SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
1
บทที่ 1 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก
ในบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเนื้อหาทั้งหมดด้วยกัน 5 หัวข้อคือ
1.1 เนื้อเยื่อของพืช
1.2 โครงสร้างและหน้าที่ของราก
1.3 โครงสร้างและหน้าที่ของลาต้น
1.4 โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
1.5 การเจริญเติบโตของรากและลาต้น
ซึ่งเนื้อหาในแต่ละหัวข้อจะอธิบายตามลาดับดังนี้
เนื้อเยื่อของพืช (plant tissue)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยเซลล์(cell) หลายๆเซลล์มารวมกลุ่มทางานร่วมกัน กลุ่ม
ของเซลล์ที่มาทางานร่วมกันนี้เราเรียกว่า เนื้อเยื่อ (tissue)จากการศึกษาพบว่าเนื้อเยื่อพืชแบ่งเป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ ตามความสามารถในการแบ่งตัวได้แก่
1.เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissues) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวแบบไมโทซีส
(mitosis) อยู่ตลอดเวลา
2.เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissues) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่ในสภาพปกติไม่มีการแบ่งตัว โดย
เซลล์เหล่านี้เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญอีกทีหนึ่ง รายละเอียดของเนื้อเยื่อแต่ละชนิดมีดังนี้
เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissues)
หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวแบบไมโทซีส(mitosis) อยู่ตลอดเวลาและเป็นเซลล์
ที่มีลักษณะดังนี้
1. มีขนาดเล็ก ภายในเซลล์มีไซโทพลาสซึม (cytoplasm)ข้น และมีนิวเคลียสใหญ่อยู่กลางเซลล์
2. มีผนังบาง
3. มีแวคิวโอล (vacuole)ขนาดเล็กหรือไม่มีเลย
4. เซลล์มีรูปร่างได้หลายแบบแต่ส่วนมากค่อนข้างกลมหรือเหลี่ยม
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
2
5. เซลล์แต่ละชนิดอยู่ชิดติดกันมาก ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space)
เนื้อเยื่อเจริญสามารถจาแนกตามตาแหน่งที่พบในส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
☺ เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem)
คือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายยอด (shoot tip ) หรือปลายราก (root tip) ของพืช เมื่อมีการแบ่งตัว
เพิ่มจานวนเซลล์จะทาให้รากและลาต้นยืดยาวออก
รูปที่ 1 เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด
(http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/M/meristem.gif)
☺ เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem)
คือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณเหนือข้อ หรือโคนของปล้องในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น อ้อย ไผ่ ข้าวโพด
หรือหญ้า เป็นต้น เมื่อมีการแบ่งตัวจะช่วยให้ปล้องยาวขึ้น
รูปที่ 2 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ
(http://www.botany.hawaii.edu/faculty/webb/BOT201/EQUISETU/IntercNodeHueLab.jpg )
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
3
นอกจากนี้ intercalary meristem ยังพบตามก้านช่อดอกของพืชบางชนิด เช่น พวกว่านสี่ทิศ
ดอกพลับพลึง ซึ่งเป็นก้านช่อดอกที่แทงขึ้นมาจากดินโดยตรง
☺เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem หรือ axillary meristem)
คือเนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวออกด้านข้างของลาต้นหรือราก เมื่อแบ่งตัวแล้วจะทาให้ลาต้น ราก
ขยายขนาดออกทางด้านข้างหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น บางคนอาจเรียกเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างนี้อีกอย่างว่า
แคมเบียม (cambium) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. vascular cambium เป็น Cambium ที่เกิดขึ้นในกลุ่มท่อลาเลียง
รูปที่ 3 vascular cambium ของลาต้นหมอน้อย (ตัถย์และคณะ, 2546)
2. cork cambium เป็น Cambium ที่เกิดในชั้น cortex หรือชั้น stele เพื่อสร้างชั้น
cork และ phlloderm
รูปที่ 4 cork cambium ของลาต้นแก้ว (ทิพย์อาภาและรรินธร, 2546)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
4
เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissues)
หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่ในสภาพปกติไม่มีการแบ่งตัว โดยเซลล์เหล่านี้เจริญเปลี่ยนแปลงมา
จากเนื้อเยื่อเจริญอีกทีหนึ่ง แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissues)
หมายถึงเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกัน มารวมกันเพื่อทาหน้าที่อย่างเดียวกัน
แบ่งออกได้หลายชนิดตามตาแหน่งที่อยู่หรือตามหน้าที่และส่วนประกอบภายในเซลล์ ได้แก่ epidermis
parenchyma collenchyma sclerenchyma endodermis และ cork โดยมีรายละเอียดแต่ละเนื้อเยื่อ
ดังนี้
epidermis
เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่มีลักษณะ
1. อยู่ชั้นนอกสุดของส่วนต่าง ๆของพืชในระยะการเจริญขั้นแรก(primary growth)
2. มีกาเนิดมาจากชั้น protoderm ของ primary meristem
3. มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายในของพืชทั้งราก ลาต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด
แต่พืชที่มีการเจริญขั้นที่สอง (secondary growth) เนื้อเยื่อ epidermis จะสลายไป เพราะมีชั้นของ cork ที่
เกิดขึ้นใต้epidermis เจริญดันออกมา
4. เซลล์ของ epidermis เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าส่วนมากเรียงอยู่ชั้นเดียว แต่พืชบางชนิดอาจมี
หลายชั้นเรียกว่า multiple epidermis เช่นในรากกล้วยไม้เรียก multiple epidermis นี้ว่า velamen
5. ผิวด้านนอกของเซลล์ epidermis มีสารขี้ผึ้งพวกคิวติน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อช่วยป้องกัน
การระเหยของน้า ชั้นของคิวตินนี้เรียกว่า คิวติเคิล (cuticle)
6. เซลล์ของ epidermis แต่ละเซลล์เรียกว่า epidermal cell
7. epidermal cell บางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทาหน้าที่เฉพาะอย่างเช่น
1.) เปลี่ยนเป็น Trichome คือส่วน ของ epidermis ที่ยื่นออกมาเช่น ขนราก (root hair)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
5
2.) เปลี่ยนเป็นปากใบ (stomata)
ปากใบ (stomata) ในการเรียนวิชา ชว 103 (ชีววิทยา 3 ) เพื่อให้เข้าใจตรงกันเป็นปากใบที่เกิด
จากเซลล์ของ epidermis 2 เซลล์ เปลี่ยนรูปร่างไป มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วที่หันด้านเว้าเข้าประกบกัน
ตรงกลางเกิดเป็นช่องหรือรูเปิด (pore) เซลล์ทั้งสองนี้เรียกว่า เซลล์คุม (guard cell) และเรียกรวมทั้ง
เซลล์คุมและรูเปิดนี้ว่า ปากใบ (stomata)
