SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
19
บทที่ 2
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นที่มีการ
บันทึกเรื่องราวและเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่น ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ประเพณีความเป็นอยู่
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นมีความสาคัญในด้านต่าง ๆ ประเภทของ
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น มีการจาแนกตามแหล่งที่เกิดและแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นตามแหล่งผลิต
และบริการสารสนเทศ ตลอดจนกรณีศึกษาแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ส่งเสริม
ทานุบารุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ความหมายของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
ความหมายของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น มาจากการรวบรวมความหมายของคาว่า
แหล่งสารสนเทศ (Information sources) และสารสนเทศท้องถิ่น (Local information) ดังนี้
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งรวบรวมและให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นที่มีเนื้อหา
เกี่ยวกับท้องถิ่น มีการประมวลผลและจัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ แหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศบุคคล แหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน และแหล่ง
สารสนเทศอื่น ๆ (ทัศนา หาญพล. 2554 : 3-4)
สารสนเทศท้องถิ่น หมายถึง เรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
ท้องถิ่น ความรู้ของชุมชนนั้น ๆ ประกอบด้วย บุคคล สถานที่สาคัญ ภูมิปัญญา ตลอดจน
เหตุการณ์สาคัญที่เกิดขึ้นในชุมชน วัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่มีการประมวลผล และจดบันทึกไว้ใน
รูปแบบต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (นฤมล รักษาสุข. ออนไลน์.
2553)
สรุปได้ว่า แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น หมายถึง แหล่งรวบรวม จัดเก็บและให้บริการ
สารสนเทศท้องถิ่น ที่ผ่านการประมวลผลและจดบันทึกไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
ท้องถิ่น ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน อาหาร
พื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ประเพณีความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น
20
ความสาคัญของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นมีความสาคัญต่อชุมชนและท้องถิ่น (นฤมล รักษาสุข.
ออนไลน์. 2553) ดังนี้
1. ด้านการเรียนการสอน
ชุมชนมีส่วนร่วมในการนาความรู้จากท้องถิ่นมาประยุกต์ในการจัดทาสาระหลักสูตร
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับสถานศึกษา
2. ด้านการแก้ปัญหาของท้องถิ่นและการพัฒนาองค์กรท้องถิ่น
ชุมชนมีการใช้สารสนเทศท้องถิ่นพัฒนาบุคลากรและการดาเนินงานขององค์กร
ท้องถิ่น ทาให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาการของแต่ละชุมชน
3. ด้านการศึกษาวิจัยท้องถิ่น
ได้รับความรู้ประเด็นเกี่ยวกับท้องถิ่นและหัวข้อเรื่องที่สนใจเฉพาะด้านเพื่อนาไปสู่
ความรู้พื้นฐานและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชน
4. ด้านการอนุรักษ์และดารงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชน
สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตในชุมชนและท้องถิ่น ปลูกฝังคุณค่า และกระตุ้นให้เกิดการ
เก็บรวบรวมสารสนเทศในท้องถิ่นของตน และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในชื่อเสียงของท้องถิ่น
สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
5. ด้านการสื่อสารในชุมชน
ทาให้การสื่อสารระหว่างคนในชุมชนสามารถสื่อสารได้ง่ายขึ้น และติดตามเหตุการณ์
ความเคลื่อนไหวของข่าวในท้องถิ่น นาไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้และ
ช่วยให้มีโลกทัศน์กว้างไกล
6. ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี
สามารถนาข้อมูลในท้องถิ่นไปใช้ในด้านการแพทย์ สาธารณสุขและโภชนาการ
ก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สรุปได้ว่า แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นล้วนมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตประจาวันของคน
ในท้องถิ่น ทาให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันเหตุการณ์ข้อมูล สามารถนาสารสนเทศในท้องถิ่นมาใช้ให้
เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนร่วม
21
ประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอาจแบ่งประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ได้หลายลักษณะ
ดังนี้
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน (2554 : 4) และนฤมล รักษาสุข และประภาวดี สืบสนธ์.
(2546 : 76) ได้จาแนกประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ดังนี้
1. แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกตามแหล่งที่เกิด
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกประเภทตามแหล่งที่เกิด ได้แก่ แหล่งสารสนเทศ
คาบอก แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร และแหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร
1.1 แหล่งสารสนเทศคาบอก (Oral source) หมายถึง แหล่งสารสนเทศที่เกิดจาก
การถ่ายทอดความรู้ด้วยวาจาจากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ปราชญ์
ชาวบ้าน ที่มีการบันทึกความรู้โดยผ่านการบอกเล่า เรียกว่า หลักฐานคาบอก โดยหลักฐานคา
บอกเป็นสารสนเทศท้องถิ่นปฐมภูมิที่เกิดจากกระบวนการจัดทาสารสนเทศท้องถิ่นตามคาบอก ซึ่ง
สารสนเทศคาบอกที่สาคัญ ได้แก่ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี คาบอก ประวัติศาสตร์คาบอก
และวรรณกรรมมุขปาฐะ
1.2 แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร (Documentary source) จัดเก็บสารสนเทศ
ท้องถิ่นที่บันทึกความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สารสนเทศท้องถิ่นประเภทนี้สามารถแลกเปลี่ยนกัน
ได้ง่าย เช่น หนังสือ วารสาร จุลสาร กฤตภาค วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ต้นฉบับ
ตัวเขียน (สมุดไทย ใบลาน) เป็นต้น
1.3 แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร (Non-documentary source) จัดเก็บ
สารสนเทศท้องถิ่นที่บันทึกในรูปสื่ออื่นที่ไม่เป็นเอกสาร คือ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล เช่น วีซีดี
เว็บไซต์ สื่อประสม เป็นต้น
1.4 แหล่งสารสนเทศวัฒนธรรม (Cultural information) เป็นสารสนเทศท้องถิ่น
เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมจารีตประเพณีของชุมชนปฏิบัติกันมา (ฉวีลักษณ์
บุณยะกาญจน. 2554 : 4)
จากแนวคิดดังกล่าว สามารถสรุปแผนภาพความสัมพันธ์ของแหล่งสารสนเทศคา
บอก หลักฐานคาบอก และสารสนเทศคาบอก ดังแสดงในภาพที่ 2.1
22
ภาพที่ 2.1 ความสัมพันธ์ของแหล่งสารสนเทศคาบอก หลักฐานคาบอก และสารสนเทศคาบอก
2. แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกตามแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกตามแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ แบ่งได้เป็น 4
กลุ่ม ได้แก่ แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล แหล่งสารสนเทศ
ท้องถิ่นสื่อมวลชน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภท
ชุมชนและแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. 2554 : 4 ; ทัศนา
หาญพล. 2554 : 3-16-3-17 ; นฤมล รักษาสุข. ออนไลน์. 2553) ดังนี้
2.1 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน มีความสาคัญต่อการศึกษาและการเรียนรู้
เป็นสถาบันบริการสารสนเทศหรือองค์กรสารสนเทศที่รวบรวมและให้บริการสารสนเทศ ได้แก่
ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ข้อมูล หอจดหมายเหตุ หน่วยงานราชการ และสถาบันบริการ
สารสนเทศเชิงพาณิชย์
แหล่งสารสนเทศคาบอก
1. ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา
2. ปราชญ์ชาวบ้าน
หลักฐานคาบอก
1. แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต
2. วัสดุบันทึกเสียง
3. ภาพถ่าย
สารสนเทศคาบอก
1. ขนบธรรมเนียม ได้แก่ พิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ เทศกาลสงกรานต์
2. จารีตประเพณี ได้แก่ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
3. คาบอก ได้แก่ ประเพณีเลี้ยงผี ตานานปราสาทหินพิมาย
4. ประวัติศาสตร์คาบอก ได้แก่ คาบอกเล่าของหลวงปู่มั่นเรื่องประวัติความเป็นมาของ
พระแก้วมรกต
5. วรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่ กฤษณาสอนน้อง ผญา นิทาน
23
2.1.1 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานที่รวบรวม
ข้อมูลทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมที่สาคัญ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย งานวิจัยทาง
ชาติพันธุ์ จารึกในประเทศไทย จดหมายเหตุทางมนุษยวิทยา หนังสือเก่าชาวสยาม มานุษยวิทยา
กายภาพ ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แหล่งโบราณคดีที่สาคัญในประเทศไทย เป็นต้น
