SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕        15



คนดีชอบท�างาน คนพาลชอบท�าลาย

      ยส�			ลทฺธาน		ทุมฺเมโธ			 อนตฺถ�		จรติ		อตฺตโน
	     อตฺตโน		จ		ปเรสญฺจ		          หึสาย		ปฏิปชฺชติ.
	 คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว 	 ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่ตน	ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่น

    บรรดามนุษย์ทั้งหลายทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ ไม่ว่า
จะนับถือลัทธิศาสนาอะไร เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็มีบุคคลอยู่
๒ ประเภท คือ คนพาล(คนชั่ว) กับบัณฑิต (คนดี) ประเด็นแรก
เราก็มาท�าความเข้าใจกันในบุคคล ๒ ประเภทนีเสียก่อน คนพาล
                                                ้
กับบัณฑิตนั้น มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
    คนพาลคือคนประเภทไหนมีอะไรเป็นเครื่องบอกว่าเป็นคน
พาล ค�าว่า “พาล” แปลว่า อ่อน หมายความว่า คนพาลอ่อน
ความคิด คือไม่มความคิดในทางริเริมสร้างสรรค์ มีเหมือนกันแต่
                   ี                ่
เป็นความคิดทีออนปวกเปียก เรียกว่าใช้ไม่ได้ ไม่มความคิดในการ
               ่ ่                                ี
พัฒนาชีวตให้ดขนให้เจริญก้าวหน้าขึนกว่าทีเคยเป็นอยูกอน เคย
          ิ     ี ึ้                  ้      ่         ่ ่
เป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น มิหน�าซ�้ายังปล่อยชีวิตให้เป็น
ไปตามอ�านาจกิเลสตัณหาอารมณ์ฝ่ายต�่า ไม่น�าพาคิดหาอุบาย
ให้ชวตเป็นไปตามหลักเหตุผล คนเช่นนีเรียกว่าเป็นคนพาล (อ่อน
    ีิ                                  ้
16                    พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

ความคิด)
     เมื่ออ่อนความคิดแล้ว คนพาลก็ยังอ่อนสติอีกด้วย คือเป็น
บุคคลประเภทประมาทขาดสติ มีความสะเพร่าเป็นนิสัยท�าอะไร
พูดอะไร คิดอะไร ขาดความระมัดระวังพลั้งพลาดอยู่เสมอ นี่คือ
ลักษณะของคนอ่อนสติ สติยังอ่อนส่งผลสะท้อนให้เกิดความ
บกพร่องในการท�าหน้าที่การงาน
     นอกจากอ่อนความคิด อ่อนสติแล้ว คนพาลก็ยงอ่อนปัญญา  ั
คือไม่มีปรีชาความรู้ซึ้งถึงเหตุผล เป็นคนมีชีวิตอยู่สักแต่ว่าลม
หายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ผิดอะไรกับคนตายแถมยัง
ท�าลายประโยชน์ทั้งในโลกนี้และประโยชน์ในโลกเบื้องหน้า อัน
ตนควรจะได้เสียอีก นีแหละคือคนพาลสันดานอ่อนความคิด อ่อน
                         ่
สติ และอ่อนปัญญา
     เรื่องของ “พาล” ที่แปลว่าอ่อน ได้แก่อ่อนความคิด อ่อน
สติ อ่อนปัญญา แม้ว่าร่างกายจะก�าย�าล�่าสันมีก�าลังแข็งแรง
เทียมดังช้าง ไม่ต่างอะไรกับเวสสุวรรณ ทศกัณฐ์ยักษา แต่ถ้า
อ่อนความคิด อ่อนสติ อ่อนปัญญา ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนพาลอยู่นั้น
เอง เมื่อคนพาลเป็นคนอ่อนความคิด อ่อนสติ อ่อนปัญญา ก็ไม่
คิดหาทางสร้างสรรค์ชวตให้เจริญก้าวหน้าด้วยเหตุผล คิดวนอยู่
                           ีิ
แต่ในเรื่องไร้สาระ เช่น เรื่องเครื่องรางของขลังโชคชะตาราศี
เคราะห์ดเคราะห์ราย วุนวายอยูแต่ในเรืองตืนผูวเศษ เป็นเหตุให้
           ี         ้ ่             ่    ่ ่ ้ิ
เสี ย ประโยชน์ ทั้ ง ปั จ จุ บั น และอนาคต นี่ คื อ ความหมายของ
“พาล” ถ้าอ่อนทั้งสามคืออ่อนความคิด อ่อนสติ อ่อนปัญญา มี
อยู่ในบุคคลใด ก็คนนั้นแหละคือ “คนพาล” ไม่ว่าจะเป็นคน
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕      17

ประเภทไหน อยู่ในเพศไหน วัยไหน มีต�าแหน่งหน้าที่การงาน
อะไรก็ตามก็ได้ชื่อว่า เป็นคนพาลด้วยกันทั้งนั้น
     นอกจากจุดอ่อนทั้งสามคืออ่อนความคิด อ่อนสติ และอ่อน
ปัญญา จะเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะของคนพาลแล้ว ก็ยังมี
“อาการของคนพาล” อีกคือคนพาลมีอาการแสดงออกบอกให้
รู้อยู่ ๓ จุดด้วยกันคือ
     คนพาลคิดแต่เรื่องชั่วๆ	 ที่ตัวเคยคิดมาแล้วเป็นนิสัย	 คน
พาลพูดแต่เรื่องชั่วๆ	ที่ตัวเคยคิดมาแล้วเป็นนิสัย	คนพาลท�า
แต่เรื่องชั่วๆ	ที่ตัวเคยท�ามาแล้วเป็นนิสัย
     ตามหลักทังสามนี้ เราก็ได้จดสังเกตรูอาการของคนพาลสาม
                 ้             ุ        ้
จุด คือ จากความคิด จุดนี้อาจจะยากต่อการสังเกต เพราะเป็น
เรื่องภายในจิตใจ แต่ก็พอจะสังเกตได้ จากการพูด และจากการ
ท�า สรุปอาการของคนพาลคือชอบคิดชั่วเป็นนิสัย ชอบพูดชั่ว
เป็นนิสย และชอบท�าชัวเป็นนิสย คิดแต่เรืองชัวๆ ทีตวเคยคิดมา
          ั              ่       ั        ่ ่ ่ ั
แล้วเป็นนิสัยนั้น ได้แต่คิดโลภอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน
คิดพยาบาทปองร้ายให้ผู้อื่นถึงความฉิบหาย คิดเห็นผิดจาก
ท�านองคลองธรรม นี่แหละคนพาลคิดแต่เรื่องชั่วเช่นนี้ คนไหน
คิดแต่เรืองชัวๆ เช่นนี้ คนนันแหละคือคนพาล สันดานชอบคิดชัว
            ่ ่             ่                                 ่
พูดแต่เรื่องชั่วๆ ที่ตัวเคยคิดมาแล้วเป็นนิสัยนั้น ได้แก่พูดเท็จ
โกหกหลอกลวง พูดส่อเสียดยุยงให้คนแตกสามัคคีกัน พูดค�า
หยาบคาย พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระอันท�าให้คนอืนได้รบความ
                                                   ่ ั
เสียหายจากการพูดชั่วของตน ท�าแต่เรื่องชั่วๆ ที่ตัวเคยท�ามา
แล้วเป็นนิสัย ได้แก่การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิด
18                   พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

