SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 9
หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในมิติต่าง ๆ และ
องค์ประกอบและแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
รายละเอียด แนวปฏิบัติด้าน ความพอประมาณความมีเหตุผลการมีภูมิคุ้มกันในตัวเงื่อนไขความรู้และ
คุณธรรมการเชื่อมโยงองค์ประกอบสามประการเข้ากับเงื่อนไขความรู้และคุณธรรมตัวอย่างการประยุกต์ใช้หลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและภาคีการพัฒนา
จํานวนชั่วโมงที่สอน3ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.การบรรยายเนื้อหาวิชา
2.การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.ทําแบบทดสอบความรู้หลังทําความเข้าใจบทเรียน
สื่อการสอน
1.การบรรยาย
2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนําเสนอแนวความคิด
3.การใช้สื่อต่างๆเช่นPowerPointwhiteboardMediaWebsite
แผนการประเมินผลการเรียนรู้
1.ผลการเรียนรู้
1.1การประเมินผลความเข้าใจเนื้อหาวิชา
1.2การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.วิธีการประเมินความรู้
2.1การทําแบบทดสอบย่อยและการทําแบบฝึกหัดเมื่อมีการบรรยายเสร็จสิ้น
2.2 ประเมินผลการมีส่วนร่วม เช่น การแสดงความคิดเห็น การนําเสนอ การแลกเปลี่ยน
เรียนรู้
94
3.สัดส่วนการประเมิน(5คะแนน)
3.1 การประเมินความเข้าใจการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ (ร้อยละ60)
3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ (ร้อยละ 40)
เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนใน
มิติต่าง ๆ และองค์ประกอบและแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน1
การกําหนดกรอบของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากข้อเท็จจริงและประสบการณ์ในวิถีการ
ดําเนินชีวิตภายในชุมชน เพื่อการอนุมานเป็นแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจะสามารถพิจารณาถึง
องค์ประกอบด้านต่างๆในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี
9.1ความพอประมาณ
ความพอประมาณเป็นหลักคุณธรรมพื้นฐานที่ใช้ในการควบคุมความอยากได้ หรือความ
ต้องการและการสนองตอบต่อความพึงพอใจเพื่อที่จะได้รับความสุขภายนอก เกิดขึ้นในขอบเขตของ
เหตุผล ไม่มีคุณธรรมใดที่สามารถทําได้หากปราศจากการควบคุมตัวเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจหลัก
การดังกล่าวจึงได้ถูกจัดไว้ให้เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ความพอประมาณนั้นสามารถแบ่งได้เป็น การละ
เว้น ความบริสุทธิ์ หรือพรหมจรรย์และความถ่อมตัว ครอบคลุมไปถึงการดื่ม กิน การมีเพศสัมพันธ์
และการป้องกันตัวเองมิให้เกิดความหลงตัวเอง
ความพอประมาณในคิดเศรษฐกิจพอเพียงรวมเอาหลักการของพุทธเศรษฐศาสตร์เข้าไว้ด้วยคือ
การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยอาจนํามาปฏิบัติได้ เช่น การไม่ใช้จ่ายเกินความจําเป็นหรือการ
ใช้จ่ายที่เกินกําลังขอตนเองหรือไม่ฉกฉวยของบุคคลอื่นมาเป็นขอตนเองเป็นต้น
9.2ความมีเหตุผล
ความมีเหตุผลเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับความมีสติ และความนึกคิดที่ต้องมีการตัดสินใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
วางเป้าหมาย วิธีการกระทําและสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ทรัพยากรที่มีอยู่ ขีดความสามารถข้อจํากัดด้านทรัพยากรและความรู้ อย่างไรก็ตามปัจจัยสําคัญอีกประการ
หนึ่งคือ การคํานึงถึงทรัพยากรที่สามารถหามาได้โดยใช้ความพยายามเช่น ความรู้ การร้องขอความช่วยเหลือ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น
โดยสรุปคือ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง อย่างมีเหตุผล ด้วยการพิจารณาปัจจัยที่
เกี่ยวข้องตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทําอย่างรอบคอบ
95
9.3การมีภูมิคุ้มกันในตัว
การมีภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดการปรับตัวต่อผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจทราบล่วงหน้าหรือไม่ทราบล่วงหน้าการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆเป็น
สิ่งที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันเช่นการแสวงหาข้อมูลการติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ
การขวนขวานหาความรู้อยู่เสมออย่างไรก็ตามภูมิคุ้มกันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการตรียมความพร้อมข้างต้น
แต่เพียงอย่างเดียวการสร้างภูมิคุ้มกันยังเกี่ยวข้องกับการมีเหตุมีผลและความพอประมาณข้างต้นด้วย
9.4เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม
สิ่งที่เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีและสิ่งที่จะทําให้เกิดประสบการณ์ ความคิดที่มีเหตุผลความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การเกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆคือความมีจิตสํานึกที่ดี ความขยันหมั่นเพียรและการแสวงหาความรู้อยู่
เสมอความรู้อาจได้มาจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ล้มเหลวหรือประสบการณ์ที่ประสบผลสําเร็จหรืออาจ
เกิดจากการค้นคว้าด้วยตนเอง การเข้ารับการอบรมศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันภายในชุมชนหรือ
ภายนอกชุมชน
สําหรับเงื่อนไขที่เป็นคุณธรรมจะมาจากความตระหนักภายในของบุคคล ที่ถูกหล่อหลอมจากพื้นฐาน
ทางสังคม เป็นองค์ประกอบสําคัญที่จะทําให้การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสําเร็จหรือ
ล้มเหลว เนื่องจากความมีคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ละเลยต่อผู้อื่นและละเลยต่อหน้าที่ของตนเป็นสิ่งที่
จะทําให้เกิดการนําองค์ประกอบข้างต้นมาประยุกต์ได้อย่างประสบผล
9.5การเชื่อมโยงองค์ประกอบสามประการเข้ากับเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม
องค์ประกอบหลักสี่ประการ เป็นองค์ประกอบกว้างๆ ที่สามารถนํามาแปรความหมายและคุณค่า
สําหรับการประยุกต์ที่หลากหลาย สิ่งสําคัญที่ต้องคํานึงถึงก็คือ ความเพียงพอของการสร้างองค์ประกอบทั้งสี่
ประการนั้นมีมากน้อยเพียงใด หากมีองค์ประกอบหลักๆ ที่เพียงพอการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะ
ประสบผลหากมีไม่เพียงพอการประยุกต์ใช้จะไประสบผลเท่าที่ควรทั้งนี้ อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับ
ปัจเจกและค่านิยมในระดับสังคม
เงื่อนไขที่มีต่อความสําเร็จในการประยุกต์แนวคิดเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจกิจชุมชนต้องมีการเชื่อมโยง
องค์ประกอบเข้าด้วยกันเนื่องจากองค์ประกอบทั้งสี่ประการเป็นสิ่งที่สามารถทําให้เกิดขึ้นได้อย่างธรรมชาติ ไม่
ขัดต่อพฤติกรรมการดํารงชีวิตโดยเฉพาะ ปทัสถานทางสังคม เนื่องจากธรรมชาติทางวัฒนธรรมและสังคมไทย
เป็นสิ่งที่มีวิถีการดํารงชีวิตและวิถีความคิด ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบหลักทั้งสี่ประการได้โดยง่าย แต่
อุปสรรคปัญหาที่สําคัญคือการผสานวัฒนธรรมภายนอกและการรับอิทธิพลของวัฒนธรรมภายนอกมาประยุกต์
ปฏิบัติโดยละเลยวัฒนธรรมภายในเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบของแนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียง
96
9.6ตัวอย่างการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้ปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่างการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบ้าน
ดอกบัว อําเภอเมืองพะเยาว์ จังหวัดพะเยาว์
หมู่บ้านบ้านดอกบัว ตําบลบ้านตุ่น อําเภอเมืองพะเยาว์ ยึดทางสายกลางในการดํารงชีวิตตามวิถี
เศรษฐกิจพอเพียงโดยน้อมนําเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้
ในชุมชนชุมชนจึงเกิดการเรียนรู้อย่างพึ่งตนเองและประสบผลสําเร็จมาโดยตลอดเพราะยึดทางสายกลางภายใต้
หลักการและเงื่อนไขดังนี้คือ
" หลักความพอประมาณ " หมายถึง ความพอดีพอเหมาะต่อความจําเป็นที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก
เกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
" หลักความมีเหตุมีผล " หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปตาม
เหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้นๆอย่าง
รอบคอบ
" หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว" หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
ด้านต่าง ๆที่จะเกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้
และไกล
"เงื่อนไขความรู้ "ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความ
รอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้น
ปฏิบัติ
"เงื่อนไขคุณธรรม"ประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตความอดทนมีความ
เพียรและใช้สติปัญญาในการดําเนินชีวิต
1)กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านดอกบัว
97
ตารางที่ 9.1กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านดอกบัว
1.กิจกรรมที่โดดเด่นและสําคัญของชุมชนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในอดีต
คนในชุมชนบ้านดอกบัวมีการดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วแต่ไม่เป็น
รูปธรรม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ําแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทําให้
ประชาชนทุกคนได้น้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตซึ่งมีกิจกรรมที่
สอดคล้องกับ สามห่วงสองเงื่อนไขคือชุมชนมีความพอประมาณมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอด
ทั้งมีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งสามารถสรุปภาพของตัวชี้วัดได้แก่ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การ
ประหยัดการเรียนรู้ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและความเอื้ออารี
ในอดีตชุมชนมีการปรับเปลี่ยนหลายประการเช่นการจัดตั้งกลุ่มเพื่อบริหารการจัดการในรูป
ของคณะกรรมการ
ศักยภาพของชุมชนซึ่งมีสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทําให้การทํานาซึ่งเป็น
