SlideShare a Scribd company logo
การอบอุ่นร่างกาย
เป็นขั้นตอนที่มีความสำ�คัญยิ่งที่ผู้ออกกำ�ลังกายทุกคนพึงปฏิบัติก่อนการออก
กำ�ลังกายทุกครั้ง เพื่อเป็นการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น
จากการออกกำ�ลังกาย ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายที่แสดงในส่วนนี้เป็นวิธีการอบอุ่น
ร่างกายที่เป็นมาตรฐาน และสามารถปรับใช้ได้กับทุกชนิดการออกกำ�ลังกายไม่ว่า
จะเป็นกีฬาสากล หรือกีฬาท้องถิ่นพื้นบ้าน ดังนั้นผู้ออกกำ�ลังกายควรปฏิบัติตามขั้น
ตอนดังกล่าวอยู่เป็นนิจ เพื่อความปลอดภัย และความสนุกสนานในการออกกำ�ลัง
กายของตัวท่่านเอง ขั้นตอนในการอบอุ่นร่างกายมีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำ�ลังกาย
	 การอบอุ่นร่างกายและการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนออกกำ�ลังกาย
หรือเล่นกีฬา มีด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ
	 1.	การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm up)
	 2.	การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching)
	 3.	การอบอุ่นร่างกายด้วยทักษะกีฬา (Warm up with sport skill)
ขั้นตอนที่ 1
	 การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm up) เป็นการเตรียมความพร้อมของ
ร่างกายในระบบต่างๆ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ และการหายใจ เป็นต้น
ให้ร่างกายมีความพร้อมที่จะทำ�กิจกรรมการออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬา เช่น วิ่ง
เหยาะ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เครื่องวิ่งสายพาน กายบริหารท่าต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้
ร่างกายมีอุณหภูมิที่ร้อนพอที่จะทำ�ให้ระบบไหลเวียนเลือดและการยืดหยุ่นของกล้าม
เนื้อสามารถทำ�งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการทำ�กิจกรรมต่อไป ซึ่งอาจใช้
เวลาในการอบอุ่นร่างกายประมาณ 10–15 นาที
การอบอุ่นร่างกาย (Warm up)
ขั้นตอนที่ 2 การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching)
	 เป็นการทำ�ให้กล้ามเนื้อยืดยาวออก เพื่อช่วยให้
ร่างกายมีความยืดหยุ่น ทำ�ให้กล้ามเนื้อพร้อมที่จะยืด
หรือหดตัวได้อย่างเต็มที่ ช่วยลดอาการตึง เกร็ง ของ
กล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับ
กล้ามเนื้อและข้อต่อ พร้อมที่จะทำ�กิจกรรมต่อไป ซึ่ง
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อมีหลักการดังต่อไปนี้
	 1.	ควรยืดกล้ามเนื้อหลังจากที่มีการบริหารอบอุ่น
ร่างกายประมาณ 5-10 นาที
	 2.	ให้ยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกตึง ห้ามยืดกล้ามเนื้อ
จนรู้สึกเจ็บ และค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาทีแล้ว
จึงกลับที่เดิม หรือการยืดลักษณะไม่ค้างไว้ เช่น นับ
ถึง 3 แล้วกลับที่เดิม ทำ�ประมาณ 5 ครั้ง ก็ได้ ซึ่ง
การยืดควรค่อยๆ ยืด เพราะครั้งแรกอาจยืดได้น้อย
แต่ให้ค่อยๆ ยืดมากขึ้นในครั้งต่อไป หรือให้ผู้อื่นเข้า
มาช่วยก็ได้
	 3.	ขณะยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้หายใจเป็นปกติ
โดยควบคุมการหายใจให้สม่ำ�เสมอ เมื่อออกแรงให้
หายใจออก ไม่ควรกลั้นหายใจ
	 4.	ไม่ควรกระตุกหรือโยกตัวขึ้นลงขณะยืดกล้าม
เนื้อ
	 5.	นอกจากการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั่วๆ ไปแล้ว
ซึ่งอาจไล่ศีรษะลงมาเท้า หรือจากล่างขึ้นไปก็ได้
	ในการออกกำ�ลังกายโดยการเล่นกีฬาตะกร้อลอด
ห่วง บริเวณกล้ามเนื้อส่วนขาจะใช้ในการเล่นมาก
ที่สุด จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับผู้เล่นในการยืดเหยียด
กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว ซึ่งประโยชน์ของการ
ยืดเหยียดนั้น คือ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นตัวของ
กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ผ่อนคลายและลดอาการปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อ ป้องกันการบาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยป้องกัน
โรคข้อเสื่อม ข้อติดขัดอีกด้วย
	 การยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัก
	
น่อง (Calves)
	 ยืนหน้าผนังใช้ฝ่ามือดันผนัง เท้าแยกหน้าหลัง
ห่างกัน 1 ช่วงก้าว เข่าหน้างอ เข่าหลังเหยียดตึง
กดส้นเท้าหลังลง โน้มตัวไปข้างหน้าและงอเข่าหน้า
เมื่อรู้สึกตึง ให้หยุดนิ่งค้างไว้ 10–20 วินาที และ
เปลี่ยนไปปฏิบัติด้านตรงข้าม (กรณีที่จะให้ได้ในส่วน
ของ น่อง – เอ็นร้อยหวาย ให้งอเข่าหลัง และปฏิบัติ
เช่นเดียวกัน)	
	
