SlideShare a Scribd company logo

More Related Content

More from Piyawat Katewongsa (15)

Act19
Act19Act19
Act19
 
Act16
Act16Act16
Act16
 
Act16
Act16Act16
Act16
 
Act15
Act15Act15
Act15
 
Act14
Act14Act14
Act14
 
Act12
Act12Act12
Act12
 
Act11
Act11Act11
Act11
 
Act10
Act10Act10
Act10
 
Act7
Act7Act7
Act7
 
Act6
Act6Act6
Act6
 
Act5
Act5Act5
Act5
 
Intro
IntroIntro
Intro
 
Act4
Act4Act4
Act4
 
Act3
Act3Act3
Act3
 
Act2
Act2Act2
Act2
 

Act18

  • 2. พื้นที่ต้นแบบของกิจกรรม : อ��������������������������������งค์การบริหารส่วนตำ�บลเกาะช้างใต้ จังหวัดตราด ที่มาของกิจกรรม ชุมชนตำ�บลเกาะช้างใต้ ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำ�บลเกาะช้างใต้ได้ส่งเสริมให้มี การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การส่งเสริม อาชีพและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนตำ�บลเกาะช้างยังคงมี วิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยังคงรักษาไว้ เช่น การ ละเล่นกลองยาวของหมู่บ้านสลักคอก ที่มีการสืบทอด กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการละเล่นงานเทศกาล ประเพณีทั่วไป ชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าการละเล่นรำ� กลองยาวประยุกต์ โดยได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทยพื้นบ้านขึ้น เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และ การออกกำ�ลังกายอันนำ�ไปสู่การพัฒนาด้านจิตใจ และ คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนตำ�บลเกาะช้างใต้ “รำ�กลองยาว” หรือเรียกอีกอย่างว่า “การเล่น เถิดเทิง” มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นการละเล่นของพม่า ที่นิยม เล่นกันมาก่อนเมื่อครั้งพม่ามาทำ�สงครามกับไทยในสมัย กรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพัก รบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการละเล่นต่างๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” คนไทยเราได้ เห็นก็จำ�มาเล่นกันบ้าง และยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่ง ซึ่งดนตรีไทยนำ�มาใช้บรรเลง มีทำ�นองเป็นเพลงพม่า เรียกกันมาแต่เดิมว่า “เพลงพม่ากลองยาว” ต่อมาได้ มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ� กำ�หนดให้ผู้รำ�แต่งตัวใส่เสื้อ นุ่งโสร่ง ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่นๆ บ้างตามแต่ จะให้สีสลับกัน เห็นสวยอย่างแบบระบำ�) มือถือขวาน ออกมาร่ายรำ�เข้ากับจังหวะเพลง ซึ่งเรียกเพลงนี้กัน อีกชื่อหนึ่งว่า “เพลงพม่ารำ�ขวาน” อีกความหนึ่งมี ผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้ เพิ่งมีเข้ามาใน เมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่าย ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบ ทุกหัวบ้านหัวเมืองสืบมาจนตราบทุกวันนี้ กลองยาว ที่เล่นกันในวงหนึ่งๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพาย เฉวียงบ่าของผู้ตี ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนัง ด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว บานปลายเหมือน กับกลองยาวของชาวเชียงใหม่ แต่กลองยาวของชาว เชียงใหม่เป็นกลองยาวจริงๆ ยาวถึงประมาณ 2 วา ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้ ยาวเพียงประมาณ 3 ศอกเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มากทางภาค อีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า “กลองหาง” กลองยาว แบบนี้ของพม่าเรียกว่า “โอสิ” มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม เว้นแต่ กลองยาว ของชาวไทยอาหมรูปร่างจะคล้ายตะโพน คือ หัวท้าย เล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน ขึ้นหนังทั้งสองข้าง ผูกสายสะพายตีได้ ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของ พม่าและกลองของชาวไทยอาหม ดูวิธีการเล่นเป็น แบบเดียวกัน อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้ เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี ณ นครย่างกุ้งและ มัณฑเลย์ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ 2509 ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่ง เป็นผู้นำ�ชมพิพิธภัณฑ์สถานและโบราณสถานเรื่อง กลองยาว และได้กล่าวว่า พม่าได้กลองยาวมาจาก ไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้อง ซึ่งคงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไปเพื่อให้ต่าง กับการเล่นอย่างอื่น แนวทางการดำ�เนินกิจกรรม กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ประชาชนในพื้นที่ตำ�บล เกาะช้างใต้ จังหวัดตราดได้หยิบเอาประเพณีใกล้ตัว มาริเริ่มเป็นกิจกรรมส่งเสริมการออกกำ�ลังกาย โดย เริ่มจากการอบรมแกนนำ�ดำ�เนินกิจกรรมเพื่อถ่ายทอด กิจกรรมในแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มที่ สำ�คัญ กลุ่มแรกจะเป็นประชาชนที่มีความสนใจใน การตีกลองยาวเพื่อให้จังหวะ ขณะที่อีกกลุ่มจะเป็น ประชาชนที่มีความชอบ หรือนิยมในการร่ายรำ� เมื่อ ได้กลุ่มผู้ประกอบกิจกรรมทั้งสองกลุ่มแกนนำ�นี้แล้ว จึงนำ�กิจกรรมดังกล่าวไปดำ�เนินการออกกำ�ลังกายใน พื้นที่ รวมทั้งทำ�การประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นความ สนใจของประชาชน จากนั้นจึงได้กำ�หนดวันเพื่อแสดง ผลงานของแต่ละชุมชน รำ�กลองยาวประยุกต์
  • 3. เป้าหมาย 1. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างใน การเสริมสร้างสุขภาพ 2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการละเล่นพื้นบ้าน ด้วยการเล่นเพลงกลองยาว 3. เพื่อนำ�ศิลปะการละเล่นพื้นบ้านมาประยุกต์ ใช้ในการออกกำ�ลังกาย 4. เพื่อให้เกิดพื้นที่ในการถ่ายทอดศิลปะการตี กลอง และการรำ�ตามจังหวะกลองยาวให้กับประชาชน ในชุมชนที่สนใจ ประโยชน์ 1. ทำ�ให้ประชาชนมีสุขภาพและจิตใจแข็งแรง จากการเล่นและรำ�กลองยาวประยุกต์ 2. ทำ�ให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน 3. ทำ�ให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการ พบปะพูดคุย และทำ�กิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน 4. ทำ�ให้ประชาชนมีความรู้ด้านทักษะการ ละเล่นกลองยาวและรำ�กลองยาวประยุกต์ 5. ทำ�ให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ระยะเวลาที่ใช้ การละเล่นกลองยาวและรำ�กลองยาว ถือได้ว่า เป็นการออกกำ�ลังกายชนิดหนึ่ง ดังนั้น ระยะเวลา ในการการละเล่นกลองยาวและรำ�กลองยาว ควร อยู่ระหว่าง 30-60 นาที ต่อเนื่องกันหรือขึ้นอยู่กับ อิริยาบถ ระดับความหนักของจังหวะ ท่าทางของการ ออกกำ�ลังกายจากการละเล่นกลองยาว กลุ่มของผู้เล่น การละเล่นกลองยาว หรือรำ�กลองยาวประยุกต์ นั้น ถ้าหากเล่นเพื่อสุขภาพและนันทนาการ ประชาชน ทั่วไปที่สนใจสามารถเล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย จำ�นวนผู้เล่น จำ�นวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นกลองยาวจะ แบ่งออกเป็น 2 ชุด คือชุดผู้ที่บรรเลงดนตรีและชุด ของผู้ที่รำ�กลองยาวประยุกต์ โดยชุดผู้ที่ต้องบรรเลง ดนตรีจะต้องมีผู้บรรเลงอย่างน้อย 8 คน คนตีกลอง ยาว (กลองยาวสามารถเล่นกันได้หลายๆ ลูก) และมีผู้ เล่นประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่งฉาบ โหม่ง ฆ้อง เป็นต้น และในส่วนของชุดผู้รำ�กลองยาวนั้น หากเป็นการรำ� เพื่อสุขภาพและนันทนาการ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่จำ�กัดจำ�นวน อุปกรณ์ที่ใช้ 1. กลองยาว 4 ใบ 2. ฉิ่ง 1 คู่ 3. ฉาบ 1 คู่ 4. โหม่ง 1 ใบ 5. ฆ้อง 1 ใบ สถานที่ ลักษณะของพื้นที่ในการใช้เล่นกลองยาวและรำ� กลองยาวประยุกต์เป็นลานที่มีบริเวณกว้าง ขั้นตอนการละเล่นรำ�กลองยาว 1. ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) การอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นหรือรำ�กลองยาวเพื่อสุขภาพ มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือด การทำ�งานของหัวใจและกล้ามเนื้อลาย เป็นการเพิ่ม อุณหภูมิของร่างกายวิธีการอบอุ่นร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มจังหวะการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขึ้นไปตามลำ�ดับเพื่อเตรียมร่างกายสำ�หรับระดับการละ เล่นที่หนักขึ้น โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 นาที 2. ขั้นตอนการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretch- ing) ในการละเล่นหรือรำ�กลองยาวควรมีการยืดเหยียด กล้ามเนื้อและกายบริหารแบบเบาๆ เช่น ข้อมือ ข้อศอก แขน หัวไหล่ ขา หลังส่วนล่าง ข้อตะโพก ขาหนีบ และ ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการทำ�กิจกรรม เพื่อช่วยลดโอกาสการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อ อันเนื่องมาจากอาการบาดเจ็บในระหว่างการละเล่น 3. ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายด้วยอุปกรณ์การ ละเล่นกลองยาว การอบอุ่นร่างกายด้วยการตีกลอง ยาวนั้น เป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพื่อ ให้ร่างกายพร้อมที่จะทำ�การละเล่นกลองยาวโดยใช้ ทักษะการของการละเล่นอุปกรณ์นั้นๆ และทำ�ให้ ร่างกายพร้อมที่จะทำ�การเคลื่อนไหวในท่าทางที่ใช้เมื่อ ทำ�กิจกรรมจริง นอกจากนี้ เป็นการช่วยฝึกฝนทักษะ พื้นฐาน เพื่อให้เกิดความเคยชิน และสร้างความพร้อม ให้กับร่างกายในบริเวณกล้ามเนื้อที่จะต้องใช้ในการละ เล่นรำ�กลองยาวประยุกต์อีกด้วย 4. ขั้นตอนการละเล่นรำ�กลองยาวประยุกต์ 161
  • 4. ก่อนการแสดงท่ารำ�กลองยาวเพื่อสุขภาพจำ�เป็น ต้องมีการมีการอบอุ่นร่างกาย ท่าที่รำ�มีจังหวะสอดคล้อง กับจังหวะของกลองยาว ซึ่งภาพรวมของการแสดงท่า รำ�จะเน้นให้ทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหว เพื่อให้ ได้ประโยชน์สูงสุดในการออกกำ�ลังกาย ท่าที่ 1 ขณะที่กลองยาวบรรเลงเพลง ผู้รำ�ย่ำ� เท้าทั้งสองข้างอยู่กับที่ ท่าที่ 2 ยืนเท้าชิด แขนแนบลำ�ตัว หันหน้าไป ทางซ้ายและขวาสลับกัน จำ�นวน 10 ครั้ง ท่าที่ 3 ยืนเท้าชิด แขนแนบลำ�ตัว ก้มหน้าลง เงยหน้าขึ้น สลับกัน จำ�นวน 10 ครั้ง 162
  • 5. ท่าที่ 4 ยืนแยกเท้าพอสมควร แขนซ้ายแนบ ลำ�ตัว แขนขวากางออกเล็กน้อย ดึงไหล่ขวามาทาง ซ้าย และสลับเป็นอีกข้าง จำ�นวนข้างละ 5 ครั้ง ท่าที่ 5 ยืนแยกเท้าพอสมควร กางแขนทั้งสอง ข้างออกเล็กน้อย ยกไหล่ขึ้นสลับกันซ้ายขวา จำ�นวน 10 ครั้ง ท่าที่ 6 ยืนแยกเท้าพอสมควร แขนซ้ายแนบ ลำ�ตัว ยกไหล่ขวาขึ้น จำ�นวน 5 ครั้ง แล้วเปลี่ยนไป ยกข้างซ้ายในลักษณะเช่นเดิม จำ�นวน 5 ครั้ง จาก นั้น ยกทั้งซ้ายและขวาสลับกัน จำ�นวน 10 ครั้ง ท่าที่ 7 ยืนแยกเท้าพอสมควร ยกศอกตั้งฉาก ชิดศอกเข้าหากัน แล้วกางศอกออก จำ�นวน 10 ครั้ง 163
  • 6. ท่าที่ 8 ยืนแยกเท้าพอสมควร บิดลำ�ตัวไปทาง ด้านซ้าย ยกแขนทั้งสองข้างพับงอเข้าหาลำ�ตัวระดับ อก แล้วปล่อยแขนทั้งสองไปด้านหลัง พร้อมกับแอ่น หน้าอกไปข้างหน้า จำ�นวน 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนไป ทางขวาอีก 10 ครั้ง ท่าที่ 9 ยืนแยกเท้าพอสมควร บิดลำ�ตัวไปทาง ด้านซ้าย ยกแขนขวาขึ้น โน้มตัวไปข้างหน้าแล้วดึง มาข้างหลัง จำ�นวน 10 ครั้ง แล้วก้มใช้มือทั้งสอง ข้างแตะพื้นบริเวณปลายเท้าซ้าย จำ�นวน 10 ครั้ง และสลับไปเป็นด้วนขวา จำ�นวน 10 ครั้ง จากนั้น ก้มใช้มือทั้งสองข้างแตะพื้นบริเวณตรงกึ่งกลางเท้า ทั้งสองข้าง จำ�นวน 5 ครั้ง ท่าที่ 10 ยืนแยกเท้าพอสมควร ยกมือทั้ง สองข้างเหนือศีรษะ โน้มเอียงลำ�ตัวไปทางด้านซ้าย จำ�นวน 10 ครั้ง จากนั้นพับงอเข่าซ้าย ย่อตัวลง ไป มือดันหน้าขาซ้ายด้านบน ขาขวาเหยียดตรง กด ลงเบา จำ�นวน 10 ครั้ง และต่อเนื่องด้วยหันหน้า ไปทางซ้าย พับงอเข่าซ้าย มือขวาแตะพื้น ขาขวา เหยียดตรง โน้มตัวลงเบาๆ จำ�นวน 10 ครั้ง 164
  • 7. ท่าที่ 11 ยืนแยกเท้าพอสมควร พับข้อศอก ทั้งสองข้างให้ปลายนิ้วมือเข้าหากันบริเวณหน้าอก คว่ำ�มือทั้งสองลดลงข้างล้าง พร้อมย่อเข่าเล็กน้อย จำ�นวน 10 ครั้ง แล้วดันมือทั้งสองลักษณะหงายขึ้น ข้างบน จำ�นวน 10 ครั้ง ท่าที่ 12 ยืนแยกเท้าพอสมควร พับแขนทั้ง สองข้างขึ้นมาตรงหน้าเล็กน้อย ย่อเข่าพร้อมกับดับ แขนสลับกันซ้ายขวา จำ�นวน 10 ครั้ง 165
  • 8. ท่าที่ 13 เป็นต้นไป เป็นการนำ�ศิลปะมวยไทยเข้ามาประยุกต์ใช้ในการออกกำ�ลังกายให้เข้ากับจังหวะ กลองยาว ซึ่งมีท่าหลัก คือ ต่อย ศอก เข่า เตะ เป็นต้น 166
  • 9. หลังการละเล่นรำ�กลองยาว หลังจากที่ออกกำ�ลังกายรำ�กลองยาวประยุกต์สิ้นสุดลง มีความจำ�เป็นในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบ ช้าๆ ซึ่งจะช่วยปรับระบบการหายใจให้เป็นปกติ และรักษาระดับออกซิเจนในร่างกาย โดยอาจใช้การลด ระดับความหนักของท่ารำ� จังหวะการตีกลองและอุปกรณ์ของเครื่องดนตรีให้ช้าลงคล้ายๆ กับตอนอบอุ่น ร่างกายของช่วงแรก อีกทั้ง ผู้เล่นควรทำ�การยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่คล้ายกับช่วงก่อนการเล่น ซึ่งจะช่วยใน การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือทำ�ให้กล้ามเนื้อกลับคืนสภาพปกติ เพื่อลดอาการตึง เกร็ง ของกล้ามเนื้อใน วันถัดไปลดลง และไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย 167