SlideShare a Scribd company logo
1 of 30
Download to read offline
เรียนรู้กับครูอํานาจ
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/thai03/10/contents/folkmusic
13.html เช้าถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2555

          เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงที่กลุ่มชนใน ท้องถิ่นต่างๆ ประดิษฐ์เนื้อหา ท่วงทํานองและ ลีลาการร้อง
การเล่น เป็นแบบแผนตามความ นิยมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อใช้ ร้องเล่นในโอกาสต่างๆ
ได้แก่ งานเทศกาล หรือ ประเพณี เช่น ตรุษสงกรานต์ อุปสมบท ทอด กฐินและลอยกระทง การทํางาน หรือ
ประกอบ อาชีพ เช่น การลงแขกเอาแรงกันปลูกบ้านเกี่ยว ข้าว นวดข้าว เป็นต้น
          เพลงพื้นบ้าน จึงเป็นเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ และเพื่อผ่อน คลายความ
เหน็ดเหนื่อยจากการทํางาน รวมทั้งเพื่อรวมกลุ่มกันประกอบการงานและพิธีกรรม
ที่มาของเพลงพื้นบ้าน
          เพลงพื้นบ้านของไทยเรานั้นมีมาช้านานแล้ว ถ่ายทอดกัน โดยทางมุขปาฐะ จําต่อๆ กันมาหลายชั่ว
อายุคน เชื่อกันว่า มีกําเนิด ก่อนศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราชเสียอีก ต่อ มาค่อยมีชื่อ เสียง มีแบบ
สัมผัสคล้องจอง ท่วงทํานองไป ตามภาษาถิ่นนั้นๆ ใน การขับร้องเพื่อความบันเทิงต่างๆ จะมีจังหวะดนตรี
ท้องถิ่น (Folk music) เข้ามา และมีการร้อง รําทําเพลงไปด้วยจึงเกิดเป็นระบําชาวบ้าน (Folk dance)
เพลงพื้นบ้านใช้ร้องรําในงานบันเทิงต่างๆ มีงานลงแขกเกี่ยวข้าว ตรุษสงกรานต์ ฯลฯ
          สําหรับประวัติ ความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านในประเทศไทยนั้น มีมา นาน แล้วดังข้อความในศิลา
จารึก หลักที่ 1 กล่าวว่า “เสียงพาทย์ เสียงพิน เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว”
และในไตร ภูมิพระร่วงของพญาลิไท กล่าวว่า “…บ้างเต้น บ้าง รํา บ้างฟูอนระบํา บรรฤาดุริยดนตรี บ้างดีด
บ้างสี บ้างตี บ้างเปุา บ้างขั บสรรพสําเนียง เสียงหมู่นักคุณจนกันไปเดียรดาษ…" ต่อ มาในสมัยอยุธยา รัชสมัย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มีข้อความใน กฎมณเฑียรบาล ตอนที่ 15 ได้กล่าว ถึงการเล่นร้องเรือ เปุาขลุ่ย
เปุา ปี่ ตีทับ ขับรํา ซึ่งเป็นเพลงและดนตรีสมัยนั้น
          นอกจากนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กล่าวถึงการเล่นเพลง เทพทองของพระมหานาค วัดท่า
ทราย ไว้ในหนังสือปุณโณวาทคํา ฉันท์ เป็นการแสดงที่เป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ในงานสมโภชพระพุทธบาท
สระบุรี ดังนั้นกล่าวได้ว่า ในสมัยอยุธยา มีการกล่าวถึงเพลงพื้น บ้านอยู่ 2 ประการ คือ เพลงเรือ และ
เพลงเทพทอง ต่อมาใน สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านชนิดต่าง มากที่สุด
ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็น “ยุคทอง” ของเพลงพื้นบ้านที่เป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้อง โต้ตอบกัน) เช่น
เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงส่งเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง หลังสมัย รัชกาลที่ 5 อิทธิ พลวัฒนธรรมตะวันตก
ทําให้เกิดเพลงไทยสากลขึ้น เพลงพื้นบ้านจึงเริ่มหมดความนิยมลงทีละน้อยๆ ป๎จจุบันเพลงพื้นบ้าน ได้รับการ
ฟื้นฟูบ้าง จากหน่วยงานที่เห็นคุณค่า แต่ก็เป็นไปในรูปของการอนุรักษ์ไว้ เท่านั้น ป๎ญหาเนื่องมาจากขาด
ผู้สนใจสืบทอด เพลงพื้นบ้านจึงเสื่อมสูญไปพร้อมๆ กับผู้เล่น
          เพลงพื้นบ้านโดยทั่วไปนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด พอจะแยกประเภทได้ดังนี้ คือแบ่งตามผู้เล่นได้ 2
ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1.เพลงเด็ก การเล่น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งในกลุ่มชน จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และเมื่อ
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                           หน้า 1
เรียนรู้กับครูอํานาจ
มีการเล่นเกิดขึ้นก็มักมีบทเพลงประกอบการเล่นด้วย เพลงที่ร้องก็ง่าย ๆ สั้น ๆ สนุกสนาน เช่น รี รี ข้าว สาร,
มอญซ่อนผ้า, จ้ําจี้มะเขือเปราะ , แมงมุมขยุ้มหลังคา เพลงเด็ก จําแนกย่อย ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
                 - เพลงร้องเล่น เช่น โยกเยกเอย, ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง
                 - เพลงหยอกล้อ เช่น ผมจุก, ผมม้า, ผมเปีย, ผมแกละ
                 - เพลงขู่ ปลอบ เช่น แม่ใครมา น้ําตาใครไหล, จันทร์เจ้าขา, แต่ช้าแต่ เขาแห่ยายมา
                 - เพลงประกอบการเล่น เช่น จ้ําจี้มะเขือเปราะ, รี รี ข้าวสาร, มอญซ่อนผ้า
         2. เพลงผู้ใหญ่ เพลงผู้ใหญ่มีหลายประเภทดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากจะให้ความสนุกสนาน
บันเทิงใจแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีร่วมใจกันทําสิ่งต่าง ๆ ของสังคมไทย สภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรม
ประเพณีต่าง ๆ ไว้อย่างน่าศึกษาอีกด้วย ด้านเพลงกล่อมเด็กจะเห็นความรักความผูกพันธ์ใน ครอบครัว
ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตํานาน นิทาน ประวัติศาสตร์ ตลอดจนจินตนาการความรู้สึกนึกคิดของ มนุษย์
เนื่องจากความหลากหลายในเพลงกล่อมเด็ก จึงเป็นเพลงที่มีคุณค่าแก่การรักษาไว้เป็นอย่างยิ่ง เพลงผู้ใหญ่
แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
                 - เพลงกล่อมเด็ก เช่น กาเหว่าเอย, พ่อเนื้อเย็น
                 - เพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงฉ่อย, เพลงรําวงซึ่งเพลงปฏิพากย์นี้ต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น
                     เพลงลูกทุ่งนั่นเอง
                 - เพลงประกอบการเล่น เช่น รําโทน (ต่อมาคือรําวง), ลูกช่วง, เข้าผี, มอญซ่อนผ้า
                 - เพลงประกอบพิธี เช่น ทําขวัญนาค, แห่นาค, ทําขวัญจุก, แห่นางแมว
                 - เพลงเกี่ยวกับอาชีพ เต้นกํารําเคียว
                 - เพลงแข่งขัน ส่วนใหญ่คือปฏิพากย์
         เรามีหนทางที่จะแบ่งประเภทเพลงพื้นเมืองออกได้เป็นพวกๆ เพื่อความสะดวกในการพิจารณาได้
หลาย วิธี เช่น
         การแบ่งตามความสั้น–ยาวของเพลง เช่น เพลงสั้นได้แก่ เพลงระบํา เพลงพิษฐาน เพลงสงฟาน เพลง
สําหรับเด็ก เพลงชักกระดาน เพลงเข้าทรง เพลงแห่นางแมว เพลงฮินเลเล เป็นต้น ส่วนอย่างเนื้อ ยาวได้แก่
เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงอีแซว เป็นต้น
         การแบ่งตามรูปแบบของกลอน คือ จัดเพลงที่มีฉันทลักษณ์เหมือนกันอยู่ในพวกเดียวกัน เราจะจัด
ให้ ้เป็นสามพวก คือ พวกกลอนสัมผัสท้าย คือ เพลงที่ลงสระข้างท้ายสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ได้แก่ เพลงฉ่อย
เพลงลําตัด เพลงระบําชาวไร่ เพลงระบําบ้านนา เพลงหน้าใย เพลงอีแซว เพลงสงคอลําพวน เพลงเทพ ทอง
ลงกลอนสัมผัสท้ายเหมือนกัน แต่เวลาลงเพลงเมื่อใด ต้องมีการสัมผัสระหว่างสามวรรคท้ายเกี่ยว โยงกัน
เช่น เพลงเรือ เพลงเต้นกํา เพลงขอทาน เพลงแอ่วเคล้าซอ
         พวกที่ไม่ค่อยเหมือนใครแต่อาจคล้ายกันบ้าง เช่น เพลงสําหรับเด็ก เพลงระบํา เพลงพิษฐาน เพลง
สงฟาง เพลงชักกระดาน เพลงเต้นกํารําเคียว เพลงพาดควาย เพลงปรบไก่ เพลงเหย่ย
         การแบ่งเป็นเพลงโต้ตอบและเพลงธรรมดา เพลงร้องโต้ตอบ ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว…ฯลฯ
ส่วนเพลงอีกพวก คือ เพลงที่เหลือ ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องคนเดี ยว หรือร้องพร้อมกัน หรือไม่จําเป็นต้อง โต้ ตอบ
กันเช่น เพลงสําหรับเด็ก เพลงขอทาน เพลงชักกระดาน เพลงสงฟาง (มักจะเป็นเพลงสั้นๆ)เป็นต้น การแบ่ง
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                           หน้า 2
เรียนรู้กับครูอํานาจ
โดยใช้เวลามาเดินความในการอธิบาย เรา ได้เลือกการแบ่งวิธีนี้ เพราะเห็นว่าสามารถสร้าง ความเข้าใจ
สอดคล้องกันได้ดี เพลงแต่ละเพลงมีความเกี่ยวเนื่องกันตามลําดับ เพลงที่เล่นตามเทศกาล และฤดูกาล
หน้าน้ําหรือหน้ากฐิน ผ้าปุา เล่นเพลงเรือ เพลงหน้าใย ถัดจากหน้ากฐินเป็นหน้าเกี่ยว เล่น เพลงเกี่ยวข้าว
เพลงสงคอลําพวน เพลงสงฟาง เพลงชักกระดาน เพลงเต้นกํารําเคียว ถัดจากหน้าเกี่ยว เป็นช่วงตรุษ
สงกรานต์ เล่นเพลงพิษฐาน เพลงระบํา เพลง ระบําบ้านไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่ย เพลง
ที่เล่นได้ทั่วไปโดยไม่จํากัดช่วงเวลา ได้แก่เพลงสําหรับเด็ก เพลงอีแซว เพลงระบําบ้านนา เพลงพาด ควาย
เพลงปรบไก่ เพลงเทพทอง ลําตัด เพลงแอ่วเคล้าซอ เพลงขอทาน เพลงฉ่อย
ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน
         ส่วนมากเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบกัน ความเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะ
คารมหรือถ้อยคําง่าย ๆ แต่มีความหมาย กินใจ ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการร้องโต้ตอบกัน เพลงพื้นบ้าน ส่วน
ใหญ่จะมีเนื้อร้อง และทํานองง่าย ๆ ร้องเล่นได้ไม่ยาก ฟ๎งไม่นานก็สามารถร้องเล่นตามได้การเล่น เพลง
ชาวบ้าน จะเล่นกัน ตามลานบ้าน ลานวัด ท้องนา ตามลําน้ํา แล้วแต่โอกาสในการเล่นเพลงเครื่อง ดนตรี ที่ใช้
เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่งกรับ กลอง หรือ เครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองบาง ทีก็ไม่มีเลยใช้
การปรบมือประกอบจังหวะสิ่งสําคัญในการร้องเพลงชาวบ้านอีก อย่างก็คือ ลูกคู่ที่ร้องรับ ร้องกระทุ้ง หรือ
ร้องสอดเพลง ซึ่งจะช่วยทําให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้นโดยทั่วไปแล้วเพลง พื้นบ้าน จะมีลักษณะ
เด่น ๆ เป็นที่สังเกตได้ คือ
         สํานวนภาษาใช้คําธรรมดาพื้น ๆไม่มีบาลีสันสกฤต ปน ฟ๎งเข้าใจง่าย แต่ถ้อยคําคมคายอยู่ในตัวทําให้
เกิดความสนุกสนาน บางครั้งแฝงไว้ด้วย การใช้ สัญลักษณ์แทนคําหยาบต่างๆ เป็นต้น ว่า ยาเส้นใบพลู ที่นา
หัวหมู (อุปกรณ์ไถนา) เป็นต้น และ เรียบง่ายทางด้านโอกาส และสถาน ที่เล่น ไม่ต้อง ยกพื้นเวที
มีความสนุกสนานเพลิดเพลินมีความคมคายในการใช้ภาษากระทบกระเทียบเปรียบเปรยชวนให้คิด จาก
ประสบการณ์ที่พบเห็นอยู่ในวิถีชีวิตท้องถิ่นมีภาษาถิ่นปะปนอยู่ ทําให้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดําเนินชีวิต
ประเพณีความเชื่อตลอดจนค่า นิยมต่าง ๆ ที่แฝงอยู่
         ลักษณะภาษาคล้องจองกัน ที่เป็นกลอนหัวเดียว คือ กลอนที่ลงท้ายด้วยสระชนิดเดียวกัน เช่น กลอน
ไล (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระไอตลอด) กลอนลี (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระอีตลอด) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
ในเพลงไซเอ๋ยไซ ลามะลิลา ซึ่งง่ายต่อการเล่นมุ่งให้ทุกคนมีส่วนร้องได้สนุกสนานร่วมกันมักจะมีการร้องซ้ํา
บางทีซ้ําที่ต้นเพลง หรือบางทีซ้ําที่ท่อนท้ายของเพลง เช่น เพลงพิษฐาน เพลง พวงมาลัย เพลงฉ่อย เป็นต้น
         ผลดีของการร้องซ้ํา ๆ กัน ก็คือเพิ่มความสนุกสนานให้ผู้อยู่รอบข้างได้มีส่วนร่วมในเพลง ทําให้ บรรยา
กาศครึกครื้นและเนื่องจากเป็นการประคารมกันสด ๆ ซึ่งช่วงการร้องซ้ํานี้จะช่วยให้ได้มี โอกาสคิดคําและ พ่อ
เพลง แม่เพลงจะได้พักเหนื่อย และสามารถใช้ปฏิภาณพลิกแพลง ยั่วล้อกันอีกด้วย
         นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านยังมีลักษณะพิเศษอีก คือ เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมา ปากต่อ
ปากไม่สามารถจะสืบค้นหาตัวผู้แต่งที่แน่นอนได้และมีลักษณะของความเป็นพื้นบ้าน พื้นเมืองลักษณะเด่น
ที่สุดของเพลงพื้นบ้าน คือ มีความเรียบง่าย ฟ๎งแล้วเข้าใจทันที ถ้าจะมีการเปรียบเทียบ แฝงสัญลักษณ์
อย่างไร ก็สามารถแปลความหมายได้โดยไม่ยากนัก เช่น “พอพี่คว่ํามือไป น้องก็หงาย มือมา…” “พี่นึกรัก
แม่ตากลมเอย…”
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                           หน้า 3
เรียนรู้กับครูอํานาจ
         ฟ๎งกันแค่นี้หนุ่มสาวก็เข้าใจแล้วว่าผู้ร้อง หมายถึงอย่างไร ความเรียบง่ายในที่นี้ไม่ใช่เรียบง่ายอย่างมัก
ง่าย แต่เป็นความเรียบง่ายที่สมบูรณ์อีกด้วย คือทั้งง่ายและคมคาย สวยงามไปในตัวโดยอัตโนมัติ ถ้าเป็น
นิยามก็ เป็นนิยามที่รู้จักเลือกหยิบคําสละสลวยมาเรียงกันเข้า ถึงจะน้อยคํา แต่คนอ่านก็สามารถมองเห็น
ภาพและได้รับรู้รส รู้บรรยากาศหมด ในชีวิตประจําวัน บางทีเราอาจพบคนบางคนพูดอะไรเสีย ยืดยาว
วกวน และฟ๎งเข้าใจยาก ในขณะที่ถ้าให้อีกคนสับเรียงคําพูดเสียใหม่ และตัดทอนถ้อยคําที่ไม่จําเป็นออก ไป
เราจะ ฟ๎งเข้าใจเร็วกว่า เพลงพื้นเมืองเปรียบเสมือนคนประเภทหลังนี้
ความเรียบง่ายในการร้องและเล่น
         เพลงพื้นบ้านยังคงยึดถือลักษณะดั้งเดิมของมนุษย์เอาไว้ ข้อนี้อาจจะทําให้เราเห็นว่าเพลงพื้นบ้านขาด
การปรับปรุง และขาดวิวัฒนาการ ที่จริง การร้องเพลงที่มีเครื่องดนตรี ประกอบมากๆ ก็ไพเราะอย่างหนึ่ง
และขณะเดียวกันผู้ร้อง เพลงโดยไม่มีเครื่องดนตรีช่วย หรือมีช่วยเพียงน้อยชิ้นอย่าง เช่นผู้เล่นกีต้าร์เล่นแอ่ว
เคล้าซอ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้เช่นกัน จึงเป็นทางสองทางที่เราตัดสินว่าเรา จะเลือก อย่างไหน
         เพลงพื้นบ้านได้เลือกทางของตัวในแบบหลัง เพราะสภาพ การดําเนินชีวิตมาช่วยเป็นตัวกําหนด
ดังนั้นจึงไม่เป็นการ ยากเลยที่จะเห็นชาวบ้านหรือชาวเพลง“ทําเพลง” โดยไม่ต้องตระเตรียมอะไรเป็นการ
ใหญ่โตนัก สิ่งที่จะช่วยให้เพลง ไพเราะ นอกจากขึ้นอยู่กับการใช้ถ้อยคําแล้ว เขาได้ใช้มือ หรือเครื่องประกอบ
จังหวะง่ายๆ เช่น กรับ ฉิ่ง กลอง เหล่า นี้เพียงเล็กๆน้อยๆมาช่วย บางทีก็ไม่ใช้เลย เพลงกล่อมเด็ก เพลงพาด
ควายร้องปากเปล่าใช้การเอื้อน เสียงให้เกิดบรร ยากาศและอารมณ์ เพลงเต้นกํา ใช้รวงข้าว เคียว ซึ่งมีอยู่
แล้วในขณะเกี่ยวข้าวมาประกอบการร้องรํา เพลงเรือ ใช้กรับฉิ่ง เสียงร้องรับของลูกคู่ช่วยให้เกิดความ
ครึกครื้นเพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย ใช้เพียงการปรบมือช่วย ลําตัด ใช้รํามะนา สิ่งที่สําคัญสําหรับเพลงที่ร้อง
กันหลายๆ คนคือ การอาศัย เสียงร้องรับ ร้องกระทุ้ง สอดเพลงของลูกคู่ซึ่ง จะช่วยให้ ้เพลงนั้นสนุกสนาน
ครึกครื้นอย่างยิ่ง เพียงเท่านเองที่เพลง พื้นเมืองต้องการเพลงพื้นเมืองของเราจึงมักเน้นอยู่สองอย่าง ซึ่งจะ
ออกมาในรูปของการใช้คําสองแง่สองง่าม การเว้น เสียซึ่งเรื่องที่ทุกข์มากๆ
         การใช้คําสองแง่สองง่าม อย่างเช่น เพลงฉ่อยของโรงพิมพ์วัดเกาะ เมื่อฝุายชายเกริ่น ฝุายหญิงได้ยิน
เสียงก็ร้องตอบออกมาว่า
                         “พี่เอ๋ยพี่มาถึงจะมาพึ่งของรัก        แม่หนูยังหนัก น้ําใจ
                  ไอ้ตรงแอ่งที่ในห่อผ้า                        พี่เอ๋ยแกอย่าได้หมาย
                  พีพงเงินจะกอง
                    ่ ่ึ                                       พีพงทองจะให้
                                                                 ่ ่ึ
                  พี่จะพึ่งอีแปะ                               จนใจน้องแกะไม่ไหว (เอ่ชา)”
                  ชายว่า
                  “ทําไมกับเงินกับทอง                          สมบัติเป็นของนอกกาย
                  พี่จะพึ่งหนังมาหุ้มเนื้อ                     จะได้ติดเป็นเยื่อเป็นใย (เอ่ชา)”
         การเว้นเสียซึ่งเรื่องที่ทุกข์มากๆ ระหว่างความสนุก กับความทุกข์ คนเราต้องเลือกเอาอย่างแรกก่อน
เสมอบทเพลงของชาวบ้านก็เช่นกัน เมื่อเทียบเนื้อหาในตัวเพลงแล้ว ส่วนที่กล่าวถึงเรื่องราวแห่งความ ทุกข์มี
เปอร์เซ็นต์น้อยว่าด้านความสนุกมาก และบางครั้ง ความทุกข์ที่นํามาร้องก็เป็นการสมมติ ขึ้นเพียง เพื่อ
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                                  หน้า 4
เรียนรู้กับครูอํานาจ
เปลี่ยน และคั่นอารมณ์คนฟ๎งเท่านั้น เหมือนอย่างเพลงเรือตอนที่ผัวเก่ากลับบ้าน เมื่อมาถึงบ้านก็ ็ต้องหดหู่
ใจที่บ้านรกร้างเพราะไม่มีใครดูแล ในขณะที่พรรณนาความเปลี่ยนแปลงความเหงาหงอยซึ่งพ่อ เพลงสามารถ
จะเรียกความสงสารจากคนฟ๎งได้ พ่อเพลงก็ยังอดสอดใส่ลักษณะขี้เล่นเข้าไปไม่ได้ เช่น
                     พิศดูครอบครัวมันให้ชั่วลามก มันช่างสกปรกไม่รู้จักหาย
                     หม้อข้าวก็กลิ้งหม้อแกงก็กลิ้ง ฝาละมีตีฉิ่งอยู่ที่ข้างครัวไฟ
                     ไอ้ครกกะบากก็เล่นละคร         สากกะเบือก็นอนเป็นไข้