Parenchyma
เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่มีลักษณะสาคัญที่ควรรู้ดังนี้
1. ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตพบได้แทบทุกส่วนของอวัยวะพืชในชั้น cortex หรือชั้น pith ของ
ลาต้นและราก ถือได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อที่พบมากที่สุดในพืช
2. มีกาเนิดมาจาก ground meristem แต่ parenchyma ที่อยู่ในกลุ่มท่อลาเลียงเจริญมาจาก
procambium
3. เซลล์ของ parenchyma รูปร่างหลายแบบ บางเซลล์ค่อนข้างกลม รี ทรงกระบอกหรือเป็น
เหลี่ยม เมื่อเซลล์มาเรียงชิดติดกันจึงทาให้มีช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space) เกิดขึ้นตาม
มุมที่เซลล์แตะกัน ซึ่ง intercellular space เป็นลักษณะเฉพาะของ parenchyma
รูปที่ 6 parenchyma ของลำต้นว่านกาบหอย
4. parenchyma มีรูปร่างได้หลายแบบแตกต่างกันไปตามตาแหน่งที่อยู่และหน้าที่พิเศษ เช่น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
6
ในพืชน้าบางชนิด parenchyma มีช่องว่างระหว่างเซลล์ใหญ่ทาให้เกิดช่องว่างที่เรียกว่า air space ช่วย
สะสมอากาศจึงเรียก parenchyma ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า aerenchyma
รูปที่ 7 aerenchyma ของใบอะเมซอนใบมน (ปริยาและวิชญ์มล, 2546)
บางเซลล์ของ parenchyma ภายในมีเม็ดคลอโรพาสต์ (chloroplast)เรียก parenchyma ชนิดนี้ว่า
chlorenchyma
รูปที่ 8 chlorenchyma ของลาต้นหมอน้อย (ตัถย์และคณะ, 2546)
5. หน้าที่ของ parenchyma มีดังนี้
1. สะสมอาหาร เช่นสะสมแป้ง เราเรียกเม็ดแป้งที่สะสมอยู่ใน parenchyma ว่า amyloplast หรือ
starch grain เม็ดแป้งมีรูปร่างกลมหรือ รี มีชั้น lamella ลักษณะเป็นวง ๆ คล้ายลายนิ้วมือและมีจุด
ศูนย์กลางของชั้น เรียกว่า hilum
2. สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเฉพาะ chlorenchyma
3. ช่วยในการลาเลียง เช่น xylem ray และ phloem ray
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
7
4.
รูปที่ 9 starch grain ใน parenchyma ของลำต้นว่านกาบหอย
Collenchyma
เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เจริญมาจาก ground meristem ประกอบด้วยเซลล์ ์์ที่มีชีวิตและผนัง
เซลล์หนามากตามมุมของเซลล์ ผนังที่หนาตามมุมและไม่สม่าเสมอกันนี้เป็นการเพิ่มความยึดหยุ่นให้แก่
เซลล์ สารที่มาฉาบที่ผนังเป็นสารประกอบพวกเซลลูโลสและเพคติน ผนังเซลล์ที่หนาไม่เท่ากัน
นอกจากจะเพิ่มความยึดหยุ่นแล้วยังทาให้รูปร่างของ collenchyma แตกต่างกันไป สามารถแบ่งออกได้
หลายชนิดตามรูปร่างดังนี้
- Angular collenchyma เป็น collenchyma ที่มีการฉาบของผนังเซลล์หนาตามมุม
เซลล์มากกว่าส่วนอื่น
- Lamellar collenchyma เป็น collenchyma ที่มีสารมาฉาบผนังเซลล์ด้านชิดกับ
epidermis และด้านตรงข้ามหนามาก เมื่อดูจากการตัดตามขวางจะเห็นช่องตรง
กลางเซลล์คล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- Annular collenchyma มีสารที่ฉาบผนังเซลล์หนามาก เมื่อดูจากการตัดตามขวางจะ
เห็นช่องกลางเซลล์เล็กค่อนข้างกลม
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
8
รูปที่ 10 collenchyma ของลำต้นเอื้องทอง (พิมพัชราและสุนทรา, 2546)
หน้าที่ของ collenchyma
1. ช่วยพยุงหรือช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่พืชโดยเฉพาะต้นอ่อน
(seedling) ไม้ล้มลุก (herb) และไม้เลื้อย(climber)
2. ให้ความแข็งแรงแก่ก้านใบและเส้นกลางใบ
ตาแหน่งที่พบ collenchyma
collenchyma มีตาแหน่งที่พบไม่แน่นอนเช่น
กระจายอยู่รอบลาต้น อยู่เป็นกลุ่มๆ อยู่บริเวณมุมของลาต้น
Sclerenchyma
เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่มีผนังเซลล์หนามาก เนื่องจากมี secondary wall มาฉาบทับชั้น
primary wall อีกชั้นหนึ่ง ส่วนใหญ่สารที่มาฉาบเป็นสารพวกลิกนิน (lignin)
การมาสะสมของลิกนินทาให้ผนังมีความแข็งแรงมาก จึงทาให้ sclerenchyma ถือได้ว่าเป็น
โครงกระดูกหรือโครงร่างของพืช (plant skeleton)
sclerenchyma เมื่อเจริญเต็มที่เป็นเซลล์ไม่มีชีวิต
sclerenchyma ที่อยู่ในชั้น cortex เกิดมาจาก ground meristem แต่ถ้าเป็น sclerenchyma ที่อยู่
ในกลุ่มท่อลาเลียง (bundle sheath )จะเกิดมาจาก procambium ช่วยให้เกิดความแข็งแรงแก่ vascular
bundle
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
9
Sclerenchyma แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะรูปร่าง คือ
1. Fiber
มีรูปร่างของเซลล์ยาวมาก หัวแหลมท้ายแหลม ผนังเซลล์หนามากเป็นสารประกอบลิกนิน ทาให้
ช่องกลางเซลล์หรือ lumen แคบมากจนแทบจะมองไม่เห็น ส่วนมากเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว บริเวณที่จะพบ
fiber ได้แก่ บริเวณชั้นของ cortex บริเวณ phloem ที่เราเรียกว่า phloem fiber และก็ยังพบที่ xylem
ก็เรียกว่า xylem fiber
2. Sclereid
เป็น sclerenchyma ที่มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม รี หรือ รูปร่างยาวแต่ก็ยังสั้นกว่า fiber ผนังเซลล์
หนามากเป็นสารประกอบลิกนิน ทาให้ช่องกลางเซลล์หรือ lumen แคบแต่การสะสมของสารประกอบ
ลิกนินจะไม่สม่าเสมอคือมีการสะสมเป็นช่วงๆต่อกันจึงทาให้เกิดรอยต่อหรือช่องว่างที่เกิดจากการ
สะสมที่ไม่ต่อเนื่องเรียกรอยต่ออันนี้ว่า pit
Sclereid พบตามส่วนที่แข็งของเปลือกไม้ เปลือกหุ้มเมล็ด เช่นกะลามะพร้าว เมล็ดพุทรา และ
เนื้อผลไม้ที่สากๆ เช่น สาลี่ แอปเปิ้ล เป็นต้น
รูปที่ 11 ลักษณะของ sclereid และ fiber
(http://www.cropsci.uiuc.edu/classes/cpsc121/images/FormFunction/sclerenchyma3.jpg)
Endodermis
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดออกมาจากเนื้อเยื่อลาเลียงในราก หรือเป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของชั้น cortex
รูปร่างของเซลล์คล้าย parenchyma เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ผนังเซลล์
จะหนา 3 ด้าน คือด้านข้างและด้านที่ติดกับชั้น stele โดยสารที่มาพอกนี้เป็นสารพวก lignin และ
suberin การมีลักษณะผนังหนา 3 ด้านนี้เป็นประโยชน์ในการยับยั้งมิให้น้าและเกลือแร่ที่ขนรากดูดเข้า
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
10
มาลาเลียงไปสู่ xylem รวดเร็วเกินไป เซลล์ของ endodermis บางเซลล์มีลักษณะที่เป็นผนังบางคือไม่
มีการฉาบของของสาร lignin และ suberin เรียกเซลล์ที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า passage cell เพราะเซลล์
บริเวณนี้จะเป็นช่องทางให้น้าผ่านเข้าสู่ xylem ในชั้น stele นั่นเอง นอกจากนี้ endodermis ยังมีแถบ
ที่เรียกว่า casparian strip อยู่ด้วยซึ่งแถบ casparian strip จะช่วยในการป้องกันไม่ให้น้าแพร่ผ่าน
ระหว่างเซลล์ของ endodermis ด้วยกันเอง
