SlideShare a Scribd company logo
1 of 58
Download to read offline
รายงานการวิจัย
เรื่อง
ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาใน
รายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริม
สมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนา
กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
วิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาวิชาเอกชีววิทยา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
รายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
ปี พ.ศ. 2559
รายงานการวิจัย
เรื่อง
ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาใน
รายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริม
สมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนา
กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
วิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาวิชาเอกชีววิทยา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
รายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
ปี พ.ศ. 2559
ก.
งานวิจัย
ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถ
ด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
วิชัย ลิขิตพรรักษ์1
บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Reseach) โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และเปรียบเทียบผลการจัด
กิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการ
เรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการ
คิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ที่มีเพศ ห้องเรียน เกรดเฉลี่ย
สะสมและทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน โดยใช้แบบประเมินกิจกรรมการเรียนรู้นอก
ห้องเรียนที่นักเรียนเป็นผู้ประเมินด้วยตนเองภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ประชากรที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียม
อุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จานวน 920 คน
กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจานวน จานวน 73 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) สถิติที่
ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีสาหรับการ
เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (independent-sample
t test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance--ANOVA) เมื่อพบ
ความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยดาเนินการทดสอบค่าเฉลี่ยประชากรรายคู่
โดยวิธีแอลเอสดี (LSD) และการจาแนกชนิดข้อมูลเชิงคุณภาพในระดับจุลภาคประเภทการวิเคราะห์
คาหลัก (Typological Analysis : Domain Analysis) จากข้อมูลแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมซึ่งเป็น
แบบปลายเปิด
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน ลาดับที่ 1 เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยค่าเฉลี่ย
มากที่สุด คือ การทาความเข้าใจเกี่ยวกับการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม ลาดับที่ 2 องค์ความรู้ที่ได้รับ
นอกห้องเรียน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความชัดเจนของเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ ลาดับ
ที่ 3 การวัดและการประเมินผลบทเรียน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เป็นการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนที่สนุก
และไม่น่าเบื่อ ลาดับที่ 4 การวางแผนและเตรียมความพร้อม โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีความ
ยุติธรรมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และลาดับที่ 5 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดย
ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เนื้อหาบทเรียน เรื่อง วิวัฒนาการ
2. ผลเปรียบเทียบการประเมินการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชา
ชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ที่มีเพศและเกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันมีความ
คิดเห็นในทุกด้านและภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มี
ข.
ห้องเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นในทุกด้านและภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 และผู้นักเรียนที่มีทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกันมีความคิดเห็นในด้านการวัดและ
การประเมินผลบทเรียนพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้นี้มี
ประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้
ต่างๆ ที่สนใจได้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง เกิดการบูรณาการเนื้อหาจากภายในห้องเรียนสู่ภายนอก
ห้องเรียนเป็นรูปธรรม 2) กิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายจากการได้รับ
ประสบการณ์ตรงจากแหล่งการเรียนรู้จริงภายนอกห้องเรียน สามารถสัมผัส สังเกต และทดลองจริง
ได้ด้วยเองจากสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย 3) กิจกรรมการเรียนรู้นี้มีความสนุกสนามและเป็น
การเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่อจากสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและแปลกใหม่ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้
ร่วมกับเพื่อนๆ ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางานร่วมกันเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4) กิจกรรม
การเรียนรู้นี้มีความสะดวกในเรื่องของการเดินทางไปยังแหล่งการเรียนรู้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเข้า
ร่วมกิจกรรม มีความเป็นอิสระด้านการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองมีความสนใจ และแหล่งเรียนรู้มีความ
เหมาะสมด้านสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย และ 5) กิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นการใช้เวลาว่างให้
เกิดประโยชน์กับตนเอง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความหมาย และเป็นการทา
กิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆอย่างสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนจากการได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้จาก
ภายในห้องเรียน
1
ครู คศ.1 สาขาวิชาเอกชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงรียนเตรียมอุดมศึกษา
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร E-mail mee_mu@hotmail.com
ค.
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการวิจัยฉบับนี้จะไม่สบประความสาเร็จได้เลยถ้าขาดการเปิดโอกาสจากโรงเรียน
เตรียมอุดมศึกษา อีกทั้งการอานวยความสะดวกในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้อานวยการ
โรงเรียน ดร.ปรเมษฐ์ โมลี, ท่านรองผู้อานวยกลุ่มบริหารวิชาการนายทรงเกีรยติ เทพประสาน, ท่าน
รองผู้อานวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนว่าที่ร้อยตรีมานพ เพ็ญรัศมี ,ท่านรองผู้อานวยการกลุ่ม
บริหารงบประมาณและบุคลากรนายศรไชย สาริกะวณิช, ท่านรองผู้อานวยการกลุ่มบริหารงานทั่วไป
ว่าที่ร้อยตรี สุทธิศักดิ์ กีชวรรณ์, ท่านรองผู้อานวยการฝ่ายนโยบายและแผนงานนายจงชัย เจน
หัตถการกิจ และท่านรองผู้อานวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานางสมจิตต์ ติณจินดา ที่ให้การ
ช่วยเหลือและสนับสนุนเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ท่านหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นางสาวสุภาณี
พงศ์พันธุ์ภักดี ,ท่านหัวหน้ารายวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล
และท่านรองหัวหน้ารายวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นางทิพย์อาภา ศรีวรางกูล ที่ให้ความ
กรุณาตอบสอบคุณภาพเครื่องมือและคาปรึกษาแนะนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัย
ขอขอบคุณคณะครูและนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้ให้คาปรึกษาแนะนาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมลด
เวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ห้อง 32
และ 125 ที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน ณ ท้องฟ้าจาลองและตอบ
แบบประเมินอย่างครบถ้วนซึ่งทาให้ผลการวิจัยครั้งนี้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
หากรายงานการวิจัยฉบับนี้ทาให้เกิดประโยชน์แก่ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาและ
ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ทั่วไป ขอมอบคุณงามความดีอันพึงมีในครั้งนี้แด่ครอบครัว ครูอาจารย์และ
ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้อบรมเลี้ยงดูและประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ต่างๆแด่ผู้วิจัย จนทาให้ผู้วิจัยมี
ความรู้ความสามารถที่จะดาเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นผลสาเร็จ
วิชัย ลิขิตพรรักษ์
ตำแหน่งครู คศ.1 สำขำวิชำเอกชีววิทยำ
กลุ่มสำระกำรเรียนรู้วิทยำศำสตร์
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษำ
ง.
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย................................................................................................................... ข-ค
กิตติกรรมประกาศ.................................................................................................................... ง
บทที่
1 บทนา.......................................................................................................................... 1
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา.............................................................. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย..................................................................................... 2
สมมติฐานของการวิจัย......................................................................................... 3
ขอบเขตของการวิจัย............................................................................................ 3
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.................................................................................. 3
ตัวแปรที่ศึกษา..................................................................................................... 3
นิยามเชิงศัพท์เฉพาะ ........................................................................................... 4
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย.............................................................................. 5
2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง...................................................................................................... 6
ยุคสังคมแหล่งการเรียนรู้ (Learning –based society)..................................... 6
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551............................... 6
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์......................................................... 8
นโยบายการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”........................................... 9
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.............................................................................................. 15
กรอบความคิดในการวิจัย.................................................................................... 15
3 วิธีดาเนินการวิจัย........................................................................................................ 16
ขั้นตอนและวิธีการดาเนินการวิจัย....................................................................... 16
ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ........................................................................................... 17
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย...................................................................................... 17
การสร้างเครื่องมือ............................................................................................... 18
การดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล........................................................................ 20
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................ 21
4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................................ 23
ตอนที่ 1 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร.................... 23
จ.
บทที่ หน้า
ตอนที่ 2 ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อ
สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้าน
การคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน
วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.............................................. 24
ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อ
สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้าน
การคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน
วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่มีเพศ ห้องเรียน เกรดเฉลี่ยสะสม
และทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน....................................... 27
ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้
นอกห้องเรียนในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและ
การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนา
กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.. 31
5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ................................................................................. 35
สรุปผลการวิจัย.................................................................................................... 35
อภิปรายผล.......................................................................................................... 37
ข้อเสนอแนะ........................................................................................................ 41
ภาคผนวก
ก รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ….……………………………………………………………………………………. 43
ข กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา......................................... 44
ค ภาพกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รายวิชาชีววิทยา................................................ 45
ง หนังสือราชการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขออนุญาตผู้ปกตรอง................................... 46
จ ตัวอย่างแบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน.................................................. 47
ฉ ตัวอย่างแบบประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน.......................................... 48
บรรณานุกรม............................................................................................................................ 49
ประวัติผู้วิจัย ............................................................................................................................ 50
ฉ.
บทที่ 1 บทนา
ความเป็นมา และความสาคัญของปัญหา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยสาระหลัก 8 สาระ ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกคนที่จะได้รับการพัฒนาทั้ง
ด้านความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา ความสามารถในการ
สื่อสาร การตัดสินใจ การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน ตลอดจนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คุณธรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับสากลหรือ “เป็นคนเก่ง
เป็นคนดี และเป็นคนที่มีความสุข” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสาคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์
เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจาวันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือ
เครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออานวยความสะดวกในชีวิตและการทางาน เหล่านี้ล้วน
เป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วย
ให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะ
สาคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดย
ใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลก
สมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจาเป็นต้องได้รับการ
พัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์
ขึ้น สามารถนาความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม นโยบายหนึ่งของรัฐบาล คือ การลดเวลา
เรียนภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆควรเรียนรู้ ซึ่งหมยความว่าครูต้องใช้
ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สาระที่ต้องรู้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น จากนโยบายการลดเวลาเรียนดังกล่าว จึงนามาสู่การปฏิบัติโดยกาหนดให้โรงเรียนเรียนภาค
วิชาการ ถึงเวลาบ่าย 2 โมงครึ่งหรือเวลา 14.30 น. แต่เวลาที่โรงเรียนเลิกยังคงเหมือนเดิมตาม
กาหนดของแต่ละโรงเรียนซึ่งมักจะเป็นช่วงบ่าย 4 โมงหรือเวลา 16.00 น. ดังนั้นช่วงระยะเวลา
ระหว่างหลังเลิกเรียนจยกว่านักเรียนจะกลับบ้านซึ่งนักเรียนยังคงอยู่ในโรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติและควรเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการ
คิดวิเคราะห์ ความมีนาใจต่อกัน การทางานเป็นทีม และที่สาคัญควรมีกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กได้ค้นหา
ศักยภาพและความชอบของตนเอง ซึ่งเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถพิเศษ มีความสามารถในแบบ
ฉบับของตนเอง การจัดกิจกรรมไม่จาเป็นต้องเปิดให้เฉพาะห้องเดียวกัน หรือระดับชั้นเดียวกัน บาง
กิจกรรมสามารถศึกษาหรือทาร่วมกันหลายระดับชั้นได้ เพื่อให้เด็กๆรู้จักปรับตัว การช่วยเหลือดูแล
กัน การมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายช่วงวัย โดยเป็นการจาลองสภาพจริงในสังคมให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่งจะ
ยิ่งช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาให้กับเด็กไทยต่อไป (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2558)
ในการบริหารจัดการเวลาเรียนและจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สถานศึกษาแต่
ละแห่งควรมีการตรวจสอบหรือทบทวนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษา ใน
ประเด็นโครงสร้างเวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การ
จัดการเรียนรู้ของครู และศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเพื่อ
1.
เตรียมการ ซึ่งการวางแผนจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ควรคานึงถึงความสนใจ ความ
ต้องการของผู้เรียนเป็นหลักหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม โดยแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบ
สารวจ สืบค้น รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ นาเสนอแลกเปลี่ยน และสรุปข้อมูลจากการศึกษาโดยใช้
ชุมชนสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสารสนเทศรอบตัวเป็นแหล่งเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญกับ
สภาพจริงของชีวิตหลากหลายมิติ ได้สัมผัสกับธรรมชาติและได้ประสบการณ์ตรงกับการเรียนรู้กับผู้คน
ที่มีความแตกต่างหลกหลายช่วงวัย มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดประสบการณ์ (สานักวิชาการและ
มาตรฐานการศึกษา, 2558)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้งที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขนาดใหญ่พิเศษที่มีการแข่งขันสูง อีกทั้ง
ยังเป็นโรงเรียนนาร่องของนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ซึ่งได้ดาเนินการปรับโครงสร้างเวลา
เรียน รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้ของครู
นอกจากนี้ โรงเรียนยังส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายโดยคานึงถึงความสนใจ ความ
ต้องการของผู้เรียนเป็นหลักโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ครูต้อง
ดาเนินการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของโรงเรียนในช่วง “ลดเวลา
เรียน เพิ่มเวลารู้” ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา 6 จึงได้มอบหมายให้นักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ห้อง 32 และ 125 ออกไปศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนใน
ช่วงเวลาดังกล่าว ณ ท้องฟ้าจาลอง ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรรมชาติวิทยาซึ่งเกี่ยวข้องกับบทเรียนที่
นักเรียนกาลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน สอดคล้องกับกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้าง
เสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิด
แบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2558) ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึง
สนใจศึกษาผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนา
ความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) โดย
ข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในพัฒนาการวางแผนแนวทางจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย (ม.4-6) อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพนักเรียนในยุคศตวรรษที่
21 อย่างมีประสิทธิผลต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยา
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนา
ความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
2. เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชา
ชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้น
2.
การพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
ที่มีเพศ ห้องเรียน เกรดเฉลี่ยสะสมและทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน
สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา-มัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ ห้องเรียน เกรด
เฉลี่ยสะสม และทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นในการจัดจัดกิจกรรมจัดการ
เรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยานอกห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ
ท้องฟ้าจาลอง โดยใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบาลของกระทรวงศึกษาธิการซึ่ง
สอดคล้องกับแนวทางในคู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะ
และการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง
(Growth Mindset) ไม่แตกต่างกัน
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยานอก
ห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้าจาลอง โดยใช้ชั่วโมงลด
เวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในคู่มือการจัด
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนา
ความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) โดยผล
การจัดกิจกรรมนี้มาจากการสะท้อนมคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน
วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยกาหนดขอบเขตการ
ประเมิน 5 ข้อ ได้แก่ การวางแผนและเตรียมความพร้อม เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน การวัดและการประเมินผลบทเรียน และองค์ความรู้ที่ได้รับนอก
ห้องเรียน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน
วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
กรุงเทพมหานคร จานวน 23 ห้องเรียน รวมจานวน 920 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน
วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
กรุงเทพมหานคร จานวน 2 ห้องเรียน คือ ห้อง 32 และห้อง 125 รวมจานวน 73 คน โดยการสุ่มแบบ
เจาะจง (purposive sampling)
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ (independent variable) คือ สถานะภาพของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่
3.
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ (1) เพศ (2) ห้องเรียน (3) เกรดเฉลี่ยสะสม และ
(4) ทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยา
2. ตัวแปรตาม (dependent variable) คือ ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลา
รู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียม
อุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะ
และการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง
(Growth Mindset) ได้แก่ (1) การวางแผนและเตรียมความพร้อม (2) เอกสารประกอบกิจกรรมการ
เรียนรู้ (3) กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน (4) การวัดและการประเมินผลบทเรียน และ (5) องค์
ความรู้ที่ได้รับนอกห้องเรียน
นิยามเชิงศัพท์เฉพาะ
1. การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้รายวิชา
ชีววิทยานอกห้องเรียนในรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้าจาลอง ซึ่ง
เป็นการบูรณาการเนื้อหาบทเรียน เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการที่นักเรียนกาลัง
ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน โดยครูมอบหมายให้นักเรียนเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองตามความถนัด
และความสนใจของตนเองโดยกาหนดให้ใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนเตรียม
อุดมศึกษา คือ 14.30 – 16.00 น. ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับแนวทางใน
คู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5
พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset)
2. ผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมายถึง สิ่งที่นักเรียนนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสะท้อนคิดภายหลังจากการ
เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยานอกห้องเรียนในรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทาง
ธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้าจาลอง ในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนตามนโยบายของ
กระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในคู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่
2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบ
ความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ซึ่งครอบคลุมใน 5 ประเด็น คือ
2.1 การวางแผนและเตรียมความพร้อม หมายถึง การแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนรู้
การวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการทาความเข้าใจเกี่ยวกับการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม
2.2 เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง ความเหมาะสมของเอกสารประกอบ
