SlideShare a Scribd company logo
14
บทที่ 2
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเด็กพิเศษในชั้นเรียนรวม
อ.ภัคภร ขันกสิกรรม
ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นเด็กพิเศษจากสถานที่ต่างๆ แต่คนโดยส่วนมากยังขาดความรู้ความ
เข้าใจในความหมาย ประเภทของเด็กพิเศษและลักษณะต่างๆของเด็กพิเศษ รวมทั้งการจัดการศึกษาให้
เด็กกลุ่มนี้ได้เรียนรวมกับเด็กปกติในชั้นเรียนปกติ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษให้สามารถ
ได้รับสิทธิในการดารงชีวิตประจาวันในสังคมได้อย่างปกติสุข
ความหมายของเด็กพิเศษ
ก่อนจะทราบถึงความหมายของเด็กพิเศษนั้น ยังมีประเด็นสาคัญของคาที่ใช้เรียกเด็กที่มีความ
ต้องการพิเศษ นั้นมาจากคาภาษาอังกฤษว่า children with special needs เป็นคาที่ใช้ในทางการศึกษา
พิเศษ ดังนั้นยังมีภาษาอังกฤษคาอื่นๆที่นามาใช้ ได้แก่ Impairment,Disability,Handicap,exceptional
children เป็นต้น ซึ่ง Heward (2014 : 7) ได้อธิบายขอบเขตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตาม
ลักษณะต่างๆมี 3 ประการ คือ
1. ความบกพร่อง (Impairment)
ความบกพร่อง หมายถึง การสูญเสียหรือมีความผิดปกติของจิตใจและอวัยวะโครงสร้าง
ของร่างกายไม่สามารถทาหน้าที่ได้ตามปกติ
2. การไร้สมรรถภาพ (Disability)
การไร้สมรรถภาพ หมายถึง การมีข้อจากัดหรืออวัยวะของร่างกายขาดความสามารถ เป็นผล
มาจากความบกพร่องจนไม่สามารถทากิจกรรมในลักษณะที่ถือว่าปกติสาหรับมนุษย์ได้
3. ข้อเสียเปรียบ (Handicap)
ข้อเสียเปรียบ หมายถึง ความจากัด หรืออุปสรรคกีดกั้น อันเนื่องมาจากความบกพร่อง และ
การไร้สมรรถภาพที่จากัด จนทาให้บุคคลนั้นไม่สามารถกระทาตามบทบาทปกติของเขาได้สาเร็จ
ถ้าจะกล่าวถึงคาว่าเด็กพิเศษ บางคนอาจจะนึกถึงคาว่าเด็กพิการ เด็กปัญญาอ่อน หรือเด็กที่มี
ลักษณะพิเศษหรือใช้คาอื่นๆที่มีความหมายทานองเดียวกัน ซึ่งการเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่าเด็กพิเศษเป็นคาเรียก
สั้นๆที่เรียกแทนคาเต็มว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้ได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่
มีความต้องการพิเศษไว้ดังนี้
15
คณะศึกษาศาสตร์ (2546 : 3 - 8) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น
หมายถึง เด็กที่อาจไม่สามารถพัฒนาในด้านการเรียนการสอนตามแบบปกติ เนื่องมาจากสภาพความ
บกพร่องหรือความแตกต่างทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ รวมไปถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้วย
จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์ (2559 : 3) ได้กล่าวไว้ว่า เด็กพิเศษนั้นหมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ากว่า 18 ปี
ที่มีลักษณะแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไปในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์หรือสังคม ซึ่งมีความจาเป็นที่
ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้ได้รับการพัฒนาสามารถเรียนรู้และปฏิบัติ
กิจกรรมในชีวิตประจาวันตลอดจนดารงอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 35) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆประกอบไปด้วย เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มี
ความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ เด็กออทิสติก เด็กที่
ได้รับบาดเจ็บทางสมอง เด็กปัญญาเลิศ เด็กด้อยโอกาสทางวัฒนธรรมและเด็กอื่นๆที่ต้องการความ
ช่วยเหลือทางการศึกษา
วารี ถิระจิตร (2537 : 3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษไว้ว่าเด็กที่มีความ
ต้องการพิเศษนั้นหมายถึง เด็กปกติที่มีลักษณะทางกายภาพหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากสภาพปกติทาง
ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์หรือสังคม ซึ่งความเบี่ยงเบนนี้รุนแรงถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อพัฒนาการด้าน
ต่างๆของเด็ก
ศรียา นิยมธรรม (2550 : 94) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษไว้ว่า เด็กที่มี
ความต้องการพิเศษนั้นหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม แตกต่างไปจาก
เด็กปกติทั่วไปในวัยเดียวกัน ทั้งนี้อาจมีสาเหตุจากความบกพร่อง หรือข้อจากัดของตัวเด็กเอง หรืออาจ
เนื่องมาจากพัฒนาการที่รวดเร็วกว่าวัย ซึ่งจาเป็นต้องจัดการศึกษาพิเศษให้เหมาะสมกับลักษณะความ
จาเป็นของเด็ก
จากที่กล่าวมาข้างต้นพอจะสรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ นั้นหมายถึง เด็กที่มีความ
บกพร่องในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม รวมถึงเด็กที่มีพัฒนาการรวดเร็วกว่าในวัยเดียวกัน
ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะมีข้อจากัดในการดารงชีวิต ทั้งนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือสิ่งอานวยความสะดวก บริการทาง
การศึกษาให้เหมาะสมตามศักยภาพของเด็กแต่ละบุคคล
ประเภทของเด็กพิเศษ
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กาหนดประเภท
และหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการ ศึกษา พ.ศ. 2552 เมื่อนามาจัดกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งเป็น3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
16
1. เด็กปัญญาเลิศ หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (gifted or talented child) เป็นเด็กที่มี
พัฒนาการแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไปโดยพบว่าเด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความฉลาด หรือระดับ
สติปัญญา (IQ) สูงกว่าเกณฑ์ปกติคือ มากกว่า 130 ขึ้นไป
2. เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆเด็กกลุ่มนี้มักเรียนรู้ช้าและมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติใน
วัยเดียวกัน จาเป็นต้องให้ความช่วยเหลือพิเศษตามความจาเป็นของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยให้เด็กสามารถ
เจริญเติบโตและพัฒนาศักยภาพต่อไปได้ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ตามประกาศของ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2552 ประกอบไปด้วย บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น, บุคคลที่มีความ
บกพร่องทางการได้ยิน, บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือ
การเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ, บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้, บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและ
ภาษา, บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์, บุคคลออทิสติกและบุคคลพิการซ้าซ้อน
3. เด็กยากจนและด้อยโอกาส ประกอบด้วย เด็กที่ครอบครัวหรือผู้เลี้ยงดูมีฐานะยากจนขาด
แคลนปัจจัยที่จาเป็นในการเจริญในการเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก รวมถึงเด็กที่ด้อย โอกาส
กลุ่มอื่นๆ เช่น เด็กต่างด้าว เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม ปล่อยปละละเลย ทอดทิ้งหรือถูก
ทารุณกรรม ฯลฯ เด็กกลุ่มนี้จัดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งควรได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครอง
สวัสดิภาพ เพื่อให้สามารถเติบโตและพัฒนาได้เต็มศักยภาพมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สาหรับประเทศไทยได้จัดประเภทของเด็กพิเศษนั้นจาแนกตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กาหนดประเภทและ หลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552 ได้แบ่งเด็กกลุ่มนี้ออกเป็น
9 ประเภท ได้แก่
1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
5. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
7. บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
8. บุคคลออทิสติก
9. บุคคลพิการซ้าซ้อน
หลักการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
นักการศึกษาพิเศษและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ให้หลักการ ปรัชญา ความเชื่อ ในการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม เช่นเดียวกับ ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 6) ที่ได้ให้หลักการแนวคิดสะท้อนออกมาดังนี้
1. ความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งใน
17
สังคม เมื่อเด็กทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการศึกษาด้วย
หากกีดกันไม่ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วยแล้ว หลายคนมีความเชื่อ
ว่านั่นคือความไม่ยุติธรรมในสังคม ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในสังคมตามมาภายหลัง
2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) เป็นการจัดสภาพใดๆเพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่อง
ทางด้านต่างๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับคนปกติ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมในกิจกรรมการกีฬา ดนตรี
ศิลปะ วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องดารงชีพอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) หลักสาคัญอย่าง
หนึ่งในการจัดการศึกษาคือการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อย
ที่สุดจึงเป็นผลดีกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้เด็กปกติและครูได้เข้าใจเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษ ในความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม
4. การเรียนรู้ (Learning) เด็กทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มี
ความต้องการพิเศษ ซึ่งในอดีตมีหลายคนเชื่อว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่สามารถเรียนหนังสือได้ที่
เห็นได้ชัดเจนคือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสามารถเรียนได้ อาจเรียนสาเร็จในชั้นประถมศึกษา
หรือระดับชั้นที่สูงขึ้น หากเด็กมีความพร้อมและได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและจัดการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล
จากหลักการศึกษาแบบเรียนรวม สรุปได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องได้รับการศึกษาโดย
จัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล
ซึ่งการสอนให้จดจาอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการสอนที่ดีและไม่เป็นการส่งเสริมผู้เรียนอย่างรอบด้าน
เนื่องจากการเด็กอาจจะเรียนดีในเฉพาะเนื้อหาที่เรียนแต่ไม่ประสบความสาเร็จในชีวิตการทางานก็ได้
เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ควรพิจารณาจากเด็กมีความพึงพอใจในการเรียน ในงานที่ตนเองทา ซึ่งความพึง
พอใจอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ดังนั้นโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมได้ดี ควรส่งเสริม
การเรียนรู้รอบด้านและปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสาหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัย
รูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่
Daeck (2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบผู้สอนที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ผู้สอนการศึกษาพิเศษจะได้รับ
มอบหมายให้สอนทักษะแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งผู้สอนได้สอนผู้เรียนในชั้นเรียนรวมแล้ว แต่
ผู้เรียนยังไม่เกิดทักษะ ดังนั้นผู้สอนการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้าๆอีก จนกระทั่งผู้เรียนเกิดทักษะ
นั้น สาหรับรูปแบบผู้สอนที่ปรึกษานั้น ผู้สอนการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
เป็นจานวนจากัด ผู้สอนปกติและผู้สอนการศึกษาพิเศษต้องมีประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของ
18
ผู้เรียน โดยมีการวางแผนร่วมกัน ซึ่งรูปแบบการทางานเหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจานวนผู้เรียนที่มี
ความต้องการพิเศษไม่มากนัก
2. รูปแบบการร่วมทีม (Teaming Model) ในรูปแบบนี้ผู้สอนการศึกษาพิเศษจะได้รับ
มอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับผู้สอนที่สอนชั้นเรียนปกติ ผู้สอนการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้
ข้อมูลแก่ผู้สอนชั้นเรียนปกติเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คาแนะนาเกี่ยวกับ
การปรับวิธีสอนการมอบหมายงาน การจัดการด้านพฤติกรรม การปรับวิธีสอบ พร้อมทั้งการวางแผน
ร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ใน
รูปแบบนี้ทั้งผู้สอนการศึกษาพิเศษและผู้สอนชั้นเรียนปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนผู้เรียน
ทุกคน ทั้งผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและผู้เรียนปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการ
วางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลทั้งระเบียบวินัยความประพฤติของผู้เรียนโดยได้รับ
บริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสิ่งอานวยความสะดวก สื่อบริการ
ทางการศึกษาที่จาเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียนที่มีความ
ต้องการพิเศษแต่ละบุคคล ในรูปแบบนี้ผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การ
เรียนรวมดาเนินไปด้วยดีซึ่งอาจจาแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ ดังนี้
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนโดยมีผู้สอน
2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ผู้สอนคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหาเป็นผู้สอน
ส่วนผู้สอนอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหาน้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการ
พิเศษ ซึ่งผู้เรียนอาจถามผู้สอนคนใดคนหนึ่งก็ได้
3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็น
กลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ผู้สอนอาจมอบงานให้ผู้เรียนทาไปพร้อม ๆ กัน และให้ผู้เรียน
ทางานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสาหรับห้องเรียนที่มีจานวนผู้เรียนไม่มากนัก ผู้สอน
สามารถดูแลผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ผู้สอนสามารถตอบคาถามผู้เรียนได้แทบทุกคน และอาจอธิบายซ้าหรือ
สอนซ้าได้ สาหรับผู้เรียนบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning
Centers) ในรูปแบบนี้ผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่ง
ต่าง ๆ (Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กาหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะ
ได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ผู้สอนกาหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือ ผู้สอนอาจใช้เวลาในขณะที่ผู้เรียนคนอื่น
กาลังเรียนรู้ด้วยตนเอง มาสอนผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทาให้ผู้เรียนได้เข้าถึงในสิ่งที่
เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีผู้สอน
อย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ผู้สอนคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่ผู้เรียนทั้งหมดในชั้นเรียนหลังจากนั้น
จึงแบ่งกลุ่มเพื่อทากิจกรรม ผู้สอนคนหนึ่งจะสอนกลุ่มผู้เรียนที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึก
19
ในขณะที่ผู้สอนอีกคนสอนกลุ่มผู้เรียนที่อ่อนกว่า เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกทากิจกรรมตามความสามารถของ
ตน ซึ่งการสอนแบบนี้มีข้อดีคือ ผู้เรียนที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยากท้าทาย ขณะที่ผู้เรียนที่อ่อนได้เลือก
เรียนตามศักยภาพของตน ผู้สอนมีโอกาสสอนซ้าในทักษะเดิมสาหรับผู้เรียนที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ ซึ่ง
เหมาะสาหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นที่มีเนื้อหาของวิชายากง่ายตามลาดับ
3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน รวมกันสอน
