SlideShare a Scribd company logo
ตุลาคม 2558 Version 1.0
การสร้างเสริมสุขภาพ
(Health promotion)
ความเป็นมา
การจะเข้าใจถึงเรื่องการสร้างเสริม
สุขภาพได้นั้น จําเป็นต้องเรียนรู้
ประวัติความเป็นมาของพัฒนาการ
เรื่องนี้ โดยในเอกสารคําสอนนี้จะสรุป
ย่อสาระสําคัญตามช่วงเวลาจากอดีต
จนถึงปัจจุบัน
ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2527
(ค.ศ. 1984) แผนงานใหม่ภายใน
องค์การอนามัยโลก สํานักภูมิภาค
แห่งยุโรป ได้แก่ แผนงานการสร้าง
เสริมสุขภาพ ได้ถือกําเนิดขึ้น
คณะทํางานได้มีการประชุมร่วมกันใน
เดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน เพื่อพัฒนา
แผนงาน และอภิปรายเกี่ยวกับ
แนวคิดและหลักการของการสร้าง
เสริมสุขภาพ อันถือเป็นพื้นฐานที่
ได้รับการนําไปหารือรายละเอียดใน
ช่วงเวลาถัดมา
แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพที่
ได้รับการยอมรับหลังจากมีการหารือ
กันในเวทีการประชุมนานาชาติเรื่อง
การสร้างเสริมสุขภาพครั้งที่ 1 นั้นคือ
กฎบัตรออตตาวาเพื่อการสร้างเสริม
สุขภาพ (Ottawa Charter for
Health Promotion)1 ซึ่งได้รับการ
รับรองเมื่อ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.
2529
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การสร้างเสริมสุขภาพ
สาระสําคัญ
...การสร้างเสริม
สุขภาพเป็นสิ่งจําเป็น
สําหรับประชาชนทุก
คนเพื่อมุ่งหวังให้เกิด
สุขภาวะ...
...เงื่อนไขพื้นฐานที่ต้องมี
ก่อนที่จะมีสุขภาพดี…
“ความสงบสุขของสังคม”
“การมีที่พักอาศัย”
“ระดับการศึกษาที่ดี”
“การมีอาหารเพียงพอและ
ปลอดภัย”
“การมีรายได้ที่เพียงพอ”
“การมีระบบนิเวศที่มั่นคง”
“การมีแหล่งทรัพยากรที่
เพียงพอ”
“ความยุติธรรมและความเท่า
เทียมกันในสังคม”
OTTAWA CHARTER1:
Building healthy public policy
Creating supportive environments
Strengthening community action
Developing personal skills
Reorienting health services
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คําจํากัดความ
การสร้างเสริมสุขภาพคือ
กระบวนการที่ทําให้บุคคลมี
ความสามารถในการควบคุม พัฒนา
ปรับปรุงตนเองให้มีสุขภาวะ
ทั้งนี้การจะทําให้เกิดสุขภาวะทั้ง
ทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณได้
นั้น บุคคลนั้นๆ จําเป็นที่จะต้องมีแรง
บันดาลใจ มีความสามารถที่จะระบุ
ความต้องการของตนเอง รวมถึง
สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับ
สิ่งแวดล้อมรอบตนเอง และสามารถที่
จะเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมทาง
สังคมที่มีผลต่อสุขภาวะของตนเอง
(Social determinants of health:
SDH) ได้
ทั้งนี้แนวทางการสร้างเสริม
สุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สําคัญ 5
ประการ ได้แก่
1. การสร้างนโยบายสาธารณะ
ที่เอื้อต่อสุขภาวะ (Building
healthy public policy)
การสร้างเสริมสุขภาพมี
ความหมายกว้างกว่าเพียงการ
ดูแลสุขภาพ แต่เป็นการทําให้
สุขภาพเป็นวาระของผู้กําหนด
นโยบายในทุกภาคส่วนและ
ทุกระดับ เพื่อให้ผู้กําหนด
นโยบายเหล่านี้ตระหนักถึง
ผลกระทบทางสุขภาพที่เกิด
จากการตัดสินใจในทุกเรื่อง
และเพื่อให้ยอมรับว่าคนกลุ่ม
นี้มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพ
ด้วย นโยบายด้านการสร้าง
เสริมสุขภาพมีรูปแบบที่
หลากหลายแต่มีส่วน
สนับสนุนซึ่งกันและกัน
ตัวอย่างการดําเนินการทาง
นโยบายด้านการสร้างเสริม
สุขภาพ ได้แก่ การออก
กฎหมาย การใช้มาตรการทาง
การเงินและภาษี รวมถึงการ
ปรับเปลี่ยนในองค์กร เป็นต้น
การดําเนินการที่ผสมผสาน
เหล่านี้จะช่วยเกื้อหนุนไปสู่สุข
ภาวะ สร้างรายได้ และเกิด
นโยบายทางสังคมที่ทําให้เกิด
ความเสมอภาคยิ่งขึ้น การ
ดําเนินการร่วมกันทําให้มั่นใจ
ว่าสินค้าและบริการต่างๆ ใน
สังคมนั้นมีคุณภาพและ
ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น มี
บริการสาธารณะที่เอื้อต่อ
สุขภาพมากขึ้น และมี
สิ่งแวดล้อมที่สะอาดน่า
อภิรมย์ยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็
ตามเราอาจต้องคาดการณ์ถึง
อุปสรรคในการตอบรับ
นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
ในภาคส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
สุขภาพ รวมถึงหาทางลด
อุปสรรคเหล่านั้นด้วย
เป้าหมายควรเป็นการส่งเสริม
ให้ผู้กําหนดนโยบายเลือก
ทางเลือกที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
ได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่
สนับสนุนให้เกิดสุขภาวะ
(Creating supportive
environments)
สังคมของเรามีความซับซ้อน
แต่มีความเชื่อมโยงระหว่าง
กัน เป้าหมายสุขภาพก็ไม่
สามารถแยกออกจาก
เป้าหมายด้านอื่นๆ ได้อย่าง
เด็ดขาด การที่คนกับ
สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กัน
จนไม่สามารถแยกออกจากกัน
ได้นี้ นับเป็นพื้นฐานสําคัญ
ของมุมมองสุขภาพด้านสังคม
และนิเวศวิทยา แนวคิดนี้เป็น
เป้าหมายทั้งในระดับชาติ
ภูมิภาค หรือแม้แต่ในระดับ
ชุมชน ที่ต่างต้องเห็น
ความสําคัญที่จะรักษาให้
ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
สนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและ
กันไว้ การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติของโลก
ควรได้รับการเน้นย้ําและถือ
เป็นความรับผิดชอบของทุก
คนบนโลกใบนี้ การ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการ
ดําเนินชีวิต การทํางาน และ
การพักผ่อนหย่อนใจส่งผล
กระทบสําคัญต่อสุขภาพ การ
ทํางานและการพักผ่อนหย่อน
