SlideShare a Scribd company logo

More Related Content

More from Piyawat Katewongsa (13)

Act13
Act13Act13
Act13
 
Act12
Act12Act12
Act12
 
Act11
Act11Act11
Act11
 
Act10
Act10Act10
Act10
 
Act9
Act9Act9
Act9
 
Act7
Act7Act7
Act7
 
Act6
Act6Act6
Act6
 
Act5
Act5Act5
Act5
 
Intro
IntroIntro
Intro
 
Act4
Act4Act4
Act4
 
Act3
Act3Act3
Act3
 
Act2
Act2Act2
Act2
 
Act1
Act1Act1
Act1
 

Act16

  • 2. พื้นที่ต้นแบบของกิจกรรม : องค์การบริหารส่วนตำ�บล ชะแล้ จังหวัดสงขลา ที่มาของกิจกรรม ตำ�บลชะแล้ เป็นชุมชนเก่าแก่ ตั้งอยู่ในลุ่ม ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยมีหลักฐานทางโบราณสถาน เช่น วัดชะแล้ 550 เป็น 1 ใน 4 ของวัดเก่าแก่ที่สุดของลุ่มน้ำ� จึง อนุมานได้ว่าชุมชนแห่งนี้ย่อมมีประวัติศาสตร์ที่เจริญ รุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน ประกอบกับเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เชิงเขาย่อมๆ สภาพดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก มี แหล่งน้ำ�ที่เป็นน้ำ�จืดคุณภาพดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญของ การเลือกถิ่นฐานของคนโบราณ จากความสมบูรณ์ของ ทรัพยากรดิน น้ำ� ในพื้นที่แห่งนี้ทำ�ให้ผู้คนมีความมั่งคั่ง ด้วยผลผลิตทางเกษตรกรรม และเป็นเหตุผลสำ�คัญที่ ทำ�ให้ผู้คนพื้นที่แห่งนี้มีเวลาว่างมาก จึงได้สนใจการ ละเล่นพื้นบ้าน ฝึกหัดลูกหลานในด้านศิลปะประจำ�ถิ่น และศิลปินพื้นบ้าน เช่น โนราห์ และหนังตะลุง จากมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นหนึ่งในทุนทาง สังคมที่สำ�คัญของพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำ�บล ชะแล้ ได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมมาโดยตลอด เช่น การอุดหนุนงบประมาณแก่ชมรมมโนราห์เพื่อฝึกบุตร หลานให้อนุรักษ์และสืบทอด การส่งเสริมโดยจัดให้ มีการแสดงในงานประเพณีประจำ�ปีของตำ�บล เช่น งานชักพระ งานลอยกระทง และได้มีการสนับสนุน ให้ประยุกต์ใช้ท่ารำ�โนราห์เพื่อการออกกำ�ลังกาย เพราะท่ารำ�ต่างๆ ของโนราห์ซึ่งมีประมาณ 30 ท่า เป็นการใช้สรีระของร่างกายเกือบครบถ้วน เช่น ขา แขน นิ้ว มือ น่อง หัวไหล่ สะโพก คอ เข่า ซึ่ง เป็นศาสตร์แห่งการออกกำ�ลังกายสมัยใหม่ พบว่า มีประโยชน์แก่ร่างกาย เป็นหนึ่งในแนวทางสำ�คัญของ การสร้างสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่ม อายุในชุมชน ได้ออกกำ�ลังกายเพื่อสร้างสุขภาพต่อ ตัวเอง และสมาชิกในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ให้ทุกลุ่มอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และเพื่ออนุรักษ์ ศิลปะประจำ�ถิ่น รวมถึงการประยุกต์วัฒนธรรมพื้น บ้านที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนและเป็นการ ตอบสนองกลยุทธ์ในการสนับสนุนการออกกำ�ลังกาย ของชุมชนเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำ�คัญอันดับ ต้นๆ ของการสร้างสุขภาพโดยใช้มรดกทางวัฒนธรรม ดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำ�บลชะแล้จึงได้จัดให้ มีกิจกรรมออกกำ�ลังกายเพื่อสร้างสุขภาพด้วยการรำ� โนราห์และประยุกต์ใช้โนราบิก แนวทางการดำ�เนินกิจกรรม โนราบิก เป็นการประยุกต์ประเพณีการแสดงรำ� มโนราห์ ที่เป็นประเพณีที่ได้รับความนิยมอย่างกว้าง ขวางของประชาชนที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ ผสมผสาน เข้ากับการเต้นแอโรบิคที่เป็นท่าเต้นสากลเข้าด้วยกัน อย่างลงตัว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้ ประชาชนได้ออกกำ�ลังกายเพื่อสร้างสุขภาพอย่างต่อ เนื่อง โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประยุกต์เพื่อ ออกกำ�ลังกายของประชาชนสามวัย อันประกอบด้วย วัยเด็ก วัยทำ�งาน และวัยสูงอายุ สำ�หรับกิจกรรมที่ดำ�เนินในพื้นที่ต้นแบบนี้เน้นให้ เกิดการออกกำ�ลังกายกระจายและครอบคลุมสู่ชุมชน ทั้งตำ�บลใน 5 หมู่บ้าน โดยมีการจัดการอบรมเพื่อ ประชาชนสามารถใช้ประกอบการฝึกฝนและเรียนรู้ การออกกำ�ลังกายด้วยท่ารำ�โนราอย่างทั่วถึง รวมทั้งสิ้น ประมาณ 500 คน นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกวิทยากรที่ สามารถถ่ายทอดท่ารำ�ประยุกต์ โนราบิก ได้ทั้งผู้ใหญ่ และเด็กเยาวชนอย่างน้อย 10 คนด้วย หลังจากฝึกฝน การรำ�ในแต่ละหมู่บ้านแล้ว คณะผู้ดำ�เนินกิจกรรมได้ จัดให้มีการแสดงของทุกพื้นที่เพื่อเป็นการกระตุ้นแรง จูงใจในการนำ�กิจกรรมดังกล่าวไปสานต่อในท้องถิ่น อย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ ออกกำ�ลังกายเพื่อสร้างสุขภาพ 2. เพื่อให้เกิดการกระตุ้นให้ชุมชนสนใจ การออกกำ�ลังกายอย่างต่อเนื่องและมากขึ้น 3. เพื่อส่งเสริมการใช้ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น มาประยุกต์เพื่อออกกำ�ลังกาย เป้าหมายของกิจกรรม 1. การออกกำ�ลังกายได้กระจายและครอบคลุม สู่ชุมชนทั้งตำ�บลใน 5 หมู่บ้าน การรำ�โนราบิก
  • 3. 2. มีการออกกำ�ลังกายทั้งเพศชาย/หญิง และเด็ก เยาวชน 3. ประชาชนสามารถใช้ประกอบการฝึกฝนและ เรียนรู้การออกกำ�ลังกาย ด้วยท่ารำ�โนราห์อย่างน้อย 500 คนๆ ละไม่ต่ำ�กว่า 10 ท่ารำ� 4. เกิดกลุ่มโนราบิกในหมู่บ้าน 5 หมู่ๆ ละ 1 กลุ่ม 5. มีวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดท่ารำ�ประยุกต์ โนราบิก ได้ทั้งผู้ใหญ่ และเด็กเยาวชนอย่างน้อย 10 คน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. มีหน่วยการออกกำ�ลังกายกระจายและครอบคลุม สู่ชุมชนมาก 2. ประชาชนได้ใช้เพื่อประกอบการฝึกฝนเรียนรู้ การออกกำ�ลังกายในรูปแบบต่างๆ 3. ประชาชนในแต่ละชุมชน/หมู่บ้านถูกกระตุ้น ให้ออกกำ�ลังกายอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาในการเล่น : ประมาณ 45 นาที กลุ่มผู้เล่น : เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป และผู้สูงอายุ จำ�นวนผู้เล่น : ไม่จำ�กัดจำ�นวน อุปกรณ์ที่ใช้ : ดนตรีประกอบท่ารำ� การรำ�โนราบิก การรำ�โนราบิก เป็นการดัดแปลงท่ารำ�จากศิลปะ พื้นบ้าน จากท่ารำ�มโนราห์โบราณ โดยทำ�การเลือก ท่ารำ�ที่เหมาะสมกับการบริหารร่างกายของผู้สูงอายุ จึงทำ�ให้สามารถใช้บริหารร่างกายได้ทุกวัย จากนั้น นำ�มาทำ�การประยุกต์โดยการผสมผสานกับการเต้น แอโรบิค ดัดแปลงจนได้ 15 ท่ารำ� ในแต่ละท่าของ โนราบิก จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นและความสมดุลของร่างกายแตกต่าง กันออกไปตามท่าเต้นต่างๆ โดยใช้ดนตรีประกอบ ในการรำ�โนราบิกจะแบ่งท่ารำ�ของเป็น 3 ช่วง ได้แก่ การอบอุ่นร่างกาย การออกกำ�ลังกาย(ท่วงท่าจะเร็วกว่า เดิม) และท่าการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยท่าการรำ� ช่วงแรกจะเป็นท่าของการอบอุ่นร่างกาย เพื่อเตรียม ความพร้อมของร่างกายทุกส่วน ที่จะใช้ในการร่ายรำ� ซึ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ จากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เนื่องจากการรัดและการ เกร็งตัวของกล้ามเนื้อในขณะทำ�การร่ายรำ� ท่าสำ�หรับ อบอุ่นร่างกาย คือท่าที่ 1-3 คือ ได้แก่ ท่าเทพพนม ท่าคำ�นับและท่ากางมือ ซึ่งทั้ง 3 ท่านี้ จะเป็นท่า สำ�หรับการยืดเส้น ยืดสาย เพื่อให้กล้ามเนื้อและ ข้อต่อต่างๆ มีความอ่อนตัวและยืดหยุ่นได้ดี นอกจาก นี้ยังเป็นการฝึกการทำ�งานของระบบประสาทและ กล้ามเนื้อให้ทำ�งานสัมพันธ์กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนการรำ�ผู้รำ�ควรบริหารร่างกายก่อนรำ�ประมาณ 5-10 นาที ท่าอบอุ่นร่างกายท่าที่ 1 ท่าเทพพนม เป็นการบริหารร่างกายแบบช้า เน้นการใช้กล้าม เนื้อส่วนแขน และขา ผู้รำ�ในท่านี้จะต้อง ยืนตัวตรง ปลายเท้าเสมอกัน ให้ระยะห่างกันเล็กน้อย พนมมือ ทั้ง 2 ข้างไว้ระดับอก ย่อเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้น พร้อม กับวาดมือทั้ง 2 ข้างให้เป็นวงกลมในขณะที่ย่อตัวลง และกลับมาในท่ายืนตรงพนมมือ 2. ท่าย่อเข่าและวาดมือให้เป็นวงกลม 3 .กลับมาในท่ายืนตรงพนมมือ 1. ยืนตรงพนมมือ 131