	 กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า (Quadriceps Stretch)
ยืนตรง มือข้างหนึ่งอาจแตะผนังเพื่อการทรงตัว มืออีก
ข้างจับที่ข้อเท้า
และดึงมาด้าน
หลังจนรู้สึกตึง
แล้วหยุดนิ่งค้าง
ไว้ 10-20 วินาที
และเปลี่ยนไป
ปฏิบัติอีกข้าง
3
กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหลัง (Hamstring Stretch)
ยืนหน้าผนัง โดยคำ�นวณระยะให้ห่างจากผนังประมาณ
ปลายแขนขวาถึงไหล่ซ้าย และค่อยๆ ก้มตัวลง มือ
แตะผนัง โดยให้สะโพก หลังและไหลตรงโดยหลัง
ขนานกับพื้น ค้างไว้ 10-20 วินาที หรือ
	 นอนราบ เท้าเหยียดตรงยกเท้าข้างหนึ่งเอามือ
จับข้อเข่าแล้วดึงเข้าหาหน้าอกจนกระทั่งกล้ามเนื้อต้น
ขาด้านหลังตึงแล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20
วินาที และเปลี่ยนไปปฏิบัติอีกข้าง หรือ
	 นั่งบนพื้น เท้าทั้งสองข้างอยู่บนพื้น
โดยเท้าข้างหนึ่งเหยียด เท้าอีกข้างหนึ่ง
งออยู่ระดับเหนือเข่า หลังตรงโน้มตัวลง
ให้หน้าอกชิดเข่าด้านขาที่เหยียด เอามือ
สองข้างจับปลายเท้าจนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อ
ต้นขาด้านหลัง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20
วินาที และเปลี่ยนไปปฏิบัติอีกข้าง
	 เข่า-อก (Knee-to-chest stretch) การยึด
เหยียดกล้ามเนื้อด้านหลังส่วนล่าง ทำ�โดยนอนราบ เท้า
เหยียดตรงยกเท้าข้างหนึ่งเอามือจับเข่าแล้วดึงเข้าหา
หน้าอกจนกระทั่งกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังตึงแล้วหยุด
นิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยนไปปฏิบัติอีกข้าง
	 สะโพกด้านหลัง (Quadriceps, Hips) ยืนแยก
เท้าหน้าหลังให้มากที่สุด แล้วคุกเข่าให้เข่าหลังสัมผัส
พื้น เข่าหน้างอตั้งฉาก ลำ�ตัวตั้งตรงมือจับที่เอวหรือ
สะโพกหรือบริเวณเหนือเข่า ถ่ายน้ำ�หนักตัวไปข้าง
หน้าให้มากที่สุดจนรู้สึกตึง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20
วินาที และเปลี่ยนปฏิบัติอีกข้าง
4
กล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก (Iliotibial Band) ยืน
หันข้างขวาให้ผนัง หรือเสาเพื่อการทรงตัวไขว้เท้าซ้าย
ไปด้านหน้าเท้าขวา พร้อมกับเอียงลำ�ตัวไปด้านขวา
ให้มากที่สุด (โดยใช้มือขวาแตะผนังหรือจับเสา) จน
รู้สึกตึง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยน
ปฏิบัติอีกข้าง ในการยืดลักษณะนี้เป็นการยืดในส่วน
ของลำ�ตัวด้านข้าง และไหลด้วย
	 ไหล่-สะบัก (Shoulders-Upper Back Stretch)
ยกแขนซ้ายผาดผ่านเหนือหน้าอกไปทางขวา ใช้มือขวา
จับศอกซ้ายดึงเข้าหาไหล่ขวาให้มากที่สุด จนรู้สึกตึง
ที่ไหล่-สะบัก แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที แล้ว
เปลี่ยนเป็นปฏิบัติอีกข้าง
	 ไหล่-ต้นแขนด้านหลัง (Shoulders-Upper
Arms Stretch) ยกแขนขวาชูขึ้นเหนือศีรษะ งอศอก
ขวาลงให้มือขวาอยู่ด้านหลังต้นคอ แล้วใช้มือซ้ายจับ
ที่ข้อศอกขวา ค่อยๆ ออกแรงดึงศอกขวามาทางไหล
ซ้ายให้มากที่สุด จนรู้สึกตึงที่ไหล่แล้ต้นแขนด้านหลัง
แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที แล้วเปลี่ยนเป็น
ปฏิบัติอีกข้าง
	 คอด้านข้าง (Neck Stretch) เอียงศีรษะไป
ทางขวา ใช้มือขวาสัมผัสข้างศีรษะด้านซ้าย ออกแรง
ดึงศีรษะไปทางขวาให้มากที่สุด จนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อ
คอด้านซ้าย แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที แล้ว
เปลี่ยนเป็นปฏิบัติอีกข้าง
	 คอด้านหลัง (Neck Stretch) ก้มศีรษะ แล้ว
ใช้มือทั้งสองข้างวางบนศีรษะด้านหลัง ออกแรงดึง
ศีรษะลงมาข้างหน้าให้มากที่สุดจนรสึกตึงที่กล้ามเนื้อ
คอด้านหลัง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที
5
ตะกร้อลอดห่วง
จังหวัดราชบุรี
ภาคกลาง
พื้นที่ต้นแบบของกิจกรรม :	 เทศบาลตำ�บลปากท่อ
		 จังหวัดราชบุรี
ที่มาของกิจกรรม
	 “กีฬาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ” ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่ม
ต้นของการทำ�กิจกรรมร่วมกันของประชาชนในชุมชน
ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในเขตอำ�เภอปากท่อ จังหวัดราชบุรีก็เช่นเดียวกัน
ที่เห็นความสำ�คัญของประชาชนในท้องถิ่นเรื่องของการ
ดูแลสุขภาพด้วยการเล่นกีฬาพื้นบ้าน ภายใต้แนวคิด
“สุขภาพดีไม่มีขาย ต้องกำ�ลังกายอยู่เสมอ”
แนวทางในการดำ�เนินกิจกรรม
	 ด้วยลักษณะพื้นฐานของประชากรในอำ�เภอปากท่อ
จังหวัดราชบุรี มีความนิยมในการเล่นตระกร้อเป็นพื้น
ฐานอยู่เดิม ผู้ดำ�เนินโครงการนี้จึงได้มีความคิดที่จะ
ริเริ่มการสานต่อตระกร้อลอดห่วงให้กลายเป็นทางเลือก
เพื่อการออกกำ�ลังกายของประชากร โดยเริ่มจากการ
ประชุมประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น อาทิ
ผู้นำ�ชุมชน โรงเรียน เพื่อหายุทธวิธีในการดำ�เนินการ
โครงการกีฬาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพในชุมชน และเมื่อ
ได้มติและคำ�แนะนำ�ต่างๆ จึงได้จัดการประชุมอบรม
คณะทำ�งาน เจ้าหน้าที่ และประชาสัมพันธ์รูปแบบ
ต่างๆ ในพื้นที่ จากนั้นจึงจัดอบรมฝึกวิทยากรกลุ่ม
เป้าหมายโดยให้ท้องถิ่นชุมชน โรงเรียนส่งกลุ่ม
เป้าหมายเพื่อเข้ารับการอบรม โดยผู้ที่เข้ารับการอบรม
นี้จะเข้าร่วมโครงการในฐานะวิทยากรและผู้เล่นนำ�ร่อง
	 ในเวลาถัดมาเมื่อแต่ละชุมชนได้รับการเผยแพร่วิธี
การเล่น และกฏ กติกาต่าง ๆ แล้ว จึงได้ประชาสัมพันธ์
ถึงการการจัดการแข่งขันกีฬาตระกร้อลอดห่วงพื้นบ้าน
เพื่อสุขภาพที่จะจัดเดือนละ 2 ครั้ง และเมื่อกิจกรรม
โครงการนี้สิ้นสุดลงแล้ว ผู้ดำ�เนินโครงการได้จัดทำ�สรุป
ผลการดำ�เนินงาน และติดตามผล การสรุปบทเรียน
เพื่อเป็นการทบทวน สรุปประสบการณ์การทำ�งานนำ�
ไปพัฒนาต่อไป
	 เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต
อำ�เภอปากท่อเห็นความสำ�คัญในการดูแลความเป็น
อยู่ของประชาชนในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งทางด้าน
ร่างกาย จิตใจ สังคม และครอบครัว ด้วยการพัฒนา
ส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำ�ลังกายร่วมกันใน
ชุมชน โดยการจัดให้บริการเครื่องออกกำ�ลังกาย หรือ
การเต้นแอโรบิค เป็นต้น นอกจากนี้ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเขตอำ�เภอปากท่อยังมีการส่งเสริมและ
สนับสนุนการเล่นกีฬาพื้นบ้านของประชาชน ก็คือ
ตะกร้อลอดห่วง ในปัจจุบันตะกร้อลอดห่วงเป็นกีฬา
ที่แพร่หลายในจังหวัดราชบุรี เพราะชุมชนให้ความ
สนใจในการเล่นกีฬาพื้นบ้านดังกล่าวเป็นจำ�นวนมาก
ซึ่งนอกจากประชาชนจะได้เล่นเพื่อความสนุกสนาน
เพลิดเพลินแล้ว การเล่นตระกร้อลอดห่วงยังทำ�ให้
อวัยวะต่างๆ เช่น สายตา แขน ขา ศีรษะ และ
ไหวพริบต่างๆ มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น อีกทั้ง
ยังเป็นการช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมกีฬา
พื้นบ้านไว้อีกด้วย “ตะกร้อ” คำ�นิยามตามพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย
ตามการใช้ในชีวิตของคนไทยไว้ว่า “ตะกร้อ” หมายถึง
“ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตาสำ�หรับเตะ, เครื่องมือ
สอยผลไม้มีด้ามยาว ทำ�ด้วยไม้เป็นซี่รูปป่องยาวรี
คล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสำ�หรับสอย เครื่องสาน
รูปทรงกระบอก สำ�หรับไว้ใส่กระถางยาดองและกะปิ
เป็นต้น เพื่อกันเนื้อให้แต่น้ำ�ซึมเข้าข้างใน เครื่องสาน
มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สำ�หรับสวมดับและคลึงลูกไฟ
ที่มาติดบนหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา” ซึ่งความหมาย
ดังกล่าวมีส่วนที่คล้ายคลึงกันว่าตะกร้อเป็นวัสดุเครื่องสาน
ในลักษณะต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์แตกต่างกันออกไป
หรือแม้แต่ในสมัยโบราณเองก็มีกฎหมายและวิธีการ
ลงโทษผู้กระทำ�ความผิด โดยการนำ�เอานักโทษใส่ลง
ไปในสิ่งกลมๆ ที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ นอกจากนี้
ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 บางตอน
มีการกล่าวถึงการเล่นตะกร้อ ที่เป็นสิ่งช่วยสนับสนุน
ประวัติของตะกร้อได้เป็นอย่างดี
	 สำ�หรับวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำ�มาใช้ทำ� “ตะกร้อ”
นั้น เนื่องจากภูมิประเทศและธรรมชาติของประเทศไทย
ในอดีตอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไผ่และหวาย ดังที่ มองซิเออร์
เดอ ลาลูแบร์ บันทึกในจดหมายเหตุว่า “ต้นไม้สำ�คัญ
และมีมากที่สุดของกรุงสยาม ก็คือต้นไม้อย่างหนึ่ง
ซึ่งตามภาษาในภาษาสยามว่าไม้ไผ่” จึงสันนิษฐาน
ได้ว่า นอกจากคนไทยสมัยโบราณจะนิยมนำ�ไม้ไผ่และ
หวายมาใช้ดัดแปลงทำ�เป็นอาวุธเพื่อใช้ในการฝึกซ้อม
ตะกร้อลอดห่วง
การต่อสู้หรือเครื่องอาวุธของกระบี่กระบองแล้ว น่าจะ
มีการนำ�หวายซึ่งหาได้ง่าย มาสานเป็นตะกร้อสำ�หรับ
เพื่อใช้ออกกำ�ลังกายหรือเป็นอุปกรณ์การละเล่นใน
ยามว่าง แต่ปัจจุบันหวายนั้นหาได้ยากมากขึ้น ดังนั้น
จึงมีการประยุกต์ใช้พลาสติกสานเป็นลูกตะกร้อแทน
	 ตะกร้อเป็นกีฬาที่คนไทยโบราณคิดค้นขึ้นโดยมี
ลักษณะวิธีการเล่นหลายประการที่สอดคล้องกับลักษณะ
นิสัยของคนไทยที่ใช้อวัยวะ เช่น เท้า เข่า ศอก ศีรษะ
ในการฝึกซ้อมการต่อสู้ป้องกันตัวเป็นประจำ� จึงทำ�ให้
การฝึกเล่นตะกร้อของคนไทยเป็นไปง่ายและรวดเร็ว
สถานที่เล่นตะกร้อเป็นสถานที่ทั่วไปที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
ทั่วไป ทั้งกลางแจง ในร่ม บนพื้นดิน หรือพื้นทราย
เช่น ลานกว้างที่มีตามหมู่บ้าน หรือลานวัด เป็นต้น
	 ในปัจจุบัน การเล่นตะกร้อของสังคมไทยมีความ
หลากหลายมากขึ้น ทำ�ให้เกิดรูปแบบการเล่นมากมาย
หลายชนิด เช่น ตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ ตะกร้อ
เตะทน ตะกร้อพลิกแพลง ตะกร้อชิงธง ตะกร้อ