ภาพที่ 2.2 เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ที่มา : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ออนไลน์. 2557.
24
2.1.2 หอศิลป์จินตนาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อตั้งในปี 2554
โดยตั้งอยู่ที่อาคาร 26 โปรแกรมวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา หอศิลป์มี 1ชั้น จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปไทย
และ สื่อผสม พร้อมทั้งใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดสัมมนา ประมูลผลงานศิลปะ เป็นต้น
ภาพที่ 2.3 ป้ายหอศิลป์จินตนาการ
ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. หอศิลป์จินตนาการ. 2554.
25
ภาพที่ 2.4 การแสดงงานศิลปกรรม
ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. หอศิลป์จินตนาการ. 2554.
2.2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล เป็นสารสนเทศท้องถิ่นที่เกิดจากความรู้และ
ทักษะพิเศษของบุคคล โดยใช้ความรู้ของตนเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดในเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย ตลอดจนเป็นบุคคลที่ใช้ความรอบรู้และ
ทักษะเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัวและท้องถิ่น จนกระทั่งประสบ
ความสาเร็จเป็นแบบอย่างหรือต้นแบบเป็นที่ยอมรับแก่สาธารณชน บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว
จัดเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา ซึ่งเป็นบุคคลที่สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดาเนินการสรรหาและ
คัดเลือกเพื่อประกาศและยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ครูภูมิปัญญาไทย (สานักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา. 2551 : 12-13) ดังแสดงในตารางที่ 2.1
26
ตารางที่ 2.1 ครูภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย ชื่อ-สกุล/
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่
ความชานาญ/ประสบการณ์
1. ด้านเกษตรกรรม นายอนันต์ กรอบเงิน
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญการเกษตรผสมผสาน
ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการปลูกพืช
หลากหลายชนิด หมุนเวียนตลอดปี มีการเลี้ยง
สัตว์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในไร่สวน
ริเริ่มประดิษฐ์เครื่องพลังน้าเพื่อใช้ในการเกษตร
และสามารถเชื่อมต่อกับหม้อแปลงเป็น
กระแสไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน
2. ด้านอุตสาหกรรม
และหัตถกรรม
นางกองนาง กองเกิด
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7
จังหวัดชัยภูมิ
มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านการทอผ้าไหมและ
ไหมมัดหมี่ การย้อมสีธรรมชาติ คิดค้นสี
ธรรมชาติจากวัสดุพืชในท้องถิ่นออกแบบ
ลวดลายผ้า ลายการบินไทย ลายสวรรค์เบี่ยง
ลายนกแก้ว ลายผีเสื้อ เพื่อให้ได้สีที่หลากหลาย
มีคุณภาพ ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย “นกยูงทอง”
3. ด้านการแพทย์
แผนไทย
นายสมบูรณ์ ใจสูง
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
มีความรู้และเชี่ยวชาญการรักษาโรคต่าง ๆ
โดยเฉพาะการประสานกระดูกที่แตกหักให้
ติดกัน โรคอัมพฤกษ์ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน
ฯลฯ ด้วยการปรุงยาแผนโบราณ มีความรอบรู้
เกี่ยวกับสรรพคุณสมุนไพรที่ปลูกไว้ในพื้นที่ของ
27
ตารางที่ 2.1 (ต่อ)
ภูมิปัญญาไทย ชื่อ-สกุล/
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่
ความชานาญ/ประสบการณ์
ตนมากกว่า 150 ชนิด นอกจากนี้ได้ตั้ง “ศูนย์
เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย” และศูนย์อบรม
พืชสมุนไพรพื้นบ้านไทยและการใช้ประโยชน์
ในโครงการทรัพยากรธรรมชาติ ตาม
พระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี
4. ด้านการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
พระครูไพบูลย์พัฒนาภิรักษ์
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7
จังหวัดเชียงราย
พระนักพัฒนาที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเผยแพร่
พุทธศาสนา โดยการนาหลักธรรมมาเป็น
กุศโลบายในการอนุรักษ์ผืนป่าจานวน 7,200
ไร่ ให้เป็นป่าต้นน้าที่สมบูรณ์ด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วย
ความที่เป็นผู้มุ่งมั่นทางานด้วยจิตสาธารณะ
มองการณ์ไกลแบบองค์รวม จึงคิดริเริ่ม
ดาเนินงานโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการบ้าน
ชุ่มเมืองเย็น โครงการสะดือล้านนา โครงการ
วังมัจฉา โครงการเขื่อนดอยงู ฯลฯ จนประสบ
ผลสาเร็จ
5. ด้านกองทุน
และธุรกิจชุมชน
นายพรมมินทร์ พวงมาลา
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7
จังหวัดเชียงใหม่
มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านกองทุนและธุรกิจ
ชุมชน ริเริ่มจัดตั้งกองทุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
ด้วยความทุ่มเทเสียสละ เพื่อแก้ไขปัญหาของ
ชุมชนในด้านเงินทุน อาชีพและรายได้ ด้วย
การนาหลักคุณธรรม 5 ประการ มาบริหาร
6. ด้านศิลปกรรม นายอานนท์ ไชยรัตน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการตีกลอง
28
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7
จังหวัดเชียงใหม่
และการทากลองพื้นบ้านล้านนา อาทิ การตี
กลองสะบัดชัย กลองตึงโนง กลองปู่เจ่กลอง
มองเชิง อีกทั้งเชี่ยวชาญในการฟ้อนดา เป็นผู้
สืบสานการละเล่นพื้นบ้านล้านนา “บะข่างโว”
ตารางที่ 2.1 (ต่อ)
ภูมิปัญญาไทย ชื่อ-สกุล/
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่
ความชานาญ/ประสบการณ์
ริเริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนศิลปวัฒนธรรม
พื้นบ้านล้านนา “สลีปิงจัยแก้วกว้าง”
7. ด้านภาษาและ
วรรณกรรม
นายสันติ อภัยราช
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6
จังหวัดกาแพงเพชร
มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านภาษาและ
วรรณกรรมท้องถิ่น ได้เริ่มสร้างสรรค์และ
พัฒนางานที่มีคุณค่าต่อการศึกษาจานวน
มาก โดยศึกษาค้นคว้า เขียนและรวบรวม
วรรณกรรมท้องถิ่น เช่น เรื่องทุ่งมหาราช
นครชุม เมืองไตรตรึงษ์กับประวัติศาสตร์
กาแพงเพชร งานวิจัยเรื่องการแสดงพื้นบ้าน
ของชุมชนโบราณกาแพงเพชร จัดทาหลักสูตร
เอกสารประกอบการเรียนรู้พัฒนาให้เหมาะสม
กับท้องถิ่น สาหรับการนาไปศึกษาค้นคว้าและ
อ้างอิงให้เป็นมรดกทางภาษาและวัฒนธรรม
และมีคุณค่าต่อวงวรรณกรรม
8. ด้านปรัชญา
ศาสนาและ
ประเพณี
นายเกรียงศักดิ์ แรกข้าว
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7
จังหวัดพะเยา
มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นผู้นาด้านการ
ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ศาสนพิธีล้านนา
เช่น พิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ล้านนา พิธีสืบ
ชะตา พิธีส่งเคราะห์ส่งแถน เป็นผู้สืบสาน
อนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมไว้ ด้วยการถ่ายทอด
29
และเป็นวิทยากรให้ความรู้ให้คาปรึกษา
9. ด้านโภชนาการ นางศรีสมร คงพันธ์
ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 2
ได้รับการยกย่องจากสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี ให้
เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ภาคกลางและ
ตะวันออก ด้านโภชนาการ (อาหารไทย)
ประจาปี 2545
2.3 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสื่อมวลชน ทาหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทันสมัย
และทันต่อเหตุการณ์ สื่อมวลชนที่กล่าวถึงนี้ ได้แก่ คอลัมน์ข่าวในหนังสือพิมพ์ เช่น มติชน
ไทยรัฐ เป็นต้น สาหรับวิทยุโทรทัศน์ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นต้น
2.4 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย เว็บไซต์และฐานข้อมูล
ต่าง ๆ ทางด้านสารสนเทศท้องถิ่น ได้แก่ เว็บไซต์จังหวัดนครราชสีมา เว็บไซต์จังหวัดมหาสารคาม
และเว็บไซต์จังหวัดขอนแก่น ฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูลท้องถิ่น
จังหวัดอุบลราชธานี ฐานข้อมูลท้องถิ่นออนไลน์ และฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
2.4.1 เว็บไซต์ไทยตาบลดอทคอม นาเสนอข้อมูลตาบล ผลิตภัณฑ์ รายการ
ค้นหาข้อมูลสินค้า ค้นหาสินค้าและกลุ่มอาชีพ ธุรกิจ (SMEs) และสถานที่ท่องเที่ยว
30
ภาพที่ 2.5 เว็บไซต์ไทยตาบลดอทคอม
ที่มา : เว็บไซต์ไทยตาบลดอทคอม. ออนไลน์. 2557.
2.4.2 ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย รวบรวมและนาเสนอข้อมูล
พิพิธภัณฑ์จากทั่วประเทศ มีการแบ่งปันประสบการณ์ชมพิพิธภัณฑ์ ฐานข้อมูล มีรายชื่อพิพิธภัณฑ์
รวม 1,357 แห่ง
ภาพที่ 2.6 ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
ที่มา : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ออนไลน์. 2557.
31
2.5 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทชุมชนและแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง
ได้แก่ ชุมชน แหล่งสารสนเทศที่สาคัญในชุมชน โบราณสถาน ตลาดน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศ
ท้องถิ่นหรือนาเสนอและเผยแพร่สารสนเทศด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
เฉพาะเรื่อง เน้นเนื้อหาเฉพาะเรื่อง ได้แก่ คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ คลังข้อมูล