อาชีพหลักได้ผลดีเนื่องจากมีน้ําเพียงพอต่อการทํานาจากเดิมมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ซึ่งมีราคาสูง
ประกอบกับค่าแรงที่สูงขึ้น จึงมีการนําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เกิดประโยชน์เพื่อ
การลดต้นทุนการผลิตโดยการทําปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพประกอบกับชุมชนมีการเลี้ยงวัวเกือบทุกครัวเรือน
จึงมีมูลวัวในปริมาณที่มากพอสําหรับการทําปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพและลดรายจ่ายค่าแรงงานโดยการเอา
มื้อ (ลงแขก) ในการทํานา และลดรายจ่ายสําหรับเจ้าภาพด้วยการนําห่อข้าวไปกินร่วมกันด้านการลด
รายจ่าย
ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวผักปลอดสารพิษการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเลี้ยงปลาไว้บริโภค
แต่ละครัวเรือน เหลือจากการบริโภคก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้านและจําหน่าย ทําให้ประชาชนในชุมชน
สามารถพึ่งตนเองได้ มีการจัดตั้งกลุ่มการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง การเลี้ยงโคขุนซึ่งปัจจุบันมีเป็นจํานวน
มากทําให้มีมูลวัวจํานวนมากและสามารถใช้ประโยชน์จากมูลวัวมาแปรสภาพเป็นแก๊สหุงต้มชีวภาพ
เพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือนได้เดือนละไม่น้อยกว่า 300 บาทอีกด้านหนึ่งของครัวเรือนทุกครัวเรือน
นอกจากจะใช้แก็สหุงต้มชีวภาพแล้วยังมีการทําจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยไว้เป็นปุ๋ยสําหรับใช้ใน
การเกษตรอีกด้วย
ด้านการเพิ่มรายได้เริ่มแรกคนในชุมชนมีความคิดว่าต่างคนต่างทําไม่มีการรวมกลุ่มต่อมาจึง
ได้รวมกลุ่มกันเช่น การจักสานเข่ง สุ่มไก่ ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่ในชุมชนคือมีไม้ไผ่รวกตลอดทั้งภูมิสังคมมี
ภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจักสานมีการรวมกลุ่มเล็กๆทํากันเองเพื่อใช้และจําหน่ายในหมู่บ้านตําบล
เดียวกัน และต่อมาได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นจํานวนมาก และมีการระดมเงินออม
และขยายไปในชุมชนอื่นๆโดยมีเครือข่ายหมู่บ้าน/ตําบลที่ใกล้เคียงจากการรวมกลุ่มและยังเป็นอย่าง
98
ตารางที่ 9.1(ต่อ)
ดี นอกจากนั้นสิ่งดังกล่าวยังเป็นสินค้าOTOPของจังหวัดพะเยาว์
การเลี้ยงโคของคนในชุมชน มีการปลูกหญ้าแพงโกล่า สําหรับใช้เป็นอาหารของโคและจําหน่าย
ทําให้มีรายได้เข้าในชุมชนอีกทางหนึ่ง มีการจักสานผักตบชวา เป็นอาชีพเสริม ซึ่งนําวัตถุดิบจากกว๊าน
พะเยามาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงามตลอดทั้งเป็นการกําจัดผักตบชวาไปด้วย
ด้านการประหยัดทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออมเงินโดยจัดทําบัญชีครัวเรือนนี่คือเสียงจาก
ชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกันเช่นกองทุนหมู่บ้านมีการออมเงินจํานวน120ครัวเรือน
ณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาทและเงินทุนดําเนินการ
1,115,000บาทโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)มีการออมเงินจํานวน62ครัวเรือนณ.ปัจจุบัน
มีสมาชิกกลุ่มจํานวน62 คนมีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน285,292 .68 บาทกลุ่มออม
ทรัพย์เข่งมีการออมเงินจํานวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จํานวน 88 คน มีเงินออมและ
เงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน295,261 บาทกลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจํานวน100 ครัวเรือนณปัจจุบันมี
สมาชิกกลุ่ม จํานวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาทกลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์
พื้นเมืองมีการออมเงินจํานวน50ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน50คนมีเงินออมและมีเงินทุน
หมุนเวียนฯเป็นเงิน96,451 บาทกลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจํานวน25 ครัวเรือนณปัจจุบันมี
สมาชิกกลุ่มจํานวน25คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนเป็นเงิน25,000บาทกลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่า
มีการออมเงินจํานวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุน
หมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาทกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจํานวน 30 ครัวเรือน ณปัจจุบันมี
สมาชิกกลุ่มจํานวน30คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนเป็นเงิน35,000บาท
ด้านการเรียนรู้ ชุมชนมีครูภูมิปัญญาชาวบ้านหลายด้านที่ถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ แนวทางการ
ทํางานประสบการณ์ และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆสู่ชุมชนเช่นมีศูนย์การเพาะพันธุ์กว่างด้วงเขาซึ่งเป็น
แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวล้านนาที่มีการแข่งขันชนกว่าง แต่ปัจจุบัน
จํานวนกว่างลดลงมาก ทําให้มีปราชญ์ท่านหนึ่งคือ นายบรรพต ปัฐวี ได้ศึกษาและทําการเพาะพันธุ์กว่าง
และจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและการเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆการจัดสวนหย่อมฯโดยสามารถดูได้ที่บ้าน
นายบรรพตปัฐวี และทุกครัวเรือนมีการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง
ยั่งยืน บ้านบัวมีการปลูกไม้ไผ่ทดแทนไม้ไผ่ที่นํามาใช้สําหรับการจักสานเข่งเป็นประจํา และไม่นําหน่อไม้
จากไผ่เหล่านี้มาประกอบอาหารอีกทั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในชุมชนจะออกกฎระเบียบห้ามใช้รถยนต์ รถ
จักยานยนต์ภายในชุมชนโดยให้เดินเท้าเท่านั้นหรือให้ใช้การปั่นรถจักยานเพื่อเป็นประหยัดพลังงานและ
99
ตารางที่ 9.1(ต่อ)
ลดภาวะโลกร้อนด้วยด้านความเอื้ออารีต่อกันชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส และคน
ประสบปัญหา โดยการจัดสวัสดิการจากกองทุนต่าง ๆ และคนภายในชุมชน ตัวอย่างเช่น หากคนในชุมชน
เกิดอัคคีภัย หรือไฟไหม้บ้าน ทุกคนจะช่วยกันบริจาคสิ่งของและก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จภายในวันเดียว
และในชุมชนมีการดูแลผู้ด้อยโอกาสโดยการนําเงินปันผลของกลุ่มต่างๆ จัดเป็นสวัสดิการให้กับคนด้อย
โอกาสเหล่านั้น
1.2)ความภาคภูมิใจของชุมชนในการนําเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คืออะไร
ชุมชนได้นําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตแล้ว ส่งผลให้ชุมชน
ได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานราชการ ทั้งได้รับเป็นเงินรางวัลและโล่เกียรติยศ ดังนี้ พัฒนากรผู้
ประสานตําบลได้คัดเลือกบ้านบัว(ดอกบัว)เป็นหมู่บ้านหลักนักพัฒนาหมู่บ้านพึ่งตนเองและยังอยู่
ภายในการปกครองของกํานันดีเด่นปี 2551 และเป็นหมู่บ้านที่ผ่าน ระบบมชช. ปี 2551 โดยมีนาย
บาลบุญก้ําเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีผลงานเด่นคือบ้านดอกบัวเป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศตามโครงการเชิด
ชูเกียรติผู้นําเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข ” และ
ชนะเลิศหมู่บ้านพึ่งตนเองในระดับจังหวัดพะเยา ในปี 2551 และผู้ใหญ่บ้านได้รับการคัดเลือกเป็น
ผู้ใหญ่บ้านดีเด่นประจําปี 2551 อีกทั้งกลุ่มจักสานเข่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศประเภทกลุ่มอาชีพ
ดีเด่นตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นําเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่นเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่
เย็นเป็นสุข ” ประจําปี 2551 ในปี 2552 บ้านบัว เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ“มั่งมี ศรีสุข”ตัวอย่างจังหวัดพะเยา
1.3)การดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน
ชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างไร องค์ประกอบด้านความ
พอประมาณ ชุมชนได้มีการพัฒนาหมู่บ้านโดยวิเคราะห์ถึงศักยภาพของชุมชนและประชาชน อีกทั้ง
ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนํามาใช้ในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความอีกทั้งมีการทดแทนสิ่งเหล่านี้ให้กับ
ชุมชน โดยยึดหลักความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป หรือไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่นใน
ชุมชนตลอดมาองค์ประกอบด้านความมีเหตุผลชุมชนได้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ
สังคมและทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนําไป ใช้ในการทํา
แผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดําเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดย
พิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนรู้จักแยกแยะปัญหาอุปสรรคตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาด
100
ตารางที่ 9.1(ต่อ)
องค์ประกอบด้านความมีเหตุผลชุมชนได้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจสังคม
และทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนําไป ใช้ในการทํา
แผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดําเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดย
พิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนรู้จักแยกแยะปัญหาอุปสรรคตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาด
ว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทําเหล่านั้นอย่างรอบคอบมีภูมิคุ้มกันโดยทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออม
เงิน และจัดทําบัญชีครัวเรือน นี่คือเสียงจากชุมชน ที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกัน ตลอด
ทั้งชุมชนได้มีการจัดตั้งองค์กรที่จะช่วยเหลือคนในชุมชนยามเดือดร้อน ดังนี้ เช่น กองทุนหมู่บ้าน มี
การออมเงินจํานวน120 ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน198 คนและมีเงินออมเป็นเงิน
150,000 บาทและเงินทุนดําเนินการ1,115,000 บาทโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)มี
การออมเงินจํานวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุน
หมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน285,292 .68 บาทกลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจํานวน88 ครัวเรือนณ
ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน88 คนมีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน295,261 บาทกลุ่ม
แม่บ้านมีการออมเงินจํานวน100ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน100คนมีเงินออมและ
เงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน50,000บาทกลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจํานวน50ครัวเรือน
ณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน50คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน96,451บาทกลุ่ม
จักสานผักตบชวามีการออมเงินจํานวน25 ครัวเรือน ณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน25 คน มีเงิน
ออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาทกลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจํานวน 25
ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน25คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน25,000
บาทกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจํานวน30ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน30คน
มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน35,000บาทความรู้ชุมชนจะส่งผู้นําชุมชนเข้าร่วมศึกษาที่
มีประโยชน์สําหรับการประกอบอาชีพและเรื่องใหม่ ๆจากหน่วยงานราชการมาเป็นแนวทางในการ
ดําเนินชีวิต เช่น การทําจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย และ ผู้นําในหมู่บ้านรณรงค์ให้ครัวเรือนมีการผลิต
และการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพเนื่องจากบ้านบัวเป็นหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ (โค)มากเพื่อลดต้นทุน
การผลิต และช่วยในการรักษาคุณภาพดิน ซึ่งทําให้มีการลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีในปีละ 5,000
บาท
ชุมชนเริ่มยึดแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่เมื่อใดและอะไรคือแรงจูงใจที่ทําให้ชุมชน
ยึดแนวทางดังกล่าวชุมชนดําเนินชีวิตแบบพอเพียงมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้วและคนในชุมชนก็อยู่อย่าง
101
ตารางที่ 9.1(ต่อ)
เอื้ออาทรต่อกันมาตลอดมาปี พ.ศ.2540พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศหลายหมู่บ้านที่คนในชุมชนไปทํางานในภาคอุตสาหกรรมถูกเลิกจ้าง
และเดินทางกลับมาบ้านนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดกับคนในชุมชนแต่ชุมชนก็ไม่ประมาท ยังคงดําเนินชีวิตตาม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยังสอนให้ลูกหลานได้ดําเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตลอดมาซึ่ง
นายบาล บุญก้ํา เล่าว่า เมื่อ 10 ปี ที่ผ่านคนในชุมชนได้นําภูมิปัญญาเรื่องการจักสานมาจักสานโดยใช้
วัตถุดิบที่มีอยู่ภายในชุมชนคือไม่ไผ่มาจักสานเป็นเข่งที่นํารายได้เข้าสู่ชุมชนมาจนถึงปัจจุบันนี้
ความเป็นอยู่เดิมของชุมชนเป็นอย่างไร หลังจากการนําเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และเกิด
ความเปลี่ยนแปลงในชุมชนของท่านอย่างไร
ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนพบว่ามีคนในชุมชนมีภูมิลําเนามาจากที่เดียวกันจึงมีลักษณะเป็นอยู่
ที่ไม่แตกต่างกัน อยู่กันแบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยกันในชุมชน ทุกคนจึงรู้จักกันหมดทุกครัวเรือน การ
ประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทําการเกษตร รับจ้างและมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนในการทํากิจกรรมร่วมกัน
เช่นการสานเข่งสานสุ่มไก่ การจักสานผักตบชวา การเลี้ยงสัตว์และการปลูกหญ้าเป็นต้นชาวบ้านบัวทุก
คน ก็มีการดําเนินชีวิตตามวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อไม่ต่างจากคนล้านนาทั่วไป ที่ชอบความ
สนุกสนาน แม้แต่ในงานศพก็มีการดื่มเหล้าแต่ปัจจุบันคนในชุมชนได้น้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา
ใช้ จึงมีการงดเหล้าในงานศพทุกวันพระมีการจูงลูก–หลานเข้าวัดและในช่วงเทศกาลสงกรานต์ห้ามมีการ
ดื่มสุรา
ชุมชนมีการจัดทําแผนพัฒนาชุมชนหรือไม่ ทํามาเป็นระยะเวลากี่ปี และแผนหนึ่งมีระยะเวลานาน
เท่าใด เป็นการดําเนินงานร่วมกันของใครบ้างชุมชนมีการจัดทําแผนพัฒนาชุมชนที่เรียกว่าแผนชุมชน มา
ตั้งแต่ปี 2546 เป็นแผนระยะเวลา 3 – 5 ปี โดยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีการพัฒนา
ประกอบด้วย สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ สํานักงานเกษตรอําเภอ สํานักงาน กศน. ที่ทําการปกครอง
อําเภอโดยเริ่มจากการจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์หาจุดแข็ง–จุดอ่อนของชุมชนและให้คนในชุมชนช่วยกัน
วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ แนวทางแก้ไขพร้อมกับจัดทําเป็นแผนชุมชน
บ้านบัวเป็นชุมชนหนึ่งที่สามารถพึ่งตนเองได้ โดยภาพรวมแล้วสัดส่วนของครัวเรือนในชุมชนที่นํา
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิต(ให้จากจํานวนครัวเรือนที่นําเศรษฐกิจพอเพียงมา
ประยุกต์ใช้ต่อจํานวนครัวเรือนทั้งหมด) คิดเป็นร้อยละ100ของครัวเรือนทั้งหมด
102
9.7สรุป
การเชื่อมต่อขององค์ประกอบตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่จําเป็นเพื่อให้สามารถ
นําแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างได้ผลแม้ว่านิยามขององค์ประกอบทั้ง4องค์ประกอบหลักจะไม่ได้ให้ความหมาย
ในลักษณะที่จําเพาะเจาะจงแต่เป็นความหมายที่ชัดเจนเปิดกว้างต่อการนําไปประยุกต์ในหลายด้าน
การนําแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จําเพาะต่อการนําไปประยุกต์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมเท่านั้น แต่ยังสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ในด้านต่าง ๆ ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยในการขับเคลื่อน
แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะพบว่า แนวคิดยังสามารถนําไปประยุกต์ในการบริหารการพัฒนา
การจัดการการพัฒนา รวมถึงการเมืองการปกครอง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก
แนวคิดกล่าวถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น แนวคิดได้ให้ความสําคัญต่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเห็นว่า สิ่งดังกล่าวมีความสําคัญต่อการดํารงชีวิตของคนภายใน
ชุมชนและยังผสานเข้ากับของวัฒนธรรมชุมชนในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการ
ปกครองการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การผลักดันนโยบายการเสริมสร้างผู้นําชุมชนการส่งเสริมให้
เกิดการสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มฯลฯ ล้วนเป็นหลักการหรือแนวคิดที่มาจากแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งสิ้น
แบบฝึกหัด
1.ให้นักศึกษาอธิบายและหาความหมายขององค์ประกอบหลักของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงซึ่งเป็นความหมายที่แตกต่างและต่อยอดความหมายมีอยู่เดิม
ข้อ 2 - 5 นักศึกษาแบ่งกลุ่มคนคว้า ศึกษาจากปรากฏการณ์จริงหรือสถานที่จริงแล้วนําเสนอถึงปัจจัย
ด้านต่างๆการนําเสนอให้นักศึกษาเชื่อมโยงเข้ากับองค์ประกอบหลักทั้งสี่ประการของแนวคิดปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
2.นักศึกษาค้นหาองค์ประกอบของปัจจัยด้านทุนทางสังคมภายในชุมชนที่ศึกษา
3.นักศึกษาค้นหาปัจจัยด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในชุมชนที่ศึกษา
4.นักศึกษาค้นหาปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่
5.นักศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยด้านนโยบายระเบียบกฎหมายของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
6.ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของภาคเมืองจะสามารถนําปัจจัยและองค์ประกอบของปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง
103
7.นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแล้วการบริหารการเมืองการปกครองสามารถใช้แนวคิดปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ได้และได้มีการนํามาใช้ประโยชน์ดังกล่าวในหลายประการให้นักศึกษาศึกษา
และจําแนกองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆจากแนวนโยบายระเบียบกฎหมายการบริหารการจัดการภาครัฐการ
บริการสาธารณะการเมืองการปกครองว่าในสิ่งต่างๆดังกล่าว
8.นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาข้อมูลต่างๆจากชุมชนแล้วนําจัดทําแผนจําลองเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
ชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
9.นักศึกษาแบ่งกลุ่มอภิปรายบทบาทของภาคีการพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
10.นักศึกษาสรุปถึงบทบาทสําคัญของภาคีการพัฒนาพร้อมทั้งอธิบายถึงองค์ประกอบสําคัญของการ
พัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรภาคีการพัฒนาดังกล่าว
เชิงอรรถ
1
อ่านรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรม
ปริทรรศน์: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมิติต่างๆ องค์ประกอบของ
ปรัชญาและแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน(รวบรวมไว้ใน http:// rotoratuk. blogspot.com/p/blog -
page_12. http://www. scribd.com/doc/131261716/
2
อ่านรายละเอียดในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ,การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนา
ชุมชนhttp://www.bandokbua.com/index.php?option=com_content&view=article&id=
10&Itemid=25.
104
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.(2546).วรรณกรรม
ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.10เม.ย.2557,http://supwat.
blogspot.com/p/httpwww.
บาลบุญก้า.(ม.ป.ป.).หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน.
6มี.ค.2557,http://www.bandokbua.com/index.php?option=com_content&view=
article&id=10&Itemid=25.