กิจกรรมการเรียนรู้ ความชัดเจนของเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบของเอกสาร
ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้และองค์ประกอบหรือหัวข้อในเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้
2.3 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หมายถึง ความหลากหลายของสื่อการเรียนรู้นอก
ห้องเรียน กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนมีความเหมาะสม บรรยากาศโดยรวมส่งเสริมการเรียนรู้
อย่างต่อเนื่อง ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนรู้มีความชัดเจน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้ ช่วงระยะเวลาในกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสม เป็นการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนที่สนุกและ
ไม่น่าเบื่อ สถานที่ในการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสม เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ควรจัดอย่างต่อเนื่อง
ความสะดวกในการเดินทางไปเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
และเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ
4.
2.4 การวัดและการประเมินผลบทเรียน หมายถึง มีเครื่องมือในการวัดและประเมินผล
หลากหลาย มีเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลที่มีความชัดเจน มีการแจ้งช่วงระยะเวลาในการ
ประเมินผลอย่างเหมาะสม และความยุติธรรมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2.5 องค์ความรู้ที่ได้รับนอกห้องเรียน หมายถึง เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการ
เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ การเชื่องโยงความรู้กับประสบการณ์จริง
การเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาอย่างลึกซึ้ง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. ประโยชน์ที่สาคัญในการวิจัยครั้งนี้ คือ ทาให้ทราบผลการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ใน
รายวิชาชีววิทยานอกห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้า
จาลอง โดยใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับ
หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการ
พัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) จากการสะท้อนคิดของนักเรียนที่เข้าร่วม
กิจกรรมโดยตรงทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งสามารถนาไปใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการวางแผนเพื่อ
พัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียน รวมถึงยังใช้เป็นแนวทาง
ในการพัฒนาและอ้างอิงในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
กับการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สาหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)
2. การศึกษาในครั้งนี้ทาการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร สะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม
จัดการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษา โดยใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้
ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth
Mindset) เพื่อนามาใช้ในการพัฒนาการวางแผนแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลา
เรียน เพิ่มเวลารู้ สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุ
เป้าหมายในการยกระดับคุณภาพนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดต่อไป
5.
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ยุคสังคมแหล่งการเรียนรู้ (Learning –based society)
ในสังคมแห่งการเรียนรู้ หรือในยุคปฏิรูปการเรียนรู้นั้น การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เก่ง ดี มี
ความสุข คือ การพัฒนาด้านต่อไปนี้
1) พัฒนาด้านปัญญา คือ ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในสาระมีทักษะการคิดและกระบวนการ
คิด รวมทั้งพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย เช่น ปัญญาทางดนตรี ปัญญาทางศิลปะ เป็นต้น
2) พัฒนาด้านอารมณ์ คือ ให้ผู้เรียนมีอารมณ์รื่นเริง แจ่มใส มองโลกในแง่ดี เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
มี สุขภาพจิตดี
3) พัฒนาทางด้านสังคม คือ ให้ผู้เรียนมีการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ง่าย ปรับตัวเข้ากับบุคคลในทุก
ระดับที่เกี่ยวข้องได้ง่าย มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น คือ ทางานเป็นกลุ่ม
ทางานเป็นทีมได้อย่างดี
4) พัฒนาด้านร่างกาย คือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีการเจริญทางร่างกายเป็นไปตามพัฒนาการทางกาย มี
สุขภาพกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคและปลอดจากยาเสพติด (สุวิธิดา จรุงกียรติกุล, 2554)
การศึกษาจึงนับว่ามีความสาคัญอย่างมากต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ในฐานะที่
เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีคุณภาพเหมาะสมและมี
คุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการในการใช้กาลังของประเทศ เพราะการศึกษาจึงหมายถึง การ
เจริญงอกงาม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน คือ
สติปัญญา อารมณ์และสังคม ถ้าประเทศใดประชากรมีการศึกษาสูง ประเทศนั้นก็จะมีกาลังคนที่มี
ประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มรายได้ต่อบุคคลให้สูงขึ้น (นรินทร์ สังข์รักษา, 2552) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงเครือข่ายการติดต่อสื่อสารและ
สารสนเทศอย่างกว้างขวาง ทาให้ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคม
อาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 สอดคล้องกับเป้าหมาย คือ “การสร้างศักยภาพในการแข่งขันบนพื้นฐาน
ของความร่วมมือ” บนพื้นฐานแนวพระราชดาริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ทักษะกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทาขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่
การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาทุกสังกัดที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นาไปใช้
เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย
ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีการกาหนดวิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะสาคัญ
ของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้พร้อมให้รายละเอียดในแต่ละกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ ได้กาหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสาคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึง
ประสงค์ ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้น มาตรฐานการเรียนรู้
ยังเป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อน
ให้ทราบว่าต้องการอะไร ต้องสอนอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือ
ในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา รวมถึงการกาหนดตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้
6.
และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มี
ความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นาไปใช้ในการกาหนดเนื้อหา จัดทาหน่วยการเรียนรู้
จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สาคัญสาหรับการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบคุณภาพ
ผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
1. วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกาลังของชาติให้เป็น
มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพล
โลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และ
ทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จาเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตาม
ศักยภาพ
2. จุดหมาย
2.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติ
ตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้
เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
2.3 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย
2.4 มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.5 มีจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา
สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทาประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง
มีความสุข
3. สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน
3.1 ความสามารถในการสื่อสาร 3.2 ความสามารถในการคิด
3.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา 3.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
3.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
4.1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 4.2 ซื่อสัตย์สุจริต
4.3 มีวินัย 4.4 ใฝ่เรียนรู้
4.5 อยู่อย่างพอเพียง 4.6 มุ่งมั่นในการทางาน
4.7 รักความเป็นไทย 4.8 มีจิตสาธารณะ
5. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
5.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
5.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
5.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
5.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5.5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
7.
5.6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
5.7 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
5.8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบ
ต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะหาความรื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้
ไปใช้ในการดารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสาคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อ
มนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนา
ความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยา
ศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยบชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้ใจความสาคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติระดับท้องถิ่น
ประเทศและโลก นาความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่าง
ยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนา
ความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิด
สารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มี
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมี
คุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดารงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
8.
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มี
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว.7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี่และเอกภพ การปฏิสัมพันธ์ภายใน
ระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่ง
ที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสาคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นามาใช้ในการสารวจอวกาศและ
ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การ
แก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปร่างที่แน่นอนสามารถอธิบายและ
ตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
นโยบายการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
ควำมเป็นมำ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดารัสในเรื่องการศึกษาว่า
การจัดการศึกษาต้องดูภาพรวมทั้งประเทศ เพราะทุกวันนี้การศึกษาค่อนข้างอ่อนแอ และมุ่งเน้นการ
เรียนการสอนเนื้อหาบางเรื่องมากเกินไป ทรงมีพระราชดารัสให้มีการนาองค์ 4 แห่งการศึกษา คือ
พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา และหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การฟัง
การคิด การถาม และการเขียน ซึ่งหัวใจสาคัญของนักปราชญ์และบัณฑิต อีกทั้งยังเป็นเทคนิคในการ
ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนเก่งมากขึ้น โดยทรงมีพระราชดาริให้นาทั้งสองเรื่องมาใช้ในการจัด
การศึกษา
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม นโยบายหนึ่งของรัฐบาล คือ การลดเวลา
เรียนภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆควรเรียนรู้ ซึ่งหมยความว่าครูต้องใช้
ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สาระที่ต้องรู้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น จากนโยบายการลดเวลาเรียนดังกล่าว จึงนามาสู่การปฏิบัติโดยกาหนดให้โรงเรียนเรียนภาค
วิชาการ ถึงเวลาบ่าย 2 โมงครึ่งหรือเวลา 14.30 น. แต่เวลาที่โรงเรียนเลิกยังคงเหมือนเดิมตาม
กาหนดของแต่ละโรงเรียนซึ่งมักจะเป็นช่วงบ่าย 4 โมงหรือเวลา 16.00 น. ดังนั้นช่วงระยะเวลา
ระหว่างหลังเลิกเรียนจยกว่านักเรียนจะกลับบ้านซึ่งนักเรียนยังคงอยู่ในโรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรม
สร้างสรรค์ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติและควรเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการ
คิดวิเคราะห์ ความมีนาใจต่อกัน การทางานเป็นทีม และที่สาคัญควรมีกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กได้ค้นหา
ศักยภาพและความชอบของตนเอง ซึ่งเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถพิเศษ มีความสามารถในแบบ
ฉบับของตนเอง การจัดกิจกรรมไม่จาเป็นต้องเปิดให้เฉพาะห้องเดียวกัน หรือระดับชั้นเดียวกัน บาง
กิจกรรมสามารถศึกษาหรือทาร่วมกันหลายระดับชั้นได้ เพื่อให้เด็กๆรู้จักปรับตัว การช่วยเหลือดูแล
9.
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย
วิจัยปี 59 ครูวิชัย

