SlideShare a Scribd company logo
1




            หน่วยที่ 2

                                   สิ่งมีชีวิต

      และการดารงชีวิต

บริเวณชายหาด
   จุดประสงค์การเรียนรู้
      1. อธิบายบทบาทของพืชในระบบนิเวศชายหาดได้
      2. อธิบายลักษณะของผู้ผลิตขั้นต้นของชายหาดได้
      3. บอกลักษณะการปรับตัวของพืชที่ขึ้นบริเวณชายหาดได้
      4. วิเคราะห์และจําแนกลักษณะของพืชชายหาดได้
      5. บอกแหล่งที่อยู่ การดํารงชีวิตและลักษณะของสัตว์กลุ่มต่าง ๆ
          ในระบบนิเวศชายหาดได้
      6. บอกความแตกต่างและจําแนกกลุ่มสัตว์ในระบบนิเวศชายหาดได้
      7. อธิบายการปรับตัวของสัตว์ในระบบนิเวศชายหาดได้
      8. บอกปัจจัยที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศชายหาดได้
      9. อธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศชายหาดได้
      10. อธิบายและเขียนแผนผังแสดงการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
          ชายหาดได้
2




             2.1 พืชและการปรับตัวของพืช
                     ในระบบนิเวศชายหาด
บริเวณชายหาดไม่ค่อยเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
แต่เรายังพบพืชหลายชนิดขึ้นอยู่ได้ ..
.....เด็ก ๆ สงสัยไหมว่า..พืชเหล่านี้มีบทบาทและวิธีการ
ปรับตัวอย่างไรจึงอยู่ที่ชายหาดได้


แล้วพืชมีบทบาทอย่างไรในระบบนิเวศชายหาด                           ใช่แล้ว..มีแต่น้ําเค็ม
.....พี่กบช่วยเฉลยหน่อยสิ..                                      พืชจะอยู่ได้ไง...




                                                  ได้เลยจ้ะเด็ก ๆ ตามพี่กบมาเลยจ้ะ...
                                                  พี่กบจะพาไปสํารวจชายหาด ว่ามีพืช
                                                  อะไรบ้าง และหน้าตาเป็นอย่างไร..
3




      บทบาทของพืช
                                    พืชเป็นผู้ผลิตขั้นต้น




        ผู้ผลิตขั้นต้น ในระบบนิเวศทุก ๆ ระบบนิเวศ จะต้องมีผู้ผลิตขั้นต้น โดยผู้ผลิตขั้นต้นนี้
เป็นแหล่งอาหาร หรือ แหล่งพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ในระบบนิเวศ ผู้ผลิตขั้นต้น
ที่สําคัญในระบบนิเวศชายหาดคือ กลุ่มพืช พืชเป็นผู้สร้างอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยกระบวนการ
สังเคราะห์แสง หรือที่เรียกว่า photosynthesis เป็นแหล่งพลังงานให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบ
นิเวศทั้งหมดทางสายใยอาหาร



    กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)


                การสังเคราะห์ด้วยแสงนี้เป็นปฏิกิริยาเคมี
          ที่ต้องการสารตั้งต้นสามตัว คือ
                แสงแดดจากดวงอาทิตย์
                ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
                น้ํา



      การสังเคราะห์ด้วยแสงนี้จะเกิดขึ้นภายในเม็ดสี หรือ คลอโรฟิลล์ซึ่งอยู่ภายในใบพืช ทําให้
ใบพืชมีสีเขียว สารประกอบที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือก๊าซออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่เราใช้
หายใจ และน้ําตาลกลูโคส
4




 พืชใช้น้ําตาลเพื่อการเจริญเติบโตของใบ และสัตว์จะกินใบพืชเหล่านี้เป็นอาหาร การผลิต
น้ําตาลของพืชนี้ต้องการวัตถุดิบเพียงแสงแดด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ําเท่านั้น แต่การ
เจริญเติบโตของพืชก็ต้องการสารอาหารเพื่อเปลี่ยนน้ําตาลให้อยู่ในรูปของสารประกอบอื่น ๆ
ที่จําเป็น ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุ สารอาหารตัวสําคัญที่ทําให้พืชเติบโต คือ ธาตุไนโตรเจน (N)
และฟอสฟอรัส (P)



                                กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
                  6CO2 + 6H2O + แสงอาทิตย์                     C6H12O6 + 6O2
     ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ + น้ํา + แสงอาทิตย์                  น้ําตาลกลูโคส + ออกซิเจน




     พืชจัดเป็นผู้ผลิตเบื้องต้น ที่ผลิตสารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า กลุ่ม
Autotrophs ส่วนสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารนั้น จัดเป็นผู้บริโภคขั้นต้น หรือ ผู้บริโภคลําดับ
ที่หนึ่ง (primary consumer) เรียกว่า heterotrophs เนื่องจากไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
หรือ herbivores หมายถึง สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร ส่วนสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารนั้น
จัดเป็น ผู้บริโภคลําดับที่สอง (secondary consumer) เรียกว่า carnivores



                                เด็ก ๆ รู้หรือยังว่าพืชน่ะ
                                สําคัญมากแค่ไหน..
5




                                  ใครบ้างที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศชายหาด...
                                  ตามพี่กบไปศึกษากันเลยจ้ะ...




ผู้ผลิตในระบบนิเวศชายหาด


 1. แพลงก์ตอนพืช




                                             ภาพที่ 2 - 1 ไดอะตอม
              ที่มา: http://www.sci.psu.ac.th/chm/biodiversity/beach_plant.html


      แพลงก์ตอนพืช เป็นผู้ผลิตขั้นต้นที่สําคัญของห่วงโซ่อาหารบริเวณชายหาด
 กลุ่มแพลงก์ตอนที่พบมาก ได้แก่ ไดอะตอมสาหร่าย กลุ่มนี้เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว
 และใช้ชีวิตเป็นแพลงก์ตอนล่องลอยอยู่ในน้ํา หรือเกาะอยู่ตามเม็ดทรายมีขนาด
 เล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง
6




    2. สาหร่ายทะเล

       สาหร่ายทะเล (seaweeds หรือ marine algae) เป็นพืชชั้นต่ํา ไม่มีระบบท่อลําเลียง
อาหารจากรากสู่ลําต้นและใบแบบพืชชั้นสูงเช่นหญ้าทะเล แต่จะใช้วิธีดูดซับน้ําและแร่ธาตุ
จากน้ําทะเลสู่เซลล์ต่างๆโดยตรง พืชกลุ่มนี้ไม่มีดอกและผล แพร่กระจายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์
และแบ่งตัว สาหร่ายทะเลมีลักษณะมากมายหลายแบบ ตั้งแต่แบบที่เป็นแพลงก์ตอนลอยไปลอย
มาในน้ํา บางชนิดจับตัวกันเป็นกลุ่มเซลล์หรือเป็นสายเซลล์ จนถึงชนิดที่เป็นต้นดูคล้ายพืชชั้นสูง

                                                  สาหร่ายทะเลแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ
                                             ตามโครงสร้างและสีของสารสังเคราะห์แสงได้
                                             เป็น 4 กลุ่ม คือ


      1. สาหร่ายสีเขียว (green algae) เช่น
สาหร่ายใบแปะก๊วย
      2. สาหร่ายสีน้ําตาล (brown algae)
เช่น สาหร่ายเห็ดหูหนู
      3. สาหร่ายสีแดง (red algae) เช่น
สาหร่ายวุ้น
      4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงิน (blue-
green algae) เช่น สาหร่ายผมนาง


                                       สําหรับประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตร้อนซึ่งมีแสงจัด
                                       บางครั้งสาหร่ายจะมีสีเปลี่ยนไปจากที่ควรจะเป็น
7




                         ตัวอย่างสาหร่ายจ้ะ...




  ก.สาหร่ายใบแปะก๊วย                             ข. สาหร่ายเห็ดหูหนู




  ค. สาหร่ายวุ้น                                 ง. สาหร่ายผมนาง

         ภาพที่ 2 - 2 สาหร่ายสีเขียว (ก.) สาหร่ายสีน้ําตาล (ข.)
                       สาหร่ายสีแดง (ค.) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงิน (ง)
ที่มา : http://rmbr.nus.edu.sg/projectsemakau/index.php?option
8




    3. พืชชายหาด



      ระบบนิเวศชายหาดไม่ค่อยเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช เพราะตะกอนทรายมีขนาด
อนุภาคใหญ่มีช่องว่างเยอะทําให้ไม่อุ้มน้ําและมีแร่ธาตุน้อย แต่ก็ยังมีพวกพืชบุกเบิก หรือ
pioneering species เป็นพืชชนิดแรกที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่มีวิวัฒนาการจนเป็นกลุ่มหรือสังคม
พืชขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว ซึ่งพืชเหล่านี้จะยึดกับทรายและเมื่อมันตายก็จะเป็นการเพิ่มแร่ธาตุให้กับ
ทรายไปด้วย เมื่อระยะเวลาผ่านไปการเจริญเติบโตของมันก็จะทําให้ดินบริเวณนั้นมีการ
เปลี่ยนแปลง เพราะมีการหมุนเวียนของแร่ธาตุเกิดขึ้น


      พืชกลุ่มที่มีอายุน้อยสุดหรือมีรูปแบบง่ายๆจะพบบริเวณใกล้กับชายหาด ส่วนกลุ่มพืชที่
สูงกว่าและรูปแบบซับซ้อนกว่าจะอยู่ลึกเข้าไปด้านหลังของชายหาด หากบริเวณนี้มีขอบเขตที่กว้าง
มากก็จะเป็นการบ่งบอกถึงอายุของดินที่อยู่ชั้นล่างด้วย หากชายฝั่งที่เป็นหน้าหาดทรายถูกกัดเซาะ
เข้ามามากจนบริเวณหน้าหาดที่เป็นหาดทรายหายไป บริเวณด้านหน้าหาดก็จะพบพืชที่มีขนาดใหญ่
แทนเพราะไม่มีพื้นที่หน้าหาดให้พืชขนาดเล็กเจริญเติบโตได้อีก


     พืชชายหาดมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี                              เด็ก ๆ ตามพี่กบไป
     วิธีการปรับตัวในการดํารงชีวิตแตกต่างกันไป                        สํารวจพืชพรรณไม้
                                                                      ที่พบได้บ่อยบริเวณ
                                                                      ชายหาดกัน.......
9




    3.1 พืชล้มลุก (Herbaceous Plants)


                                           3.1.1 ผักบุ้งทะเล (Sea Morning Glory)

                                                  พืชบุกเบิกหน้าหาด ลําต้นเหนียวขึ้นทอดต่อกัน
                                             เป็นร่างแหคลุมพื้นทราย โดยมีรากทําหน้าที่ยึด
                                             พื้นทรายและหาน้ํา ผักบุ้งทะเลจะขึ้นอยู่เป็นหย่อม
                                             ขยายบริเวณไม่กว้างมากนัก ดอกคล้ายแตรสีม่วง
                                             อมชมพู ผลเป็นกาบแข็งลอยน้ําได้ มักพบขึ้นตาม
                                             หน้าหาดที่มีทรายเข้ามาทับถมเป็นแนวลาดเอียง
                                             ไม่ชันมากผักบุ้งทะเลจะช่วยป้องกันการกัดเซาะ
                                             บริเวณหาดทรายจากคลื่นที่ซัดเข้ามา

         ภาพที่ 2 - 3 ผักบุ้งทะเล
 ที่มา : http://www.thaihealth.in.th/2011/09/02/ผักบุ้งทะเล-สมุนไพร

                       การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด
                    ของผักบุ้งทะเล


       ระบบรากและลําต้นร่างแหช่วยยึดผืนทราย
และหาน้ํา และคอยดักเศษไม้เศษใบไว้ย่อยสลายสะสม
เป็นสารอินทรีย์หน้าผิวดินให้พืชชายหาดอื่นๆเข้ามายึด
พื้นที่ได้ต่อไป
       ใบหนาค่อนข้างอวบน้ํา แผ่ออกในตอนเช้า
และจะพับเข้าเมื่อแดดแรงจัด เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ํา
10




3.1.2 หญ้าลอยลม ( Beach Spinifex)


       หญ้าบุกเบิกหน้าหาด ลําต้นแข็ง เหนียว
 ใบมีลักษณะม้วนแหลม ช่วยป้องกันการสูญเสีย
 น้ํา ใบงอกจากต้นเป็นดาวกระจายมักหลุดกลิ้ง
 ตามลมไปกับพื้นทราย เมื่อถูกทรายปลิวกลบ
 จะแทงยอดใหม่ขึ้นมา มักพบขึ้นตามหาดที่แห้งแล้ง

                                                             ภาพที่ 2 - 4 หญ้าลอยลม
                                               ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity


                                                   การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด
                                                   ของหญ้าลอยลม


       ระบบรากและลําต้นแบบร่างแหช่วยยึด
ผืนทรายและหาน้ํา และคอยดักเศษไม้เศษใบไว้ย่อย
สลายสะสมเป็นสารอินทรีย์หน้าผิวดิน ให้พืช
ชายหาดอื่นๆ สามารถเข้ามายึดพื้นที่ได้ต่อไป
       ต้นและใบแข็งม้วนแหลม ช่วยป้องกัน
การสูญเสียน้ํา
       ใบงอกจากต้นเป็นรูปดาวกระจาย
สามารถแตกออกเป็นต้นใหม่ได้โดยกลิ้งตามลมไป
กับพื้นทราย
11




3.1.3 ผักเบี้ยทะเล (Sea Purslane)


      เป็นพืชคลุมดินมีลําต้นทอดต่อกัน
เป็นร่างแห หยั่งรากยึดเป็นจุด ๆ ขึ้นได้
ทั้งบนพื้นทรายและตามซอกหินที่มีดิน
เพียงเล็กน้อย ใบเล็กรีหนาอวบน้ํา ผิวใบ
หนา ดอกมี 5 กลีบ มีสีม่วงอมชมพู



                                                       ภาพที่ 2 - 5 ผักเบี้ยทะเล
                                           ที่มา : http://tanhakit.blogspot.com/2010/12/
                                                   sesuvium-portulacastrum-l.html


                        การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด
                        ของผักเบี้ยทะเล



          ใบหนาอวบน้ําช่วยเก็บน้ํา และ
   ป้องกันการสูญเสียน้ํา
          ระบบรากและลําต้นร่างแห
   ช่วยยึดผืนทรายและหาน้ํา
12




3.1.4 พลับพลึงทะเล หรือ พลึงเล (Sea Lily)




                        ภาพที่ 2 – 6 พลับพลึงทะเลหรือพลึงเล
                   ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity



พลับพลึงทะเลจะขึ้นเป็นดงยาวไปตามหน้าหาด
ใบยาวหนาค่อนข้างอวบน้ํา รากเหนียวแผ่กว้าง
เชื่อมต่อกันจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง


                              การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของพลับพลึงทะเล
                                      ระบบรากเป็นร่างแหขนาดใหญ่ทําหน้าที่
                              ช่วยยึดผืนหาดและหาน้ํา
                                      ใบหนา ค่อนข้างอวบน้ํา ผิวมันวาว
                              ช่วยสะท้อนแสงแดดและป้องกันการสูญเสียน้ํา
13



     3.2 ไม้พุ่ม (Shrubs)

          ไม้พุ่ม หมายถึง ต้นไม้ยืนต้นมีอายุอยู่ได้นานหลายปี
          ลําต้นสูงไม่เกิน 6 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่ม


     3.2.1 รักทะเล (Sea Lettuce)




                                   ภาพที่ 2 - 7 รักทะเล
               ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=209363

     รักทะเล จะขึ้นอยู่ตามแนวหน้าหาด ใบหนา มีความมันวาวสีเขียวใส แตกใบเป็นกระจุก
ที่ปลายกิ่ง เมื่อดอกบาน กรวยดอกด้านบนจะฉีกออกและกลีบดอกห้ากลีบจะแผ่ตกลงมาเป็นรูปพัด
ครึ่งวงกลม ผลมีลักษณะกลมสีขาว รากใช้แก้พิษอาหารทะเล ใบตําพอกแก้ปวดบวม


     การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของรักทะเล

       มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและหาน้ํา
       ใบหนาอวบน้ํา เป็นมันวาว สะท้อนแดดและป้องกันกันการสูญเสียน้ํา
       ผลลอยน้ํา แพร่กระจายไปกับคลื่น
14




    3.2.2 ชะคราม (Sea blite)




                                   ภาพที่ 2 - 8 ชะคราม
                        ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity


     ชะครามเป็นไม้พุ่มเตี้ย ใบหนาอวบน้ําสีเขียวอมม่วงแดง
ลักษณะใบเป็นลําแท่งแตกสลับกันอยู่รอบ ๆ แกนกิ่ง
คล้ายแปรงล้างขวด ดอกขึ้นเป็นกระจุกบริเวณโคนใบ


    การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด



     ใบหนาอวบน้ํา ช่วยเก็บน้ําและป้องกันการสูญเสียน้ํา
     เกลือที่ดูดขึ้นมากับน้ําจะถูกแยกออก ทิ้งไว้ในช่องว่างระหว่างเซลล์ ใบจึงมีรสเค็ม


                                            พืชนี่ปรับตัวเก่งจัง..
15




    3.2.3 เสมาดอกชมพู (Wooly Joint Prickly Pear)




                                  ภาพที่ 2 - 9 เสมาดอกชมพู
                         ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity


     เสมาดอกชมพู เป็นพืชกลุ่มเดียวกับกระบองเพชรมีถิ่นกําเนิดจากอเมริกากลาง ใบแบน
อวบน้ํา ออกดอกสีชมพูเป็นดอกกรวยทรงป้อม มีกลีบดอกอวบหนาสั้น ๆ ซ้อนกันหลายกลีบ
และมีพู่เกสรยาวสีชมพูสดที่ปลายดอก ผลสีแดง ผลและใบกินได้ มีคุณสมบัติช่วยควบคุมระดับ
น้ําตาลในเลือด และการหมุนเวียนโลหิต



                                   การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของเสมาดอกชมพู


     ลําต้นและใบอวบเก็บน้ําได้มาก หนามและผิวหนาของใบ
 ยังช่วยเก็บน้ําและป้องกันการสูญเสียน้ําได้มาก
     มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา
16




    3.3 ไม้ยืนต้น
    3.3.1 ปอทะเล (Sea Hibiscus)




                                             ภาพที่ 2 - 10 ปอทะเล
                           ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/197998
     ปอทะเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-10 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ลําต้นมักคดงอ
แตกกิ่งมาก เปลือกสีเทาหรือสีน้ําตาลอ่อน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ ลอกออกจาก
ลําต้นได้ง่าย ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจออกทรงกลม ดอกจะบานในช่วงสาย มีสีเหลืองกลางดอกสี
แดงเข้ม มีกลีบเลี้ยงดอกปลายแหลม 5กลีบ ตอนบ่ายดอกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู แล้วค่อย ๆ
เป็นสีแดง หลุดร่วงไปในเย็นวันเดียวกันหรือในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ผลที่สุกจะแห้ง ปริ และแตกออก
เป็นร่องตามซีกผล เพื่อปล่อยให้เมล็ดหลุดออกมา เราจะพบปอทะเลได้บ่อยตามหาดทรายริมทะเล
เปลือกปอทะเลใช้ทําเชือกได้ ส่วนใบใช้เป็นยารักษาแผล

    การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด
      ใต้ใบมีขนอ่อนเล็ก ๆ ปกคลุม ช่วยกันลม ไม่ให้พัดน้ําระเหยออกมามากเกินไป
17

  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา

3.3.2 โพธิ์ทะเล (Portia Tree)




                             ภาพที่ 2 - 11 โพทะเล
                      ที่มา : http://www.intragroove.com/

                            โพธิ์ทะเล คล้ายปอทะเล ดอกมีสีเหลือง ตรงกลางดอก
                      จะไม่เป็นวงสีแดง พอแก่แล้วก็เปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบเลี้ยงดอก
                      เป็นทรงรูปถ้วยปากกว้าง ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์
                      ขอบใบเรียบ ผลสดกลม ไม่ปริแตกเหมือนปอทะเลจนกว่า
                      จะแห้ง และมีกลีบเลี้ยงรูปถ้วยอยู่ที่ขั้วผล ใต้ใบมีขนอ่อน
                      เล็ก ๆ ปกคลุม ไม้โพทะเลใช้ทําเครื่องเรือน เปลือกใช้ทําเชือก
                      ใบนํามารักษาแผลได้



การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของโพธิ์ทะเล

        ใต้ใบมีขนอ่อนเล็ก ๆ ปกคลุม ช่วยกันลม
ไม่ให้พัดน้ําระเหยออกมามากเกินไป
        มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยาย
พื้นที่หาน้ํา
18




3.3.3 หูกวาง (Tropical Almond)




                                ภาพที่ 2 - 12 หูกวาง
                   ที่มา : http://www.niyommit.org/botanic/


        หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8 - 28 เมตร
 เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลําต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ
 คล้ายฉัตร ใบใหญ่เป็นรูปไข่ ดอกสีขาวนวลขนาดเล็ก
 ขึ้นเป็นช่อยาว ไม่มีกลีบดอก ผลเป็นรูปไข่ค่อนข้างแบน
 เล็กน้อย เมล็ดกินได้รสชาติคล้ายถั่วอัลมอนด์ แก่นไม้
 ใช้ทําสีย้อมผ้า


                           การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของหูกวาง
                                     ใบค่อนข้างหนา อุ้มน้ํา มีผิวเคลือบใบหนา
                           ป้องกันการสูญเสียน้ํา
                                     มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยาย
                           พื้นที่หาน้ํา
                                     ผลมีกากเหนียวห่อหุ้ม ช่วยให้ลอยน้ําได้
                           สามารถกระจายไปกับคลื่น
19




3.3.4 เตยทะเล (Seashore Screwpine)




                                  ภาพที่ 2 - 13 เตยทะเล
                  ที่มา : http://board.postjung.com/556543.html

                  เตยทะเล เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4 - 8 เมตร แตกกิ่งก้านมากกว่า
            เตยชนิดอื่น ๆ มีรากค้ําจุนบริเวณโคนต้น ใบยาวออกสีเขียวอมฟ้าเทา ขอบใบ
            มีหนามแตกเวียนสลับรอบลําต้นเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอมเขียว
            มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกผลรวมเป็นรูปกลมรี ดูคล้ายสับปะรดสีแสด ผลกินได้
            ใบนําไปสานเสื่อ เปลือกใช้ทําเชือก ดอกมีคุณสมบัติช่วยบํารุงหัวใจและใช้ทํา
            เครื่องหอม รากส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นทรายใช้ขับปัสสาวะ


    การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของเตยทะเล

       ใบหนาอุ้มน้ํา หนามแข็งตรงปลายและริมขอบใบ
ช่วยเก็บน้ําและลดการสูญเสียน้ํา
       มีรากค้ําจุน แผ่กว้าง ช่วยยึดและประคองลําต้น
       ผลมีกากห่อหุ้ม ลอยน้ําได้
20




    3.3.5 กระทิง หรือ สารภีทะเล (Alexandrine Laurel)




                   ก. ดอกกระทิง                             ข.ผลกระทิง
                                     ภาพที่ 2 - 14 กระทิง
          ที่มา : ภาพ ก. http://mkkrating.blogspot.com/2011/08/blog-post.html
                ภาพ ข. http://www.school.net.th/library/createweb/10000/
                                  science/10000-4533.html


     กระทิง เป็นไม้ยืนต้น สูง 8 - 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ลําต้นมียางสีเหลือง
ใส ๆ ซึมออกและแห้งติดตามเปลือก ใบมนรูปไข่ ปลายใบมนกว้าง เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอก
มีสีขาว กลิ่นหอมออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลกลม ผิวเรียบสีเขียว มีพิษ ในเมล็ดจะมีน้ํามันซึ่ง
คนสมัยก่อนใช้จุดตะเกียงและใช้ทาถูนวดแก้ปวดข้อ เปลือกใช้แก้คันและสมานแผล ไม้ทําบ้านและ
ต่อเรือ ใบสดขยําแช่น้ําใช้ล้างตา ดอกทํายาหอมบํารุงหัวใจ



    การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของกระทิง

       ใบค่อนข้างหนา อุ้มน้ํา มีผิวเคลือบใบหนา ป้องกันการสูญเสียน้ํา
       มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา
21




    3.3.6 สนทะเล (Coastal Sheoak)




           ก. ใบ                      ข. ผล                       ค. ทรงพุ่ม
                                  ภาพที่ 2 - 15 สนทะเล
                    ที่มา : ภาพ ก. และ ข. http://th.wikipedia.org/wiki/
                         ภาพ ค. http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?


     สนทะเล เป็นต้นไม้ใหญ่ลู่ลม มีความสูงได้ตั้งแต่ 10 - 40 เมตร เป็นพืชมีดอกที่ดูคล้าย
สน ใบเป็นเส้นฝอย ๆ ผลจะมีลักษณะเป็นหนามแหลมคล้ายทุเรียน เมื่อแก่เต็มที่ ส่วนที่คล้าย
หนามจะเปิดอ้าออก ปล่อยเมล็ดที่มีปีกเล็กๆปลิวกระจายออกไป เปลือกใช้ทําสีย้อมผ้า



    การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของสนทะเล

     ลําต้นและใบลู่ลม ลดแรงต้านจากพายุ
     ใบมีผิวหนา เรียวยาวเป็นเส้น ช่วยลดการสูญเสียน้ํา
     มีเห็ดรากไม้อาศัยอยู่ที่ราก ช่วยย่อยสลายเศษซากพืช เป็นปุ๋ยให้สนทะเลโดยตรง
     รากแผ่กว้างไกล ช่วยยึดทรายและขยายพื้นที่รับน้ํา
     เมล็ดมีปีกบางเบา ปลิวกระจายไปกับลมได้ไกล
22




    3.3.7 จิกทะเลหรือจิกเล (Fish Poison Tree)




              ก. ดอก                   ข. ผล                     ค. ลักษณะต้น
                              ภาพที่ 2 - 16 จิกทะเล หรือ จิกเล
ที่มา : ภาพ ก. และ ข. http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?
      ภาพ ค. http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Trees/จิกทะเล.html


     จิกเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลําต้นสูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่
ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป ใบสีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยง
เป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวปลายชมพู ดอกมี
กลิ่นแรงบานในเวลาพลบค่ํา และโรยไปในตอนเช้า ผลขนาดใหญ่คล้ายลูกข่างทรงพีระมิดสี่ด้าน
เมล็ดและต้นมีสารซาโปนิน ใช้ทํายาเบื่อปลา ยานอนหลับ



     การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของจิกเล

      ผลมีกากเหนียวห่อหุ้ม ช่วยให้ลอยน้ําได้ สามารถกระจายไปกับคลื่น
      ใบค่อนข้างหนา อุ้มน้ํา มีผิวเคลือบใบหนา ป้องกันการสูญเสียน้ํา ผิวใบมันวาว
ช่วยสะท้อนรังสีจากแดดออกไป
      มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา
23




                                                       กิจกรรม 2.1 “พรรณไม้ชายหาด”1
คําชี้แจง
1. นักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พืชชายหาด
2. เติมชื่อพรรณไม้ลงในช่องว่างที่ตรงกับประเภทของพรรณไม้ชนิดนั้น ๆ

       ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่                              ไม้ยืนต้นขนาดกลาง                                     ไม้พุ่ม                              พืชบุกเบิกหน้าหาด




3. พรรณไม้ชายหาดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมชายหาดที่มีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลาได้อย่างไร
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
1
 ที่มา : ดัดแปลงจาก กิจกรรมที่ 15 “พรรณไม้ป่าชายเลน” ในหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้
ธรรมชาติชายฝั่งทะเล จัดทําและเผยแพร่โดยโครงการสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรม
แก่สาธารณชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
24


                         กิจกรรม 2.2 พืชปรับตัวในป่าชายหาด
คําชี้แจง
1. สังเกตลักษณะเด่นของพืชชายหาดจากภาพที่กําหนดให้
2. บอกลักษณะสําคัญที่พืชแต่ละชนิดปรับตัวเพื่อการดํารงชีวิตในป่าชายหาด




             ต้นชะคราม                                ต้นเตยทะเล




                ต้นผักบุ้งทะเล                                ต้นเสมาดอกชมพู




               ต้นสนทะเล                                           ต้นผักเบี้ยทะเล
25

ตารางบันทึกลักษณะที่สําคัญของพืช
                                           ลักษณะใบ                         ลักษณะลําต้น                           ลักษณะราก                             ลักษณะผล
          ชื่อพืช



     ต้นชะคราม



     ต้นเตยทะเล




   ต้นผักบุ้งทะเล




ต้นเสมาดอกชมพู




     ต้นสนทะเล




  ต้นผักเบี้ยทะเล


เขียนสรุปว่าพืชป่าชายหาดมีการปรับตัวเพื่อการดํารงชีวิตอย่างไร
................................................................................................................................................................................
26




                                                   กิจกรรม 2.3 ทบทวนความรู้กันก่อนจ้ะ



คําชี้แจง จงตอบคําถามให้ถูกต้องและได้ใจความลงในสมุดงาน
1. ผู้ผลิตขั้นต้น หมายถึง.........................................เนื่องจาก........................................................... ..........
    ......................................................................................................................................................... ............
2. สารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ..............................................................................
3. การสังเคราะห์ด้วยแสงจะเกิดภายใน......................................................................ในใบพืช
4. สารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ ...........................................................................................
5. สารอาหารที่ทําให้พืชเติบโต คือ ............................................................................................. ..........
6. ผู้บริโภคลําดับที่หนึ่ง หมายถึง.................................................................................................. ..........
7. ผู้บริโภคลําดับที่สอง หมายถึง.............................................................................................. ................
8. ผู้ผลิตในระบบนิเวศชายหาด ได้แก่.......................................................................................... ...........
9. บริเวณชายหาดไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช เพราะ.................................................... ..........
       ...................................................................................................................................................... .............
10. พืชบุกเบิก ทําหน้าที่................................................................................................................ .............
       ได้แก่...................................................................................................................................... ...................
11. ไม้พุ่มที่พบตามหน้าหาด ได้แก่........................................................................................... ...................
12. ไม้ยืนต้น ที่พบตามชายทะเล ได้แก่................................................................................. ..................
....................................................................................................................................................... ...................




                                   ข้อใดที่ทําไม่ได้หรือไม่เข้าใจ
                                   ให้กลับไปทบทวนเนื้อหาอีกครั้ง...อย่าท้อจ้ะ...
27




     2.2 สัตว์และการปรับตัวของสัตว์บางชนิด
           ที่พบในระบบนิเวศชายหาด

 ..เด็ก ๆ รู้ไหม ในหมู่พื้นที่ชายฝั่งทั้งหมด หาดทราย
 นับว่าเป็นที่ที่อยู่ยาก....เกือบจะที่สุด




                                                       ....เอ ถ้าเป็นเช่นนั้น แล้วสัตว์ต่าง ๆ ที่เราพบ
                                                       เห็นตามชายหาด เค้ามีวิธีปรับตัวกันอย่างไร..
                                                       อยากรู้จัง...พี่กบ บอกมาเร็ว ๆ



      เนื่องจากแนวน้ําขึ้นน้ําลง เป็นพื้นที่แคบ ๆ
ที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลกับพื้นดิน มีสภาพกึ่งบกกึ่งทะเล
ซึ่งจะถูกน้ําทะเลท่วมเวลาน้ําขึ้น และถูกตากแห้งกลางแดด
ตอนน้ําลง สลับกันอย่างนี้ทุกวัน ทําให้สัตว์ต่างๆที่อาศัย
อยู่ในบริเวณนี้ต้องปรับตัวให้สามารถทนกับสภาพอัน
แปรปรวนดังกล่าวได้


                                        ตามพี่กบมาจ้ะเด็ก ๆ พี่กบจะพาไปสํารวจ
                                        ชายหาดกัน.....
28




    2.2.1 สัตว์ที่พบในระบบนิเวศชายหาด


    1. กลุ่มปะการังและดอกไม้ทะเล (Cnidaria : ไนดาเรีย)

          สัตว์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ดอกไม้ทะเล ปะการัง แมงกะพรุน ปากกาทะเล
     พรมทะเล ไฮดรอยด์ มักเกาะติดกับหินแข็ง หรืออาศัยบนโครงร่างแข็งของมันเอง
     เช่น ปะการัง ส่วนดอกไม้ทะเลจะขึ้นโดด ๆ บางชนิดจะ ขุดรูอาศัยใต้พื้นทราย
     พรมทะเลต่างจากดอกไม้ทะเลตรงที่จะอยู่รวมกันจํานวนมากเป็นกลุ่มใหญ่ และไม่
     อยู่ในโครงร่างแข็งเช่นปะการัง กลุ่มนี้ มีลําตัวที่อ่อนนุ่มซึ่งช่วยปกป้องจากการถูก
     เสียดสีจากตะกอนดิน และหนวดซึ่งมีเข็มพิษ อยู่รอบๆปากด้านบนของลําตัว
     เพื่อจับสัตว์จําพวกปลา และกุ้ง เป็นอาหาร


                                         แมงกะพรุนจะอาศัยตามพื้นทรายที่อ่อนนุ่ม
                                   โดยปกติแมงกะพรุนจะล่องลอยในทะเล และจับ
                                   แพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร



     ในเขตต่ํากว่าน้ําลงต่ําสุด จะพบปากกาทะเล อยู่เป็นกลุ่มบนพื้นทราย ลักษณะของหนวด
สัตว์กลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายขนนก และมีปากอยู่บนลําตัวที่ฝังอยู่ ใต้พื้นทราย มันกินอาหารโดย
การกรองแพลงก์ตอนที่ลอยมาตามกระแสน้ํา


                                                ไปดูตัวอย่างสัตว์ในกลุ่มนี้กัน
                                                .......ตามพี่กบมาจ้ะ.....
29




     ภาพที่ 2 - 17 ดอกไม้ทะเล
     ที่มา : http://www.savekohsurin.com/
          webboard/topic.php?topicid=1723




     ภาพที่ 2 - 18 แมงกะพรุน
     ที่มา : http://math.mercyhurst.edu/
            ~thuynh/mis280/bubble/gallery.html




     ภาพที่ 2 - 19 แมงกะพรุนไฟ
     ที่มา : http://beginner.worth1000.com/
             entries/581721/fire-jellyfish




     ภาพที่ 2 - 20 ไฮดรอยด์
     ที่มา : http://www.oceanwideimages.com/
             categories.asp?cID=223
30




    การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด




              ก.                   ข.                          ค.
                     ภาพที่ 2 - 21 การปรับตัวของสัตว์ในกลุ่ม Cnidaria
          ที่มา : http://www.sci.psu.ac.th/chm/biodiversity/beach_animal.html




    ก. ดอกไม้ทะเลจะอาศัยในท่อที่ฝังตัวในพื้นทราย จะโผล่เฉพาะหนวดขึ้นมาเหนือพื้นทราย
คอยจับกุ้งขนาดเล็ก ปลา หมึก และปูเป็นอาหาร
    ข. ปากกาทะเลจะพบมากเฉพาะบริเวณเขตต่ํากว่าระดับน้ําลงต่ําสุด พวกนี้จะกินแพลงก์ตอน ที่
ลอยมากับกระแสน้ํา โดยใน 1 colony จะอยู่หลาย polyps
    ค. ในเขตน้ําตื้นที่มีน้ําขึ้นลง จะพบพวกแมงกะพรุน จะใช้หนวดกรองสารอินทรีย์ในตะกอน
ทราย และแพลงก์ตอนขนาดเล็กที่มากับน้ําทะเล




             ไนดาเรีย เป็นพวกที่โดยทั่วไปจะไม่พบตามพื้นทรายบริเวณเขตน้ําขึ้นน้ําลง
31




                                         กิจกรรมที่ 2.4 ทบสอบความรู้ความเข้าใจกันหน่อยจ้ะ



คําชี้แจง จงตอบคําถามให้ได้ใจความสมบูรณ์ลงในสมุดงาน
1. สัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม ไนดาเรีย ได้แก่............................................................................................. ..................
2. ลักษณะสําคัญของสัตว์ในกลุ่มนี้ คือ ......................................................................................... ............
....................................................................................................................................................... .......................
3. อาหารของสัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่.................................................................................................... .............



                                                                     2. กลุ่มไส้เดือนทะเล (Annelida : แอนเนลิดา)




             ลักษณะของกลุ่มนี้คือ ลําตัวเป็นปล้อง มีรยางค์ข้างตัว มักฝังตัวอยู่ในเลน ทราย บางชนิด
  ขุดรูอยู่ บางชนิดอาศัยอยู่ในท่อที่สร้างขึ้นจากเมือก ทราย กรวด และเปลือกหอย บางชนิดอาศัย
  เป็นอิสระบนพื้นดิน มันกินซากพืชซากสัตว์ตามพื้นเป็นอาหาร บางชนิดกินสาหร่าย บางชนิดกิน
  สัตว์ขนาดเล็ก บางชนิดกินอาหารที่แขวนลอยในน้ําโดยใช้หนวดยาว ๆ จับเหยื่อ หายใจผ่านเหงือก
  ไส้เดือนทะเลบางชนิดฝังตัวอาศัยอยู่ในดินไม่เคลื่อนย้ายไปไหนเลยตลอดชีวิต




                                                                                           .....ไปดูตัวอย่างสัตว์กลุ่มนี้กันจ้ะ..
32




 2.1 แม่เพรียง                     มีขนาด 30 – 150 เซนติเมตร ลําตัวแบนยาว
                             เป็นปล้อง ๆ จํานวนมาก ในเวลาน้ําขึ้นจะใช้รยางค์ว่ายน้ํา
                             พอน้ําลงจะมุดอยู่ในรู ใช้หนวดดักจับอาหาร ส่วนหัวมี
                             หนวดใช้สัมผัสเป็นคู่ และมีเขี้ยว กินสัตว์ขนาดเล็ก ด้านหัว
                             ท้ายมีลักษณะเรียว พบบริเวณแนวน้ําลงต่ําสุด



                          ภาพที่ 2 – 21 แม่เพรียง - วงศ์ EUNICIDAE
                          ที่มา : http://calphotos.berkeley.edu/cgi/img_query?
                                enlarge=4444+4444+1009+0415




 2.2 ไส้เดือนเปลือย


    มีขนาด 10 – 15 เซนติเมตร
คล้ายไส้เดือนแต่มีรยางค์ขนาดเล็กจํานวน
มากตลอดลําตัว มีสีแดง บางชนิดสีเขียว
                                                                               ก.
พบได้ทั่วไปทุกประเภทหาด

                                                                    ข.


               ภาพที่ 2 – 22 ก. วงศ์ ORBINIIDAE ข. วงศ์ NEREIDIDAE
       ที่มา : ภาพ ก. http://calphotos.berkeley.edu/cgi/img_query?enlarge
                        =4444+4444+0910+0254
               ภาพ ข. http://www.roboastra.com/hastworm/hpwo289.htm
33




   2.3 บุ้งทะเล (Bristle Worm)


     มีขนาด 5 – 10 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายหนอนบุ้ง มีปล้องประมาณ 30 ปล้อง
หัวท้ายเรียว ตัวสีน้ําตาลแดงเป็นลายตามยาวและมีเส้นกลางหลังสีน้ําเงิน อาศัยตามพื้นเลน
กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร


                                                           ...อันตราย !!

                                                    หากสัมผัสขนของมันจะทาให้

                                                    ติดผิวหนังและเกิดอาการคัน




          ภาพที่ 2 – 23 บุ้งทะเล
  ที่มา : http://www.thereeftank.com/blog/what-to-do-with-bristle-worms/



   2.4 ไส้เดือนปลอกเรียบ                     อยู่ในวงศ์ SABELLIDAE
                                       มีขนาด 10 – 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในรังที่มี
                                                ลักษณะคล้ายหลอดสีขาวขุ่นปนเทา กรอง
                                                กินตะกอนจากน้ําทะเล พบตามหาดทราย
                                                และหาดทรายปนเลนในแนวน้ําขึ้นน้ําลง




         ภาพที่ 2 – 24 ไส้เดือนปลอกเรียบ
  ที่มา : http://www.stroembergiensis.se/source/sabell_3sab_oct.html
34

  2.5 หนอนท่อ (Keelworm)


          อยู่ในวงศ์ SERPULIDAE มีขนาดความยาวท่อ 5 – 8 เซนติเมตร อาศัยอยู่
    ในท่อหินปูนแข็งที่ติดตามก้อนหิน ท่อมีสีขาวขุ่น หรือ สีน้ําตาล กรองกินตะกอน
    จากน้ําทะเล พบตามก้อนหินทุกประเภทหาดในแนวน้ําขึ้นน้ําลง




           ก. ท่อของหนอนท่อ                        ข. หนอนท่อ

                            ภาพที่ 2 – 25 หนอนท่อ
                ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/หนอนท่อ



  3. หนอนตัวแบน (Polyclad Flatworms)


      อยู่ในกลุ่ม Turbellaria ลักษณะลําตัวแบนเป็นแผ่นบาง ไม่เป็นปล้อง
ดูคล้ายใบไม้ มีหลากสี บางตัวมีสีสดใส หรือมีหลายสีในตัวเดียวกัน บางชนิด
มีตาเป็นจุดขนาดเล็กอยู่ส่วนหัวหรือด้านข้างลําตัว ตัวยาว 1 – 10 เซนติเมตร
เป็นสัตว์ผู้ล่า ใช้ปากที่อยู่ใต้ลําตัวกินสัตว์ขนาดเล็กประเภทปู กุ้ง และไส้เดือน
บางชนิดกินซากพืชซากสัตว์ เคลื่อนที่ด้วยการขับเมือกออกจากตัว และใช้ขน
ขนาดเล็กบนตัวเคลื่อนที่ไปบนเมือก บางชนิดว่ายน้ําได้ด้วยการขยับตัวเป็น
คลื่น หายใจผ่านผิวหนัง
35




                                            มาดูตัวอย่างหนอนตัวแบนกันจ้ะ




                            ภาพที่ 2 – 26 หนอนตัวแบน
             ที่มา : http://animania-daily.livejournal.com/2690.html


4. หนอนริบบิ้น (Ribbon Worm)

     ลําตัวเป็นแผ่นบางยาวไม่เป็นปล้อง ดูคล้ายริบบิ้น อาจยาวได้ถึง 140 เซนติเมตร
มีเมือกตามลําตัว ยืดหดตัวได้มาก มีหลายสี เช่น แดง เหลือง น้ําตาล และลายสลับ
เป็นสัตว์นักล่าที่ออกหาอาหารตลอดเวลา กินสัตว์ขนาดเล็กประเภทไส้เดือน กุ้ง ปู
เป็นอาหาร เคลื่อนที่ด้วยการขับเมือกออกจากตัว สามารถใช้งวงขุดลงดินเพื่อหลบหนีศัตรู
ได้ พบได้ทั่วไปทุกประเภทหาดในแนวน้ําขึ้นน้ําลง ตามกระจุกรังหอยแมลงภู่ ในแนว
ปะการังและแหล่งหญ้าทะเล




                                          ภาพที่ 2 – 27 หนอนริบบิ้น
                          ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?
36

5. หนอนถั่ว (Peanut Worms)

         อยู่ในไฟลัม Sipuncula ลักษณะลําตัวกลมยาวไม่มีขา ผิวไม่เรียบ เป็นร่อง
    สันทั่วตัวคล้ายเปลือกถั่วลิสง ปลายสองด้านไม่เท่ากัน ด้านหนึ่งเรียวยาว สามารถยืด
                            หดได้ มีขนาดประมาณ 2 – 8 เซนติเมตร หนอนถั่ว
                            มักจะฝังตัวอยูในทราย กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร โดย
                                          ่
                            ยืดงวงออกมาบนผิวทราย แล้วหนวดเล็ก ๆ ทีอยูรอบปาก
                                                                  ่ ่
                            โบกอาหารเข้าปาก หายใจผ่านผิวหนัง พบได้บริเวณทราย
                            ปนเลน และตามซากเปลือกหอย ในแนวน้าลงต่าสุด
                                                            ํ ํ


                           ภาพที่ 2 - 28 หนอนถั่ว
                           ที่มา : http://www.tamug.edu/schulze/


6. หอยปากเป็ด/หอยราก (Tongue Shell)

          อยู่ในไฟลัม Brachiopoda ลักษณะเปลือกสีเขียวปนน้ําตาล 2 ชิ้นประกบ
     กันคล้ายหอยแมลงภู่ ขอบเปลือกมีขนเรียงเป็นแนวรอบ มีเอ็นยาวคล้ายหาง (ราก)
     โผล่ออกมาจากปลายเปลือกด้านแหลม ขนาดยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร
                                    (ไม่รวมหาง) หอยปากเป็ดเป็นสัตว์โบราณคล้าย
                                    หอยสองฝา แต่ไม่จดอยูในกลุมหอย ฝังตัวอาศัยอยู่
                                                    ั ่ ่
                                    ในทรายเลนโดยใช้เอ็นทีคล้ายรากหยังลงในทราย
                                                         ่          ่
                                    เมื่อถูกรบกวนจะหดตัวมุดลงไปในทรายอย่างรวดเร็ว
                                    กินอาหารโดยการกรองเอาแพลงก์ตอนและตะกอน
                                    ทีละลายในน้า หายใจผ่านผิวบาง
                                      ่        ํ
ภาพที่ 2 – 29 หอยปากเป็ด/หอยราก
ที่มา : http://www.123rf.com/photo_13532811_lingula-unguis-isolated-on-
        white-background.html
37

                                               กิจกรรมที่ 2.5 ฉันคือใคร....
คําชี้แจง โยงข้อความทางซ้ายมือที่สอดคล้องกับภาพทางขวามือเข้าด้วยกัน

           ลําตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดจํานวนมากซึ่งมีเข็มพิษ ไม่                              A.
   1.
           เคลื่อนที่ เกาะติดกับพื้นผิวหรือฝังตัวในทราย

  2. ตัวเหมือนดอกไม้จิ๋ว อาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูน                                     B.
     เป็นกลุ่ม


  3.       ตัวแบนเป็นแผ่นบาง ไม่เป็นปล้อง คล้ายใบไม้                                    C.
           มีหลากสี บางตัวกินซาก บางตัวเป็นผู้ล่า

           ลําตัวบางยาวไม่เป็นปล้อง คล้ายริบบิ้นเป็นสัตว์
  4.                                                                                    D.
           นักล่า

  5. คล้ายหนอนบุ้ง ตัวเป็นปล้องมีขนทําให้คัน
                                                                                         E.
           อาศัยในท่อหินปูนแข็งที่ติดตามก้อนหิน
  6.
           กรองกินตะกอนจากน้ําทะเล

           ตัวกลมยาว ไม่มีขา ผิวตัวเหมือนเปลือกถั่วลิสง                                 F.
  7.
           ฝังตัวในทราย ยืดหดตัวได้

           มีเปลือกประกบกันคล้ายหอยแมลงภู่ แต่ไม่ใช่                                    G.
  8.       หอย มีเอ็นยื่นยาวคล้ายหางอาศัยในทรายเลน

                                                                                        H.
  9. ชื่อสัตว์ทั้ง 8 ชนิดคือ.........................................................
38




7. กลุ่มหอยและหมึก (ไฟลัม Mollusca)

                                      กลุ่มนี้จะมีร่างกายอ่อนนุ่ม บางชนิดอาศัยอยู่ภายใน
                                เปลือกแข็ง แต่บางชนิดก็ไม่มีเปลือกหุ้มตัว เคลื่อนที่โดยใช้
                                กล้ามเนื้อคืบคลาน ขุด หรือ ว่ายน้ํา สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่
                                หมึกสาย หมึกทะเลหอยสองฝา หอยฝาเดียว ทากเปลือย
                                และลิ่นทะเล


   พี่กบจะพาเด็ก ๆ ไปดูตัวอย่างสัตว์ในกลุ่ม
   นี้กัน....ตามพี่กบมาจ้ะ...


