SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งข้างของต้นพุดพิชญา
นําเสนอครูผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1. น.ส.กัณฐมณี ไชยรัตน์ เลขที่ 2
2. น.ส.ดุสิตา กิติสาระกุลชัย เลขที่ 6
3. น.ส.อรกันยา ศักดารณรงค์ เลขที่ 21
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 143
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
บทคัดย่อ
เกษตรกรรมอยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน อาชีพเกษตรกรถือเป็นอาชีพหลักของคนไทย ทําให้ผล
ผลิตทางการเกษตรนั้นเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ในบางฤดูกาล หรือยามเกิด
วิกฤติการทางธรรมชาติบางอย่าง สามารถทําให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทยลดน้อยลง และเกิดผลกระทบ
กับเกษตรกรชาวไทย รวมถึงเศรษฐกิจของไทยได้
เมื่อเวลาผ่านไป จึงทําให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมถึงการสังเคราะห์ฮอร์โมน
ของพืชที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตด้านต่าง ๆ ออกมา แล้วนํามาใช้กับพืชต้นอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิต
ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เช่น เร่งดอก เร่งผล เร่งการแตกกิ่งในไม้พุ่ม เพื่อให้ไม้พุ่มนั้นสวยงาม เป็นต้น ใน
การเรียนวิชาชีววิทยาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น ได้มีการกล่าวถึงฮอร์โมนดังกล่าวด้วยเช่นกัน จึงได้
กําหนดให้นักเรียนได้ทําการทดลอง เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากการทดลองจริง ว่าฮอร์โมนที่นํามาทดลองนั้นจะ
ให้ผลดังที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือเรียนหรือไม่ และนักเรียนจะได้มีทักษะการทดลองที่ดีขึ้น รวมถึงได้ฝึกฝน
ทักษะการทํางานเป็นกลุ่มอีกด้วย โดยกลุ่มของคณะผู้จัดทําได้เลือกทดลองฮอร์โมนไซโทไคนินกับการแตก
กิ่งของต้นพุดพิชญา
จากการทดลองพบว่า ต้นพุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนไซโทไคนินในระดับความเข้มข้นที่มากที่สุดมี
การแตกกิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด ต้นที่ได้รับฮอร์โมนในระดับความเข้มข้นที่น้อยกว่า มีการแตกกิ่งเพิ่มน้อยกว่า
และต้นที่ไม่ได้รับฮอร์โมนเลย มีการแตกกิ่งเฉพาะในระยะแรกเท่านั้น
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญาจะสําเร็จ
ลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครูประจําวิชา ที่ช่วยให้คําปรึกษา ช่วย
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ตลอดจนเอื้อเฟื้อสถานที่ และออกแบบผลงาน
ขอขอบคุณผู้ปกครอง ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และให้กําลังใจตลอดมา
คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทํา
สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 บทนํา 1 - 3
ที่มาและความสําคัญ 1
คําถามการทําโครงงาน 2
สมมติฐาน 2
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
ขอบเขตของโครงงาน 2
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2
ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 2
วิธีการเก็บข้อมูล 2 - 3
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 4 - 11
พุดพิชญา 4
ฮอร์โมนไซโทไคนิน 5 - 11
บทที่ 3 วิธีการดําเนินงานโครงงาน 12 - 13
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 12
ขั้นตอนการทําโครงงาน 12 - 13
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง 14 - 17
ตารางบันทึกผลการทดลอง 14
รูปประกอบผลการทดลอง 14 - 15
กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง 15 - 16
วิเคราะห์ผลการทดลอง 16 - 17
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 18
บรรณานุกรม 19
ภาคผนวก 20 - 21
1
บทที่ 1 บทนํา
ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา
สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช
1. น.ส.กัณฑมณี ไชยรัตน์ เลขที่ 2
2. น.ส.ดุสิตา กิติสาระกุลชัย เลขที่ 6
3. น.ส.อรกันยา ศักดารณรงค์ เลขที่ 21
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 143
สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
อาจารย์ผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่มาและความสําคัญ
เนื่องจากต้นพุดพิชญาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ทําให้ดูแลได้และแลดูน่ารักน่าชม ออกดอก
ตลอดปีและดอกยังมีกลิ่นหอม จึงเป็นต้นไม้ที่เหมาะในการประดับตกแต่ง เสริมบรรยากาศรอบที่อยู่อาศัย
ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นต้นไม้ชอบแสงแดด จึงเข้ากับภูมิอากาศของประเทศไทยได้อย่างดีเยี่ยม กล่าวได้ว่า
ต้นพุดพิชญานั้นเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยและคนไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ฮอร์โมนไซโท
ไคนิน ที่มีหน้าที่หลักคือช่วยการแบ่งเซลล์ สามารถใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้ควบคุมทรงพุ่มของต้นไม้
กระตุ้นการเกิดกิ่งแขนง กระตุ้นการเจริญของตาในการขยายพันธุ์โดยการติดตา ใช้ชะลอการแก่ของผลผลิต
ช่วยรักษาพืชผักให้สดอยู่ได้นานกว่าปกติ และยืดอายุดอกไม้จึงมีความสําคัญในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของไทยอย่างหนึ่ง คณะผู้จัดทําจึงเลือกฮอร์โมนไซโทไคนินมาทดลองเกี่ยวกับ
การแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา ซึ่งฮอร์โมนไซโทไคนินสามารถช่วยกระตุ้นการเกิดกิ่งแขนงได้ และต้น
พุดพิชญาก็เป็นไม้พุ่มที่มีการแตกกิ่งมากในระดับพอสมควรอยู่แล้ว
คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนไซโท
ไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าฮอร์โมนไซโทไคนินจะมี
ผลต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญามากน้อยเพียงใด และเพื่อให้ได้ศึกษาผลของการทดลองซึ่งจะเป็น
ประโยชน์แก่การเรียนวิชาชีววิทยา คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็น
อย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้รับผิดชอบโครงงานทางใดทางหนึ่ง ในอนาคตต่อไป
2
คําถามการทําโครงงาน
สารละลายฮอร์โมนไซโทไคนินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นพุดพิชญามีการแตกกิ่งเพิ่มมาก
ที่สุด
สมมติฐานการทดลอง
ถ้าฮอร์โมนไซโทไคนินที่ความเข้มข้น 0.4%โดยปริมาตร มีผลต่อกิ่งเจริญดีที่สุด ดังนั้น สารละลาย
ฮอร์โมนไซโทไคนินที่ความเข้มข้น 0.4%โดยปริมาตร จะทําให้กิ่งมีการแตกกิ่งเพิ่มมากที่สุด
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาผลของการรดฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา
2. เพื่อเปรียบเทียบผลของความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโทไคนินในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ที่มีต่อ
การแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องหน้าที่ของฮอร์โมนไซโทไคนิน
2. ได้ศึกษาเปรียบเทียบว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโทไคนินจะมีผลต่อการแตกกิ่งหรือไม่
3. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการทํางานเป็นกลุ่ม
ขอบเขตของโครงงาน
การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะหน้าที่ของฮอร์โมนไซโทไคนินใน
ด้านการแตกกิ่ง
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนไซโทไคนิน
ตัวแปรตาม คือ จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญา
ตัวแปรควบคุม คือ อายุพืช อุณหภูมิ ปริมาณแสงแดดที่พืชได้รับ ปริมาณนํ้าที่พืชได้รับ
ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน
2 มิถุนายน 2560 – 21 กรกฎาคม 2560
วิธีการเก็บข้อมูล
ใช้ไหมสีแดงมัดกิ่งทุกกิ่งของต้นพุดพิชญาทั้ง 9 ต้น แล้วหลังจากรดฮอร์โมนครั้งแรกไปหนึ่ง
สัปดาห์ ใช้ไหมสีส้มมัดกิ่งที่แตกออกมาเพิ่มในทุก ๆ สัปดาห์ พร้อมจดบันทึกผลการวัดจํานวนกิ่งในตาราง
แบบบันทึกที่ได้ออกแบบไว้
วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล
การหาค่าเฉลี่ยของจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มในแต่ละชุด ทําได้โดยนําจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของ
ทั้งสามต้นในชุดนั้น ๆ มาบวกกัน แล้วหารด้วยจํานวนสัปดาห์
3
การหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ กับจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มในรูปแบบ
กราฟแท่งทําได้โดยให้แกน y แทนจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม แกน x แทนสัปดาห์ที่วัดผล โดยมีกราฟทั้งหมด 3
กราฟ เป็นกราฟของชุดควบคุม low dose และ high dose
4
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พุดพิชญา
Arctic Snow/Milky Way/Snowflake/Sweet Indrajao/Winter Cherry Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia antidysenterica R.Br.
วงศ์: APOCYNACEAE
ประเภท: ไม้พุ่มขนาดกลาง
ความสูง: 1-2 ม.
ลําต้น: ลําต้นและกิ่งก้านสีนํ้าตาลแดง
ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบ
ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน
ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนปนเหลือง ดอก
สีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ขนาด 1.5-2.5 ซม.
กลางดอกมีรยางค์เป็นแผ่น รูปแถบคล้ายขี้ผึ้ง ปลายแยกเป็นริ้ว 2-5 ริ้ว เกสรเพศผู้สีเหลือง ก้านดอกยาว
ประมาณ 2 ซม. ออกดอกตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
ดิน: ดินร่วนปนทราย ระบายนํ้าดี ไม่ทนดินเค็ม
แสงแดด: เต็มวัน
นํ้า/ความชื้น: ปานกลาง
ขยายพันธุ์: ปักชําและตอนกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: มีถิ่นกําเนิดในศรีลังกา นําเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยโดย คุณสุปราณี คงพิชญานนท์มี
ชื่อท้องถิ่นว่า Inda หมายถึง ดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ดอกสีขาวเหมือนดอกพุดในบ้านเรา จึงตั้งชื่อใหม่ว่า
“พุดพิชญา” สามารถปลูกเป็นไม้กระถางเพื่อประดับสถานที่หรือปลูกลงแปลง ปัจจุบันมีพันธุ์ใบด่างที่
สวยงามเช่นกัน
5
ฮอร์โมนไซโทไคนิน
ประวัติการค้นพบ
Haberlandt (1913) พบว่านอกจากออกซินแล้วยังมีฮอร์โมนอีกชนิดที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เขาใช้
สารละลายที่สกัดจากท่อลําเลียงอาหารของพืชใส่ลงในชิ้นส่วนของมันฝรั่งที่เพาะเลี้ยงอยู่พบว่าทําให้เกิดการ
แบ่งเซลล์ได้
Van Overbeek (1942) พบว่าในนํ้ามะพร้าวก็มีฮอร์โมนที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงได้
และในปี 1944 เขาและคณะได้รายงานว่าสารสกัดจากต้นอ่อนของพืชพวกลําโพง, ยีสต์, wheat germ,
almond meal สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้ แสดงว่ามีสารเหล่านี้ในพืชหลายชนิด
F.C. Steward พบสาร myoinositol, 1,3-diphenylurea, leucoanthocyanin ในนํ้ามะพร้าว ซึ่งกระตุ้น การแบ่ง