  • 4. ท่าอบอุ่นร่างกายท่าที่ 2 ท่าคำ�นับ ท่านี้ เป็นการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อแขน ขา และ ข้อเท้า ซึ่งเป็นท่ารำ�ต่อเนื่องหลังจากสิ้นสุดการรำ�ใน ท่าที่ 1 (ผู้รำ�จะอยู่ในท่ายืนตัวตรงพนมมือ) ในท่านี้ ผู้รำ�จะต้องใช้มือทั้งสองข้าง คว่ำ�มือลง โดยที่ปลาย นิ้วจีบเข้าหากันนำ�ไปแตะที่บริเวณหัวเข่า ทั้ง 2 ข้าง (แขนซ้ายแตะเข่าซ้ายแขนขวาแตะเข่าขวา) พร้อม กับย่อตัวลง ในขณะที่ย่อตัวลง ให้ก้มหัวลงเหมือน กับการคำ�นับ จากนั้นค่อยๆยืดตัวขึ้น แขนทั้ง 2 ข้าง เหยียดตรงไปข้างหน้า โดยที่นิ้วมือยังอยู่ในท่าจีบ ยกขึ้นไปจนสุดแขนให้อยู่เหนือศรีษะ เมื่อแขนทั้ง 2 ข้างเหยียดขึ้นไปจนสุดแขนให้หงายข้อมือพร้อมกับยก ส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย จากนั้น ค่อยๆ ยกแขนทั้ง 2 ข้าง ลงให้ตั้งฉากกับลำ�ตัว ย่อเข่า และก้มหัวลง พร้อมกับ คว่ำ�ข้อมือลง จีบปลายนิ้วและแตะที่หัวเข่าทั้ง 2 ข้าง จากนั้นให้ทำ�สลับขึ้นบนและล่างไปเรื่อยๆ ท่าอบอุ่นร่างกายท่าที่ 3 ท่ากางมือ ท่านี้จะเน้นการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ แขน ขา ข้อมือและข้อเท้า โดยการสะบัดข้อมือไปมา ทางซ้ายและขวาสลับกัน เมื่อสลับข้อมือไปทางซ้าย ให้ผู้รำ�หงายมือซ้ายขึ้น ส่วนมือขวาจับจีบพร้อมกับ คว่ำ�ข้อมือลง เริ่มจากซ้ายสลับกับขวาไปเรื่อยๆ ส่วน เท้าทั้งสองข้างให้ยืนด้วยปลายเท้าสลับไปมา เมื่อ สะบัดข้อมือไปทางซ้าย ให้ยกส้นเท้าขวาขึ้นเล็กน้อย โดยให้น้ำ�หนักทั้งหมดไปที่เท้าซ้ายโดยไม่มีการขยับ เช่นเดียวกันหากสะบัดข้อมือไปทางขวาให้ยกส้นเท้า ซ้ายขึ้นเล็กน้อย ทำ�อย่างนี้สลับกันไปเรื่อยๆ ท่าออกกำ�ลังกายท่าที่ 4 ท่ากระบี่ตีท้า เป็นท่าที่บริหารได้ทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่ ลำ�ตัว คอ มือ แขน ข้อเท้า ท่านี้คล้ายๆกับท่าบริหาร ร่างกายแบบ “แตะสลับ” ไปมาทั้งซ้ายและขวาอย่าง ละครั้ง โดยท่านี้จะเริ่มนับจากขวาเป็นท่าแรก ผู้รำ�จะ ต้องยืดขาขวา ออกไปด้านข้างใช้ปลายเท้าสัมผัสกับ พื้นโดยยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย ลำ�ตัวเฉียง 45 องศา ให้สะโพกเฉียงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแขนข้าง ที่แตะ กล่าวคือ หากใช้แขนขวาแตะไปที่ขาขวา สะโพกจะต้องเฉียงไปทางซ้าย จากนั้นใช้แขนขวายืด ตรงแตะ ไปที่ขาขวา บริเวณข้างๆหัวเข่า โดยก้มตัว เล็กน้อย ปลายนิ้วมืออยู่ในลักษณะ ท่าจีบหงาย ส่วน แขนซ้าย ยกข้อศอกขึ้นตั้งฉากกับลำ�ตัวในท่าตั้งวงสูง สำ�หรับการแตะสลับในด้านซ้ายก็ทำ�เช่นเดียวกัน เริ่ม จากการยืดขาซ้ายออกไปด้านข้างใช้ปลายเท้าสำ�ผัส กับพื้น ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย ลำ�ตัวเฉียง 45 องศา ให้สะโพกเฉียงไปทิศทางขวา ยืดแขนซ้ายไปแตะขา ซ้ายบริเวณข้างหัวเข่า หงายข้อมือขึ้นโดยให้นิ้วมือ อยู่ในท่าจีบหงาย และใช้หลังมือแตะบริเวณข้างหัว เข่า แขนขวายกข้อศอกขึ้นตั้งฉากกับลำ�ตัวในท่าตั้ง วงสูง ทำ�สลับไปกันอย่างต่อเนื่อง ลักษณะการยืนด้วยเท้าเปล่า ในช่วงของการสลับข้อมือ 132
