SlideShare a Scribd company logo
1 of 26
Download to read offline
บทที่ 7
การจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่หลักของผู้สอน การจัดการเรียนรู้จะบรรลุตามจุดประสงค์
มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการชั้นเรียน ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียน
กับผู้เรียน โดยมีการจัดกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ชั้นเรียนจึงมีความสาคัญยิ่งต่อ
ผู้เรียนและผู้สอน หากผู้สอนมีการจัดการชั้นเรียนที่ดี ภายใต้การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่ดี
ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนประสบความสาเร็จ ในที่นี้ขอเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนและ
สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ดังนี้
การบริหารจัดการชั้นเรียน
1. ความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียน
คาว่า “Classroom Management” นั้นยังไม่มีศัพท์บัญญัติเป็นทางการ บางคน
บัญญัติศัพท์ว่า การปกครองชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การจัดการห้องเรียน การจัดการใน
ห้องเรียน การจัดชั้นเรียน หรือการบริหารจัดการชั้นเรียน แต่ในที่นี้จะใช้คาว่าการบริหารจัดการชั้น
เรียน ซึ่งนักวิชาการได้ให้ความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียนไว้ดังนี้
สุรางค์ โค้วตระกูล (2553: 436) ได้กล่าวถึงความหมายการบริหารจัดการชั้นเรียน
อย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึง การสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการ
เรียนรู้ของผู้เรียน หรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทาเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและ
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2550: 40-41) อธิบายว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนว่าเป็นการ
จัดหาและวิธีการที่จาเป็น เพื่อสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน โดยมี
วัตถุประสงค์หลักของการจัดการชั้นเรียนไม่ใช่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่เป็น
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียนมิใช่มุ่งแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ปรารถนาของ
นักเรียน แต่เป็นการเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม
ฆนัท ธาตุทอง (2552: 5) สรุปความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียนว่าหมายถึง
การตัดสินใจของผู้สอนในการดาเนินงานใดๆ ก็ตาม ที่เป็นการอานวยความสะดวกและการควบคุม
พฤติกรรมเพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของครูผู้สอนในขณะนั้นได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและ
บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
Brophy (1996: 5) อธิบายว่า การบริหารจัดการชั้นเรียนหมายถึง การที่ครูสร้างและดูแล
สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อนาไปสู้การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านกายภาพ การ
สร้างบรรยากาศทางวิชาการ
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การดาเนินงานของผู้สอน
ในการสร้างหรืออานวยความสะดวก ดูแลสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมี
ความสุข มีพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทั้งในด้านกายภาพและบรรยากาศทางวิชาการ
2. ความสาคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียนที่เหมาะสม ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพของการจัดการ
เรียนรู้มีประสิทธิภาพ หากผู้สอนคุมชั้นเรียนได้ ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ย่อมเป็นชั้น
เรียนที่ต้องการ ในที่นี้ขอนาเสนอความสาคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน ตามแนวคิดของ
นักวิชาการ ดังนี้
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล (2548: 243) ได้อธิบายความสาคัญของการบริหารจัดการชั้น
เรียนไว้ 6 ประการดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดาเนินการไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับ
แคบจนเกินไป ทาให้ผู้เรียนเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติกิจกรรม
2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น
ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ผู้เรียนจะซึมซับ
สิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3. ช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างเหมาะสม มีนั่งไม่ใกล้
กระดานจนเกินไป มีขนาดโต๊ะเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของผู้เรียน เป็นต้น
4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความสนใจในบทเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น การจัดการ
มุมวิชาการต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของผู้เรียน
5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น
6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูเข้าใจ
ผู้เรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อผู้เรียน และผู้เรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ศศิธร ขันติธรางกูร (2551: 2-3) กล่าวถึงความสาคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียนไว้ 5
ประการดังนี้
1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา
ด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของผู้เรียน
2. ผู้เรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดัง
และสิ่งรบกวน หรือจัดการที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนาไปสู่การแสดง
พฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทาให้ผู้เรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้
ได้อย่างเต็มที่
3. การกาหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์
อย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการชั้นเรียน เพราะจะทาให้ผู้เรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของ
ตนเองโดยไม่แสดงออกหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
4. ชั้นเรียนทีมีการจัดกับพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม จะทาให้ครูสามารถ
ดาเนินการสอนได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียเวลากับแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้เรียน
5. การบริหารจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความ
เอื้ออาทรโดยคานึงถึงกฎระเบียบของชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้
แล้วยังมีผลในระยะยาวคือเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัย เพื่อการเป็นพลเมืองดีในอนาคตอีกด้วย
สรุปได้ว่า การบริหารจัดการชั้นเรียน มีความสาคัญต่อผู้สอน คือทาให้การสอนดาเนินไป
อย่างราบรื่น มีระเบียบวินัย และมีความสาคัญต่อผู้เรียน คือ สร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม เสริมการ
เรียนรู้ เจตคติที่ดีต่อการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีบ่มเพาะการเป็นพลเมืองดีในอนาคตด้วย
3. ลักษณะชั้นเรียนที่พึงประสงค์
ชั้นเรียนที่พึงประสงค์ย่อมส่งผลต่อความสาเร็จของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ลักษณะชั้นเรียนที่พึงประสงค์ (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553: 240) มีดังนี้
1. ชั้นเรียนควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออานวยต่อการสอน และกิจกรรมเป็น
ประเภทต่างๆ
3. ให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรภาพ และมีวินัยให้การดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์จากชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงเป็นห้องประชุม ห้องฉาย
ภาพยนตร์และอื่นๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้พร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทางานกลุ่ม การสาธิต
การแสดงบทบาทสมมติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองแก่ผู้เรียน
นอกจากนี้ สุรางค์ โคว้ตระกูล (2556 : 472-473) ได้สรุปลักษณะห้องเรียนที่มี
ประสิทธิภาพควรคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. การจัดที่นั่งของนักเรียน ครูควรจัดที่นั่งที่ครูสามารถเห็นนักเรียนทุกคนว่ากาลังทา
การอะไรอยู่ การจัดที่นั่งที่ที่ใช้กันในโรงเรียนมักจะจัดให้ครูมีโต๊ะอยู่หน้าชั้นเรียน และนักเรียนนั่
เป็นแถวอย่างมีระเบียบ ที่จริงแล้วถ้าเป็นไปได้ การจัดที่นั่งต้องจัดให้ตรงกับจุดประสงค์ของบทเรียน
และเทคนิคการสอนที่ครูใช้
2. ควรสร้างบรรยากาศของห้องเรียน ที่ช่วยให้นักเรียนรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของ
ห้องหรือเป็นสมาชิกคนหนึ่งของห้อง และมีแรงจูงใจภายในที่จะเรียนรู้
3. ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายกฎระเบียบต่างๆ ของห้องเรียนที่ครูทั้งโรงเรียน
ตั้งขึ้น และส่งเสริมให้นักเรียนออกความคิดเห็นว่ากฎระเบียบอันใดควรจะปรับปรือเปลี่ยน ผสมกับ
เสนอแนะกฎระเบียบใหม่ ทั้งนี้เพื่อนักเรียนจะได้รู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในการตั้งกาเกณฑ์ และนักเรียน
มีหน้าที่ที่จะรักษาและประพฤติตามกฎระเบียบที่มีไว้โดยดี
4. การเตรียมการสอนของครูนั้น ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนจะมีงานทา
อยู่เสมอ เพราะการว่างงานเป็นเหตุหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ผิด
5. ครูจะต้องตระหนักเสมอว่า หน้าที่ที่สาคัญของครูอย่างหนึ่งก็คือ การดูแลนักเรียน
ทั้งชั้น ทุกชั่วโมง ทุกนาที ครูต้องตระหนักรู้ว่านักเรียนแต่ละคนกาลังทาอะไรอยู่
ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่าลักษณะชั้นเรียนที่พึงประสงค์คือ ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเรียนแล้วมีความสุข
เกิดการเรียนรู้สูงสุด ผู้สอนสามารถจัดการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. หลักการสาคัญในการจัดการชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียนให้ประสบความสาเร็จ และเป็นชั้นเรียนแห่งความสุขนั้น ผู้สอนควร
ยึดหลักสาคัญในการจัดการชั้นเรียน (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553: 17) มีดังนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องเรียน
ใหญ่หรือกว้าง เพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอีจัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ ถ้าเป็น
ห้องเรียนเล็กๆ หลายๆ ห้องติดกัน ควรทาฝาเลื่อน เพื่อเหมาะสมแก่การทาให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมสร้างความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทากิจกรรม
หรือหนังสืออ่านประกอบที่น่าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อผู้เรียนจะได้ค้นคว้าทากิจกรรมควรติดอุปกรณ์
รูปภาพ และผลไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพซึ่งมี
อิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของผู้เรียนเป็นอันมาก ผู้เรียนมีส่วนช่วยเสริมสร้าง
สภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้ผู้เรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับ
ห้องเรียน จัดที่ว่างในชั้นเรียนให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรม คอยให้คาแนะนาในการอ่านหนังสือ
ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด ควรมีเป็นกันเองกับผู้เรียน ให้
ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่ผู้เรียน
รู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะเรียน ที่นั่ง ขอบประตู หน้าต่าง ขอบกระดาน แปรงลบ
กระดาน ฝาผนัง เพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องเททุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็น และบริเวณ
ที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดของเชื้อโรค
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั้งอุปกรณ์
ของใช้ต่างๆ เช่น การจัดโต๊ะ ตู้ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้ผู้เรียนได้รู้จักหยิบใช้
เก็บในที่เดิม จะช่วยให้ผู้เรียนเคยชินต่อความเป็นระเบียบ
6. ควรจะชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดได้ ดังนี้
6.1 จัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มทางาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการ
ทางานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของผู้เรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้สิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ
ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้ผู้เรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นากลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นาและผู้
ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการจัดการ
เรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสาคัญและใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูควรจัดสภาพห้องเรียน
ให้เอื้ออานวยต่อการเรียน เช่น จัดที่นั่งเป็นรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที รูปครึ่งวงกลม หรือ
จัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถาม กล้าตอบ
กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความอยากรู้ อยากเรียน เป็นต้น ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน
พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสังคมได้ในที่สุด
นอกจากนี้ Brophy (1996: 48) ยังได้กล่าวถึงหลักการจัดการชั้นเรียนให้มี
ประสิทธิภาพไว้อย่างสอดคล้องกัน ดังนี้
1. ควรมีการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในชั้นเรียนให้เรียบร้อยและเอื้อต่อการใช้งาน
2. ควรมีการกาหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของผู้เรียนในชั้นเรียน
3. ควรมีการสร้างข้อตกลงกฎกติกาในชั้นเรียน โดยดาเนินการตั้งแต่วันแรกของภาค
เรียน ทั้งนี้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลง
4. ควรจัดการเรียนการสอนด้วยความราบรื่น เป็นขั้นตอนเป็นไปตามแผนที่ครูวางไว้
5. ควรจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนในระหว่างชั้นเรียน
6. ควรมีการจัดการเกี่ยวกับการทากิจกรรมของผู้เรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้ผู้เรียน
สนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนการเรียนให้มีน้อยที่สุด
7. ควรมีการดาเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตามความต้องการของผู้เรียน
แต่ละคน
สรุปได้ว่า หลักการจัดการชั้นเรียนที่ดีผู้สอนควรคานึงถึงโอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับการ
เรียนรู้อย่างครบถ้วนทุกคน ด้วยการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมทางสังคมและจิค
ใจที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข ตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
1. ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียน เป็นปัจจัยสาคัญประการหนึ่งของการบริหารจัดการในชั้นเรียน
ผู้สอนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ในที่นี้นาเสนอตามลาดับดังนี้
วัฒนา พัชราวนิช (2544: 151) อธิบายว่าการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนว่าหมายถึง การ
จัดสภาพแวดล้มให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนให้ดาเนิน
ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมี
ระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553: 239) กล่าวว่าการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัด
สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออานวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียน
การสอนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้าง
เสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนหมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ
กระบวนการจัดการเรียนรู้พฤติกรรมผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
สรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ
เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
2. ความสาคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนมีความสาคัญ (นวรัตน์ สมนาม . 2546: 213 และ
อาภรณ์ ใจเที่ยง . 2553: 239-240) ดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดาเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ทาให้
นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทากิจกรรม
2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น
ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับ
สิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเท
สะดวก มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดามากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียน
นักศึกษา ฯลฯ
4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุม
วิชาการต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5. สนับสนุนผู้เรียนให้ความร่วมมือกับผู้สอนตลอดเวลา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไป
ในทางที่พึงประสงค์
6. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง รู้จักตนเองดีขึ้น และพร้อมที่จะ
ช่วยเหลือผู้อื่น
7. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจ
นักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
8. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
2. ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ บรรยากาศทาง
กายภาพและบรรยากาศทางจิตวิทยา มีรายละเอียดดังนี้
2.1 บรรยากาศทางกายภาพ หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ในชั้นเรียน ทั้งที่
สังเกตเห็นได้โดยตา เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตา เช่น แสง สี เสียง ซึ่งสิ่ง
เหล่านี้มีผลต่อการจดการเรียนรู้ของผู้สอน และส่งเสริมการเกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัด
บรรยากาศทางกายภาพ ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศทางกายภาพได้ดังนี้ (วัฒนา พัชราพานิช, 2544:
152 – 154 และนวรัตน์ สมนาม, 2546: 214)
2.1.1 โต๊ะเรียนและเก้าอี้ โต๊ะเรียนควรเป็นโต๊ะเดี่ยว และไม่หนักเกินไปสาหรับ
เลื่อนย้ายจัดเป็นรูปต่างๆ ตามกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอน โต๊ะเรียนและเก้าอี้ ควรจัดดังนี้
2.1.1.1 มีช่องว่างระหว่างแถว ที่ผู้เรียนจะลุกนั่งได้สะดวก
2.1.1.2 โต๊ะเก้าอี้ควรมีน้าหนักเบาทาให้ความสะดวกต่อการทาความสะอาด
และเคลื่อนย้าย
2.1.1.3 มีรูปแบบไม่จาเจ อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู ครึ่งวงกลม ได้อย่าง
เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนที่นั่งอยู่ทุกจุดอ่านกระดานได้ชัดเจน
2.1.1.4 แถวหน้าของโต๊ะเรียน จะต้องห่างจากกระดานประมาณ 3 เมตรจะ
ทาให้ผู้เรียนแหงนหน้ามองกระดานและหายใจรับฝุ่นชอล์กทาให้เสียสุขภาพ
2.1.1.5 จัดโต๊ะและเก้าอี้ให้ผู้เรียนนั่งสบายๆ เหมาะสมกับวัยและรูปร่างของ
ผู้เรียน
2.1.1.6 โต๊ะเก้าอี้ควรมีความมั่นคง แข็งแรง และมีความปลอดภัยต่อผู้เรียน
เช่น ไม่ควรใช้โต๊ะที่เหลี่ยมกับผู้เรียนปฐมวัย
2.1.1.7 ถึงแม้การจัดที่นั่งในชั้นเรียนจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว หากก็
มีแนวทางบางอย่างที่ถือเป็นหลักในการจัดที่นั่งที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ
จัดการเรียนการสอน อันได้แก่แนวทางดังต่อไปนี้
1) จัดที่นั่งให้คละกันระหว่างเด็กหญิงเด็กชาย เด็กเรียนเก่งและเด็ก
เรียนอ่อน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ เหล่านี้ได้สงสรรค์และทางานร่วมกับคนที่แตกต่างไปจากตัวเขา
2) จัดที่นั่งที่เอื้อให้การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ (cooperative
learning) มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ให้เด็กแต่ละคน กลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน สามารถสลับที่นั่งกันได้ใน
บางโอกาสโดยสะดวก
3) จัดที่นั่งให้เด็กทุกคนมีโอกาสมองเห็น และได้ยินครูที่อยู่บริเวณ
หน้าชั้น
4) ยอมให้เด็กที่สนิทกันนั่งติดกันได้ หากครูทาเช่นนี้ เด็กจะแสดง
ความรับผิดชอบในการทางาน แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ก็สามารถเปลี่ยนที่นั่งใหม่ได้
5) จัดให้มีที่ว่างตามสมควรสาหรับทางสัญจรไปมาในชั้นเรียน
6) จัดที่นั่งให้ห่างจากสิ่งรบกวนสมาธิในการเรียนของเด็ก
7) เด็กที่มีปัญหาทางสายตาหรือการได้ยินให้จัดที่นั่งบริเวณแถวหน้า
8) เปลี่ยนที่นั่งใหม่ทุก 2-3 เดือน เพื่อให้เด็กที่นั่งแถวริมนอกได้มี
โอกาสมานั่งตรงกลางหรือด้านหน้าบ้าง
2.1.2 โต๊ะครู วางในตาแหน่งที่มองเห็นผู้เรียนได้ทั่วถึงและไม่เกะกะในการจัดการใช้
วางในห้องเรียน อาจเป็นมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน มีวิธีการจัดโต๊ะครู ต้องคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1.2.1 การจัดวางโต๊ะครู จะต้องขึ้นกับรูปแบบการจัดที่นั่งของผู้เรียน
2.1.2.2 มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2.1.3 กระดานชอล์ก ควรมีขนาดกว้างยาวพอสมควร ติดแนบสนิทกับฝาห้องเรียน
ด้านหน้า
2.1.4 มีไว้เพื่อติดข่าวสารและผลงานของผู้เรียน วิธีการจัดป้ายนิเทศ ควรจัดดังนี้
2.1.4.1 จัดตกแต่ง ออกแบบให้สวยงามน่าดู สร้างความสนใจให้แก่นักเรียน
2.1.4.2 จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน เช่น สรุปบทเรียนทบทวน
บทเรียนเสริมความรู้ให้แก่ผู้เรียน
2.1.4.3 จัดใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สาคัญ หรือวันสาคัญต่างๆ
ที่ผู้เรียนกาลังเรียนและควรรู้
2.1.4.4 ติดผลงานผู้เรียน และแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าของผู้เรียนจะเป็น
การให้แรงจูงใจที่ดีอีกวิธี
2.1.5 การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ ดังนี้
2.1.5.1 มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้
สะดวก
2.1.5.2 มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อ
เป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
2.1.5.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
2.1.5.4 มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู
เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทางานร่วมกัน
2.1.6 การจัดมุมต่างๆ ในห้องเรียน ได้แก่
2.1.6.1 มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียน
อ่านคล่อง ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือ
หลายๆ ประเภทที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่
มาเปลี่ยนบ่อยๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
2.1.6.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่างๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ
ช่วยเสริมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้
ข่าวเหตุการณ์ เป็นต้น
2.1.6.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือ
จัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสาเร็จ และมีกาลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้ง
ยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลาดับได้อีกด้วย
2.1.6.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคา แผนภูมิ ภาพพลิก
กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่า
เกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
2.1.6.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่ง
ห้องเรียนด้วยสิ่งต่างๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คาขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรก
รุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้อนแสง อาจทาให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่ง
ห้องเรียนควรคานึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
2.1.6.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทาความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือ
เครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้า กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่าง
เป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ
2.2 บรรยากาศทางจิตวิทยา บรรยากาศทางจิตวิทยา หมายถึง สภาพแวดล้อมในชั้น
เรียนในมิตินามธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด อันเกิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน พฤติกรรมของ
ผู้สอน สัมพันธภาพของบุคคลในชั้นเรียน (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553: 241 ; ศศิธร ขันติธรางกูร. 2551:
9) ซึ่งบุคลิกภาพของครู หรือครูที่มีบุคลิกภาพดี เช่น การแต่งการเรียบร้อย การยืน การเดิน ท่าทาง
การใช้คาพูด แววตา เป็นต้น เหมาะสมกับการเป็นครู จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ได้ดี
บุคลิกภาพของครูผู้สอนมีผลต่อความรู้สึกของผู้เรียน ดังนี้
2.2.1 ครูแบบประชาธิปไตย ครูประเภทนี้จะสร้างบรรยากาศเป็นแบบ
ประชาธิปไตย ผู้สอนและผู้เรียนจะยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ผู้สอนเปิดโครงการให้ผู้เรียน
แสดงความคิดเห็นได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รู้จักการทางานร่วมกัน รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง
มีเหตุผล ผู้เรียนจะรู้สึกสบายใจในการเรียน เป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีแนวทาง
การจัดบรรยากาศ ดังนี้
2.2.1.1 ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน พร้อมทั้งฝึกการใช้สิทธิ
หน้าที่เหล่านั้น เช่น สิทธิในการเลือกประธานนักเรียน หัวหน้ากลุ่ม
2.2.1.2 จัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มทางานโดยหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อฝึกการ
ทางานร่วมกับผู้อื่น
2.2.1.3 จัดที่นั่งของผู้เรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาส
ปรับตัวเข้ากับกลุ่มอื่นได้
2.2.1.4 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันสร้างระเบียบวินัยในชั้นเรียน เมื่อ
ผู้เรียนเป็นผู้วางระเบียบ ก็จะยินดีที่จะปฏิบัติตามระเบียบนั้นๆ
2.2.1.5 จัดให้นักเรียนหมุนเวียนกันเป็นผู้นาในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้
นักเรียนเป็นผู้นาและผู้ตามที่ดี
2.2.2 ครูแบบเผด็จการ ครูประเภทนี้จะเป็นแบบบังคับ ผู้เรียนไม่ให้แสดงความ
คิดเห็น เป็นผู้บอกหรือกระทากิจกรรมทุกอย่าง ผู้เรียนไม่มีโอกาสคิดหรือทากิจกรรมที่ต้องการ จะ
ก่อให้เกิดความรู้สึกเครียด ขาดความเป็นผู้นาขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นบรรยากาศที่ไม่ส่งเสริมให้
เกิดความรู้สึกที่ดี
2.2.3 ครูแบบตามสบาย ครูประเภทนี้จะเป็นแบบตามสบาย เป็นบรรยากาศที่
ผู้สอนมุ่งให้จบหลักสูตรโดยไม่สนใจว่าผู้เรียนจะสนใจหรือไม่ เข้าใจหรือไม่ เป็นบรรยากาศการเรียนที่
น่าเบื่อ ผู้เรียนย่อท้อสับสน ขาดระเบียบวินัย ผู้สอนไม่สามารถคุมชั้นเรียนได้ เป็นบรรยากาศที่ไม่
ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี
2.3 บรรยากาศทางวิชาการ หมายถึงสภาพที่เอื้อต่อการค้นคว้าข้อมูลและสารสนเทศ
แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ (กรกฎา นักคิ้ม และ เจษฎา บุญมาโฮม. 2555 : 25-26) ได้สรุปไว้ว่า
บรรยากาศทางวิชาการ ได้แก่
2.3.1 สานักวิทยบริการที่มีหนังสือที่มีหนังสือ ข้อมูล สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุการเรียนรู้
ต่างๆ ตลอดจนการค้นคว้าและบริการสืบค้นทางอินเทอร์เนต เป็นต้น
2.3.2 ห้องสมุด เป็นศูนย์รวมของความรู้ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระบบ
2.3.3 ศูนย์การเรียนต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น เช่น ศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย
ศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ ศูนย์ผีเสื้อ เป็นต้น
2.3.4 การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียนควรจัดดังนี้
2.3.4.1 มุมหนังสือ มีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้ผู้เรียนอ่านคล่อง
การค้นคว้าหาความรู้ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2.3.4.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ เพื่อ
ช่วยเสริมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย มุมคณิตศาสตร์ เป็นต้น
2.3.4.3 มุมแสดงผลงานของผู้เรียน ผู้สอนควรติดป้ายนิเทศ แขวนหรือจัด
วางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในความสาเร็จ และมีกาลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้ง
ยังสามารถแก้ไขผลงานของตนอีกด้วย
2.3.4.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคา แผนภูมิ เป็นต้น ควรจัด
ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วนสะดวกต่อการหยิบใช้
2.3.4.5 ของจริง เช่น สัตว์ พืช โดยเฉพาะชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย ควรนา
พืชมาตกแต่งชั้นเรียนให้สวยงาม หรือ สัตว์เลี้ยง เช่น ปลาสวยงาม มาไว้ในชั้นเรียนทาให้ผู้เรียนอยาก
มาโรงเรียนเพื่อให้อาหาร และเฝ้าดูเป็นการปลูกฝังความเมตตากรุณา
3. ลักษณะของการจัดชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนในแต่ละระดับการศึกษา ย่อมมีความแตกต่างกันตามเป้าหมายของการ
จัดการศึกษา วุฒิภาวะ และพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละละช่วงวัย ลักษณะของชั้นเรียนระดับต่างๆ
(วัฒนา พัชราวนิช. 2544: 158-159) มีดังนี้
3.1 ระดับปฐมวัย
ผู้เรียนที่เรียนในระดับปฐมจะมีอายุตั้งแต่ 3-5 ปี ผู้เรียนในระดับปฐมวัยจะยังไม่
พร้อมที่จะเรียน ระบบการศึกษาจึงกาหนดเพียงการสอนให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ภายนอกบ้าน และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนเมื่อถึงเกณฑ์ ดังนั้นชั้นเรียนจึงเป็น
ศูนย์กลางของชีวิตประจาวัน ควรมีบรรยากาศของความปลอดภัยและอบอุ่นคล้ายบรรยากาศในบ้าน
ที่ผู้เรียนเคยชิน ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาได้เร็วขึ้น
การจัดชั้นเรียนในระดับปฐมวัยนั้น สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนควรทาให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวอย่าง
อิสระ โต๊ะและเก้าอี้ ควรได้สัดส่วนกับร่างกายผู้เรียน มีความยืดหยุ่นในการจัดชั้นเรียนและใช้พื้นที่
เพื่อประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด ผู้เรียนจะมีการพัฒนาและเกิดความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆ ด้าน การจัด
พื้นที่ในชั้นเรียน ควรแบ่งออกเป็นมุมหรือศูนย์การเรียนต่างๆ เพื่อจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษา
ค้นคว้า
3.2 ระดับประถมศึกษา
ผู้เรียนที่เรียนในระดับนี้ อายุตั้งแต่ 6-11 ปี การศึกษาระดับปฐมศึกษา มุ่งพัฒนา
ต่อเนื่องจากระดับปฐมวัย ในด้านการอ่าน เขียน พูด สังเกต การใช้เหตุผล คานวณ ค้นคว้า และ
สร้างสรรค์ รวมทั้งรู้จักรับผิดชอบ และเคารพสิทธิของผู้อื่น ระดับประถมศึกษานั้นควรจัดให้มี
บรรยากาศน่าอยู่ ให้ความเพลิดเพลินเป็นสถานที่ให้การค้นคว้า ทากิจกรรมเสริมเจตคติแห่ง
ประชาธิปไตยสร้างประสิทธิภาพในการเรียนรู้การจัดชั้นเรียน ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
.3.2.1 การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมชั้นเรียนควรเป็นห้อง
ใหญ่และกว้าง สะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน
3.2.2 การจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้านโดยจัดอุปกรณ์ในการทา
กิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่น่าสนใจไว้ตามมุมห้องเพื่อผู้เรียนจะได้ค้นคว้าทากิจกรรม
อุปกรณ์หรือรูปภาพและผลงานไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3.2.3 การจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย
สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของผู้เรียนเป็นอันมาก ครูมี
