SlideShare a Scribd company logo
โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย
 การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดี
ภาพพจน์ หมายถึง คํา หรือ กลุ่มคํา ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คํา เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและ
ลึกซึ้งขึ้นในใจทําให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของ
การแต่งคําประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธีการเปรียบเทียบทีคมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลาย
                                                        ่
ประเภท แต่ที่สําคัญๆ คือ
๑. อุปมา
การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คําเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง
เฉก เช่น เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น"
ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
(อิเหนา)
ใช่นางเกิดในปทุมา สุริยวงศ์พงศานั้นหาไม่
จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้ อันจะได้นางไปอย่าสงกา
(อิเหนา)
ครั้นวางพระโอษฐ์น้ํา เวียนวน อยู่นา
เห็นแก่ตาแดงกล         ชาดย้อม
หฤทัยระทดทน            ทุกข์ใหญ่ หลวงนา
ถนัดดั้งไม้ร้อยอ้อม      ท่าวท้าวทับทรวง
                                    (ลิลิตพระลอ)
๒. อุปลักษณ์
การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คําว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น ครูคือเรือจ้าง ทหารเป็นรั้วของชาติ
ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น
มีกรวดแก้วแพรวพรายรายกระเด็น บ้างแลเห็นเป็นสีบุษราคัม
                              (นิราศเมืองแกลง)
บางครั้งภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ไม่มีคํากริยา "คือ" และ "เป็น" ให้สังเกต เราจะต้องตีความเอาเอง เช่น
         ก้มเกล้าเคารพอภิวาท         พระปิ่นภพภูวนาถนาถา
ยับยั้งคอยฟังพระวาจา                จะบัญชาให้ยกโยธี
                                            (อิเหนา)
ในที่นี้ เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นปิ่นของแผ่นดิน
            ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮยด
จึงบอาจลีลา           คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา       แก่สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนให้ ี้        ส่งข้าอัญขยม
                                          (ขัตติยพันธกรณ๊)
ในที่นี้ เปรียบภาระหน้าที่เป็นตะปูที่ตรึงเท้าไว้
       อัจกลับแก้วในทิพยสถานไกลลิบลิ่ว ฉายแสงสาดหาดทรายทอสีเงินยวง ต้องกรวหินสินแร่บาง
ชนิดแวววาว งามรังสีแจ่มจันทร์เจ้าวาวระยับ ย้อยลงในแควแม่น้ําไหล ไหวๆ แพรวพราวราวเกล็ดแก้วเงิน
ทอง
                                         (บันทึกของจิตรกร, อังคาร กัลยาณพงศ์)
ในที่นี้ เปรียบพระจันทร์เป็นอัจกลับแก้ว หรือโคมไฟที่ส่องสว่างกระจ่างตา
         เดือนตกไปแล้ว ดาวแข่งแสงขาว ยิบ ๆ ยับ ๆ เหมือนเกล็ดแก้วอัน สอดสอยร้อยปักอยู่เต็มผ้าดําผืน
ใหญ่ วูบวาบวิบวับส่องแสง ใหญ่แลน้อย ใกล้แลไกล...
(เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาติอินทร์แขวน, มาลา คําจันทร์)
ในที่นี้ เปรียบ ท้องฟ้าอันมืดมิดเป็นผ้าดําผืนใหญ่
           ภาษาอุปลักษณ์ นอกจากจะปรากฎในงานประพันธ์แล้ว ยังปรากฎใช้ในภาษาชีวิตประจําวัน เช่น
ศึกฟุตบอลโลก ไฟสงคราม ตะเข็บชายแดน ในที่นี้ กวีเปรียบน้ําค้างมีประกายวาวเหมือนประกายของเพชร
น้ํางาม และเปรียบหญ้าเป็นผืนพรม เพื่อทํา
ให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพชัดเจนว่า น้ําค้างนั้นมีประกายวาวงามและต้นหญ้านั้นก็เขียวขจีปูลาดเป็นพรม แต่ถ้า
กล่าวว่า "น้ําตาหลั่งเป็นสายเลือด" ข้อความนี้มิได้มุ่งหมายจะเปรียบลักษณะของน้ําตาว่าเหมือน
สายเลือด แต่เน้นย้ําเชิงปริมาณว่าร้องไห้ใจจะขาด ดังนั้น "น้ําตาหลั่งเป็นสายเลือด" ประโยคนี้เป็นอติพนจ์
๓) บุคคลวัต
        การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น ดวงตะวัน แย้มยิ้ม, สายลมโลม