รูปแบบร่วมของเพลงพื้นเมือง
         ด้านเนื้อหา และการเรียงลําดับเรื่อง เนื่องจากเพลงพื้นเมืองยังแยกได้ออกเป็นเพลงโต้ตอบอย่างสั้น
และเพลงโต้ตอบอย่างยาวอีก และเนื้อหารูปแบบของเพลง 2 พวกอาจแยกได้ด้วย เพื่อความสะดวก เราจึง
แยกพิจารณาเช่นกัน
         เพลงโต้ตอบอย่างยาว ได้แก่เพลงเรือ เพลงระบําบ้านไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่ย เพลงหน้า ใย
เพลง เต้นกํา เพลงอีแซว เพลงระบําบ้านนา เพลงพาดควาย เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ ลําตัด เพลงแอ่ว
เคล้า ซอ เพลงฉ่อย เพลงเหล่านี้ส่วนมากเป็นเรื่องของผู้เล่นที่มีความชํานาญ คือ พ่อเพลง แม่เพลงอาชีพถึง
ไม่ ่เป็นเพลงอาชีพก็ต้องเป็นผู้ที่เล่นจนสามารถโต้ตอบกับใครได้นานๆ ไม่มีการจบกลางคัน เพราะหมดไส้
หมดเพลง การที่จะร้องให้ได้นานๆ จึงต้องสร้างเรื่อง หรือสร้างชุดการเล่นขึ้น ดังนั้นเราจึงมีชุดใหญ่ของ เพลง
เหล่านี้เป็นต้นแบบคือ ชุดลักหาพาหนีชุดสู่ขอ ชุดชิงชู้ ชุดตีหมากผัว เป็นต้น แบบแผนของเพลง โต้ตอบอย่าง
ยาวที่เกือบทุกเพลงต้องมี คือ การเริ่มเพลงด้วยบทไหว้ครู เมื่อไหว้ครูแล้ว จึงมักเป็นบท เกริ่น เรียกหาหญิง
ให้มาเล่นเพลง แล้วจึงเป็นการโต้ตอบ หรือที่เรียกกันว่า “การประ” จะว่ากันคืนยังรุ่ง หรือสักครึ่งคืนก็ตามใจ
เนื้อหาร่วมของเพลงโต้ตอบอย่างยาวมีเช่นนี้
         เพลงโต้ตอบอย่างสั้น หรือเพลงเนื้อสั้น ได้แก่เพลงพิษฐาน เพลงระบํา เพลงสงฟาน เพลงเต้นกํารํา
เคียว เพลงสงคอลําพวน เพลงชักกระดาน เพลงแบบนี้มักเป็นเพลงสั้น เหมาะสําหรับผู้ที่ไม่ใช่เพลงอาชีพ ร้อง
กันคนละสี่ห้าวรรค คนละท่อนสั้นๆ ก็ลงเพลงเสีย เป็นเพลงที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ได้ร่วมสนุกกันอย่าง ง่ายๆ
ถ้าเรารวมเพลงกล่อมเด็กด้วย ก็เป็นเพลงสั้นเช่นกัน ใครๆก็พอจะร้องได้ เพลงเนื้อสั้นจึงไม่จําเป็น ต้องมี
พิธีรีตองในการร้อง หรือต้องใช้การสร้างบทชุดใหญ่เข้ามากําหนดเรียงลําดับการเล่นแต่อย่างใด เมื่อจะเล่นก็
ตั้งวงเข้าหรือร้องไปเลย การมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ทําให้พ่อเพลงคนหนึ่งหยิบถ้อยคําจากเพลงนี้ไปใส่ในอีก
เพลงหนึ่งโดยไม่รู้ตัว ข้อที่เราต้องไม่ลืมคือ พ่อเพลงคนหนึ่งๆมักจะร้องเพลงได้หลาย ทํานอง
         นอกเหนือไปจากเพลงที่เขาถนัดการแลกเปลี่ยนถ้อยคําจึงทําได้ง่ายมาก ดังนั้น เราอาจพบการ วาง
ลําดับคํา หรือการใช้คําบรรยายระหว่างเพลงต่อเพลงในจังหวะพอๆกัน สิ่งนี้มาจากการตกทอดในใจ ของชาว
เพลงนั่นเอง ในอีกด้านหนึ่ง เพลงพื้นเมืองหลายชนิด ใช้กลอนอย่างหนึ่งซึ่งสัมผัสด้วยสระเดียว กันหมดใน
วรรคท้ายของบท เช่น ลงไอก็ไอไปเรื่อย ลงอาก็อาไปเรื่อย ศัพท์ทางเพลงเรียกว่า กลอนไล กลอนลา กลอน
ลี กลอนลู ฯลฯ ตัวอย่างเช่น เพลงเรือ เพลง-ฉ่อย เพลงเต้นกํา เพลงพวงมาลัย เป็นต้น (บางท่านเรียกการ

โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                           หน้า 5
เรียนรู้กับครูอํานาจ
สัมผัสแบบนี้ว่า “กลอนหัวเดียว” แต่เมื่อสอบถามทางพ่อเพลงแม่เพลงดูแล้ว ไม่มีใครรู้จักศัพท์คํานี้กันเลย
ที่มาของคํานี้จะมาได้อย่างไร ไม่ทราบ) รูปแบบอย่างนี้ คงเกิดขึ้นเพราะหาสัมผัส ง่ายสะดวกในการด้นเพลง
เพราะการด้นเพลงนั้น หากฉันทลักษณ์ยากไป ก็คงร้องคงฟ๎งกันยากน่าดู สระที่นิยมนํามาใช้กันมากที่สุดได้แก่
สระไอ




ที่มา http://www.culture.go.th/research/musical/html/th_central.htm เข้าถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2555

         เครื่องดนตรีพื้นเมือง หมายถึง เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเพื่อความบันเทิง หรือเล่นประกอบการแสดง
พื้นเมือง ตามท้องถิ่นต่างๆ เครื่องดนตรีพื้นเมือง จะมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้เนื่องจาก
สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และลักษณะนิสัยของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน

เครื่องดนตรีพื้นเมืองแยกตามภาคต่าง ๆ ดังนี้

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง




           ซอสามสาย เป็นซอที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย




          ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทํา ด้วยไม้เนื้อแข็ง
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                            หน้า 6
เรียนรู้กับครูอํานาจ




   ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทําด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง




       จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร




 ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทําให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว




         ปี่ เป็นเครื่องเปุาที่มีลิ้น ทําด้วยใบตาล เป็นเครื่องกําเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ ๔ ลิ้น)




โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                                     หน้า 7
เรียนรู้กับครูอํานาจ
        ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาด ที่ทําด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง




               ระนาดทุ้ม ทําด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ ๑๘ ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอก




           ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทํานองหลัก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก




                     ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่ มีวิธีตีเช่นเดียว




         โทน : รูปร่างคล้ายกลองยาว ขนาดเล็ก ทําด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนัง ดึงให้ตึงด้วยเชือก




โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                           หน้า 8
เรียนรู้กับครูอํานาจ




            กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ไ ด้




        กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือน กลองลูกหนึ่ง ในเปิงมางคอกขึง




เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้




             ทับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสําคัญ ในการให้จังหวะ ควบคุม การเปลี่ยนแปลงจังหวะ




โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                         หน้า 9
เรียนรู้กับครูอํานาจ
      กลองโนราใช้ประกอบการแสดง โนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า




                   โหม่งเป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสําคัญ ในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียง




                     ปี่เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสําคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม




                       แตระพวงหรือกรับพวงเป็นเครื่องประกอบจังหวะทําจากไม้เนื้อแข็ง
เครื่องดนตรีพนเมืองภาคเหนือ
             ื้




     สะล้อหรือ ทะล้อเป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกําเนิดเสียง
                                            ทําด้วยกะลามะพร้าว




โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                          หน้า 10
เรียนรู้กับครูอํานาจ




                 ซึงเป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทํา ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง




                                       ขลุ่ยเช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง




                     ปี่เป็นปีลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทําด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทําด้วยไม้ซาง
                              ่




          ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทําด้วยไม้




โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                           หน้า 11
เรียนรู้กับครูอํานาจ
     พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะหรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทําด้วยกะลามะพร้าว




                 กลองเต่งถิ้งเป็นกลองสองหน้า ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน




              ตะหลดปด หรือมะหลดปดเป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร




               กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตร




                      กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้ว นับหลายศตวรรษ
เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน




โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                         หน้า 12
เรียนรู้กับครูอํานาจ
                           หืน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเปุาอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทําด้วยไม้ไผ่




                      แคนเป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จัก มากที่สุด ของ ชาวภาคอีสานเหนือ




                   โหวด เป็นเครื่องเปุาชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เปุาผ่านไม้รวก




             พิณ เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลง ด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕




         โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทํานองด้วยการตี เพียงชนิดเดียว ของภาคอีสาน
                                     โดยบรรเลงร่วมกันกับแคน




   จะเข้กระบือ เป็นเครื่องดนตรีสําคัญ ชิ้นหนึ่งใน วงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                          หน้า 13
เรียนรู้กับครูอํานาจ
                                                   มี ๓ สาย




   กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทําจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทํา ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก




    ซอกันตรึม เป็นเครื่องสายใช้สี ทํา ด้วยไม้ กล่องเสียงขึงด้วยหนังงู มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ




   กลองกันตรึม เป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่ง ด้วยหนังดึง ให้ตึงด้วยเชือก




                       ปี่ไสล ใช้บรรเลงในวงกันตรึม เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ เช่นเดียวกับปี่ใน




โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                            หน้า 14
เรียนรู้กับครูอํานาจ




                    กรับคู่ เป็นกรับทําด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง

  ความหมายของเพลงปฏิพากย์
          คําว่า “ปฏิ” หมายถึง โต้ตอบ ส่วนคําว่า “พากย์” หมายถึง การใช้คําพูด ดังนั้นเพลงปฏิพากย์จึง
  หมายถึง เพลงที่ร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง โดยใช้ปฏิภานไหวพริบหรือที่เรียกว่า “ร้องแก้”
  นั่นเอง ความนิยมการขับร้องเพลงปฏิพากย์ โดยทั่วไปจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู แล้วฝุายชายจะร้องเกริ่น เชิญ
  ฝุายหญิงมาร้อง จากนั้นก็จะเป็นการเกี้ยวพาราสี และลาจากกันการร้องไหว้ครูเป็นการระลึกถึงคุณ พระ
  รัตนตรัย คุณบิดามารดา และครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนบทเพลง และขอพรให้ร้องเพลงได้ราบรื่น ไม่ติด ขัด
  การไหว้ครูจึงสะท้อนค่านิยมเรื่องกตัญํูของคนไทย และเป็นกระบวนการที่พบในศิลปะการแสดง
  ของคนไทยทุกประเภท