ห้องเรียนเดียวกันซึ่งเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนผู้เรียนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จาเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกัน
หากแต่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ผู้สอนอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนผู้เรียนเป็น
รายบุคคล โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียน
Gartner & Lipsky (1997) (อ้างถึงใน สมพร หวานเสร็จ, 2543) ได้เสนอรูปแบบการศึกษา
แบบเรียนรวมไว้หลายรูปแบบ บางรูปแบบคล้ายกับที่ Daeck เสนอไว้ แต่ที่พบข้อแตกต่างมี 2 รูปแบบ
ดังนี้
1. รูปแบบห้องเสริมวิชาการ (Resource Room Model) เป็นการนาเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษสอนในห้องที่จัดไว้ต่างหากเป็นการนาเด็กออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) ห้องเสริม
วิชาการเป็นห้องที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียนสาหรับกลุ่ม
เฉพาะ ใช้เป็นห้องฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา นั่น
คือบางเวลาเรียนรวมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทักษะเฉพาะบาง
ประการ
2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สาหรับ
ห้องเรียนปกติ ผู้ช่วยครู จะเข้าไปนั่งในห้องเรียนขณะที่ครูประจาการกาลังสอนอยู่หน้าชั้น ผู้ช่วยครูจะนั่ง
ติดกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูผู้ช่วยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ จะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
1 – 2 คน ในห้องเรียนรวมเต็มเวลา หน้าที่ของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพิ่มเติมตามที่ครูสอน ช่วยเรียก
เด็กให้กลับมาสนใจบทเรียนหากเด็กเริ่มเสียสมาธิตลอดจนตอบคาถามของเด็กในเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้ช่วย
ครูอาจไม่มีวุฒิทางการศึกษาก็ได้ อาจเป็นอาสาสมัครหรือผู้ปกครองก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผู้ปกครองของเด็ก
ที่ผู้ช่วยครูกาลังดูแลอยู่ ผู้ช่วยครูจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียน
สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นแนวคิดทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัด
การศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการ
พิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสมทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่บุคคลที่มีความ
ต้องการพิเศษได้พัฒนาศักยภาพทุกด้าน ในระบบของโรงเรียนที่จัดให้การเรียนรวมจึงมิใช่การศึกษา
เฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้นหากแต่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการเรียนการสอน
และการดาเนินการต่างๆจะเป็นการผสมผสานระหว่างหลักการทางการศึกษาพิเศษ และการศึกษาทั่วไป
การเรียนรวมในประเทศไทยแม้ว่าจะได้ดาเนินการไป แต่ก็ยังมีปัญหาหลากหลายทั้งในการบริหารจัดการ
การบริหารหลักสูตร การประเมินความต้องการพิเศษทางการศึกษาของผู้เรียน การจัดหาสื่อ สิ่งอานวย
20
ความสะดวก การปรับวิธีสอน การปรับวิธีการวัดผล และการช่วยเหลือด้วยจิตอารี จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะ
ทาให้การเรียนรวมดาเนินต่อไปได้
ลักษณะของเด็กพิเศษ
ในประเทศไทยได้การจัดการศึกษาให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอภาคกันในการรับการศึกษาขั้น
พื้นฐานอย่างทั่วถึง ซึ่งในพระราชบัญญัติการจักการศึกษาคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้ระบุไว้ในมาตรา 10
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่การศึกษาที่ระบุในกการจัดการศึกษาสาหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคล
ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาสในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ ดังนั้น
จึงจาเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีลักษณะพิเศษ โดยการจาแนกตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ได้แบ่งเด็กพิเศษ 9 ประเภท ประกอบด้วย เด็กที่มีความความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่อง
ทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการ
เคลื่อนไหวหรือสุขภาพ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ บุคคลทมี่คีวามบกพร่องทางการพูดและภาษา
บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ บุคคลออทิสติก บุคคลพิการซ้าซ้อน ทั้งนี้ขอเพิ่มเติมเนื้อหา
เกี่ยวกับเด็กปัญญาเลิศด้วย โดยมีรายละเอียดของเด็กพิเศษแต่ละประเภท ดังนี้
1. เด็กที่มีความความบกพร่องทางการเห็น
การมองเห็นมีความสาคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนซึ่งเด็กปกติสามารถมองเห็นและ
ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียนได้แต่เด็กที่มีความบกพร่องการเห็นไม่สามารถทาได้ ดังนั้นจึงมีความ
จาเป็นต่อการให้เด็กที่บกพร่องทางการเห็นได้รับอุปกรณ์ การปรับวิธีการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถ
เรียนได้ในระบบการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางการเห็น สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษา ซึ่งจะกล่าว
ต่อไปนี้
1.1 ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น (ผดุง อารยะวิญญู, 2542 : 75)ได้ให้
ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กตาบอด หรือเด็กตาบอดบางส่วน สามารถ
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มีสายตาเหลืออยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย แม้จะได้รับการแก้ไข
แล้ว จึงไม่สามารถในการเรียนหนังสือได้เป็นผู้มีสายตาหลังจากการแก้ไขแล้ว 20/200
ตาบอดบางส่วน หมายถึง เด็กที่มีสายตาบกพร่อง แต่ภายในจากการแก้ไขแล้วสามารถ
มองเห็นได้บ้าง จึงสามารถใช้สายตาในการเรียนหนังสือได้บ้าง เป็นผู้มีสายตาหลังจากการแก้ไขอยู่
ระหว่าง 20/70 และ 20/200
21
1.2 สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น เป็นภาวะความบกพร่องซึ่งพบเห็นได้ตั้งแต่แรก
เกิดหรือภายหลัง สาเหตุอันเนื่องมาจาก กล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพและการที่สมองถูกทาลายในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการเห็น หรือการมีจุดโฟกัสรับแสงที่ผิดปกติ มีโรคต้อกระจก หรือโรคต้อหิน เป็นต้น
1.3 ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หากพบสภาวะความบกพร่องทางการ
เห็นที่เป็นตั้งแต่กาเนิดจะพบประสาทสัมผัสและการเรียนรู้แตกต่างจากเด็กที่สูญเสียตาภายหลัง ซึ่งส่งผล
ต่อพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีลักษณะต่อไปนี้ (ผดุง อารยะวิญญู, 2542
:76 - 77)
1.3.2 พัฒนาการทางภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีพัฒนาการทางภาษาที่
ช้ากว่าเด็กปกติบางอย่าง การเปล่งเสียงโดยการเลียนแบบอาจเท่าเทียมกับเด็กปกติแต่มักใช้คาที่ไม่
เหมาะสม มีความหมายไม่ตรงข้ามกับความสามารถที่แท้จริงของคา
1.3.3 พัฒนาการทางการเคลื่อนไหว เป็นปัญหาที่ชัดเจนที่สุดของเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางการเห็น จึงจาเป็นต้องมีการสอนและการกระตุ้นในด้านความคิดรวบยอดที่เกี่ยวกับทิศทาง ซ้ายขวา
และตาแหน่งส่วนต่างๆของร่างกาย
1.3.4 พัฒนาทางสังคม สิ่งสาคัญที่จะช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นสร้าง
พัฒนาการทางสังคมมาจากทัศนคติของพ่อแม่ หากเชื่อว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเห็นมีศักยภาพใน
การเรียนรู้ และเป็นการเปิดโอกาสเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้น
1.4 แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น วัสดุ
อุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนและการใช้ในชีวิตประจาวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้นประกอบ
ไปด้วย แว่นตาที่เหมาะกับสายตา เครื่องอ่านหนังสือ เครื่องบันทึกเสียง กระดาษกราฟ ไม้บรรทัด ไม้เท้า
ขาว ลูกคิด slate and stylus (แผ่นและดินสอนสาหรับเขียน) ส่วนการให้บริการพิเศษแก่เด็กที่มีความ
บกพร่องทางการเห็นนั้นเป็นบริการการฝึกทาความเข้าใจสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(orientation
and mobility : O & M) การสอนอักษรเบรลล์ การสอนซ่อมเสริม เป็นต้น ส่วนหลักสูตรและการสอน
สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้นควรเป็นหลักสูตรเดียวกันกับเด็กปกติ เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้นั้นมี
ทักษะใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับเด็กปกติ มีเพียงแค่อุปกรณ์การสอนอาจจะแตกต่างจากเด็กปกติ ซึ่ง
ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 78 - 79) ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สาหรับเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางการเห็นควรมีลักษณะดังนี้
1.4.1 หลักสูตรสาหรับเด็กก่อนวัยเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นการควบคุมการฝึก
ประสาทการรับรู้ดังนั้นกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นการรับรู้และการเรียนรู้ควรเน้นการรับรู้ทางการ
ฟัง การสัมผัสทั้งภายนอกและภายใน การดมกลิ่น การลิ้มรส ซึ่งการเรียนรู้เป็นการเน้นประสบการณ์ตรง
ใช้อุปกรณ์ที่เป็นของจริงมากกว่าสิ่งของเลียนแบบ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เรื่องผักผลไม้ ควรที่จะใช้ผัก
ผลไม้จริงมากกว่าใช้ผักผลไม้แบบพลาสติก เป็นต้น
1.4.2 หลักสูตรในระดับประถมศึกษา ควรเน้นให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น
22
การฝึกทางด้านรับรู้ด้านการฟังเป็นหลัก ซึ่งเน้นในเรื่องการจาแนกความแตกต่างโดยการฟังให้มาก ทั้งนี้
รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการฟัง การเสนอรายงาน การสนทนา เป็นต้น ส่วนการ
สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้นควรสอนให้อ่านและเขียนอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จาเป็น
อย่างยิ่งในการเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไป รวมถึงการฝึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการทาความคุ้นเคยกับ
สภาพแวดล้อมเพื่อที่จะช่วยให้สามารถเคลื่อนที่ไปในสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4.3 หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา ควรเตรียมพื้นฐานทักษะสาหรับการประกอบอาชีพ
ในอนาคต อาทิเช่น นักร้อง นักดนตรี นวดแผนไทย เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนที่มีความ
บกพร่องทางการเห็นต้องเรียนฝึกอาชีพอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีผู้เรียนที่มีศักยภาพสามารถศึกษาต่อใน
ระดับสูงขึ้นไปประกอบอาชีพได้เช่นกัน ได้แก่ นักวิชาการ นักกฎหมาย ครู นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
ซึ่งการเรียนการสอนสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
ภาพที่ 2.1 ตาแหน่งของปุุมนูนในอักษรเบรลล์
ที่มา : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ออนไลน์. 2560
2. เด็กที่มีความความบกพร่องทางการได้ยิน
การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสที่สาคัญมากในการช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ซึ่ง
ตาแหน่งของปุุมนูน
ในอักษรเบรลล์
ขนาด 1 เซลล์
อักษรเบรลล์ที่กาหนดใช้แทน
พยัญชนะไทย
อักษรเบรลล์ที่กาหนดใช้
แทนสระและวรรณยุกต์ไทย
23
การได้ยินนั้นสามารถพัฒนาในเด็กแรกเกิดโดยสังเกตจากปฏิกิริยาต่อเสียงที่ได้ยินด้วยการกะพริบตาหรือ
สะดุ้ง เด็กทารกสามารถได้ยินและจาเสียงผู้เลี้ยงได้ ซึ่งเด็กจะเริ่มใช้เสียงที่ไม่ใช่ภาษาพูดเมื่ออายุหนึ่งเดือน
และมีพัฒนาการได้ยินขึ้นเรื่อยๆสามารถแยกเสียงต่างๆที่ได้ยินในสิ่งแวดล้อมและใช้เสียงในการสื่อสารได้
จนเด็กเริ่มพูดเป็นคา ในทางกลับกันหากเด็กมีปัญหาทางด้านการได้ยินจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กเป็น
อย่างมาก ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นจะไม่เรียนรู้การพูด แต่ในเด็กบางคนหากได้รับการ
สอนภาษามือ เครื่องช่วยฟังหรือเทคโนโลยีอื่นๆรวมทั้งการฝึกพูด การอ่านริมฝีปาก สามารถช่วยให้เด็ก
เหล่านี้สื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจในความหมาย สาเหตุ ลักษณะของการบกพร่องทางการได้
ยิน รวมไปถึงแนวทางในการช่วยเหลือการจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมี
รายละเอียดดังนี้
2.1 ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (จุรีลักษณ์ รัตนาพันธ์, 2559 : 14 -
15) ได้กล่าวถึงความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นหมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือ
สูญเสียการได้ยิน จนเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท ดังนี้
เด็กหูตึง หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจนไม่เข้าใจคาพูดและการสนทนา โดยจาแนก
ตามเกณฑ์อัตราการได้ยินของหูของราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยการ
ได้ยินที่ความถี่500, 1000 และ 2000 เฮิรตซ์ (Hz) ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กหูตึงอาจแบ่งตามระดับการได้ยิน
ได้ 4 กลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เด็กหูตึงระดับที่ 1 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26-40 เดซิเบล (dB) จะพบปัญหาในการรับ
ฟังเสียงเบาๆ อาทิเช่น เสียงกระซิบ เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในห้องเรียนได้ โดยจัดที่นั่ง
เรียนอย่างเหมาะสมให้สามารถมองเห็นคุณครูและเพื่อนๆได้
เด็กหูตึงระดับที่ 2 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41-55 เดซิเบล (dB) จะมีปัญหาในการฟัง
เสียงพูกคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะ 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด ดังนั้นเมื่อพูดด้วยเสียงธรรมดาก็จะได้
ยินไม่ชัดหรือไม่ได้ยิน รวมทั้งจับใจความไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด พูด
เสียงเบา ออกเสียงเพี้ยน เป็นต้น
เด็กหูตึงระดับที่ 3 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56-70 เดซิเบล (dB) มักพบปัญหาในการ
รับฟังและเข้าใจ คาพูดเมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายๆเสียง
พร้อมกัน เช่น เสียงในห้องประชุม เป็นต้น รวมถึงพบว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าเด็ก
ปกติ เช่น เด็กพูดไม่ชัด เสียงเพี้ยนและเด็กบางคนไม่พูด เป็นต้น
เด็กหูตึงระดับที่ 4 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71-90 เดซิเบล (dB) เป็นกลุ่มเด็กที่หูตึง
ระดับรุนแรง มักพบปัญหาในการรับฟังและการที่จะเข้าใจคาพูด เด็ฏสามารถได้ยินที่เสียงดังใกล้หูใน
ระยะทาง 1 ฟุต ซึ่งต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงถึงจะได้ยินเสียง ถึงแม้ว่าเด็กกลุ่มนี้จะใช้
เครื่องช่วยฟังก็มักจะพบปัญหาในการแยกเสียง อาจจะแยกสียงสระได้แต่แยกเสียงพยัญชนะไม่ได้ ซึ่งเด็ก
มักพูดไม่ชัด มีเสียงผิดปกติ และไม่สามารถพูดได้
24
เด็กหูหนวก หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
ถึงแม้ว่าจะใช้เครื่องช่วยฟังก็ตาม และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500-2000 เฮิรตซ์ (Hz) มีการได้ยินเฉลี่ย
90 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป
2.2 สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน อาจแบ่งได้ 2 อย่าง ดังนี้ (Friend, 2008 : 312)
2.2.1 การสูญเสียการได้ยินที่พบตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากพันธุกรรม ซึ่ง
บิดามารดาที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินเป็นผลให้เด็กบกพร่องทางการได้ยิน รวมถึงการที่มารดาเป็นโรคหัด
เยอรมัน หรือภาวะคลอดก่อนกาหนด อีกทั้งเกิดจากมารดาเป็นเบาหวาน ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเด็ก
ขาดออกซิเจน