เซลล์
Skoog (1948) พบว่าการเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารธรรมดา เนื้อเยื่อจะเจริญได้ในระยะเวลาที่จํากัด แต่ถ้าเติม นํ้า
มะพร้าวหรือสารสกัดจากยีสต์ลงในอาหาร จะทําให้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อยืดยาวขึ้น
Skoog and Miller (1955) สกัดสารจาก DNA ของยีสต์ ได้สาร 6-furfuryladenine สามารถเร่งการแบ่งเซลล์
ของพืชทั่วไปและเรียกสารนี้ว่า ไคนีทิน ต่อมาไคนีทินและสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกันรวมเรียกว่าไซโทไค-
นิน
ชนิดของสารในกลุ่มไซโทไคนิน
ไคเนทินเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโทไคนินที่ไม่ใช่ฮอร์โมนพืช แต่ไซโทไค-
นินที่เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งหมายถึงสารที่พืชสร้างเองนั้น พบครั้งแรกภายหลังจากที่รู้จักไคเนทินหลายปี โดย
สกัดได้จากเอนโดสเปิร์มของข้าวโพดในระยะที่ยังอ่อนอยู่ เรียกชื่อสารนี้ว่า ซีเอทิน (Zeatin) มีชื่อทางเคมี
คือ 6-(4-Hydroxy-3-methylbut-2-enylamino) purine ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับไคเนทิน คือ กระตุ้นการแบ่งเซลล์
6
เมื่อใช้ร่วมกับ ออกซินและมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายไคเนทิน คือ มีแอดินีนเป็นองค์ประกอบ ไซโทไค-
นินพบทั้งในพืชดอก สน เฟิร์น มอส สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด ซีเอตินเป็นฮอร์โมนพืชในกลุ่มไซโท-
ไคนินที่พบมากที่สุด นอกจากนั้น ยังมีสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มไซโทไคนินที่รู้จักกันดี เช่น
Benzyladenine หรือ Benzylaminopurine, N,N’-Diphenylurea และ Thidiazuron เป็นต้น
เนื้อเยื่อพืชบริเวณที่สร้างไซโทไคนินและการลําเลียง
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไซโทไคนินสร้างมากที่เนื้อเยื่อที่กําลังมีการเจริญดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ
ปลายราก เนื้อเยื่อบริเวณอื่นก็พบว่าสร้างไซโทไคนินได้ เช่น เอ็มบริโอ ใบอ่อน ตาข้าง ปลายช่อดอกอ่อน
ผล แต่แหล่งสําคัญที่พืชสร้างไซโทไคนิน ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญที่ปลายราก ไซโทไคนินที่สร้างจากราก
เคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชผ่านทางไซเล็มพร้อม ๆ กับนํ้าและธาตุอาหารจากราก ส่วนไซโทไคนิน
ที่สร้างจากแหล่งอื่น ๆ เช่น ใบอ่อน ตาข้าง ผล เอ็มบริโอ อาจทําหน้าที่ทางสรีรวิทยาเฉพาะในบริเวณอวัยวะ
นั้นเท่านั้น
การตอบสนองของพืชต่อไซโทไคนิน
การค้นพบไซโทไคนินในช่วงแรกได้แสดงผลของไซโทไคนินในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช
เมื่อมีออกซินอยู่ด้วย และเมื่อมีการศึกษาเพิ่มขึ้น พบว่าไซโทไคนินมีผลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาและ
การเจริญเปลี่ยนแปลงของพืชอีกหลายประการ ซึ่งรวมถึงการชะลอการเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยของใบ (leaf
senescence) เปลี่ยนแปลงการข่มของตายอด (apical dominance) และส่งเสริมการเจริญของตาข้าง การสร้าง
และการเจริญของเนื้อเยื่อเจริญของปลายยอด การพ้นระยะพักตัวของตา การเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร
นอกจากนั้น ไซโทไคนินยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของพืชที่มีแสงเป็นตัวกระตุ้น เช่น การพัฒนาของ
คลอโรพลาสต์ การขยายขนาดของใบเลี้ยงและใบแท้อีกด้วย
7
อย่างไรก็ดี เมื่อกล่าวถึงบทบาทหลัก ๆ ของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโทไคนิน การควบคุม
การแบ่งเซลล์ถือว่ามีความสําคัญโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นสมบัติในการทดสอบทาง
ชีววิทยาของสารในกลุ่มนี้ ความรู้ดังกล่าวนําไปสู่การนําสารกลุ่มนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางใน
ปัจจุบันร่วมกับการใช้สารในกลุ่มออกซินเพื่อการควบคุมการเจริญของเนื้อเยื่อพืชในหลอดทดลองซึ่งช่วย
ในการขยายพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ สร้างพืชดัดแปรพันธุกรรม และการศึกษาทางชีววิทยา นอกจากนั้น ไซโทไค-
นินยังมีบทบาทต่อการเจริญ ของตาข้าง ซึ่งเจริญต่อไปเป็นกิ่ง และมีผลต่อรูปร่างทรงพุ่มของต้นไม้ด้วย
หน้าที่ของไซโทไคนินในการแบ่งเซลล์
ปกติในพืชทั้งต้น เซลล์พืชเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญ จากนั้นเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จึงขยาย
ขนาดและเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทําหน้าที่เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อลําเลียง เนื้อเยื่อที่ทําหน้าที่สังเคราะห์ด้วย
แสง เนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรงแก่อวัยวะสะสมอาหาร หรือปกป้องพืช และเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
เหล่านั้น จะไม่กลับมาแบ่งเซลล์อีก ยกเว้นในบางกรณีที่เซลล์ที่โตเต็มที่แล้วและยังมีนิวเคลียสอยู่จะ
กลับไปแบ่งเซลล์ได้อีก เช่น ในกรณีเพื่อสมานบาดแผล และกรณีเพื่อสร้างแนวเนื้อเยื่อที่มีผนังเซลล์บางที่
บริเวณโคนก้านใบ ก้านดอก หรือก้านผลสําหรับเกิดการร่วงต่อไปเมื่อได้รับสัญญาณ ในกรณีดังกล่าวนี้ การ
แบ่งเซลล์เกิดขึ้นเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น ส่วนในพืชบางชนิดที่มีการเจริญเติบโตในระยะทุติยภูมิเพื่อขยาย
ขนาดรอบลําต้น เซลล์บางชั้นของเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (phloem) และคอร์เท็กซ์ (cortex) กลับมาแบ่งเซลล์ได้อีก
เป็นวาสคูล่าแคมเบียม (vascular cambium) และคอร์กแคมเบียม (cork cambium) ตามลําดับ ทั้งนี้ ไม่ว่าการ
แบ่งเซลล์จะเกิดที่เนื้อเยื่อเจริญหรือเนื้อเยื่อที่โตเต็มที่แล้วก็ตาม เกิดจากเนื้อเยื่อได้รับหรือมีการสร้างไซโท
ไคนินเพิ่มขึ้น
ภาพเนื้อเยื่อเจริญทําหน้าที่แบ่งเซลล์ ภาพเซลล์ที่เกิดใหม่เปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ทําหน้าที่เฉพาะ
8
บทบาทของไซโทไคนินต่อการเจริญของตาข้าง
การข่มของตายอด หรือ apical dominance ที่มีผลยับยั้งการเจริญของตาข้างในระดับต่าง ๆ มีส่วนกําหนด
รูปทรงของต้นพืชแต่ละชนิด เช่น มะพร้าว มีการข่มของตายอดรุนแรง รูปทรงต้นจึงมีลักษณะเป็นลําต้น
เดี่ยวและไม่มีกิ่งด้านข้าง ตรงข้ามกับไม้ต้นชนิดอื่น และไม้พุ่มที่ตาข้างเจริญเป็นกิ่งได้ และสามารถกระตุ้น
การเจริญของตาข้างได้หากเด็ดหรือตัดยอด แม้การข่มของตายอดจะเกิดขึ้นด้วยการควบคุมของออกซินที่
สร้างที่ยอดเป็นหลัก แต่การเจริญของตาข้างมีปัจจัยควบคุมที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่า กล่าวคือ มีทั้งออกซิน
ไซโทไคนิน และเชื่อว่าอาจมีฮอร์โมนอื่น เช่น กรดแอบไซซิก รวมถึงสัญญาณจากรากเกี่ยวข้องด้วย
อย่างไรก็ตาม ไซโทไคนินมีผล ต่อการเจริญของตาข้างดังจะเห็นได้จากการให้ไซโทไคนินแก่ตาข้าง
สามารถกระตุ้นให้ตาข้างเติบโตเป็นกิ่งได้ และจากการศึกษาในพืชกลายพันธุ์ที่สร้างไซโทไคนินมากกว่า
ปกติ พบว่าต้นยาสูบกลายพันธุ์ที่สร้างไซโทไคนินมากมีการเจริญของกิ่งข้างมากกว่า จึงมีรูปทรงต้นเป็นพุ่ม
มากกว่าต้นปกติที่มีกิ่งข้างจํานวนไม่มาก นอกจากนั้น ยังพบว่าออกซินยับยั้งการแสดงออกของยีน
isopentenyl transferase หรือ ipt ที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์ไซโทไคนินที่ตาข้าง
และเป็นไปได้ว่าไซโทไคนินที่มีผลทําให้ตาข้างเจริญนั้นอาจสังเคราะห์ขึ้นที่ตาข้างเองด้วย ส่วนไซโทไคนิน
ที่สร้างและลําเลียงจากรากขึ้นมาตามไซเล็มไปยังยอด ทําหน้าที่ตรงข้ามกับออกซินโดยส่งสัญญาณกระตุ้น
ให้ตาข้างเจริญ ดังนั้น สัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินจึงมีผลควบคุมการเจริญของตาข้าง ดังจะ
สังเกตเห็นได้ว่ายิ่งใกล้ยอดซึ่งเป็นส่วนที่สร้างออกซิน ตาข้างจะถูกยับยั้งการเจริญมากกว่าตาข้างที่อยู่ห่าง
จากยอดลงมาและใกล้รากมากขึ้น ซึ่งปลายรากเป็นส่วนที่สร้างไซโทไคนิน
การให้ไซโทไคนินแก่ตาข้าง (ก) สามารถกระตุ้นให้ตาข้างเติบโตได้(ข)
9
สัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินภายในต้นพืชที่ตําแหน่งต่างกัน มีผลให้ตาข้างที่อยู่ใกล้ยอดถูก
ยับยั้งการเจริญมากกว่าตาข้างที่อยู่ห่างจากยอดลงมาและอยู่ใกล้รากมากขึ้น
เห็นได้ว่า ไซโทไคนินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสําคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง
ของพืช ซึ่งหากพืชขาดไซโทไคนินจะทําให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติไปและอาจไม่สามารถดํารงชีวิตและ
สืบพันธุ์ได้ ดังนั้น การศึกษาฮอร์โมนพืชจึงมีความสําคัญและทําให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงสรีระของพืช
ตลอดจนสามารถนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชทั้งในและนอกหลอด
ทดลองได้
ผลของไซโทไคนินที่มีต่ออกระบวนการทางสรีรวิทยาและการเจริญเติบโตของพืช
1) การพัฒนาของตาและยอด (Bud and Shoot Development) : ไซโทไคนินส่งเสริมการแตกตาข้างและแก้
การข่มของตายอด (apical dominance) บางส่วน การศึกษาในพืชตัดแต่ง ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์
ไซโทไคนินพบว่าจะทําให้ปริมาณ zeatin และสารที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นหลายสิบเท่าตัว และทําให้ต้นพืชนั้นมี
การเจริญเติบโตของตาข้างมาก และไม่เกิดการข่มของตายอด การข่มของตายอดถูกควบคุมโดยสมดุล
ระหว่างระดับของไซโทไคนินและ IAA ภายในพืช มีสองทฤษฎีที่กล่าวถึงเกี่ยวกับว่าไซโทไคนินเกี่ยวข้อง
กับการข่มของตายอดอย่างไร ทฤษฎีแรกเสนอว่า ไซโตไคนินอาจยับยั้ง IAA oxidase ในตาข้าง ทําให้มี
ออกซินในระดับที่ทําให้ตาข้างยืดยาวออก ทฤษฎีที่สองนั้น ไซโทไคนินอาจทําให้เกิดกลไกของการใช้
สารอาหาร(initiate sink mechanism) ที่ตาข้างและส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสารอาหาร วิตามิน
แร่ธาตุและสารควบคุมการเจริญเติบโตอื่นๆ (ซึ่งทั้งหมดนั้นอาจเป็นตัวที่จํากัดการเจริญเติบโต)
10
2) การแบ่งเซลล์และการสร้างอวัยวะ (Cell division and organ formation) : หน้าที่หลักของไซโทไคนินใน
พืชคือส่งเสริมการแบ่งเซลล์ มีรายงานว่าการเจริญเติบโตของแคลลัสของ pith ของลําต้นยาสูบจะ
ตอบสนองต่อไคนีทินหรือ IAA อย่างเดียว แต่ถ้าจะให้การเจริญเติบโตเกิดต่อเนื่องจะต้องให้ทั้งไคนีทินและ
IAA ในอาหาร อธิบายได้ว่าในระยะแรก IAA หรือไซโทไคนินที่มีอยู่ภายในพืชอาจทําปฏิกิริยากับไซโทไค-
นินหรือ IAA ที่ให้ทางอาหารเลี้ยง แต่เมื่อเวลานานขึ้น ระดับของฮอร์โมนภายในก็ลดลงการเจริญเติบโตก็
จะหยุด การจัดการให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมของ IAA และไซโทไคนิน ก็จะได้แคลลัสที่มีทั้งรากและ/หรือ
ต้น
3) การงอกของเมล็ด และการขยายขนาดของเซลล์และอวัยวะ (Seed Germination, Cell and Organ
Enlargement) : ไคนีทินสามารถแก้ผลในการยับยั้งการงอกของเมล็ดผักกาดหอมที่เกิดจากแสงฟาร์เรดได้
โดยทั่วไปไซโทไคนินถูกจัดเป็นสารตัวกระตุ้นการแบ่งเซลล์ แต่มันก็มีผลต่อการขยายขนาดของเซลล์ด้วย
