SlideShare a Scribd company logo
การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์
การสืบพันธุ์  	การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์ การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)  	 เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม อาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีส หรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูง  	เป็นการสืบพันธุ์ที่ง่ายที่สุด พบในสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่มีระบบสืบพันธุ์หรือมีแต่ยังไม่เจริญดี ทำได้โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้ตายและสูญพันธุ์ในที่สุด
ขั้นตอนการสืบพันธุ์ 1. การแตกหน่อ (Budding) เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น
	ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 - 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 - 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้  	แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป
การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission)เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น - การแบ่งตัวของอะมีบา
พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) 	เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิในสภาวะปกติไข่ของสัตว์ดังกล่าวจะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้งหนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียก็จะผลิตไข่ที่ฟักออกเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นสัตว์ตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวได้ ในผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธีโนเจเนซิสด้วยเช่นกัน โดยไข่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งจะฟักออกมาเป็นตัวผู้เสมอ  การงอกใหม่ (Regeneration) พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม  การสร้างสปอร์ (Spore Formation) 	เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย  การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation)เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอีกแบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพวกที่มีเซลล์ต่อกันเป็นเส้นสายโดยการหักเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนที่หลุดไปก็จะแบ่งตัวแบบ Mitotic cell division ได้เซลล์ใหม่ที่ต่อกันเป็นเส้นสายเจริญต่อไป เช่น พวกหนอนตัวแบน สาหร่ายทะเล
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ผลิตสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาด้วยการรวมตัวของหน่วยพันธุกรรมซึ่งอาจเกิดจากสิ่งมีชี วิตตัวเดียวกัน หรือคนละตัวก็ได้ หรือเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell or gamete) ซึ่งจากการแบ่งตัวของ germ line cell แบบ meiotic cell division การรวมตัวของเซลล์สืบ พันธุ์เรียกว่า ปฏิสนธิ (fertilization) ได้นิวเคลียสใหม่ที่เป็นdiploid ซึ่งเรียกว่า Zygote และ zygote ที่ได้จะเป็นเซลล์เริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไปขั้นตอนการสืบพันธุ์
ไข่ (Egg) โดยทั่วไปมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ ไข่ของสัตว์มักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อเลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายในไข่ เช่น ไข่แดงของไข่ไก่และไข่เป็ด ไข่แดงซึ่งมีเยื่อหุ้มอยู่เทียบได้กับเซลล์ 1 เซลล์ ส่วนจุดกลม ๆ ในไข่แดง คือ นิวเคลียส เซลล์ไข่ส่วนมากมักจะมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม เช่นไข่กบมีวุ้นหุ้ม ไข่เต่าทะเลมีสิ่งที่มีลักษณะเป็นเยื่อเหนียวหุ้ม ไข่เป็ดและไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม เป็นต้น  ตัวอสุจิ (Sperm)มีขนาดเล็กกว่าไข่มาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะมองเห็น ตัวอสุจิมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ หัว (head) ลำตัว (body) และหาง (tail) ส่วนหัวจะมีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ เคลื่อนที่โดยใช้หาง   	ตัวอย่างเซลล์อสุจิมีขนาดเล็กกว่าไข่มากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและจะเคลื่อนที่ได้เร็วเพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่  	ตัวอสุจิจะมีขนาดเล็กกว่าไข่มาก และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจะเคลื่อนที่ได้เร็วเพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่
เมื่อสัตว์โตเต็มที่และพร้อมที่จะสืบพันธุ์แล้ว เพศเมียจะสร้างไข่ และเพศผู้จะสร้างอสุจิ ไข่และตัวอสุจิของสัตว์แต่ละชนิดจะมีขนาดและจำนวนต่างๆกันไป โดยทั่วไปไข่จะมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ และมักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อไว้เลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายใน เช่น ไข่แดงของไข่ไก่ ไข่เป็ด นอกจากนี้ยังมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นวุ้น เช่น ไข่กบ หรือมีลักษณะเป็นเยื่อเหนียว เช่น ไข่เต่าทะเล บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่จระเข้ เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่จะเกิด การปฏิสนธิ (Fertilization) ขึ้น
การปฏิสนธิ (Fertilization)แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ1.การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization)2.การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization) ……………………………………………………………………………………………………… .การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization)ตัวอสุจิจากสัตว์เพศผู้เข้าผสมกับไข่ซึ่งยังอยู่ในตัวของสัตว์เพศเมียได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง ปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม
การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization)การผสมระหว่างไข่และตัวอสุจิภายนอกตัวของสัตว์เพศเมีย ได้แก่ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ปลาต่าง ๆ และสัตว์น้ำที่ออกลูกเป็นไข่ทุกชนิด
การเปลี่ยนสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์ 	 	เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ 4 กระบวนการ คือ 1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication) ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว เมื่อมีการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำรนวนเซลล์ก็จะทำให้เกิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศขึ้น ส่วนในพวกสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เมื่อเกิดปฏิสนธิแล้ว เซลล์ที่ได้ก็ คือ ไซโกต ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้น และมีขนาดเพิ่มขึ้น การจะมีเซลล์มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เท่าใด 2. การเจริญเติบโต (growth) ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว การเพิ่มของโพรโทพลาซึมก็จัดว่า เป็นการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งเซลล์ในตอนแรกเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เดิม ในเวลาต่อมาเซลล์ใหม่ที่ได้จะสร้างสารต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้ขนาดของเซลล์ใหม่นั้นขยายขนาดขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วย ในสิ่งมีชีวิตพวกที่เป็นหลายเซลล์ ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ก็คือ การขยายขนาดให้ใหญ่โตขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน 		บนร่างกายจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว และไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งถูกควบคุมโดยจีนบนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ
3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ 	เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ (cell differentiation) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ เหมือนกัน เช่น มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น การสร้าง เอนโดสปอร์ (endospore) ของแบคทีเรียในพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็มี เช่น การสร้างเซลล์พิเศษซึ่งเรียกว่า เฮเทอโรซิสต์ (heterocyst) มีผนังหนาและสามารถจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อเซลล์ของสาหร่ายชนิดนั้น ๆ ได้	ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ เมื่อไข่และสเปิร์มผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่ คือ ไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ในการหดตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว เซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน เซลล์ประสาททำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึก และคำสั่งต่าง ๆ เซลล์ต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเซลล์ภายในร่างการของเราจะเริ่มต้นมาจากเซลล์เซลล์เดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กันได้ 4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis) เป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ขบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเอมบริโออยู่ตลอดเวลาที่มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ขึ้น อัตราเร็วของการสร้างในแต่ละแห่งบนร่างกายจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว และไม่เหมือนกับ