                                ี
ไล้เอาอกเอาใจพฤกษาลดามาลย์ ต้นไม้แต่งตัว
        อยู่ในม่านมัวของหมอกคราม
        บ้างลอกเปลือกอยู่ปลามปลาม บ้างแปรกิ่งประกบกัน
        บ้างปลิวใบสยายลม บ้างชื่นชมช่อชูชัน
        บ้างแตกกิ่งอวดตาวัน บ้างว่อนไหวจะร่ายรํา
        บ้างเตรียมหาผ้าแพรคลุม บ้างประชุมอยู่พึมพํา
        ท่านผู้เฒ่าก็เตรียมทํา พิธีสู่ขวัญผู้เยาว์
        ม่านหมอกค่อยคล้อยคลี่ เผยเวทีอันพริ้งเพราด
        หมู่ไม้ร่าเริงเร้า จะต้อนรับฤดูกาล
                                          (เพลงขลุ่ยผิว, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
๔) อติพจน์
        การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง มักเปรียบเทียบในเรื่องปริมาณว่ามีมากเหลือเกิน มี
        เจตนาเน้นข้อความทีกล่าวนันให้มน้ําหนักยิ่งขึ้น เช่น ร้อนตับแตก, คอแห้งเป็นผง, รักคุณเท่าฟ้า, มา
                             ่       ้     ี
        รอตั้งโกฎิปีแล้ว, ใจดีเป็นบ้า,อกไหม้ไส้ขม, เหนื่อยสายตัวแทบขาด
        นี่ฤาบุตรีพระดาบส งามหมดหาใครจะเปรียบได้
        อนิจจาบิดาท่านแสร้งใช้ มารดต้นไม้พรวนดิน
        ดูผิวสินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดําไปหมดสิ้น
        สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา(ศกุนตลา)
        ตราบขุนคิริขน ขาดสลาย ลงแม่
                     ั
        รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า
        สุริยจันทรขจาย จากโลก ไปฤา
        ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย
                                          (นิราศนรินทร์)
        เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน
        อกแผ่นดินดูเหมือน จักขว้ํา
        บเห็นตะวันเดือน ดาวมือ มัวนา
        แลแห่งใดเห็นน้ํา ย่อมน้ําตาคน
                                         (ลิลิตพระลอ)
๕) นามนัย
การใช้คําหรือวลีที่บ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแสดงความหมายแทนสิ่งนันทั้งหมด เช่น
                                                                                         ้
ใช้ เวที แทน การแสดง มงกุฎ, พระบาท แทน กษัตริย์ เก้าอี้ แทนตําแหน่งหน้าที่ของผู้บริหาร ข้าวปลา แทน
อาหาร
...ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร
                                                  (ลิลิตตะเลงพ่าย)
ฉัตรเป็นชื่อเครื่องสูงอย่างหนึ่งที่สําคัญยิ่งสําหรับพระมหากษัตริย์ แสดงความเป็นกษัตริย์ ในที่นี้ กวีใช้ ฉัตร
ให้หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ หรือความเป็นกษัตริย์
(๑) ยิงร่านมันกินมาหลายวัน อุตส่าห์ให้น้องนั้นได้ขี่มา
(๒) ถ้าแพ้ลงคงปรับทับทวี เลือดเนื้อเท่านี้เป็นเงินทอง
(๓) ขุดเผือกมันสู่กนมาตามจน พักร้อนผ่อนปรนมาในป่า
                     ั
(เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน)
ข้อ (1) ยุงร่าน เป็นนามนัยแทนสัตว์ทกินเลือดเป็นอาหาร ข้อ (2) ใช้ เลือดเนื้อแทนชีวิต และข้อ (๓) เผือกมัน
                                        ี่
เป็นนามนัยแทนอาหารที่หาได้ตามป่าตามเขา
๖) สัญลักษณ์
         การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคณสมบัติหรือลักษณะภาวะบางประการร่วมกันเป็นการสร้างจินต
                                             ุ
ภาพซึ่งใชัรูปธรรมชักนําไปสู่ความหมายอีกชั้นหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเป็นที่เข้าใจในสังคม เช่น ใช้ ดอกไม้
แทน ผู้หญิง เพราะมีคุณสมบัติ
ร่วมกัน คือความสวยงามและความบอบบาง ใช้ ราชสีห์ แทน ผู้มีอํานาจ เพราะราชสีห์และผู้มีอํานาจต่างมี
คุณสมบัติร่วมกัน
คือความน่าเกรงขาม
ตัวอย่าง สัญลักษณ์ที่มักพบเห็นกันเสมอๆ เช่น
จามจุรี แทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รุ้ง แทน ความหวัง พลัง กําลังใจ
หมอก แทน มายา อุปสรรค สิ่งที่สลายตัวรวดเร็ว
นกพิราบ แทน สันติภาพ
ดอกมะลิ แทน ความบริสุทธิ์ ความชื่นใจ
สวัสดิกะ แทน เยอรมันยุคนาซี


