SlideShare a Scribd company logo
1 of 40
Download to read offline
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
จานวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ ระยะเวลารวม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16
เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17
เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18
เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากร ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19
เรื่อง กาเนิดสปีชีส์ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20
เรื่อง วิวัฒนาการมนุษย์ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา ว302446 ชีววิทยา 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
เวลา 3 ชั่วโมง ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
*******************************************************************************************
1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 1.2 ม.4-6/1 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิด
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้
ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้
อธิบายความหมาย ความสาคัญและประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
และเขียนเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภท
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายความหมาย ความสาคัญและประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้
อย่างถูกต้อง
2.2 สามารถเขียนเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละ
ประเภทได้อย่างถูกต้อง
2.3 ตระหนักความสาคัญของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้าน
การศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
3. สาระแกนกลาง / สาระสาคัญ
 วิวัฒนาการ (Evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต มีผลทาให้
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นบรรพบุรุษ และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่
เปลี่ยนแปลงนั้นไปยังรุ่นลูกหลานได้ โดยได้รับการคัดเลือกให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่
ต่างกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
 วิวัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต ลักษณะพันธุกรรม
ที่เปลี่ยนแปลงนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปร่าง ลักษณะ หรือหน้าที่การทางาน เมื่อมี
การสะสมในปริมาณที่มากขึ้น นาไปสู่การกาเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือสปีชีส์ (Species) วงค์
(Family) ตลอดจนอันดับ (Order) และไฟลั่ม (Phylum) ในที่สุด
 หลักฐานการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้
1. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
2. หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ
3. หลักฐานจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ
4. หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล
5. หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์
6. หลักฐานทางสรีรวิทยา
7. หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
4. สาระการเรียนรู้
ความรู้ (K) อธิบายความหมาย ความสาคัญและประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิต
ทักษะ / กระบวนการ (P) เขียนเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิตแต่ละประเภท
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ตระหนักความสาคัญของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ต่อการพัฒนาการทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
5. สมรรถนะ
การคิด , การแก้ปัญหา, ทักษะชีวิต, การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
6. ชิ้นงาน / ภาระงานที่แสดงผลการเรียนรู้
สมุดบันทึก ,ใบงาน ,ใบกิจกรรม และ Concept map หรือ Mind map
7. การวัดและประเมินผล
รายการประเมิน วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล
1. สมุดบันทึกการเรียน
การสอนประจาบทเรียน
2. ใบงานแบบฝึกหัด
ทบทวนประจาบทเรียน
3. ทดสอบเก็บคะแนน
ประจาบทเรียน
4. แบบบันทึกการทา
กิจกรรมประจาบทเรียน
1. ตรวจสมุดบันทึกการ
เรียนการสอนประจา
บทเรียน
2. ตรวจใบงาน
แบบฝึกหัดทบทวน
ประจาบทเรียน
3. ตรวจแบบทดสอบ
เก็บคะแนนประจา
บทเรียน
4. ตรวจแบบบันทึกการ
ทากิจกรรมประจา
บทเรียน
1. การสังเกต ตรวจสอบ
เปรียบเทียบกับเนื้อหาที่ทา
การเรียนการสอนประจา
บทเรียนจริง
2. การตรวจสอบคาตอบกับ
คาเฉลยใบงานแบบฝึกหัด
ประจาบทเรียน
3. การตรวจสอบคาตอบกับ
คาเฉลยแบบทดสอบประจา
บทเรียน
4. การตรวจแบบบันทึกการ
กิจกรรมประจาบทเรียน
1. ความถูกต้อง ครบถ้วน
ในเนื้อหา ความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
ของการจดบันทึก
2. ความถูกต้องของ
คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า
กว่า 80%
3. ความถูกต้องของ
คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า
กว่า 50%
4. ความถูกต้อง ครบถ้วน
ในเนื้อหาการบันทึก ความ
เป็นระเบียบเรียบร้อย
สวยงามของการจดบันทึก
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนา : ครูตั้งคาถามก่อนนาไปสู่การเรียนการสอนให้นักเรียนจะตอบคาถามเหล่านี้โดย
อาศัยความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม หรือจากประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบเห็นในชีวิตประจาวัน ว่า
> หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคืออะไร มีความสาคัญอย่างไรต่อการศึกษา
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
> หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทสามารถนามาใช้ในการอธิบาย
กระบวนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
> นักเรียนคิดว่าหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงระดับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ อย่างไร
ครูเริ่มเปิดอภิปรายโดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเพราะเหตุใดกระบวนการศึกษา
ทางด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงต้องอาศัยหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายประเภทร่วมกัน
อธิบายอย่างต่อเนื่อง
นักเรียนสามารถตั้งคาถามที่อยากรู้เพิ่มเติม หลังจากได้ร่วมกันอภิปรายในห้องเรียนแล้ว เช่น
นักเรียนคิดว่านอกจากหลักฐานทั้ง 7 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหลักฐานอื่นที่สามารถนามาใช้อธิบาย
กระบวนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด
ขั้นสอน : ครูอธิบายเนื้อหา “หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” ว่า
 วิวัฒนาการ (Evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต มีผลทาให้
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นบรรพบุรุษและสามารถถ่ายทอดลักษณะที่
เปลี่ยนแปลงนั้นไปยังรุ่นลูกหลานได้โดยได้รับการคัดเลือกให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่
ต่างกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
 วิวัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต ลักษณะพันธุกรรม
ที่เปลี่ยนแปลงนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปร่าง ลักษณะ หรือหน้าที่การทางาน เมื่อมี
การสะสมในปริมาณที่มากขึ้น นาไปสู่การกาเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือสปีชีส์ (Species) วงค์
(Family) ตลอดจนอันดับ (Order) และไฟลั่ม (Phylum) ในที่สุด
 หลักฐานการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้
1. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต ซากสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอายุนับหลายพันหรือหมื่นปี
ขึ้นไป เช่น ซากโครงกระดูกไดโนเสาร์ ซากแมลงในแท่งอาพัน ฯลฯ การเกิดซากดึกดาบรรพ์ เกิดจาก
ซากของสิ่งมีชีวิตที่ยังคงสภาพเดิมอยู่หรือเกิดจากการแทนที่ซากสิ่งมีชีวิตโดยสารอื่นแล้วทับถมอยู่ใน
ชั้นหิน หรือ เป็นร่องรอยตกค้างบนหิน สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่างน้อย
มากแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนาน เช่น เฟิร์นแมงดาทะเล หอยปากเป็ด ฯลฯ
2. หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ โครงกระดูกขาหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มี
โครงสร้างและลักษณะการเรียงตัวคล้ายกันเรียกว่า homologous structure ซึ่งแสดงให้เห็น
ความสัมพันธ์ของสายวิวัฒนาการของสัตว์เหล่านี้ว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน ปีก
แมลงและปีกค้างคาวซึ่งทาหน้าที่ในการบินเหมือนกันแต่มีโครงสร้างต่างกัน เราเรียกว่า Analogous
structure
3. หลักฐานจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ การพัฒนาเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะ
เป็นตัวอ่อนจะมีช่องเหงือก (gill slits) และหางเหมือนกัน เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยสัตว์บางชนิดยัง
ปรากฏช่องเหงือก แต่บางชนิดปรับเปลี่ยนไปหางยังพบในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดเว้นในกลุ่มลิงไม่มีหาง
4. หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล นักอนุกรมวิธานและนักชีวเคมี สามารถตรวจสอบ
ความเหมือนกันของลาดับเบสบนสาย DNA นามาเปรียบเทียบระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถ้าพบว่า
ลาดับเบสบนสายของ DNA มีความเหมือนกันมาก แสดงว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
กันในเชิงวิวัฒนาการหรือมีบรรพบุรุษร่วมกัน
5. หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์ สิ่งมีชีวิตที่แพร่กระจายในบริเวณภูมิศาสตร์ ต่างๆ บนพื้นโลก
มีความแตกต่างกันและมีจานวนมากหลากหลายสปีชีส์ ลักษณะการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต ตาม
ภูมิศาสตร์ต่างๆหรือชีวภูมิศาสตร์บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต
ที่อาศัยบนหมู่เกาะต่างๆที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายกัน คาดว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้น่าจะมีลักษณะที่
คล้ายคลึงกัน กลับพบว่าสิ่งมีชีวิตที่พบมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย
6. หลักฐานทางสรีรวิทยา เนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกายของสิ่งมีชีวิตแสดงถึงวิวัฒนาการ
ได้ เนื่องจากมักจะมีความคล้ายคลึงกัน เช่น น้าย่อยอะไมเลส (amylase) มีตั้งแต่ฟองน้าจนถึงคน
ฮอร์โมนในสัตว์ต่างชนิดก็ยังเหมือนกัน เช่น คนที่เป็นเบาหวานอาจใช้อินซูลินของวัวฉีดแทนได้ หรือ
เลือดของคนกับลิงคล้ายกันมากกว่า เลือดลิงกับสุนัขหรือเลือด ของสัตว์ชนิดที่ใกล้เคียงกัน นาไปผสม
กันจะตกตะกอนมากกว่าเลือดของสัตว์ชนิดที่ห่างกัน
7. หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เป็นการทาให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต โดยอาศัยความรู้เรื่องการคัดเลือก พันธุ์และผสมพันธุ์โดยมนุษย์
ตัวอย่างเช่น ข้าวโพดที่ปลูกกันในปัจจุบันมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์สุวรรณ 1 พันธุ์ปากช่อง 1602 พันธุ์
ฮาวายหวานพิเศษ ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 เป็นที่นิยมปลูกกันมากได้มาจาก การคัดเลือกพันธุ์และ
ผสมพันธุ์ของข้าวโพดที่มีลักษณะเด่นจากเขตร้อนในแถบต่างๆ ของโลกจานวน 36 พันธุ์ด้วยกัน
ลักษณะพิเศษของข้าวโพดพันธุ์นี้คือเมล็ดแข็ง ใสสีส้มต้านทานโรคราน้าค้างได้ดี และให้ผลผลิตสูง
ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้สารกัมมันตรังสีตั้งแต่ปี 2498 ข้าวพันธุ์กข 6 กข 10 และ
กข 15 เป็นพันธุ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้รังสีทั้งสิ้น ข้าวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวได้มาจากการ
เปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะพิเศษคือให้ผลผลิตสูงต้านทานโรคไหม้และโรค
ใบจุดสีน้าตาลได้ดีหลักฐานเหล่านี้ แสดงว่าสิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นในอดีตอันยาวนาน
สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติก็น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ได้เช่นกันซึ่งอาจเกิดในอัตราที่ช้ากว่ามาก และเกิดใน
ทิศทางที่กาหนดโดยธรรมชาติ
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญและ
ประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึง
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูงต่อไป
ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เป็น concept map หรือ mind map พร้อม
กับทาใบงานหรือใบกิจกรรมเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญและประเภทของ
หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูง
9. สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้
9.1 เอกสารหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้น วิชาชีววิทยา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
ว 30246 ผู้เขียน นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
9.2 หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบัน
ส่งเสริมการส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.3 คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบันส่งเสริม
การส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.4 ห้องสมุดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
9.5 เว็ปไซต์อ้างอิงแหล่งข้อมูล เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต: google.com
9.6 เว็ปไซต์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต: youtube.com
9.7 สื่อเทคโนโลยี power point ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิต
10. บันทึกหลังการสอน
ผลการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหาและอุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกเพิ่มเติม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ..................................................
(นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์)