7.1 หมึกสาย/หมึกวาย (Octopuses)


       ลักษณะเด่น คือ ตัวกลมคล้ายถุง ตาดํามีขนาดใหญ่ บริเวณใกล้ตามีท่อพ่นน้ําอยู่ทั้ง
 สองด้าน มีหนวดยาว 8 เส้น แผ่เป็นรัศมีรอบตัว ใต้หนวดมีปุ่มดูดจับจํานวนมากสําหรับ
 ยึดเกาะและจับอาหาร ขนาดยาวประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับ
 หอยและทาก แต่ไม่มีเปลือกแข็ง หายใจผ่านเหงือกที่อยู่ภายในลําตัว เป็นนักล่าในท้องทะเล
                                       เคลื่อนที่ด้วยหนวดที่แผ่ไปรอบตัว คืบคลานไปตาม
                                       พื้นทะเลเพื่อล่าปูและหอยเป็นอาหาร สามารถพราง
                                       ตัวได้ เมื่อมีภัยจะพ่นน้ําหมึกสีดําออกมาเพื่อป้องกัน
                                       ตัว ว่ายน้ําด้วยการดูดน้ําผ่านช่องลําตัวและพ่นออก
                                       ทางท่อข้างตา ปากเป็นจะงอยแข็ง

 ภาพที่ 2 – 30 หมึกสาย/หมึกวาย
 ที่มา : http://a-z-animals.com/animals/octopus/
39

  7.2 หมึกทะเล (Squids)

           ลักษณะลําตัวอ่อนนุ่มทรงกระบอก ข้างลําตัวมีครีบ ส่วนหัวมีหนวด 10 เส้น
     ลักษณะเป็นปุ่มดูด มีหนวด 2 เส้นยาวกว่าเส้นอื่น ปลายหนวดเป็นแผ่นแบนใช้สําหรับ
     จับเหยื่อ ขนาดยาวประมาณ 10 – 30 เซนติเมตร เป็นสัตว์สายพันธุ์เดียวกับหอยแต่
     ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว ภายในลําตัวมีแกนใส แต่บางชนิดเป็นแผ่นแข็งเรียกว่ากระดอง
     หายใจผ่านเหงือกภายในลําตัว ทรงตัวด้วยครีบข้างลําตัว สามรถพุ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว
     ด้วยท่อพ่นน้ําที่อยู่ใต้หัว มักอยู่รวมกันเป็นฝูง กินปลา กุ้ง และสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ
     เป็นอาหาร ป้องกันตัวด้วยการปล่อยหมึกสีดําออกจากตัว




                    ก. หมึกกล้วย                                ข. หมึกหอม
                                   ภาพที่ 2 – 31 หมึกทะเล
ที่มา : ภาพ ก. http://www.squid-world.com/
        ภาพ ข. http://www.oceanwideimages.com/categories.asp?cID=108&p=1

  7.3 หอยสองฝา (Clams)

         เป็นสัตว์ในกลุ่ม Bivalvia
         ลักษณะเด่นของสัตว์กลุ่มนี้ คือ เปลือกหอยเป็นฝาสองฝาขนาดเท่ากัน มีบานพับ
   อ้าและปิดได้ ฝังตัวอยู่ตามทรายและโคลน บางชนิดเกาะติดกับโขดหินหรือวัสดุแข็ง หอย
   สองฝาพบทั่วไปตามหาดประเภทต่างๆ พวกที่ฝังตัวสามารถใช้กล้ามเนื้อภายในเปลือก
   สําหรับเคลื่อนที่และมุดลงในทรายหรือเลนได้ หายใจด้วยเหงือกและกรองกินตะกอนที่ลอย
   ในน้ําด้วยการดูดน้ําผ่านท่อที่อยู่ภายในลําตัว

                                        ตัวอย่างหอยสองฝาที่พบได้ทั่วไป
40




ภาพที่ 2 – 31 หอยแมลงภู่
ที่มา : http://fl.biology.usgs.gov/pics/
        nonindig_green_mussel/nonindig_green_mu
        ssel/nonindig_green_mussel_1.html


ภาพที่ 2 – 32 หอยกะพง
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.
        php?id=narellan&month=21-10-
        2011&group =18&gblog=9


ภาพที่ 2 – 33 หอยขวาน
ที่มา : http://www.flickr.com/photos/
        wildsingapore/7601577950/




ภาพที่ 2 – 34 หอยเฉลียบ
ที่มา : http://www.flickr.com/photos/
        wildsingapore/5194226415/




ภาพที่ 2 – 35 หอยจอบ/หอยซองพลู
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/
        anontaseeha/2012/06/19/entry-1
41



ภาพที่ 2 – 36 หอยแครง
ที่มา : http://thaiseafoodbylek.blogspot.
        com/ 2010/02/thai-seafood-make-
        from-shell-1.html


ภาพที่ 2 – 37 หอยคราง
ที่มา : http://www.xn-b3c4bjh8ap9auf5i.th/
        jobs- make-earning-1094


ภาพที่ 2 – 38 หอยนางรม
ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/
        posts/375286



ภาพที่ 2 – 39 หอยเสียบ
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/
        print.php?id=251145



ภาพที่ 2 – 40 หอยทราย
ที่มา : http://www.topseashells.com/seashell
        /VENERIDAE/PAPHIA/GALLUS/TS83465



ภาพที่ 2 – 41 หอยหูหมู
ที่มา : http://www.flickr.com/photos/
        29287337@N02/7444625676/
42



                                     ภาพที่ 2 – 42 หอยกาบน้ําเค็ม
                                     ที่มา : http://www.conchology.be/?t
                                            =33&family=GLAUCONOMIDAE



                                     ภาพที่ 2 – 43 หอยกระปุก/หอยตลับ
                                     ที่มา : http://www.yhshells.com/goods.
                                             php?id=5072



                                     ภาพที่ 2 – 44 หอยฝาอ้า
                                     ที่มา : http://www.flmnh.ufl.edu/reefs/
                                           guamimg/bivalvia/Pages/Image12.html



                                     ภาพที่ 2 – 45 หอยหลอด
                                     ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.
                                             php?id=chim&date=30-07-2010
                                             &group=2&gblog=282




หอยสองฝาที่อาศัยอยู่ตามหาดต่าง ๆ
ยังมีอีกหลายชนิด ซึ่งเด็ก ๆ สามารถ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือชุด
นักสืบชายหาด ของมูลนิธิโลกสีเขียว
43




7.4 หอยฝาเดียว (Snails)

     เป็นสัตว์ในกลุ่ม Gastropoda
     ลักษณะเด่นของสัตว์กลุ่มนี้ คือ มีเปลือกแข็งเพียงชิ้นเดียวห่อหุ้มลําตัว มีรูปร่าง
หลากหลาย ทั้งลักษณะเป็นเกลียว รูปกรวยคว่ํา หรือแบน หลายชนิดมีฝาปิดใต้เปลือก
หายใจเอาอากาศผ่านเหงือกที่อยู่ในช่องว่างใต้เปลือกและผ่านผิวบางโดยตรง
     เป็นสัตว์กลุ่มใหญ่สามารถพบในหาดทุกประเภทและในป่าชายเลน ทั้งในแนว
น้ําขึ้นน้ําลงและในทะเลลึก การกินอาหารมีทั้งกินสาหร่ายและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก กินเศษ
ซากพืชซากสัตว์ กินอาหารด้วยการกรองตะกอนจากน้ํา บางชนิดล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร
หอยฝาเดียวสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี

                                                  ตามมาเร็ว.....พี่กบจะพาไปสํารวจ
                                                  หอยฝาเดียวที่ชายหาด.....




                          หอยขี้นก
                                                                หอยถั่วเขียว


                                         หอยน้ําพริก
                         ภาพที่ 2 – 46 หอยฝาเดียวบางชนิด
44

ที่มา : http://www.afcd.gov.hk/english/conservation/hkbiodiversity/
           speciesgroup/speciesgroup_mangrove.html


                                ภาพที่ 2 – 47 หอยขี้ตา
                                ที่มา : http://www.flickr.com/photos/
                                       wildsingapore/7913718136/



                                ภาพที่ 2 – 48 หอยนมจิ๋ว
                                ที่มา : http://www.gastropods.com/3/
                                       Shell_12283.shtml



                                ภาพที่ 2 – 49 หอยหมวกเจ๊ก
                                ที่มา : http://www.poppeimages.com/
                                       ?t= 17&photoid=925792



                                ภาพที่ 2 – 50 หอยสังข์หนาม
                                ที่มา : http://wildfilms.blogspot.com/
                                       2008/08/special-snails-and-
                                       strange-worms-on.html


                                ภาพที่ 2 – 51 หอยมะระ
                                ที่มา : http://www.technicchan.ac.th/
                                      ?name=article&file=read_
                                       article&id=141
45




 ภาพที่ 2 – 52 หอยตาวัว
 ที่มา : http://www.oknation.net/
       blog/print.php?id=275434



 ภาพที่ 2 – 53 หอยไส้ไก่
 ที่มา : http://www.oknation.net/blog/
       print.php?id=275434




 ภาพที่ 2 – 54 หอยทับทิม
 ที่มา : http://www.nbrchannel.com/
      frontend/index_thai.php




 ภาพที่ 2 – 55 หอยเบี้ย
 ที่มา : http://www.siamscubadiving.com/
       content/view.php?id=4&cat=salt




 ภาพที่ 2 – 56 หอยจุ๊บแจง
 ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.
       php?id=plaipanpim&month=062012
       &date=09&group =1&gblog=320
46




    หอยนักล่า...!                                     เด็ก ๆ รู้ไหม..มีหอยที่ล่าหอย
                                                      ชนิดอื่นเป็นอาหารด้วย..

    หอยวงเดือน (Moon Snail)

      มีขนาด 2 – 4 เซนติเมตร เปลือกมันเรียบรูปทรงออกกลมสีขาว บางชนิดมีลายจุดสี
น้ําตาลทั่วเปลือก บางชนิดสีออกม่วง มีตีนหอยขนาดใหญ่มาก ใช้เดินมุดใต้ผิวทรายเพื่อล่าหอย
ชนิดอื่นกิน เมื่อเจอเหยื่อมันจะใช้ฟันที่มีลักษณะคล้ายใบเลื่อยเจาะทุละเปลือกหอยของเหยื่อเป็นรู
กลม ๆ แล้วปล่อยน้ําย่อยเข้าไปสังหารเหยื่อ หอยวงเดือนพบได้ตามหาดทราย หาดทรายปนเลน
และหาดเลน




                    ก. หอยวงเดือน                  ข. รังไข่หอยวงเดือน
                                    ภาพที่ 2 – 57 หอยวงเดือน
               ที่มา : http://rmbr.nus.edu.sg/dna/organisms/hdetails/77/3




                            ก.                          ข.
             ภาพที่ 2 – 58 ก.ตีนหอยวงเดือน ข. รูที่หอยวงเดือนเจาะลงบนเปลือกหอย
          ที่มา : ภาพ ก. http://www.poppe-images.com/?t=11&catid=10&p=130
                 ภาพ ข. http://www.oknation.net/blog/dreamline/2009/06/14/entry-1
47


   เรียนรู้เพื่ออยู่รอด...!




     หอยเต้าปูนลายผ้า (Conus textile) กําลังกินหอยครองแครง (Marginella sp.)
กลุ่มหอยเต้าปูนเป็นหอยฝาเดียวที่มีวิวัฒนาการสูงสุด หลายชนิดมีพิษที่รุนแรงและเป็น
อันตรายต่อมนุษย์ถึงชีวิต หนึ่งในหอยเต้าปูนที่มีอันตรายและสามารถพบได้ในทะเลบ้านเรา
ก็คือหอยเต้าปูนลายผ้า หอยเต้าปูนชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตั้งแต่เขต
ชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 50 เมตร เปลือกหอยมีลวดลายสวยงามสะดุดตา สีพื้นมีตั้งแต่
สีขาว,เหลือง,น้ําตาล มีลายเป็นเส้นสานกันคล้ายตาข่าย มักพบแถบสีเข้ม 2 – 3 แถบพาด
ขวางบนเปลือก โดยปกติตอนกลางวันหอยเต้าปูนลายผ้าจะหลบฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่
เฉพาะส่วนของท่อน้ําที่มีปลายสีแดงสดขึ้นมาเหนือทรายเพื่อหายใจ ออกหากินในเวลากลางคืน
โดยจะออกล่าหอยฝาเดียวรวมทั้งหอยเต้าปูนชนิดอื่นเป็นอาหาร ตัวหอยมีการพัฒนาระบบฟัน
ให้มีลักษณะแหลมคล้ายเข็มฉีดยามีรูกลวงตรงกลาง เมื่อหอยล่าเหยื่อหรือป้องกันตัวจะแทงฟัน
นี้เข้าสู่ตัวเหยื่อ จากนั้นจึงจะฉีดพิษซึ่งมีสีขาวคล้ายควันบุหรี่ผ่านท่อกลวงของฟันเข้าสู่ตัวเหยื่อ
พิษหอยเต้าปูนเป็นพิษที่มีผลต่อระบบประสาททําให้เหยื่อเป็นอัมพาต หอยจะกลืนเหยื่อเข้าไป
ทั้งตัว ในกรณีของมนุษย์ถ้าได้รับพิษจะทําให้แขนขาหมดความรู้สึก กระบังลมหยุดทํางาน
หายใจติดขัดและหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต ฟันของหอยเต้าปูนสามารถแทงทะลุผ่านชุด wet
suitได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง แม้เป็นหอยที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนักแต่ก็มีโอกาสเจอตามกองหิน
และแนวปะการัง ปัจจุบันยังไม่มีเซรุ่มเฉพาะที่ใช้ในการรักษา แต่แพทย์อาจใช้เซรุ่มแก้พิษงูมาใช้
ทดแทนได้เพราะการทํางานของพิษคล้ายคลึงกัน หอยเต้าปูนบางชนิดมีพิษที่มีความรุนแรง
พอๆกับพิษงูเลยทีเดียว
ที่มา : http://www.siamscubadiving.com/board/view.php?tid=1264
48




                  บทความ เรื่อง หาดทรายเปลือกหอยที่หาดเจ้าหลาว-แหลมเสด็จ จันทบุรี
                  http://www.oknation.net/blog/dreamline/2009/06/14/entry-1
                  บทความ เรื่อง 10 อันดับสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก
                  http://mystdock.blogspot.com/2011/05/10.html


    7.5 ทากเปลือย (Sea Slugs)


     จัดอยู่ในกลุ่มหอยฝาเดียว แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว กินสาหร่ายและเศษซากเป็นอาหาร
บางชนิดกินฟองน้ํา ดอกไม้ทะเลและสัตว์อื่น รวมทั้งกินทากขนาดเล็กเป็นอาหาร ตัวอย่างของสัตว์
ในกลุ่มนี้ เช่น ทากปุ่มหิน สามารถพบตามโขดหิน หาดทรายปนเลน และหาดเลน
ส่วนทากลายจุด พบตามหาดหินในแนวน้ําลงต่ําสุด เป็นต้น




                          ก. ทากปุ่มหิน                   ข. ทากลายจุด
                          ภาพที่ 2 – 59 ก. ทากปุ่มหิน,ทากลายจุด
           ที่มา : ภาพ ก. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=275434
                  ภาพ ข. http://ouredenblue.blogspot.com/
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2
หน่วยที่2

More Related Content

What's hot

การตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถาม
Dr.Krisada [Hua] RMUTT
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1suchinmam
 
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชการแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
Li Yu Ling
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
Thanyamon Chat.
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
Thanyamon Chat.
 
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1pageใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
Prachoom Rangkasikorn
 
stem structure
stem structurestem structure
stem structure
Thanyamon Chat.
 
6.ชุด 3 การแพร่
6.ชุด 3 การแพร่6.ชุด 3 การแพร่
6.ชุด 3 การแพร่
เอเดียน คุณาสิทธิ์
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2
Thanyamon Chat.
 
แบบทดสอบประชากร
แบบทดสอบประชากรแบบทดสอบประชากร
แบบทดสอบประชากร
Wichai Likitponrak
 
ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2
ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2
ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2dnavaroj
 
การออมและการลงทุน ม.2
การออมและการลงทุน ม.2การออมและการลงทุน ม.2
การออมและการลงทุน ม.2
พัน พัน
 
Kingdom Animalia
Kingdom AnimaliaKingdom Animalia
Kingdom Animalia
Thanyamon Chat.
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
Wichai Likitponrak
 
Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931 Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931
Maimai Pudit
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อKruthai Kidsdee
 
แบบฝึกทักษะ ม.3
แบบฝึกทักษะ ม.3แบบฝึกทักษะ ม.3
แบบฝึกทักษะ ม.3suchinmam
 
โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชโครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
เข็มชาติ วรนุช
 
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์
Wan Ngamwongwan
 

What's hot (20)

การตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถามการตั้งคำถามในแบบสอบถาม
การตั้งคำถามในแบบสอบถาม
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
 
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชการแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
 
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1pageใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
ใบความรู้+อากาศสำคัญอย่างไร+ป.3+246+dltvscip3+55t2sci p03 f15-1page
 
stem structure
stem structurestem structure
stem structure
 
6.ชุด 3 การแพร่
6.ชุด 3 การแพร่6.ชุด 3 การแพร่
6.ชุด 3 การแพร่
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
แบบทดสอบประชากร
แบบทดสอบประชากรแบบทดสอบประชากร
แบบทดสอบประชากร
 
ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2
ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2
ข้อสอบวิทย์ ม.1 ภาค 1 และ ภาค 2
 
การออมและการลงทุน ม.2
การออมและการลงทุน ม.2การออมและการลงทุน ม.2
การออมและการลงทุน ม.2
 
Kingdom Animalia
Kingdom AnimaliaKingdom Animalia
Kingdom Animalia
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
 
Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931 Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
 
แบบฝึกทักษะ ม.3
แบบฝึกทักษะ ม.3แบบฝึกทักษะ ม.3
แบบฝึกทักษะ ม.3
 
โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชโครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
 
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์
 

Viewers also liked

หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาดหน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
Wan Ngamwongwan
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
Wan Ngamwongwan
 
การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์Wan Ngamwongwan
 
การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์
การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์
การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์สงบจิต สงบใจ
 
ไบโอม
ไบโอมไบโอม
ไบโอม
Kittiya GenEnjoy
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
สุรินทร์ ดีแก้วเกษ
 
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 11แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
sukanya petin
 
็Hormone
็Hormone็Hormone
็Hormone
sukanya petin
 
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
sukanya petin
 
Photosynthetic reaction
Photosynthetic reactionPhotosynthetic reaction
Photosynthetic reaction
sukanya petin
 
การรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์Blank
การรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์Blankการรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์Blank
การรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์BlankThanyamon Chat.
 