7) สัทพจน์ (Onomatopoeia) คือ การเปรียบเทียบโดยใช้คาเลียนแบบให้เห็นท่าทาง แสง สี ได้ยินเสียงอย่าง
                                                   ํ
ใดอย่างหนึ่ง
หรือ หลายอย่างรวมกันก็ได้ มักจะพบในความเป็นธรรมชาติ หรือเครื่องดนตรี หรือเครื่องใช้ตามวิถีชาวบ้าน
เช่น
เสียงโหม่ง หม่อง ฆ้องตีเคล้าปี่พาทย์ เสียงเตรง เตร่ง ระนาดชัดจังหวะ
เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งป๊ะ เสียงกลองแขก โจ๊ะ จ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะ
( มโหรีชีวิต : แก้วตา ชัยกิตติภรณ์ )


 8) วิภาษ (Oxymoron) การเปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือสิ่งที่ตรงข้ามกันนํามาจับเข้าคูกัน เช่น กากับหงส์
                                                                                  ่
ดินกับฟ้า
มืดกับสว่าง ดังตัวอย่างเช่น
ความมือแผ่รอบกว้างสว่างหลบ รอบใจพลบแพ้พ่ายสลายขวัญ
ชวนกําสรดซบหน้าซ่อนจาบัลย์ วะหวิวหวั่นหวาดหวังว่ายังคอย
(มือกับสว่าง : อรฉัตร ซองทอง)


 9) อรรถวิภาษ (Paradox) คือ การเปรียบเทียบการใช้คําที่ดเู หมือนจะขัดแย้งกันแต่เมื่อพิจารณาความหมาย
ลึกซึ้งโดย
แท้จริงแล้วอาจเข้ากันได้ หรือนํามาเข้าคูกันได้อย่างกลมกลืน
                                        ่
เปลวควันเทียนริบหรี่กลับมีแสง เกิดจากแรงตั้งจิตอธิษฐาน
ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตํานาน ดวงใจจึงเบิกบานแต่นนมา     ั้
(แสงเทียนแสงธรรม : เสมอ กลิ่นประทุม)
ริบหรี่ กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง ครั้นเมื่ออยูในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน
                                                           ่


 10) อธินามนัย (Metonymy) คือ การเปรียบเทียบ โดยจาระไนของหลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะเหมือนกันหรือ
คล้ายคลึง
กันมากล่าวนํา และสรุปความหมายรวม คือใช้ชื่อเรียกรวม ๆ แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
หรือคนใดคนหนึ่ง
เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน
บัดนี้เย็นเป็นสุขทุกประการ เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย
(เลือดสุพรรณ : ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร)
คําว่าไทย ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะชาวไทย มิได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติ
แต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย ส่วน ไทย ่คําหลังหมายถึงประเทศไทย
11) ปฏิพากย์


การนําเอาคําและความหมายที่ไม่สอดคล้องกันและดูเหมือนจะขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดผลการ
สื่อสาร
เป็นพิเศษ เช่น น้ําผึ้งขม, คาวน้ําค้าง, ศัตรูคือยากําลัง, ยิ่งรีบก็ยิ่งช้า, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ, น้ําร้อนปลา
เป็น น้ําเย็นปลาตาย,
แดดหนาว, มีความเคลื่อนไหวในความหยุดนิ่ง
แทบฝั่งธารที่เราเฝ้าฝันถึง เสียงน้ําซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียง
จักรวาลวุ่นวายไร้สําเนียง โลกนี้เพียงแผ่นภพสงบเย็น
(วารีดริยางค์, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
       ุ
เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น เธอตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน
เธอเป็นดินก้อนเดียวในดินแดน แต่จะหนักและจะแน่นเต็มแผ่นดิน
(กระทุ่มแบน, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
ในบทประพันธ์นี้ กล่าวถึงหญิงสาวผู้ใช้แรงงานในโรงงานแห่งหนึ่งที่อําเภอกระทุ่มแบน จังหวัด
สมุทรสาคร ถูกทําร้าย
ถึงแก่ชีวิต ในครั้งที่ประท้วงต่อสู้กับนายทุนในยุคก่อนปีพทธศักราช 2514 ซึ่งเป็นยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน
                                                                 ุ
ของเมืองไทย กวีได้
กล่าวว่าการตายของชนผู้ใช้แรงงานนี้เป็นการตายที่มีคณค่า อาจปลุกจิตสํานึกของผู้คนในสังคมได้และ
                                                           ุ
กล่าวเปรียบหญิงผู้ใช้แรงงาน
นั้นเป็นดินที่แม้จะเป็นเพียงดินก้อนเดียว แต่ดินก้อนนี้ "หนักและแน่นเต็มแผ่นดิน" การกล่าวว่า เธอตายเพื่อ
จะปลุกให้คนตืน และ
                ่
ดินก้อนเดียวที่หนักแน่นเต็มแผ่นดิน เป็นปฏิพากย์