ครูผู้สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา ว302446 ชีววิทยา 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่อง แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
เวลา 3 ชั่วโมง ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
*******************************************************************************************
1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 1.2 ม.4-6/1 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิด
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้
ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้
อธิบายประวัติความเป็นมาและความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิต และเขียนสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิดตั้งแต่
อดีตถึงปัจจุบัน
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายประวัติความเป็นมาและความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิตได้อย่างถูกต้อง
2.2 สามารถเขียนสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิด
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
2.3 ตระหนักความสาคัญของแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้าน
การศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
3. สาระแกนกลาง / สาระสาคัญ
 ลินเนียส (Carolus Linnaeus,1707-1778) นักอนุกรมวิธานชาวสวีเดนมีความเชื่อว่า สิ่งมีชีวิต
แต่ละชนิดมีลักษณะถาวรไม่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบเดิม โดยผลงานสาคัญของลินเนียส คือ
การศึกษาและจัดจาแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่และการจัดระบบการตั้งชื่อของสิ่งมีชีวิต โดยใช้
หลัก Binomial nomenclature
 บูฟอง (Buffon, 1707-1788) นักวิทยาศาสตร์ ชาว ฝรั่งเศสมีความเห็นว่า ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม “The inheritances of acquired
characteristics” โดยเชื่อว่าโลกมีอายุมากกว่า 6,000 ปี
 ลามาร์ค (Lamarck, 1744-1829) นักวิทยาศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ที่นาเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการเป็น
คนแรกแต่ทฤษฎีถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยลามาร์ค
ศึกษาเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตที่พบแพร่หลายในยุคนั้นกับซากดึกดาบรรพ์ แล้วเสนอกฎ 2 ข้อ คือ
1. กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
2. กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Law of inheritance of acquired
characteristic)
 ชาร์ล ดาวิน : Charles R. Darwin 1809-1882 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ บิดาของ
การศึกษาวิวัฒนาการ ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการ เรียก Darwinism โดยหลักเกณฑ์สาคัญทฤษฎี
วิวัฒนาการของดาร์วิน คือ กลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)
 หลักเกณฑ์ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน
1. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ถ้าทุกตัวมีโอกาสอยู่รอดได้เท่ากัน
หมด ส่งผลให้ประชากรมีจานวนเพิ่มมากขึ้น
2. สมาชิกในกลุ่มประชากรมีลักษณะแตกต่างแปรผันมากบ้างน้อยบ้าง
3. เมื่อสมาชิกอยู่รวมกันมีการแข่งขันแก่งแย่งทรัพยากรในการดารงชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่
อาศัยและสิ่งอื่นๆ ตัวใหนที่แข็งแรงกว่ามีความสามารถมากกว่าอยู่รอดได้ ตัวที่อ่อนแอถูกกาจัด
เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)
4. ตัวที่ถูกคัดเลือกไว้สามารถสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะต่อไปยังลูกหลาน เมื่อกาลเวลา
ผ่านไป มีการสะสมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดทาให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่
 สิ่งมีชีวิตที่พบแพร่กระจายบนโลกเกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็น
ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้น และได้รับการคัดเลือกให้สามารถดารงชีวิตอยู่ได้
ในสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งเรียกว่า การปรับตัว การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมสามารถเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้นได้ ดาร์วินพิมพ์ผลงานของตนลงในหนังสือ
Origin of Species by Means of Natural Selection
4. สาระการเรียนรู้
ความรู้ (K) อธิบายประวัติความเป็นมาและความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ทักษะ / กระบวนการ (P) เขียนสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละ
แนวความคิดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ตระหนักความสาคัญของแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วใน
ปัจจุบัน
5. สมรรถนะ
การคิด , การแก้ปัญหา, ทักษะชีวิต, การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
6. ชิ้นงาน / ภาระงานที่แสดงผลการเรียนรู้
สมุดบันทึก ,ใบงาน ,ใบกิจกรรม และ Concept map หรือ Mind map
7. การวัดและประเมินผล
รายการประเมิน วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล
1. สมุดบันทึกการเรียน
การสอนประจาบทเรียน
2. ใบงานแบบฝึกหัด
ทบทวนประจาบทเรียน
1. ตรวจสมุดบันทึกการ
เรียนการสอนประจา
บทเรียน
2. ตรวจใบงาน
แบบฝึกหัดทบทวน
ประจาบทเรียน
1. การสังเกต ตรวจสอบ
เปรียบเทียบกับเนื้อหาที่ทา
การเรียนการสอนประจา
บทเรียนจริง
2. การตรวจสอบคาตอบกับ
คาเฉลยใบงานแบบฝึกหัด
ประจาบทเรียน
1. ความถูกต้อง ครบถ้วน
ในเนื้อหา ความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
ของการจดบันทึก
2. ความถูกต้องของ
คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า
กว่า 80%
3. ทดสอบเก็บคะแนน
ประจาบทเรียน
4. แบบบันทึกการทา
กิจกรรมประจาบทเรียน
3. ตรวจแบบทดสอบ
เก็บคะแนนประจา
บทเรียน
4. ตรวจแบบบันทึกการ
ทากิจกรรมประจา
บทเรียน
3. การตรวจสอบคาตอบกับ
คาเฉลยแบบทดสอบประจา
บทเรียน
4. การตรวจแบบบันทึกการ
กิจกรรมประจาบทเรียน
3. ความถูกต้องของ
คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า
กว่า 50%
4. ความถูกต้อง ครบถ้วน
ในเนื้อหาการบันทึก ความ
เป็นระเบียบเรียบร้อย
สวยงามของการจดบันทึก
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนา : ครูตั้งคาถามก่อนนาไปสู่การเรียนการสอนให้นักเรียนจะตอบคาถามเหล่านี้โดย
อาศัยความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม หรือจากประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบเห็นในชีวิตประจาวัน ว่า
> แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีประวัติความเป็นมาอย่างไรและมีความสาคัญ
อย่างไรต่อการศึกษาวิวัฒนาการในปัจจุบัน
> แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวคิดสามารถนามาใช้ใน
การอธิบายกระบวนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
> นักเรียนคิดว่าแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
เมื่อเทียบกับแนวคิดการเกิดวิวัฒนาในปัจจุบัน
ครูเริ่มเปิดอภิปรายโดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเพราะเหตุใดแนวความคิดเกี่ยวกับ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงเกิดขึ้นและแนวความคิดเหล่านี้มีความสาคัญต่อความก้าวหน้าในการศึกษา
วิวัฒนาการอย่างไรบ้าง
นักเรียนสามารถตั้งคาถามที่อยากรู้เพิ่มเติม หลังจากได้ร่วมกันอภิปรายในห้องเรียนแล้ว เช่น
นักเรียนคิดว่านอกจากแนวความคิดที่กล่าวมาแล้ว ยังแนวความคิดอื่นที่สามารถนามาใช้อธิบายกระบวนการ
เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด
ขั้นสอน : ครูอธิบายเนื้อหา “แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” ว่า
 ลินเนียส (Carolus Linnaeus,1707-1778) นักอนุกรมวิธานชาวสวีเดนมีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตแต่
ละชนิดมีลักษณะถาวรไม่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบเดิม ผลงานสาคัญ คือการศึกษาและจัดจาแนก
สิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่และการจัดระบบการตั้งชื่อของสิ่งมีชีวิต Binomial nomenclature
 บูฟอง (Buffon, 1707-1788) นักวิทยาศาสตร์ ชาว ฝรั่งเศสมีความเห็นว่า ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม “The inheritances of acquired
characteristics” โดยเชื่อว่าโลกมีอายุมากกว่า 6,000 ปี
 ลามาร์ค (Lamarck, 1744-1829) นักวิทยาศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ที่นาเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการเป็น
คนแรกแต่ทฤษฎีถูกปฏิเสธจากนักวิวัฒนาการ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทาง
วิทยาศาสตร์ โดยลามาร์ค ศึกษาเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตที่พบแพร่หลายในยุคนั้นกับซากดึกดา
บรรพ์ แล้วเสนอกฎ 2 ข้อ คือ
1. กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
2. กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Law of inheritance of acquired
characteristic)
 ปัญหาของทฤษฎี ลามาร์ค ไม่สามารถทดลองพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ : August Weisman
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันทาการทดลองตัดหางหนูประมาณ 20 ชั่วรุ่นปรากฏว่าหนูที่เกิดใหม่
ยังคงมีหางตามปกติคัดค้านหลักเกณฑ์ของทฤษฏีนี้ นอกจากนี้การศึกษาต่อมาพบว่าการถ่ายทอด
ลักษณะจะผ่านทางเซลสืบพันธุ์
 ชาร์ล ดาวิน : Charles R. Darwin 1809-1882 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ บิดาของ
การศึกษาวิวัฒนาการ ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการ เรียก Darwinism โดยหลักเกณฑ์สาคัญทฤษฎี
วิวัฒนาการของดาร์วิน คือ กลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)
 หลักเกณฑ์ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน
1. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ถ้าทุกตัวมีโอกาสอยู่รอดได้เท่ากัน
หมด ส่งผลให้ประชากรมีจานวนเพิ่มมากขึ้น
2. สมาชิกในกลุ่มประชากรมีลักษณะแตกต่างแปรผันมากบ้างน้อยบ้าง
3. เมื่อสมาชิกอยู่รวมกันมีการแข่งขันแก่งแย่งทรัพยากรในการดารงชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่
อาศัยและสิ่งอื่นๆ ตัวใหนที่แข็งแรงกว่ามีความสามารถมากกว่าอยู่รอดได้ ตัวที่อ่อนแอถูกกาจัด
เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)
4. ตัวที่ถูกคัดเลือกไว้สามารถสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะต่อไปยังลูกหลาน เมื่อกาลเวลา
ผ่านไป มีการสะสมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดทาให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่
 สิ่งมีชีวิตที่พบแพร่กระจายบนโลกเกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็น
ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้น และได้รับการคัดเลือกให้สามารถดารงชีวิตอยู่ได้
ในสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งเรียกว่า การปรับตัว การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมสามารถเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้นได้ ดาร์วินพิมพ์ผลงานของตนลงในหนังสือ
Origin of Species by Means of Natural Selection
 เอินส์ เมียร์ (Ernst Mayr) ได้วิเคราะห์ทฤษฎี การคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินที่ปรากฏอยู่
ในหนังสือ ซึ่งมีข้อสังเกต ดังนี้
1 สิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการสืบพันธุ์ และ ให้กาเนิดลูกหลานได้จานวนมาก
2 จานวนสมาชิกของประชากรแต่ละสปีชีส์ ในแต่ละรุ่นมักจะมีจานวนคงที่
3 ปัจจัยที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตมีปริมาณจากัด
4 สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวในประชากรมีลักษณะที่แปรผันแตกต่างกัน
5 ความแปรผันที่เกิดขึ้นนี้สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและ
ความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อสรุปแนวความคิดนักชีววิทยา
เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษา
ชีววิทยาในระดับสูงต่อไป
ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เป็น concept map หรือ mind map พร้อม
กับทาใบงานหรือใบกิจกรรมเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสาคัญของ
แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูง
9. สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้
9.1 เอกสารหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้น วิชาชีววิทยา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
ว 30246 ผู้เขียน นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
9.2 หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบัน
ส่งเสริมการส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.3 คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบันส่งเสริม
การส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.4 ห้องสมุดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
9.5 เว็ปไซต์อ้างอิงแหล่งข้อมูล เรื่อง แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต:
google.com
9.6 เว็ปไซต์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต:
youtube.com
9.7 สื่อเทคโนโลยี power point ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
10. บันทึกหลังการสอน
ผลการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหาและอุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกเพิ่มเติม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ..................................................
(นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์)
ครูผู้สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา ว302446 ชีววิทยา 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากร เวลา 3 ชั่วโมง
ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
*******************************************************************************************
1. มาตรฐานการเรียนรู้
ว 1.2 ม.4-6/1 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิด
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้
ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้
อธิบายความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ
สิ่งมีชีวิต และเขียนสรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์ประชากรไปประยุกต์ใช้แก้
โจทย์ปัญหา
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 อธิบายความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิตได้
อย่างถูกต้อง
2.2 สามารถเขียนสรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์ประชากรไปประยุกต์ใช้
แก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
2.3 ตระหนักความสาคัญในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการ
ทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
3. สาระแกนกลาง / สาระสาคัญ
 ทฤษฎีวิวัฒนาการในปัจจุบัน พื้นฐานสาคัญของกระบวนการยังคงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ซึ่งจะเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
o การคัดเลือกโดยธรรมชาติได้เกิดจากการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดโดยตรง และอยู่ที่
ความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกัน
มากบ้างน้อยบ้าง (differential reproduction)
o การแปรผันทางวิวัฒนาการเกิดจากการแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม โดยการกลาย
ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่
o หน่วยสาหรับกระบวนการวิวัฒนาการต้องเป็นระดับประชากร วิวัฒนาการจึงเป็นการ
เปลี่ยนแปลงทางพันธุ์ศาสตร์เชิงประชากร ซึ่งประชากรหมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิด
เดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและสามารถผสมพันธุ์กันได้ ประชากรจึงเป็น
แหล่งสะสมจีนรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “กองกลางของจีนหรือจีนพูล (gene pool)” ถ้า
จีนเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจะเป็นสาเหตุให้เกิดวิวัฒนาการ
 พันธุศาสตร์ประชากร (Population Genetics) โดยประชากรหมายถึงกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่
รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ สมาชิกในประชากรสามารถสืบพันธุ์ระหว่างกันได้และ ให้ลูกที่ไม่เป็นหมัน
โดยยีนพูล (gene pool) คือ ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
แอลลีลทุกแอลลีลจากทุกยีนของสมาชิกทุกตัว ดังนั้น พันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาการ
เปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนหรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล
 ทฤษฎีของฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก โดยจี เอช ฮาร์ดี และ ดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก ได้ศึกษายีนพูลของ
ประชากร และได้เสนอทฤษฎีว่า “ความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ยีนพูลของ
ประชากรจะมีค่าคงที่ในทุกๆ รุ่น ถ้าไม่มีปัจจัยบางอย่างมาเกี่ยวข้องปัจจัยบางอย่าง เรียกว่า
วิวัฒนาการระดับจุลภาค (microevolution) ได้แก่ มิวเทชัน, การคัดเลือกโดยธรรมชาติ, การ
อพยพ, Random Genetic Drift และการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน”
 ประชากรจะอยู่ในสมดุลของ ฮาร์ดี –ไวน์เบิร์ก จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้
o ประชากรมีขนาดใหญ่
o ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกลุ่มประชากร
o ไม่เกิดมิวเทชัน ที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีลในประชากร
o สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน
o ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยสิ่งมีชีวิตทุกตัวมีโอกาสอยู่รอด และประสบ
ความสาเร็จในการสืบพันธุ์ได้เท่าๆ กัน
4. สาระการเรียนรู้
ความรู้ (K) อธิบายความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ
สิ่งมีชีวิต
ทักษะ / กระบวนการ (P) เขียนสรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์ประชากร
ไปประยุกต์ใช้แก้โจทย์ปัญหา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ตระหนักความสาคัญในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ
สิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วใน
ปัจจุบัน
5. สมรรถนะ
การคิด , การแก้ปัญหา, ทักษะชีวิต, การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
6. ชิ้นงาน / ภาระงานที่แสดงผลการเรียนรู้
สมุดบันทึก ,ใบงาน ,ใบกิจกรรม และ Concept map หรือ Mind map
7. การวัดและประเมินผล
รายการประเมิน วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล
1. สมุดบันทึกการเรียน
การสอนประจาบทเรียน
1. ตรวจสมุดบันทึกการ
เรียนการสอนประจา
บทเรียน
1. การสังเกต ตรวจสอบ
เปรียบเทียบกับเนื้อหาที่ทา
การเรียนการสอนประจา
บทเรียนจริง
1. ความถูกต้อง ครบถ้วน
ในเนื้อหา ความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม
ของการจดบันทึก
2. ใบงานแบบฝึกหัด
ทบทวนประจาบทเรียน
3. ทดสอบเก็บคะแนน
ประจาบทเรียน
4. แบบบันทึกการทา
กิจกรรมประจาบทเรียน
2. ตรวจใบงาน
แบบฝึกหัดทบทวน
ประจาบทเรียน
3. ตรวจแบบทดสอบ
เก็บคะแนนประจา
บทเรียน
4. ตรวจแบบบันทึกการ
ทากิจกรรมประจา
บทเรียน
2. การตรวจสอบคาตอบกับ
คาเฉลยใบงานแบบฝึกหัด
ประจาบทเรียน
3. การตรวจสอบคาตอบกับ
คาเฉลยแบบทดสอบประจา
บทเรียน
4. การตรวจแบบบันทึกการ
กิจกรรมประจาบทเรียน
2. ความถูกต้องของ
คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า
กว่า 80%
3. ความถูกต้องของ
คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า
กว่า 50%
4. ความถูกต้อง ครบถ้วน
ในเนื้อหาการบันทึก ความ
เป็นระเบียบเรียบร้อย
สวยงามของการจดบันทึก
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนา : ครูตั้งคาถามก่อนนาไปสู่การเรียนการสอนให้นักเรียนจะตอบคาถามเหล่านี้โดย
อาศัยความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม หรือจากประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบเห็นในชีวิตประจาวัน ว่า
> พันธุศาสตร์ประชากรมีความหมายและความสาคัญอย่างไรต่อการศึกษาวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน
> หลักการทางพันธุศาสตร์ประชากรสามารถนามาใช้ในการอธิบายกระบวนการเกิดวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิตได้อย่างไรบ้าง และมีข้อจากัดหรือเงื่อนไขในการอธิบายหรือไม่
> นักเรียนคิดว่าหลักการทางพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิตมีความจาเป็นต่อการศึกษา
วิวัฒนาการในอนาคตหรือไม่ อย่างไร
ครูเริ่มเปิดอภิปรายโดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเพราะเหตุใดหลักการทางพันธุศาสตร์
ประชากรจึงเกิดขึ้นและหลักการเหล่านี้มีความสาคัญต่อความก้าวหน้าในการศึกษาวิวัฒนาการปัจจุบันอย่างไร
บ้าง
นักเรียนสามารถตั้งคาถามที่อยากรู้เพิ่มเติม หลังจากได้ร่วมกันอภิปรายในห้องเรียนแล้ว เช่น
นักเรียนคิดว่ากฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดลและทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินมีส่วนช่วย
ในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรหรือไม่ อย่างไร
ขั้นสอน : ครูอธิบายเนื้อหา “พันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต” ว่า
 ทฤษฎีวิวัฒนาการในปัจจุบัน พื้นฐานสาคัญของกระบวนการยังคงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ซึ่งจะเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
o การคัดเลือกโดยธรรมชาติได้เกิดจากการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดโดยตรง และอยู่ที่
ความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกัน
มากบ้างน้อยบ้าง (differential reproduction)
o การแปรผันทางวิวัฒนาการเกิดจากการแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม โดยการกลาย
ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่
o หน่วยสาหรับกระบวนการวิวัฒนาการต้องเป็นระดับประชากร วิวัฒนาการจึงเป็นการ
เปลี่ยนแปลงทางพันธุ์ศาสตร์เชิงประชากร ซึ่งประชากรหมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิด
เดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและสามารถผสมพันธุ์กันได้ ประชากรจึงเป็น
แหล่งสะสมจีนรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “กองกลางของจีนหรือจีนพูล (gene pool)” ถ้า
จีนเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจะเป็นสาเหตุให้เกิดวิวัฒนาการ
 ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์ (synthetic theory of evolution) เน้นความสาคัญของประชากร
ซึ่งเป็นหน่วยของวิวัฒนาการ โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวในประชากรเดียวกันมีความแปรผันแตกต่าง
กัน ลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ก็จะประสบความสาเร็จในการสืบพันธุ์
และถ่ายทอดลักษณะไปยังรุ่นต่อไป ทาให้สัดส่วนของลักษณะทางพันธุกรรมดังกล่าวในประชากร
เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นกลไกหลักที่สาคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการขึ้น
 พันธุศาสตร์ประชากร (Population Genetics) โดยประชากรหมายถึงกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่
รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ สมาชิกในประชากรสามารถสืบพันธุ์ระหว่างกันได้และ ให้ลูกที่ไม่เป็นหมัน
โดยยีนพูล (gene pool) คือ ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
แอลลีลทุกแอลลีลจากทุกยีนของสมาชิกทุกตัว ดังนั้น พันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาการ
เปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนหรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล
 ทฤษฎีของฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก โดยจี เอช ฮาร์ดี และ ดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก ได้ศึกษายีนพูลของ
ประชากร และได้เสนอทฤษฎีว่า “ความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ยีนพูลของ
ประชากรจะมีค่าคงที่ในทุกๆ รุ่น ถ้าไม่มีปัจจัยบางอย่างมาเกี่ยวข้องปัจจัยบางอย่าง เรียกว่า
วิวัฒนาการระดับจุลภาค (microevolution) ได้แก่ มิวเทชัน, การคัดเลือกโดยธรรมชาติ, การ
อพยพ, Random Genetic Drift และการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน”
 ประชากรจะอยู่ในสมดุลของ ฮาร์ดี –ไวน์เบิร์ก จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้
o ประชากรมีขนาดใหญ่
o ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกลุ่มประชากร
o ไม่เกิดมิวเทชัน ที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีลในประชากร
o สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน
o ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยสิ่งมีชีวิตทุกตัวมีโอกาสอยู่รอด และประสบ
ความสาเร็จในการสืบพันธุ์ได้เท่าๆ กัน
 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก นามาใช้ในการคาดคะเนความถี่ของแอลลีล ที่
เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมในยีนพูลของประชากร เช่น โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ ถ้า
ทราบจานวนคนที่เป็นโรคนี้ (ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนด้อย) จะสามารถประมาณจานวนประชากรที่
เป็นพาหะของยีนที่ทาให้เกิดโรคนี้ได้ ตัวอย่างเช่น ประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัด
หนึ่งมีคนเป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ จานวน 9 คน จากประชากรทั้งหมด 10,000 คน
กาหนดให้ จีโนไทป์ aa แสดงลักษณะของโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์
ความถี่ของ aa คือ q2 = 9 / 10,000 = 0.0009
q = 0.03
แสดงว่า ในประชากรแห่งนี้มีความถี่ของแอลลีลที่ทาให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ เท่ากับ
0.03 หรือคิดเป็น 3% นั่นเอง ประชากรกลุ่มนี้มีพาหะโรคโลหิตจางประมาณเท่าไหร่ ?
(ประมาณ 582 คน)
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญ และ
กระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต สรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้าน
พันธุศาสตร์ประชากรไปประยุกต์ใช้แก้โจทย์ปัญหาอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูงต่อไป
ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เป็น concept map หรือ mind map พร้อม
กับทาใบงานหรือใบกิจกรรมเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการ
ศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต สรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์
ประชากรไปประยุกต์ใช้แก้โจทย์ปัญหาอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูง
9. สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้
9.1 เอกสารหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้น วิชาชีววิทยา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
ว 30246 ผู้เขียน นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
9.2 หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบัน
ส่งเสริมการส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.3 คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบันส่งเสริม
การส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.4 ห้องสมุดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
9.5 เว็ปไซต์อ้างอิงแหล่งข้อมูล เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต: google.com
9.6 เว็ปไซต์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต: youtube.com
9.7 สื่อเทคโนโลยี power point ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากรสิ่งมีชีวิต
10. บันทึกหลังการสอน
ผลการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ปัญหาและอุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกเพิ่มเติม
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ..................................................
(นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์)
ครูผู้สอน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ

More Related Content

What's hot

ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2Sukanya Nak-on
 
บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1
บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1
บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1Yaovaree Nornakhum
 
แบบทดสอบระบบประสาท
แบบทดสอบระบบประสาทแบบทดสอบระบบประสาท
แบบทดสอบระบบประสาทWichai Likitponrak
 
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการแผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการSumalee Khvamsuk
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสAomiko Wipaporn
 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศkrupornpana55
 
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซม
บทที่  16  ยีนและโครโมโซมบทที่  16  ยีนและโครโมโซม
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซมPinutchaya Nakchumroon
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.peter dontoom
 
ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2oraneehussem
 
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมีใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมีwebsite22556
 
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอ
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอเอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอ
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอBiobiome
 
Microsoft power point ปฏิกิริยาเคมี
Microsoft power point   ปฏิกิริยาเคมีMicrosoft power point   ปฏิกิริยาเคมี
Microsoft power point ปฏิกิริยาเคมีThanyamon Chat.
 
มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)Wan Ngamwongwan
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์krupornpana55
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfssuser2feafc1
 
บท4วิวัฒนาการ
บท4วิวัฒนาการบท4วิวัฒนาการ
บท4วิวัฒนาการWichai Likitponrak
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชลธิกาญจน์ จินาจันทร์
 

What's hot (20)

ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2
 
บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1
บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1
บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม1
 
แบบทดสอบระบบประสาท
แบบทดสอบระบบประสาทแบบทดสอบระบบประสาท
แบบทดสอบระบบประสาท
 
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการแผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
แผนการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
 
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
ใบงานที่ 13 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
 
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซม
บทที่  16  ยีนและโครโมโซมบทที่  16  ยีนและโครโมโซม
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซม
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
 
ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2
 
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมีใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
ใบงานที่ 2 ปฏิกิริยาเคมี
 
การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)
 
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอ
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอเอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอ
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีดีเอ็นเอ
 
Microsoft power point ปฏิกิริยาเคมี
Microsoft power point   ปฏิกิริยาเคมีMicrosoft power point   ปฏิกิริยาเคมี
Microsoft power point ปฏิกิริยาเคมี
 
มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)มิวเทชัน (Mutation)
มิวเทชัน (Mutation)
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2ชุดฝึกทักษะกระบวนการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
 
บท4วิวัฒนาการ
บท4วิวัฒนาการบท4วิวัฒนาการ
บท4วิวัฒนาการ
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
 
Kingdom Animalia
Kingdom AnimaliaKingdom Animalia
Kingdom Animalia
 

Viewers also liked

บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกWichai Likitponrak
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซมหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซมWichai Likitponrak
 
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมแผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมWichai Likitponrak
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตบทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตPinutchaya Nakchumroon
 
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้นเฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้นWichai Likitponrak
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชWichai Likitponrak
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1Mayuree Paitoon
 
1ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป6
1ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป61ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป6
1ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป6Wichai Likitponrak
 
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพWichai Likitponrak
 
3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลว
3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลว3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลว
3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลวWichai Likitponrak
 
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวันบทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวันThepsatri Rajabhat University
 