ส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้ผู้เรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถาง
ต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้ผู้เรียนทากิจกรรม คอยให้คาแนะนาในการอ่านหนังสือ
ค้นคว้าแก้ปัญหาเป็นกันเองกับผู้เรียน ให้ผู้เรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
3.2.4 การจัดชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็
ตรงที่ผู้เรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะ ม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่างขอบ กระดาน
ชอล์ก แปรงลบกระดาน ฝาผนัง ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวันเพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และ
บริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค
3.2.5 การจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั้ง
อุปกรณ์ของใช้ต่างๆ การจัดโต๊ะ ตู้ ชั้นวางและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้ผู้เรียนได้รู้จักหยิบใช้
เก็บในที่เดิม จะช่วยผู้เรียนเคยชินต่อความเป็นระเบียบ
3.3 ระดับมัธยมศึกษา
เด็กที่เรียนอยู่ในระดับนี้ อายุตั้งแต่ 12 – 17 ปี จุดประสงค์สาคัญประการหนึ่ง ก็คือ
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สารวจความสามารถความถนัด และเจตคติของตนเองว่าจะเป็นไปในแนว
ใด ทั้งนี้เพื่อจะได้จัดการส่งเสริมให้ชัดเจน และแน่นอนขึ้นในชั้นมัธยมปลาย ระดับมัธยมปลายซึ่ง
ต้องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการทางานตามที่ได้เลือกไว้จาก
มัธยมต้น สถานที่ในเรื่องนั้น ยิ่งมีความสาคัญมากขึ้น และจะต้องให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงตามที่
จะออกไปประกอบอาชีพนั้นๆ หรือเพื่อเป็นรากฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
สรุปได้ว่า การจัดชั้นเรียนที่เหมาะสม ผู้สอนควรคานึงถึงระดับชั้นและวัยของผู้เรียน ที่มี
ความยึดหยุ่น สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับคือ ระดับปฐมวัย ประถมศึกษาหรือมัธนม
ศึกษา
การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน
สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนทั้งบรรยากาศ
ทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา และบรรยากาศทางวิชา ดังที่กล่าวข้างต้น ในหัวข้อนี้จะได้
กล่าวถึงการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่จะช่วยเอื้อต่อการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีความ
ครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีรายละเอียดดังนี้
1. ขอบข่ายของการจัดสภาพแวดล้อม
นักการศึกษาเชื่อว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน โดยเกิดจาก
การที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ทั้งวัตถุ สิ่งของ บุคคล และสภาพสังคมเมื่อผู้เรียนเข้าสู่
สถานพัฒนาผู้เรียนจะได้พัฒนาการเรียนจากสิ่งที่อยู่ในโรงเรียน ดังนั้นสภาพแวดล้อมจึงมีความสาคัญ
ต่อการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งได้มีการกาหนดขอบข่ายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาไว้(วัฒนา พัช
ราวนิช. 2544: 150) ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมในห้องเรียน ได้แก่ การจัดห้องเรียนให้มีที่เล่นในรูปแบบการเรียนรู้
และที่ทากิจกรรมการจัดเครื่องใช้ประเภท โต๊ะ เก้าอี้ ให้มีขนาดเหมาะกับผู้เรียนและจัดในรูปของการ
ทากิจกรรมร่วมกับได้กระดานป้ายสาหรับติดผลงานของผู้เรียน
2. สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนในส่วน
ที่เป็นร่วมให้มีเก้าอี้สามารถพักผ่อน และดูหนังสือได้ และสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนในส่วนที่เป็น
กลางแจ้งให้มีเครื่องเล่น สนาม เป็นต้น
3. สภาพแวดล้อมทางด้านบุคลากรได้แก่ ครูประจาชั้น ผู้บริหาร ครูคนอื่นๆ และ
นักการภารโรง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะอยู่ใกล้ชิดผู้เรียนและมีส่วนที่จะส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน
บุคลากรที่อยู่กับผู้เรียนจึงควรเป็นผู้ที่มีกิริยามารยาทดี ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาการทั้งร่างกายสมอง
อารมณ์และสังคม
2. การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนของผู้สอน
การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนของผู้สอน คือ พฤติกรรมการสอนของผู้สอนนั่นเอง
เนื่องจากพฤติกรรมการสอนมีบทบาทในการสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับผู้เรียน เช่นเดียวกับบุคลิกภาพ
ของผู้สอน ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและทักษะตามจุดประสงค์การ
เรียนรู้ พฤติกรรมการสอนของผู้สอนควรมีลักษณะดังนี้ (วัฒนา พัชราวนิช, 2544: 156)
2.1 ตอบสนองพฤติกรรมของผู้เรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น ใช้
วาจา ใช้ท่าทาง ให้รางวัล ให้สัญลักษณ์ความสาเร็จต่างๆ ที่ผู้เรียนชอบและต้องเสริมแรงให้ทั่วถึงและ
เหมาะสม
2.2 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของ
ผู้เรียนแสดงให้ผู้เรียนเห็น และพยายามนาความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้
2.3 ฝึกการทางานเป็นกลุ่ม จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการทางานร่วมกับคนอื่นได้ใช้
ความรู้ความคิดความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ฝึกการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และได้ผลงาน
นามาสู้ความภาคภูมิใจในกลุ่มและตนเอง
2.4 . ใช้เทคนิควิธีสอนที่ไม่ทาให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายในการเรียน หาแนวทางวิธีการ
ใหม่ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอน โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบทเรียน ระยะเวลา สติปัญญาและวัย
ของผู้เรียน
3. หลักการปกครองชั้นเรียน
การที่ผู้สอนปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบ
กฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ผู้เรียนก็จะอยู่ในชั้นเรียนอย่างมีความสุข (วัฒนา พัชราวนิช, 2544: 156-
157) หลักในการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน มีดังนี้
3.1 หลักประชาธิปไตย ผู้สอนให้ความสาคัญแก่ผู้เรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค
ให้โอกาสทุกคนแสดงความคิดเห็น ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่เคารพสิทธิของผู้อื่น
3.2 หลักความยุติธรรม ผู้สอนให้ความยุติธรรมแก่ผู้เรียนทุกคนโดยทั่วถึง ผู้เรียนจะ
เคารพศรัทธาผู้สอน ยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบ ตลอดจนไม่สร้างปัญหาให้แก่ชั้นเรียน
3.3 หลักพรหมวิหารสี่ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้ายึดหลักพรหมวิหารสี่
ในการปกครองจะทาให้ผู้เรียนเคารพศรัทธาและมีความสุขในการเรียน ทั้งยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมให้แก่ผู้เรียนได้อีกส่วนหนึ่ง
3.4 หลักความใกล้ชิด หมายถึงผู้สอนแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ฯลฯ เป็นวิธี
หนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความใกล้ชิดทาได้หลายวิธีดังนี้
3.4.1 ผู้สอนต้องรู้จักผู้เรียนทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของผู้เรียนแต่
ละคน รวมทั้งจุดดี จุดด้อย ความสามารถพิเศษ
3.4.2 ผู้สอนแสดงความสนใจสารทุกข์สุขดิบของผู้เรียนแต่ละคน เช่น ถามถึง
ความเป็นไปของพี่น้อง ความก้าวหน้าในการเรียนและกิจกรรมต่างๆ ที่ทา
3.4.3 มอบเวลาให้ผู้เรียน เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน เช่น เวลาเย็นหลังเลิก
เรียน ช่วงพักระหว่างการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ต้องการ
คาปรึกษา เป็นต้น
3.4 คาสอนและการกระทาของผู้สอนจะต้องสอดคล้องกัน เช่น จะอบรมสั่งสอนเรื่อง
ความซื่อสัตย์ ผู้สอนก็ต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วย
4. การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่พึงประสงค์
การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่พึงประสงค์ ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้
ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและทาให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ครูจึงจาเป็นต้องสร้าง
บรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าดังนี้
4.1 บรรยากาศที่ท้าทาย กระตุ้นให้กาลังใจ เพื่อให้ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในการ
ทางาน พูดให้ผู้เรียนรู้สึกว่าครูเชื่อในความสามารถของเขาที่จะทางานนั้นๆ ให้สาเร็จได้ แม้ว่าจะเป็น
งานที่ค่อนข้างยาก ให้ผู้เรียนรู้สึกมีอิสระที่จะทาไม่ใช่การถูกบังคับ
4.2 บรรยากาศที่มีอิสระ บรรยากาศที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
ยอมรับนับถือความสามารถของตนเอง คือ บรรยากาศที่มีอิสระ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะเลือกสิ่งที่มี
ความหมายและมีคุณค่าสาหรับตนเอง ซึ่งทั้งนี้รวมถึงโอกาสที่จะทาผิดพลาดด้วย บรรยากาศเช่นนี้จะ
ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดความมั่นใจตนเองที่จะศึกษาค้นคว้าไม่เกิดความเครียด
4.3 บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ การที่ครูเห็นคุณค่าในตัวผู้เรียน เป็นสิ่งสาคัญ
ในการพัฒนาความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การจัดการเรียนการสอนไม่มีอะไรสาคัญเท่ากับ
ความรู้สึกที่ครูเห็นว่าผู้เรียนเป็นบุคคลที่สาคัญ มีคุณค่าและสามารถเรียนได้ ถ้าครูมีความรู้สึกเช่นนี้
ให้กับผู้เรียนอย่างจริงใจ จะมีผลต่อการกระทากิจกรรมต่างๆ ของผู้เรียน นอกจากนี้ผู้เรียนจะรู้สึกว่า
ตนเองมีคุณค่าและยอมรับนับถือในตนเอง ความรู้สึกเช่นนี้เป็นสิ่งจาเป็นมากสาหรับผู้เรียนที่มีปมด้อย
ขาดความมั่นใจในตนเอง ดังนั้นครูจึงควรพยายามถ่ายทอดความรู้สึกที่แสดงถึงคุณค่าและความสาคัญ
ของผู้เรียนให้ผู้เรียนได้รับรู้
4.4 บรรยากาศที่มีความอบอุ่น ความรู้สึกทางด้านจิตใจมีผลต่อความสาเร็จในการ
เรียน ดังนั้นการที่ครูมีความเข้าใจ เป็นมิตร ยอมรับ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ จะทาให้ผู้เรียนเกิด
ความอบอุ่น สบายใจอยากเข้าใกล้ ความรู้สึกเช่นนี้จะส่งผลต่อผู้เรียนที่จะเรียนรู้อย่างมีความสุข
ดังนั้นบรรยากาศที่มีความอบอุ่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และผู้เรียนรู้สึกว่าครูเอื้ออาทรกับการ
กระทาของตน จะทาให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกรักการเรียน
4.5 บรรยากาศแห่งการควบคุม หมายถึงบรรยากาศที่มีวินัย แต่มิได้อยู่ภายใต้การ
ควบคุม ลงโทษ ครูจะต้องชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจว่า เพราะเหตุใดจึงต้องทาสิ่งนี้ แต่ไม่ทาสิ่งนั้น วิธีการ
พูดของครูมีความสาคัญมาก ต้องสุภาพแต่มีความหนักแน่น และอีกสิ่งหนึ่งที่ครูจะต้องคานึงถึง คือ
ไม่ให้สิทธิพิเศษกับผู้เรียนบางคน มิเช่นนั้นจะมีปัญหาว่าทาไมคนนี้ทาได้แต่คนนั้นทาไม่ได้ เทคนิคการ
ควบคุมที่ใช้ได้ผลดีโดยมิให้ผู้เรียนรู้ตัว คือ การที่ครูพูดให้ผู้เรียนเข้าใจว่า ทุกคนล้วนเป็นคนที่มี
ความสาคัญต่อครูทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ว่าผู้เรียนจะทาอะไร การกระทานั้นๆ ของเขาล้วนมีความสาคัญ
ทั้งสิ้น
4.6 บรรยากาศแห่งความสาเร็จ เป็นสิ่งที่ครูควรสร้างให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน เพราะ
ความเห็นชอบจากบุคคลที่มีความสาคัญต่อผู้เรียน จะมีผลต่อความสาเร็จในการกระทากิจกรรมต่างๆ
และการไม่ได้รับความเห็นชอบจะมีผลต่อความสาเร็จในการกระทากิจกรรมต่างๆ น้อยลง ดังนั้น ครู
จึงควรพูดถึงความสาเร็จมากกว่าการพูดถึงความล้มเหลวของผู้เรียน เพราะความล้มเหลวไม่ช่วยให้
เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะคนเราจะเรียนรู้ว่าตนเองมีความสามารถนั้นเกิดจากความสาเร็จมิใช่
ความล้มเหลว
4.7 บรรยากาศแห่งความใกล้ชิด การเอาใจใส่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของอารมณ์
ความรู้สึกและความสามารถของผู้เรียนจะทาให้ผู้เรียนมีความรู้สึกดีงาม มีชีวิตชีวา ตื่นตัว
กระฉับกระเฉง และรู้สึกว่ามีความสาคัญ ความเอาใจใส่เหล่านี้ครูสามารถแสดงออกได้ในหลายๆ
ลักษณะ เช่น การสัมผัส แตะต้องทางกาย การมอง การยิ้มให้ การสบตา การใช้คาพูด การแสดงออก
ทางสีหน้า การแสดงเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
วินัยในชั้นเรียน
1. ความหมายของวินัยในชั้นเรียน
ก่อนที่จะทาความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยในชั้นเรียนนั้น ขอนาเสนอความหมายของคาว่า
“วินัย” เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจดังนี้
คาว่า “วินัย” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546: 1077)
หมายถึง ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ
พนัส หันนาคินทร์ และคณะ (2542: 36) ให้ความหมายความมีวินัย ว่าหมายถึง การ
ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คาสั่ง กติกา และกฎหมาย ตามที่สังคมได้วางไว้ หรือตามที่กลุ่มได้
ตกลง อันจะนามาซึ่งความสงบสุข ความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคง และปลอดภัย
พิชัย เสงี่ยมจิตต์ (2550 : 56). สรุปไว้ว่า วินัยชั้นเรียน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูทา
เพื่อที่จะช่วยให้นักเรียนประพฤติปฏิบัติในชั้นเรียนให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
จากความหมายของวินัยที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า วินัย หมายถึง การฝึกฝน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีระบบ มีขั้นตอน เพื่อให้บุคคลสามารถควบคุมตนเอง และประพฤติตนให้
อยู่ในกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม อันจะเกิดความสงบสุขและเป็นระเบียบต่อการจัดระเบียบของ
สังคม
ส่วนคาว่า “วินัยในชั้นเรียน” นักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
จาเนียร ศิลปะวานิช (2538: 102) กล่าวว่า วินัยในชั้นเรียน หมายถึง การรู้จักปกครอง
ตนเอง การกระทาตามระเบียบหรือข้อบังคับต่างๆ อันเกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติที่มองเห็น
คุณค่าซึ่งการปฏิบัติจะดารงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย และเกิดความเสมอภาคแก่สมาชิกทุกคน รวมทั้ง
เป็นเครื่องยืนยันสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียน
Dunhill (1964: 1) กล่าวว่า วินัยในชั้นเรียนเป็นสภาพการณ์ต่างๆ ในชั้นเรียนที่เอื้อ
ประโยชน์ให้ครูสามารถดาเนินบทเรียนโดยปราศจากสิ่งรบกวนใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราศจาก
พฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน
สรุปได้ว่า วินัยในชั้นเรียน หมายถึง สภาพการณ์ที่จัดขึ้น อาจหมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์
ข้อบังคับ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้ผู้สอนและผู้เรียนนามาใช้ในชั้นเรียน เพื่อให้พัฒนาผู้เรียน
เป็นไปอย่างเหมาะสม
2. ความสาคัญของวินัยในชั้นเรียน
นอกจากนี้ Hurlock (1984: 395) ได้อธิบายความสาคัญของวินัยสาหรับผู้เรียนคือ
1. วินัยช่วยให้ผู้เรียนมั่นใจ เพราะเป็นการบอกว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ และสิ่งใดไม่ควร
ปฏิบัติ
2. วินัยช่วยให้ผู้เรียนหลีกเลี่ยงต่อความรู้สึกผิด หรืออับอายต่อพฤติกรรมผิด ความรู้สึก
ที่ไม่สามารถเลี่ยงได้นี้จะทาให้ไม่มีความสุข และเกิดการปรับตัวที่ไม่ดี วินัยจะช่วยให้เด็กอยู่ใน
มาตรฐานการยอมรับของสังคม
3. วินัยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้พฤติกรรมที่ได้รับการสรรเสริญ ทาให้ผู้เรียนได้รับความรัก
และการยอมรับที่สาคัญ คือ นามาซึ่งการปรับตัวเพื่อให้ประสบผลสาเร็จและมีความสุข
4. วินัยช่วยรักษาแรงจูงใจในการเสริมแรงตนเอง ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้รับสิ่งที่เป็น
ความต้องการของตนเอง
5. การมีวินัยช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาจิตสานึก มโนธรรม ซึ่งช่วยทาให้มีการตัดสินใจ
และควบคุมพฤติกรรมด้วยตนเอง
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7

