหนทางอันไม่ราบเรียบ
ฉะนั้น.
6
จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายทรงกริ้วแล้ว
ย่อมให้ถึงความวอดวายโดยครู่เดียวเท่านั้น เหมือนอสรพิษฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
บัณฑิตพึงทราบความด้วยอานาจโทษดังกล่าวแล้ว
ในการเข้าไปภายในพระราชวัง.
เมื่อบิดากาลังกล่าวสอนอยู่นั่นเอง มาณพกลับได้สติกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ
ข้าพเจ้าไม่ควรไปแดนมนุษย์ ลาดับนั้น
บิดาได้สอนวิธีเจริญเมตตาเป็นต้นแก่ดาบสกุมาร
ดาบสกุมารตั้งอยู่ในโอวาทของบิดา ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดโดยไม่นานนัก.
สองดาบสพ่อลูก มิได้เสื่อมจากฌาน ได้บังเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว
ทรงประชุมชาดกว่า
นางกุมาริกานี้ ได้มาเป็ นนางสาวเทื้อนี้
ดาบสกุมารได้เป็นภิกษุผู้กระสัน
ส่วนดาบสบิดา คือ เราตถาคต นั่นเอง แล.
จบอรรถกถาจุลลนารทกัสสปชาดกที่ ๔
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
maruay songtanin
 
432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
maruay songtanin
 
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕Rose Banioki
 
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
maruay songtanin
 
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 

Similar to 477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
496 ภิกขาปรัมปรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
061 อสาตมันตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
348 อรัญญชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
(๔) มหาโมคคัลลานเถราปทาน มจร.pdf
 
432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
432 ปทกุสลมาณวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
26 โสณนันทปัณฑิตจริยา มจร.pdf
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
 
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
173 มักกฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
 
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
012 นิโครธมิคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
425 อัฏฐานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
 
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
 

More from maruay songtanin

๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
maruay songtanin
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
maruay songtanin
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
maruay songtanin
 
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdfการคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔๕. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๔๔. คณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๔๓. คูถขาทกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๒. คูถขาทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๔๑. ราชปุตตเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
๔๐. กุมารเปตวัต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]ถ...
 
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๙. เรวตีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๘. นันทกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓๗. เสรีสกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๓๖. อัมพสักขรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๓๕. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
๓๔. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับม...
 
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๓๓. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๒. มิคลุททกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๓๑. เสริณีเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๓๐. กุมารเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๒๙. ภุสเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒๘. รถการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๒๗. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
 
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdfการคิดเชิงวิพากษ์  Critical Thinking.pdf
การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.pdf
 