4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยน
4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยน4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยน
4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยนWichai Likitponrak
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1Wuttipong Tubkrathok
 
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdnaติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdnaWichai Likitponrak
 

Viewers also liked (20)

บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอกบทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
บทที่3การสืบพันธุ์เจริญเติบโตพืชดอก
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซมหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ยีนและโครโมโซม
 
เฉลยสอวนBio60
เฉลยสอวนBio60เฉลยสอวนBio60
เฉลยสอวนBio60
 
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรมแผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
แผนการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ถ่ายทอดพันธุกรรม
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตบทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
 
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เอกสารประกอบคำบรรยายติวสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้นเฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
เฉลยแนวสอบIjsoชีววิทยาม.ต้น
 
Worksheet human kidney
Worksheet human kidneyWorksheet human kidney
Worksheet human kidney
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
 
Worksheet human heart
Worksheet human heartWorksheet human heart
Worksheet human heart
 
สรุปสูตร คณิตศาสตร์ ม.1
สรุปสูตร คณิตศาสตร์ ม.1สรุปสูตร คณิตศาสตร์ ม.1
สรุปสูตร คณิตศาสตร์ ม.1
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1
 
1ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป6
1ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป61ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป6
1ติวสอบวิชาวิทยาศาสตร์ป6
 
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
 
3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลว
3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลว3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลว
3.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแข็งกับเปลี่ยนเหลว
 
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวันบทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
บทที่ 1 ฟิสิกส์กับการทำงานของร่างกายและชีวิตประจำวัน
 
4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยน
4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยน4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยน
4.เปลี่ยนแปลงสารgs เปลี่ยนแก๊สกับพลังงานเปลี่ยน
 
7.พฤติกรรม
7.พฤติกรรม7.พฤติกรรม
7.พฤติกรรม
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1
 
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdnaติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
ติวสอบเตรียมพันธุศาสตร์เทคdna
 

Similar to หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ

Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62
Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62
Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62Wichai Likitponrak
 
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62Wichai Likitponrak
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติWichai Likitponrak
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลงานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลWichai Likitponrak
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Sareenakache
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1maina052
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1sitipatimoh050
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1azmah055
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1ai-sohyanya
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1oppalove
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Sareenakache
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Ameena021
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1rorsed
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1tina009
 

Similar to หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ (20)

Lessonplan 4animalreproduce
Lessonplan 4animalreproduceLessonplan 4animalreproduce
Lessonplan 4animalreproduce
 
Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62
Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62
Lessonplanunit4animalrepro kr uwichai62
 
Lessonplan 5animalgrowth
Lessonplan 5animalgrowthLessonplan 5animalgrowth
Lessonplan 5animalgrowth
 
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
 
Lesson2 plantrepro
Lesson2 plantreproLesson2 plantrepro
Lesson2 plantrepro
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลงานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 