  • 5. วิธีปฎิบัติ 1. ย่อเข่าข้างซ้าย และเหยียดขาขวาให้ตรง 2. เอียงลำ�ตัวไปทางขวา ก้มตัวเล็กน้อย ยกแขน ซ้ายตั้งวงสูง แขนขวาแตะที่ไปหัวเข่าขวา 3. ย่อเข่าขวา และเหยียดขาซ้าย 4. เอียงลำ�ตัวไปทางซ้าย ก้มตัวเล็กน้อย ยกแขน ขวาตั้งวงสูง แขนซ้ายแตะไปที่หัวเข่าขวา 5. ปฎิบัติตามข้อที่ 1-4 อย่างต่อเนื่อง ท่าบริหารร่างกายท่าที่ 5 ท่ากรีดผ้า เป็นการบริหารร่างกายที่เพิ่มความเร็วขึ้นจากท่า ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงการออกกำ�ลังกาย ในท่านี้ เป็นท่ารำ�ต่อเนื่องจากท่าที่ 4 คือท่า กระบี่ตีท้า ลักษณะ การรำ�จึงคล้ายกับท่าที่ 4 โดยจะทำ�การเปลี่ยนแปลง ท่ารำ�เฉพาะการเคลื่อนไหวส่วนเท้าและขาทั้ง 2 ข้าง เท่านั้น ส่วนการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นลักษณะของการ ร่ายรำ�ส่วนแขนและมือจะยังคงท่าเดิมของท่าที่ 4 ไว้เช่น เดิม ดังนั้นในท่านี้จะขออธิบายโดยเน้นการเคลื่อนไหว ของเท้าและขาเป็นหลัก เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของการเคลื่อนไหวระหว่างแขนและขามากยิ่งขึ้น การเคลื่อนไหวของท่านี้ ผู้รำ�จะทำ�การขยับเท้าและขาทั้ง 2 ข้างให้เคลื่อนไหวไปมาในลักษณะของการ “ไขว้ขา” และทรงตัวโดยใช้ขาหลัก(สลับขาทั้ง 2 ข้างไปเรื่อยๆ ในขณะรำ�) ส่วนขาอีกข้างให้ใช้การไขว้จากด้านหน้าไป ด้านหลัง และใช้ปลายเท้าของข้างที่ไขว้สัมผัสกับพื้น ทำ�อย่างนี้สลับกันไปเรื่อยๆทั้งซ้ายและขวาตามจังหวะ ของเพลง เช่นเดียวกับแขนของผู้รำ�จะต้องทำ�การสลับ ไปมาด้วย ข้อควรจำ�อย่างง่ายสำ�หรับท่านี้คือ หาก ผู้รำ�ใช้ขาข้างใดก็ตามในการไขว้ขาเพื่อแตะสลับ ให้ใช้แขนข้างเดียวกับขาที่ทำ�การไขว้ ยกขึ้นเหนือศีรษะ เล็กน้อย ปลายนิ้วมืออยู่ในลักษณะท่ารำ� ที่เรียกว่า การ “ตั้งวงสูง” ในท่ารำ�ของการรำ�วงแบบมาตราฐาน ผู้รำ�ในท่านี้หากย่อตัวลงเล็กน้อยในระหว่างการไขว้ขา จะทำ�ให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น ลักษณะการตั้งวง 133
  • 6. ท่าบริหารร่างกายท่าที่ 6 ท่าโยนสาม เป็นท่าเต้นที่ช่วยในการบริหารกล้ามเนื้อ เข่า ข้อมือ ข้อเท้า ขา มีจังหวะการเต้นที่เร็วกว่าเดิมมาก ยิ่งขึ้น การเคลื่อนไหวของท่านี้คล้ายๆกับการ “แตะ สลับเข่า” ผู้รำ�จะต้องยกเข่าขึ้นให้อยู่ในระดับเดียวกับ เอวและใช้มือข้างเดียวกับเข่าข้างที่ยกขึ้น นำ�มาแตะ บริเวณหัวเข่า เช่น ยกเข่าข้างขวาขึ้น ก็ให้ใช้มือข้าง ขวามาแตะบริเวณหัวเข่า เช่นเดียวกัน หากยกเข่า ซ้ายก็ให้ใช้มือซ้ายในการแตะสลับ โดยให้มือที่ใช้แตะ อยู่ในลักษณะท่า “จีบหงาย” ส่วนมืออีกข้างให้ ยก ขึ้น ตั้งข้อศอกให้ขนานกับหัวไหล่ มืออยู่ในท่าตั้งวงสูง ทำ�สลับกันไปมาทั้งซ้ายและขวา ตามจังหวะของเพลง ที่ใช้ในการประกอบการรำ� วิธีปฎิบัติ 1. ยกเข่าซ้าย มือซ้ายจีบหงาย แตะบริเวณหัว เข่าซ้าย 2. มือขวาอยู่ในท่าตั้งวงสูง 