ไซโทไคนินส่งเสริมการขยายขนาดของเซลล์ของใบเลี้ยงที่ตัดออกมา (excised cotyledon) ในพืชใบกว้าง
หลายชนิด เมื่อเด็ดใบเลี้ยงออกจากต้น พืชก็จะขาดจากแหล่งไซโทไคนินตามธรรมชาติแต่เมื่อให้ไซโทไค-
นินจากภายนอก ก็จะไปส่งเสริมการขยายตัวของเซลล์ของใบเลี้ยงนั้นได้ การใหญ่ขึ้นของเซลล์เกี่ยวข้องกับ
การดูดนํ้าซึ่งเกิดจากการลดค่าศักดิ์ออสโมซิส(osmotic potential) ของเซลล์ที่กระตุ้นโดยการเกิดการ
เปลี่ยนแปลงของไขมัน (lipid) ซึ่งเป็นอาหารสะสมในใบเลี้ยง ไปเป็นนํ้าตาลรีดิวซ์ (reducing sugar:-
glucose, fructose)
4) การชะลอการเสื่อมตามอายุและการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสารอาหาร (Delay of senescence and
promotion of translocation of nutrients and organic substances) : เมื่อเด็ดใบที่โตเต็มที่ออกจากต้น ก็จะเกิด
การแตกตัวของโปรตีนอย่างรวดเร็ว คลอโรพลาสต์สลายตัวทําให้สูญเสียคลอโรฟิลล์และเกิดการไหล
ออกไปของไนโตรเจนที่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบของโปรตีน (nonprotein nitrogen), ไขมัน, กรดนิวคลีอิค
โดยผ่านทางรอยแตกของเยื่อหุ้มเซลล์ ถ้าชักนําให้ใบนั้นสร้างรากขึ้นมา ก็จะทําให้การเสื่อมตามอายุนั้นเกิด
ช้าลง และพบว่าการให้ไซโทไคนินก็จะชะลอการเสื่อมตามอายุได้โดยไม่ต้องชักนําการเกิดราก ในสภาพ
ความมืดก็จะเกิดการเร่งการเสื่อมตามอายุอย่างมาก การให้ไซโทไคนินสามารถทดแทนผลของแสงต่อการ
ชะลอการเสื่อมตามอายุได้ซึ่งอาจเกิดจากการรักษาสภาพ integrity of tonoplastmembrane เมื่อให้ไซโทไค-
นินแก่ใบหรือใบเลี้ยงของพืชที่ปลูกในที่มืด 2-3 ชม. ก่อนที่จะให้ได้รับแสง พบว่า อีทิโอพลาสต์ (etioplast)
จะถูกเปลี่ยนไปเป็นคลอโรพลาสต์ทําให้มีการสร้างคลิโรฟิลล์เพิ่มขึ้น ไซโทไคนินยังสามารถชะลอการ
เสื่อมตามอายุในดอกไม้ (cut flower) และผักสด นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าไคนีทินสามารถส่งเสริม
11
การเคลื่อนย้ายสารอินทรีย์ในใบพืชที่ถูกตัดออกมา ที่อยู่ในที่มืดได้ และพบว่าเมื่อพ่นไซโทไคนินให้แก่ใบ
ใบหนึ่ง ใบที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเกิดการชราภาพ นอกจากนั้นการให้ไซโทไคนินแก่ใบที่เริ่มเหลืองแล้วจะทําให้
ใบกลับเขียวเพราะมีการสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาอีก
การนําไซโทไคนินมาใช้ทางการเกษตร
- ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ใช้ควบคุมทรงพุ่มของต้นไม้กระตุ้นการเกิดกิ่งแขนง
- กระตุ้นการเจริญของตา ในการขยายพันธุ์โดยการติดตา
- ใช้ชะลอการแก่ของผลผลิต ช่วยรักษาพืชผักให้สดอยู่ได้นานกว่าปกติ และยืดอายุดอกไม้
12
บทที่ 3 การดําเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1. ไซริงค์
2. กระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้3 อัน
3. ฮอร์โมนไซโทไคนิน
4. ขวดนํ้าเปล่าขนาด 500 มิลลิลิตร สําหรับผสมฮอร์โมน
5. ถุงมือ ป้องกันอันตรายขณะทําการผสมฮอร์โมน
6. ไหมพรมสีแดงและสีส้ม
7. กรรไกร สําหรับตัดไหมพรม
8. ต้นพุดพิชญา 9 ต้น ความสูงประมาณ 30 ซม.
ขั้นตอนการทําโครงงาน
1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้
2.1. ต้นพุดพิชญา
2.2. ฮอร์โมนไซโทไคนิน
2.3. ฮอร์โมนออกซิน
2.4. ฮอร์โมนจิบเบอรเรลลิน
3. เลือกใช้ฮอร์โมนไซโทไคนิน
4. วางแผนรายละเอียดการทดลอง ดังนี้
4.1. ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นมาก
และความเข้มข้นน้อยกับที่ไม่ได้รับฮอร์โมน
5. หาสถานที่ที่ใช้ในการทดลอง
6. จัดทําเค้าโครงโครงงาน เพื่อนําเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนําไปปรับปรุงและแก้ไข
7. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลองเปรียบเทียบจํานวนกิ่งของต้นพุดพิชญาที่แตกเพิ่ม
7.1.1. ต้นพุดพิชญา 9 ต้น
7.1.2. ฮอร์โมนไซโทไคนิน
7.1.3. ไซริงค์ 1 อัน
7.1.4. กระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้3 กระบอก
7.1.5. ขวดนํ้าขนาด 500 มิลลิลิตร จํานวน 2 ขวด
13
7.1.6. ถุงมือ
7.1.7. สมุดบันทึก
7.1.8. นํ้าประปา
8. ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง
8.1. ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นมาก
และความเข้มข้นน้อยกับที่ไม่ได้รับฮอร์โมน
8.1.1. มัดกิ่งของต้นพุดพิชญาทุกต้นด้วยไหมพรมสีแดง
8.1.2. เตรียมขวดนํ้าไว้2 ขวด
8.1.3. ใช้ไซริงค์ดูดฮอร์โมนไซโทไคนินปริมาณ 1 มิลลิตร แล้วนําไปผสมกับนํ้า ในขวดที่เตรียม
ไว้จนมีปริมาตร 500 มิลลิลิตร แล้วนําไปใส่ในกระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้ถือเป็นชุด
low dose
8.1.4. ใช้ไซริงค์ดูดฮอร์โมนไซโทไคนินปริมาณ 2 มิลลิตร แล้วนําไปผสมกับนํ้า ในขวดที่เตรียม
ไว้จนมีปริมาตร 500 มิลลิลิตร แล้วนําไปใส่ในกระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้ถือเป็นชุด
high dose
8.1.5. รดนํ้าต้นพุดพิชญาในชุดควบคุมจํานวน 20 ฟอด
8.1.6.รดฮอร์โมนต้นพุดพิชญาในชุด low dose จํานวน 20 ฟอด
8.1.7.รดฮอร์โมนต้นพุดพิชญาในชุด high dose จํานวน 20 ฟอด
8.1.8.รดฮอร์โมนเพียง 1 วัน ใน 1 สัปดาห์ โดยวันที่ไม่ได้รดฮอร์โมนให้รดนํ้าปกติเหมือนชุด
ควบคุม
8.1.9.หลังจากรดฮอร์โมนผ่านไป 1 สัปดาห์ ให้ใช้ไหมพรมสีส้ม มัดกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญา
ทุกต้น โดยจะต้องทําเช่นนี้ทุกสัปดาห์ พร้อมกับจดบันทึกผลการทดลอง
9. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ
10. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์
11. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง
12. นําเสนอโครงงาน
14
บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
หมายเหตุ : เริ่มรดฮอร์โมนในวันที่ 2 มิ.ย. 2560 และ – หมายถึง ไม่มีกิ่งแตกเพิ่ม
รูปประกอบผลการทดลอง
ชุดควบคุม
วัน/เดือน/ปี
จํานวนกิ่งของต้นพุดพิชญาที่แตกเพิ่ม (กิ่ง)
ชุดควบคุม ชุด low dose ชุด high dose
ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3
9 มิ.ย. 2560 - - - - - - - - -
16 มิ.ย. 2560 4 6 2 1 - - - - -
23 มิ.ย. 2560 - - - 4 3 - 5 - -
30 มิ.ย. 2560 - - - 1 - 2 - - -
7 ก.ค. 2560 - - - 1 - 4 2 9 -
14 ก.ค. 2560 - - - 1 - - - 4 2
21 ก.ค. 2560 3 - 5 - - - - - 4
15
ชุด low dose
ชุด high dose
กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง
0
1
2
3
4
5
6
7
1 (9 มิ.ย. 60) 2 (16 มิ.ย. 60) 3 (23 มิ.ย. 60) 4 (30 มิ.ย. 60) 5 (7 ก.ค. 60) 6 (14 ก.ค. 60) 7 (21 ก.ค. 60)
จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม(กิ่ง)
สัปดาห์ที่
จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาในชุดควบคุม
ต้นที่ 1
ต้นที่ 2
ต้นที่ 3
16
วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากผลการทดลอง ต้นพุดพิชญาในชุดควบคุม มีการแตกกิ่งเพิ่มเพียง 2 ครั้ง ในขณะที่ชุด low dose มีการ
แตกกิ่งเพิ่มบ่อยครั้งกว่า แต่จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มนั้นน้อยกว่าในชุด แสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ
ฮอร์โมนในชุด low dose นั้น ทําให้เกิดการแตกกิ่งบ่อยครั้ง แต่แตกกิ่งเพิ่มในจํานวนไม่มาก ในขณะที่ชุด
0
1
2
3
4
5
1 (9 มิ.ย. 60) 2 (16 มิ.ย. 60) 3 (23 มิ.ย.60) 4 (30 มิ.ย. 60) 5 (7 ก.ค. 60) 6 (14 ก.ค. 60) 7 (21 ก.ค. 60)
จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม(กิ่ง)
สัปดาห์ที่
จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาในชุด low dose
ต้นที่ 1
ต้นที่ 2
ต้นที่ 3
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
1 (9 มิ.ย. 60) 2 (16 มิ.ย. 60) 3 (23 มิ.ย. 60) 4 (30 มิ.ย. 60) 5 (7 ก.ค. 60) 6 (14 ก.ค. 60) 7 (21 ก.ค. 60)
จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม(กิ่ง)
สัปดาห์ที่
จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาในชุด high dose
ต้นที่ 1
ต้นที่ 2
ต้นที่ 3
17
high dose นั้น ไม่ได้เกิดการแตกกิ่งบ่อยครั้งนัก แต่แตกกิ่งเพิ่มจํานวนมากที่สุด ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ต้น
พุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนมาก ๆ มีการแตกกิ่งน้อยลง
18
บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
สรุปผลการทดลอง
จากเอกสารอ้างอิงในบทที่ 2 ทําให้ทราบว่าไซโทไคนินช่วยในการแบ่งเซลล์และการแตกกิ่งแขนงของพืช
ซึ่งตรงตามการทดลองที่ได้ทําไป สังเกตจากการที่ต้นพุดพิชญาในชุด high dose มีการแตกกิ่งเพิ่มจํานวน
มากที่สุด ทําให้ทราบว่าไซโทไคนินช่วยให้ต้นพุดพิชญาแตกกิ่งได้มากขึ้นจริง โดยในเอกสารอ้างอิงยังได้
กล่าวไว้ว่า เมื่อเวลานานขึ้น ระดับของฮอร์โมนภายในก็ลดลง การเจริญเติบโตก็จะหยุด ซึ่งจากผลการ
ทดลองก็เป็นจริงเช่นนั้น เนื่องจาก ต้นพุดพิชญาในชุด low dose และ high dose แม้จะมีการแตกกิ่งมาก
ในช่วงระยะเวลาที่ติด กัน แต่ในช่วงสุดท้ายของการทดลอง จะเห็นได้ว่าการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญาในชุด
low dose และ high dose นั้นเกิดขึ้นน้อยลง โดยการที่ชุด low dose แตกกิ่งเพิ่มเป็นจํานวนน้อยกว่าชุด
ควบคุมนั้นก็ไม่อาจทราบสาเหตุได้แต่ชุด low dose นั้นกลับมีการออกดอกจํานวนมากกว่าชุดควบคุม และ
ชุด high dose ที่ไม่ออกดอกเลย
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
เนื่องจากคณะผู้จัดทําต่างไม่ทราบว่าต้นพุดพิชญาที่ใช้ทําการทดลองนั้น เป็นต้นไม้ที่ชอบอยู่
ในที่ที่มีแสงแดด ในช่วงแรกผู้จัดทําจึงนําต้นพุดพิชญาไว้ในที่ร่ม ทําให้ต้นพุดพิชญาผลัดใบจํานวนมาก
และไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้น คณะผู้จัดทําจึงควรศึกษาเกี่ยวกับต้นไม้ที่ใช้ทําการทดลองให้ถี่ถ้วนมาก
ขึ้น ก่อนที่จะทําการทดลอง
19
บรรณานุกรม
“พุดพิชญา.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/indrajao_winter/
[ม.ป.ป.]. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2560.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรา ลิมปนะเวช. “คู่มือประกอบสื่อการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายวิชาชีววิทยา เรื่องไซโทไคนิน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual/%A4%D9%E8%C1%D7%
CD%AA%D5%C7%C7%D4%B7%C2%D2/47_%E4%AB%E2%B7%E4%A4%B9%D4%B9.pd
f 2555. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2560.
ปรารถนา จันทร์ทา และคณะ. “ฮอร์โมนพืช.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://mylesson.swu.ac.th/syllabus/doc_4720040331150456.pdf [ม.ป.ป.]. สืบค้น 27 กรกฎาคม
2560.
20
ภาคผนวก
รูปแสดงการมัดกิ่งของต้นพุดพิชญาด้วยไหมพรมสีแดง ก่อนทําการทดลอง
รูปแสดงการผสมฮอร์โมนไซโทไคนิน
รูปแสดงการรดฮอร์โมนไซโทไคนิน
21
รูปแสดงการนับกิ่งที่เพิ่มขึ้นของต้นพุดพิชญาหลังจากเริ่มทําการทดลอง
รูปแสดงการติดตามผลการดําเนินโครงงานฮอร์โมนครั้งที่ 1
รูปแสดงการติดตามผลการดําเนินโครงงานฮอร์โมนครั้งที่ 2