ในกาม การกระท�าในลักษณะเช่นนี้ คนพาลชอบกันนักชอบกัน
หนา ถ้าใครคิดชั่ว พูดชั่ว ท�าชั่ว โดยไม่เลิกละ คนนั่นละเป็นคน
พาล เพราะการท�าชั่ว การพูดชั่ว การคิดชั่ว เป็นตัวบ่งบอกว่า
เป็นอาการของคนพาล ดังนั้น การดูคนพาลจึงให้ดูที่พฤติกรรม
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของเขา ให้ดูที่ความคิด ให้ดูที่ค�าพูด
ให้ดูที่การกระท�าของเขา ลักษณะอาการของคนพาลนั้น ชอบ
คิดชัวเป็นนิสย (มโนทุจริต) ชอบพูดชัวเป็นนิสย (วจีทจริต) ชอบ
      ่        ั                     ่        ั      ุ
ท�าชั่วเป็นนิสัย (กายทุจริต) รวมความแล้ว คนที่ชอบประพฤติ
ทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ นั่นเองคือคนพาล นี่คือ
หลั ก การสั ง เกตคนพาล ตามทั ศ นะของพุ ท ธศาสนาแต่ ยั ง
มีวิธีดูคนพาลอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งท่านอกิตติดาบส นักปราชญ์ทาง
ศาสนายุคก่อนพระพุทธเจ้าท่านได้ให้ทฤษฎีสังเกตคนพาลไว้
๕ ประการคือ
     ๑.	คนพาลชอบแนะน�าสิ่งที่ไม่ควรแนะน�า
	 ๒.	คนพาลชอบประกอบในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
	 ๓.	คนพาลชอบเห็นชั่วเป็นดี
	 ๔.	คนพาลแม้คนอื่นพูดดีๆ	ก็โกรธ
	 ๕.	คนพาลไม่รู้อุบายส�าหรับแนะน�า
     นีคอทฤษฎีทดสอบคนพาล ตามทัศนะของท่านอกิตติดาบส
         ่ ื
ใครทีมพฤติกรรมทัง ๕ นีแสดงออกมา ก็พงทราบเถิดว่า เขาคน
        ่ ี          ้    ้                 ึ
นั่นแหละคือคนพาล ตามหลักการที่ท่านอกิตติดาบสก�าหนดไว้
     ได้พูดถึงเรื่องของ “คนพาล” มาพอสมควรแล้ว ต่อไปก็มา
ท�าความเข้าใจกันในเรื่องของ “บัณฑิต” ค�าว่า “บัณทิต” นั้น
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕            19

ได้แก่บคคลประเภทไหน ท�าไมจึงเรียกว่าบัณฑิต บัณฑิตนันมีอยู่
         ุ                                                      ้
สองความหมาย ความหมายหนึ่งหมายถึงบัณฑิตทางโลก อีก
ความหมายหนึ่งหมายถึงบัณฑิตทางธรรม บัณฑิตในทางโลก
ใช้เรียกบุคคลผู้ส�าเร็จการศึกษาในสาขาวิชาการต่างๆ เช่น
ส�าเร็จอักษรศาสตร์ก็เรียกว่า “อักษรศาสตรบัณฑิต” ส�าเร็จ
ครุศาสตร์ก็เรียกว่า “ครุศาสตรบัณฑิต” เหล่านี้เป็นต้น ถือเอา
ความส� า เร็ จ ทางการศึ ก ษาในสาขาวิ ช าต่ า งๆ ซึ่ ง วั ด กั น ด้ ว ย
ปริญญาตามล�าดับชั้น ตรี โท เอก
      ส่วนบัณฑิตทางธรรม	 ท่านหมายถึงบุคคลผู้ด�าเนินชีวิต
ด้วยปัญญา	 คือคนที่ใช้ปัญญาความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน
และบุคคลอืน บัณฑิตทางธรรม เป็นผูดาเนินชีวตไปตามครรลอง
              ่                          ้ �          ิ
แห่งพระธรรม จะท�าอะไรก็ท�าแต่สิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม จะพูด
อะไรก็พูดแต่สิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม จะคิดอะไรก็คิดแต่สิ่งที่ถูก
ต้องชอบธรรม ด�าเนินชีวิตแต่ในทางที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและ
ความสุขด้วยสติปญญา รูจกใช้ปญญารอบคอบชอบด้วยเหตุผล
                      ั       ้ ั ั
นี่คือคนที่เป็นบัณฑิตทางธรรม บัณฑิตชนประพฤติแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ตนและคนอื่น ถ้าไม่สามารถประพฤติประโยชน์แก่คน
อื่นได้ ก็ควรประพฤติเฉพาะประโยชน์ตน แม้เมื่อไม่สามารถ
ประพฤติประโยชน์ของตนได้ ก็ควรปลีกตัวออกห่างจากความชัว                ่
เสีย นี่ก็ลักษณะของบัณฑิตทางธรรม บัณฑิตตามทัศนะของ
พระพุทธศาสนา ถือเอาคุณธรรมเป็นเครื่องวัดภูมิของบัณฑิต
ผิ ด ตรงกั น ข้ า มกั บ บั ณ ฑิ ต ทางโลกซึ่ ง ถื อ เอาวิ ท ยฐานะ หรื อ
ปริญญาดีกรีเป็นเครืองวัดภูมบณฑิตทางโลก ตามความเป็นจริง
                         ่         ิ ั
20                   พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

แล้ว ค่าของบัณฑิตทางธรรมอยูทการด�าเนินชีวตด้วยสติปญญา
                               ่ ี่           ิ         ั
และการบ�าเพ็ญประโยชน์เป็นประการส�าคัญ ดังประพันธ์พุทธ
ภาษิตว่า
        ทิฏฺเฐ	ธมฺเม	จ	โย	อตฺโถ			 โย	จตฺโถ	สมฺปรายิโก
	       อตฺถาภิสมยา	ธีโร	              ปณฺฑิโตติ		ปวุจฺจติ.
	 	 คนฉลาดรู้จักประโยชน์ชาตินี้		ประโยชน์ชาติหน้า	และ
ประโยชน์อย่างยิ่ง	(นิพพาน)	เรียกว่าบัณฑิต
     ค่าของบัณฑิตขึนอยูกบประโยชน์ คนไหนท�าประโยชน์ได้มาก
                     ้ ่ ั
คนนั้นก็มีค่ามาก บัณฑิตย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ
ประโยชน์ปจจุบน และประโยชน์ขางหน้า ยึดเอาประโยชน์ทงสอง
            ั ั                 ้                         ั้
มาเป็นภาระหน้าที่ของตนที่จะต้องปฏิบัติบ�าเพ็ญจริงๆ ไม่สลัด
ทิ้งภาระที่มาถึงตัว มุ่งถือประโยชน์ทั้งสองมาเป็นเครื่องมือใน
การสร้ างตนให้มีฐานะมั่นคงในปัจจุบัน และสร้ า งสรรค์ ทาง
ด�าเนินชีวิตให้ราบรื่นในกาลข้างหน้า
     บัณฑิตตามทัศนะของพระพุทธศาสนา นอกจากสร้างฐานะ
ของตนให้มนคงในปัจจุบนแล้ว ยังมีความรูสกส�านึกในบาปบุญ
             ั่           ั               ้ ึ
คุณโทษ อันติดตามไปในกาลข้างหน้าจึงต้องหาอุบายป้องกัน
บาปแล้วสั่งสมบุญ ยึดหลักธรรมคือศรัทธา ศีล จาคะ และ
ปัญญา มาสร้างมรรคา เพื่อด�าเนินชีวิตไปสู่ชาติหน้าด้วยความ
ราบรื่น เมื่อได้ทราบเรื่องของบัณฑิต คือผู้ด�าเนินชีวิตด้วยสติ
ปัญญาและเป็นผู้บ�าเพ็ญประโยชน์ทั้งสอง มาพอสมควรแล้ว
ประเด็นต่อไป ก็ควรจะต้องรู้จักอาการของบัณฑิตด้วย อาการ
แสดงออกของบัณฑิตนั้น มีอยู่ ๓ ประการ คือ
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕    21

     ๑.	บัณฑิตคิดดีเป็นปกตินิสัย
	 ๒.	บัณฑิตพูดดีเป็นปกตินิสัย
	 ๓.	บัณฑิตท�าดีเป็นปกตินิสัย
     ตามหลักการข้างบนนี้ เราได้จุดสังเกตอาการของบัณฑิต ๓
จุดด้วยกันคือ
     ๑.	สังเกตจากการคิด
	 ๒.	สังเกตจากการพูด
	 ๓.	สังเกตจากการท�า
     การคิดดี การพูดดี การท�าดีเป็นปกตินิสัย นี่คือลักษณะ
อาการของบัณฑิต บัณฑิตมีอัธยาศัยไม่คิดโลภอยากได้ของคน
อืนมาเป็นของตน มีอธยาศัยไม่คดประทุษร้ายคนอืนและสัตว์อน
  ่                     ั           ิ             ่         ื่
ให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน มีอัธยาศัยไม่คิดเบียดเบียน
คนอื่นและสัตว์อื่นในทางมโนกรรม บัณฑิตมีอัธยาศัยเช่นนี้
     ในทางวจีกรรม บัณฑิตมีอธยาศัยพูดแต่คาสัตย์ความจริงพูด
                                ั             �
ค�าอ่อนหวานค�าประสานสามัคคี พูดวจีไพเราะ พูดเฉพาะแต่ค�า
ที่มีประโยชน์ ในทางกายกรรม บัณฑิตมีอัธยาศัยในการเว้นจาก
การฆ่า เว้นจากเบียดเบียน เว้นจากการลักขโมย และเว้นจาก
ประพฤติล่วงประเวณี ที่กล่าวมาโดยย่อนี้ คืออาการของบัณฑิต
บัณฑิตมีอาการท�าดี มีอาการพูดดี มีอาการคิดดี เป็นปกตินิสัย
     ทีกล่าวมาทังหมดนี้ เป็นเรืองของ “คนพาล” และเรืองของ
       ่        ้                 ่                    ่
“บัณฑิต” ต่อไปก็เข้าสู่ประเด็นในข้อที่ว่า “คนดีชอบท�างาน	–	
คนพาลชอบท�าลาย”
     “คนดี” ในที่นี้ ได้แก่บัณฑิตนั้นเอง คนดีชอบท�างาน คนดีไม่
22                     พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

