SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2560
ชื่อโครงงาน การฝังเข็ม (Acupuncture)
ชื่อผู้ทาโครงงาน
นางสาววิชยาพร ดอยกิ่ง เลขที่ 22 ชั้น ม.6 ห้อง 5
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
ผู้จัดทา
1 นาวสาววิชยาพร ดอยกิ่ง เลขที่ 22
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
การฝังเข็ม
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
Acupuncture
ประเภทโครงงาน พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาววิชยาพร ดอยกิ่ง
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่ากระแสความนิยมด้านการรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นได้ขยายวงกว้างไปทั่วโลกไม่
จําเพาะแต่ในทวีปเอเชียเท่านั้น หากแต่ยังได้รับความแพร่หลายไปถึงทวีปยุโรปและทวีปอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน ดังจะ
เห็นได้จากการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองการฝังเข็มว่าเป็นศาสตร์การรักษาอีกแขนงหนึ่งที่ให้
ประสิทธิผลได้อย่างเด่นชัด ซึ่งในประเทศไทยเองนั้นก็ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของการใช้การฝังเข็มเพื่อมา
ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและบําบัดโรคตามวิถีการรักษาแบบธรรมชาติบําบัดด้วยเช่นเดียวกัน จึงไม่แปลกที่ตาม
โรงพยาบาลและคลินิกต่างๆได้มีการเลือกใช้การฝังเข็มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรค ซึ่งจากสถิติของผู้ป่วยใน
ปัจจุบันที่เข้ารับการรักษาอาการปวดหลังด้วยวิธีการฝังเข็มนั้นมีเพิ่มมากขึ้นตามลําดับ เนื่องมาจากสภาพการดําเนิน
ชีวิตประจําวันของผู้คนที่ทําให้ร่างกายได้รับความเจ็บป่วย อาทิเช่น ท่าทางการนั่งทํางาน การยืนเป็นระยะเวลานาน
การยกของ การถือของหนัก หรือการนอนในท่าที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น ล้วนส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า และ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหลัง ผู้จัดทําจึงได้เห็นถึงความสําคัญ และได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับของการรักษาด้วย
การฝังเข็มแบบจีน ซึ่งการฝังเข็ม เป็นศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ที่ชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการ
คือ การใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อทําให้พลังงาน
และอวัยวะต่างๆของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลเป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรคด้วยการใช้เข็ม ซึ่งมี
หลายขนาด แทงลงไปตรงตําแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผน
จีนเพื่อปรับสมดุลของร่างกายยินและหยาง ผู้จัดทําได้สนใจจึงได้ศึกษาเรื่องการรักษาด้วยการฝังเข็มแบบจีนเพื่อให้ได้
ความรู้ และประโยชน์ต่อไป
วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทําโครงงาน ระบุเป็นข้อ)
1. เพื่อศึกษาเรื่องการรักษาด้วยการฝังเข้ม
2. เพื่อนํามาประยุกต์ใช้กับการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน
3. เพื่อให้ได้ความรู้เรื้องการรักษาด้วยการฝังเข็ม
4. เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา
3
ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจํากัดของการทําโครงงาน)
การรักษาด้วยการด้วยวิธีการ ฝังเข็ม และอัง
หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทําโครงงาน)
การฝังเข็ม คือศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการคือ การใช้เข็ม
ขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อทําให้พลังงานและอวัยวะต่างๆ
ของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
โดยในปัจจุบันองการอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การยอมรับว่าการฝังเข็มในโรคบางชนิดได้ผลดีมาก รวมทั้ง
ล่าสุดยังมีหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรค เช่น กรดไหลย้อน ปวดหัว ปวดศีรษะไมเกรน การรักษาด้วยการฝังเข็มให้
ผลการรักษาดีเทียบเท่า หรือ มากกว่าการใช้ยา โดยปลอดภัย และ ไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย
การฝังเข็มประกอบด้วย 2 วิธี คือ ฝังเข็ม และอัง เป็นส่วนประกอบสําคัญของแพทย์แผนโบราณจีน โดยทั่วไปจะ
รวมทั้งทฤษฏีฝังเข็ม จุดสําคัญตามร่างกาย เทคนิคการฝังเข็ม และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เป็นวัฒนธรรมแห่งชนชาติจีน
ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นตั้งแต่การก่อรูปขึ้น การประยุกต์ใช้และการพัฒนา เป็นมรดกล้ําค่าของวัฒนธรรมและ
วิทยาศาสตร์ของจีน
ชาวจีนได้ใช้ "เปียนสือ"(หินชนิดหนึ่ง)มากดและนาบตามบางส่วนของร่างกายเพื่อรักษาโรคตั้งแต่ยุคหินใหม่ คัมภีร์
"ภูเขาและทะเล" บันทึกไว้ว่า "มีหินเหมือนหยก ฝนเป็นเข็มได้" ซึ่งเป็นข้อความเกี่ยวกับเข็มหินที่เก่าแก่ที่สุด ส่วนการ
รักษาโรคด้วยวิธีอังด้วยความร้อนเกิดขึ้นหลังการใช้ไฟ ซึ่งในคัมภีร์ "หวงตี้เน่ยจิง" สมัยราชวงศ์ฉินและฮั่นมีข้อความว่า
"มีความเย็นแทรกเข้าร่างกายจนทําให้ป่วย ต้องใช้วิธีอัง" ซึ่งหมายถึงวิธีการอังนั่นเอง อีกทั้งยังได้บรรยายรูปร่างและ
วิธีผลิตเข็มไว้อย่างละเอียด รวมทั้งทฤษฏีและเทคนิคฝังเข็มจํานวนมาก ถึงสมัยชุนชิวจั้นกั๋ว การฝังเข็มมีความสมบูรณ์
แบบมากขึ้น มีนายแพทย์เชี่ยวชาญการฝังเข็มจํานวนไม่น้อย อย่างเช่น "เปี่ยนเชี่ย" ที่บันทึกไว้ในหนังสือ "สื่อจี้" เป็น 1
ในบรรดาตัวแทนสําคัญ เขาได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งแพทยศาสตร์จีน ฝีมือการฝังเข็มของเขามีความสุด
ยอดจนกระทั่งฟื้นชีวิตคนได้ เรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาโรคให้ชาวบ้านได้เล่าต่อกันในทุกยุคทุกสมัย จนถึงปัจจุบัน ที่
อําเภอเน่ยชิว มณฑลเหอเป่ย ยังมีศาลเจ้าเชี่ยหวางและจัดกิจกรรมบวงสรวงตามประเพณีท้องถิ่นอยู่
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคและหรือบรรเทาอาการด้วย วิธีฝังเข็ม ไว้ดังนี้
1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัด เป็นพิเศษ
อาการปวด ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจาก
4
การเคล็ดขัดยอก ปวดประจําเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ําดี ปวดศีรษะ มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมี
ประจําเดือน ปวดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบน
ใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน อาการซึมเศร้า
โรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ํา งูสวัด
เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง
แพ้ท้อง คลื่นเหียรอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด
2. การรักษาที่ให้ผลดี อาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลําคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ําใน
ช่องหู สายตาสั้นในเด็ก เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทําให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลําไส้เมื่อเกิด
ความเครียด
3. การรักษาที่ได้ผล ท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อน