   เพลงปฏิพากย์ในท้องถิ่นต่างๆ
             เพลงปฏิพากย์มีอยู่ทุกท้องถิ่นในประเทศไทย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
   เพลงปฏิพากย์ภาคกลาง ได้แก่ เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงอีแซว เพลงเหย่อย เพลงปรบไก่
   เพลงพิษฐาน เพลงเทพทอง เพลงเต้นกํา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงระบําบ้านไร่ ลําตัด
ตัวอย่างเพลงปฏิพากย์ภาคกลางที่ยังขับร้องเล่นอยู่ในปัจจุบัน
เพลงเกี่ยวข้าว
ช. เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว (ซ้ํา)                  อย่ามัวชะแง้แลเหลียว            เคียวจะบาดมือเอย
ญ. เกี่ยวเถิดนะพ่อเกี่ยว (ซ้ํา)                  อย่ามัวชะแง้แลเหลียว            เคียวจะบาดมือเอย
ช. คว้าเถิดหนาแม่คว้า (ซ้ํา)                     รีบตะบึงให้ถึงคันนา             พี่มารอท่าอยู่เอย
ญ. คว้าเถิดหนาพ่อคว้า (ซ้ํา)                     รีบตะบึงให้ถึงคันนา             จะได้พูดจากันเอย

เพลงเต้นกา
ช. เกี่ยวข้าวเกี่ยวปลา                          เชิญเข้ามาในวงนี้                   (ลูกคู่รับ)
    ถ้อยคําร่ําไข                               มาว่ากันกลอนลี                      (ลูกคู่รับ)
    ขอเชิญน้องแก้มแดง                           เกี่ยวข้าวแข่งกับพี่                (ลูกคู่รับ)
    แล้วจะได้จรล                                ไปนาที่ทางโน้นเอย                   (ลูกคู่รับ)
ญ. ถ้อยคําร่ํา                                  มาว่ากันในกลอนสี่                   (ลูกคู่รับ)
    เรียกหาสาวเจ้าก็แล                          มาเรียนหาแม่ทําไมกันนี่             (ลูกคู่รับ)
  โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                        หน้า 15
เรียนรู้กับครูอํานาจ

   น้องฉวยกําขึ้นรํารี่                            เดินมาที่พี่ชายเอย                   (ลูกคู่รับ)

เพลงเต้นการาเคียว
ช. มากันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่นา มารึมาแม่มา
มาเถิดนะแม่มา มาเถิดหนานะแม่มา
มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ต้อย
ตะริดติดตอตอด น้ําแห้งน้ําหยอดที่ตรงลิ้นปี่มาเถิด
นะแม่มา มาเถิดนะแม่มา มาเต้นกําย่ําหญ้ากันใน
นานี้เอย
                                                  (ลูกคู่รับ)
ญ. มาเถิดเอย
    เอ๋ยรา พ่อมา มารึมาพ่อมา
                                                  (ลูกคู่รับ)
    ฝนกระจายที่ปลายนา
    แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย

เพลงอีแซว
เพลงอีแซวเป็นเพลงพื้นบ้านที่มีถิ่นกําเนิดในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง เนื้อร้องมีจังหวะกระชับ
สนุกสนาน ดนตรีประกอบใช้กลอง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ
ช. โอ้มาเถิดหนากระไรแม่มา (ลูกคู่รับ)                คนไหนเป็นดาราออกมาไวไว (ลูกคู่รับ)
    พูดถึงเรื่องเที่ยวพี่เที่ยวเก่งกว่าเสือ          เมืองใต้เมืองเหนือพี่ก็เคยไป
    พี่มาพบสาวชาวเมืองบางกอก                         ผิวดังไข่บอกสวยอย่าบอกใคร
    จึงร้องชวนสาวเจ้าไปเดินเล่น (ลูกคู่รับ)          วอนแม่เนื้อเย็นจงเห็นใจชาย (ลูกคู่รับ)
ญ. โอ้มาเถิดหนากระไรพ่อมา (ลูกคู่รับ)                ได้ยอนวาจาของพวกปากไว (ลูกคู่รับ)
     มาถึงไม่นานจะมาชวนน้อง                          ไปเที่ยวไปท่อง ณ ที่หนใด
     พ่อคนแปลกหน้าท่าทางเกะกะ                        สะเปะสะปะไม่ค่อยเอาไหน
     ผู้ชายเดี๋ยวนี้หลายชนิด (ลูกคู่รับ)             จะคบต้องคิดให้รู้แก่ใจ (ลูกคู่รับ)
            เพลงพื้นบ้านทั้งสามชนิดนี้มีชื่อเรียกคล้ายคลึงกัน จนมีผู้เข้าใจผิดเสมอแต่ละเพลงมีทํานองการร้อง
   ต่าง กัน นิยมร้องในฤดูเก็บเกี่ยว นอกจากเพลงเหล่านี้แล้ว ยังมีเพลงอื่นๆ ที่ร้องในฤดูกาลนี้อีก เช่น เพลงชัก
   กระดาน เพลงพานฟาง เพลงสงฟาง เพลงเพลงสงคอสําพวน แต่ป๎จจุบันสูญหายไปหมดและไม่มีผู้นํามา ร้อง
   เล่น เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการทํานาแทนคนและควาย

  คุณค่าของเพลงพื้นเมือง
         เพลงพื้นเมืองเป็น มรดกทางวรรณกรรม ชาวบ้านนิรนามได้แต่งเพลงของเขาขึ้น บทเพลงนี้อาจจะมา
  จาก ความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนและความอยู่ไม่สุขของปาก แต่บังเอิญ หรือบางทีไม่ใช่บังเอิญ เพลงของ
  โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                             หน้า 16
เรียนรู้กับครูอํานาจ
เขาไพเราะและกินใจชาวบ้านคนอื่นๆด้วย ดังนั้นเพลงดังกล่าวจึงได้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ และในที่สุด ไม่
มีใครรู้ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงบทนั้น และแต่งเมื่อใด
          เพลงพื้นเมืองถูกร้อยกรองขึ้นด้วยคําที่เรียบง่ายแต่กินใจเกินความ สิ่งนี้เองที่ทําให้เพลงพื้นเมืองมีค่า
เพราะนั่นเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง อย่างแท้จริงครั้งหนึ่ง พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเล่าว่าได้
ทรงแต่งบทเล่นเพลงขึ้นบทหนึ่ง แล้วประทานให้ ชาวชนบท ซึ่ง อ่านหนังสือได้เอาไปร้อง แต่ทรงสังเกตว่า
จาก กิริยาที่ชาวบ้าน คนนั้นแสดงออกมา ถ้าหากปล่อยให้เขาแต่งเอง น่าจะเร็วกว่าบท ที่นิพนธ์เสียอีก ทรง
ถามว่า มันเป็นอย่างไร
          คําตอบที่ล้วนแต่เป็นเสียงเดียวกันคือ มันเต็มไปด้วยคํายากทั้ง นั้น ถึงตอนเกี้ยวพาราสีผู้หญิงชนบทที่
ไหนเขาจะเข้าใจ และไม่รู้ ว่าจะร้องตอบได้อย่างไร เรื่องนี้จะเป็นบทแสดงให้เห็นว่าเพลงพื้น เมืองนั้นใช้คํา
ง่าย แต่ได้ความดีไม่จําเป็นต้องสรรหาคํายากมาปรุงแต่งเลย
คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน
         เพลงพื้นบ้านเป็นสมบัติของสังคมที่ได้สะสมต่อเนื่องกันมานานจึง เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนไทย
และมีคุณค่าต่อสังคมอย่างยิ่ง ให้ความบันเทิง เพลงพื้นบ้านมีคุณค่าให้ความบันเทิงใจแก่คนในสังคมตั้งแต่
อดีต จนถึงป๎จจุบันโดยเฉพาะในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องบันเทิงใจมากมายเช่น ป๎จจุบันนี้เพลงพื้นบ้านเป็นสิ่งบั น
เทิงชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ความสุขและความรื่นรมย์แก่คนในสังคม ในฐานะที่เป็นการละเล่นพื้นบ้านของหนุ่ม สาว
และในฐานะ เป็นส่วนสําคัญของพิธีกรรมต่าง ๆ เพลงพื้นบ้านจึงจัดเป็นสิ่งบันเทิงที่เป็นส่วนหนึ่งใน วิถีชีวิต
ของชาวบ้าน
        ป๎จจุบันแม้ว่าเพลงพื้นบ้านบางชนิด เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบการละเล่น จะสูญหายและลด
บทบาทไปจากสังคมไทยแล้ว แต่เพลงปฏิพากย์บางเพลงได้พัฒนารูปแบบเป็นการแสดงพื้นบ้านหรือมหรสพ
พื้นบ้านที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินใจแก่ผู้ชม ซึ่งชาวบ้านก็ยังนิยมอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากการมีคณะ
เพลงหลายคณะที่รับจ้างไปแสดงเพื่อสร้างความสุขความสําราญแก่ชาวบ้านทั่วไป

ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2504304120/09.htm
เข้าถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2555
การขับร้องเพลง
          เพลงไทย เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติเช่นเดียวกับนาฏศิลป์และศิลปกรรมอีก หลายอย่าง ใน
ป๎จจุบันเรื่องของเพลงไทยเป็นสิ่งที่น่าห่วงใย ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วน ใหญ่มีความนิยมน้อย เห็นว่าการร้อง
เพลงไทย การฟ๎งเพลงไทยเป็นเรื่องไม่ทันสมัย และกลับให้ซึ่ง หมายถึงว่าชาติเรากําลังสูญเสียเอกลักษณ์ไป
อย่างหนึ่งด้วยความสนใจกับเพลง ประเภทอื่นมากกว่า ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ ไม่ยอมรับและสนับสนุน
เพลงไทยแล้ว ในไม่ช้าเพลงไทย จะต้องสูญสลายไปจากสังคมไทย
          เอกลักษณ์ของชาติเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความเป็นชาติ และยังแสดงให้เห็นถึงมรดกทาง
วัฒนธรรมซึ่งเกิดจากการสะสม และการถ่ายทอดของบรรพบุรุษมาจนถึงทุกวันนี้ การขับร้องเพลงไทยเป็น
เรื่องที่ยากลําบากอยู่บ้างในการฝึกหัด แต่ถ้าหากทุกคน เห็นคุณค่าเรื่องนี้ และให้ความสนใจฟ๎ง หรือหัดขับ

โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                                หน้า 17
เรียนรู้กับครูอํานาจ
ร้องเพลงง่ายๆ ไปทีละน้อยแล้ว ความรักในศิลปะ ประเภทนี้ก็จะเกิดการปลูกฝ๎งขึ้นและถ่ายทอดสืบต่อเนื่อง
ได้
ความหมายของการขับร้องเพลงไทย
          การขับร้อง เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งในทางอารมณ์ จิตใจและความรู้สึก เช่น อารมณ์รัก อารมณ์
เศร้า สนุกสนาน แน่นอนทีเดียวว่า เมื่อมนุษย์มีอารมณ์ต่างๆ เช่นนี้ ย่อมจะไม่แสดงอาการเฉพาะการนิ่งเฉย
ซึมเซา เท่านั้น แต่บางคนจะอุทาน บางคนจะร้องคร่ําครวญ บางคนจะนําคําพูดมาร้องเป็นทํานอง
สูงๆ ต่ําๆ สิ่งเหล่านี้เป็นการเริ่มต้นที่นําไปสู่บทเพลงทั้งสิ้น และเนื่องจาก มนุษย์มีความฉลาด รู้จักปรุงแต่ง
สิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น จึงได้นําบทประพันธ์ที่มีอยู่มาแต่ง ให้เป็นทํานองให้ไพเราะหรืออาจแต่งทํานองและบรรจุคํา
ร้อง ให้กลมกลืนกับทํานองนั้นๆ
          ด้วยวิธีการแต่งเพลงลักษณะต่างๆ ดังได้กล่าวมานี้ ทําให้มีคําหลายคําที่เกี่ยวข้องและหมายความถึง
เพลง เช่น คําว่า “ขับลํา” “ขับเพลง” หรือ “ร้องเพลง” อย่างไรก็ตามคําที่เด่นมากคือคําว่า “ลํา” และคํา
ว่า “เพลง” ซึ่งจะขออธิบายโดยสรุป กล่าวคือ
          คําว่า “ลํา” นั้นหมายถึงเพลงที่มีทํานองซึ่งเกิดจากความสูง ต่ํา ของเสียงถ้อยคํา ในด้านจังหวะก็ไม่
เด่นชัดแน่นอน ลักษณะของการขับลํา เช่น แอ่วต่างๆ และเสภา
          คําว่า “เพลง” นั้นมีทํานองซึ่งเกิดจากการประพันธ์หรือแต่งขึ้นไว้ คําร้องที่มีความเหมาะสมกับ
ทํานองเพลง การร้องเพลงจะเคร่งครัดทํานองเพลง แม้ว่าเสียงของคําร้องจะขัดกับทํานองอยู่บ้าง แต่ผู้ร้อง
จะต้องใช้เทคนิคในการร้อง ทํานองและคําร้องให้กลมกลืนกัน นอกจากนี้เพลงยังมีจังหวะที่ดําเนินไปอย่าง
สม่ําเสมอ
          เพลงไทย เป็นเพลงที่มีทํานอง มีจังหวะ มีคําร้อง มีทํานองเป็นส่วนประกอบสําคัญ การร้องเพลง
ไทยจึงต้องรู้จักใช้วิธีการต่างๆ ซึ่งจะกล่าวในโอกาสต่อไป
การร้องเพลงแบบต่างๆ
          การร้องเพลงไทยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
          1. การร้องอิสระหรือร้องโดยลําพัง หมายถึง การร้องเดี่ยวโดยปราศจากวงดนตรี อาจเป็นการร้องคน
เดียวหรือร้องเป็นหมู่เป็นกลุ่ม การฝึกหัดร้องลักษณะนี้ควรหัดร้องเพลงที่มีทํานองง่ายๆ เอื้อน
น้อย ได้แก่ เพลงประเภทชั้นเดียว ต่อมาจึงฝึกหัดร้องเพลงประเภทสองชั้น และเพลงประเภทสามชั้น
ตามลําดับ
          2. การร้องเพลงประกอบดนตรี คือ การร้องที่มีเครื่องดนตรีเข้ามาร่วมบรรเลง มีทั้งการร้อง
รับ ร้องส่ง ร้องคลอ ร้องเคล้า ฯลฯ
          3. การร้องเพลงประกอบการแสดง คือ การร้องร่วมกับการแสดง ผู้ร้องจะต้องร้องให้สอดคล้องกับ
อารมณ์ของตัวเอง เพื่อให้ผู้ชมการแสดงเกิดอารมณ์ตามท่าทางและบทร้องนั้นๆ
ข้อควรระวังในการขับร้อง
          ในการขับร้องเพลงไทยทุกประเภท ผู้ขับร้องควรระมัดระวัง ดังต่อไปนี้
          1. ก่อนมาร้องเพลง ผู้ร้องไม่ควรมีอารมณ์ตึงเครียดมาจากที่อื่น ไม่ควรมีความวิตกกังวลในการร้อง
มากเกินไป สิ่งเหล่านี้จะทําให้ใบหน้าน้ําเสียง ผิดปกติ
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                              หน้า 18
เรียนรู้กับครูอํานาจ
          2. การแต่งกาย อย่าแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่คับหรือรัดรูปทรง เพราะจะทําให้การขยายตัวของปอดและ
ลําคอไม่สะดวกในขณะร้องเพลง การแต่งชุด เครื่องแบบนักศึกษาเป็นชุดที่เหมาะสมที่สุด และยังเป็นการเชิด
ชูสถานศึกษาของตน นอกจากนี้ก็อาจแต่งชุดไทยแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานที่จัดขึ้น การแต่งตัว
เรียบร้อยแสดงถึงผู้ร้องเพลงมีมารยาท ได้รับคําแนะนําสั่งสอนจากครูอาจารย์หรือผู้ปกครอง และยังถือว่า
เป็นการให้เกียรติแก่งานที่จัดขึ้นแก่ผู้ฟ๎งผู้ชมด้วย
          3. ท่าทางในการร้องเพลง การร้องเพลงไทยร่วมกับวงดนตรีไทยนั้น มักจะนั่งพับเพียบกับพื้น ซึ่ง
จะต้องฝึกหัดให้เคยชินกับการนั่งชนิดนี้ การวางท่าทางเป็นสิ่งที่สําคัญมาก คือตัวตรงแต่ไม่เกร็ง วางแขนและ
มือให้อยู่บนตักในอาการเรียบร้อย
          นอกจากการนั่งพับเพียบแล้วยังมีท่านั่งบนเก้าอี้ ผู้ร้องจะต้องยืดตัวตรงตามธรรมชาติ อย่างอหลังห่อ
ไหล่ หันหน้าตรง อย่าก้มหน้าหรือแหงนหน้าจนเกินไป วางเท้าให้ราบกับพื้น ไม่ควรนั่งเขย่งเท้า งอเท้าหรือ
ไขว่ห้าง มือทั้งสองข้างวางที่หน้าตัก
          ในการร้องเพลงไทยนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่า ความรู้สึกของเพลงอยู่ที่การใช้น้ําเสียงเป็น
สําคัญ ดังนั้น การสร้างความ รู้สึกทางกายในขณะขับร้อง เช่น การเอียงคอ ก้มเงย กลอกหน้า หัวเราะ ร่าเริง
จนเกินไป จึงไม่เหมาะสมไม่ ควรกระทําเพราะถือว่าอากัปกิริยาเช่นนั้นเป็นลักษณะของผู้แสดง ไม่ใช่ลักษณะ
ของผู้ขับร้อง
          4. การใช้ไมโครโฟน การร้องเพลงในป๎จจุบันมักใช้ไมโครโฟนเป็นส่วนมากและ เป็นหน้าที่ของผู้ร้องใน
การจัดและปรับไมโครโฟนให้พอดี และเกิดผลดีต่อการร้องของตน การจัดและปรับไมโครโฟนต้องกระทํา
อย่างไม่ชักช้า และไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนผู้ฟ๎งผู้ชม จนรําคาญและเสียมารยาทไป ในลักษณะที่ผู้ร้องอยู่บน
เวทีที่มีระดับสูงกว่าผู้ ฟ๎ง ควรปรับให้ไมโครโฟนเอียงระดับ 45 องศา ให้ความสูงของปลายไมโครโฟนอยู่แนว
ริม ฝีปากล่าง การปรับไมโครโฟนเช่นนี้จะทําให้ผู้ที่อยู่ต่ํากว่าเวทีเห็นใบหน้าผู้ร้อง ในขณะร้องเพลง ควรฟ๎ง
เสียงของตนจากลําโพง ถ้าเสียงค่อยก็เข้าใกล้ไมโครโฟน ถ้าเสียงดังเกินไปก็ถอยห่างจากไมโครโฟน การร้อง
เพลงไทยร่วมกับวงดนตรีไม่ควร ถือไมโครโฟน แต่ควรใช้ขาตั้งเพื่อผู้ร้องจะได้สะดวกในการร้อง การนั่งก็
ถูกต้องตามแบบแผน
การฝึกร้องเพลงไทย
          การร้องเพลงไทยมีลักษณะและเทคนิคเฉพาะตัว ซึ่งผู้ร้องจะต้องระมัดระวังอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเรื่อง
จังหวะ ทํานองเพลง คําร้อง ซึ่งจะกล่าวดังต่อไปนี้
          1. จังหวะ
                  1) การฝึกร้องเพลงไทยควรจะเริ่มด้วยเพลงชั้นเดียว เช่น เพลงรําวงมาตรฐาน หลังจากนั้นจึง
ฝึกหัดร้องเพลงสองชั้นที่เคยได้ยินได้ฟ๎งอยู่เสมอ เช่น เพลงลาวเจริญศรี ลาวดวงเดือน และหัดร้องเพลงไทย
สองชั้นที่ยากขึ้น เช่น เพลงลาวคําหอม แขกสาหร่ายสองชั้น เมื่อฝึกหัดจนมีความเชี่ยวชาญแล้วจึงหัดร้อง
เพลงสามชั้น เพลงเถา
                  2) การฝึกหัดในระยะเริ่มต้น แม้ว่าระดับเสียง ทํานองเพลง จะยังไม่ถูกต้องนักก็พออนุโลมไป
ก่อน แต่จังหวะจะผิดพลาดไม่ได้ การเคาะจังหวะเริ่มต้นด้วยการใช้ไม้เคาะที่พื้น ต่อมาจึงฝึกให้ฟ๎งเสียง
ฉิ่ง เพื่อให้เข้าใจจังหวะ ฉิ่ง-ฉับอย่างแม่นยํา เมื่อร้องเข้ากับวงดนตรีจะได้ไม่ผิดพลาด และไม่ตื่นตกใจ แม้ว่า
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                            หน้า 19
เรียนรู้กับครูอํานาจ
จะมีเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ เช่น ฉิ่ง กรับ โหม่ง การฝึกให้รู้จักกับจังหวะของเครื่องหนังเป็นเรื่องที่ยาก
และสําคัญที่สุด โดยเฉพาะกลองต่างๆ จะตีตามจังหวะหน้าทับ ซึ่งมีอัตราแต่ละประเภทแตกต่างกัน
ออกไป การหัดฟ๎งเพลงหน้าทับต่างๆ จึงควรเป็นการฝึกขั้นสุดท้าย
         2. ทํานองเพลง
                  1) ผู้ที่ร้องเพลงได้ดี ต้องสามารถร้องทํานองเพลงถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน ดังนั้น ในการฝึกร้อง
อิสระ ครูผู้ฝึกสอนจึงมักจะใช้เครื่องดนตรีที่ทําทํานองชนิดใดชนิดหนึ่งมาบรรเลงคลอ ไปด้วย ต่อเมื่อร้องได้
ดีแล้วจึงให้ร้องโดยลําพัง
                  2) เมื่อร้องจบไปท่อนหนึ่งๆ ไม่ควรให้เพลงมีหางเสียงที่ไม่ไพเราะ แต่ควรให้เสียงเบาและ
หายไป
                  3) ออกเสียงสําเนียงให้ชัดเจน รู้จักใช้ลําคอในการร้องเพลง คืออย่าเกร็งคอหรือบีบ
เสียง แต่เปล่งเสียงออกจากลําคอผ่านเส้นเสียงออกริมฝีปาก ไม่ควรบีบเสียงขึ้นเพดาน ออกทางจมูก จะ
ทําให้เสียงไม่นุ่มนวลน่าฟ๎ง
                  4) อารมณ์ของเพลงไทยนั้น อยู่ที่ความไพเราะซึ่งเกิดจากการขับร้องให้มีน้ําหนักเสียงที่หนัก-
เบาต่าง กัน โดยมีที่สังเกต เช่น
                             (1) ผู้ร้องเพลงสามารถรักษาระดับเสียงเมื่อขึ้นต้นเพลงไว้ได้อย่างคงที่ ไม่
คลาดเคลื่อนจากเดิม เมื่อมีดนตรีสวมรับหรือเมื่อร้องส่งในท่อนใหม่ ก็ยังรักษาระดับเสียงเดิมไว้ได้
                            (2) มีผู้แต่งเนื้อร้องในบทเพลงที่มีความสามารถ คือสามารถหาคําร้องให้ตรงกับ
จังหวะหนัก-เบา และต้องแต่งให้ถูกตามแบบแผนของเพลงไทยด้วย
                            (3) รู้จักร้อง คือคําร้องที่เป็นสระเสียงสั้น จะต้องร้องให้เบากว่าคําร้องที่เป็นสระ
เสียงยาว
                            (4) รู้จักร้องในข้อความที่ต้องการเน้นอารมณ์ เช่น อารมณ์โกรธควรร้องอย่างมี
น้ําหนักกว่าคําอื่นๆ
                            (5) รู้จักร้องในคําที่มีลักษณะเป็นคําอุทานหรือคํากระซิบให้เหมาะสม
                  5) การทอดเสียงจากคําร้อง และการเอื้อนเสียง จะเป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากลําคอ
โดยตรง ควรให้ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม ในทางการปฏิบัติ เสียงที่เปล่งออกมากจากลําคอโดยตรง ควรให้ชัดเจนไม่
อ้อมแอ้ม เสียงที่เปล่งออกมากจากลําคอสามารถบังคับได้ดีกว่าเสียงที่ออกมาจากจมูก จากทรวงอก การ
เอื้อนควรใช้คําว่า “เอย”
                  6) การร้องหลบเสียงจากสูงลงมาต่ํา หรือหลบเสียงจากเสียงต่ําขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จะทําให้
ไม่ไพเราะ ในกรณีที่เห็นว่าจะทวนเสียงขึ้นไปร้องเสียงสูงไม่ได้ ก็ควรร้องเสียงต่ําตามความสามารถของตน
         3. คําร้อง
                  1) คําร้องที่ปรากฏในบทเพลง จะต้องร้องให้ถูกต้องตามอักขระและชัดถ้อยชัดคํา โดย
เฉพาะตัว ร ตัว ล ตัว ช ตัว ซ และพยายามออกเสียงหรือเอื้อนเสียงให้ชัดเจนในตอนท้าย แต่ทั้งนี้ยกเว้น
อนุโลมตามสําเนียงเพลงของภาษาของชาติต่างๆ ไม่ต้องออกเสียงให้ชัดตามคําไทย
                  2) ออกเสียงตามรูปคําให้ถูกต้องตามมาตรฐานต่างๆ ในปาก เช่น ปุุมเหงือก ปุุมฟ๎น จะ
โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                               หน้า 20
เรียนรู้กับครูอํานาจ
ทําให้คําร้องชัดเจน
                 3) รู้จักแบ่งวรรคตอน ประโยคเพลง ตามลักษณะการประพันธ์และการถอนหายใจ ทั้งนี้
เพราะจะช่วยในการกลั้นเก็บลมไว้ร้อง รู้จักระบายลมหายใจทีละน้อย และไม่มีเสียงรบกวนในขณะที่สูดลม
หายใจ

อัตราช้า-เร็วของเพลงไทย
        เพลงไทยมีจังหวะช้า-เร็วไม่เท่ากัน ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 อัตรา คือ
        1. เพลงไทยที่มีจังหวะเร็ว เรียกว่า เพลงอัตราชั้นเดียว
        2. เพลงไทยที่มีจังหวะช้าปานกลาง คือช้ากว่าเพลงชั้นเดียวประมาณ 1 เท่าตัว เรียกว่า เพลงอัตรา
สองชั้น
        3. เพลงไทยที่มีจังหวะช้ากว่าเพลงสองชั้น คือช้ากว่าประมาณ 1 เท่าตัว เรียกว่า เพลงอัตราสามชั้น

การสังเกตเพลงที่มีอัตราต่างๆ มีวิธีสังเกต 3 ประการ คือ
         1. การฟ๎งจังหวะจากฉิ่ง กล่าวคือ ถ้าเป็นเพลงชั้นเดียว จะมีจังหวะ ฉิ่ง-ฉับ เร็วกว่าเพลงสองชั้น แต่
เพลงสองชั้นก็ยังมีจังหวะ ฉิ่ง-ฉับเร็วกว่าเพลงสามชั้นซึ่งมีจังหวะช้าที่สุด
         ถ้าเปรียบอัตราความเร็วของเพลงทั้ง 3 จังหวะ ภายในระยะเวลาเท่ากัน สมมติ เช่น ใน
เวลา 1 นาที การตีฉิ่งจะมีจํานวนครั้งแตกต่างกันดังแผนภูมินี้
    จังหวะฉิ่ง (-) จังหวะฉับ (+)           เวลา 1 นาที                    เวลา 1 นาที
    1. บทเพลงชั้นเดียว                     -+-+                           -+-+
    2. บทเพลงสองชั้น                         - +                            - +
    3. บทเพลงสามชั้น                           -                              +
         จากแผนภูมิจะเห็นว่า ในเวลา 1 นาที บทเพลงชั้นเดียวจะตีฉิ่งจํานวน 4 ครั้ง ซึ่งย่อมจะมีจังหวะเร็ว
กว่าบทเพลงสองชั้นซึ่งตีฉิ่งเพียง 2 ครั้ง และบทเพลงชั้นเดียวจะมีจังหวะช้าที่สุด เพราะตีฉิ่งเพียงครั้งเดียว
         2. สังเกตจากการเอื้อน กล่าวคือถ้าเป็นเพลงชั้นเดียว จํามีทํานองเอื้อนน้อยที่สุด เพลงสองชั้นมี
ทํานองเอื้อนมากขึ้นและเพลงสามชั้นมีทํานองเอื้อนมากกว่าเพลงสองชั้น
         3. สังเกตจากหน้าทับ ซึ่งเป็นเรืองยากและขอยกตัวอย่างจากหน้าทับปรบไก่
                                         ่
         หน้าทับปรบไก่ ถ้าฟ๎งจากเสียงตะโพนใน 1 จังหวะหน้าทับของปรบไก่ 2 ชั้น จะเป็นดังนี้ คือ
                 พรึง ปฺะ ตุ๊บ พรึง พรึง ตุ๊บ พรึง
    เมื่อตะโพนตีหน้าทัปปรบไก่กับบทเพลงอัตราต่างๆ จะเป็นดังนี้
         1. บทเพลงชั้นเดียว ภายในเวลา 1 นาที (สมมติ) จะตีตะโพนครบ 1 จังหวะหน้าทับ
         2. บทเพลงสองชั้น ภายในเวลา 1 นาที (สมมติ) จะตีตะโพนได้เพียงครึ่งจังหวะหน้าทับเท่านั้น ต้อง
ขยายเวลาออกไปอีก 1 นาที จึงจะตีจังหวะตะโพนครบ 1 หน้าทับ
         3. บทเพลงสามชั้น จะต้องใช้เวลาถึง 4 นาที จึงจะตีจังหวะตะโพนครบ 1 หน้าทับ

โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์                                                                            หน้า 21
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55
เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55

More Related Content

Viewers also liked

เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดงเอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดงครูเย็นจิตร บุญศรี
 
снежная королева
снежная королеваснежная королева
снежная королеваmsikanov
 
мама, папа,я
мама, папа,ямама, папа,я
мама, папа,яmsikanov
 
70 лет со дня полного снятия блокады ленинграда
70 лет со дня полного снятия блокады ленинграда70 лет со дня полного снятия блокады ленинграда
70 лет со дня полного снятия блокады ленинградаmsikanov
 
Storyboard kpd 3026
Storyboard kpd 3026Storyboard kpd 3026
Storyboard kpd 3026Awg Stu
 
Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-
Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-
Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-Takako Ohshima
 
три поросенка
три поросенкатри поросенка
три поросенкаmsikanov
 
мир иностранных языков)
мир иностранных языков)мир иностранных языков)
мир иностранных языков)msikanov
 
торжественная линейка2pptx
торжественная линейка2pptxторжественная линейка2pptx
торжественная линейка2pptxmsikanov
 
выпускной вечер
выпускной вечервыпускной вечер
выпускной вечерmsikanov
 
New Technologies
New Technologies New Technologies
New Technologies byrnsie00
 
History power point aos#1
History power point aos#1History power point aos#1
History power point aos#108695554
 

Viewers also liked (20)

เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดงเอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
 
¿Es más sencillo fidelizar y conocer a la pymes que a individuos?
¿Es más sencillo fidelizar y conocer a la pymes que a individuos?¿Es más sencillo fidelizar y conocer a la pymes que a individuos?
¿Es más sencillo fidelizar y conocer a la pymes que a individuos?
 