More Related Content

What's hot

What's hot (20)

M6 125 60_7
M6 125 60_7M6 125 60_7
M6 125 60_7
 
M6 144 60_2
M6 144 60_2M6 144 60_2
M6 144 60_2
 
Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60Plant hor 4_77_60
Plant hor 4_77_60
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
 
M6 125 60_3
M6 125 60_3M6 125 60_3
M6 125 60_3
 
M6 78 60_7
M6 78 60_7M6 78 60_7
M6 78 60_7
 
M6 144 60_3
M6 144 60_3M6 144 60_3
M6 144 60_3
 
M6 125 60_9
M6 125 60_9M6 125 60_9
M6 125 60_9
 
M6 78 60_9
M6 78 60_9M6 78 60_9
M6 78 60_9
 
M6 143 60_3
M6 143 60_3M6 143 60_3
M6 143 60_3
 
M6 78 60_5
M6 78 60_5M6 78 60_5
M6 78 60_5
 
M6 78 60_10
M6 78 60_10M6 78 60_10
M6 78 60_10
 
M6 126 60_10
M6 126 60_10M6 126 60_10
M6 126 60_10
 
M6 125 60_2
M6 125 60_2M6 125 60_2
M6 125 60_2
 
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำโครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
 
M6 125 60_10
M6 125 60_10M6 125 60_10
M6 125 60_10
 
M6 125 60_8
M6 125 60_8M6 125 60_8
M6 125 60_8
 
M6 144 60_5
M6 144 60_5M6 144 60_5
M6 144 60_5
 
M6 126 60_1
M6 126 60_1M6 126 60_1
M6 126 60_1
 
M6 143 60_5
M6 143 60_5M6 143 60_5
M6 143 60_5
 

Similar to M6 143 60_6 (18)

