SlideShare a Scribd company logo
1 of 29
Download to read offline
72
บทที่ 4
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุดถือเป็นบทบาทหน้าที่ของทุกคนที่จัดการศึกษา ทั้ง
ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่จะต้องเอาใจใส่และให้ความสาคัญกับ
ผู้เรียน ปฏิบัติภารกิจหน้าที่โดยคานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับตัวผู้เรียนเป็นหลักตามอานาจความ
รับผิดชอบของตนที่มีการเรียนการสอน ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ซึ่งเป็นหน้าที่ของครู
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นกระบวนการที่พัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความรู้ และคุณธรรมของผู้เรียนให้เจริญงอกงาม โดยการสร้างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วม
กระทา ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ตามความต้องการ ตามความสนใจและเต็มตาม
ศักยภาพของผู้เรียนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (student centered) ซึ่งมีชื่อเรียกที่
ต่างออกไป เช่น การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบผู้เรียนเป็นแกน และการ
สอนที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม เป็นต้น แต่ปัจจุบันใช้คาว่า “การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการนาสู่การปฏิบัติได้ ในบทนี้จะนาเสนอถึงความหมาย ความสาคัญ
องค์ประกอบ หลักการสาคัญ ตัวบ่งชี้ บทบาทครู บทบาทผู้เรียน เทคนิค การบูรณาการและการวัด
และประเมินผล ของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับการจัดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ได้กาหนดว่า “การจัดการศึกษา
ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญ
ที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม
ศักยภาพ”
ดังนั้น “การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด” จึงถือเป็นบทบาทหน้าที่ของทุกคนที่จัด
การศึกษา ทั้งผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่จะต้องเอาใจใส่และให้
ความสาคัญกับผู้เรียน ปฏิบัติภารกิจหน้าที่โดยคานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับตัวผู้เรียนเป็นหลักตาม
อานาจความรับผิดชอบของตนที่มีการเรียนการสอน ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ซึ่งเป็น
หน้าที่ของครู จึงต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ด้วยการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
73
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นกระบวนการที่พัฒนาร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมของผู้เรียนให้เจริญงอกงาม โดยการสร้างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมรู้ร่วมคิด
ร่วมกระทา ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ตามความต้องการ ตามความสนใจและเต็มตาม
ศักยภาพของผู้เรียนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (student centered) ยังมีชื่อเรียกที่
ต่างออกไปอีก เช่น การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบผู้เรียนเป็นแกน และ
การสอนที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม เป็นต้น แต่ปัจจุบันใช้คาว่า “การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สาคัญ”
ในการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่
แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545 และฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2553 ที่ว่าด้วยการจัดการเรียนรู้
ในหมวด 4 มีดังนี้
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา 23 การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตาม
อัธยาศัย ต้องเน้นความสาคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความ
เหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคมได้แก่ ครอบครัวชุมชน
ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบ
การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและ
ประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญา และการประยุกต์ใช้ภูมิ
ปัญญา
4. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
5. ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการ
ดังต่อไปนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดย
คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
74
2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็น ทาเป็น
รักการอ่านและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
4. จัดการเรียนการสอนโดยการผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5. ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอานวยความ
สะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียน เรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง
วิทยาการประเภทต่างๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียนความ
ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการ
เรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษาให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่
หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นาผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมา
ประกอบการพิจารณาด้วยคาว่า “ ผู้เรียนสาคัญที่สุด ” ซึ่งความสาคัญข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้เรียนมี
ทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผู้เรียนสาคัญที่สุด เป็นเป้าหมายที่จะนาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ แต่
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนว่าสอนอย่างไรจึงจะทาให้ผู้เรียนได้คิดเอง ทาเอง
กล่าวโดยสรุป เห็นได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กาหนดแนวทางการจัดการศึกษา
และการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างครอบคลุม ทั้งในส่วนของการจัดการศึกษาที่ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน
มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุดกระบวนการเรียนรู้ที่ควรเน้น
ทั้งด้านความรู้ กระบวนการและคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา และการ
ประเมินการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญนั่นเอง
75
ความหมายและความสาคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มุ่งเน้นความสาคัญทั้งด้านความรู้
ความคิด ความสามารถคุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มี
ความสมดุล โดยยึดหลักผู้เรียนสาคัญที่สุด ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต้องหลักการนี้ไปดาเนินการ
ปฏิบัติจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็น ทาเป็น
ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม มีผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญดังนี้
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542: 4) ได้สรุปไว้ว่า แนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเรียนเป็น
สาคัญนั้น เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียน
ได้คิดค้นสร้าง สรุปข้อความรู้ด้วยตนเอง สามารถทางานพร้อมกับผู้อื่น และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ได้
ชนาธิป พรกุล (2552 : 8-9) สรุปไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เป็นการจัดตามแนวแนวทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive Theories) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น
ภายในสมอง เกิดจากกระบวนการจัดกระทากับข้อมูล มีการบันทึกข้อมูลและดึงข้อมูลออกมาใช้ วิธี
เรียนรู้มีผลต่อการจา การลืม การถ่ายโอน (Transfer) ความรู้ แรงจูงใจระหว่างการเรียนรู้มี
ความสาคัญต่อการชี้นาความสนใจ มีอิทธิผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งแนวคิดนี้มีความเชื่อ
ว่าความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้งอกงามขึ้นได้เรื่อย ๆ
โดยอาศัยการพัฒนาโครงสร้างความรู้ภายในบุคคล และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โครงสร้างของ
ความรู้มีองค์ประกอบที่สาคัญ 3 ประการ คือ ความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่ ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้รับข้อมูล
ความรู้ ความรู้สึกและประสบการณ์ และกระบวนการทางสติปัญญา เป็นกระบวนการทางสมองที่
ผู้เรียนใช้ทาความเข้าใจกับความรู้ใหม่ และใช้เชื่อมโยงปรับความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
ดังนั้นครูที่จัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ จึงมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนมี
ความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้
สรุปว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมเรียนที่ผู้เรียนลง
มือกระทากิจกรรม ตามความสนใจเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้การ
ช่วยเหลือแนะนาของครูผู้สอน
76
หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ มีดังนี้
กรมวิชาการ (2543 : 1) ได้กล่าวถึง หลักในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
ไว้ดังนี้
1. ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการแสวงหาข้อมูล ศึกษาทาความเข้าใจคิดวิเคราะห์
ตีความ แปลความ สร้างความหมายแก่ตน สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปความรู้
2. ให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด
3. ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล
ความคิด และประสบการณ์แก่กันและกันมากที่สุดเท่าที่จะทาได้
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ “กระบวนการ” ควบคู่ไปกับ “ผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้”
5. ให้ผู้เรียนนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542: 6 – 7) ได้กล่าวถึง หลักการพื้นฐานของแนวคิดผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง ดังนี้
1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ บทบาทของครูคือ
ผู้สนับสนุน และเป็นแหล่งความรู้ของผู้เรียนผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและวางแผนสิ่งที่ตนจะ
เรียน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือก และจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการศึกษาค้นคว้า
รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. เนื้อหาวิชามีความสาคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ในการออกแบบกิจกรรมการ
เรียนรู้ ปัจจัยสาคัญที่ต้องนามาพิจารณาประกอบด้วยเนื้อหาวิชา ประสบการณ์เดิม และความ
ต้องการของผู้เรียน การเรียนรู้ที่สาคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับ สิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้
สอน(เทคนิคการสอน)
3. การเรียนรู้จะประสบผลสาเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนผู้เรียนจะ
ได้รับความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ได้ทางานร่วมกับเพื่อนๆ ได้
ค้นพบข้อคาถามและคาตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
รวมทั้งการบรรลุผลสาเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง
4. สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญงอก
งาม การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทางาน และการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล
สัมพันธภาพที่เท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งสาคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เรียน
77
5. ครูคือผู้อานวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ ในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนเป็นแหล่ง
ความรู้ที่ทรงคุณค่า ของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่
สาคัญที่สุดคือ ความเต็มใจของครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะ
เป็น ความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และการฝึกฝน โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้
6. มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและ
ควบคุมตนเองได้มากขึ้น สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงขึ้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้
สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น
7. การศึกษา คือ การพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกันไปการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆด้านคุณลักษณะด้าน
ความรู้ความคิด ด้านการปฏิบัติ และด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน
สรุปได้ว่า หลักการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี
ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และลงมือปฏิบัติด้วย
ตนเอง เพื่อเกิดประสบการณ์จากการลงมือกระทา โดยครูเป็นผู้อานวยความสะดวกและกระตุ้นให้
ผู้เรียนเกิดความกล้าในการแสดงออก หากครูผู้สอนจัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มี
ความหมายต่อผู้เรียนสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนได้ การจัดการเรียนการสอนของครูจะมี
ลักษณะที่ผู้เรียนเป็นสาคัญ
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วัฒนาพร ระงับทุกข์
(2542: 6 – 7) ได้กล่าวไว้ดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และ
อารมณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างทั่วถึง และมากที่สุด
เท่าที่จะทาได้การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทาจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมและกระตือรือร้น ที่
จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา กิจกรรมที่จัดจึงควรเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้
1.1 ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ เหมาะสมกับวัยและ
ความสนใจของผู้เรียน
1.2 มีประเด็นท้าทายให้ผู้เรียนได้คิด เป็นประเด็นที่ไม่ยาก หรือง่ายเกินไป เหมาะสมกับ
วัย
และความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด หรือลงมือทาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
1.3 ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว
78
1.4 ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความ
เป็นจริงของผู้เรียน
2. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ที่สาคัญ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มได้พูดคุย
ปรึกษา หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น และจะปรับตัวให้สามารถอยู่ใน
สังคมร่วมกับผู้อื่นได้
3. ยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นวิธีการสาคัญ โดยครูผู้สอนพยายามจัดการเรียนการสอนที่
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคาตอบด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการค้นพบความจริงใดๆ ด้วยตนเองนั้น