3. สลับเปลี่ยนจากซ้ายไปขวา โดยยกเข่าขวา มือขวาจีบหงายแตะบริเวณหัวเข่าขวา 4. มือซ้ายอยู่ในท่าตั้งวงสูง 5. ปฎิบัติซ้ำ�ข้อที่ 1-4 อย่างต่อเนื่อง ท่าบริหารร่างกายท่าที่ 7 ท่าสอดสร้อย เป็นการบริหารร่างกาย ทุกส่วนของลำ�ตัว ท่านี้ คล้ายๆ กับการบิดตัวแล้วโยกลำ�ตัว เคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ไหล่และเอวในการโยกตัวหรือบิดลำ�ตัวไปมา จาก หน้าไปหลังในขณะรำ� เมื่อโยกตัวไปด้านหน้าผู้รำ�จะ ต้องบิดลำ�ตัวไปทางซ้าย โดยใช้เอวและไหล่ เมื่อโยก ลำ�ตัวไปทางด้านหลังให้บิดลำ�ตัวไปทางซ้ายโดยใช้เอว และไหล่ โดยจะทิ้งน้ำ�หนักไปข้างหน้าและหลังสลับ กัน ท่านี้ผู้รำ�จะต้องยืนลำ�ตัวตรง ขาทั้งสองข้างอยู่ใน ท่าไขว้ขา โดยใช้ขาซ้ายนำ�ปลายเท้าเฉียงไปทางซ้าย เล็กน้อย และใช้ขาขวาตาม ลักษณะการยืนนี้จะใช้ ตลอดการรำ�ในท่านี้โดยไม่การเปลี่ยนท่ายืน ในระหว่าง การโยกตัวไปมาให้ย่อตัวเล็กน้อย แขนทั้งสองข้างจีบ ปลายนิ้วเข้าหากัน ทำ�การสลับไปมาทั้งซ้ายและขวา เมื่อโยกลำ�ตัวไปทางซ้ายให้ใช้ มือขวาจีบ ปลายนิ้วชี้ เข้าหาลำ�ตัว มือซ้ายอยู่ในลักษณะการตั้งวงสูงในท่ารำ� ให้ปลายนิ้วโค้งเข้าหาข้อมือให้มากที่สุด เมื่อโยกตัว ไปทางขวา ให้ใช้มือซ้ายจีบ ปลายนิ้วชี้เข้าหาลำ�ตัว มือขวาตั้งวงสูง ด้านหน้า 134
  • 7. ท่าบริหารร่างกายท่าที่ 8 ท่าเขาควาย ผสมผาลา เป็นท่ารำ�ประยุกต์ของการรำ�โนราห์ 2 ท่ามา ผสมผสานกัน จึงทำ�ให้การรำ�ในท่านี้มีขั้นตอนการรำ� มากกว่าท่าอื่นๆ ที่ผ่านมา หลักในการรำ�ท่านี้มีหลัก การจำ�ง่ายๆ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน สำ�หรับผู้ที่ เริ่มฝึกฝนเริ่มต้นจะต้องจำ�ไว้ว่า 1. ตำ�แหน่งการเปลี่ยนท่ารำ�ในท่านี้จะมีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับอก ระดับหัวไหล่ และระดับ ศรีษะ โดยเรียงตามลำ�ดับจากที่กล่าวมา 2. การรำ�ท่านี้จะเน้นการหมุนข้อมือและหัวไหล่ เป็นหลัก โดยทำ�การสลับกันเริ่มจากการหมุนข้อมือขวา แล้วจึงตามด้วยซ้ายเสมอ ยกเว้นเพียงระดับศรีษะ เท่านั้นจะใช้แขนทั้ง 2 ข้างทำ�พร้อมกัน 3. ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนท่ารำ�จะต้อง “ย่อตัว” ก่อน 1 ครั้งเสมอ จึงจะเปลี่ยนท่ารำ�ได้ 4. การยืนในท่านี้จะใช้การยืนแบบ ไขว้ขา โดยใช้ ขาขวานำ� แล้วตามด้วยขาซ้ายโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดการรำ�ในท่านี้ ท่ารำ�ระดับอก เริ่มตั้งแต่การยืนแบบตัวตรงปลายเท้าทั้ง 2 ข้างชิดกัน ยืดแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นไปเหนือศรีษะ จาก นั้นให้ย่อตัวพร้อมกับไขว้ขา โดยใช้ขาขวานำ�ขาซ้าย ตาม ยกแขนลงให้อยู่ระดับอก มือทั้ง 2 ข้างอยู่ใน ท่ารำ�แบบตั้งวงให้ปลายนิ้วมือทั้ง 2 ข้างชี้เข้าหากัน จากนั้น