More Related Content

What's hot

รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green
รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green
รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green Weerachat Martluplao
 
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3ทศพล พรหมภักดี
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7kanwan0429
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10kanwan0429
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีParichart Ampon
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11kanwan0429
 

What's hot (11)

รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green
รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green
รายงานผลการปฏิบัติงาน Thailand go green
 
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
3.แผนไฟฟ้าเศรษฐกิจพอเพียง
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
Microsoft word คำนำ
Microsoft word   คำนำMicrosoft word   คำนำ
Microsoft word คำนำ
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 9

ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรTawatchai Bunchuay
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่Ailada_oa
 
รูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอนwannaphakdee
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1Ailada_oa
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2nattawad147
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059gam030
 

Similar to Microsoft word สัปดาห์ที่ 9 (20)

Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11Microsoft word   สัปดาห์ที่ 11
Microsoft word สัปดาห์ที่ 11
 
ครูสังคม
ครูสังคมครูสังคม
ครูสังคม
 
Microsoft word สัปดาห์ที่10
Microsoft word   สัปดาห์ที่10Microsoft word   สัปดาห์ที่10
Microsoft word สัปดาห์ที่10
 
Microsoft word สัปดาห์ที่14
Microsoft word   สัปดาห์ที่14Microsoft word   สัปดาห์ที่14
Microsoft word สัปดาห์ที่14
 
Microsoft word สัปดาห์ที่6
Microsoft word   สัปดาห์ที่6Microsoft word   สัปดาห์ที่6
Microsoft word สัปดาห์ที่6
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
 
รูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอน
 
Teacher1
Teacher1Teacher1
Teacher1
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
2 170819173059
2 1708191730592 170819173059
2 170819173059
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 

More from ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ (20)

มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนมคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
มคอ. 3 องค์กรเอกชนและการจัดการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ3 2 60
 
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
ความเข้มแข็งและศักยภาพขององค์กรชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี The Potential and Str...
 