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Male Reproductive System) ระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เป็นระบบที่สำคัญต่อการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน โดยจะทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเลี้ยงดูจนกลายเป็นตัวเต็มวัยออกมา โดยมีสารพันธุกรรมจากพ่อและแม่เป็นตัวกำหนดลักษณะตลอดจนเพศของลูกตั้งแต่มีการปฏิสนธิ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกของเพศชายและเพศหญิง จะมีการพัฒนามาตั้งแต่ระยะที่อยู่ในท้องของแม่แล้ว โดยจะมีการพัฒนาควบคู่มากับระบบขับถ่าย ผลจาก Y chromosome ในตัวอ่อนเพศชายจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะของระบบสืบพันธุ์ชาย แต่ในตัวอ่อนเพศหญิงไม่มี Y chromosome จึงมีการพัฒนาให้เป็นอวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงแทน ระบบสืบพันธุ์เพศชาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ sperm และทำหน้าที่ในการนำส่ง sperm เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อผสมกับเซลล์ไข่ต่อไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชายอีกด้วยอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย 1. อัณฑะ (testes) มีการพัฒนามาจาก gonads ทำหน้าที่สร้าง sperm และ hormone เพศชายคือ testosterone 2. accessory ducts เป็นท่อนำ sperm จากอัณฑะออกไปสู่ภายนอก ประกอบด้วย epididymis, vas deferens, ejaculatory duct และท่อปัสสาวะ 3. accessory glands เป็นต่อมที่สร้างสารอาหารเลี้ยง sperm และช่วยอำนวยความสะดวกในการลำเลียง sperm ออกสู่ภายนอกด้วย ได้แก่ seminal vesicle ต่อมลูกหมาก และต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland) 4. penis ทำหน้าที่นำส่งน้ำอสุจิเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
ถุงอัณฑะ (scrotal sac หรือ scrotum) ถุงอัณฑะเป็นส่วนผิวหนังที่มีลักษณะเป็นถุงยื่นออกมาจากส่วนล่างของผนังหน้าท้องบริเวณส่วนกลางของถุงอัณฑะมีสันนูนคล้ายรอยเย็บ เรียกว่า scrotal rapheซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแยกออกเป็น 2 ถุง ภายในถุงอัณฑะแต่ละข้างประกอบด้วย อัณฑะ epididymisและปลายด้านล่างของ spermatid cord ผิวหนังของถุงอัณฑะบางและเป็นรอยย่น (rugose) เนื่องจากในชั้นผิวหนังของถุงอัณฑะมีกล้ามเนื้อเรียบเรียกว่า dartos muscle ซึ่งถูกเลี้ยงโดยระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic กล้ามเนื้อ dartosจะทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของอัณฑะให้คงที่ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างและการพัฒนาของ sperm ที่ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
อัณฑะ (testes)  		อัณฑะ เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้อยู่ในถุงอัณฑะ มีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดประมาณ 4x2.5x2 เซ็นติเมตร หนัก 10-15 กรัม ปกติอัณฑะทางด้านซ้ายจะอยู่ต่ำกว่าทางด้านขวาประมาณ 1 เซ็นติเมตร ในตัวอ่อนอัณฑะจะวางตัวอยู่ในช่องท้องใกล้กับไต เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 7 เดือนอัณฑะจะเคลื่อนผ่าน inguinal canal ซึ่งเป็นช่องทางเชื่อมระหว่างถุงอัณฑะกับช่องท้อง แล้วเข้าไปอยู่ในถุงอัณฑะพร้อมทั้งนำเอาหลอดเลือด เส้นประสาทและท่อ vas deferens ที่ออกจากอัณฑะตามลงไปด้วยกลายเป็น spermatid cord การออกแรงยกของหนักหรือมีความดันในช่องท้องสูงอาจทำให้ inguinal canal ขยายเปิดกว้างออก อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในช่องท้องสามารถเคลื่อนผ่านรูนี้ออกมาดันอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกว่า ไส้เลื่อน (inguinal hernia) และถ้าหากอัณฑะยังไม่สามารถเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกสภาพนี้ว่า cryptochidismซึ่งจะมีผลทำให้ไม่สามารถสร้าง sperm ได้ โครงสร้างของอัณฑะ 	อัณฑะถูกหุ้มด้วย dense connective tissue ที่เรียกว่า tunica albugineaซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแบ่งอัณฑะออกเป็น lobule เล็ก ๆ ประมาณ 200-300 lobule ภายในแต่ละ lobule ประกอบด้วย interstitial cell of Leydigและ seminiferous tubule ซึ่งจะขดไปรวมความยาวทั้งหมดของ seminiferous tubule แล้วประมาณ 225 เมตร seminiferous tubule แต่ละหลอดมาบรรจบกันเป็น straight tubule (tubulus rectus) แล้วประสานกันเป็นตาข่ายเรียกว่า rete testis ต่อจากนั้น rete testis ก็จะรวมกันกลายเป็น ductuliefferentsทะลุ tunica albugineaเชื่อมต่อกับส่วนหัวของ epididymis
interstitial cell of Leydig (Leydig's cell)  Leydig'scell เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใน dense connective tissue โดยแทรกอยู่ระหว่าง seminiferous tubule (รูปที่ 3) ทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชาย คือ testosterone เพื่อกระตุ้นให้เด็กชายแตกหนุ่มมีรูปร่างลักษณะเปลี่ยนเป็นเพศชายชัดเจน (male secondary sex charectoristics) คือมีหนวดเคราตามใบหน้า ขนขึ้นบริเวณรักแร้ หน้าท้องและบริเวณหัวเหน่า กล่องเสียงขยายใหญ่ทำให้เสียงแตกห้าว กล้ามเนื้อเป็นมัดใหญ่ และกระดูกยืดยาวขึ้น penis ขยายโตขึ้นและต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมลูกหมาก seminal vesicle มีการเจริญเติบโตสร้างและหลั่งสารออกมา และกระตุ้นให้มีการสร้าง sperm seminiferous tubule seminiferoustubule เป็นท่อที่มีเยื่อบุผิวซึ่งวางตัวอยู่บน basal lamina ท่อนี้ถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและ เซลล์แบน ๆ มีลักษณะคล้ายเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเรียก myoid cell เมื่อเซลล์นี้หดตัวช่วยบีบไล่ sperm ออกไปตามท่อ ภายใน seminiferous tubule จะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ spermatogenic cell เป็นเซลล์ที่ให้กำเนิดเซลล์สืบพันธุ์หลายระยะและ sertoli cell (supporting cell) sertoli cell sertolicell เป็นเซลล์ทรงสูงคล้ายปิรามิด ฐานของเซลล์วางอยู่บน basal lamina ไปจนถึง lumen ทำหน้าที่ นำสารอาหารจากหลอดเลือดไปเลี้ยงเซลล์สืบพันธุ์ ช่วยในการลำเลียงเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์จาก basal lamina ของ seminiferous tubule ออกสู่ lumen ช่วยกัดกินและทำลายเซลล์สืบพันธุ์ที่ตายแล้ว
ลักษณะโครงสร้างภายใน seminiferous tubule และ spermatogenic cell
spermatogenic cell  spermatogeniccell เป็นกลุ่มของเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย มีรูปร่างกลม เรียงตัวแทรกอยู่ระหว่าง sertoli cell ตั้งแต่ชั้น basal lamina ไปจนถึง lumen ของ seminiferous tubule (รูปที่ 3) ซึ่งกลุ่มเซลล์เหล่านี้ จะมีการแบ่งตัวและเปลี่ยนตั้งแต่ spermatogoniaจนกลายไปเป็น sperm เรียกกระบวนการนี้ว่า spermatogenesis ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 64 วัน แบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ได้ 4 ระยะคือ 	1. spermatocytogenesisเป็นกระบวนการแบ่งเซลล์แบบ mitosis เริ่มต้นตั้งแต่ spermatogoniaจนกลายเป็น primary spermatocyteเพื่อเพิ่มปริมาณของเซลล์สืบพันธุ์ 	.2. meiosis เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyteจนกลายเป็น spermatidซึ่งทำให้จำนวน chromosome ลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือเป็น 23 chromosome จะมีการแบ่งเซลล์ 2 ครั้ง 	- meiosis I เป็นการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyteกลายเป็น secondary spermatocyte	- meiosis II เป็นการแบ่งเซลล์จาก secondary spermatocyteกลายเป็น spermatid	3. spermiogenesisเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ spermatidซึ่งเป็นเซลล์รูปร่างกลมให้กลายเป็นเซลล์มีรูปร่างลักษณะพิเศษคือ sperm โดยอาศัย organelle ใน spermatidคือ นิวเคลียส, golgi apparatus, mitochondria และ centrioles	.4. spermiationเป็นกระบวนการปลดปล่อย sperm ออกสู่ lumen
กระบวนการ spermeogenisis
ถ้าเอา sperm แต่ละตัวที่เจริญเต็มที่ไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นว่า sperm แต่ละตัวมีความยาว 55-65 ไมครอน ประกอบด้วย 	1. ส่วนหัว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ภายในคือนิวเคลียสของ spermatidและทางด้านหน้า 2/3 ของนิวเคลียสจะถูกหุ้มด้วย acrosomeซึ่งภายในมี acrosomal enzyme หลายชนิดทำหน้าที่ย่อยทำลายผนังของไข่คือ 	- hyaluronidase (cumulus oophorus dispersing enzyme) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย corona radiata	- acrosinหน้าที่ย่อยสลาย zonapellucidaของเซลล์ไข่ 	2. ส่วนหาง ส่วนประกอบภายในจะคล้ายกันกับ flegellumสร้างมาจาก centrioleมี mitochondria ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้แก่ sperm ให้สามารถเคลื่อนไหวได้
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (Female Reproductive System)  	ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นระบบที่ทำหน้าที่คล้ายกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งนอกจาก สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือเซลล์ไข่ และสร้าง hormone เพศหญิงแล้ว ยังทำหน้าที่ดูแลฟูมพักให้ เซลล์ไข่ที่ผสมติดให้พัฒนากลายเป็นตัวอ่อนจนคลอดออกมา ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบ ด้วย 	.อวัยวะเพศภายนอก (external genitalia) เป็นอวัยวะที่มองเห็นได้จาก ภายนอก อาจจะเรียกว่า vulva หรือpudendum ซึ่งได้แก่ เนินหัวเหน่า แคมใหญ่ แคมเล็ก clitoris, vestibule, Bartholin's gland , paraurethral gland และบริเวณฝีเย็บ 	1. ช่องคลอด (vagina) เป็นช่องทางผ่านของ sperm ที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ และเป็นทางออกของเลือดประจำเดือนและทารก 	2. รังไข่ (ovary) มีการพัฒนามาจาก gonad ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ และ hormone เพศหญิงคือ estrogen และ progesterone 	3. ท่อนำไข่ (uterine tube) เป็นท่อทำหน้าที่นำเซลล์ไข่จากรังไข่ ให้เคลื่อนไปสู่มดลูก 	4. มดลูก (uterus) ทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและนำสารอาหารมาเลี้ยงเซลล์ไข่ที่ผสมติดแล้วจนพัฒนาเป็นตัวอ่อน 	นอกจากนี้ยังมีรกและเต้านม ซึ่งไม่ได้จัดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง แต่เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