รูปที่ 12 ลักษณะของ endodermis ในรากของว่านกาบหอย
Cork
Cork เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่พบในพืชที่มีการเจริญในขั้นที่ 2 ( secondary growth) ซึ่งอาจ
เกิดในชั้น cortex ของลาต้นหรือในชั้น stele ของรากก็ได้ โดยมีกระบวนการเกิดเริ่มจาก cork
cambium ซึ่งเป็น lateral meristem ที่อาจเกิดจาก pericycle cortex epidermis หรือ phloem ก็ได้
แล้วแต่ชนิดของพืช
cork cambium หรืออีกชื่อหนึ่งคือ phellogen จะทาการแบ่งเซลล์โดยแบ่งเซลล์ให้เซลล์ใหม่
ทางด้านนอกที่เรียกว่า cork หรืออีกชื่อคือ phellem และแบ่งให้กลุ่มเซลล์ทางด้านในที่เรียกว่า
phelloderm
cork หรือ phellem ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ทางด้านนอกจะมีสารพวก suberin มาสะสมทาให้น้า
ผ่านเข้ามาไม่ได้ ส่งผลให้ในที่สุดเซลล์ cork ก็ตาย
เมื่อมีการแบ่งตัวของ cork cambium มากขึ้นก็จะทาให้ชั้นของ cork มีมากขึ้นเช่นกันและจะ
ไปดันให้ส่วนของเซลล์ที่อยู่ถัดออกไปหลุดหายไปด้วย
เรียกเนื้อเยื่อ cork, cork cambium และ phelloderm ทั้ง 3 ชนิดรวมกันว่าชั้น periderm
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
11
รูปที่ 13 ชั้น periderm ของลาต้นโกสน (สาริษฐ์และวทัญญู, 2546)
เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue)
หมายถึง เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดมาทางานร่วมกัน ซึ่งเนื้อเยื่อถาวร
เชิงซ้อนได้แก่ เนื้อเยื่อที่ทาหน้าที่ลาเลียงน้า แร่ธาตุ เรียกว่าไซเลม (xylem) และเนื้อเยื่อลาเลียง
อาหาร เรียกว่า โฟลเอ็ม (phloem)
ไซเลม (xylem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทาหน้าที่ลาเลียงน้าและแร่ธาตุไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช Xylem
หรือท่อลาเลียงน้าจัดเป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissues) เนื่องจากประกอบด้วย
เนื้อเยื่อหลายชนิด ได้แก่
1. vessel 2. tracheid 3. fiber 4. parenchyma
โดยรายละเอียดของแต่ละเนื้อเยื่อเป็นดังนี้
- เทรคีด (tracheid) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว หัวท้ายค่อนข้างแหลม ผนังเซลล์หนามี
สารพวกลิกนินสะสม และที่ผนังมีรูพรุนที่เรียกว่า pit รูพรุนนี้จะมีประโยชน์ในการใช้เป็นทางลาเลียง
น้าและแร่ธาตุจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งนั่นเอง
หน้าที่ของ tracheid คือการลาเลียงและค้าจุนพืช
- เวสเซล (vessel) มีลักษณะคล้ายท่อยาวๆ ที่ประกอบด้วยท่อสั้นๆหลายๆท่อมาต่อ
กันท่อสั้นแต่ละท่อเรียกว่า vessel member หรือ vessel element ลักษณะของ vessel member หรือ
vessel element คือเป็นเซลล์ที่มีผนังหนาเป็นสารพวกลิกนินมาสะสม เซลล์มีรูปร่างยาวหรือสั้น แต่
บริเวณปลายเซลล์อาจเฉียงหรือตรงและจะมีช่องทะลุถึงกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยปรุหรือรูพรุนที่
เรียกว่า perforation plate
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
12
รูปที่ 14 เปรียบเทียบลักษณะของ tracheids และ vessels ใน xylem
(http://www.mhhe.com/biosci/pae/botany/histology/images/xylem.gif)
สาหรับเนื้อเยื่อพวก fiber และ parenchyma ใน xylem จะมีลักษณะรูปร่างและหน้าที่คล้ายกับที่
พบในส่วนต่าง ๆ ของพืชซึ่งได้กล่าวไปแล้ว แต่มี parenchyma บางกลุ่มทาหน้าที่ลาเลียงน้าออก
ด้านข้าง โดยเซลล์เรียงตัวเป็นแถวออกมาในแนวรัศมีของลาต้นเรียกว่า xylem ray
Phloem หรือท่อลาเลียงอาหาร เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อนเช่นเดียวกับ xylem และอยู่
ใกล้ ๆ กับ xylem จึงเรียกรวมกันว่าระหว่าง xylem กับ phloem ว่า vascular bundle ซึ่งแปลว่ากลุ่ม
ท่อลาเลียง หรือบางคนอาจจะเรียกว่า vascular tissue ซึ่งก็แปลว่าเนื้อเยื่อลาเลียงก็ได้ไม่ต่างกัน ส่วน
ของ phloem นั้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดเช่นเดียวกันกับ xylem คือมี
1. sieve tube 2. companion cell 3. parenchyma 4. fiber
sieve tube เป็นท่อยาวๆที่ประกอบด้วยท่อสั้นๆหลายๆท่อมาต่อกัน ซึ่งท่อสั้นๆแต่ละท่อ
เรียกว่า sieve tube member หรือ sieve tube element ก็ได้ ลักษณะของ sieve tube member เป็น
ดังนี้คือรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว หน้าตัดตรงปลายจะตรงและมีรูพรุนคล้ายตะแกรงที่เรียกว่า sieve
plate หน้าที่ของ sieve tube คือการลาเลียงอาหาร
companion cell เป็น cell ขนาดเล็กมาก ผอมยาว แหลม ตาแหน่งติดอยู่กับ sieve tube
member เรียกได้ว่า sieve tube member อยู่ตรงไหน companion cell จะอยู่ด้วย จากการศึกษาพบว่า
หน้าที่ของ companion cell คือการควบคุมการทางานของ sieve tube
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
13
รูปที่ 15 ส่วนประกอบของ phloem (http://www.sc.edu/union/Sears/Plant/im.Phloem-L.gif)
ส่วนเนื้อเยื่อพวก fiber และ parenchyma ใน phloem ก็จะมีลักษณะรูปร่างและหน้าที่คล้ายกับ
ที่พบในส่วนต่าง ๆ ของพืชแต่มี parenchyma บางกลุ่มทาหน้าที่ลาเลียงอาหารออกด้านข้าง ของลาต้น
เรียก parenchyma ชนิดนี้ว่า phloem ray
รูปที่ 16 เนื้อเยื่อลาเลียงในพืชใบเลี้ยงคู่
(http://www.ucmp.berkeley.edu/IB181/VPL/Ana/AnaP/Ana1l.jpeg)
รูปที่ 17 เนื้อเยื่อลาเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
(http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/images/vascbl1.gif)
เอกสารอ้างอิง
เกษม ศรีพงษ์. คู่มือเตรียมสอบ ชีววิทยา ม.5 เล่ม 3 ว 049. สานักพิมพ์ภูมิบัณฑิต.
กรุงเทพมหานคร.
เชาวน์ ชิโนรักษ์ และพรรณี ชิโนรักษ์. 2541. ชีววิทยา 3. สานักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.
กรุงเทพมหานคร.
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช
14
ปรีชา สุวรรณพินิจและนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. คู่มือเตรียมสอบ ชีววิทยา 3 ว 049 .
บริษัทไฮเอ็ดพลับลิชชิ่ง จากัด. กรุงเทพมหานคร.
ประสงค์ หลาสะอาด และจิตเกษม หลาสะอาด. ชีววิทยา ม. 5 ว 049. สานักพิมพ์ พ.ศ.
พัฒนา จากัด. กรุงเทพมหานคร.
พัชรี พิพัฒวรรณกุล. 2542. หนังสือเสริมประสบการณ์ ชีววิทยา 3 ชั้น ม. 5 (ว 049).
สานักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. กรุงเทพมหานคร.
ภูวดล บุตรรัตน์. 2543. โครงสร้างภายในของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 6. สานักพิมพ์ไทยวัฒนา
พานิช จากัด. กรุงเทพมหานคร.
เทียมใจ คมกฤส. 2542. กายวิภาคของพฤกษ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. สานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
http://www.dmj.ac.th/tissue.htm
http://www.narinukul.ac.th/preeya/preeya.htm