ลอดห่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย เซปักตะกร้อ เป็นต้น
ซึ่งกฎและกติกาการเล่นก็แตกต่างกันออกไปการเล่น
ในส่วนของตะกร้อลอดห่วงนั้น พัฒนามาจากตะกร้อ
วงที่เตะลูกตะกร้อให้โด่งไปมาหาคู่ของตัวเองเท่านั้น
ไม่ท้าทายความสามารถเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อประมาณ
พ.ศ. 2470 – 2475 หลวงมงคลแมน (สังข์ บูรณะศิริ)
ได้คิดประดิษฐ์ห่วงหวายขึ้นมาเป็นเป้านิ่งแขวนลอย
อยู่ระหว่างเสาสูง 2 ต้น ห่วงนี้มี 3 ห่วง ให้ตะกร้อ
เตะลอดเข้าไปได้ 3 ทิศทาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ของปากห่วงกว้าง 45 เซนติเมตรเท่ากัน ห่วงอยู่สูง
จากพื้นโดยวัด จากจุดต่ำ�สุดของห่วง 5.75 เมตรและ
แขวนลอยอยู่ระหว่างจุดกึ่งกลางของวงกลมซึ่งมีเส้น
ผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร ผู้เล่นจะทำ�การแข่งขันได้
ไม่เกินชุดละ 7 คน และไม่ต่ำ�กว่า 6 คน การเตะ
ตะกร้อลอดห่วงนี้เป็นลักษณะเฉพาะของประเทศไทย
ที่ไม่มีประเทศอื่นเล่นได้ ในปัจจุบันตะกร้อลอดห่วงถือ
ได้ว่าเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยที่ได้รับความนิยมจาก
สังคมไทยอย่างแพร่หลาย โดยมีทั้งการเล่นเพื่อสุขภาพ
และนันทนาการจนไปถึงการแข่งขันในระดับประเทศ
เป้าหมาย
	 1.	เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชน
		 ทั่วไป ได้ทำ�กิจกรรมการออกกำ�ลังกายและ
		 เล่นกีฬาพื้นบ้านศิลปะไทยเพื่อสุขภาพร่วมกัน
	 2.	เกิดพื้นที่ในการทำ�กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และ
		 เวทีกีฬาพื้นบ้านศิลปะไทยในชุมชน
	 3.	เพื่อส่งเสริมและร่วมกันอนุรักษ์กีฬาพื้นบ้าน
		เพื่อสุขภาพ
	 4.	เพื่อส่งเสริมการออกกำ�ลังกายและเล่นกีฬา
		 พื้นบ้านได้อย่างถูกวิธี
ประโยชน์
	 1.	ทำ�ให้เด็ก เยาวชนและประชาชน มีสุขภาพ
		 ร่างกายที่แข็งแรง
	 2.	ทำ�ให้เด็ก เยาวชนและประชาชน มีการ
		 พัฒนาด้านทักษะและรูปแบบการออกกำ�ลัง
		 กายที่ถูกต้องเหมาะสม
	 3.	ทำ�ให้ประชาชนในชุมชน ผ่อนคลายความเครียด
		 จากการทำ�งานในแต่ละวัน
	 4.	ทำ�ให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ
		 พูดคุย และทำ�กิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน
ระยะเวลาที่ใช้
	 โดยปกติการแข่งขันกีฬาตะกร้อลอดห่วงใช้ระยะ
เวลาในการแข่งขันชุดละ 40 นาที โดยไม่มีการพักลูก
หากผู้เข้าแข่งขันชุดใดเกิดอุบัติเหตุในขณะที่ทำ�การ
แข่งขันอยู่ ให้กรรมการพิจารณาหยุดการแข่งขันได้
ไม่เกิน 3 นาที แล้วให้ทำ�การแข่งขันต่อไปและให้
ทดเวลาที่เสียไปด้วย
กลุ่มของผู้เล่น
	 กีฬาตะกร้อลอดห่วงนั้น ถ้าหากเล่นเพื่อสุขภาพ
และนันทนาการ ประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถ
เล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย
จำ�นวนผู้เล่น
	 ผู้เล่นจะทำ�การแข่งขันได้ไม่เกินชุดละ 7 คน
และไม่ต่ำ�กว่า 6 คน
กติกา
	 ผู้เล่นจะยืนรอบห่วงเป็นรูปวงกลม ผู้เล่นแต่ละ
คนพยายามเตะลูกตะกร้อด้วยท่าทางต่างๆ ที่กำ�หนด
ให้ลอยขึ้นไปเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้
ในเวลา 40 นาที โดยไม่มีการพักลูก ไม่เล่นลูกด้วยมือ
โดยเจตนา ไม่โต้เข้าห่วงจากโยนลูกด้วยมือแต่ละคน
มีสิทธิโต้ลูกลงห่วงซ้ำ�ท่าเดียวกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ท่าทาง
การเตะลูกตะกร้อเข้าห่วงแต่ละท่าจะมีคะแนน
แตกต่างกัน
17
อุปกรณ์ที่ใช้
	 1.	อุปกรณ์ที่จำ�เป็นในการเล่นตะกร้อลอดห่วง
		 เสาสี่เหลี่ยม 2 ต้น หน้ากว้าง 5x5 นิ้ว
		 สูง 9 เมตร ฝังลงดิน 1 เมตร ให้เจาะเสาสำ�หรับ
		 ลวดสลิงห่างหัวเสาลงมาประมาณ 25 ซม.
	 2.	เสาทั้ง 2 ปักห่างกันประมาณ 20 เมตร และ
		 อยู่ในระดับเดียวกัน
	 3.	มีลวดสลิงขึงให้ตึงระหว่างเสาทั้ง 2 โดยร้อย
		 ที่รูเจาะของเสาโยงลงไปจรดพื้นดินติดกับสมอ
		 ที่ตึงห่างจรดโคนเสาพอสมควร ที่กึ่งกลางของ
		 ลวดมีรอกหนึ่งตัวและห่างออกจากรอกนี้
		 8 เมตร ไปทางเสามีรอกอีกหนึ่งตัวผูกกับ
		 เส้นลวด ต่อจากนี้ไปให้ใช้เชือกผูกขอบบน
		 ของห่วง และให้ปลายเชือกร้อยเข้ากับลวด
		 ทั้ง 2 เพื่อผ่อนห่วงขึ้นลงได้สะดวก
	 4.	ห่วงชัยแต่ละห่วงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 ซม.
		(18 นิ้ว) ห่วงทั้ง 3 นี้จะทำ�ด้วยโลหะ หวาย หรือ
		 ไม้ก็ได้ ขอบห่วงโตประมาณ 1 ซม. แต่ต้อง
		 ผูกหรือบัดกรีติดกันให้แน่นเป็นรูปสามเส้า
		 วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรงและมีถุงตาข่ายทำ�ด้วย
		 ด้ายถักสีขาวผูกร้อยห่วงทุกห่วง เพื่อความ
		 สวยงามจะใช้กระดาษสีพันทับก็ได้เชือก
		 สำ�หรับผูกห่วงยาวประมาณ 1.20 เมตร
		(วัดจากลวดสลิง) เมื่อผูกห่วงกับเชือกแล้ววัด
		 จากส่วนที่ต่ำ�ที่สุดของห่วงไปจรดพื้นให้ได้ระยะ
		 5.75 เมตร
	 5.	ก่อนทำ�การแข่งขันให้วัดระยะความสูงของ
		 ห่วงทุกครั้งโดยเครื่องวัดมาตรฐาน
	 6.	มีโต๊ะ เก้าอี้กรรมการ นาฬิกา 1 เรือน นาฬิกา
		 จับเวลา 1 เรือน ป้ายให้คะแนน นกหวีด
	 7	ลูกตะกร้อ ตะกร้อต้องสานด้วยหวายหรือ
		 ใยสังเคราะห์ชนิด 6 เส้น ถึง 11 เส้น ขนาด
		 โตวัดโดยรอบ 41 ซม. ถึง 43 ซม. มีน้ำ�หนัก
		 ตั้งแต่ 170 กรัม ถึง 220 กรัม (ขนาดเส้น
	 	 รอบวงไม่เกิน 17 นิ้ว และไม่น้อยกว่า 16 นิ้ว)
อุปกรณ์ของผู้เล่นหรืออุปกรณ์ประกอบการเล่น
	 1.	ชุดกีฬาหรือชุดลำ�รอง เพื่อความสะดวกใน
		การเล่นตะกร้อลอดห่วง
	 2.	รองเท้า
สถานที่
	 สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้ง
ก็ได้ แต่ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทั้งทางสูง กว้าง และ
ยาว ทางสูงอย่างน้อย 8 เมตร และพื้นสนามกว้าง
ยาวประมาณ 18 เมตร และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร
จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลมมี
ความกว้าง 1.5 นิ้ว สนามแข่งขันตีเส้นเป็นรูปวงกลม
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร
ขั้นตอนการออกกำ�ลังกาย
	 1.	การอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นกีฬาตะกร้อลอดห่วง
	 2.	การเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อน
		 ออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬา มีด้วยกัน 3 ขั้นตอน
		 คือ การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm
		 up) การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching)
		 และการอบอุ่นร่างกายด้วยทักษะกีฬา (Warm
		 up with sport skill
การเล่นตะกร้อลอดห่วง
	 ผู้เล่นจะยืนรอบห่วงเป็นรูปวงกลม ผู้เล่นแต่ละ
คนพยายามเตะลูกตะกร้อด้วยท่าทางต่างๆ ที่กำ�หนด
ให้ลอยขึ้นไปเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ใน
เวลา 40 นาที โดยไม่มีการพักลูก ไม่เล่นลูกด้วยมือโดย
เจตนา ไม่โต้เข้าห่วงจากโยนลูกด้วยมือ แต่ละคนมีสิทธิ
โต้ลูกลงห่วงซ้ำ�ท่าเดียวกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ท่าทาง
การเตะลูกตะกร้อเข้าห่วงแต่ละท่าจะมีคะแนนแตก
ต่างกัน เช่น หัวโหม่งได้ 10 คะแนน ศอกซ้ายขวา
ได้ 10 คะแนน ไหล่ซ้ายขวาได้ 10 คะแนน ขึ้นม้า
ได้ 8 คะแนน พับเพียบได้ 8 คะแนน ทั้งสองท่านี้
ถ้าใส่บ่วงมือเข้าไปด้วยได้ 15 คะแนน ท่ายิ่งยากยิ่ง
ได้คะแนนมาก ซึ่งในการให้คะแนน การให้จุด (การให้
18
คะแนน) ภายในข้อบังคับ ถ้าลูกโต้ยังดีอยู่ลอดห่วง
ให้ผู้ตัดสินให้จุดตามลักษณะของท่า ได้กำ�หนดไว้ดังนี้
หลังการออกกำ�ลังกายจากการเล่นตะกร้อลอดห่วง
	 การคูลดาวน์ (Cool down) เป็นการผ่อนคลาย
กล้ามเนื้อแบบช้าๆ จะช่วยปรับระบบการหายใจให้เป็น
ปกติ และรักษาระดับออกซิเจน รวมไปถึงการกำ�จัด
กรดแล็คติก (Lactic acid) ซึ่งเป็นตัวการสำ�คัญของ
อาการปวดเมื่อยหลังออกกำ�ลังกาย ซึ่งอาจใช้การวิ่ง
ที่ช้าลงคล้ายๆ กับตอนอบอุ่นร่างกาย (ข้อที่ 11.1
ขั้นตอนที่ 1) การเดินช้าๆ ประมาณ 10 นาที หรือ
ค่อยๆ ลดความเร็วและความแรงของการออกกำ�ลังกาย
เพื่อช่วยลดการตึงของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจากการ
ออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ ได้
	 การการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching)
เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่คล้ายกับช่วงก่อน
การออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬา ซึ่งจะช่วยในการผ่อน
คลายกล้ามเนื้อ หรือให้กล้ามเนื้อกลับคืนสภาพปกติ
หรือคืนสภาพได้เร็วหลังจากการเล่นกีฬาหรือการ
ออกกำ�ลังกาย เพื่อลดอาการตึง เกร็ง ของกล้ามเนื้อ
ทำ�ให้ความรู้สึกตึงกล้ามเนื้อในวันต่อมาลดลง และไม่
ก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย โดยหลักการยืดเหยียด
กล้ามเนื้อหลังการออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬานั้น
มีหลักการคล้ายๆ กับช่วงก่อนการออกกำ�ลังกายหรือ
เล่นกีฬา (ข้อที่ 1 ขั้นตอนที่ 2)
ลำ�ดับที่ ลักษณะของท่า คะแนน
  ด้านหน้า  
1 ลูกหน้าเท้า (ลูกแป) 3
2 ลูกหลังเท้า 15
3 ลูกไขว้หน้าด้วยหลังเท้า 25
4 ลูกแข้ง 6
5 ลูกเข่า 6
6 ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า 12
7 ลูกโหม่ง (ลูกศีรษะ) 10
  ด้านข้าง  
8 ลูกข้าง 6
9 ลูกข้างห่วงมือ 12
10 ลูกไขว้ 10
11 ลูกไขว้ข้างห่วงมือ 15
12 ลูกส้นไขว้ 15
13 ลูกส้นไขว้ห่วงมือ 25
14 ลูกขึ้นม้า 8
15 ลูกขึ้นม้าห่วงมือ 15
16 ลูกตัดไขว้ (ลูกมะนาวตัด) 20
17 ลูกพับเพียบ 8
ด้านหลัง  
18 ลูกศอกหลัง 10
19 ลูกตบธรรมดา(ลูกกบเต้น) 15
19
ภาพประกอบการเล่นท่าหลักการเตะตะกร้อลอดห่วง
ลูกข้างเท้าด้านใน
(ลูกแป)
ลูกไหล่
ลูกเข่า
20
ลูกศีรษะ
(ลูกโหม่ง)
ลูกข้างเท้าด้านนอก
(ลูกข้าง)
ลูกเตะด้านหลัง
(โค้งหลัง)
ลูกเตะด้านหน้า
(หลังเท้า)
ลูกกระโดดไขว้
21