2.2.2 การสูญเสียการได้ยินในภายหลัง การสูญเสียที่พบสามารถแบ่งได้เป็นการสูญเสีย
ก่อนที่จะมีการพัฒนาการทางภาษาและการสูญเสียหลังจากที่มีพัฒนาการแล้ว มักพบว่าเกิดจากโรคบาง
ชนิด เช่น โรคสมองอักเสบ หัดเยอรมัน หูน้าหนวก รวมทั้งการได้รับยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงหรืออยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเกินขนาดมากเป็นเวลานาน
2.3 ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถสังเกตลักษณะได้หลาย
ประเด็นสาคัญด้วยกัน ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 23 - 24) ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของเด็กที่มีความ
บกพร่องทางการได้ยิน ไว้ดังนี้
2.3.1 การพูด เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาทางการพูด เด็กอาจพูดไม่ได้
หรือพูดไม่ชัดซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียการได้ยินของเด็ก เด็กที่สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยนั้นยัง
พอพูดได้ เด็กที่ส่วนสูญเสียการได้ยินระดับปานกลางสามารถพูดได้แต่พูดไม่ชัด ส่วนเด็กที่สูญเสียการได้
ยินมากหรือหูหนวกนั้นอาจพูดไม่ได้ ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการสอนพูดตั้งแต่ในวัยเด็ก รวมถึงอายุของเด็กเมื่อ
สูญเสียการได้ยินด้วย หากเด็กสูญเสียการได้ยินมาตั้งแต่กาเนิดนั้น ปัญหาการพูดของเด็กขึ้นอยู่กับความ
รุนแรงของระดับการได้ยินรวมถึงอายุของเด็กเมื่อสูญเสียการได้ยินอีกด้วย
2.3.2 ภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาเกี่ยวกับภาษา เช่น การเรียงที่
ผิดหลักภาษา มีความรู้เกี่ยวกับคาศัพท์ในวงจากัด ปัญหาของเด็กคล้ายกันกับปัญหาในการพูด โดยที่เด็ก
สูญเสียการได้ยินมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีปัญหาทางภาษามากเท่านั้น
2.3.3 ความสามารถทางสติปัญญา ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
อาจคิดว่าเด็กประเภทนี้เป็นเด็กสติปัญญาต่า ซึ่งความจริงนั้นเป็นเพียงเพราะว่าท่านมาสามารถสื่อสารกับ
เขาได้ หากสื่อสารกับเขาได้จะทราบว่าเด็กกลุ่มนี้มีความฉลาด ความจริงแล้วระดับสติปัญญาของเด็กที่มี
ความบกพร่องทางการได้ยินไม่ใช่เด็กโง่ทุกคน
2.3.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจานวนมากมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่าซึ่งอาจเป็นเพราะว่าวิธีการเรียนการสอน จนถึงวิถีการวัดผลที่ปฏิบัติกันใน
ปัจจุบันนั้นเหมาะกับการวัดผลสาหรับเด็กปกติมากกว่า ซึ่งวิธีการบางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับเด็กที่มี
ความบกพร่องทางการได้ยิน รวมถึงปัญหาทักษะทางภาษามีความจากัด จึงเป็นอุปสรรคในการทาข้อสอบ
เหตุนี้จึงเป็นเหตุให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่า
25
2.3.5 การปรับตัว เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อาจมีปัญหารเรื่องการปรับตัว
ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุเรื่องการสื่อสารกับผู้อื่น หากเด็กสามารถสื่อสารได้ปัญหาทางอารมณ์อาจจะลดลง
ซึ่งทาให้เด็กสามารถปรับตัวได้แต่ในทางตรงกันข้าม เด็กไม่สามารถสื่อสารได้ดังนันเด็กอาจเกิดความคับ
ข้องใจได้ ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เด็กที่ทีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นจะต้องปรับตัวมากกว่าเด็ก
ปกติ
2.4 แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การ
ช่วยเหลือทางการศึกษาควรเป็นหลักสูตรสาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ควรมีการสอนใน
เรื่องการฝึกฟังและพัฒนาทักษะการพูด ทักษะภาษา มีเนื้อหาที่ครอบคลุมหรือใกล้เคียงกับผู้เรียนปกติ ซึ่ง
ต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างออกไปโดยการจัดการศึกษานี้เพื่อเตรียมความพร้อมสาหรับการเรียนรวมกับเด็ก
ปกติ ดังนั้นอุปกรณ์ที่จะใช้นั้นเป็นเครื่องช่วยฟังพร้อมทั้งการฝึกแก้ไขการพูดและควรจัดให้มีการให้ความรู้
เกี่ยวกับการประกอบอาชีพด้วย เมื่อผู้เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งการช่วยเหลือที่จาเป็นสาหรับเด็กที่
มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น มีดังนี้ (กิ่งสร เกาะประเสริฐ, 2555 : 8 - 9)
2.4.1 การสอนภาษามือ เป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
สามารถอ่านและเขียนได้ตามความสามารถแต่ละบุคคล
2.4.2 การใช้เทคโนโลยีและสิ่งช่วยเหลือ ประกอบไปด้วย เครื่องช่วยฟังทาให้สามารถได้
ฟังเสียงเร็วเท่าใดจะสามารถพัฒนาฟังเสียงได้เร็วขั้น ทั้งนี้ยังมีการปลูกถ่ายประสาทหูเทียมซึ่งเป็นการผัง
ประสาทหูเทียมภายในอวัยวะเพื่อกระตุ้นต่อประสาทการรับรู้การได้ยินโดยตรง ส่วนผู้แปลล่ามภาษามือ
นั้นช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ในสถานศึกษา ซึ่งยังมีอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ที่ช่วยแปลงภาษาพูดให้เป็น
ตัวอักษร เป็นต้น ดังนั้นผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควรได้รับอุปกรณ์หรือการบริการทาง
การศึกษาให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
ภาพที่ 2.2 แบบสะกดนิ้วมือ
ที่มา : มหาวิทยาลัยรังสิต. ออนไลน์. 2556
26
ภาพที่ 2.3 แบบสะกด วรรณยุกต์
ที่มา : มหาวิทยาลัยรังงสิต. ออนไลน์. 2556
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ความบกพร่องทางสติปัญญาเห็นได้จากความล่าช้าทางสติปัญญาโดยการตอบสนองต่อบุคคล
หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือการมีข้อจากัดทางวิชาการ จิตวิทยา ภาษาและสังคมต่ากว่าเกณฑ์ปกติ
ซึ่งเป็นความจากัดของทักษะการปรับตัวอย่างน้อย 2 ทักษะจาก 10 ทักษะ ได้แก่ การสื่อสารความหมาย
การดูแลตนเอง การดารงชีวิตภายในบ้าน ทักษะทางสังคมหรือการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น การรู้จักใช้
ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตเอง การนาความรู้มาใช้ในชีวิตประจาวัน การทางาน การใช้
เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัย ทั้งนี้ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อน 18 ปี ซึ่งผู้เรียบเรียงจะกล่าวถึง
ประเด็นสาคัญของความหมาย สาเหตุ ลักษณะของความบกพร่องทางสติปัญญาและแนวทางการ
ช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
3.1 ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ถ้าจะกล่าวถึงคาที่ใช้เรียกกัน
สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้นมีการให้คานิยามใน ค.ศ. 2009 จากสมาคมภาวะความ
บกพร่องทางสติปัญญาแห่งสหรัฐอเมริกา(American Association on Intellectual and
Developmental Disabilities : AAIDD )ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ไว้ว่า เป็นบุคคลที่มีระดับสติปัญญาต่ากว่าเกินเฉลี่ย มีข้อจากัดด้านพฤติกรรมการปรับตัวที่มีผลต่อการ
ดารงชีวิตประจาวันและทักษะสังคม ซึ่งความบกพร่องนี้จะพบก่อนอายุ 18 ปี ทั้งนี้ได้มีนักวิชาการทาง
การศึกษาพิเศษของประเทศไทยได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ดังนี้
กุลยา ก่อสุวรรณ (2553 : 22) ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทาง
สติปัญญานั้นว่า เห็นได้จากข้อจากัดในการดาเนินชีวิต ความล่าช้าทางสติปัญญา การตอบสนองของ
27
บุคคลหรือสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหมาะสม รวมทั้งความสามารถด้านวิชาการ จิตวิทยา ภาษาและสังคมต่า
กว่าเกณฑ์
ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 39) กล่าวถึงความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทาง
สติปัญญานั้นหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติในทักษะทุกด้าน เมื่อได้รับการทดสอบวัดระดับ
เชาว์ปัญญาและมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปแตกต่างจากเด็กปกติ
เพ็ญสุดา จิโนการ (2559 : 47) ได้ให้ความหมายเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้น
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ากว่าเด็กปกติทั่วไปที่อยู่มนวัยเดียวกัน เมื่อวัดระดับสติปัญญาตาม
เกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสาคัญคือ ต่ากว่า 70 ไม่สามารถปรับตัวในชีวิตประจาวันได้ อย่างน้อย 2 ทักษะ
และมักจะพบความบกพร่องก่อน 18 ปี
วารี ถิระจิตร (2537 : 111) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่ความบกพร่องทางสติปัญญา
หมายถึง สภาวะที่พัฒนาการของจิตใจหยุดชะงักหรือเจริญไม่เต็มที่ แสดงลักษณะเฉพาะโดยมีระดับ
ปัญญาต่าหรือด้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางกายล่าช้าความสามารถเรียนรู้ได้น้อย มีความสามารถจากัดใน
การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
ศรียา นิยมธรรม (2550 : 105 - 106) กล่าวถึงความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทาง
สติปัญญานั้นหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป และผลการวัดระดับสติปัญญาจาก
แบบทดสอบมาตรฐานอยู่ในระดับต่ากว่าทั่วไป มีข้อจากัดทักษะเกี่ยวกับทักษะด้านการปรับตัวอย่างน้อย
2 ทักษะ ใน10 ทักษะ ทั้งนี้ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี
จากความหมายข้างต้นพอสรุปได้ว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้นหมายถึง
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ ซึ่งมีระดับสติปัญญาต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานและด้วยภาวะความ
บกพร่องนี้พบก่อนอายุ 18 ปี ส่งผลให้มีข้อจากัดในการเรียนรู้และการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมในการ
ดารงชีวิตประจาวัน
3.2 ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สามารถแบ่งประเภทของระดับความ
บกพร่องได้ 4 ระดับ ได้แก่ระดับน้อย ระดับปานกลาง ระดับรุนแรงและระดับรุนแรงมาก ดังแสดงใน
ตารางที่ 2.1
28
ตารางที่ 2.1 แสดงลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาตามระดับความบกพร่อง
ระดับ IQ ลักษณะ พบ
ระดับน้อย
กลุ่มเรียนได้
(Mild)
50-70 เป็นลักษณะที่สามารถเรียนได้ ซึ่งช่วงปฐมวัย
สามารถพัฒนาทักษะต่างๆได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติ
ช่วงในวัยเรียนสามารถเรียนได้จนถึงระดับ
ประถมศึกษาแต่ไม่สามารถเรียนวิชาสามัญได้เท่ากับ
เด็กปกติ จึงควรจัดหลักสูตรอาชีพให้ตาม
ความสามารถ ส่วนในวัยผู้ใหญ่สามารถปรับตัวได้เท่า
วัยรุ่นซึ่งงต้องการคาชี้แนะและความช่วยเหลือ
เรียนรู้และสามารถประกอบอาชีพได้ในระดับหนึ่ง
85%
ปานกลาง
กลุ่มฝึกได้
(Moderate)
35-50 ช่วงวัยเด็กสามารถพูดสื่อสารกับผู้อื่นได้ พัฒนาการ
ช้าต้องการการดูแล ในวัยเรียนสารถเรียนรู้ทักษะ
เบื้องต้นง่ายๆได้ ส่วนการเรียนในระดับประถมศึกษา
ต้น การเข้าสังคมไม่ดีนัก รวมถึงการเคลื่อนไหวและ
ประสาทสัมผัสไม่ค่อยดี วัยผู้ใหญ่สามารถทางานที่ไม่
ต้องใช้ทักษะมากนัก ต้องการการดูแลจากผู้ใกล้ชิด
10%
ระดับรุนแรง
(Severe)
20-35 ช่วงวัยเด็กมักจะมีปัญหาการเคลื่อนไหว การพูดและ
ภาษาไม่ดี ฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจาวัน
ง่ายๆ เรียนหนังสือไม่ได้ ต้องการดูแลอย่างมาก
4%
รุนแรงมาก
(Profound)
20 ลงมา ไม่สามารถฝึกทักษะต่างๆได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
ต้องพึ่งการดูแลช่วยเหลือทางการแพทย์ ต้องการ
ดูแลอย่างใกล้ชิด
1%
ที่มา : กิ่งสร เกาะประเสริฐ. 2555 : 26
3.3 สาเหตุของความบกพร่องทางสติปัญญา มักพบว่าสาเหตุของความบกพร่องทาง
สติปัญญานั้นมีหลายปัจจัย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
3.3.1 ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว รวมทั้งเด็กขาด
สารอาหารซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม
3.3.2 ปัจจัยที่เกิดจากการคลอด ซึ่งอาจเกิดช่วงก่อนคลอดหรือระหว่างคลอดเป็นสาเหตุ
ของภาวะความบกพร่องทางสติปัญญา โดยที่มารดาติดเชื้อหัดเยอรมัน ติดสุรายาเสพติดและการขาด
29
ออกซิเจนขณะคลอดหรือหลังคลอด ซึ่งเด็กอาจมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาส่งผลให้เกิดโรตทางระบบ
ประสาทได้ เช่น โรตลมชัก ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น
3.3.3 โรคทางพันธุกรรม เป็นความผิดปกติยีนของโครโมโซม ซึ่งเกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กที่มี
ความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งจะกล่าวโรคที่มักจะพบบ่อยมีดังนี้
3.3.3.1 กลุ่มอาการ Fragile X Syndrome เกิดจากโครโมโซม X ที่ผิดปกติซึ่งมี
ความเปราะบาง แตกหักง่ายดังนั้นจึงส่งผลต่อร่างกายและสติปัญญา ทาให้เด็กมีพัฒนาการช้า จะลักษณะ
ศีรษะใหญ่ ใบหน้าผอมยาว มือและใบหูยาว หน้าผากโหนก อวัยวะเพศผิดปกติ เป็นต้น มีระดับสติปัญญา
ระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ซึ่งจะพบในอัตรา 1 : 1,500 คน ของเด็กแรกเกิด
3.3.3.2 โรค PKU หรือ Phenylketonuria เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
ซึ่งเด็กที่เป็นโรคนี้จะมีระบบการเผาผลาญอาหารในการย่อยโปรตีนที่ผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด ส่งผลให้เด็กมี
ลักษณะเส้นผมสีจางปนน้าตาล มีความบกพร่องทางสติปัญญาในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ซึ่งจะพบ
ในอัตรา 1 : 15,000 คน ของเด็กแรกเกิด
3.3.3.3 กลุ่มอาการ Down Syndrome เป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
ที่เกิดมา1 ตัวส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีลักษณะร่างกายและใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น รูปร่างเตี้ย แขนขา นิ้วสั้น
ใบหน้าฝุามือกว้าง หางตาชี้ขึ้น ปากเล็กเพดานต่าเหมือนลิ้นคับปากจนยื่นออกมานอกปาก กล้ามเนื้อ
ปวกเปียก มักมีปัญหาที่ข้อต่อ โรคหัวใจและทางเดินหายใจ
3.3.3.4 กลุ่มอาการ Patau Syndrome เป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13
ที่โครโมโซมเกินมา 1 ตัว เด็กกลุ่มนี้จะมีความผิดปกติอย่างรุนแรงหลายประการ เช่น ปากแหว่ง เพดาน
โหว่ โรคหัวใจ โรคไต ต้อกระจก ศีรษะเล็ก ประสาทตาลอกหลุด อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ
3.3.3.5 กลุ่มอาการ Edward Syndrome เป็นความผิดปกติของโครโมโซม
คู่ที่ 18 ที่มีโครโมโซมเกินมา 1 ตัว ลักษณะที่พบจะมีอาการหายใจลาบาก ไตผิดปกติ มีปัญหาโรคหัวใจมา
ตั้งแต่กาเนิด พัฒนาการล่าช้า มีปัญหาในการเจริญเติบโต
ภาพที่ 2.3 โครโมโซมคู่ที่ 21 กลุ่มอาการ Down Syndrome
ที่มา : โรงพยาบาลราชวิถี. ออนไลน์. 2017
30
ภาพที่ 2.4 ภาพแสดงลักษณะใบหน้าของกลุ่มอาการ Down Syndrome
ที่มา : นพ.สุทธิศักดิ์ เรืองปราชญ์. ออนไลน์. 2556
3.4 แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ควรจัดหลักสูตรสาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ประกอบด้วยเนื้อหา 6 ด้านดังนี้ (ผดุง อารยะ
วิญญู , 2542 : 39)
3.4.1 ทักษะในการช่วยเหลือตนเอง เป็นทักษะในการช่วยเหลือตนเองทักษะแรกของ
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ควรได้รับการฝึกทักษะ เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัว การ
การขับถ่ายที่ถูกต้อง
3.4.2 ทักษะในการสื่อสาร ทักษะประเภทนี้จาเป็นอย่างมากสาหรับเด็กที่มีความ
บกพร่องทางสติปัญญาในการฟังคาพูดเข้าใจและพูดได้ ซึ่งเด็กบางคนไม่สามารถพูดได้แม้ว่าจะได้รับการ
สอนพูด ซึ่งต้องเพิ่มช่องทางการสื่อสารโดยใช้รูปภาพ สิ่งของ หุ่นจาลองหรือบัตรคา
3.4.3 ทักษะในการดารงชีวิตประจาวัน เป็นทักษะทุกอย่างที่ทาให้เด็กบกพร่องทาง
สติปัญญาสามารถดารงชีวิตประจาวันได้ เช่นการเก็บที่นอน การเตรียมอาหารง่ายๆ การขึ้นรถ การข้าม
ถนน หรือการเดินทางเท้า เป็นต้น
3.4.4 ทักษะในการอ่าน การเขียน และเลขคณิตที่จาเป็นในการดารงชีพ ซึ่งมี
ความสาคัญอย่างยิ่งต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เรียกได้ว่า Functional academics เช่น การ
อ่านปูายประกาศต่างๆ อ่านปูายราคาสินค้า อ่านปูายสายรถประจาทาง การซื้ออาหารหรือของใช้ที่จาเป็น
3.4.5 ทักษะด้านนันทนาการ เด็กประเภทนี้ควรได้รับการฝึกให้รู้จักใช้เวลาพักผ่อนด้วย
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2
2