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ใจควรเป็นกิจกรรมที่ทําให้
สุขภาพดี สังคมควรจัด
ระบบงานในสังคมให้สามารถ
เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างเสริม
สุขภาพมีส่วนส่งเสริมให้การ
ดําเนินชีวิตและรูปแบบของ
การทํางานมีความปลอดภัย
กระตุ้นให้เกิดความ
กระตือรือร้น เกิดความรู้สึก
พึงพอใจ และก่อให้เกิดความ
เพลิดเพลิน นอกจากนี้การ
ประเมินผลกระทบทาง
สุขภาพจากสิ่งแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อม
ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การ
ทํางาน การผลิตพลังงาน และ
การขยายตัวของชุมชนเมือง
เป็นสิ่งที่สําคัญและต้องมีการ
ติดตามอย่างสม่ําเสมอเพื่อ
เป็นหลักประกันของสุขภาพดี
ในส่วนรวม การปกป้อง
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและ
ที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ต้องมีในกลยุทธ์การสร้างเสริม
สุขภาพทุกกลยุทธ์
3. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่
ชุมชนเพื่อให้ยืนได้ด้วย
ตนเอง (Strengthening
community action)
การสร้างเสริมสุขภาพเป็นการ
ทํางานในชุมชนที่มี
ประสิทธิผลและจับต้องได้
ด้วยกิจกรรมการจัดลําดับ
ความสําคัญของปัญหา การ
ตัดสินใจ การวางแผนเชิง
ยุทธศาสตร์ และการ
ดําเนินการตามแผน เพื่อให้
ชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น หัวใจ
สําคัญของกระบวนการทํางาน
ในชุมชนคือการเสริมสร้าง
พลังอํานาจของชุมชน ซึ่ง
หมายถึงการทําให้ชุมชนมี
ความรู้สึกเป็นเจ้าของ
สามารถควบคุมการ
ดําเนินการต่างๆ และสามารถ
กําหนดอนาคตของตนเองได้
การพัฒนาชุมชนเป็นการดึง
ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์
และทรัพยากรวัตถุที่มีอยู่ใน
ชุมชน เพื่อพัฒนา
ความสามารถในการ
ช่วยเหลือตนเองและ
สนับสนุนซึ่งกันและกัน และ
เพื่อพัฒนาระบบที่มีความ
ยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาเพื่อสุขภาพ
ระบบลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้
หากชุมชนสามารถเข้าถึง
ข้อมูลอย่างสมบูรณ์และ
ต่อเนื่อง มีโอกาสได้เรียนรู้ถึง
โอกาสในการสร้างสุขภาพ
และมีแหล่งทุนสนับสนุนอย่าง
เหมาะสม
4. การพัฒนาทักษะระดับบุคคล
ทั้งเรื่องความรู้ ทักษะชีวิต
และคุณสมบัติอื่นๆ ที่จะทํา
ให้บุคคลนั้นๆ สามารถ
จัดการชีวิตตนเองให้มีสุข
ภาวะได้ (Developing
personal skills)
การสร้างเสริมสุขภาพ
สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทั้ง
ในตัวบุคคลและสังคม ด้วย
การให้ข้อมูล เสริมสร้าง
ความรู้ด้านสุขภาพ และ
พัฒนาทักษะชีวิต การ
ดําเนินการในลักษณะนี้จะเปิด
โอกาสให้ประชาชนมี
ความสามารถในการควบคุม
สุขภาพของตนเองและ
สิ่งแวดล้อม และสามารถ
ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่จะ
ส่งผลดีต่อสุขภาพ การเปิด
โอกาสให้บุคคลได้เรียนรู้
ตลอดชีวิต มีการเตรียมพร้อม
สําหรับการเปลี่ยนแปลงในทุก
ช่วงชีวิต เพื่อให้สามารถ
ปรับตัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
เรื้อรังหรือเกิดการบาดเจ็บ
เป็นสิ่งสําคัญยิ่ง และควรสร้าง
โอกาสนี้ให้เกิดขึ้นที่โรงเรียน
ที่บ้าน ที่ทํางาน และที่ชุมชน
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
สามารถดําเนินการผ่านภาค
ส่วนการศึกษา วิชาชีพ
สื่อมวลชน องค์กรอาสาสมัคร
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รวมถึงภายในองค์กรที่บุคคล
สังกัดอยู่
5. การจัดการระบบบริการ
สุขภาพให้สามารถ
ตอบสนองต่อความต้องการ
ที่แท้จริงของประชากร
เพื่อให้เกิดสุขภาวะ
(Reorienting health
services)
บทบาทสร้างเสริมสุขภาพใน
ระบบบริการสุขภาพ เป็น
บทบาทของทุกภาคส่วน ทั้ง
บุคคลกลุ่มภายในชุมชน
บุคลากรสุขภาพ หน่วยงาน
บริการสุขภาพ และภาครัฐ
ภาคส่วนเหล่านี้ต้องทํางาน
ร่วมกันเพื่อให้ระบบบริการ
สุขภาพนําไปสู่สุขภาวะ ภาค
ส่วนที่ให้บริการสุขภาพต้อง
ปรับเปลี่ยนทิศทางมาสู่การ
สร้างเสริมสุขภาพ มิใช่เพียง
ให้การดูแลรักษาเท่านั้น
บริการสุขภาพต้องสามารถ
ตอบสนองต่อภารกิจที่นับวัน
จะมีความละเอียดอ่อนและให้
ความสนใจต่อความต้องการ
ทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ภารกิจ
นี้ควรสนับสนุนบุคคลและ
ชุมชนที่ต้องการมีสุขภาพดีขึ้น
และเปิดโอกาสให้ภาคส่วนที่
ดูแลสุขภาพได้เชื่อมโยงกับ
ภาคส่วนอื่น เช่น สังคม
การเมือง เศรษฐกิจ และ
สิ่งแวดล้อมทางสุขภาพมาก
ยิ่งขึ้น การปรับเปลี่ยนระบบ
บริการสุขภาพต้องการการ
สนับสนุนที่เข้มแข็งจากการ
วิจัยสุขภาพพร้อมๆกับการ
เปลี่ยนแปลงรูปแบบ
การศึกษาและการอบรมใน
วิชาชีพ การปฏิบัติเช่นนี้จะ
นําไปสู่การปรับเปลี่ยน
ทัศนคติของบุคคลและองค์กร
ให้มองความต้องการของ
บุคคลเป็นภาพรวม
กฎบัตรกรุงเทพมหานครเพื่อการ
สร้างเสริมสุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์
นับตั้งแต่การประกาศกฎบัตร
ออตตาวา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้นํา
แนวคิดและยุทธศาสตร์การสร้างเสริม
สุขภาพไปปฏิบัติในบริบทของตน
และมีการพัฒนาต่อยอดผ่านการ
ประกาศข้อเสนอแนะ หรือ
แถลงการณ์หลังการประชุมนานาชาติ
เพิ่มเติมอีกหลายครั้ง อาทิเช่น
ข้อเสนอแนะอาดิเลดว่าด้วยเรื่อง
นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพในปี
พ.ศ.2531 แถลงการณ์ซุนด์สวอลล์ว่า
ด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน
สุขภาพในปีพ.ศ.2534 คําประกาศ
จาการ์ตาว่าด้วยเรื่องการสร้างเสริม
สุขภาพในศตวรรษที่ 21 ในปีพ.ศ.
2540 เป็นต้น2-4
จวบจนกระทั่งมีการประชุม
นานาชาติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ
ครั้งที่ 6 ในปีพ.ศ.2548 ที่
กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีการออกกฏ
บัตรเพิ่มเติมภายใต้ชื่อว่า กฎบัตร
กรุงเทพมหานคร เพื่อการสร้างเสริม
สุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์5 โดยมี
สาระสําคัญดังนี้
ขอบเขต:
กฎบัตรกรุงเทพฯ ระบุถึงการ
ดําเนินการ ข้อผูกพัน และคําปฏิญาณ
ที่จําเป็นในการรับมือกับปัจจัยกําหนด
สุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์ ผ่านการ
สร้างเสริมสุขภาพ
การดําเนินการกับปัจจัยกําหนด
สุขภาพ:
บริบทของโลกในประเด็นการสร้าง
เสริมสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปอย่าง
มากตั้งแต่การพัฒนากฎบัตร
ออตตาวา ปัจจัยวิกฤตที่มีผลต่อ
สุขภาพในปัจจุบัน ประกอบด้วย
ความไม่เท่าเทียมกันทั้งในประเทศ
และระหว่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้น
การบริโภคและการสื่อสารในปัจจุบัน
เปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใหม่ รูปแบบ
ของการค้าในปัจจุบันมีการ
เปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมโลกมีการ
เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลง
จากชุมชนชนบทกลายเป็นชุมชนเมือง
กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพในยุค
โลกาภิวัตน์:
1. การดําเนินการที่มี
ประสิทธิผล (Effective
interventions)
กลยุทธ์ต่างๆ ของการสร้าง
เสริมสุขภาพ ที่ได้รับการ
พิสูจน์ด้านประสิทธิผลแล้ว ก็
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ควรที่จะได้รับการนําไป
ดําเนินการอย่างเต็มที่ โดย
ได้รับการสนับสนุนด้าน
นโยบายที่เข้มแข็ง มีส่วนร่วม
อย่างกว้างขวาง และมีการ
สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
2. แนวทางการดําเนินงานที่
จําเป็นต้องทํา (Required
actions)
ประกอบด้วยการสนับสนุน
เชิงนโยบายด้านสิทธิ
มนุษยชนและความเป็นน้ํา
หนึ่งใจเดียวกัน (Human
rights and solidarity)
การลงทุนที่เน้นความยั่งยืน
(Invest for sustainbility)
ของนโยบาย กิจกรรมการ
ดําเนินการ และโครงสร้าง
พื้นฐานที่จําเป็นในการ
จัดการกับปัจจัยแวดล้อมที่
ส่งผลต่อสุขภาวะ
การเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อ
พัฒนานโยบาย ความเป็น
ผู้นํา การปฏิบัติด้านการ
สร้างเสริมสุขภาพ การส่งต่อ
ความรู้และการวิจัย รวมถึง
ความแตกฉานด้านสุขภาพ
การควบคุมและการออก
กฎหมาย เพื่อรับประกันใน
การปกป้องอันตรายและเอื้อ
โอกาสอันเท่าเทียมกันทาง
สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
สําหรับประชาชนทุกคน และ
การร่วมมือและสร้าง
พันธมิตร ระหว่างภาครัฐ
เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน
และองค์กรระหว่างประเทศ
รวมถึงภาคประชาสังคม เพื่อ
ก่อให้เกิดการดําเนินการที่
ยั่งยืน
อุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพ
อุปสรรคสําคัญที่ทําให้การสร้าง
เสริมสุขภาพเป็นที่กังขา และยากใน
การที่จะยอมรับ และถ่ายทอดจากคน
หนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ คือความ
ยากลําบากในการพิสูจน์ผลของการ
ดําเนินการตามแนวทางสร้างเสริม
สุขภาพกับผลลัพธ์ทางสุขภาพที่
เกิดขึ้น (Health outcome) ทั้งในแง่
ของการมีปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีอิทธิพล
ต่อผลลัพธ์ รวมถึงระยะเวลาในการ
เกิดผลลัพธ์นับจากการได้ดําเนินการ
สร้างเสริมสุขภาพไปจนเสร็จสมบูรณ์
ระดับของการดําเนินการสร้างเสริมสุขภาพ6
(Levels of health promotion practice)
การดําเนินการสร้างเสริมสุขภาพ
นั้น สามารถทําได้หลายระดับ ตั้งแต่
ระดับบุคคล (individual) ระดับ
ครอบครัว (family) ระดับกลุ่มคน/
ชุมชน (community) ระดับพื้นที่
(หมู่บ้าน, ตําบล, อําเภอ, จังหวัด)
ระดับเขต (region) ระดับประเทศ
(national) และระดับนานาชาติ
(international)
ทั้งนี้การสร้างเสริมสุขภาพในแต่
ละระดับอาจมีแนวทางดําเนินการที่
แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของ
ปัญหาในแต่ละระดับ แม้เป็นเรื่อง
เดียวกัน แต่ความต้องการ รวมถึง
บริบทแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับ
ปัญหานั้นก็มักจะมีความแตกต่างกัน
เสมอ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องมีการปรับกลยุทธ์ กลวิธี
วิธีการ หรือกิจกรรมสร้างเสริม
สุขภาพให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
และบริบทในพื้นที่
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารอ้างอิง:
1. 1986 Ottawa Charter on Health Promotion (WHO 1st HP conference)
http://www.who.int/hpr/NPH/docs/ottawa_charter_hp.pdf
2. 1988 Adelaide recommendations on Healthy Public Policy (WHO 2nd HP conference)
http://www.who.int/hpr/NPH/docs/adelaide_recommendations.pdf
3. 1991 Sundsvall Statement on Supportive Environments (WHO 3rd HP conference)
http://www.who.int/hpr/NPH/docs/sundsvall_statement.pdf
4. 1997 Jakarta Declaration on Partnerships for a New Era (WHO 4th HP conference)
http://www.phs.ki.se/whoccse/Jakarta.htm
5. 2005 Bangkok Charter on Health Promotion in a Globalized World (WHO 6th HP conference)
http://www.who.int/healthpromotion/conferences/6gchp/bangkok_charter/en/
6. Poland, B., Green, L., Rootman, I., Settings for Health Promotion: Linking Theory & Practice. Sage
Publications, 1999.
Note:
“Every human being is the author of his own health or disease.”