ผู้เรียนมักจะจดจาได้ดี และมีความหมายโดยตรงต่อผู้เรียน รวมทั้งเกิดความคงทนของความรู้
4. เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน โดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ถึงกระบวนการ
ต่างๆ ที่ ทาให้เกิดผลงาน มิใช่มุ่งจะพิจารณาถึงผลงานแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะประสิทธิภาพ
ของผลงานขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของกระบวนการ
5. เน้นการนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ หรือใช้ในชีวิตประจาวัน โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดหา
แนวทางที่จะนาความรู้ความเข้าใจไปใช้ในชีวิตประจาวัน พยายามส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและ
พยายามติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน
กล่าวโดยสรุป การออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา ทักษะกระบวนการ และเจตคติ อย่างมีปฏิสัมพันธ์
กับผู้อื่น ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ควบคู่ไปกับผลงานและสามารถนาความรู้
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้
ตัวบ่งชี้การเรียนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ มีตัวบ่งชี้ที่จะใช้เป็นแนวทางในการประเมินได้ว่าได้
มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญหรือไม่ โดยประเมินจากผู้สอนเมื่อเขียนแผนการ
สอนและเมื่อนาแผนการสอนไปใช้ในห้องเรียน และประเมินจากผู้เรียนจากพฤติกรรมการเรียนทั้งใน
และนอกห้องเรียนตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญโดยพิจารณาทั้งครูและ
ผู้เรียน ดังที่ ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (อ้าง
ถึงใน คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543: 29-31) ได้กาหนดไว้ มีดังต่อไปนี้
79
ตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน
1. ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
3. ผู้เรียนทากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
4. ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์จินตนาการ ตลอดจนได้แสดงออกอย่าง
ชัดเจนและมีเหตุผล
5. ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นคว้าหาคาตอบ แก้ปัญหา ทั้งด้วยตนเองและร่วมด้วย
ช่วยกัน
6. ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
7. ผู้เรียนได้เลือกทากิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมี
ความสุข
8. ผู้เรียนฝึกตนเองให้มีวินัย และมีความรับผิดชอบในการทางาน
9. ผู้เรียนฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนสนใจใฝ่หาความรู้อย่าง
ต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ของครู
1. ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
2. ครูจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจ และเสริมแรง ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3. ครูเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความเมตตาผู้เรียนอย่างทั่วถึง
4. ครูจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์
5. ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทา และฝึกปรับปรุงตนเอง
6. ครูส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม พร้อมทั้งสังเกตส่วนดี และปรับปรุงส่วน
ด้อยของผู้เรียน
7. ครูใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหา และการค้นพบความรู้
8. ครูใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง
9. ครูฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย
10. ครูสังเกตและประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
80
บทบาทของครูและผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ผู้
ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน และเอื้ออานวยความ
สะดวกต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และในส่วนของครู และผู้เรียน ที่อยู่ในกระบวนการเรียนรู้
โดยตรง ควรต้องมีบทบาท ดังที่ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2541: 13-15) ได้กล่าวไว้ ดังนี้
บทบาทของครู
เมื่อแนวโน้มของการเรียนการสอนเปลี่ยนไป บทบาทของผู้เรียนสาคัญเด่นชัดมากขึ้นบทบาท
ของครูก็ต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม จากบทบาทที่สาคัญที่สุดในฐานะผู้บอกเล่าข้อความรู้ทั้งมวลแก่
ผู้เรียนมาเป็นผู้สนับสนุนจัดสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด บทบาทของครูจึง
ควรประกอบด้วย
1. บทบาทด้านการเตรียมการ ประกอบด้วย
1.1 การเตรียมตนเอง ครูจะต้องเตรียมตนเองให้พร้อมสาหรับบทบาทของผู้เป็นแหล่ง
ความรู้ (resource person) ซึ่งจะต้องให้คาอธิบาย คาแนะนา คาปรึกษา ให้ข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนแก่
ผู้เรียน รวมทั้งแหล่งความรู้ที่จะแนะนาให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลได้ ดังนั้น ครูจะต้องมีภาระ
หนักเตรียมตนเองด้วยการอ่าน การค้นคว้า การทดลองปฏิบัติมากๆ ในหัวข้อเนื้อหาที่ตนรับผิดชอบ
รวมทั้งข้อมูลและประสบการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
1.2 การเตรียมแหล่งข้อมูล เมื่อบทบาทครูไม่ใช่ผู้บอกเล่ามวลความรู้อีกต่อไปครูจึงต้อง
เตรียมแหล่งข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนทั้งในรูปแบบของสื่อการเรียน ใบความรู้ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่
จะใช้ประกอบกิจกรรมในห้องเรียน หรือ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีข้อมูลความรู้ที่ผู้เรียนสามารถ
เลือกศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ หรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศูนย์วิทยบริการศูนย์สื่อ ห้องสมุด
ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องสมุดวิชา ห้องปฏิบัติการวิชาต่างๆ และห้องพิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน ทั้งนี้รวมไป
ถึงแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนด้วย ซึ่งครูสามารถสารวจบัญชีรายชื่อหนังสืออุปกรณ์ หรือสื่อต่างๆ
ไว้สาหรับผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตามที่กาหนดในกิจกรรมการเรียนหรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งในและ
นอกเวลาเรียน
1.3 การเตรียมกิจกรรมการเรียน บทบาทของครูก่อนการเรียนการสอนทุกครั้ง คือ การ
วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กาหนด ครูจะต้องวิเคราะห์จุดประสงค์
การเรียนรู้เพื่อให้ได้สาระสาคัญและเนื้อหาข้อความรู้อันจะนาไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนที่
เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ตามที่กาหนด โดยบทบาทในส่วนนี้ครูจะทาหน้าที่คล้ายผู้จัดการ
(manager) ที่กาหนดบทบาทการเรียนรู้ และความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนให้เขาได้ทากิจกรรมตามความ
ต้องการ ความสามารถ และความสนใจของแต่ละคน
81
1.4 การเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เมื่อออกแบบหรือกาหนดกิจกรรมการเรียนแล้วครูจะ
ต้องพิจารณาและกาหนดว่าจะใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ใดเพื่อให้กิจกรรมการเรียนดังกล่าวบรรลุผลแล้ว
จัดเตรียมให้พร้อม บทบาทของครูตรงนี้จึงเป็นผู้อานวยความสะดวก (facilitator) เพื่อให้การเรียนรู้
บรรลุผล
1.5 การเตรียมการวัดและประเมินผล บทบาทด้านการเตรียมการอีกประการหนึ่งคือการ
เตรียมวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น โดยการวัดให้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้และวัดให้
ครอบคลุมทั้งในส่วนของกระบวนการ (process) และผลงาน (product) ที่เกิดขึ้นทั้งด้านพุทธิพิสัย
(cognitive) จิตพิสัย (affective) และทักษะพิสัย (psychomotor) โดยเตรียมวิธีการวัดและเครื่องมือ
วัดให้พร้อมก่อนทุกครั้ง
2. บทบาทด้านการดาเนินการ
บทบาทด้านการดาเนินการเป็นบทบาทขณะผู้เรียนดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
ประกอบด้วย
2.1 การเป็นผู้ช่วยเหลือให้คาแนะนาปรึกษา (helper and advisor) คอยให้คาตอบเมื่อ
ผู้เรียนต้องการความช่วยเหลือ เช่น ให้ข้อมูลหรือความรู้ในเวลาที่ผู้เรียนต้องการเพื่อให้การเรียนรู้นั้น
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.2 การเป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (supportor and encourager) ช่วยสนับสนุนหรือ
กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
2.3 การเป็นผู้ร่วมทากิจกรรม (active participant)โดยเข้าร่วมทากิจกรรมในกลุ่มผู้เรียน
พร้อมทั้งให้ความคิด และความเห็นหรือช่วยเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขณะทากิจกรรม
2.4 การเป็นผู้คอยติดตามตรวจสอบ (monitor) ตรวจสอบผลการทางานตามกิจกรรม
ของผู้เรียน เพื่อให้ถูกต้องชัดเจนและสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เรียนสรุปเป็นข้อความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้
2.5 การเป็นผู้สร้างเสริมบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร โดยการสนับสนุนเสริมแรง และ
กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมทางานกับกลุ่ม แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยเต็มที่ ยอมรับฟังความ
คิดเห็นซึ่งกันและกัน และอภิปรายโต้แย้งด้วยท่วงท่านุ่มนวล ให้เกียรติกันอย่างเป็นมิตร โดยมี
จุดมุ่งหมายเพื่อให้เป้าหมายของกลุ่มบรรลุความสาเร็จ
3. บทบาทด้านการประเมินผล
เป็นบทบาทที่ครูผู้สอนต้องดาเนินการเพื่อตรวจสอบว่าสามารถจัดการเรียนการสอน
บรรลุผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กาหนดไว้หรือไม่ ทั้งนี้ ครูควรเตรียมเครื่องมือและวิธีการให้
พร้อมก่อนถึงขั้นตอนการวัดและประเมินผลทุกครั้ง และการวัดควรให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยเน้นการ
วัดจากสภาพจริง (authentic measurement) จากการปฏิบัติ (performance) และจากแฟ้มสะสม
82
ผลงาน (portfolio) ซึ่งในการวัดและประเมินผลนี้นอกจากครูจะเป็นผู้วัดและประเมินผลเองแล้ว
ผู้เรียนและสมาชิกของแต่ละกลุ่มควรจะมีบทบาทร่วมวัดและประเมินตนเองและกลุ่มด้วย
บทบาทของผู้เรียน
ผู้เรียน คือหัวใจของการเรียนรู้ผู้เรียนจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสาคัญในการเรียนรู้ การสร้าง
ทักษะและคุณลักษณะต่างๆ ที่พึงประสงค์ตามที่กาหนดด้วยตนเอง บทบาทผู้เรียนจึงประกอบด้วย
1. บทบาทด้านการเตรียมตนเอง
ผู้เรียนต้องเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะรับความรู้ฝึกฝนทักษะที่จาเป็นและสร้างเสริม
คุณลักษณะที่ดีงามให้เกิดขึ้น ผู้เรียนจะต้องใฝ่รู้ ใฝ่เรียน กระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้จากแหล่ง
ต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยการฝึกทักษะพื้นฐานซึ่งเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้แก่ ทักษะ
การฟัง พูด อ่าน และเขียนให้คล่องแคล่ว สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าได้เต็มที่ เพื่อ
การพัฒนาตนเองไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์นั่นคือ การเป็น“บุคคลแห่งการเรียนรู้”
(learning person) นั่นเอง
2. บทบาทด้านการดาเนินการ
เป็นบทบาทที่ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย
1) การสร้างและค้นพบข้อความรู้ด้วยตนเอง
2) การมีประสบการณ์ตรงที่สัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3) การได้ค้น คิด ทา และแสดงออกในการแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ผลงาน
4) การมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนและกลุ่ม
5) การเรียนรู้อย่างมีวิธีการมีกระบวนการ
6) การมีผลงานการเรียนรู้
7) การมีวินัยและความรับผิดชอบในการเรียนและการปฏิบัติงาน
3. บทบาทด้านการประเมินผล
เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนควรได้มีส่วนร่วมในการประเมินตนเองเพื่อน
และกลุ่ม ทั้งด้านการปฏิบัติและผลงาน รวมทั้งยอมรับการประเมินของผู้อื่นและพร้อมที่จะนาผลการ
ประเมินไปปรับปรุงพัฒนาตนเองต่อไปจะเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้อานวยความสะดวก เตรียมกิจกรรม
การเรียนรู้ เตรียมแหล่งข้อมูลสาหรับผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า เตรียมสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รวมทั้งเตรียมการวัดและประเมินผล ซึ่งครอบคลุมทั้งการวัดกระบวนการและ
ผลงาน ส่วนผู้เรียนก็จะต้องร่วมกิจกรรม ลงมือปฏิบัติ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง
83
สรุปได้ว่า ผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ที่มีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ทั้ง
ด้านการเตรียมการ การดาเนินการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้ที่ลงมือ
ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนของผู้สอน
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
การเรียนรู้ความคิดรวบยอดหรือมโนมติ (Concept) เป็นจุดมุ่งหมายที่สาคัญประการหนึ่ง
ของการศึกษาในปัจจุบัน ทุกศาสตร์ ทุกแขนง ล้วนมีจุดมุ่งหมายนี้รวมอยู่ คือมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้และ
เกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนได้ การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด อาจเริ่มจากเรียนรู้
ข้อเท็จจริง (fact) คือ ข้อมูล ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น “แบคทีเรียที่ใช้กาจัดคราบน้ามันจะมีอายุ
อยู่ได้ประมาณ 10 วัน” แต่ข้อเท็จจริงนี้ถ้ากล่าวในข้อความหนึ่งที่ดูคล้ายกัน เช่น “แบคทีเรียมี
ประสิทธิภาพในการกาจัดคราบน้ามันได้เร็วกว่ายิสต์และรา” จะเป็นความคิดรวบยอดเพราะเป็น
ความรู้ที่นามาสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการกาจัดคราบน้ามัน โดยอาศัยข้อเท็จจริงหลายๆ อย่าง นามา
เปรียบเทียบกันจนสรุปได้ ดังนั้นการผู้ที่จะเกิดความคิดรวบยอดได้ต้องอาศัยความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง
หลายๆอย่างมาประกอบกัน
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ให้เกิดสัมฤทธิผลได้อย่างไรนั้น เทคนิคการจัดการ
เรียนรู้ ที่จะช่วยเสริมกระบวนการ ขั้นตอน หรือการกระทาใดๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีคุณภาพมากขึ้น ในที่นี้จะนาเสนอ
เทคนิคการสอนที่ช่วยพัฒนาความคิดรวบยอด ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญสาหรับส่งเสริมการเรียนรู้สาหรับ
ผู้เรียนให้เกิดความคิดรวบยอด
1. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก
กราฟิก (Graphic) เป็นแนวทางสาหรับจัดระบบความคิดที่เขียนออกมาเป็นเส้นหรือ
รูปภาพและเป็นเครื่องมือช่วยในการคิด การเรียนรู้ กราฟิกมีหลายชื่อ ได้แก่ mind mapping และ
conceptmapping ซึ่งกราฟิกทั้ง 2 อย่างมีความเหมือนกันคือ ความคิดหลัก จะแผ่รัศมีออกจากตรง
กลางและมีโครงสร้างแบบต้นไม้ ในส่วนที่แตกต่างกัน คือ mind maps จะแยกหัวข้อ แต่ concept
maps จะอยู่พื้นฐานบนความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อ (Connection on makes between node) แต่