12) อุปมานิทัศน์


การใช้เรื่องราวนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้
อย่างชัดเจน
แจ่มแจ้งในแนวความคิด หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่านผู้ฟัง เช่น
ปีนี้มีความเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วหลายอย่าง ด้วยประชานกชาวสวนจิตรลดาฯ นี้มีเพิ่มเติมขึ้น แต่ก่อนนี้
มีอีกา
มีนกพิราบ แต่เดี๋ยวนี้ถ้าจะดูไป ก็จะเห็นว่ามีหงส์ทั้งขาวทั้งดําเพิ่มขึ้นมา และมีนกกาบบัว มีนกยูงเพิ่มเติม
ขึ้นมา ที่พูดถึงประชานกนี้ก็
เพราะว่าเมื่อดุลย์ของธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป ก็จะต้องมีการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่บ้าง... อีกาเป็นใหญ่อีกา
จะตีนกพิราบ แล้วนกพิราบก็จะตีนกเอี้ยง ที่มจํานวนมากเหมือนกัน นกเอี้ยงก็จะตีนกกระจอก ส่วน
                                                  ี
นกกระจอกก็ไม่ทราบว่าเขาไปตีใคร เห็นได้ว่าเขาตีกันเป็นลําดับชั้นไป จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ รู้สกว่านกกระจอก
                                                                                             ึ
จะสูญพันธุ์ แต่ว่าอีกาก็ยังมีอยู่ อีกาก็ได้ไปเยียมบ้านใกล้เคียงมาหลายครั้ง ทําให้เกิดความตื่นเต้นในหมู่ผู้ที่
                                                ่
อยู่ ที่ทํางานในบ้านเหล่านั้น แต่ว่าอีกานั้น ที่อยู่ได้ก็เพราะว่าเกรงใจนกกาบบัว ถ้าไม่เกรงใจนกกาบบัว อีกา
ก็จะสูญพันธุ์เพราะว่านกกาบบัว ซึ่งเป็นคล้าย ๆ นกกระสา แม้มีอยู่เพียงสิบกว่าตัว แต่เป็นนกทีใหญ่ และ
                                                                                                ่
เมื่อมาใหม่ ๆ ยังเป็นเด็ก ๆ ก็ยังไม่สามารถที่จะประพฤติตนให้ดีเมื่อถูกอีกาเข้าโจมตี แต่ด้วยความเป็นนก
ใหญ่ นกกาบบัวจึงเตะอีกาเป็นอันว่าอีกาก็เข็ดหลาบ ไม่สามารถที่จะจู่โจมตีนกกาบบัวได้ จึงอยู่รวมกันโดย่
สันติ ไม่ทะเลาะกันต่อไป และนกกาบบัวนีก็ได้รับอาหารประจําวัน อีกาก็มาปันส่วนด้วย ทุกวันนี้กจะเห็น
                                              ้                                                     ็
ได้ว่าอยู่ร่วมกันโดยสันติ ดุลย์ของธรรมชาติก็เกิดขึ้นได้ ชักนิยายเรื่องนกมา ก็เพื่อให้เห็นว่าตอนแรก ทุกสิ่ง
ทุกอย่างจะต้องมีการทะเลาะกัน แต่เมื่อเข็ดหลาบอย่างหนึง หรือมีความคิดที่ถูกต้อง ที่จะช่วยกันดําเนินชีวิต
                                                              ่
ร่วมกันก็อยู่ได้โดยสันติ ไม่ทะเลาะกัน ไม่ทําอันตรายกันดุลย์ของธรรมชาติจึงเกิดขึ้น
(พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

More Related Content

What's hot

เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
พัน พัน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
Kobwit Piriyawat
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
โรงเรียนเทพลีลา
 
คำสรรพนาม
คำสรรพนามคำสรรพนาม
คำสรรพนาม
Nanthida Chattong
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
kruthai40
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดMethaporn Meeyai
 
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จวิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จNat Ty
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
mintmint2540
 
กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือกาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือ
Warodom Techasrisutee
 
โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์krubuatoom
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
kanyamadcharoen
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAณัฐพล แสงทวี
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีSivagon Soontong
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
niralai
 
ใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำ
ใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำ
ใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำ
Piyarerk Bunkoson
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะอุษณีษ์ ศรีสม
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาขนิษฐา ทวีศรี
 
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษาหน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
Wilawun Wisanuvekin
 
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าวหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
Chainarong Maharak
 

What's hot (20)

เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
 
คำสรรพนาม
คำสรรพนามคำสรรพนาม
คำสรรพนาม
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
 
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จวิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ เสร็จ
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
 
กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือกาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือ
 
โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์
 
แบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัด
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
 
ใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำ
ใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำ
ใบความรู้ องค์ประกอบของพยางค์และคำ
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
 
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษาหน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
หน่วยที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของภาษา
 
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าวหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
 

Viewers also liked

โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์Rodchana Pattha
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
Pikaya
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
Santichon Islamic School
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์Khwanruthai Kongpol
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีMilky' __
 
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
Blackrab Chiba
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗Milky' __
 
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
Santichon Islamic School
 
ข้อสอบ O-NET ภาษาไทย
ข้อสอบ O-NET ภาษาไทยข้อสอบ O-NET ภาษาไทย
ข้อสอบ O-NET ภาษาไทยMmÕEa Meennie
 

Viewers also liked (10)

โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรี
 
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗
 
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
 
ข้อสอบ O-NET ภาษาไทย
ข้อสอบ O-NET ภาษาไทยข้อสอบ O-NET ภาษาไทย
ข้อสอบ O-NET ภาษาไทย
 