More Related Content

What's hot

บันทึกทางการพยาบาล
บันทึกทางการพยาบาลบันทึกทางการพยาบาล
บันทึกทางการพยาบาล
Sutthiluck Kaewboonrurn
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Prachaya Sriswang
 
27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์Papawee Laonoi
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติSambushi Kritsada
 
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
CC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009taem
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medical
freelance
 
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
Gawewat Dechaapinun
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
Utai Sukviwatsirikul
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
Suradet Sriangkoon
 
งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1
งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1
งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1
kridauakridathikarn
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้น
Sutthiluck Kaewboonrurn
 
Ha overview.1
Ha overview.1Ha overview.1
Ha overview.1
Prachaya Sriswang
 
แบบฟอร์ม หน้า 155 157
แบบฟอร์ม หน้า 155 157แบบฟอร์ม หน้า 155 157
แบบฟอร์ม หน้า 155 157
กรรณิกา ปัญญาอมรวัฒน์
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
Utai Sukviwatsirikul
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
Nursing Room By Rangsima
 

What's hot (20)

บันทึกทางการพยาบาล
บันทึกทางการพยาบาลบันทึกทางการพยาบาล
บันทึกทางการพยาบาล
 
Berodual salbutamol solution
Berodual salbutamol solutionBerodual salbutamol solution
Berodual salbutamol solution
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวนPpt 12 กิจกรรมทบทวน
Ppt 12 กิจกรรมทบทวน
 
27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
 
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medical
 
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
 
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัยSฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
SฺBAR เอสบา การสื่อสารอย่างปลอดภัย
 
งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1
งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1
งานเยี่ยมบ้านคุณภาพ High Quality Home Health Care Part 1
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้น
 
Ha overview.1
Ha overview.1Ha overview.1
Ha overview.1
 
แบบฟอร์ม หน้า 155 157
แบบฟอร์ม หน้า 155 157แบบฟอร์ม หน้า 155 157
แบบฟอร์ม หน้า 155 157
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
 
2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment2016 Respiratory Assessment
2016 Respiratory Assessment
 

More from Thira Woratanarat

Case studies of medical cannabis policy
Case studies of medical cannabis policyCase studies of medical cannabis policy
Case studies of medical cannabis policy
Thira Woratanarat
 
อยู่อย่างไรในยุคโควิด
อยู่อย่างไรในยุคโควิดอยู่อย่างไรในยุคโควิด
อยู่อย่างไรในยุคโควิด
Thira Woratanarat
 
Thailand Covid19 Situation
Thailand Covid19 SituationThailand Covid19 Situation
Thailand Covid19 Situation
Thira Woratanarat
 
Evidence based public health
Evidence based public healthEvidence based public health
Evidence based public health
Thira Woratanarat
 