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบอายุ4 6
แบบทดสอบอายุ4 6แบบทดสอบอายุ4 6
แบบทดสอบอายุ4 6kkkkon
 
อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5
อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5
อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5
สุขใจ สุขกาย
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆDashodragon KaoKaen
 
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง (จริง)
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง  (จริง)โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง  (จริง)
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง (จริง)
โรงเรียนบ้านหนองคูโนนแก้วหนองอีย่า .
 
การจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภ
การจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภการจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภ
การจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภ
pairop
 
ข้อสอบปฏิบัติ Microsoft Word
ข้อสอบปฏิบัติ Microsoft Wordข้อสอบปฏิบัติ Microsoft Word
ข้อสอบปฏิบัติ Microsoft WordSupreeyar philarit
 
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excelแผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
Khon Kaen University
 
แบบทดสอบอายุ7 18
แบบทดสอบอายุ7 18แบบทดสอบอายุ7 18
แบบทดสอบอายุ7 18kkkkon
 
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinotiสร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
Utai Sukviwatsirikul
 
2.1อาหารสำหรับวัยทารก
2.1อาหารสำหรับวัยทารก2.1อาหารสำหรับวัยทารก
2.1อาหารสำหรับวัยทารก
Nickson Butsriwong
 
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
PariwanButsat
 
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
Thira Woratanarat
 
ปริศนาคำทาย
ปริศนาคำทายปริศนาคำทาย
ปริศนาคำทาย
SAM RANGSAM
 
โครงการ กังหันน้ำ
โครงการ กังหันน้ำ โครงการ กังหันน้ำ
โครงการ กังหันน้ำ zodiacppat
 
นาฏศิลป์2
นาฏศิลป์2นาฏศิลป์2
นาฏศิลป์2Kruanchalee
 
ใบงานอาหารและโภชนาการ
ใบงานอาหารและโภชนาการใบงานอาหารและโภชนาการ
ใบงานอาหารและโภชนาการ
tassanee chaicharoen
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
พจีกานต์ หว่านพืช
 

What's hot (20)

รายงานกลุ่ม 1
รายงานกลุ่ม 1รายงานกลุ่ม 1
รายงานกลุ่ม 1
 
แบบทดสอบอายุ4 6
แบบทดสอบอายุ4 6แบบทดสอบอายุ4 6
แบบทดสอบอายุ4 6
 
อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5
อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5
อจท. แผน 1 1 สุขศึกษาฯ ป.5
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
 
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง (จริง)
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง  (จริง)โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง  (จริง)
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง (จริง)
 
การจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภ
การจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภการจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภ
การจัดการชั้นเรียน ดร.ไพรภ
 
ข้อสอบปฏิบัติ Microsoft Word
ข้อสอบปฏิบัติ Microsoft Wordข้อสอบปฏิบัติ Microsoft Word
ข้อสอบปฏิบัติ Microsoft Word
 
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excelแผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
 
แบบทดสอบอายุ7 18
แบบทดสอบอายุ7 18แบบทดสอบอายุ7 18
แบบทดสอบอายุ7 18
 
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinotiสร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
 
2.1อาหารสำหรับวัยทารก
2.1อาหารสำหรับวัยทารก2.1อาหารสำหรับวัยทารก
2.1อาหารสำหรับวัยทารก
 