More Related Content

What's hot

รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพรายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพZnackiie Rn
 
รายงานโครงงานสบู่สมุนไพร
รายงานโครงงานสบู่สมุนไพรรายงานโครงงานสบู่สมุนไพร
รายงานโครงงานสบู่สมุนไพรpomngam
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการWichai Likitponrak
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้Bhayubhong
 
ชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม
ชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซมชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม
ชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซมMoukung'z Cazino
 
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือเฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือSupaporn Khiewwan
 
แผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศก
แผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศกแผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศก
แผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศกKob Ying Ya
 
แบบฟอร์มใบความรู้ใบงาน
แบบฟอร์มใบความรู้ใบงานแบบฟอร์มใบความรู้ใบงาน
แบบฟอร์มใบความรู้ใบงานTotsaporn Inthanin
 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDnaการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDnaWan Ngamwongwan
 
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงkasetpcc
 
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานMypoom Poom
 
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะรายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะมาณวิกา นาคนอก
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศNawanan Theera-Ampornpunt
 
รูปร่างลักษณะของเซลล์
รูปร่างลักษณะของเซลล์รูปร่างลักษณะของเซลล์
รูปร่างลักษณะของเซลล์dnavaroj
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบworapanthewaha
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1jamjuree_ben
 

What's hot (20)

รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพรายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
รายงาน เรื่อง โครงงานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) : เทคนิคการถ่ายภาพ
 
รายงานโครงงานสบู่สมุนไพร
รายงานโครงงานสบู่สมุนไพรรายงานโครงงานสบู่สมุนไพร
รายงานโครงงานสบู่สมุนไพร
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
 
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
 
พลังงานน้ำ
พลังงานน้ำพลังงานน้ำ
พลังงานน้ำ
 
ชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม
ชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซมชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม
ชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม
 
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือเฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
 
แผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศก
แผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศกแผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศก
แผนที่ 2 การจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ศก
 
แบบฟอร์มใบความรู้ใบงาน
แบบฟอร์มใบความรู้ใบงานแบบฟอร์มใบความรู้ใบงาน
แบบฟอร์มใบความรู้ใบงาน
 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDnaการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีDna
 
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผงตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
 
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงานใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เค้าโครงของโครงงาน
 
ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิต
 
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะรายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
 
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
โรงไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้า
โรงไฟฟ้า
 
รูปร่างลักษณะของเซลล์
รูปร่างลักษณะของเซลล์รูปร่างลักษณะของเซลล์
รูปร่างลักษณะของเซลล์
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 