Evidence based public health (medical cannabis policy)
Evidence based public health (medical cannabis policy)Evidence based public health (medical cannabis policy)
Evidence based public health (medical cannabis policy)
Thira Woratanarat
 
Commed2 2019 hanlon's method
Commed2 2019 hanlon's methodCommed2 2019 hanlon's method
Commed2 2019 hanlon's method
Thira Woratanarat
 
Medical cannabis in thailand: Are we ready?
Medical cannabis in thailand: Are we ready?Medical cannabis in thailand: Are we ready?
Medical cannabis in thailand: Are we ready?
Thira Woratanarat
 
กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์
กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์
กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์
Thira Woratanarat
 
Health literacy for NCDs prevention and control
Health literacy for NCDs prevention and controlHealth literacy for NCDs prevention and control
Health literacy for NCDs prevention and control
Thira Woratanarat
 
Health literacy research and future direction
Health literacy research and future directionHealth literacy research and future direction
Health literacy research and future direction
Thira Woratanarat
 
Primary Health Care Systems: Thailand
Primary Health Care Systems: ThailandPrimary Health Care Systems: Thailand
Primary Health Care Systems: Thailand
Thira Woratanarat
 
Health care system 2018
Health care system 2018Health care system 2018
Health care system 2018
Thira Woratanarat
 
ปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทย
ปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทยปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทย
ปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทย
Thira Woratanarat
 
Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...
Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...
Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...
Thira Woratanarat
 
SDG AND Songs
SDG AND SongsSDG AND Songs
SDG AND Songs
Thira Woratanarat
 
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
Thira Woratanarat
 
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017
Thira Woratanarat
 
การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017
การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017
การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017
Thira Woratanarat
 
Commed2 2017
Commed2 2017Commed2 2017
Commed2 2017
Thira Woratanarat
 
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพการทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
Thira Woratanarat
 

More from Thira Woratanarat (20)

Case studies of medical cannabis policy
Case studies of medical cannabis policyCase studies of medical cannabis policy
Case studies of medical cannabis policy
 
อยู่อย่างไรในยุคโควิด
อยู่อย่างไรในยุคโควิดอยู่อย่างไรในยุคโควิด
อยู่อย่างไรในยุคโควิด
 
Thailand Covid19 Situation
Thailand Covid19 SituationThailand Covid19 Situation
Thailand Covid19 Situation
 
Evidence based public health
Evidence based public healthEvidence based public health
Evidence based public health
 
Evidence based public health (medical cannabis policy)
Evidence based public health (medical cannabis policy)Evidence based public health (medical cannabis policy)
Evidence based public health (medical cannabis policy)
 
Commed2 2019 hanlon's method
Commed2 2019 hanlon's methodCommed2 2019 hanlon's method
Commed2 2019 hanlon's method
 
Medical cannabis in thailand: Are we ready?
Medical cannabis in thailand: Are we ready?Medical cannabis in thailand: Are we ready?
Medical cannabis in thailand: Are we ready?
 
กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์
กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์
กัญชา...ชัวร์ก่อนแชร์
 
Health literacy for NCDs prevention and control
Health literacy for NCDs prevention and controlHealth literacy for NCDs prevention and control
Health literacy for NCDs prevention and control
 
Health literacy research and future direction
Health literacy research and future directionHealth literacy research and future direction
Health literacy research and future direction
 
Primary Health Care Systems: Thailand
Primary Health Care Systems: ThailandPrimary Health Care Systems: Thailand
Primary Health Care Systems: Thailand
 
Health care system 2018
Health care system 2018Health care system 2018
Health care system 2018
 
ปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทย
ปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทยปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทย
ปรากฏการณ์ตูน: ภาพสะท้อนระบบสาธารณสุขไทย
 
Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...
Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...
Primary Health Care Systems (PRIMASYS): Case Study from Thailand, Abridged ve...
 
SDG AND Songs
SDG AND SongsSDG AND Songs
SDG AND Songs
 
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
 
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) 2017
 
การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017
การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017
การจัดการปัญหาสุขภาพแนวใหม่ 2017
 
Commed2 2017
Commed2 2017Commed2 2017
Commed2 2017
 
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพการทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
การทบทวนสถานการณ์และกลไกจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ
 

การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

  • 1. ตุลาคม 2558 Version 1.0 การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) ความเป็นมา การจะเข้าใจถึงเรื่องการสร้างเสริม สุขภาพได้นั้น จําเป็นต้องเรียนรู้ ประวัติความเป็นมาของพัฒนาการ เรื่องนี้ โดยในเอกสารคําสอนนี้จะสรุป ย่อสาระสําคัญตามช่วงเวลาจากอดีต จนถึงปัจจุบัน ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) แผนงานใหม่ภายใน องค์การอนามัยโลก สํานักภูมิภาค แห่งยุโรป ได้แก่ แผนงานการสร้าง เสริมสุขภาพ ได้ถือกําเนิดขึ้น คณะทํางานได้มีการประชุมร่วมกันใน เดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน เพื่อพัฒนา แผนงาน และอภิปรายเกี่ยวกับ แนวคิดและหลักการของการสร้าง เสริมสุขภาพ อันถือเป็นพื้นฐานที่ ได้รับการนําไปหารือรายละเอียดใน ช่วงเวลาถัดมา แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพที่ ได้รับการยอมรับหลังจากมีการหารือ กันในเวทีการประชุมนานาชาติเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพครั้งที่ 1 นั้นคือ กฎบัตรออตตาวาเพื่อการสร้างเสริม สุขภาพ (Ottawa Charter for Health Promotion)1 ซึ่งได้รับการ รับรองเมื่อ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การสร้างเสริมสุขภาพ สาระสําคัญ ...การสร้างเสริม สุขภาพเป็นสิ่งจําเป็น สําหรับประชาชนทุก คนเพื่อมุ่งหวังให้เกิด สุขภาวะ... ...เงื่อนไขพื้นฐานที่ต้องมี ก่อนที่จะมีสุขภาพดี… “ความสงบสุขของสังคม” “การมีที่พักอาศัย” “ระดับการศึกษาที่ดี” “การมีอาหารเพียงพอและ ปลอดภัย” “การมีรายได้ที่เพียงพอ” “การมีระบบนิเวศที่มั่นคง” “การมีแหล่งทรัพยากรที่ เพียงพอ” “ความยุติธรรมและความเท่า เทียมกันในสังคม” OTTAWA CHARTER1: Building healthy public policy Creating supportive environments Strengthening community action Developing personal skills Reorienting health services
  • 2. ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คําจํากัดความ การสร้างเสริมสุขภาพคือ กระบวนการที่ทําให้บุคคลมี ความสามารถในการควบคุม พัฒนา ปรับปรุงตนเองให้มีสุขภาวะ ทั้งนี้การจะทําให้เกิดสุขภาวะทั้ง ทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณได้ นั้น บุคคลนั้นๆ จําเป็นที่จะต้องมีแรง บันดาลใจ มีความสามารถที่จะระบุ ความต้องการของตนเอง รวมถึง สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมรอบตนเอง และสามารถที่ จะเปลี่ยนแปลงปัจจัยแวดล้อมทาง สังคมที่มีผลต่อสุขภาวะของตนเอง (Social determinants of health: SDH) ได้ ทั้งนี้แนวทางการสร้างเสริม สุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ประกอบด้วยยุทธศาสตร์สําคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1. การสร้างนโยบายสาธารณะ ที่เอื้อต่อสุขภาวะ (Building healthy public policy) การสร้างเสริมสุขภาพมี ความหมายกว้างกว่าเพียงการ ดูแลสุขภาพ แต่เป็นการทําให้ สุขภาพเป็นวาระของผู้กําหนด นโยบายในทุกภาคส่วนและ ทุกระดับ เพื่อให้ผู้กําหนด นโยบายเหล่านี้ตระหนักถึง ผลกระทบทางสุขภาพที่เกิด จากการตัดสินใจในทุกเรื่อง และเพื่อให้ยอมรับว่าคนกลุ่ม นี้มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้วย นโยบายด้านการสร้าง เสริมสุขภาพมีรูปแบบที่ หลากหลายแต่มีส่วน สนับสนุนซึ่งกันและกัน ตัวอย่างการดําเนินการทาง นโยบายด้านการสร้างเสริม สุขภาพ ได้แก่ การออก กฎหมาย การใช้มาตรการทาง การเงินและภาษี รวมถึงการ ปรับเปลี่ยนในองค์กร เป็นต้น การดําเนินการที่ผสมผสาน เหล่านี้จะช่วยเกื้อหนุนไปสู่สุข ภาวะ สร้างรายได้ และเกิด นโยบายทางสังคมที่ทําให้เกิด ความเสมอภาคยิ่งขึ้น การ ดําเนินการร่วมกันทําให้มั่นใจ ว่าสินค้าและบริการต่างๆ ใน สังคมนั้นมีคุณภาพและ ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น มี บริการสาธารณะที่เอื้อต่อ สุขภาพมากขึ้น และมี สิ่งแวดล้อมที่สะอาดน่า อภิรมย์ยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ ตามเราอาจต้องคาดการณ์ถึง อุปสรรคในการตอบรับ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในภาคส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ รวมถึงหาทางลด อุปสรรคเหล่านั้นด้วย เป้าหมายควรเป็นการส่งเสริม ให้ผู้กําหนดนโยบายเลือก ทางเลือกที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ได้ง่ายยิ่งขึ้น 2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ สนับสนุนให้เกิดสุขภาวะ (Creating supportive environments) สังคมของเรามีความซับซ้อน แต่มีความเชื่อมโยงระหว่าง กัน เป้าหมายสุขภาพก็ไม่ สามารถแยกออกจาก เป้าหมายด้านอื่นๆ ได้อย่าง เด็ดขาด การที่คนกับ สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กัน จนไม่สามารถแยกออกจากกัน ได้นี้ นับเป็นพื้นฐานสําคัญ ของมุมมองสุขภาพด้านสังคม และนิเวศวิทยา แนวคิดนี้เป็น เป้าหมายทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค หรือแม้แต่ในระดับ ชุมชน ที่ต่างต้องเห็น ความสําคัญที่จะรักษาให้ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและ กันไว้ การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติของโลก ควรได้รับการเน้นย้ําและถือ เป็นความรับผิดชอบของทุก คนบนโลกใบนี้ การ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ดําเนินชีวิต การทํางาน และ การพักผ่อนหย่อนใจส่งผล กระทบสําคัญต่อสุขภาพ การ ทํางานและการพักผ่อนหย่อน
  • 3. ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใจควรเป็นกิจกรรมที่ทําให้ สุขภาพดี สังคมควรจัด ระบบงานในสังคมให้สามารถ เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างเสริม สุขภาพมีส่วนส่งเสริมให้การ ดําเนินชีวิตและรูปแบบของ การทํางานมีความปลอดภัย กระตุ้นให้เกิดความ กระตือรือร้น เกิดความรู้สึก พึงพอใจ และก่อให้เกิดความ เพลิดเพลิน นอกจากนี้การ ประเมินผลกระทบทาง สุขภาพจากสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การ ทํางาน การผลิตพลังงาน และ การขยายตัวของชุมชนเมือง เป็นสิ่งที่สําคัญและต้องมีการ ติดตามอย่างสม่ําเสมอเพื่อ เป็นหลักประกันของสุขภาพดี ในส่วนรวม การปกป้อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและ ที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีในกลยุทธ์การสร้างเสริม สุขภาพทุกกลยุทธ์ 3. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ชุมชนเพื่อให้ยืนได้ด้วย ตนเอง (Strengthening community action) การสร้างเสริมสุขภาพเป็นการ ทํางานในชุมชนที่มี ประสิทธิผลและจับต้องได้ ด้วยกิจกรรมการจัดลําดับ ความสําคัญของปัญหา การ ตัดสินใจ การวางแผนเชิง ยุทธศาสตร์ และการ ดําเนินการตามแผน เพื่อให้ ชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น หัวใจ สําคัญของกระบวนการทํางาน ในชุมชนคือการเสริมสร้าง พลังอํานาจของชุมชน ซึ่ง หมายถึงการทําให้ชุมชนมี ความรู้สึกเป็นเจ้าของ สามารถควบคุมการ ดําเนินการต่างๆ และสามารถ กําหนดอนาคตของตนเองได้ การพัฒนาชุมชนเป็นการดึง ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรวัตถุที่มีอยู่ใน ชุมชน เพื่อพัฒนา ความสามารถในการ ช่วยเหลือตนเองและ สนับสนุนซึ่งกันและกัน และ เพื่อพัฒนาระบบที่มีความ ยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาเพื่อสุขภาพ ระบบลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้ หากชุมชนสามารถเข้าถึง ข้อมูลอย่างสมบูรณ์และ ต่อเนื่อง มีโอกาสได้เรียนรู้ถึง โอกาสในการสร้างสุขภาพ และมีแหล่งทุนสนับสนุนอย่าง เหมาะสม 4. การพัฒนาทักษะระดับบุคคล ทั้งเรื่องความรู้ ทักษะชีวิต และคุณสมบัติอื่นๆ ที่จะทํา ให้บุคคลนั้นๆ สามารถ จัดการชีวิตตนเองให้มีสุข ภาวะได้ (Developing personal skills) การสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทั้ง ในตัวบุคคลและสังคม ด้วย การให้ข้อมูล เสริมสร้าง ความรู้ด้านสุขภาพ และ พัฒนาทักษะชีวิต การ ดําเนินการในลักษณะนี้จะเปิด โอกาสให้ประชาชนมี ความสามารถในการควบคุม สุขภาพของตนเองและ สิ่งแวดล้อม และสามารถ ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่จะ ส่งผลดีต่อสุขภาพ การเปิด โอกาสให้บุคคลได้เรียนรู้ ตลอดชีวิต มีการเตรียมพร้อม สําหรับการเปลี่ยนแปลงในทุก ช่วงชีวิต เพื่อให้สามารถ ปรับตัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย เรื้อรังหรือเกิดการบาดเจ็บ เป็นสิ่งสําคัญยิ่ง และควรสร้าง โอกาสนี้ให้เกิดขึ้นที่โรงเรียน ที่บ้าน ที่ทํางาน และที่ชุมชน การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล สามารถดําเนินการผ่านภาค ส่วนการศึกษา วิชาชีพ สื่อมวลชน องค์กรอาสาสมัคร
  • 4. ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงภายในองค์กรที่บุคคล สังกัดอยู่ 5. การจัดการระบบบริการ สุขภาพให้สามารถ ตอบสนองต่อความต้องการ ที่แท้จริงของประชากร เพื่อให้เกิดสุขภาวะ (Reorienting health services) บทบาทสร้างเสริมสุขภาพใน ระบบบริการสุขภาพ เป็น บทบาทของทุกภาคส่วน ทั้ง บุคคลกลุ่มภายในชุมชน บุคลากรสุขภาพ หน่วยงาน บริการสุขภาพ และภาครัฐ ภาคส่วนเหล่านี้ต้องทํางาน ร่วมกันเพื่อให้ระบบบริการ สุขภาพนําไปสู่สุขภาวะ ภาค ส่วนที่ให้บริการสุขภาพต้อง ปรับเปลี่ยนทิศทางมาสู่การ สร้างเสริมสุขภาพ มิใช่เพียง ให้การดูแลรักษาเท่านั้น บริการสุขภาพต้องสามารถ ตอบสนองต่อภารกิจที่นับวัน จะมีความละเอียดอ่อนและให้ ความสนใจต่อความต้องการ ทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ภารกิจ นี้ควรสนับสนุนบุคคลและ ชุมชนที่ต้องการมีสุขภาพดีขึ้น และเปิดโอกาสให้ภาคส่วนที่ ดูแลสุขภาพได้เชื่อมโยงกับ ภาคส่วนอื่น เช่น สังคม การเมือง เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อมทางสุขภาพมาก ยิ่งขึ้น การปรับเปลี่ยนระบบ บริการสุขภาพต้องการการ สนับสนุนที่เข้มแข็งจากการ วิจัยสุขภาพพร้อมๆกับการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ การศึกษาและการอบรมใน วิชาชีพ การปฏิบัติเช่นนี้จะ นําไปสู่การปรับเปลี่ยน ทัศนคติของบุคคลและองค์กร ให้มองความต้องการของ บุคคลเป็นภาพรวม กฎบัตรกรุงเทพมหานครเพื่อการ สร้างเสริมสุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์ นับตั้งแต่การประกาศกฎบัตร ออตตาวา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้นํา แนวคิดและยุทธศาสตร์การสร้างเสริม สุขภาพไปปฏิบัติในบริบทของตน และมีการพัฒนาต่อยอดผ่านการ ประกาศข้อเสนอแนะ หรือ แถลงการณ์หลังการประชุมนานาชาติ เพิ่มเติมอีกหลายครั้ง อาทิเช่น ข้อเสนอแนะอาดิเลดว่าด้วยเรื่อง นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพในปี พ.ศ.2531 แถลงการณ์ซุนด์สวอลล์ว่า ด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน สุขภาพในปีพ.ศ.2534 คําประกาศ จาการ์ตาว่าด้วยเรื่องการสร้างเสริม สุขภาพในศตวรรษที่ 21 ในปีพ.ศ. 2540 เป็นต้น2-4 จวบจนกระทั่งมีการประชุม นานาชาติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 6 ในปีพ.ศ.2548 ที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีการออกกฏ บัตรเพิ่มเติมภายใต้ชื่อว่า กฎบัตร กรุงเทพมหานคร เพื่อการสร้างเสริม สุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์5 โดยมี สาระสําคัญดังนี้ ขอบเขต: กฎบัตรกรุงเทพฯ ระบุถึงการ ดําเนินการ ข้อผูกพัน และคําปฏิญาณ ที่จําเป็นในการรับมือกับปัจจัยกําหนด สุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์ ผ่านการ สร้างเสริมสุขภาพ การดําเนินการกับปัจจัยกําหนด สุขภาพ: บริบทของโลกในประเด็นการสร้าง เสริมสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปอย่าง มากตั้งแต่การพัฒนากฎบัตร ออตตาวา ปัจจัยวิกฤตที่มีผลต่อ สุขภาพในปัจจุบัน ประกอบด้วย ความไม่เท่าเทียมกันทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้น การบริโภคและการสื่อสารในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใหม่ รูปแบบ ของการค้าในปัจจุบันมีการ เปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมโลกมีการ เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลง จากชุมชนชนบทกลายเป็นชุมชนเมือง กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพในยุค โลกาภิวัตน์: 1. การดําเนินการที่มี ประสิทธิผล (Effective interventions) กลยุทธ์ต่างๆ ของการสร้าง เสริมสุขภาพ ที่ได้รับการ พิสูจน์ด้านประสิทธิผลแล้ว ก็
  • 5. ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรที่จะได้รับการนําไป ดําเนินการอย่างเต็มที่ โดย ได้รับการสนับสนุนด้าน นโยบายที่เข้มแข็ง มีส่วนร่วม อย่างกว้างขวาง และมีการ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 2. แนวทางการดําเนินงานที่ จําเป็นต้องทํา (Required actions) ประกอบด้วยการสนับสนุน เชิงนโยบายด้านสิทธิ มนุษยชนและความเป็นน้ํา หนึ่งใจเดียวกัน (Human rights and solidarity) การลงทุนที่เน้นความยั่งยืน (Invest for sustainbility) ของนโยบาย กิจกรรมการ ดําเนินการ และโครงสร้าง พื้นฐานที่จําเป็นในการ จัดการกับปัจจัยแวดล้อมที่ ส่งผลต่อสุขภาวะ การเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อ พัฒนานโยบาย ความเป็น ผู้นํา การปฏิบัติด้านการ สร้างเสริมสุขภาพ การส่งต่อ ความรู้และการวิจัย รวมถึง ความแตกฉานด้านสุขภาพ การควบคุมและการออก กฎหมาย เพื่อรับประกันใน การปกป้องอันตรายและเอื้อ โอกาสอันเท่าเทียมกันทาง สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี สําหรับประชาชนทุกคน และ การร่วมมือและสร้าง พันธมิตร ระหว่างภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงภาคประชาสังคม เพื่อ ก่อให้เกิดการดําเนินการที่ ยั่งยืน อุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพ อุปสรรคสําคัญที่ทําให้การสร้าง เสริมสุขภาพเป็นที่กังขา และยากใน การที่จะยอมรับ และถ่ายทอดจากคน หนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ คือความ ยากลําบากในการพิสูจน์ผลของการ ดําเนินการตามแนวทางสร้างเสริม สุขภาพกับผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ เกิดขึ้น (Health outcome) ทั้งในแง่ ของการมีปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีอิทธิพล ต่อผลลัพธ์ รวมถึงระยะเวลาในการ เกิดผลลัพธ์นับจากการได้ดําเนินการ สร้างเสริมสุขภาพไปจนเสร็จสมบูรณ์ ระดับของการดําเนินการสร้างเสริมสุขภาพ6 (Levels of health promotion practice) การดําเนินการสร้างเสริมสุขภาพ นั้น สามารถทําได้หลายระดับ ตั้งแต่ ระดับบุคคล (individual) ระดับ ครอบครัว (family) ระดับกลุ่มคน/ ชุมชน (community) ระดับพื้นที่ (หมู่บ้าน, ตําบล, อําเภอ, จังหวัด) ระดับเขต (region) ระดับประเทศ (national) และระดับนานาชาติ (international) ทั้งนี้การสร้างเสริมสุขภาพในแต่ ละระดับอาจมีแนวทางดําเนินการที่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของ ปัญหาในแต่ละระดับ แม้เป็นเรื่อง เดียวกัน แต่ความต้องการ รวมถึง บริบทแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับ ปัญหานั้นก็มักจะมีความแตกต่างกัน เสมอ ดังนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องมีการปรับกลยุทธ์ กลวิธี วิธีการ หรือกิจกรรมสร้างเสริม สุขภาพให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทในพื้นที่
  • 6. ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกสารอ้างอิง: 1. 1986 Ottawa Charter on Health Promotion (WHO 1st HP conference) http://www.who.int/hpr/NPH/docs/ottawa_charter_hp.pdf 2. 1988 Adelaide recommendations on Healthy Public Policy (WHO 2nd HP conference) http://www.who.int/hpr/NPH/docs/adelaide_recommendations.pdf 3. 1991 Sundsvall Statement on Supportive Environments (WHO 3rd HP conference) http://www.who.int/hpr/NPH/docs/sundsvall_statement.pdf 4. 1997 Jakarta Declaration on Partnerships for a New Era (WHO 4th HP conference) http://www.phs.ki.se/whoccse/Jakarta.htm 5. 2005 Bangkok Charter on Health Promotion in a Globalized World (WHO 6th HP conference) http://www.who.int/healthpromotion/conferences/6gchp/bangkok_charter/en/ 6. Poland, B., Green, L., Rootman, I., Settings for Health Promotion: Linking Theory & Practice. Sage Publications, 1999. Note: “Every human being is the author of his own health or disease.”