снежная королева
снежная королеваснежная королева
снежная королева
 
мама, папа,я
мама, папа,ямама, папа,я
мама, папа,я
 
70 лет со дня полного снятия блокады ленинграда
70 лет со дня полного снятия блокады ленинграда70 лет со дня полного снятия блокады ленинграда
70 лет со дня полного снятия блокады ленинграда
 
TEZ SUMMARY
TEZ SUMMARYTEZ SUMMARY
TEZ SUMMARY
 
Storyboard kpd 3026
Storyboard kpd 3026Storyboard kpd 3026
Storyboard kpd 3026
 
Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-
Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-
Vibee-言葉のいらないパジャマタイムコミュニケーションツール-
 
три поросенка
три поросенкатри поросенка
три поросенка
 
мир иностранных языков)
мир иностранных языков)мир иностранных языков)
мир иностранных языков)
 
торжественная линейка2pptx
торжественная линейка2pptxторжественная линейка2pptx
торжественная линейка2pptx
 
выпускной вечер
выпускной вечервыпускной вечер
выпускной вечер
 
New Technologies
New Technologies New Technologies
New Technologies
 
006.safetymanagement v3
006.safetymanagement v3006.safetymanagement v3
006.safetymanagement v3
 
Del Marketing Genérico a Ofertas relevantes y Personalizadas
Del Marketing Genérico a Ofertas relevantes y PersonalizadasDel Marketing Genérico a Ofertas relevantes y Personalizadas
Del Marketing Genérico a Ofertas relevantes y Personalizadas
 
004.safetymanagement v3
004.safetymanagement v3004.safetymanagement v3
004.safetymanagement v3
 
Se acuerdan cuando los Teléfonos servían sólo para Hablar
Se acuerdan cuando los Teléfonos servían sólo para HablarSe acuerdan cuando los Teléfonos servían sólo para Hablar
Se acuerdan cuando los Teléfonos servían sólo para Hablar
 
Research&Development
Research&DevelopmentResearch&Development
Research&Development
 
History power point aos#1
History power point aos#1History power point aos#1
History power point aos#1
 
009.safetymanagement v3
009.safetymanagement v3009.safetymanagement v3
009.safetymanagement v3
 

Similar to เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55

ความหมายของเพลงกล่อมลูก
ความหมายของเพลงกล่อมลูกความหมายของเพลงกล่อมลูก
ความหมายของเพลงกล่อมลูกThassanee Buasri
 
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านJakkrit Supokam
 
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมอำนาจ ศรีทิม
 
นักแต่งเพลง
นักแต่งเพลงนักแต่งเพลง
นักแต่งเพลงNing Rommanee
 
9789740328308
97897403283089789740328308
9789740328308CUPress
 
วิวัฒนาการของดนตรีสากล
วิวัฒนาการของดนตรีสากลวิวัฒนาการของดนตรีสากล
วิวัฒนาการของดนตรีสากลอำนาจ ศรีทิม
 
บทความ วิเคราะห์ เพลง
บทความ   วิเคราะห์ เพลงบทความ   วิเคราะห์ เพลง
บทความ วิเคราะห์ เพลงNiran Dankasai
 
สังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docxสังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docxpinglada1
 
ละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.docละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.docpinglada1
 
บทที่ 2 ดนตรีกศน
บทที่ 2 ดนตรีกศนบทที่ 2 ดนตรีกศน
บทที่ 2 ดนตรีกศนpeter dontoom
 
เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)Float Jo
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdfPingladaPingladaz
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลsangkeetwittaya stourajini
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลleemeanxun
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลleemeanshun minzstar
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdfเวียงพิงค์ พิงค์ลดา
 

Similar to เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55 (20)

ความหมายของเพลงกล่อมลูก
ความหมายของเพลงกล่อมลูกความหมายของเพลงกล่อมลูก
ความหมายของเพลงกล่อมลูก
 
ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้าน
 
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
 
หน้า 1
หน้า 1หน้า 1
หน้า 1
 
นักแต่งเพลง
นักแต่งเพลงนักแต่งเพลง
นักแต่งเพลง
 
9789740328308
97897403283089789740328308
9789740328308
 
หมอลำ
หมอลำหมอลำ
หมอลำ
 
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็กใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
 
วิวัฒนาการของดนตรีสากล
วิวัฒนาการของดนตรีสากลวิวัฒนาการของดนตรีสากล
วิวัฒนาการของดนตรีสากล
 
นาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมืองนาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมือง
 
บทความ วิเคราะห์ เพลง
บทความ   วิเคราะห์ เพลงบทความ   วิเคราะห์ เพลง
บทความ วิเคราะห์ เพลง
 
สังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docxสังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docx
 
ละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.docละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.doc
 
บทที่ 2 ดนตรีกศน
บทที่ 2 ดนตรีกศนบทที่ 2 ดนตรีกศน
บทที่ 2 ดนตรีกศน
 
เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)เพลงคลาสสิค (Classical music)
เพลงคลาสสิค (Classical music)
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdfใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 1 เรื่อง ประวัติดนตรีสากล.pdf
 

More from อำนาจ ศรีทิม

องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56
องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56
องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56อำนาจ ศรีทิม
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4 คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4 อำนาจ ศรีทิม
 
คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5
คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5
คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5อำนาจ ศรีทิม
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.6
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.6คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.6
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.6อำนาจ ศรีทิม
 
หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1อำนาจ ศรีทิม
 
ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1อำนาจ ศรีทิม
 
ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1อำนาจ ศรีทิม
 
ปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบ
ปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบ
ปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบอำนาจ ศรีทิม
 
ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1
ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1
ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1อำนาจ ศรีทิม
 
ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1อำนาจ ศรีทิม
 
ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้
ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้
ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้อำนาจ ศรีทิม
 
คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์
คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์
คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์อำนาจ ศรีทิม
 
ช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ิน
ช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ินช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ิน
ช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ินอำนาจ ศรีทิม
 

More from อำนาจ ศรีทิม (20)

ประวัติดนตรีไทย 56
ประวัติดนตรีไทย 56ประวัติดนตรีไทย 56
ประวัติดนตรีไทย 56
 
วงดนตรีไทย ม.2 56
วงดนตรีไทย ม.2 56วงดนตรีไทย ม.2 56
วงดนตรีไทย ม.2 56
 
องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56
องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56
องค์ประกอบของดนตรีไทย ม.2 56
 
เครื่องดนตรีไทย ม.2ปี 56
เครื่องดนตรีไทย ม.2ปี 56เครื่องดนตรีไทย ม.2ปี 56
เครื่องดนตรีไทย ม.2ปี 56
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4 คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
 
คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5
คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5
คำอธิบายรายวิชางานเชื่อมไฟฟ้า ม.5
 
กำหนดการสอน ดนตรี ม.2
กำหนดการสอน ดนตรี ม.2กำหนดการสอน ดนตรี ม.2
กำหนดการสอน ดนตรี ม.2
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.6
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.6คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.6
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.6
 
บทคัดย่องานวิจัย
บทคัดย่องานวิจัยบทคัดย่องานวิจัย
บทคัดย่องานวิจัย
 
หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
 
ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 5 การขัดและเคลือบผิวไม้1
 
ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1
ปกใช้ หน่วยที่ 4 การปฏิบัติงานไม้1
 
ปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบ
ปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบ
ปกใช้ หน่วยที่ 3 แบบและการอ่านแบบ
 
ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1
ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1
ปกใช้ หน่วยที่ 2 เครื่องมือช่างไม้ครุภัณฑ์1
 
ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
ปกใช้ หน่วยที่ 6ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน1
 
ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้
ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้
ปกใช้ หน่วยที่ 1 ช่างไม้
 
ปก หน่วยที่ 1 ช่างไม้
ปก หน่วยที่ 1 ช่างไม้ปก หน่วยที่ 1 ช่างไม้
ปก หน่วยที่ 1 ช่างไม้
 
คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์
คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์
คำอธิบายรายวิชางานไม้ครุภัณฑ์
 
ช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ิน
ช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ินช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ิน
ช่างไม้ครุภัณฑ์ในท้องถ่ิน
 
การป้องกันอุบัติเหตุ
การป้องกันอุบัติเหตุการป้องกันอุบัติเหตุ
การป้องกันอุบัติเหตุ
 