กราฟิกทั้ง 2 แบบส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และสร้างศักยภาพด้านความจา การหยั่งรู้
กราฟิกสามารถใช้ระดมความคิดในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน การนาเสนองานของบุคคล หรือของกลุ่มใช้
ในการทบทวนในตอนท้ายหน่วยของการเรียน การอ่าน การฝึกทักษะ การคิดในการทากิจกรรม
Annette (2003)
84
ทิศนา แขมมณี (2550) กล่าวว่า ผังกราฟิก เป็นแผนผังทางความคิด ประกอบด้วยความคิด
หรือข้อมูลที่สาคัญๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูปแบบต่างๆ ทาให้เห็นโครงสร้างของความรู้หรือเนื้อหาสาระ
นั้นๆ
ผังกราฟิก หมายถึงเครื่องมือที่หรือแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความคิดหรือ
เนื้อหา ที่ทาให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ศึกษาได้ชัดเจน
1.1 ทฤษฎี การทาผังกราฟิกมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบล การให้ผู้เรียนทา
ผังกราฟิกจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างความรู้ กระบวนการของการเรียนรู้ นอกจากนี้
Jones et al. (1989) และ Joyce et al. (1992) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก
โดยใช้กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จาก
องค์ประกอบสาคัญ 3 ส่วนด้วยกันได้แก่ ความจาข้อมูล กระบวนการทางปัญญา และเมตาคอกนิชั่น
(Meta cognition) ความจาข้อมูลประกอบด้วย ความจาจากการรู้สึกสัมผัส ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้เพียง
ประมาณ 1 วินาทีเท่านั้น ความจาระยะสั้น ความจาปฏิบัติการเป็นความจาที่เกิดขึ้นหลังจากการ
ตีความสิ่งเร้าที่รับรู้มาแล้ว จะเก็บข้อมูลไว้ได้ชั่วคราวประมาณ 20 วินาที และทาหน้าที่ในการคิด ส่วน
ความจาระยะยาวเป็นความจาที่มีความคงทน มีขนาดความจุไม่จากัดสามารถคงอยู่เป็นเวลานาน เมื่อ
ต้องการใช้จะสามารถเรียกคืนได้ สิ่งที่อยู่ในความจาระยะยาวมี 2 ลักษณะคือ ความจาเหตุการณ์ และ
การจาความหมาย เกี่ยวกับข้อเท็จจริง มโนทัศน์ กฎ หลักการ ต่างๆ องค์ประกอบด้านความจาข้อมูล
นี้ จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับกระบวนการ ทางปัญญาของบุคคล ประกอบด้วยสิ่ง
ต่อไปนี้
ก. การใส่ใจ (Attention) หากบุคคลมีความใสใจในข้อมูลที่รับเข้ามาทางการสัมผัสข้อมูลนั้น
ก็จะถูกนาเข้าไปสู่ความจาระยะสั้น หากไม่ได้รับการใส่ใจ ข้อมูลนั้นก็จะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว
ข. การรับรู้ (Perception) เมื่อบุคคลใส่ใจในข้อมูลใดที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัสบุคคลก็
จะรับรู้ข้อมูลนั้น และนาข้อมูลนี้เข้าสู่ความจาระยะสั้นต่อไป ข้อมูลที่รับรู้นี้ จะเป็นความจริงตามการ
รับรู้ (Perceived Reality) ของบุคคลนั้น อาจไม่ใช่ความจริงเชิงปรนัย(Objective Reality)
เนื่องจากเป็นความจริงที่ผ่านการตีความจากบุคคลนั้นมาแล้ว
ค. การทาซ้า (Rehearsal) หากบุคคลมีกระบวนการรักษาข้อมูล โดยการทบทวนซ้าแล้วซ้า
อีก ข้อมูลนั้นก็จะยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในความจาปฏิบัติการ
ง. การเข้ารหัส (Encoding) หากบุคคลมีกระบวนการสร้างตัวแทนทางความคิดเกี่ยวกับ
ข้อมูลนั้น โดยมีการนาข้อมูลนั้นเข้าสู่ความจาระยะยาวและเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่มีอยู่แล้วในความจา
ระยะยาว การเรียนรู้อย่างมีความหมายก็จะเกิดขึ้น
85
จ. การเรียกคืน (Retrieval) การเรียกคืนข้อมูลที่จาไว้ในความจาระยะยาวเพื่อนาออกมาใช้
มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเข้ารหัส หากการเข้ารหัสทาให้เกิดการเก็บจาได้ดีมีประสิทธิภาพ
การเรียกคืนจะมีประสิทธิภาพตามไปด้วย
ในที่นี้ผังกราฟิกที่นาเสนอมี 5 ชนิดดังนี้ คือ
1) Spider map แผนผังแมงมุมใช้อธิบายความคิดที่สาคัญ และกระบวนการความคิดรวบ
ยอดหรือสิ่งที่นามาสนับสนุน คาถามที่นามาใช้ได้แก่ อะไรคือความคิดหลัก อะไรเป็นส่วนประกอบ
อะไรเป็นหน้าที่ ดังตัวอย่างของหลักการสอนของเรื่องไตรสิกขาดังภาพที่ 4.1
ภาพที่ 4.1 หลักการสอนเรื่องไตรสิกขา
86
2) Fishbone map แผนที่ก้างปลา ใช้แสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ที่ซับซ้อน
หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ซับซ้อน กรอบคาถามที่ใช้ เหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตัวอย่าง
ของนาท่วมดังภาพที่ 4.2
ภาพที่ 4.2 แผนที่ก้างปลาเกี่ยวกับสาเหตุน้าท่วม
3) Concept mapping แผนผังความคิดรวบยอด เป็นแผนผังที่ใช้เขียนความคิด
ที่สาคัญ และเชื่อมโยงความคิดเหล่านั้น กรอบของคาถามที่นามาใช้ได้แก่ อะไรเป็นความคิดหลัก
ดังตัวอย่าง ภาพที่ 4.3 ความคิดรวบยอดของครอบครัว
87
ภาพที่ 4.3 ความคิดรวบยอดครอบครัว
88
4) Venn Diagram เป็นแผนผังที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง
ระหว่างของ 2 สิ่ง เช่น ประชาชน สถานที่ สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ ความคิด ซึ่งใช้คุณลักษณะ
ความแตกต่างใส่ไว้ด้านซ้ายและขวา ส่วนคุณลักษณะที่เหมือนกันใส่ไว้ในส่วนที่ซ้อนกันดังตัวอย่าง
ของเต่ากับกระต่าย ดังภาพที่ 4.4
ภาพที่ 4.4 ไดอะแกรมของเต่าและกระต่าย
89
5) T-Chart ใช้เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของ 2 สิ่ง โดยใส่ไว้
ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา กรอบของคาถามที่นามาใช้ได้แก่ อะไรเป็นสิ่งนามาเปรียบเทียบ สิ่งนั้นมี
ความเหมือนกันอย่างไร สิ่งนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ดังตัวอย่าง ความแตกต่างของพืชใบเลี้ยง
คู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวดังภาพที่ 4.5
ภาพที่ 4.5 ความแตกต่างของพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว
การเรียนรู้จึงเป็นการสร้างความรู้ของบุคคลที่ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 4
ขั้นตอนได้แก่
1) การเลือกรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน (Selecting Relevant Information)
2) การจัดระเบียบข้อมูลเข้าสู่โครงสร้าง (Coherent Structure)
3) การบูรณาการข้อมูลเดิม (Integrating)
4) การเข้ารหัส (Encoding) ข้อมูลการเรียนรู้ เพื่อให้คงอยู่ในความจาระยะยาว
และสามารถเรียกคืนมาใช้ได้โดยง่าย การให้ผู้เรียนมีโอกาสเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับโครงสร้าง
ความรู้เดิม และนาความรู้ความเข้าใจมาเข้ารหัสหรือสร้างตัวแทนทางความคิดที่มีความหมายต่อ
ตนเอง จะทาให้การเรียนรู้นั้นคงอยู่ในความจาระยะยาวและสามารถเรียกคืนมาใช้ได้
1.2 กระบวนการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอนได้เสนอผังกราฟิกไว้ 2 รูปแบบ
ดังนี้
ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ Jones, Pierce, and Hunter (1989)
ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สาคัญๆ 5 ขั้นตอนด้วยกันดังนี้
1) ผู้สอนเสนอตัวอย่างการจัดข้อมูลด้วยผังกราฟิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
2) ผู้สอนแสดงวิธีการสร้างผังกราฟิก
90
3) ผู้สอนชี้แจงเหตุผลของการใช้ผังกราฟิกและอธิบายวิธีการใช้
4) ผู้เรียนฝึกการสร้างและใช้ผังกราฟิกในการทาความเข้าใจเนื้อหาเป็นรายบุคคล
5) ผู้เรียนเข้ากลุ่มและนาเสนอผังกราฟิกของตนแลกเปลี่ยนกัน
ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ Joyce, Weil, and Showers. (1992)
เสนอรูปแบบการเรียนการสอนเป็น 8 ขั้น ดังนี้
1) ชี้แจงจุดมุ่งหมายของบทเรียน
2) ผู้สอนนาเสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
3) ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมเพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์กับความรู้ใหม่
4) ผู้สอนเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
5) ผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่เรียนกับผังกราฟิก และให้ผู้เรียนนาเนื้อหาสาระใส่ลงในผัง
กราฟิกตามความเข้าใจของตน
6) ผู้สอนให้ความรู้เชิงกระบวนการโดยชี้แจงเหตุผลในการใช้ผังกราฟิก และวิธีใช้ผังกราฟิก
7) ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลการใช้ผังกราฟิกกับเนื้อหา
8) ผู้สอนซักถาม ปรับความเข้าใจ และขยายความจนผู้เรียนเกิด
สรุปการเรียนรู้โดยใช้กราฟิก (Graphic Organizer) หมายถึงการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน
เชื่อมโยงความรู้ที่เรียนมาแล้วเขียนในผังกราฟิกอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี
ความหมาย ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการใช้ผังกราฟิกในการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
ที่เรียน และจดจาสิ่งที่เรียนรู้ได้ดี นอกจากนี้ ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่นๆ ได้
2. เทคนิค Deductive
เทคนิค Deductive หรือ เทคนิคนิรนัย เป็นวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจาก ทฤษฎี กฎ
หรือหลักการต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนหาหลักฐานหรือเหตุผลมาพิสูจน์ ยืนยันวิธีสอนแบบนี้ช่วยฝึกให้
ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงเสียก่อน
ลักษณะการสอนความคิดรวบยอดแบบ Deductive
1. กาหนดความคิดรวบยอดที่จะสอน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบ
2. อธิบายความหมายของความคิดรวบยอดนี้
3. ให้ผู้เรียนดูและคัดเลือกสิ่งที่เป็นตัวอย่างและที่ไม่ใช่ตัวอย่างของความคิดรวบยอดนี้
4. ให้ผู้เรียนเสนอตัวอย่างใหม่เพิ่มเติมที่เป็นตัวอย่างของความคิดรวบยอดนี้
91
5. ให้ผู้เรียนสรุป อธิบาย อีกครั้งหนึ่งว่าความคิดรวบยอดนี้เป็นอย่างไร
การนาเทคนิค Deductive ไปใช้มีข้อดีและข้อจากัด ดังนี้
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. เหมาะที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่าย ๆ หรือสอนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพราะ
สามารถอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ดี
3. ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
4. เป็นวิธีสอนที่เอื้ออานวยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนาการเรียนรู้
ของตนได้โดยไม่ต้องรอผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า
ข้อจากัด
1. ใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้
2. เป็นการสอนที่ผู้เรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง เพราะผู้สอน กาหนด
ความคิดรวบยอดให้
3. ผู้สอนต้องเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ หรือปัญหาที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้ฝึกทา และ
ต้องอาศัยความสามารถของผู้สอนในการนาเสนอ ทฤษฎี กฎ นิยามหรือข้อสรุปต่าง ๆ
4. ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า อาจตามไม่ทันเพื่อนและอาจเกิดปัญหาในการเรียนรู้ได้
การนาเทคนิค Deductive ไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
1. การเตรียมการ ผู้สอนต้องทาความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฎ นิยาม หรือข้อสรุปที่
ต้องการสอนอย่างชัดเจน และต้องเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ การแก้ปัญหาที่ผู้เรียนสามารถนา
ทฤษฎี หลักการ กฎ นิยามหรือข้อสรุป ไปใช้ให้เกิดผลสาเร็จ ตัวอย่างควรเป็นสถนการณ์ที่มีความ
หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่ชัดเจน
2. เป็นการนาเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกใช้ความรู้ เมื่อเห็นว่าผู้เรียนเกิดความเข้าใจ
ในทฤษฎี กฎ นิยามหรือข้อสรุปพอสมควรแล้ว ผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนเกิดการนาความรู้ไป
ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่มีลักษณะตรงตามสภาพจริงในชีวิตของผู้เรียน และควรมีความ
หลากหลายพอสมควร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น
3. เทคนิค Inductive
เทคนิค Inductive หรือเทคนิคอุปนัย เป็น เทคนิคการเรียนรู้ที่เริ่มจากการศึกษา
รายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือส่วนร่วม เป็นการสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์
หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยให้ผู้เรียนทาการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้ว
พิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนาไปสู่ข้อสรุป
ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อนาไปสู่การค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สาคัญ ๆ
92
ด้วยตัวเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมายและสร้างความสัมพันธ์ของความคิด
ต่าง ๆ อย่างชัดเจน ตลอดจนรู้จักกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักทาการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
ลักษณะการสอนความคิดรวบยอดแบบ Inductive
1. ไม่บอกความคิดรวบยอดและอธิบายความหมายของความคิดรวบยอดนั้นแก่ผู้เรียนก่อน
2. ให้ผู้เรียนดูตัวอย่าง แล้วให้คัดเลือกว่าตัวอย่างเหล่านี้มีอะไรอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้และ
อะไรที่ไม่เข้ากลุ่มกัน
3. ให้ผู้เรียนสังเกตลักษณะที่มีอยู่ร่วมกันในตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนั้น
4. ให้ผู้เรียนคิดตั้งชื่อคาหรือกลุ่มคาจากตัวอย่างเหล่านั้น
5. ให้ผู้เรียนสรุป อธิบาย ความหมายของคาหรือกลุ่มคาที่ตั้งขึ้นว่ามีความหมายอย่างไร
การนาเทคนิค Inductive ไปใช้มีข้อดีและข้อจากัด ดังนี้
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยทาให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างชัดเจนและจาได้นาน
2. ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ ตามหลักตรรกศาสตร์และหลักวิทยาศาสตร์
3. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาและรู้จักวิธีการทางานที่ถูกต้องสามารถนาไป
ประยุกต์ใช้ได้ต่อไป
ข้อจากัด
1. เป็นวิธีสอนที่ค่อนข้างใช้เวลามาก
2. ไม่เหมาะสมที่จะสอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ
3. ผู้สอนต้องเข้าใจเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน เพราะ
ผู้สอนต้องจัดเตรียมตัวอย่างที่ครอบคลุมลักษณะสาคัญ ๆ ของกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ หรือ
สูตรที่เรียน
การนาเทคนิค Inductive ไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้
1. การเตรียมตัวอย่าง ผู้สอนจาเป็นต้องเตรียมตัวอย่างของข้อมูล สถานการณ์
เหตุการณ์ปรากฏการณ์ ความคิด ทีมีหลักการของแนวคิด ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แฝงอยู่
โดยตัวอย่างที่ให้ควรประกอบด้วยลักษณะหรือคุณสมบัติย่อย ๆ ที่ครอบคลุม หลักการของแนวคิด
นั้น เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ว่า “ดอกสมบูรณ์คืออะไร” ตัวอย่างที่ให้ก็ควรครอบคลุม
คุณสมบัติย่อยของดอกสมบูรณ์ ผู้สอนอาจจาเป็นต้องสอนมโนทัศน์และหลักการต่าง ๆ ที่จะช่วย
ให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการทาความเข้าใจกับตัวอย่างที่ผู้สอนเตรียมให้ นอกจากนั้น ตัวอย่างที่ให้
ควรจะเป็นตัวอย่าที่น่าสนใจและท้าทายความคิด ความสามารถของผู้เรียนด้วย
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4