ว่ายุคไหน สมัยไหน เกิดขึ้นมาแล้วก็ชอบท�างานทั้งที่เป็นงาน
ส่วนตัว งานส่วนรวม ก็ร่วมด้วยช่วยท�า ไม่ว่าจะเป็นงานต�่างาน
สูง งานบ้าน งานเมือง เรืองอะไรทีเป็นประโยชน์แก่ตนแก่คนอืน
                          ่        ่                           ่
แก่สังคมประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ท�าได้ทั้งนั้น ไม่
คิดผัดวันประกันเวลาในการท�างานที่ดี มีประโยชน์ คนดีได้รับ
มอบหมายหน้าที่การงานอะไรมาก็ตั้งใจ พอใจ ชอบใจ ในหน้าที่
การงานนันๆ แล้วก็พยายามท�างานด้วยความเข้าใจเอาใจใส่ฝกใฝ่
            ้                                                ั
อยู่ในการท�างานนั้นจนกว่าจะส�าเร็จผล ไม่เป็นคนจับจดอ้างนั่น
อ้างนี่ ไม่หนีงาน ถือหลักว่า การท�างานในหน้าที่เป็นการปฏิบัติ
ธรรมในชีวิตประจ�าวัน ดังนั้น คนดีจึงท�างานได้ทั้งคดีโลก คดี
ธรรม คือทั้งงานทางโลก งานทางธรรม โลกก็ไม่ให้ช�้า ธรรมก็
ไม่ให้เสีย ไม่ยอมปล่อยเวลาให้ลวงไปเปล่าๆ โดยทีไม่ยอมท�างาน
                                 ่                ่
อะไร เป็นการหายใจทิ้งเปล่าๆ คนดีอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องตั้งใจท�างาน
แข่งเวลา ช้าไม่ได้ในเรืองท�างาน คนดีถอหลักว่า “ค่าของคน	อยู่
                       ่              ื
ที่ผลของการท�างาน”
     คนดีที่รับผิดชอบในการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองเรื่อง
ท�างานเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่ประชาชนชาวบ้าน
ถือเป็นงานส�าคัญมาก และเป็นงานเร่งด่วน ควรจะท�าทันที ใน
วันนี้และเดี๋ยวนี้ คนดีจะไม่ผัดวันประกันเวลาในการท�างาน รีบ
ท�าทันทีทันควัน ไม่หันรีหันขวาง อ้างนั่นอ้างนี่ลงพื้นที่สารวจ
                                                           �
ความเป็นอยู่ของประชาชนทุกหนทุกแห่งแบ่งงานกันท�าเป็น
ระบบ พบชาวบ้านมีปัญหาเรื่องอะไรเร่งแก้ไขให้ทันกาล อย่า
ปล่อยให้งานล่าช้า อย่าเห็นว่าปัญหาของประชาชนเป็นเรื่องไม่
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕       23

ส�าคัญ ส�าคัญยิงกว่าเรืองอืนใดทังหมด ก�าหนดไว้ในหัวใจประจ�า
                  ่      ่ ่      ้
วันว่า นั่นคือปัญหาของประชาชนรากหญ้า รีบหาอุบายคลาย
ทุกข์พวกเขาทันทีทนใด ถือคติวา “คนดีชอบแก้ไข		แต่คนจัญไร
                       ั       ่
ชอบแก้ตว” คนดีชอบแก้ไข คือแก้ไขปัญหาความทุกข์ความเดือด
           ั
ร้อนของประชาชน ในทุกๆ ด้าน ถ้าประเทศชาติบ้านเมืองใด ได้
คนดีมาเป็นรัฐบาลชาวบ้านทัวไปก็ได้รบแต่ความสุข ความเจริญ
                             ่       ั
ความก้าวหน้า และความปลอดภัยในชีวต ชีวตไร้ปญหาเพราะว่า
                                       ิ ิ ั
ได้เลือกคนดีมาเป็นรัฐบาล มาบริหารประเทศชาติบ้านเมือง
สาธุ! ขอให้สังคมไทยได้รัฐบาลที่ดี มีศีล มีธรรม มารับผิดชอบ
บริหารประเทศชาติบ้านเมืองกันเถิด จะได้เกิดสิริมงคลส่งผลให้
ประชาชนมีความร่มเย็น เป็นสุข ปราศจากความทุกข์ ความเดือด
ร้อน โดยประการทั้งปวง
     ประเด็นของ “คนดีชอบท�างาน” กล่าวมาโดยย่อ ขอผ่านไป
ขอเข้าสู่ประเด็นของ “คนพาลชอบท�าลาย” ต่อไป ในประเด็น
นี้ คนพาลคือคนประเภทไหน ท�าไมจึงได้ชื่อว่าเป็น “คนพาล”	
ประเด็นนี้ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น แต่ขอย�้าอีกครั้งเพื่อหวังให้
ท่านทังหลายได้ทบทวนความจ�า แล้วจะท�าให้ทานทังหลายเข้าใจ
       ้                                      ่ ้
ได้ง่ายขึ้น เมื่อพูดถึงคนพาลชอบท�าลาย คนพาลคือคนชั่วคนไม่
ดี เพราะมีลักษณะอ่อนความคิด อ่อนสติ และอ่อนปัญญา
นอกจากลักษณะทัง ๓ นีแล้ว ก็ยงมีจดสังเกตดูคนพาลอีก ๓ จุด
                     ้    ้      ั ุ
คือสังเกตอาการของคนพาล คนพาลมีอาการแสดงออกมา ๓
จุดด้วยกันคือ
         คนพาลชอบคิดชั่ว		 เป็นปกตินิสัย
24                    พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

	         คนพาลชอบพูดชั่ว		 เป็นปกตินิสัย
	         คนพาลชอบท�าชั่ว		 เป็นปกตินิสัย
     หากอาการทั้ง ๓ นี้ มีอยู่ในบุคคลใด ก็บุคคลนั้นแหละคือ
“คนพาล” คนพาลมีสันดานชอบคิดชั่ว ชอบพูดชั่วและชอบท�า
ชั่ว เป็นนิสัยสันดาน
     เมื่อทราบลักษณะอาการของคนพาลแล้ว ท่านทั้งหลายก็
คงจะเข้าใจได้โดยปราศจากความลังเลสงสัยว่า คนพาลนั้นชอบ
ท�าลายอย่างไร สังเกตได้จากอาการทีหนึงว่า คนพาลชอบคิดชัว
                                    ่ ่                        ่
เป็นนิสัยสันดาน คิดชั่วคือคิดอย่างไร คิดชั่วก็คือคิดโลภอยากได้
ของคนอื่นมาเป็นของตน คนที่คิดอยากได้ของคนอื่นนั้น มัน
เป็นการท�าลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของคนอื่น เมื่อคิดอยาก
ได้ของเขาก็หาวิธจะเอาให้ได้ ไม่วาโดยวิธใดถ้าไม่ได้ดวยเล่หกตอง
                   ี            ่      ี            ้    ์ ็ ้
เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็ต้องเอาด้วยคาถา หาทางคดโกง
คอร์รปชัน ท�ามันทุกอย่างขอให้ได้ทรัพย์มาเป็นของตน คนทีท�า
       ั ่                                                   ่
เช่นนี้จะไม่เรียกว่าเป็นคนชอบท�าลาย แล้วจะเรียกว่าอย่างไร
     คนพาลนอกจากจะคิดโลภอยากได้ของเขาแล้ว ยังคิดที่จะ
ประทุษร้าย ท�าลายล้างผลาญคนอื่นอีกด้วย ช่วยบอกหน่อยซิ
ว่า การกระท�าเช่นนี้ของคนพาล เป็นการท�าลายไหม แน่นอน
คนพาลชอบท�าลาย ท�าลายทุกอย่างที่ขวางหน้า ยุคไหน สมัย
ไหน ถ้ามีคนพาลอาศัยอยูในสังคมมาก ยุคนัน สมัยนัน หาความ
                          ่                 ้         ้
ปลอดภัยในชีวิตไม่ค่อยจะได้ สุจริตชนคนดีๆ ในสังคมต่างก็มี
ความระทมทุกข์กันไปทุกหย่อมหญ้า เพราะว่าคนพาลชอบ
ท�าลาย ร้ายไหมละท่าน! นี่แหละคนพาลชอบท�าลายเป็นนิสัย
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕                 25