เครืองดนตรีพื้นเมือง ใบความรู้ ม.3 ปี 55

  • 1. เรียนรู้กับครูอํานาจ ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/thai03/10/contents/folkmusic 13.html เช้าถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2555 เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงที่กลุ่มชนใน ท้องถิ่นต่างๆ ประดิษฐ์เนื้อหา ท่วงทํานองและ ลีลาการร้อง การเล่น เป็นแบบแผนตามความ นิยมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อใช้ ร้องเล่นในโอกาสต่างๆ ได้แก่ งานเทศกาล หรือ ประเพณี เช่น ตรุษสงกรานต์ อุปสมบท ทอด กฐินและลอยกระทง การทํางาน หรือ ประกอบ อาชีพ เช่น การลงแขกเอาแรงกันปลูกบ้านเกี่ยว ข้าว นวดข้าว เป็นต้น เพลงพื้นบ้าน จึงเป็นเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ และเพื่อผ่อน คลายความ เหน็ดเหนื่อยจากการทํางาน รวมทั้งเพื่อรวมกลุ่มกันประกอบการงานและพิธีกรรม ที่มาของเพลงพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้านของไทยเรานั้นมีมาช้านานแล้ว ถ่ายทอดกัน โดยทางมุขปาฐะ จําต่อๆ กันมาหลายชั่ว อายุคน เชื่อกันว่า มีกําเนิด ก่อนศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราชเสียอีก ต่อ มาค่อยมีชื่อ เสียง มีแบบ สัมผัสคล้องจอง ท่วงทํานองไป ตามภาษาถิ่นนั้นๆ ใน การขับร้องเพื่อความบันเทิงต่างๆ จะมีจังหวะดนตรี ท้องถิ่น (Folk music) เข้ามา และมีการร้อง รําทําเพลงไปด้วยจึงเกิดเป็นระบําชาวบ้าน (Folk dance) เพลงพื้นบ้านใช้ร้องรําในงานบันเทิงต่างๆ มีงานลงแขกเกี่ยวข้าว ตรุษสงกรานต์ ฯลฯ สําหรับประวัติ ความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านในประเทศไทยนั้น มีมา นาน แล้วดังข้อความในศิลา จารึก หลักที่ 1 กล่าวว่า “เสียงพาทย์ เสียงพิน เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว” และในไตร ภูมิพระร่วงของพญาลิไท กล่าวว่า “…บ้างเต้น บ้าง รํา บ้างฟูอนระบํา บรรฤาดุริยดนตรี บ้างดีด บ้างสี บ้างตี บ้างเปุา บ้างขั บสรรพสําเนียง เสียงหมู่นักคุณจนกันไปเดียรดาษ…" ต่อ มาในสมัยอยุธยา รัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มีข้อความใน กฎมณเฑียรบาล ตอนที่ 15 ได้กล่าว ถึงการเล่นร้องเรือ เปุาขลุ่ย เปุา ปี่ ตีทับ ขับรํา ซึ่งเป็นเพลงและดนตรีสมัยนั้น นอกจากนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กล่าวถึงการเล่นเพลง เทพทองของพระมหานาค วัดท่า ทราย ไว้ในหนังสือปุณโณวาทคํา ฉันท์ เป็นการแสดงที่เป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ในงานสมโภชพระพุทธบาท สระบุรี ดังนั้นกล่าวได้ว่า ในสมัยอยุธยา มีการกล่าวถึงเพลงพื้น บ้านอยู่ 2 ประการ คือ เพลงเรือ และ เพลงเทพทอง ต่อมาใน สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านชนิดต่าง มากที่สุด ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็น “ยุคทอง” ของเพลงพื้นบ้านที่เป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้อง โต้ตอบกัน) เช่น เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงส่งเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง หลังสมัย รัชกาลที่ 5 อิทธิ พลวัฒนธรรมตะวันตก ทําให้เกิดเพลงไทยสากลขึ้น เพลงพื้นบ้านจึงเริ่มหมดความนิยมลงทีละน้อยๆ ป๎จจุบันเพลงพื้นบ้าน ได้รับการ ฟื้นฟูบ้าง จากหน่วยงานที่เห็นคุณค่า แต่ก็เป็นไปในรูปของการอนุรักษ์ไว้ เท่านั้น ป๎ญหาเนื่องมาจากขาด ผู้สนใจสืบทอด เพลงพื้นบ้านจึงเสื่อมสูญไปพร้อมๆ กับผู้เล่น เพลงพื้นบ้านโดยทั่วไปนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด พอจะแยกประเภทได้ดังนี้ คือแบ่งตามผู้เล่นได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.เพลงเด็ก การเล่น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งในกลุ่มชน จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และเมื่อ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 1
  • 2. เรียนรู้กับครูอํานาจ มีการเล่นเกิดขึ้นก็มักมีบทเพลงประกอบการเล่นด้วย เพลงที่ร้องก็ง่าย ๆ สั้น ๆ สนุกสนาน เช่น รี รี ข้าว สาร, มอญซ่อนผ้า, จ้ําจี้มะเขือเปราะ , แมงมุมขยุ้มหลังคา เพลงเด็ก จําแนกย่อย ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้ - เพลงร้องเล่น เช่น โยกเยกเอย, ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง - เพลงหยอกล้อ เช่น ผมจุก, ผมม้า, ผมเปีย, ผมแกละ - เพลงขู่ ปลอบ เช่น แม่ใครมา น้ําตาใครไหล, จันทร์เจ้าขา, แต่ช้าแต่ เขาแห่ยายมา - เพลงประกอบการเล่น เช่น จ้ําจี้มะเขือเปราะ, รี รี ข้าวสาร, มอญซ่อนผ้า 2. เพลงผู้ใหญ่ เพลงผู้ใหญ่มีหลายประเภทดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากจะให้ความสนุกสนาน บันเทิงใจแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีร่วมใจกันทําสิ่งต่าง ๆ ของสังคมไทย สภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ ไว้อย่างน่าศึกษาอีกด้วย ด้านเพลงกล่อมเด็กจะเห็นความรักความผูกพันธ์ใน ครอบครัว ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตํานาน นิทาน ประวัติศาสตร์ ตลอดจนจินตนาการความรู้สึกนึกคิดของ มนุษย์ เนื่องจากความหลากหลายในเพลงกล่อมเด็ก จึงเป็นเพลงที่มีคุณค่าแก่การรักษาไว้เป็นอย่างยิ่ง เพลงผู้ใหญ่ แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ - เพลงกล่อมเด็ก เช่น กาเหว่าเอย, พ่อเนื้อเย็น - เพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงฉ่อย, เพลงรําวงซึ่งเพลงปฏิพากย์นี้ต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น เพลงลูกทุ่งนั่นเอง - เพลงประกอบการเล่น เช่น รําโทน (ต่อมาคือรําวง), ลูกช่วง, เข้าผี, มอญซ่อนผ้า - เพลงประกอบพิธี เช่น ทําขวัญนาค, แห่นาค, ทําขวัญจุก, แห่นางแมว - เพลงเกี่ยวกับอาชีพ เต้นกํารําเคียว - เพลงแข่งขัน ส่วนใหญ่คือปฏิพากย์ เรามีหนทางที่จะแบ่งประเภทเพลงพื้นเมืองออกได้เป็นพวกๆ เพื่อความสะดวกในการพิจารณาได้ หลาย วิธี เช่น การแบ่งตามความสั้น–ยาวของเพลง เช่น เพลงสั้นได้แก่ เพลงระบํา เพลงพิษฐาน เพลงสงฟาน เพลง สําหรับเด็ก เพลงชักกระดาน เพลงเข้าทรง เพลงแห่นางแมว เพลงฮินเลเล เป็นต้น ส่วนอย่างเนื้อ ยาวได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงอีแซว เป็นต้น การแบ่งตามรูปแบบของกลอน คือ จัดเพลงที่มีฉันทลักษณ์เหมือนกันอยู่ในพวกเดียวกัน เราจะจัด ให้ ้เป็นสามพวก คือ พวกกลอนสัมผัสท้าย คือ เพลงที่ลงสระข้างท้ายสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงลําตัด เพลงระบําชาวไร่ เพลงระบําบ้านนา เพลงหน้าใย เพลงอีแซว เพลงสงคอลําพวน เพลงเทพ ทอง ลงกลอนสัมผัสท้ายเหมือนกัน แต่เวลาลงเพลงเมื่อใด ต้องมีการสัมผัสระหว่างสามวรรคท้ายเกี่ยว โยงกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเต้นกํา เพลงขอทาน เพลงแอ่วเคล้าซอ พวกที่ไม่ค่อยเหมือนใครแต่อาจคล้ายกันบ้าง เช่น เพลงสําหรับเด็ก เพลงระบํา เพลงพิษฐาน เพลง สงฟาง เพลงชักกระดาน เพลงเต้นกํารําเคียว เพลงพาดควาย เพลงปรบไก่ เพลงเหย่ย การแบ่งเป็นเพลงโต้ตอบและเพลงธรรมดา เพลงร้องโต้ตอบ ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว…ฯลฯ ส่วนเพลงอีกพวก คือ เพลงที่เหลือ ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องคนเดี ยว หรือร้องพร้อมกัน หรือไม่จําเป็นต้อง โต้ ตอบ กันเช่น เพลงสําหรับเด็ก เพลงขอทาน เพลงชักกระดาน เพลงสงฟาง (มักจะเป็นเพลงสั้นๆ)เป็นต้น การแบ่ง โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 2
  • 3. เรียนรู้กับครูอํานาจ โดยใช้เวลามาเดินความในการอธิบาย เรา ได้เลือกการแบ่งวิธีนี้ เพราะเห็นว่าสามารถสร้าง ความเข้าใจ สอดคล้องกันได้ดี เพลงแต่ละเพลงมีความเกี่ยวเนื่องกันตามลําดับ เพลงที่เล่นตามเทศกาล และฤดูกาล หน้าน้ําหรือหน้ากฐิน ผ้าปุา เล่นเพลงเรือ เพลงหน้าใย ถัดจากหน้ากฐินเป็นหน้าเกี่ยว เล่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงคอลําพวน เพลงสงฟาง เพลงชักกระดาน เพลงเต้นกํารําเคียว ถัดจากหน้าเกี่ยว เป็นช่วงตรุษ สงกรานต์ เล่นเพลงพิษฐาน เพลงระบํา เพลง ระบําบ้านไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่ย เพลง ที่เล่นได้ทั่วไปโดยไม่จํากัดช่วงเวลา ได้แก่เพลงสําหรับเด็ก เพลงอีแซว เพลงระบําบ้านนา เพลงพาด ควาย เพลงปรบไก่ เพลงเทพทอง ลําตัด เพลงแอ่วเคล้าซอ เพลงขอทาน เพลงฉ่อย ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน ส่วนมากเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบกัน ความเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะ คารมหรือถ้อยคําง่าย ๆ แต่มีความหมาย กินใจ ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการร้องโต้ตอบกัน เพลงพื้นบ้าน ส่วน ใหญ่จะมีเนื้อร้อง และทํานองง่าย ๆ ร้องเล่นได้ไม่ยาก ฟ๎งไม่นานก็สามารถร้องเล่นตามได้การเล่น เพลง ชาวบ้าน จะเล่นกัน ตามลานบ้าน ลานวัด ท้องนา ตามลําน้ํา แล้วแต่โอกาสในการเล่นเพลงเครื่อง ดนตรี ที่ใช้ เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่งกรับ กลอง หรือ เครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองบาง ทีก็ไม่มีเลยใช้ การปรบมือประกอบจังหวะสิ่งสําคัญในการร้องเพลงชาวบ้านอีก อย่างก็คือ ลูกคู่ที่ร้องรับ ร้องกระทุ้ง หรือ ร้องสอดเพลง ซึ่งจะช่วยทําให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้นโดยทั่วไปแล้วเพลง พื้นบ้าน จะมีลักษณะ เด่น ๆ เป็นที่สังเกตได้ คือ สํานวนภาษาใช้คําธรรมดาพื้น ๆไม่มีบาลีสันสกฤต ปน ฟ๎งเข้าใจง่าย แต่ถ้อยคําคมคายอยู่ในตัวทําให้ เกิดความสนุกสนาน บางครั้งแฝงไว้ด้วย การใช้ สัญลักษณ์แทนคําหยาบต่างๆ เป็นต้น ว่า ยาเส้นใบพลู ที่นา หัวหมู (อุปกรณ์ไถนา) เป็นต้น และ เรียบง่ายทางด้านโอกาส และสถาน ที่เล่น ไม่ต้อง ยกพื้นเวที มีความสนุกสนานเพลิดเพลินมีความคมคายในการใช้ภาษากระทบกระเทียบเปรียบเปรยชวนให้คิด จาก ประสบการณ์ที่พบเห็นอยู่ในวิถีชีวิตท้องถิ่นมีภาษาถิ่นปะปนอยู่ ทําให้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดําเนินชีวิต ประเพณีความเชื่อตลอดจนค่า นิยมต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ ลักษณะภาษาคล้องจองกัน ที่เป็นกลอนหัวเดียว คือ กลอนที่ลงท้ายด้วยสระชนิดเดียวกัน เช่น กลอน ไล (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระไอตลอด) กลอนลี (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระอีตลอด) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในเพลงไซเอ๋ยไซ ลามะลิลา ซึ่งง่ายต่อการเล่นมุ่งให้ทุกคนมีส่วนร้องได้สนุกสนานร่วมกันมักจะมีการร้องซ้ํา บางทีซ้ําที่ต้นเพลง หรือบางทีซ้ําที่ท่อนท้ายของเพลง เช่น เพลงพิษฐาน เพลง พวงมาลัย เพลงฉ่อย เป็นต้น ผลดีของการร้องซ้ํา ๆ กัน ก็คือเพิ่มความสนุกสนานให้ผู้อยู่รอบข้างได้มีส่วนร่วมในเพลง ทําให้ บรรยา กาศครึกครื้นและเนื่องจากเป็นการประคารมกันสด ๆ ซึ่งช่วงการร้องซ้ํานี้จะช่วยให้ได้มี โอกาสคิดคําและ พ่อ เพลง แม่เพลงจะได้พักเหนื่อย และสามารถใช้ปฏิภาณพลิกแพลง ยั่วล้อกันอีกด้วย นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านยังมีลักษณะพิเศษอีก คือ เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมา ปากต่อ ปากไม่สามารถจะสืบค้นหาตัวผู้แต่งที่แน่นอนได้และมีลักษณะของความเป็นพื้นบ้าน พื้นเมืองลักษณะเด่น ที่สุดของเพลงพื้นบ้าน คือ มีความเรียบง่าย ฟ๎งแล้วเข้าใจทันที ถ้าจะมีการเปรียบเทียบ แฝงสัญลักษณ์ อย่างไร ก็สามารถแปลความหมายได้โดยไม่ยากนัก เช่น “พอพี่คว่ํามือไป น้องก็หงาย มือมา…” “พี่นึกรัก แม่ตากลมเอย…” โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 3
  • 4. เรียนรู้กับครูอํานาจ ฟ๎งกันแค่นี้หนุ่มสาวก็เข้าใจแล้วว่าผู้ร้อง หมายถึงอย่างไร ความเรียบง่ายในที่นี้ไม่ใช่เรียบง่ายอย่างมัก ง่าย แต่เป็นความเรียบง่ายที่สมบูรณ์อีกด้วย คือทั้งง่ายและคมคาย สวยงามไปในตัวโดยอัตโนมัติ ถ้าเป็น นิยามก็ เป็นนิยามที่รู้จักเลือกหยิบคําสละสลวยมาเรียงกันเข้า ถึงจะน้อยคํา แต่คนอ่านก็สามารถมองเห็น ภาพและได้รับรู้รส รู้บรรยากาศหมด ในชีวิตประจําวัน บางทีเราอาจพบคนบางคนพูดอะไรเสีย ยืดยาว วกวน และฟ๎งเข้าใจยาก ในขณะที่ถ้าให้อีกคนสับเรียงคําพูดเสียใหม่ และตัดทอนถ้อยคําที่ไม่จําเป็นออก ไป เราจะ ฟ๎งเข้าใจเร็วกว่า เพลงพื้นเมืองเปรียบเสมือนคนประเภทหลังนี้ ความเรียบง่ายในการร้องและเล่น เพลงพื้นบ้านยังคงยึดถือลักษณะดั้งเดิมของมนุษย์เอาไว้ ข้อนี้อาจจะทําให้เราเห็นว่าเพลงพื้นบ้านขาด การปรับปรุง และขาดวิวัฒนาการ ที่จริง การร้องเพลงที่มีเครื่องดนตรี ประกอบมากๆ ก็ไพเราะอย่างหนึ่ง และขณะเดียวกันผู้ร้อง เพลงโดยไม่มีเครื่องดนตรีช่วย หรือมีช่วยเพียงน้อยชิ้นอย่าง เช่นผู้เล่นกีต้าร์เล่นแอ่ว เคล้าซอ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้เช่นกัน จึงเป็นทางสองทางที่เราตัดสินว่าเรา จะเลือก อย่างไหน เพลงพื้นบ้านได้เลือกทางของตัวในแบบหลัง เพราะสภาพ การดําเนินชีวิตมาช่วยเป็นตัวกําหนด ดังนั้นจึงไม่เป็นการ ยากเลยที่จะเห็นชาวบ้านหรือชาวเพลง“ทําเพลง” โดยไม่ต้องตระเตรียมอะไรเป็นการ ใหญ่โตนัก สิ่งที่จะช่วยให้เพลง ไพเราะ นอกจากขึ้นอยู่กับการใช้ถ้อยคําแล้ว เขาได้ใช้มือ หรือเครื่องประกอบ จังหวะง่ายๆ เช่น กรับ ฉิ่ง กลอง เหล่า นี้เพียงเล็กๆน้อยๆมาช่วย บางทีก็ไม่ใช้เลย เพลงกล่อมเด็ก เพลงพาด ควายร้องปากเปล่าใช้การเอื้อน เสียงให้เกิดบรร ยากาศและอารมณ์ เพลงเต้นกํา ใช้รวงข้าว เคียว ซึ่งมีอยู่ แล้วในขณะเกี่ยวข้าวมาประกอบการร้องรํา เพลงเรือ ใช้กรับฉิ่ง เสียงร้องรับของลูกคู่ช่วยให้เกิดความ ครึกครื้นเพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย ใช้เพียงการปรบมือช่วย ลําตัด ใช้รํามะนา สิ่งที่สําคัญสําหรับเพลงที่ร้อง กันหลายๆ คนคือ การอาศัย เสียงร้องรับ ร้องกระทุ้ง สอดเพลงของลูกคู่ซึ่ง จะช่วยให้ ้เพลงนั้นสนุกสนาน ครึกครื้นอย่างยิ่ง เพียงเท่านเองที่เพลง พื้นเมืองต้องการเพลงพื้นเมืองของเราจึงมักเน้นอยู่สองอย่าง ซึ่งจะ ออกมาในรูปของการใช้คําสองแง่สองง่าม การเว้น เสียซึ่งเรื่องที่ทุกข์มากๆ การใช้คําสองแง่สองง่าม อย่างเช่น เพลงฉ่อยของโรงพิมพ์วัดเกาะ เมื่อฝุายชายเกริ่น ฝุายหญิงได้ยิน เสียงก็ร้องตอบออกมาว่า “พี่เอ๋ยพี่มาถึงจะมาพึ่งของรัก แม่หนูยังหนัก น้ําใจ ไอ้ตรงแอ่งที่ในห่อผ้า พี่เอ๋ยแกอย่าได้หมาย พีพงเงินจะกอง ่ ่ึ พีพงทองจะให้ ่ ่ึ พี่จะพึ่งอีแปะ จนใจน้องแกะไม่ไหว (เอ่ชา)” ชายว่า “ทําไมกับเงินกับทอง สมบัติเป็นของนอกกาย พี่จะพึ่งหนังมาหุ้มเนื้อ จะได้ติดเป็นเยื่อเป็นใย (เอ่ชา)” การเว้นเสียซึ่งเรื่องที่ทุกข์มากๆ ระหว่างความสนุก กับความทุกข์ คนเราต้องเลือกเอาอย่างแรกก่อน เสมอบทเพลงของชาวบ้านก็เช่นกัน เมื่อเทียบเนื้อหาในตัวเพลงแล้ว ส่วนที่กล่าวถึงเรื่องราวแห่งความ ทุกข์มี เปอร์เซ็นต์น้อยว่าด้านความสนุกมาก และบางครั้ง ความทุกข์ที่นํามาร้องก็เป็นการสมมติ ขึ้นเพียง เพื่อ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 4