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 5การจัดการด้านการเงินขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 2ความเป็นสถาบันและคณะผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่ 4แนวทางละวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
ความเป็นสถาบันคณะผู้การบริหารองค์กร (2)
 
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการองค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
องค์กรพัฒนาเอกชนและการจัดการเพื่อการ
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Microsoft word สัปดาห์ที่15
Microsoft word   สัปดาห์ที่15Microsoft word   สัปดาห์ที่15
Microsoft word สัปดาห์ที่15
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Microsoft word สัปดาห์ที่8
Microsoft word   สัปดาห์ที่8Microsoft word   สัปดาห์ที่8
Microsoft word สัปดาห์ที่8
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7Microsoft word   สัปดาห์ที่ 7
Microsoft word สัปดาห์ที่ 7
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5Microsoft word   สัปดาห์ที่ 5
Microsoft word สัปดาห์ที่ 5
 
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4Microsoft word   สัปดาห์ที่ 4
Microsoft word สัปดาห์ที่ 4
 
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word   ปกเอกสารประกอบการสอนMicrosoft word   ปกเอกสารประกอบการสอน
Microsoft word ปกเอกสารประกอบการสอน
 
Microsoft word บรรณานุกรม
Microsoft word   บรรณานุกรมMicrosoft word   บรรณานุกรม
Microsoft word บรรณานุกรม
 