477 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 จูฬนารทกัสสปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๔. จูฬนารทกัสสปชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๔๗๗) ว่าด้วยกัสสปดาบสสอนจูฬนารทดาบส (พระโพธิสัตว์ถามลูกชายว่า) [๔๐] ฟืนลูกก็มิได้ผ่า น้าลูกก็มิได้ตัก แม้ไฟลูกก็มิได้ก่อให้โพลงขึ้น ทาไมหนอ ลูกจึงซบเซาเหมือนคนปัญญาอ่อน (ดาบสกุมารตอบว่า) [๔๑] พ่อกัสสปะ ลูกหมดความพยายามที่จะอยู่ป่าต่อไป ขอกราบลาพ่อ การอยู่ในป่าลาบาก ลูกต้องการจะไปยังเมือง [๔๒] พ่อพราหมณ์ ลูกไปจากที่นี้แล้ว ไปอยู่ชนบทใดชนบทหนึ่ง พึงศึกษาอาจาระอันเป็นประเพณีที่ควรศึกษา (หมายถึงมารยาทซึ่งเป็ นจารีตประเพณีที่ควรศึกษาของสถานที่นั้น) ขอพ่อกรุณาสอนธรรม (ธรรม หมายถึงจารีตประเพณีของชาวชนบทนั้น) นั้นให้ลูกด้วย (พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๔๓] ถ้าลูกทิ้งป่าและมูลผลาหารในป่า พอใจการอยู่ในเมือง ลูกจงตั้งใจฟังธรรมนั้นจากพ่อ [๔๔] อย่าเสพของมีพิษ ๑ จงเว้นเหวให้ห่างไกล ๑ อย่าจมลงในเปือกตม ๑ พึงระมัดระวังเมื่ออยู่ใกล้อสรพิษ ๑ (ดาบสกุมารเมื่อไม่รู้ความหมายของคาที่พ่อกล่าวโดยย่อ จึงถามว่า) [๔๕] อะไรหนอคือของมีพิษ เหว หรือเปือกตม สาหรับผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อะไรที่พ่อกล่าวว่า เป็ นอสรพิษ ลูกถามแล้ว ขอพ่อจงบอกเรื่องนั้น (ฝ่ายพระโพธิสัตว์ตอบว่า) [๔๖] พ่อนารทะ ของหมักดองในโลกที่เขาเรียกชื่อว่าสุรา ทาใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม น่าพอใจ มีรสอร่อยเหมือนน้าผึ้ง สุรานั้น พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า เป็นของมีพิษสาหรับพรหมจรรย์ [๔๗] พ่อนารทะ หญิงทั้งหลายในโลกย่อมย่ายีชายผู้ประมาทแล้ว พวกหล่อนย่อมชักจูงจิตของชายหนุ่มไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่พลัดตกจากต้น สภาพนั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นเหวสาหรับพรหมจรรย์ [๔๘] ลาภ ๑ ความมีชื่อเสียง ๑ สักการะ ๑ การบูชาในสกุลอื่นๆ ๑ พ่อนารทะ นี้แหละบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นเปือกตมของพรหมจรรย์
  • 2. 2 [๔๙] พ่อนารทะ พระราชาทั้งหลายทรงมีศัสตราวุธ ทรงปกครองแผ่นดินนี้ พระราชาผู้จอมมนุษย์ ผู้ยิ่งใหญ่เช่นนั้น เจ้าควรระวัง [๕๐] พ่อนารทะ พระราชาผู้เป็นอิสระ เป็ นอธิบดีเหล่านั้น เจ้าอย่าอยู่ใกล้ชิดเลย พระราชานี้แหละบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นอสรพิษสาหรับพรหมจรรย์ [๕๑] อนึ่ง คนผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร พึงเข้าไปยังเรือนหลังใดหลังหนึ่ง บรรดาเรือนเหล่านี้ เจ้าพึงเที่ยวแสวงหาอาหาร ในเรือนหลังที่ตนทราบว่าดีงาม [๕๒] ครั้นเข้าไปยังสกุลอื่นเพื่อประโยชน์แก่น้าหรือโภชนาหาร ควรขบเคี้ยวบริโภคแต่พอประมาณ ไม่ควรใฝ่ใจในรูป [๕๓] คอกโค ๑ โรงสุรา ๑ นักเลง ๑ หอประชุม ๑ สถานที่เก็บเงินทอง ๑ เจ้าจงเว้นให้ห่างไกล เหมือนคนขับยานพาหนะเว้นหนทางที่ขรุขระ จูฬนารทกัสสปชาดกที่ ๔ จบ ------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา จุลลนารทกัสสปชาดก ว่าด้วย พิษเหวเปือกตมและอสรพิษ พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภการประเล้าประโลมของสาวเทื้อ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. เล่ากันมาว่า ธิดาของสกุลชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่งมีอายุประมาณ ๑๕-๑๖ ปี เป็นหญิงมีรูปเลอโฉม แต่ไม่มีใครสู่ขอนาง. ลาดับนั้น มารดาของนางคิดว่า ธิดาของเราเป็นสาวแล้ว แต่ไม่มีใครสู่ขอนางเลย เราต้องใช้นางล่อประเล้าประโลมภิกษุของพระศากยะรูปหนึ่ง เหมือนล่อปลาด้วยเหยื่อ ให้สึกเสียจนได้ แล้วจักอาศัยเธอเลี้ยงชีพ. ครั้งนั้น กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่งบวชถวายชีวิตในพระศาสนา ตั้งแต่กาลที่อุปสมบทแล้วก็ละทิ้งสิกขาบท เกียจคร้าน มัวแต่ประดับสรีระอยู่. มหาอุบาสิกาจัดแจงยาคูและข้าว ขาทนียโภชนียะไว้ในเรือน ยืนที่ประตูเรือน ใคร่ครวญ บรรดาภิกษุที่พากันเดินไปในระหว่างถนน สักรูปหนึ่ง ซึ่งมีท่าทางที่นางสามารถจะเกี้ยวได้ด้วยรสตัณหา. เมื่อขบวนพระผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรงพระวินัย พากันเดินไปกับบริวารเป็นอันมาก ก็ยังไม่เห็นรูปไรๆ ในกลุ่มที่พอจะเกาะไว้ได้ ในกลุ่มแห่งพระธรรมกถึกผู้กล่าวธรรมไพเราะก็ดี ในกลุ่มแห่งพระผู้สมาทานปิณฑบาตเป็ นวัตร ผู้เช่นกับวลาหกอันกระจายฝอยก็ดี ผู้เดินไปภายหลังแห่งภิกษุกลุ่มนั้น ก็คงยังไม่เห็นสักรูปหนึ่งเลย. ครั้นเห็น ภิกษุรูปหนึ่งหยอดยาตาจนถึงขอบตา
  • 3. 3 นุ่งอันตรวาสกทาด้วยผ้าทุกูลพัสตร์ ห่มจีวรเนื้อเกลี้ยงเป็ นมันระยับ ประคองบาตรสีเหมือนแก้วมณี กั้นร่มอันชวนใจให้ยินดี ปล่อยอินทรีย์ ร่างกายล่าสันอันใหญ่โตกาลังเดินมา คิดว่า เราอาจเกี้ยวภิกษุนี้ได้ จึงเดินไปไหว้รับบาตร กล่าวว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าข้า พามาเรือนให้นั่ง แล้วเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคูเป็นต้น กล่าวกะภิกษุนั้น ผู้ฉันเสร็จว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ตั้งแต่บัดนี้ไป พระคุณเจ้าพึงมาที่นี้เท่านั้นนะ เจ้าคะ. ตั้งแต่นั้น ภิกษุนั้นก็ไปบ้านนั้นเป็นประจา ต่อมาได้คุ้นเคยกัน. อยู่มาวันหนึ่ง มหาอุบาสิกายืนอยู่ในระยะพอที่เธอจะได้ยิน กล่าวว่า ในเรือนนี้ มีเครื่องอุปโภคบริโภคพอประมาณ แต่ลูกชายหรือลูกเขยอย่างนั้น ที่สามารถจะตรวจตราเหย้าเรือนไม่มีเลย เธอฟังคาของนาง คิดว่า นางพูดเพื่อประโยชน์อะไรเล่านะ ได้เป็นเหมือนถูกเจาะที่หัวใจเข้าไปหน่อย. นางกล่าวกะธิดาว่า เจ้าจงยั่วยวนภิกษุนี้ให้เป็นไปในอานาจของเจ้าให้ได้เถิด. ตั้งแต่นั้นมา นางก็ประดับกายพริ้วเพรา ยั่วยวนเธอด้วยกระบิดกระบวนสตรีต่างๆ. ก็ที่เรียกนางสาวเทื้อนั้น ไม่พึงเห็นว่ามีร่างกายอ้วน จะอ้วนหรือผอมก็ตาม คงเรียกว่าสาวเทื้อได้ เพราะหนาไปด้วยราคะประกอบด้วยกามคุณ ๕ ประการ. ก็แล เธอยังหนุ่ม ยังตกอยู่ในอานาจกิเลส คิดว่า บัดนี้ เราคงไม่อาจดารงอยู่ในพระพุทธศาสนาได้ กล่าวว่า ฉันต้องไปวิหาร มอบบาตรและจีวรแล้ว จักไปที่ตรงโน้น เธอจงส่งผ้าของฉันไปที่นั้น แล้วไปสู่วิหาร มอบบาตรจีวร กราบเรียนพระอาจารย์อุปัชฌาย์ว่า ผมจะสึกละครับ. ท่านเหล่านั้นพาเธอไปสู่สานักพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้จะสึก พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอจะสึกจริงหรือ. เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบว่า