สารสนเทศระดับภูมิภาค (ภาคใต้) และคลังข้อมูลสารสนเทศข้าวเชิงลึก (สานักงานพัฒนาการวิจัย
การเกษตร)
2.5.1 ตลาดน้าทุ่งบัวชม ตั้งอยู่ที่ อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติด
ถนนพหลโยธินขาออก กม.78 ถนนวังน้อย - สระบุรี ตลาดน้าทุ่งบัวชมมีเนื้อที่ทั้งหมด 18 ไร่ เป็น
แหล่งท่องเที่ยวของกินของฝากที่นาแนวคิดผสมผสานระหว่างสมัยเก่าย้อนยุคกับแนวคิดร่วมสมัยมา
สร้างสรรค์เป็นแหล่งท่องเที่ยวสบาย ๆ ภายในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของตลาดมีการนาชื่อตาบลของ
อาเภอวังน้อยมาตั้งเป็นชื่ออาคาร เช่น อาคารวังน้อย อาคารสนับทึบ อาคารลาตาเสา อาคารบ่อ
ตาโล อาคารลาไทร อาคารข้าวงาม อาคารหันตะเภา อาคารชะแมบ อาคารวังจุฬา เป็นต้น ทั้งยัง
มีจุดเด่นเรื่องของกินของฝากที่คัดสรร เช่น เครื่องประดับ เครื่องจักรสาน สินค้าหัตถกรรม
เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ปลาตะเพียนใบลาน ตุ๊กตาชาววัง งอบ บ้านเรือนไทยจาลอง มีดอรัญญิก
หม้อดินเผา หินแกะสลัก โรตีสายไหม ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ฯลฯ และมีการแสดง
สืบสานตานานไทยให้ชมวันละ 4 รอบ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นจุดเด่นของตลาดน้าทุ่งบัวชม ได้แก่
รูปหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ยืนอยู่หน้าตลาด หุ่นยนต์ขนาดยักษ์ พร้อมหุ่นจาลองอีกหลายตัว ให้
นักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปคู่เป็นที่ระลึก ตลาดเปิดตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.
32
ภาพที่ 2.7 ตลาดน้าทุ่งบัวชม อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่มา : พันธุ์ทิพย์ดอทคอม. ออนไลน์. 2557.
2.5.2 วัดม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตาบลหัวสะพาน อาเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัด
อ่างทอง ภายในวัดมีสถานที่สาคัญหลายแห่ง เช่น พระอุโบสถล้อมรอบด้วยกลีบบัวสีชมพูขนาด
ใหญ่ที่สุดในโลก วิหารแก้ว ชั้นล่างเป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุมงคลและวัตถุโบราณ ชั้นบนประดิษฐาน
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เนื้อเงินแท้ องค์แรกองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
33
ภาพที่ 2.8 วัดม่วง ตาบลหัวสะพาน จังหวัดอ่างทอง
ที่มา : วัดม่วง. ออนไลน์. 2557.
ดังนั้น การจาแนกประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับแหล่ง
สารสนเทศคาบอก แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร แหล่ง
สารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสื่อมวลชน
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทชุมชนและแหล่ง
สารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง
กรณีศึกษาแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นหน่วยงานที่ทาหน้าที่
ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม ทานุบารุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น ตลอดจนเป็น
องค์กรแห่งความรู้ ภูมิปัญญา และส่งเสริมพลังการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรม
เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาและภูมิภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อันนาไปสู่การสร้างคุณค่าและ
มูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรม อันเป็นรากฐานสาคัญของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน (สานัก
ศิลปะและวัฒนธรรม. 2557 : 12, 20) โดยมีปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย
และการให้บริการ ดังนี้
34
1. ปรัชญา
สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีปรัชญาในการ
ดาเนินงาน คือ สืบสานมรดกวัฒนธรรม นาภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่วิถีชีวิตที่ดีงาม
2. วิสัยทัศน์
สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีวิสัยทัศน์ในการ
ดาเนินงาน คือ วัฒนธรรมนาการพัฒนาวิถีชีวิตและสังคม
3. พันธกิจ
สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีพันธกิจในการ
ดาเนินงาน ดังนี้
3.1 ตระหนักถึงคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา และมุ่งมั่นที่
จะพัฒนา ส่งเสริม เผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ
3.2 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.3 ปลูกฝังคุณลักษณะ และค่านิยมทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมแก่สังคม
4. วัตถุประสงค์
สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ในการ
ดาเนินงาน ดังนี้
4.1 ศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวัฒนธรรมท้องถิ่นทุกสาขา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของวิถี
ชีวิตชุมชน นาผลวิจัยมาจัดระบบเครือข่ายข้อมูลและทาการเผยแพร่แลกเปลี่ยน
4.2 จัดระบบข้อมูลแหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการฟื้นฟูอนุรักษ์แหล่งศิลปกรรม
ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
4.3 จัดหอวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนค้นคว้าทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
4.4 ส่งเสริมเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
4.5 ปลุกจิตสานึกให้ประชาชนเห็นคุณค่าความงามของมรดกทางวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.6 ส่งเสริมคุณธรรมให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป
4.7 สืบสานฟื้นฟู พัฒนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ทาง
การศึกษาเศรษฐกิจและสังคม
35
5. นโยบาย
สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีนโยบายในการ
ดาเนินงาน ดังนี้
5.1 ทานุ บารุง อนุรักษ์ และส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญา
5.2 ศึกษาวิจัย ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.4 ส่งเสริมให้นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการดาเนินกิจกรรมทาง
ศาสนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.5 ส่งเสริมให้นักศึกษามีจริยธรรม ยึดมั่นในคุณธรรม
5.6 จัดหอวัฒนธรรม บ้านโคราช แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
5.7 ศึกษา อนุรักษ์ แหล่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและศิลปกรรม
5.8 จัดทาระบบประกันคุณภาพงานวัฒนธรรม
6. การให้บริการ
สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีการให้บริการ ดังนี้
6.1 เปิดบริการให้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา อยู่ชั้น 2 อาคาร 10
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยเปิดบริการทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-
16.00 น. ผู้สนใจเข้าชมฟรี
6.2 เปิดบริการห้องสารสนเทศทางศิลปะและวัฒนธรรม ให้บริการสืบค้นและวิจัย
ด้านวิชาการ ข้อมูล เอกสารทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น อยู่ชั้น 2 อาคาร 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา โดยเปิดบริการทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-16.00 น.
6.3 การบริการทางวิชาการ โดยเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น
6.4 เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม บริการชุมชนด้วยการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์
พื้นบ้าน ด้วยวงดนตรีโปงลางและนาฏศิลป์ไทย
6.5 ร่วมสืบสานงานพระพุทธศาสนา
36
ภาพที่ 2.9 สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สานักศิลปะและวัฒนธรรม. ออนไลน์. 2558.
ภาพที่ 2.10 พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สานักศิลปะและวัฒนธรรม. ออนไลน์. 2558.
37
สรุป
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น เป็นแหล่งรวบรวมให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นในรูปแบบที่
หลากหลาย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรมความเป็นอยู่
ศิลปะการละเล่น สถานที่สาคัญที่อยู่ในชุมชน เป็นต้น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นมีความสาคัญต่อ
การดารงชีวิตประจาวันของคนในท้องถิ่น ทาให้คนในท้องถิ่นสามารถนาสารสนเทศมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ต่อตนเองและส่วนร่วม การจาแนกประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น จาแนกตามแหล่ง
ที่เกิด ได้แก่ แหล่งสารสนเทศคาบอก แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็น
เอกสาร ตลอดจนแหล่งสารสนเทศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนการ
จาแนกแหล่งสารสนเทศตามแหล่งผลิตและบริการสารสนเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม เช่น
แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
สื่อมวลชน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทชุมชน
และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง รวมถึงกรณีศึกษาแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น สานักศิลปะ
และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