  • 5. เรียนรู้กับครูอํานาจ เปลี่ยน และคั่นอารมณ์คนฟ๎งเท่านั้น เหมือนอย่างเพลงเรือตอนที่ผัวเก่ากลับบ้าน เมื่อมาถึงบ้านก็ ็ต้องหดหู่ ใจที่บ้านรกร้างเพราะไม่มีใครดูแล ในขณะที่พรรณนาความเปลี่ยนแปลงความเหงาหงอยซึ่งพ่อ เพลงสามารถ จะเรียกความสงสารจากคนฟ๎งได้ พ่อเพลงก็ยังอดสอดใส่ลักษณะขี้เล่นเข้าไปไม่ได้ เช่น พิศดูครอบครัวมันให้ชั่วลามก มันช่างสกปรกไม่รู้จักหาย หม้อข้าวก็กลิ้งหม้อแกงก็กลิ้ง ฝาละมีตีฉิ่งอยู่ที่ข้างครัวไฟ ไอ้ครกกะบากก็เล่นละคร สากกะเบือก็นอนเป็นไข้ รูปแบบร่วมของเพลงพื้นเมือง ด้านเนื้อหา และการเรียงลําดับเรื่อง เนื่องจากเพลงพื้นเมืองยังแยกได้ออกเป็นเพลงโต้ตอบอย่างสั้น และเพลงโต้ตอบอย่างยาวอีก และเนื้อหารูปแบบของเพลง 2 พวกอาจแยกได้ด้วย เพื่อความสะดวก เราจึง แยกพิจารณาเช่นกัน เพลงโต้ตอบอย่างยาว ได้แก่เพลงเรือ เพลงระบําบ้านไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่ย เพลงหน้า ใย เพลง เต้นกํา เพลงอีแซว เพลงระบําบ้านนา เพลงพาดควาย เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ ลําตัด เพลงแอ่ว เคล้า ซอ เพลงฉ่อย เพลงเหล่านี้ส่วนมากเป็นเรื่องของผู้เล่นที่มีความชํานาญ คือ พ่อเพลง แม่เพลงอาชีพถึง ไม่ ่เป็นเพลงอาชีพก็ต้องเป็นผู้ที่เล่นจนสามารถโต้ตอบกับใครได้นานๆ ไม่มีการจบกลางคัน เพราะหมดไส้ หมดเพลง การที่จะร้องให้ได้นานๆ จึงต้องสร้างเรื่อง หรือสร้างชุดการเล่นขึ้น ดังนั้นเราจึงมีชุดใหญ่ของ เพลง เหล่านี้เป็นต้นแบบคือ ชุดลักหาพาหนีชุดสู่ขอ ชุดชิงชู้ ชุดตีหมากผัว เป็นต้น แบบแผนของเพลง โต้ตอบอย่าง ยาวที่เกือบทุกเพลงต้องมี คือ การเริ่มเพลงด้วยบทไหว้ครู เมื่อไหว้ครูแล้ว จึงมักเป็นบท เกริ่น เรียกหาหญิง ให้มาเล่นเพลง แล้วจึงเป็นการโต้ตอบ หรือที่เรียกกันว่า “การประ” จะว่ากันคืนยังรุ่ง หรือสักครึ่งคืนก็ตามใจ เนื้อหาร่วมของเพลงโต้ตอบอย่างยาวมีเช่นนี้ เพลงโต้ตอบอย่างสั้น หรือเพลงเนื้อสั้น ได้แก่เพลงพิษฐาน เพลงระบํา เพลงสงฟาน เพลงเต้นกํารํา เคียว เพลงสงคอลําพวน เพลงชักกระดาน เพลงแบบนี้มักเป็นเพลงสั้น เหมาะสําหรับผู้ที่ไม่ใช่เพลงอาชีพ ร้อง กันคนละสี่ห้าวรรค คนละท่อนสั้นๆ ก็ลงเพลงเสีย เป็นเพลงที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ได้ร่วมสนุกกันอย่าง ง่ายๆ ถ้าเรารวมเพลงกล่อมเด็กด้วย ก็เป็นเพลงสั้นเช่นกัน ใครๆก็พอจะร้องได้ เพลงเนื้อสั้นจึงไม่จําเป็น ต้องมี พิธีรีตองในการร้อง หรือต้องใช้การสร้างบทชุดใหญ่เข้ามากําหนดเรียงลําดับการเล่นแต่อย่างใด เมื่อจะเล่นก็ ตั้งวงเข้าหรือร้องไปเลย การมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ทําให้พ่อเพลงคนหนึ่งหยิบถ้อยคําจากเพลงนี้ไปใส่ในอีก เพลงหนึ่งโดยไม่รู้ตัว ข้อที่เราต้องไม่ลืมคือ พ่อเพลงคนหนึ่งๆมักจะร้องเพลงได้หลาย ทํานอง นอกเหนือไปจากเพลงที่เขาถนัดการแลกเปลี่ยนถ้อยคําจึงทําได้ง่ายมาก ดังนั้น เราอาจพบการ วาง ลําดับคํา หรือการใช้คําบรรยายระหว่างเพลงต่อเพลงในจังหวะพอๆกัน สิ่งนี้มาจากการตกทอดในใจ ของชาว เพลงนั่นเอง ในอีกด้านหนึ่ง เพลงพื้นเมืองหลายชนิด ใช้กลอนอย่างหนึ่งซึ่งสัมผัสด้วยสระเดียว กันหมดใน วรรคท้ายของบท เช่น ลงไอก็ไอไปเรื่อย ลงอาก็อาไปเรื่อย ศัพท์ทางเพลงเรียกว่า กลอนไล กลอนลา กลอน ลี กลอนลู ฯลฯ ตัวอย่างเช่น เพลงเรือ เพลง-ฉ่อย เพลงเต้นกํา เพลงพวงมาลัย เป็นต้น (บางท่านเรียกการ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 5
  • 6. เรียนรู้กับครูอํานาจ สัมผัสแบบนี้ว่า “กลอนหัวเดียว” แต่เมื่อสอบถามทางพ่อเพลงแม่เพลงดูแล้ว ไม่มีใครรู้จักศัพท์คํานี้กันเลย ที่มาของคํานี้จะมาได้อย่างไร ไม่ทราบ) รูปแบบอย่างนี้ คงเกิดขึ้นเพราะหาสัมผัส ง่ายสะดวกในการด้นเพลง เพราะการด้นเพลงนั้น หากฉันทลักษณ์ยากไป ก็คงร้องคงฟ๎งกันยากน่าดู สระที่นิยมนํามาใช้กันมากที่สุดได้แก่ สระไอ ที่มา http://www.culture.go.th/research/musical/html/th_central.htm เข้าถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2555 เครื่องดนตรีพื้นเมือง หมายถึง เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเพื่อความบันเทิง หรือเล่นประกอบการแสดง พื้นเมือง ตามท้องถิ่นต่างๆ เครื่องดนตรีพื้นเมือง จะมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้เนื่องจาก สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และลักษณะนิสัยของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน เครื่องดนตรีพื้นเมืองแยกตามภาคต่าง ๆ ดังนี้ เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง ซอสามสาย เป็นซอที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทํา ด้วยไม้เนื้อแข็ง โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 6
  • 7. เรียนรู้กับครูอํานาจ ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทําด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทําให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ปี่ เป็นเครื่องเปุาที่มีลิ้น ทําด้วยใบตาล เป็นเครื่องกําเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ ๔ ลิ้น) โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 7
  • 8. เรียนรู้กับครูอํานาจ ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาด ที่ทําด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง ระนาดทุ้ม ทําด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ ๑๘ ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทํานองหลัก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่ มีวิธีตีเช่นเดียว โทน : รูปร่างคล้ายกลองยาว ขนาดเล็ก ทําด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนัง ดึงให้ตึงด้วยเชือก โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 8
  • 9. เรียนรู้กับครูอํานาจ กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ไ ด้ กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือน กลองลูกหนึ่ง ในเปิงมางคอกขึง เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ทับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสําคัญ ในการให้จังหวะ ควบคุม การเปลี่ยนแปลงจังหวะ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 9
  • 10. เรียนรู้กับครูอํานาจ กลองโนราใช้ประกอบการแสดง โนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า โหม่งเป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสําคัญ ในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียง ปี่เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสําคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม แตระพวงหรือกรับพวงเป็นเครื่องประกอบจังหวะทําจากไม้เนื้อแข็ง เครื่องดนตรีพนเมืองภาคเหนือ ื้ สะล้อหรือ ทะล้อเป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกําเนิดเสียง ทําด้วยกะลามะพร้าว โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 10
  • 11. เรียนรู้กับครูอํานาจ ซึงเป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทํา ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง ขลุ่ยเช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง ปี่เป็นปีลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทําด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทําด้วยไม้ซาง ่ ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทําด้วยไม้ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 11
  • 12. เรียนรู้กับครูอํานาจ พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะหรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทําด้วยกะลามะพร้าว กลองเต่งถิ้งเป็นกลองสองหน้า ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน ตะหลดปด หรือมะหลดปดเป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตร กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้ว นับหลายศตวรรษ เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 12
  • 13. เรียนรู้กับครูอํานาจ หืน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเปุาอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทําด้วยไม้ไผ่ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จัก มากที่สุด ของ ชาวภาคอีสานเหนือ โหวด เป็นเครื่องเปุาชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เปุาผ่านไม้รวก พิณ เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลง ด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕ โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทํานองด้วยการตี เพียงชนิดเดียว ของภาคอีสาน โดยบรรเลงร่วมกันกับแคน จะเข้กระบือ เป็นเครื่องดนตรีสําคัญ ชิ้นหนึ่งใน วงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 13
  • 14. เรียนรู้กับครูอํานาจ มี ๓ สาย กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทําจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทํา ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ซอกันตรึม เป็นเครื่องสายใช้สี ทํา ด้วยไม้ กล่องเสียงขึงด้วยหนังงู มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ กลองกันตรึม เป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่ง ด้วยหนังดึง ให้ตึงด้วยเชือก ปี่ไสล ใช้บรรเลงในวงกันตรึม เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ เช่นเดียวกับปี่ใน โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 14
  • 15. เรียนรู้กับครูอํานาจ กรับคู่ เป็นกรับทําด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง ความหมายของเพลงปฏิพากย์ คําว่า “ปฏิ” หมายถึง โต้ตอบ ส่วนคําว่า “พากย์” หมายถึง การใช้คําพูด ดังนั้นเพลงปฏิพากย์จึง หมายถึง เพลงที่ร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง โดยใช้ปฏิภานไหวพริบหรือที่เรียกว่า “ร้องแก้” นั่นเอง ความนิยมการขับร้องเพลงปฏิพากย์ โดยทั่วไปจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู แล้วฝุายชายจะร้องเกริ่น เชิญ ฝุายหญิงมาร้อง จากนั้นก็จะเป็นการเกี้ยวพาราสี และลาจากกันการร้องไหว้ครูเป็นการระลึกถึงคุณ พระ รัตนตรัย คุณบิดามารดา และครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนบทเพลง และขอพรให้ร้องเพลงได้ราบรื่น ไม่ติด ขัด การไหว้ครูจึงสะท้อนค่านิยมเรื่องกตัญํูของคนไทย และเป็นกระบวนการที่พบในศิลปะการแสดง ของคนไทยทุกประเภท เพลงปฏิพากย์ในท้องถิ่นต่างๆ เพลงปฏิพากย์มีอยู่ทุกท้องถิ่นในประเทศไทย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เพลงปฏิพากย์ภาคกลาง ได้แก่ เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงอีแซว เพลงเหย่อย เพลงปรบไก่ เพลงพิษฐาน เพลงเทพทอง เพลงเต้นกํา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงระบําบ้านไร่ ลําตัด ตัวอย่างเพลงปฏิพากย์ภาคกลางที่ยังขับร้องเล่นอยู่ในปัจจุบัน เพลงเกี่ยวข้าว ช. เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว (ซ้ํา) อย่ามัวชะแง้แลเหลียว เคียวจะบาดมือเอย ญ. เกี่ยวเถิดนะพ่อเกี่ยว (ซ้ํา) อย่ามัวชะแง้แลเหลียว เคียวจะบาดมือเอย ช. คว้าเถิดหนาแม่คว้า (ซ้ํา) รีบตะบึงให้ถึงคันนา พี่มารอท่าอยู่เอย ญ. คว้าเถิดหนาพ่อคว้า (ซ้ํา) รีบตะบึงให้ถึงคันนา จะได้พูดจากันเอย เพลงเต้นกา ช. เกี่ยวข้าวเกี่ยวปลา เชิญเข้ามาในวงนี้ (ลูกคู่รับ) ถ้อยคําร่ําไข มาว่ากันกลอนลี (ลูกคู่รับ) ขอเชิญน้องแก้มแดง เกี่ยวข้าวแข่งกับพี่ (ลูกคู่รับ) แล้วจะได้จรล ไปนาที่ทางโน้นเอย (ลูกคู่รับ) ญ. ถ้อยคําร่ํา มาว่ากันในกลอนสี่ (ลูกคู่รับ) เรียกหาสาวเจ้าก็แล มาเรียนหาแม่ทําไมกันนี่ (ลูกคู่รับ) โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 15
  • 16. เรียนรู้กับครูอํานาจ น้องฉวยกําขึ้นรํารี่ เดินมาที่พี่ชายเอย (ลูกคู่รับ) เพลงเต้นการาเคียว ช. มากันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่นา มารึมาแม่มา มาเถิดนะแม่มา มาเถิดหนานะแม่มา มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ต้อย ตะริดติดตอตอด น้ําแห้งน้ําหยอดที่ตรงลิ้นปี่มาเถิด นะแม่มา มาเถิดนะแม่มา มาเต้นกําย่ําหญ้ากันใน นานี้เอย (ลูกคู่รับ) ญ. มาเถิดเอย เอ๋ยรา พ่อมา มารึมาพ่อมา (ลูกคู่รับ) ฝนกระจายที่ปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย เพลงอีแซว เพลงอีแซวเป็นเพลงพื้นบ้านที่มีถิ่นกําเนิดในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง เนื้อร้องมีจังหวะกระชับ สนุกสนาน ดนตรีประกอบใช้กลอง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ ช. โอ้มาเถิดหนากระไรแม่มา (ลูกคู่รับ) คนไหนเป็นดาราออกมาไวไว (ลูกคู่รับ) พูดถึงเรื่องเที่ยวพี่เที่ยวเก่งกว่าเสือ เมืองใต้เมืองเหนือพี่ก็เคยไป พี่มาพบสาวชาวเมืองบางกอก ผิวดังไข่บอกสวยอย่าบอกใคร จึงร้องชวนสาวเจ้าไปเดินเล่น (ลูกคู่รับ) วอนแม่เนื้อเย็นจงเห็นใจชาย (ลูกคู่รับ) ญ. โอ้มาเถิดหนากระไรพ่อมา (ลูกคู่รับ) ได้ยอนวาจาของพวกปากไว (ลูกคู่รับ) มาถึงไม่นานจะมาชวนน้อง ไปเที่ยวไปท่อง ณ ที่หนใด พ่อคนแปลกหน้าท่าทางเกะกะ สะเปะสะปะไม่ค่อยเอาไหน ผู้ชายเดี๋ยวนี้หลายชนิด (ลูกคู่รับ) จะคบต้องคิดให้รู้แก่ใจ (ลูกคู่รับ) เพลงพื้นบ้านทั้งสามชนิดนี้มีชื่อเรียกคล้ายคลึงกัน จนมีผู้เข้าใจผิดเสมอแต่ละเพลงมีทํานองการร้อง ต่าง กัน นิยมร้องในฤดูเก็บเกี่ยว นอกจากเพลงเหล่านี้แล้ว ยังมีเพลงอื่นๆ ที่ร้องในฤดูกาลนี้อีก เช่น เพลงชัก กระดาน เพลงพานฟาง เพลงสงฟาง เพลงเพลงสงคอสําพวน แต่ป๎จจุบันสูญหายไปหมดและไม่มีผู้นํามา ร้อง เล่น เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการทํานาแทนคนและควาย คุณค่าของเพลงพื้นเมือง เพลงพื้นเมืองเป็น มรดกทางวรรณกรรม ชาวบ้านนิรนามได้แต่งเพลงของเขาขึ้น บทเพลงนี้อาจจะมา จาก ความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนและความอยู่ไม่สุขของปาก แต่บังเอิญ หรือบางทีไม่ใช่บังเอิญ เพลงของ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 16