Pigment
PigmentPigment
Pigment
sukanya petin
 
Root structure and function
Root structure and functionRoot structure and function
Root structure and function
sukanya petin
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
sukanya petin
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
Wichai Likitponrak
 
ฟีโรโมน
ฟีโรโมนฟีโรโมน
ฟีโรโมน
sukanya petin
 
บทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตบทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตฟลุ๊ค ลำพูน
 
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมนการรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
sukanya petin
 
ต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ
sukanya petin
 
หน่วยที่1ชายหาด
หน่วยที่1ชายหาดหน่วยที่1ชายหาด
หน่วยที่1ชายหาด
Wan Ngamwongwan
 

Viewers also liked (20)

หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาดหน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
 
การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์การสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์
 
การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์
การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์
การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์
 
ไบโอม
ไบโอมไบโอม
ไบโอม
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
 
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 11แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
 
็Hormone
็Hormone็Hormone
็Hormone
 
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
 
Photosynthetic reaction
Photosynthetic reactionPhotosynthetic reaction
Photosynthetic reaction
 
การรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์Blank
การรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์Blankการรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์Blank
การรับรู้และตอบสนองของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์Blank
 
Pigment
PigmentPigment
Pigment
 
Root structure and function
Root structure and functionRoot structure and function
Root structure and function
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
 
ฟีโรโมน
ฟีโรโมนฟีโรโมน
ฟีโรโมน
 
บทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโตบทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 11 การสืบพันธ์และการเจริญเติบโต
 
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมนการรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
 
ต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ
 
หน่วยที่1ชายหาด
หน่วยที่1ชายหาดหน่วยที่1ชายหาด
หน่วยที่1ชายหาด
 

Similar to หน่วยที่2

ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืชธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
Kunnanatya Pare
 
โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1nananattie
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศJira Boonjira
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1Nuttayaporn2138
 
ผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลKrujhim
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำJiraporn
 
ecosystem
ecosystemecosystem
Biomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timberBiomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timber
Wichai Likitponrak
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
sujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
sujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Wichai Likitponrak
 
พืชที่อยู่รอบตัวเรา
พืชที่อยู่รอบตัวเราพืชที่อยู่รอบตัวเรา
พืชที่อยู่รอบตัวเรา
sujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 

Similar to หน่วยที่2 (20)

ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืชธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
 
โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1โครงการปลูกหญ้าแฝก1
โครงการปลูกหญ้าแฝก1
 
ผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเล
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ
 
ecosystem
ecosystemecosystem
ecosystem
 
Pw ecosystem
Pw ecosystemPw ecosystem
Pw ecosystem
 
Biomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timberBiomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timber
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
ม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศ
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
 
พืชที่อยู่รอบตัวเรา
พืชที่อยู่รอบตัวเราพืชที่อยู่รอบตัวเรา
พืชที่อยู่รอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 

More from Wan Ngamwongwan

2 genetic material
2 genetic material2 genetic material
2 genetic material
Wan Ngamwongwan
 
1chrmosome
1chrmosome1chrmosome
1chrmosome
Wan Ngamwongwan
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีลปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีลWan Ngamwongwan
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการWan Ngamwongwan
 
3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากร3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากรWan Ngamwongwan
 
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
Wan Ngamwongwan
 
สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่
สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่
สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่Wan Ngamwongwan
 
รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่Wan Ngamwongwan
 
----งานหลัก-----
 ----งานหลัก----- ----งานหลัก-----
----งานหลัก-----
Wan Ngamwongwan
 
รณรงค์งดสูบบุหรี่1
รณรงค์งดสูบบุหรี่1รณรงค์งดสูบบุหรี่1
รณรงค์งดสูบบุหรี่1Wan Ngamwongwan
 
หยุดสูบบุหรี่
หยุดสูบบุหรี่หยุดสูบบุหรี่
หยุดสูบบุหรี่Wan Ngamwongwan
 
งดบุหรี่
งดบุหรี่งดบุหรี่
งดบุหรี่Wan Ngamwongwan
 
หยุดทำร้ายผู้อื่น
หยุดทำร้ายผู้อื่นหยุดทำร้ายผู้อื่น
หยุดทำร้ายผู้อื่นWan Ngamwongwan
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจWan Ngamwongwan
 
รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่Wan Ngamwongwan
 
กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3Wan Ngamwongwan
 
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)Wan Ngamwongwan
 
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกมะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกWan Ngamwongwan
 
แผลในกระเพาะอาหาร (1)
แผลในกระเพาะอาหาร (1)แผลในกระเพาะอาหาร (1)
แผลในกระเพาะอาหาร (1)Wan Ngamwongwan
 
โรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบโรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบWan Ngamwongwan
 

More from Wan Ngamwongwan (20)

2 genetic material
2 genetic material2 genetic material
2 genetic material
 
1chrmosome
1chrmosome1chrmosome
1chrmosome
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีลปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแอลลีล
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ
 
3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากร3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากร
 
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
 
สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่
สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่
สราวุฒิ-รณรงค์เลิกบุหรี่
 
รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่
 
----งานหลัก-----
 ----งานหลัก----- ----งานหลัก-----
----งานหลัก-----
 
รณรงค์งดสูบบุหรี่1
รณรงค์งดสูบบุหรี่1รณรงค์งดสูบบุหรี่1
รณรงค์งดสูบบุหรี่1
 
หยุดสูบบุหรี่
หยุดสูบบุหรี่หยุดสูบบุหรี่
หยุดสูบบุหรี่
 
งดบุหรี่
งดบุหรี่งดบุหรี่
งดบุหรี่
 
หยุดทำร้ายผู้อื่น
หยุดทำร้ายผู้อื่นหยุดทำร้ายผู้อื่น
หยุดทำร้ายผู้อื่น
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่รณรงค์งดสูบบุหรี่
รณรงค์งดสูบบุหรี่
 
กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3กระดูกพรุน 4 3
กระดูกพรุน 4 3
 
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
 
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกมะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูก
 
แผลในกระเพาะอาหาร (1)
แผลในกระเพาะอาหาร (1)แผลในกระเพาะอาหาร (1)
แผลในกระเพาะอาหาร (1)
 
โรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบโรคหลอดลมอักเสบ
โรคหลอดลมอักเสบ
 