ต่ํา เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ํานมไม่พอ
ผู้ที่ไม่ควรฝังเข็ม
1.เป็นโรคติดเชื้อต่างๆ
2.เป็นโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา
3.เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
4.สตรีตั้งครรภ์
5.เป็นโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
การเตรีมตัวก่อนการรักษา
กระบวนการรักษาโรคนั้น เป็นกระบวนการของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่ง
ความสัมพันธ์นี้ไม่ควรเป็นลักษณะของ “การสั่งทํา” แพทย์และผู้ปวยควรสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของ “ความ
ร่วมมือ” กันมากกว่า ผลการรักษาของโรคหนึ่ง ๆ จะดีหรือไม่อย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่า แพทย์และผู้ป่วยจะสามารถ
ประสานร่วมมือกันได้ดีเพียงใดอีกด้วย
เวชกรรมฝังเข็มกล่าวสําหรับคนไทยเราแล้ว ยังนับเป็นเรื่องแปลกใหม่ ดังนั้นเมื่อจะไปรักษาย่อมมีความ
กังวลใจและความหวาดกลัวเกิดขึ้นไม่รู้ว่าควรจะเตรียมปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? ทําให้การประสานร่วมมือในการรักษา
ไม่ราบรื่น ผลการรักษาจึงอาจไม่ดีเท่าที่ควร
ดังนั้น ก่อนไปฝังเข็ม ผู้ป่วยก็ควรต้องมีการเตรียมตัวด้วย
1. เตรียมใจไปรักษา
ผู้ป่วยรายหนึ่งเปนโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานหลายปี ตะเวนไปรักษากินยาสาร
พัดแต่อาการไม่ทุเลา บังเอิญมีญาติคุยเรื่องฝังเข็มให้ฟังและพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ เมื่อแพทย์ตรวจดุแล้ว จึงแนะนําให้
รักษาด้วยการฝังเข็ม แต่ผู้ป่วยกลัวเจ็บมาก ขณะที่นอนบนเตียง เมื่อแพทย์จะลงมือปักเข็ม ผู้ป่วยก็ร้องเสียงดังลั่นด้วย
ความกลัว กล้ามเนื้อเกร็งไปหมดทั้งตัว จนกระทั่งแพทย์หมดปัญญาที่จะปักเข็มได้ สุดท้ายจึงต้องยกเลิกการรักษาไป
การฝังเข็มนั้นเป็ฯการรักษาที่มีลักษณะเป็น “หัตถการ” ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วย
หวาดกลัวดิ้นไปมาโดยเฉพาะถ้าเป็นเด็ก แพทย์ก็จะปักเข็มได้ไม่ถนัดหรือผิดพลาด ผลการรักษาย่อมไม่ดีอย่างแน่นอน
หรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
5
ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม จึงควรมาด้วยความมั่นใจต่อการรักษา มิใช่มาด้วยความกังวล หวดวิตก บางคนกลัว
เข็มเสียจริง ๆ กระทั่งเข็มฉีดยาก็ยังกลัวหรือแค่เห็นก็หวาดเสียว บางคนหน้าซีดใจสั่นหรือกระทั่งเป็นลมไปเลยก็มี
ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ควรจะรักษาด้วยการฝังเข็ม เพราะผลการรักษามักจะไม่ค่อยดีเสมอ
แพทย์เวชกรรมฝังเข็มที่ดีจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเป้าหมาย วิธีการ ข้อดีข้อเสียของการ
รักษาให้ชัดเจนพอสมควร จะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยและญาติได้มากทีเดียว
2. สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม
ในการฝังเข็ม ตําแหน่งจุดปักเข็มบางครั้งจะอยู่บริเวณใต้ร่มผ้า ผู้ป่วยจึงควรสวมใส่เนื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วน
ระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือกางเกง เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ควรรัดแน่นเกินไปเพื่อสะดวกในการถลกพับ แขนเสื้อและ
ปลายขากางเกงควรให้หบวมหรือกว้างพอที่จะพักสุงขึ้นมาหรือข้อศอกหรือข้อเข่าได้ ในกรณีที่ต้องปักเข็มบริเวณไหล่
หรือต้นคอก็ควรเลือกสวมเสื้อที่มีคอกว้าง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ควรสวมเสื้อแขนกุดและกางเกงขาสั้นจะทําให้แพทย์ปักเข็มได้สะดวกง่ายดายขึ้น
โดยทั่วไปแล้วควรจัดให้ผู้ป่วยฝังเข็มในท่านอนเสมอ เพราะผู้ป่วยสามารถผ่อนคลายในขณะฝังเข็มได้ดีกว่า และยัง
ช่วยป้องกันภาวะ “เวียนศีรษะหน้ามืด” ที่อาจเกิดได้ง่ายในรายที่วิตกหวาดกลัวมาก
3. รับประทานอาการให้พอเหมาะ
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มาฝังเข็มควรรับประทานอาการมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทาน
อาหารมากจนเกินไป หากเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มมาใหม่ ๆ หรือรับประทานมากเกินไป อาหารยังคงค้างอยู่ใน
กระเพาะอาหารมาก เมื่อมาฝังเข็มซึ่งต้องนอนเป็นเวลานาน ๆ ถึง 20 นาที อาจทําให้รู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะในท่านอน
คว่ําผู้ป่วยอาจทนไม่ได้ นอกจากนี้ หากต้องปักเข็มบริเวณหน้าท้อง ถ้ากระเพาะอาหารบรรจุอาหารจนพองโตมาก ๆ
อาจทําให้เกิดอันตายจากการปักเข็มทะลุเข้าไปในช่องท้องหรือกระเพาะอาหารได้ง่าย
ตรงกันข้าม ไม่ควรมารักษาในขณะที่กําลังหิวจัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการ “หน้ามืดเป็นลม” ได้ง่าย
เมื่อกระตุ้เข็มแรง ๆ ทั้งนี้เพราะว่าร่างกายอาจขาดพลังงานที่จะเอามาใช้เผาพลาญ ในขณะที่ระบบประสาทและ
ฮอร์โมนกําลังถูกกระตุ้นจากการฝังเข็ม
4. ทาความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย
การฝังเป็นมเป็นหัตถการที่ต้องใช้วัตถุแหลมคมปักผ่านผิวหนังลงไปในร่างกาย ผู้ป่วยจึงควรมีสภาพร่างกาย
ที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ก่อนมาฝังเข็ม หากผู้ป่วยสามารถอาบน้ําสระผมมา
ก่อนได้นั่นก็จะดีที่สุด หรืออย่างน้อยก็อย่าให้ส่วนของร่างกายบริเวณที่ต้องปักเข็มนั้นสกปรกจนเกินไปก็ถือว่าใช้ได้
เหมือนกัน ผู้ป่วยบางคนมาฝังเข็ม ทั้ง ๆ ที่เท้ายังมีโคลนติดอยู่เลย เช่นนี้ก็ควรล้างเท้าให้สะอาดเสียก่อน เพราะอาจ
ทําให้เชื้อโรคเข้าไปในร่งกายได้ง่าย
ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการปักเข็มศีรษะ ควรตัดผมให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทําได้ นอกจากนี้ ไม่ควรใช้เยลหรือ
ครีมทาผมที่เหนียวเหนอะหนะหรือถ้าหากไม่ใช้เลยจะดีที่สุด เพื่อสะดวกแก่แพทย์ในการปักเข็มเช่นกัน
ผู้ป่วยสตรีที่กําลังมีประจําเดือนมานั้น สามารถปักเข็มรักษาได้ โดยไม่มีอันตรายอะไรเลย การที่ไม่นิยม
ฝังเข็มในช่วงนี้คงเป็นเรื่องของความไม่สะดวกหรือความกระดากอายมากกว่า
5. สงบกายและใจในขณะรักษา
เมื่อแพทย์ปักเข็มลงบนผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายกับถูกมดกัด เมื่อแพทย์ปักถึงตําแหน่งจุด
ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชา เล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทําการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้ตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ
หรือชาเล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทําการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้สึกตื้อหรือหนักชามากขึ้น ในบางครั้ง ความรู้สึก
ดังกล่าวอาจจะแผ่เคลื่อนที่ออกไปตามแนวเส้นลมปราณก็ได้ หากเกิดความรู้สึกเช่นนี้ มักจะมีผลการรักษาดีเสมอ
6
ในกรณีที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า กล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็ม มีการเต้นกระตุกเบา ๆ เป็น
จังหวะตามกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น
โดยทั่วไปแล้ว ในระหว่างการฝังเข็มผู้ป่วยไม่ควรมีอาการเจ็บปวดหรือชามากจนเกินไป หากรู้สึกเจ็บปวด
มากหรือมีอาการชามาก ๆ หรือรู้สึกเหมือนถูก “ฟฟ้าซ๊อต” ควรรีบบอกแพทย์ทันที เพราะเข็มอาจจะไปแทงถูกเส้น