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
 
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
 
ปริศนาคำทาย
ปริศนาคำทายปริศนาคำทาย
ปริศนาคำทาย
 
โครงการ กังหันน้ำ
โครงการ กังหันน้ำ โครงการ กังหันน้ำ
โครงการ กังหันน้ำ
 
นาฏศิลป์2
นาฏศิลป์2นาฏศิลป์2
นาฏศิลป์2
 
คู่มือการใช้งาน (คุณสุรี-วูเทคไทย) 4 ชุด
คู่มือการใช้งาน (คุณสุรี-วูเทคไทย) 4 ชุดคู่มือการใช้งาน (คุณสุรี-วูเทคไทย) 4 ชุด
คู่มือการใช้งาน (คุณสุรี-วูเทคไทย) 4 ชุด
 
ใบงานอาหารและโภชนาการ
ใบงานอาหารและโภชนาการใบงานอาหารและโภชนาการ
ใบงานอาหารและโภชนาการ
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
 

Similar to Act2

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพpenpun
 
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพคู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
Thiti Wongpong
 
ออกกำลังAging
ออกกำลังAgingออกกำลังAging
ออกกำลังAgingThunyaluck
 
ออกกำลังAging
ออกกำลังAgingออกกำลังAging
ออกกำลังAging
Thunyaluck
 
นางสาว นันทิชา ชมแผน.Dock
นางสาว นันทิชา  ชมแผน.Dockนางสาว นันทิชา  ชมแผน.Dock
นางสาว นันทิชา ชมแผน.Dock
Earn'n Earn
 
แก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจมแก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจมtommy
 
Intervention Exercise Program for CAD, DM, & Stroke
Intervention Exercise Program for CAD, DM, & StrokeIntervention Exercise Program for CAD, DM, & Stroke
Intervention Exercise Program for CAD, DM, & Stroke
Aphisit Aunbusdumberdor
 
การเตรียมความพร้อมPdf
การเตรียมความพร้อมPdfการเตรียมความพร้อมPdf
การเตรียมความพร้อมPdfPuripat Duangin
 
Lesson 4
Lesson 4Lesson 4
4.2อ.ธัญญลักษณ์ ธนโรจนวณิช
4.2อ.ธัญญลักษณ์  ธนโรจนวณิช4.2อ.ธัญญลักษณ์  ธนโรจนวณิช
4.2อ.ธัญญลักษณ์ ธนโรจนวณิช
CAPD AngThong
 
Brisk Walk-การเดินเร็ว
Brisk Walk-การเดินเร็วBrisk Walk-การเดินเร็ว
Brisk Walk-การเดินเร็วJanak Shah
 
Act15
Act15Act15

Similar to Act2 (13)

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
 
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพคู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
 
ออกกำลังAging
ออกกำลังAgingออกกำลังAging
ออกกำลังAging
 
ออกกำลังAging
ออกกำลังAgingออกกำลังAging
ออกกำลังAging
 
นางสาว นันทิชา ชมแผน.Dock
นางสาว นันทิชา  ชมแผน.Dockนางสาว นันทิชา  ชมแผน.Dock
นางสาว นันทิชา ชมแผน.Dock
 
แก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจมแก้อาการสะบักจม
แก้อาการสะบักจม
 
Intervention Exercise Program for CAD, DM, & Stroke
Intervention Exercise Program for CAD, DM, & StrokeIntervention Exercise Program for CAD, DM, & Stroke
Intervention Exercise Program for CAD, DM, & Stroke
 
เทคนิค
เทคนิคเทคนิค
เทคนิค
 
การเตรียมความพร้อมPdf
การเตรียมความพร้อมPdfการเตรียมความพร้อมPdf
การเตรียมความพร้อมPdf
 
Lesson 4
Lesson 4Lesson 4
Lesson 4
 
4.2อ.ธัญญลักษณ์ ธนโรจนวณิช
4.2อ.ธัญญลักษณ์  ธนโรจนวณิช4.2อ.ธัญญลักษณ์  ธนโรจนวณิช
4.2อ.ธัญญลักษณ์ ธนโรจนวณิช
 
Brisk Walk-การเดินเร็ว
Brisk Walk-การเดินเร็วBrisk Walk-การเดินเร็ว
Brisk Walk-การเดินเร็ว
 
Act15
Act15Act15
Act15
 

More from Piyawat Katewongsa

Act20
Act20Act20
Act19
Act19Act19
Act18
Act18Act18
Act17
Act17Act17
Act16
Act16Act16
Act16
Act16Act16
Act14
Act14Act14
Act13
Act13Act13
Act12
Act12Act12
Act11
Act11Act11
Act10
Act10Act10
Act9
Act9Act9
Act8
Act8Act8
Act7
Act7Act7
Act6
Act6Act6
Act5
Act5Act5
Intro
IntroIntro
Act4
Act4Act4
Act3
Act3Act3
Act1
Act1Act1

More from Piyawat Katewongsa (20)

Act20
Act20Act20
Act20
 
Act19
Act19Act19
Act19
 
Act18
Act18Act18
Act18
 
Act17
Act17Act17
Act17
 
Act16
Act16Act16
Act16
 
Act16
Act16Act16
Act16
 
Act14
Act14Act14
Act14
 
Act13
Act13Act13
Act13
 
Act12
Act12Act12
Act12
 
Act11
Act11Act11
Act11
 
Act10
Act10Act10
Act10
 
Act9
Act9Act9
Act9
 
Act8
Act8Act8
Act8
 
Act7
Act7Act7
Act7
 
Act6
Act6Act6
Act6
 
Act5
Act5Act5
Act5
 
Intro
IntroIntro
Intro
 
Act4
Act4Act4
Act4
 
Act3
Act3Act3
Act3
 
Act1
Act1Act1
Act1
 

Act2

  • 2. เป็นขั้นตอนที่มีความสำ�คัญยิ่งที่ผู้ออกกำ�ลังกายทุกคนพึงปฏิบัติก่อนการออก กำ�ลังกายทุกครั้ง เพื่อเป็นการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น จากการออกกำ�ลังกาย ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายที่แสดงในส่วนนี้เป็นวิธีการอบอุ่น ร่างกายที่เป็นมาตรฐาน และสามารถปรับใช้ได้กับทุกชนิดการออกกำ�ลังกายไม่ว่า จะเป็นกีฬาสากล หรือกีฬาท้องถิ่นพื้นบ้าน ดังนั้นผู้ออกกำ�ลังกายควรปฏิบัติตามขั้น ตอนดังกล่าวอยู่เป็นนิจ เพื่อความปลอดภัย และความสนุกสนานในการออกกำ�ลัง กายของตัวท่่านเอง ขั้นตอนในการอบอุ่นร่างกายมีดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำ�ลังกาย การอบอุ่นร่างกายและการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนออกกำ�ลังกาย หรือเล่นกีฬา มีด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ 1. การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm up) 2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) 3. การอบอุ่นร่างกายด้วยทักษะกีฬา (Warm up with sport skill) ขั้นตอนที่ 1 การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm up) เป็นการเตรียมความพร้อมของ ร่างกายในระบบต่างๆ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ และการหายใจ เป็นต้น ให้ร่างกายมีความพร้อมที่จะทำ�กิจกรรมการออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬา เช่น วิ่ง เหยาะ ปั่นจักรยานอยู่กับที่ เครื่องวิ่งสายพาน กายบริหารท่าต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ ร่างกายมีอุณหภูมิที่ร้อนพอที่จะทำ�ให้ระบบไหลเวียนเลือดและการยืดหยุ่นของกล้าม เนื้อสามารถทำ�งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการทำ�กิจกรรมต่อไป ซึ่งอาจใช้ เวลาในการอบอุ่นร่างกายประมาณ 10–15 นาที การอบอุ่นร่างกาย (Warm up)
  • 3. ขั้นตอนที่ 2 การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) เป็นการทำ�ให้กล้ามเนื้อยืดยาวออก เพื่อช่วยให้ ร่างกายมีความยืดหยุ่น ทำ�ให้กล้ามเนื้อพร้อมที่จะยืด หรือหดตัวได้อย่างเต็มที่ ช่วยลดอาการตึง เกร็ง ของ กล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและข้อต่อ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับ กล้ามเนื้อและข้อต่อ พร้อมที่จะทำ�กิจกรรมต่อไป ซึ่ง การยืดเหยียดกล้ามเนื้อมีหลักการดังต่อไปนี้ 1. ควรยืดกล้ามเนื้อหลังจากที่มีการบริหารอบอุ่น ร่างกายประมาณ 5-10 นาที 2. ให้ยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกตึง ห้ามยืดกล้ามเนื้อ จนรู้สึกเจ็บ และค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาทีแล้ว จึงกลับที่เดิม หรือการยืดลักษณะไม่ค้างไว้ เช่น นับ ถึง 3 แล้วกลับที่เดิม ทำ�ประมาณ 5 ครั้ง ก็ได้ ซึ่ง การยืดควรค่อยๆ ยืด เพราะครั้งแรกอาจยืดได้น้อย แต่ให้ค่อยๆ ยืดมากขึ้นในครั้งต่อไป หรือให้ผู้อื่นเข้า มาช่วยก็ได้ 3. ขณะยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้หายใจเป็นปกติ โดยควบคุมการหายใจให้สม่ำ�เสมอ เมื่อออกแรงให้ หายใจออก ไม่ควรกลั้นหายใจ 4. ไม่ควรกระตุกหรือโยกตัวขึ้นลงขณะยืดกล้าม เนื้อ 5. นอกจากการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั่วๆ ไปแล้ว ซึ่งอาจไล่ศีรษะลงมาเท้า หรือจากล่างขึ้นไปก็ได้ ในการออกกำ�ลังกายโดยการเล่นกีฬาตะกร้อลอด ห่วง บริเวณกล้ามเนื้อส่วนขาจะใช้ในการเล่นมาก ที่สุด จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งสำ�หรับผู้เล่นในการยืดเหยียด กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว ซึ่งประโยชน์ของการ ยืดเหยียดนั้น คือ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นตัวของ กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ผ่อนคลายและลดอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ ป้องกันการบาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยป้องกัน โรคข้อเสื่อม ข้อติดขัดอีกด้วย การยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัก น่อง (Calves) ยืนหน้าผนังใช้ฝ่ามือดันผนัง เท้าแยกหน้าหลัง ห่างกัน 1 ช่วงก้าว เข่าหน้างอ เข่าหลังเหยียดตึง กดส้นเท้าหลังลง โน้มตัวไปข้างหน้าและงอเข่าหน้า เมื่อรู้สึกตึง ให้หยุดนิ่งค้างไว้ 10–20 วินาที และ เปลี่ยนไปปฏิบัติด้านตรงข้าม (กรณีที่จะให้ได้ในส่วน ของ น่อง – เอ็นร้อยหวาย ให้งอเข่าหลัง และปฏิบัติ เช่นเดียวกัน) กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า (Quadriceps Stretch) ยืนตรง มือข้างหนึ่งอาจแตะผนังเพื่อการทรงตัว มืออีก ข้างจับที่ข้อเท้า และดึงมาด้าน หลังจนรู้สึกตึง แล้วหยุดนิ่งค้าง ไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยนไป ปฏิบัติอีกข้าง 3
  • 4. กล้ามเนื้อต้นขาส่วนหลัง (Hamstring Stretch) ยืนหน้าผนัง โดยคำ�นวณระยะให้ห่างจากผนังประมาณ ปลายแขนขวาถึงไหล่ซ้าย และค่อยๆ ก้มตัวลง มือ แตะผนัง โดยให้สะโพก หลังและไหลตรงโดยหลัง ขนานกับพื้น ค้างไว้ 10-20 วินาที หรือ นอนราบ เท้าเหยียดตรงยกเท้าข้างหนึ่งเอามือ จับข้อเข่าแล้วดึงเข้าหาหน้าอกจนกระทั่งกล้ามเนื้อต้น ขาด้านหลังตึงแล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยนไปปฏิบัติอีกข้าง หรือ นั่งบนพื้น เท้าทั้งสองข้างอยู่บนพื้น โดยเท้าข้างหนึ่งเหยียด เท้าอีกข้างหนึ่ง งออยู่ระดับเหนือเข่า หลังตรงโน้มตัวลง ให้หน้าอกชิดเข่าด้านขาที่เหยียด เอามือ สองข้างจับปลายเท้าจนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหลัง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยนไปปฏิบัติอีกข้าง เข่า-อก (Knee-to-chest stretch) การยึด เหยียดกล้ามเนื้อด้านหลังส่วนล่าง ทำ�โดยนอนราบ เท้า เหยียดตรงยกเท้าข้างหนึ่งเอามือจับเข่าแล้วดึงเข้าหา หน้าอกจนกระทั่งกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังตึงแล้วหยุด นิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยนไปปฏิบัติอีกข้าง สะโพกด้านหลัง (Quadriceps, Hips) ยืนแยก เท้าหน้าหลังให้มากที่สุด แล้วคุกเข่าให้เข่าหลังสัมผัส พื้น เข่าหน้างอตั้งฉาก ลำ�ตัวตั้งตรงมือจับที่เอวหรือ สะโพกหรือบริเวณเหนือเข่า ถ่ายน้ำ�หนักตัวไปข้าง หน้าให้มากที่สุดจนรู้สึกตึง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยนปฏิบัติอีกข้าง 4
  • 5. กล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก (Iliotibial Band) ยืน หันข้างขวาให้ผนัง หรือเสาเพื่อการทรงตัวไขว้เท้าซ้าย ไปด้านหน้าเท้าขวา พร้อมกับเอียงลำ�ตัวไปด้านขวา ให้มากที่สุด (โดยใช้มือขวาแตะผนังหรือจับเสา) จน รู้สึกตึง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที และเปลี่ยน ปฏิบัติอีกข้าง ในการยืดลักษณะนี้เป็นการยืดในส่วน ของลำ�ตัวด้านข้าง และไหลด้วย ไหล่-สะบัก (Shoulders-Upper Back Stretch) ยกแขนซ้ายผาดผ่านเหนือหน้าอกไปทางขวา ใช้มือขวา จับศอกซ้ายดึงเข้าหาไหล่ขวาให้มากที่สุด จนรู้สึกตึง ที่ไหล่-สะบัก แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที แล้ว เปลี่ยนเป็นปฏิบัติอีกข้าง ไหล่-ต้นแขนด้านหลัง (Shoulders-Upper Arms Stretch) ยกแขนขวาชูขึ้นเหนือศีรษะ งอศอก ขวาลงให้มือขวาอยู่ด้านหลังต้นคอ แล้วใช้มือซ้ายจับ ที่ข้อศอกขวา ค่อยๆ ออกแรงดึงศอกขวามาทางไหล ซ้ายให้มากที่สุด จนรู้สึกตึงที่ไหล่แล้ต้นแขนด้านหลัง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที แล้วเปลี่ยนเป็น ปฏิบัติอีกข้าง คอด้านข้าง (Neck Stretch) เอียงศีรษะไป ทางขวา ใช้มือขวาสัมผัสข้างศีรษะด้านซ้าย ออกแรง ดึงศีรษะไปทางขวาให้มากที่สุด จนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อ คอด้านซ้าย แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที แล้ว เปลี่ยนเป็นปฏิบัติอีกข้าง คอด้านหลัง (Neck Stretch) ก้มศีรษะ แล้ว ใช้มือทั้งสองข้างวางบนศีรษะด้านหลัง ออกแรงดึง ศีรษะลงมาข้างหน้าให้มากที่สุดจนรสึกตึงที่กล้ามเนื้อ คอด้านหลัง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ 10-20 วินาที 5