อวัยวะเพศภายนอก (external genitalia) 	1. เนินหัวเหน่า (mone pubis) เป็นผิวหนังนูนอยู่บริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่า (pubic symphysis) เมื่อเข้าสู่วัยสาวจะมีขนงอกขึ้นที่บริเวณนี้ สำหรับในเพศหญิงแนวขนจะเรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมมียอดชี้ลงมาทางด้านล่าง ส่วนในเพศชายยอดของสามเหลี่ยมจะชี้ขึ้นไปทางสะดือ 	2. แคมใหญ่ (labia majora) เป็นผิวหนังที่ต่อมาจากทางด้านล่างของเนินหัวเหน่า มีลักษณะนูนแยกเป็น 2 กลีบลงไปบรรจบกันทางด้านหลังที่บริเวณผีเย็บ 	3. แคมเล็ก (labia minora) เป็นชั้นผิวหนังที่ยกตัวขึ้นเป็นกลีบเล็กๆ สีแดง 2 กลีบทางด้านในของแคมใหญ่ กลีบของแคมเล็กทางด้านหน้าจะแยกออกเป็น 2 แฉก แฉกด้านบนมาจรดกันกลายเป็นผิวหนังคลุม clitoris เรียกว่า prepuce of clitoris แฉกด้านล่างจรดกันใต้ clitoris เรียกว่า frenulum of clitoris ส่วนปลายหลังของแคมเล็กจะโอบรอบรูเปิดของช่องคลอดและท่อปัสสาวะ แล้วมาจรดกันด้านหลังเรียกว่า fourchetteแคมเล็กไม่มีขนงอก 	4. clitoris มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ เป็นอวัยวะที่เทียบได้กับ glans penis ในเพศชาย และมีโครงสร้างเป็น erectile tissue เช่นกัน มีหลอดเลือดและปลายประสาทรับความรู้สึกมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดการฉีกขาดที่บริเวณนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขณะคลอด จะทำให้เจ็บ เสียเลือดมาก และเย็บติดได้ยาก 	5. vestibule เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้าง ตั้งแต่ clitoris ลงไปจนถึง fourchetteบริเวณนี้มีรูเปิดของท่อต่างๆ ดังนี้ 	- รูเปิดของท่อปัสสาวะ (urethral orifice) จะอยู่ถัดจาก clitoris ราว 1 ซม. 	- รูเปิดของช่องคลอด (vaginal orifice) อยู่ถัดไปอีก มีเยื่อพรหมจารีย์ปิดอยู่ 	- รูเปิดของ Bartholin's gland และ paraurethral gland อย่างละ 1 คู่
ตำแหน่งและลักษณะโครงสร้างของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
 	6. Bartholin's gland (greater vestibular gland) เป็นต่อมเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวพบอยู่ 2 ข้างของรูเปิดของช่องคลอด ต่อมนี้เปรียบเทียบได้กับต่อมคาวเปอร์ในเพศชาย จะให้ท่อออกมาเปิดที่บริเวณระหว่างเยื่อพรหมจารีย์กับแคมเล็ก ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่น และมีฤทธิ์เป็นด่างเพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอด 	7. เยื่อพรหมจารีย์ (hymen) เป็นเนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาปิดรูเปิดของช่องคลอด ตรงกลางจะมีรูเปิดเล็กๆ เยื่อพรหมจารีย์นี้สามารถยืดหยุ่นได้ ในเด็กบางคนเยื่อพรหมจารีย์ไม่มีรูเปิดจึงปิดช่องคลอดไว้หมด ทำให้เลือดประจำเดือนไม่สามารถไหลออกมาได้ เรียก imperferated hymen 	8. ฝีเย็บ (perineum) เป็นบริเวณรูปสี่เหลี่ยม (diamond-shape) โดยลากเส้นเชื่อมต่อจากกระดูกหัวเหน่าไปยัง ischialtuberosity 2 ข้าง และกระดูกก้นกบ แต่ถ้าลากเส้นตรงเชื่อมต่อระหว่าง ischialtuberosityทั้ง 2 ข้างจะแบ่งฝีเย็บออกเป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม 2 รูปคือด้านหน้าเรียก urogenital triangle เป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศภายนอกทั้งหมด และด้านหลังเรียกว่า anal triangle จะพบรูเปิดของทวารหนักอยู่ บริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก จะมีก้อนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรงอยู่ข้างในเรียกว่า perineal body ซึ่งมีความสำคัญ เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อลายหลายมัดที่ทำหน้าที่รองรับอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไม่ให้เคลื่อนออกมา ฝีเย็บมักจะฉีกขาดขณะที่ทำการคลอด ถ้าหากไม่มีการเย็บซ่อมก็อาจจะทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานโดยเฉพาะมดลูกเคลื่อนที่ออกมาทางช่องคลอด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ฝีเย็บฉีกขาด ขณะทำคลอดจะต้องตัดบริเวณฝีเย็บ เรียกว่า episiotomy เพื่อเปิดช่องคลอดให้กว้างขึ้นจะได้คลอดสะดวก เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วค่อยทำการเย็บปิดกลับตามเดิม
 รังไข่ (ovary) รังไข่ มีอยู่ 2 ข้าง มีลักษณะเป็นรูปไข่แบน มีขนาด 3 x 1.5 x 1 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 3 กรัม วางตัวอยู่ภายในอุ้งเชิงกรานทางด้านหลังของ broad ligament โดยมีเยื่อบุช่องท้องยึดระหว่างรังไข่ไว้กับ broad ligament เรียกว่า mesovariumขอบด้านในของ mesovariumจะหนาตัวขึ้นเป็นพิเศษเรียก ligament of ovary ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างรังไข่กับมดลูก ภายใน mesovariumเป็นทางผ่านของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่โครงสร้างภายในของรังไข่ 	รังไข่ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เมื่อผ่ารังไข่ออกแล้วศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า ภายในรังไข่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งความหนาแน่นแตกต่างกัน ทำให้แบ่งรังไข่ออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้ 	- ชั้นนอก (cortex) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาแน่นมาก ในชั้นนี้มีไข่ที่กำลังเจริญเติบโตในระยะต่างๆ ไข่แต่ละใบจะมีเซลล์บริวารล้อมรอบอยู่เสมอ 	- ชั้นใน (medulla) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่างหลวมๆ ภายในมีหลอดเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง
วงจรการเจริญของไข่ (ovarian cycle) เมื่อครั้งยังคงเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดานั้น ภายในชั้น cortex ของรังไข่จะมี ovarian follicle หลายล้านใบ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มี ovarian follicle เพียง 400,000 ใบ ส่วนใหญ่จะฝ่อไป (atresia) มีเพียง 400 - 500 ใบเท่านั้นที่เติบโตสมบูรณ์ครบวงจร จนพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ovarian follicle ที่พบในรังไข่มีหลายระยะดังนี้ primodialfollicle พบได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ประกอบด้วย เซลล์ไข่ (primary oocyte) และเซลล์บริวาร (follicular cell) แบนๆ เพียงชั้นเดียว growing follicle เป็น follicle ที่ได้รับการกระตุ้นจาก follicle stimulating hormone (FSH) จากต่อมใต้สมอง ทำให้ primary oocyteมีขนาดใหญ่ขึ้น และ follicular cell เปลี่ยนจากเซลล์แบนๆ กลายเป็น cuboidal cell และมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนซ้อนกันหลายๆ ชั้น ซึ่งอาจจะเรียกเซลล์พวกนี้ว่า granulosa cell ก็ได้ ต่อมามีการสร้างของเหลวสะสมนอกเซลล์ เกิดเป็นแอ่งเรียกว่า follicular antrumในขณะเดียวกันทั้ง primary oocyteและ granulosa cell จะมีการสร้างสารพวก glycoprotein หุ้มรอบ oocyteเรียกว่า zonapellucidaนอกจากนี้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ล้อมรอบ follicle ก็มีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็น theca cells ทำหน้าที่ร่วมกับ granulosa cells สร้างฮอร์โมน estrogen
ลักษณะโครงสร้างภายในรังไข่
 การเจริญของเซลล์ไข่ (maturation of oocyteหรือ oogenesis) การเจริญของเซลล์ไข่แตกต่างจากการเจริญของ sperm คือในแต่ละเดือนเซลล์ไข่สามารถเจริญพร้อมที่จะผสมกับ sperm ได้เพียง 1 ใบเท่านั้น ในขณะที่เพศชายสามารถผลิต sperm ได้จำนวนนับพันล้านตัวที่เจริญสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงแบ่งเป็นหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนอาศัยเวลานานจึงจะเสร็จสิ้นได้เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการผลิตเซลล์ไข่ให้เจริญสมบูรณ์จนพร้อมที่จะผสมได้นั้นเรียกว่า oogenesisโดย เริ่มตั้งแต่ระยะที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดามี primodial germ cell เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้น mesoderm เคลื่อนที่แทรกเข้าไปในรังไข่เรียกชื่อใหม่ว่า
ท่อนำไข่ (uterine tube, fallopian tube หรือ oviduct) ท่อนำไข่ เป็นท่อที่วางทอดตัวโค้งไปทางด้านหลัง อยู่ตรงขอบด้านบนของ broad ligament ซึ่งเป็นเยื่อบุช่องท้อง 2 ชั้นคลุมอยู่ ท่อนำไข่ยาวประมาณ 4 นิ้ว ปลายด้านหนึ่งจะเปิดออกสู่ช่องท้อง (peritonial cavity) ส่วนปลายอีก ข้างหนึ่งเปิดเข้าสู่โพรงมดลูก ท่อนำไข่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนคือ 	1. infundibulumเป็นรูปกรวย ส่วนปลายที่เปิดออกสู่ช่องท้องมีส่วนยื่นออกเป็นริ้วคล้ายนิ้วมือเรียกว่า fimbriaeเพื่อรองรับและเก็บเซลล์ไข่ที่ตกออกมาในช่องท้องโดย cilia จะช่วยโบกพัดให้เซลล์ไข่เคลื่อนเข้าไปในท่อนำไข่ 	2. ampullaเป็นส่วนที่กว้างที่สุดและมีผนังบาง อยู่ต่อจาก infundibulumเป็นบริเวณที่เซลล์ไข่ผสมกับ sperm 	3. isthmus เป็นส่วนที่แคบที่สุดของท่อนำไข่ อยู่ติดกับด้านข้างของมดลูกเหนือ round ligament 	4. intramural (interstitial) segment เป็นส่วนของท่อนำไข่ที่ฝังตัวอยู่ในผนังของมดลูก ท่อนำไข่ ทำหน้าที่เก็บเซลล์ไข่ที่หลุดออกจากรังไข่ เป็นบริเวณที่ผสมกันของเซลล์ไข่กับ sperm และนำเซลล์ไข่ทีผสมติดแล้วเดินทางเข้าสู่โพรงมดลูก ดังนั้นในระยะก่อนไข่ตก fimbriaeจะเคลื่อนเข้าใกล้รังไข่ cilia ที่ fimbriaeจะโบกพัดเซลล์ไข่ที่ตกลงไปในช่องท้องให้เคลื่อนเข้าไปในท่อนำไข่ แล้วเดินทางต่อไปจนเข้าสู่โพรงมดลูกโดยอาศัยการโบกพัดของ cilia และการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ
ลักษณะโครงสร้างภายในท่อนำไข่และมดลูก
สมาชิกในกลุ่ม 1. นายปัญญารัตน์	ชูจิตต์	เลขที่ 22	ม.5/7

More Related Content

What's hot

ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011Namthip Theangtrong
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์
Lilrat Witsawachatkun
 
เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
natthineechobmee
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
Pinutchaya Nakchumroon
 
Developmental biology sp2
Developmental biology sp2Developmental biology sp2
Developmental biology sp2Wan Ngamwongwan
 
ระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชาย
ระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชายระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชาย
ระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชาย
Tiwapon Wiset
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์
Issara Mo
 
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemsupreechafkk
 
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายNokko Bio
 
บทที่ 14 การสืบพันธ์ของพืชดอก
บทที่ 14  การสืบพันธ์ของพืชดอกบทที่ 14  การสืบพันธ์ของพืชดอก
บทที่ 14 การสืบพันธ์ของพืชดอกฟลุ๊ค ลำพูน
 
การสืบพันธุ2
การสืบพันธุ2การสืบพันธุ2
การสืบพันธุ2Coverslide Bio
 
Kingdom Animalia
Kingdom AnimaliaKingdom Animalia
Kingdom Animalia
Thanyamon Chat.
 
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...
Prachoom Rangkasikorn
 
Digestive system mutipoint
Digestive system mutipointDigestive system mutipoint
Digestive system mutipointsupreechafkk
 

What's hot (20)

Chapter6
Chapter6Chapter6
Chapter6
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
 
สืบพันธุ์
สืบพันธุ์สืบพันธุ์
สืบพันธุ์
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์
 
เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
เอกสารเรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
 
Developmental biology sp2
Developmental biology sp2Developmental biology sp2
Developmental biology sp2
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์
 
ระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชาย
ระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชายระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชาย
ระบบสืบพันธุ์และอวัยะเพศชาย
 
ใบความรู้ที่1pdf
ใบความรู้ที่1pdfใบความรู้ที่1pdf
ใบความรู้ที่1pdf
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์
 
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
 
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
 
บทที่ 14 การสืบพันธ์ของพืชดอก
บทที่ 14  การสืบพันธ์ของพืชดอกบทที่ 14  การสืบพันธ์ของพืชดอก
บทที่ 14 การสืบพันธ์ของพืชดอก
 
Endocrine system
Endocrine systemEndocrine system
Endocrine system
 
การสืบพันธุ2
การสืบพันธุ2การสืบพันธุ2
การสืบพันธุ2
 
Kingdom Animalia
Kingdom AnimaliaKingdom Animalia
Kingdom Animalia
 
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f11...
 
Digestive system mutipoint
Digestive system mutipointDigestive system mutipoint
Digestive system mutipoint
 
Animal tissue
Animal tissueAnimal tissue
Animal tissue
 

Viewers also liked

ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemsupreechafkk
 
ระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemsupreechafkk
 
การทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาทการทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาท
สุรินทร์ ดีแก้วเกษ
 
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...
Prachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...
Prachoom Rangkasikorn
 
บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์
Wichai Likitponrak
 
ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page
 ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page
ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page
Prachoom Rangkasikorn
 
การแนะนำบทเรียน ม6-2
การแนะนำบทเรียน ม6-2การแนะนำบทเรียน ม6-2
การแนะนำบทเรียน ม6-2
Wichai Likitponrak
 
บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์
Wichai Likitponrak
 
การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30
การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30
การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30
PamPaul
 
หน่วยที่2
หน่วยที่2หน่วยที่2
หน่วยที่2
Wan Ngamwongwan
 
การสมัครเป็นสมาชิก slideshare
การสมัครเป็นสมาชิก slideshareการสมัครเป็นสมาชิก slideshare
การสมัครเป็นสมาชิก slideshare
Pipit Sitthisak
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
Wichai Likitponrak
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
Wan Ngamwongwan
 
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืชธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
Kunnanatya Pare
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
Wichai Likitponrak
 
บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์
Wichai Likitponrak
 
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
Wan Ngamwongwan
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการWan Ngamwongwan
 

Viewers also liked (20)

ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive systemระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
ระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต - Reprodutive system
 
ระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous system
 
การทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาทการทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาท
 
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ไม่อาศัยเพศของไฮดรา+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f23-1...
 
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...
ใบความรู้+การสืบพันธุ์ของสัตว์(การปฏิสันธิ)2+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f2...
 
บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์
 
Light microscope
Light microscopeLight microscope
Light microscope
 
ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page
 ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page
ใบความรู้+สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง+ป.5+281+dltvscip5+55t2sci p05 f18-1page
 
การแนะนำบทเรียน ม6-2
การแนะนำบทเรียน ม6-2การแนะนำบทเรียน ม6-2
การแนะนำบทเรียน ม6-2
 
บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์บท1การแบ่งเซลล์
บท1การแบ่งเซลล์
 
การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30
การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30
การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในครรภ์ 29,30
 
หน่วยที่2
หน่วยที่2หน่วยที่2
หน่วยที่2
 
การสมัครเป็นสมาชิก slideshare
การสมัครเป็นสมาชิก slideshareการสมัครเป็นสมาชิก slideshare
การสมัครเป็นสมาชิก slideshare
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
 
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
3การแลกเปลี่ยนแก๊ส
 
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืชธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ธนาคารความรู้ การดำรงชีวิตของพืช
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์
 
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5 dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
dnaกับลักษณะทางพันธุกรรมม.5
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ
 

Similar to การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์

What is 0rganism 1
What is 0rganism 1What is 0rganism 1
What is 0rganism 1
Siriwan Downrueng
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิตChidchanok Puy
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิตChidchanok Puy
 
บทที่-5-การสืบพันธุ์.ppt
บทที่-5-การสืบพันธุ์.pptบทที่-5-การสืบพันธุ์.ppt
บทที่-5-การสืบพันธุ์.ppt
rathachokharaluya
 
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
pitsanu duangkartok
 
การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชการสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชchiralak
 
Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62
Wichai Likitponrak
 
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์kanitnun
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตบทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
Pinutchaya Nakchumroon
 
Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561
Wichai Likitponrak
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตsupreechafkk
 