เลือดหรือเส้นประสาท หรือตําแหน่งของเข็มไม่ถูกต้อง หรือตั้งความแรงของกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกระตุ้นไม่
เหมาะสมก็ได้
“ในระหว่างรักษา หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใด ๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
หรือมืด รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้รีบบอกแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ช่วยแพทย์ทันที”
ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกายนั้น ควรนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคา
อยู่ เพราะอาจทําให้เข็มงอหรือหักคาเนื้อได้ ยกเว้นการขยับตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังสามารถทําได้ แต่ร่ากายส่วนอื่น ๆ ที่
ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ตามสบาย
การฝังเข็มนั้นเป็ฯการกระตุ้นระบบประสาทเพื่อรปับการทํางานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ให้สู่สภาพสมดุล
ถ้าหากมีสิ่งใดมารบกวนระบบประสาทมากไปในขณะที่กําลังกระตุ้น กลไกการปรับสมดุลของการฝังเข็มก็ย่อมจะถูก
กระทบกระเทือนไปด้วย
ระหว่างที่ปักเข็มรักษา ผู้ป่วยควรอยู่ในสภาพที่สงบผ่อนคลายอาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้า ๆ ให้เป็น
จังหวะสม่ําเสมอ เพื่อช่วยทําให้จิตใจสงบสบาย ในสมัยโบราณที่ชาวจีนรักษาด้วยการฝังเข็มนั้น จึงมักมีการฝึกเดิน
ลมปราณหายใจร่วมไปด้วย ก็มีเหตุผลเช่นนี้นั่นเอง
ถ้าอยู่ในสภาพภายในห้องฝังเข็มมีบรรยากาศที่วุ่นวาย อึกทึกครึกโครม ผู้ป่วยนอนอยู่ในสภาวะที่ตืน
ตระหนก วิตกกังวล เจ็บปวดหรือหวาดกลัว ผลการรักษาก็มักจะออกมาไม่ค่อยดี
ในระหว่างที่ปักเข็มกระตุ้นอยู่นั้น ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกง่วงนอน เนื่องจาก การฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้
ร่างกายมีการหลั่ง สารเอนดอร์ฟีน (endorphins) เกิดขึ้น สารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนช่วยลดความเจ็บปวดและช่วย
กล่อมประสาทให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม เมื่อรักษาไปหลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยบางคนจะพบว่าตนเองนอนหลับได้ง่ายขึ้นหรือหลับ
สนิทขึ้น และจิตใจก็จะสดชื่นแจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
จากการสํารวจพบว่า มีชาวอเมริกันจํานวนไม่น้อยทีเดียที่ไปฝังเข็มด้วยเหตุผลเพื่อกระตุ้นร่างกายและ
จิตใจให้สดชื่น ทั้งท ๆ ที่พวกเข้าไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคอะไรเลยก็มี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฤทธิ์ดังกล่าวนี่เอง
https://www.vichaivej.com/nongkhaem/clinics-detail.php?item=19
6. การปฏิบัติตัวหลังการรักษา
หลังจากปักเข็มกระตุ้นครบเวลาตามกําหนด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีแล้ว แพทย์ก็จะถอนเข็ม
ออก บางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ตรงจุดที่ปักเข็มเหมือนกับเวลาไปฉีดยา เนื่องจากเข็มอาจปักไปถูกเส้นเลือด
ฝอยเล็ก ๆ เมื่อใช้สําลีกดเอาไว้สักครู่ เลือกก็จะหยุดได้เอง
7
หลังเสร็จสิ้นจากการรักษา โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษอะไรเลย ผู้ป่วยสามารถรับประทาน
อาการ อาบน้ํา ทํากิจวัตรประจําวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณ๊ที่ติดเข็มคาใบหู เวลาอาบน้ําต้องระมัดระวังมิให้
ใบหูเปียกน้ํา
โดยทั่วไปแล้วหลังจากฝังเข็ม ผู้ป่วยไม่จําเป็นต้องกลับไปนอนพักแต่อย่างไร สามารถขับรถหรือกลับไป
ทํางานได้ เว้นแต่บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียหลังจากฝังเข็ม เมื่อนอนพักแล้วก็จะหายไปได้
7. การรักษาอื่น ๆ ร่วมกับการฝังเข็ม
ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม อาจมีโรคประจําตัวอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ ซึ่งมักจะต้องมียารับประทานรักษาอยู่เป็นประจํา หรือมีอาการ
รักษาอื่น ๆ เช่น กายภาพบําบัด ร่วมอยู่ด้วย
โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยการฝังเข็ม มักสามารถจะรับประทานยาหรือใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมไปด้วยได้
โดยไม่มีข้อห้ามอะไร
อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า การฝังเข็มอาจช่วยบรรเทาอาการโรคได้ด้วย เช่น ผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูง
ที่มาฝังเข็มรักษาโรคอัมพาตของตนเอง อาจมีความดันโลหิตลดลงมาได้ในระหว่างรักษา ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องปรับลดข
นายาลงมาด้วย แต่ผู้ป่วยไม่ควรยหุดยาเหล่านั้นเองโดยพลการ
8. ข้อห้ามและข้อควรระวังสาหรับการฝังเข็ม
1. ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้
2. ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกําลังกายหนัก
3. สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอด เพราะว่าผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็น
เวลานาน ๆ ได้ การนอนหงายจะทําให้มดลูกและทารกในครรภ์กดทับหลอดเลือดดําใหญ่ในช่องท้อง อาจทําให้ผู้ป่วย
มีอาการช๊อกเป็นลมได้ ส่วนท่านอนคว่ําก็ไม่เหมาะสมกับสตรีขณะตั้งครรภ์ เพราะจะกดทับทารกในครรภ์และ
ก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายแก่มารดา
4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดออกแล้วหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ถ้า
จําเป็นต้องรักษาควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การปักเข็มหรือการกระตุ้นเข็ม แพทย์จะต้องทําอย่างนุ่นนวลระวังมิให้เข็ม
ปักโดนเส้นเลือดใหญ่ หลังจากถอนเข็ม ต้องกดห้ามเลือดให้นานกว่าผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป
5. ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
6. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย ห้ามรักษาโดยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วย
ไฟฟ้า เพราะอาจรบกวนการทํางานของเครื่อง ทําให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตาม ใน
กรณีเช่นนี้ ยังคงสามารถปักเข็มกระตุ้นโดยวิธีการหมุนปั่นด้วยมือได้
วิธีดาเนินงาน
แนวทางการดาเนินงาน
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
งบประมาณ
8
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
__________________________________________________________________
___________________________________________________________________
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
ลาดับ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
12
1
3
1
4
1
5
16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
3 จัดทําโครงร่างงาน
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
5 ปรับปรุงทดสอบ
6 การทําเอกสารรายงาน
7 ประเมินผลงาน
8 นําเสนอโครงงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทําโครงงาน)
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
สถานที่ดําเนินการ
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นํามาใช้การทําโครงงาน)
9
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________