Microsoft word สัปดาห์ที่ 9

  • 1. แผนการสอนประจําสัปดาห์ที่ 9 หัวข้อเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในมิติต่าง ๆ และ องค์ประกอบและแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน รายละเอียด แนวปฏิบัติด้าน ความพอประมาณความมีเหตุผลการมีภูมิคุ้มกันในตัวเงื่อนไขความรู้และ คุณธรรมการเชื่อมโยงองค์ประกอบสามประการเข้ากับเงื่อนไขความรู้และคุณธรรมตัวอย่างการประยุกต์ใช้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและภาคีการพัฒนา จํานวนชั่วโมงที่สอน3ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน 1.การบรรยายเนื้อหาวิชา 2.การซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.ทําแบบทดสอบความรู้หลังทําความเข้าใจบทเรียน สื่อการสอน 1.การบรรยาย 2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนําเสนอแนวความคิด 3.การใช้สื่อต่างๆเช่นPowerPointwhiteboardMediaWebsite แผนการประเมินผลการเรียนรู้ 1.ผลการเรียนรู้ 1.1การประเมินผลความเข้าใจเนื้อหาวิชา 1.2การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.วิธีการประเมินความรู้ 2.1การทําแบบทดสอบย่อยและการทําแบบฝึกหัดเมื่อมีการบรรยายเสร็จสิ้น 2.2 ประเมินผลการมีส่วนร่วม เช่น การแสดงความคิดเห็น การนําเสนอ การแลกเปลี่ยน เรียนรู้
  • 2. 94 3.สัดส่วนการประเมิน(5คะแนน) 3.1 การประเมินความเข้าใจการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ (ร้อยละ60) 3.2 การประเมินการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนําเสนอ (ร้อยละ 40) เนื้อหาที่สอน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนใน มิติต่าง ๆ และองค์ประกอบและแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน1 การกําหนดกรอบของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากข้อเท็จจริงและประสบการณ์ในวิถีการ ดําเนินชีวิตภายในชุมชน เพื่อการอนุมานเป็นแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจะสามารถพิจารณาถึง องค์ประกอบด้านต่างๆในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี 9.1ความพอประมาณ ความพอประมาณเป็นหลักคุณธรรมพื้นฐานที่ใช้ในการควบคุมความอยากได้ หรือความ ต้องการและการสนองตอบต่อความพึงพอใจเพื่อที่จะได้รับความสุขภายนอก เกิดขึ้นในขอบเขตของ เหตุผล ไม่มีคุณธรรมใดที่สามารถทําได้หากปราศจากการควบคุมตัวเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจหลัก การดังกล่าวจึงได้ถูกจัดไว้ให้เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ความพอประมาณนั้นสามารถแบ่งได้เป็น การละ เว้น ความบริสุทธิ์ หรือพรหมจรรย์และความถ่อมตัว ครอบคลุมไปถึงการดื่ม กิน การมีเพศสัมพันธ์ และการป้องกันตัวเองมิให้เกิดความหลงตัวเอง ความพอประมาณในคิดเศรษฐกิจพอเพียงรวมเอาหลักการของพุทธเศรษฐศาสตร์เข้าไว้ด้วยคือ การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยอาจนํามาปฏิบัติได้ เช่น การไม่ใช้จ่ายเกินความจําเป็นหรือการ ใช้จ่ายที่เกินกําลังขอตนเองหรือไม่ฉกฉวยของบุคคลอื่นมาเป็นขอตนเองเป็นต้น 9.2ความมีเหตุผล ความมีเหตุผลเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับความมีสติ และความนึกคิดที่ต้องมีการตัดสินใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ วางเป้าหมาย วิธีการกระทําและสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรที่มีอยู่ ขีดความสามารถข้อจํากัดด้านทรัพยากรและความรู้ อย่างไรก็ตามปัจจัยสําคัญอีกประการ หนึ่งคือ การคํานึงถึงทรัพยากรที่สามารถหามาได้โดยใช้ความพยายามเช่น ความรู้ การร้องขอความช่วยเหลือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น โดยสรุปคือ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง อย่างมีเหตุผล ด้วยการพิจารณาปัจจัยที่ เกี่ยวข้องตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทําอย่างรอบคอบ
  • 3. 95 9.3การมีภูมิคุ้มกันในตัว การมีภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดการปรับตัวต่อผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจทราบล่วงหน้าหรือไม่ทราบล่วงหน้าการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆเป็น สิ่งที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันเช่นการแสวงหาข้อมูลการติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ การขวนขวานหาความรู้อยู่เสมออย่างไรก็ตามภูมิคุ้มกันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการตรียมความพร้อมข้างต้น แต่เพียงอย่างเดียวการสร้างภูมิคุ้มกันยังเกี่ยวข้องกับการมีเหตุมีผลและความพอประมาณข้างต้นด้วย 9.4เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม สิ่งที่เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีและสิ่งที่จะทําให้เกิดประสบการณ์ ความคิดที่มีเหตุผลความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆคือความมีจิตสํานึกที่ดี ความขยันหมั่นเพียรและการแสวงหาความรู้อยู่ เสมอความรู้อาจได้มาจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่ล้มเหลวหรือประสบการณ์ที่ประสบผลสําเร็จหรืออาจ เกิดจากการค้นคว้าด้วยตนเอง การเข้ารับการอบรมศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันภายในชุมชนหรือ ภายนอกชุมชน สําหรับเงื่อนไขที่เป็นคุณธรรมจะมาจากความตระหนักภายในของบุคคล ที่ถูกหล่อหลอมจากพื้นฐาน ทางสังคม เป็นองค์ประกอบสําคัญที่จะทําให้การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสําเร็จหรือ ล้มเหลว เนื่องจากความมีคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ละเลยต่อผู้อื่นและละเลยต่อหน้าที่ของตนเป็นสิ่งที่ จะทําให้เกิดการนําองค์ประกอบข้างต้นมาประยุกต์ได้อย่างประสบผล 9.5การเชื่อมโยงองค์ประกอบสามประการเข้ากับเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม องค์ประกอบหลักสี่ประการ เป็นองค์ประกอบกว้างๆ ที่สามารถนํามาแปรความหมายและคุณค่า สําหรับการประยุกต์ที่หลากหลาย สิ่งสําคัญที่ต้องคํานึงถึงก็คือ ความเพียงพอของการสร้างองค์ประกอบทั้งสี่ ประการนั้นมีมากน้อยเพียงใด หากมีองค์ประกอบหลักๆ ที่เพียงพอการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะ ประสบผลหากมีไม่เพียงพอการประยุกต์ใช้จะไประสบผลเท่าที่ควรทั้งนี้ อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับ ปัจเจกและค่านิยมในระดับสังคม เงื่อนไขที่มีต่อความสําเร็จในการประยุกต์แนวคิดเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจกิจชุมชนต้องมีการเชื่อมโยง องค์ประกอบเข้าด้วยกันเนื่องจากองค์ประกอบทั้งสี่ประการเป็นสิ่งที่สามารถทําให้เกิดขึ้นได้อย่างธรรมชาติ ไม่ ขัดต่อพฤติกรรมการดํารงชีวิตโดยเฉพาะ ปทัสถานทางสังคม เนื่องจากธรรมชาติทางวัฒนธรรมและสังคมไทย เป็นสิ่งที่มีวิถีการดํารงชีวิตและวิถีความคิด ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบหลักทั้งสี่ประการได้โดยง่าย แต่ อุปสรรคปัญหาที่สําคัญคือการผสานวัฒนธรรมภายนอกและการรับอิทธิพลของวัฒนธรรมภายนอกมาประยุกต์ ปฏิบัติโดยละเลยวัฒนธรรมภายในเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบของแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง
  • 4. 96 9.6ตัวอย่างการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบ้าน ดอกบัว อําเภอเมืองพะเยาว์ จังหวัดพะเยาว์ หมู่บ้านบ้านดอกบัว ตําบลบ้านตุ่น อําเภอเมืองพะเยาว์ ยึดทางสายกลางในการดํารงชีวิตตามวิถี เศรษฐกิจพอเพียงโดยน้อมนําเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ ในชุมชนชุมชนจึงเกิดการเรียนรู้อย่างพึ่งตนเองและประสบผลสําเร็จมาโดยตลอดเพราะยึดทางสายกลางภายใต้ หลักการและเงื่อนไขดังนี้คือ " หลักความพอประมาณ " หมายถึง ความพอดีพอเหมาะต่อความจําเป็นที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น " หลักความมีเหตุมีผล " หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปตาม เหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้นๆอย่าง รอบคอบ " หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว" หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆที่จะเกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล "เงื่อนไขความรู้ "ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความ รอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้น ปฏิบัติ "เงื่อนไขคุณธรรม"ประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตความอดทนมีความ เพียรและใช้สติปัญญาในการดําเนินชีวิต 1)กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านดอกบัว