หน่วยที่2

  • 1. 1 หน่วยที่ 2 สิ่งมีชีวิต และการดารงชีวิต บริเวณชายหาด จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายบทบาทของพืชในระบบนิเวศชายหาดได้ 2. อธิบายลักษณะของผู้ผลิตขั้นต้นของชายหาดได้ 3. บอกลักษณะการปรับตัวของพืชที่ขึ้นบริเวณชายหาดได้ 4. วิเคราะห์และจําแนกลักษณะของพืชชายหาดได้ 5. บอกแหล่งที่อยู่ การดํารงชีวิตและลักษณะของสัตว์กลุ่มต่าง ๆ ในระบบนิเวศชายหาดได้ 6. บอกความแตกต่างและจําแนกกลุ่มสัตว์ในระบบนิเวศชายหาดได้ 7. อธิบายการปรับตัวของสัตว์ในระบบนิเวศชายหาดได้ 8. บอกปัจจัยที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศชายหาดได้ 9. อธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศชายหาดได้ 10. อธิบายและเขียนแผนผังแสดงการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ ชายหาดได้
  • 2. 2 2.1 พืชและการปรับตัวของพืช ในระบบนิเวศชายหาด บริเวณชายหาดไม่ค่อยเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช แต่เรายังพบพืชหลายชนิดขึ้นอยู่ได้ .. .....เด็ก ๆ สงสัยไหมว่า..พืชเหล่านี้มีบทบาทและวิธีการ ปรับตัวอย่างไรจึงอยู่ที่ชายหาดได้ แล้วพืชมีบทบาทอย่างไรในระบบนิเวศชายหาด ใช่แล้ว..มีแต่น้ําเค็ม .....พี่กบช่วยเฉลยหน่อยสิ.. พืชจะอยู่ได้ไง... ได้เลยจ้ะเด็ก ๆ ตามพี่กบมาเลยจ้ะ... พี่กบจะพาไปสํารวจชายหาด ว่ามีพืช อะไรบ้าง และหน้าตาเป็นอย่างไร..
  • 3. 3 บทบาทของพืช พืชเป็นผู้ผลิตขั้นต้น ผู้ผลิตขั้นต้น ในระบบนิเวศทุก ๆ ระบบนิเวศ จะต้องมีผู้ผลิตขั้นต้น โดยผู้ผลิตขั้นต้นนี้ เป็นแหล่งอาหาร หรือ แหล่งพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ในระบบนิเวศ ผู้ผลิตขั้นต้น ที่สําคัญในระบบนิเวศชายหาดคือ กลุ่มพืช พืชเป็นผู้สร้างอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่นโดยกระบวนการ สังเคราะห์แสง หรือที่เรียกว่า photosynthesis เป็นแหล่งพลังงานให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบ นิเวศทั้งหมดทางสายใยอาหาร กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) การสังเคราะห์ด้วยแสงนี้เป็นปฏิกิริยาเคมี ที่ต้องการสารตั้งต้นสามตัว คือ  แสงแดดจากดวงอาทิตย์  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  น้ํา การสังเคราะห์ด้วยแสงนี้จะเกิดขึ้นภายในเม็ดสี หรือ คลอโรฟิลล์ซึ่งอยู่ภายในใบพืช ทําให้ ใบพืชมีสีเขียว สารประกอบที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือก๊าซออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่เราใช้ หายใจ และน้ําตาลกลูโคส
  • 4. 4 พืชใช้น้ําตาลเพื่อการเจริญเติบโตของใบ และสัตว์จะกินใบพืชเหล่านี้เป็นอาหาร การผลิต น้ําตาลของพืชนี้ต้องการวัตถุดิบเพียงแสงแดด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ําเท่านั้น แต่การ เจริญเติบโตของพืชก็ต้องการสารอาหารเพื่อเปลี่ยนน้ําตาลให้อยู่ในรูปของสารประกอบอื่น ๆ ที่จําเป็น ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุ สารอาหารตัวสําคัญที่ทําให้พืชเติบโต คือ ธาตุไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P) กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 6CO2 + 6H2O + แสงอาทิตย์ C6H12O6 + 6O2 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ + น้ํา + แสงอาทิตย์ น้ําตาลกลูโคส + ออกซิเจน พืชจัดเป็นผู้ผลิตเบื้องต้น ที่ผลิตสารอินทรีย์จากสารอนินทรีย์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า กลุ่ม Autotrophs ส่วนสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารนั้น จัดเป็นผู้บริโภคขั้นต้น หรือ ผู้บริโภคลําดับ ที่หนึ่ง (primary consumer) เรียกว่า heterotrophs เนื่องจากไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ หรือ herbivores หมายถึง สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร ส่วนสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารนั้น จัดเป็น ผู้บริโภคลําดับที่สอง (secondary consumer) เรียกว่า carnivores เด็ก ๆ รู้หรือยังว่าพืชน่ะ สําคัญมากแค่ไหน..
  • 5. 5 ใครบ้างที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศชายหาด... ตามพี่กบไปศึกษากันเลยจ้ะ... ผู้ผลิตในระบบนิเวศชายหาด 1. แพลงก์ตอนพืช ภาพที่ 2 - 1 ไดอะตอม ที่มา: http://www.sci.psu.ac.th/chm/biodiversity/beach_plant.html แพลงก์ตอนพืช เป็นผู้ผลิตขั้นต้นที่สําคัญของห่วงโซ่อาหารบริเวณชายหาด กลุ่มแพลงก์ตอนที่พบมาก ได้แก่ ไดอะตอมสาหร่าย กลุ่มนี้เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว และใช้ชีวิตเป็นแพลงก์ตอนล่องลอยอยู่ในน้ํา หรือเกาะอยู่ตามเม็ดทรายมีขนาด เล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง
  • 6. 6 2. สาหร่ายทะเล สาหร่ายทะเล (seaweeds หรือ marine algae) เป็นพืชชั้นต่ํา ไม่มีระบบท่อลําเลียง อาหารจากรากสู่ลําต้นและใบแบบพืชชั้นสูงเช่นหญ้าทะเล แต่จะใช้วิธีดูดซับน้ําและแร่ธาตุ จากน้ําทะเลสู่เซลล์ต่างๆโดยตรง พืชกลุ่มนี้ไม่มีดอกและผล แพร่กระจายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ และแบ่งตัว สาหร่ายทะเลมีลักษณะมากมายหลายแบบ ตั้งแต่แบบที่เป็นแพลงก์ตอนลอยไปลอย มาในน้ํา บางชนิดจับตัวกันเป็นกลุ่มเซลล์หรือเป็นสายเซลล์ จนถึงชนิดที่เป็นต้นดูคล้ายพืชชั้นสูง สาหร่ายทะเลแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามโครงสร้างและสีของสารสังเคราะห์แสงได้ เป็น 4 กลุ่ม คือ 1. สาหร่ายสีเขียว (green algae) เช่น สาหร่ายใบแปะก๊วย 2. สาหร่ายสีน้ําตาล (brown algae) เช่น สาหร่ายเห็ดหูหนู 3. สาหร่ายสีแดง (red algae) เช่น สาหร่ายวุ้น 4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงิน (blue- green algae) เช่น สาหร่ายผมนาง สําหรับประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตร้อนซึ่งมีแสงจัด บางครั้งสาหร่ายจะมีสีเปลี่ยนไปจากที่ควรจะเป็น
  • 7. 7 ตัวอย่างสาหร่ายจ้ะ... ก.สาหร่ายใบแปะก๊วย ข. สาหร่ายเห็ดหูหนู ค. สาหร่ายวุ้น ง. สาหร่ายผมนาง ภาพที่ 2 - 2 สาหร่ายสีเขียว (ก.) สาหร่ายสีน้ําตาล (ข.) สาหร่ายสีแดง (ค.) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ําเงิน (ง) ที่มา : http://rmbr.nus.edu.sg/projectsemakau/index.php?option
  • 8. 8 3. พืชชายหาด ระบบนิเวศชายหาดไม่ค่อยเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช เพราะตะกอนทรายมีขนาด อนุภาคใหญ่มีช่องว่างเยอะทําให้ไม่อุ้มน้ําและมีแร่ธาตุน้อย แต่ก็ยังมีพวกพืชบุกเบิก หรือ pioneering species เป็นพืชชนิดแรกที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่มีวิวัฒนาการจนเป็นกลุ่มหรือสังคม พืชขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว ซึ่งพืชเหล่านี้จะยึดกับทรายและเมื่อมันตายก็จะเป็นการเพิ่มแร่ธาตุให้กับ ทรายไปด้วย เมื่อระยะเวลาผ่านไปการเจริญเติบโตของมันก็จะทําให้ดินบริเวณนั้นมีการ เปลี่ยนแปลง เพราะมีการหมุนเวียนของแร่ธาตุเกิดขึ้น พืชกลุ่มที่มีอายุน้อยสุดหรือมีรูปแบบง่ายๆจะพบบริเวณใกล้กับชายหาด ส่วนกลุ่มพืชที่ สูงกว่าและรูปแบบซับซ้อนกว่าจะอยู่ลึกเข้าไปด้านหลังของชายหาด หากบริเวณนี้มีขอบเขตที่กว้าง มากก็จะเป็นการบ่งบอกถึงอายุของดินที่อยู่ชั้นล่างด้วย หากชายฝั่งที่เป็นหน้าหาดทรายถูกกัดเซาะ เข้ามามากจนบริเวณหน้าหาดที่เป็นหาดทรายหายไป บริเวณด้านหน้าหาดก็จะพบพืชที่มีขนาดใหญ่ แทนเพราะไม่มีพื้นที่หน้าหาดให้พืชขนาดเล็กเจริญเติบโตได้อีก พืชชายหาดมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี เด็ก ๆ ตามพี่กบไป วิธีการปรับตัวในการดํารงชีวิตแตกต่างกันไป สํารวจพืชพรรณไม้ ที่พบได้บ่อยบริเวณ ชายหาดกัน.......
  • 9. 9 3.1 พืชล้มลุก (Herbaceous Plants) 3.1.1 ผักบุ้งทะเล (Sea Morning Glory) พืชบุกเบิกหน้าหาด ลําต้นเหนียวขึ้นทอดต่อกัน เป็นร่างแหคลุมพื้นทราย โดยมีรากทําหน้าที่ยึด พื้นทรายและหาน้ํา ผักบุ้งทะเลจะขึ้นอยู่เป็นหย่อม ขยายบริเวณไม่กว้างมากนัก ดอกคล้ายแตรสีม่วง อมชมพู ผลเป็นกาบแข็งลอยน้ําได้ มักพบขึ้นตาม หน้าหาดที่มีทรายเข้ามาทับถมเป็นแนวลาดเอียง ไม่ชันมากผักบุ้งทะเลจะช่วยป้องกันการกัดเซาะ บริเวณหาดทรายจากคลื่นที่ซัดเข้ามา ภาพที่ 2 - 3 ผักบุ้งทะเล ที่มา : http://www.thaihealth.in.th/2011/09/02/ผักบุ้งทะเล-สมุนไพร การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด ของผักบุ้งทะเล  ระบบรากและลําต้นร่างแหช่วยยึดผืนทราย และหาน้ํา และคอยดักเศษไม้เศษใบไว้ย่อยสลายสะสม เป็นสารอินทรีย์หน้าผิวดินให้พืชชายหาดอื่นๆเข้ามายึด พื้นที่ได้ต่อไป  ใบหนาค่อนข้างอวบน้ํา แผ่ออกในตอนเช้า และจะพับเข้าเมื่อแดดแรงจัด เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ํา
  • 10. 10 3.1.2 หญ้าลอยลม ( Beach Spinifex) หญ้าบุกเบิกหน้าหาด ลําต้นแข็ง เหนียว ใบมีลักษณะม้วนแหลม ช่วยป้องกันการสูญเสีย น้ํา ใบงอกจากต้นเป็นดาวกระจายมักหลุดกลิ้ง ตามลมไปกับพื้นทราย เมื่อถูกทรายปลิวกลบ จะแทงยอดใหม่ขึ้นมา มักพบขึ้นตามหาดที่แห้งแล้ง ภาพที่ 2 - 4 หญ้าลอยลม ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด ของหญ้าลอยลม  ระบบรากและลําต้นแบบร่างแหช่วยยึด ผืนทรายและหาน้ํา และคอยดักเศษไม้เศษใบไว้ย่อย สลายสะสมเป็นสารอินทรีย์หน้าผิวดิน ให้พืช ชายหาดอื่นๆ สามารถเข้ามายึดพื้นที่ได้ต่อไป  ต้นและใบแข็งม้วนแหลม ช่วยป้องกัน การสูญเสียน้ํา  ใบงอกจากต้นเป็นรูปดาวกระจาย สามารถแตกออกเป็นต้นใหม่ได้โดยกลิ้งตามลมไป กับพื้นทราย
  • 11. 11 3.1.3 ผักเบี้ยทะเล (Sea Purslane) เป็นพืชคลุมดินมีลําต้นทอดต่อกัน เป็นร่างแห หยั่งรากยึดเป็นจุด ๆ ขึ้นได้ ทั้งบนพื้นทรายและตามซอกหินที่มีดิน เพียงเล็กน้อย ใบเล็กรีหนาอวบน้ํา ผิวใบ หนา ดอกมี 5 กลีบ มีสีม่วงอมชมพู ภาพที่ 2 - 5 ผักเบี้ยทะเล ที่มา : http://tanhakit.blogspot.com/2010/12/ sesuvium-portulacastrum-l.html การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด ของผักเบี้ยทะเล  ใบหนาอวบน้ําช่วยเก็บน้ํา และ ป้องกันการสูญเสียน้ํา  ระบบรากและลําต้นร่างแห ช่วยยึดผืนทรายและหาน้ํา
  • 12. 12 3.1.4 พลับพลึงทะเล หรือ พลึงเล (Sea Lily) ภาพที่ 2 – 6 พลับพลึงทะเลหรือพลึงเล ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity พลับพลึงทะเลจะขึ้นเป็นดงยาวไปตามหน้าหาด ใบยาวหนาค่อนข้างอวบน้ํา รากเหนียวแผ่กว้าง เชื่อมต่อกันจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของพลับพลึงทะเล  ระบบรากเป็นร่างแหขนาดใหญ่ทําหน้าที่ ช่วยยึดผืนหาดและหาน้ํา  ใบหนา ค่อนข้างอวบน้ํา ผิวมันวาว ช่วยสะท้อนแสงแดดและป้องกันการสูญเสียน้ํา
  • 13. 13 3.2 ไม้พุ่ม (Shrubs) ไม้พุ่ม หมายถึง ต้นไม้ยืนต้นมีอายุอยู่ได้นานหลายปี ลําต้นสูงไม่เกิน 6 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่ม 3.2.1 รักทะเล (Sea Lettuce) ภาพที่ 2 - 7 รักทะเล ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=209363 รักทะเล จะขึ้นอยู่ตามแนวหน้าหาด ใบหนา มีความมันวาวสีเขียวใส แตกใบเป็นกระจุก ที่ปลายกิ่ง เมื่อดอกบาน กรวยดอกด้านบนจะฉีกออกและกลีบดอกห้ากลีบจะแผ่ตกลงมาเป็นรูปพัด ครึ่งวงกลม ผลมีลักษณะกลมสีขาว รากใช้แก้พิษอาหารทะเล ใบตําพอกแก้ปวดบวม การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของรักทะเล  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและหาน้ํา  ใบหนาอวบน้ํา เป็นมันวาว สะท้อนแดดและป้องกันกันการสูญเสียน้ํา  ผลลอยน้ํา แพร่กระจายไปกับคลื่น
  • 14. 14 3.2.2 ชะคราม (Sea blite) ภาพที่ 2 - 8 ชะคราม ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity ชะครามเป็นไม้พุ่มเตี้ย ใบหนาอวบน้ําสีเขียวอมม่วงแดง ลักษณะใบเป็นลําแท่งแตกสลับกันอยู่รอบ ๆ แกนกิ่ง คล้ายแปรงล้างขวด ดอกขึ้นเป็นกระจุกบริเวณโคนใบ การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด  ใบหนาอวบน้ํา ช่วยเก็บน้ําและป้องกันการสูญเสียน้ํา  เกลือที่ดูดขึ้นมากับน้ําจะถูกแยกออก ทิ้งไว้ในช่องว่างระหว่างเซลล์ ใบจึงมีรสเค็ม พืชนี่ปรับตัวเก่งจัง..
  • 15. 15 3.2.3 เสมาดอกชมพู (Wooly Joint Prickly Pear) ภาพที่ 2 - 9 เสมาดอกชมพู ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity เสมาดอกชมพู เป็นพืชกลุ่มเดียวกับกระบองเพชรมีถิ่นกําเนิดจากอเมริกากลาง ใบแบน อวบน้ํา ออกดอกสีชมพูเป็นดอกกรวยทรงป้อม มีกลีบดอกอวบหนาสั้น ๆ ซ้อนกันหลายกลีบ และมีพู่เกสรยาวสีชมพูสดที่ปลายดอก ผลสีแดง ผลและใบกินได้ มีคุณสมบัติช่วยควบคุมระดับ น้ําตาลในเลือด และการหมุนเวียนโลหิต การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของเสมาดอกชมพู  ลําต้นและใบอวบเก็บน้ําได้มาก หนามและผิวหนาของใบ ยังช่วยเก็บน้ําและป้องกันการสูญเสียน้ําได้มาก  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา
  • 16. 16 3.3 ไม้ยืนต้น 3.3.1 ปอทะเล (Sea Hibiscus) ภาพที่ 2 - 10 ปอทะเล ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/197998 ปอทะเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-10 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ลําต้นมักคดงอ แตกกิ่งมาก เปลือกสีเทาหรือสีน้ําตาลอ่อน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ ลอกออกจาก ลําต้นได้ง่าย ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจออกทรงกลม ดอกจะบานในช่วงสาย มีสีเหลืองกลางดอกสี แดงเข้ม มีกลีบเลี้ยงดอกปลายแหลม 5กลีบ ตอนบ่ายดอกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู แล้วค่อย ๆ เป็นสีแดง หลุดร่วงไปในเย็นวันเดียวกันหรือในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ผลที่สุกจะแห้ง ปริ และแตกออก เป็นร่องตามซีกผล เพื่อปล่อยให้เมล็ดหลุดออกมา เราจะพบปอทะเลได้บ่อยตามหาดทรายริมทะเล เปลือกปอทะเลใช้ทําเชือกได้ ส่วนใบใช้เป็นยารักษาแผล การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด  ใต้ใบมีขนอ่อนเล็ก ๆ ปกคลุม ช่วยกันลม ไม่ให้พัดน้ําระเหยออกมามากเกินไป
  • 17. 17  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา 3.3.2 โพธิ์ทะเล (Portia Tree) ภาพที่ 2 - 11 โพทะเล ที่มา : http://www.intragroove.com/ โพธิ์ทะเล คล้ายปอทะเล ดอกมีสีเหลือง ตรงกลางดอก จะไม่เป็นวงสีแดง พอแก่แล้วก็เปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบเลี้ยงดอก เป็นทรงรูปถ้วยปากกว้าง ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ขอบใบเรียบ ผลสดกลม ไม่ปริแตกเหมือนปอทะเลจนกว่า จะแห้ง และมีกลีบเลี้ยงรูปถ้วยอยู่ที่ขั้วผล ใต้ใบมีขนอ่อน เล็ก ๆ ปกคลุม ไม้โพทะเลใช้ทําเครื่องเรือน เปลือกใช้ทําเชือก ใบนํามารักษาแผลได้ การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของโพธิ์ทะเล  ใต้ใบมีขนอ่อนเล็ก ๆ ปกคลุม ช่วยกันลม ไม่ให้พัดน้ําระเหยออกมามากเกินไป  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยาย พื้นที่หาน้ํา
  • 18. 18 3.3.3 หูกวาง (Tropical Almond) ภาพที่ 2 - 12 หูกวาง ที่มา : http://www.niyommit.org/botanic/ หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8 - 28 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลําต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบใหญ่เป็นรูปไข่ ดอกสีขาวนวลขนาดเล็ก ขึ้นเป็นช่อยาว ไม่มีกลีบดอก ผลเป็นรูปไข่ค่อนข้างแบน เล็กน้อย เมล็ดกินได้รสชาติคล้ายถั่วอัลมอนด์ แก่นไม้ ใช้ทําสีย้อมผ้า การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของหูกวาง  ใบค่อนข้างหนา อุ้มน้ํา มีผิวเคลือบใบหนา ป้องกันการสูญเสียน้ํา  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยาย พื้นที่หาน้ํา  ผลมีกากเหนียวห่อหุ้ม ช่วยให้ลอยน้ําได้ สามารถกระจายไปกับคลื่น