More Related Content

What's hot

2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ปราณปริยา สุขเสริฐ
 
คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 6
คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1  6คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1  6
คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 6singha_koy
 
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...krooyim515
 
โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกFrench Natthawut
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมParida Rakraj
 
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...Suphalak Somphuvet
 
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนัง
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนังประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนัง
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนังSuphalak Somphuvet
 
2562 final-project 34-610
2562 final-project  34-6102562 final-project  34-610
2562 final-project 34-610Pichnaree Suta
 

What's hot (13)

2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
N sdis 143_60_1
N sdis 143_60_1N sdis 143_60_1
N sdis 143_60_1
 
AT1AT1
AT1AT1AT1AT1
AT1AT1
 
คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 6
คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1  6คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1  6
คะแนนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 6
 
N sdis 144_60_10
N sdis 144_60_10N sdis 144_60_10
N sdis 144_60_10
 
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้นักเรียน ป.5-6 โรงเรียนสตรีีปากพนัง ในเขตอำเภอ...
 
โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
 
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 โรงเรียนสตรีปากพนัง สำหรับนักเรียนในเขต...
 
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนัง
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนังประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6  สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนัง
ประกาศผลการสอบวัดพื้นฐานความรู้ป.5-6 สำหรับนักเรียนนอกเขตอำเภอปากพนัง
 
2562 final-project 34-610
2562 final-project  34-6102562 final-project  34-610
2562 final-project 34-610
 

Similar to 2560การฝังเข็ม (20)

Daniellll
DaniellllDaniellll
Daniellll
 
2562-final-project
 2562-final-project  2562-final-project
2562-final-project
 
2562 final-project -2 (1)
2562 final-project -2 (1)2562 final-project -2 (1)
2562 final-project -2 (1)
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
At22
At22At22
At22
 
2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj
 
W.1
W.1W.1
W.1
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
2562 final-project 14......
2562 final-project 14......2562 final-project 14......
2562 final-project 14......
 