Viewers also liked

บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)นางสาวอัมพร แสงมณี
 

Viewers also liked (20)

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
บทที่2  ระบบการเรียนการสอนบทที่2  ระบบการเรียนการสอน
บทที่2 ระบบการเรียนการสอน
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
บทที่1 ทฤษฎีการเรียนรู้
 
คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่าบทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
บทที่ 2 ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า
 
คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
 
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
บทที่1 แนวคิดเกี่ยวกับการรเรียนรู้ (1)
 
คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4
 
คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5
 
คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8
 
คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  8แผนบริหารการสอนประจำบทที่  8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 

Similar to แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7

การจัดสภาพแวดล้อม
การจัดสภาพแวดล้อมการจัดสภาพแวดล้อม
การจัดสภาพแวดล้อมJit Khasana
 
การบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียนการบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียนphatcom10
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่มJunya Punngam
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2Jiramet Ponyiam
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยKorakob Noi
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1Areerat Sangdao
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยArm Watcharin
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการProud N. Boonrak
 
เทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนเทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนkittitach06709
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
การจัดการชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียน Arinee Yusuf
 

Similar to แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7 (20)

การจัดสภาพแวดล้อม
การจัดสภาพแวดล้อมการจัดสภาพแวดล้อม
การจัดสภาพแวดล้อม
 
การบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียนการบริหารจัดการชั้นเรียน
การบริหารจัดการชั้นเรียน
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย2
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
ผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลจังหวัดสุพรรณบุรี เขต 1
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วย
 
Utq 2128 1-pdf
Utq 2128 1-pdfUtq 2128 1-pdf
Utq 2128 1-pdf
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
 
เทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนเทคนิคการสอน
เทคนิคการสอน
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
ครูมืออาชีพ
ครูมืออาชีพครูมืออาชีพ
ครูมืออาชีพ
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
การจัดการชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียน
 
Ch 2
Ch 2Ch 2
Ch 2
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี

อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี (15)

คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
 
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
อ.วนิดา บทที่-9-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-22-aug-57
 
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
อ.วนิดา บทที่-8-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-19-aug-57
 
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-7-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
 
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
อ.วนิดา บทที่-6-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-20-july-57
 
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
อ.วนิดา บทที่-5-ตำราสารสนเทศท้องถิ่น-14-july-57
 
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 4 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 3 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7