Thai1
Thai1Thai1
Thai1
 

Similar to โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1

โวหารในวรรณคดี
โวหารในวรรณคดีโวหารในวรรณคดี
โวหารในวรรณคดีSaimai Jitlang
 
โวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลาย
โวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลายโวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลาย
โวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลายคุณานนต์ ทองกรด
 
ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์krudow14
 
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1krubuatoom
 
โวหารภาพพจน์ครูอรุณศรี
โวหารภาพพจน์ครูอรุณศรีโวหารภาพพจน์ครูอรุณศรี
โวหารภาพพจน์ครูอรุณศรี
Kornnicha Wonglai
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran_Jarurnphong
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran_Jarurnphong
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
Ruangrat Watthanasaowalak
 
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2Sitthisak Thapsri
 
ป้อมแนนที่รัก
ป้อมแนนที่รักป้อมแนนที่รัก
ป้อมแนนที่รักnanpom1
 
9789740330257
97897403302579789740330257
9789740330257
CUPress
 
คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
 คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
thunchanokteenzaa54
 

Similar to โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1 (20)

โวหารในวรรณคดี
โวหารในวรรณคดีโวหารในวรรณคดี
โวหารในวรรณคดี
 
โวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลาย
โวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลายโวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลาย
โวหารภาพพจน์สำหรับนักเรียนม.ปลาย
 
ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์ฉันทลักษณ์
ฉันทลักษณ์
 
โวหาร19 กพ
โวหาร19 กพโวหาร19 กพ
โวหาร19 กพ
 
การสร้างคำ
การสร้างคำการสร้างคำ
การสร้างคำ
 
การสร้างคำ
การสร้างคำการสร้างคำ
การสร้างคำ
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
 
โวหารภาพพจน์ครูอรุณศรี
โวหารภาพพจน์ครูอรุณศรีโวหารภาพพจน์ครูอรุณศรี
โวหารภาพพจน์ครูอรุณศรี
 
ใบความรู้เรื่อง คำราชาศัพท์
ใบความรู้เรื่อง คำราชาศัพท์ใบความรู้เรื่อง คำราชาศัพท์
ใบความรู้เรื่อง คำราชาศัพท์
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
 
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
กาพย์ยานี11และโคลงสี่สุภาพ [โหมดความเข้ากันได้]
 
Noun
NounNoun
Noun
 
Noun
NounNoun
Noun
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
รวบรวมลักษณนามหมวด ก แก้ใหม่2
 
ป้อมแนนที่รัก
ป้อมแนนที่รักป้อมแนนที่รัก
ป้อมแนนที่รัก
 
9789740330257
97897403302579789740330257
9789740330257
 
คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
 คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน
 