W.1
W.1W.1
W.1
 
2562 final-project 14
2562 final-project 142562 final-project 14
2562 final-project 14
 
W.11
W.11W.11
W.11
 
Com555
Com555Com555
Com555
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
Thipwana1
Thipwana1Thipwana1
Thipwana1
 
2562 final-project 16-pimolpa
2562 final-project 16-pimolpa2562 final-project 16-pimolpa
2562 final-project 16-pimolpa
 
W.111
W.111W.111
W.111
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
The effect of sleep deprivation
The effect of sleep deprivationThe effect of sleep deprivation
The effect of sleep deprivation
 

More from Nichaphat Sanguthai

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์Nichaphat Sanguthai
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมNichaphat Sanguthai
 
การฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการังการฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการังNichaphat Sanguthai
 
2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvk
2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvk2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvk
2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvkNichaphat Sanguthai
 
ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง
ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง
ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง Nichaphat Sanguthai
 
ใบงานสำรวจตนเอง
ใบงานสำรวจตนเองใบงานสำรวจตนเอง
ใบงานสำรวจตนเองNichaphat Sanguthai
 
ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6
ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6
ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6Nichaphat Sanguthai
 
แบบสำรวจตัวเอง
แบบสำรวจตัวเองแบบสำรวจตัวเอง
แบบสำรวจตัวเองNichaphat Sanguthai
 

More from Nichaphat Sanguthai (20)

2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
 
ปลาตีน
ปลาตีนปลาตีน
ปลาตีน
 
การฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการังการฟื้นฟูปะการัง
การฟื้นฟูปะการัง
 
Yoga
YogaYoga
Yoga
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvk
2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvk2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvk
2560 project bdsvbsdvbsdvbsnknvslnvk
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
04 017 p51
04 017 p5104 017 p51
04 017 p51
 
Book20110408103212
Book20110408103212Book20110408103212
Book20110408103212
 
Kc4104041
Kc4104041Kc4104041
Kc4104041
 
24
2424
24
 
ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง
ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง
ใบงานที่1 แบบสำรวจตนเอง
 
ใบงานสำรวจตนเอง
ใบงานสำรวจตนเองใบงานสำรวจตนเอง
ใบงานสำรวจตนเอง
 
ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6
ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6
ใบงานสำรวจตนเอง123456 m6
 