M6 125 60_4
M6 125 60_4M6 125 60_4
M6 125 60_4
 
656 pre1
656 pre1656 pre1
656 pre1
 
Plant hor 10_77_60
Plant hor 10_77_60Plant hor 10_77_60
Plant hor 10_77_60
 
M6 126 60_8
M6 126 60_8M6 126 60_8
M6 126 60_8
 
M6 143 60_8
M6 143 60_8M6 143 60_8
M6 143 60_8
 
M6 78 60_4
M6 78 60_4M6 78 60_4
M6 78 60_4
 
931 pre7
931 pre7931 pre7
931 pre7
 
2560 project
2560 project2560 project
2560 project
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
Herbarium กลุ่ม4 342
Herbarium กลุ่ม4 342Herbarium กลุ่ม4 342
Herbarium กลุ่ม4 342
 
กลุ่มที่ 2 รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5(เฉลย
กลุ่มที่ 2 รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5(เฉลยกลุ่มที่ 2 รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5(เฉลย
กลุ่มที่ 2 รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5(เฉลย
 
M6 78 60_1
M6 78 60_1M6 78 60_1
M6 78 60_1
 
341 pre2
341 pre2 341 pre2
341 pre2
 
Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60Plant hor 8_77_60
Plant hor 8_77_60
 
342 pre6(1)
342 pre6(1)342 pre6(1)
342 pre6(1)
 