  • 1. บทที่ 7 การจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่หลักของผู้สอน การจัดการเรียนรู้จะบรรลุตามจุดประสงค์ มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการชั้นเรียน ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียน กับผู้เรียน โดยมีการจัดกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ชั้นเรียนจึงมีความสาคัญยิ่งต่อ ผู้เรียนและผู้สอน หากผู้สอนมีการจัดการชั้นเรียนที่ดี ภายใต้การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่ดี ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนประสบความสาเร็จ ในที่นี้ขอเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนและ สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ดังนี้ การบริหารจัดการชั้นเรียน 1. ความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียน คาว่า “Classroom Management” นั้นยังไม่มีศัพท์บัญญัติเป็นทางการ บางคน บัญญัติศัพท์ว่า การปกครองชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การจัดการห้องเรียน การจัดการใน ห้องเรียน การจัดชั้นเรียน หรือการบริหารจัดการชั้นเรียน แต่ในที่นี้จะใช้คาว่าการบริหารจัดการชั้น เรียน ซึ่งนักวิชาการได้ให้ความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียนไว้ดังนี้ สุรางค์ โค้วตระกูล (2553: 436) ได้กล่าวถึงความหมายการบริหารจัดการชั้นเรียน อย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึง การสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการ เรียนรู้ของผู้เรียน หรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทาเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2550: 40-41) อธิบายว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนว่าเป็นการ จัดหาและวิธีการที่จาเป็น เพื่อสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน โดยมี วัตถุประสงค์หลักของการจัดการชั้นเรียนไม่ใช่การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่เป็น การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียนมิใช่มุ่งแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ปรารถนาของ นักเรียน แต่เป็นการเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม
  • 2. ฆนัท ธาตุทอง (2552: 5) สรุปความหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียนว่าหมายถึง การตัดสินใจของผู้สอนในการดาเนินงานใดๆ ก็ตาม ที่เป็นการอานวยความสะดวกและการควบคุม พฤติกรรมเพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของครูผู้สอนในขณะนั้นได้เรียนรู้อย่างมีความสุขและ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ Brophy (1996: 5) อธิบายว่า การบริหารจัดการชั้นเรียนหมายถึง การที่ครูสร้างและดูแล สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อนาไปสู้การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านกายภาพ การ สร้างบรรยากาศทางวิชาการ จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การบริหารจัดการชั้นเรียน หมายถึง การดาเนินงานของผู้สอน ในการสร้างหรืออานวยความสะดวก ดูแลสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมี ความสุข มีพฤติกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ทั้งในด้านกายภาพและบรรยากาศทางวิชาการ 2. ความสาคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน การบริหารจัดการชั้นเรียนที่เหมาะสม ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพของการจัดการ เรียนรู้มีประสิทธิภาพ หากผู้สอนคุมชั้นเรียนได้ ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ย่อมเป็นชั้น เรียนที่ต้องการ ในที่นี้ขอนาเสนอความสาคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน ตามแนวคิดของ นักวิชาการ ดังนี้ จิตตินันท์ บุญสถิรกุล (2548: 243) ได้อธิบายความสาคัญของการบริหารจัดการชั้น เรียนไว้ 6 ประการดังนี้ 1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดาเนินการไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับ แคบจนเกินไป ทาให้ผู้เรียนเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติกิจกรรม 2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ผู้เรียนจะซึมซับ สิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว 3. ช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างเหมาะสม มีนั่งไม่ใกล้ กระดานจนเกินไป มีขนาดโต๊ะเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของผู้เรียน เป็นต้น 4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความสนใจในบทเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น การจัดการ มุมวิชาการต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของผู้เรียน
  • 3. 5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น 6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูเข้าใจ ผู้เรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อผู้เรียน และผู้เรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ศศิธร ขันติธรางกูร (2551: 2-3) กล่าวถึงความสาคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียนไว้ 5 ประการดังนี้ 1. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลา ด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของผู้เรียน 2. ผู้เรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดัง และสิ่งรบกวน หรือจัดการที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนาไปสู่การแสดง พฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทาให้ผู้เรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ ได้อย่างเต็มที่ 3. การกาหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการบริหารจัดการชั้นเรียน เพราะจะทาให้ผู้เรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของ ตนเองโดยไม่แสดงออกหรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น 4. ชั้นเรียนทีมีการจัดกับพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม จะทาให้ครูสามารถ ดาเนินการสอนได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียเวลากับแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้เรียน 5. การบริหารจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความ เอื้ออาทรโดยคานึงถึงกฎระเบียบของชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ แล้วยังมีผลในระยะยาวคือเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัย เพื่อการเป็นพลเมืองดีในอนาคตอีกด้วย สรุปได้ว่า การบริหารจัดการชั้นเรียน มีความสาคัญต่อผู้สอน คือทาให้การสอนดาเนินไป อย่างราบรื่น มีระเบียบวินัย และมีความสาคัญต่อผู้เรียน คือ สร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม เสริมการ เรียนรู้ เจตคติที่ดีต่อการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีบ่มเพาะการเป็นพลเมืองดีในอนาคตด้วย 3. ลักษณะชั้นเรียนที่พึงประสงค์ ชั้นเรียนที่พึงประสงค์ย่อมส่งผลต่อความสาเร็จของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ลักษณะชั้นเรียนที่พึงประสงค์ (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553: 240) มีดังนี้ 1. ชั้นเรียนควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ ถูกสุขลักษณะ
  • 4. 2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออานวยต่อการสอน และกิจกรรมเป็น ประเภทต่างๆ 3. ให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรภาพ และมีวินัยให้การดูแลตนเอง 4. ใช้ประโยชน์จากชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงเป็นห้องประชุม ห้องฉาย ภาพยนตร์และอื่นๆ 5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้พร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทางานกลุ่ม การสาธิต การแสดงบทบาทสมมติ 6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองแก่ผู้เรียน นอกจากนี้ สุรางค์ โคว้ตระกูล (2556 : 472-473) ได้สรุปลักษณะห้องเรียนที่มี ประสิทธิภาพควรคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1. การจัดที่นั่งของนักเรียน ครูควรจัดที่นั่งที่ครูสามารถเห็นนักเรียนทุกคนว่ากาลังทา การอะไรอยู่ การจัดที่นั่งที่ที่ใช้กันในโรงเรียนมักจะจัดให้ครูมีโต๊ะอยู่หน้าชั้นเรียน และนักเรียนนั่ เป็นแถวอย่างมีระเบียบ ที่จริงแล้วถ้าเป็นไปได้ การจัดที่นั่งต้องจัดให้ตรงกับจุดประสงค์ของบทเรียน และเทคนิคการสอนที่ครูใช้ 2. ควรสร้างบรรยากาศของห้องเรียน ที่ช่วยให้นักเรียนรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของ ห้องหรือเป็นสมาชิกคนหนึ่งของห้อง และมีแรงจูงใจภายในที่จะเรียนรู้ 3. ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายกฎระเบียบต่างๆ ของห้องเรียนที่ครูทั้งโรงเรียน ตั้งขึ้น และส่งเสริมให้นักเรียนออกความคิดเห็นว่ากฎระเบียบอันใดควรจะปรับปรือเปลี่ยน ผสมกับ เสนอแนะกฎระเบียบใหม่ ทั้งนี้เพื่อนักเรียนจะได้รู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในการตั้งกาเกณฑ์ และนักเรียน มีหน้าที่ที่จะรักษาและประพฤติตามกฎระเบียบที่มีไว้โดยดี 4. การเตรียมการสอนของครูนั้น ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนจะมีงานทา อยู่เสมอ เพราะการว่างงานเป็นเหตุหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ผิด 5. ครูจะต้องตระหนักเสมอว่า หน้าที่ที่สาคัญของครูอย่างหนึ่งก็คือ การดูแลนักเรียน ทั้งชั้น ทุกชั่วโมง ทุกนาที ครูต้องตระหนักรู้ว่านักเรียนแต่ละคนกาลังทาอะไรอยู่ ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่าลักษณะชั้นเรียนที่พึงประสงค์คือ ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเรียนแล้วมีความสุข เกิดการเรียนรู้สูงสุด ผู้สอนสามารถจัดการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 5. 4. หลักการสาคัญในการจัดการชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียนให้ประสบความสาเร็จ และเป็นชั้นเรียนแห่งความสุขนั้น ผู้สอนควร ยึดหลักสาคัญในการจัดการชั้นเรียน (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553: 17) มีดังนี้ 1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องเรียน ใหญ่หรือกว้าง เพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอีจัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ ถ้าเป็น ห้องเรียนเล็กๆ หลายๆ ห้องติดกัน ควรทาฝาเลื่อน เพื่อเหมาะสมแก่การทาให้ห้องกว้างขึ้น 2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมสร้างความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทากิจกรรม หรือหนังสืออ่านประกอบที่น่าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อผู้เรียนจะได้ค้นคว้าทากิจกรรมควรติดอุปกรณ์ รูปภาพ และผลไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพซึ่งมี อิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของผู้เรียนเป็นอันมาก ผู้เรียนมีส่วนช่วยเสริมสร้าง สภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้ผู้เรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับ ห้องเรียน จัดที่ว่างในชั้นเรียนให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรม คอยให้คาแนะนาในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด ควรมีเป็นกันเองกับผู้เรียน ให้ ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน 4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่ผู้เรียน รู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะเรียน ที่นั่ง ขอบประตู หน้าต่าง ขอบกระดาน แปรงลบ กระดาน ฝาผนัง เพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องเททุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็น และบริเวณ ที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดของเชื้อโรค 5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั้งอุปกรณ์ ของใช้ต่างๆ เช่น การจัดโต๊ะ ตู้ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้ผู้เรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะช่วยให้ผู้เรียนเคยชินต่อความเป็นระเบียบ 6. ควรจะชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดได้ ดังนี้ 6.1 จัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มทางาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการ ทางานร่วมกับผู้อื่น 6.2 จัดที่นั่งของผู้เรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้สิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
  • 6. 6.3 จัดโอกาสให้ผู้เรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นากลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นาและผู้ ตามที่ดี 7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นการจัดการ เรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสาคัญและใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูควรจัดสภาพห้องเรียน ให้เอื้ออานวยต่อการเรียน เช่น จัดที่นั่งเป็นรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที รูปครึ่งวงกลม หรือ จัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถาม กล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความอยากรู้ อยากเรียน เป็นต้น ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสังคมได้ในที่สุด นอกจากนี้ Brophy (1996: 48) ยังได้กล่าวถึงหลักการจัดการชั้นเรียนให้มี ประสิทธิภาพไว้อย่างสอดคล้องกัน ดังนี้ 1. ควรมีการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในชั้นเรียนให้เรียบร้อยและเอื้อต่อการใช้งาน 2. ควรมีการกาหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของผู้เรียนในชั้นเรียน 3. ควรมีการสร้างข้อตกลงกฎกติกาในชั้นเรียน โดยดาเนินการตั้งแต่วันแรกของภาค เรียน ทั้งนี้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลง 4. ควรจัดการเรียนการสอนด้วยความราบรื่น เป็นขั้นตอนเป็นไปตามแผนที่ครูวางไว้ 5. ควรจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนในระหว่างชั้นเรียน 6. ควรมีการจัดการเกี่ยวกับการทากิจกรรมของผู้เรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้ผู้เรียน สนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนการเรียนให้มีน้อยที่สุด 7. ควรมีการดาเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตามความต้องการของผู้เรียน แต่ละคน สรุปได้ว่า หลักการจัดการชั้นเรียนที่ดีผู้สอนควรคานึงถึงโอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับการ เรียนรู้อย่างครบถ้วนทุกคน ด้วยการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมทางสังคมและจิค ใจที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข ตามจุดประสงค์ที่กาหนดไว้
  • 7. การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน 1. ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน บรรยากาศในชั้นเรียน เป็นปัจจัยสาคัญประการหนึ่งของการบริหารจัดการในชั้นเรียน ผู้สอนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ในที่นี้นาเสนอตามลาดับดังนี้ วัฒนา พัชราวนิช (2544: 151) อธิบายว่าการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนว่าหมายถึง การ จัดสภาพแวดล้มให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนให้ดาเนิน ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมี ระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน อาภรณ์ ใจเที่ยง (2553: 239) กล่าวว่าการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัด สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออานวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียน การสอนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้าง เสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนหมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ กระบวนการจัดการเรียนรู้พฤติกรรมผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ 2. ความสาคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนมีความสาคัญ (นวรัตน์ สมนาม . 2546: 213 และ อาภรณ์ ใจเที่ยง . 2553: 239-240) ดังนี้ 1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดาเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ทาให้ นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทากิจกรรม 2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับ สิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