Thanakritsomrit
ThanakritsomritThanakritsomrit
Thanakritsomrit
 
แบบสำรวจตัวเอง
แบบสำรวจตัวเองแบบสำรวจตัวเอง
แบบสำรวจตัวเอง
 

2560การฝังเข็ม

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2560 ชื่อโครงงาน การฝังเข็ม (Acupuncture) ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาววิชยาพร ดอยกิ่ง เลขที่ 22 ชั้น ม.6 ห้อง 5 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ ผู้จัดทา 1 นาวสาววิชยาพร ดอยกิ่ง เลขที่ 22 ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) การฝังเข็ม ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Acupuncture ประเภทโครงงาน พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาววิชยาพร ดอยกิ่ง ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน ในปัจจุบันคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่ากระแสความนิยมด้านการรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นได้ขยายวงกว้างไปทั่วโลกไม่ จําเพาะแต่ในทวีปเอเชียเท่านั้น หากแต่ยังได้รับความแพร่หลายไปถึงทวีปยุโรปและทวีปอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน ดังจะ เห็นได้จากการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การรับรองการฝังเข็มว่าเป็นศาสตร์การรักษาอีกแขนงหนึ่งที่ให้ ประสิทธิผลได้อย่างเด่นชัด ซึ่งในประเทศไทยเองนั้นก็ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของการใช้การฝังเข็มเพื่อมา ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและบําบัดโรคตามวิถีการรักษาแบบธรรมชาติบําบัดด้วยเช่นเดียวกัน จึงไม่แปลกที่ตาม โรงพยาบาลและคลินิกต่างๆได้มีการเลือกใช้การฝังเข็มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรค ซึ่งจากสถิติของผู้ป่วยใน ปัจจุบันที่เข้ารับการรักษาอาการปวดหลังด้วยวิธีการฝังเข็มนั้นมีเพิ่มมากขึ้นตามลําดับ เนื่องมาจากสภาพการดําเนิน ชีวิตประจําวันของผู้คนที่ทําให้ร่างกายได้รับความเจ็บป่วย อาทิเช่น ท่าทางการนั่งทํางาน การยืนเป็นระยะเวลานาน การยกของ การถือของหนัก หรือการนอนในท่าที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น ล้วนส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหลัง ผู้จัดทําจึงได้เห็นถึงความสําคัญ และได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับของการรักษาด้วย การฝังเข็มแบบจีน ซึ่งการฝังเข็ม เป็นศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ที่ชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการ คือ การใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อทําให้พลังงาน และอวัยวะต่างๆของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลเป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรคด้วยการใช้เข็ม ซึ่งมี หลายขนาด แทงลงไปตรงตําแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผน จีนเพื่อปรับสมดุลของร่างกายยินและหยาง ผู้จัดทําได้สนใจจึงได้ศึกษาเรื่องการรักษาด้วยการฝังเข็มแบบจีนเพื่อให้ได้ ความรู้ และประโยชน์ต่อไป วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทําโครงงาน ระบุเป็นข้อ) 1. เพื่อศึกษาเรื่องการรักษาด้วยการฝังเข้ม 2. เพื่อนํามาประยุกต์ใช้กับการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน 3. เพื่อให้ได้ความรู้เรื้องการรักษาด้วยการฝังเข็ม 4. เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา
  • 3. 3 ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจํากัดของการทําโครงงาน) การรักษาด้วยการด้วยวิธีการ ฝังเข็ม และอัง หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทําโครงงาน) การฝังเข็ม คือศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการคือ การใช้เข็ม ขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อทําให้พลังงานและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล โดยในปัจจุบันองการอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การยอมรับว่าการฝังเข็มในโรคบางชนิดได้ผลดีมาก รวมทั้ง ล่าสุดยังมีหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรค เช่น กรดไหลย้อน ปวดหัว ปวดศีรษะไมเกรน การรักษาด้วยการฝังเข็มให้ ผลการรักษาดีเทียบเท่า หรือ มากกว่าการใช้ยา โดยปลอดภัย และ ไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย การฝังเข็มประกอบด้วย 2 วิธี คือ ฝังเข็ม และอัง เป็นส่วนประกอบสําคัญของแพทย์แผนโบราณจีน โดยทั่วไปจะ รวมทั้งทฤษฏีฝังเข็ม จุดสําคัญตามร่างกาย เทคนิคการฝังเข็ม และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เป็นวัฒนธรรมแห่งชนชาติจีน ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นตั้งแต่การก่อรูปขึ้น การประยุกต์ใช้และการพัฒนา เป็นมรดกล้ําค่าของวัฒนธรรมและ วิทยาศาสตร์ของจีน ชาวจีนได้ใช้ "เปียนสือ"(หินชนิดหนึ่ง)มากดและนาบตามบางส่วนของร่างกายเพื่อรักษาโรคตั้งแต่ยุคหินใหม่ คัมภีร์ "ภูเขาและทะเล" บันทึกไว้ว่า "มีหินเหมือนหยก ฝนเป็นเข็มได้" ซึ่งเป็นข้อความเกี่ยวกับเข็มหินที่เก่าแก่ที่สุด ส่วนการ รักษาโรคด้วยวิธีอังด้วยความร้อนเกิดขึ้นหลังการใช้ไฟ ซึ่งในคัมภีร์ "หวงตี้เน่ยจิง" สมัยราชวงศ์ฉินและฮั่นมีข้อความว่า "มีความเย็นแทรกเข้าร่างกายจนทําให้ป่วย ต้องใช้วิธีอัง" ซึ่งหมายถึงวิธีการอังนั่นเอง อีกทั้งยังได้บรรยายรูปร่างและ วิธีผลิตเข็มไว้อย่างละเอียด รวมทั้งทฤษฏีและเทคนิคฝังเข็มจํานวนมาก ถึงสมัยชุนชิวจั้นกั๋ว การฝังเข็มมีความสมบูรณ์ แบบมากขึ้น มีนายแพทย์เชี่ยวชาญการฝังเข็มจํานวนไม่น้อย อย่างเช่น "เปี่ยนเชี่ย" ที่บันทึกไว้ในหนังสือ "สื่อจี้" เป็น 1 ในบรรดาตัวแทนสําคัญ เขาได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งแพทยศาสตร์จีน ฝีมือการฝังเข็มของเขามีความสุด ยอดจนกระทั่งฟื้นชีวิตคนได้ เรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาโรคให้ชาวบ้านได้เล่าต่อกันในทุกยุคทุกสมัย จนถึงปัจจุบัน ที่ อําเภอเน่ยชิว มณฑลเหอเป่ย ยังมีศาลเจ้าเชี่ยหวางและจัดกิจกรรมบวงสรวงตามประเพณีท้องถิ่นอยู่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคและหรือบรรเทาอาการด้วย วิธีฝังเข็ม ไว้ดังนี้ 1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัด เป็นพิเศษ อาการปวด ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจาก
  • 4. 4 การเคล็ดขัดยอก ปวดประจําเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ําดี ปวดศีรษะ มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมี ประจําเดือน ปวดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบน ใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน อาการซึมเศร้า โรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ํา งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นเหียรอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด 2. การรักษาที่ให้ผลดี อาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลําคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ําใน ช่องหู สายตาสั้นในเด็ก เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทําให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลําไส้เมื่อเกิด ความเครียด 3. การรักษาที่ได้ผล ท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อน ต่ํา เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ํานมไม่พอ ผู้ที่ไม่ควรฝังเข็ม 1.เป็นโรคติดเชื้อต่างๆ 2.เป็นโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา 3.เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด 4.สตรีตั้งครรภ์ 5.เป็นโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด การเตรีมตัวก่อนการรักษา กระบวนการรักษาโรคนั้น เป็นกระบวนการของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่ง ความสัมพันธ์นี้ไม่ควรเป็นลักษณะของ “การสั่งทํา” แพทย์และผู้ปวยควรสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของ “ความ ร่วมมือ” กันมากกว่า ผลการรักษาของโรคหนึ่ง ๆ จะดีหรือไม่อย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่า แพทย์และผู้ป่วยจะสามารถ ประสานร่วมมือกันได้ดีเพียงใดอีกด้วย เวชกรรมฝังเข็มกล่าวสําหรับคนไทยเราแล้ว ยังนับเป็นเรื่องแปลกใหม่ ดังนั้นเมื่อจะไปรักษาย่อมมีความ กังวลใจและความหวาดกลัวเกิดขึ้นไม่รู้ว่าควรจะเตรียมปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? ทําให้การประสานร่วมมือในการรักษา ไม่ราบรื่น ผลการรักษาจึงอาจไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ก่อนไปฝังเข็ม ผู้ป่วยก็ควรต้องมีการเตรียมตัวด้วย 1. เตรียมใจไปรักษา ผู้ป่วยรายหนึ่งเปนโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานหลายปี ตะเวนไปรักษากินยาสาร พัดแต่อาการไม่ทุเลา บังเอิญมีญาติคุยเรื่องฝังเข็มให้ฟังและพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ เมื่อแพทย์ตรวจดุแล้ว จึงแนะนําให้ รักษาด้วยการฝังเข็ม แต่ผู้ป่วยกลัวเจ็บมาก ขณะที่นอนบนเตียง เมื่อแพทย์จะลงมือปักเข็ม ผู้ป่วยก็ร้องเสียงดังลั่นด้วย ความกลัว กล้ามเนื้อเกร็งไปหมดทั้งตัว จนกระทั่งแพทย์หมดปัญญาที่จะปักเข็มได้ สุดท้ายจึงต้องยกเลิกการรักษาไป การฝังเข็มนั้นเป็ฯการรักษาที่มีลักษณะเป็น “หัตถการ” ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วย หวาดกลัวดิ้นไปมาโดยเฉพาะถ้าเป็นเด็ก แพทย์ก็จะปักเข็มได้ไม่ถนัดหรือผิดพลาด ผลการรักษาย่อมไม่ดีอย่างแน่นอน หรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
  • 5. 5 ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม จึงควรมาด้วยความมั่นใจต่อการรักษา มิใช่มาด้วยความกังวล หวดวิตก บางคนกลัว เข็มเสียจริง ๆ กระทั่งเข็มฉีดยาก็ยังกลัวหรือแค่เห็นก็หวาดเสียว บางคนหน้าซีดใจสั่นหรือกระทั่งเป็นลมไปเลยก็มี ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ควรจะรักษาด้วยการฝังเข็ม เพราะผลการรักษามักจะไม่ค่อยดีเสมอ แพทย์เวชกรรมฝังเข็มที่ดีจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเป้าหมาย วิธีการ ข้อดีข้อเสียของการ รักษาให้ชัดเจนพอสมควร จะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยและญาติได้มากทีเดียว 2. สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม ในการฝังเข็ม ตําแหน่งจุดปักเข็มบางครั้งจะอยู่บริเวณใต้ร่มผ้า ผู้ป่วยจึงควรสวมใส่เนื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วน ระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือกางเกง เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ควรรัดแน่นเกินไปเพื่อสะดวกในการถลกพับ แขนเสื้อและ ปลายขากางเกงควรให้หบวมหรือกว้างพอที่จะพักสุงขึ้นมาหรือข้อศอกหรือข้อเข่าได้ ในกรณีที่ต้องปักเข็มบริเวณไหล่ หรือต้นคอก็ควรเลือกสวมเสื้อที่มีคอกว้าง ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ควรสวมเสื้อแขนกุดและกางเกงขาสั้นจะทําให้แพทย์ปักเข็มได้สะดวกง่ายดายขึ้น โดยทั่วไปแล้วควรจัดให้ผู้ป่วยฝังเข็มในท่านอนเสมอ เพราะผู้ป่วยสามารถผ่อนคลายในขณะฝังเข็มได้ดีกว่า และยัง ช่วยป้องกันภาวะ “เวียนศีรษะหน้ามืด” ที่อาจเกิดได้ง่ายในรายที่วิตกหวาดกลัวมาก 3. รับประทานอาการให้พอเหมาะ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มาฝังเข็มควรรับประทานอาการมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทาน อาหารมากจนเกินไป หากเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มมาใหม่ ๆ หรือรับประทานมากเกินไป อาหารยังคงค้างอยู่ใน กระเพาะอาหารมาก เมื่อมาฝังเข็มซึ่งต้องนอนเป็นเวลานาน ๆ ถึง 20 นาที อาจทําให้รู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะในท่านอน คว่ําผู้ป่วยอาจทนไม่ได้ นอกจากนี้ หากต้องปักเข็มบริเวณหน้าท้อง ถ้ากระเพาะอาหารบรรจุอาหารจนพองโตมาก ๆ อาจทําให้เกิดอันตายจากการปักเข็มทะลุเข้าไปในช่องท้องหรือกระเพาะอาหารได้ง่าย ตรงกันข้าม ไม่ควรมารักษาในขณะที่กําลังหิวจัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการ “หน้ามืดเป็นลม” ได้ง่าย เมื่อกระตุ้เข็มแรง ๆ ทั้งนี้เพราะว่าร่างกายอาจขาดพลังงานที่จะเอามาใช้เผาพลาญ ในขณะที่ระบบประสาทและ ฮอร์โมนกําลังถูกกระตุ้นจากการฝังเข็ม 4. ทาความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย การฝังเป็นมเป็นหัตถการที่ต้องใช้วัตถุแหลมคมปักผ่านผิวหนังลงไปในร่างกาย ผู้ป่วยจึงควรมีสภาพร่างกาย ที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ก่อนมาฝังเข็ม หากผู้ป่วยสามารถอาบน้ําสระผมมา ก่อนได้นั่นก็จะดีที่สุด หรืออย่างน้อยก็อย่าให้ส่วนของร่างกายบริเวณที่ต้องปักเข็มนั้นสกปรกจนเกินไปก็ถือว่าใช้ได้ เหมือนกัน ผู้ป่วยบางคนมาฝังเข็ม ทั้ง ๆ ที่เท้ายังมีโคลนติดอยู่เลย เช่นนี้ก็ควรล้างเท้าให้สะอาดเสียก่อน เพราะอาจ ทําให้เชื้อโรคเข้าไปในร่งกายได้ง่าย ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการปักเข็มศีรษะ ควรตัดผมให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทําได้ นอกจากนี้ ไม่ควรใช้เยลหรือ ครีมทาผมที่เหนียวเหนอะหนะหรือถ้าหากไม่ใช้เลยจะดีที่สุด เพื่อสะดวกแก่แพทย์ในการปักเข็มเช่นกัน ผู้ป่วยสตรีที่กําลังมีประจําเดือนมานั้น สามารถปักเข็มรักษาได้ โดยไม่มีอันตรายอะไรเลย การที่ไม่นิยม ฝังเข็มในช่วงนี้คงเป็นเรื่องของความไม่สะดวกหรือความกระดากอายมากกว่า 5. สงบกายและใจในขณะรักษา เมื่อแพทย์ปักเข็มลงบนผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายกับถูกมดกัด เมื่อแพทย์ปักถึงตําแหน่งจุด ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชา เล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทําการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้ตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชาเล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทําการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้สึกตื้อหรือหนักชามากขึ้น ในบางครั้ง ความรู้สึก ดังกล่าวอาจจะแผ่เคลื่อนที่ออกไปตามแนวเส้นลมปราณก็ได้ หากเกิดความรู้สึกเช่นนี้ มักจะมีผลการรักษาดีเสมอ