More Related Content

What's hot

คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
A-NKR Ning
 
คำแปลนิราศภูเขาทอง
คำแปลนิราศภูเขาทองคำแปลนิราศภูเขาทอง
คำแปลนิราศภูเขาทอง
โอ๋ อโนทัย
 
อาชีพในฝัน
อาชีพในฝันอาชีพในฝัน
อาชีพในฝัน
Wanlop Chimpalee
 
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ดอกไม้ประดับไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ดอกไม้ประดับ
Wanlop Chimpalee
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
คนสวย ฉัน
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
supaporn2516mw
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
พัน พัน
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง
พัน พัน
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
ขนิษฐา ทวีศรี
 

What's hot (20)

ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
 
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)เล่มที่ 5  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
เล่มที่ 5 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธา
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
 
คำแปลนิราศภูเขาทอง
คำแปลนิราศภูเขาทองคำแปลนิราศภูเขาทอง
คำแปลนิราศภูเขาทอง
 
คู่มือฝึกระเบียบแถว
คู่มือฝึกระเบียบแถวคู่มือฝึกระเบียบแถว
คู่มือฝึกระเบียบแถว
 
อาชีพในฝัน
อาชีพในฝันอาชีพในฝัน
อาชีพในฝัน
 
ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ดอกไม้ประดับไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ดอกไม้ประดับ
 
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
 
คำอุทาน
คำอุทานคำอุทาน
คำอุทาน
 
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการเรียนการ
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
 

Similar to 2

เด็กพิการซ้ำซ็อน
เด็กพิการซ้ำซ็อนเด็กพิการซ้ำซ็อน
เด็กพิการซ้ำซ็อน
Darika Roopdee
 
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
teerawit
 
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
teerawit
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
DekDoy Khonderm
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
Khuanruthai Pomjun
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ss
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ss
 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
Atima Teraksee
 