More Related Content

What's hot

วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
Aroonswat
 
1 nervesys plan
1 nervesys plan1 nervesys plan
1 nervesys plan
Wichai Likitponrak
 
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมแผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
Wichai Likitponrak
 
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลงานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
Wichai Likitponrak
 
วิจัยอนามัยเพศ
วิจัยอนามัยเพศวิจัยอนามัยเพศ
วิจัยอนามัยเพศ
Wichai Likitponrak
 
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูปวิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
Wichai Likitponrak
 
วิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมีวิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมี
Wichai Likitponrak
 
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้านวิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
thkitiya
 
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพวิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
Kamolthip Boonpo
 
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
Kobwit Piriyawat
 

What's hot (20)

วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ)
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ)รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ)
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ)
 
1 nervesys plan
1 nervesys plan1 nervesys plan
1 nervesys plan
 
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมแผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
 
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลงานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
 
วิจัยอนามัยเพศ
วิจัยอนามัยเพศวิจัยอนามัยเพศ
วิจัยอนามัยเพศ
 
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการคิดชั้นสูง
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการคิดชั้นสูงรายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการคิดชั้นสูง
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการคิดชั้นสูง
 
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูปวิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
 
วิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมีวิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมี
 
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้านวิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
วิจัยในชั้นเรียนไม่ส่งการบ้าน
 
แผนBioม.4 2
แผนBioม.4 2แผนBioม.4 2
แผนBioม.4 2
 
แผนBioม.5 1
แผนBioม.5 1แผนBioม.5 1
แผนBioม.5 1
 
Lessonplanbio5
Lessonplanbio5Lessonplanbio5
Lessonplanbio5
 
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียงคู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
 
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพวิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
 
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2 2557
 
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
 
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
นำเสนองานวิจัยประชุมวิชาการ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
แผนBioม.6 1
แผนBioม.6 1แผนBioม.6 1
แผนBioม.6 1
 

Viewers also liked

บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
Wichai Likitponrak
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
sutima piboon
 
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
Wichai Likitponrak
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซมหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
Wichai Likitponrak
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
Wichai Likitponrak
 
เฉลยสอวนBio60
เฉลยสอวนBio60เฉลยสอวนBio60
เฉลยสอวนBio60
Wichai Likitponrak
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
Wichai Likitponrak
 

Viewers also liked (19)

Worksheet human kidney
Worksheet human kidneyWorksheet human kidney
Worksheet human kidney
 