99
9999
99
 

โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย1

  • 1. โวหารภาพพจน์ในวรรณคดีไทย การใช้ภาพพจน์ในวรรณคดี ภาพพจน์ หมายถึง คํา หรือ กลุ่มคํา ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คํา เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและ ลึกซึ้งขึ้นในใจทําให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นสิลปทางภาษาขั้นสูงของ การแต่งคําประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธีการเปรียบเทียบทีคมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลาย ่ ประเภท แต่ที่สําคัญๆ คือ ๑. อุปมา การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คําเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เฉก เช่น เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ครุวนา ปูน พ่าง ละม้าย แม้น" ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง (อิเหนา) ใช่นางเกิดในปทุมา สุริยวงศ์พงศานั้นหาไม่ จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้ อันจะได้นางไปอย่าสงกา (อิเหนา) ครั้นวางพระโอษฐ์น้ํา เวียนวน อยู่นา เห็นแก่ตาแดงกล ชาดย้อม หฤทัยระทดทน ทุกข์ใหญ่ หลวงนา ถนัดดั้งไม้ร้อยอ้อม ท่าวท้าวทับทรวง (ลิลิตพระลอ) ๒. อุปลักษณ์ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คําว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น ครูคือเรือจ้าง ทหารเป็นรั้วของชาติ ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น มีกรวดแก้วแพรวพรายรายกระเด็น บ้างแลเห็นเป็นสีบุษราคัม (นิราศเมืองแกลง)
  • 2. บางครั้งภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ไม่มีคํากริยา "คือ" และ "เป็น" ให้สังเกต เราจะต้องตีความเอาเอง เช่น ก้มเกล้าเคารพอภิวาท พระปิ่นภพภูวนาถนาถา ยับยั้งคอยฟังพระวาจา จะบัญชาให้ยกโยธี (อิเหนา) ในที่นี้ เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นปิ่นของแผ่นดิน ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮยด จึงบอาจลีลา คล่องได้ เชิญผู้ที่เมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ ชักตะปูนให้ ี้ ส่งข้าอัญขยม (ขัตติยพันธกรณ๊) ในที่นี้ เปรียบภาระหน้าที่เป็นตะปูที่ตรึงเท้าไว้ อัจกลับแก้วในทิพยสถานไกลลิบลิ่ว ฉายแสงสาดหาดทรายทอสีเงินยวง ต้องกรวหินสินแร่บาง ชนิดแวววาว งามรังสีแจ่มจันทร์เจ้าวาวระยับ ย้อยลงในแควแม่น้ําไหล ไหวๆ แพรวพราวราวเกล็ดแก้วเงิน ทอง (บันทึกของจิตรกร, อังคาร กัลยาณพงศ์) ในที่นี้ เปรียบพระจันทร์เป็นอัจกลับแก้ว หรือโคมไฟที่ส่องสว่างกระจ่างตา เดือนตกไปแล้ว ดาวแข่งแสงขาว ยิบ ๆ ยับ ๆ เหมือนเกล็ดแก้วอัน สอดสอยร้อยปักอยู่เต็มผ้าดําผืน ใหญ่ วูบวาบวิบวับส่องแสง ใหญ่แลน้อย ใกล้แลไกล... (เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาติอินทร์แขวน, มาลา คําจันทร์) ในที่นี้ เปรียบ ท้องฟ้าอันมืดมิดเป็นผ้าดําผืนใหญ่ ภาษาอุปลักษณ์ นอกจากจะปรากฎในงานประพันธ์แล้ว ยังปรากฎใช้ในภาษาชีวิตประจําวัน เช่น ศึกฟุตบอลโลก ไฟสงคราม ตะเข็บชายแดน ในที่นี้ กวีเปรียบน้ําค้างมีประกายวาวเหมือนประกายของเพชร น้ํางาม และเปรียบหญ้าเป็นผืนพรม เพื่อทํา ให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพชัดเจนว่า น้ําค้างนั้นมีประกายวาวงามและต้นหญ้านั้นก็เขียวขจีปูลาดเป็นพรม แต่ถ้า กล่าวว่า "น้ําตาหลั่งเป็นสายเลือด" ข้อความนี้มิได้มุ่งหมายจะเปรียบลักษณะของน้ําตาว่าเหมือน สายเลือด แต่เน้นย้ําเชิงปริมาณว่าร้องไห้ใจจะขาด ดังนั้น "น้ําตาหลั่งเป็นสายเลือด" ประโยคนี้เป็นอติพนจ์
  • 3. ๓) บุคคลวัต การสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น ดวงตะวัน แย้มยิ้ม, สายลมโลม ี ไล้เอาอกเอาใจพฤกษาลดามาลย์ ต้นไม้แต่งตัว อยู่ในม่านมัวของหมอกคราม บ้างลอกเปลือกอยู่ปลามปลาม บ้างแปรกิ่งประกบกัน บ้างปลิวใบสยายลม บ้างชื่นชมช่อชูชัน บ้างแตกกิ่งอวดตาวัน บ้างว่อนไหวจะร่ายรํา บ้างเตรียมหาผ้าแพรคลุม บ้างประชุมอยู่พึมพํา ท่านผู้เฒ่าก็เตรียมทํา พิธีสู่ขวัญผู้เยาว์ ม่านหมอกค่อยคล้อยคลี่ เผยเวทีอันพริ้งเพราด หมู่ไม้ร่าเริงเร้า จะต้อนรับฤดูกาล (เพลงขลุ่ยผิว, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) ๔) อติพจน์ การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง มักเปรียบเทียบในเรื่องปริมาณว่ามีมากเหลือเกิน มี เจตนาเน้นข้อความทีกล่าวนันให้มน้ําหนักยิ่งขึ้น เช่น ร้อนตับแตก, คอแห้งเป็นผง, รักคุณเท่าฟ้า, มา ่ ้ ี รอตั้งโกฎิปีแล้ว, ใจดีเป็นบ้า,อกไหม้ไส้ขม, เหนื่อยสายตัวแทบขาด นี่ฤาบุตรีพระดาบส งามหมดหาใครจะเปรียบได้ อนิจจาบิดาท่านแสร้งใช้ มารดต้นไม้พรวนดิน ดูผิวสินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดําไปหมดสิ้น สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา(ศกุนตลา) ตราบขุนคิริขน ขาดสลาย ลงแม่ ั รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า สุริยจันทรขจาย จากโลก ไปฤา ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย (นิราศนรินทร์) เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน อกแผ่นดินดูเหมือน จักขว้ํา บเห็นตะวันเดือน ดาวมือ มัวนา แลแห่งใดเห็นน้ํา ย่อมน้ําตาคน (ลิลิตพระลอ)
  • 4. ๕) นามนัย การใช้คําหรือวลีที่บ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแสดงความหมายแทนสิ่งนันทั้งหมด เช่น ้ ใช้ เวที แทน การแสดง มงกุฎ, พระบาท แทน กษัตริย์ เก้าอี้ แทนตําแหน่งหน้าที่ของผู้บริหาร ข้าวปลา แทน อาหาร ...ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร (ลิลิตตะเลงพ่าย) ฉัตรเป็นชื่อเครื่องสูงอย่างหนึ่งที่สําคัญยิ่งสําหรับพระมหากษัตริย์ แสดงความเป็นกษัตริย์ ในที่นี้ กวีใช้ ฉัตร ให้หมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ หรือความเป็นกษัตริย์ (๑) ยิงร่านมันกินมาหลายวัน อุตส่าห์ให้น้องนั้นได้ขี่มา (๒) ถ้าแพ้ลงคงปรับทับทวี เลือดเนื้อเท่านี้เป็นเงินทอง (๓) ขุดเผือกมันสู่กนมาตามจน พักร้อนผ่อนปรนมาในป่า ั (เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน) ข้อ (1) ยุงร่าน เป็นนามนัยแทนสัตว์ทกินเลือดเป็นอาหาร ข้อ (2) ใช้ เลือดเนื้อแทนชีวิต และข้อ (๓) เผือกมัน ี่ เป็นนามนัยแทนอาหารที่หาได้ตามป่าตามเขา ๖) สัญลักษณ์ การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคณสมบัติหรือลักษณะภาวะบางประการร่วมกันเป็นการสร้างจินต ุ ภาพซึ่งใชัรูปธรรมชักนําไปสู่ความหมายอีกชั้นหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเป็นที่เข้าใจในสังคม เช่น ใช้ ดอกไม้ แทน ผู้หญิง เพราะมีคุณสมบัติ ร่วมกัน คือความสวยงามและความบอบบาง ใช้ ราชสีห์ แทน ผู้มีอํานาจ เพราะราชสีห์และผู้มีอํานาจต่างมี คุณสมบัติร่วมกัน คือความน่าเกรงขาม ตัวอย่าง สัญลักษณ์ที่มักพบเห็นกันเสมอๆ เช่น จามจุรี แทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ้ง แทน ความหวัง พลัง กําลังใจ หมอก แทน มายา อุปสรรค สิ่งที่สลายตัวรวดเร็ว นกพิราบ แทน สันติภาพ ดอกมะลิ แทน ความบริสุทธิ์ ความชื่นใจ สวัสดิกะ แทน เยอรมันยุคนาซี 7) สัทพจน์ (Onomatopoeia) คือ การเปรียบเทียบโดยใช้คาเลียนแบบให้เห็นท่าทาง แสง สี ได้ยินเสียงอย่าง ํ
  • 5. ใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกันก็ได้ มักจะพบในความเป็นธรรมชาติ หรือเครื่องดนตรี หรือเครื่องใช้ตามวิถีชาวบ้าน เช่น เสียงโหม่ง หม่อง ฆ้องตีเคล้าปี่พาทย์ เสียงเตรง เตร่ง ระนาดชัดจังหวะ เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งป๊ะ เสียงกลองแขก โจ๊ะ จ๊ะ โจ๊ะ โจ๊ะ ( มโหรีชีวิต : แก้วตา ชัยกิตติภรณ์ ) 8) วิภาษ (Oxymoron) การเปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือสิ่งที่ตรงข้ามกันนํามาจับเข้าคูกัน เช่น กากับหงส์ ่ ดินกับฟ้า มืดกับสว่าง ดังตัวอย่างเช่น ความมือแผ่รอบกว้างสว่างหลบ รอบใจพลบแพ้พ่ายสลายขวัญ ชวนกําสรดซบหน้าซ่อนจาบัลย์ วะหวิวหวั่นหวาดหวังว่ายังคอย (มือกับสว่าง : อรฉัตร ซองทอง) 9) อรรถวิภาษ (Paradox) คือ การเปรียบเทียบการใช้คําที่ดเู หมือนจะขัดแย้งกันแต่เมื่อพิจารณาความหมาย ลึกซึ้งโดย แท้จริงแล้วอาจเข้ากันได้ หรือนํามาเข้าคูกันได้อย่างกลมกลืน ่ เปลวควันเทียนริบหรี่กลับมีแสง เกิดจากแรงตั้งจิตอธิษฐาน ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตํานาน ดวงใจจึงเบิกบานแต่นนมา ั้ (แสงเทียนแสงธรรม : เสมอ กลิ่นประทุม) ริบหรี่ กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง ครั้นเมื่ออยูในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน ่ 10) อธินามนัย (Metonymy) คือ การเปรียบเทียบ โดยจาระไนของหลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะเหมือนกันหรือ คล้ายคลึง กันมากล่าวนํา และสรุปความหมายรวม คือใช้ชื่อเรียกรวม ๆ แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน บัดนี้เย็นเป็นสุขทุกประการ เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย (เลือดสุพรรณ : ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร) คําว่าไทย ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะชาวไทย มิได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติ แต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย ส่วน ไทย ่คําหลังหมายถึงประเทศไทย
  • 6. 11) ปฏิพากย์ การนําเอาคําและความหมายที่ไม่สอดคล้องกันและดูเหมือนจะขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดผลการ สื่อสาร เป็นพิเศษ เช่น น้ําผึ้งขม, คาวน้ําค้าง, ศัตรูคือยากําลัง, ยิ่งรีบก็ยิ่งช้า, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ, น้ําร้อนปลา เป็น น้ําเย็นปลาตาย, แดดหนาว, มีความเคลื่อนไหวในความหยุดนิ่ง แทบฝั่งธารที่เราเฝ้าฝันถึง เสียงน้ําซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียง จักรวาลวุ่นวายไร้สําเนียง โลกนี้เพียงแผ่นภพสงบเย็น (วารีดริยางค์, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) ุ เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น เธอตายเพื่อผู้อื่นนับหมื่นแสน เธอเป็นดินก้อนเดียวในดินแดน แต่จะหนักและจะแน่นเต็มแผ่นดิน (กระทุ่มแบน, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์) ในบทประพันธ์นี้ กล่าวถึงหญิงสาวผู้ใช้แรงงานในโรงงานแห่งหนึ่งที่อําเภอกระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร ถูกทําร้าย ถึงแก่ชีวิต ในครั้งที่ประท้วงต่อสู้กับนายทุนในยุคก่อนปีพทธศักราช 2514 ซึ่งเป็นยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน ุ ของเมืองไทย กวีได้ กล่าวว่าการตายของชนผู้ใช้แรงงานนี้เป็นการตายที่มีคณค่า อาจปลุกจิตสํานึกของผู้คนในสังคมได้และ ุ กล่าวเปรียบหญิงผู้ใช้แรงงาน นั้นเป็นดินที่แม้จะเป็นเพียงดินก้อนเดียว แต่ดินก้อนนี้ "หนักและแน่นเต็มแผ่นดิน" การกล่าวว่า เธอตายเพื่อ จะปลุกให้คนตืน และ ่ ดินก้อนเดียวที่หนักแน่นเต็มแผ่นดิน เป็นปฏิพากย์ 12) อุปมานิทัศน์ การใช้เรื่องราวนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้ อย่างชัดเจน แจ่มแจ้งในแนวความคิด หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่านผู้ฟัง เช่น ปีนี้มีความเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วหลายอย่าง ด้วยประชานกชาวสวนจิตรลดาฯ นี้มีเพิ่มเติมขึ้น แต่ก่อนนี้ มีอีกา
  • 7. มีนกพิราบ แต่เดี๋ยวนี้ถ้าจะดูไป ก็จะเห็นว่ามีหงส์ทั้งขาวทั้งดําเพิ่มขึ้นมา และมีนกกาบบัว มีนกยูงเพิ่มเติม ขึ้นมา ที่พูดถึงประชานกนี้ก็ เพราะว่าเมื่อดุลย์ของธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป ก็จะต้องมีการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่บ้าง... อีกาเป็นใหญ่อีกา จะตีนกพิราบ แล้วนกพิราบก็จะตีนกเอี้ยง ที่มจํานวนมากเหมือนกัน นกเอี้ยงก็จะตีนกกระจอก ส่วน ี นกกระจอกก็ไม่ทราบว่าเขาไปตีใคร เห็นได้ว่าเขาตีกันเป็นลําดับชั้นไป จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ รู้สกว่านกกระจอก ึ จะสูญพันธุ์ แต่ว่าอีกาก็ยังมีอยู่ อีกาก็ได้ไปเยียมบ้านใกล้เคียงมาหลายครั้ง ทําให้เกิดความตื่นเต้นในหมู่ผู้ที่ ่ อยู่ ที่ทํางานในบ้านเหล่านั้น แต่ว่าอีกานั้น ที่อยู่ได้ก็เพราะว่าเกรงใจนกกาบบัว ถ้าไม่เกรงใจนกกาบบัว อีกา ก็จะสูญพันธุ์เพราะว่านกกาบบัว ซึ่งเป็นคล้าย ๆ นกกระสา แม้มีอยู่เพียงสิบกว่าตัว แต่เป็นนกทีใหญ่ และ ่ เมื่อมาใหม่ ๆ ยังเป็นเด็ก ๆ ก็ยังไม่สามารถที่จะประพฤติตนให้ดีเมื่อถูกอีกาเข้าโจมตี แต่ด้วยความเป็นนก ใหญ่ นกกาบบัวจึงเตะอีกาเป็นอันว่าอีกาก็เข็ดหลาบ ไม่สามารถที่จะจู่โจมตีนกกาบบัวได้ จึงอยู่รวมกันโดย่ สันติ ไม่ทะเลาะกันต่อไป และนกกาบบัวนีก็ได้รับอาหารประจําวัน อีกาก็มาปันส่วนด้วย ทุกวันนี้กจะเห็น ้ ็ ได้ว่าอยู่ร่วมกันโดยสันติ ดุลย์ของธรรมชาติก็เกิดขึ้นได้ ชักนิยายเรื่องนกมา ก็เพื่อให้เห็นว่าตอนแรก ทุกสิ่ง ทุกอย่างจะต้องมีการทะเลาะกัน แต่เมื่อเข็ดหลาบอย่างหนึง หรือมีความคิดที่ถูกต้อง ที่จะช่วยกันดําเนินชีวิต ่ ร่วมกันก็อยู่ได้โดยสันติ ไม่ทะเลาะกัน ไม่ทําอันตรายกันดุลย์ของธรรมชาติจึงเกิดขึ้น (พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)