Stem cell and gene therapy
Stem cell and gene therapyStem cell and gene therapy
Stem cell and gene therapy
Mahidol University, Thailand
 
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การจัดจำแนก
การจัดจำแนกการจัดจำแนก
การจัดจำแนกNonglawan Saithong
 

Similar to การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์ (20)

What is 0rganism 1
What is 0rganism 1What is 0rganism 1
What is 0rganism 1
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
 
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิตนำเสนอหน้าชั้นเรื่อง  เซลล์สิ่งมีชีวิต
นำเสนอหน้าชั้นเรื่อง เซลล์สิ่งมีชีวิต
 
บทที่-5-การสืบพันธุ์.ppt
บทที่-5-การสืบพันธุ์.pptบทที่-5-การสืบพันธุ์.ppt
บทที่-5-การสืบพันธุ์.ppt
 
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
 
การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2
 
การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชการสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืช
 
Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62
 
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
เทคโนโลยีเกี่ยวกับสัตว์
 
1 repro
1 repro1 repro
1 repro
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตบทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
 
1
11
1
 
Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561
 
Reproduction
ReproductionReproduction
Reproduction
 
Reproduction
ReproductionReproduction
Reproduction
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
 
Stem cell and gene therapy
Stem cell and gene therapyStem cell and gene therapy
Stem cell and gene therapy
 