More Related Content

What's hot

การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชการแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชLi Yu Ling
 
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบThanyamon Chat.
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกThanyamon Chat.
 
เนื้อเยื่อพืช
เนื้อเยื่อพืชเนื้อเยื่อพืช
เนื้อเยื่อพืชThanyamon Chat.
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)Thitaree Samphao
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศSupaluk Juntap
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากThanyamon Chat.
 
แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4
แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4
แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4Ngamsiri Prasertkul
 
ชีววิทยา ม.6
ชีววิทยา ม.6ชีววิทยา ม.6
ชีววิทยา ม.6TataNitchakan
 
structure and function of the stem
structure and function of the stemstructure and function of the stem
structure and function of the stemThanyamon Chat.
 
สอบปลายภาคชีวะ51 2
สอบปลายภาคชีวะ51 2สอบปลายภาคชีวะ51 2
สอบปลายภาคชีวะ51 2Wichai Likitponrak
 
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system kasidid20309
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3Khunnawang Khunnawang
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสAomiko Wipaporn
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด Thitaree Samphao
 
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์Phattarawan Wai
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์Phattarawan Wai
 

What's hot (20)

การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชการแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
 
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
 
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอกการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
การปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของพืชดอก
 
เนื้อเยื่อพืช
เนื้อเยื่อพืชเนื้อเยื่อพืช
เนื้อเยื่อพืช
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
stem structure
stem structurestem structure
stem structure
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
 
แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4
แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4
แบบทดสอบ เรื่องส่วนประกอบของพืช ป.4
 
ชีววิทยา ม.6
ชีววิทยา ม.6ชีววิทยา ม.6
ชีววิทยา ม.6
 
structure and function of the stem
structure and function of the stemstructure and function of the stem
structure and function of the stem
 
สอบปลายภาคชีวะ51 2
สอบปลายภาคชีวะ51 2สอบปลายภาคชีวะ51 2
สอบปลายภาคชีวะ51 2
 
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
 
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
 

Viewers also liked

การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองsukanya petin
 
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1sukanya petin
 
Photosynthetic reaction
Photosynthetic reactionPhotosynthetic reaction
Photosynthetic reactionsukanya petin
 
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมนการรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมนsukanya petin
 
ฟีโรโมน
ฟีโรโมนฟีโรโมน
ฟีโรโมนsukanya petin
 
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 11แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1sukanya petin
 
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2sukanya petin
 
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546Trd Wichai
 

Viewers also liked (10)

การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 
็Hormone
็Hormone็Hormone
็Hormone
 