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน
ThawankoRn Yenglam
 
Blened learning(school)
Blened learning(school)Blened learning(school)
Blened learning(school)
iyabest
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
Benjarat Meechalat
 

Similar to 2 (20)

9789740335535
97897403355359789740335535
9789740335535
 
เด็กพิการซ้ำซ็อน
เด็กพิการซ้ำซ็อนเด็กพิการซ้ำซ็อน
เด็กพิการซ้ำซ็อน
 
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
 
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
 
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
 
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ
 
การช่วยเหลือด้วยการประชาสัมพันธ์ดิจิทัล (Helping with Digital Public Relations)
การช่วยเหลือด้วยการประชาสัมพันธ์ดิจิทัล (Helping with Digital Public Relations)การช่วยเหลือด้วยการประชาสัมพันธ์ดิจิทัล (Helping with Digital Public Relations)
การช่วยเหลือด้วยการประชาสัมพันธ์ดิจิทัล (Helping with Digital Public Relations)
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว1
 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
 
สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน
 
พรบ2551 By BUNBUN
พรบ2551 By BUNBUNพรบ2551 By BUNBUN
พรบ2551 By BUNBUN
 
Blened learning(school)
Blened learning(school)Blened learning(school)
Blened learning(school)
 
การส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ
การส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการการส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ
การส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ
 
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 
Special dentistry
Special dentistrySpecial dentistry
Special dentistry
 
ความเป็นมา Ld
ความเป็นมา Ldความเป็นมา Ld
ความเป็นมา Ld
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
 

More from Pa'rig Prig

More from Pa'rig Prig (20)

4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
Eport2
Eport2Eport2
Eport2
 
5
55
5
 
4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
1
11
1
 
ปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมิน
 
ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาค
 
ธรณีภาค
ธรณีภาคธรณีภาค
ธรณีภาค
 
ชีวภาค
ชีวภาคชีวภาค
ชีวภาค
 
โลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลโลกและจักรวาล
โลกและจักรวาล
 
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตบทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
 
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพบทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
 
Bath room (1)
Bath room (1)Bath room (1)
Bath room (1)
 

Recently uploaded

Meaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdf
Meaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdfMeaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdf
Meaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdf
George638435
 

Recently uploaded (8)

Meaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdf
Meaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdfMeaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdf
Meaning Recognition การใช้คำศัพท์ให้ตรงความหมาย.pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdfรายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 