  • 19. 19 3.3.4 เตยทะเล (Seashore Screwpine) ภาพที่ 2 - 13 เตยทะเล ที่มา : http://board.postjung.com/556543.html เตยทะเล เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4 - 8 เมตร แตกกิ่งก้านมากกว่า เตยชนิดอื่น ๆ มีรากค้ําจุนบริเวณโคนต้น ใบยาวออกสีเขียวอมฟ้าเทา ขอบใบ มีหนามแตกเวียนสลับรอบลําต้นเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกผลรวมเป็นรูปกลมรี ดูคล้ายสับปะรดสีแสด ผลกินได้ ใบนําไปสานเสื่อ เปลือกใช้ทําเชือก ดอกมีคุณสมบัติช่วยบํารุงหัวใจและใช้ทํา เครื่องหอม รากส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นทรายใช้ขับปัสสาวะ การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของเตยทะเล  ใบหนาอุ้มน้ํา หนามแข็งตรงปลายและริมขอบใบ ช่วยเก็บน้ําและลดการสูญเสียน้ํา  มีรากค้ําจุน แผ่กว้าง ช่วยยึดและประคองลําต้น  ผลมีกากห่อหุ้ม ลอยน้ําได้
  • 20. 20 3.3.5 กระทิง หรือ สารภีทะเล (Alexandrine Laurel) ก. ดอกกระทิง ข.ผลกระทิง ภาพที่ 2 - 14 กระทิง ที่มา : ภาพ ก. http://mkkrating.blogspot.com/2011/08/blog-post.html ภาพ ข. http://www.school.net.th/library/createweb/10000/ science/10000-4533.html กระทิง เป็นไม้ยืนต้น สูง 8 - 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ลําต้นมียางสีเหลือง ใส ๆ ซึมออกและแห้งติดตามเปลือก ใบมนรูปไข่ ปลายใบมนกว้าง เนื้อใบค่อนข้างหนา ดอก มีสีขาว กลิ่นหอมออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลกลม ผิวเรียบสีเขียว มีพิษ ในเมล็ดจะมีน้ํามันซึ่ง คนสมัยก่อนใช้จุดตะเกียงและใช้ทาถูนวดแก้ปวดข้อ เปลือกใช้แก้คันและสมานแผล ไม้ทําบ้านและ ต่อเรือ ใบสดขยําแช่น้ําใช้ล้างตา ดอกทํายาหอมบํารุงหัวใจ การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของกระทิง  ใบค่อนข้างหนา อุ้มน้ํา มีผิวเคลือบใบหนา ป้องกันการสูญเสียน้ํา  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา
  • 21. 21 3.3.6 สนทะเล (Coastal Sheoak) ก. ใบ ข. ผล ค. ทรงพุ่ม ภาพที่ 2 - 15 สนทะเล ที่มา : ภาพ ก. และ ข. http://th.wikipedia.org/wiki/ ภาพ ค. http://www.biogang.net/biodiversity_view.php? สนทะเล เป็นต้นไม้ใหญ่ลู่ลม มีความสูงได้ตั้งแต่ 10 - 40 เมตร เป็นพืชมีดอกที่ดูคล้าย สน ใบเป็นเส้นฝอย ๆ ผลจะมีลักษณะเป็นหนามแหลมคล้ายทุเรียน เมื่อแก่เต็มที่ ส่วนที่คล้าย หนามจะเปิดอ้าออก ปล่อยเมล็ดที่มีปีกเล็กๆปลิวกระจายออกไป เปลือกใช้ทําสีย้อมผ้า การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของสนทะเล  ลําต้นและใบลู่ลม ลดแรงต้านจากพายุ  ใบมีผิวหนา เรียวยาวเป็นเส้น ช่วยลดการสูญเสียน้ํา  มีเห็ดรากไม้อาศัยอยู่ที่ราก ช่วยย่อยสลายเศษซากพืช เป็นปุ๋ยให้สนทะเลโดยตรง  รากแผ่กว้างไกล ช่วยยึดทรายและขยายพื้นที่รับน้ํา  เมล็ดมีปีกบางเบา ปลิวกระจายไปกับลมได้ไกล
  • 22. 22 3.3.7 จิกทะเลหรือจิกเล (Fish Poison Tree) ก. ดอก ข. ผล ค. ลักษณะต้น ภาพที่ 2 - 16 จิกทะเล หรือ จิกเล ที่มา : ภาพ ก. และ ข. http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php? ภาพ ค. http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Trees/จิกทะเล.html จิกเล เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลําต้นสูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป ใบสีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวปลายชมพู ดอกมี กลิ่นแรงบานในเวลาพลบค่ํา และโรยไปในตอนเช้า ผลขนาดใหญ่คล้ายลูกข่างทรงพีระมิดสี่ด้าน เมล็ดและต้นมีสารซาโปนิน ใช้ทํายาเบื่อปลา ยานอนหลับ การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาดของจิกเล  ผลมีกากเหนียวห่อหุ้ม ช่วยให้ลอยน้ําได้ สามารถกระจายไปกับคลื่น  ใบค่อนข้างหนา อุ้มน้ํา มีผิวเคลือบใบหนา ป้องกันการสูญเสียน้ํา ผิวใบมันวาว ช่วยสะท้อนรังสีจากแดดออกไป  มีรากแผ่กว้าง ช่วยยึดพื้นทรายและขยายพื้นที่หาน้ํา
  • 23. 23 กิจกรรม 2.1 “พรรณไม้ชายหาด”1 คําชี้แจง 1. นักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พืชชายหาด 2. เติมชื่อพรรณไม้ลงในช่องว่างที่ตรงกับประเภทของพรรณไม้ชนิดนั้น ๆ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม้พุ่ม พืชบุกเบิกหน้าหาด 3. พรรณไม้ชายหาดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมชายหาดที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลาได้อย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 1 ที่มา : ดัดแปลงจาก กิจกรรมที่ 15 “พรรณไม้ป่าชายเลน” ในหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้ ธรรมชาติชายฝั่งทะเล จัดทําและเผยแพร่โดยโครงการสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรม แก่สาธารณชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 24. 24 กิจกรรม 2.2 พืชปรับตัวในป่าชายหาด คําชี้แจง 1. สังเกตลักษณะเด่นของพืชชายหาดจากภาพที่กําหนดให้ 2. บอกลักษณะสําคัญที่พืชแต่ละชนิดปรับตัวเพื่อการดํารงชีวิตในป่าชายหาด ต้นชะคราม ต้นเตยทะเล ต้นผักบุ้งทะเล ต้นเสมาดอกชมพู ต้นสนทะเล ต้นผักเบี้ยทะเล
  • 25. 25 ตารางบันทึกลักษณะที่สําคัญของพืช ลักษณะใบ ลักษณะลําต้น ลักษณะราก ลักษณะผล ชื่อพืช ต้นชะคราม ต้นเตยทะเล ต้นผักบุ้งทะเล ต้นเสมาดอกชมพู ต้นสนทะเล ต้นผักเบี้ยทะเล เขียนสรุปว่าพืชป่าชายหาดมีการปรับตัวเพื่อการดํารงชีวิตอย่างไร ................................................................................................................................................................................
  • 26. 26 กิจกรรม 2.3 ทบทวนความรู้กันก่อนจ้ะ คําชี้แจง จงตอบคําถามให้ถูกต้องและได้ใจความลงในสมุดงาน 1. ผู้ผลิตขั้นต้น หมายถึง.........................................เนื่องจาก........................................................... .......... ......................................................................................................................................................... ............ 2. สารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ.............................................................................. 3. การสังเคราะห์ด้วยแสงจะเกิดภายใน......................................................................ในใบพืช 4. สารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ ........................................................................................... 5. สารอาหารที่ทําให้พืชเติบโต คือ ............................................................................................. .......... 6. ผู้บริโภคลําดับที่หนึ่ง หมายถึง.................................................................................................. .......... 7. ผู้บริโภคลําดับที่สอง หมายถึง.............................................................................................. ................ 8. ผู้ผลิตในระบบนิเวศชายหาด ได้แก่.......................................................................................... ........... 9. บริเวณชายหาดไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช เพราะ.................................................... .......... ...................................................................................................................................................... ............. 10. พืชบุกเบิก ทําหน้าที่................................................................................................................ ............. ได้แก่...................................................................................................................................... ................... 11. ไม้พุ่มที่พบตามหน้าหาด ได้แก่........................................................................................... ................... 12. ไม้ยืนต้น ที่พบตามชายทะเล ได้แก่................................................................................. .................. ....................................................................................................................................................... ................... ข้อใดที่ทําไม่ได้หรือไม่เข้าใจ ให้กลับไปทบทวนเนื้อหาอีกครั้ง...อย่าท้อจ้ะ...
  • 27. 27 2.2 สัตว์และการปรับตัวของสัตว์บางชนิด ที่พบในระบบนิเวศชายหาด ..เด็ก ๆ รู้ไหม ในหมู่พื้นที่ชายฝั่งทั้งหมด หาดทราย นับว่าเป็นที่ที่อยู่ยาก....เกือบจะที่สุด ....เอ ถ้าเป็นเช่นนั้น แล้วสัตว์ต่าง ๆ ที่เราพบ เห็นตามชายหาด เค้ามีวิธีปรับตัวกันอย่างไร.. อยากรู้จัง...พี่กบ บอกมาเร็ว ๆ เนื่องจากแนวน้ําขึ้นน้ําลง เป็นพื้นที่แคบ ๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลกับพื้นดิน มีสภาพกึ่งบกกึ่งทะเล ซึ่งจะถูกน้ําทะเลท่วมเวลาน้ําขึ้น และถูกตากแห้งกลางแดด ตอนน้ําลง สลับกันอย่างนี้ทุกวัน ทําให้สัตว์ต่างๆที่อาศัย อยู่ในบริเวณนี้ต้องปรับตัวให้สามารถทนกับสภาพอัน แปรปรวนดังกล่าวได้ ตามพี่กบมาจ้ะเด็ก ๆ พี่กบจะพาไปสํารวจ ชายหาดกัน.....
  • 28. 28 2.2.1 สัตว์ที่พบในระบบนิเวศชายหาด 1. กลุ่มปะการังและดอกไม้ทะเล (Cnidaria : ไนดาเรีย) สัตว์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ดอกไม้ทะเล ปะการัง แมงกะพรุน ปากกาทะเล พรมทะเล ไฮดรอยด์ มักเกาะติดกับหินแข็ง หรืออาศัยบนโครงร่างแข็งของมันเอง เช่น ปะการัง ส่วนดอกไม้ทะเลจะขึ้นโดด ๆ บางชนิดจะ ขุดรูอาศัยใต้พื้นทราย พรมทะเลต่างจากดอกไม้ทะเลตรงที่จะอยู่รวมกันจํานวนมากเป็นกลุ่มใหญ่ และไม่ อยู่ในโครงร่างแข็งเช่นปะการัง กลุ่มนี้ มีลําตัวที่อ่อนนุ่มซึ่งช่วยปกป้องจากการถูก เสียดสีจากตะกอนดิน และหนวดซึ่งมีเข็มพิษ อยู่รอบๆปากด้านบนของลําตัว เพื่อจับสัตว์จําพวกปลา และกุ้ง เป็นอาหาร แมงกะพรุนจะอาศัยตามพื้นทรายที่อ่อนนุ่ม โดยปกติแมงกะพรุนจะล่องลอยในทะเล และจับ แพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร ในเขตต่ํากว่าน้ําลงต่ําสุด จะพบปากกาทะเล อยู่เป็นกลุ่มบนพื้นทราย ลักษณะของหนวด สัตว์กลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายขนนก และมีปากอยู่บนลําตัวที่ฝังอยู่ ใต้พื้นทราย มันกินอาหารโดย การกรองแพลงก์ตอนที่ลอยมาตามกระแสน้ํา ไปดูตัวอย่างสัตว์ในกลุ่มนี้กัน .......ตามพี่กบมาจ้ะ.....
  • 29. 29 ภาพที่ 2 - 17 ดอกไม้ทะเล ที่มา : http://www.savekohsurin.com/ webboard/topic.php?topicid=1723 ภาพที่ 2 - 18 แมงกะพรุน ที่มา : http://math.mercyhurst.edu/ ~thuynh/mis280/bubble/gallery.html ภาพที่ 2 - 19 แมงกะพรุนไฟ ที่มา : http://beginner.worth1000.com/ entries/581721/fire-jellyfish ภาพที่ 2 - 20 ไฮดรอยด์ ที่มา : http://www.oceanwideimages.com/ categories.asp?cID=223
  • 30. 30 การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมชายหาด ก. ข. ค. ภาพที่ 2 - 21 การปรับตัวของสัตว์ในกลุ่ม Cnidaria ที่มา : http://www.sci.psu.ac.th/chm/biodiversity/beach_animal.html ก. ดอกไม้ทะเลจะอาศัยในท่อที่ฝังตัวในพื้นทราย จะโผล่เฉพาะหนวดขึ้นมาเหนือพื้นทราย คอยจับกุ้งขนาดเล็ก ปลา หมึก และปูเป็นอาหาร ข. ปากกาทะเลจะพบมากเฉพาะบริเวณเขตต่ํากว่าระดับน้ําลงต่ําสุด พวกนี้จะกินแพลงก์ตอน ที่ ลอยมากับกระแสน้ํา โดยใน 1 colony จะอยู่หลาย polyps ค. ในเขตน้ําตื้นที่มีน้ําขึ้นลง จะพบพวกแมงกะพรุน จะใช้หนวดกรองสารอินทรีย์ในตะกอน ทราย และแพลงก์ตอนขนาดเล็กที่มากับน้ําทะเล ไนดาเรีย เป็นพวกที่โดยทั่วไปจะไม่พบตามพื้นทรายบริเวณเขตน้ําขึ้นน้ําลง
  • 31. 31 กิจกรรมที่ 2.4 ทบสอบความรู้ความเข้าใจกันหน่อยจ้ะ คําชี้แจง จงตอบคําถามให้ได้ใจความสมบูรณ์ลงในสมุดงาน 1. สัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม ไนดาเรีย ได้แก่............................................................................................. .................. 2. ลักษณะสําคัญของสัตว์ในกลุ่มนี้ คือ ......................................................................................... ............ ....................................................................................................................................................... ....................... 3. อาหารของสัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่.................................................................................................... ............. 2. กลุ่มไส้เดือนทะเล (Annelida : แอนเนลิดา) ลักษณะของกลุ่มนี้คือ ลําตัวเป็นปล้อง มีรยางค์ข้างตัว มักฝังตัวอยู่ในเลน ทราย บางชนิด ขุดรูอยู่ บางชนิดอาศัยอยู่ในท่อที่สร้างขึ้นจากเมือก ทราย กรวด และเปลือกหอย บางชนิดอาศัย เป็นอิสระบนพื้นดิน มันกินซากพืชซากสัตว์ตามพื้นเป็นอาหาร บางชนิดกินสาหร่าย บางชนิดกิน สัตว์ขนาดเล็ก บางชนิดกินอาหารที่แขวนลอยในน้ําโดยใช้หนวดยาว ๆ จับเหยื่อ หายใจผ่านเหงือก ไส้เดือนทะเลบางชนิดฝังตัวอาศัยอยู่ในดินไม่เคลื่อนย้ายไปไหนเลยตลอดชีวิต .....ไปดูตัวอย่างสัตว์กลุ่มนี้กันจ้ะ..
  • 32. 32 2.1 แม่เพรียง มีขนาด 30 – 150 เซนติเมตร ลําตัวแบนยาว เป็นปล้อง ๆ จํานวนมาก ในเวลาน้ําขึ้นจะใช้รยางค์ว่ายน้ํา พอน้ําลงจะมุดอยู่ในรู ใช้หนวดดักจับอาหาร ส่วนหัวมี หนวดใช้สัมผัสเป็นคู่ และมีเขี้ยว กินสัตว์ขนาดเล็ก ด้านหัว ท้ายมีลักษณะเรียว พบบริเวณแนวน้ําลงต่ําสุด ภาพที่ 2 – 21 แม่เพรียง - วงศ์ EUNICIDAE ที่มา : http://calphotos.berkeley.edu/cgi/img_query? enlarge=4444+4444+1009+0415 2.2 ไส้เดือนเปลือย มีขนาด 10 – 15 เซนติเมตร คล้ายไส้เดือนแต่มีรยางค์ขนาดเล็กจํานวน มากตลอดลําตัว มีสีแดง บางชนิดสีเขียว ก. พบได้ทั่วไปทุกประเภทหาด ข. ภาพที่ 2 – 22 ก. วงศ์ ORBINIIDAE ข. วงศ์ NEREIDIDAE ที่มา : ภาพ ก. http://calphotos.berkeley.edu/cgi/img_query?enlarge =4444+4444+0910+0254 ภาพ ข. http://www.roboastra.com/hastworm/hpwo289.htm
  • 33. 33 2.3 บุ้งทะเล (Bristle Worm) มีขนาด 5 – 10 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายหนอนบุ้ง มีปล้องประมาณ 30 ปล้อง หัวท้ายเรียว ตัวสีน้ําตาลแดงเป็นลายตามยาวและมีเส้นกลางหลังสีน้ําเงิน อาศัยตามพื้นเลน กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร ...อันตราย !! หากสัมผัสขนของมันจะทาให้ ติดผิวหนังและเกิดอาการคัน ภาพที่ 2 – 23 บุ้งทะเล ที่มา : http://www.thereeftank.com/blog/what-to-do-with-bristle-worms/ 2.4 ไส้เดือนปลอกเรียบ อยู่ในวงศ์ SABELLIDAE มีขนาด 10 – 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในรังที่มี ลักษณะคล้ายหลอดสีขาวขุ่นปนเทา กรอง กินตะกอนจากน้ําทะเล พบตามหาดทราย และหาดทรายปนเลนในแนวน้ําขึ้นน้ําลง ภาพที่ 2 – 24 ไส้เดือนปลอกเรียบ ที่มา : http://www.stroembergiensis.se/source/sabell_3sab_oct.html