Worksheet human heart
Worksheet human heartWorksheet human heart
Worksheet human heart
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
 
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้นเฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซมหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
 
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
 
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรกเฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
เฉลยข้อสอบOnetวิทย์54ครึ่งแรก
 
เฉลยสอวนBio60
เฉลยสอวนBio60เฉลยสอวนBio60
เฉลยสอวนBio60
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
 
กสพท. ภาษาไทย 2560
กสพท. ภาษาไทย 2560กสพท. ภาษาไทย 2560
กสพท. ภาษาไทย 2560
 
O-Net ภาษาอังกฤษ 2560
O-Net ภาษาอังกฤษ 2560O-Net ภาษาอังกฤษ 2560
O-Net ภาษาอังกฤษ 2560
 
Gat2 มี.ค. 59
Gat2 มี.ค. 59Gat2 มี.ค. 59
Gat2 มี.ค. 59
 
O-Net วิทยาศาสตร์ 2560
O-Net วิทยาศาสตร์ 2560O-Net วิทยาศาสตร์ 2560
O-Net วิทยาศาสตร์ 2560
 
O-Net สังคม 2560
O-Net สังคม 2560O-Net สังคม 2560
O-Net สังคม 2560
 
Gat2 มี.ค. 58
Gat2 มี.ค. 58Gat2 มี.ค. 58
Gat2 มี.ค. 58
 
Gat2 ต.ค. 58
Gat2 ต.ค. 58Gat2 ต.ค. 58
Gat2 ต.ค. 58
 

Similar to วิจัยปี 59 ครูวิชัย

แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
witthaya601
 
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
Kobwit Piriyawat
 
วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...
วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...
วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...
apiwat97
 
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
krupornpana55
 
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตงานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
krunum11
 
วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...
วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...
วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...
apiwat97
 
ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1
Aekapong Hemathulin
 
15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง
15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง
15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง
Pochchara Tiamwong
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
Suwanan Nonsrikham
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
Kobwit Piriyawat
 

Similar to วิจัยปี 59 ครูวิชัย (20)

ตัวอย่างโครงร่างวิจัย
ตัวอย่างโครงร่างวิจัยตัวอย่างโครงร่างวิจัย
ตัวอย่างโครงร่างวิจัย
 
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
 
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
 
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
ชุดกิจกรรมเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะโลหะ
 
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
รายงานผลการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมคุณธรรมนำความคิด เรื่องสารละลาย ชั้น ม.1 ครู...
 
01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word01 ตอนที่ 1 word
01 ตอนที่ 1 word
 
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
 
วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...
วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...
วิจัยเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแก้ปัญห...
 
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
 
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตงานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
apiwat act ppt
apiwat act pptapiwat act ppt
apiwat act ppt
 
วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...
วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...
วิจัยในชั้นเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การแ...
 
Gst ureportcamp61
Gst ureportcamp61Gst ureportcamp61
Gst ureportcamp61
 
ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1ครูปฏิบัติการ1
ครูปฏิบัติการ1
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง
15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง
15ตย.ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 

More from Wichai Likitponrak

Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
Wichai Likitponrak
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
Wichai Likitponrak
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