  • 8. 3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเท สะดวก มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดามากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียน นักศึกษา ฯลฯ 4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุม วิชาการต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน 5. สนับสนุนผู้เรียนให้ความร่วมมือกับผู้สอนตลอดเวลา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไป ในทางที่พึงประสงค์ 6. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง รู้จักตนเองดีขึ้น และพร้อมที่จะ ช่วยเหลือผู้อื่น 7. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจ นักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน 8. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ 2. ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ บรรยากาศทาง กายภาพและบรรยากาศทางจิตวิทยา มีรายละเอียดดังนี้ 2.1 บรรยากาศทางกายภาพ หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ในชั้นเรียน ทั้งที่ สังเกตเห็นได้โดยตา เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตา เช่น แสง สี เสียง ซึ่งสิ่ง เหล่านี้มีผลต่อการจดการเรียนรู้ของผู้สอน และส่งเสริมการเกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัด บรรยากาศทางกายภาพ ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศทางกายภาพได้ดังนี้ (วัฒนา พัชราพานิช, 2544: 152 – 154 และนวรัตน์ สมนาม, 2546: 214) 2.1.1 โต๊ะเรียนและเก้าอี้ โต๊ะเรียนควรเป็นโต๊ะเดี่ยว และไม่หนักเกินไปสาหรับ เลื่อนย้ายจัดเป็นรูปต่างๆ ตามกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอน โต๊ะเรียนและเก้าอี้ ควรจัดดังนี้ 2.1.1.1 มีช่องว่างระหว่างแถว ที่ผู้เรียนจะลุกนั่งได้สะดวก 2.1.1.2 โต๊ะเก้าอี้ควรมีน้าหนักเบาทาให้ความสะดวกต่อการทาความสะอาด และเคลื่อนย้าย
  • 9. 2.1.1.3 มีรูปแบบไม่จาเจ อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู ครึ่งวงกลม ได้อย่าง เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนที่นั่งอยู่ทุกจุดอ่านกระดานได้ชัดเจน 2.1.1.4 แถวหน้าของโต๊ะเรียน จะต้องห่างจากกระดานประมาณ 3 เมตรจะ ทาให้ผู้เรียนแหงนหน้ามองกระดานและหายใจรับฝุ่นชอล์กทาให้เสียสุขภาพ 2.1.1.5 จัดโต๊ะและเก้าอี้ให้ผู้เรียนนั่งสบายๆ เหมาะสมกับวัยและรูปร่างของ ผู้เรียน 2.1.1.6 โต๊ะเก้าอี้ควรมีความมั่นคง แข็งแรง และมีความปลอดภัยต่อผู้เรียน เช่น ไม่ควรใช้โต๊ะที่เหลี่ยมกับผู้เรียนปฐมวัย 2.1.1.7 ถึงแม้การจัดที่นั่งในชั้นเรียนจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว หากก็ มีแนวทางบางอย่างที่ถือเป็นหลักในการจัดที่นั่งที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ จัดการเรียนการสอน อันได้แก่แนวทางดังต่อไปนี้ 1) จัดที่นั่งให้คละกันระหว่างเด็กหญิงเด็กชาย เด็กเรียนเก่งและเด็ก เรียนอ่อน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ เหล่านี้ได้สงสรรค์และทางานร่วมกับคนที่แตกต่างไปจากตัวเขา 2) จัดที่นั่งที่เอื้อให้การเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ (cooperative learning) มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ให้เด็กแต่ละคน กลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน สามารถสลับที่นั่งกันได้ใน บางโอกาสโดยสะดวก 3) จัดที่นั่งให้เด็กทุกคนมีโอกาสมองเห็น และได้ยินครูที่อยู่บริเวณ หน้าชั้น 4) ยอมให้เด็กที่สนิทกันนั่งติดกันได้ หากครูทาเช่นนี้ เด็กจะแสดง ความรับผิดชอบในการทางาน แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ก็สามารถเปลี่ยนที่นั่งใหม่ได้ 5) จัดให้มีที่ว่างตามสมควรสาหรับทางสัญจรไปมาในชั้นเรียน 6) จัดที่นั่งให้ห่างจากสิ่งรบกวนสมาธิในการเรียนของเด็ก 7) เด็กที่มีปัญหาทางสายตาหรือการได้ยินให้จัดที่นั่งบริเวณแถวหน้า 8) เปลี่ยนที่นั่งใหม่ทุก 2-3 เดือน เพื่อให้เด็กที่นั่งแถวริมนอกได้มี โอกาสมานั่งตรงกลางหรือด้านหน้าบ้าง 2.1.2 โต๊ะครู วางในตาแหน่งที่มองเห็นผู้เรียนได้ทั่วถึงและไม่เกะกะในการจัดการใช้ วางในห้องเรียน อาจเป็นมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน มีวิธีการจัดโต๊ะครู ต้องคานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 2.1.2.1 การจัดวางโต๊ะครู จะต้องขึ้นกับรูปแบบการจัดที่นั่งของผู้เรียน
  • 10. 2.1.2.2 มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 2.1.3 กระดานชอล์ก ควรมีขนาดกว้างยาวพอสมควร ติดแนบสนิทกับฝาห้องเรียน ด้านหน้า 2.1.4 มีไว้เพื่อติดข่าวสารและผลงานของผู้เรียน วิธีการจัดป้ายนิเทศ ควรจัดดังนี้ 2.1.4.1 จัดตกแต่ง ออกแบบให้สวยงามน่าดู สร้างความสนใจให้แก่นักเรียน 2.1.4.2 จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน เช่น สรุปบทเรียนทบทวน บทเรียนเสริมความรู้ให้แก่ผู้เรียน 2.1.4.3 จัดใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สาคัญ หรือวันสาคัญต่างๆ ที่ผู้เรียนกาลังเรียนและควรรู้ 2.1.4.4 ติดผลงานผู้เรียน และแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าของผู้เรียนจะเป็น การให้แรงจูงใจที่ดีอีกวิธี 2.1.5 การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ ดังนี้ 2.1.5.1 มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้ สะดวก 2.1.5.2 มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อ เป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป 2.1.5.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ 2.1.5.4 มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทางานร่วมกัน 2.1.6 การจัดมุมต่างๆ ในห้องเรียน ได้แก่ 2.1.6.1 มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียน อ่านคล่อง ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือ หลายๆ ประเภทที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่ มาเปลี่ยนบ่อยๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน 2.1.6.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่างๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสริมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ ข่าวเหตุการณ์ เป็นต้น
  • 11. 2.1.6.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือ จัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสาเร็จ และมีกาลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้ง ยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลาดับได้อีกด้วย 2.1.6.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคา แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่า เกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง 2.1.6.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่ง ห้องเรียนด้วยสิ่งต่างๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คาขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรก รุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้อนแสง อาจทาให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่ง ห้องเรียนควรคานึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม 2.1.6.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทาความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือ เครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้า กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่าง เป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ 2.2 บรรยากาศทางจิตวิทยา บรรยากาศทางจิตวิทยา หมายถึง สภาพแวดล้อมในชั้น เรียนในมิตินามธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด อันเกิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน พฤติกรรมของ ผู้สอน สัมพันธภาพของบุคคลในชั้นเรียน (อาภรณ์ ใจเที่ยง. 2553: 241 ; ศศิธร ขันติธรางกูร. 2551: 9) ซึ่งบุคลิกภาพของครู หรือครูที่มีบุคลิกภาพดี เช่น การแต่งการเรียบร้อย การยืน การเดิน ท่าทาง การใช้คาพูด แววตา เป็นต้น เหมาะสมกับการเป็นครู จะช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ได้ดี บุคลิกภาพของครูผู้สอนมีผลต่อความรู้สึกของผู้เรียน ดังนี้ 2.2.1 ครูแบบประชาธิปไตย ครูประเภทนี้จะสร้างบรรยากาศเป็นแบบ ประชาธิปไตย ผู้สอนและผู้เรียนจะยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ผู้สอนเปิดโครงการให้ผู้เรียน แสดงความคิดเห็นได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รู้จักการทางานร่วมกัน รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง มีเหตุผล ผู้เรียนจะรู้สึกสบายใจในการเรียน เป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีแนวทาง การจัดบรรยากาศ ดังนี้ 2.2.1.1 ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน พร้อมทั้งฝึกการใช้สิทธิ หน้าที่เหล่านั้น เช่น สิทธิในการเลือกประธานนักเรียน หัวหน้ากลุ่ม 2.2.1.2 จัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มทางานโดยหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อฝึกการ ทางานร่วมกับผู้อื่น
  • 12. 2.2.1.3 จัดที่นั่งของผู้เรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาส ปรับตัวเข้ากับกลุ่มอื่นได้ 2.2.1.4 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมกันสร้างระเบียบวินัยในชั้นเรียน เมื่อ ผู้เรียนเป็นผู้วางระเบียบ ก็จะยินดีที่จะปฏิบัติตามระเบียบนั้นๆ 2.2.1.5 จัดให้นักเรียนหมุนเวียนกันเป็นผู้นาในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ นักเรียนเป็นผู้นาและผู้ตามที่ดี 2.2.2 ครูแบบเผด็จการ ครูประเภทนี้จะเป็นแบบบังคับ ผู้เรียนไม่ให้แสดงความ คิดเห็น เป็นผู้บอกหรือกระทากิจกรรมทุกอย่าง ผู้เรียนไม่มีโอกาสคิดหรือทากิจกรรมที่ต้องการ จะ ก่อให้เกิดความรู้สึกเครียด ขาดความเป็นผู้นาขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นบรรยากาศที่ไม่ส่งเสริมให้ เกิดความรู้สึกที่ดี 2.2.3 ครูแบบตามสบาย ครูประเภทนี้จะเป็นแบบตามสบาย เป็นบรรยากาศที่ ผู้สอนมุ่งให้จบหลักสูตรโดยไม่สนใจว่าผู้เรียนจะสนใจหรือไม่ เข้าใจหรือไม่ เป็นบรรยากาศการเรียนที่ น่าเบื่อ ผู้เรียนย่อท้อสับสน ขาดระเบียบวินัย ผู้สอนไม่สามารถคุมชั้นเรียนได้ เป็นบรรยากาศที่ไม่ ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี 2.3 บรรยากาศทางวิชาการ หมายถึงสภาพที่เอื้อต่อการค้นคว้าข้อมูลและสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ (กรกฎา นักคิ้ม และ เจษฎา บุญมาโฮม. 2555 : 25-26) ได้สรุปไว้ว่า บรรยากาศทางวิชาการ ได้แก่ 2.3.1 สานักวิทยบริการที่มีหนังสือที่มีหนังสือ ข้อมูล สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุการเรียนรู้ ต่างๆ ตลอดจนการค้นคว้าและบริการสืบค้นทางอินเทอร์เนต เป็นต้น 2.3.2 ห้องสมุด เป็นศูนย์รวมของความรู้ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระบบ 2.3.3 ศูนย์การเรียนต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น เช่น ศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย ศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ ศูนย์ผีเสื้อ เป็นต้น 2.3.4 การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียนควรจัดดังนี้ 2.3.4.1 มุมหนังสือ มีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้ผู้เรียนอ่านคล่อง การค้นคว้าหาความรู้ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2.3.4.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ เพื่อ ช่วยเสริมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย มุมคณิตศาสตร์ เป็นต้น
  • 13. 2.3.4.3 มุมแสดงผลงานของผู้เรียน ผู้สอนควรติดป้ายนิเทศ แขวนหรือจัด วางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในความสาเร็จ และมีกาลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้ง ยังสามารถแก้ไขผลงานของตนอีกด้วย 2.3.4.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคา แผนภูมิ เป็นต้น ควรจัด ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วนสะดวกต่อการหยิบใช้ 2.3.4.5 ของจริง เช่น สัตว์ พืช โดยเฉพาะชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย ควรนา พืชมาตกแต่งชั้นเรียนให้สวยงาม หรือ สัตว์เลี้ยง เช่น ปลาสวยงาม มาไว้ในชั้นเรียนทาให้ผู้เรียนอยาก มาโรงเรียนเพื่อให้อาหาร และเฝ้าดูเป็นการปลูกฝังความเมตตากรุณา 3. ลักษณะของการจัดชั้นเรียน การจัดชั้นเรียนในแต่ละระดับการศึกษา ย่อมมีความแตกต่างกันตามเป้าหมายของการ จัดการศึกษา วุฒิภาวะ และพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละละช่วงวัย ลักษณะของชั้นเรียนระดับต่างๆ (วัฒนา พัชราวนิช. 2544: 158-159) มีดังนี้ 3.1 ระดับปฐมวัย ผู้เรียนที่เรียนในระดับปฐมจะมีอายุตั้งแต่ 3-5 ปี ผู้เรียนในระดับปฐมวัยจะยังไม่ พร้อมที่จะเรียน ระบบการศึกษาจึงกาหนดเพียงการสอนให้ผู้เรียนรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ภายนอกบ้าน และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนเมื่อถึงเกณฑ์ ดังนั้นชั้นเรียนจึงเป็น ศูนย์กลางของชีวิตประจาวัน ควรมีบรรยากาศของความปลอดภัยและอบอุ่นคล้ายบรรยากาศในบ้าน ที่ผู้เรียนเคยชิน ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาได้เร็วขึ้น การจัดชั้นเรียนในระดับปฐมวัยนั้น สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนควรทาให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวอย่าง อิสระ โต๊ะและเก้าอี้ ควรได้สัดส่วนกับร่างกายผู้เรียน มีความยืดหยุ่นในการจัดชั้นเรียนและใช้พื้นที่ เพื่อประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด ผู้เรียนจะมีการพัฒนาและเกิดความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆ ด้าน การจัด พื้นที่ในชั้นเรียน ควรแบ่งออกเป็นมุมหรือศูนย์การเรียนต่างๆ เพื่อจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า
  • 14. 3.2 ระดับประถมศึกษา ผู้เรียนที่เรียนในระดับนี้ อายุตั้งแต่ 6-11 ปี การศึกษาระดับปฐมศึกษา มุ่งพัฒนา ต่อเนื่องจากระดับปฐมวัย ในด้านการอ่าน เขียน พูด สังเกต การใช้เหตุผล คานวณ ค้นคว้า และ สร้างสรรค์ รวมทั้งรู้จักรับผิดชอบ และเคารพสิทธิของผู้อื่น ระดับประถมศึกษานั้นควรจัดให้มี บรรยากาศน่าอยู่ ให้ความเพลิดเพลินเป็นสถานที่ให้การค้นคว้า ทากิจกรรมเสริมเจตคติแห่ง ประชาธิปไตยสร้างประสิทธิภาพในการเรียนรู้การจัดชั้นเรียน ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ .3.2.1 การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมชั้นเรียนควรเป็นห้อง ใหญ่และกว้าง สะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน 3.2.2 การจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้านโดยจัดอุปกรณ์ในการทา กิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่น่าสนใจไว้ตามมุมห้องเพื่อผู้เรียนจะได้ค้นคว้าทากิจกรรม อุปกรณ์หรือรูปภาพและผลงานไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 3.2.3 การจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของผู้เรียนเป็นอันมาก ครูมี ส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้ผู้เรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถาง ต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้ผู้เรียนทากิจกรรม คอยให้คาแนะนาในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหาเป็นกันเองกับผู้เรียน ให้ผู้เรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน 3.2.4 การจัดชั้นเรียน เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ ตรงที่ผู้เรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะ ม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่างขอบ กระดาน ชอล์ก แปรงลบกระดาน ฝาผนัง ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวันเพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และ บริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค 3.2.5 การจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั้ง อุปกรณ์ของใช้ต่างๆ การจัดโต๊ะ ตู้ ชั้นวางและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้ผู้เรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะช่วยผู้เรียนเคยชินต่อความเป็นระเบียบ