M6 143 60_4
M6 143 60_4M6 143 60_4
M6 143 60_4
 

More from Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

M6 143 60_6

  • 1. โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งข้างของต้นพุดพิชญา นําเสนอครูผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตําแหน่งครู คศ.1 สาขาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1. น.ส.กัณฐมณี ไชยรัตน์ เลขที่ 2 2. น.ส.ดุสิตา กิติสาระกุลชัย เลขที่ 6 3. น.ส.อรกันยา ศักดารณรงค์ เลขที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 143 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 5 (ว 30245) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • 2. บทคัดย่อ เกษตรกรรมอยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน อาชีพเกษตรกรถือเป็นอาชีพหลักของคนไทย ทําให้ผล ผลิตทางการเกษตรนั้นเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ในบางฤดูกาล หรือยามเกิด วิกฤติการทางธรรมชาติบางอย่าง สามารถทําให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทยลดน้อยลง และเกิดผลกระทบ กับเกษตรกรชาวไทย รวมถึงเศรษฐกิจของไทยได้ เมื่อเวลาผ่านไป จึงทําให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมถึงการสังเคราะห์ฮอร์โมน ของพืชที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตด้านต่าง ๆ ออกมา แล้วนํามาใช้กับพืชต้นอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิต ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ เช่น เร่งดอก เร่งผล เร่งการแตกกิ่งในไม้พุ่ม เพื่อให้ไม้พุ่มนั้นสวยงาม เป็นต้น ใน การเรียนวิชาชีววิทยาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้น ได้มีการกล่าวถึงฮอร์โมนดังกล่าวด้วยเช่นกัน จึงได้ กําหนดให้นักเรียนได้ทําการทดลอง เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากการทดลองจริง ว่าฮอร์โมนที่นํามาทดลองนั้นจะ ให้ผลดังที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือเรียนหรือไม่ และนักเรียนจะได้มีทักษะการทดลองที่ดีขึ้น รวมถึงได้ฝึกฝน ทักษะการทํางานเป็นกลุ่มอีกด้วย โดยกลุ่มของคณะผู้จัดทําได้เลือกทดลองฮอร์โมนไซโทไคนินกับการแตก กิ่งของต้นพุดพิชญา จากการทดลองพบว่า ต้นพุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนไซโทไคนินในระดับความเข้มข้นที่มากที่สุดมี การแตกกิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด ต้นที่ได้รับฮอร์โมนในระดับความเข้มข้นที่น้อยกว่า มีการแตกกิ่งเพิ่มน้อยกว่า และต้นที่ไม่ได้รับฮอร์โมนเลย มีการแตกกิ่งเฉพาะในระยะแรกเท่านั้น
  • 3. กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญาจะสําเร็จ ลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคุณครูวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครูประจําวิชา ที่ช่วยให้คําปรึกษา ช่วย แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ตลอดจนเอื้อเฟื้อสถานที่ และออกแบบผลงาน ขอขอบคุณผู้ปกครอง ที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และให้กําลังใจตลอดมา คณะผู้จัดทําโครงงานขอขอบคุณท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทํา
  • 4. สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนํา 1 - 3 ที่มาและความสําคัญ 1 คําถามการทําโครงงาน 2 สมมติฐาน 2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 ขอบเขตของโครงงาน 2 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 2 ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 2 วิธีการเก็บข้อมูล 2 - 3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 4 - 11 พุดพิชญา 4 ฮอร์โมนไซโทไคนิน 5 - 11 บทที่ 3 วิธีการดําเนินงานโครงงาน 12 - 13 วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 12 ขั้นตอนการทําโครงงาน 12 - 13 บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง 14 - 17 ตารางบันทึกผลการทดลอง 14 รูปประกอบผลการทดลอง 14 - 15 กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง 15 - 16 วิเคราะห์ผลการทดลอง 16 - 17 บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 18 บรรณานุกรม 19 ภาคผนวก 20 - 21
  • 5. 1 บทที่ 1 บทนํา ชื่อโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช เรื่อง การศึกษาผลของฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา สมาชิกโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช 1. น.ส.กัณฑมณี ไชยรัตน์ เลขที่ 2 2. น.ส.ดุสิตา กิติสาระกุลชัย เลขที่ 6 3. น.ส.อรกันยา ศักดารณรงค์ เลขที่ 21 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 143 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อาจารย์ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มาและความสําคัญ เนื่องจากต้นพุดพิชญาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ทําให้ดูแลได้และแลดูน่ารักน่าชม ออกดอก ตลอดปีและดอกยังมีกลิ่นหอม จึงเป็นต้นไม้ที่เหมาะในการประดับตกแต่ง เสริมบรรยากาศรอบที่อยู่อาศัย ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นต้นไม้ชอบแสงแดด จึงเข้ากับภูมิอากาศของประเทศไทยได้อย่างดีเยี่ยม กล่าวได้ว่า ต้นพุดพิชญานั้นเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยและคนไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ฮอร์โมนไซโท ไคนิน ที่มีหน้าที่หลักคือช่วยการแบ่งเซลล์ สามารถใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้ควบคุมทรงพุ่มของต้นไม้ กระตุ้นการเกิดกิ่งแขนง กระตุ้นการเจริญของตาในการขยายพันธุ์โดยการติดตา ใช้ชะลอการแก่ของผลผลิต ช่วยรักษาพืชผักให้สดอยู่ได้นานกว่าปกติ และยืดอายุดอกไม้จึงมีความสําคัญในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญของไทยอย่างหนึ่ง คณะผู้จัดทําจึงเลือกฮอร์โมนไซโทไคนินมาทดลองเกี่ยวกับ การแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา ซึ่งฮอร์โมนไซโทไคนินสามารถช่วยกระตุ้นการเกิดกิ่งแขนงได้ และต้น พุดพิชญาก็เป็นไม้พุ่มที่มีการแตกกิ่งมากในระดับพอสมควรอยู่แล้ว คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืช จึงมีความสนใจที่จะศึกษาผลของฮอร์โมนไซโท ไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าฮอร์โมนไซโทไคนินจะมี ผลต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญามากน้อยเพียงใด และเพื่อให้ได้ศึกษาผลของการทดลองซึ่งจะเป็น ประโยชน์แก่การเรียนวิชาชีววิทยา คณะผู้รับผิดชอบโครงงานการทดลองฮอร์โมนพืชมีความมุ่งหวังเป็น อย่างยิ่งว่าผลที่ได้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้รับผิดชอบโครงงานทางใดทางหนึ่ง ในอนาคตต่อไป
  • 6. 2 คําถามการทําโครงงาน สารละลายฮอร์โมนไซโทไคนินที่ความเข้มข้นใดจะส่งผลให้ต้นพุดพิชญามีการแตกกิ่งเพิ่มมาก ที่สุด สมมติฐานการทดลอง ถ้าฮอร์โมนไซโทไคนินที่ความเข้มข้น 0.4%โดยปริมาตร มีผลต่อกิ่งเจริญดีที่สุด ดังนั้น สารละลาย ฮอร์โมนไซโทไคนินที่ความเข้มข้น 0.4%โดยปริมาตร จะทําให้กิ่งมีการแตกกิ่งเพิ่มมากที่สุด วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. เพื่อศึกษาผลของการรดฮอร์โมนไซโทไคนินที่มีต่อการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโทไคนินในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ที่มีต่อ การแตกกิ่งของต้นพุดพิชญา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องหน้าที่ของฮอร์โมนไซโทไคนิน 2. ได้ศึกษาเปรียบเทียบว่าความเข้มข้นของฮอร์โมนไซโทไคนินจะมีผลต่อการแตกกิ่งหรือไม่ 3. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการทดลองทางวิทยาศาสตร์ และการทํางานเป็นกลุ่ม ขอบเขตของโครงงาน การทําโครงงานครั้งนี้คณะผู้รับผิดชอบมุ่งเน้นที่จะศึกษาเฉพาะหน้าที่ของฮอร์โมนไซโทไคนินใน ด้านการแตกกิ่ง ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรต้น คือ ความเข้มข้นของสารละลายฮอร์โมนไซโทไคนิน ตัวแปรตาม คือ จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญา ตัวแปรควบคุม คือ อายุพืช อุณหภูมิ ปริมาณแสงแดดที่พืชได้รับ ปริมาณนํ้าที่พืชได้รับ ช่วงระยะเวลาในการทําโครงงาน 2 มิถุนายน 2560 – 21 กรกฎาคม 2560 วิธีการเก็บข้อมูล ใช้ไหมสีแดงมัดกิ่งทุกกิ่งของต้นพุดพิชญาทั้ง 9 ต้น แล้วหลังจากรดฮอร์โมนครั้งแรกไปหนึ่ง สัปดาห์ ใช้ไหมสีส้มมัดกิ่งที่แตกออกมาเพิ่มในทุก ๆ สัปดาห์ พร้อมจดบันทึกผลการวัดจํานวนกิ่งในตาราง แบบบันทึกที่ได้ออกแบบไว้ วิธีการวิเคราะห์ผลข้อมูล การหาค่าเฉลี่ยของจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มในแต่ละชุด ทําได้โดยนําจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของ ทั้งสามต้นในชุดนั้น ๆ มาบวกกัน แล้วหารด้วยจํานวนสัปดาห์
  • 7. 3 การหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ใช้ กับจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มในรูปแบบ กราฟแท่งทําได้โดยให้แกน y แทนจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม แกน x แทนสัปดาห์ที่วัดผล โดยมีกราฟทั้งหมด 3 กราฟ เป็นกราฟของชุดควบคุม low dose และ high dose
  • 8. 4 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง พุดพิชญา Arctic Snow/Milky Way/Snowflake/Sweet Indrajao/Winter Cherry Tree ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia antidysenterica R.Br. วงศ์: APOCYNACEAE ประเภท: ไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูง: 1-2 ม. ลําต้น: ลําต้นและกิ่งก้านสีนํ้าตาลแดง ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบ ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี 5-6 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนปนเหลือง ดอก สีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ขนาด 1.5-2.5 ซม. กลางดอกมีรยางค์เป็นแผ่น รูปแถบคล้ายขี้ผึ้ง ปลายแยกเป็นริ้ว 2-5 ริ้ว เกสรเพศผู้สีเหลือง ก้านดอกยาว ประมาณ 2 ซม. ออกดอกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินร่วนปนทราย ระบายนํ้าดี ไม่ทนดินเค็ม แสงแดด: เต็มวัน นํ้า/ความชื้น: ปานกลาง ขยายพันธุ์: ปักชําและตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: มีถิ่นกําเนิดในศรีลังกา นําเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยโดย คุณสุปราณี คงพิชญานนท์มี ชื่อท้องถิ่นว่า Inda หมายถึง ดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ดอกสีขาวเหมือนดอกพุดในบ้านเรา จึงตั้งชื่อใหม่ว่า “พุดพิชญา” สามารถปลูกเป็นไม้กระถางเพื่อประดับสถานที่หรือปลูกลงแปลง ปัจจุบันมีพันธุ์ใบด่างที่ สวยงามเช่นกัน