วิจัยปี 59 ครูวิชัย

  • 1. รายงานการวิจัย เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาใน รายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริม สมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนา กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) วิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาวิชาเอกชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปี พ.ศ. 2559
  • 2. รายงานการวิจัย เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาใน รายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริม สมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนา กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) วิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 สาขาวิชาเอกชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปี พ.ศ. 2559 ก.
  • 3. งานวิจัย ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถ ด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) วิชัย ลิขิตพรรักษ์1 บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Reseach) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และเปรียบเทียบผลการจัด กิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการ เรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการ คิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ที่มีเพศ ห้องเรียน เกรดเฉลี่ย สะสมและทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน โดยใช้แบบประเมินกิจกรรมการเรียนรู้นอก ห้องเรียนที่นักเรียนเป็นผู้ประเมินด้วยตนเองภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ประชากรที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียม อุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จานวน 920 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจานวน จานวน 73 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีสาหรับการ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (independent-sample t test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance--ANOVA) เมื่อพบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยดาเนินการทดสอบค่าเฉลี่ยประชากรรายคู่ โดยวิธีแอลเอสดี (LSD) และการจาแนกชนิดข้อมูลเชิงคุณภาพในระดับจุลภาคประเภทการวิเคราะห์ คาหลัก (Typological Analysis : Domain Analysis) จากข้อมูลแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมซึ่งเป็น แบบปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน ลาดับที่ 1 เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ การทาความเข้าใจเกี่ยวกับการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม ลาดับที่ 2 องค์ความรู้ที่ได้รับ นอกห้องเรียน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความชัดเจนของเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ ลาดับ ที่ 3 การวัดและการประเมินผลบทเรียน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เป็นการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนที่สนุก และไม่น่าเบื่อ ลาดับที่ 4 การวางแผนและเตรียมความพร้อม โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีความ ยุติธรรมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และลาดับที่ 5 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดย ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เนื้อหาบทเรียน เรื่อง วิวัฒนาการ 2. ผลเปรียบเทียบการประเมินการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชา ชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ที่มีเพศและเกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันมีความ คิดเห็นในทุกด้านและภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มี ข.
  • 4. ห้องเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นในทุกด้านและภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และผู้นักเรียนที่มีทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกันมีความคิดเห็นในด้านการวัดและ การประเมินผลบทเรียนพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้นี้มี ประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ ต่างๆ ที่สนใจได้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง เกิดการบูรณาการเนื้อหาจากภายในห้องเรียนสู่ภายนอก ห้องเรียนเป็นรูปธรรม 2) กิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายจากการได้รับ ประสบการณ์ตรงจากแหล่งการเรียนรู้จริงภายนอกห้องเรียน สามารถสัมผัส สังเกต และทดลองจริง ได้ด้วยเองจากสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย 3) กิจกรรมการเรียนรู้นี้มีความสนุกสนามและเป็น การเรียนรู้ที่ไม่น่าเบื่อจากสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและแปลกใหม่ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ ร่วมกับเพื่อนๆ ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางานร่วมกันเป็นทีม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4) กิจกรรม การเรียนรู้นี้มีความสะดวกในเรื่องของการเดินทางไปยังแหล่งการเรียนรู้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเข้า ร่วมกิจกรรม มีความเป็นอิสระด้านการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองมีความสนใจ และแหล่งเรียนรู้มีความ เหมาะสมด้านสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย และ 5) กิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นการใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์กับตนเอง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีความหมาย และเป็นการทา กิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆอย่างสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนจากการได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้จาก ภายในห้องเรียน 1 ครู คศ.1 สาขาวิชาเอกชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร E-mail mee_mu@hotmail.com ค.
  • 5. กิตติกรรมประกาศ รายงานการวิจัยฉบับนี้จะไม่สบประความสาเร็จได้เลยถ้าขาดการเปิดโอกาสจากโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา อีกทั้งการอานวยความสะดวกในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้อานวยการ โรงเรียน ดร.ปรเมษฐ์ โมลี, ท่านรองผู้อานวยกลุ่มบริหารวิชาการนายทรงเกีรยติ เทพประสาน, ท่าน รองผู้อานวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนว่าที่ร้อยตรีมานพ เพ็ญรัศมี ,ท่านรองผู้อานวยการกลุ่ม บริหารงบประมาณและบุคลากรนายศรไชย สาริกะวณิช, ท่านรองผู้อานวยการกลุ่มบริหารงานทั่วไป ว่าที่ร้อยตรี สุทธิศักดิ์ กีชวรรณ์, ท่านรองผู้อานวยการฝ่ายนโยบายและแผนงานนายจงชัย เจน หัตถการกิจ และท่านรองผู้อานวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานางสมจิตต์ ติณจินดา ที่ให้การ ช่วยเหลือและสนับสนุนเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ท่านหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นางสาวสุภาณี พงศ์พันธุ์ภักดี ,ท่านหัวหน้ารายวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล และท่านรองหัวหน้ารายวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นางทิพย์อาภา ศรีวรางกูล ที่ให้ความ กรุณาตอบสอบคุณภาพเครื่องมือและคาปรึกษาแนะนาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัย ขอขอบคุณคณะครูและนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้ให้คาปรึกษาแนะนาด้านการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมลด เวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ห้อง 32 และ 125 ที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน ณ ท้องฟ้าจาลองและตอบ แบบประเมินอย่างครบถ้วนซึ่งทาให้ผลการวิจัยครั้งนี้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น หากรายงานการวิจัยฉบับนี้ทาให้เกิดประโยชน์แก่ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาและ ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ทั่วไป ขอมอบคุณงามความดีอันพึงมีในครั้งนี้แด่ครอบครัว ครูอาจารย์และ ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้อบรมเลี้ยงดูและประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ต่างๆแด่ผู้วิจัย จนทาให้ผู้วิจัยมี ความรู้ความสามารถที่จะดาเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นผลสาเร็จ วิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตำแหน่งครู คศ.1 สำขำวิชำเอกชีววิทยำ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้วิทยำศำสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษำ ง.
  • 6. สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย................................................................................................................... ข-ค กิตติกรรมประกาศ.................................................................................................................... ง บทที่ 1 บทนา.......................................................................................................................... 1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา.............................................................. 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย..................................................................................... 2 สมมติฐานของการวิจัย......................................................................................... 3 ขอบเขตของการวิจัย............................................................................................ 3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.................................................................................. 3 ตัวแปรที่ศึกษา..................................................................................................... 3 นิยามเชิงศัพท์เฉพาะ ........................................................................................... 4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย.............................................................................. 5 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง...................................................................................................... 6 ยุคสังคมแหล่งการเรียนรู้ (Learning –based society)..................................... 6 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551............................... 6 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์......................................................... 8 นโยบายการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”........................................... 9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.............................................................................................. 15 กรอบความคิดในการวิจัย.................................................................................... 15 3 วิธีดาเนินการวิจัย........................................................................................................ 16 ขั้นตอนและวิธีการดาเนินการวิจัย....................................................................... 16 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ........................................................................................... 17 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย...................................................................................... 17 การสร้างเครื่องมือ............................................................................................... 18 การดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล........................................................................ 20 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................ 21 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................................ 23 ตอนที่ 1 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร.................... 23 จ.
  • 7. บทที่ หน้า ตอนที่ 2 ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อ สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้าน การคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.............................................. 24 ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อ สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้าน การคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่มีเพศ ห้องเรียน เกรดเฉลี่ยสะสม และทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน....................................... 27 ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ นอกห้องเรียนในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและ การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนา กรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.. 31 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ................................................................................. 35 สรุปผลการวิจัย.................................................................................................... 35 อภิปรายผล.......................................................................................................... 37 ข้อเสนอแนะ........................................................................................................ 41 ภาคผนวก ก รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ….……………………………………………………………………………………. 43 ข กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา......................................... 44 ค ภาพกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รายวิชาชีววิทยา................................................ 45 ง หนังสือราชการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขออนุญาตผู้ปกตรอง................................... 46 จ ตัวอย่างแบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน.................................................. 47 ฉ ตัวอย่างแบบประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน.......................................... 48 บรรณานุกรม............................................................................................................................ 49 ประวัติผู้วิจัย ............................................................................................................................ 50 ฉ.
  • 8. บทที่ 1 บทนา ความเป็นมา และความสาคัญของปัญหา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยสาระหลัก 8 สาระ ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกคนที่จะได้รับการพัฒนาทั้ง ด้านความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา ความสามารถในการ สื่อสาร การตัดสินใจ การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน ตลอดจนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คุณธรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับสากลหรือ “เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นคนที่มีความสุข” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) วิทยาศาสตร์มีบทบาทสาคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจาวันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออานวยความสะดวกในชีวิตและการทางาน เหล่านี้ล้วน เป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วย ให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะ สาคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดย ใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลก สมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจาเป็นต้องได้รับการ พัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ ขึ้น สามารถนาความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม นโยบายหนึ่งของรัฐบาล คือ การลดเวลา เรียนภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆควรเรียนรู้ ซึ่งหมยความว่าครูต้องใช้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สาระที่ต้องรู้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น จากนโยบายการลดเวลาเรียนดังกล่าว จึงนามาสู่การปฏิบัติโดยกาหนดให้โรงเรียนเรียนภาค วิชาการ ถึงเวลาบ่าย 2 โมงครึ่งหรือเวลา 14.30 น. แต่เวลาที่โรงเรียนเลิกยังคงเหมือนเดิมตาม กาหนดของแต่ละโรงเรียนซึ่งมักจะเป็นช่วงบ่าย 4 โมงหรือเวลา 16.00 น. ดังนั้นช่วงระยะเวลา ระหว่างหลังเลิกเรียนจยกว่านักเรียนจะกลับบ้านซึ่งนักเรียนยังคงอยู่ในโรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรม สร้างสรรค์ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติและควรเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการ คิดวิเคราะห์ ความมีนาใจต่อกัน การทางานเป็นทีม และที่สาคัญควรมีกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กได้ค้นหา ศักยภาพและความชอบของตนเอง ซึ่งเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถพิเศษ มีความสามารถในแบบ ฉบับของตนเอง การจัดกิจกรรมไม่จาเป็นต้องเปิดให้เฉพาะห้องเดียวกัน หรือระดับชั้นเดียวกัน บาง กิจกรรมสามารถศึกษาหรือทาร่วมกันหลายระดับชั้นได้ เพื่อให้เด็กๆรู้จักปรับตัว การช่วยเหลือดูแล กัน การมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลายช่วงวัย โดยเป็นการจาลองสภาพจริงในสังคมให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่งจะ ยิ่งช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาให้กับเด็กไทยต่อไป (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2558) ในการบริหารจัดการเวลาเรียนและจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สถานศึกษาแต่ ละแห่งควรมีการตรวจสอบหรือทบทวนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษา ใน ประเด็นโครงสร้างเวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การ จัดการเรียนรู้ของครู และศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเพื่อ 1.
  • 9. เตรียมการ ซึ่งการวางแผนจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ควรคานึงถึงความสนใจ ความ ต้องการของผู้เรียนเป็นหลักหรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม โดยแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบ สารวจ สืบค้น รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ นาเสนอแลกเปลี่ยน และสรุปข้อมูลจากการศึกษาโดยใช้ ชุมชนสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสารสนเทศรอบตัวเป็นแหล่งเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญกับ สภาพจริงของชีวิตหลากหลายมิติ ได้สัมผัสกับธรรมชาติและได้ประสบการณ์ตรงกับการเรียนรู้กับผู้คน ที่มีความแตกต่างหลกหลายช่วงวัย มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดประสบการณ์ (สานักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา, 2558) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้งที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขนาดใหญ่พิเศษที่มีการแข่งขันสูง อีกทั้ง ยังเป็นโรงเรียนนาร่องของนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ซึ่งได้ดาเนินการปรับโครงสร้างเวลา เรียน รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้ของครู นอกจากนี้ โรงเรียนยังส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายโดยคานึงถึงความสนใจ ความ ต้องการของผู้เรียนเป็นหลักโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ครูต้อง ดาเนินการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของโรงเรียนในช่วง “ลดเวลา เรียน เพิ่มเวลารู้” ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนรายวิชาชีววิทยา 6 จึงได้มอบหมายให้นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ห้อง 32 และ 125 ออกไปศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนใน ช่วงเวลาดังกล่าว ณ ท้องฟ้าจาลอง ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรรมชาติวิทยาซึ่งเกี่ยวข้องกับบทเรียนที่ นักเรียนกาลังศึกษาอยู่ในปัจจุบัน สอดคล้องกับกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้าง เสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิด แบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2558) ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึง สนใจศึกษาผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนา ความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) โดย ข้อสรุปต่าง ๆ ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในพัฒนาการวางแผนแนวทางจัด กิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย (ม.4-6) อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิผลต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนา ความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามความคิดเห็นของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในรายวิชา ชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ที่เน้น 2.
  • 10. การพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ที่มีเพศ ห้องเรียน เกรดเฉลี่ยสะสมและทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน สมมติฐานการวิจัย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา-มัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ที่มีเพศ ห้องเรียน เกรด เฉลี่ยสะสม และทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยาแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นในการจัดจัดกิจกรรมจัดการ เรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยานอกห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้าจาลอง โดยใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบาลของกระทรวงศึกษาธิการซึ่ง สอดคล้องกับแนวทางในคู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะ และการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ไม่แตกต่างกัน ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยานอก ห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้าจาลอง โดยใช้ชั่วโมงลด เวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในคู่มือการจัด กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนา ความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) โดยผล การจัดกิจกรรมนี้มาจากการสะท้อนมคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยกาหนดขอบเขตการ ประเมิน 5 ข้อ ได้แก่ การวางแผนและเตรียมความพร้อม เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน การวัดและการประเมินผลบทเรียน และองค์ความรู้ที่ได้รับนอก ห้องเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จานวน 23 ห้องเรียน รวมจานวน 920 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จานวน 2 ห้องเรียน คือ ห้อง 32 และห้อง 125 รวมจานวน 73 คน โดยการสุ่มแบบ เจาะจง (purposive sampling) ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรอิสระ (independent variable) คือ สถานะภาพของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ 3.
  • 11. การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ได้แก่ (1) เพศ (2) ห้องเรียน (3) เกรดเฉลี่ยสะสม และ (4) ทัศนคติต่อรายวิชาชีววิทยา 2. ตัวแปรตาม (dependent variable) คือ ผลการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลา รู้ตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาในรายวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะ และการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ได้แก่ (1) การวางแผนและเตรียมความพร้อม (2) เอกสารประกอบกิจกรรมการ เรียนรู้ (3) กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน (4) การวัดและการประเมินผลบทเรียน และ (5) องค์ ความรู้ที่ได้รับนอกห้องเรียน นิยามเชิงศัพท์เฉพาะ 1. การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้รายวิชา ชีววิทยานอกห้องเรียนในรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้าจาลอง ซึ่ง เป็นการบูรณาการเนื้อหาบทเรียน เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการที่นักเรียนกาลัง ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน โดยครูมอบหมายให้นักเรียนเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองตามความถนัด และความสนใจของตนเองโดยกาหนดให้ใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนเตรียม อุดมศึกษา คือ 14.30 – 16.00 น. ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับแนวทางใน คู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) 2. ผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมายถึง สิ่งที่นักเรียนนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสะท้อนคิดภายหลังจากการ เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยานอกห้องเรียนในรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทาง ธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้าจาลอง ในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในคู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบ ความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) ซึ่งครอบคลุมใน 5 ประเด็น คือ 2.1 การวางแผนและเตรียมความพร้อม หมายถึง การแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนรู้ การวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการทาความเข้าใจเกี่ยวกับการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม 2.2 เอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง ความเหมาะสมของเอกสารประกอบ กิจกรรมการเรียนรู้ ความชัดเจนของเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบของเอกสาร ประกอบกิจกรรมการเรียนรู้และองค์ประกอบหรือหัวข้อในเอกสารประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ 2.3 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หมายถึง ความหลากหลายของสื่อการเรียนรู้นอก ห้องเรียน กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนมีความเหมาะสม บรรยากาศโดยรวมส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนรู้มีความชัดเจน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ เรียนรู้ ช่วงระยะเวลาในกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสม เป็นการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนที่สนุกและ ไม่น่าเบื่อ สถานที่ในการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสม เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ควรจัดอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกในการเดินทางไปเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นการใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ 4.