More Related Content

What's hot

ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรTawatchai Bunchuay
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรJiraprapa Suwannajak
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรthana1989
 
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยานภดล รุ่งจรูญ
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรTawatchai Bunchuay
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรtanongsak
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรNoawanit Songkram
 
การเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหาการเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหาSurapong Khamjai
 
การสอน
การสอนการสอน
การสอนguest283582b
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรFh Fatihah
 
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคลวิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคลมะ สิ
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้Bhayubhong
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการรายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการkanidta vatanyoo
 
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้
๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้
๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้sitharukkhiansiri
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรBigbic Thanyarat
 

What's hot (20)

ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
 
พัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตรพัฒนาหลักสูตร
พัฒนาหลักสูตร
 
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
 
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
 
การเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหาการเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหา
 
การสอน
การสอนการสอน
การสอน
 
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
 
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคลวิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการรายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
 
คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9
 
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1
 
คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8
 
๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้
๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้
๔.๑ การออกเเบบการจัดการเรียนรู้
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
 

Viewers also liked

รูปแบบการสอนบูรณาการ
รูปแบบการสอนบูรณาการรูปแบบการสอนบูรณาการ
รูปแบบการสอนบูรณาการcomputer1437
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีParichart Ampon
 

Viewers also liked (9)

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7
 
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
 
คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4
 
คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5
 
รูปแบบการสอนบูรณาการ
รูปแบบการสอนบูรณาการรูปแบบการสอนบูรณาการ
รูปแบบการสอนบูรณาการ
 
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
 

Similar to แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

งานนำเสนอ กลุ่ม6.ppt
งานนำเสนอ กลุ่ม6.pptงานนำเสนอ กลุ่ม6.ppt
งานนำเสนอ กลุ่ม6.pptssusercbaf891
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการWatcharasak Chantong
 
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยมการศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยมSup's Tueng
 
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยมการศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยมSup's Tueng
 
การบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียนการบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียนphatcom10
 
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางKunwater Tianmongkon
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing schoolWC Triumph
 
แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา
Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษาChapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา
Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษาสาวกปิศาจ Kudo
 
บทความการศึกษาเป็นรายบุคคล
บทความการศึกษาเป็นรายบุคคลบทความการศึกษาเป็นรายบุคคล
บทความการศึกษาเป็นรายบุคคลwattanaka
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2Real PN
 
งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2lalidawan
 

Similar to แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4 (20)