More Related Content

What's hot

ทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศอิ่' เฉิ่ม
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templateMai Lovelove
 
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญเล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญหรร 'ษๅ
 
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศnok_waraporn
 
ประเภทห้องสมุด
ประเภทห้องสมุดประเภทห้องสมุด
ประเภทห้องสมุดSupaporn Khiewwan
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติBoonlert Aroonpiboon
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒Boonlert Aroonpiboon
 
ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน
ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2)  วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสานลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2)  วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน
ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสานFURD_RSU
 
หน่วยที่ 4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
หน่วยที่  4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศหน่วยที่  4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
หน่วยที่ 4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศSrion Janeprapapong
 
9789740333418
97897403334189789740333418
9789740333418CUPress
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓Boonlert Aroonpiboon
 
เล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณีเล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณีหรร 'ษๅ
 

What's hot (12)

ทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-template
 
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญเล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
 
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
ห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
 
ประเภทห้องสมุด
ประเภทห้องสมุดประเภทห้องสมุด
ประเภทห้องสมุด
 
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติคู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
 
ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน
ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2)  วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสานลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2)  วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน
ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน
 
หน่วยที่ 4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
หน่วยที่  4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศหน่วยที่  4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
หน่วยที่ 4 การเลือกแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
 
9789740333418
97897403334189789740333418
9789740333418
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๓
 
เล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณีเล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณี
 

Similar to อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗Boonlert Aroonpiboon
 
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้Duangjai Boonmeeprasert
 
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นรวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นreaweewan
 
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
Introduction to Educational Media Production
Introduction to Educational Media ProductionIntroduction to Educational Media Production
Introduction to Educational Media ProductionRachabodin Suwannakanthi
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101Sittisak Rungcharoensuksri
 
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่น
.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่น.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่น
.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่นNidWaree
 
วรรณกรรมท้องถิ่น ภูมิหลัง
วรรณกรรมท้องถิ่น  ภูมิหลังวรรณกรรมท้องถิ่น  ภูมิหลัง
วรรณกรรมท้องถิ่น ภูมิหลังchontee55
 
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติหนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติHumanities Information Center
 
เล่มที่ 7เพื่อนบ้าน
เล่มที่ 7เพื่อนบ้านเล่มที่ 7เพื่อนบ้าน
เล่มที่ 7เพื่อนบ้านหรร 'ษๅ
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพวSircom Smarnbua
 

Similar to อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57 (20)

