SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2560
ชื่อโครงงาน โรคไข้เลือดออก
ชื่อผู้ทาโครงงาน
1 นาย ธนกฤต สมฤทธิ์ ชั้น ม.6/5 เลขที่ 12
2 นาย ณัฐวุฒิ มะโนกิจ ชั้น ม.6/5 เลขที่ 31
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม
1 นาย ธนกฤต สมฤทธิ์ ชั้น ม.6/5
2 นาย ณัฐวุฒิ มะโนกิจ ชั้น ม.6/5
คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
โรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
Dengue hemorrhagic fever - DHF
ประเภทโครงงาน
พัฒนาสื่อเพื่อหารศึกษา
ชื่อผู้ทาโครงงาน นาย ธนกฤต สมฤทธิ์
นาย ณัฐวุฒิ มะโนกิจ
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มุลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกที่พบในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงในอาเซียนอาคเนย์เกิดจากโรค
ไวรัส dengue จึงเรียกชื่อว่าDengue hemorrhagic fever (DHF) มักติดต่อช่างกลไปสู่คนซึ่งมียุงลายเป็นตัว
พาหะที่สาคัญโดยยยุงตัวเมียจัดการและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสแดงที่จากนั้นถึงจะเข้าไปฝังตัวและเพิ่ม
จานวนในตัวอย่างไรทาให้มีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวของอิงรายตลอดเวลาของมันประมาณ 1-2 เดือนแล้วถ่ายทอด
เชื้อไปสู่คนที่ถูกกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน มักกัดกลางวันมีแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้านิ่งที่ขัง
อยู่ในภาชนะเก็บน้าต่างๆอาทิ โอ่ง แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋ อง หม้อ ยางรถยนต์ หรือ
กระถาง เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ อาการของโรคนี้มี
ความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทาให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนมีเพียงโรคไข้หวัด และทา
ให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง หากอาการไม่
รุนแรงโรคนี้จะหายได้เอง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นเพียงการรักษาไปตามอาการเป็นสาคัญ กล่าวคือ ให้ยาลดไข้
เช็ดตัว ให้ดื่มน้ามากๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อค และการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นโรค
ไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิด
ภาวะช็อคซึ่งเป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตดังนั้นผู้จัดทาจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพื่อเป็น
ความรู้แก่ผู้ที่ศึกษาและสนใจในโรคไข้เลือดออก
3
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก
2.เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกลงในเว็บไซต์
ขอบเขตโครงงาน
เป็นการสร้างสื่อให้ความรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก จากโปรแกรม เพื่อการศึกษาเรื่องโรคไข้เลือดออก
และ ศึกษาสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก
รวมไปถึงศึกษาวิธีการป้องกัน และรักษาการเกิดโรคไข้เลือดออก เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
ให้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้
หลักการและทฤษฎี
1.โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความ
คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทาให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทาให้
ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มี
อาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สถิติในปี
พ.ศ. 2554 รายงานโดย กลุ่มโรคไข้เลือดออก สานักโรคติดต่อนาโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข พบว่า มีอัตราป่วย 107.02 และอัตราป่วยตาย 0.10 ซึ่งหมายความว่า ในประชากร
ทุก 100,000 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 107.02 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 0.1คน
2.การติดต่อ
ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจานวนภายในตัวของยุงลาย
ยุงลายจึงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะ
นี้มีชื่อว่า Aedes aegypti ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กาลัง
ป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ใน
เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยจึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูง โดยพบการ
ระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี
รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลาดับ ส่วนช่วงอายุ0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี
เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจานวนน้อยที่สุด
3.อาการ
อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่
แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง และปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทาการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด (Touniquet test) จะพบจุด
เลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกาเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออก
4
ผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่
เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนาของ
ภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบ
แจ้งแพทย์หรือนาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มักพบว่า มีอาการในระยะเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหาก
ผู้ปกครองละเลยการพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเสียชีวิตเนื่องจากการ
รักษาที่ล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในฤดูฝนอาจเป็นโรค
ไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการรักษา
4.การรักษา
เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ การรักษาโรคนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสาคัญ
กล่าวคือมีการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อก
ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ พาราเซตามอล
ชนิดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด
(4 กรัม) ส่วนขนาดยาที่ใช้ในเด็กคือ พาราเซตามอลชนิดน้า 10-15 มิลลิกรัมต่อน้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง
ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม ยาพาราเซตามอลนี้เป็นยารับประทาน
ตามอาการ ดังนั้น หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที
ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้าสาหรับเด็กมีจาหน่ายในหลายความแรงได้แก่ 120 มิลลิกรัมต่อ 1ช้อนชา
(1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร), 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา, และ 60 มิลลิกรัมต่อ 0.6 มิลลิลิตร ส่วนใหญ่เป็น
ยาน้าเชื่อมที่ต้องรินใส่ช้อนเพื่อป้อนเด็ก ในกรณีทารก การป้อนยาทาได้ค่อนข้างยากจึงมีผลิตภัณฑ์ยาที่ทา
จาหน่ายโดยบรรจุในขวดพร้อมหลอดหยด เวลาใช้ก็เพียงแต่ใช้หลอดหยดดูดยาออกจากขวดและนาไปป้อน
เด็กได้เลย ด้วยเหตุที่ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้าสาหรับเด็กมีหลายความแรงจึงควรอ่านฉลากและวิธีใช้
ให้ดีก่อนนาไปป้อนเด็ก กล่าวคือ หากเด็กหนัก 10 กิโลกรัม และมียาน้าความแรง 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา
ก็ควรป้อนยาเด็กครั้งละ 1 ช้อนชาหรือ 5 มิลลิลิตร และป้อนซ้าได้ทุก 4-6 ชั่วโมงแต่ไม่ควรป้อนยาเกินวัน
ละ 5 ครั้ง หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที
แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เป็นยาลดไข้เช่นกัน แต่ยาทั้งสองชนิดนี้ห้ามนามาใช้ในโรคไข้เลือดออก เนื่องจาก
ยาทั้งสองชนิดนี้จะยิ่งส่งเสริมการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ในส่วนการป้องกัน
ภาวะช็อกนั้น กระทาได้โดยการชดเชยน้าให้ร่างกายเพื่อไม่ให้ปริมาตรเลือดลดต่าลงจนทาให้ความดันโลหิตตก
แพทย์จะพิจารณาให้สารน้าตามความรุนแรงของอาการ โดยอาจให้ผู้ป่วยดื่มเพียงสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์
เอ็ส หรือผู้ป่วยบางรายอาจได้รับน้าเกลือเข้าทางหลอดเลือดดา ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจน
เกิดภาวะเสียเลือดอาจต้องได้รับเลือดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจะต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
ข้างต้นเนื่องจากภาวะนี้มีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
5
5.การป้องกัน
แม้ว่าในปัจจุบันกาลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อ
ไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคาตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการ
ควบคุมยุงลายให้มีจานวนลดลงซึ่งทาได้โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกาจัดยุงลายทั้ง
ลูกน้าและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ทั้งนี้การป้องกันทาได้ 3 ลักษณะ คือ
1. การป้องกันทางกายภาพ ได้แก่
-ปิดภาชนะเก็บน้าด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้า ตุ่มน้า ถังเก็บน้า หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่าลงหากยัง
ไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย
-เปลี่ยนน้าในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน
-ปล่อยปลากินลูกน้าลงในภาชนะเก็บน้า เช่น โอ่ง ตุ่ม ภาชนะละ 2-4 ตัว รวมถึงอ่างบัวและตู้ปลาก็ควรมีปลา
กินลูกน้าเพื่อคอยควบคุมจานวนลูกน้ายุงลายเช่นกัน
-ใส่เกลือลงน้าในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกาจัดลูกน้ายุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความ
จุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้าได้นานกว่า 7 วัน
2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่
-เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนาให้ใช้และรับรองความปลอดภัย เหมาะสมกับ
ภาชนะที่ไม่สามารถใส่ปลากินลูกน้าได้
-การพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกาจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และ
เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะเมื่อจาเป็นเท่านั้น เพื่อป้องกัน
ความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็น
แหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้า กระถางต้นไม้ เป็นต้น
-การใช้สารเคมีเพื่อกาจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออก
ฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (DEET, diethyltoluamide) เป็นต้น เมื่อก่อนมียาฆ่ายุง
ด้วย มีชื่อว่า ดีดีที แต่สารนี้ถูกยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็น
ระยะเวลานานมาก อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและ
สัตว์ ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ล้างมือทุกครั้ง
หลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้
ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด
3. การปฏิบัติตัว ได้แก่
-นอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งกลางวันและ
กลางคืน
-หากไม่สามารถนอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดได้ ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิวซึ่งมีสารสาคัญที่สกัดจาก
ธรรมชาติ เช่น น้ามันตะไคร้หอม (oil of citronella), น้ามันยูคาลิปตัส (oil of eucalyptus) ซึ่งมีความปลอดภัย
สูงกว่ามาทาหรือหยดใส่ผิวหนังใช้เป็นยากันยุง แต่ประสิทธิภาพจะต่ากว่า DEET
6
วิธีดาเนินงาน
แนวทางการดาเนินงาน
1. เลือกเรื่องที่สนใจ เสนอหัวข้อโครงงานกับครูที่ปรึกษาโครงงาน
2. สืบค้นข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง จากอินเทอร์เน็ตและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
3. รวบรวมและสรุปข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า
4. นาไปให้ครูที่ปรึกษาตรวจความถูกต้อง สมบูรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
งบประมาณ
ไม่มีค่าใช่จ่ายใดๆ
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
ลาดั
บ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอ
บ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
12
1
3
1
4
1
5
16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน คณะผู้จัดทา
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล คณะผู้จัดทา
3 จัดทาโครงร่างงาน คณะผู้จัดทา
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน คณะผู้จัดทา
5 ปรับปรุงทดสอบ คณะผู้จัดทา
6 การทาเอกสารรายงาน คณะผู้จัดทา
7 ประเมินผลงาน คณะผู้จัดทา
8 นาเสนอโครงงาน คณะผู้จัดทา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
2. ได้รับความรู้สาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก
3. ได้รู้วิธีการป้องกัน และรักษาการเกิดโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegypti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็น
ไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกี่จะเพิ่มจานวนในตัวยุงลายประมาณ 8- 10 วัน เชื้อไวรัส
แดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้าลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคน
ประมาณ 2 – 7 วันใช่ช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะ
7
เป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข้
ตามภาชนะที่มีน้าขัง เช่น กะลา กระป๋อง แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้า ห้วย หนอง
การป้องกัน แม้ว่าในปัจจุบันกาลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสแดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่
สามารถฆ่าเชื้อไวรัสแดงกี่ได้ ดังนั้นคาตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็น
โรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจานวนลดลงซึ่งทาได้โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกาจัด
ยุงลายทั้งลูกน้าและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด
สถานที่ดาเนินการ
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
1.วิทยาศาสตร์
2.สุขะศึกษา
แหล่งอ้างอิง
Kapook. ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://health.kapook.com/view2522.html.
เภสัชกรหญิง วิภารักษ์บุญมาก. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โรคไข้เลือดออก. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/.
Sanook. โรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhagic Fever) . (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://guru.sanook.com/3873/.
ธัญชนก บูรัมย์. โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องโรคไข้เลือดออก. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
http://veclever.blogspot.com/2015/09/blog-post_20.html.
วนันต์ เปี่ยมท่าน.โครงงานโรคไข้เลือดออก.(ออนไลน์).แหล่งที่มา :
http://nimmal.blogspot.com/2016/08/1.html