  • 6. 6 ในกรณีที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า กล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็ม มีการเต้นกระตุกเบา ๆ เป็น จังหวะตามกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น โดยทั่วไปแล้ว ในระหว่างการฝังเข็มผู้ป่วยไม่ควรมีอาการเจ็บปวดหรือชามากจนเกินไป หากรู้สึกเจ็บปวด มากหรือมีอาการชามาก ๆ หรือรู้สึกเหมือนถูก “ฟฟ้าซ๊อต” ควรรีบบอกแพทย์ทันที เพราะเข็มอาจจะไปแทงถูกเส้น เลือดหรือเส้นประสาท หรือตําแหน่งของเข็มไม่ถูกต้อง หรือตั้งความแรงของกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกระตุ้นไม่ เหมาะสมก็ได้ “ในระหว่างรักษา หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใด ๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือมืด รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้รีบบอกแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ช่วยแพทย์ทันที” ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกายนั้น ควรนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคา อยู่ เพราะอาจทําให้เข็มงอหรือหักคาเนื้อได้ ยกเว้นการขยับตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังสามารถทําได้ แต่ร่ากายส่วนอื่น ๆ ที่ ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ตามสบาย การฝังเข็มนั้นเป็ฯการกระตุ้นระบบประสาทเพื่อรปับการทํางานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ให้สู่สภาพสมดุล ถ้าหากมีสิ่งใดมารบกวนระบบประสาทมากไปในขณะที่กําลังกระตุ้น กลไกการปรับสมดุลของการฝังเข็มก็ย่อมจะถูก กระทบกระเทือนไปด้วย ระหว่างที่ปักเข็มรักษา ผู้ป่วยควรอยู่ในสภาพที่สงบผ่อนคลายอาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้า ๆ ให้เป็น จังหวะสม่ําเสมอ เพื่อช่วยทําให้จิตใจสงบสบาย ในสมัยโบราณที่ชาวจีนรักษาด้วยการฝังเข็มนั้น จึงมักมีการฝึกเดิน ลมปราณหายใจร่วมไปด้วย ก็มีเหตุผลเช่นนี้นั่นเอง ถ้าอยู่ในสภาพภายในห้องฝังเข็มมีบรรยากาศที่วุ่นวาย อึกทึกครึกโครม ผู้ป่วยนอนอยู่ในสภาวะที่ตืน ตระหนก วิตกกังวล เจ็บปวดหรือหวาดกลัว ผลการรักษาก็มักจะออกมาไม่ค่อยดี ในระหว่างที่ปักเข็มกระตุ้นอยู่นั้น ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกง่วงนอน เนื่องจาก การฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้ ร่างกายมีการหลั่ง สารเอนดอร์ฟีน (endorphins) เกิดขึ้น สารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนช่วยลดความเจ็บปวดและช่วย กล่อมประสาทให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม เมื่อรักษาไปหลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยบางคนจะพบว่าตนเองนอนหลับได้ง่ายขึ้นหรือหลับ สนิทขึ้น และจิตใจก็จะสดชื่นแจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย จากการสํารวจพบว่า มีชาวอเมริกันจํานวนไม่น้อยทีเดียที่ไปฝังเข็มด้วยเหตุผลเพื่อกระตุ้นร่างกายและ จิตใจให้สดชื่น ทั้งท ๆ ที่พวกเข้าไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคอะไรเลยก็มี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฤทธิ์ดังกล่าวนี่เอง https://www.vichaivej.com/nongkhaem/clinics-detail.php?item=19 6. การปฏิบัติตัวหลังการรักษา หลังจากปักเข็มกระตุ้นครบเวลาตามกําหนด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีแล้ว แพทย์ก็จะถอนเข็ม ออก บางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ตรงจุดที่ปักเข็มเหมือนกับเวลาไปฉีดยา เนื่องจากเข็มอาจปักไปถูกเส้นเลือด ฝอยเล็ก ๆ เมื่อใช้สําลีกดเอาไว้สักครู่ เลือกก็จะหยุดได้เอง
  • 7. 7 หลังเสร็จสิ้นจากการรักษา โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษอะไรเลย ผู้ป่วยสามารถรับประทาน อาการ อาบน้ํา ทํากิจวัตรประจําวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณ๊ที่ติดเข็มคาใบหู เวลาอาบน้ําต้องระมัดระวังมิให้ ใบหูเปียกน้ํา โดยทั่วไปแล้วหลังจากฝังเข็ม ผู้ป่วยไม่จําเป็นต้องกลับไปนอนพักแต่อย่างไร สามารถขับรถหรือกลับไป ทํางานได้ เว้นแต่บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียหลังจากฝังเข็ม เมื่อนอนพักแล้วก็จะหายไปได้ 7. การรักษาอื่น ๆ ร่วมกับการฝังเข็ม ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม อาจมีโรคประจําตัวอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ ซึ่งมักจะต้องมียารับประทานรักษาอยู่เป็นประจํา หรือมีอาการ รักษาอื่น ๆ เช่น กายภาพบําบัด ร่วมอยู่ด้วย โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยการฝังเข็ม มักสามารถจะรับประทานยาหรือใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมไปด้วยได้ โดยไม่มีข้อห้ามอะไร อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า การฝังเข็มอาจช่วยบรรเทาอาการโรคได้ด้วย เช่น ผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูง ที่มาฝังเข็มรักษาโรคอัมพาตของตนเอง อาจมีความดันโลหิตลดลงมาได้ในระหว่างรักษา ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องปรับลดข นายาลงมาด้วย แต่ผู้ป่วยไม่ควรยหุดยาเหล่านั้นเองโดยพลการ 8. ข้อห้ามและข้อควรระวังสาหรับการฝังเข็ม 1. ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้ 2. ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกําลังกายหนัก 3. สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอด เพราะว่าผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็น เวลานาน ๆ ได้ การนอนหงายจะทําให้มดลูกและทารกในครรภ์กดทับหลอดเลือดดําใหญ่ในช่องท้อง อาจทําให้ผู้ป่วย มีอาการช๊อกเป็นลมได้ ส่วนท่านอนคว่ําก็ไม่เหมาะสมกับสตรีขณะตั้งครรภ์ เพราะจะกดทับทารกในครรภ์และ ก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายแก่มารดา 4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดออกแล้วหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ถ้า จําเป็นต้องรักษาควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การปักเข็มหรือการกระตุ้นเข็ม แพทย์จะต้องทําอย่างนุ่นนวลระวังมิให้เข็ม ปักโดนเส้นเลือดใหญ่ หลังจากถอนเข็ม ต้องกดห้ามเลือดให้นานกว่าผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป 5. ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้ 6. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย ห้ามรักษาโดยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วย ไฟฟ้า เพราะอาจรบกวนการทํางานของเครื่อง ทําให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตาม ใน กรณีเช่นนี้ ยังคงสามารถปักเข็มกระตุ้นโดยวิธีการหมุนปั่นด้วยมือได้ วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ งบประมาณ
  • 8. 8 ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ __________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 12 1 3 1 4 1 5 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล 3 จัดทําโครงร่างงาน 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน 5 ปรับปรุงทดสอบ 6 การทําเอกสารรายงาน 7 ประเมินผลงาน 8 นําเสนอโครงงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทําโครงงาน) _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ สถานที่ดําเนินการ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นํามาใช้การทําโครงงาน)