สันดาน ยิ่งถ้าคนพาลได้ยศ ได้อ�านาจเป็นใหญ่ในแผ่นดินด้วย
แล้ว สังคมมนุษย์ก็จะร้อนเป็นไฟ เพราะคนพาลย่อมประพฤติ
แต่สงทีไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบตเพือเบียดเบียนตนและ
       ิ่ ่                                  ั ิ ่
คนอื่นให้เดือดร้อน ดังค�าสอนที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
              ยส�		ลทฺธาน	ทุมฺเมโธ	            อนตฺถ�	จรติ	อตฺตโน
	             อตฺตโน	จ	ปเรสญฺจ	                หึสาย	ปฏิปชฺชติ.
	 คนทรามปัญญา	 (คนพาล)	 ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่ง	
ที่ ไ ม่ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ ต น	 ย่ อ มปฏิ บั ติ เ พื่ อ เบี ย ดเบี ย นตน	
                                                                           	
และคนอื่น	
       คนพาลได้ยศได้อ�านาจแล้ว มักจะลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ลืมตัว
เอง ลืมหน้าทีการงาน ลืมบริวารเพือนฝูง ลืมบ้านเกิดเมืองนอน
                   ่                     ่
ลืมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ลืมศาสนา ลืมความ
เป็นธรรม ความยุติธรรม ความเสมอภาค พฤติกรรมของคน
พาลที่ได้ยศได้อ�านาจ ตามที่กล่าวมาโดยย่อนี้ ชี้ให้เห็นอย่างเด่น
ชัดโดยไม่ต้องสงสัยว่า “คนพาลชอบท�าลาย”	
       หลักค�าสอนในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงเตือน
ว่า อย่าให้ยศ อย่าให้อ�านาจแก่คนพาล อย่ายกย่อง อย่า
สรรเสริญคนพาล อย่ามอบอ�านาจให้คนพาลเป็นใหญ่ในการ
บริหารประเทศชาติบ้านเมือง เพราะจะก่อความเสียหายท�าลาย
ประเทศชาติ บ ้ า นเมื อ งให้ ป ระสบกั บ ความหายนะล่ ม จมใน
บันปลาย เพราะเรืองเคยมีมาแล้ว ควรระวังกันให้ดอย่าผลีผลาม
  ้                    ่                                       ี
มอบความเป็นใหญ่ให้คนพาลเป็นอันขาด ถ้ามาตรแม้นว่าคน
พาลที่เป็นคนธรรมดาสามัญชาวบ้านทั่วไป ภัยอันตรายที่เกิด
26                   พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕

จากคนพาลประเภทนี้ ก็อยูในวงแคบอยูขอบเขตจ�ากัด จัดว่าเป็น
                             ่           ่
ภัยอันตรายเป็นการท�าลายกันในสังคมของคนที่ไม่มีอ�านาจ แม้
จะเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ก็ยังพอท�าเนาไม่เท่ากับคนพาลที่มียศมี
อ�านาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน คนพาลประเภทนี้มีพิษสงร้ายกาจ
มาก อยากจะพูดว่าท�าลายทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ
ทหาร การเมือง เรื่องการศึกษา การปกครอง เรื่องสังคม
วัฒนธรรมประเพณี หนีไม่พ้นกระทั่งสิ่งแวดล้อม ก็พร้อมถูก
ท�าลาย ด้วยฝีมอของคนพาลได้ยศ ได้อานาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
                  ื                    �
ทั้งนั้น โอ! ขอให้ยุคของคนพาลได้ยศได้อ�านาจ ปลาสนาการไป
จากสังคมไทยในเร็ววันนี้เทอญ
        อันคนดี           ชอบท�างาน         การต่างต่าง
ท�าทุกอย่าง               ในทาง             การสร้างสรรค์
เพื่อประโยชน์             และความสุข        ท�าทุกวัน
ไม่ผัดวัน                 ประกันพรุ่ง       มุ่งท�าดี
        พวกคนดี           ชอบท�างาน         การกุศล
เพื่อให้คน                ในสังคม           นิยมดี
ท�าทุกอย่าง               ในทาง             สร้างความดี
ชอบท�าดี                  ที่ถูกต้อง        ตามคลองธรรม
        เมื่อคนดี         ชอบท�างาน         ด้านต่างต่าง
ตามตัวอย่าง               ที่กล่าวอ้าง      ทางชอบธรรม
ท�าอะไร                   อยู่ในกรอบ        อันชอบธรรม
ท�าประจ�า                 เป็นนิสัย         ใฝ่ความดี
พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕               27

         ด้วยเหตุผล              ที่คนดี              ไม่หนีงาน
จึงเป็นการ                       ส่งเสริม             เพิ่มศักดิ์ศรี
ให้ลาภยศ                         เพิ่มพูน             คูณทวี
ด้วยเหตุที่                      คนดี                 ชอบท�างาน
         ส่วนคนพาล               ชอบท�าลาย            ร้ายที่สุด
เป็นมนุษย์                       อันตราย              ร้ายเอาการ
อยู่ที่ไหน                       ก็ท�าให้             คนร�าคาญ
ชอบล้างผลาญ                      สังคม                ให้ล่มจม
         สังคมใด                 ให้คนพาล             อาศัยอยู่
เหมือนศัตรู                      อยู่อาศัย            ในสังคม
ก็ท�าลาย                         ทุกอย่าง             ทางสังคม
ให้ล่มจม                         วายวอด               ตลอดกาล
         ด้วยเหตุนี้             คนดี                 จึงเตือนตัก
ให้ทุกคน                         รู้จัก               สร้างหลักฐาน
อย่าปล่อยให้                     คนพาล                มารุกราน
สร้างปราการ                      ด้วยหลักธรรม         ค�้าประกัน
         ถ้าท�าได้               เช่นนี้              จะดีมาก
จึงขอฝาก                         ให้ทุกคน             สนใจกัน
ใช้หลักธรรม                      ในชีวิต              ประจ�าวัน
เพื่อป้องกัน                     คนพาล                สันดานทราม ฯ

More Related Content

What's hot

การประกอบการ
การประกอบการการประกอบการ
การประกอบการPa'rig Prig
 
บุคลิกภาพของครูที่ดี
บุคลิกภาพของครูที่ดีบุคลิกภาพของครูที่ดี
บุคลิกภาพของครูที่ดีkhanidthakpt
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55Kwandjit Boonmak
 
ผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthree
ผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthreeผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthree
ผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthreePattie Pattie
 
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559Pinutchaya Nakchumroon
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการWichai Likitponrak
 
เคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdf
เคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdfเคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdf
เคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdflohkako kaka
 
สารรอบตัว
สารรอบตัวสารรอบตัว
สารรอบตัวNetiie Thanaporn
 
บทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อนบทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อนniralai
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพรampy48
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1thnaporn999
 
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนาบทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนาSaiiew
 
คำทับศัพท์
คำทับศัพท์คำทับศัพท์
คำทับศัพท์phornphan1111
 
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22phornphan1111
 
มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)Wan Ngamwongwan
 
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีจลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีnn ning
 
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม่Jutharat
 

What's hot (20)

Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์
 
การประกอบการ
การประกอบการการประกอบการ
การประกอบการ
 
บุคลิกภาพของครูที่ดี
บุคลิกภาพของครูที่ดีบุคลิกภาพของครูที่ดี
บุคลิกภาพของครูที่ดี
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 
ผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthree
ผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthreeผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthree
ผู้นำแห่งศตวรรษที่21 partthree
 
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
บทที่ 1 โครงสร้างของโลก - 2559
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการ
 
เคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdf
เคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdfเคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdf
เคมีอินทรีย์ให้เด็ก.pdf
 
สารรอบตัว
สารรอบตัวสารรอบตัว
สารรอบตัว
 
บทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อนบทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อน
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
 
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1ศาสนาเปรียบเทียบ 1
ศาสนาเปรียบเทียบ 1
 
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนาบทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารการพัฒนา
 
คำทับศัพท์
คำทับศัพท์คำทับศัพท์
คำทับศัพท์
 
บทที่2
บทที่2บทที่2
บทที่2
 
ของแข็ง (Solid)
ของแข็ง (Solid)ของแข็ง (Solid)
ของแข็ง (Solid)
 
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
 
มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)
 
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีจลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
 
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ระบบสรีรวิทยาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
 

Viewers also liked

"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี""ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"Wat Thai Washington, D.C.
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Wat Thai Washington, D.C.
 
คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส
คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลสคนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส
คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลสWat Thai Washington, D.C.
 
มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2Ake Ekkarart
 

Viewers also liked (9)

Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 438 October, 2011
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี""ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
"ศิษยานุศิษย์น้อมจิตคารวะ ๘๖ ปี หลวงตาชี"
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
 
คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส
คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลสคนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส
คนดีใช้ธรรม คนระยำใช้กิเลส
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2มังกรหยก เล่ม2
มังกรหยก เล่ม2
 

Similar to คนดีชอบทำงาน คนพาลชอบทำลาย

ผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหังผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหังWat Thai Washington, D.C.
 
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์บรรพต แคไธสง
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทpentanino
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
กลุ่มจิตวิเคราะห์
กลุ่มจิตวิเคราะห์กลุ่มจิตวิเคราะห์
กลุ่มจิตวิเคราะห์Sarid Tojaroon
 
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม บรรพต แคไธสง
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่
จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่
จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่โรงพยาบาลสารภี
 
09 moral education
09 moral education09 moral education
09 moral educationetcenterrbru
 
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธสื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธNet'Net Zii
 
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธOrraya Swager
 
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธสื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธNet'Net Zii
 
Kamjorn tuntaned
Kamjorn tuntanedKamjorn tuntaned
Kamjorn tuntanedKamjornT
 
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขPuchida Saingchin
 
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขPuchida Saingchin
 

Similar to คนดีชอบทำงาน คนพาลชอบทำลาย (20)

คนบ้าคนเมา
คนบ้าคนเมาคนบ้าคนเมา
คนบ้าคนเมา
 
ผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหังผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหัง
 
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
พุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
10
1010
10
 
ภาษาไทย จ้า11
ภาษาไทย จ้า11ภาษาไทย จ้า11
ภาษาไทย จ้า11
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
กลุ่มจิตวิเคราะห์
กลุ่มจิตวิเคราะห์กลุ่มจิตวิเคราะห์
กลุ่มจิตวิเคราะห์
 
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่
จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่
จริยธรรมสำหรับบุคลากรสาธารณสุขเชียงใหม่
 
09 moral education
09 moral education09 moral education
09 moral education
 
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธสื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
 
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธส  อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
ส อการเร_ยนร__เร__องศาสนาพ_ทธ
 
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธสื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
สื่อการเรียนรู้เรื่องศาสนาพุทธ
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
Kamjorn tuntaned
Kamjorn tuntanedKamjorn tuntaned
Kamjorn tuntaned
 
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 
ปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้นปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้น
 

More from Wat Thai Washington, D.C.

More from Wat Thai Washington, D.C. (20)

Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
 
Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C.
Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C. Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C.
Calendar 2012 Wat Thai Washington, D.C.
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
 
Loykrathong Festival 2011 Wat ThaiDC
Loykrathong Festival 2011 Wat ThaiDCLoykrathong Festival 2011 Wat ThaiDC
Loykrathong Festival 2011 Wat ThaiDC
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
 
Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011
Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011
Saengdhamma Vol. 39 No. 432 April, 2011
 
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011 Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
Saengdhamam Vol. 36 No. 431 March 2011
 
Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011
Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011
Saengdhamma Vol. 36 No. 430 February 2011
 
Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011Saengdhamma Januaryr2011
Saengdhamma Januaryr2011
 
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
 
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 427 November 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010
Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010
Saeng Dhamma Vol. 36 No.426 October 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
Saeng Dhamma Vol. 35 No. 423 July, 2010
 
Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010
 
Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010 Saengdhamma April, 2010
Saengdhamma April, 2010
 