More Related Content

What's hot

ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นKorakrit Jindadang
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกFah Philip
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์jungkookjin
 
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าMai Natthida
 
แบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวานแบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวานDduang07
 
โครงงานคอม[1]
โครงงานคอม[1]โครงงานคอม[1]
โครงงานคอม[1]maddemon madden
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)tthanch chai
 
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนโครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนMai Natthida
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer projectMaryW6
 
Bipolar disorder22
Bipolar disorder22Bipolar disorder22
Bipolar disorder22dalika
 
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37KamontipKumjen
 

What's hot (20)

โครงงาน Hydroponic
โครงงาน Hydroponicโครงงาน Hydroponic
โครงงาน Hydroponic
 
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
2562 final-project
2562 final-project2562 final-project
2562 final-project
 
Final project
Final projectFinal project
Final project
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
2562 final-project social-addict
2562 final-project social-addict2562 final-project social-addict
2562 final-project social-addict
 
Ocd
OcdOcd
Ocd
 
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า
 
แบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวานแบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
 
โครงงานคอม[1]
โครงงานคอม[1]โครงงานคอม[1]
โครงงานคอม[1]
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอม (1)
 
At22
At22At22
At22
 
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนโครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
AT1AT1
AT1AT1AT1AT1
AT1AT1
 
AT1AT1
AT1AT1AT1AT1
AT1AT1
 
Bipolar disorder22
Bipolar disorder22Bipolar disorder22
Bipolar disorder22
 
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
 

Similar to โรคไข้เลือดออก

2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weed2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weedssuser8b5bea
 
งานคอม22
งานคอม22งานคอม22
งานคอม22Dduang07
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมDduang07
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)Jutamas123
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาBream Mie
 
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายPatitta Sitti
 
2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasarajKUMBELL
 
Coffee & Health
Coffee & HealthCoffee & Health
Coffee & Healthnewwy1
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์barbeesati
 
โครงงานน้ำตะไคร้
โครงงานน้ำตะไคร้โครงงานน้ำตะไคร้
โครงงานน้ำตะไคร้satam14
 

Similar to โรคไข้เลือดออก (20)

2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weed2562 final-project -1-23-1 weed
2562 final-project -1-23-1 weed
 
Obesity
ObesityObesity
Obesity
 
Obesity
ObesityObesity
Obesity
 
งานคอม22
งานคอม22งานคอม22
งานคอม22
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (2)
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษา
 
2560 project
2560 project2560 project
2560 project
 
Punisa
PunisaPunisa
Punisa
 
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
 
2561 project com
2561 project com2561 project com
2561 project com
 
2560 project -1 new
2560 project -1 new2560 project -1 new
2560 project -1 new
 
taksaorn
taksaorntaksaorn
taksaorn
 
2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj
 
Coffee & Health
Coffee & HealthCoffee & Health
Coffee & Health
 
2560 project 9,22
2560 project 9,222560 project 9,22
2560 project 9,22
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Aaaaaaaaaaa
AaaaaaaaaaaAaaaaaaaaaa
Aaaaaaaaaaa
 
2560 project
2560 project2560 project
2560 project
 
โครงงานน้ำตะไคร้
โครงงานน้ำตะไคร้โครงงานน้ำตะไคร้
โครงงานน้ำตะไคร้
 

More from French Natthawut

โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกFrench Natthawut
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนFrench Natthawut
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนFrench Natthawut
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนFrench Natthawut
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
    ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์    ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์French Natthawut
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์French Natthawut
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์French Natthawut
 
โครงงาน โรคไข้เลือดออก
โครงงาน โรคไข้เลือดออกโครงงาน โรคไข้เลือดออก
โครงงาน โรคไข้เลือดออกFrench Natthawut
 
ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)
ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)
ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)French Natthawut
 

More from French Natthawut (9)

โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน
 
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
    ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์    ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงาน โรคไข้เลือดออก
โครงงาน โรคไข้เลือดออกโครงงาน โรคไข้เลือดออก
โครงงาน โรคไข้เลือดออก
 
ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)
ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)
ใบงานสำรวจตนเอง M6 (ซ่อมแซม)
 

โรคไข้เลือดออก

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2560 ชื่อโครงงาน โรคไข้เลือดออก ชื่อผู้ทาโครงงาน 1 นาย ธนกฤต สมฤทธิ์ ชั้น ม.6/5 เลขที่ 12 2 นาย ณัฐวุฒิ มะโนกิจ ชั้น ม.6/5 เลขที่ 31 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม 1 นาย ธนกฤต สมฤทธิ์ ชั้น ม.6/5 2 นาย ณัฐวุฒิ มะโนกิจ ชั้น ม.6/5 คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) โรคไข้เลือดออก ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Dengue hemorrhagic fever - DHF ประเภทโครงงาน พัฒนาสื่อเพื่อหารศึกษา ชื่อผู้ทาโครงงาน นาย ธนกฤต สมฤทธิ์ นาย ณัฐวุฒิ มะโนกิจ ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มุลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน ในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกที่พบในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงในอาเซียนอาคเนย์เกิดจากโรค ไวรัส dengue จึงเรียกชื่อว่าDengue hemorrhagic fever (DHF) มักติดต่อช่างกลไปสู่คนซึ่งมียุงลายเป็นตัว พาหะที่สาคัญโดยยยุงตัวเมียจัดการและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสแดงที่จากนั้นถึงจะเข้าไปฝังตัวและเพิ่ม จานวนในตัวอย่างไรทาให้มีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวของอิงรายตลอดเวลาของมันประมาณ 1-2 เดือนแล้วถ่ายทอด เชื้อไปสู่คนที่ถูกกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน มักกัดกลางวันมีแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้านิ่งที่ขัง อยู่ในภาชนะเก็บน้าต่างๆอาทิ โอ่ง แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋ อง หม้อ ยางรถยนต์ หรือ กระถาง เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ อาการของโรคนี้มี ความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทาให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนมีเพียงโรคไข้หวัด และทา ให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยตรง หากอาการไม่ รุนแรงโรคนี้จะหายได้เอง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นเพียงการรักษาไปตามอาการเป็นสาคัญ กล่าวคือ ให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ให้ดื่มน้ามากๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อค และการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นโรค ไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิด ภาวะช็อคซึ่งเป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตดังนั้นผู้จัดทาจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพื่อเป็น ความรู้แก่ผู้ที่ศึกษาและสนใจในโรคไข้เลือดออก
  • 3. 3 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกลงในเว็บไซต์ ขอบเขตโครงงาน เป็นการสร้างสื่อให้ความรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก จากโปรแกรม เพื่อการศึกษาเรื่องโรคไข้เลือดออก และ ศึกษาสาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก รวมไปถึงศึกษาวิธีการป้องกัน และรักษาการเกิดโรคไข้เลือดออก เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ให้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ หลักการและทฤษฎี 1.โรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความ คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทาให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทาให้ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มี อาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สถิติในปี พ.ศ. 2554 รายงานโดย กลุ่มโรคไข้เลือดออก สานักโรคติดต่อนาโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข พบว่า มีอัตราป่วย 107.02 และอัตราป่วยตาย 0.10 ซึ่งหมายความว่า ในประชากร ทุก 100,000 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 107.02 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 0.1คน 2.การติดต่อ ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจานวนภายในตัวของยุงลาย ยุงลายจึงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะ นี้มีชื่อว่า Aedes aegypti ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กาลัง ป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ใน เขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยจึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูง โดยพบการ ระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลาดับ ส่วนช่วงอายุ0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจานวนน้อยที่สุด 3.อาการ อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง และปวดเมื่อย กล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทาการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด (Touniquet test) จะพบจุด เลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกาเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออก
  • 4. 4 ผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่ เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนาของ ภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบ แจ้งแพทย์หรือนาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มักพบว่า มีอาการในระยะเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหาก ผู้ปกครองละเลยการพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเสียชีวิตเนื่องจากการ รักษาที่ล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในฤดูฝนอาจเป็นโรค ไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการรักษา 4.การรักษา เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ การรักษาโรคนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสาคัญ กล่าวคือมีการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อก ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ พาราเซตามอล ชนิดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (4 กรัม) ส่วนขนาดยาที่ใช้ในเด็กคือ พาราเซตามอลชนิดน้า 10-15 มิลลิกรัมต่อน้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม ยาพาราเซตามอลนี้เป็นยารับประทาน ตามอาการ ดังนั้น หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้าสาหรับเด็กมีจาหน่ายในหลายความแรงได้แก่ 120 มิลลิกรัมต่อ 1ช้อนชา (1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร), 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา, และ 60 มิลลิกรัมต่อ 0.6 มิลลิลิตร ส่วนใหญ่เป็น ยาน้าเชื่อมที่ต้องรินใส่ช้อนเพื่อป้อนเด็ก ในกรณีทารก การป้อนยาทาได้ค่อนข้างยากจึงมีผลิตภัณฑ์ยาที่ทา จาหน่ายโดยบรรจุในขวดพร้อมหลอดหยด เวลาใช้ก็เพียงแต่ใช้หลอดหยดดูดยาออกจากขวดและนาไปป้อน เด็กได้เลย ด้วยเหตุที่ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้าสาหรับเด็กมีหลายความแรงจึงควรอ่านฉลากและวิธีใช้ ให้ดีก่อนนาไปป้อนเด็ก กล่าวคือ หากเด็กหนัก 10 กิโลกรัม และมียาน้าความแรง 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ก็ควรป้อนยาเด็กครั้งละ 1 ช้อนชาหรือ 5 มิลลิลิตร และป้อนซ้าได้ทุก 4-6 ชั่วโมงแต่ไม่ควรป้อนยาเกินวัน ละ 5 ครั้ง หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เป็นยาลดไข้เช่นกัน แต่ยาทั้งสองชนิดนี้ห้ามนามาใช้ในโรคไข้เลือดออก เนื่องจาก ยาทั้งสองชนิดนี้จะยิ่งส่งเสริมการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ในส่วนการป้องกัน ภาวะช็อกนั้น กระทาได้โดยการชดเชยน้าให้ร่างกายเพื่อไม่ให้ปริมาตรเลือดลดต่าลงจนทาให้ความดันโลหิตตก แพทย์จะพิจารณาให้สารน้าตามความรุนแรงของอาการ โดยอาจให้ผู้ป่วยดื่มเพียงสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอ็ส หรือผู้ป่วยบางรายอาจได้รับน้าเกลือเข้าทางหลอดเลือดดา ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจน เกิดภาวะเสียเลือดอาจต้องได้รับเลือดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจะต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ข้างต้นเนื่องจากภาวะนี้มีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
  • 5. 5 5.การป้องกัน แม้ว่าในปัจจุบันกาลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อ ไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคาตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการ ควบคุมยุงลายให้มีจานวนลดลงซึ่งทาได้โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกาจัดยุงลายทั้ง ลูกน้าและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ทั้งนี้การป้องกันทาได้ 3 ลักษณะ คือ 1. การป้องกันทางกายภาพ ได้แก่ -ปิดภาชนะเก็บน้าด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้า ตุ่มน้า ถังเก็บน้า หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่าลงหากยัง ไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย -เปลี่ยนน้าในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน -ปล่อยปลากินลูกน้าลงในภาชนะเก็บน้า เช่น โอ่ง ตุ่ม ภาชนะละ 2-4 ตัว รวมถึงอ่างบัวและตู้ปลาก็ควรมีปลา กินลูกน้าเพื่อคอยควบคุมจานวนลูกน้ายุงลายเช่นกัน -ใส่เกลือลงน้าในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกาจัดลูกน้ายุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความ จุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้าได้นานกว่า 7 วัน 2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่ -เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนาให้ใช้และรับรองความปลอดภัย เหมาะสมกับ ภาชนะที่ไม่สามารถใส่ปลากินลูกน้าได้ -การพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกาจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และ เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะเมื่อจาเป็นเท่านั้น เพื่อป้องกัน ความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็น แหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้า กระถางต้นไม้ เป็นต้น -การใช้สารเคมีเพื่อกาจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออก ฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (DEET, diethyltoluamide) เป็นต้น เมื่อก่อนมียาฆ่ายุง ด้วย มีชื่อว่า ดีดีที แต่สารนี้ถูกยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็น ระยะเวลานานมาก อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและ สัตว์ ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ล้างมือทุกครั้ง หลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด 3. การปฏิบัติตัว ได้แก่ -นอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งกลางวันและ กลางคืน -หากไม่สามารถนอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดได้ ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิวซึ่งมีสารสาคัญที่สกัดจาก ธรรมชาติ เช่น น้ามันตะไคร้หอม (oil of citronella), น้ามันยูคาลิปตัส (oil of eucalyptus) ซึ่งมีความปลอดภัย สูงกว่ามาทาหรือหยดใส่ผิวหนังใช้เป็นยากันยุง แต่ประสิทธิภาพจะต่ากว่า DEET
  • 6. 6 วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน 1. เลือกเรื่องที่สนใจ เสนอหัวข้อโครงงานกับครูที่ปรึกษาโครงงาน 2. สืบค้นข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง จากอินเทอร์เน็ตและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 3. รวบรวมและสรุปข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า 4. นาไปให้ครูที่ปรึกษาตรวจความถูกต้อง สมบูรณ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ งบประมาณ ไม่มีค่าใช่จ่ายใดๆ ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดั บ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอ บ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 12 1 3 1 4 1 5 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน คณะผู้จัดทา 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล คณะผู้จัดทา 3 จัดทาโครงร่างงาน คณะผู้จัดทา 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน คณะผู้จัดทา 5 ปรับปรุงทดสอบ คณะผู้จัดทา 6 การทาเอกสารรายงาน คณะผู้จัดทา 7 ประเมินผลงาน คณะผู้จัดทา 8 นาเสนอโครงงาน คณะผู้จัดทา ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้รับความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออก 2. ได้รับความรู้สาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออก 3. ได้รู้วิธีการป้องกัน และรักษาการเกิดโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegypti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็น ไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกี่จะเพิ่มจานวนในตัวยุงลายประมาณ 8- 10 วัน เชื้อไวรัส แดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้าลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคน ประมาณ 2 – 7 วันใช่ช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะ
  • 7. 7 เป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข้ ตามภาชนะที่มีน้าขัง เช่น กะลา กระป๋อง แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้า ห้วย หนอง การป้องกัน แม้ว่าในปัจจุบันกาลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสแดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสแดงกี่ได้ ดังนั้นคาตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็น โรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจานวนลดลงซึ่งทาได้โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกาจัด ยุงลายทั้งลูกน้าและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด สถานที่ดาเนินการ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 1.วิทยาศาสตร์ 2.สุขะศึกษา แหล่งอ้างอิง Kapook. ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://health.kapook.com/view2522.html. เภสัชกรหญิง วิภารักษ์บุญมาก. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โรคไข้เลือดออก. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/. Sanook. โรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhagic Fever) . (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://guru.sanook.com/3873/. ธัญชนก บูรัมย์. โครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องโรคไข้เลือดออก. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://veclever.blogspot.com/2015/09/blog-post_20.html. วนันต์ เปี่ยมท่าน.โครงงานโรคไข้เลือดออก.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://nimmal.blogspot.com/2016/08/1.html