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
 
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
 
Seminar At Singapore
Seminar At SingaporeSeminar At Singapore
Seminar At Singapore
 
1
11
1
 
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นรวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
 
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
 
Introduction to Educational Media Production
Introduction to Educational Media ProductionIntroduction to Educational Media Production
Introduction to Educational Media Production
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101
 
Archives and Digital Archives
Archives and Digital ArchivesArchives and Digital Archives
Archives and Digital Archives
 
Personal Digital Archive Development
Personal Digital Archive DevelopmentPersonal Digital Archive Development
Personal Digital Archive Development
 
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่น
.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่น.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่น
.ใบความรู้ที่ 23 การปกครองท้องถิ่น
 
วรรณกรรมท้องถิ่น ภูมิหลัง
วรรณกรรมท้องถิ่น  ภูมิหลังวรรณกรรมท้องถิ่น  ภูมิหลัง
วรรณกรรมท้องถิ่น ภูมิหลัง
 
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติหนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ
หนังสือหายาก คลังปัญญาของชาติ
 
เล่มที่ 7เพื่อนบ้าน
เล่มที่ 7เพื่อนบ้านเล่มที่ 7เพื่อนบ้าน
เล่มที่ 7เพื่อนบ้าน
 
Rarebooks Preservation with ICT
Rarebooks Preservation with ICTRarebooks Preservation with ICT
Rarebooks Preservation with ICT
 
5
55
5
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
 
Archives and Museum in Digital Age
Archives and Museum in Digital AgeArchives and Museum in Digital Age
Archives and Museum in Digital Age
 

More from นางสาวอัมพร แสงมณี

More from นางสาวอัมพร แสงมณี (20)

คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9คำถามท้ายบทบทที่ 9
คำถามท้ายบทบทที่ 9
 
คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8คำถามท้ายบทบทที่ 8
คำถามท้ายบทบทที่ 8
 
คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7คำถามท้ายบทบทที่ 7
คำถามท้ายบทบทที่ 7
 
คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6คำถามท้ายบทบทที่ 6
คำถามท้ายบทบทที่ 6
 
คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5คำถามท้ายบทบทที่ 5
คำถามท้ายบทบทที่ 5
 
คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4คำถามท้ายบทบทที่ 4
คำถามท้ายบทบทที่ 4
 
คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3คำถามท้ายบทบทที่ 3
คำถามท้ายบทบทที่ 3
 
คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2คำถามท้ายบทบทที่ 2
คำถามท้ายบทบทที่ 2
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 9
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  8แผนบริหารการสอนประจำบทที่  8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 8
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7แผนบริหารการสอนประจำบทที่  7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 7
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 

อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57

  • 1. 19 บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นที่มีการ บันทึกเรื่องราวและเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่น ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ประเพณีความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นมีความสาคัญในด้านต่าง ๆ ประเภทของ แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น มีการจาแนกตามแหล่งที่เกิดและแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นตามแหล่งผลิต และบริการสารสนเทศ ตลอดจนกรณีศึกษาแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ส่งเสริม ทานุบารุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ความหมายของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ความหมายของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น มาจากการรวบรวมความหมายของคาว่า แหล่งสารสนเทศ (Information sources) และสารสนเทศท้องถิ่น (Local information) ดังนี้ แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งรวบรวมและให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับท้องถิ่น มีการประมวลผลและจัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ แหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศบุคคล แหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน และแหล่ง สารสนเทศอื่น ๆ (ทัศนา หาญพล. 2554 : 3-4) สารสนเทศท้องถิ่น หมายถึง เรื่องราว ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ท้องถิ่น ความรู้ของชุมชนนั้น ๆ ประกอบด้วย บุคคล สถานที่สาคัญ ภูมิปัญญา ตลอดจน เหตุการณ์สาคัญที่เกิดขึ้นในชุมชน วัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่มีการประมวลผล และจดบันทึกไว้ใน รูปแบบต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (นฤมล รักษาสุข. ออนไลน์. 2553) สรุปได้ว่า แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น หมายถึง แหล่งรวบรวม จัดเก็บและให้บริการ สารสนเทศท้องถิ่น ที่ผ่านการประมวลผลและจดบันทึกไว้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ท้องถิ่น ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน อาหาร พื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ประเพณีความเป็นอยู่ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น
  • 2. 20 ความสาคัญของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นมีความสาคัญต่อชุมชนและท้องถิ่น (นฤมล รักษาสุข. ออนไลน์. 2553) ดังนี้ 1. ด้านการเรียนการสอน ชุมชนมีส่วนร่วมในการนาความรู้จากท้องถิ่นมาประยุกต์ในการจัดทาสาระหลักสูตร เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับสถานศึกษา 2. ด้านการแก้ปัญหาของท้องถิ่นและการพัฒนาองค์กรท้องถิ่น ชุมชนมีการใช้สารสนเทศท้องถิ่นพัฒนาบุคลากรและการดาเนินงานขององค์กร ท้องถิ่น ทาให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาการของแต่ละชุมชน 3. ด้านการศึกษาวิจัยท้องถิ่น ได้รับความรู้ประเด็นเกี่ยวกับท้องถิ่นและหัวข้อเรื่องที่สนใจเฉพาะด้านเพื่อนาไปสู่ ความรู้พื้นฐานและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชน 4. ด้านการอนุรักษ์และดารงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชน สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตในชุมชนและท้องถิ่น ปลูกฝังคุณค่า และกระตุ้นให้เกิดการ เก็บรวบรวมสารสนเทศในท้องถิ่นของตน และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในชื่อเสียงของท้องถิ่น สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 5. ด้านการสื่อสารในชุมชน ทาให้การสื่อสารระหว่างคนในชุมชนสามารถสื่อสารได้ง่ายขึ้น และติดตามเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวของข่าวในท้องถิ่น นาไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้และ ช่วยให้มีโลกทัศน์กว้างไกล 6. ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี สามารถนาข้อมูลในท้องถิ่นไปใช้ในด้านการแพทย์ สาธารณสุขและโภชนาการ ก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สรุปได้ว่า แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นล้วนมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตประจาวันของคน ในท้องถิ่น ทาให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันเหตุการณ์ข้อมูล สามารถนาสารสนเทศในท้องถิ่นมาใช้ให้ เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนร่วม
  • 3. 21 ประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นอาจแบ่งประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ได้หลายลักษณะ ดังนี้ ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน (2554 : 4) และนฤมล รักษาสุข และประภาวดี สืบสนธ์. (2546 : 76) ได้จาแนกประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ดังนี้ 1. แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกตามแหล่งที่เกิด แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกประเภทตามแหล่งที่เกิด ได้แก่ แหล่งสารสนเทศ คาบอก แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร และแหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร 1.1 แหล่งสารสนเทศคาบอก (Oral source) หมายถึง แหล่งสารสนเทศที่เกิดจาก การถ่ายทอดความรู้ด้วยวาจาจากผู้รู้ที่มีประสบการณ์ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ปราชญ์ ชาวบ้าน ที่มีการบันทึกความรู้โดยผ่านการบอกเล่า เรียกว่า หลักฐานคาบอก โดยหลักฐานคา บอกเป็นสารสนเทศท้องถิ่นปฐมภูมิที่เกิดจากกระบวนการจัดทาสารสนเทศท้องถิ่นตามคาบอก ซึ่ง สารสนเทศคาบอกที่สาคัญ ได้แก่ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี คาบอก ประวัติศาสตร์คาบอก และวรรณกรรมมุขปาฐะ 1.2 แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร (Documentary source) จัดเก็บสารสนเทศ ท้องถิ่นที่บันทึกความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สารสนเทศท้องถิ่นประเภทนี้สามารถแลกเปลี่ยนกัน ได้ง่าย เช่น หนังสือ วารสาร จุลสาร กฤตภาค วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ต้นฉบับ ตัวเขียน (สมุดไทย ใบลาน) เป็นต้น 1.3 แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร (Non-documentary source) จัดเก็บ สารสนเทศท้องถิ่นที่บันทึกในรูปสื่ออื่นที่ไม่เป็นเอกสาร คือ สื่อโสตทัศน์ สื่อดิจิทัล เช่น วีซีดี เว็บไซต์ สื่อประสม เป็นต้น 1.4 แหล่งสารสนเทศวัฒนธรรม (Cultural information) เป็นสารสนเทศท้องถิ่น เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมจารีตประเพณีของชุมชนปฏิบัติกันมา (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. 2554 : 4) จากแนวคิดดังกล่าว สามารถสรุปแผนภาพความสัมพันธ์ของแหล่งสารสนเทศคา บอก หลักฐานคาบอก และสารสนเทศคาบอก ดังแสดงในภาพที่ 2.1
  • 4. 22 ภาพที่ 2.1 ความสัมพันธ์ของแหล่งสารสนเทศคาบอก หลักฐานคาบอก และสารสนเทศคาบอก 2. แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกตามแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นจาแนกตามแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล แหล่งสารสนเทศ ท้องถิ่นสื่อมวลชน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภท ชุมชนและแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. 2554 : 4 ; ทัศนา หาญพล. 2554 : 3-16-3-17 ; นฤมล รักษาสุข. ออนไลน์. 2553) ดังนี้ 2.1 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน มีความสาคัญต่อการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นสถาบันบริการสารสนเทศหรือองค์กรสารสนเทศที่รวบรวมและให้บริการสารสนเทศ ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ข้อมูล หอจดหมายเหตุ หน่วยงานราชการ และสถาบันบริการ สารสนเทศเชิงพาณิชย์ แหล่งสารสนเทศคาบอก 1. ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา 2. ปราชญ์ชาวบ้าน หลักฐานคาบอก 1. แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต 2. วัสดุบันทึกเสียง 3. ภาพถ่าย สารสนเทศคาบอก 1. ขนบธรรมเนียม ได้แก่ พิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ เทศกาลสงกรานต์ 2. จารีตประเพณี ได้แก่ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ 3. คาบอก ได้แก่ ประเพณีเลี้ยงผี ตานานปราสาทหินพิมาย 4. ประวัติศาสตร์คาบอก ได้แก่ คาบอกเล่าของหลวงปู่มั่นเรื่องประวัติความเป็นมาของ พระแก้วมรกต 5. วรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่ กฤษณาสอนน้อง ผญา นิทาน
  • 5. 23 2.1.1 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานที่รวบรวม ข้อมูลทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมที่สาคัญ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย งานวิจัยทาง ชาติพันธุ์ จารึกในประเทศไทย จดหมายเหตุทางมนุษยวิทยา หนังสือเก่าชาวสยาม มานุษยวิทยา กายภาพ ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แหล่งโบราณคดีที่สาคัญในประเทศไทย เป็นต้น ภาพที่ 2.2 เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ที่มา : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ออนไลน์. 2557.