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
 
การจัดจำแนก
การจัดจำแนกการจัดจำแนก
การจัดจำแนก
 
Stem cell คืออะไร
Stem cell คืออะไรStem cell คืออะไร
Stem cell คืออะไร
 

การสืบพันธุ์และหารเจริญเติบโตของสัตว์

  • 2. การสืบพันธุ์ การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์ การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
  • 3. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell) เป็นการสืบพันธุ์ที่สร้างหน่วยใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดิม อาจเกิดได้โดยการจำลองตัวเองของหน่วยพันธุกรรม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโตซีส หรือการแบ่งเซลล์แบบ mitotic cell division หน่วยใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้พบตั้งแต่สิ่งที่มีชีวิตที่ยังไม่เป็นเซลล์ พวกเซลล์เดียว และพวกหลายเซลล์ไปจนถึงพืชชั้นสูง เป็นการสืบพันธุ์ที่ง่ายที่สุด พบในสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่มีระบบสืบพันธุ์หรือมีแต่ยังไม่เจริญดี ทำได้โดยการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้ตายและสูญพันธุ์ในที่สุด
  • 4. ขั้นตอนการสืบพันธุ์ 1. การแตกหน่อ (Budding) เป็นการสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นต่ำ โดยเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวเล็ก ๆ ที่มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่ หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกมาไปอยู่อิสระตามลำพัง สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์ลักษณะนี้ได้แก่ ไฮดรา หนอนตัวแบน ฟองน้ำ ปะการัง และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) เช่น ยีสต์ ไฮดราฟองน้ำ ในพืชชั้นสูงก็มีพวก ขิง ข่า กล้วย หน่อไม้ เป็นต้น
  • 5. ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ชั้นต่ำประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดประมาณ 0.5 - 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร มีหนวดเป็นเส้นยาว 4 - 12 เส้นลำตัวสีขาวขุ่น แต่บางชนิดมีสีเขียว ซึ่งเกิดจากสาหร่ายสีเขียวที่อาศัยอยู่ในตัวไฮดรา จึงทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ อาหารของไฮดรา คือ ไรน้ำและตัวอ่อนของแมลงในน้ำ ไฮดราสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ดังนี้ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไฮดรา เมื่อไฮดราเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีการสร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัวงอกออกมา แล้วเจริญเติบโตเป็นไฮดราตัวเล็ก ๆ หลังจากนั้นก็จะหลุดออกไปอยู่ตามลำพังได้เอง การสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า การแตกหน่อ (Budding)
  • 6. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของไฮดรา ไฮดรามีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่อาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดราจะมี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยมีรังไข่อยู่ข้างลำตัว ลักษณะเป็นปุ่มใหญ่เหนือรังไข่บริเวณใกล้ ๆ หนวด (Tentacle) จะมีอัณฑะเป็นปุ่มเล็ก ๆ รังไข่จะผลิตเซลล์ไข่ และอัณฑะจะผลิตเซลล์อสุจิ โดยปกติไข่และตัวอสุจิจะเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องผสมกับตัวอื่น ตัวอสุจิจากไฮดราตัวหนึ่งจะว่ายน้ำไปผสมกับไข่ที่สุกในรังไข่ของไฮดราตัวอื่นไข่ที่ผสมแล้วจะเป็นไซโกตซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งจึงจะหลุดออกไปจากตัวแม่ แล้วเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่ต่อไป
  • 7. การแบ่ง ตัวออกเป็นสอง (Binary Fission)เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (พวกโพรติสต์) ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา และแบคทีเรีย การสืบพันธุ์วิธีนี้เกิดขึ้นโดยการแบ่งตัวจาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ โดยนิวเคลียสของเซลล์จะแบ่งตัวก่อน แล้วไซโทพลาซึมจะแบ่งตามได้เป็นตัวใหม่ 2 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเดิมทุกประการ เช่น - การแบ่งตัวของอะมีบา
  • 8. พาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของแมลงบางชนิด เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ เพลี้ย ไรน้ำซึ่งตัวเมียสามารถผลิตไข่ที่ฟักเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิในสภาวะปกติไข่ของสัตว์ดังกล่าวจะฟักออกมาเป็นตัวเมียเสมอ แต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น เกิดความแห้งแล้งหนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียก็จะผลิตไข่ที่ฟักออกเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย จากนั้นสัตว์ตัวผู้และตัวเมียเหล่านี้จะผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะออกไข่ที่มีความคงทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวได้ ในผึ้ง มด ต่อ แตน ก็พบว่ามีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธีโนเจเนซิสด้วยเช่นกัน โดยไข่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ ซึ่งจะฟักออกมาเป็นตัวผู้เสมอ การงอกใหม่ (Regeneration) พบในสัตว์ชั้นต่ำ ได้แก่ ปลาดาว พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ปลิง ซีแอนนีโมนี การงอกใหม่เป็นการสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไป โดยสัตว์เหล่านี้ถ้าร่างกายถูกตัดออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ได้ ดังนั้นการงอกใหม่นี้จึงทำให้มีจำนวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิม การสร้างสปอร์ (Spore Formation) เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดจากการแบ่งนิวเคลียสหลาย ๆ ครั้ง ต่อจากนั้นไซโทพลาซึมจะแบ่งตาม แล้วจะมีการสร้างเยื่อกั้นเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะมีนิวเคลียส 1 อัน เรียกว่า สปอร์ (Spore) สัตว์ที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ พลาสโมเดียม ซึ่งเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย การขาดออกเป็นท่อน (Fragmentation)เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอีกแบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพวกที่มีเซลล์ต่อกันเป็นเส้นสายโดยการหักเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนที่หลุดไปก็จะแบ่งตัวแบบ Mitotic cell division ได้เซลล์ใหม่ที่ต่อกันเป็นเส้นสายเจริญต่อไป เช่น พวกหนอนตัวแบน สาหร่ายทะเล
  • 9. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ผลิตสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาด้วยการรวมตัวของหน่วยพันธุกรรมซึ่งอาจเกิดจากสิ่งมีชี วิตตัวเดียวกัน หรือคนละตัวก็ได้ หรือเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์ (sex cell or gamete) ซึ่งจากการแบ่งตัวของ germ line cell แบบ meiotic cell division การรวมตัวของเซลล์สืบ พันธุ์เรียกว่า ปฏิสนธิ (fertilization) ได้นิวเคลียสใหม่ที่เป็นdiploid ซึ่งเรียกว่า Zygote และ zygote ที่ได้จะเป็นเซลล์เริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไปขั้นตอนการสืบพันธุ์
  • 10. ไข่ (Egg) โดยทั่วไปมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ ไข่ของสัตว์มักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อเลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายในไข่ เช่น ไข่แดงของไข่ไก่และไข่เป็ด ไข่แดงซึ่งมีเยื่อหุ้มอยู่เทียบได้กับเซลล์ 1 เซลล์ ส่วนจุดกลม ๆ ในไข่แดง คือ นิวเคลียส เซลล์ไข่ส่วนมากมักจะมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม เช่นไข่กบมีวุ้นหุ้ม ไข่เต่าทะเลมีสิ่งที่มีลักษณะเป็นเยื่อเหนียวหุ้ม ไข่เป็ดและไข่ไก่มีเปลือกแข็งหุ้ม เป็นต้น ตัวอสุจิ (Sperm)มีขนาดเล็กกว่าไข่มาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะมองเห็น ตัวอสุจิมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ หัว (head) ลำตัว (body) และหาง (tail) ส่วนหัวจะมีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ เคลื่อนที่โดยใช้หาง ตัวอย่างเซลล์อสุจิมีขนาดเล็กกว่าไข่มากและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและจะเคลื่อนที่ได้เร็วเพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่ ตัวอสุจิจะมีขนาดเล็กกว่าไข่มาก และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจะเคลื่อนที่ได้เร็วเพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่
  • 11. เมื่อสัตว์โตเต็มที่และพร้อมที่จะสืบพันธุ์แล้ว เพศเมียจะสร้างไข่ และเพศผู้จะสร้างอสุจิ ไข่และตัวอสุจิของสัตว์แต่ละชนิดจะมีขนาดและจำนวนต่างๆกันไป โดยทั่วไปไข่จะมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ และมักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อไว้เลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายใน เช่น ไข่แดงของไข่ไก่ ไข่เป็ด นอกจากนี้ยังมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นวุ้น เช่น ไข่กบ หรือมีลักษณะเป็นเยื่อเหนียว เช่น ไข่เต่าทะเล บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่จระเข้ เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่จะเกิด การปฏิสนธิ (Fertilization) ขึ้น
  • 12. การปฏิสนธิ (Fertilization)แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ1.การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization)2.การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization) ……………………………………………………………………………………………………… .การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization)ตัวอสุจิจากสัตว์เพศผู้เข้าผสมกับไข่ซึ่งยังอยู่ในตัวของสัตว์เพศเมียได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง ปลาที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม
  • 13. การปฏิสนธิภายนอก (External Fertilization)การผสมระหว่างไข่และตัวอสุจิภายนอกตัวของสัตว์เพศเมีย ได้แก่ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ปลาต่าง ๆ และสัตว์น้ำที่ออกลูกเป็นไข่ทุกชนิด
  • 14. การเปลี่ยนสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์ เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ 4 กระบวนการ คือ 1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication) ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว เมื่อมีการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำรนวนเซลล์ก็จะทำให้เกิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศขึ้น ส่วนในพวกสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เมื่อเกิดปฏิสนธิแล้ว เซลล์ที่ได้ก็ คือ ไซโกต ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้น และมีขนาดเพิ่มขึ้น การจะมีเซลล์มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เท่าใด 2. การเจริญเติบโต (growth) ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว การเพิ่มของโพรโทพลาซึมก็จัดว่า เป็นการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งเซลล์ในตอนแรกเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เดิม ในเวลาต่อมาเซลล์ใหม่ที่ได้จะสร้างสารต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้ขนาดของเซลล์ใหม่นั้นขยายขนาดขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วย ในสิ่งมีชีวิตพวกที่เป็นหลายเซลล์ ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ก็คือ การขยายขนาดให้ใหญ่โตขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน บนร่างกายจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว และไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งถูกควบคุมโดยจีนบนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ
  • 15. 3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ (cell differentiation) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ เหมือนกัน เช่น มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น การสร้าง เอนโดสปอร์ (endospore) ของแบคทีเรียในพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็มี เช่น การสร้างเซลล์พิเศษซึ่งเรียกว่า เฮเทอโรซิสต์ (heterocyst) มีผนังหนาและสามารถจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อเซลล์ของสาหร่ายชนิดนั้น ๆ ได้ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ เมื่อไข่และสเปิร์มผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่ คือ ไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ในการหดตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว เซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน เซลล์ประสาททำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึก และคำสั่งต่าง ๆ เซลล์ต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเซลล์ภายในร่างการของเราจะเริ่มต้นมาจากเซลล์เซลล์เดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กันได้ 4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis) เป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ขบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเอมบริโออยู่ตลอดเวลาที่มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ขึ้น อัตราเร็วของการสร้างในแต่ละแห่งบนร่างกายจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว และไม่เหมือนกับ
  • 16. ระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Male Reproductive System) ระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เป็นระบบที่สำคัญต่อการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน โดยจะทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเลี้ยงดูจนกลายเป็นตัวเต็มวัยออกมา โดยมีสารพันธุกรรมจากพ่อและแม่เป็นตัวกำหนดลักษณะตลอดจนเพศของลูกตั้งแต่มีการปฏิสนธิ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกของเพศชายและเพศหญิง จะมีการพัฒนามาตั้งแต่ระยะที่อยู่ในท้องของแม่แล้ว โดยจะมีการพัฒนาควบคู่มากับระบบขับถ่าย ผลจาก Y chromosome ในตัวอ่อนเพศชายจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะของระบบสืบพันธุ์ชาย แต่ในตัวอ่อนเพศหญิงไม่มี Y chromosome จึงมีการพัฒนาให้เป็นอวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงแทน ระบบสืบพันธุ์เพศชาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ sperm และทำหน้าที่ในการนำส่ง sperm เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อผสมกับเซลล์ไข่ต่อไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชายอีกด้วยอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย 1. อัณฑะ (testes) มีการพัฒนามาจาก gonads ทำหน้าที่สร้าง sperm และ hormone เพศชายคือ testosterone 2. accessory ducts เป็นท่อนำ sperm จากอัณฑะออกไปสู่ภายนอก ประกอบด้วย epididymis, vas deferens, ejaculatory duct และท่อปัสสาวะ 3. accessory glands เป็นต่อมที่สร้างสารอาหารเลี้ยง sperm และช่วยอำนวยความสะดวกในการลำเลียง sperm ออกสู่ภายนอกด้วย ได้แก่ seminal vesicle ต่อมลูกหมาก และต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland) 4. penis ทำหน้าที่นำส่งน้ำอสุจิเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
  • 17. ถุงอัณฑะ (scrotal sac หรือ scrotum) ถุงอัณฑะเป็นส่วนผิวหนังที่มีลักษณะเป็นถุงยื่นออกมาจากส่วนล่างของผนังหน้าท้องบริเวณส่วนกลางของถุงอัณฑะมีสันนูนคล้ายรอยเย็บ เรียกว่า scrotal rapheซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแยกออกเป็น 2 ถุง ภายในถุงอัณฑะแต่ละข้างประกอบด้วย อัณฑะ epididymisและปลายด้านล่างของ spermatid cord ผิวหนังของถุงอัณฑะบางและเป็นรอยย่น (rugose) เนื่องจากในชั้นผิวหนังของถุงอัณฑะมีกล้ามเนื้อเรียบเรียกว่า dartos muscle ซึ่งถูกเลี้ยงโดยระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic กล้ามเนื้อ dartosจะทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของอัณฑะให้คงที่ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างและการพัฒนาของ sperm ที่ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
  • 18. อัณฑะ (testes) อัณฑะ เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้อยู่ในถุงอัณฑะ มีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดประมาณ 4x2.5x2 เซ็นติเมตร หนัก 10-15 กรัม ปกติอัณฑะทางด้านซ้ายจะอยู่ต่ำกว่าทางด้านขวาประมาณ 1 เซ็นติเมตร ในตัวอ่อนอัณฑะจะวางตัวอยู่ในช่องท้องใกล้กับไต เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 7 เดือนอัณฑะจะเคลื่อนผ่าน inguinal canal ซึ่งเป็นช่องทางเชื่อมระหว่างถุงอัณฑะกับช่องท้อง แล้วเข้าไปอยู่ในถุงอัณฑะพร้อมทั้งนำเอาหลอดเลือด เส้นประสาทและท่อ vas deferens ที่ออกจากอัณฑะตามลงไปด้วยกลายเป็น spermatid cord การออกแรงยกของหนักหรือมีความดันในช่องท้องสูงอาจทำให้ inguinal canal ขยายเปิดกว้างออก อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในช่องท้องสามารถเคลื่อนผ่านรูนี้ออกมาดันอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกว่า ไส้เลื่อน (inguinal hernia) และถ้าหากอัณฑะยังไม่สามารถเคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ เรียกสภาพนี้ว่า cryptochidismซึ่งจะมีผลทำให้ไม่สามารถสร้าง sperm ได้ โครงสร้างของอัณฑะ อัณฑะถูกหุ้มด้วย dense connective tissue ที่เรียกว่า tunica albugineaซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแบ่งอัณฑะออกเป็น lobule เล็ก ๆ ประมาณ 200-300 lobule ภายในแต่ละ lobule ประกอบด้วย interstitial cell of Leydigและ seminiferous tubule ซึ่งจะขดไปรวมความยาวทั้งหมดของ seminiferous tubule แล้วประมาณ 225 เมตร seminiferous tubule แต่ละหลอดมาบรรจบกันเป็น straight tubule (tubulus rectus) แล้วประสานกันเป็นตาข่ายเรียกว่า rete testis ต่อจากนั้น rete testis ก็จะรวมกันกลายเป็น ductuliefferentsทะลุ tunica albugineaเชื่อมต่อกับส่วนหัวของ epididymis
  • 19.
  • 20. interstitial cell of Leydig (Leydig's cell) Leydig'scell เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใน dense connective tissue โดยแทรกอยู่ระหว่าง seminiferous tubule (รูปที่ 3) ทำหน้าที่สร้าง hormone เพศชาย คือ testosterone เพื่อกระตุ้นให้เด็กชายแตกหนุ่มมีรูปร่างลักษณะเปลี่ยนเป็นเพศชายชัดเจน (male secondary sex charectoristics) คือมีหนวดเคราตามใบหน้า ขนขึ้นบริเวณรักแร้ หน้าท้องและบริเวณหัวเหน่า กล่องเสียงขยายใหญ่ทำให้เสียงแตกห้าว กล้ามเนื้อเป็นมัดใหญ่ และกระดูกยืดยาวขึ้น penis ขยายโตขึ้นและต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมลูกหมาก seminal vesicle มีการเจริญเติบโตสร้างและหลั่งสารออกมา และกระตุ้นให้มีการสร้าง sperm seminiferous tubule seminiferoustubule เป็นท่อที่มีเยื่อบุผิวซึ่งวางตัวอยู่บน basal lamina ท่อนี้ถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและ เซลล์แบน ๆ มีลักษณะคล้ายเซลล์กล้ามเนื้อเรียบเรียก myoid cell เมื่อเซลล์นี้หดตัวช่วยบีบไล่ sperm ออกไปตามท่อ ภายใน seminiferous tubule จะประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ spermatogenic cell เป็นเซลล์ที่ให้กำเนิดเซลล์สืบพันธุ์หลายระยะและ sertoli cell (supporting cell) sertoli cell sertolicell เป็นเซลล์ทรงสูงคล้ายปิรามิด ฐานของเซลล์วางอยู่บน basal lamina ไปจนถึง lumen ทำหน้าที่ นำสารอาหารจากหลอดเลือดไปเลี้ยงเซลล์สืบพันธุ์ ช่วยในการลำเลียงเคลื่อนย้ายเซลล์สืบพันธุ์จาก basal lamina ของ seminiferous tubule ออกสู่ lumen ช่วยกัดกินและทำลายเซลล์สืบพันธุ์ที่ตายแล้ว
  • 22. spermatogenic cell spermatogeniccell เป็นกลุ่มของเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย มีรูปร่างกลม เรียงตัวแทรกอยู่ระหว่าง sertoli cell ตั้งแต่ชั้น basal lamina ไปจนถึง lumen ของ seminiferous tubule (รูปที่ 3) ซึ่งกลุ่มเซลล์เหล่านี้ จะมีการแบ่งตัวและเปลี่ยนตั้งแต่ spermatogoniaจนกลายไปเป็น sperm เรียกกระบวนการนี้ว่า spermatogenesis ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 64 วัน แบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ได้ 4 ระยะคือ 1. spermatocytogenesisเป็นกระบวนการแบ่งเซลล์แบบ mitosis เริ่มต้นตั้งแต่ spermatogoniaจนกลายเป็น primary spermatocyteเพื่อเพิ่มปริมาณของเซลล์สืบพันธุ์ .2. meiosis เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyteจนกลายเป็น spermatidซึ่งทำให้จำนวน chromosome ลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือเป็น 23 chromosome จะมีการแบ่งเซลล์ 2 ครั้ง - meiosis I เป็นการแบ่งเซลล์จาก primary spermatocyteกลายเป็น secondary spermatocyte - meiosis II เป็นการแบ่งเซลล์จาก secondary spermatocyteกลายเป็น spermatid 3. spermiogenesisเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ spermatidซึ่งเป็นเซลล์รูปร่างกลมให้กลายเป็นเซลล์มีรูปร่างลักษณะพิเศษคือ sperm โดยอาศัย organelle ใน spermatidคือ นิวเคลียส, golgi apparatus, mitochondria และ centrioles .4. spermiationเป็นกระบวนการปลดปล่อย sperm ออกสู่ lumen
  • 24. ถ้าเอา sperm แต่ละตัวที่เจริญเต็มที่ไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นว่า sperm แต่ละตัวมีความยาว 55-65 ไมครอน ประกอบด้วย 1. ส่วนหัว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ภายในคือนิวเคลียสของ spermatidและทางด้านหน้า 2/3 ของนิวเคลียสจะถูกหุ้มด้วย acrosomeซึ่งภายในมี acrosomal enzyme หลายชนิดทำหน้าที่ย่อยทำลายผนังของไข่คือ - hyaluronidase (cumulus oophorus dispersing enzyme) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย corona radiata - acrosinหน้าที่ย่อยสลาย zonapellucidaของเซลล์ไข่ 2. ส่วนหาง ส่วนประกอบภายในจะคล้ายกันกับ flegellumสร้างมาจาก centrioleมี mitochondria ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้แก่ sperm ให้สามารถเคลื่อนไหวได้