More from Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ

  • 1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จานวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้ ระยะเวลารวม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ระยะเวลา 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17 เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ระยะเวลา 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากร ระยะเวลา 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 เรื่อง กาเนิดสปีชีส์ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 เรื่อง วิวัฒนาการมนุษย์ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
  • 2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา ว302446 ชีววิทยา 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เวลา 3 ชั่วโมง ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ******************************************************************************************* 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.2 ม.4-6/1 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิด ความหลากหลายทางชีวภาพ ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้ อธิบายความหมาย ความสาคัญและประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และเขียนเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภท 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1 อธิบายความหมาย ความสาคัญและประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ อย่างถูกต้อง 2.2 สามารถเขียนเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละ ประเภทได้อย่างถูกต้อง 2.3 ตระหนักความสาคัญของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้าน การศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 3. สาระแกนกลาง / สาระสาคัญ  วิวัฒนาการ (Evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต มีผลทาให้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นบรรพบุรุษ และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่ เปลี่ยนแปลงนั้นไปยังรุ่นลูกหลานได้ โดยได้รับการคัดเลือกให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ ต่างกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน  วิวัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต ลักษณะพันธุกรรม ที่เปลี่ยนแปลงนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปร่าง ลักษณะ หรือหน้าที่การทางาน เมื่อมี การสะสมในปริมาณที่มากขึ้น นาไปสู่การกาเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือสปีชีส์ (Species) วงค์ (Family) ตลอดจนอันดับ (Order) และไฟลั่ม (Phylum) ในที่สุด  หลักฐานการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต 2. หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ 3. หลักฐานจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ 4. หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล 5. หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์
  • 3. 6. หลักฐานทางสรีรวิทยา 7. หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ 4. สาระการเรียนรู้ ความรู้ (K) อธิบายความหมาย ความสาคัญและประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต ทักษะ / กระบวนการ (P) เขียนเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิตแต่ละประเภท คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ตระหนักความสาคัญของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ต่อการพัฒนาการทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 5. สมรรถนะ การคิด , การแก้ปัญหา, ทักษะชีวิต, การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 6. ชิ้นงาน / ภาระงานที่แสดงผลการเรียนรู้ สมุดบันทึก ,ใบงาน ,ใบกิจกรรม และ Concept map หรือ Mind map 7. การวัดและประเมินผล รายการประเมิน วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล 1. สมุดบันทึกการเรียน การสอนประจาบทเรียน 2. ใบงานแบบฝึกหัด ทบทวนประจาบทเรียน 3. ทดสอบเก็บคะแนน ประจาบทเรียน 4. แบบบันทึกการทา กิจกรรมประจาบทเรียน 1. ตรวจสมุดบันทึกการ เรียนการสอนประจา บทเรียน 2. ตรวจใบงาน แบบฝึกหัดทบทวน ประจาบทเรียน 3. ตรวจแบบทดสอบ เก็บคะแนนประจา บทเรียน 4. ตรวจแบบบันทึกการ ทากิจกรรมประจา บทเรียน 1. การสังเกต ตรวจสอบ เปรียบเทียบกับเนื้อหาที่ทา การเรียนการสอนประจา บทเรียนจริง 2. การตรวจสอบคาตอบกับ คาเฉลยใบงานแบบฝึกหัด ประจาบทเรียน 3. การตรวจสอบคาตอบกับ คาเฉลยแบบทดสอบประจา บทเรียน 4. การตรวจแบบบันทึกการ กิจกรรมประจาบทเรียน 1. ความถูกต้อง ครบถ้วน ในเนื้อหา ความเป็น ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ของการจดบันทึก 2. ความถูกต้องของ คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า กว่า 80% 3. ความถูกต้องของ คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า กว่า 50% 4. ความถูกต้อง ครบถ้วน ในเนื้อหาการบันทึก ความ เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามของการจดบันทึก 8. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนา : ครูตั้งคาถามก่อนนาไปสู่การเรียนการสอนให้นักเรียนจะตอบคาถามเหล่านี้โดย อาศัยความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม หรือจากประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบเห็นในชีวิตประจาวัน ว่า > หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคืออะไร มีความสาคัญอย่างไรต่อการศึกษา วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต > หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทสามารถนามาใช้ในการอธิบาย กระบวนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง > นักเรียนคิดว่าหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับกระบวนการ เปลี่ยนแปลงระดับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ อย่างไร
  • 4. ครูเริ่มเปิดอภิปรายโดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเพราะเหตุใดกระบวนการศึกษา ทางด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงต้องอาศัยหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายประเภทร่วมกัน อธิบายอย่างต่อเนื่อง นักเรียนสามารถตั้งคาถามที่อยากรู้เพิ่มเติม หลังจากได้ร่วมกันอภิปรายในห้องเรียนแล้ว เช่น นักเรียนคิดว่านอกจากหลักฐานทั้ง 7 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหลักฐานอื่นที่สามารถนามาใช้อธิบาย กระบวนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด ขั้นสอน : ครูอธิบายเนื้อหา “หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” ว่า  วิวัฒนาการ (Evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต มีผลทาให้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นบรรพบุรุษและสามารถถ่ายทอดลักษณะที่ เปลี่ยนแปลงนั้นไปยังรุ่นลูกหลานได้โดยได้รับการคัดเลือกให้มีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ ต่างกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน  วิวัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต ลักษณะพันธุกรรม ที่เปลี่ยนแปลงนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง รูปร่าง ลักษณะ หรือหน้าที่การทางาน เมื่อมี การสะสมในปริมาณที่มากขึ้น นาไปสู่การกาเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือสปีชีส์ (Species) วงค์ (Family) ตลอดจนอันดับ (Order) และไฟลั่ม (Phylum) ในที่สุด  หลักฐานการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้ 1. หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต ซากสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอายุนับหลายพันหรือหมื่นปี ขึ้นไป เช่น ซากโครงกระดูกไดโนเสาร์ ซากแมลงในแท่งอาพัน ฯลฯ การเกิดซากดึกดาบรรพ์ เกิดจาก
  • 5. ซากของสิ่งมีชีวิตที่ยังคงสภาพเดิมอยู่หรือเกิดจากการแทนที่ซากสิ่งมีชีวิตโดยสารอื่นแล้วทับถมอยู่ใน ชั้นหิน หรือ เป็นร่องรอยตกค้างบนหิน สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่างน้อย มากแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนาน เช่น เฟิร์นแมงดาทะเล หอยปากเป็ด ฯลฯ 2. หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ โครงกระดูกขาหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มี โครงสร้างและลักษณะการเรียงตัวคล้ายกันเรียกว่า homologous structure ซึ่งแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของสายวิวัฒนาการของสัตว์เหล่านี้ว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน ปีก แมลงและปีกค้างคาวซึ่งทาหน้าที่ในการบินเหมือนกันแต่มีโครงสร้างต่างกัน เราเรียกว่า Analogous structure 3. หลักฐานจากคัพภะวิทยาเปรียบเทียบ การพัฒนาเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะ เป็นตัวอ่อนจะมีช่องเหงือก (gill slits) และหางเหมือนกัน เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยสัตว์บางชนิดยัง ปรากฏช่องเหงือก แต่บางชนิดปรับเปลี่ยนไปหางยังพบในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดเว้นในกลุ่มลิงไม่มีหาง
  • 6. 4. หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล นักอนุกรมวิธานและนักชีวเคมี สามารถตรวจสอบ ความเหมือนกันของลาดับเบสบนสาย DNA นามาเปรียบเทียบระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถ้าพบว่า ลาดับเบสบนสายของ DNA มีความเหมือนกันมาก แสดงว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กันในเชิงวิวัฒนาการหรือมีบรรพบุรุษร่วมกัน 5. หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์ สิ่งมีชีวิตที่แพร่กระจายในบริเวณภูมิศาสตร์ ต่างๆ บนพื้นโลก มีความแตกต่างกันและมีจานวนมากหลากหลายสปีชีส์ ลักษณะการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต ตาม ภูมิศาสตร์ต่างๆหรือชีวภูมิศาสตร์บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยบนหมู่เกาะต่างๆที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายกัน คาดว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้น่าจะมีลักษณะที่ คล้ายคลึงกัน กลับพบว่าสิ่งมีชีวิตที่พบมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย 6. หลักฐานทางสรีรวิทยา เนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกายของสิ่งมีชีวิตแสดงถึงวิวัฒนาการ ได้ เนื่องจากมักจะมีความคล้ายคลึงกัน เช่น น้าย่อยอะไมเลส (amylase) มีตั้งแต่ฟองน้าจนถึงคน ฮอร์โมนในสัตว์ต่างชนิดก็ยังเหมือนกัน เช่น คนที่เป็นเบาหวานอาจใช้อินซูลินของวัวฉีดแทนได้ หรือ เลือดของคนกับลิงคล้ายกันมากกว่า เลือดลิงกับสุนัขหรือเลือด ของสัตว์ชนิดที่ใกล้เคียงกัน นาไปผสม กันจะตกตะกอนมากกว่าเลือดของสัตว์ชนิดที่ห่างกัน
  • 7. 7. หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เป็นการทาให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต โดยอาศัยความรู้เรื่องการคัดเลือก พันธุ์และผสมพันธุ์โดยมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ข้าวโพดที่ปลูกกันในปัจจุบันมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์สุวรรณ 1 พันธุ์ปากช่อง 1602 พันธุ์ ฮาวายหวานพิเศษ ข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 เป็นที่นิยมปลูกกันมากได้มาจาก การคัดเลือกพันธุ์และ ผสมพันธุ์ของข้าวโพดที่มีลักษณะเด่นจากเขตร้อนในแถบต่างๆ ของโลกจานวน 36 พันธุ์ด้วยกัน ลักษณะพิเศษของข้าวโพดพันธุ์นี้คือเมล็ดแข็ง ใสสีส้มต้านทานโรคราน้าค้างได้ดี และให้ผลผลิตสูง ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้สารกัมมันตรังสีตั้งแต่ปี 2498 ข้าวพันธุ์กข 6 กข 10 และ กข 15 เป็นพันธุ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้รังสีทั้งสิ้น ข้าวพันธุ์ กข 6 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวได้มาจากการ เปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะพิเศษคือให้ผลผลิตสูงต้านทานโรคไหม้และโรค ใบจุดสีน้าตาลได้ดีหลักฐานเหล่านี้ แสดงว่าสิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นในอดีตอันยาวนาน สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติก็น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ได้เช่นกันซึ่งอาจเกิดในอัตราที่ช้ากว่ามาก และเกิดใน ทิศทางที่กาหนดโดยธรรมชาติ นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญและ ประเภทของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูงต่อไป ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เป็น concept map หรือ mind map พร้อม กับทาใบงานหรือใบกิจกรรมเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญและประเภทของ หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละประเภทอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูง 9. สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้ 9.1 เอกสารหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้น วิชาชีววิทยา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ว 30246 ผู้เขียน นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 9.2 หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบัน ส่งเสริมการส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ 9.3 คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบันส่งเสริม การส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ 9.4 ห้องสมุดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 9.5 เว็ปไซต์อ้างอิงแหล่งข้อมูล เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต: google.com 9.6 เว็ปไซต์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต: youtube.com 9.7 สื่อเทคโนโลยี power point ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง หลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต
  • 8. 10. บันทึกหลังการสอน ผลการสอน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาและอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… แนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… บันทึกเพิ่มเติม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ.................................................. (นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์) ครูผู้สอน