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
แบบฝึกท้ายบทบท 8 ชุดที่ 1
 
Photosynthetic reaction
Photosynthetic reactionPhotosynthetic reaction
Photosynthetic reaction
 
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมนการรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน
 
ฟีโรโมน
ฟีโรโมนฟีโรโมน
ฟีโรโมน
 
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 11แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
1แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 1
 
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
 
Pigment
PigmentPigment
Pigment
 
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ ชีววิทยา มีนาคม 2546
 

Similar to Plant tissue

โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชโครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชเข็มชาติ วรนุช
 
E portfollio-looktal
E portfollio-looktalE portfollio-looktal
E portfollio-looktalLooktal Love
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช AnnanetAnana Anana
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช AnnanetAnana Anana
 
ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยาDarika Kanhala
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกWichai Likitponrak
 
เนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อOui Nuchanart
 
บทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก
บทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอกบทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก
บทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอกฟลุ๊ค ลำพูน
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งWichai Likitponrak
 
9.เนื้อเยื่อพืช
9.เนื้อเยื่อพืช9.เนื้อเยื่อพืช
9.เนื้อเยื่อพืชWichai Likitponrak
 
Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931 Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931 Maimai Pudit
 
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากBiobiome
 

Similar to Plant tissue (20)

Biocontest2014 kitty
Biocontest2014 kittyBiocontest2014 kitty
Biocontest2014 kitty
 
001 3
001 3001 3
001 3
 
E portfollio
E portfollioE portfollio
E portfollio
 
โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืชโครงสร้างและหน้าที่ของพืช
โครงสร้างและหน้าที่ของพืช
 
E portfollio-looktal
E portfollio-looktalE portfollio-looktal
E portfollio-looktal
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
 
ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยา
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
 
เนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อ
 
บทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก
บทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอกบทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก
บทที่ 12 โครงสร้างหน้าที่ของพืชดอก
 
เนี้อเยื่อ
เนี้อเยื่อเนี้อเยื่อ
เนี้อเยื่อ
 
Mini5
Mini5Mini5
Mini5
 
Minibook bio 834 group 5
Minibook bio 834 group 5Minibook bio 834 group 5
Minibook bio 834 group 5
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
 
9.เนื้อเยื่อพืช
9.เนื้อเยื่อพืช9.เนื้อเยื่อพืช
9.เนื้อเยื่อพืช
 
Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931 Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931
 