2

  • 1. 14 บทที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเด็กพิเศษในชั้นเรียนรวม อ.ภัคภร ขันกสิกรรม ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นเด็กพิเศษจากสถานที่ต่างๆ แต่คนโดยส่วนมากยังขาดความรู้ความ เข้าใจในความหมาย ประเภทของเด็กพิเศษและลักษณะต่างๆของเด็กพิเศษ รวมทั้งการจัดการศึกษาให้ เด็กกลุ่มนี้ได้เรียนรวมกับเด็กปกติในชั้นเรียนปกติ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษให้สามารถ ได้รับสิทธิในการดารงชีวิตประจาวันในสังคมได้อย่างปกติสุข ความหมายของเด็กพิเศษ ก่อนจะทราบถึงความหมายของเด็กพิเศษนั้น ยังมีประเด็นสาคัญของคาที่ใช้เรียกเด็กที่มีความ ต้องการพิเศษ นั้นมาจากคาภาษาอังกฤษว่า children with special needs เป็นคาที่ใช้ในทางการศึกษา พิเศษ ดังนั้นยังมีภาษาอังกฤษคาอื่นๆที่นามาใช้ ได้แก่ Impairment,Disability,Handicap,exceptional children เป็นต้น ซึ่ง Heward (2014 : 7) ได้อธิบายขอบเขตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตาม ลักษณะต่างๆมี 3 ประการ คือ 1. ความบกพร่อง (Impairment) ความบกพร่อง หมายถึง การสูญเสียหรือมีความผิดปกติของจิตใจและอวัยวะโครงสร้าง ของร่างกายไม่สามารถทาหน้าที่ได้ตามปกติ 2. การไร้สมรรถภาพ (Disability) การไร้สมรรถภาพ หมายถึง การมีข้อจากัดหรืออวัยวะของร่างกายขาดความสามารถ เป็นผล มาจากความบกพร่องจนไม่สามารถทากิจกรรมในลักษณะที่ถือว่าปกติสาหรับมนุษย์ได้ 3. ข้อเสียเปรียบ (Handicap) ข้อเสียเปรียบ หมายถึง ความจากัด หรืออุปสรรคกีดกั้น อันเนื่องมาจากความบกพร่อง และ การไร้สมรรถภาพที่จากัด จนทาให้บุคคลนั้นไม่สามารถกระทาตามบทบาทปกติของเขาได้สาเร็จ ถ้าจะกล่าวถึงคาว่าเด็กพิเศษ บางคนอาจจะนึกถึงคาว่าเด็กพิการ เด็กปัญญาอ่อน หรือเด็กที่มี ลักษณะพิเศษหรือใช้คาอื่นๆที่มีความหมายทานองเดียวกัน ซึ่งการเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่าเด็กพิเศษเป็นคาเรียก สั้นๆที่เรียกแทนคาเต็มว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้ได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่ มีความต้องการพิเศษไว้ดังนี้
  • 2. 15 คณะศึกษาศาสตร์ (2546 : 3 - 8) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น หมายถึง เด็กที่อาจไม่สามารถพัฒนาในด้านการเรียนการสอนตามแบบปกติ เนื่องมาจากสภาพความ บกพร่องหรือความแตกต่างทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ รวมไปถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้วย จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์ (2559 : 3) ได้กล่าวไว้ว่า เด็กพิเศษนั้นหมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ากว่า 18 ปี ที่มีลักษณะแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไปในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์หรือสังคม ซึ่งมีความจาเป็นที่ ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้ได้รับการพัฒนาสามารถเรียนรู้และปฏิบัติ กิจกรรมในชีวิตประจาวันตลอดจนดารงอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 35) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆประกอบไปด้วย เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มี ความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ เด็กออทิสติก เด็กที่ ได้รับบาดเจ็บทางสมอง เด็กปัญญาเลิศ เด็กด้อยโอกาสทางวัฒนธรรมและเด็กอื่นๆที่ต้องการความ ช่วยเหลือทางการศึกษา วารี ถิระจิตร (2537 : 3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษไว้ว่าเด็กที่มีความ ต้องการพิเศษนั้นหมายถึง เด็กปกติที่มีลักษณะทางกายภาพหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากสภาพปกติทาง ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์หรือสังคม ซึ่งความเบี่ยงเบนนี้รุนแรงถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อพัฒนาการด้าน ต่างๆของเด็ก ศรียา นิยมธรรม (2550 : 94) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษไว้ว่า เด็กที่มี ความต้องการพิเศษนั้นหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม แตกต่างไปจาก เด็กปกติทั่วไปในวัยเดียวกัน ทั้งนี้อาจมีสาเหตุจากความบกพร่อง หรือข้อจากัดของตัวเด็กเอง หรืออาจ เนื่องมาจากพัฒนาการที่รวดเร็วกว่าวัย ซึ่งจาเป็นต้องจัดการศึกษาพิเศษให้เหมาะสมกับลักษณะความ จาเป็นของเด็ก จากที่กล่าวมาข้างต้นพอจะสรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ นั้นหมายถึง เด็กที่มีความ บกพร่องในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม รวมถึงเด็กที่มีพัฒนาการรวดเร็วกว่าในวัยเดียวกัน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะมีข้อจากัดในการดารงชีวิต ทั้งนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือสิ่งอานวยความสะดวก บริการทาง การศึกษาให้เหมาะสมตามศักยภาพของเด็กแต่ละบุคคล ประเภทของเด็กพิเศษ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กาหนดประเภท และหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการ ศึกษา พ.ศ. 2552 เมื่อนามาจัดกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็น3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
  • 3. 16 1. เด็กปัญญาเลิศ หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (gifted or talented child) เป็นเด็กที่มี พัฒนาการแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไปโดยพบว่าเด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความฉลาด หรือระดับ สติปัญญา (IQ) สูงกว่าเกณฑ์ปกติคือ มากกว่า 130 ขึ้นไป 2. เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆเด็กกลุ่มนี้มักเรียนรู้ช้าและมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติใน วัยเดียวกัน จาเป็นต้องให้ความช่วยเหลือพิเศษตามความจาเป็นของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยให้เด็กสามารถ เจริญเติบโตและพัฒนาศักยภาพต่อไปได้ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ตามประกาศของ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2552 ประกอบไปด้วย บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น, บุคคลที่มีความ บกพร่องทางการได้ยิน, บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือ การเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ, บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้, บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและ ภาษา, บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์, บุคคลออทิสติกและบุคคลพิการซ้าซ้อน 3. เด็กยากจนและด้อยโอกาส ประกอบด้วย เด็กที่ครอบครัวหรือผู้เลี้ยงดูมีฐานะยากจนขาด แคลนปัจจัยที่จาเป็นในการเจริญในการเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก รวมถึงเด็กที่ด้อย โอกาส กลุ่มอื่นๆ เช่น เด็กต่างด้าว เด็กเร่ร่อน เด็กที่ถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม ปล่อยปละละเลย ทอดทิ้งหรือถูก ทารุณกรรม ฯลฯ เด็กกลุ่มนี้จัดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งควรได้รับการสงเคราะห์และคุ้มครอง สวัสดิภาพ เพื่อให้สามารถเติบโตและพัฒนาได้เต็มศักยภาพมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สาหรับประเทศไทยได้จัดประเภทของเด็กพิเศษนั้นจาแนกตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กาหนดประเภทและ หลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552 ได้แบ่งเด็กกลุ่มนี้ออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ 5. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 7. บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 8. บุคคลออทิสติก 9. บุคคลพิการซ้าซ้อน หลักการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม นักการศึกษาพิเศษและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ให้หลักการ ปรัชญา ความเชื่อ ในการจัดการศึกษา แบบเรียนรวม เช่นเดียวกับ ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 6) ที่ได้ให้หลักการแนวคิดสะท้อนออกมาดังนี้ 1. ความเป็นธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งใน
  • 4. 17 สังคม เมื่อเด็กทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการศึกษาด้วย หากกีดกันไม่ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วยแล้ว หลายคนมีความเชื่อ ว่านั่นคือความไม่ยุติธรรมในสังคม ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในสังคมตามมาภายหลัง 2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) เป็นการจัดสภาพใดๆเพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่อง ทางด้านต่างๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับคนปกติ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมในกิจกรรมการกีฬา ดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องดารงชีพอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข 3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) หลักสาคัญอย่าง หนึ่งในการจัดการศึกษาคือการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจากัดน้อย ที่สุดจึงเป็นผลดีกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้เด็กปกติและครูได้เข้าใจเด็กที่มี ความต้องการพิเศษ ในความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม 4. การเรียนรู้ (Learning) เด็กทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กที่มี ความต้องการพิเศษ ซึ่งในอดีตมีหลายคนเชื่อว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่สามารถเรียนหนังสือได้ที่ เห็นได้ชัดเจนคือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสามารถเรียนได้ อาจเรียนสาเร็จในชั้นประถมศึกษา หรือระดับชั้นที่สูงขึ้น หากเด็กมีความพร้อมและได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล จากหลักการศึกษาแบบเรียนรวม สรุปได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องได้รับการศึกษาโดย จัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล ซึ่งการสอนให้จดจาอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการสอนที่ดีและไม่เป็นการส่งเสริมผู้เรียนอย่างรอบด้าน เนื่องจากการเด็กอาจจะเรียนดีในเฉพาะเนื้อหาที่เรียนแต่ไม่ประสบความสาเร็จในชีวิตการทางานก็ได้ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ควรพิจารณาจากเด็กมีความพึงพอใจในการเรียน ในงานที่ตนเองทา ซึ่งความพึง พอใจอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ดังนั้นโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมได้ดี ควรส่งเสริม การเรียนรู้รอบด้านและปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ในการจัดการเรียนการสอนสาหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัย รูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ Daeck (2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้ 1. รูปแบบผู้สอนที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ผู้สอนการศึกษาพิเศษจะได้รับ มอบหมายให้สอนทักษะแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งผู้สอนได้สอนผู้เรียนในชั้นเรียนรวมแล้ว แต่ ผู้เรียนยังไม่เกิดทักษะ ดังนั้นผู้สอนการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้าๆอีก จนกระทั่งผู้เรียนเกิดทักษะ นั้น สาหรับรูปแบบผู้สอนที่ปรึกษานั้น ผู้สอนการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ เป็นจานวนจากัด ผู้สอนปกติและผู้สอนการศึกษาพิเศษต้องมีประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของ
  • 5. 18 ผู้เรียน โดยมีการวางแผนร่วมกัน ซึ่งรูปแบบการทางานเหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจานวนผู้เรียนที่มี ความต้องการพิเศษไม่มากนัก 2. รูปแบบการร่วมทีม (Teaming Model) ในรูปแบบนี้ผู้สอนการศึกษาพิเศษจะได้รับ มอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับผู้สอนที่สอนชั้นเรียนปกติ ผู้สอนการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ ข้อมูลแก่ผู้สอนชั้นเรียนปกติเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คาแนะนาเกี่ยวกับ การปรับวิธีสอนการมอบหมายงาน การจัดการด้านพฤติกรรม การปรับวิธีสอบ พร้อมทั้งการวางแผน ร่วมกันในการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ 3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ใน รูปแบบนี้ทั้งผู้สอนการศึกษาพิเศษและผู้สอนชั้นเรียนปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนผู้เรียน ทุกคน ทั้งผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและผู้เรียนปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการ วางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลทั้งระเบียบวินัยความประพฤติของผู้เรียนโดยได้รับ บริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสิ่งอานวยความสะดวก สื่อบริการ ทางการศึกษาที่จาเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียนที่มีความ ต้องการพิเศษแต่ละบุคคล ในรูปแบบนี้ผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การ เรียนรวมดาเนินไปด้วยดีซึ่งอาจจาแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ ดังนี้ 3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนโดยมีผู้สอน 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ผู้สอนคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหาเป็นผู้สอน ส่วนผู้สอนอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหาน้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการ พิเศษ ซึ่งผู้เรียนอาจถามผู้สอนคนใดคนหนึ่งก็ได้ 3.2 การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็น กลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ผู้สอนอาจมอบงานให้ผู้เรียนทาไปพร้อม ๆ กัน และให้ผู้เรียน ทางานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสาหรับห้องเรียนที่มีจานวนผู้เรียนไม่มากนัก ผู้สอน สามารถดูแลผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง ผู้สอนสามารถตอบคาถามผู้เรียนได้แทบทุกคน และอาจอธิบายซ้าหรือ สอนซ้าได้ สาหรับผู้เรียนบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน 3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่ง ต่าง ๆ (Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กาหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะ ได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ผู้สอนกาหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือ ผู้สอนอาจใช้เวลาในขณะที่ผู้เรียนคนอื่น กาลังเรียนรู้ด้วยตนเอง มาสอนผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทาให้ผู้เรียนได้เข้าถึงในสิ่งที่ เรียนมากขึ้น 3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีผู้สอน อย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ผู้สอนคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่ผู้เรียนทั้งหมดในชั้นเรียนหลังจากนั้น จึงแบ่งกลุ่มเพื่อทากิจกรรม ผู้สอนคนหนึ่งจะสอนกลุ่มผู้เรียนที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึก
  • 6. 19 ในขณะที่ผู้สอนอีกคนสอนกลุ่มผู้เรียนที่อ่อนกว่า เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกทากิจกรรมตามความสามารถของ ตน ซึ่งการสอนแบบนี้มีข้อดีคือ ผู้เรียนที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยากท้าทาย ขณะที่ผู้เรียนที่อ่อนได้เลือก เรียนตามศักยภาพของตน ผู้สอนมีโอกาสสอนซ้าในทักษะเดิมสาหรับผู้เรียนที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ ซึ่ง เหมาะสาหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นที่มีเนื้อหาของวิชายากง่ายตามลาดับ 3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน รวมกันสอน ห้องเรียนเดียวกันซึ่งเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนผู้เรียนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จาเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกัน หากแต่มีผู้สอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ผู้สอนอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนผู้เรียนเป็น รายบุคคล โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียน Gartner & Lipsky (1997) (อ้างถึงใน สมพร หวานเสร็จ, 2543) ได้เสนอรูปแบบการศึกษา แบบเรียนรวมไว้หลายรูปแบบ บางรูปแบบคล้ายกับที่ Daeck เสนอไว้ แต่ที่พบข้อแตกต่างมี 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. รูปแบบห้องเสริมวิชาการ (Resource Room Model) เป็นการนาเด็กที่มีความต้องการ พิเศษสอนในห้องที่จัดไว้ต่างหากเป็นการนาเด็กออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) ห้องเสริม วิชาการเป็นห้องที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียนสาหรับกลุ่ม เฉพาะ ใช้เป็นห้องฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา นั่น คือบางเวลาเรียนรวมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทักษะเฉพาะบาง ประการ 2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สาหรับ ห้องเรียนปกติ ผู้ช่วยครู จะเข้าไปนั่งในห้องเรียนขณะที่ครูประจาการกาลังสอนอยู่หน้าชั้น ผู้ช่วยครูจะนั่ง ติดกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูผู้ช่วยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ จะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ 1 – 2 คน ในห้องเรียนรวมเต็มเวลา หน้าที่ของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพิ่มเติมตามที่ครูสอน ช่วยเรียก เด็กให้กลับมาสนใจบทเรียนหากเด็กเริ่มเสียสมาธิตลอดจนตอบคาถามของเด็กในเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้ช่วย ครูอาจไม่มีวุฒิทางการศึกษาก็ได้ อาจเป็นอาสาสมัครหรือผู้ปกครองก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผู้ปกครองของเด็ก ที่ผู้ช่วยครูกาลังดูแลอยู่ ผู้ช่วยครูจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียน สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นแนวคิดทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัด การศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการ พิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสมทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่บุคคลที่มีความ ต้องการพิเศษได้พัฒนาศักยภาพทุกด้าน ในระบบของโรงเรียนที่จัดให้การเรียนรวมจึงมิใช่การศึกษา เฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้นหากแต่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการเรียนการสอน และการดาเนินการต่างๆจะเป็นการผสมผสานระหว่างหลักการทางการศึกษาพิเศษ และการศึกษาทั่วไป การเรียนรวมในประเทศไทยแม้ว่าจะได้ดาเนินการไป แต่ก็ยังมีปัญหาหลากหลายทั้งในการบริหารจัดการ การบริหารหลักสูตร การประเมินความต้องการพิเศษทางการศึกษาของผู้เรียน การจัดหาสื่อ สิ่งอานวย
  • 7. 20 ความสะดวก การปรับวิธีสอน การปรับวิธีการวัดผล และการช่วยเหลือด้วยจิตอารี จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะ ทาให้การเรียนรวมดาเนินต่อไปได้ ลักษณะของเด็กพิเศษ ในประเทศไทยได้การจัดการศึกษาให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอภาคกันในการรับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างทั่วถึง ซึ่งในพระราชบัญญัติการจักการศึกษาคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้ระบุไว้ในมาตรา 10 หมวด 2 สิทธิและหน้าที่การศึกษาที่ระบุในกการจัดการศึกษาสาหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาสในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงจาเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีลักษณะพิเศษ โดยการจาแนกตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งเด็กพิเศษ 9 ประเภท ประกอบด้วย เด็กที่มีความความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการ เคลื่อนไหวหรือสุขภาพ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ บุคคลทมี่คีวามบกพร่องทางการพูดและภาษา บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ บุคคลออทิสติก บุคคลพิการซ้าซ้อน ทั้งนี้ขอเพิ่มเติมเนื้อหา เกี่ยวกับเด็กปัญญาเลิศด้วย โดยมีรายละเอียดของเด็กพิเศษแต่ละประเภท ดังนี้ 1. เด็กที่มีความความบกพร่องทางการเห็น การมองเห็นมีความสาคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนซึ่งเด็กปกติสามารถมองเห็นและ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียนได้แต่เด็กที่มีความบกพร่องการเห็นไม่สามารถทาได้ ดังนั้นจึงมีความ จาเป็นต่อการให้เด็กที่บกพร่องทางการเห็นได้รับอุปกรณ์ การปรับวิธีการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถ เรียนได้ในระบบการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเห็น สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษา ซึ่งจะกล่าว ต่อไปนี้ 1.1 ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น (ผดุง อารยะวิญญู, 2542 : 75)ได้ให้ ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กตาบอด หรือเด็กตาบอดบางส่วน สามารถ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มีสายตาเหลืออยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย แม้จะได้รับการแก้ไข แล้ว จึงไม่สามารถในการเรียนหนังสือได้เป็นผู้มีสายตาหลังจากการแก้ไขแล้ว 20/200 ตาบอดบางส่วน หมายถึง เด็กที่มีสายตาบกพร่อง แต่ภายในจากการแก้ไขแล้วสามารถ มองเห็นได้บ้าง จึงสามารถใช้สายตาในการเรียนหนังสือได้บ้าง เป็นผู้มีสายตาหลังจากการแก้ไขอยู่ ระหว่าง 20/70 และ 20/200
  • 8. 21 1.2 สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น เป็นภาวะความบกพร่องซึ่งพบเห็นได้ตั้งแต่แรก เกิดหรือภายหลัง สาเหตุอันเนื่องมาจาก กล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพและการที่สมองถูกทาลายในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการเห็น หรือการมีจุดโฟกัสรับแสงที่ผิดปกติ มีโรคต้อกระจก หรือโรคต้อหิน เป็นต้น 1.3 ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หากพบสภาวะความบกพร่องทางการ เห็นที่เป็นตั้งแต่กาเนิดจะพบประสาทสัมผัสและการเรียนรู้แตกต่างจากเด็กที่สูญเสียตาภายหลัง ซึ่งส่งผล ต่อพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีลักษณะต่อไปนี้ (ผดุง อารยะวิญญู, 2542 :76 - 77) 1.3.2 พัฒนาการทางภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีพัฒนาการทางภาษาที่ ช้ากว่าเด็กปกติบางอย่าง การเปล่งเสียงโดยการเลียนแบบอาจเท่าเทียมกับเด็กปกติแต่มักใช้คาที่ไม่ เหมาะสม มีความหมายไม่ตรงข้ามกับความสามารถที่แท้จริงของคา 1.3.3 พัฒนาการทางการเคลื่อนไหว เป็นปัญหาที่ชัดเจนที่สุดของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเห็น จึงจาเป็นต้องมีการสอนและการกระตุ้นในด้านความคิดรวบยอดที่เกี่ยวกับทิศทาง ซ้ายขวา และตาแหน่งส่วนต่างๆของร่างกาย 1.3.4 พัฒนาทางสังคม สิ่งสาคัญที่จะช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นสร้าง พัฒนาการทางสังคมมาจากทัศนคติของพ่อแม่ หากเชื่อว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเห็นมีศักยภาพใน การเรียนรู้ และเป็นการเปิดโอกาสเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้น 1.4 แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น วัสดุ อุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนและการใช้ในชีวิตประจาวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้นประกอบ ไปด้วย แว่นตาที่เหมาะกับสายตา เครื่องอ่านหนังสือ เครื่องบันทึกเสียง กระดาษกราฟ ไม้บรรทัด ไม้เท้า ขาว ลูกคิด slate and stylus (แผ่นและดินสอนสาหรับเขียน) ส่วนการให้บริการพิเศษแก่เด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็นนั้นเป็นบริการการฝึกทาความเข้าใจสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(orientation and mobility : O & M) การสอนอักษรเบรลล์ การสอนซ่อมเสริม เป็นต้น ส่วนหลักสูตรและการสอน สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้นควรเป็นหลักสูตรเดียวกันกับเด็กปกติ เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้นั้นมี ทักษะใกล้เคียงหรือเท่าเทียมกับเด็กปกติ มีเพียงแค่อุปกรณ์การสอนอาจจะแตกต่างจากเด็กปกติ ซึ่ง ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 78 - 79) ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สาหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเห็นควรมีลักษณะดังนี้ 1.4.1 หลักสูตรสาหรับเด็กก่อนวัยเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นการควบคุมการฝึก ประสาทการรับรู้ดังนั้นกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นการรับรู้และการเรียนรู้ควรเน้นการรับรู้ทางการ ฟัง การสัมผัสทั้งภายนอกและภายใน การดมกลิ่น การลิ้มรส ซึ่งการเรียนรู้เป็นการเน้นประสบการณ์ตรง ใช้อุปกรณ์ที่เป็นของจริงมากกว่าสิ่งของเลียนแบบ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เรื่องผักผลไม้ ควรที่จะใช้ผัก ผลไม้จริงมากกว่าใช้ผักผลไม้แบบพลาสติก เป็นต้น 1.4.2 หลักสูตรในระดับประถมศึกษา ควรเน้นให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น
  • 9. 22 การฝึกทางด้านรับรู้ด้านการฟังเป็นหลัก ซึ่งเน้นในเรื่องการจาแนกความแตกต่างโดยการฟังให้มาก ทั้งนี้ รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการฟัง การเสนอรายงาน การสนทนา เป็นต้น ส่วนการ สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้นควรสอนให้อ่านและเขียนอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จาเป็น อย่างยิ่งในการเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไป รวมถึงการฝึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการทาความคุ้นเคยกับ สภาพแวดล้อมเพื่อที่จะช่วยให้สามารถเคลื่อนที่ไปในสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.4.3 หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา ควรเตรียมพื้นฐานทักษะสาหรับการประกอบอาชีพ ในอนาคต อาทิเช่น นักร้อง นักดนตรี นวดแผนไทย เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนที่มีความ บกพร่องทางการเห็นต้องเรียนฝึกอาชีพอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีผู้เรียนที่มีศักยภาพสามารถศึกษาต่อใน ระดับสูงขึ้นไปประกอบอาชีพได้เช่นกัน ได้แก่ นักวิชาการ นักกฎหมาย ครู นักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งการเรียนการสอนสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ภาพที่ 2.1 ตาแหน่งของปุุมนูนในอักษรเบรลล์ ที่มา : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ออนไลน์. 2560 2. เด็กที่มีความความบกพร่องทางการได้ยิน การได้ยินเป็นประสาทสัมผัสที่สาคัญมากในการช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ซึ่ง ตาแหน่งของปุุมนูน ในอักษรเบรลล์ ขนาด 1 เซลล์ อักษรเบรลล์ที่กาหนดใช้แทน พยัญชนะไทย อักษรเบรลล์ที่กาหนดใช้ แทนสระและวรรณยุกต์ไทย
  • 10. 23 การได้ยินนั้นสามารถพัฒนาในเด็กแรกเกิดโดยสังเกตจากปฏิกิริยาต่อเสียงที่ได้ยินด้วยการกะพริบตาหรือ สะดุ้ง เด็กทารกสามารถได้ยินและจาเสียงผู้เลี้ยงได้ ซึ่งเด็กจะเริ่มใช้เสียงที่ไม่ใช่ภาษาพูดเมื่ออายุหนึ่งเดือน และมีพัฒนาการได้ยินขึ้นเรื่อยๆสามารถแยกเสียงต่างๆที่ได้ยินในสิ่งแวดล้อมและใช้เสียงในการสื่อสารได้ จนเด็กเริ่มพูดเป็นคา ในทางกลับกันหากเด็กมีปัญหาทางด้านการได้ยินจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กเป็น อย่างมาก ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นจะไม่เรียนรู้การพูด แต่ในเด็กบางคนหากได้รับการ สอนภาษามือ เครื่องช่วยฟังหรือเทคโนโลยีอื่นๆรวมทั้งการฝึกพูด การอ่านริมฝีปาก สามารถช่วยให้เด็ก เหล่านี้สื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจในความหมาย สาเหตุ ลักษณะของการบกพร่องทางการได้ ยิน รวมไปถึงแนวทางในการช่วยเหลือการจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้ 2.1 ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (จุรีลักษณ์ รัตนาพันธ์, 2559 : 14 - 15) ได้กล่าวถึงความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นหมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือ สูญเสียการได้ยิน จนเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท ดังนี้ เด็กหูตึง หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจนไม่เข้าใจคาพูดและการสนทนา โดยจาแนก ตามเกณฑ์อัตราการได้ยินของหูของราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยการ ได้ยินที่ความถี่500, 1000 และ 2000 เฮิรตซ์ (Hz) ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กหูตึงอาจแบ่งตามระดับการได้ยิน ได้ 4 กลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้ เด็กหูตึงระดับที่ 1 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26-40 เดซิเบล (dB) จะพบปัญหาในการรับ ฟังเสียงเบาๆ อาทิเช่น เสียงกระซิบ เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในห้องเรียนได้ โดยจัดที่นั่ง เรียนอย่างเหมาะสมให้สามารถมองเห็นคุณครูและเพื่อนๆได้ เด็กหูตึงระดับที่ 2 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41-55 เดซิเบล (dB) จะมีปัญหาในการฟัง เสียงพูกคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะ 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด ดังนั้นเมื่อพูดด้วยเสียงธรรมดาก็จะได้ ยินไม่ชัดหรือไม่ได้ยิน รวมทั้งจับใจความไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด พูด เสียงเบา ออกเสียงเพี้ยน เป็นต้น เด็กหูตึงระดับที่ 3 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56-70 เดซิเบล (dB) มักพบปัญหาในการ รับฟังและเข้าใจ คาพูดเมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายๆเสียง พร้อมกัน เช่น เสียงในห้องประชุม เป็นต้น รวมถึงพบว่าเด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าเด็ก ปกติ เช่น เด็กพูดไม่ชัด เสียงเพี้ยนและเด็กบางคนไม่พูด เป็นต้น เด็กหูตึงระดับที่ 4 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71-90 เดซิเบล (dB) เป็นกลุ่มเด็กที่หูตึง ระดับรุนแรง มักพบปัญหาในการรับฟังและการที่จะเข้าใจคาพูด เด็ฏสามารถได้ยินที่เสียงดังใกล้หูใน ระยะทาง 1 ฟุต ซึ่งต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงถึงจะได้ยินเสียง ถึงแม้ว่าเด็กกลุ่มนี้จะใช้ เครื่องช่วยฟังก็มักจะพบปัญหาในการแยกเสียง อาจจะแยกสียงสระได้แต่แยกเสียงพยัญชนะไม่ได้ ซึ่งเด็ก มักพูดไม่ชัด มีเสียงผิดปกติ และไม่สามารถพูดได้