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
 

คนดีชอบทำงาน คนพาลชอบทำลาย

  • 1. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 15 คนดีชอบท�างาน คนพาลชอบท�าลาย ยส� ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถ� จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ. คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่น บรรดามนุษย์ทั้งหลายทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเผ่าพันธุ์ ไม่ว่า จะนับถือลัทธิศาสนาอะไร เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็มีบุคคลอยู่ ๒ ประเภท คือ คนพาล(คนชั่ว) กับบัณฑิต (คนดี) ประเด็นแรก เราก็มาท�าความเข้าใจกันในบุคคล ๒ ประเภทนีเสียก่อน คนพาล ้ กับบัณฑิตนั้น มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร คนพาลคือคนประเภทไหนมีอะไรเป็นเครื่องบอกว่าเป็นคน พาล ค�าว่า “พาล” แปลว่า อ่อน หมายความว่า คนพาลอ่อน ความคิด คือไม่มความคิดในทางริเริมสร้างสรรค์ มีเหมือนกันแต่ ี ่ เป็นความคิดทีออนปวกเปียก เรียกว่าใช้ไม่ได้ ไม่มความคิดในการ ่ ่ ี พัฒนาชีวตให้ดขนให้เจริญก้าวหน้าขึนกว่าทีเคยเป็นอยูกอน เคย ิ ี ึ้ ้ ่ ่ ่ เป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น มิหน�าซ�้ายังปล่อยชีวิตให้เป็น ไปตามอ�านาจกิเลสตัณหาอารมณ์ฝ่ายต�่า ไม่น�าพาคิดหาอุบาย ให้ชวตเป็นไปตามหลักเหตุผล คนเช่นนีเรียกว่าเป็นคนพาล (อ่อน ีิ ้
  • 2. 16 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ ความคิด) เมื่ออ่อนความคิดแล้ว คนพาลก็ยังอ่อนสติอีกด้วย คือเป็น บุคคลประเภทประมาทขาดสติ มีความสะเพร่าเป็นนิสัยท�าอะไร พูดอะไร คิดอะไร ขาดความระมัดระวังพลั้งพลาดอยู่เสมอ นี่คือ ลักษณะของคนอ่อนสติ สติยังอ่อนส่งผลสะท้อนให้เกิดความ บกพร่องในการท�าหน้าที่การงาน นอกจากอ่อนความคิด อ่อนสติแล้ว คนพาลก็ยงอ่อนปัญญา ั คือไม่มีปรีชาความรู้ซึ้งถึงเหตุผล เป็นคนมีชีวิตอยู่สักแต่ว่าลม หายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ผิดอะไรกับคนตายแถมยัง ท�าลายประโยชน์ทั้งในโลกนี้และประโยชน์ในโลกเบื้องหน้า อัน ตนควรจะได้เสียอีก นีแหละคือคนพาลสันดานอ่อนความคิด อ่อน ่ สติ และอ่อนปัญญา เรื่องของ “พาล” ที่แปลว่าอ่อน ได้แก่อ่อนความคิด อ่อน สติ อ่อนปัญญา แม้ว่าร่างกายจะก�าย�าล�่าสันมีก�าลังแข็งแรง เทียมดังช้าง ไม่ต่างอะไรกับเวสสุวรรณ ทศกัณฐ์ยักษา แต่ถ้า อ่อนความคิด อ่อนสติ อ่อนปัญญา ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนพาลอยู่นั้น เอง เมื่อคนพาลเป็นคนอ่อนความคิด อ่อนสติ อ่อนปัญญา ก็ไม่ คิดหาทางสร้างสรรค์ชวตให้เจริญก้าวหน้าด้วยเหตุผล คิดวนอยู่ ีิ แต่ในเรื่องไร้สาระ เช่น เรื่องเครื่องรางของขลังโชคชะตาราศี เคราะห์ดเคราะห์ราย วุนวายอยูแต่ในเรืองตืนผูวเศษ เป็นเหตุให้ ี ้ ่ ่ ่ ่ ้ิ เสี ย ประโยชน์ ทั้ ง ปั จ จุ บั น และอนาคต นี่ คื อ ความหมายของ “พาล” ถ้าอ่อนทั้งสามคืออ่อนความคิด อ่อนสติ อ่อนปัญญา มี อยู่ในบุคคลใด ก็คนนั้นแหละคือ “คนพาล” ไม่ว่าจะเป็นคน
  • 3. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 17 ประเภทไหน อยู่ในเพศไหน วัยไหน มีต�าแหน่งหน้าที่การงาน อะไรก็ตามก็ได้ชื่อว่า เป็นคนพาลด้วยกันทั้งนั้น นอกจากจุดอ่อนทั้งสามคืออ่อนความคิด อ่อนสติ และอ่อน ปัญญา จะเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะของคนพาลแล้ว ก็ยังมี “อาการของคนพาล” อีกคือคนพาลมีอาการแสดงออกบอกให้ รู้อยู่ ๓ จุดด้วยกันคือ คนพาลคิดแต่เรื่องชั่วๆ ที่ตัวเคยคิดมาแล้วเป็นนิสัย คน พาลพูดแต่เรื่องชั่วๆ ที่ตัวเคยคิดมาแล้วเป็นนิสัย คนพาลท�า แต่เรื่องชั่วๆ ที่ตัวเคยท�ามาแล้วเป็นนิสัย ตามหลักทังสามนี้ เราก็ได้จดสังเกตรูอาการของคนพาลสาม ้ ุ ้ จุด คือ จากความคิด จุดนี้อาจจะยากต่อการสังเกต เพราะเป็น เรื่องภายในจิตใจ แต่ก็พอจะสังเกตได้ จากการพูด และจากการ ท�า สรุปอาการของคนพาลคือชอบคิดชั่วเป็นนิสัย ชอบพูดชั่ว เป็นนิสย และชอบท�าชัวเป็นนิสย คิดแต่เรืองชัวๆ ทีตวเคยคิดมา ั ่ ั ่ ่ ่ ั แล้วเป็นนิสัยนั้น ได้แต่คิดโลภอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน คิดพยาบาทปองร้ายให้ผู้อื่นถึงความฉิบหาย คิดเห็นผิดจาก ท�านองคลองธรรม นี่แหละคนพาลคิดแต่เรื่องชั่วเช่นนี้ คนไหน คิดแต่เรืองชัวๆ เช่นนี้ คนนันแหละคือคนพาล สันดานชอบคิดชัว ่ ่ ่ ่ พูดแต่เรื่องชั่วๆ ที่ตัวเคยคิดมาแล้วเป็นนิสัยนั้น ได้แก่พูดเท็จ โกหกหลอกลวง พูดส่อเสียดยุยงให้คนแตกสามัคคีกัน พูดค�า หยาบคาย พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระอันท�าให้คนอืนได้รบความ ่ ั เสียหายจากการพูดชั่วของตน ท�าแต่เรื่องชั่วๆ ที่ตัวเคยท�ามา แล้วเป็นนิสัย ได้แก่การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิด
  • 4. 18 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ ในกาม การกระท�าในลักษณะเช่นนี้ คนพาลชอบกันนักชอบกัน หนา ถ้าใครคิดชั่ว พูดชั่ว ท�าชั่ว โดยไม่เลิกละ คนนั่นละเป็นคน พาล เพราะการท�าชั่ว การพูดชั่ว การคิดชั่ว เป็นตัวบ่งบอกว่า เป็นอาการของคนพาล ดังนั้น การดูคนพาลจึงให้ดูที่พฤติกรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ของเขา ให้ดูที่ความคิด ให้ดูที่ค�าพูด ให้ดูที่การกระท�าของเขา ลักษณะอาการของคนพาลนั้น ชอบ คิดชัวเป็นนิสย (มโนทุจริต) ชอบพูดชัวเป็นนิสย (วจีทจริต) ชอบ ่ ั ่ ั ุ ท�าชั่วเป็นนิสัย (กายทุจริต) รวมความแล้ว คนที่ชอบประพฤติ ทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ นั่นเองคือคนพาล นี่คือ หลั ก การสั ง เกตคนพาล ตามทั ศ นะของพุ ท ธศาสนาแต่ ยั ง มีวิธีดูคนพาลอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งท่านอกิตติดาบส นักปราชญ์ทาง ศาสนายุคก่อนพระพุทธเจ้าท่านได้ให้ทฤษฎีสังเกตคนพาลไว้ ๕ ประการคือ ๑. คนพาลชอบแนะน�าสิ่งที่ไม่ควรแนะน�า ๒. คนพาลชอบประกอบในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ ๓. คนพาลชอบเห็นชั่วเป็นดี ๔. คนพาลแม้คนอื่นพูดดีๆ ก็โกรธ ๕. คนพาลไม่รู้อุบายส�าหรับแนะน�า นีคอทฤษฎีทดสอบคนพาล ตามทัศนะของท่านอกิตติดาบส ่ ื ใครทีมพฤติกรรมทัง ๕ นีแสดงออกมา ก็พงทราบเถิดว่า เขาคน ่ ี ้ ้ ึ นั่นแหละคือคนพาล ตามหลักการที่ท่านอกิตติดาบสก�าหนดไว้ ได้พูดถึงเรื่องของ “คนพาล” มาพอสมควรแล้ว ต่อไปก็มา ท�าความเข้าใจกันในเรื่องของ “บัณฑิต” ค�าว่า “บัณทิต” นั้น