  • 12. 2.4 การวัดและการประเมินผลบทเรียน หมายถึง มีเครื่องมือในการวัดและประเมินผล หลากหลาย มีเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลที่มีความชัดเจน มีการแจ้งช่วงระยะเวลาในการ ประเมินผลอย่างเหมาะสม และความยุติธรรมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2.5 องค์ความรู้ที่ได้รับนอกห้องเรียน หมายถึง เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการ เนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ การเชื่องโยงความรู้กับประสบการณ์จริง การเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาอย่างลึกซึ้ง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. ประโยชน์ที่สาคัญในการวิจัยครั้งนี้ คือ ทาให้ทราบผลการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ใน รายวิชาชีววิทยานอกห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ณ ท้องฟ้า จาลอง โดยใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการ พัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) จากการสะท้อนคิดของนักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมโดยตรงทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งสามารถนาไปใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการวางแผนเพื่อ พัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมในช่วงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียน รวมถึงยังใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาและอ้างอิงในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง กับการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้สาหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) 2. การศึกษาในครั้งนี้ทาการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร สะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม จัดการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนรูปแบบการทัศนศึกษา โดยใช้ชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งสอดคล้องกับ หมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ ข้อที่ 5 พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง (Growth Mindset) เพื่อนามาใช้ในการพัฒนาการวางแผนแนวทางจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลา เรียน เพิ่มเวลารู้ สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุ เป้าหมายในการยกระดับคุณภาพนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดต่อไป 5.
  • 13. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ยุคสังคมแหล่งการเรียนรู้ (Learning –based society) ในสังคมแห่งการเรียนรู้ หรือในยุคปฏิรูปการเรียนรู้นั้น การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เก่ง ดี มี ความสุข คือ การพัฒนาด้านต่อไปนี้ 1) พัฒนาด้านปัญญา คือ ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในสาระมีทักษะการคิดและกระบวนการ คิด รวมทั้งพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย เช่น ปัญญาทางดนตรี ปัญญาทางศิลปะ เป็นต้น 2) พัฒนาด้านอารมณ์ คือ ให้ผู้เรียนมีอารมณ์รื่นเริง แจ่มใส มองโลกในแง่ดี เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ มี สุขภาพจิตดี 3) พัฒนาทางด้านสังคม คือ ให้ผู้เรียนมีการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ง่าย ปรับตัวเข้ากับบุคคลในทุก ระดับที่เกี่ยวข้องได้ง่าย มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น คือ ทางานเป็นกลุ่ม ทางานเป็นทีมได้อย่างดี 4) พัฒนาด้านร่างกาย คือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีการเจริญทางร่างกายเป็นไปตามพัฒนาการทางกาย มี สุขภาพกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคและปลอดจากยาเสพติด (สุวิธิดา จรุงกียรติกุล, 2554) การศึกษาจึงนับว่ามีความสาคัญอย่างมากต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ในฐานะที่ เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีคุณภาพเหมาะสมและมี คุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการในการใช้กาลังของประเทศ เพราะการศึกษาจึงหมายถึง การ เจริญงอกงาม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงามทุกด้าน คือ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ถ้าประเทศใดประชากรมีการศึกษาสูง ประเทศนั้นก็จะมีกาลังคนที่มี ประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มรายได้ต่อบุคคลให้สูงขึ้น (นรินทร์ สังข์รักษา, 2552) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงเครือข่ายการติดต่อสื่อสารและ สารสนเทศอย่างกว้างขวาง ทาให้ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 สอดคล้องกับเป้าหมาย คือ “การสร้างศักยภาพในการแข่งขันบนพื้นฐาน ของความร่วมมือ” บนพื้นฐานแนวพระราชดาริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ทักษะกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทาขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่ การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาทุกสังกัดที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นาไปใช้ เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีการกาหนดวิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะสาคัญ ของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้พร้อมให้รายละเอียดในแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ได้กาหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสาคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึง ประสงค์ ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้น มาตรฐานการเรียนรู้ ยังเป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อน ให้ทราบว่าต้องการอะไร ต้องสอนอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือ ในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา รวมถึงการกาหนดตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ 6.
  • 14. และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มี ความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นาไปใช้ในการกาหนดเนื้อหา จัดทาหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สาคัญสาหรับการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบคุณภาพ ผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) 1. วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกาลังของชาติให้เป็น มนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพล โลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และ ทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จาเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตาม ศักยภาพ 2. จุดหมาย 2.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติ ตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.2 มีความรู้อันเป็นสากลและมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต 2.3 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกาลังกาย 2.4 มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2.5 มีจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทาประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง มีความสุข 3. สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน 3.1 ความสามารถในการสื่อสาร 3.2 ความสามารถในการคิด 3.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา 3.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 3.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4.1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 4.2 ซื่อสัตย์สุจริต 4.3 มีวินัย 4.4 ใฝ่เรียนรู้ 4.5 อยู่อย่างพอเพียง 4.6 มุ่งมั่นในการทางาน 4.7 รักความเป็นไทย 4.8 มีจิตสาธารณะ 5. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 5.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 5.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 5.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5.5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 7.
  • 15. 5.6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 5.7 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5.8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบ ต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะหาความรื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ ไปใช้ในการดารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสาคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนา ความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยา ศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยบชน์ มาตรฐาน ว 2.2 เข้ใจความสาคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติระดับท้องถิ่น ประเทศและโลก นาความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่าง ยั่งยืน สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึด เหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนา ความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิด สารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มี กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมี คุณธรรม มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 5 พลังงาน มาตรฐาน 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดารงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ 8.
  • 16. สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ กระบวนการต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มี กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ มาตรฐาน ว.7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี่และเอกภพ การปฏิสัมพันธ์ภายใน ระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่ง ที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสาคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นามาใช้ในการสารวจอวกาศและ ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การ แก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปร่างที่แน่นอนสามารถอธิบายและ ตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) นโยบายการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ควำมเป็นมำ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดารัสในเรื่องการศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องดูภาพรวมทั้งประเทศ เพราะทุกวันนี้การศึกษาค่อนข้างอ่อนแอ และมุ่งเน้นการ เรียนการสอนเนื้อหาบางเรื่องมากเกินไป ทรงมีพระราชดารัสให้มีการนาองค์ 4 แห่งการศึกษา คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา และหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ จิ ปุ ลิ หมายถึง การฟัง การคิด การถาม และการเขียน ซึ่งหัวใจสาคัญของนักปราชญ์และบัณฑิต อีกทั้งยังเป็นเทคนิคในการ ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนเก่งมากขึ้น โดยทรงมีพระราชดาริให้นาทั้งสองเรื่องมาใช้ในการจัด การศึกษา แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม นโยบายหนึ่งของรัฐบาล คือ การลดเวลา เรียนภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่เด็กๆควรเรียนรู้ ซึ่งหมยความว่าครูต้องใช้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สาระที่ต้องรู้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น จากนโยบายการลดเวลาเรียนดังกล่าว จึงนามาสู่การปฏิบัติโดยกาหนดให้โรงเรียนเรียนภาค วิชาการ ถึงเวลาบ่าย 2 โมงครึ่งหรือเวลา 14.30 น. แต่เวลาที่โรงเรียนเลิกยังคงเหมือนเดิมตาม กาหนดของแต่ละโรงเรียนซึ่งมักจะเป็นช่วงบ่าย 4 โมงหรือเวลา 16.00 น. ดังนั้นช่วงระยะเวลา ระหว่างหลังเลิกเรียนจยกว่านักเรียนจะกลับบ้านซึ่งนักเรียนยังคงอยู่ในโรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรม สร้างสรรค์ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติและควรเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการ คิดวิเคราะห์ ความมีนาใจต่อกัน การทางานเป็นทีม และที่สาคัญควรมีกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กได้ค้นหา ศักยภาพและความชอบของตนเอง ซึ่งเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถพิเศษ มีความสามารถในแบบ ฉบับของตนเอง การจัดกิจกรรมไม่จาเป็นต้องเปิดให้เฉพาะห้องเดียวกัน หรือระดับชั้นเดียวกัน บาง กิจกรรมสามารถศึกษาหรือทาร่วมกันหลายระดับชั้นได้ เพื่อให้เด็กๆรู้จักปรับตัว การช่วยเหลือดูแล 9.