  • 9. 5 ฮอร์โมนไซโทไคนิน ประวัติการค้นพบ Haberlandt (1913) พบว่านอกจากออกซินแล้วยังมีฮอร์โมนอีกชนิดที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เขาใช้ สารละลายที่สกัดจากท่อลําเลียงอาหารของพืชใส่ลงในชิ้นส่วนของมันฝรั่งที่เพาะเลี้ยงอยู่พบว่าทําให้เกิดการ แบ่งเซลล์ได้ Van Overbeek (1942) พบว่าในนํ้ามะพร้าวก็มีฮอร์โมนที่กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงได้ และในปี 1944 เขาและคณะได้รายงานว่าสารสกัดจากต้นอ่อนของพืชพวกลําโพง, ยีสต์, wheat germ, almond meal สามารถกระตุ้นการแบ่งเซลล์ได้ แสดงว่ามีสารเหล่านี้ในพืชหลายชนิด F.C. Steward พบสาร myoinositol, 1,3-diphenylurea, leucoanthocyanin ในนํ้ามะพร้าว ซึ่งกระตุ้น การแบ่ง เซลล์ Skoog (1948) พบว่าการเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารธรรมดา เนื้อเยื่อจะเจริญได้ในระยะเวลาที่จํากัด แต่ถ้าเติม นํ้า มะพร้าวหรือสารสกัดจากยีสต์ลงในอาหาร จะทําให้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อยืดยาวขึ้น Skoog and Miller (1955) สกัดสารจาก DNA ของยีสต์ ได้สาร 6-furfuryladenine สามารถเร่งการแบ่งเซลล์ ของพืชทั่วไปและเรียกสารนี้ว่า ไคนีทิน ต่อมาไคนีทินและสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกันรวมเรียกว่าไซโทไค- นิน ชนิดของสารในกลุ่มไซโทไคนิน ไคเนทินเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโทไคนินที่ไม่ใช่ฮอร์โมนพืช แต่ไซโทไค- นินที่เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งหมายถึงสารที่พืชสร้างเองนั้น พบครั้งแรกภายหลังจากที่รู้จักไคเนทินหลายปี โดย สกัดได้จากเอนโดสเปิร์มของข้าวโพดในระยะที่ยังอ่อนอยู่ เรียกชื่อสารนี้ว่า ซีเอทิน (Zeatin) มีชื่อทางเคมี คือ 6-(4-Hydroxy-3-methylbut-2-enylamino) purine ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับไคเนทิน คือ กระตุ้นการแบ่งเซลล์
  • 10. 6 เมื่อใช้ร่วมกับ ออกซินและมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายไคเนทิน คือ มีแอดินีนเป็นองค์ประกอบ ไซโทไค- นินพบทั้งในพืชดอก สน เฟิร์น มอส สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด ซีเอตินเป็นฮอร์โมนพืชในกลุ่มไซโท- ไคนินที่พบมากที่สุด นอกจากนั้น ยังมีสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มไซโทไคนินที่รู้จักกันดี เช่น Benzyladenine หรือ Benzylaminopurine, N,N’-Diphenylurea และ Thidiazuron เป็นต้น เนื้อเยื่อพืชบริเวณที่สร้างไซโทไคนินและการลําเลียง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไซโทไคนินสร้างมากที่เนื้อเยื่อที่กําลังมีการเจริญดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ ปลายราก เนื้อเยื่อบริเวณอื่นก็พบว่าสร้างไซโทไคนินได้ เช่น เอ็มบริโอ ใบอ่อน ตาข้าง ปลายช่อดอกอ่อน ผล แต่แหล่งสําคัญที่พืชสร้างไซโทไคนิน ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญที่ปลายราก ไซโทไคนินที่สร้างจากราก เคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชผ่านทางไซเล็มพร้อม ๆ กับนํ้าและธาตุอาหารจากราก ส่วนไซโทไคนิน ที่สร้างจากแหล่งอื่น ๆ เช่น ใบอ่อน ตาข้าง ผล เอ็มบริโอ อาจทําหน้าที่ทางสรีรวิทยาเฉพาะในบริเวณอวัยวะ นั้นเท่านั้น การตอบสนองของพืชต่อไซโทไคนิน การค้นพบไซโทไคนินในช่วงแรกได้แสดงผลของไซโทไคนินในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืช เมื่อมีออกซินอยู่ด้วย และเมื่อมีการศึกษาเพิ่มขึ้น พบว่าไซโทไคนินมีผลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาและ การเจริญเปลี่ยนแปลงของพืชอีกหลายประการ ซึ่งรวมถึงการชะลอการเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยของใบ (leaf senescence) เปลี่ยนแปลงการข่มของตายอด (apical dominance) และส่งเสริมการเจริญของตาข้าง การสร้าง และการเจริญของเนื้อเยื่อเจริญของปลายยอด การพ้นระยะพักตัวของตา การเคลื่อนย้ายธาตุอาหาร นอกจากนั้น ไซโทไคนินยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของพืชที่มีแสงเป็นตัวกระตุ้น เช่น การพัฒนาของ คลอโรพลาสต์ การขยายขนาดของใบเลี้ยงและใบแท้อีกด้วย
  • 11. 7 อย่างไรก็ดี เมื่อกล่าวถึงบทบาทหลัก ๆ ของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโทไคนิน การควบคุม การแบ่งเซลล์ถือว่ามีความสําคัญโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นสมบัติในการทดสอบทาง ชีววิทยาของสารในกลุ่มนี้ ความรู้ดังกล่าวนําไปสู่การนําสารกลุ่มนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางใน ปัจจุบันร่วมกับการใช้สารในกลุ่มออกซินเพื่อการควบคุมการเจริญของเนื้อเยื่อพืชในหลอดทดลองซึ่งช่วย ในการขยายพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ สร้างพืชดัดแปรพันธุกรรม และการศึกษาทางชีววิทยา นอกจากนั้น ไซโทไค- นินยังมีบทบาทต่อการเจริญ ของตาข้าง ซึ่งเจริญต่อไปเป็นกิ่ง และมีผลต่อรูปร่างทรงพุ่มของต้นไม้ด้วย หน้าที่ของไซโทไคนินในการแบ่งเซลล์ ปกติในพืชทั้งต้น เซลล์พืชเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญ จากนั้นเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จึงขยาย ขนาดและเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทําหน้าที่เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อลําเลียง เนื้อเยื่อที่ทําหน้าที่สังเคราะห์ด้วย แสง เนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรงแก่อวัยวะสะสมอาหาร หรือปกป้องพืช และเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เหล่านั้น จะไม่กลับมาแบ่งเซลล์อีก ยกเว้นในบางกรณีที่เซลล์ที่โตเต็มที่แล้วและยังมีนิวเคลียสอยู่จะ กลับไปแบ่งเซลล์ได้อีก เช่น ในกรณีเพื่อสมานบาดแผล และกรณีเพื่อสร้างแนวเนื้อเยื่อที่มีผนังเซลล์บางที่ บริเวณโคนก้านใบ ก้านดอก หรือก้านผลสําหรับเกิดการร่วงต่อไปเมื่อได้รับสัญญาณ ในกรณีดังกล่าวนี้ การ แบ่งเซลล์เกิดขึ้นเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น ส่วนในพืชบางชนิดที่มีการเจริญเติบโตในระยะทุติยภูมิเพื่อขยาย ขนาดรอบลําต้น เซลล์บางชั้นของเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (phloem) และคอร์เท็กซ์ (cortex) กลับมาแบ่งเซลล์ได้อีก เป็นวาสคูล่าแคมเบียม (vascular cambium) และคอร์กแคมเบียม (cork cambium) ตามลําดับ ทั้งนี้ ไม่ว่าการ แบ่งเซลล์จะเกิดที่เนื้อเยื่อเจริญหรือเนื้อเยื่อที่โตเต็มที่แล้วก็ตาม เกิดจากเนื้อเยื่อได้รับหรือมีการสร้างไซโท ไคนินเพิ่มขึ้น ภาพเนื้อเยื่อเจริญทําหน้าที่แบ่งเซลล์ ภาพเซลล์ที่เกิดใหม่เปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ทําหน้าที่เฉพาะ
  • 12. 8 บทบาทของไซโทไคนินต่อการเจริญของตาข้าง การข่มของตายอด หรือ apical dominance ที่มีผลยับยั้งการเจริญของตาข้างในระดับต่าง ๆ มีส่วนกําหนด รูปทรงของต้นพืชแต่ละชนิด เช่น มะพร้าว มีการข่มของตายอดรุนแรง รูปทรงต้นจึงมีลักษณะเป็นลําต้น เดี่ยวและไม่มีกิ่งด้านข้าง ตรงข้ามกับไม้ต้นชนิดอื่น และไม้พุ่มที่ตาข้างเจริญเป็นกิ่งได้ และสามารถกระตุ้น การเจริญของตาข้างได้หากเด็ดหรือตัดยอด แม้การข่มของตายอดจะเกิดขึ้นด้วยการควบคุมของออกซินที่ สร้างที่ยอดเป็นหลัก แต่การเจริญของตาข้างมีปัจจัยควบคุมที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่า กล่าวคือ มีทั้งออกซิน ไซโทไคนิน และเชื่อว่าอาจมีฮอร์โมนอื่น เช่น กรดแอบไซซิก รวมถึงสัญญาณจากรากเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม ไซโทไคนินมีผล ต่อการเจริญของตาข้างดังจะเห็นได้จากการให้ไซโทไคนินแก่ตาข้าง สามารถกระตุ้นให้ตาข้างเติบโตเป็นกิ่งได้ และจากการศึกษาในพืชกลายพันธุ์ที่สร้างไซโทไคนินมากกว่า ปกติ พบว่าต้นยาสูบกลายพันธุ์ที่สร้างไซโทไคนินมากมีการเจริญของกิ่งข้างมากกว่า จึงมีรูปทรงต้นเป็นพุ่ม มากกว่าต้นปกติที่มีกิ่งข้างจํานวนไม่มาก นอกจากนั้น ยังพบว่าออกซินยับยั้งการแสดงออกของยีน isopentenyl transferase หรือ ipt ที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์ไซโทไคนินที่ตาข้าง และเป็นไปได้ว่าไซโทไคนินที่มีผลทําให้ตาข้างเจริญนั้นอาจสังเคราะห์ขึ้นที่ตาข้างเองด้วย ส่วนไซโทไคนิน ที่สร้างและลําเลียงจากรากขึ้นมาตามไซเล็มไปยังยอด ทําหน้าที่ตรงข้ามกับออกซินโดยส่งสัญญาณกระตุ้น ให้ตาข้างเจริญ ดังนั้น สัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินจึงมีผลควบคุมการเจริญของตาข้าง ดังจะ สังเกตเห็นได้ว่ายิ่งใกล้ยอดซึ่งเป็นส่วนที่สร้างออกซิน ตาข้างจะถูกยับยั้งการเจริญมากกว่าตาข้างที่อยู่ห่าง จากยอดลงมาและใกล้รากมากขึ้น ซึ่งปลายรากเป็นส่วนที่สร้างไซโทไคนิน การให้ไซโทไคนินแก่ตาข้าง (ก) สามารถกระตุ้นให้ตาข้างเติบโตได้(ข)
  • 13. 9 สัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินภายในต้นพืชที่ตําแหน่งต่างกัน มีผลให้ตาข้างที่อยู่ใกล้ยอดถูก ยับยั้งการเจริญมากกว่าตาข้างที่อยู่ห่างจากยอดลงมาและอยู่ใกล้รากมากขึ้น เห็นได้ว่า ไซโทไคนินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสําคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลง ของพืช ซึ่งหากพืชขาดไซโทไคนินจะทําให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติไปและอาจไม่สามารถดํารงชีวิตและ สืบพันธุ์ได้ ดังนั้น การศึกษาฮอร์โมนพืชจึงมีความสําคัญและทําให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงสรีระของพืช ตลอดจนสามารถนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืชทั้งในและนอกหลอด ทดลองได้ ผลของไซโทไคนินที่มีต่ออกระบวนการทางสรีรวิทยาและการเจริญเติบโตของพืช 1) การพัฒนาของตาและยอด (Bud and Shoot Development) : ไซโทไคนินส่งเสริมการแตกตาข้างและแก้ การข่มของตายอด (apical dominance) บางส่วน การศึกษาในพืชตัดแต่ง ยีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ ไซโทไคนินพบว่าจะทําให้ปริมาณ zeatin และสารที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นหลายสิบเท่าตัว และทําให้ต้นพืชนั้นมี การเจริญเติบโตของตาข้างมาก และไม่เกิดการข่มของตายอด การข่มของตายอดถูกควบคุมโดยสมดุล ระหว่างระดับของไซโทไคนินและ IAA ภายในพืช มีสองทฤษฎีที่กล่าวถึงเกี่ยวกับว่าไซโทไคนินเกี่ยวข้อง กับการข่มของตายอดอย่างไร ทฤษฎีแรกเสนอว่า ไซโตไคนินอาจยับยั้ง IAA oxidase ในตาข้าง ทําให้มี ออกซินในระดับที่ทําให้ตาข้างยืดยาวออก ทฤษฎีที่สองนั้น ไซโทไคนินอาจทําให้เกิดกลไกของการใช้ สารอาหาร(initiate sink mechanism) ที่ตาข้างและส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุและสารควบคุมการเจริญเติบโตอื่นๆ (ซึ่งทั้งหมดนั้นอาจเป็นตัวที่จํากัดการเจริญเติบโต)