จริง พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า เหตุอะไรให้เธอสึก. เมื่อเธอกราบทูลให้ทรงทราบว่า นางสาวเทื้อ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในครั้งก่อน นางคนนี้ก็เคยกระทาอันตรายแก่พรหมจรรย์ ก่อความเสื่อมเสียอย่างมหันต์แก่เธอผู้อยู่ในป่า เธอยังจะอาศัยนางนี้คนเดียวกันสึกเสียอีก เพราะเหตุไรเล่า. พวกภิกษุพากันกราบทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมาแสดง ดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ มีสมบัติมากในแคว้นกาสี เรียนศิลปะ
  • 4. 4 สาเร็จตั้งหลักฐาน. ลาดับนั้น ภรรยาของท่านคลอดบุตรคนหนึ่ง ได้ถึงแก่กรรมไป. ท่านได้คิดว่า ความตายมีได้แก่ภรรยาที่รักของเราฉันใด ความตายจักต้องมาถึงเราฉันนั้น เราจะต้องการอะไรด้วยฆราวาส บวชเถอะน่ะ ละกามทั้งหลาย พาลูกชายเข้าสู่หิมพานต์ บวชเป็นฤาษีกับลูกชายนั้น ยังฌานอภิญญาให้เกิด ได้มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ในราวป่า. ครั้งนั้น พวกโจรชาวปัจจันตคามเข้าสู่ชนบทปล้นบ้าน จับคนเป็ นเชลยให้ขนข้าวของเดินทางไปสู่ชายแดน. ในกลุ่มเชลยนั้น หญิงสาวผู้หนึ่งงามประกอบด้วยปรีชาในเชิงล่อลวง. นางคิดว่า โจรเหล่านี้จับพวกเราไป คงจักใช้สอยอย่างใช้ทาส เราต้องหาอุบายอันหนึ่งหนีไปเสียให้ได้. นางจึงกล่าวว่า นายเจ้าข้า ดิฉันประสงค์จะกระทาสรีรกิจ โปรดหยุดรอสักหน่อยเถิดเจ้าคะ แล้วลวงพวกโจรหนีไป. เมื่อท่องเที่ยวไปในป่า บรรลุถึงอาศรมในเวลาเช้า ตอนที่พระโพธิสัตว์ให้ลูกชายเฝ้ าอาศรม แล้วไปหาผลาผล จึงยั่วยวนดาบสเด็กนั้น ด้วยการยินดีในกาม ทาลายศีลเขาเสีย ให้ตกอยู่ในอานาจตนแล้ว กล่าวว่า เธอจะมาอยู่ในป่าทาอะไร มาเถิดนะ เราพากันไปสู่บ้าน เพราะในถิ่นบ้านนั้น กามคุณมีรูปเป็นต้น หาได้ง่าย. ฝ่ายเขาก็รับคาว่า ดี แล้วกล่าวว่า พ่อของฉันไปหาผลาผลมาจากป่า เราทั้งสองพบท่านแล้ว ค่อยไปพร้อมกันเลย. นางคิดว่า ดาบสนี้เป็นเด็กรุ่น ไม่รู้จักอะไร แต่บิดาของเขาคงบวชเมื่อแก่ เขามาแล้วคงโบยตีเราว่า มึงทาอะไรที่นี้ จักตีเราฉุดไปโยนทิ้งเสียในป่าก็ได้ เมื่อเขายังไม่มานั่นแหละ เราต้องหนีไปเสีย. ครั้งนั้น นางจึงกล่าวกะเขาว่า ฉันจะไปล่วงหน้า เธอพึงไปภายหลังนะ แล้วบอกที่หมายในหนทาง หลบไป. ตั้งแต่กาลที่นางไปแล้ว เขาเกิดโทมนัส ไม่กระทาวัตรอะไรๆ เหมือนแต่ก่อน คลุมศีรษะซบเซาอยู่ภายในบรรณศาลา. พระมหาสัตว์นาผลาผลมา เห็นรอยเท้าของนาง คิดอยู่ว่า นี้เป็นรอยเท้าของมาตุคาม ศีลของลูกชายเราคงถูกทาลายแล้วเป็นแน่ พลางเข้าสู่บรรณศาลา วางผลาผลลงเรียบร้อย. เมื่อจะถามลูกชายจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า ฟืนเจ้าก็มิได้หัก น้าเจ้าก็มิได้ตักมา แม้กองไฟเจ้าก็มิได้ก่อให้ลุกโพลง เหตุไรหนอเจ้าจึงเหมือนคนโง่เขลา นอนซบเซาอยู่. เขาได้ยินคาของบิดาแล้ว ลุกขึ้นกราบบิดา เมื่อจะเรียนให้ทราบ เพื่อจะไปสู่ที่อยู่ของมนุษย์ จากที่อยู่ในป่า ด้วยความเคารพ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า ข้าแต่คุณพ่อกัสสปะ ผมอดทนอยู่ในป่าไม่ได้ ผมจะขอลาคุณพ่อไป