  • 25. ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง (Female Reproductive System) ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นระบบที่ทำหน้าที่คล้ายกับระบบสืบพันธุ์เพศชาย ซึ่งนอกจาก สร้างเซลล์สืบพันธุ์คือเซลล์ไข่ และสร้าง hormone เพศหญิงแล้ว ยังทำหน้าที่ดูแลฟูมพักให้ เซลล์ไข่ที่ผสมติดให้พัฒนากลายเป็นตัวอ่อนจนคลอดออกมา ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบ ด้วย .อวัยวะเพศภายนอก (external genitalia) เป็นอวัยวะที่มองเห็นได้จาก ภายนอก อาจจะเรียกว่า vulva หรือpudendum ซึ่งได้แก่ เนินหัวเหน่า แคมใหญ่ แคมเล็ก clitoris, vestibule, Bartholin's gland , paraurethral gland และบริเวณฝีเย็บ 1. ช่องคลอด (vagina) เป็นช่องทางผ่านของ sperm ที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ และเป็นทางออกของเลือดประจำเดือนและทารก 2. รังไข่ (ovary) มีการพัฒนามาจาก gonad ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ และ hormone เพศหญิงคือ estrogen และ progesterone 3. ท่อนำไข่ (uterine tube) เป็นท่อทำหน้าที่นำเซลล์ไข่จากรังไข่ ให้เคลื่อนไปสู่มดลูก 4. มดลูก (uterus) ทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและนำสารอาหารมาเลี้ยงเซลล์ไข่ที่ผสมติดแล้วจนพัฒนาเป็นตัวอ่อน นอกจากนี้ยังมีรกและเต้านม ซึ่งไม่ได้จัดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง แต่เป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
  • 26. อวัยวะเพศภายนอก (external genitalia) 1. เนินหัวเหน่า (mone pubis) เป็นผิวหนังนูนอยู่บริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่า (pubic symphysis) เมื่อเข้าสู่วัยสาวจะมีขนงอกขึ้นที่บริเวณนี้ สำหรับในเพศหญิงแนวขนจะเรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมมียอดชี้ลงมาทางด้านล่าง ส่วนในเพศชายยอดของสามเหลี่ยมจะชี้ขึ้นไปทางสะดือ 2. แคมใหญ่ (labia majora) เป็นผิวหนังที่ต่อมาจากทางด้านล่างของเนินหัวเหน่า มีลักษณะนูนแยกเป็น 2 กลีบลงไปบรรจบกันทางด้านหลังที่บริเวณผีเย็บ 3. แคมเล็ก (labia minora) เป็นชั้นผิวหนังที่ยกตัวขึ้นเป็นกลีบเล็กๆ สีแดง 2 กลีบทางด้านในของแคมใหญ่ กลีบของแคมเล็กทางด้านหน้าจะแยกออกเป็น 2 แฉก แฉกด้านบนมาจรดกันกลายเป็นผิวหนังคลุม clitoris เรียกว่า prepuce of clitoris แฉกด้านล่างจรดกันใต้ clitoris เรียกว่า frenulum of clitoris ส่วนปลายหลังของแคมเล็กจะโอบรอบรูเปิดของช่องคลอดและท่อปัสสาวะ แล้วมาจรดกันด้านหลังเรียกว่า fourchetteแคมเล็กไม่มีขนงอก 4. clitoris มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ เป็นอวัยวะที่เทียบได้กับ glans penis ในเพศชาย และมีโครงสร้างเป็น erectile tissue เช่นกัน มีหลอดเลือดและปลายประสาทรับความรู้สึกมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดการฉีกขาดที่บริเวณนี้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขณะคลอด จะทำให้เจ็บ เสียเลือดมาก และเย็บติดได้ยาก 5. vestibule เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างแคมเล็กทั้งสองข้าง ตั้งแต่ clitoris ลงไปจนถึง fourchetteบริเวณนี้มีรูเปิดของท่อต่างๆ ดังนี้ - รูเปิดของท่อปัสสาวะ (urethral orifice) จะอยู่ถัดจาก clitoris ราว 1 ซม. - รูเปิดของช่องคลอด (vaginal orifice) อยู่ถัดไปอีก มีเยื่อพรหมจารีย์ปิดอยู่ - รูเปิดของ Bartholin's gland และ paraurethral gland อย่างละ 1 คู่
  • 28. 6. Bartholin's gland (greater vestibular gland) เป็นต่อมเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวพบอยู่ 2 ข้างของรูเปิดของช่องคลอด ต่อมนี้เปรียบเทียบได้กับต่อมคาวเปอร์ในเพศชาย จะให้ท่อออกมาเปิดที่บริเวณระหว่างเยื่อพรหมจารีย์กับแคมเล็ก ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่น และมีฤทธิ์เป็นด่างเพื่อลดความเป็นกรดในช่องคลอด 7. เยื่อพรหมจารีย์ (hymen) เป็นเนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาปิดรูเปิดของช่องคลอด ตรงกลางจะมีรูเปิดเล็กๆ เยื่อพรหมจารีย์นี้สามารถยืดหยุ่นได้ ในเด็กบางคนเยื่อพรหมจารีย์ไม่มีรูเปิดจึงปิดช่องคลอดไว้หมด ทำให้เลือดประจำเดือนไม่สามารถไหลออกมาได้ เรียก imperferated hymen 8. ฝีเย็บ (perineum) เป็นบริเวณรูปสี่เหลี่ยม (diamond-shape) โดยลากเส้นเชื่อมต่อจากกระดูกหัวเหน่าไปยัง ischialtuberosity 2 ข้าง และกระดูกก้นกบ แต่ถ้าลากเส้นตรงเชื่อมต่อระหว่าง ischialtuberosityทั้ง 2 ข้างจะแบ่งฝีเย็บออกเป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม 2 รูปคือด้านหน้าเรียก urogenital triangle เป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศภายนอกทั้งหมด และด้านหลังเรียกว่า anal triangle จะพบรูเปิดของทวารหนักอยู่ บริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก จะมีก้อนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรงอยู่ข้างในเรียกว่า perineal body ซึ่งมีความสำคัญ เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อลายหลายมัดที่ทำหน้าที่รองรับอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานไม่ให้เคลื่อนออกมา ฝีเย็บมักจะฉีกขาดขณะที่ทำการคลอด ถ้าหากไม่มีการเย็บซ่อมก็อาจจะทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานโดยเฉพาะมดลูกเคลื่อนที่ออกมาทางช่องคลอด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ฝีเย็บฉีกขาด ขณะทำคลอดจะต้องตัดบริเวณฝีเย็บ เรียกว่า episiotomy เพื่อเปิดช่องคลอดให้กว้างขึ้นจะได้คลอดสะดวก เมื่อทารกคลอดออกมาแล้วค่อยทำการเย็บปิดกลับตามเดิม
  • 29. รังไข่ (ovary) รังไข่ มีอยู่ 2 ข้าง มีลักษณะเป็นรูปไข่แบน มีขนาด 3 x 1.5 x 1 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 3 กรัม วางตัวอยู่ภายในอุ้งเชิงกรานทางด้านหลังของ broad ligament โดยมีเยื่อบุช่องท้องยึดระหว่างรังไข่ไว้กับ broad ligament เรียกว่า mesovariumขอบด้านในของ mesovariumจะหนาตัวขึ้นเป็นพิเศษเรียก ligament of ovary ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างรังไข่กับมดลูก ภายใน mesovariumเป็นทางผ่านของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงรังไข่โครงสร้างภายในของรังไข่ รังไข่ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เมื่อผ่ารังไข่ออกแล้วศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า ภายในรังไข่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งความหนาแน่นแตกต่างกัน ทำให้แบ่งรังไข่ออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้ - ชั้นนอก (cortex) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาแน่นมาก ในชั้นนี้มีไข่ที่กำลังเจริญเติบโตในระยะต่างๆ ไข่แต่ละใบจะมีเซลล์บริวารล้อมรอบอยู่เสมอ - ชั้นใน (medulla) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่กันอย่างหลวมๆ ภายในมีหลอดเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง
  • 30. วงจรการเจริญของไข่ (ovarian cycle) เมื่อครั้งยังคงเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดานั้น ภายในชั้น cortex ของรังไข่จะมี ovarian follicle หลายล้านใบ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มี ovarian follicle เพียง 400,000 ใบ ส่วนใหญ่จะฝ่อไป (atresia) มีเพียง 400 - 500 ใบเท่านั้นที่เติบโตสมบูรณ์ครบวงจร จนพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ovarian follicle ที่พบในรังไข่มีหลายระยะดังนี้ primodialfollicle พบได้ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดา ประกอบด้วย เซลล์ไข่ (primary oocyte) และเซลล์บริวาร (follicular cell) แบนๆ เพียงชั้นเดียว growing follicle เป็น follicle ที่ได้รับการกระตุ้นจาก follicle stimulating hormone (FSH) จากต่อมใต้สมอง ทำให้ primary oocyteมีขนาดใหญ่ขึ้น และ follicular cell เปลี่ยนจากเซลล์แบนๆ กลายเป็น cuboidal cell และมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนซ้อนกันหลายๆ ชั้น ซึ่งอาจจะเรียกเซลล์พวกนี้ว่า granulosa cell ก็ได้ ต่อมามีการสร้างของเหลวสะสมนอกเซลล์ เกิดเป็นแอ่งเรียกว่า follicular antrumในขณะเดียวกันทั้ง primary oocyteและ granulosa cell จะมีการสร้างสารพวก glycoprotein หุ้มรอบ oocyteเรียกว่า zonapellucidaนอกจากนี้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ล้อมรอบ follicle ก็มีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็น theca cells ทำหน้าที่ร่วมกับ granulosa cells สร้างฮอร์โมน estrogen
  • 32. การเจริญของเซลล์ไข่ (maturation of oocyteหรือ oogenesis) การเจริญของเซลล์ไข่แตกต่างจากการเจริญของ sperm คือในแต่ละเดือนเซลล์ไข่สามารถเจริญพร้อมที่จะผสมกับ sperm ได้เพียง 1 ใบเท่านั้น ในขณะที่เพศชายสามารถผลิต sperm ได้จำนวนนับพันล้านตัวที่เจริญสมบูรณ์พร้อมที่จะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ กระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงแบ่งเป็นหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนอาศัยเวลานานจึงจะเสร็จสิ้นได้เซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการผลิตเซลล์ไข่ให้เจริญสมบูรณ์จนพร้อมที่จะผสมได้นั้นเรียกว่า oogenesisโดย เริ่มตั้งแต่ระยะที่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มารดามี primodial germ cell เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้น mesoderm เคลื่อนที่แทรกเข้าไปในรังไข่เรียกชื่อใหม่ว่า
  • 33. ท่อนำไข่ (uterine tube, fallopian tube หรือ oviduct) ท่อนำไข่ เป็นท่อที่วางทอดตัวโค้งไปทางด้านหลัง อยู่ตรงขอบด้านบนของ broad ligament ซึ่งเป็นเยื่อบุช่องท้อง 2 ชั้นคลุมอยู่ ท่อนำไข่ยาวประมาณ 4 นิ้ว ปลายด้านหนึ่งจะเปิดออกสู่ช่องท้อง (peritonial cavity) ส่วนปลายอีก ข้างหนึ่งเปิดเข้าสู่โพรงมดลูก ท่อนำไข่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนคือ 1. infundibulumเป็นรูปกรวย ส่วนปลายที่เปิดออกสู่ช่องท้องมีส่วนยื่นออกเป็นริ้วคล้ายนิ้วมือเรียกว่า fimbriaeเพื่อรองรับและเก็บเซลล์ไข่ที่ตกออกมาในช่องท้องโดย cilia จะช่วยโบกพัดให้เซลล์ไข่เคลื่อนเข้าไปในท่อนำไข่ 2. ampullaเป็นส่วนที่กว้างที่สุดและมีผนังบาง อยู่ต่อจาก infundibulumเป็นบริเวณที่เซลล์ไข่ผสมกับ sperm 3. isthmus เป็นส่วนที่แคบที่สุดของท่อนำไข่ อยู่ติดกับด้านข้างของมดลูกเหนือ round ligament 4. intramural (interstitial) segment เป็นส่วนของท่อนำไข่ที่ฝังตัวอยู่ในผนังของมดลูก ท่อนำไข่ ทำหน้าที่เก็บเซลล์ไข่ที่หลุดออกจากรังไข่ เป็นบริเวณที่ผสมกันของเซลล์ไข่กับ sperm และนำเซลล์ไข่ทีผสมติดแล้วเดินทางเข้าสู่โพรงมดลูก ดังนั้นในระยะก่อนไข่ตก fimbriaeจะเคลื่อนเข้าใกล้รังไข่ cilia ที่ fimbriaeจะโบกพัดเซลล์ไข่ที่ตกลงไปในช่องท้องให้เคลื่อนเข้าไปในท่อนำไข่ แล้วเดินทางต่อไปจนเข้าสู่โพรงมดลูกโดยอาศัยการโบกพัดของ cilia และการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