  • 15. 3.3 ระดับมัธยมศึกษา เด็กที่เรียนอยู่ในระดับนี้ อายุตั้งแต่ 12 – 17 ปี จุดประสงค์สาคัญประการหนึ่ง ก็คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สารวจความสามารถความถนัด และเจตคติของตนเองว่าจะเป็นไปในแนว ใด ทั้งนี้เพื่อจะได้จัดการส่งเสริมให้ชัดเจน และแน่นอนขึ้นในชั้นมัธยมปลาย ระดับมัธยมปลายซึ่ง ต้องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการทางานตามที่ได้เลือกไว้จาก มัธยมต้น สถานที่ในเรื่องนั้น ยิ่งมีความสาคัญมากขึ้น และจะต้องให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงตามที่ จะออกไปประกอบอาชีพนั้นๆ หรือเพื่อเป็นรากฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น สรุปได้ว่า การจัดชั้นเรียนที่เหมาะสม ผู้สอนควรคานึงถึงระดับชั้นและวัยของผู้เรียน ที่มี ความยึดหยุ่น สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับคือ ระดับปฐมวัย ประถมศึกษาหรือมัธนม ศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนทั้งบรรยากาศ ทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา และบรรยากาศทางวิชา ดังที่กล่าวข้างต้น ในหัวข้อนี้จะได้ กล่าวถึงการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่จะช่วยเอื้อต่อการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีความ ครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีรายละเอียดดังนี้ 1. ขอบข่ายของการจัดสภาพแวดล้อม นักการศึกษาเชื่อว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน โดยเกิดจาก การที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ทั้งวัตถุ สิ่งของ บุคคล และสภาพสังคมเมื่อผู้เรียนเข้าสู่ สถานพัฒนาผู้เรียนจะได้พัฒนาการเรียนจากสิ่งที่อยู่ในโรงเรียน ดังนั้นสภาพแวดล้อมจึงมีความสาคัญ ต่อการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งได้มีการกาหนดขอบข่ายของสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาไว้(วัฒนา พัช ราวนิช. 2544: 150) ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมในห้องเรียน ได้แก่ การจัดห้องเรียนให้มีที่เล่นในรูปแบบการเรียนรู้ และที่ทากิจกรรมการจัดเครื่องใช้ประเภท โต๊ะ เก้าอี้ ให้มีขนาดเหมาะกับผู้เรียนและจัดในรูปของการ ทากิจกรรมร่วมกับได้กระดานป้ายสาหรับติดผลงานของผู้เรียน
  • 16. 2. สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนในส่วน ที่เป็นร่วมให้มีเก้าอี้สามารถพักผ่อน และดูหนังสือได้ และสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนในส่วนที่เป็น กลางแจ้งให้มีเครื่องเล่น สนาม เป็นต้น 3. สภาพแวดล้อมทางด้านบุคลากรได้แก่ ครูประจาชั้น ผู้บริหาร ครูคนอื่นๆ และ นักการภารโรง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะอยู่ใกล้ชิดผู้เรียนและมีส่วนที่จะส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน บุคลากรที่อยู่กับผู้เรียนจึงควรเป็นผู้ที่มีกิริยามารยาทดี ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาการทั้งร่างกายสมอง อารมณ์และสังคม 2. การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนของผู้สอน การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนของผู้สอน คือ พฤติกรรมการสอนของผู้สอนนั่นเอง เนื่องจากพฤติกรรมการสอนมีบทบาทในการสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับผู้เรียน เช่นเดียวกับบุคลิกภาพ ของผู้สอน ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและทักษะตามจุดประสงค์การ เรียนรู้ พฤติกรรมการสอนของผู้สอนควรมีลักษณะดังนี้ (วัฒนา พัชราวนิช, 2544: 156) 2.1 ตอบสนองพฤติกรรมของผู้เรียนโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงที่เหมาะสม เช่น ใช้ วาจา ใช้ท่าทาง ให้รางวัล ให้สัญลักษณ์ความสาเร็จต่างๆ ที่ผู้เรียนชอบและต้องเสริมแรงให้ทั่วถึงและ เหมาะสม 2.2 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของ ผู้เรียนแสดงให้ผู้เรียนเห็น และพยายามนาความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ 2.3 ฝึกการทางานเป็นกลุ่ม จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการทางานร่วมกับคนอื่นได้ใช้ ความรู้ความคิดความสามารถที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ฝึกการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และได้ผลงาน นามาสู้ความภาคภูมิใจในกลุ่มและตนเอง 2.4 . ใช้เทคนิควิธีสอนที่ไม่ทาให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายในการเรียน หาแนวทางวิธีการ ใหม่ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอน โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบทเรียน ระยะเวลา สติปัญญาและวัย ของผู้เรียน
  • 17. 3. หลักการปกครองชั้นเรียน การที่ผู้สอนปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ผู้เรียนก็จะอยู่ในชั้นเรียนอย่างมีความสุข (วัฒนา พัชราวนิช, 2544: 156- 157) หลักในการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน มีดังนี้ 3.1 หลักประชาธิปไตย ผู้สอนให้ความสาคัญแก่ผู้เรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้โอกาสทุกคนแสดงความคิดเห็น ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่เคารพสิทธิของผู้อื่น 3.2 หลักความยุติธรรม ผู้สอนให้ความยุติธรรมแก่ผู้เรียนทุกคนโดยทั่วถึง ผู้เรียนจะ เคารพศรัทธาผู้สอน ยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบ ตลอดจนไม่สร้างปัญหาให้แก่ชั้นเรียน 3.3 หลักพรหมวิหารสี่ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้ายึดหลักพรหมวิหารสี่ ในการปกครองจะทาให้ผู้เรียนเคารพศรัทธาและมีความสุขในการเรียน ทั้งยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียนได้อีกส่วนหนึ่ง 3.4 หลักความใกล้ชิด หมายถึงผู้สอนแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ฯลฯ เป็นวิธี หนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความใกล้ชิดทาได้หลายวิธีดังนี้ 3.4.1 ผู้สอนต้องรู้จักผู้เรียนทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของผู้เรียนแต่ ละคน รวมทั้งจุดดี จุดด้อย ความสามารถพิเศษ 3.4.2 ผู้สอนแสดงความสนใจสารทุกข์สุขดิบของผู้เรียนแต่ละคน เช่น ถามถึง ความเป็นไปของพี่น้อง ความก้าวหน้าในการเรียนและกิจกรรมต่างๆ ที่ทา 3.4.3 มอบเวลาให้ผู้เรียน เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน เช่น เวลาเย็นหลังเลิก เรียน ช่วงพักระหว่างการเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ต้องการ คาปรึกษา เป็นต้น 3.4 คาสอนและการกระทาของผู้สอนจะต้องสอดคล้องกัน เช่น จะอบรมสั่งสอนเรื่อง ความซื่อสัตย์ ผู้สอนก็ต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วย
  • 18. 4. การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่พึงประสงค์ การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่พึงประสงค์ ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและทาให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ครูจึงจาเป็นต้องสร้าง บรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าดังนี้ 4.1 บรรยากาศที่ท้าทาย กระตุ้นให้กาลังใจ เพื่อให้ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในการ ทางาน พูดให้ผู้เรียนรู้สึกว่าครูเชื่อในความสามารถของเขาที่จะทางานนั้นๆ ให้สาเร็จได้ แม้ว่าจะเป็น งานที่ค่อนข้างยาก ให้ผู้เรียนรู้สึกมีอิสระที่จะทาไม่ใช่การถูกบังคับ 4.2 บรรยากาศที่มีอิสระ บรรยากาศที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ยอมรับนับถือความสามารถของตนเอง คือ บรรยากาศที่มีอิสระ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะเลือกสิ่งที่มี ความหมายและมีคุณค่าสาหรับตนเอง ซึ่งทั้งนี้รวมถึงโอกาสที่จะทาผิดพลาดด้วย บรรยากาศเช่นนี้จะ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดความมั่นใจตนเองที่จะศึกษาค้นคว้าไม่เกิดความเครียด 4.3 บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ การที่ครูเห็นคุณค่าในตัวผู้เรียน เป็นสิ่งสาคัญ ในการพัฒนาความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การจัดการเรียนการสอนไม่มีอะไรสาคัญเท่ากับ ความรู้สึกที่ครูเห็นว่าผู้เรียนเป็นบุคคลที่สาคัญ มีคุณค่าและสามารถเรียนได้ ถ้าครูมีความรู้สึกเช่นนี้ ให้กับผู้เรียนอย่างจริงใจ จะมีผลต่อการกระทากิจกรรมต่างๆ ของผู้เรียน นอกจากนี้ผู้เรียนจะรู้สึกว่า ตนเองมีคุณค่าและยอมรับนับถือในตนเอง ความรู้สึกเช่นนี้เป็นสิ่งจาเป็นมากสาหรับผู้เรียนที่มีปมด้อย ขาดความมั่นใจในตนเอง ดังนั้นครูจึงควรพยายามถ่ายทอดความรู้สึกที่แสดงถึงคุณค่าและความสาคัญ ของผู้เรียนให้ผู้เรียนได้รับรู้ 4.4 บรรยากาศที่มีความอบอุ่น ความรู้สึกทางด้านจิตใจมีผลต่อความสาเร็จในการ เรียน ดังนั้นการที่ครูมีความเข้าใจ เป็นมิตร ยอมรับ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ จะทาให้ผู้เรียนเกิด ความอบอุ่น สบายใจอยากเข้าใกล้ ความรู้สึกเช่นนี้จะส่งผลต่อผู้เรียนที่จะเรียนรู้อย่างมีความสุข ดังนั้นบรรยากาศที่มีความอบอุ่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และผู้เรียนรู้สึกว่าครูเอื้ออาทรกับการ กระทาของตน จะทาให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกรักการเรียน 4.5 บรรยากาศแห่งการควบคุม หมายถึงบรรยากาศที่มีวินัย แต่มิได้อยู่ภายใต้การ ควบคุม ลงโทษ ครูจะต้องชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจว่า เพราะเหตุใดจึงต้องทาสิ่งนี้ แต่ไม่ทาสิ่งนั้น วิธีการ พูดของครูมีความสาคัญมาก ต้องสุภาพแต่มีความหนักแน่น และอีกสิ่งหนึ่งที่ครูจะต้องคานึงถึง คือ ไม่ให้สิทธิพิเศษกับผู้เรียนบางคน มิเช่นนั้นจะมีปัญหาว่าทาไมคนนี้ทาได้แต่คนนั้นทาไม่ได้ เทคนิคการ ควบคุมที่ใช้ได้ผลดีโดยมิให้ผู้เรียนรู้ตัว คือ การที่ครูพูดให้ผู้เรียนเข้าใจว่า ทุกคนล้วนเป็นคนที่มี
  • 19. ความสาคัญต่อครูทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ว่าผู้เรียนจะทาอะไร การกระทานั้นๆ ของเขาล้วนมีความสาคัญ ทั้งสิ้น 4.6 บรรยากาศแห่งความสาเร็จ เป็นสิ่งที่ครูควรสร้างให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน เพราะ ความเห็นชอบจากบุคคลที่มีความสาคัญต่อผู้เรียน จะมีผลต่อความสาเร็จในการกระทากิจกรรมต่างๆ และการไม่ได้รับความเห็นชอบจะมีผลต่อความสาเร็จในการกระทากิจกรรมต่างๆ น้อยลง ดังนั้น ครู จึงควรพูดถึงความสาเร็จมากกว่าการพูดถึงความล้มเหลวของผู้เรียน เพราะความล้มเหลวไม่ช่วยให้ เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะคนเราจะเรียนรู้ว่าตนเองมีความสามารถนั้นเกิดจากความสาเร็จมิใช่ ความล้มเหลว 4.7 บรรยากาศแห่งความใกล้ชิด การเอาใจใส่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของอารมณ์ ความรู้สึกและความสามารถของผู้เรียนจะทาให้ผู้เรียนมีความรู้สึกดีงาม มีชีวิตชีวา ตื่นตัว กระฉับกระเฉง และรู้สึกว่ามีความสาคัญ ความเอาใจใส่เหล่านี้ครูสามารถแสดงออกได้ในหลายๆ ลักษณะ เช่น การสัมผัส แตะต้องทางกาย การมอง การยิ้มให้ การสบตา การใช้คาพูด การแสดงออก ทางสีหน้า การแสดงเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจและความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น วินัยในชั้นเรียน 1. ความหมายของวินัยในชั้นเรียน ก่อนที่จะทาความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยในชั้นเรียนนั้น ขอนาเสนอความหมายของคาว่า “วินัย” เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจดังนี้ คาว่า “วินัย” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546: 1077) หมายถึง ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ พนัส หันนาคินทร์ และคณะ (2542: 36) ให้ความหมายความมีวินัย ว่าหมายถึง การ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คาสั่ง กติกา และกฎหมาย ตามที่สังคมได้วางไว้ หรือตามที่กลุ่มได้ ตกลง อันจะนามาซึ่งความสงบสุข ความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคง และปลอดภัย พิชัย เสงี่ยมจิตต์ (2550 : 56). สรุปไว้ว่า วินัยชั้นเรียน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูทา เพื่อที่จะช่วยให้นักเรียนประพฤติปฏิบัติในชั้นเรียนให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง จากความหมายของวินัยที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า วินัย หมายถึง การฝึกฝน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีระบบ มีขั้นตอน เพื่อให้บุคคลสามารถควบคุมตนเอง และประพฤติตนให้
  • 20. อยู่ในกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม อันจะเกิดความสงบสุขและเป็นระเบียบต่อการจัดระเบียบของ สังคม ส่วนคาว่า “วินัยในชั้นเรียน” นักวิชาการและนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ จาเนียร ศิลปะวานิช (2538: 102) กล่าวว่า วินัยในชั้นเรียน หมายถึง การรู้จักปกครอง ตนเอง การกระทาตามระเบียบหรือข้อบังคับต่างๆ อันเกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติที่มองเห็น คุณค่าซึ่งการปฏิบัติจะดารงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย และเกิดความเสมอภาคแก่สมาชิกทุกคน รวมทั้ง เป็นเครื่องยืนยันสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียน Dunhill (1964: 1) กล่าวว่า วินัยในชั้นเรียนเป็นสภาพการณ์ต่างๆ ในชั้นเรียนที่เอื้อ ประโยชน์ให้ครูสามารถดาเนินบทเรียนโดยปราศจากสิ่งรบกวนใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราศจาก พฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน สรุปได้ว่า วินัยในชั้นเรียน หมายถึง สภาพการณ์ที่จัดขึ้น อาจหมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้ผู้สอนและผู้เรียนนามาใช้ในชั้นเรียน เพื่อให้พัฒนาผู้เรียน เป็นไปอย่างเหมาะสม 2. ความสาคัญของวินัยในชั้นเรียน นอกจากนี้ Hurlock (1984: 395) ได้อธิบายความสาคัญของวินัยสาหรับผู้เรียนคือ 1. วินัยช่วยให้ผู้เรียนมั่นใจ เพราะเป็นการบอกว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ และสิ่งใดไม่ควร ปฏิบัติ 2. วินัยช่วยให้ผู้เรียนหลีกเลี่ยงต่อความรู้สึกผิด หรืออับอายต่อพฤติกรรมผิด ความรู้สึก ที่ไม่สามารถเลี่ยงได้นี้จะทาให้ไม่มีความสุข และเกิดการปรับตัวที่ไม่ดี วินัยจะช่วยให้เด็กอยู่ใน มาตรฐานการยอมรับของสังคม 3. วินัยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้พฤติกรรมที่ได้รับการสรรเสริญ ทาให้ผู้เรียนได้รับความรัก และการยอมรับที่สาคัญ คือ นามาซึ่งการปรับตัวเพื่อให้ประสบผลสาเร็จและมีความสุข 4. วินัยช่วยรักษาแรงจูงใจในการเสริมแรงตนเอง ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้รับสิ่งที่เป็น ความต้องการของตนเอง 5. การมีวินัยช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาจิตสานึก มโนธรรม ซึ่งช่วยทาให้มีการตัดสินใจ และควบคุมพฤติกรรมด้วยตนเอง