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
 
สรุปเซลล์
สรุปเซลล์สรุปเซลล์
สรุปเซลล์
 
Tissue oui
Tissue ouiTissue oui
Tissue oui
 

Plant tissue

  • 1. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 1 บทที่ 1 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ในบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเนื้อหาทั้งหมดด้วยกัน 5 หัวข้อคือ 1.1 เนื้อเยื่อของพืช 1.2 โครงสร้างและหน้าที่ของราก 1.3 โครงสร้างและหน้าที่ของลาต้น 1.4 โครงสร้างและหน้าที่ของใบ 1.5 การเจริญเติบโตของรากและลาต้น ซึ่งเนื้อหาในแต่ละหัวข้อจะอธิบายตามลาดับดังนี้ เนื้อเยื่อของพืช (plant tissue) พืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยเซลล์(cell) หลายๆเซลล์มารวมกลุ่มทางานร่วมกัน กลุ่ม ของเซลล์ที่มาทางานร่วมกันนี้เราเรียกว่า เนื้อเยื่อ (tissue)จากการศึกษาพบว่าเนื้อเยื่อพืชแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามความสามารถในการแบ่งตัวได้แก่ 1.เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissues) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวแบบไมโทซีส (mitosis) อยู่ตลอดเวลา 2.เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissues) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่ในสภาพปกติไม่มีการแบ่งตัว โดย เซลล์เหล่านี้เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญอีกทีหนึ่ง รายละเอียดของเนื้อเยื่อแต่ละชนิดมีดังนี้ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissues) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวแบบไมโทซีส(mitosis) อยู่ตลอดเวลาและเป็นเซลล์ ที่มีลักษณะดังนี้ 1. มีขนาดเล็ก ภายในเซลล์มีไซโทพลาสซึม (cytoplasm)ข้น และมีนิวเคลียสใหญ่อยู่กลางเซลล์ 2. มีผนังบาง 3. มีแวคิวโอล (vacuole)ขนาดเล็กหรือไม่มีเลย 4. เซลล์มีรูปร่างได้หลายแบบแต่ส่วนมากค่อนข้างกลมหรือเหลี่ยม
  • 2. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 2 5. เซลล์แต่ละชนิดอยู่ชิดติดกันมาก ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space) เนื้อเยื่อเจริญสามารถจาแนกตามตาแหน่งที่พบในส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ☺ เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) คือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายยอด (shoot tip ) หรือปลายราก (root tip) ของพืช เมื่อมีการแบ่งตัว เพิ่มจานวนเซลล์จะทาให้รากและลาต้นยืดยาวออก รูปที่ 1 เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/M/meristem.gif) ☺ เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) คือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณเหนือข้อ หรือโคนของปล้องในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น อ้อย ไผ่ ข้าวโพด หรือหญ้า เป็นต้น เมื่อมีการแบ่งตัวจะช่วยให้ปล้องยาวขึ้น รูปที่ 2 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (http://www.botany.hawaii.edu/faculty/webb/BOT201/EQUISETU/IntercNodeHueLab.jpg )
  • 3. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 3 นอกจากนี้ intercalary meristem ยังพบตามก้านช่อดอกของพืชบางชนิด เช่น พวกว่านสี่ทิศ ดอกพลับพลึง ซึ่งเป็นก้านช่อดอกที่แทงขึ้นมาจากดินโดยตรง ☺เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem หรือ axillary meristem) คือเนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวออกด้านข้างของลาต้นหรือราก เมื่อแบ่งตัวแล้วจะทาให้ลาต้น ราก ขยายขนาดออกทางด้านข้างหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น บางคนอาจเรียกเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างนี้อีกอย่างว่า แคมเบียม (cambium) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. vascular cambium เป็น Cambium ที่เกิดขึ้นในกลุ่มท่อลาเลียง รูปที่ 3 vascular cambium ของลาต้นหมอน้อย (ตัถย์และคณะ, 2546) 2. cork cambium เป็น Cambium ที่เกิดในชั้น cortex หรือชั้น stele เพื่อสร้างชั้น cork และ phlloderm รูปที่ 4 cork cambium ของลาต้นแก้ว (ทิพย์อาภาและรรินธร, 2546)
  • 4. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 4 เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissues) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่ในสภาพปกติไม่มีการแบ่งตัว โดยเซลล์เหล่านี้เจริญเปลี่ยนแปลงมา จากเนื้อเยื่อเจริญอีกทีหนึ่ง แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ 2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissues) หมายถึงเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกัน มารวมกันเพื่อทาหน้าที่อย่างเดียวกัน แบ่งออกได้หลายชนิดตามตาแหน่งที่อยู่หรือตามหน้าที่และส่วนประกอบภายในเซลล์ ได้แก่ epidermis parenchyma collenchyma sclerenchyma endodermis และ cork โดยมีรายละเอียดแต่ละเนื้อเยื่อ ดังนี้ epidermis เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่มีลักษณะ 1. อยู่ชั้นนอกสุดของส่วนต่าง ๆของพืชในระยะการเจริญขั้นแรก(primary growth) 2. มีกาเนิดมาจากชั้น protoderm ของ primary meristem 3. มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่อยู่ภายในของพืชทั้งราก ลาต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด แต่พืชที่มีการเจริญขั้นที่สอง (secondary growth) เนื้อเยื่อ epidermis จะสลายไป เพราะมีชั้นของ cork ที่ เกิดขึ้นใต้epidermis เจริญดันออกมา 4. เซลล์ของ epidermis เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าส่วนมากเรียงอยู่ชั้นเดียว แต่พืชบางชนิดอาจมี หลายชั้นเรียกว่า multiple epidermis เช่นในรากกล้วยไม้เรียก multiple epidermis นี้ว่า velamen 5. ผิวด้านนอกของเซลล์ epidermis มีสารขี้ผึ้งพวกคิวติน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อช่วยป้องกัน การระเหยของน้า ชั้นของคิวตินนี้เรียกว่า คิวติเคิล (cuticle) 6. เซลล์ของ epidermis แต่ละเซลล์เรียกว่า epidermal cell 7. epidermal cell บางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทาหน้าที่เฉพาะอย่างเช่น 1.) เปลี่ยนเป็น Trichome คือส่วน ของ epidermis ที่ยื่นออกมาเช่น ขนราก (root hair)