  • 7. พื้นที่ต้นแบบของกิจกรรม : เทศบาลตำ�บลปากท่อ จังหวัดราชบุรี ที่มาของกิจกรรม “กีฬาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ” ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่ม ต้นของการทำ�กิจกรรมร่วมกันของประชาชนในชุมชน ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำ�เภอปากท่อ จังหวัดราชบุรีก็เช่นเดียวกัน ที่เห็นความสำ�คัญของประชาชนในท้องถิ่นเรื่องของการ ดูแลสุขภาพด้วยการเล่นกีฬาพื้นบ้าน ภายใต้แนวคิด “สุขภาพดีไม่มีขาย ต้องกำ�ลังกายอยู่เสมอ” แนวทางในการดำ�เนินกิจกรรม ด้วยลักษณะพื้นฐานของประชากรในอำ�เภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี มีความนิยมในการเล่นตระกร้อเป็นพื้น ฐานอยู่เดิม ผู้ดำ�เนินโครงการนี้จึงได้มีความคิดที่จะ ริเริ่มการสานต่อตระกร้อลอดห่วงให้กลายเป็นทางเลือก เพื่อการออกกำ�ลังกายของประชากร โดยเริ่มจากการ ประชุมประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น อาทิ ผู้นำ�ชุมชน โรงเรียน เพื่อหายุทธวิธีในการดำ�เนินการ โครงการกีฬาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพในชุมชน และเมื่อ ได้มติและคำ�แนะนำ�ต่างๆ จึงได้จัดการประชุมอบรม คณะทำ�งาน เจ้าหน้าที่ และประชาสัมพันธ์รูปแบบ ต่างๆ ในพื้นที่ จากนั้นจึงจัดอบรมฝึกวิทยากรกลุ่ม เป้าหมายโดยให้ท้องถิ่นชุมชน โรงเรียนส่งกลุ่ม เป้าหมายเพื่อเข้ารับการอบรม โดยผู้ที่เข้ารับการอบรม นี้จะเข้าร่วมโครงการในฐานะวิทยากรและผู้เล่นนำ�ร่อง ในเวลาถัดมาเมื่อแต่ละชุมชนได้รับการเผยแพร่วิธี การเล่น และกฏ กติกาต่าง ๆ แล้ว จึงได้ประชาสัมพันธ์ ถึงการการจัดการแข่งขันกีฬาตระกร้อลอดห่วงพื้นบ้าน เพื่อสุขภาพที่จะจัดเดือนละ 2 ครั้ง และเมื่อกิจกรรม โครงการนี้สิ้นสุดลงแล้ว ผู้ดำ�เนินโครงการได้จัดทำ�สรุป ผลการดำ�เนินงาน และติดตามผล การสรุปบทเรียน เพื่อเป็นการทบทวน สรุปประสบการณ์การทำ�งานนำ� ไปพัฒนาต่อไป เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต อำ�เภอปากท่อเห็นความสำ�คัญในการดูแลความเป็น อยู่ของประชาชนในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และครอบครัว ด้วยการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำ�ลังกายร่วมกันใน ชุมชน โดยการจัดให้บริการเครื่องออกกำ�ลังกาย หรือ การเต้นแอโรบิค เป็นต้น นอกจากนี้ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเขตอำ�เภอปากท่อยังมีการส่งเสริมและ สนับสนุนการเล่นกีฬาพื้นบ้านของประชาชน ก็คือ ตะกร้อลอดห่วง ในปัจจุบันตะกร้อลอดห่วงเป็นกีฬา ที่แพร่หลายในจังหวัดราชบุรี เพราะชุมชนให้ความ สนใจในการเล่นกีฬาพื้นบ้านดังกล่าวเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งนอกจากประชาชนจะได้เล่นเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินแล้ว การเล่นตระกร้อลอดห่วงยังทำ�ให้ อวัยวะต่างๆ เช่น สายตา แขน ขา ศีรษะ และ ไหวพริบต่างๆ มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นการช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมกีฬา พื้นบ้านไว้อีกด้วย “ตะกร้อ” คำ�นิยามตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย ตามการใช้ในชีวิตของคนไทยไว้ว่า “ตะกร้อ” หมายถึง “ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตาสำ�หรับเตะ, เครื่องมือ สอยผลไม้มีด้ามยาว ทำ�ด้วยไม้เป็นซี่รูปป่องยาวรี คล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสำ�หรับสอย เครื่องสาน รูปทรงกระบอก สำ�หรับไว้ใส่กระถางยาดองและกะปิ เป็นต้น เพื่อกันเนื้อให้แต่น้ำ�ซึมเข้าข้างใน เครื่องสาน มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สำ�หรับสวมดับและคลึงลูกไฟ ที่มาติดบนหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา” ซึ่งความหมาย ดังกล่าวมีส่วนที่คล้ายคลึงกันว่าตะกร้อเป็นวัสดุเครื่องสาน ในลักษณะต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่ในสมัยโบราณเองก็มีกฎหมายและวิธีการ ลงโทษผู้กระทำ�ความผิด โดยการนำ�เอานักโทษใส่ลง ไปในสิ่งกลมๆ ที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ นอกจากนี้ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 บางตอน มีการกล่าวถึงการเล่นตะกร้อ ที่เป็นสิ่งช่วยสนับสนุน ประวัติของตะกร้อได้เป็นอย่างดี สำ�หรับวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำ�มาใช้ทำ� “ตะกร้อ” นั้น เนื่องจากภูมิประเทศและธรรมชาติของประเทศไทย ในอดีตอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไผ่และหวาย ดังที่ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ บันทึกในจดหมายเหตุว่า “ต้นไม้สำ�คัญ และมีมากที่สุดของกรุงสยาม ก็คือต้นไม้อย่างหนึ่ง ซึ่งตามภาษาในภาษาสยามว่าไม้ไผ่” จึงสันนิษฐาน ได้ว่า นอกจากคนไทยสมัยโบราณจะนิยมนำ�ไม้ไผ่และ หวายมาใช้ดัดแปลงทำ�เป็นอาวุธเพื่อใช้ในการฝึกซ้อม ตะกร้อลอดห่วง
  • 8. การต่อสู้หรือเครื่องอาวุธของกระบี่กระบองแล้ว น่าจะ มีการนำ�หวายซึ่งหาได้ง่าย มาสานเป็นตะกร้อสำ�หรับ เพื่อใช้ออกกำ�ลังกายหรือเป็นอุปกรณ์การละเล่นใน ยามว่าง แต่ปัจจุบันหวายนั้นหาได้ยากมากขึ้น ดังนั้น จึงมีการประยุกต์ใช้พลาสติกสานเป็นลูกตะกร้อแทน ตะกร้อเป็นกีฬาที่คนไทยโบราณคิดค้นขึ้นโดยมี ลักษณะวิธีการเล่นหลายประการที่สอดคล้องกับลักษณะ นิสัยของคนไทยที่ใช้อวัยวะ เช่น เท้า เข่า ศอก ศีรษะ ในการฝึกซ้อมการต่อสู้ป้องกันตัวเป็นประจำ� จึงทำ�ให้ การฝึกเล่นตะกร้อของคนไทยเป็นไปง่ายและรวดเร็ว สถานที่เล่นตะกร้อเป็นสถานที่ทั่วไปที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ทั่วไป ทั้งกลางแจง ในร่ม บนพื้นดิน หรือพื้นทราย เช่น ลานกว้างที่มีตามหมู่บ้าน หรือลานวัด เป็นต้น ในปัจจุบัน การเล่นตะกร้อของสังคมไทยมีความ หลากหลายมากขึ้น ทำ�ให้เกิดรูปแบบการเล่นมากมาย หลายชนิด เช่น ตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ ตะกร้อ เตะทน ตะกร้อพลิกแพลง ตะกร้อชิงธง ตะกร้อ ลอดห่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย เซปักตะกร้อ เป็นต้น ซึ่งกฎและกติกาการเล่นก็แตกต่างกันออกไปการเล่น ในส่วนของตะกร้อลอดห่วงนั้น พัฒนามาจากตะกร้อ วงที่เตะลูกตะกร้อให้โด่งไปมาหาคู่ของตัวเองเท่านั้น ไม่ท้าทายความสามารถเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อประมาณ พ.