  • 17. เรียนรู้กับครูอํานาจ เขาไพเราะและกินใจชาวบ้านคนอื่นๆด้วย ดังนั้นเพลงดังกล่าวจึงได้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ และในที่สุด ไม่ มีใครรู้ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงบทนั้น และแต่งเมื่อใด เพลงพื้นเมืองถูกร้อยกรองขึ้นด้วยคําที่เรียบง่ายแต่กินใจเกินความ สิ่งนี้เองที่ทําให้เพลงพื้นเมืองมีค่า เพราะนั่นเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง อย่างแท้จริงครั้งหนึ่ง พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเล่าว่าได้ ทรงแต่งบทเล่นเพลงขึ้นบทหนึ่ง แล้วประทานให้ ชาวชนบท ซึ่ง อ่านหนังสือได้เอาไปร้อง แต่ทรงสังเกตว่า จาก กิริยาที่ชาวบ้าน คนนั้นแสดงออกมา ถ้าหากปล่อยให้เขาแต่งเอง น่าจะเร็วกว่าบท ที่นิพนธ์เสียอีก ทรง ถามว่า มันเป็นอย่างไร คําตอบที่ล้วนแต่เป็นเสียงเดียวกันคือ มันเต็มไปด้วยคํายากทั้ง นั้น ถึงตอนเกี้ยวพาราสีผู้หญิงชนบทที่ ไหนเขาจะเข้าใจ และไม่รู้ ว่าจะร้องตอบได้อย่างไร เรื่องนี้จะเป็นบทแสดงให้เห็นว่าเพลงพื้น เมืองนั้นใช้คํา ง่าย แต่ได้ความดีไม่จําเป็นต้องสรรหาคํายากมาปรุงแต่งเลย คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้านเป็นสมบัติของสังคมที่ได้สะสมต่อเนื่องกันมานานจึง เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนไทย และมีคุณค่าต่อสังคมอย่างยิ่ง ให้ความบันเทิง เพลงพื้นบ้านมีคุณค่าให้ความบันเทิงใจแก่คนในสังคมตั้งแต่ อดีต จนถึงป๎จจุบันโดยเฉพาะในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องบันเทิงใจมากมายเช่น ป๎จจุบันนี้เพลงพื้นบ้านเป็นสิ่งบั น เทิงชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ความสุขและความรื่นรมย์แก่คนในสังคม ในฐานะที่เป็นการละเล่นพื้นบ้านของหนุ่ม สาว และในฐานะ เป็นส่วนสําคัญของพิธีกรรมต่าง ๆ เพลงพื้นบ้านจึงจัดเป็นสิ่งบันเทิงที่เป็นส่วนหนึ่งใน วิถีชีวิต ของชาวบ้าน ป๎จจุบันแม้ว่าเพลงพื้นบ้านบางชนิด เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบการละเล่น จะสูญหายและลด บทบาทไปจากสังคมไทยแล้ว แต่เพลงปฏิพากย์บางเพลงได้พัฒนารูปแบบเป็นการแสดงพื้นบ้านหรือมหรสพ พื้นบ้านที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินใจแก่ผู้ชม ซึ่งชาวบ้านก็ยังนิยมอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากการมีคณะ เพลงหลายคณะที่รับจ้างไปแสดงเพื่อสร้างความสุขความสําราญแก่ชาวบ้านทั่วไป ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2504304120/09.htm เข้าถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2555 การขับร้องเพลง เพลงไทย เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติเช่นเดียวกับนาฏศิลป์และศิลปกรรมอีก หลายอย่าง ใน ป๎จจุบันเรื่องของเพลงไทยเป็นสิ่งที่น่าห่วงใย ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วน ใหญ่มีความนิยมน้อย เห็นว่าการร้อง เพลงไทย การฟ๎งเพลงไทยเป็นเรื่องไม่ทันสมัย และกลับให้ซึ่ง หมายถึงว่าชาติเรากําลังสูญเสียเอกลักษณ์ไป อย่างหนึ่งด้วยความสนใจกับเพลง ประเภทอื่นมากกว่า ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ ไม่ยอมรับและสนับสนุน เพลงไทยแล้ว ในไม่ช้าเพลงไทย จะต้องสูญสลายไปจากสังคมไทย เอกลักษณ์ของชาติเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความเป็นชาติ และยังแสดงให้เห็นถึงมรดกทาง วัฒนธรรมซึ่งเกิดจากการสะสม และการถ่ายทอดของบรรพบุรุษมาจนถึงทุกวันนี้ การขับร้องเพลงไทยเป็น เรื่องที่ยากลําบากอยู่บ้างในการฝึกหัด แต่ถ้าหากทุกคน เห็นคุณค่าเรื่องนี้ และให้ความสนใจฟ๎ง หรือหัดขับ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 17
  • 18. เรียนรู้กับครูอํานาจ ร้องเพลงง่ายๆ ไปทีละน้อยแล้ว ความรักในศิลปะ ประเภทนี้ก็จะเกิดการปลูกฝ๎งขึ้นและถ่ายทอดสืบต่อเนื่อง ได้ ความหมายของการขับร้องเพลงไทย การขับร้อง เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งในทางอารมณ์ จิตใจและความรู้สึก เช่น อารมณ์รัก อารมณ์ เศร้า สนุกสนาน แน่นอนทีเดียวว่า เมื่อมนุษย์มีอารมณ์ต่างๆ เช่นนี้ ย่อมจะไม่แสดงอาการเฉพาะการนิ่งเฉย ซึมเซา เท่านั้น แต่บางคนจะอุทาน บางคนจะร้องคร่ําครวญ บางคนจะนําคําพูดมาร้องเป็นทํานอง สูงๆ ต่ําๆ สิ่งเหล่านี้เป็นการเริ่มต้นที่นําไปสู่บทเพลงทั้งสิ้น และเนื่องจาก มนุษย์มีความฉลาด รู้จักปรุงแต่ง สิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น จึงได้นําบทประพันธ์ที่มีอยู่มาแต่ง ให้เป็นทํานองให้ไพเราะหรืออาจแต่งทํานองและบรรจุคํา ร้อง ให้กลมกลืนกับทํานองนั้นๆ ด้วยวิธีการแต่งเพลงลักษณะต่างๆ ดังได้กล่าวมานี้ ทําให้มีคําหลายคําที่เกี่ยวข้องและหมายความถึง เพลง เช่น คําว่า “ขับลํา” “ขับเพลง” หรือ “ร้องเพลง” อย่างไรก็ตามคําที่เด่นมากคือคําว่า “ลํา” และคํา ว่า “เพลง” ซึ่งจะขออธิบายโดยสรุป กล่าวคือ คําว่า “ลํา” นั้นหมายถึงเพลงที่มีทํานองซึ่งเกิดจากความสูง ต่ํา ของเสียงถ้อยคํา ในด้านจังหวะก็ไม่ เด่นชัดแน่นอน ลักษณะของการขับลํา เช่น แอ่วต่างๆ และเสภา คําว่า “เพลง” นั้นมีทํานองซึ่งเกิดจากการประพันธ์หรือแต่งขึ้นไว้ คําร้องที่มีความเหมาะสมกับ ทํานองเพลง การร้องเพลงจะเคร่งครัดทํานองเพลง แม้ว่าเสียงของคําร้องจะขัดกับทํานองอยู่บ้าง แต่ผู้ร้อง จะต้องใช้เทคนิคในการร้อง ทํานองและคําร้องให้กลมกลืนกัน นอกจากนี้เพลงยังมีจังหวะที่ดําเนินไปอย่าง สม่ําเสมอ เพลงไทย เป็นเพลงที่มีทํานอง มีจังหวะ มีคําร้อง มีทํานองเป็นส่วนประกอบสําคัญ การร้องเพลง ไทยจึงต้องรู้จักใช้วิธีการต่างๆ ซึ่งจะกล่าวในโอกาสต่อไป การร้องเพลงแบบต่างๆ การร้องเพลงไทยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. การร้องอิสระหรือร้องโดยลําพัง หมายถึง การร้องเดี่ยวโดยปราศจากวงดนตรี อาจเป็นการร้องคน เดียวหรือร้องเป็นหมู่เป็นกลุ่ม การฝึกหัดร้องลักษณะนี้ควรหัดร้องเพลงที่มีทํานองง่ายๆ เอื้อน น้อย ได้แก่ เพลงประเภทชั้นเดียว ต่อมาจึงฝึกหัดร้องเพลงประเภทสองชั้น และเพลงประเภทสามชั้น ตามลําดับ 2. การร้องเพลงประกอบดนตรี คือ การร้องที่มีเครื่องดนตรีเข้ามาร่วมบรรเลง มีทั้งการร้อง รับ ร้องส่ง ร้องคลอ ร้องเคล้า ฯลฯ 3. การร้องเพลงประกอบการแสดง คือ การร้องร่วมกับการแสดง ผู้ร้องจะต้องร้องให้สอดคล้องกับ อารมณ์ของตัวเอง เพื่อให้ผู้ชมการแสดงเกิดอารมณ์ตามท่าทางและบทร้องนั้นๆ ข้อควรระวังในการขับร้อง ในการขับร้องเพลงไทยทุกประเภท ผู้ขับร้องควรระมัดระวัง ดังต่อไปนี้ 1. ก่อนมาร้องเพลง ผู้ร้องไม่ควรมีอารมณ์ตึงเครียดมาจากที่อื่น ไม่ควรมีความวิตกกังวลในการร้อง มากเกินไป สิ่งเหล่านี้จะทําให้ใบหน้าน้ําเสียง ผิดปกติ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 18
  • 19. เรียนรู้กับครูอํานาจ 2. การแต่งกาย อย่าแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่คับหรือรัดรูปทรง เพราะจะทําให้การขยายตัวของปอดและ ลําคอไม่สะดวกในขณะร้องเพลง การแต่งชุด เครื่องแบบนักศึกษาเป็นชุดที่เหมาะสมที่สุด และยังเป็นการเชิด ชูสถานศึกษาของตน นอกจากนี้ก็อาจแต่งชุดไทยแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานที่จัดขึ้น การแต่งตัว เรียบร้อยแสดงถึงผู้ร้องเพลงมีมารยาท ได้รับคําแนะนําสั่งสอนจากครูอาจารย์หรือผู้ปกครอง และยังถือว่า เป็นการให้เกียรติแก่งานที่จัดขึ้นแก่ผู้ฟ๎งผู้ชมด้วย 3. ท่าทางในการร้องเพลง การร้องเพลงไทยร่วมกับวงดนตรีไทยนั้น มักจะนั่งพับเพียบกับพื้น ซึ่ง จะต้องฝึกหัดให้เคยชินกับการนั่งชนิดนี้ การวางท่าทางเป็นสิ่งที่สําคัญมาก คือตัวตรงแต่ไม่เกร็ง วางแขนและ มือให้อยู่บนตักในอาการเรียบร้อย นอกจากการนั่งพับเพียบแล้วยังมีท่านั่งบนเก้าอี้ ผู้ร้องจะต้องยืดตัวตรงตามธรรมชาติ อย่างอหลังห่อ ไหล่ หันหน้าตรง อย่าก้มหน้าหรือแหงนหน้าจนเกินไป วางเท้าให้ราบกับพื้น ไม่ควรนั่งเขย่งเท้า งอเท้าหรือ ไขว่ห้าง มือทั้งสองข้างวางที่หน้าตัก ในการร้องเพลงไทยนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่า ความรู้สึกของเพลงอยู่ที่การใช้น้ําเสียงเป็น สําคัญ ดังนั้น การสร้างความ รู้สึกทางกายในขณะขับร้อง เช่น การเอียงคอ ก้มเงย กลอกหน้า หัวเราะ ร่าเริง จนเกินไป จึงไม่เหมาะสมไม่ ควรกระทําเพราะถือว่าอากัปกิริยาเช่นนั้นเป็นลักษณะของผู้แสดง ไม่ใช่ลักษณะ ของผู้ขับร้อง 4. การใช้ไมโครโฟน การร้องเพลงในป๎จจุบันมักใช้ไมโครโฟนเป็นส่วนมากและ เป็นหน้าที่ของผู้ร้องใน การจัดและปรับไมโครโฟนให้พอดี และเกิดผลดีต่อการร้องของตน การจัดและปรับไมโครโฟนต้องกระทํา อย่างไม่ชักช้า และไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนผู้ฟ๎งผู้ชม จนรําคาญและเสียมารยาทไป ในลักษณะที่ผู้ร้องอยู่บน เวทีที่มีระดับสูงกว่าผู้ ฟ๎ง ควรปรับให้ไมโครโฟนเอียงระดับ 45 องศา ให้ความสูงของปลายไมโครโฟนอยู่แนว ริม ฝีปากล่าง การปรับไมโครโฟนเช่นนี้จะทําให้ผู้ที่อยู่ต่ํากว่าเวทีเห็นใบหน้าผู้ร้อง ในขณะร้องเพลง ควรฟ๎ง เสียงของตนจากลําโพง ถ้าเสียงค่อยก็เข้าใกล้ไมโครโฟน ถ้าเสียงดังเกินไปก็ถอยห่างจากไมโครโฟน การร้อง เพลงไทยร่วมกับวงดนตรีไม่ควร ถือไมโครโฟน แต่ควรใช้ขาตั้งเพื่อผู้ร้องจะได้สะดวกในการร้อง การนั่งก็ ถูกต้องตามแบบแผน การฝึกร้องเพลงไทย การร้องเพลงไทยมีลักษณะและเทคนิคเฉพาะตัว ซึ่งผู้ร้องจะต้องระมัดระวังอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเรื่อง จังหวะ ทํานองเพลง คําร้อง ซึ่งจะกล่าวดังต่อไปนี้ 1. จังหวะ 1) การฝึกร้องเพลงไทยควรจะเริ่มด้วยเพลงชั้นเดียว เช่น เพลงรําวงมาตรฐาน หลังจากนั้นจึง ฝึกหัดร้องเพลงสองชั้นที่เคยได้ยินได้ฟ๎งอยู่เสมอ เช่น เพลงลาวเจริญศรี ลาวดวงเดือน และหัดร้องเพลงไทย สองชั้นที่ยากขึ้น เช่น เพลงลาวคําหอม แขกสาหร่ายสองชั้น เมื่อฝึกหัดจนมีความเชี่ยวชาญแล้วจึงหัดร้อง เพลงสามชั้น เพลงเถา 2) การฝึกหัดในระยะเริ่มต้น แม้ว่าระดับเสียง ทํานองเพลง จะยังไม่ถูกต้องนักก็พออนุโลมไป ก่อน แต่จังหวะจะผิดพลาดไม่ได้ การเคาะจังหวะเริ่มต้นด้วยการใช้ไม้เคาะที่พื้น ต่อมาจึงฝึกให้ฟ๎งเสียง ฉิ่ง เพื่อให้เข้าใจจังหวะ ฉิ่ง-ฉับอย่างแม่นยํา เมื่อร้องเข้ากับวงดนตรีจะได้ไม่ผิดพลาด และไม่ตื่นตกใจ แม้ว่า โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 19
  • 20. เรียนรู้กับครูอํานาจ จะมีเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ เช่น ฉิ่ง กรับ โหม่ง การฝึกให้รู้จักกับจังหวะของเครื่องหนังเป็นเรื่องที่ยาก และสําคัญที่สุด โดยเฉพาะกลองต่างๆ จะตีตามจังหวะหน้าทับ ซึ่งมีอัตราแต่ละประเภทแตกต่างกัน ออกไป การหัดฟ๎งเพลงหน้าทับต่างๆ จึงควรเป็นการฝึกขั้นสุดท้าย 2. ทํานองเพลง 1) ผู้ที่ร้องเพลงได้ดี ต้องสามารถร้องทํานองเพลงถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน ดังนั้น ในการฝึกร้อง อิสระ ครูผู้ฝึกสอนจึงมักจะใช้เครื่องดนตรีที่ทําทํานองชนิดใดชนิดหนึ่งมาบรรเลงคลอ ไปด้วย ต่อเมื่อร้องได้ ดีแล้วจึงให้ร้องโดยลําพัง 2) เมื่อร้องจบไปท่อนหนึ่งๆ ไม่ควรให้เพลงมีหางเสียงที่ไม่ไพเราะ แต่ควรให้เสียงเบาและ หายไป 3) ออกเสียงสําเนียงให้ชัดเจน รู้จักใช้ลําคอในการร้องเพลง คืออย่าเกร็งคอหรือบีบ เสียง แต่เปล่งเสียงออกจากลําคอผ่านเส้นเสียงออกริมฝีปาก ไม่ควรบีบเสียงขึ้นเพดาน ออกทางจมูก จะ ทําให้เสียงไม่นุ่มนวลน่าฟ๎ง 4) อารมณ์ของเพลงไทยนั้น อยู่ที่ความไพเราะซึ่งเกิดจากการขับร้องให้มีน้ําหนักเสียงที่หนัก- เบาต่าง กัน โดยมีที่สังเกต เช่น (1) ผู้ร้องเพลงสามารถรักษาระดับเสียงเมื่อขึ้นต้นเพลงไว้ได้อย่างคงที่ ไม่ คลาดเคลื่อนจากเดิม เมื่อมีดนตรีสวมรับหรือเมื่อร้องส่งในท่อนใหม่ ก็ยังรักษาระดับเสียงเดิมไว้ได้ (2) มีผู้แต่งเนื้อร้องในบทเพลงที่มีความสามารถ คือสามารถหาคําร้องให้ตรงกับ จังหวะหนัก-เบา และต้องแต่งให้ถูกตามแบบแผนของเพลงไทยด้วย (3) รู้จักร้อง คือคําร้องที่เป็นสระเสียงสั้น จะต้องร้องให้เบากว่าคําร้องที่เป็นสระ เสียงยาว (4) รู้จักร้องในข้อความที่ต้องการเน้นอารมณ์ เช่น อารมณ์โกรธควรร้องอย่างมี น้ําหนักกว่าคําอื่นๆ (5) รู้จักร้องในคําที่มีลักษณะเป็นคําอุทานหรือคํากระซิบให้เหมาะสม 5) การทอดเสียงจากคําร้อง และการเอื้อนเสียง จะเป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากลําคอ โดยตรง ควรให้ชัดเจน ไม่อ้อมค้อม ในทางการปฏิบัติ เสียงที่เปล่งออกมากจากลําคอโดยตรง ควรให้ชัดเจนไม่ อ้อมแอ้ม เสียงที่เปล่งออกมากจากลําคอสามารถบังคับได้ดีกว่าเสียงที่ออกมาจากจมูก จากทรวงอก การ เอื้อนควรใช้คําว่า “เอย” 6) การร้องหลบเสียงจากสูงลงมาต่ํา หรือหลบเสียงจากเสียงต่ําขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จะทําให้ ไม่ไพเราะ ในกรณีที่เห็นว่าจะทวนเสียงขึ้นไปร้องเสียงสูงไม่ได้ ก็ควรร้องเสียงต่ําตามความสามารถของตน 3. คําร้อง 1) คําร้องที่ปรากฏในบทเพลง จะต้องร้องให้ถูกต้องตามอักขระและชัดถ้อยชัดคํา โดย เฉพาะตัว ร ตัว ล ตัว ช ตัว ซ และพยายามออกเสียงหรือเอื้อนเสียงให้ชัดเจนในตอนท้าย แต่ทั้งนี้ยกเว้น อนุโลมตามสําเนียงเพลงของภาษาของชาติต่างๆ ไม่ต้องออกเสียงให้ชัดตามคําไทย 2) ออกเสียงตามรูปคําให้ถูกต้องตามมาตรฐานต่างๆ ในปาก เช่น ปุุมเหงือก ปุุมฟ๎น จะ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 20
  • 21. เรียนรู้กับครูอํานาจ ทําให้คําร้องชัดเจน 3) รู้จักแบ่งวรรคตอน ประโยคเพลง ตามลักษณะการประพันธ์และการถอนหายใจ ทั้งนี้ เพราะจะช่วยในการกลั้นเก็บลมไว้ร้อง รู้จักระบายลมหายใจทีละน้อย และไม่มีเสียงรบกวนในขณะที่สูดลม หายใจ อัตราช้า-เร็วของเพลงไทย เพลงไทยมีจังหวะช้า-เร็วไม่เท่ากัน ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 อัตรา คือ 1. เพลงไทยที่มีจังหวะเร็ว เรียกว่า เพลงอัตราชั้นเดียว 2. เพลงไทยที่มีจังหวะช้าปานกลาง คือช้ากว่าเพลงชั้นเดียวประมาณ 1 เท่าตัว เรียกว่า เพลงอัตรา สองชั้น 3. เพลงไทยที่มีจังหวะช้ากว่าเพลงสองชั้น คือช้ากว่าประมาณ 1 เท่าตัว เรียกว่า เพลงอัตราสามชั้น การสังเกตเพลงที่มีอัตราต่างๆ มีวิธีสังเกต 3 ประการ คือ 1. การฟ๎งจังหวะจากฉิ่ง กล่าวคือ ถ้าเป็นเพลงชั้นเดียว จะมีจังหวะ ฉิ่ง-ฉับ เร็วกว่าเพลงสองชั้น แต่ เพลงสองชั้นก็ยังมีจังหวะ ฉิ่ง-ฉับเร็วกว่าเพลงสามชั้นซึ่งมีจังหวะช้าที่สุด ถ้าเปรียบอัตราความเร็วของเพลงทั้ง 3 จังหวะ ภายในระยะเวลาเท่ากัน สมมติ เช่น ใน เวลา 1 นาที การตีฉิ่งจะมีจํานวนครั้งแตกต่างกันดังแผนภูมินี้ จังหวะฉิ่ง (-) จังหวะฉับ (+) เวลา 1 นาที เวลา 1 นาที 1. บทเพลงชั้นเดียว -+-+ -+-+ 2. บทเพลงสองชั้น - + - + 3. บทเพลงสามชั้น - + จากแผนภูมิจะเห็นว่า ในเวลา 1 นาที บทเพลงชั้นเดียวจะตีฉิ่งจํานวน 4 ครั้ง ซึ่งย่อมจะมีจังหวะเร็ว กว่าบทเพลงสองชั้นซึ่งตีฉิ่งเพียง 2 ครั้ง และบทเพลงชั้นเดียวจะมีจังหวะช้าที่สุด เพราะตีฉิ่งเพียงครั้งเดียว 2. สังเกตจากการเอื้อน กล่าวคือถ้าเป็นเพลงชั้นเดียว จํามีทํานองเอื้อนน้อยที่สุด เพลงสองชั้นมี ทํานองเอื้อนมากขึ้นและเพลงสามชั้นมีทํานองเอื้อนมากกว่าเพลงสองชั้น 3. สังเกตจากหน้าทับ ซึ่งเป็นเรืองยากและขอยกตัวอย่างจากหน้าทับปรบไก่ ่ หน้าทับปรบไก่ ถ้าฟ๎งจากเสียงตะโพนใน 1 จังหวะหน้าทับของปรบไก่ 2 ชั้น จะเป็นดังนี้ คือ พรึง ปฺะ ตุ๊บ พรึง พรึง ตุ๊บ พรึง เมื่อตะโพนตีหน้าทัปปรบไก่กับบทเพลงอัตราต่างๆ จะเป็นดังนี้ 1. บทเพลงชั้นเดียว ภายในเวลา 1 นาที (สมมติ) จะตีตะโพนครบ 1 จังหวะหน้าทับ 2. บทเพลงสองชั้น ภายในเวลา 1 นาที (สมมติ) จะตีตะโพนได้เพียงครึ่งจังหวะหน้าทับเท่านั้น ต้อง ขยายเวลาออกไปอีก 1 นาที จึงจะตีจังหวะตะโพนครบ 1 หน้าทับ 3. บทเพลงสามชั้น จะต้องใช้เวลาถึง 4 นาที จึงจะตีจังหวะตะโพนครบ 1 หน้าทับ โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์ หน้า 21