  • 5. 97 ตารางที่ 9.1กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านดอกบัว 1.กิจกรรมที่โดดเด่นและสําคัญของชุมชนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในอดีต คนในชุมชนบ้านดอกบัวมีการดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วแต่ไม่เป็น รูปธรรม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ําแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทําให้ ประชาชนทุกคนได้น้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตซึ่งมีกิจกรรมที่ สอดคล้องกับ สามห่วงสองเงื่อนไขคือชุมชนมีความพอประมาณมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอด ทั้งมีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งสามารถสรุปภาพของตัวชี้วัดได้แก่ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การ ประหยัดการเรียนรู้ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและความเอื้ออารี ในอดีตชุมชนมีการปรับเปลี่ยนหลายประการเช่นการจัดตั้งกลุ่มเพื่อบริหารการจัดการในรูป ของคณะกรรมการ ศักยภาพของชุมชนซึ่งมีสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทําให้การทํานาซึ่งเป็น อาชีพหลักได้ผลดีเนื่องจากมีน้ําเพียงพอต่อการทํานาจากเดิมมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ซึ่งมีราคาสูง ประกอบกับค่าแรงที่สูงขึ้น จึงมีการนําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เกิดประโยชน์เพื่อ การลดต้นทุนการผลิตโดยการทําปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพประกอบกับชุมชนมีการเลี้ยงวัวเกือบทุกครัวเรือน จึงมีมูลวัวในปริมาณที่มากพอสําหรับการทําปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพและลดรายจ่ายค่าแรงงานโดยการเอา มื้อ (ลงแขก) ในการทํานา และลดรายจ่ายสําหรับเจ้าภาพด้วยการนําห่อข้าวไปกินร่วมกันด้านการลด รายจ่าย ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวผักปลอดสารพิษการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเลี้ยงปลาไว้บริโภค แต่ละครัวเรือน เหลือจากการบริโภคก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้านและจําหน่าย ทําให้ประชาชนในชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ มีการจัดตั้งกลุ่มการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง การเลี้ยงโคขุนซึ่งปัจจุบันมีเป็นจํานวน มากทําให้มีมูลวัวจํานวนมากและสามารถใช้ประโยชน์จากมูลวัวมาแปรสภาพเป็นแก๊สหุงต้มชีวภาพ เพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือนได้เดือนละไม่น้อยกว่า 300 บาทอีกด้านหนึ่งของครัวเรือนทุกครัวเรือน นอกจากจะใช้แก็สหุงต้มชีวภาพแล้วยังมีการทําจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยไว้เป็นปุ๋ยสําหรับใช้ใน การเกษตรอีกด้วย ด้านการเพิ่มรายได้เริ่มแรกคนในชุมชนมีความคิดว่าต่างคนต่างทําไม่มีการรวมกลุ่มต่อมาจึง ได้รวมกลุ่มกันเช่น การจักสานเข่ง สุ่มไก่ ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่ในชุมชนคือมีไม้ไผ่รวกตลอดทั้งภูมิสังคมมี ภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจักสานมีการรวมกลุ่มเล็กๆทํากันเองเพื่อใช้และจําหน่ายในหมู่บ้านตําบล เดียวกัน และต่อมาได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นจํานวนมาก และมีการระดมเงินออม และขยายไปในชุมชนอื่นๆโดยมีเครือข่ายหมู่บ้าน/ตําบลที่ใกล้เคียงจากการรวมกลุ่มและยังเป็นอย่าง
  • 6. 98 ตารางที่ 9.1(ต่อ) ดี นอกจากนั้นสิ่งดังกล่าวยังเป็นสินค้าOTOPของจังหวัดพะเยาว์ การเลี้ยงโคของคนในชุมชน มีการปลูกหญ้าแพงโกล่า สําหรับใช้เป็นอาหารของโคและจําหน่าย ทําให้มีรายได้เข้าในชุมชนอีกทางหนึ่ง มีการจักสานผักตบชวา เป็นอาชีพเสริม ซึ่งนําวัตถุดิบจากกว๊าน พะเยามาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงามตลอดทั้งเป็นการกําจัดผักตบชวาไปด้วย ด้านการประหยัดทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออมเงินโดยจัดทําบัญชีครัวเรือนนี่คือเสียงจาก ชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกันเช่นกองทุนหมู่บ้านมีการออมเงินจํานวน120ครัวเรือน ณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาทและเงินทุนดําเนินการ 1,115,000บาทโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)มีการออมเงินจํานวน62ครัวเรือนณ.ปัจจุบัน มีสมาชิกกลุ่มจํานวน62 คนมีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน285,292 .68 บาทกลุ่มออม ทรัพย์เข่งมีการออมเงินจํานวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จํานวน 88 คน มีเงินออมและ เงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน295,261 บาทกลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจํานวน100 ครัวเรือนณปัจจุบันมี สมาชิกกลุ่ม จํานวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาทกลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์ พื้นเมืองมีการออมเงินจํานวน50ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน50คนมีเงินออมและมีเงินทุน หมุนเวียนฯเป็นเงิน96,451 บาทกลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจํานวน25 ครัวเรือนณปัจจุบันมี สมาชิกกลุ่มจํานวน25คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนเป็นเงิน25,000บาทกลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่า มีการออมเงินจํานวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุน หมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาทกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจํานวน 30 ครัวเรือน ณปัจจุบันมี สมาชิกกลุ่มจํานวน30คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนเป็นเงิน35,000บาท ด้านการเรียนรู้ ชุมชนมีครูภูมิปัญญาชาวบ้านหลายด้านที่ถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ แนวทางการ ทํางานประสบการณ์ และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆสู่ชุมชนเช่นมีศูนย์การเพาะพันธุ์กว่างด้วงเขาซึ่งเป็น แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวล้านนาที่มีการแข่งขันชนกว่าง แต่ปัจจุบัน จํานวนกว่างลดลงมาก ทําให้มีปราชญ์ท่านหนึ่งคือ นายบรรพต ปัฐวี ได้ศึกษาและทําการเพาะพันธุ์กว่าง และจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและการเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆการจัดสวนหย่อมฯโดยสามารถดูได้ที่บ้าน นายบรรพตปัฐวี และทุกครัวเรือนมีการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ยั่งยืน บ้านบัวมีการปลูกไม้ไผ่ทดแทนไม้ไผ่ที่นํามาใช้สําหรับการจักสานเข่งเป็นประจํา และไม่นําหน่อไม้ จากไผ่เหล่านี้มาประกอบอาหารอีกทั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในชุมชนจะออกกฎระเบียบห้ามใช้รถยนต์ รถ จักยานยนต์ภายในชุมชนโดยให้เดินเท้าเท่านั้นหรือให้ใช้การปั่นรถจักยานเพื่อเป็นประหยัดพลังงานและ
  • 7. 99 ตารางที่ 9.1(ต่อ) ลดภาวะโลกร้อนด้วยด้านความเอื้ออารีต่อกันชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส และคน ประสบปัญหา โดยการจัดสวัสดิการจากกองทุนต่าง ๆ และคนภายในชุมชน ตัวอย่างเช่น หากคนในชุมชน เกิดอัคคีภัย หรือไฟไหม้บ้าน ทุกคนจะช่วยกันบริจาคสิ่งของและก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จภายในวันเดียว และในชุมชนมีการดูแลผู้ด้อยโอกาสโดยการนําเงินปันผลของกลุ่มต่างๆ จัดเป็นสวัสดิการให้กับคนด้อย โอกาสเหล่านั้น 1.2)ความภาคภูมิใจของชุมชนในการนําเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คืออะไร ชุมชนได้นําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตแล้ว ส่งผลให้ชุมชน ได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานราชการ ทั้งได้รับเป็นเงินรางวัลและโล่เกียรติยศ ดังนี้ พัฒนากรผู้ ประสานตําบลได้คัดเลือกบ้านบัว(ดอกบัว)เป็นหมู่บ้านหลักนักพัฒนาหมู่บ้านพึ่งตนเองและยังอยู่ ภายในการปกครองของกํานันดีเด่นปี 2551 และเป็นหมู่บ้านที่ผ่าน ระบบมชช. ปี 2551 โดยมีนาย บาลบุญก้ําเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีผลงานเด่นคือบ้านดอกบัวเป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศตามโครงการเชิด ชูเกียรติผู้นําเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข ” และ ชนะเลิศหมู่บ้านพึ่งตนเองในระดับจังหวัดพะเยา ในปี 2551 และผู้ใหญ่บ้านได้รับการคัดเลือกเป็น ผู้ใหญ่บ้านดีเด่นประจําปี 2551 อีกทั้งกลุ่มจักสานเข่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศประเภทกลุ่มอาชีพ ดีเด่นตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นําเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่นเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง“อยู่ เย็นเป็นสุข ” ประจําปี 2551 ในปี 2552 บ้านบัว เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ“มั่งมี ศรีสุข”ตัวอย่างจังหวัดพะเยา 1.3)การดําเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างไร องค์ประกอบด้านความ พอประมาณ ชุมชนได้มีการพัฒนาหมู่บ้านโดยวิเคราะห์ถึงศักยภาพของชุมชนและประชาชน อีกทั้ง ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนํามาใช้ในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความอีกทั้งมีการทดแทนสิ่งเหล่านี้ให้กับ ชุมชน โดยยึดหลักความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป หรือไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่นใน ชุมชนตลอดมาองค์ประกอบด้านความมีเหตุผลชุมชนได้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนําไป ใช้ในการทํา แผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดําเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดย พิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนรู้จักแยกแยะปัญหาอุปสรรคตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาด
  • 8. 100 ตารางที่ 9.1(ต่อ) องค์ประกอบด้านความมีเหตุผลชุมชนได้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจสังคม และทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนําไป ใช้ในการทํา แผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดําเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดย พิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนรู้จักแยกแยะปัญหาอุปสรรคตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาด ว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทําเหล่านั้นอย่างรอบคอบมีภูมิคุ้มกันโดยทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออม เงิน และจัดทําบัญชีครัวเรือน นี่คือเสียงจากชุมชน ที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกัน ตลอด ทั้งชุมชนได้มีการจัดตั้งองค์กรที่จะช่วยเหลือคนในชุมชนยามเดือดร้อน ดังนี้ เช่น กองทุนหมู่บ้าน มี การออมเงินจํานวน120 ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน198 คนและมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาทและเงินทุนดําเนินการ1,115,000 บาทโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)มี การออมเงินจํานวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุน หมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน285,292 .68 บาทกลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจํานวน88 ครัวเรือนณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน88 คนมีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน295,261 บาทกลุ่ม แม่บ้านมีการออมเงินจํานวน100ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน100คนมีเงินออมและ เงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน50,000บาทกลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจํานวน50ครัวเรือน ณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน50คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน96,451บาทกลุ่ม จักสานผักตบชวามีการออมเงินจํานวน25 ครัวเรือน ณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน25 คน มีเงิน ออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาทกลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจํานวน 25 ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน25คนมีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน25,000 บาทกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจํานวน30ครัวเรือนณปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจํานวน30คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน35,000บาทความรู้ชุมชนจะส่งผู้นําชุมชนเข้าร่วมศึกษาที่ มีประโยชน์สําหรับการประกอบอาชีพและเรื่องใหม่ ๆจากหน่วยงานราชการมาเป็นแนวทางในการ ดําเนินชีวิต เช่น การทําจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย และ ผู้นําในหมู่บ้านรณรงค์ให้ครัวเรือนมีการผลิต และการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพเนื่องจากบ้านบัวเป็นหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ (โค)มากเพื่อลดต้นทุน การผลิต และช่วยในการรักษาคุณภาพดิน ซึ่งทําให้มีการลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีในปีละ 5,000 บาท ชุมชนเริ่มยึดแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่เมื่อใดและอะไรคือแรงจูงใจที่ทําให้ชุมชน ยึดแนวทางดังกล่าวชุมชนดําเนินชีวิตแบบพอเพียงมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้วและคนในชุมชนก็อยู่อย่าง
  • 9. 101 ตารางที่ 9.1(ต่อ) เอื้ออาทรต่อกันมาตลอดมาปี พ.ศ.2540พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศหลายหมู่บ้านที่คนในชุมชนไปทํางานในภาคอุตสาหกรรมถูกเลิกจ้าง และเดินทางกลับมาบ้านนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดกับคนในชุมชนแต่ชุมชนก็ไม่ประมาท ยังคงดําเนินชีวิตตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยังสอนให้ลูกหลานได้ดําเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตลอดมาซึ่ง นายบาล บุญก้ํา เล่าว่า เมื่อ 10 ปี ที่ผ่านคนในชุมชนได้นําภูมิปัญญาเรื่องการจักสานมาจักสานโดยใช้ วัตถุดิบที่มีอยู่ภายในชุมชนคือไม่ไผ่มาจักสานเป็นเข่งที่นํารายได้เข้าสู่ชุมชนมาจนถึงปัจจุบันนี้ ความเป็นอยู่เดิมของชุมชนเป็นอย่างไร หลังจากการนําเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และเกิด ความเปลี่ยนแปลงในชุมชนของท่านอย่างไร ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนพบว่ามีคนในชุมชนมีภูมิลําเนามาจากที่เดียวกันจึงมีลักษณะเป็นอยู่ ที่ไม่แตกต่างกัน อยู่กันแบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยกันในชุมชน ทุกคนจึงรู้จักกันหมดทุกครัวเรือน การ ประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทําการเกษตร รับจ้างและมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนในการทํากิจกรรมร่วมกัน เช่นการสานเข่งสานสุ่มไก่ การจักสานผักตบชวา การเลี้ยงสัตว์และการปลูกหญ้าเป็นต้นชาวบ้านบัวทุก คน ก็มีการดําเนินชีวิตตามวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อไม่ต่างจากคนล้านนาทั่วไป ที่ชอบความ สนุกสนาน แม้แต่ในงานศพก็มีการดื่มเหล้าแต่ปัจจุบันคนในชุมชนได้น้อมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา ใช้ จึงมีการงดเหล้าในงานศพทุกวันพระมีการจูงลูก–หลานเข้าวัดและในช่วงเทศกาลสงกรานต์ห้ามมีการ ดื่มสุรา ชุมชนมีการจัดทําแผนพัฒนาชุมชนหรือไม่ ทํามาเป็นระยะเวลากี่ปี และแผนหนึ่งมีระยะเวลานาน เท่าใด เป็นการดําเนินงานร่วมกันของใครบ้างชุมชนมีการจัดทําแผนพัฒนาชุมชนที่เรียกว่าแผนชุมชน มา ตั้งแต่ปี 2546 เป็นแผนระยะเวลา 3 – 5 ปี โดยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีการพัฒนา ประกอบด้วย สํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ สํานักงานเกษตรอําเภอ สํานักงาน กศน. ที่ทําการปกครอง อําเภอโดยเริ่มจากการจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์หาจุดแข็ง–จุดอ่อนของชุมชนและให้คนในชุมชนช่วยกัน วิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ แนวทางแก้ไขพร้อมกับจัดทําเป็นแผนชุมชน บ้านบัวเป็นชุมชนหนึ่งที่สามารถพึ่งตนเองได้ โดยภาพรวมแล้วสัดส่วนของครัวเรือนในชุมชนที่นํา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิต(ให้จากจํานวนครัวเรือนที่นําเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ใช้ต่อจํานวนครัวเรือนทั้งหมด) คิดเป็นร้อยละ100ของครัวเรือนทั้งหมด
  • 10. 102 9.7สรุป การเชื่อมต่อขององค์ประกอบตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่จําเป็นเพื่อให้สามารถ นําแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างได้ผลแม้ว่านิยามขององค์ประกอบทั้ง4องค์ประกอบหลักจะไม่ได้ให้ความหมาย ในลักษณะที่จําเพาะเจาะจงแต่เป็นความหมายที่ชัดเจนเปิดกว้างต่อการนําไปประยุกต์ในหลายด้าน การนําแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้จําเพาะต่อการนําไปประยุกต์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมเท่านั้น แต่ยังสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ในด้านต่าง ๆ ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยในการขับเคลื่อน แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะพบว่า แนวคิดยังสามารถนําไปประยุกต์ในการบริหารการพัฒนา การจัดการการพัฒนา รวมถึงการเมืองการปกครอง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก แนวคิดกล่าวถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น แนวคิดได้ให้ความสําคัญต่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเห็นว่า สิ่งดังกล่าวมีความสําคัญต่อการดํารงชีวิตของคนภายใน ชุมชนและยังผสานเข้ากับของวัฒนธรรมชุมชนในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการ ปกครองการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การผลักดันนโยบายการเสริมสร้างผู้นําชุมชนการส่งเสริมให้ เกิดการสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มฯลฯ ล้วนเป็นหลักการหรือแนวคิดที่มาจากแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งสิ้น แบบฝึกหัด 1.ให้นักศึกษาอธิบายและหาความหมายขององค์ประกอบหลักของแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงซึ่งเป็นความหมายที่แตกต่างและต่อยอดความหมายมีอยู่เดิม ข้อ 2 - 5 นักศึกษาแบ่งกลุ่มคนคว้า ศึกษาจากปรากฏการณ์จริงหรือสถานที่จริงแล้วนําเสนอถึงปัจจัย ด้านต่างๆการนําเสนอให้นักศึกษาเชื่อมโยงเข้ากับองค์ประกอบหลักทั้งสี่ประการของแนวคิดปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 2.นักศึกษาค้นหาองค์ประกอบของปัจจัยด้านทุนทางสังคมภายในชุมชนที่ศึกษา 3.นักศึกษาค้นหาปัจจัยด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในชุมชนที่ศึกษา 4.นักศึกษาค้นหาปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ 5.นักศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยด้านนโยบายระเบียบกฎหมายของภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 6.ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของภาคเมืองจะสามารถนําปัจจัยและองค์ประกอบของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง
  • 11. 103 7.นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแล้วการบริหารการเมืองการปกครองสามารถใช้แนวคิดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ได้และได้มีการนํามาใช้ประโยชน์ดังกล่าวในหลายประการให้นักศึกษาศึกษา และจําแนกองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆจากแนวนโยบายระเบียบกฎหมายการบริหารการจัดการภาครัฐการ บริการสาธารณะการเมืองการปกครองว่าในสิ่งต่างๆดังกล่าว 8.นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาข้อมูลต่างๆจากชุมชนแล้วนําจัดทําแผนจําลองเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 9.นักศึกษาแบ่งกลุ่มอภิปรายบทบาทของภาคีการพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 10.นักศึกษาสรุปถึงบทบาทสําคัญของภาคีการพัฒนาพร้อมทั้งอธิบายถึงองค์ประกอบสําคัญของการ พัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรภาคีการพัฒนาดังกล่าว เชิงอรรถ 1 อ่านรายละเอียดในวรรณกรรมปริทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวรรณกรรม ปริทรรศน์: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมิติต่างๆ องค์ประกอบของ ปรัชญาและแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน(รวบรวมไว้ใน http:// rotoratuk. blogspot.com/p/blog - page_12. http://www. scribd.com/doc/131261716/ 2 อ่านรายละเอียดในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ,การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนา ชุมชนhttp://www.bandokbua.com/index.php?option=com_content&view=article&id= 10&Itemid=25.
  • 12. 104 เอกสารอ้างอิง กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.(2546).วรรณกรรม ปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.10เม.ย.2557,http://supwat. blogspot.com/p/httpwww. บาลบุญก้า.(ม.ป.ป.).หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน. 6มี.ค.2557,http://www.bandokbua.com/index.php?option=com_content&view= article&id=10&Itemid=25.