งานนำเสนอ กลุ่ม6.ppt
งานนำเสนอ กลุ่ม6.pptงานนำเสนอ กลุ่ม6.ppt
งานนำเสนอ กลุ่ม6.ppt
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ
 
C
CC
C
 
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยมการศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
 
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยมการศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
การศึกษาตามหลักพิพัฒนาการนิยม
 
การบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียนการบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียน
 
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เทคนิคการสอนและรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing school
 
Chapter 04
Chapter 04Chapter 04
Chapter 04
 
Chapter 04
Chapter 04Chapter 04
Chapter 04
 
4 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar554 ตอน4 sar55
4 ตอน4 sar55
 
แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานสมรรถนะครู นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา
Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษาChapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา
Chapter2การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษา
 
Ch 2
Ch 2Ch 2
Ch 2
 
Chapter 04
Chapter 04Chapter 04
Chapter 04
 
Chapter 04
Chapter 04Chapter 04
Chapter 04
 
บทความการศึกษาเป็นรายบุคคล
บทความการศึกษาเป็นรายบุคคลบทความการศึกษาเป็นรายบุคคล
บทความการศึกษาเป็นรายบุคคล
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2
 
งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2งานนำเสนอนวัตกรรม2
งานนำเสนอนวัตกรรม2
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี

อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี (17)

คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6
 
คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3
 
คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
 
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
 
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
 
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
 
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
 
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
 
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
บทที่2  ระบบการเรียนการสอนบทที่2  ระบบการเรียนการสอน
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
 