ศ. 2470 – 2475 หลวงมงคลแมน (สังข์ บูรณะศิริ) ได้คิดประดิษฐ์ห่วงหวายขึ้นมาเป็นเป้านิ่งแขวนลอย อยู่ระหว่างเสาสูง 2 ต้น ห่วงนี้มี 3 ห่วง ให้ตะกร้อ เตะลอดเข้าไปได้ 3 ทิศทาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของปากห่วงกว้าง 45 เซนติเมตรเท่ากัน ห่วงอยู่สูง จากพื้นโดยวัด จากจุดต่ำ�สุดของห่วง 5.75 เมตรและ แขวนลอยอยู่ระหว่างจุดกึ่งกลางของวงกลมซึ่งมีเส้น ผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร ผู้เล่นจะทำ�การแข่งขันได้ ไม่เกินชุดละ 7 คน และไม่ต่ำ�กว่า 6 คน การเตะ ตะกร้อลอดห่วงนี้เป็นลักษณะเฉพาะของประเทศไทย ที่ไม่มีประเทศอื่นเล่นได้ ในปัจจุบันตะกร้อลอดห่วงถือ ได้ว่าเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยที่ได้รับความนิยมจาก สังคมไทยอย่างแพร่หลาย โดยมีทั้งการเล่นเพื่อสุขภาพ และนันทนาการจนไปถึงการแข่งขันในระดับประเทศ เป้าหมาย 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชน ทั่วไป ได้ทำ�กิจกรรมการออกกำ�ลังกายและ เล่นกีฬาพื้นบ้านศิลปะไทยเพื่อสุขภาพร่วมกัน 2. เกิดพื้นที่ในการทำ�กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และ เวทีกีฬาพื้นบ้านศิลปะไทยในชุมชน 3. เพื่อส่งเสริมและร่วมกันอนุรักษ์กีฬาพื้นบ้าน เพื่อสุขภาพ 4. เพื่อส่งเสริมการออกกำ�ลังกายและเล่นกีฬา พื้นบ้านได้อย่างถูกวิธี ประโยชน์ 1. ทำ�ให้เด็ก เยาวชนและประชาชน มีสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรง 2. ทำ�ให้เด็ก เยาวชนและประชาชน มีการ พัฒนาด้านทักษะและรูปแบบการออกกำ�ลัง กายที่ถูกต้องเหมาะสม 3. ทำ�ให้ประชาชนในชุมชน ผ่อนคลายความเครียด จากการทำ�งานในแต่ละวัน 4. ทำ�ให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ พูดคุย และทำ�กิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน ระยะเวลาที่ใช้ โดยปกติการแข่งขันกีฬาตะกร้อลอดห่วงใช้ระยะ เวลาในการแข่งขันชุดละ 40 นาที โดยไม่มีการพักลูก หากผู้เข้าแข่งขันชุดใดเกิดอุบัติเหตุในขณะที่ทำ�การ แข่งขันอยู่ ให้กรรมการพิจารณาหยุดการแข่งขันได้ ไม่เกิน 3 นาที แล้วให้ทำ�การแข่งขันต่อไปและให้ ทดเวลาที่เสียไปด้วย กลุ่มของผู้เล่น กีฬาตะกร้อลอดห่วงนั้น ถ้าหากเล่นเพื่อสุขภาพ และนันทนาการ ประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถ เล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย จำ�นวนผู้เล่น ผู้เล่นจะทำ�การแข่งขันได้ไม่เกินชุดละ 7 คน และไม่ต่ำ�กว่า 6 คน กติกา ผู้เล่นจะยืนรอบห่วงเป็นรูปวงกลม ผู้เล่นแต่ละ คนพยายามเตะลูกตะกร้อด้วยท่าทางต่างๆ ที่กำ�หนด ให้ลอยขึ้นไปเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ในเวลา 40 นาที โดยไม่มีการพักลูก ไม่เล่นลูกด้วยมือ โดยเจตนา ไม่โต้เข้าห่วงจากโยนลูกด้วยมือแต่ละคน มีสิทธิโต้ลูกลงห่วงซ้ำ�ท่าเดียวกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ท่าทาง การเตะลูกตะกร้อเข้าห่วงแต่ละท่าจะมีคะแนน แตกต่างกัน 17
  • 9. อุปกรณ์ที่ใช้ 1. อุปกรณ์ที่จำ�เป็นในการเล่นตะกร้อลอดห่วง เสาสี่เหลี่ยม 2 ต้น หน้ากว้าง 5x5 นิ้ว สูง 9 เมตร ฝังลงดิน 1 เมตร ให้เจาะเสาสำ�หรับ ลวดสลิงห่างหัวเสาลงมาประมาณ 25 ซม. 2. เสาทั้ง 2 ปักห่างกันประมาณ 20 เมตร และ อยู่ในระดับเดียวกัน 3. มีลวดสลิงขึงให้ตึงระหว่างเสาทั้ง 2 โดยร้อย ที่รูเจาะของเสาโยงลงไปจรดพื้นดินติดกับสมอ ที่ตึงห่างจรดโคนเสาพอสมควร ที่กึ่งกลางของ ลวดมีรอกหนึ่งตัวและห่างออกจากรอกนี้ 8 เมตร ไปทางเสามีรอกอีกหนึ่งตัวผูกกับ เส้นลวด ต่อจากนี้ไปให้ใช้เชือกผูกขอบบน ของห่วง และให้ปลายเชือกร้อยเข้ากับลวด ทั้ง 2 เพื่อผ่อนห่วงขึ้นลงได้สะดวก 4. ห่วงชัยแต่ละห่วงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 ซม. (18 นิ้ว) ห่วงทั้ง 3 นี้จะทำ�ด้วยโลหะ หวาย หรือ ไม้ก็ได้ ขอบห่วงโตประมาณ 1 ซม. แต่ต้อง ผูกหรือบัดกรีติดกันให้แน่นเป็นรูปสามเส้า วงห่วงแต่ละห่วงตั้งตรงและมีถุงตาข่ายทำ�ด้วย ด้ายถักสีขาวผูกร้อยห่วงทุกห่วง เพื่อความ สวยงามจะใช้กระดาษสีพันทับก็ได้เชือก สำ�หรับผูกห่วงยาวประมาณ 1.20 เมตร (วัดจากลวดสลิง) เมื่อผูกห่วงกับเชือกแล้ววัด จากส่วนที่ต่ำ�ที่สุดของห่วงไปจรดพื้นให้ได้ระยะ 5.75 เมตร 5. ก่อนทำ�การแข่งขันให้วัดระยะความสูงของ ห่วงทุกครั้งโดยเครื่องวัดมาตรฐาน 6. มีโต๊ะ เก้าอี้กรรมการ นาฬิกา 1 เรือน นาฬิกา จับเวลา 1 เรือน ป้ายให้คะแนน นกหวีด 7 ลูกตะกร้อ ตะกร้อต้องสานด้วยหวายหรือ ใยสังเคราะห์ชนิด 6 เส้น ถึง 11 เส้น ขนาด โตวัดโดยรอบ 41 ซม. ถึง 43 ซม. มีน้ำ�หนัก ตั้งแต่ 170 กรัม ถึง 220 กรัม (ขนาดเส้น รอบวงไม่เกิน 17 นิ้ว และไม่น้อยกว่า 16 นิ้ว) อุปกรณ์ของผู้เล่นหรืออุปกรณ์ประกอบการเล่น 1. ชุดกีฬาหรือชุดลำ�รอง เพื่อความสะดวกใน การเล่นตะกร้อลอดห่วง 2. รองเท้า สถานที่ สนามเป็นพื้นราบ จะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้ง ก็ได้ แต่ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทั้งทางสูง กว้าง และ ยาว ทางสูงอย่างน้อย 8 เมตร และพื้นสนามกว้าง ยาวประมาณ 18 เมตร และให้มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนาม ความกว้างของเส้นวงกลมมี ความกว้าง 1.5 นิ้ว สนามแข่งขันตีเส้นเป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 เมตร ขั้นตอนการออกกำ�ลังกาย 1. การอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นกีฬาตะกร้อลอดห่วง 2. การเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อน ออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬา มีด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ การอบอุ่นร่างกายทั่วไป (General Warm up) การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) และการอบอุ่นร่างกายด้วยทักษะกีฬา (Warm up with sport skill การเล่นตะกร้อลอดห่วง ผู้เล่นจะยืนรอบห่วงเป็นรูปวงกลม ผู้เล่นแต่ละ คนพยายามเตะลูกตะกร้อด้วยท่าทางต่างๆ ที่กำ�หนด ให้ลอยขึ้นไปเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ใน เวลา 40 นาที โดยไม่มีการพักลูก ไม่เล่นลูกด้วยมือโดย เจตนา ไม่โต้เข้าห่วงจากโยนลูกด้วยมือ แต่ละคนมีสิทธิ โต้ลูกลงห่วงซ้ำ�ท่าเดียวกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ท่าทาง การเตะลูกตะกร้อเข้าห่วงแต่ละท่าจะมีคะแนนแตก ต่างกัน เช่น หัวโหม่งได้ 10 คะแนน ศอกซ้ายขวา ได้ 10 คะแนน ไหล่ซ้ายขวาได้ 10 คะแนน ขึ้นม้า ได้ 8 คะแนน พับเพียบได้ 8 คะแนน ทั้งสองท่านี้ ถ้าใส่บ่วงมือเข้าไปด้วยได้ 15 คะแนน ท่ายิ่งยากยิ่ง ได้คะแนนมาก ซึ่งในการให้คะแนน การให้จุด (การให้ 18
  • 10. คะแนน) ภายในข้อบังคับ ถ้าลูกโต้ยังดีอยู่ลอดห่วง ให้ผู้ตัดสินให้จุดตามลักษณะของท่า ได้กำ�หนดไว้ดังนี้ หลังการออกกำ�ลังกายจากการเล่นตะกร้อลอดห่วง การคูลดาวน์ (Cool down) เป็นการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อแบบช้าๆ จะช่วยปรับระบบการหายใจให้เป็น ปกติ และรักษาระดับออกซิเจน รวมไปถึงการกำ�จัด กรดแล็คติก (Lactic acid) ซึ่งเป็นตัวการสำ�คัญของ อาการปวดเมื่อยหลังออกกำ�ลังกาย ซึ่งอาจใช้การวิ่ง ที่ช้าลงคล้ายๆ กับตอนอบอุ่นร่างกาย (ข้อที่ 11.1 ขั้นตอนที่ 1) การเดินช้าๆ ประมาณ 10 นาที หรือ ค่อยๆ ลดความเร็วและความแรงของการออกกำ�ลังกาย เพื่อช่วยลดการตึงของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นจากการ ออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ ได้ การการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่คล้ายกับช่วงก่อน การออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬา ซึ่งจะช่วยในการผ่อน คลายกล้ามเนื้อ หรือให้กล้ามเนื้อกลับคืนสภาพปกติ หรือคืนสภาพได้เร็วหลังจากการเล่นกีฬาหรือการ ออกกำ�ลังกาย เพื่อลดอาการตึง เกร็ง ของกล้ามเนื้อ ทำ�ให้ความรู้สึกตึงกล้ามเนื้อในวันต่อมาลดลง และไม่ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย โดยหลักการยืดเหยียด กล้ามเนื้อหลังการออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬานั้น มีหลักการคล้ายๆ กับช่วงก่อนการออกกำ�ลังกายหรือ เล่นกีฬา (ข้อที่ 1 ขั้นตอนที่ 2) ลำ�ดับที่ ลักษณะของท่า คะแนน   ด้านหน้า   1 ลูกหน้าเท้า (ลูกแป) 3 2 ลูกหลังเท้า 15 3 ลูกไขว้หน้าด้วยหลังเท้า 25 4 ลูกแข้ง 6 5 ลูกเข่า 6 6 ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า 12 7 ลูกโหม่ง (ลูกศีรษะ) 10   ด้านข้าง   8 ลูกข้าง 6 9 ลูกข้างห่วงมือ 12 10 ลูกไขว้ 10 11 ลูกไขว้ข้างห่วงมือ 15 12 ลูกส้นไขว้ 15 13 ลูกส้นไขว้ห่วงมือ 25 14 ลูกขึ้นม้า 8 15 ลูกขึ้นม้าห่วงมือ 15 16 ลูกตัดไขว้ (ลูกมะนาวตัด) 20 17 ลูกพับเพียบ 8 ด้านหลัง   18 ลูกศอกหลัง 10 19 ลูกตบธรรมดา(ลูกกบเต้น) 15 19 ภาพประกอบการเล่นท่าหลักการเตะตะกร้อลอดห่วง