  • 6. 24 2.1.2 หอศิลป์จินตนาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อตั้งในปี 2554 โดยตั้งอยู่ที่อาคาร 26 โปรแกรมวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา หอศิลป์มี 1ชั้น จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปไทย และ สื่อผสม พร้อมทั้งใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดสัมมนา ประมูลผลงานศิลปะ เป็นต้น ภาพที่ 2.3 ป้ายหอศิลป์จินตนาการ ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. หอศิลป์จินตนาการ. 2554.
  • 7. 25 ภาพที่ 2.4 การแสดงงานศิลปกรรม ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. หอศิลป์จินตนาการ. 2554. 2.2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล เป็นสารสนเทศท้องถิ่นที่เกิดจากความรู้และ ทักษะพิเศษของบุคคล โดยใช้ความรู้ของตนเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดในเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย ตลอดจนเป็นบุคคลที่ใช้ความรอบรู้และ ทักษะเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัวและท้องถิ่น จนกระทั่งประสบ ความสาเร็จเป็นแบบอย่างหรือต้นแบบเป็นที่ยอมรับแก่สาธารณชน บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว จัดเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา ซึ่งเป็นบุคคลที่สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดาเนินการสรรหาและ คัดเลือกเพื่อประกาศและยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ครูภูมิปัญญาไทย (สานักงานเลขาธิการสภา การศึกษา. 2551 : 12-13) ดังแสดงในตารางที่ 2.1
  • 8. 26 ตารางที่ 2.1 ครูภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาไทย ชื่อ-สกุล/ ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ความชานาญ/ประสบการณ์ 1. ด้านเกษตรกรรม นายอนันต์ กรอบเงิน ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญการเกษตรผสมผสาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการปลูกพืช หลากหลายชนิด หมุนเวียนตลอดปี มีการเลี้ยง สัตว์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในไร่สวน ริเริ่มประดิษฐ์เครื่องพลังน้าเพื่อใช้ในการเกษตร และสามารถเชื่อมต่อกับหม้อแปลงเป็น กระแสไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน 2. ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม นางกองนาง กองเกิด ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 จังหวัดชัยภูมิ มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านการทอผ้าไหมและ ไหมมัดหมี่ การย้อมสีธรรมชาติ คิดค้นสี ธรรมชาติจากวัสดุพืชในท้องถิ่นออกแบบ ลวดลายผ้า ลายการบินไทย ลายสวรรค์เบี่ยง ลายนกแก้ว ลายผีเสื้อ เพื่อให้ได้สีที่หลากหลาย มีคุณภาพ ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย “นกยูงทอง” 3. ด้านการแพทย์ แผนไทย นายสมบูรณ์ ใจสูง ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความรู้และเชี่ยวชาญการรักษาโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการประสานกระดูกที่แตกหักให้ ติดกัน โรคอัมพฤกษ์ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ ด้วยการปรุงยาแผนโบราณ มีความรอบรู้ เกี่ยวกับสรรพคุณสมุนไพรที่ปลูกไว้ในพื้นที่ของ
  • 9. 27 ตารางที่ 2.1 (ต่อ) ภูมิปัญญาไทย ชื่อ-สกุล/ ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ความชานาญ/ประสบการณ์ ตนมากกว่า 150 ชนิด นอกจากนี้ได้ตั้ง “ศูนย์ เรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย” และศูนย์อบรม พืชสมุนไพรพื้นบ้านไทยและการใช้ประโยชน์ ในโครงการทรัพยากรธรรมชาติ ตาม พระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 4. ด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พระครูไพบูลย์พัฒนาภิรักษ์ ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 จังหวัดเชียงราย พระนักพัฒนาที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเผยแพร่ พุทธศาสนา โดยการนาหลักธรรมมาเป็น กุศโลบายในการอนุรักษ์ผืนป่าจานวน 7,200 ไร่ ให้เป็นป่าต้นน้าที่สมบูรณ์ด้วย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วย ความที่เป็นผู้มุ่งมั่นทางานด้วยจิตสาธารณะ มองการณ์ไกลแบบองค์รวม จึงคิดริเริ่ม ดาเนินงานโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการบ้าน ชุ่มเมืองเย็น โครงการสะดือล้านนา โครงการ วังมัจฉา โครงการเขื่อนดอยงู ฯลฯ จนประสบ ผลสาเร็จ 5. ด้านกองทุน และธุรกิจชุมชน นายพรมมินทร์ พวงมาลา ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่ มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านกองทุนและธุรกิจ ชุมชน ริเริ่มจัดตั้งกองทุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ด้วยความทุ่มเทเสียสละ เพื่อแก้ไขปัญหาของ ชุมชนในด้านเงินทุน อาชีพและรายได้ ด้วย การนาหลักคุณธรรม 5 ประการ มาบริหาร 6. ด้านศิลปกรรม นายอานนท์ ไชยรัตน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการตีกลอง
  • 10. 28 ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่ และการทากลองพื้นบ้านล้านนา อาทิ การตี กลองสะบัดชัย กลองตึงโนง กลองปู่เจ่กลอง มองเชิง อีกทั้งเชี่ยวชาญในการฟ้อนดา เป็นผู้ สืบสานการละเล่นพื้นบ้านล้านนา “บะข่างโว” ตารางที่ 2.1 (ต่อ) ภูมิปัญญาไทย ชื่อ-สกุล/ ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ความชานาญ/ประสบการณ์ ริเริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนศิลปวัฒนธรรม พื้นบ้านล้านนา “สลีปิงจัยแก้วกว้าง” 7. ด้านภาษาและ วรรณกรรม นายสันติ อภัยราช ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 6 จังหวัดกาแพงเพชร มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านภาษาและ วรรณกรรมท้องถิ่น ได้เริ่มสร้างสรรค์และ พัฒนางานที่มีคุณค่าต่อการศึกษาจานวน มาก โดยศึกษาค้นคว้า เขียนและรวบรวม วรรณกรรมท้องถิ่น เช่น เรื่องทุ่งมหาราช นครชุม เมืองไตรตรึงษ์กับประวัติศาสตร์ กาแพงเพชร งานวิจัยเรื่องการแสดงพื้นบ้าน ของชุมชนโบราณกาแพงเพชร จัดทาหลักสูตร เอกสารประกอบการเรียนรู้พัฒนาให้เหมาะสม กับท้องถิ่น สาหรับการนาไปศึกษาค้นคว้าและ อ้างอิงให้เป็นมรดกทางภาษาและวัฒนธรรม และมีคุณค่าต่อวงวรรณกรรม 8. ด้านปรัชญา ศาสนาและ ประเพณี นายเกรียงศักดิ์ แรกข้าว ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 จังหวัดพะเยา มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นผู้นาด้านการ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ศาสนพิธีล้านนา เช่น พิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ล้านนา พิธีสืบ ชะตา พิธีส่งเคราะห์ส่งแถน เป็นผู้สืบสาน อนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมไว้ ด้วยการถ่ายทอด
  • 11. 29 และเป็นวิทยากรให้ความรู้ให้คาปรึกษา 9. ด้านโภชนาการ นางศรีสมร คงพันธ์ ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 2 ได้รับการยกย่องจากสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี ให้ เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ภาคกลางและ ตะวันออก ด้านโภชนาการ (อาหารไทย) ประจาปี 2545 2.3 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสื่อมวลชน ทาหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์ สื่อมวลชนที่กล่าวถึงนี้ ได้แก่ คอลัมน์ข่าวในหนังสือพิมพ์ เช่น มติชน ไทยรัฐ เป็นต้น สาหรับวิทยุโทรทัศน์ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นต้น 2.4 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย เว็บไซต์และฐานข้อมูล ต่าง ๆ ทางด้านสารสนเทศท้องถิ่น ได้แก่ เว็บไซต์จังหวัดนครราชสีมา เว็บไซต์จังหวัดมหาสารคาม และเว็บไซต์จังหวัดขอนแก่น ฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี ฐานข้อมูลท้องถิ่นออนไลน์ และฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย 2.4.1 เว็บไซต์ไทยตาบลดอทคอม นาเสนอข้อมูลตาบล ผลิตภัณฑ์ รายการ ค้นหาข้อมูลสินค้า ค้นหาสินค้าและกลุ่มอาชีพ ธุรกิจ (SMEs) และสถานที่ท่องเที่ยว
  • 12. 30 ภาพที่ 2.5 เว็บไซต์ไทยตาบลดอทคอม ที่มา : เว็บไซต์ไทยตาบลดอทคอม. ออนไลน์. 2557. 2.4.2 ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย รวบรวมและนาเสนอข้อมูล พิพิธภัณฑ์จากทั่วประเทศ มีการแบ่งปันประสบการณ์ชมพิพิธภัณฑ์ ฐานข้อมูล มีรายชื่อพิพิธภัณฑ์ รวม 1,357 แห่ง ภาพที่ 2.6 ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ที่มา : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ออนไลน์. 2557.