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4

  • 1. 72 บทที่ 4 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุดถือเป็นบทบาทหน้าที่ของทุกคนที่จัดการศึกษา ทั้ง ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่จะต้องเอาใจใส่และให้ความสาคัญกับ ผู้เรียน ปฏิบัติภารกิจหน้าที่โดยคานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับตัวผู้เรียนเป็นหลักตามอานาจความ รับผิดชอบของตนที่มีการเรียนการสอน ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ซึ่งเป็นหน้าที่ของครู การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นกระบวนการที่พัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมของผู้เรียนให้เจริญงอกงาม โดยการสร้างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วม กระทา ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ตามความต้องการ ตามความสนใจและเต็มตาม ศักยภาพของผู้เรียนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (student centered) ซึ่งมีชื่อเรียกที่ ต่างออกไป เช่น การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบผู้เรียนเป็นแกน และการ สอนที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม เป็นต้น แต่ปัจจุบันใช้คาว่า “การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการนาสู่การปฏิบัติได้ ในบทนี้จะนาเสนอถึงความหมาย ความสาคัญ องค์ประกอบ หลักการสาคัญ ตัวบ่งชี้ บทบาทครู บทบาทผู้เรียน เทคนิค การบูรณาการและการวัด และประเมินผล ของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกับการจัดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ได้กาหนดว่า “การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญ ที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม ศักยภาพ” ดังนั้น “การจัดการศึกษาที่ถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด” จึงถือเป็นบทบาทหน้าที่ของทุกคนที่จัด การศึกษา ทั้งผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่จะต้องเอาใจใส่และให้ ความสาคัญกับผู้เรียน ปฏิบัติภารกิจหน้าที่โดยคานึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับตัวผู้เรียนเป็นหลักตาม อานาจความรับผิดชอบของตนที่มีการเรียนการสอน ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ซึ่งเป็น หน้าที่ของครู จึงต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
  • 2. 73 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นกระบวนการที่พัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมของผู้เรียนให้เจริญงอกงาม โดยการสร้างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมรู้ร่วมคิด ร่วมกระทา ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ตามความต้องการ ตามความสนใจและเต็มตาม ศักยภาพของผู้เรียนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (student centered) ยังมีชื่อเรียกที่ ต่างออกไปอีก เช่น การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบผู้เรียนเป็นแกน และ การสอนที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม เป็นต้น แต่ปัจจุบันใช้คาว่า “การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ” ในการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545 และฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2553 ที่ว่าด้วยการจัดการเรียนรู้ ในหมวด 4 มีดังนี้ มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 23 การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตาม อัธยาศัย ต้องเน้นความสาคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความ เหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ 1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคมได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและ ประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน 3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญา และการประยุกต์ใช้ภูมิ ปัญญา 4. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง 5. ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมีความสุข มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดย คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • 3. 74 2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา 3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็น ทาเป็น รักการอ่านและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4. จัดการเรียนการสอนโดยการผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา 5. ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอานวยความ สะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียน เรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง วิทยาการประเภทต่างๆ 6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียนความ ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการ เรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษาให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่ หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นาผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมา ประกอบการพิจารณาด้วยคาว่า “ ผู้เรียนสาคัญที่สุด ” ซึ่งความสาคัญข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้เรียนมี ทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจึงเป็นการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผู้เรียนสาคัญที่สุด เป็นเป้าหมายที่จะนาผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ แต่ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนว่าสอนอย่างไรจึงจะทาให้ผู้เรียนได้คิดเอง ทาเอง กล่าวโดยสรุป เห็นได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กาหนดแนวทางการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างครอบคลุม ทั้งในส่วนของการจัดการศึกษาที่ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุดกระบวนการเรียนรู้ที่ควรเน้น ทั้งด้านความรู้ กระบวนการและคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา และการ ประเมินการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญนั่นเอง
  • 4. 75 ความหมายและความสาคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มุ่งเน้นความสาคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถคุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาคนให้มี ความสมดุล โดยยึดหลักผู้เรียนสาคัญที่สุด ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต้องหลักการนี้ไปดาเนินการ ปฏิบัติจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็น ทาเป็น ปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม มีผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญดังนี้ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542: 4) ได้สรุปไว้ว่า แนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเรียนเป็น สาคัญนั้น เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียน ได้คิดค้นสร้าง สรุปข้อความรู้ด้วยตนเอง สามารถทางานพร้อมกับผู้อื่น และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ ได้ ชนาธิป พรกุล (2552 : 8-9) สรุปไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดตามแนวแนวทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive Theories) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ภายในสมอง เกิดจากกระบวนการจัดกระทากับข้อมูล มีการบันทึกข้อมูลและดึงข้อมูลออกมาใช้ วิธี เรียนรู้มีผลต่อการจา การลืม การถ่ายโอน (Transfer) ความรู้ แรงจูงใจระหว่างการเรียนรู้มี ความสาคัญต่อการชี้นาความสนใจ มีอิทธิผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งแนวคิดนี้มีความเชื่อ ว่าความรู้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้งอกงามขึ้นได้เรื่อย ๆ โดยอาศัยการพัฒนาโครงสร้างความรู้ภายในบุคคล และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โครงสร้างของ ความรู้มีองค์ประกอบที่สาคัญ 3 ประการ คือ ความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่ ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้รับข้อมูล ความรู้ ความรู้สึกและประสบการณ์ และกระบวนการทางสติปัญญา เป็นกระบวนการทางสมองที่ ผู้เรียนใช้ทาความเข้าใจกับความรู้ใหม่ และใช้เชื่อมโยงปรับความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ดังนั้นครูที่จัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ จึงมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ สรุปว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมเรียนที่ผู้เรียนลง มือกระทากิจกรรม ตามความสนใจเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้การ ช่วยเหลือแนะนาของครูผู้สอน
  • 5. 76 หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ มีดังนี้ กรมวิชาการ (2543 : 1) ได้กล่าวถึง หลักในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ไว้ดังนี้ 1. ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการแสวงหาข้อมูล ศึกษาทาความเข้าใจคิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สร้างความหมายแก่ตน สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปความรู้ 2. ให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด 3. ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิด และประสบการณ์แก่กันและกันมากที่สุดเท่าที่จะทาได้ 4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ “กระบวนการ” ควบคู่ไปกับ “ผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้” 5. ให้ผู้เรียนนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542: 6 – 7) ได้กล่าวถึง หลักการพื้นฐานของแนวคิดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง ดังนี้ 1. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ บทบาทของครูคือ ผู้สนับสนุน และเป็นแหล่งความรู้ของผู้เรียนผู้เรียนจะรับผิดชอบตั้งแต่เลือกและวางแผนสิ่งที่ตนจะ เรียน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือก และจะเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการศึกษาค้นคว้า รับผิดชอบการเรียนตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. เนื้อหาวิชามีความสาคัญและมีความหมายต่อการเรียนรู้ในการออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ ปัจจัยสาคัญที่ต้องนามาพิจารณาประกอบด้วยเนื้อหาวิชา ประสบการณ์เดิม และความ ต้องการของผู้เรียน การเรียนรู้ที่สาคัญและมีความหมายจึงขึ้นอยู่กับ สิ่งที่สอน (เนื้อหา) และวิธีที่ใช้ สอน(เทคนิคการสอน) 3. การเรียนรู้จะประสบผลสาเร็จหากผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนผู้เรียนจะ ได้รับความสนุกสนานจากการเรียน หากได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ได้ทางานร่วมกับเพื่อนๆ ได้ ค้นพบข้อคาถามและคาตอบใหม่ๆ สิ่งใหม่ ประเด็นที่ท้าทายและความสามารถในเรื่องใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการบรรลุผลสาเร็จของงานที่พวกเขาริเริ่มด้วยตนเอง 4. สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มจะช่วยส่งเสริมความเจริญงอก งาม การพัฒนาความเป็นผู้ใหญ่ การปรับปรุงการทางาน และการจัดการกับชีวิตของแต่ละบุคคล สัมพันธภาพที่เท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งสาคัญที่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เรียน
  • 6. 77 5. ครูคือผู้อานวยความสะดวกและเป็นแหล่งความรู้ ในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูจะต้องมีความสามารถที่จะค้นพบความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนเป็นแหล่ง ความรู้ที่ทรงคุณค่า ของผู้เรียนและสามารถค้นคว้าหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สิ่งที่ สาคัญที่สุดคือ ความเต็มใจของครูที่จะช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข ครูจะให้ทุกอย่างแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะ เป็น ความเชี่ยวชาญ ความรู้ เจตคติ และการฝึกฝน โดยผู้เรียนมีอิสระที่จะรับหรือไม่รับการให้นั้นก็ได้ 6. มุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างออกไป ผู้เรียนจะมีความมั่นใจในตนเองและ ควบคุมตนเองได้มากขึ้น สามารถเป็นในสิ่งที่อยากเป็น มีวุฒิภาวะสูงขึ้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนให้ สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น 7. การศึกษา คือ การพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆ ด้านพร้อมกันไปการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผู้เรียนหลายๆด้านคุณลักษณะด้าน ความรู้ความคิด ด้านการปฏิบัติ และด้านอารมณ์ความรู้สึกจะได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน สรุปได้ว่า หลักการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และลงมือปฏิบัติด้วย ตนเอง เพื่อเกิดประสบการณ์จากการลงมือกระทา โดยครูเป็นผู้อานวยความสะดวกและกระตุ้นให้ ผู้เรียนเกิดความกล้าในการแสดงออก หากครูผู้สอนจัดกิจกรรมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มี ความหมายต่อผู้เรียนสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนได้ การจัดการเรียนการสอนของครูจะมี ลักษณะที่ผู้เรียนเป็นสาคัญ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542: 6 – 7) ได้กล่าวไว้ดังนี้ 1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และ อารมณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างทั่วถึง และมากที่สุด เท่าที่จะทาได้การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทาจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมและกระตือรือร้น ที่ จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา กิจกรรมที่จัดจึงควรเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้ 1.1 ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ เหมาะสมกับวัยและ ความสนใจของผู้เรียน 1.2 มีประเด็นท้าทายให้ผู้เรียนได้คิด เป็นประเด็นที่ไม่ยาก หรือง่ายเกินไป เหมาะสมกับ วัย และความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด หรือลงมือทาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 1.3 ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  • 7. 78 1.4 ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความ เป็นจริงของผู้เรียน 2. ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ที่สาคัญ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มได้พูดคุย ปรึกษา หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น และจะปรับตัวให้สามารถอยู่ใน สังคมร่วมกับผู้อื่นได้ 3. ยึดการค้นพบด้วยตนเองเป็นวิธีการสาคัญ โดยครูผู้สอนพยายามจัดการเรียนการสอนที่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาคาตอบด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการค้นพบความจริงใดๆ ด้วยตนเองนั้น ผู้เรียนมักจะจดจาได้ดี และมีความหมายโดยตรงต่อผู้เรียน รวมทั้งเกิดความคงทนของความรู้ 4. เน้นกระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน โดยการส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ถึงกระบวนการ ต่างๆ ที่ ทาให้เกิดผลงาน มิใช่มุ่งจะพิจารณาถึงผลงานแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะประสิทธิภาพ ของผลงานขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของกระบวนการ 5. เน้นการนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ หรือใช้ในชีวิตประจาวัน โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดหา แนวทางที่จะนาความรู้ความเข้าใจไปใช้ในชีวิตประจาวัน พยายามส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติจริงและ พยายามติดตามผลการปฏิบัติของผู้เรียน กล่าวโดยสรุป การออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา ทักษะกระบวนการ และเจตคติ อย่างมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ควบคู่ไปกับผลงานและสามารถนาความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ ตัวบ่งชี้การเรียนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ มีตัวบ่งชี้ที่จะใช้เป็นแนวทางในการประเมินได้ว่าได้ มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญหรือไม่ โดยประเมินจากผู้สอนเมื่อเขียนแผนการ สอนและเมื่อนาแผนการสอนไปใช้ในห้องเรียน และประเมินจากผู้เรียนจากพฤติกรรมการเรียนทั้งใน และนอกห้องเรียนตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญโดยพิจารณาทั้งครูและ ผู้เรียน ดังที่ ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (อ้าง ถึงใน คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้, 2543: 29-31) ได้กาหนดไว้ มีดังต่อไปนี้