  • 5. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 19 ได้แก่บคคลประเภทไหน ท�าไมจึงเรียกว่าบัณฑิต บัณฑิตนันมีอยู่ ุ ้ สองความหมาย ความหมายหนึ่งหมายถึงบัณฑิตทางโลก อีก ความหมายหนึ่งหมายถึงบัณฑิตทางธรรม บัณฑิตในทางโลก ใช้เรียกบุคคลผู้ส�าเร็จการศึกษาในสาขาวิชาการต่างๆ เช่น ส�าเร็จอักษรศาสตร์ก็เรียกว่า “อักษรศาสตรบัณฑิต” ส�าเร็จ ครุศาสตร์ก็เรียกว่า “ครุศาสตรบัณฑิต” เหล่านี้เป็นต้น ถือเอา ความส� า เร็ จ ทางการศึ ก ษาในสาขาวิ ช าต่ า งๆ ซึ่ ง วั ด กั น ด้ ว ย ปริญญาตามล�าดับชั้น ตรี โท เอก ส่วนบัณฑิตทางธรรม ท่านหมายถึงบุคคลผู้ด�าเนินชีวิต ด้วยปัญญา คือคนที่ใช้ปัญญาความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน และบุคคลอืน บัณฑิตทางธรรม เป็นผูดาเนินชีวตไปตามครรลอง ่ ้ � ิ แห่งพระธรรม จะท�าอะไรก็ท�าแต่สิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม จะพูด อะไรก็พูดแต่สิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม จะคิดอะไรก็คิดแต่สิ่งที่ถูก ต้องชอบธรรม ด�าเนินชีวิตแต่ในทางที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขด้วยสติปญญา รูจกใช้ปญญารอบคอบชอบด้วยเหตุผล ั ้ ั ั นี่คือคนที่เป็นบัณฑิตทางธรรม บัณฑิตชนประพฤติแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์ตนและคนอื่น ถ้าไม่สามารถประพฤติประโยชน์แก่คน อื่นได้ ก็ควรประพฤติเฉพาะประโยชน์ตน แม้เมื่อไม่สามารถ ประพฤติประโยชน์ของตนได้ ก็ควรปลีกตัวออกห่างจากความชัว ่ เสีย นี่ก็ลักษณะของบัณฑิตทางธรรม บัณฑิตตามทัศนะของ พระพุทธศาสนา ถือเอาคุณธรรมเป็นเครื่องวัดภูมิของบัณฑิต ผิ ด ตรงกั น ข้ า มกั บ บั ณ ฑิ ต ทางโลกซึ่ ง ถื อ เอาวิ ท ยฐานะ หรื อ ปริญญาดีกรีเป็นเครืองวัดภูมบณฑิตทางโลก ตามความเป็นจริง ่ ิ ั
  • 6. 20 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ แล้ว ค่าของบัณฑิตทางธรรมอยูทการด�าเนินชีวตด้วยสติปญญา ่ ี่ ิ ั และการบ�าเพ็ญประโยชน์เป็นประการส�าคัญ ดังประพันธ์พุทธ ภาษิตว่า ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ. คนฉลาดรู้จักประโยชน์ชาตินี้ ประโยชน์ชาติหน้า และ ประโยชน์อย่างยิ่ง (นิพพาน) เรียกว่าบัณฑิต ค่าของบัณฑิตขึนอยูกบประโยชน์ คนไหนท�าประโยชน์ได้มาก ้ ่ ั คนนั้นก็มีค่ามาก บัณฑิตย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ปจจุบน และประโยชน์ขางหน้า ยึดเอาประโยชน์ทงสอง ั ั ้ ั้ มาเป็นภาระหน้าที่ของตนที่จะต้องปฏิบัติบ�าเพ็ญจริงๆ ไม่สลัด ทิ้งภาระที่มาถึงตัว มุ่งถือประโยชน์ทั้งสองมาเป็นเครื่องมือใน การสร้ างตนให้มีฐานะมั่นคงในปัจจุบัน และสร้ า งสรรค์ ทาง ด�าเนินชีวิตให้ราบรื่นในกาลข้างหน้า บัณฑิตตามทัศนะของพระพุทธศาสนา นอกจากสร้างฐานะ ของตนให้มนคงในปัจจุบนแล้ว ยังมีความรูสกส�านึกในบาปบุญ ั่ ั ้ ึ คุณโทษ อันติดตามไปในกาลข้างหน้าจึงต้องหาอุบายป้องกัน บาปแล้วสั่งสมบุญ ยึดหลักธรรมคือศรัทธา ศีล จาคะ และ ปัญญา มาสร้างมรรคา เพื่อด�าเนินชีวิตไปสู่ชาติหน้าด้วยความ ราบรื่น เมื่อได้ทราบเรื่องของบัณฑิต คือผู้ด�าเนินชีวิตด้วยสติ ปัญญาและเป็นผู้บ�าเพ็ญประโยชน์ทั้งสอง มาพอสมควรแล้ว ประเด็นต่อไป ก็ควรจะต้องรู้จักอาการของบัณฑิตด้วย อาการ แสดงออกของบัณฑิตนั้น มีอยู่ ๓ ประการ คือ
  • 7. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 21 ๑. บัณฑิตคิดดีเป็นปกตินิสัย ๒. บัณฑิตพูดดีเป็นปกตินิสัย ๓. บัณฑิตท�าดีเป็นปกตินิสัย ตามหลักการข้างบนนี้ เราได้จุดสังเกตอาการของบัณฑิต ๓ จุดด้วยกันคือ ๑. สังเกตจากการคิด ๒. สังเกตจากการพูด ๓. สังเกตจากการท�า การคิดดี การพูดดี การท�าดีเป็นปกตินิสัย นี่คือลักษณะ อาการของบัณฑิต บัณฑิตมีอัธยาศัยไม่คิดโลภอยากได้ของคน อืนมาเป็นของตน มีอธยาศัยไม่คดประทุษร้ายคนอืนและสัตว์อน ่ ั ิ ่ ื่ ให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน มีอัธยาศัยไม่คิดเบียดเบียน คนอื่นและสัตว์อื่นในทางมโนกรรม บัณฑิตมีอัธยาศัยเช่นนี้ ในทางวจีกรรม บัณฑิตมีอธยาศัยพูดแต่คาสัตย์ความจริงพูด ั � ค�าอ่อนหวานค�าประสานสามัคคี พูดวจีไพเราะ พูดเฉพาะแต่ค�า ที่มีประโยชน์ ในทางกายกรรม บัณฑิตมีอัธยาศัยในการเว้นจาก การฆ่า เว้นจากเบียดเบียน เว้นจากการลักขโมย และเว้นจาก ประพฤติล่วงประเวณี ที่กล่าวมาโดยย่อนี้ คืออาการของบัณฑิต บัณฑิตมีอาการท�าดี มีอาการพูดดี มีอาการคิดดี เป็นปกตินิสัย ทีกล่าวมาทังหมดนี้ เป็นเรืองของ “คนพาล” และเรืองของ ่ ้ ่ ่ “บัณฑิต” ต่อไปก็เข้าสู่ประเด็นในข้อที่ว่า “คนดีชอบท�างาน – คนพาลชอบท�าลาย” “คนดี” ในที่นี้ ได้แก่บัณฑิตนั้นเอง คนดีชอบท�างาน คนดีไม่
  • 8. 22 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ ว่ายุคไหน สมัยไหน เกิดขึ้นมาแล้วก็ชอบท�างานทั้งที่เป็นงาน ส่วนตัว งานส่วนรวม ก็ร่วมด้วยช่วยท�า ไม่ว่าจะเป็นงานต�่างาน สูง งานบ้าน งานเมือง เรืองอะไรทีเป็นประโยชน์แก่ตนแก่คนอืน ่ ่ ่ แก่สังคมประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ท�าได้ทั้งนั้น ไม่ คิดผัดวันประกันเวลาในการท�างานที่ดี มีประโยชน์ คนดีได้รับ มอบหมายหน้าที่การงานอะไรมาก็ตั้งใจ พอใจ ชอบใจ ในหน้าที่ การงานนันๆ แล้วก็พยายามท�างานด้วยความเข้าใจเอาใจใส่ฝกใฝ่ ้ ั อยู่ในการท�างานนั้นจนกว่าจะส�าเร็จผล ไม่เป็นคนจับจดอ้างนั่น อ้างนี่ ไม่หนีงาน ถือหลักว่า การท�างานในหน้าที่เป็นการปฏิบัติ ธรรมในชีวิตประจ�าวัน ดังนั้น คนดีจึงท�างานได้ทั้งคดีโลก คดี ธรรม คือทั้งงานทางโลก งานทางธรรม โลกก็ไม่ให้ช�้า ธรรมก็ ไม่ให้เสีย ไม่ยอมปล่อยเวลาให้ลวงไปเปล่าๆ โดยทีไม่ยอมท�างาน ่ ่ อะไร เป็นการหายใจทิ้งเปล่าๆ คนดีอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องตั้งใจท�างาน แข่งเวลา ช้าไม่ได้ในเรืองท�างาน คนดีถอหลักว่า “ค่าของคน อยู่ ่ ื ที่ผลของการท�างาน” คนดีที่รับผิดชอบในการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองเรื่อง ท�างานเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่ประชาชนชาวบ้าน ถือเป็นงานส�าคัญมาก และเป็นงานเร่งด่วน ควรจะท�าทันที ใน วันนี้และเดี๋ยวนี้ คนดีจะไม่ผัดวันประกันเวลาในการท�างาน รีบ ท�าทันทีทันควัน ไม่หันรีหันขวาง อ้างนั่นอ้างนี่ลงพื้นที่สารวจ � ความเป็นอยู่ของประชาชนทุกหนทุกแห่งแบ่งงานกันท�าเป็น ระบบ พบชาวบ้านมีปัญหาเรื่องอะไรเร่งแก้ไขให้ทันกาล อย่า ปล่อยให้งานล่าช้า อย่าเห็นว่าปัญหาของประชาชนเป็นเรื่องไม่