  • 13. 31 2.5 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทชุมชนและแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง ได้แก่ ชุมชน แหล่งสารสนเทศที่สาคัญในชุมชน โบราณสถาน ตลาดน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศ ท้องถิ่นหรือนาเสนอและเผยแพร่สารสนเทศด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นไทย แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น เฉพาะเรื่อง เน้นเนื้อหาเฉพาะเรื่อง ได้แก่ คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ คลังข้อมูล สารสนเทศระดับภูมิภาค (ภาคใต้) และคลังข้อมูลสารสนเทศข้าวเชิงลึก (สานักงานพัฒนาการวิจัย การเกษตร) 2.5.1 ตลาดน้าทุ่งบัวชม ตั้งอยู่ที่ อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติด ถนนพหลโยธินขาออก กม.78 ถนนวังน้อย - สระบุรี ตลาดน้าทุ่งบัวชมมีเนื้อที่ทั้งหมด 18 ไร่ เป็น แหล่งท่องเที่ยวของกินของฝากที่นาแนวคิดผสมผสานระหว่างสมัยเก่าย้อนยุคกับแนวคิดร่วมสมัยมา สร้างสรรค์เป็นแหล่งท่องเที่ยวสบาย ๆ ภายในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของตลาดมีการนาชื่อตาบลของ อาเภอวังน้อยมาตั้งเป็นชื่ออาคาร เช่น อาคารวังน้อย อาคารสนับทึบ อาคารลาตาเสา อาคารบ่อ ตาโล อาคารลาไทร อาคารข้าวงาม อาคารหันตะเภา อาคารชะแมบ อาคารวังจุฬา เป็นต้น ทั้งยัง มีจุดเด่นเรื่องของกินของฝากที่คัดสรร เช่น เครื่องประดับ เครื่องจักรสาน สินค้าหัตถกรรม เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ปลาตะเพียนใบลาน ตุ๊กตาชาววัง งอบ บ้านเรือนไทยจาลอง มีดอรัญญิก หม้อดินเผา หินแกะสลัก โรตีสายไหม ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ฯลฯ และมีการแสดง สืบสานตานานไทยให้ชมวันละ 4 รอบ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นจุดเด่นของตลาดน้าทุ่งบัวชม ได้แก่ รูปหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ยืนอยู่หน้าตลาด หุ่นยนต์ขนาดยักษ์ พร้อมหุ่นจาลองอีกหลายตัว ให้ นักท่องเที่ยวมาถ่ายรูปคู่เป็นที่ระลึก ตลาดเปิดตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.
  • 14. 32 ภาพที่ 2.7 ตลาดน้าทุ่งบัวชม อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มา : พันธุ์ทิพย์ดอทคอม. ออนไลน์. 2557. 2.5.2 วัดม่วง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตาบลหัวสะพาน อาเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัด อ่างทอง ภายในวัดมีสถานที่สาคัญหลายแห่ง เช่น พระอุโบสถล้อมรอบด้วยกลีบบัวสีชมพูขนาด ใหญ่ที่สุดในโลก วิหารแก้ว ชั้นล่างเป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุมงคลและวัตถุโบราณ ชั้นบนประดิษฐาน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เนื้อเงินแท้ องค์แรกองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
  • 15. 33 ภาพที่ 2.8 วัดม่วง ตาบลหัวสะพาน จังหวัดอ่างทอง ที่มา : วัดม่วง. ออนไลน์. 2557. ดังนั้น การจาแนกประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับแหล่ง สารสนเทศคาบอก แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นเอกสาร แหล่ง สารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสื่อมวลชน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทชุมชนและแหล่ง สารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง กรณีศึกษาแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นหน่วยงานที่ทาหน้าที่ ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม ทานุบารุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น ตลอดจนเป็น องค์กรแห่งความรู้ ภูมิปัญญา และส่งเสริมพลังการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรม เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาและภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อันนาไปสู่การสร้างคุณค่าและ มูลค่าเพิ่มทางศิลปวัฒนธรรม อันเป็นรากฐานสาคัญของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน (สานัก ศิลปะและวัฒนธรรม. 2557 : 12, 20) โดยมีปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ นโยบาย และการให้บริการ ดังนี้
  • 16. 34 1. ปรัชญา สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีปรัชญาในการ ดาเนินงาน คือ สืบสานมรดกวัฒนธรรม นาภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่วิถีชีวิตที่ดีงาม 2. วิสัยทัศน์ สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีวิสัยทัศน์ในการ ดาเนินงาน คือ วัฒนธรรมนาการพัฒนาวิถีชีวิตและสังคม 3. พันธกิจ สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีพันธกิจในการ ดาเนินงาน ดังนี้ 3.1 ตระหนักถึงคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา และมุ่งมั่นที่ จะพัฒนา ส่งเสริม เผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ 3.2 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.3 ปลูกฝังคุณลักษณะ และค่านิยมทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมแก่สังคม 4. วัตถุประสงค์ สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ในการ ดาเนินงาน ดังนี้ 4.1 ศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวัฒนธรรมท้องถิ่นทุกสาขา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของวิถี ชีวิตชุมชน นาผลวิจัยมาจัดระบบเครือข่ายข้อมูลและทาการเผยแพร่แลกเปลี่ยน 4.2 จัดระบบข้อมูลแหล่งศิลปกรรมท้องถิ่น ส่งเสริมการฟื้นฟูอนุรักษ์แหล่งศิลปกรรม ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 4.3 จัดหอวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนค้นคว้าทางวัฒนธรรมท้องถิ่น 4.4 ส่งเสริมเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 4.5 ปลุกจิตสานึกให้ประชาชนเห็นคุณค่าความงามของมรดกทางวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.6 ส่งเสริมคุณธรรมให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป 4.7 สืบสานฟื้นฟู พัฒนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ทาง การศึกษาเศรษฐกิจและสังคม
  • 17. 35 5. นโยบาย สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีนโยบายในการ ดาเนินงาน ดังนี้ 5.1 ทานุ บารุง อนุรักษ์ และส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญา 5.2 ศึกษาวิจัย ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.4 ส่งเสริมให้นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการดาเนินกิจกรรมทาง ศาสนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.5 ส่งเสริมให้นักศึกษามีจริยธรรม ยึดมั่นในคุณธรรม 5.6 จัดหอวัฒนธรรม บ้านโคราช แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 5.7 ศึกษา อนุรักษ์ แหล่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและศิลปกรรม 5.8 จัดทาระบบประกันคุณภาพงานวัฒนธรรม 6. การให้บริการ สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีการให้บริการ ดังนี้ 6.1 เปิดบริการให้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา อยู่ชั้น 2 อาคาร 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยเปิดบริการทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30- 16.00 น. ผู้สนใจเข้าชมฟรี 6.2 เปิดบริการห้องสารสนเทศทางศิลปะและวัฒนธรรม ให้บริการสืบค้นและวิจัย ด้านวิชาการ ข้อมูล เอกสารทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น อยู่ชั้น 2 อาคาร 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา โดยเปิดบริการทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-16.00 น. 6.3 การบริการทางวิชาการ โดยเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น 6.4 เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม บริการชุมชนด้วยการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ พื้นบ้าน ด้วยวงดนตรีโปงลางและนาฏศิลป์ไทย 6.5 ร่วมสืบสานงานพระพุทธศาสนา
  • 18. 36 ภาพที่ 2.9 สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สานักศิลปะและวัฒนธรรม. ออนไลน์. 2558. ภาพที่ 2.10 พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สานักศิลปะและวัฒนธรรม. ออนไลน์. 2558.
  • 19. 37 สรุป แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น เป็นแหล่งรวบรวมให้บริการสารสนเทศท้องถิ่นในรูปแบบที่ หลากหลาย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ศิลปะการละเล่น สถานที่สาคัญที่อยู่ในชุมชน เป็นต้น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นมีความสาคัญต่อ การดารงชีวิตประจาวันของคนในท้องถิ่น ทาให้คนในท้องถิ่นสามารถนาสารสนเทศมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและส่วนร่วม การจาแนกประเภทของแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น จาแนกตามแหล่ง ที่เกิด ได้แก่ แหล่งสารสนเทศคาบอก แหล่งสารสนเทศที่เป็นเอกสาร แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็น เอกสาร ตลอดจนแหล่งสารสนเทศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนการ จาแนกแหล่งสารสนเทศตามแหล่งผลิตและบริการสารสนเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม เช่น แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นสถาบัน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบุคคล แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น สื่อมวลชน แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ต และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นประเภทชุมชน และแหล่งสารสนเทศท้องถิ่นเฉพาะเรื่อง รวมถึงกรณีศึกษาแหล่งสารสนเทศท้องถิ่น สานักศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา