SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
177
บทที่ 9
สารสนเทศท้องถิ่นกับการพัฒนา
สารสนเทศท้องถิ่นเป็นข้อมูลพื้นฐานสาคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นและ
การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติ และยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติและยุทธศาสตร์หลัก รวมถึงการนา
สารสนเทศท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจในการสร้างอาชีพสร้าง
รายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชน โดยการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สารสนเทศท้องถิ่นกับการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
สารสนเทศท้องถิ่นเป็นข้อมูลสาคัญในการสร้างสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นสังคมที่ใช้
ความรู้ในการผลิตเพื่อสร้างรายได้ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากองค์ความรู้ของท้องถิ่นและการนาความรู้ท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ใน
การวางแผนพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ การพัฒนาความรู้หรือสารสนเทศ
ท้องถิ่นจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทาให้เข้าใจสภาพและปัญหาของชุมชน เพื่อจะนาไปสู่การวางแผน
พัฒนาศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นเพื่อการวางแผนและพัฒนาประเทศ ดังนั้น ความสาคัญของการ
พัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาระบบฐานความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม การพัฒนา
คน และการพัฒนาเศรษฐกิจ (ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ และน้าทิพย์ วิภาวิน. 2554 : 15-6-15-7)
ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาระบบฐานความรู้
การพัฒนาระบบฐานความรู้มุ่งสู่การพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ การพัฒนาระบบ
ฐานข้อมูลชุมชนโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้
ที่นามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) องค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นในรูปสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บภาษีเงินได้อิเล็กทรอนิกส์ (e-revenue) การค้าอิเล็กทรอนิกส์
(e-commerce) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) เป็นต้น ทาให้การใช้สารสนเทศมีบทบาท
178
ความสาคัญยิ่งขึ้น และการพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสาคัญสาหรับการประมวลผล การเก็บรักษา การถ่ายโอน และการสื่อสาร
ข้อมูล การปฏิวัติเทคโนโลยีด้านข้อมูลและสื่อสารทาให้การเข้าถึง การถ่ายโอน และการผลิตข้อมูล
เป็นไปได้ อย่างไรก็ดีการพัฒนาองค์ความรู้ของทุกท้องถิ่นเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่
สูงในการผลิต เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงและนาไปใช้ประโยชน์ได้
2. ด้านการพัฒนาคน
คนหรือทรัพยากรมนุษย์ คือ ทุนทรัพย์ทางปัญญา (Intellectual capital) ซึ่งหาก
รู้จักใช้และพัฒนาอย่างเหมาะสมจะเกิดมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ชุมชน และประเทศนั้น ๆ ได้อย่างไม่
มีที่สิ้นสุด เนื่องจากสารสนเทศท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของชีวิต สังคม และ
สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งสืบทอดต่อกันมาเป็นวัฒนธรรม สารสนเทศท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ
และกลไกสาคัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์ความคิดและแบบแผนความประพฤติ (พรสวรรค์
สุวัณณศรีย์. 2553 : 154) โดยมีรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนให้มีส่วนรวมในกระบวนการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาทิ การดาเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข
การพัฒนาคนมีความสัมพันธ์กับระบบการศึกษาที่ต้องเป็นการสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เนื่องจากคนเป็นทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต ที่ต้องมีการฝึกอบรมเพิ่ม ความรู้ ทักษะ
ประสบการณ์เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตโดยใช้ต้นทุนต่า เป็นการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
สูงสุด สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะต้องขับเคลื่อนด้วยระบบการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย
ระดับประถมศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ ดังนั้น การศึกษาและพัฒนาคนในชาติจึงเป็นการ
วางรากฐานที่สาคัญยิ่งของการพัฒนาประเทศ อีกทั้งการผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการ
ของตลาดแรงงาน จึงเป็นประเด็นที่ต้องสร้างและพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร ภาคี
หุ้นส่วน การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในการจัดทา
ฐานข้อมูล สาหรับกาหนดแผน นโยบาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาคนที่มีประสิทธิภาพ ให้เกิด
ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติ ที่นาไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
3. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การจัดทาแผนพัฒนาชุมชน และการพัฒนาธุรกิจ
ชุมชน เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทาให้
179
รูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการเน้นความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ความจาเป็นในการจัดการ
สารสนเทศท้องถิ่นในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และธุรกิจชุมชน ให้อยู่ในกระแสความต้องการที่สร้างรายได้และ
พัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชน
ดังนั้น สารสนเทศกับการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นการมุ่งพัฒนาระบบ
ฐานความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม การพัฒนาคน และการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสามารถเป็นแรง
ขับเคลื่อนในแข่งขันและพัฒนาอย่างยั่งยืน
สารสนเทศท้องถิ่นกับแผนการพัฒนาประเทศ
แผนการพัฒนาประเทศ เป็นเครื่องมือในการใช้ทรัพยากรของสังคม และเป็นทิศทางหรือ
เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งการจัดทาแผนการพัฒนาประเทศ ในบทนี้จะขอกล่าวเฉพาะ
แผนพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติและ
ยุทธศาสตร์หลัก มีรายละเอียดดังนี้
1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 -2559)
ประเด็นเนื้อหาสาระสาคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
ได้ประมวลไว้ในวิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 วัตถุประสงค์ 4 เปูาหมายหลัก และ 7 ยุทธศาสตร์ ตาม
การศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทย (สานัก
นายกรัฐมนตรี. 2554 : 18-24) ดังนี้คือ
1.1 วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่งคง เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการ
เปลี่ยนแปลง”
1.2 พันธกิจ 3 ประการ ได้แก่
1.2.1 การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ
1.2.2 การสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ สังคม
1.2.3 การสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤติการณ์
1.3 วัตถุประสงค์ 3 ประการ เพื่อให้
1.3.1 ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน
180
1.3.2 คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
1.3.2 พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข
1.4 เปูาหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่
1.4.1 เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล
1.4.2 ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
1.4.3 การมีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึง
1.4.4 สังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล
1.5 ยุทธศาสตร์ 7 ประการ ได้แก่
1.5.1 การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์
1.5.2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน
1.5.3 การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม
1.5.4 สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทร
1.5.5 การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1.5.6 การมีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร
1.5.7 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นองค์รวมที่แสดงถึงแนวทางนโยบายใน
การพัฒนาประเทศในระยะยาว จึงควรทาให้ประชาชนทุกคนเข้าใจ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ของ
รัฐและเอกชนที่จะพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน
2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555 -2559)
การศึกษามีความสาคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและ
การพัฒนาประเทศ การจัดทาแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีความ
รอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการ
แบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุก
ระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
181
การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยคานึงถึงการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการ
ดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความ
เข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และ
สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
2.1 วัตถุประสงค์ของแผน เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของ
แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ จึงกาหนดวัตถุประสงค์ของแผนที่สาคัญ 3 ประการ คือ
2.1.1 เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
2.1.2 เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2.1.3 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และ
สร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
2.2 แนวนโยบาย เปูาหมาย และกรอบการดาเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง
สามประการดังกล่าว ประกอบกับการคานึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้
ความรู้เป็นฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กาหนดแนวนโยบายในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้
2.2.1 วัตถุประสงค์ 1 พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลัก
ของการพัฒนาแนวนโยบาย
2.1.1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับการศึกษา
และประเภทการศึกษา
2.1.1.2 ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยม มีจิตสานึกและมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คานึงถึง
ประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข และรังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
2.1.1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจน
182
ตลอดชีวิตได้มีโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ หรือ
ทุพพลภาพ ยากจน อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลทุรกันดาร
2.1.1.4 ผลิตและพัฒนากาลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของ
ประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ
2.1.1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้ง
ระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
2.1.1.6 ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มี
คุณภาพและมาตรฐาน มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2.2.2 วัตถุประสงค์ 2 สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการ
เรียนรู้แนวนโยบาย
2.2.2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา
และสถาบันทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
2.2.2.2 ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ พลศึกษา
กีฬา ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
2.2.2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม
และทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนาผลการวิจัยไปใช้
ประโยชน์
2.2.3 วัตถุประสงค์ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนา
คน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2.2.3.1 การพัฒนาและนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนา
คุณภาพ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.2.3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเร่งรัดกระจายอานาจ
การบริหารและจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.2.3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม
และทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
2.2.3.4 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา
183
ตลอดจนบริหารจัดการ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2.3.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศด้านการศึกษา พัฒนาความ
เป็นสากลของการศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ
ประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการ
พึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
3. ยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติและยุทธศาสตร์หลัก
นาเสนอรายละเอียดการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ ดังแผนภาพที่ 9.1
184
นโยบายรัฐ
เปูาหมายการขับเคลื่อน
การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์นโยบาย
แผนงานระดับชาติ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วางแผนดาเนินงานตามนโยบาย
คณะกรรมการ
ระดับชาติ
ศูนย์กลางการจัดการ
สารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ
(National Local
Information Management
Center ZNLIMC)
ฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น
ฐานข้อมูล
ศึกษาธิการ สาธารณสุข วัฒนธรรม วิทย์-เทคโนสภาพัฒน์ฯ มหาดไทย เกษตร
คณะกรรมการ ภูมิภาค หน่วยงาน
เกี่ยวข้อง
หน่วยงาน
เกี่ยวข้อง
ฐานข้อมูล
จังหวัด
อาเภอ
ชุมชน
สถาบัน
อุดมศึกษา
โรงเรียน
กศน.
หน่วยงาน
เกี่ยวข้อง
พิพิธภัณฑ์
จดหมายเหตุ
หอสมุด
แห่งชาติ
185
ภาพที่ 9.1 ยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ
ที่มา : ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. 2554 : 8.
ยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์นโยบายการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นระดับชาติ
1. กาหนดนโยบายการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นระดับชาติ
ให้ชัดเจน ตลอดจนจัดหาทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการ
ปฏิบัติงานทั้งการสร้างความเข้าใจ
2. มีกฎหมายรองรับ
3. มีคณะกรรมการนโยบายการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
แห่งชาติ
4. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการ
สารสนเทศท้องถิ่น
1. สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกาหนดนโยบาย
การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นให้ชัดเจน โดยมี
คณะกรรมการเป็นผู้กาหนด
2. หน่วยงานที่ต้องมีบทบาทในการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
ประกอบด้วย กระทรวงที่เกี่ยวข้อง
2.1 กระทรวงมหาดไทย
2.2 กระทรวงศึกษาธิการ
2.2.1 สถาบันอุดมศึกษา
2.2.2 โรงเรียน
2.2.3 กรมการศึกษานอกโรงเรียน
2.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.3.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
สารสนเทศท้องถิ่น และฐานข้อมูลต่าง ๆ
2.4 กระทรวงสาธารณสุข
2.4.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
สารสนเทศท้องถิ่น และฐานข้อมูลต่าง ๆ
2.5 กระทรวงวัฒนธรรม
2.5.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
สารสนเทศท้องถิ่น และฐานข้อมูลต่าง ๆ
2.5.2 พิพิธภัณฑ์
2.5.3 จดหมายเหตุ
2.6 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.6.1 ฐานข้อมูล
2.6.2 ระบบฐานข้อมูล
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ยุทธศาสตร์ในการสร้างศูนย์กลาง
การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ
1. ระบบสารสนเทศท้องถิ่น
2. ฐานข้อมูลท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4
ยุทธศาสตร์การวางแนวทางการบริหารจัดการ
สารสนเทศท้องถิ่นระดับองค์กรและระดับบุคคล
1. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น
2. การจัดเก็บและการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
ท้องถิ่น
3. การอนุรักษ์ สงวน และรักษาสารสนเทศท้องถิ่น
4. การนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้
ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น และ
ทาฐานข้อมูล
5. การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น
186
ภาพที่ 9.2 ยุทธศาสตร์หลัก
ที่มา : ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. 2554 : 9.
ดังนั้น รัฐต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน แนวทางหรือมาตรการเชิงรุกเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือนาไปสู่การมีศูนย์กลางการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ และมีการฟื้นฟู
ที่มีอยู่ให้ดาเนินการต่อไปตรงตามเปูาหมายที่วางไว้ และมีการบริหารจัดการสารสนเทศท้องถิ่นอย่าง
เป็นระบบ การพัฒนา การจัดเก็บ การวิเคราะห์ การนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และบริการและ
การเผยแพร่ ตลอดจนอนุรักษ์และสงวนรักษาสารสนเทศท้องถิ่น อันนาไปสู่การจัดการสารสนเทศ
ท้องถิ่น การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน
สารสนเทศท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ความรู้เป็นตัวแปรสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีการใช้ความรู้ในการพัฒนาและ
แก้ปัญหาชุมชน เริ่มต้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนและเศรษฐกิจชุมชนในการจัดการธุรกิจ
ของชุมชนท้องถิ่นให้ดารงอยู่ในสังคมได้โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้และความเข้าใจใน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ความสามารถในการประยุกต์ภูมิปัญญาให้ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้าง
มูลค่าเพิ่มมีความสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ เนื่องจากความรู้และสารสนเทศท้องถิ่น
เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ เริ่มจากข้อมูลของแต่ละครอบครัวหรือแต่ละบ้าน หมู่บ้าน
ตาบล อาเภอ จังหวัด สถานภาพของครอบครัวในชุมชนท้องถิ่นในด้านสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต
และการประกอบอาชีพมีความจาเป็นต่อการวางแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับสภาพจริงของ
สังคม การพัฒนาระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นที่สามารถเชื่อมโยงกันตามมาตรฐานทั่วประเทศจะช่วยให้
ได้ข้อมูลที่จาเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มีความสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ดังนั้น การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นโดยการผลิตองค์ความรู้ เช่น องค์ความรู้ทางเกษตรกรรม องค์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ทางการแพทย์ องค์ความรู้ทางหัตถกรรม องค์ความรู้ทาง
โภชนาการ เป็นต้น การรวบรวมเพื่อปรับแต่งสารสนเทศและเผยแพร่ความรู้ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
จะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนท้องถิ่นนั้น ๆ มีความรักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์
ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย เช่นเดียวกับผลงานที่เป็นการแสดงออกด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ล้วนมีความสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นโดยอาศัยมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นต้นทุน
187
สาคัญของการพัฒนาประเทศ (ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ และน้าทิพย์ วิภาวิน. 2554 : 15-8-15-21)
ดังนี้
1. ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการทาให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา การปกครอง
และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หมายถึง การประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่
ครอบครัวในแต่ละชุมชนท้องถิ่น เป็นการสร้างธุรกิจชุมชนที่เน้นการสร้างงานในท้องถิ่นเป็นหลัก
โดยมีเปูาหมายเพื่อให้ทุกคนในท้องถิ่นอยู่ได้โดยมีหลักการดาเนินธุรกิจที่ชุมชนเป็นเจ้าของและเป็น
ผู้ดาเนินการ ความสาเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขึ้นอยู่กับความสามารถในการรวมตัว มีการ
ร่วมทุน ร่วมผลิตและดาเนินธุรกิจ ร่วมรับประโยชน์บนหลักการเศรษฐกิจพอเพียง สามารถกระจาย
สวัสดิการสู่คนในชุมชน สามารถขยายเครือข่ายเพื่อให้สามารถอยู่ในตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดไปโดย
มีองค์กรร่วมในการวิจัยและพัฒนาให้กับธุรกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมีความสัมพันธ์กับธุรกิจชุมชน หมายถึง ธุรกิจที่คนใน
ชุมชนลงทุนร่วมกันร่วมกันเป็นเจ้าของ ร่วมกันคิด ร่วมกันบริหารจัดการ และร่วมกันรับผิดชอบใน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดาเนินกิจกรรมนั้น ๆ หรือธุรกิจชุมชนเป็นการผลิตสินค้าและบริการเพื่อ
สร้างรายได้และการพึ่งตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมที่ดาเนินการโดยชุมชน ใช้ทุนของชุมชน ได้แก่ เงิน ทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา
ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม เป็นองค์กรที่รวมตัวด้วยความสมัครใจของประชาชนจานวน
หนึ่งเพื่อทาธุรกิจต่าง ๆ ในชุมชน
2. หลักการเศรษฐกิจพอเพียงและความสาคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงใน
ชุมชน
การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความ
พอเพียง โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเอง
ให้มีความพอกินพอใช้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทาง
188
เศรษฐกิจของประเทศได้ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเน้นถึงความพอเพียงซึ่งหมายถึง การ
บริโภคและการผลิตอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณและเหตุผลไม่ขัดสนแต่ไม่ฟุุมเฟือย
2.1 หลักการเศรษฐกิจพอเพียง (อภิชัย พันธเสน. 2549 : 52-53) มีหลักการสาคัญ
ดังนี้
2.1.1 หลักความสมดุล คือ การพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม มีความสมดุลระหว่าง
โลกาภิวัตน์ (Globalization) กับความเป็นท้องถิ่น (Localization) มีความสมดุลระหว่างภาค
เศรษฐกิจและการเงิน และสังคมมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโครงสร้างการผลิตที่สมดุล มีการผลิตที่
หลากหลายใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.1.2 หลักความยั่งยืน คือ ความพอเพียงอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน โดยเฉพาะ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภูมิคุ้มกันที่ดี ระบบเศรษฐกิจกับสังคมมีความยืดหยุ่นที่
สามารถก้าวทันและพร้อมรับต่อกระแสโลกาภิวัตน์ตลอดจนปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
มีการบริหารจัดการที่ดีซึ่งสามารถปูองกันและพร้อมรับวิกฤตได้
2.1.3 คุณภาพของคน ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจทางสายกลางได้ ต้องมีพื้นฐานจิตใจ
ที่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต มีไมตรี มีความเมตตาหวังดีต่อผู้อื่น มีความอดทน มีความเพียรใช้
สติปัญญาคิดอย่างรอบคอบ มีทักษะความรอบรู้อย่างเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ พัฒนาตนเอง
อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น การจัดเตรียมสารสนเทศท้องถิ่น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีความสาเร็จในการ
ดารงชีวิต เพื่อเป็นต้นแบบให้ครัวเรือนอื่น ๆ ได้เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
2.2 ความสาคัญของระบบเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองมีบทบาทในการพัฒนา ดังนี้
2.2.1 ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจอุตสาหกรรมบางประเภท
จาเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนประกอบจากหลาย ๆ แห่ง ธุรกิจชุมชนจึงเป็นแหล่งช่วยในการ
ผลิตส่วนประกอบเหล่านี้ และนาส่งให้ธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อผลิตเป็นสินค้าที่มีมาตรฐาน
2.2.2 สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ทาให้การกระจายอานาจทางเศรษฐกิจไปสู่
ชุมชน อัตราการว่างงานลดน้อยลงและมีการจ้างงานในท้องถิ่น ปัญหาการไม่มีงานทาลดน้อยลง ลด
ปัญหาสังคมที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศชาติ ถ้าธุรกิจชุมชนบรรลุเปูาหมาย สมาชิกในชุมชนมีรายได้
189
เพิ่มขึ้น ครอบครัวอบอุ่นเพราะไม่มีการย้ายถิ่นไปทางานที่อื่น ชุมชนมีความเข้มแข็ง ปัญหาอื่น ๆ จะ
ลดน้อยลง ช่วยให้สังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข
2.2.3 ก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาธุรกิจชุมชนทาให้เกิดการจ้างงานใน
ท้องถิ่นและให้มีโอกาสพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องพร้อมกันไปด้วย เพราะทุกคนมีส่วนเป็น
เจ้าของกิจการ จึงสามารถใช้กิจการที่มีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาฝีมือของตนเองตามความต้องการ
การเปิดโอกาสให้มีการประกอบการ สมาชิกมีความรู้ความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถ
แสวงหาประสบการณ์
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและปัจจัยแห่งความสาเร็จ
วัตถุประสงค์ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การเพิ่มรายได้ประชาชาติและ
รายได้ที่แท้จริงของบุคคล การยกระดับมาตรฐานการดาเนินชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น การกระจาย
ความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง การกระจายรายได้สู่ประชาชนอย่างยุติธรรม การจ้างงานเพิ่ม
อัตราสูง ปัญหาการว่างงานลดน้อยลง และการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
3.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
3.1.1 แผนระยะยาว เป็นแผนระยะยาวที่วางกรอบและทิศทางการดาเนิน
นโยบายอย่างกว้าง ๆ รวมทั้งมีการประมาณการรายการสาคัญ ๆ อย่างกว้าง ๆ อาทิ เปูาหมาย
ผลผลิตมวลรวม การใช้จ่ายในภาครัฐและเอกชน การบริโภคและการลงทุน รวมถึงการนาเข้าและ
ส่งออก สินค้าและบริการต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งแผนระยะยาวจะเป็นกรอบให้แก่แผนระยะกลาง
3.1.2 แผนระยะกลาง เป็นแผนระยะ 4-6 ปี ซึ่งเป็นแผนที่วางตามกรอบของ
แผนระยะยาว
3.1.3 แผนปรับปรุงประจาปี เป็นแผนที่จะต้องจัดทาขึ้นทุกปี หรือเรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่าแผนประจาปี เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ซึ่งสามารถทาให้การดาเนินการและผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามเปูาหมาย ดังนั้นแผนนี้จึงเป็นแผนที่ใช้ใน
การปรับให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในขณะนั้น และยังใช้ประกอบในการจัดทางบประมาณประจาปี
3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จของระบบเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ ปัจจัยภายใน และ
ปัจจัยภายนอก
3.2.1 ปัจจัยภายใน ได้แก่
190
3.2.1.1 ความมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์ร่วมในการก่อตั้งกลุ่ม สมาชิกที่
รวมกลุ่มดาเนินธุรกิจมีความมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์ร่วมกันที่จะทากิจกรรมของธุรกิจชุมชนเพื่อ
ประโยชน์ของตนเองและชุมชน
3.2.1.2 การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิต เป็นปัจจัยที่ทาให้ธุรกิจ
ชุมชนประสบความสาเร็จอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มมีทักษะในการผลิตเป็นพื้นฐานที่ถูก
ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา ทาให้ธุรกิจชุมชนราบรื่น และ
ประสบความสาเร็จได้
3.2.1.3 ความสามัคคี หรือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม
สมาชิกทุกคนเต็มใจให้ความร่วมมือร่วมใจกันทากิจกรรมของกลุ่มเต็มกาลังความสามารถ
คุณลักษณะของประธานกลุ่ม หรือผู้นากลุ่ม มีความตั้งใจจริงและเสียสละ อุทิศตนเพื่อกลุ่ม เป็นผู้
ประสานงานที่ดี เป็นผู้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารที่ดี
3.2.1.4 การสร้างจิตสานึกที่ดีของธุรกิจชุมชน การสร้างจิตสานึกที่ดีต่อ
สถาบันหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน การสร้างจิตสานึกที่ดีต่อช่องทางการจัดจาหน่าย การสร้าง
จิตสานึกที่ดีต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในชุมชนของตนเองและชุมชนอื่น และการ
สร้างจิตสานึกต่อสังคม วัฒนธรรมและประเพณี
3.2.1.5 ระบบบริหารจัดการกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม มีแนวปฏิบัติ
ที่เป็นไปได้ในทิศทางเดียวกัน คือ สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามกฎกติกา
และระเบียบข้อบังคับ ที่เป็นหลักในการอยู่ร่วมกัน
3.2.2 ปัจจัยภายนอก ได้แก่
3.2.2.1 การส่งเสริมหรือสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัตถุดิบ หรือความรู้
ในด้านต่าง ๆ
3.2.2.2 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลและหน่วยงานภายนอก
รวมทั้งเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอก
3.2.2.3 กระแสความนิยมและการผลักดันของธุรกิจ จะช่วยผลักดันให้
191
ธุรกิจประสบความสาเร็จได้ง่ายขึ้น กระแสความนิยมอาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ฉะนั้นจึงควร
วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจในอนาคตของสินค้าชนิดนั้นด้วย
3.2.2.4 คู่แข่งขัน ธุรกิจชุมชนที่เป็นคู่แข่งขันกันที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน
ธุรกิจใดมีการบริหารจัดการได้ดีกว่า ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่า มีวิธีการจัดการตลาดได้ดีกว่า
จาเป็นต้องรู้เท่าทันคู่แข่งของตนเองว่ากาลังดาเนินกิจกรรมอย่างไร เพื่อจะได้ใช้กลยุทธ์ที่จะสามารถ
เอาชนะคู่แข่งได้
3.2.2.5 ลูกค้าหรือผู้บริโภค จะต้องวิเคราะห์ว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็น
ใคร อยู่ที่ใด มีลักษณะอย่างไร จะทาให้สามารถผลิตสินค้าสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่าง
ถูกต้อง
3.2.2.6 คนกลางเป็นปัจจัยสาคัญมากที่จะทาให้ธุรกิจประสบความสาเร็จ
ได้อย่างรวดเร็ว เพราะคนกลางทางการตลาดจะช่วยกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค จึงจาเป็นต้องรักษา
สัมพันธภาพที่การตลาดทุกประเภทให้ดีที่สุด
3.2.2.7 การสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนจะช่วยให้ธุรกิจชุมชนประสบ
ความสาเร็จได้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การดาเนินกิจกรรมของธุรกิจชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสาเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ ปัจจัยภายในและ
ปัจจัยภายนอก
192
สรุป
สารสนเทศท้องถิ่นเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นสังคมที่
ใช้ความรู้เป็นฐานในการผลิตเพื่อสร้างรายได้ และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งเน้นการ
เรียนรู้ ความสาคัญของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อพัฒนาระบบฐานความรู้เพื่อสร้าง
นวัตกรรม การพัฒนาคน และการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เป็นเครื่องมือในการกาหนดทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรของสังคม และเป็นแนวทางการ
พัฒนาประเทศ และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ เป็นรากฐานสาคัญของการวางแผนพัฒนาชุมชน
เพื่อผลิตกาลังคนให้มีความรู้ตามความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสารสนเทศ
ท้องถิ่นยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนในชุมชน
ท้องถิ่น เป็นการสร้างธุรกิจชุมชนที่เน้นการสร้างงานในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยมีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในการดาเนินการกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

More Related Content

What's hot

บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศบทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศSrion Janeprapapong
 
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)Srion Janeprapapong
 
บทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศ
บทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศบทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศ
บทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศSrion Janeprapapong
 
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศบทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศKanitta_p
 
powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้
powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้
powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้Kanatip Sriwarom
 
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1  บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)บทที่ 1  บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)Srion Janeprapapong
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยPaew Tongpanya
 
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นพจีกานต์ หว่านพืช
 
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)Srion Janeprapapong
 
ความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุดความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุดพัน พัน
 
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศnok_waraporn
 
รวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นรวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นreaweewan
 
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศบทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศPa'rig Prig
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรSanyawadee
 

What's hot (20)

บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
 
บทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 1 ประเภทของสารสนเทศท้องถิ่น
 
น 13 พฤติกรรมสารสนเทศ.2
น 13 พฤติกรรมสารสนเทศ.2น 13 พฤติกรรมสารสนเทศ.2
น 13 พฤติกรรมสารสนเทศ.2
 
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศบทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
 
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
 
บทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศ
บทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศบทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศ
บทที่ 2 ทฤษฎีพื้นฐานของการจัดเก็บและค้นคืนสารสนทศ
 
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศบทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
บทที่ 1 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
 
สถิติ เบื้องต้น ตอนที่1
สถิติ เบื้องต้น ตอนที่1สถิติ เบื้องต้น ตอนที่1
สถิติ เบื้องต้น ตอนที่1
 
การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
 
powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้
powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้
powerpoint บทที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกาารเรียนรู้
 
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1  บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)บทที่ 1  บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
 
Week1
Week1Week1
Week1
 
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
บทที่ 1 บทนำ (การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ)
 
ความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุดความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุด
 
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
 
รวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นรวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มแผนพัฒนาห้องสมุด 2560 กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
 
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศบทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
 
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กรบทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
บทที่5 ระบบข้อมูลข่าวสารในยุคไอทีและผลกระทบต่อองค์กร
 

Similar to อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57

1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)Tophit Sampootong
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptpronprom11
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...freelance
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมjirapom
 
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Brการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน BrProud N. Boonrak
 
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวบทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวpraphol
 
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงKanyakon
 
ปิดทองหลังพระ
ปิดทองหลังพระปิดทองหลังพระ
ปิดทองหลังพระtongsuchart
 
๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗
๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗
๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗สัจจา จันทรวิเชียร
 
4. development plane
4. development plane4. development plane
4. development planechanok
 

Similar to อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57 (20)

1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)1ความรอบรู้ok (1)
1ความรอบรู้ok (1)
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
 
002
002002
002
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
 
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
นโยบาย กระทรวงศึกษา 58
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
Smart Agriculture
Smart Agriculture Smart Agriculture
Smart Agriculture
 
Smart farm concept
Smart farm conceptSmart farm concept
Smart farm concept
 
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Brการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
 
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยวบทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
บทที่ ๒ บทบาทและความสำคัญของการท่องเที่ยว
 
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
 
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบทที่ 5
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
ปิดทองหลังพระ
ปิดทองหลังพระปิดทองหลังพระ
ปิดทองหลังพระ
 
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำ
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำแผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำ
แผนพัฒนา 61 ส่วนที่ 1บทนำ
 
๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗
๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗
๑๔ภาคผนวก๓นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน ๕๗
 
4. development plane
4. development plane4. development plane
4. development plane
 
1
11
1
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี

More from นางสาวอัมพร แสงมณี (20)

คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9
 
คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8
 
คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7
 
คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6
 
คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5
 
คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4
 
คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3
 
คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  8แผนบริหารการสอนประจำบทที่  8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 

อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57

  • 1. 177 บทที่ 9 สารสนเทศท้องถิ่นกับการพัฒนา สารสนเทศท้องถิ่นเป็นข้อมูลพื้นฐานสาคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นและ การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา แห่งชาติ และยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติและยุทธศาสตร์หลัก รวมถึงการนา สารสนเทศท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจในการสร้างอาชีพสร้าง รายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชน โดยการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สารสนเทศท้องถิ่นกับการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ สารสนเทศท้องถิ่นเป็นข้อมูลสาคัญในการสร้างสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นสังคมที่ใช้ ความรู้ในการผลิตเพื่อสร้างรายได้ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากองค์ความรู้ของท้องถิ่นและการนาความรู้ท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ใน การวางแผนพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ การพัฒนาความรู้หรือสารสนเทศ ท้องถิ่นจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ทาให้เข้าใจสภาพและปัญหาของชุมชน เพื่อจะนาไปสู่การวางแผน พัฒนาศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นเพื่อการวางแผนและพัฒนาประเทศ ดังนั้น ความสาคัญของการ พัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาระบบฐานความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม การพัฒนา คน และการพัฒนาเศรษฐกิจ (ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ และน้าทิพย์ วิภาวิน. 2554 : 15-6-15-7) ดังนี้ 1. ด้านการพัฒนาระบบฐานความรู้ การพัฒนาระบบฐานความรู้มุ่งสู่การพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลชุมชนโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ ที่นามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) องค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นในรูปสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บภาษีเงินได้อิเล็กทรอนิกส์ (e-revenue) การค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) เป็นต้น ทาให้การใช้สารสนเทศมีบทบาท
  • 2. 178 ความสาคัญยิ่งขึ้น และการพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสาคัญสาหรับการประมวลผล การเก็บรักษา การถ่ายโอน และการสื่อสาร ข้อมูล การปฏิวัติเทคโนโลยีด้านข้อมูลและสื่อสารทาให้การเข้าถึง การถ่ายโอน และการผลิตข้อมูล เป็นไปได้ อย่างไรก็ดีการพัฒนาองค์ความรู้ของทุกท้องถิ่นเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่ สูงในการผลิต เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงและนาไปใช้ประโยชน์ได้ 2. ด้านการพัฒนาคน คนหรือทรัพยากรมนุษย์ คือ ทุนทรัพย์ทางปัญญา (Intellectual capital) ซึ่งหาก รู้จักใช้และพัฒนาอย่างเหมาะสมจะเกิดมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ชุมชน และประเทศนั้น ๆ ได้อย่างไม่ มีที่สิ้นสุด เนื่องจากสารสนเทศท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของชีวิต สังคม และ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งสืบทอดต่อกันมาเป็นวัฒนธรรม สารสนเทศท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ และกลไกสาคัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์ความคิดและแบบแผนความประพฤติ (พรสวรรค์ สุวัณณศรีย์. 2553 : 154) โดยมีรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนให้มีส่วนรวมในกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาทิ การดาเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข การพัฒนาคนมีความสัมพันธ์กับระบบการศึกษาที่ต้องเป็นการสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากคนเป็นทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต ที่ต้องมีการฝึกอบรมเพิ่ม ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตโดยใช้ต้นทุนต่า เป็นการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ สูงสุด สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จะต้องขับเคลื่อนด้วยระบบการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ ดังนั้น การศึกษาและพัฒนาคนในชาติจึงเป็นการ วางรากฐานที่สาคัญยิ่งของการพัฒนาประเทศ อีกทั้งการผลิตและพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการ ของตลาดแรงงาน จึงเป็นประเด็นที่ต้องสร้างและพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร ภาคี หุ้นส่วน การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในการจัดทา ฐานข้อมูล สาหรับกาหนดแผน นโยบาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาคนที่มีประสิทธิภาพ ให้เกิด ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติ ที่นาไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 3. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การจัดทาแผนพัฒนาชุมชน และการพัฒนาธุรกิจ ชุมชน เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทาให้
  • 3. 179 รูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการเน้นความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ความจาเป็นในการจัดการ สารสนเทศท้องถิ่นในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และธุรกิจชุมชน ให้อยู่ในกระแสความต้องการที่สร้างรายได้และ พัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชน ดังนั้น สารสนเทศกับการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นการมุ่งพัฒนาระบบ ฐานความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม การพัฒนาคน และการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสามารถเป็นแรง ขับเคลื่อนในแข่งขันและพัฒนาอย่างยั่งยืน สารสนเทศท้องถิ่นกับแผนการพัฒนาประเทศ แผนการพัฒนาประเทศ เป็นเครื่องมือในการใช้ทรัพยากรของสังคม และเป็นทิศทางหรือ เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งการจัดทาแผนการพัฒนาประเทศ ในบทนี้จะขอกล่าวเฉพาะ แผนพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติและ ยุทธศาสตร์หลัก มีรายละเอียดดังนี้ 1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 -2559) ประเด็นเนื้อหาสาระสาคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้ประมวลไว้ในวิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 วัตถุประสงค์ 4 เปูาหมายหลัก และ 7 ยุทธศาสตร์ ตาม การศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทย (สานัก นายกรัฐมนตรี. 2554 : 18-24) ดังนี้คือ 1.1 วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่งคง เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการ เปลี่ยนแปลง” 1.2 พันธกิจ 3 ประการ ได้แก่ 1.2.1 การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ 1.2.2 การสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ สังคม 1.2.3 การสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤติการณ์ 1.3 วัตถุประสงค์ 3 ประการ เพื่อให้ 1.3.1 ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน
  • 4. 180 1.3.2 คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 1.3.2 พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข 1.4 เปูาหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1.4.1 เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล 1.4.2 ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น 1.4.3 การมีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึง 1.4.4 สังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล 1.5 ยุทธศาสตร์ 7 ประการ ได้แก่ 1.5.1 การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ 1.5.2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน 1.5.3 การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม 1.5.4 สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทร 1.5.5 การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.5.6 การมีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร 1.5.7 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นองค์รวมที่แสดงถึงแนวทางนโยบายใน การพัฒนาประเทศในระยะยาว จึงควรทาให้ประชาชนทุกคนเข้าใจ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ของ รัฐและเอกชนที่จะพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน 2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555 -2559) การศึกษามีความสาคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาท้องถิ่นและ การพัฒนาประเทศ การจัดทาแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีความ รอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการ แบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุก ระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
  • 5. 181 การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยคานึงถึงการพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการ ดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความ เข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และ สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน 2.1 วัตถุประสงค์ของแผน เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของ แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงฯ จึงกาหนดวัตถุประสงค์ของแผนที่สาคัญ 3 ประการ คือ 2.1.1 เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา 2.1.2 เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 2.1.3 เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และ สร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ 2.2 แนวนโยบาย เปูาหมาย และกรอบการดาเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง สามประการดังกล่าว ประกอบกับการคานึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้ ความรู้เป็นฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กาหนดแนวนโยบายในแต่ละวัตถุประสงค์ ดังนี้ 2.2.1 วัตถุประสงค์ 1 พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลัก ของการพัฒนาแนวนโยบาย 2.1.1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับการศึกษา และประเภทการศึกษา 2.1.1.2 ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสานึกและมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คานึงถึง ประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข และรังเกียจการทุจริต ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง 2.1.1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจน
  • 6. 182 ตลอดชีวิตได้มีโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ หรือ ทุพพลภาพ ยากจน อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลทุรกันดาร 2.1.1.4 ผลิตและพัฒนากาลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ 2.1.1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้ง ระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก 2.1.1.6 ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มี คุณภาพและมาตรฐาน มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2.2.2 วัตถุประสงค์ 2 สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการ เรียนรู้แนวนโยบาย 2.2.2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา และสถาบันทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 2.2.2.2 ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ พลศึกษา กีฬา ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต 2.2.2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนาผลการวิจัยไปใช้ ประโยชน์ 2.2.3 วัตถุประสงค์ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนา คน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 2.2.3.1 การพัฒนาและนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนา คุณภาพ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.2.3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเร่งรัดกระจายอานาจ การบริหารและจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.2.3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา 2.2.3.4 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา
  • 7. 183 ตลอดจนบริหารจัดการ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 2.2.3.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศด้านการศึกษา พัฒนาความ เป็นสากลของการศึกษา เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ ประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการ พึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน 3. ยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติและยุทธศาสตร์หลัก นาเสนอรายละเอียดการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ ดังแผนภาพที่ 9.1
  • 8. 184 นโยบายรัฐ เปูาหมายการขับเคลื่อน การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น ยุทธศาสตร์นโยบาย แผนงานระดับชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนดาเนินงานตามนโยบาย คณะกรรมการ ระดับชาติ ศูนย์กลางการจัดการ สารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ (National Local Information Management Center ZNLIMC) ฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น ฐานข้อมูล ศึกษาธิการ สาธารณสุข วัฒนธรรม วิทย์-เทคโนสภาพัฒน์ฯ มหาดไทย เกษตร คณะกรรมการ ภูมิภาค หน่วยงาน เกี่ยวข้อง หน่วยงาน เกี่ยวข้อง ฐานข้อมูล จังหวัด อาเภอ ชุมชน สถาบัน อุดมศึกษา โรงเรียน กศน. หน่วยงาน เกี่ยวข้อง พิพิธภัณฑ์ จดหมายเหตุ หอสมุด แห่งชาติ
  • 9. 185 ภาพที่ 9.1 ยุทธศาสตร์การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ ที่มา : ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. 2554 : 8. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์นโยบายการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นระดับชาติ 1. กาหนดนโยบายการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นระดับชาติ ให้ชัดเจน ตลอดจนจัดหาทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการ ปฏิบัติงานทั้งการสร้างความเข้าใจ 2. มีกฎหมายรองรับ 3. มีคณะกรรมการนโยบายการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น แห่งชาติ 4. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการ สารสนเทศท้องถิ่น 1. สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกาหนดนโยบาย การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นให้ชัดเจน โดยมี คณะกรรมการเป็นผู้กาหนด 2. หน่วยงานที่ต้องมีบทบาทในการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น ประกอบด้วย กระทรวงที่เกี่ยวข้อง 2.1 กระทรวงมหาดไทย 2.2 กระทรวงศึกษาธิการ 2.2.1 สถาบันอุดมศึกษา 2.2.2 โรงเรียน 2.2.3 กรมการศึกษานอกโรงเรียน 2.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2.3.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารสนเทศท้องถิ่น และฐานข้อมูลต่าง ๆ 2.4 กระทรวงสาธารณสุข 2.4.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารสนเทศท้องถิ่น และฐานข้อมูลต่าง ๆ 2.5 กระทรวงวัฒนธรรม 2.5.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สารสนเทศท้องถิ่น และฐานข้อมูลต่าง ๆ 2.5.2 พิพิธภัณฑ์ 2.5.3 จดหมายเหตุ 2.6 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.6.1 ฐานข้อมูล 2.6.2 ระบบฐานข้อมูล ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ในการสร้างศูนย์กลาง การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ 1. ระบบสารสนเทศท้องถิ่น 2. ฐานข้อมูลท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การวางแนวทางการบริหารจัดการ สารสนเทศท้องถิ่นระดับองค์กรและระดับบุคคล 1. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น 2. การจัดเก็บและการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ท้องถิ่น 3. การอนุรักษ์ สงวน และรักษาสารสนเทศท้องถิ่น 4. การนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น และ ทาฐานข้อมูล 5. การบริการและการเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น
  • 10. 186 ภาพที่ 9.2 ยุทธศาสตร์หลัก ที่มา : ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. 2554 : 9. ดังนั้น รัฐต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน แนวทางหรือมาตรการเชิงรุกเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือนาไปสู่การมีศูนย์กลางการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นแห่งชาติ และมีการฟื้นฟู ที่มีอยู่ให้ดาเนินการต่อไปตรงตามเปูาหมายที่วางไว้ และมีการบริหารจัดการสารสนเทศท้องถิ่นอย่าง เป็นระบบ การพัฒนา การจัดเก็บ การวิเคราะห์ การนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และบริการและ การเผยแพร่ ตลอดจนอนุรักษ์และสงวนรักษาสารสนเทศท้องถิ่น อันนาไปสู่การจัดการสารสนเทศ ท้องถิ่น การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน สารสนเทศท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ความรู้เป็นตัวแปรสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีการใช้ความรู้ในการพัฒนาและ แก้ปัญหาชุมชน เริ่มต้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนและเศรษฐกิจชุมชนในการจัดการธุรกิจ ของชุมชนท้องถิ่นให้ดารงอยู่ในสังคมได้โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้และความเข้าใจใน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ความสามารถในการประยุกต์ภูมิปัญญาให้ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มมีความสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ เนื่องจากความรู้และสารสนเทศท้องถิ่น เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ เริ่มจากข้อมูลของแต่ละครอบครัวหรือแต่ละบ้าน หมู่บ้าน ตาบล อาเภอ จังหวัด สถานภาพของครอบครัวในชุมชนท้องถิ่นในด้านสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพมีความจาเป็นต่อการวางแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับสภาพจริงของ สังคม การพัฒนาระบบฐานข้อมูลท้องถิ่นที่สามารถเชื่อมโยงกันตามมาตรฐานทั่วประเทศจะช่วยให้ ได้ข้อมูลที่จาเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มีความสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นโดยการผลิตองค์ความรู้ เช่น องค์ความรู้ทางเกษตรกรรม องค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ทางการแพทย์ องค์ความรู้ทางหัตถกรรม องค์ความรู้ทาง โภชนาการ เป็นต้น การรวบรวมเพื่อปรับแต่งสารสนเทศและเผยแพร่ความรู้ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ จะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนท้องถิ่นนั้น ๆ มีความรักและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย เช่นเดียวกับผลงานที่เป็นการแสดงออกด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ล้วนมีความสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นโดยอาศัยมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นต้นทุน
  • 11. 187 สาคัญของการพัฒนาประเทศ (ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ และน้าทิพย์ วิภาวิน. 2554 : 15-8-15-21) ดังนี้ 1. ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการทาให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิต โครงสร้างทางสังคม ค่านิยม ทัศนคติ การศึกษา การปกครอง และการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน หมายถึง การประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ ครอบครัวในแต่ละชุมชนท้องถิ่น เป็นการสร้างธุรกิจชุมชนที่เน้นการสร้างงานในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยมีเปูาหมายเพื่อให้ทุกคนในท้องถิ่นอยู่ได้โดยมีหลักการดาเนินธุรกิจที่ชุมชนเป็นเจ้าของและเป็น ผู้ดาเนินการ ความสาเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขึ้นอยู่กับความสามารถในการรวมตัว มีการ ร่วมทุน ร่วมผลิตและดาเนินธุรกิจ ร่วมรับประโยชน์บนหลักการเศรษฐกิจพอเพียง สามารถกระจาย สวัสดิการสู่คนในชุมชน สามารถขยายเครือข่ายเพื่อให้สามารถอยู่ในตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดไปโดย มีองค์กรร่วมในการวิจัยและพัฒนาให้กับธุรกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมีความสัมพันธ์กับธุรกิจชุมชน หมายถึง ธุรกิจที่คนใน ชุมชนลงทุนร่วมกันร่วมกันเป็นเจ้าของ ร่วมกันคิด ร่วมกันบริหารจัดการ และร่วมกันรับผิดชอบใน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดาเนินกิจกรรมนั้น ๆ หรือธุรกิจชุมชนเป็นการผลิตสินค้าและบริการเพื่อ สร้างรายได้และการพึ่งตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่ดาเนินการโดยชุมชน ใช้ทุนของชุมชน ได้แก่ เงิน ทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางสังคม เป็นองค์กรที่รวมตัวด้วยความสมัครใจของประชาชนจานวน หนึ่งเพื่อทาธุรกิจต่าง ๆ ในชุมชน 2. หลักการเศรษฐกิจพอเพียงและความสาคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงใน ชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความ พอเพียง โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเอง ให้มีความพอกินพอใช้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทาง
  • 12. 188 เศรษฐกิจของประเทศได้ หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเน้นถึงความพอเพียงซึ่งหมายถึง การ บริโภคและการผลิตอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณและเหตุผลไม่ขัดสนแต่ไม่ฟุุมเฟือย 2.1 หลักการเศรษฐกิจพอเพียง (อภิชัย พันธเสน. 2549 : 52-53) มีหลักการสาคัญ ดังนี้ 2.1.1 หลักความสมดุล คือ การพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม มีความสมดุลระหว่าง โลกาภิวัตน์ (Globalization) กับความเป็นท้องถิ่น (Localization) มีความสมดุลระหว่างภาค เศรษฐกิจและการเงิน และสังคมมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโครงสร้างการผลิตที่สมดุล มีการผลิตที่ หลากหลายใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2.1.2 หลักความยั่งยืน คือ ความพอเพียงอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน โดยเฉพาะ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภูมิคุ้มกันที่ดี ระบบเศรษฐกิจกับสังคมมีความยืดหยุ่นที่ สามารถก้าวทันและพร้อมรับต่อกระแสโลกาภิวัตน์ตลอดจนปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก มีการบริหารจัดการที่ดีซึ่งสามารถปูองกันและพร้อมรับวิกฤตได้ 2.1.3 คุณภาพของคน ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจทางสายกลางได้ ต้องมีพื้นฐานจิตใจ ที่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต มีไมตรี มีความเมตตาหวังดีต่อผู้อื่น มีความอดทน มีความเพียรใช้ สติปัญญาคิดอย่างรอบคอบ มีทักษะความรอบรู้อย่างเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ พัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การจัดเตรียมสารสนเทศท้องถิ่น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีความสาเร็จในการ ดารงชีวิต เพื่อเป็นต้นแบบให้ครัวเรือนอื่น ๆ ได้เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง 2.2 ความสาคัญของระบบเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมีบทบาทในการพัฒนา ดังนี้ 2.2.1 ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจอุตสาหกรรมบางประเภท จาเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนประกอบจากหลาย ๆ แห่ง ธุรกิจชุมชนจึงเป็นแหล่งช่วยในการ ผลิตส่วนประกอบเหล่านี้ และนาส่งให้ธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อผลิตเป็นสินค้าที่มีมาตรฐาน 2.2.2 สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ทาให้การกระจายอานาจทางเศรษฐกิจไปสู่ ชุมชน อัตราการว่างงานลดน้อยลงและมีการจ้างงานในท้องถิ่น ปัญหาการไม่มีงานทาลดน้อยลง ลด ปัญหาสังคมที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศชาติ ถ้าธุรกิจชุมชนบรรลุเปูาหมาย สมาชิกในชุมชนมีรายได้
  • 13. 189 เพิ่มขึ้น ครอบครัวอบอุ่นเพราะไม่มีการย้ายถิ่นไปทางานที่อื่น ชุมชนมีความเข้มแข็ง ปัญหาอื่น ๆ จะ ลดน้อยลง ช่วยให้สังคมมีความร่มเย็นเป็นสุข 2.2.3 ก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาธุรกิจชุมชนทาให้เกิดการจ้างงานใน ท้องถิ่นและให้มีโอกาสพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องพร้อมกันไปด้วย เพราะทุกคนมีส่วนเป็น เจ้าของกิจการ จึงสามารถใช้กิจการที่มีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาฝีมือของตนเองตามความต้องการ การเปิดโอกาสให้มีการประกอบการ สมาชิกมีความรู้ความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถ แสวงหาประสบการณ์ 3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและปัจจัยแห่งความสาเร็จ วัตถุประสงค์ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การเพิ่มรายได้ประชาชาติและ รายได้ที่แท้จริงของบุคคล การยกระดับมาตรฐานการดาเนินชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น การกระจาย ความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง การกระจายรายได้สู่ประชาชนอย่างยุติธรรม การจ้างงานเพิ่ม อัตราสูง ปัญหาการว่างงานลดน้อยลง และการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ 3.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 3.1.1 แผนระยะยาว เป็นแผนระยะยาวที่วางกรอบและทิศทางการดาเนิน นโยบายอย่างกว้าง ๆ รวมทั้งมีการประมาณการรายการสาคัญ ๆ อย่างกว้าง ๆ อาทิ เปูาหมาย ผลผลิตมวลรวม การใช้จ่ายในภาครัฐและเอกชน การบริโภคและการลงทุน รวมถึงการนาเข้าและ ส่งออก สินค้าและบริการต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งแผนระยะยาวจะเป็นกรอบให้แก่แผนระยะกลาง 3.1.2 แผนระยะกลาง เป็นแผนระยะ 4-6 ปี ซึ่งเป็นแผนที่วางตามกรอบของ แผนระยะยาว 3.1.3 แผนปรับปรุงประจาปี เป็นแผนที่จะต้องจัดทาขึ้นทุกปี หรือเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่าแผนประจาปี เนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทาให้การดาเนินการและผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามเปูาหมาย ดังนั้นแผนนี้จึงเป็นแผนที่ใช้ใน การปรับให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในขณะนั้น และยังใช้ประกอบในการจัดทางบประมาณประจาปี 3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จของระบบเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก 3.2.1 ปัจจัยภายใน ได้แก่
  • 14. 190 3.2.1.1 ความมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์ร่วมในการก่อตั้งกลุ่ม สมาชิกที่ รวมกลุ่มดาเนินธุรกิจมีความมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์ร่วมกันที่จะทากิจกรรมของธุรกิจชุมชนเพื่อ ประโยชน์ของตนเองและชุมชน 3.2.1.2 การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิต เป็นปัจจัยที่ทาให้ธุรกิจ ชุมชนประสบความสาเร็จอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มมีทักษะในการผลิตเป็นพื้นฐานที่ถูก ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา ทาให้ธุรกิจชุมชนราบรื่น และ ประสบความสาเร็จได้ 3.2.1.3 ความสามัคคี หรือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม สมาชิกทุกคนเต็มใจให้ความร่วมมือร่วมใจกันทากิจกรรมของกลุ่มเต็มกาลังความสามารถ คุณลักษณะของประธานกลุ่ม หรือผู้นากลุ่ม มีความตั้งใจจริงและเสียสละ อุทิศตนเพื่อกลุ่ม เป็นผู้ ประสานงานที่ดี เป็นผู้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารที่ดี 3.2.1.4 การสร้างจิตสานึกที่ดีของธุรกิจชุมชน การสร้างจิตสานึกที่ดีต่อ สถาบันหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน การสร้างจิตสานึกที่ดีต่อช่องทางการจัดจาหน่าย การสร้าง จิตสานึกที่ดีต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในชุมชนของตนเองและชุมชนอื่น และการ สร้างจิตสานึกต่อสังคม วัฒนธรรมและประเพณี 3.2.1.5 ระบบบริหารจัดการกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม มีแนวปฏิบัติ ที่เป็นไปได้ในทิศทางเดียวกัน คือ สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามกฎกติกา และระเบียบข้อบังคับ ที่เป็นหลักในการอยู่ร่วมกัน 3.2.2 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 3.2.2.1 การส่งเสริมหรือสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัตถุดิบ หรือความรู้ ในด้านต่าง ๆ 3.2.2.2 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลและหน่วยงานภายนอก รวมทั้งเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอก 3.2.2.3 กระแสความนิยมและการผลักดันของธุรกิจ จะช่วยผลักดันให้
  • 15. 191 ธุรกิจประสบความสาเร็จได้ง่ายขึ้น กระแสความนิยมอาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ฉะนั้นจึงควร วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจในอนาคตของสินค้าชนิดนั้นด้วย 3.2.2.4 คู่แข่งขัน ธุรกิจชุมชนที่เป็นคู่แข่งขันกันที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ธุรกิจใดมีการบริหารจัดการได้ดีกว่า ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงกว่า มีวิธีการจัดการตลาดได้ดีกว่า จาเป็นต้องรู้เท่าทันคู่แข่งของตนเองว่ากาลังดาเนินกิจกรรมอย่างไร เพื่อจะได้ใช้กลยุทธ์ที่จะสามารถ เอาชนะคู่แข่งได้ 3.2.2.5 ลูกค้าหรือผู้บริโภค จะต้องวิเคราะห์ว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็น ใคร อยู่ที่ใด มีลักษณะอย่างไร จะทาให้สามารถผลิตสินค้าสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่าง ถูกต้อง 3.2.2.6 คนกลางเป็นปัจจัยสาคัญมากที่จะทาให้ธุรกิจประสบความสาเร็จ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะคนกลางทางการตลาดจะช่วยกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค จึงจาเป็นต้องรักษา สัมพันธภาพที่การตลาดทุกประเภทให้ดีที่สุด 3.2.2.7 การสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนจะช่วยให้ธุรกิจชุมชนประสบ ความสาเร็จได้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การดาเนินกิจกรรมของธุรกิจชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสาเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ ปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอก
  • 16. 192 สรุป สารสนเทศท้องถิ่นเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นสังคมที่ ใช้ความรู้เป็นฐานในการผลิตเพื่อสร้างรายได้ และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งเน้นการ เรียนรู้ ความสาคัญของการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้เพื่อพัฒนาระบบฐานความรู้เพื่อสร้าง นวัตกรรม การพัฒนาคน และการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเครื่องมือในการกาหนดทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรของสังคม และเป็นแนวทางการ พัฒนาประเทศ และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ เป็นรากฐานสาคัญของการวางแผนพัฒนาชุมชน เพื่อผลิตกาลังคนให้มีความรู้ตามความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละท้องถิ่น อีกทั้งสารสนเทศ ท้องถิ่นยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนในชุมชน ท้องถิ่น เป็นการสร้างธุรกิจชุมชนที่เน้นการสร้างงานในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยมีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการดาเนินการกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