  • 9. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 23 ส�าคัญ ส�าคัญยิงกว่าเรืองอืนใดทังหมด ก�าหนดไว้ในหัวใจประจ�า ่ ่ ่ ้ วันว่า นั่นคือปัญหาของประชาชนรากหญ้า รีบหาอุบายคลาย ทุกข์พวกเขาทันทีทนใด ถือคติวา “คนดีชอบแก้ไข แต่คนจัญไร ั ่ ชอบแก้ตว” คนดีชอบแก้ไข คือแก้ไขปัญหาความทุกข์ความเดือด ั ร้อนของประชาชน ในทุกๆ ด้าน ถ้าประเทศชาติบ้านเมืองใด ได้ คนดีมาเป็นรัฐบาลชาวบ้านทัวไปก็ได้รบแต่ความสุข ความเจริญ ่ ั ความก้าวหน้า และความปลอดภัยในชีวต ชีวตไร้ปญหาเพราะว่า ิ ิ ั ได้เลือกคนดีมาเป็นรัฐบาล มาบริหารประเทศชาติบ้านเมือง สาธุ! ขอให้สังคมไทยได้รัฐบาลที่ดี มีศีล มีธรรม มารับผิดชอบ บริหารประเทศชาติบ้านเมืองกันเถิด จะได้เกิดสิริมงคลส่งผลให้ ประชาชนมีความร่มเย็น เป็นสุข ปราศจากความทุกข์ ความเดือด ร้อน โดยประการทั้งปวง ประเด็นของ “คนดีชอบท�างาน” กล่าวมาโดยย่อ ขอผ่านไป ขอเข้าสู่ประเด็นของ “คนพาลชอบท�าลาย” ต่อไป ในประเด็น นี้ คนพาลคือคนประเภทไหน ท�าไมจึงได้ชื่อว่าเป็น “คนพาล” ประเด็นนี้ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น แต่ขอย�้าอีกครั้งเพื่อหวังให้ ท่านทังหลายได้ทบทวนความจ�า แล้วจะท�าให้ทานทังหลายเข้าใจ ้ ่ ้ ได้ง่ายขึ้น เมื่อพูดถึงคนพาลชอบท�าลาย คนพาลคือคนชั่วคนไม่ ดี เพราะมีลักษณะอ่อนความคิด อ่อนสติ และอ่อนปัญญา นอกจากลักษณะทัง ๓ นีแล้ว ก็ยงมีจดสังเกตดูคนพาลอีก ๓ จุด ้ ้ ั ุ คือสังเกตอาการของคนพาล คนพาลมีอาการแสดงออกมา ๓ จุดด้วยกันคือ คนพาลชอบคิดชั่ว เป็นปกตินิสัย
  • 10. 24 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ คนพาลชอบพูดชั่ว เป็นปกตินิสัย คนพาลชอบท�าชั่ว เป็นปกตินิสัย หากอาการทั้ง ๓ นี้ มีอยู่ในบุคคลใด ก็บุคคลนั้นแหละคือ “คนพาล” คนพาลมีสันดานชอบคิดชั่ว ชอบพูดชั่วและชอบท�า ชั่ว เป็นนิสัยสันดาน เมื่อทราบลักษณะอาการของคนพาลแล้ว ท่านทั้งหลายก็ คงจะเข้าใจได้โดยปราศจากความลังเลสงสัยว่า คนพาลนั้นชอบ ท�าลายอย่างไร สังเกตได้จากอาการทีหนึงว่า คนพาลชอบคิดชัว ่ ่ ่ เป็นนิสัยสันดาน คิดชั่วคือคิดอย่างไร คิดชั่วก็คือคิดโลภอยากได้ ของคนอื่นมาเป็นของตน คนที่คิดอยากได้ของคนอื่นนั้น มัน เป็นการท�าลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของคนอื่น เมื่อคิดอยาก ได้ของเขาก็หาวิธจะเอาให้ได้ ไม่วาโดยวิธใดถ้าไม่ได้ดวยเล่หกตอง ี ่ ี ้ ์ ็ ้ เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็ต้องเอาด้วยคาถา หาทางคดโกง คอร์รปชัน ท�ามันทุกอย่างขอให้ได้ทรัพย์มาเป็นของตน คนทีท�า ั ่ ่ เช่นนี้จะไม่เรียกว่าเป็นคนชอบท�าลาย แล้วจะเรียกว่าอย่างไร คนพาลนอกจากจะคิดโลภอยากได้ของเขาแล้ว ยังคิดที่จะ ประทุษร้าย ท�าลายล้างผลาญคนอื่นอีกด้วย ช่วยบอกหน่อยซิ ว่า การกระท�าเช่นนี้ของคนพาล เป็นการท�าลายไหม แน่นอน คนพาลชอบท�าลาย ท�าลายทุกอย่างที่ขวางหน้า ยุคไหน สมัย ไหน ถ้ามีคนพาลอาศัยอยูในสังคมมาก ยุคนัน สมัยนัน หาความ ่ ้ ้ ปลอดภัยในชีวิตไม่ค่อยจะได้ สุจริตชนคนดีๆ ในสังคมต่างก็มี ความระทมทุกข์กันไปทุกหย่อมหญ้า เพราะว่าคนพาลชอบ ท�าลาย ร้ายไหมละท่าน! นี่แหละคนพาลชอบท�าลายเป็นนิสัย
  • 11. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 25 สันดาน ยิ่งถ้าคนพาลได้ยศ ได้อ�านาจเป็นใหญ่ในแผ่นดินด้วย แล้ว สังคมมนุษย์ก็จะร้อนเป็นไฟ เพราะคนพาลย่อมประพฤติ แต่สงทีไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบตเพือเบียดเบียนตนและ ิ่ ่ ั ิ ่ คนอื่นให้เดือดร้อน ดังค�าสอนที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ยส� ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถ� จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ. คนทรามปัญญา (คนพาล) ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่ง ที่ ไ ม่ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ ต น ย่ อ มปฏิ บั ติ เ พื่ อ เบี ย ดเบี ย นตน และคนอื่น คนพาลได้ยศได้อ�านาจแล้ว มักจะลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ลืมตัว เอง ลืมหน้าทีการงาน ลืมบริวารเพือนฝูง ลืมบ้านเกิดเมืองนอน ่ ่ ลืมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ลืมศาสนา ลืมความ เป็นธรรม ความยุติธรรม ความเสมอภาค พฤติกรรมของคน พาลที่ได้ยศได้อ�านาจ ตามที่กล่าวมาโดยย่อนี้ ชี้ให้เห็นอย่างเด่น ชัดโดยไม่ต้องสงสัยว่า “คนพาลชอบท�าลาย” หลักค�าสอนในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงเตือน ว่า อย่าให้ยศ อย่าให้อ�านาจแก่คนพาล อย่ายกย่อง อย่า สรรเสริญคนพาล อย่ามอบอ�านาจให้คนพาลเป็นใหญ่ในการ บริหารประเทศชาติบ้านเมือง เพราะจะก่อความเสียหายท�าลาย ประเทศชาติ บ ้ า นเมื อ งให้ ป ระสบกั บ ความหายนะล่ ม จมใน บันปลาย เพราะเรืองเคยมีมาแล้ว ควรระวังกันให้ดอย่าผลีผลาม ้ ่ ี มอบความเป็นใหญ่ให้คนพาลเป็นอันขาด ถ้ามาตรแม้นว่าคน พาลที่เป็นคนธรรมดาสามัญชาวบ้านทั่วไป ภัยอันตรายที่เกิด
  • 12. 26 พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ จากคนพาลประเภทนี้ ก็อยูในวงแคบอยูขอบเขตจ�ากัด จัดว่าเป็น ่ ่ ภัยอันตรายเป็นการท�าลายกันในสังคมของคนที่ไม่มีอ�านาจ แม้ จะเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ก็ยังพอท�าเนาไม่เท่ากับคนพาลที่มียศมี อ�านาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน คนพาลประเภทนี้มีพิษสงร้ายกาจ มาก อยากจะพูดว่าท�าลายทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ ทหาร การเมือง เรื่องการศึกษา การปกครอง เรื่องสังคม วัฒนธรรมประเพณี หนีไม่พ้นกระทั่งสิ่งแวดล้อม ก็พร้อมถูก ท�าลาย ด้วยฝีมอของคนพาลได้ยศ ได้อานาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ื � ทั้งนั้น โอ! ขอให้ยุคของคนพาลได้ยศได้อ�านาจ ปลาสนาการไป จากสังคมไทยในเร็ววันนี้เทอญ อันคนดี ชอบท�างาน การต่างต่าง ท�าทุกอย่าง ในทาง การสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ และความสุข ท�าทุกวัน ไม่ผัดวัน ประกันพรุ่ง มุ่งท�าดี พวกคนดี ชอบท�างาน การกุศล เพื่อให้คน ในสังคม นิยมดี ท�าทุกอย่าง ในทาง สร้างความดี ชอบท�าดี ที่ถูกต้อง ตามคลองธรรม เมื่อคนดี ชอบท�างาน ด้านต่างต่าง ตามตัวอย่าง ที่กล่าวอ้าง ทางชอบธรรม ท�าอะไร อยู่ในกรอบ อันชอบธรรม ท�าประจ�า เป็นนิสัย ใฝ่ความดี
  • 13. พรธรรมปีใหม่...จากวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ปี ๒๕๕๕ 27 ด้วยเหตุผล ที่คนดี ไม่หนีงาน จึงเป็นการ ส่งเสริม เพิ่มศักดิ์ศรี ให้ลาภยศ เพิ่มพูน คูณทวี ด้วยเหตุที่ คนดี ชอบท�างาน ส่วนคนพาล ชอบท�าลาย ร้ายที่สุด เป็นมนุษย์ อันตราย ร้ายเอาการ อยู่ที่ไหน ก็ท�าให้ คนร�าคาญ ชอบล้างผลาญ สังคม ให้ล่มจม สังคมใด ให้คนพาล อาศัยอยู่ เหมือนศัตรู อยู่อาศัย ในสังคม ก็ท�าลาย ทุกอย่าง ทางสังคม ให้ล่มจม วายวอด ตลอดกาล ด้วยเหตุนี้ คนดี จึงเตือนตัก ให้ทุกคน รู้จัก สร้างหลักฐาน อย่าปล่อยให้ คนพาล มารุกราน สร้างปราการ ด้วยหลักธรรม ค�้าประกัน ถ้าท�าได้ เช่นนี้ จะดีมาก จึงขอฝาก ให้ทุกคน สนใจกัน ใช้หลักธรรม ในชีวิต ประจ�าวัน เพื่อป้องกัน คนพาล สันดานทราม ฯ