  • 5. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 5 2.) เปลี่ยนเป็นปากใบ (stomata) ปากใบ (stomata) ในการเรียนวิชา ชว 103 (ชีววิทยา 3 ) เพื่อให้เข้าใจตรงกันเป็นปากใบที่เกิด จากเซลล์ของ epidermis 2 เซลล์ เปลี่ยนรูปร่างไป มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วที่หันด้านเว้าเข้าประกบกัน ตรงกลางเกิดเป็นช่องหรือรูเปิด (pore) เซลล์ทั้งสองนี้เรียกว่า เซลล์คุม (guard cell) และเรียกรวมทั้ง เซลล์คุมและรูเปิดนี้ว่า ปากใบ (stomata) Parenchyma เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่มีลักษณะสาคัญที่ควรรู้ดังนี้ 1. ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตพบได้แทบทุกส่วนของอวัยวะพืชในชั้น cortex หรือชั้น pith ของ ลาต้นและราก ถือได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อที่พบมากที่สุดในพืช 2. มีกาเนิดมาจาก ground meristem แต่ parenchyma ที่อยู่ในกลุ่มท่อลาเลียงเจริญมาจาก procambium 3. เซลล์ของ parenchyma รูปร่างหลายแบบ บางเซลล์ค่อนข้างกลม รี ทรงกระบอกหรือเป็น เหลี่ยม เมื่อเซลล์มาเรียงชิดติดกันจึงทาให้มีช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space) เกิดขึ้นตาม มุมที่เซลล์แตะกัน ซึ่ง intercellular space เป็นลักษณะเฉพาะของ parenchyma รูปที่ 6 parenchyma ของลำต้นว่านกาบหอย 4. parenchyma มีรูปร่างได้หลายแบบแตกต่างกันไปตามตาแหน่งที่อยู่และหน้าที่พิเศษ เช่น
  • 6. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 6 ในพืชน้าบางชนิด parenchyma มีช่องว่างระหว่างเซลล์ใหญ่ทาให้เกิดช่องว่างที่เรียกว่า air space ช่วย สะสมอากาศจึงเรียก parenchyma ชนิดนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า aerenchyma รูปที่ 7 aerenchyma ของใบอะเมซอนใบมน (ปริยาและวิชญ์มล, 2546) บางเซลล์ของ parenchyma ภายในมีเม็ดคลอโรพาสต์ (chloroplast)เรียก parenchyma ชนิดนี้ว่า chlorenchyma รูปที่ 8 chlorenchyma ของลาต้นหมอน้อย (ตัถย์และคณะ, 2546) 5. หน้าที่ของ parenchyma มีดังนี้ 1. สะสมอาหาร เช่นสะสมแป้ง เราเรียกเม็ดแป้งที่สะสมอยู่ใน parenchyma ว่า amyloplast หรือ starch grain เม็ดแป้งมีรูปร่างกลมหรือ รี มีชั้น lamella ลักษณะเป็นวง ๆ คล้ายลายนิ้วมือและมีจุด ศูนย์กลางของชั้น เรียกว่า hilum 2. สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเฉพาะ chlorenchyma 3. ช่วยในการลาเลียง เช่น xylem ray และ phloem ray
  • 7. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 7 4. รูปที่ 9 starch grain ใน parenchyma ของลำต้นว่านกาบหอย Collenchyma เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เจริญมาจาก ground meristem ประกอบด้วยเซลล์ ์์ที่มีชีวิตและผนัง เซลล์หนามากตามมุมของเซลล์ ผนังที่หนาตามมุมและไม่สม่าเสมอกันนี้เป็นการเพิ่มความยึดหยุ่นให้แก่ เซลล์ สารที่มาฉาบที่ผนังเป็นสารประกอบพวกเซลลูโลสและเพคติน ผนังเซลล์ที่หนาไม่เท่ากัน นอกจากจะเพิ่มความยึดหยุ่นแล้วยังทาให้รูปร่างของ collenchyma แตกต่างกันไป สามารถแบ่งออกได้ หลายชนิดตามรูปร่างดังนี้ - Angular collenchyma เป็น collenchyma ที่มีการฉาบของผนังเซลล์หนาตามมุม เซลล์มากกว่าส่วนอื่น - Lamellar collenchyma เป็น collenchyma ที่มีสารมาฉาบผนังเซลล์ด้านชิดกับ epidermis และด้านตรงข้ามหนามาก เมื่อดูจากการตัดตามขวางจะเห็นช่องตรง กลางเซลล์คล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า - Annular collenchyma มีสารที่ฉาบผนังเซลล์หนามาก เมื่อดูจากการตัดตามขวางจะ เห็นช่องกลางเซลล์เล็กค่อนข้างกลม
  • 8. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 8 รูปที่ 10 collenchyma ของลำต้นเอื้องทอง (พิมพัชราและสุนทรา, 2546) หน้าที่ของ collenchyma 1. ช่วยพยุงหรือช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่พืชโดยเฉพาะต้นอ่อน (seedling) ไม้ล้มลุก (herb) และไม้เลื้อย(climber) 2. ให้ความแข็งแรงแก่ก้านใบและเส้นกลางใบ ตาแหน่งที่พบ collenchyma collenchyma มีตาแหน่งที่พบไม่แน่นอนเช่น กระจายอยู่รอบลาต้น อยู่เป็นกลุ่มๆ อยู่บริเวณมุมของลาต้น Sclerenchyma เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่มีผนังเซลล์หนามาก เนื่องจากมี secondary wall มาฉาบทับชั้น primary wall อีกชั้นหนึ่ง ส่วนใหญ่สารที่มาฉาบเป็นสารพวกลิกนิน (lignin) การมาสะสมของลิกนินทาให้ผนังมีความแข็งแรงมาก จึงทาให้ sclerenchyma ถือได้ว่าเป็น โครงกระดูกหรือโครงร่างของพืช (plant skeleton) sclerenchyma เมื่อเจริญเต็มที่เป็นเซลล์ไม่มีชีวิต sclerenchyma ที่อยู่ในชั้น cortex เกิดมาจาก ground meristem แต่ถ้าเป็น sclerenchyma ที่อยู่ ในกลุ่มท่อลาเลียง (bundle sheath )จะเกิดมาจาก procambium ช่วยให้เกิดความแข็งแรงแก่ vascular bundle
  • 9. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 9 Sclerenchyma แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะรูปร่าง คือ 1. Fiber มีรูปร่างของเซลล์ยาวมาก หัวแหลมท้ายแหลม ผนังเซลล์หนามากเป็นสารประกอบลิกนิน ทาให้ ช่องกลางเซลล์หรือ lumen แคบมากจนแทบจะมองไม่เห็น ส่วนมากเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว บริเวณที่จะพบ fiber ได้แก่ บริเวณชั้นของ cortex บริเวณ phloem ที่เราเรียกว่า phloem fiber และก็ยังพบที่ xylem ก็เรียกว่า xylem fiber 2. Sclereid เป็น sclerenchyma ที่มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม รี หรือ รูปร่างยาวแต่ก็ยังสั้นกว่า fiber ผนังเซลล์ หนามากเป็นสารประกอบลิกนิน ทาให้ช่องกลางเซลล์หรือ lumen แคบแต่การสะสมของสารประกอบ ลิกนินจะไม่สม่าเสมอคือมีการสะสมเป็นช่วงๆต่อกันจึงทาให้เกิดรอยต่อหรือช่องว่างที่เกิดจากการ สะสมที่ไม่ต่อเนื่องเรียกรอยต่ออันนี้ว่า pit Sclereid พบตามส่วนที่แข็งของเปลือกไม้ เปลือกหุ้มเมล็ด เช่นกะลามะพร้าว เมล็ดพุทรา และ เนื้อผลไม้ที่สากๆ เช่น สาลี่ แอปเปิ้ล เป็นต้น รูปที่ 11 ลักษณะของ sclereid และ fiber (http://www.cropsci.uiuc.edu/classes/cpsc121/images/FormFunction/sclerenchyma3.jpg) Endodermis เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดออกมาจากเนื้อเยื่อลาเลียงในราก หรือเป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของชั้น cortex รูปร่างของเซลล์คล้าย parenchyma เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว ไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ผนังเซลล์ จะหนา 3 ด้าน คือด้านข้างและด้านที่ติดกับชั้น stele โดยสารที่มาพอกนี้เป็นสารพวก lignin และ suberin การมีลักษณะผนังหนา 3 ด้านนี้เป็นประโยชน์ในการยับยั้งมิให้น้าและเกลือแร่ที่ขนรากดูดเข้า