  • 8. 79 ตัวบ่งชี้การเรียนของผู้เรียน 1. ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง 3. ผู้เรียนทากิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม 4. ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์จินตนาการ ตลอดจนได้แสดงออกอย่าง ชัดเจนและมีเหตุผล 5. ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นคว้าหาคาตอบ แก้ปัญหา ทั้งด้วยตนเองและร่วมด้วย ช่วยกัน 6. ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง 7. ผู้เรียนได้เลือกทากิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมี ความสุข 8. ผู้เรียนฝึกตนเองให้มีวินัย และมีความรับผิดชอบในการทางาน 9. ผู้เรียนฝึกประเมิน ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนสนใจใฝ่หาความรู้อย่าง ต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ของครู 1. ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ 2. ครูจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจ และเสริมแรง ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 3. ครูเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความเมตตาผู้เรียนอย่างทั่วถึง 4. ครูจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์ 5. ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทา และฝึกปรับปรุงตนเอง 6. ครูส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม พร้อมทั้งสังเกตส่วนดี และปรับปรุงส่วน ด้อยของผู้เรียน 7. ครูใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหา และการค้นพบความรู้ 8. ครูใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง 9. ครูฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย 10. ครูสังเกตและประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
  • 9. 80 บทบาทของครูและผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ผู้ ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน และเอื้ออานวยความ สะดวกต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และในส่วนของครู และผู้เรียน ที่อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ โดยตรง ควรต้องมีบทบาท ดังที่ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2541: 13-15) ได้กล่าวไว้ ดังนี้ บทบาทของครู เมื่อแนวโน้มของการเรียนการสอนเปลี่ยนไป บทบาทของผู้เรียนสาคัญเด่นชัดมากขึ้นบทบาท ของครูก็ต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม จากบทบาทที่สาคัญที่สุดในฐานะผู้บอกเล่าข้อความรู้ทั้งมวลแก่ ผู้เรียนมาเป็นผู้สนับสนุนจัดสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด บทบาทของครูจึง ควรประกอบด้วย 1. บทบาทด้านการเตรียมการ ประกอบด้วย 1.1 การเตรียมตนเอง ครูจะต้องเตรียมตนเองให้พร้อมสาหรับบทบาทของผู้เป็นแหล่ง ความรู้ (resource person) ซึ่งจะต้องให้คาอธิบาย คาแนะนา คาปรึกษา ให้ข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนแก่ ผู้เรียน รวมทั้งแหล่งความรู้ที่จะแนะนาให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลได้ ดังนั้น ครูจะต้องมีภาระ หนักเตรียมตนเองด้วยการอ่าน การค้นคว้า การทดลองปฏิบัติมากๆ ในหัวข้อเนื้อหาที่ตนรับผิดชอบ รวมทั้งข้อมูลและประสบการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน 1.2 การเตรียมแหล่งข้อมูล เมื่อบทบาทครูไม่ใช่ผู้บอกเล่ามวลความรู้อีกต่อไปครูจึงต้อง เตรียมแหล่งข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนทั้งในรูปแบบของสื่อการเรียน ใบความรู้ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ จะใช้ประกอบกิจกรรมในห้องเรียน หรือ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีข้อมูลความรู้ที่ผู้เรียนสามารถ เลือกศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ หรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศูนย์วิทยบริการศูนย์สื่อ ห้องสมุด ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องสมุดวิชา ห้องปฏิบัติการวิชาต่างๆ และห้องพิพิธภัณฑ์ในโรงเรียน ทั้งนี้รวมไป ถึงแหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนด้วย ซึ่งครูสามารถสารวจบัญชีรายชื่อหนังสืออุปกรณ์ หรือสื่อต่างๆ ไว้สาหรับผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตามที่กาหนดในกิจกรรมการเรียนหรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งในและ นอกเวลาเรียน 1.3 การเตรียมกิจกรรมการเรียน บทบาทของครูก่อนการเรียนการสอนทุกครั้ง คือ การ วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กาหนด ครูจะต้องวิเคราะห์จุดประสงค์ การเรียนรู้เพื่อให้ได้สาระสาคัญและเนื้อหาข้อความรู้อันจะนาไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนที่ เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ตามที่กาหนด โดยบทบาทในส่วนนี้ครูจะทาหน้าที่คล้ายผู้จัดการ (manager) ที่กาหนดบทบาทการเรียนรู้ และความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนให้เขาได้ทากิจกรรมตามความ ต้องการ ความสามารถ และความสนใจของแต่ละคน
  • 10. 81 1.4 การเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เมื่อออกแบบหรือกาหนดกิจกรรมการเรียนแล้วครูจะ ต้องพิจารณาและกาหนดว่าจะใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ใดเพื่อให้กิจกรรมการเรียนดังกล่าวบรรลุผลแล้ว จัดเตรียมให้พร้อม บทบาทของครูตรงนี้จึงเป็นผู้อานวยความสะดวก (facilitator) เพื่อให้การเรียนรู้ บรรลุผล 1.5 การเตรียมการวัดและประเมินผล บทบาทด้านการเตรียมการอีกประการหนึ่งคือการ เตรียมวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น โดยการวัดให้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้และวัดให้ ครอบคลุมทั้งในส่วนของกระบวนการ (process) และผลงาน (product) ที่เกิดขึ้นทั้งด้านพุทธิพิสัย (cognitive) จิตพิสัย (affective) และทักษะพิสัย (psychomotor) โดยเตรียมวิธีการวัดและเครื่องมือ วัดให้พร้อมก่อนทุกครั้ง 2. บทบาทด้านการดาเนินการ บทบาทด้านการดาเนินการเป็นบทบาทขณะผู้เรียนดาเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย 2.1 การเป็นผู้ช่วยเหลือให้คาแนะนาปรึกษา (helper and advisor) คอยให้คาตอบเมื่อ ผู้เรียนต้องการความช่วยเหลือ เช่น ให้ข้อมูลหรือความรู้ในเวลาที่ผู้เรียนต้องการเพื่อให้การเรียนรู้นั้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.2 การเป็นผู้สนับสนุนและเสริมแรง (supportor and encourager) ช่วยสนับสนุนหรือ กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 2.3 การเป็นผู้ร่วมทากิจกรรม (active participant)โดยเข้าร่วมทากิจกรรมในกลุ่มผู้เรียน พร้อมทั้งให้ความคิด และความเห็นหรือช่วยเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เรียนขณะทากิจกรรม 2.4 การเป็นผู้คอยติดตามตรวจสอบ (monitor) ตรวจสอบผลการทางานตามกิจกรรม ของผู้เรียน เพื่อให้ถูกต้องชัดเจนและสมบูรณ์ก่อนให้ผู้เรียนสรุปเป็นข้อความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ 2.5 การเป็นผู้สร้างเสริมบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร โดยการสนับสนุนเสริมแรง และ กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมทางานกับกลุ่ม แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยเต็มที่ ยอมรับฟังความ คิดเห็นซึ่งกันและกัน และอภิปรายโต้แย้งด้วยท่วงท่านุ่มนวล ให้เกียรติกันอย่างเป็นมิตร โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อให้เป้าหมายของกลุ่มบรรลุความสาเร็จ 3. บทบาทด้านการประเมินผล เป็นบทบาทที่ครูผู้สอนต้องดาเนินการเพื่อตรวจสอบว่าสามารถจัดการเรียนการสอน บรรลุผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กาหนดไว้หรือไม่ ทั้งนี้ ครูควรเตรียมเครื่องมือและวิธีการให้ พร้อมก่อนถึงขั้นตอนการวัดและประเมินผลทุกครั้ง และการวัดควรให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยเน้นการ วัดจากสภาพจริง (authentic measurement) จากการปฏิบัติ (performance) และจากแฟ้มสะสม
  • 11. 82 ผลงาน (portfolio) ซึ่งในการวัดและประเมินผลนี้นอกจากครูจะเป็นผู้วัดและประเมินผลเองแล้ว ผู้เรียนและสมาชิกของแต่ละกลุ่มควรจะมีบทบาทร่วมวัดและประเมินตนเองและกลุ่มด้วย บทบาทของผู้เรียน ผู้เรียน คือหัวใจของการเรียนรู้ผู้เรียนจึงเป็นบุคคลที่มีบทบาทสาคัญในการเรียนรู้ การสร้าง ทักษะและคุณลักษณะต่างๆ ที่พึงประสงค์ตามที่กาหนดด้วยตนเอง บทบาทผู้เรียนจึงประกอบด้วย 1. บทบาทด้านการเตรียมตนเอง ผู้เรียนต้องเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะรับความรู้ฝึกฝนทักษะที่จาเป็นและสร้างเสริม คุณลักษณะที่ดีงามให้เกิดขึ้น ผู้เรียนจะต้องใฝ่รู้ ใฝ่เรียน กระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้จากแหล่ง ต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยการฝึกทักษะพื้นฐานซึ่งเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้แก่ ทักษะ การฟัง พูด อ่าน และเขียนให้คล่องแคล่ว สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าได้เต็มที่ เพื่อ การพัฒนาตนเองไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์นั่นคือ การเป็น“บุคคลแห่งการเรียนรู้” (learning person) นั่นเอง 2. บทบาทด้านการดาเนินการ เป็นบทบาทที่ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 1) การสร้างและค้นพบข้อความรู้ด้วยตนเอง 2) การมีประสบการณ์ตรงที่สัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) การได้ค้น คิด ทา และแสดงออกในการแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ผลงาน 4) การมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนและกลุ่ม 5) การเรียนรู้อย่างมีวิธีการมีกระบวนการ 6) การมีผลงานการเรียนรู้ 7) การมีวินัยและความรับผิดชอบในการเรียนและการปฏิบัติงาน 3. บทบาทด้านการประเมินผล เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนควรได้มีส่วนร่วมในการประเมินตนเองเพื่อน และกลุ่ม ทั้งด้านการปฏิบัติและผลงาน รวมทั้งยอมรับการประเมินของผู้อื่นและพร้อมที่จะนาผลการ ประเมินไปปรับปรุงพัฒนาตนเองต่อไปจะเห็นว่าในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้อานวยความสะดวก เตรียมกิจกรรม การเรียนรู้ เตรียมแหล่งข้อมูลสาหรับผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า เตรียมสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้รวมทั้งเตรียมการวัดและประเมินผล ซึ่งครอบคลุมทั้งการวัดกระบวนการและ ผลงาน ส่วนผู้เรียนก็จะต้องร่วมกิจกรรม ลงมือปฏิบัติ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง
  • 12. 83 สรุปได้ว่า ผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้ที่มีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ทั้ง ด้านการเตรียมการ การดาเนินการเรียนการสอน และการประเมินผล โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้ที่ลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนของผู้สอน เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การเรียนรู้ความคิดรวบยอดหรือมโนมติ (Concept) เป็นจุดมุ่งหมายที่สาคัญประการหนึ่ง ของการศึกษาในปัจจุบัน ทุกศาสตร์ ทุกแขนง ล้วนมีจุดมุ่งหมายนี้รวมอยู่ คือมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้และ เกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนได้ การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด อาจเริ่มจากเรียนรู้ ข้อเท็จจริง (fact) คือ ข้อมูล ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น “แบคทีเรียที่ใช้กาจัดคราบน้ามันจะมีอายุ อยู่ได้ประมาณ 10 วัน” แต่ข้อเท็จจริงนี้ถ้ากล่าวในข้อความหนึ่งที่ดูคล้ายกัน เช่น “แบคทีเรียมี ประสิทธิภาพในการกาจัดคราบน้ามันได้เร็วกว่ายิสต์และรา” จะเป็นความคิดรวบยอดเพราะเป็น ความรู้ที่นามาสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการกาจัดคราบน้ามัน โดยอาศัยข้อเท็จจริงหลายๆ อย่าง นามา เปรียบเทียบกันจนสรุปได้ ดังนั้นการผู้ที่จะเกิดความคิดรวบยอดได้ต้องอาศัยความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง หลายๆอย่างมาประกอบกัน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ให้เกิดสัมฤทธิผลได้อย่างไรนั้น เทคนิคการจัดการ เรียนรู้ ที่จะช่วยเสริมกระบวนการ ขั้นตอน หรือการกระทาใดๆ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การจัดการเรียนรู้มีคุณภาพมากขึ้น ในที่นี้จะนาเสนอ เทคนิคการสอนที่ช่วยพัฒนาความคิดรวบยอด ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญสาหรับส่งเสริมการเรียนรู้สาหรับ ผู้เรียนให้เกิดความคิดรวบยอด 1. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก กราฟิก (Graphic) เป็นแนวทางสาหรับจัดระบบความคิดที่เขียนออกมาเป็นเส้นหรือ รูปภาพและเป็นเครื่องมือช่วยในการคิด การเรียนรู้ กราฟิกมีหลายชื่อ ได้แก่ mind mapping และ conceptmapping ซึ่งกราฟิกทั้ง 2 อย่างมีความเหมือนกันคือ ความคิดหลัก จะแผ่รัศมีออกจากตรง กลางและมีโครงสร้างแบบต้นไม้ ในส่วนที่แตกต่างกัน คือ mind maps จะแยกหัวข้อ แต่ concept maps จะอยู่พื้นฐานบนความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อ (Connection on makes between node) แต่ กราฟิกทั้ง 2 แบบส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และสร้างศักยภาพด้านความจา การหยั่งรู้ กราฟิกสามารถใช้ระดมความคิดในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน การนาเสนองานของบุคคล หรือของกลุ่มใช้ ในการทบทวนในตอนท้ายหน่วยของการเรียน การอ่าน การฝึกทักษะ การคิดในการทากิจกรรม Annette (2003)