  • 11. 24 เด็กหูหนวก หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้ ถึงแม้ว่าจะใช้เครื่องช่วยฟังก็ตาม และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500-2000 เฮิรตซ์ (Hz) มีการได้ยินเฉลี่ย 90 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป 2.2 สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน อาจแบ่งได้ 2 อย่าง ดังนี้ (Friend, 2008 : 312) 2.2.1 การสูญเสียการได้ยินที่พบตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากพันธุกรรม ซึ่ง บิดามารดาที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินเป็นผลให้เด็กบกพร่องทางการได้ยิน รวมถึงการที่มารดาเป็นโรคหัด เยอรมัน หรือภาวะคลอดก่อนกาหนด อีกทั้งเกิดจากมารดาเป็นเบาหวาน ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเด็ก ขาดออกซิเจน 2.2.2 การสูญเสียการได้ยินในภายหลัง การสูญเสียที่พบสามารถแบ่งได้เป็นการสูญเสีย ก่อนที่จะมีการพัฒนาการทางภาษาและการสูญเสียหลังจากที่มีพัฒนาการแล้ว มักพบว่าเกิดจากโรคบาง ชนิด เช่น โรคสมองอักเสบ หัดเยอรมัน หูน้าหนวก รวมทั้งการได้รับยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงหรืออยู่ใน สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเกินขนาดมากเป็นเวลานาน 2.3 ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถสังเกตลักษณะได้หลาย ประเด็นสาคัญด้วยกัน ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 23 - 24) ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของเด็กที่มีความ บกพร่องทางการได้ยิน ไว้ดังนี้ 2.3.1 การพูด เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาทางการพูด เด็กอาจพูดไม่ได้ หรือพูดไม่ชัดซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียการได้ยินของเด็ก เด็กที่สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยนั้นยัง พอพูดได้ เด็กที่ส่วนสูญเสียการได้ยินระดับปานกลางสามารถพูดได้แต่พูดไม่ชัด ส่วนเด็กที่สูญเสียการได้ ยินมากหรือหูหนวกนั้นอาจพูดไม่ได้ ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับการสอนพูดตั้งแต่ในวัยเด็ก รวมถึงอายุของเด็กเมื่อ สูญเสียการได้ยินด้วย หากเด็กสูญเสียการได้ยินมาตั้งแต่กาเนิดนั้น ปัญหาการพูดของเด็กขึ้นอยู่กับความ รุนแรงของระดับการได้ยินรวมถึงอายุของเด็กเมื่อสูญเสียการได้ยินอีกด้วย 2.3.2 ภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาเกี่ยวกับภาษา เช่น การเรียงที่ ผิดหลักภาษา มีความรู้เกี่ยวกับคาศัพท์ในวงจากัด ปัญหาของเด็กคล้ายกันกับปัญหาในการพูด โดยที่เด็ก สูญเสียการได้ยินมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีปัญหาทางภาษามากเท่านั้น 2.3.3 ความสามารถทางสติปัญญา ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อาจคิดว่าเด็กประเภทนี้เป็นเด็กสติปัญญาต่า ซึ่งความจริงนั้นเป็นเพียงเพราะว่าท่านมาสามารถสื่อสารกับ เขาได้ หากสื่อสารกับเขาได้จะทราบว่าเด็กกลุ่มนี้มีความฉลาด ความจริงแล้วระดับสติปัญญาของเด็กที่มี ความบกพร่องทางการได้ยินไม่ใช่เด็กโง่ทุกคน 2.3.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจานวนมากมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่าซึ่งอาจเป็นเพราะว่าวิธีการเรียนการสอน จนถึงวิถีการวัดผลที่ปฏิบัติกันใน ปัจจุบันนั้นเหมาะกับการวัดผลสาหรับเด็กปกติมากกว่า ซึ่งวิธีการบางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับเด็กที่มี ความบกพร่องทางการได้ยิน รวมถึงปัญหาทักษะทางภาษามีความจากัด จึงเป็นอุปสรรคในการทาข้อสอบ เหตุนี้จึงเป็นเหตุให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่า
  • 12. 25 2.3.5 การปรับตัว เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน อาจมีปัญหารเรื่องการปรับตัว ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุเรื่องการสื่อสารกับผู้อื่น หากเด็กสามารถสื่อสารได้ปัญหาทางอารมณ์อาจจะลดลง ซึ่งทาให้เด็กสามารถปรับตัวได้แต่ในทางตรงกันข้าม เด็กไม่สามารถสื่อสารได้ดังนันเด็กอาจเกิดความคับ ข้องใจได้ ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เด็กที่ทีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นจะต้องปรับตัวมากกว่าเด็ก ปกติ 2.4 แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การ ช่วยเหลือทางการศึกษาควรเป็นหลักสูตรสาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ควรมีการสอนใน เรื่องการฝึกฟังและพัฒนาทักษะการพูด ทักษะภาษา มีเนื้อหาที่ครอบคลุมหรือใกล้เคียงกับผู้เรียนปกติ ซึ่ง ต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างออกไปโดยการจัดการศึกษานี้เพื่อเตรียมความพร้อมสาหรับการเรียนรวมกับเด็ก ปกติ ดังนั้นอุปกรณ์ที่จะใช้นั้นเป็นเครื่องช่วยฟังพร้อมทั้งการฝึกแก้ไขการพูดและควรจัดให้มีการให้ความรู้ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพด้วย เมื่อผู้เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งการช่วยเหลือที่จาเป็นสาหรับเด็กที่ มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น มีดังนี้ (กิ่งสร เกาะประเสริฐ, 2555 : 8 - 9) 2.4.1 การสอนภาษามือ เป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถอ่านและเขียนได้ตามความสามารถแต่ละบุคคล 2.4.2 การใช้เทคโนโลยีและสิ่งช่วยเหลือ ประกอบไปด้วย เครื่องช่วยฟังทาให้สามารถได้ ฟังเสียงเร็วเท่าใดจะสามารถพัฒนาฟังเสียงได้เร็วขั้น ทั้งนี้ยังมีการปลูกถ่ายประสาทหูเทียมซึ่งเป็นการผัง ประสาทหูเทียมภายในอวัยวะเพื่อกระตุ้นต่อประสาทการรับรู้การได้ยินโดยตรง ส่วนผู้แปลล่ามภาษามือ นั้นช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ในสถานศึกษา ซึ่งยังมีอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ที่ช่วยแปลงภาษาพูดให้เป็น ตัวอักษร เป็นต้น ดังนั้นผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควรได้รับอุปกรณ์หรือการบริการทาง การศึกษาให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล ภาพที่ 2.2 แบบสะกดนิ้วมือ ที่มา : มหาวิทยาลัยรังสิต. ออนไลน์. 2556
  • 13. 26 ภาพที่ 2.3 แบบสะกด วรรณยุกต์ ที่มา : มหาวิทยาลัยรังงสิต. ออนไลน์. 2556 3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ความบกพร่องทางสติปัญญาเห็นได้จากความล่าช้าทางสติปัญญาโดยการตอบสนองต่อบุคคล หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือการมีข้อจากัดทางวิชาการ จิตวิทยา ภาษาและสังคมต่ากว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งเป็นความจากัดของทักษะการปรับตัวอย่างน้อย 2 ทักษะจาก 10 ทักษะ ได้แก่ การสื่อสารความหมาย การดูแลตนเอง การดารงชีวิตภายในบ้าน ทักษะทางสังคมหรือการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น การรู้จักใช้ ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตเอง การนาความรู้มาใช้ในชีวิตประจาวัน การทางาน การใช้ เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัย ทั้งนี้ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อน 18 ปี ซึ่งผู้เรียบเรียงจะกล่าวถึง ประเด็นสาคัญของความหมาย สาเหตุ ลักษณะของความบกพร่องทางสติปัญญาและแนวทางการ ช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 3.1 ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ถ้าจะกล่าวถึงคาที่ใช้เรียกกัน สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้นมีการให้คานิยามใน ค.ศ. 2009 จากสมาคมภาวะความ บกพร่องทางสติปัญญาแห่งสหรัฐอเมริกา(American Association on Intellectual and Developmental Disabilities : AAIDD )ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ไว้ว่า เป็นบุคคลที่มีระดับสติปัญญาต่ากว่าเกินเฉลี่ย มีข้อจากัดด้านพฤติกรรมการปรับตัวที่มีผลต่อการ ดารงชีวิตประจาวันและทักษะสังคม ซึ่งความบกพร่องนี้จะพบก่อนอายุ 18 ปี ทั้งนี้ได้มีนักวิชาการทาง การศึกษาพิเศษของประเทศไทยได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ดังนี้ กุลยา ก่อสุวรรณ (2553 : 22) ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญานั้นว่า เห็นได้จากข้อจากัดในการดาเนินชีวิต ความล่าช้าทางสติปัญญา การตอบสนองของ
  • 14. 27 บุคคลหรือสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหมาะสม รวมทั้งความสามารถด้านวิชาการ จิตวิทยา ภาษาและสังคมต่า กว่าเกณฑ์ ผดุง อารยะวิญญู (2542 : 39) กล่าวถึงความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญานั้นหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติในทักษะทุกด้าน เมื่อได้รับการทดสอบวัดระดับ เชาว์ปัญญาและมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปแตกต่างจากเด็กปกติ เพ็ญสุดา จิโนการ (2559 : 47) ได้ให้ความหมายเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้น หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ากว่าเด็กปกติทั่วไปที่อยู่มนวัยเดียวกัน เมื่อวัดระดับสติปัญญาตาม เกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสาคัญคือ ต่ากว่า 70 ไม่สามารถปรับตัวในชีวิตประจาวันได้ อย่างน้อย 2 ทักษะ และมักจะพบความบกพร่องก่อน 18 ปี วารี ถิระจิตร (2537 : 111) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กที่ความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง สภาวะที่พัฒนาการของจิตใจหยุดชะงักหรือเจริญไม่เต็มที่ แสดงลักษณะเฉพาะโดยมีระดับ ปัญญาต่าหรือด้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางกายล่าช้าความสามารถเรียนรู้ได้น้อย มีความสามารถจากัดใน การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ศรียา นิยมธรรม (2550 : 105 - 106) กล่าวถึงความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญานั้นหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป และผลการวัดระดับสติปัญญาจาก แบบทดสอบมาตรฐานอยู่ในระดับต่ากว่าทั่วไป มีข้อจากัดทักษะเกี่ยวกับทักษะด้านการปรับตัวอย่างน้อย 2 ทักษะ ใน10 ทักษะ ทั้งนี้ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ต้องเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี จากความหมายข้างต้นพอสรุปได้ว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้นหมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติ ซึ่งมีระดับสติปัญญาต่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานและด้วยภาวะความ บกพร่องนี้พบก่อนอายุ 18 ปี ส่งผลให้มีข้อจากัดในการเรียนรู้และการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมในการ ดารงชีวิตประจาวัน 3.2 ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สามารถแบ่งประเภทของระดับความ บกพร่องได้ 4 ระดับ ได้แก่ระดับน้อย ระดับปานกลาง ระดับรุนแรงและระดับรุนแรงมาก ดังแสดงใน ตารางที่ 2.1
  • 15. 28 ตารางที่ 2.1 แสดงลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาตามระดับความบกพร่อง ระดับ IQ ลักษณะ พบ ระดับน้อย กลุ่มเรียนได้ (Mild) 50-70 เป็นลักษณะที่สามารถเรียนได้ ซึ่งช่วงปฐมวัย สามารถพัฒนาทักษะต่างๆได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติ ช่วงในวัยเรียนสามารถเรียนได้จนถึงระดับ ประถมศึกษาแต่ไม่สามารถเรียนวิชาสามัญได้เท่ากับ เด็กปกติ จึงควรจัดหลักสูตรอาชีพให้ตาม ความสามารถ ส่วนในวัยผู้ใหญ่สามารถปรับตัวได้เท่า วัยรุ่นซึ่งงต้องการคาชี้แนะและความช่วยเหลือ เรียนรู้และสามารถประกอบอาชีพได้ในระดับหนึ่ง 85% ปานกลาง กลุ่มฝึกได้ (Moderate) 35-50 ช่วงวัยเด็กสามารถพูดสื่อสารกับผู้อื่นได้ พัฒนาการ ช้าต้องการการดูแล ในวัยเรียนสารถเรียนรู้ทักษะ เบื้องต้นง่ายๆได้ ส่วนการเรียนในระดับประถมศึกษา ต้น การเข้าสังคมไม่ดีนัก รวมถึงการเคลื่อนไหวและ ประสาทสัมผัสไม่ค่อยดี วัยผู้ใหญ่สามารถทางานที่ไม่ ต้องใช้ทักษะมากนัก ต้องการการดูแลจากผู้ใกล้ชิด 10% ระดับรุนแรง (Severe) 20-35 ช่วงวัยเด็กมักจะมีปัญหาการเคลื่อนไหว การพูดและ ภาษาไม่ดี ฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจาวัน ง่ายๆ เรียนหนังสือไม่ได้ ต้องการดูแลอย่างมาก 4% รุนแรงมาก (Profound) 20 ลงมา ไม่สามารถฝึกทักษะต่างๆได้ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ต้องพึ่งการดูแลช่วยเหลือทางการแพทย์ ต้องการ ดูแลอย่างใกล้ชิด 1% ที่มา : กิ่งสร เกาะประเสริฐ. 2555 : 26 3.3 สาเหตุของความบกพร่องทางสติปัญญา มักพบว่าสาเหตุของความบกพร่องทาง สติปัญญานั้นมีหลายปัจจัย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ 3.3.1 ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว รวมทั้งเด็กขาด สารอาหารซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม 3.3.2 ปัจจัยที่เกิดจากการคลอด ซึ่งอาจเกิดช่วงก่อนคลอดหรือระหว่างคลอดเป็นสาเหตุ ของภาวะความบกพร่องทางสติปัญญา โดยที่มารดาติดเชื้อหัดเยอรมัน ติดสุรายาเสพติดและการขาด
  • 16. 29 ออกซิเจนขณะคลอดหรือหลังคลอด ซึ่งเด็กอาจมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาส่งผลให้เกิดโรตทางระบบ ประสาทได้ เช่น โรตลมชัก ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น 3.3.3 โรคทางพันธุกรรม เป็นความผิดปกติยีนของโครโมโซม ซึ่งเกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งจะกล่าวโรคที่มักจะพบบ่อยมีดังนี้ 3.3.3.1 กลุ่มอาการ Fragile X Syndrome เกิดจากโครโมโซม X ที่ผิดปกติซึ่งมี ความเปราะบาง แตกหักง่ายดังนั้นจึงส่งผลต่อร่างกายและสติปัญญา ทาให้เด็กมีพัฒนาการช้า จะลักษณะ ศีรษะใหญ่ ใบหน้าผอมยาว มือและใบหูยาว หน้าผากโหนก อวัยวะเพศผิดปกติ เป็นต้น มีระดับสติปัญญา ระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ซึ่งจะพบในอัตรา 1 : 1,500 คน ของเด็กแรกเกิด 3.3.3.2 โรค PKU หรือ Phenylketonuria เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งเด็กที่เป็นโรคนี้จะมีระบบการเผาผลาญอาหารในการย่อยโปรตีนที่ผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด ส่งผลให้เด็กมี ลักษณะเส้นผมสีจางปนน้าตาล มีความบกพร่องทางสติปัญญาในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ซึ่งจะพบ ในอัตรา 1 : 15,000 คน ของเด็กแรกเกิด 3.3.3.3 กลุ่มอาการ Down Syndrome เป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกิดมา1 ตัวส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีลักษณะร่างกายและใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น รูปร่างเตี้ย แขนขา นิ้วสั้น ใบหน้าฝุามือกว้าง หางตาชี้ขึ้น ปากเล็กเพดานต่าเหมือนลิ้นคับปากจนยื่นออกมานอกปาก กล้ามเนื้อ ปวกเปียก มักมีปัญหาที่ข้อต่อ โรคหัวใจและทางเดินหายใจ 3.3.3.4 กลุ่มอาการ Patau Syndrome เป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13 ที่โครโมโซมเกินมา 1 ตัว เด็กกลุ่มนี้จะมีความผิดปกติอย่างรุนแรงหลายประการ เช่น ปากแหว่ง เพดาน โหว่ โรคหัวใจ โรคไต ต้อกระจก ศีรษะเล็ก ประสาทตาลอกหลุด อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ 3.3.3.5 กลุ่มอาการ Edward Syndrome เป็นความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 18 ที่มีโครโมโซมเกินมา 1 ตัว ลักษณะที่พบจะมีอาการหายใจลาบาก ไตผิดปกติ มีปัญหาโรคหัวใจมา ตั้งแต่กาเนิด พัฒนาการล่าช้า มีปัญหาในการเจริญเติบโต ภาพที่ 2.3 โครโมโซมคู่ที่ 21 กลุ่มอาการ Down Syndrome ที่มา : โรงพยาบาลราชวิถี. ออนไลน์. 2017
  • 17. 30 ภาพที่ 2.4 ภาพแสดงลักษณะใบหน้าของกลุ่มอาการ Down Syndrome ที่มา : นพ.สุทธิศักดิ์ เรืองปราชญ์. ออนไลน์. 2556 3.4 แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษาสาหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ควรจัดหลักสูตรสาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ประกอบด้วยเนื้อหา 6 ด้านดังนี้ (ผดุง อารยะ วิญญู , 2542 : 39) 3.4.1 ทักษะในการช่วยเหลือตนเอง เป็นทักษะในการช่วยเหลือตนเองทักษะแรกของ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ควรได้รับการฝึกทักษะ เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัว การ การขับถ่ายที่ถูกต้อง 3.4.2 ทักษะในการสื่อสาร ทักษะประเภทนี้จาเป็นอย่างมากสาหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญาในการฟังคาพูดเข้าใจและพูดได้ ซึ่งเด็กบางคนไม่สามารถพูดได้แม้ว่าจะได้รับการ สอนพูด ซึ่งต้องเพิ่มช่องทางการสื่อสารโดยใช้รูปภาพ สิ่งของ หุ่นจาลองหรือบัตรคา 3.4.3 ทักษะในการดารงชีวิตประจาวัน เป็นทักษะทุกอย่างที่ทาให้เด็กบกพร่องทาง สติปัญญาสามารถดารงชีวิตประจาวันได้ เช่นการเก็บที่นอน การเตรียมอาหารง่ายๆ การขึ้นรถ การข้าม ถนน หรือการเดินทางเท้า เป็นต้น 3.4.4 ทักษะในการอ่าน การเขียน และเลขคณิตที่จาเป็นในการดารงชีพ ซึ่งมี ความสาคัญอย่างยิ่งต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เรียกได้ว่า Functional academics เช่น การ อ่านปูายประกาศต่างๆ อ่านปูายราคาสินค้า อ่านปูายสายรถประจาทาง การซื้ออาหารหรือของใช้ที่จาเป็น 3.4.5 ทักษะด้านนันทนาการ เด็กประเภทนี้ควรได้รับการฝึกให้รู้จักใช้เวลาพักผ่อนด้วย