  • 34. 34 2.5 หนอนท่อ (Keelworm) อยู่ในวงศ์ SERPULIDAE มีขนาดความยาวท่อ 5 – 8 เซนติเมตร อาศัยอยู่ ในท่อหินปูนแข็งที่ติดตามก้อนหิน ท่อมีสีขาวขุ่น หรือ สีน้ําตาล กรองกินตะกอน จากน้ําทะเล พบตามก้อนหินทุกประเภทหาดในแนวน้ําขึ้นน้ําลง ก. ท่อของหนอนท่อ ข. หนอนท่อ ภาพที่ 2 – 25 หนอนท่อ ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/หนอนท่อ 3. หนอนตัวแบน (Polyclad Flatworms) อยู่ในกลุ่ม Turbellaria ลักษณะลําตัวแบนเป็นแผ่นบาง ไม่เป็นปล้อง ดูคล้ายใบไม้ มีหลากสี บางตัวมีสีสดใส หรือมีหลายสีในตัวเดียวกัน บางชนิด มีตาเป็นจุดขนาดเล็กอยู่ส่วนหัวหรือด้านข้างลําตัว ตัวยาว 1 – 10 เซนติเมตร เป็นสัตว์ผู้ล่า ใช้ปากที่อยู่ใต้ลําตัวกินสัตว์ขนาดเล็กประเภทปู กุ้ง และไส้เดือน บางชนิดกินซากพืชซากสัตว์ เคลื่อนที่ด้วยการขับเมือกออกจากตัว และใช้ขน ขนาดเล็กบนตัวเคลื่อนที่ไปบนเมือก บางชนิดว่ายน้ําได้ด้วยการขยับตัวเป็น คลื่น หายใจผ่านผิวหนัง
  • 35. 35 มาดูตัวอย่างหนอนตัวแบนกันจ้ะ ภาพที่ 2 – 26 หนอนตัวแบน ที่มา : http://animania-daily.livejournal.com/2690.html 4. หนอนริบบิ้น (Ribbon Worm) ลําตัวเป็นแผ่นบางยาวไม่เป็นปล้อง ดูคล้ายริบบิ้น อาจยาวได้ถึง 140 เซนติเมตร มีเมือกตามลําตัว ยืดหดตัวได้มาก มีหลายสี เช่น แดง เหลือง น้ําตาล และลายสลับ เป็นสัตว์นักล่าที่ออกหาอาหารตลอดเวลา กินสัตว์ขนาดเล็กประเภทไส้เดือน กุ้ง ปู เป็นอาหาร เคลื่อนที่ด้วยการขับเมือกออกจากตัว สามารถใช้งวงขุดลงดินเพื่อหลบหนีศัตรู ได้ พบได้ทั่วไปทุกประเภทหาดในแนวน้ําขึ้นน้ําลง ตามกระจุกรังหอยแมลงภู่ ในแนว ปะการังและแหล่งหญ้าทะเล ภาพที่ 2 – 27 หนอนริบบิ้น ที่มา : http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?
  • 36. 36 5. หนอนถั่ว (Peanut Worms) อยู่ในไฟลัม Sipuncula ลักษณะลําตัวกลมยาวไม่มีขา ผิวไม่เรียบ เป็นร่อง สันทั่วตัวคล้ายเปลือกถั่วลิสง ปลายสองด้านไม่เท่ากัน ด้านหนึ่งเรียวยาว สามารถยืด หดได้ มีขนาดประมาณ 2 – 8 เซนติเมตร หนอนถั่ว มักจะฝังตัวอยูในทราย กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร โดย ่ ยืดงวงออกมาบนผิวทราย แล้วหนวดเล็ก ๆ ทีอยูรอบปาก ่ ่ โบกอาหารเข้าปาก หายใจผ่านผิวหนัง พบได้บริเวณทราย ปนเลน และตามซากเปลือกหอย ในแนวน้าลงต่าสุด ํ ํ ภาพที่ 2 - 28 หนอนถั่ว ที่มา : http://www.tamug.edu/schulze/ 6. หอยปากเป็ด/หอยราก (Tongue Shell) อยู่ในไฟลัม Brachiopoda ลักษณะเปลือกสีเขียวปนน้ําตาล 2 ชิ้นประกบ กันคล้ายหอยแมลงภู่ ขอบเปลือกมีขนเรียงเป็นแนวรอบ มีเอ็นยาวคล้ายหาง (ราก) โผล่ออกมาจากปลายเปลือกด้านแหลม ขนาดยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร (ไม่รวมหาง) หอยปากเป็ดเป็นสัตว์โบราณคล้าย หอยสองฝา แต่ไม่จดอยูในกลุมหอย ฝังตัวอาศัยอยู่ ั ่ ่ ในทรายเลนโดยใช้เอ็นทีคล้ายรากหยังลงในทราย ่ ่ เมื่อถูกรบกวนจะหดตัวมุดลงไปในทรายอย่างรวดเร็ว กินอาหารโดยการกรองเอาแพลงก์ตอนและตะกอน ทีละลายในน้า หายใจผ่านผิวบาง ่ ํ ภาพที่ 2 – 29 หอยปากเป็ด/หอยราก ที่มา : http://www.123rf.com/photo_13532811_lingula-unguis-isolated-on- white-background.html
  • 37. 37 กิจกรรมที่ 2.5 ฉันคือใคร.... คําชี้แจง โยงข้อความทางซ้ายมือที่สอดคล้องกับภาพทางขวามือเข้าด้วยกัน ลําตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดจํานวนมากซึ่งมีเข็มพิษ ไม่ A. 1. เคลื่อนที่ เกาะติดกับพื้นผิวหรือฝังตัวในทราย 2. ตัวเหมือนดอกไม้จิ๋ว อาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูน B. เป็นกลุ่ม 3. ตัวแบนเป็นแผ่นบาง ไม่เป็นปล้อง คล้ายใบไม้ C. มีหลากสี บางตัวกินซาก บางตัวเป็นผู้ล่า ลําตัวบางยาวไม่เป็นปล้อง คล้ายริบบิ้นเป็นสัตว์ 4. D. นักล่า 5. คล้ายหนอนบุ้ง ตัวเป็นปล้องมีขนทําให้คัน E. อาศัยในท่อหินปูนแข็งที่ติดตามก้อนหิน 6. กรองกินตะกอนจากน้ําทะเล ตัวกลมยาว ไม่มีขา ผิวตัวเหมือนเปลือกถั่วลิสง F. 7. ฝังตัวในทราย ยืดหดตัวได้ มีเปลือกประกบกันคล้ายหอยแมลงภู่ แต่ไม่ใช่ G. 8. หอย มีเอ็นยื่นยาวคล้ายหางอาศัยในทรายเลน H. 9. ชื่อสัตว์ทั้ง 8 ชนิดคือ.........................................................
  • 38. 38 7. กลุ่มหอยและหมึก (ไฟลัม Mollusca) กลุ่มนี้จะมีร่างกายอ่อนนุ่ม บางชนิดอาศัยอยู่ภายใน เปลือกแข็ง แต่บางชนิดก็ไม่มีเปลือกหุ้มตัว เคลื่อนที่โดยใช้ กล้ามเนื้อคืบคลาน ขุด หรือ ว่ายน้ํา สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ หมึกสาย หมึกทะเลหอยสองฝา หอยฝาเดียว ทากเปลือย และลิ่นทะเล พี่กบจะพาเด็ก ๆ ไปดูตัวอย่างสัตว์ในกลุ่ม นี้กัน....ตามพี่กบมาจ้ะ... 7.1 หมึกสาย/หมึกวาย (Octopuses) ลักษณะเด่น คือ ตัวกลมคล้ายถุง ตาดํามีขนาดใหญ่ บริเวณใกล้ตามีท่อพ่นน้ําอยู่ทั้ง สองด้าน มีหนวดยาว 8 เส้น แผ่เป็นรัศมีรอบตัว ใต้หนวดมีปุ่มดูดจับจํานวนมากสําหรับ ยึดเกาะและจับอาหาร ขนาดยาวประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับ หอยและทาก แต่ไม่มีเปลือกแข็ง หายใจผ่านเหงือกที่อยู่ภายในลําตัว เป็นนักล่าในท้องทะเล เคลื่อนที่ด้วยหนวดที่แผ่ไปรอบตัว คืบคลานไปตาม พื้นทะเลเพื่อล่าปูและหอยเป็นอาหาร สามารถพราง ตัวได้ เมื่อมีภัยจะพ่นน้ําหมึกสีดําออกมาเพื่อป้องกัน ตัว ว่ายน้ําด้วยการดูดน้ําผ่านช่องลําตัวและพ่นออก ทางท่อข้างตา ปากเป็นจะงอยแข็ง ภาพที่ 2 – 30 หมึกสาย/หมึกวาย ที่มา : http://a-z-animals.com/animals/octopus/
  • 39. 39 7.2 หมึกทะเล (Squids) ลักษณะลําตัวอ่อนนุ่มทรงกระบอก ข้างลําตัวมีครีบ ส่วนหัวมีหนวด 10 เส้น ลักษณะเป็นปุ่มดูด มีหนวด 2 เส้นยาวกว่าเส้นอื่น ปลายหนวดเป็นแผ่นแบนใช้สําหรับ จับเหยื่อ ขนาดยาวประมาณ 10 – 30 เซนติเมตร เป็นสัตว์สายพันธุ์เดียวกับหอยแต่ ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว ภายในลําตัวมีแกนใส แต่บางชนิดเป็นแผ่นแข็งเรียกว่ากระดอง หายใจผ่านเหงือกภายในลําตัว ทรงตัวด้วยครีบข้างลําตัว สามรถพุ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว ด้วยท่อพ่นน้ําที่อยู่ใต้หัว มักอยู่รวมกันเป็นฝูง กินปลา กุ้ง และสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ เป็นอาหาร ป้องกันตัวด้วยการปล่อยหมึกสีดําออกจากตัว ก. หมึกกล้วย ข. หมึกหอม ภาพที่ 2 – 31 หมึกทะเล ที่มา : ภาพ ก. http://www.squid-world.com/ ภาพ ข. http://www.oceanwideimages.com/categories.asp?cID=108&p=1 7.3 หอยสองฝา (Clams) เป็นสัตว์ในกลุ่ม Bivalvia ลักษณะเด่นของสัตว์กลุ่มนี้ คือ เปลือกหอยเป็นฝาสองฝาขนาดเท่ากัน มีบานพับ อ้าและปิดได้ ฝังตัวอยู่ตามทรายและโคลน บางชนิดเกาะติดกับโขดหินหรือวัสดุแข็ง หอย สองฝาพบทั่วไปตามหาดประเภทต่างๆ พวกที่ฝังตัวสามารถใช้กล้ามเนื้อภายในเปลือก สําหรับเคลื่อนที่และมุดลงในทรายหรือเลนได้ หายใจด้วยเหงือกและกรองกินตะกอนที่ลอย ในน้ําด้วยการดูดน้ําผ่านท่อที่อยู่ภายในลําตัว ตัวอย่างหอยสองฝาที่พบได้ทั่วไป
  • 40. 40 ภาพที่ 2 – 31 หอยแมลงภู่ ที่มา : http://fl.biology.usgs.gov/pics/ nonindig_green_mussel/nonindig_green_mu ssel/nonindig_green_mussel_1.html ภาพที่ 2 – 32 หอยกะพง ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog. php?id=narellan&month=21-10- 2011&group =18&gblog=9 ภาพที่ 2 – 33 หอยขวาน ที่มา : http://www.flickr.com/photos/ wildsingapore/7601577950/ ภาพที่ 2 – 34 หอยเฉลียบ ที่มา : http://www.flickr.com/photos/ wildsingapore/5194226415/ ภาพที่ 2 – 35 หอยจอบ/หอยซองพลู ที่มา : http://www.oknation.net/blog/ anontaseeha/2012/06/19/entry-1
  • 41. 41 ภาพที่ 2 – 36 หอยแครง ที่มา : http://thaiseafoodbylek.blogspot. com/ 2010/02/thai-seafood-make- from-shell-1.html ภาพที่ 2 – 37 หอยคราง ที่มา : http://www.xn-b3c4bjh8ap9auf5i.th/ jobs- make-earning-1094 ภาพที่ 2 – 38 หอยนางรม ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/ posts/375286 ภาพที่ 2 – 39 หอยเสียบ ที่มา : http://www.oknation.net/blog/ print.php?id=251145 ภาพที่ 2 – 40 หอยทราย ที่มา : http://www.topseashells.com/seashell /VENERIDAE/PAPHIA/GALLUS/TS83465 ภาพที่ 2 – 41 หอยหูหมู ที่มา : http://www.flickr.com/photos/ 29287337@N02/7444625676/
  • 42. 42 ภาพที่ 2 – 42 หอยกาบน้ําเค็ม ที่มา : http://www.conchology.be/?t =33&family=GLAUCONOMIDAE ภาพที่ 2 – 43 หอยกระปุก/หอยตลับ ที่มา : http://www.yhshells.com/goods. php?id=5072 ภาพที่ 2 – 44 หอยฝาอ้า ที่มา : http://www.flmnh.ufl.edu/reefs/ guamimg/bivalvia/Pages/Image12.html ภาพที่ 2 – 45 หอยหลอด ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog. php?id=chim&date=30-07-2010 &group=2&gblog=282 หอยสองฝาที่อาศัยอยู่ตามหาดต่าง ๆ ยังมีอีกหลายชนิด ซึ่งเด็ก ๆ สามารถ ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือชุด นักสืบชายหาด ของมูลนิธิโลกสีเขียว
  • 43. 43 7.4 หอยฝาเดียว (Snails) เป็นสัตว์ในกลุ่ม Gastropoda ลักษณะเด่นของสัตว์กลุ่มนี้ คือ มีเปลือกแข็งเพียงชิ้นเดียวห่อหุ้มลําตัว มีรูปร่าง หลากหลาย ทั้งลักษณะเป็นเกลียว รูปกรวยคว่ํา หรือแบน หลายชนิดมีฝาปิดใต้เปลือก หายใจเอาอากาศผ่านเหงือกที่อยู่ในช่องว่างใต้เปลือกและผ่านผิวบางโดยตรง เป็นสัตว์กลุ่มใหญ่สามารถพบในหาดทุกประเภทและในป่าชายเลน ทั้งในแนว น้ําขึ้นน้ําลงและในทะเลลึก การกินอาหารมีทั้งกินสาหร่ายและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก กินเศษ ซากพืชซากสัตว์ กินอาหารด้วยการกรองตะกอนจากน้ํา บางชนิดล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร หอยฝาเดียวสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี ตามมาเร็ว.....พี่กบจะพาไปสํารวจ หอยฝาเดียวที่ชายหาด..... หอยขี้นก หอยถั่วเขียว หอยน้ําพริก ภาพที่ 2 – 46 หอยฝาเดียวบางชนิด
  • 44. 44 ที่มา : http://www.afcd.gov.hk/english/conservation/hkbiodiversity/ speciesgroup/speciesgroup_mangrove.html ภาพที่ 2 – 47 หอยขี้ตา ที่มา : http://www.flickr.com/photos/ wildsingapore/7913718136/ ภาพที่ 2 – 48 หอยนมจิ๋ว ที่มา : http://www.gastropods.com/3/ Shell_12283.shtml ภาพที่ 2 – 49 หอยหมวกเจ๊ก ที่มา : http://www.poppeimages.com/ ?t= 17&photoid=925792 ภาพที่ 2 – 50 หอยสังข์หนาม ที่มา : http://wildfilms.blogspot.com/ 2008/08/special-snails-and- strange-worms-on.html ภาพที่ 2 – 51 หอยมะระ ที่มา : http://www.technicchan.ac.th/ ?name=article&file=read_ article&id=141
  • 45. 45 ภาพที่ 2 – 52 หอยตาวัว ที่มา : http://www.oknation.net/ blog/print.php?id=275434 ภาพที่ 2 – 53 หอยไส้ไก่ ที่มา : http://www.oknation.net/blog/ print.php?id=275434 ภาพที่ 2 – 54 หอยทับทิม ที่มา : http://www.nbrchannel.com/ frontend/index_thai.php ภาพที่ 2 – 55 หอยเบี้ย ที่มา : http://www.siamscubadiving.com/ content/view.php?id=4&cat=salt ภาพที่ 2 – 56 หอยจุ๊บแจง ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary. php?id=plaipanpim&month=062012 &date=09&group =1&gblog=320
  • 46. 46 หอยนักล่า...! เด็ก ๆ รู้ไหม..มีหอยที่ล่าหอย ชนิดอื่นเป็นอาหารด้วย.. หอยวงเดือน (Moon Snail) มีขนาด 2 – 4 เซนติเมตร เปลือกมันเรียบรูปทรงออกกลมสีขาว บางชนิดมีลายจุดสี น้ําตาลทั่วเปลือก บางชนิดสีออกม่วง มีตีนหอยขนาดใหญ่มาก ใช้เดินมุดใต้ผิวทรายเพื่อล่าหอย ชนิดอื่นกิน เมื่อเจอเหยื่อมันจะใช้ฟันที่มีลักษณะคล้ายใบเลื่อยเจาะทุละเปลือกหอยของเหยื่อเป็นรู กลม ๆ แล้วปล่อยน้ําย่อยเข้าไปสังหารเหยื่อ หอยวงเดือนพบได้ตามหาดทราย หาดทรายปนเลน และหาดเลน ก. หอยวงเดือน ข. รังไข่หอยวงเดือน ภาพที่ 2 – 57 หอยวงเดือน ที่มา : http://rmbr.nus.edu.sg/dna/organisms/hdetails/77/3 ก. ข. ภาพที่ 2 – 58 ก.ตีนหอยวงเดือน ข. รูที่หอยวงเดือนเจาะลงบนเปลือกหอย ที่มา : ภาพ ก. http://www.poppe-images.com/?t=11&catid=10&p=130 ภาพ ข. http://www.oknation.net/blog/dreamline/2009/06/14/entry-1
  • 47. 47 เรียนรู้เพื่ออยู่รอด...! หอยเต้าปูนลายผ้า (Conus textile) กําลังกินหอยครองแครง (Marginella sp.) กลุ่มหอยเต้าปูนเป็นหอยฝาเดียวที่มีวิวัฒนาการสูงสุด หลายชนิดมีพิษที่รุนแรงและเป็น อันตรายต่อมนุษย์ถึงชีวิต หนึ่งในหอยเต้าปูนที่มีอันตรายและสามารถพบได้ในทะเลบ้านเรา ก็คือหอยเต้าปูนลายผ้า หอยเต้าปูนชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตั้งแต่เขต ชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 50 เมตร เปลือกหอยมีลวดลายสวยงามสะดุดตา สีพื้นมีตั้งแต่ สีขาว,เหลือง,น้ําตาล มีลายเป็นเส้นสานกันคล้ายตาข่าย มักพบแถบสีเข้ม 2 – 3 แถบพาด ขวางบนเปลือก โดยปกติตอนกลางวันหอยเต้าปูนลายผ้าจะหลบฝังตัวอยู่ใต้พื้นทราย โดยโผล่ เฉพาะส่วนของท่อน้ําที่มีปลายสีแดงสดขึ้นมาเหนือทรายเพื่อหายใจ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะออกล่าหอยฝาเดียวรวมทั้งหอยเต้าปูนชนิดอื่นเป็นอาหาร ตัวหอยมีการพัฒนาระบบฟัน ให้มีลักษณะแหลมคล้ายเข็มฉีดยามีรูกลวงตรงกลาง เมื่อหอยล่าเหยื่อหรือป้องกันตัวจะแทงฟัน นี้เข้าสู่ตัวเหยื่อ จากนั้นจึงจะฉีดพิษซึ่งมีสีขาวคล้ายควันบุหรี่ผ่านท่อกลวงของฟันเข้าสู่ตัวเหยื่อ พิษหอยเต้าปูนเป็นพิษที่มีผลต่อระบบประสาททําให้เหยื่อเป็นอัมพาต หอยจะกลืนเหยื่อเข้าไป ทั้งตัว ในกรณีของมนุษย์ถ้าได้รับพิษจะทําให้แขนขาหมดความรู้สึก กระบังลมหยุดทํางาน หายใจติดขัดและหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต ฟันของหอยเต้าปูนสามารถแทงทะลุผ่านชุด wet suitได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง แม้เป็นหอยที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนักแต่ก็มีโอกาสเจอตามกองหิน และแนวปะการัง ปัจจุบันยังไม่มีเซรุ่มเฉพาะที่ใช้ในการรักษา แต่แพทย์อาจใช้เซรุ่มแก้พิษงูมาใช้ ทดแทนได้เพราะการทํางานของพิษคล้ายคลึงกัน หอยเต้าปูนบางชนิดมีพิษที่มีความรุนแรง พอๆกับพิษงูเลยทีเดียว ที่มา : http://www.siamscubadiving.com/board/view.php?tid=1264
  • 48. 48 บทความ เรื่อง หาดทรายเปลือกหอยที่หาดเจ้าหลาว-แหลมเสด็จ จันทบุรี http://www.oknation.net/blog/dreamline/2009/06/14/entry-1 บทความ เรื่อง 10 อันดับสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก http://mystdock.blogspot.com/2011/05/10.html 7.5 ทากเปลือย (Sea Slugs) จัดอยู่ในกลุ่มหอยฝาเดียว แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว กินสาหร่ายและเศษซากเป็นอาหาร บางชนิดกินฟองน้ํา ดอกไม้ทะเลและสัตว์อื่น รวมทั้งกินทากขนาดเล็กเป็นอาหาร ตัวอย่างของสัตว์ ในกลุ่มนี้ เช่น ทากปุ่มหิน สามารถพบตามโขดหิน หาดทรายปนเลน และหาดเลน ส่วนทากลายจุด พบตามหาดหินในแนวน้ําลงต่ําสุด เป็นต้น ก. ทากปุ่มหิน ข. ทากลายจุด ภาพที่ 2 – 59 ก. ทากปุ่มหิน,ทากลายจุด ที่มา : ภาพ ก. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=275434 ภาพ ข. http://ouredenblue.blogspot.com/