  • 14. 10 2) การแบ่งเซลล์และการสร้างอวัยวะ (Cell division and organ formation) : หน้าที่หลักของไซโทไคนินใน พืชคือส่งเสริมการแบ่งเซลล์ มีรายงานว่าการเจริญเติบโตของแคลลัสของ pith ของลําต้นยาสูบจะ ตอบสนองต่อไคนีทินหรือ IAA อย่างเดียว แต่ถ้าจะให้การเจริญเติบโตเกิดต่อเนื่องจะต้องให้ทั้งไคนีทินและ IAA ในอาหาร อธิบายได้ว่าในระยะแรก IAA หรือไซโทไคนินที่มีอยู่ภายในพืชอาจทําปฏิกิริยากับไซโทไค- นินหรือ IAA ที่ให้ทางอาหารเลี้ยง แต่เมื่อเวลานานขึ้น ระดับของฮอร์โมนภายในก็ลดลงการเจริญเติบโตก็ จะหยุด การจัดการให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมของ IAA และไซโทไคนิน ก็จะได้แคลลัสที่มีทั้งรากและ/หรือ ต้น 3) การงอกของเมล็ด และการขยายขนาดของเซลล์และอวัยวะ (Seed Germination, Cell and Organ Enlargement) : ไคนีทินสามารถแก้ผลในการยับยั้งการงอกของเมล็ดผักกาดหอมที่เกิดจากแสงฟาร์เรดได้ โดยทั่วไปไซโทไคนินถูกจัดเป็นสารตัวกระตุ้นการแบ่งเซลล์ แต่มันก็มีผลต่อการขยายขนาดของเซลล์ด้วย ไซโทไคนินส่งเสริมการขยายขนาดของเซลล์ของใบเลี้ยงที่ตัดออกมา (excised cotyledon) ในพืชใบกว้าง หลายชนิด เมื่อเด็ดใบเลี้ยงออกจากต้น พืชก็จะขาดจากแหล่งไซโทไคนินตามธรรมชาติแต่เมื่อให้ไซโทไค- นินจากภายนอก ก็จะไปส่งเสริมการขยายตัวของเซลล์ของใบเลี้ยงนั้นได้ การใหญ่ขึ้นของเซลล์เกี่ยวข้องกับ การดูดนํ้าซึ่งเกิดจากการลดค่าศักดิ์ออสโมซิส(osmotic potential) ของเซลล์ที่กระตุ้นโดยการเกิดการ เปลี่ยนแปลงของไขมัน (lipid) ซึ่งเป็นอาหารสะสมในใบเลี้ยง ไปเป็นนํ้าตาลรีดิวซ์ (reducing sugar:- glucose, fructose) 4) การชะลอการเสื่อมตามอายุและการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสารอาหาร (Delay of senescence and promotion of translocation of nutrients and organic substances) : เมื่อเด็ดใบที่โตเต็มที่ออกจากต้น ก็จะเกิด การแตกตัวของโปรตีนอย่างรวดเร็ว คลอโรพลาสต์สลายตัวทําให้สูญเสียคลอโรฟิลล์และเกิดการไหล ออกไปของไนโตรเจนที่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบของโปรตีน (nonprotein nitrogen), ไขมัน, กรดนิวคลีอิค โดยผ่านทางรอยแตกของเยื่อหุ้มเซลล์ ถ้าชักนําให้ใบนั้นสร้างรากขึ้นมา ก็จะทําให้การเสื่อมตามอายุนั้นเกิด ช้าลง และพบว่าการให้ไซโทไคนินก็จะชะลอการเสื่อมตามอายุได้โดยไม่ต้องชักนําการเกิดราก ในสภาพ ความมืดก็จะเกิดการเร่งการเสื่อมตามอายุอย่างมาก การให้ไซโทไคนินสามารถทดแทนผลของแสงต่อการ ชะลอการเสื่อมตามอายุได้ซึ่งอาจเกิดจากการรักษาสภาพ integrity of tonoplastmembrane เมื่อให้ไซโทไค- นินแก่ใบหรือใบเลี้ยงของพืชที่ปลูกในที่มืด 2-3 ชม. ก่อนที่จะให้ได้รับแสง พบว่า อีทิโอพลาสต์ (etioplast) จะถูกเปลี่ยนไปเป็นคลอโรพลาสต์ทําให้มีการสร้างคลิโรฟิลล์เพิ่มขึ้น ไซโทไคนินยังสามารถชะลอการ เสื่อมตามอายุในดอกไม้ (cut flower) และผักสด นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าไคนีทินสามารถส่งเสริม
  • 15. 11 การเคลื่อนย้ายสารอินทรีย์ในใบพืชที่ถูกตัดออกมา ที่อยู่ในที่มืดได้ และพบว่าเมื่อพ่นไซโทไคนินให้แก่ใบ ใบหนึ่ง ใบที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเกิดการชราภาพ นอกจากนั้นการให้ไซโทไคนินแก่ใบที่เริ่มเหลืองแล้วจะทําให้ ใบกลับเขียวเพราะมีการสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาอีก การนําไซโทไคนินมาใช้ทางการเกษตร - ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ - ใช้ควบคุมทรงพุ่มของต้นไม้กระตุ้นการเกิดกิ่งแขนง - กระตุ้นการเจริญของตา ในการขยายพันธุ์โดยการติดตา - ใช้ชะลอการแก่ของผลผลิต ช่วยรักษาพืชผักให้สดอยู่ได้นานกว่าปกติ และยืดอายุดอกไม้
  • 16. 12 บทที่ 3 การดําเนินงาน วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี 1. ไซริงค์ 2. กระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้3 อัน 3. ฮอร์โมนไซโทไคนิน 4. ขวดนํ้าเปล่าขนาด 500 มิลลิลิตร สําหรับผสมฮอร์โมน 5. ถุงมือ ป้องกันอันตรายขณะทําการผสมฮอร์โมน 6. ไหมพรมสีแดงและสีส้ม 7. กรรไกร สําหรับตัดไหมพรม 8. ต้นพุดพิชญา 9 ต้น ความสูงประมาณ 30 ซม. ขั้นตอนการทําโครงงาน 1. ประชุมวางแผนคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ 2. ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานดังนี้ 2.1. ต้นพุดพิชญา 2.2. ฮอร์โมนไซโทไคนิน 2.3. ฮอร์โมนออกซิน 2.4. ฮอร์โมนจิบเบอรเรลลิน 3. เลือกใช้ฮอร์โมนไซโทไคนิน 4. วางแผนรายละเอียดการทดลอง ดังนี้ 4.1. ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นมาก และความเข้มข้นน้อยกับที่ไม่ได้รับฮอร์โมน 5. หาสถานที่ที่ใช้ในการทดลอง 6. จัดทําเค้าโครงโครงงาน เพื่อนําเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนําไปปรับปรุงและแก้ไข 7. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําการทดลองเปรียบเทียบจํานวนกิ่งของต้นพุดพิชญาที่แตกเพิ่ม 7.1.1. ต้นพุดพิชญา 9 ต้น 7.1.2. ฮอร์โมนไซโทไคนิน 7.1.3. ไซริงค์ 1 อัน 7.1.4. กระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้3 กระบอก 7.1.5. ขวดนํ้าขนาด 500 มิลลิลิตร จํานวน 2 ขวด
  • 17. 13 7.1.6. ถุงมือ 7.1.7. สมุดบันทึก 7.1.8. นํ้าประปา 8. ขั้นตอนกระบวนการทําการทดลอง 8.1. ตอนที่ 1 การเปรียบเทียบจํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนความเข้มข้นมาก และความเข้มข้นน้อยกับที่ไม่ได้รับฮอร์โมน 8.1.1. มัดกิ่งของต้นพุดพิชญาทุกต้นด้วยไหมพรมสีแดง 8.1.2. เตรียมขวดนํ้าไว้2 ขวด 8.1.3. ใช้ไซริงค์ดูดฮอร์โมนไซโทไคนินปริมาณ 1 มิลลิตร แล้วนําไปผสมกับนํ้า ในขวดที่เตรียม ไว้จนมีปริมาตร 500 มิลลิลิตร แล้วนําไปใส่ในกระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้ถือเป็นชุด low dose 8.1.4. ใช้ไซริงค์ดูดฮอร์โมนไซโทไคนินปริมาณ 2 มิลลิตร แล้วนําไปผสมกับนํ้า ในขวดที่เตรียม ไว้จนมีปริมาตร 500 มิลลิลิตร แล้วนําไปใส่ในกระบอกสเปรย์สําหรับรดนํ้าต้นไม้ถือเป็นชุด high dose 8.1.5. รดนํ้าต้นพุดพิชญาในชุดควบคุมจํานวน 20 ฟอด 8.1.6.รดฮอร์โมนต้นพุดพิชญาในชุด low dose จํานวน 20 ฟอด 8.1.7.รดฮอร์โมนต้นพุดพิชญาในชุด high dose จํานวน 20 ฟอด 8.1.8.รดฮอร์โมนเพียง 1 วัน ใน 1 สัปดาห์ โดยวันที่ไม่ได้รดฮอร์โมนให้รดนํ้าปกติเหมือนชุด ควบคุม 8.1.9.หลังจากรดฮอร์โมนผ่านไป 1 สัปดาห์ ให้ใช้ไหมพรมสีส้ม มัดกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญา ทุกต้น โดยจะต้องทําเช่นนี้ทุกสัปดาห์ พร้อมกับจดบันทึกผลการทดลอง 9. สรุปผล อภิปราย และเสนอต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระยะ 10. จัดทําเอกสารเป็นรูปเล่มโครงงานให้สมบูรณ์ 11. จัดทําสื่ออภิปรายแสดงผลการทดลอง 12. นําเสนอโครงงาน
  • 18. 14 บทที่ 4 ผลการทดลองและการวิเคราะห์ผลการทดลอง ตารางบันทึกผลการทดลอง หมายเหตุ : เริ่มรดฮอร์โมนในวันที่ 2 มิ.ย. 2560 และ – หมายถึง ไม่มีกิ่งแตกเพิ่ม รูปประกอบผลการทดลอง ชุดควบคุม วัน/เดือน/ปี จํานวนกิ่งของต้นพุดพิชญาที่แตกเพิ่ม (กิ่ง) ชุดควบคุม ชุด low dose ชุด high dose ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 9 มิ.ย. 2560 - - - - - - - - - 16 มิ.ย. 2560 4 6 2 1 - - - - - 23 มิ.ย. 2560 - - - 4 3 - 5 - - 30 มิ.ย. 2560 - - - 1 - 2 - - - 7 ก.ค. 2560 - - - 1 - 4 2 9 - 14 ก.ค. 2560 - - - 1 - - - 4 2 21 ก.ค. 2560 3 - 5 - - - - - 4
  • 19. 15 ชุด low dose ชุด high dose กราฟแท่งแสดงผลการทดลอง 0 1 2 3 4 5 6 7 1 (9 มิ.ย. 60) 2 (16 มิ.ย. 60) 3 (23 มิ.ย. 60) 4 (30 มิ.ย. 60) 5 (7 ก.ค. 60) 6 (14 ก.ค. 60) 7 (21 ก.ค. 60) จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม(กิ่ง) สัปดาห์ที่ จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาในชุดควบคุม ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3
  • 20. 16 วิเคราะห์ผลการทดลอง จากผลการทดลอง ต้นพุดพิชญาในชุดควบคุม มีการแตกกิ่งเพิ่มเพียง 2 ครั้ง ในขณะที่ชุด low dose มีการ แตกกิ่งเพิ่มบ่อยครั้งกว่า แต่จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มนั้นน้อยกว่าในชุด แสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ ฮอร์โมนในชุด low dose นั้น ทําให้เกิดการแตกกิ่งบ่อยครั้ง แต่แตกกิ่งเพิ่มในจํานวนไม่มาก ในขณะที่ชุด 0 1 2 3 4 5 1 (9 มิ.ย. 60) 2 (16 มิ.ย. 60) 3 (23 มิ.ย.60) 4 (30 มิ.ย. 60) 5 (7 ก.ค. 60) 6 (14 ก.ค. 60) 7 (21 ก.ค. 60) จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม(กิ่ง) สัปดาห์ที่ จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาในชุด low dose ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 1 (9 มิ.ย. 60) 2 (16 มิ.ย. 60) 3 (23 มิ.ย. 60) 4 (30 มิ.ย. 60) 5 (7 ก.ค. 60) 6 (14 ก.ค. 60) 7 (21 ก.ค. 60) จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่ม(กิ่ง) สัปดาห์ที่ จํานวนกิ่งที่แตกเพิ่มของต้นพุดพิชญาในชุด high dose ต้นที่ 1 ต้นที่ 2 ต้นที่ 3
  • 21. 17 high dose นั้น ไม่ได้เกิดการแตกกิ่งบ่อยครั้งนัก แต่แตกกิ่งเพิ่มจํานวนมากที่สุด ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ต้น พุดพิชญาที่ได้รับฮอร์โมนมาก ๆ มีการแตกกิ่งน้อยลง
  • 22. 18 บทที่ 5 สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปผลการทดลอง จากเอกสารอ้างอิงในบทที่ 2 ทําให้ทราบว่าไซโทไคนินช่วยในการแบ่งเซลล์และการแตกกิ่งแขนงของพืช ซึ่งตรงตามการทดลองที่ได้ทําไป สังเกตจากการที่ต้นพุดพิชญาในชุด high dose มีการแตกกิ่งเพิ่มจํานวน มากที่สุด ทําให้ทราบว่าไซโทไคนินช่วยให้ต้นพุดพิชญาแตกกิ่งได้มากขึ้นจริง โดยในเอกสารอ้างอิงยังได้ กล่าวไว้ว่า เมื่อเวลานานขึ้น ระดับของฮอร์โมนภายในก็ลดลง การเจริญเติบโตก็จะหยุด ซึ่งจากผลการ ทดลองก็เป็นจริงเช่นนั้น เนื่องจาก ต้นพุดพิชญาในชุด low dose และ high dose แม้จะมีการแตกกิ่งมาก ในช่วงระยะเวลาที่ติด กัน แต่ในช่วงสุดท้ายของการทดลอง จะเห็นได้ว่าการแตกกิ่งของต้นพุดพิชญาในชุด low dose และ high dose นั้นเกิดขึ้นน้อยลง โดยการที่ชุด low dose แตกกิ่งเพิ่มเป็นจํานวนน้อยกว่าชุด ควบคุมนั้นก็ไม่อาจทราบสาเหตุได้แต่ชุด low dose นั้นกลับมีการออกดอกจํานวนมากกว่าชุดควบคุม และ ชุด high dose ที่ไม่ออกดอกเลย ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เนื่องจากคณะผู้จัดทําต่างไม่ทราบว่าต้นพุดพิชญาที่ใช้ทําการทดลองนั้น เป็นต้นไม้ที่ชอบอยู่ ในที่ที่มีแสงแดด ในช่วงแรกผู้จัดทําจึงนําต้นพุดพิชญาไว้ในที่ร่ม ทําให้ต้นพุดพิชญาผลัดใบจํานวนมาก และไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้น คณะผู้จัดทําจึงควรศึกษาเกี่ยวกับต้นไม้ที่ใช้ทําการทดลองให้ถี่ถ้วนมาก ขึ้น ก่อนที่จะทําการทดลอง
  • 23. 19 บรรณานุกรม “พุดพิชญา.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://book.baanlaesuan.com/plant-library/indrajao_winter/ [ม.ป.ป.]. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2560. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรา ลิมปนะเวช. “คู่มือประกอบสื่อการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายวิชาชีววิทยา เรื่องไซโทไคนิน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual/%A4%D9%E8%C1%D7% CD%AA%D5%C7%C7%D4%B7%C2%D2/47_%E4%AB%E2%B7%E4%A4%B9%D4%B9.pd f 2555. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2560. ปรารถนา จันทร์ทา และคณะ. “ฮอร์โมนพืช.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://mylesson.swu.ac.th/syllabus/doc_4720040331150456.pdf [ม.ป.ป.]. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2560.