  • 13. 84 ทิศนา แขมมณี (2550) กล่าวว่า ผังกราฟิก เป็นแผนผังทางความคิด ประกอบด้วยความคิด หรือข้อมูลที่สาคัญๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูปแบบต่างๆ ทาให้เห็นโครงสร้างของความรู้หรือเนื้อหาสาระ นั้นๆ ผังกราฟิก หมายถึงเครื่องมือที่หรือแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของความคิดหรือ เนื้อหา ที่ทาให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ศึกษาได้ชัดเจน 1.1 ทฤษฎี การทาผังกราฟิกมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ของออซูเบล การให้ผู้เรียนทา ผังกราฟิกจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างความรู้ กระบวนการของการเรียนรู้ นอกจากนี้ Jones et al. (1989) และ Joyce et al. (1992) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก โดยใช้กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จาก องค์ประกอบสาคัญ 3 ส่วนด้วยกันได้แก่ ความจาข้อมูล กระบวนการทางปัญญา และเมตาคอกนิชั่น (Meta cognition) ความจาข้อมูลประกอบด้วย ความจาจากการรู้สึกสัมผัส ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้เพียง ประมาณ 1 วินาทีเท่านั้น ความจาระยะสั้น ความจาปฏิบัติการเป็นความจาที่เกิดขึ้นหลังจากการ ตีความสิ่งเร้าที่รับรู้มาแล้ว จะเก็บข้อมูลไว้ได้ชั่วคราวประมาณ 20 วินาที และทาหน้าที่ในการคิด ส่วน ความจาระยะยาวเป็นความจาที่มีความคงทน มีขนาดความจุไม่จากัดสามารถคงอยู่เป็นเวลานาน เมื่อ ต้องการใช้จะสามารถเรียกคืนได้ สิ่งที่อยู่ในความจาระยะยาวมี 2 ลักษณะคือ ความจาเหตุการณ์ และ การจาความหมาย เกี่ยวกับข้อเท็จจริง มโนทัศน์ กฎ หลักการ ต่างๆ องค์ประกอบด้านความจาข้อมูล นี้ จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับกระบวนการ ทางปัญญาของบุคคล ประกอบด้วยสิ่ง ต่อไปนี้ ก. การใส่ใจ (Attention) หากบุคคลมีความใสใจในข้อมูลที่รับเข้ามาทางการสัมผัสข้อมูลนั้น ก็จะถูกนาเข้าไปสู่ความจาระยะสั้น หากไม่ได้รับการใส่ใจ ข้อมูลนั้นก็จะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว ข. การรับรู้ (Perception) เมื่อบุคคลใส่ใจในข้อมูลใดที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัสบุคคลก็ จะรับรู้ข้อมูลนั้น และนาข้อมูลนี้เข้าสู่ความจาระยะสั้นต่อไป ข้อมูลที่รับรู้นี้ จะเป็นความจริงตามการ รับรู้ (Perceived Reality) ของบุคคลนั้น อาจไม่ใช่ความจริงเชิงปรนัย(Objective Reality) เนื่องจากเป็นความจริงที่ผ่านการตีความจากบุคคลนั้นมาแล้ว ค. การทาซ้า (Rehearsal) หากบุคคลมีกระบวนการรักษาข้อมูล โดยการทบทวนซ้าแล้วซ้า อีก ข้อมูลนั้นก็จะยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในความจาปฏิบัติการ ง. การเข้ารหัส (Encoding) หากบุคคลมีกระบวนการสร้างตัวแทนทางความคิดเกี่ยวกับ ข้อมูลนั้น โดยมีการนาข้อมูลนั้นเข้าสู่ความจาระยะยาวและเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่มีอยู่แล้วในความจา ระยะยาว การเรียนรู้อย่างมีความหมายก็จะเกิดขึ้น
  • 14. 85 จ. การเรียกคืน (Retrieval) การเรียกคืนข้อมูลที่จาไว้ในความจาระยะยาวเพื่อนาออกมาใช้ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเข้ารหัส หากการเข้ารหัสทาให้เกิดการเก็บจาได้ดีมีประสิทธิภาพ การเรียกคืนจะมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ในที่นี้ผังกราฟิกที่นาเสนอมี 5 ชนิดดังนี้ คือ 1) Spider map แผนผังแมงมุมใช้อธิบายความคิดที่สาคัญ และกระบวนการความคิดรวบ ยอดหรือสิ่งที่นามาสนับสนุน คาถามที่นามาใช้ได้แก่ อะไรคือความคิดหลัก อะไรเป็นส่วนประกอบ อะไรเป็นหน้าที่ ดังตัวอย่างของหลักการสอนของเรื่องไตรสิกขาดังภาพที่ 4.1 ภาพที่ 4.1 หลักการสอนเรื่องไตรสิกขา
  • 15. 86 2) Fishbone map แผนที่ก้างปลา ใช้แสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ที่ซับซ้อน หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ซับซ้อน กรอบคาถามที่ใช้ เหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตัวอย่าง ของนาท่วมดังภาพที่ 4.2 ภาพที่ 4.2 แผนที่ก้างปลาเกี่ยวกับสาเหตุน้าท่วม 3) Concept mapping แผนผังความคิดรวบยอด เป็นแผนผังที่ใช้เขียนความคิด ที่สาคัญ และเชื่อมโยงความคิดเหล่านั้น กรอบของคาถามที่นามาใช้ได้แก่ อะไรเป็นความคิดหลัก ดังตัวอย่าง ภาพที่ 4.3 ความคิดรวบยอดของครอบครัว
  • 17. 88 4) Venn Diagram เป็นแผนผังที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างของ 2 สิ่ง เช่น ประชาชน สถานที่ สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ ความคิด ซึ่งใช้คุณลักษณะ ความแตกต่างใส่ไว้ด้านซ้ายและขวา ส่วนคุณลักษณะที่เหมือนกันใส่ไว้ในส่วนที่ซ้อนกันดังตัวอย่าง ของเต่ากับกระต่าย ดังภาพที่ 4.4 ภาพที่ 4.4 ไดอะแกรมของเต่าและกระต่าย
  • 18. 89 5) T-Chart ใช้เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของ 2 สิ่ง โดยใส่ไว้ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา กรอบของคาถามที่นามาใช้ได้แก่ อะไรเป็นสิ่งนามาเปรียบเทียบ สิ่งนั้นมี ความเหมือนกันอย่างไร สิ่งนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ดังตัวอย่าง ความแตกต่างของพืชใบเลี้ยง คู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวดังภาพที่ 4.5 ภาพที่ 4.5 ความแตกต่างของพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว การเรียนรู้จึงเป็นการสร้างความรู้ของบุคคลที่ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การเลือกรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน (Selecting Relevant Information) 2) การจัดระเบียบข้อมูลเข้าสู่โครงสร้าง (Coherent Structure) 3) การบูรณาการข้อมูลเดิม (Integrating) 4) การเข้ารหัส (Encoding) ข้อมูลการเรียนรู้ เพื่อให้คงอยู่ในความจาระยะยาว และสามารถเรียกคืนมาใช้ได้โดยง่าย การให้ผู้เรียนมีโอกาสเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับโครงสร้าง ความรู้เดิม และนาความรู้ความเข้าใจมาเข้ารหัสหรือสร้างตัวแทนทางความคิดที่มีความหมายต่อ ตนเอง จะทาให้การเรียนรู้นั้นคงอยู่ในความจาระยะยาวและสามารถเรียกคืนมาใช้ได้ 1.2 กระบวนการเรียนการสอน รูปแบบการเรียนการสอนได้เสนอผังกราฟิกไว้ 2 รูปแบบ ดังนี้ ก. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ Jones, Pierce, and Hunter (1989) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สาคัญๆ 5 ขั้นตอนด้วยกันดังนี้ 1) ผู้สอนเสนอตัวอย่างการจัดข้อมูลด้วยผังกราฟิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ 2) ผู้สอนแสดงวิธีการสร้างผังกราฟิก
  • 19. 90 3) ผู้สอนชี้แจงเหตุผลของการใช้ผังกราฟิกและอธิบายวิธีการใช้ 4) ผู้เรียนฝึกการสร้างและใช้ผังกราฟิกในการทาความเข้าใจเนื้อหาเป็นรายบุคคล 5) ผู้เรียนเข้ากลุ่มและนาเสนอผังกราฟิกของตนแลกเปลี่ยนกัน ข. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ Joyce, Weil, and Showers. (1992) เสนอรูปแบบการเรียนการสอนเป็น 8 ขั้น ดังนี้ 1) ชี้แจงจุดมุ่งหมายของบทเรียน 2) ผู้สอนนาเสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา 3) ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมเพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ 4) ผู้สอนเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 5) ผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่เรียนกับผังกราฟิก และให้ผู้เรียนนาเนื้อหาสาระใส่ลงในผัง กราฟิกตามความเข้าใจของตน 6) ผู้สอนให้ความรู้เชิงกระบวนการโดยชี้แจงเหตุผลในการใช้ผังกราฟิก และวิธีใช้ผังกราฟิก 7) ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลการใช้ผังกราฟิกกับเนื้อหา 8) ผู้สอนซักถาม ปรับความเข้าใจ และขยายความจนผู้เรียนเกิด สรุปการเรียนรู้โดยใช้กราฟิก (Graphic Organizer) หมายถึงการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน เชื่อมโยงความรู้ที่เรียนมาแล้วเขียนในผังกราฟิกอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี ความหมาย ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการใช้ผังกราฟิกในการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ที่เรียน และจดจาสิ่งที่เรียนรู้ได้ดี นอกจากนี้ ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่นๆ ได้ 2. เทคนิค Deductive เทคนิค Deductive หรือ เทคนิคนิรนัย เป็นวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจาก ทฤษฎี กฎ หรือหลักการต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนหาหลักฐานหรือเหตุผลมาพิสูจน์ ยืนยันวิธีสอนแบบนี้ช่วยฝึกให้ ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงเสียก่อน ลักษณะการสอนความคิดรวบยอดแบบ Deductive 1. กาหนดความคิดรวบยอดที่จะสอน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบ 2. อธิบายความหมายของความคิดรวบยอดนี้ 3. ให้ผู้เรียนดูและคัดเลือกสิ่งที่เป็นตัวอย่างและที่ไม่ใช่ตัวอย่างของความคิดรวบยอดนี้ 4. ให้ผู้เรียนเสนอตัวอย่างใหม่เพิ่มเติมที่เป็นตัวอย่างของความคิดรวบยอดนี้
  • 20. 91 5. ให้ผู้เรียนสรุป อธิบาย อีกครั้งหนึ่งว่าความคิดรวบยอดนี้เป็นอย่างไร การนาเทคนิค Deductive ไปใช้มีข้อดีและข้อจากัด ดังนี้ ข้อดี 1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก 2. เหมาะที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่าย ๆ หรือสอนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพราะ สามารถอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ดี 3. ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง 4. เป็นวิธีสอนที่เอื้ออานวยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนาการเรียนรู้ ของตนได้โดยไม่ต้องรอผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า ข้อจากัด 1. ใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้ 2. เป็นการสอนที่ผู้เรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง เพราะผู้สอน กาหนด ความคิดรวบยอดให้ 3. ผู้สอนต้องเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ หรือปัญหาที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้ฝึกทา และ ต้องอาศัยความสามารถของผู้สอนในการนาเสนอ ทฤษฎี กฎ นิยามหรือข้อสรุปต่าง ๆ 4. ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า อาจตามไม่ทันเพื่อนและอาจเกิดปัญหาในการเรียนรู้ได้ การนาเทคนิค Deductive ไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้ 1. การเตรียมการ ผู้สอนต้องทาความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฎ นิยาม หรือข้อสรุปที่ ต้องการสอนอย่างชัดเจน และต้องเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ การแก้ปัญหาที่ผู้เรียนสามารถนา ทฤษฎี หลักการ กฎ นิยามหรือข้อสรุป ไปใช้ให้เกิดผลสาเร็จ ตัวอย่างควรเป็นสถนการณ์ที่มีความ หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจที่ชัดเจน 2. เป็นการนาเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกใช้ความรู้ เมื่อเห็นว่าผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ในทฤษฎี กฎ นิยามหรือข้อสรุปพอสมควรแล้ว ผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนเกิดการนาความรู้ไป ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่มีลักษณะตรงตามสภาพจริงในชีวิตของผู้เรียน และควรมีความ หลากหลายพอสมควร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น 3. เทคนิค Inductive เทคนิค Inductive หรือเทคนิคอุปนัย เป็น เทคนิคการเรียนรู้ที่เริ่มจากการศึกษา รายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ หรือส่วนร่วม เป็นการสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยให้ผู้เรียนทาการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบแล้ว พิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนาไปสู่ข้อสรุป ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อนาไปสู่การค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สาคัญ ๆ
  • 21. 92 ด้วยตัวเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมายและสร้างความสัมพันธ์ของความคิด ต่าง ๆ อย่างชัดเจน ตลอดจนรู้จักกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักทาการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ลักษณะการสอนความคิดรวบยอดแบบ Inductive 1. ไม่บอกความคิดรวบยอดและอธิบายความหมายของความคิดรวบยอดนั้นแก่ผู้เรียนก่อน 2. ให้ผู้เรียนดูตัวอย่าง แล้วให้คัดเลือกว่าตัวอย่างเหล่านี้มีอะไรอยู่ในกลุ่มเดียวกันได้และ อะไรที่ไม่เข้ากลุ่มกัน 3. ให้ผู้เรียนสังเกตลักษณะที่มีอยู่ร่วมกันในตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนั้น 4. ให้ผู้เรียนคิดตั้งชื่อคาหรือกลุ่มคาจากตัวอย่างเหล่านั้น 5. ให้ผู้เรียนสรุป อธิบาย ความหมายของคาหรือกลุ่มคาที่ตั้งขึ้นว่ามีความหมายอย่างไร การนาเทคนิค Inductive ไปใช้มีข้อดีและข้อจากัด ดังนี้ ข้อดี 1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยทาให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างชัดเจนและจาได้นาน 2. ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ ตามหลักตรรกศาสตร์และหลักวิทยาศาสตร์ 3. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาและรู้จักวิธีการทางานที่ถูกต้องสามารถนาไป ประยุกต์ใช้ได้ต่อไป ข้อจากัด 1. เป็นวิธีสอนที่ค่อนข้างใช้เวลามาก 2. ไม่เหมาะสมที่จะสอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ 3. ผู้สอนต้องเข้าใจเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน เพราะ ผู้สอนต้องจัดเตรียมตัวอย่างที่ครอบคลุมลักษณะสาคัญ ๆ ของกฎเกณฑ์ นิยาม หลักการ หรือ สูตรที่เรียน การนาเทคนิค Inductive ไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรคานึงถึงข้อต่อไปนี้ 1. การเตรียมตัวอย่าง ผู้สอนจาเป็นต้องเตรียมตัวอย่างของข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ปรากฏการณ์ ความคิด ทีมีหลักการของแนวคิด ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แฝงอยู่ โดยตัวอย่างที่ให้ควรประกอบด้วยลักษณะหรือคุณสมบัติย่อย ๆ ที่ครอบคลุม หลักการของแนวคิด นั้น เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ว่า “ดอกสมบูรณ์คืออะไร” ตัวอย่างที่ให้ก็ควรครอบคลุม คุณสมบัติย่อยของดอกสมบูรณ์ ผู้สอนอาจจาเป็นต้องสอนมโนทัศน์และหลักการต่าง ๆ ที่จะช่วย ให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในการทาความเข้าใจกับตัวอย่างที่ผู้สอนเตรียมให้ นอกจากนั้น ตัวอย่างที่ให้ ควรจะเป็นตัวอย่าที่น่าสนใจและท้าทายความคิด ความสามารถของผู้เรียนด้วย