ย่อตัวพร้อมหมุนข้อมือขวาเป็นวงกลมแบบ ทวนเข็มนาฬิกา(แขนซ้ายยังอยู่ในท่าเดิม) แล้วตั้ง ฝ่ามือขวาให้ขนานกับลำ�ตัว จากนั้นให้ย่อตัวอีกครั้ง พร้อมกับหมุนข้อมือซ้ายเป็นวงกลมแบบตามเข็มนาฬิกา ตั้งฝ่ามือให้ขนานกับลำ�ตัวเช่นเดียวกับมือขวา สรุปว่า เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ผู้รำ�จะอยู่ในท่า ยืนแบบไขว้ขา โดยมีขาขวานำ�ซ้ายตาม มือทั้ง 2 ข้าง ตั้งฉากกับลำ�ตัว ท่ารำ�ระดับหัวไหล่ มาต่อกันใน ท่าที่ 2 (โดยท่ารำ�ยังอยู่ในท่าที่ 1) เริ่มต้นด้วยการย่อตัว 1 ครั้ง พร้อมกับหมุนข้อมือขวา เป็นวงกลม(มือซ้ายยังอยู่ในตำ�แหน่งเดิม) ในทิศทาง แบบทวนเข็มนาฬิกา ให้ลักษณะมือขวาอยู่ในท่า ตั้งวงในตำ�แหน่งระดับหัวใหล่ จากนั้น ย่อตัว 1 ครั้ง พร้อมกับหมุนข้อมือซ้ายไปในทิศเดียวกับเข็มนาฬิกา โดย มือซ้ายอยู่ในลักษณะท่าตั้งวงในตำ�แหน่งระดับหัวใหล่ ท่ารำ�ระดับศรีษะ การรำ�ในท่านี้ถือว่าเป็นท่าที่สิ้นสุดการรำ�ในท่าที่ 8 ซึ่งเป็นการรำ�ต่อเนื่องจากระดับอก และระดับหัว ไหล่ เมื่อเสร็จสิ้นการรำ�ระดับไหล่แล้ว ผู้รำ�ซึ่งจะอยู่ ในท่า ยืนแบบไขว้ขา โดยใช้ขาขวานำ� แล้วตามด้วย ซ้าย มือทั้ง 2 ข้างอยู่ในท่าตั้งวง ระดับเหนือหัวไหล่ เล็กน้อย จากนั้นให้ผู้รำ�ย่อตัวพร้อมกับวาดแขนทั้ง 2 ข้างเป็นรูปวงกลม โดยยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นไปเหนือ ศรีษะพร้อมกัน ให้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างโค้งงอเข้าหากัน ให้มากที่สุด เมื่อสิ้นสุดการรำ�ในระดับนี้ ให้ย้อนกลับ ไปทำ�ในท่า ระดับอก และระดับหัวไหล่โดยการำ�แบบ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ด้านข้าง 135
  • 9. ท่าบริหารร่างกายท่าที่ 9 ท่าชูชาย นาถกลาย เป็นการบริหารร่างกายที่ลดการเต้นลง เพื่อ เป็นการสลับเพื่อผ่อนคลาย ไม่ให้หักโหมเกินไปเน้น การใช้ข้อแขน ข้อมือ และนิ้ว วิธีปฎิบัติ 1. ยืนขาไขว้ 2. เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างเฉียงจากล่างขึ้นบนโดย เหวี่ยงจากขวาไปซ้าย 3. เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างจากบนลงล่างในแนว เดียวกัน โดยทำ�สลับกันไปเรื่อยจากขาวไปซ้ายและ ซ้ายไปขวาๆ ย่อตัว 1 ครั้ง หมุนแขนซ้าย ขึ้นในตำ�แหน่งระดับหัวไหล่ ย่อตัว 1 ครั้ง หมุนแขนทั้งสองข้างเข้าหากัน 137
  • 10. ท่าที่ 10 ท่าบัวกางใบ ท่านี้เป็นท่าการบริหารแบบท่าเต้นเบาๆ โดย การขยับเท้าสลับไปมา เริ่มจากเท้าขวาไปเท้าซ้าย ในลักษณะ “ย่อชิด” คล้ายๆกับท่าเต้นแบบสลับเท้า ท่านี้เริ่มจากการยืนในท่าตัวตรง ปลายเท้าเสมอกัน เว้นระยะห่างกันเพียงเล็กน้อย จากนั้นยกเท้าขวามา ชิดเท้าซ้าย พร้อมกับใช้มือทั้ง 2 ข้างกระทบกันเบาๆ จากนั้นยกเท้าขวามาชิดเท้าซ้ายให้ใช้มือทั้งสองข้าง กระทบกัน โดยให้มือทั้งสองข้างอยู่ในท่าจีบ จากนั้น ให้นำ�มือซ้ายทับมือขวา (มือซ้ายจีบหงายมือขวาจีบ คว่ำ�) หากยกเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาให้มือขวาอยู่ใน ท่าตั้งวงสูงส่วนมือซ้ายวาดออกไปข้างลำ�ตัว)ทำ�สลับ กันไปเรื่อยๆ วิธีปฎิบัติ 1. ยืนตรง ใช้มือทั้ง 2 ข้างกระทบกันเบาๆ พร้อม กับยกเท้าขวากระทบพื้น 1 ครั้ง 2. เหวี่ยงแขนขวาขึ้นบน ตั้งวงสูง แขนซ้ายเหวี่ยง ไปด้านหลังข้างลำ�ตัว ขาซ้ายกระทบพื้น 1 ครั้ง 3. ปฎิบัติซ้ำ�ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 อย่างต่อเนื่อง ท่าที่ 11 ท่าเทียนบ่า เป็นท่าบริหารร่างกายที่ยังคงไว้ซึ่งท่าเต้นเบาๆเช่น เดียวกับท่าที่ 10 โดยการขยับเท้าสลับไปมาคล้ายๆการ ยกแล้วชิดแบบการไขว้ขา เริ่มจากเท้าขวาไปเท้าซ้าย แขนทั้ง 2 ข้างยกขึ้นตั้งฉากกับหัวไหล่ มือซ้ายและ ขวาจับจีบคว่ำ�และหงายสลับกันตามการเคลื่อนไหว ของเท้าทั้งสองข้าง เช่น ถ้ายกเท้าขวาไปชิดกับเท้า ซ้ายในลักษณะการชิดแบบไขว้ มือขวาจะจับจีบแบบ คว่ำ� ส่วนมือซ้ายจะจับจีบแบบหงาย กล่าวคือ หากใช้ เท้าข้างใดยกชิดก็ให้ใช้มือข้างเดียวกัน จับจีบแบบคว่ำ� ส่วนเท้าที่เป็นขาหลักให้ใช้มือข้างเดียวกันจับจีบแบบ หงาย การจับจีบทั้งคว่ำ�และหงายนี้จะเน้นการสะบัด ข้อมือและการกรีดนิ้ว ตามจังหวะของเพลงประกอบ การเต้นจะทำ�ให้การเต้นมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น วิธีปฎิบัติ 1. ยกแขนขึ้นตั้งฉากกับลำ�ตัว มือซ้ายจีบคว่ำ� มือขวาจีบหงาย 2. บิดลำ�ตัวไปทางขวา ยกเท้าซ้ายไขว้ขาขวา โดย กระทบพื้น 1 ครั้ง 3. ขยับขาซ้ายไปทางซ้าย มือขวาจีบคว่ำ�มือซ้าย จีบหงาย ขาซ้ายนำ�ไปไขว้กับขาขวา โดยกระทบพื้น 1 ครั้ง 4. ทำ�เช่นเดิมสลับไปมาโดยเรียงลำ�ดับจาก ข้อ 1-3 ทำ�โดยต่อเนื่อง 138
  • 11. ท่าที่ 12 ท่านารายณ์สี่กร เป็นท่าบริหารร่างกายที่ไม่ใช้การเต้น แต่ใช้การ บริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะส่วนแขน หัวไหล่ ข้อมือ วิธีปฎิบัติ 1. แยกแขนทั้งสองข้างโดยวาดเป็นรูปวงกลมขึ้น เหนือศรีษะ 2. ยกแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน จากนั้นหงาย ข้อมือ โดยการจีบหงาย 3. คว่ำ�ข้อมือลง แขนเหยียดตรง ตั้งข้อมือขึ้น 4. ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นมาไว้บริเวณหน้าอก 5. ปฎิบัติซ้ำ�ตามข้อที่ 1-4 ท่าที่ 13 ท่าเขาควายจีบซ้อน เป็นท่าการบริหารร่างกายของท่าเต้นกับท่ารำ� มโนราห์โบราณ เพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ขา แขน คอ มือ และข้อมือ วิธีปฎิบัติ 1. เตะเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ครั้ง พร้อมกับยกมือ ไขว้บริเวณหน้าอก 2. กางแขนทั้งสองข้างออกพร้อมกับเตะเท้าขวา ไปข้างหน้า 1 ครั้ง 3. ปฎิบัติซ้ำ�ข้อ 1-2 อย่างต่อเนื่อง 139