  • 10. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 10 มาลาเลียงไปสู่ xylem รวดเร็วเกินไป เซลล์ของ endodermis บางเซลล์มีลักษณะที่เป็นผนังบางคือไม่ มีการฉาบของของสาร lignin และ suberin เรียกเซลล์ที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า passage cell เพราะเซลล์ บริเวณนี้จะเป็นช่องทางให้น้าผ่านเข้าสู่ xylem ในชั้น stele นั่นเอง นอกจากนี้ endodermis ยังมีแถบ ที่เรียกว่า casparian strip อยู่ด้วยซึ่งแถบ casparian strip จะช่วยในการป้องกันไม่ให้น้าแพร่ผ่าน ระหว่างเซลล์ของ endodermis ด้วยกันเอง รูปที่ 12 ลักษณะของ endodermis ในรากของว่านกาบหอย Cork Cork เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่พบในพืชที่มีการเจริญในขั้นที่ 2 ( secondary growth) ซึ่งอาจ เกิดในชั้น cortex ของลาต้นหรือในชั้น stele ของรากก็ได้ โดยมีกระบวนการเกิดเริ่มจาก cork cambium ซึ่งเป็น lateral meristem ที่อาจเกิดจาก pericycle cortex epidermis หรือ phloem ก็ได้ แล้วแต่ชนิดของพืช cork cambium หรืออีกชื่อหนึ่งคือ phellogen จะทาการแบ่งเซลล์โดยแบ่งเซลล์ให้เซลล์ใหม่ ทางด้านนอกที่เรียกว่า cork หรืออีกชื่อคือ phellem และแบ่งให้กลุ่มเซลล์ทางด้านในที่เรียกว่า phelloderm cork หรือ phellem ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ทางด้านนอกจะมีสารพวก suberin มาสะสมทาให้น้า ผ่านเข้ามาไม่ได้ ส่งผลให้ในที่สุดเซลล์ cork ก็ตาย เมื่อมีการแบ่งตัวของ cork cambium มากขึ้นก็จะทาให้ชั้นของ cork มีมากขึ้นเช่นกันและจะ ไปดันให้ส่วนของเซลล์ที่อยู่ถัดออกไปหลุดหายไปด้วย เรียกเนื้อเยื่อ cork, cork cambium และ phelloderm ทั้ง 3 ชนิดรวมกันว่าชั้น periderm
  • 11. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 11 รูปที่ 13 ชั้น periderm ของลาต้นโกสน (สาริษฐ์และวทัญญู, 2546) เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue) หมายถึง เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดมาทางานร่วมกัน ซึ่งเนื้อเยื่อถาวร เชิงซ้อนได้แก่ เนื้อเยื่อที่ทาหน้าที่ลาเลียงน้า แร่ธาตุ เรียกว่าไซเลม (xylem) และเนื้อเยื่อลาเลียง อาหาร เรียกว่า โฟลเอ็ม (phloem) ไซเลม (xylem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทาหน้าที่ลาเลียงน้าและแร่ธาตุไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช Xylem หรือท่อลาเลียงน้าจัดเป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissues) เนื่องจากประกอบด้วย เนื้อเยื่อหลายชนิด ได้แก่ 1. vessel 2. tracheid 3. fiber 4. parenchyma โดยรายละเอียดของแต่ละเนื้อเยื่อเป็นดังนี้ - เทรคีด (tracheid) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว หัวท้ายค่อนข้างแหลม ผนังเซลล์หนามี สารพวกลิกนินสะสม และที่ผนังมีรูพรุนที่เรียกว่า pit รูพรุนนี้จะมีประโยชน์ในการใช้เป็นทางลาเลียง น้าและแร่ธาตุจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งนั่นเอง หน้าที่ของ tracheid คือการลาเลียงและค้าจุนพืช - เวสเซล (vessel) มีลักษณะคล้ายท่อยาวๆ ที่ประกอบด้วยท่อสั้นๆหลายๆท่อมาต่อ กันท่อสั้นแต่ละท่อเรียกว่า vessel member หรือ vessel element ลักษณะของ vessel member หรือ vessel element คือเป็นเซลล์ที่มีผนังหนาเป็นสารพวกลิกนินมาสะสม เซลล์มีรูปร่างยาวหรือสั้น แต่ บริเวณปลายเซลล์อาจเฉียงหรือตรงและจะมีช่องทะลุถึงกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยปรุหรือรูพรุนที่ เรียกว่า perforation plate
  • 12. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 12 รูปที่ 14 เปรียบเทียบลักษณะของ tracheids และ vessels ใน xylem (http://www.mhhe.com/biosci/pae/botany/histology/images/xylem.gif) สาหรับเนื้อเยื่อพวก fiber และ parenchyma ใน xylem จะมีลักษณะรูปร่างและหน้าที่คล้ายกับที่ พบในส่วนต่าง ๆ ของพืชซึ่งได้กล่าวไปแล้ว แต่มี parenchyma บางกลุ่มทาหน้าที่ลาเลียงน้าออก ด้านข้าง โดยเซลล์เรียงตัวเป็นแถวออกมาในแนวรัศมีของลาต้นเรียกว่า xylem ray Phloem หรือท่อลาเลียงอาหาร เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อนเช่นเดียวกับ xylem และอยู่ ใกล้ ๆ กับ xylem จึงเรียกรวมกันว่าระหว่าง xylem กับ phloem ว่า vascular bundle ซึ่งแปลว่ากลุ่ม ท่อลาเลียง หรือบางคนอาจจะเรียกว่า vascular tissue ซึ่งก็แปลว่าเนื้อเยื่อลาเลียงก็ได้ไม่ต่างกัน ส่วน ของ phloem นั้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดเช่นเดียวกันกับ xylem คือมี 1. sieve tube 2. companion cell 3. parenchyma 4. fiber sieve tube เป็นท่อยาวๆที่ประกอบด้วยท่อสั้นๆหลายๆท่อมาต่อกัน ซึ่งท่อสั้นๆแต่ละท่อ เรียกว่า sieve tube member หรือ sieve tube element ก็ได้ ลักษณะของ sieve tube member เป็น ดังนี้คือรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว หน้าตัดตรงปลายจะตรงและมีรูพรุนคล้ายตะแกรงที่เรียกว่า sieve plate หน้าที่ของ sieve tube คือการลาเลียงอาหาร companion cell เป็น cell ขนาดเล็กมาก ผอมยาว แหลม ตาแหน่งติดอยู่กับ sieve tube member เรียกได้ว่า sieve tube member อยู่ตรงไหน companion cell จะอยู่ด้วย จากการศึกษาพบว่า หน้าที่ของ companion cell คือการควบคุมการทางานของ sieve tube
  • 13. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 13 รูปที่ 15 ส่วนประกอบของ phloem (http://www.sc.edu/union/Sears/Plant/im.Phloem-L.gif) ส่วนเนื้อเยื่อพวก fiber และ parenchyma ใน phloem ก็จะมีลักษณะรูปร่างและหน้าที่คล้ายกับ ที่พบในส่วนต่าง ๆ ของพืชแต่มี parenchyma บางกลุ่มทาหน้าที่ลาเลียงอาหารออกด้านข้าง ของลาต้น เรียก parenchyma ชนิดนี้ว่า phloem ray รูปที่ 16 เนื้อเยื่อลาเลียงในพืชใบเลี้ยงคู่ (http://www.ucmp.berkeley.edu/IB181/VPL/Ana/AnaP/Ana1l.jpeg) รูปที่ 17 เนื้อเยื่อลาเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/images/vascbl1.gif) เอกสารอ้างอิง เกษม ศรีพงษ์. คู่มือเตรียมสอบ ชีววิทยา ม.5 เล่ม 3 ว 049. สานักพิมพ์ภูมิบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร. เชาวน์ ชิโนรักษ์ และพรรณี ชิโนรักษ์. 2541. ชีววิทยา 3. สานักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร. กรุงเทพมหานคร.
  • 14. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา เอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยา 4 (ว 40144) ปีการศึกษา 2549 เนื้อเยื่อของพืช 14 ปรีชา สุวรรณพินิจและนงลักษณ์ สุวรรณพินิจ. คู่มือเตรียมสอบ ชีววิทยา 3 ว 049 . บริษัทไฮเอ็ดพลับลิชชิ่ง จากัด. กรุงเทพมหานคร. ประสงค์ หลาสะอาด และจิตเกษม หลาสะอาด. ชีววิทยา ม. 5 ว 049. สานักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จากัด. กรุงเทพมหานคร. พัชรี พิพัฒวรรณกุล. 2542. หนังสือเสริมประสบการณ์ ชีววิทยา 3 ชั้น ม. 5 (ว 049). สานักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. กรุงเทพมหานคร. ภูวดล บุตรรัตน์. 2543. โครงสร้างภายในของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 6. สานักพิมพ์ไทยวัฒนา พานิช จากัด. กรุงเทพมหานคร. เทียมใจ คมกฤส. 2542. กายวิภาคของพฤกษ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. http://www.dmj.ac.th/tissue.htm http://www.narinukul.ac.th/preeya/preeya.htm