  • 9. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา ว302446 ชีววิทยา 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่อง แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เวลา 3 ชั่วโมง ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ******************************************************************************************* 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.2 ม.4-6/1 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิด ความหลากหลายทางชีวภาพ ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้ อธิบายประวัติความเป็นมาและความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต และเขียนสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิดตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบัน 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1 อธิบายประวัติความเป็นมาและความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิตได้อย่างถูกต้อง 2.2 สามารถเขียนสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิด ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง 2.3 ตระหนักความสาคัญของแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้าน การศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 3. สาระแกนกลาง / สาระสาคัญ  ลินเนียส (Carolus Linnaeus,1707-1778) นักอนุกรมวิธานชาวสวีเดนมีความเชื่อว่า สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดมีลักษณะถาวรไม่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบเดิม โดยผลงานสาคัญของลินเนียส คือ การศึกษาและจัดจาแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่และการจัดระบบการตั้งชื่อของสิ่งมีชีวิต โดยใช้ หลัก Binomial nomenclature  บูฟอง (Buffon, 1707-1788) นักวิทยาศาสตร์ ชาว ฝรั่งเศสมีความเห็นว่า ลักษณะของสิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม “The inheritances of acquired characteristics” โดยเชื่อว่าโลกมีอายุมากกว่า 6,000 ปี  ลามาร์ค (Lamarck, 1744-1829) นักวิทยาศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ที่นาเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการเป็น คนแรกแต่ทฤษฎีถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยลามาร์ค ศึกษาเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตที่พบแพร่หลายในยุคนั้นกับซากดึกดาบรรพ์ แล้วเสนอกฎ 2 ข้อ คือ 1. กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse) 2. กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Law of inheritance of acquired characteristic)
  • 10.  ชาร์ล ดาวิน : Charles R. Darwin 1809-1882 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ บิดาของ การศึกษาวิวัฒนาการ ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการ เรียก Darwinism โดยหลักเกณฑ์สาคัญทฤษฎี วิวัฒนาการของดาร์วิน คือ กลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)  หลักเกณฑ์ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน 1. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ถ้าทุกตัวมีโอกาสอยู่รอดได้เท่ากัน หมด ส่งผลให้ประชากรมีจานวนเพิ่มมากขึ้น 2. สมาชิกในกลุ่มประชากรมีลักษณะแตกต่างแปรผันมากบ้างน้อยบ้าง 3. เมื่อสมาชิกอยู่รวมกันมีการแข่งขันแก่งแย่งทรัพยากรในการดารงชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่ อาศัยและสิ่งอื่นๆ ตัวใหนที่แข็งแรงกว่ามีความสามารถมากกว่าอยู่รอดได้ ตัวที่อ่อนแอถูกกาจัด เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) 4. ตัวที่ถูกคัดเลือกไว้สามารถสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะต่อไปยังลูกหลาน เมื่อกาลเวลา ผ่านไป มีการสะสมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดทาให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่  สิ่งมีชีวิตที่พบแพร่กระจายบนโลกเกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็น ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้น และได้รับการคัดเลือกให้สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ ในสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งเรียกว่า การปรับตัว การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมสามารถเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้นได้ ดาร์วินพิมพ์ผลงานของตนลงในหนังสือ Origin of Species by Means of Natural Selection 4. สาระการเรียนรู้ ความรู้ (K) อธิบายประวัติความเป็นมาและความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ทักษะ / กระบวนการ (P) เขียนสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละ แนวความคิดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ตระหนักความสาคัญของแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วใน ปัจจุบัน 5. สมรรถนะ การคิด , การแก้ปัญหา, ทักษะชีวิต, การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 6. ชิ้นงาน / ภาระงานที่แสดงผลการเรียนรู้ สมุดบันทึก ,ใบงาน ,ใบกิจกรรม และ Concept map หรือ Mind map 7. การวัดและประเมินผล รายการประเมิน วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล 1. สมุดบันทึกการเรียน การสอนประจาบทเรียน 2. ใบงานแบบฝึกหัด ทบทวนประจาบทเรียน 1. ตรวจสมุดบันทึกการ เรียนการสอนประจา บทเรียน 2. ตรวจใบงาน แบบฝึกหัดทบทวน ประจาบทเรียน 1. การสังเกต ตรวจสอบ เปรียบเทียบกับเนื้อหาที่ทา การเรียนการสอนประจา บทเรียนจริง 2. การตรวจสอบคาตอบกับ คาเฉลยใบงานแบบฝึกหัด ประจาบทเรียน 1. ความถูกต้อง ครบถ้วน ในเนื้อหา ความเป็น ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ของการจดบันทึก 2. ความถูกต้องของ คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า กว่า 80%
  • 11. 3. ทดสอบเก็บคะแนน ประจาบทเรียน 4. แบบบันทึกการทา กิจกรรมประจาบทเรียน 3. ตรวจแบบทดสอบ เก็บคะแนนประจา บทเรียน 4. ตรวจแบบบันทึกการ ทากิจกรรมประจา บทเรียน 3. การตรวจสอบคาตอบกับ คาเฉลยแบบทดสอบประจา บทเรียน 4. การตรวจแบบบันทึกการ กิจกรรมประจาบทเรียน 3. ความถูกต้องของ คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า กว่า 50% 4. ความถูกต้อง ครบถ้วน ในเนื้อหาการบันทึก ความ เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามของการจดบันทึก 8. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนา : ครูตั้งคาถามก่อนนาไปสู่การเรียนการสอนให้นักเรียนจะตอบคาถามเหล่านี้โดย อาศัยความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม หรือจากประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบเห็นในชีวิตประจาวัน ว่า > แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีประวัติความเป็นมาอย่างไรและมีความสาคัญ อย่างไรต่อการศึกษาวิวัฒนาการในปัจจุบัน > แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวคิดสามารถนามาใช้ใน การอธิบายกระบวนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง > นักเรียนคิดว่าแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับแนวคิดการเกิดวิวัฒนาในปัจจุบัน ครูเริ่มเปิดอภิปรายโดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเพราะเหตุใดแนวความคิดเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงเกิดขึ้นและแนวความคิดเหล่านี้มีความสาคัญต่อความก้าวหน้าในการศึกษา วิวัฒนาการอย่างไรบ้าง นักเรียนสามารถตั้งคาถามที่อยากรู้เพิ่มเติม หลังจากได้ร่วมกันอภิปรายในห้องเรียนแล้ว เช่น นักเรียนคิดว่านอกจากแนวความคิดที่กล่าวมาแล้ว ยังแนวความคิดอื่นที่สามารถนามาใช้อธิบายกระบวนการ เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด ขั้นสอน : ครูอธิบายเนื้อหา “แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” ว่า  ลินเนียส (Carolus Linnaeus,1707-1778) นักอนุกรมวิธานชาวสวีเดนมีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตแต่ ละชนิดมีลักษณะถาวรไม่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบเดิม ผลงานสาคัญ คือการศึกษาและจัดจาแนก สิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่และการจัดระบบการตั้งชื่อของสิ่งมีชีวิต Binomial nomenclature  บูฟอง (Buffon, 1707-1788) นักวิทยาศาสตร์ ชาว ฝรั่งเศสมีความเห็นว่า ลักษณะของสิ่งมีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม “The inheritances of acquired characteristics” โดยเชื่อว่าโลกมีอายุมากกว่า 6,000 ปี
  • 12.  ลามาร์ค (Lamarck, 1744-1829) นักวิทยาศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ที่นาเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการเป็น คนแรกแต่ทฤษฎีถูกปฏิเสธจากนักวิวัฒนาการ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีทาง วิทยาศาสตร์ โดยลามาร์ค ศึกษาเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตที่พบแพร่หลายในยุคนั้นกับซากดึกดา บรรพ์ แล้วเสนอกฎ 2 ข้อ คือ 1. กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse) 2. กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Law of inheritance of acquired characteristic)  ปัญหาของทฤษฎี ลามาร์ค ไม่สามารถทดลองพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ : August Weisman นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันทาการทดลองตัดหางหนูประมาณ 20 ชั่วรุ่นปรากฏว่าหนูที่เกิดใหม่ ยังคงมีหางตามปกติคัดค้านหลักเกณฑ์ของทฤษฏีนี้ นอกจากนี้การศึกษาต่อมาพบว่าการถ่ายทอด ลักษณะจะผ่านทางเซลสืบพันธุ์  ชาร์ล ดาวิน : Charles R. Darwin 1809-1882 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ บิดาของ การศึกษาวิวัฒนาการ ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการ เรียก Darwinism โดยหลักเกณฑ์สาคัญทฤษฎี วิวัฒนาการของดาร์วิน คือ กลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)
  • 13.  หลักเกณฑ์ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน 1. สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ถ้าทุกตัวมีโอกาสอยู่รอดได้เท่ากัน หมด ส่งผลให้ประชากรมีจานวนเพิ่มมากขึ้น 2. สมาชิกในกลุ่มประชากรมีลักษณะแตกต่างแปรผันมากบ้างน้อยบ้าง 3. เมื่อสมาชิกอยู่รวมกันมีการแข่งขันแก่งแย่งทรัพยากรในการดารงชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่ อาศัยและสิ่งอื่นๆ ตัวใหนที่แข็งแรงกว่ามีความสามารถมากกว่าอยู่รอดได้ ตัวที่อ่อนแอถูกกาจัด เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) 4. ตัวที่ถูกคัดเลือกไว้สามารถสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะต่อไปยังลูกหลาน เมื่อกาลเวลา ผ่านไป มีการสะสมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดทาให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่  สิ่งมีชีวิตที่พบแพร่กระจายบนโลกเกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ซึ่งเป็น ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้น และได้รับการคัดเลือกให้สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ ในสภาพแวดล้อมนั้น ซึ่งเรียกว่า การปรับตัว การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้เข้ากับ
  • 14. สภาพแวดล้อมสามารถเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้นได้ ดาร์วินพิมพ์ผลงานของตนลงในหนังสือ Origin of Species by Means of Natural Selection  เอินส์ เมียร์ (Ernst Mayr) ได้วิเคราะห์ทฤษฎี การคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินที่ปรากฏอยู่ ในหนังสือ ซึ่งมีข้อสังเกต ดังนี้ 1 สิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการสืบพันธุ์ และ ให้กาเนิดลูกหลานได้จานวนมาก 2 จานวนสมาชิกของประชากรแต่ละสปีชีส์ ในแต่ละรุ่นมักจะมีจานวนคงที่ 3 ปัจจัยที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตมีปริมาณจากัด 4 สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวในประชากรมีลักษณะที่แปรผันแตกต่างกัน 5 ความแปรผันที่เกิดขึ้นนี้สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้ นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและ ความสาคัญของแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อสรุปแนวความคิดนักชีววิทยา เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษา ชีววิทยาในระดับสูงต่อไป ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เป็น concept map หรือ mind map พร้อม กับทาใบงานหรือใบกิจกรรมเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสาคัญของ แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ข้อสรุปแนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละแนวความคิดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูง
  • 15. 9. สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้ 9.1 เอกสารหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้น วิชาชีววิทยา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ว 30246 ผู้เขียน นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 9.2 หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบัน ส่งเสริมการส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ 9.3 คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบันส่งเสริม การส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ 9.4 ห้องสมุดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 9.5 เว็ปไซต์อ้างอิงแหล่งข้อมูล เรื่อง แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต: google.com 9.6 เว็ปไซต์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต: youtube.com 9.7 สื่อเทคโนโลยี power point ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง แนวความคิดนักชีววิทยาเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 10. บันทึกหลังการสอน ผลการสอน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาและอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… แนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… บันทึกเพิ่มเติม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ.................................................. (นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์) ครูผู้สอน