  • 5. 5 การอยู่ในป่าลาบาก ผมปรารถนาจะไปสู่บ้านเมือง. ข้าแต่คุณพ่อผู้เป็นดุจพรหม ผู้ออกจากป่านี้ไปอยู่ ณ ชนบทใดๆ จะพึงศึกษาขนบธรรมเนียม ที่ชาวชนบทเขาประพฤติกันอย่างไร ขอคุณพ่อจงพร่าสอนขนบธรรมเนียมนั้นแก่ผมด้วยเถิด. พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดีละพ่อ ฉันแสดงจารีตของประเทศแก่เจ้า. แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า ถ้าเจ้าละป่า เหง้ามันและผลไม้ในป่า พึงพอใจอยู่ในบ้านเมือง เจ้าจงสาเหนียกจารีตของชนบทนั้นของเราไว้. เจ้าจงอย่าเสพของมีพิษ จงเว้นเหวโดยเด็ดขาด อย่าจมอยู่ในเปือกตม ในที่ใกล้อสรพิษ จงเตรียมตัวให้พร้อม. ดาบสกุมาร เมื่อไม่รู้เนื้อความของคาที่บิดากล่าวไว้โดยย่อ จึงถามว่า ผมขอถาม คุณพ่อกล่าวอะไรว่าเป็นพิษ เป็ นเหว เป็นเปือกตม เป็นอสรพิษของพรหมจรรย์ ผมถามแล้ว ขอคุณพ่อโปรดบอกความข้อนั้นแก่ผมเถิด. ฝ่ายดาบสโพธิสัตว์ได้พยากรณ์แก่บุตรว่า ดูก่อนนารทะ น้าดองในโลกเขาเรียกว่าสุรา สุรานั้นทาใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม ทาให้พูดมาก มีรสหวาน แหลมปานน้าผึ้ง พระอริยะทั้งหลายกล่าวสุรานั้น ว่าเป็ นพิษของพรหมจรรย์. ดูก่อนนารทะ หญิงทั้งหลายในโลก ย่อมย่ายีบุรุษผู้ประมาทแล้ว หญิงเหล่านั้นย่อมจูงจิตของบุรุษไป เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่หล่นจากต้นไปฉะนั้น นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็ นเหวของพรหมจรรย์. ดูก่อนนารทะ ลาภ สรรเสริญ สักการะและการบูชาในตระกูลอื่น นี่บัณฑิตกล่าวว่า เป็ นเปือกตมของพรหมจรรย์. ดูก่อนนารทะ พระราชาเป็นใหญ่ครอบครองแผ่นดินนี้ เจ้าอย่าเข้าไปใกล้พระราชาผู้เป็นใหญ่ เป็ นจอมแห่งมนุษย์เช่นนั้น. ดูก่อนนารทะ เจ้าอย่าเที่ยวไปใกล้บาทมูลแห่งพระราชาทั้งหลายผู้เป็นอิสระและเป็นอธิบดีเหล่า นั้น พระราชานั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นอสรพิษของพรหมจรรย์. บุคคลผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร พึงเข้าไปใกล้เรือนใด พึงรู้กุศล คืออโคจร ๕ ที่ควรเว้นในสกุลนั้น แล้วพึงเที่ยวแสวงหาอาหารในเรือนนั้น บุคคลเข้าไปสู่ตระกูลอื่นเพื่อปานะ หรือโภชนะแล้ว พึงรู้จักประมาณ บริโภคแต่พอควร และไม่พึงใส่ใจในรูปหญิง. เจ้าจงเว้นให้ห่างไกลซึ่งการตั้งคอกโค ร้านขายสุรา คนเกเร ที่ประชุม และขุมทรัพย์ทั้งหลาย เหมือนบุคคลผู้ไปด้วยยาน เว้นหนทางอันไม่ราบเรียบ ฉะนั้น.
  • 6. 6 จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายทรงกริ้วแล้ว ย่อมให้ถึงความวอดวายโดยครู่เดียวเท่านั้น เหมือนอสรพิษฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความด้วยอานาจโทษดังกล่าวแล้ว ในการเข้าไปภายในพระราชวัง. เมื่อบิดากาลังกล่าวสอนอยู่นั่นเอง มาณพกลับได้สติกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ข้าพเจ้าไม่ควรไปแดนมนุษย์ ลาดับนั้น บิดาได้สอนวิธีเจริญเมตตาเป็นต้นแก่ดาบสกุมาร ดาบสกุมารตั้งอยู่ในโอวาทของบิดา ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดโดยไม่นานนัก. สองดาบสพ่อลูก มิได้เสื่อมจากฌาน ได้บังเกิดในพรหมโลก. พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นางกุมาริกานี้ ได้มาเป็ นนางสาวเทื้อนี้ ดาบสกุมารได้เป็นภิกษุผู้กระสัน ส่วนดาบสบิดา คือ เราตถาคต นั่นเอง แล. จบอรรถกถาจุลลนารทกัสสปชาดกที่ ๔ -----------------------------------------------------