  • 16. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา ว302446 ชีววิทยา 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากร เวลา 3 ชั่วโมง ผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ******************************************************************************************* 1. มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.2 ม.4-6/1 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิด ความหลากหลายทางชีวภาพ ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้ อธิบายความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ สิ่งมีชีวิต และเขียนสรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์ประชากรไปประยุกต์ใช้แก้ โจทย์ปัญหา 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 2.1 อธิบายความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิตได้ อย่างถูกต้อง 2.2 สามารถเขียนสรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์ประชากรไปประยุกต์ใช้ แก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง 2.3 ตระหนักความสาคัญในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการ ทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 3. สาระแกนกลาง / สาระสาคัญ  ทฤษฎีวิวัฒนาการในปัจจุบัน พื้นฐานสาคัญของกระบวนการยังคงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ o การคัดเลือกโดยธรรมชาติได้เกิดจากการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดโดยตรง และอยู่ที่ ความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกัน มากบ้างน้อยบ้าง (differential reproduction) o การแปรผันทางวิวัฒนาการเกิดจากการแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม โดยการกลาย ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ o หน่วยสาหรับกระบวนการวิวัฒนาการต้องเป็นระดับประชากร วิวัฒนาการจึงเป็นการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุ์ศาสตร์เชิงประชากร ซึ่งประชากรหมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิด เดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและสามารถผสมพันธุ์กันได้ ประชากรจึงเป็น แหล่งสะสมจีนรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “กองกลางของจีนหรือจีนพูล (gene pool)” ถ้า จีนเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจะเป็นสาเหตุให้เกิดวิวัฒนาการ
  • 17.  พันธุศาสตร์ประชากร (Population Genetics) โดยประชากรหมายถึงกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ สมาชิกในประชากรสามารถสืบพันธุ์ระหว่างกันได้และ ให้ลูกที่ไม่เป็นหมัน โดยยีนพูล (gene pool) คือ ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย แอลลีลทุกแอลลีลจากทุกยีนของสมาชิกทุกตัว ดังนั้น พันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาการ เปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนหรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล  ทฤษฎีของฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก โดยจี เอช ฮาร์ดี และ ดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก ได้ศึกษายีนพูลของ ประชากร และได้เสนอทฤษฎีว่า “ความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ยีนพูลของ ประชากรจะมีค่าคงที่ในทุกๆ รุ่น ถ้าไม่มีปัจจัยบางอย่างมาเกี่ยวข้องปัจจัยบางอย่าง เรียกว่า วิวัฒนาการระดับจุลภาค (microevolution) ได้แก่ มิวเทชัน, การคัดเลือกโดยธรรมชาติ, การ อพยพ, Random Genetic Drift และการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน”  ประชากรจะอยู่ในสมดุลของ ฮาร์ดี –ไวน์เบิร์ก จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้ o ประชากรมีขนาดใหญ่ o ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกลุ่มประชากร o ไม่เกิดมิวเทชัน ที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีลในประชากร o สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน o ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยสิ่งมีชีวิตทุกตัวมีโอกาสอยู่รอด และประสบ ความสาเร็จในการสืบพันธุ์ได้เท่าๆ กัน 4. สาระการเรียนรู้ ความรู้ (K) อธิบายความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ สิ่งมีชีวิต ทักษะ / กระบวนการ (P) เขียนสรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์ประชากร ไปประยุกต์ใช้แก้โจทย์ปัญหา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ตระหนักความสาคัญในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ สิ่งมีชีวิตต่อการพัฒนาการทางด้านการศึกษาวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรวดเร็วใน ปัจจุบัน 5. สมรรถนะ การคิด , การแก้ปัญหา, ทักษะชีวิต, การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 6. ชิ้นงาน / ภาระงานที่แสดงผลการเรียนรู้ สมุดบันทึก ,ใบงาน ,ใบกิจกรรม และ Concept map หรือ Mind map 7. การวัดและประเมินผล รายการประเมิน วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล 1. สมุดบันทึกการเรียน การสอนประจาบทเรียน 1. ตรวจสมุดบันทึกการ เรียนการสอนประจา บทเรียน 1. การสังเกต ตรวจสอบ เปรียบเทียบกับเนื้อหาที่ทา การเรียนการสอนประจา บทเรียนจริง 1. ความถูกต้อง ครบถ้วน ในเนื้อหา ความเป็น ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ของการจดบันทึก
  • 18. 2. ใบงานแบบฝึกหัด ทบทวนประจาบทเรียน 3. ทดสอบเก็บคะแนน ประจาบทเรียน 4. แบบบันทึกการทา กิจกรรมประจาบทเรียน 2. ตรวจใบงาน แบบฝึกหัดทบทวน ประจาบทเรียน 3. ตรวจแบบทดสอบ เก็บคะแนนประจา บทเรียน 4. ตรวจแบบบันทึกการ ทากิจกรรมประจา บทเรียน 2. การตรวจสอบคาตอบกับ คาเฉลยใบงานแบบฝึกหัด ประจาบทเรียน 3. การตรวจสอบคาตอบกับ คาเฉลยแบบทดสอบประจา บทเรียน 4. การตรวจแบบบันทึกการ กิจกรรมประจาบทเรียน 2. ความถูกต้องของ คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า กว่า 80% 3. ความถูกต้องของ คาตอบอย่างน้อยไม่ต่า กว่า 50% 4. ความถูกต้อง ครบถ้วน ในเนื้อหาการบันทึก ความ เป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามของการจดบันทึก 8. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นนา : ครูตั้งคาถามก่อนนาไปสู่การเรียนการสอนให้นักเรียนจะตอบคาถามเหล่านี้โดย อาศัยความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม หรือจากประสบการณ์ที่นักเรียนเคยพบเห็นในชีวิตประจาวัน ว่า > พันธุศาสตร์ประชากรมีความหมายและความสาคัญอย่างไรต่อการศึกษาวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน > หลักการทางพันธุศาสตร์ประชากรสามารถนามาใช้ในการอธิบายกระบวนการเกิดวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตได้อย่างไรบ้าง และมีข้อจากัดหรือเงื่อนไขในการอธิบายหรือไม่ > นักเรียนคิดว่าหลักการทางพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิตมีความจาเป็นต่อการศึกษา วิวัฒนาการในอนาคตหรือไม่ อย่างไร ครูเริ่มเปิดอภิปรายโดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเพราะเหตุใดหลักการทางพันธุศาสตร์ ประชากรจึงเกิดขึ้นและหลักการเหล่านี้มีความสาคัญต่อความก้าวหน้าในการศึกษาวิวัฒนาการปัจจุบันอย่างไร บ้าง นักเรียนสามารถตั้งคาถามที่อยากรู้เพิ่มเติม หลังจากได้ร่วมกันอภิปรายในห้องเรียนแล้ว เช่น นักเรียนคิดว่ากฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดลและทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินมีส่วนช่วย ในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรหรือไม่ อย่างไร ขั้นสอน : ครูอธิบายเนื้อหา “พันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต” ว่า  ทฤษฎีวิวัฒนาการในปัจจุบัน พื้นฐานสาคัญของกระบวนการยังคงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้สิ่งมีชีวิตจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ o การคัดเลือกโดยธรรมชาติได้เกิดจากการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดโดยตรง และอยู่ที่ ความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกัน มากบ้างน้อยบ้าง (differential reproduction) o การแปรผันทางวิวัฒนาการเกิดจากการแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม โดยการกลาย ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ o หน่วยสาหรับกระบวนการวิวัฒนาการต้องเป็นระดับประชากร วิวัฒนาการจึงเป็นการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุ์ศาสตร์เชิงประชากร ซึ่งประชากรหมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิด เดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและสามารถผสมพันธุ์กันได้ ประชากรจึงเป็น แหล่งสะสมจีนรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “กองกลางของจีนหรือจีนพูล (gene pool)” ถ้า จีนเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจะเป็นสาเหตุให้เกิดวิวัฒนาการ
  • 19.  ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์ (synthetic theory of evolution) เน้นความสาคัญของประชากร ซึ่งเป็นหน่วยของวิวัฒนาการ โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวในประชากรเดียวกันมีความแปรผันแตกต่าง กัน ลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ก็จะประสบความสาเร็จในการสืบพันธุ์ และถ่ายทอดลักษณะไปยังรุ่นต่อไป ทาให้สัดส่วนของลักษณะทางพันธุกรรมดังกล่าวในประชากร เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นกลไกหลักที่สาคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการขึ้น  พันธุศาสตร์ประชากร (Population Genetics) โดยประชากรหมายถึงกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ สมาชิกในประชากรสามารถสืบพันธุ์ระหว่างกันได้และ ให้ลูกที่ไม่เป็นหมัน โดยยีนพูล (gene pool) คือ ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย แอลลีลทุกแอลลีลจากทุกยีนของสมาชิกทุกตัว ดังนั้น พันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาการ เปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนหรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล  ทฤษฎีของฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก โดยจี เอช ฮาร์ดี และ ดับเบิลยู ไวน์เบิร์ก ได้ศึกษายีนพูลของ ประชากร และได้เสนอทฤษฎีว่า “ความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ยีนพูลของ ประชากรจะมีค่าคงที่ในทุกๆ รุ่น ถ้าไม่มีปัจจัยบางอย่างมาเกี่ยวข้องปัจจัยบางอย่าง เรียกว่า
  • 20. วิวัฒนาการระดับจุลภาค (microevolution) ได้แก่ มิวเทชัน, การคัดเลือกโดยธรรมชาติ, การ อพยพ, Random Genetic Drift และการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน”  ประชากรจะอยู่ในสมดุลของ ฮาร์ดี –ไวน์เบิร์ก จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้ o ประชากรมีขนาดใหญ่ o ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกลุ่มประชากร o ไม่เกิดมิวเทชัน ที่จะทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีลในประชากร o สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุ์ได้เท่ากัน o ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยสิ่งมีชีวิตทุกตัวมีโอกาสอยู่รอด และประสบ ความสาเร็จในการสืบพันธุ์ได้เท่าๆ กัน  การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของฮาร์ดี – ไวน์เบิร์ก นามาใช้ในการคาดคะเนความถี่ของแอลลีล ที่ เกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมในยีนพูลของประชากร เช่น โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ ถ้า ทราบจานวนคนที่เป็นโรคนี้ (ซึ่งถูกควบคุมด้วยยีนด้อย) จะสามารถประมาณจานวนประชากรที่ เป็นพาหะของยีนที่ทาให้เกิดโรคนี้ได้ ตัวอย่างเช่น ประชากรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัด หนึ่งมีคนเป็นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ จานวน 9 คน จากประชากรทั้งหมด 10,000 คน กาหนดให้ จีโนไทป์ aa แสดงลักษณะของโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ ความถี่ของ aa คือ q2 = 9 / 10,000 = 0.0009 q = 0.03 แสดงว่า ในประชากรแห่งนี้มีความถี่ของแอลลีลที่ทาให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ เท่ากับ 0.03 หรือคิดเป็น 3% นั่นเอง ประชากรกลุ่มนี้มีพาหะโรคโลหิตจางประมาณเท่าไหร่ ? (ประมาณ 582 คน)
  • 21. นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญ และ กระบวนการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต สรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้าน พันธุศาสตร์ประชากรไปประยุกต์ใช้แก้โจทย์ปัญหาอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูงต่อไป ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เป็น concept map หรือ mind map พร้อม กับทาใบงานหรือใบกิจกรรมเพื่อตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการ ศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต สรุปหลักการ ข้อจากัดและสูตรการคานวณด้านพันธุศาสตร์ ประชากรไปประยุกต์ใช้แก้โจทย์ปัญหาอีกทั้งการประยุกต์ใช้ในการศึกษาชีววิทยาในระดับสูง 9. สื่อ / อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้ 9.1 เอกสารหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบสืบค้น วิชาชีววิทยา สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ว 30246 ผู้เขียน นางถนิมาภรณ์ ตั้งตรัยรัตนกุล กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 9.2 หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบัน ส่งเสริมการส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ 9.3 คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้แต่ง สถาบันส่งเสริม การส่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ 9.4 ห้องสมุดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 9.5 เว็ปไซต์อ้างอิงแหล่งข้อมูล เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต: google.com 9.6 เว็ปไซต์สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากรของสิ่งมีชีวิต: youtube.com 9.7 สื่อเทคโนโลยี power point ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง พันธุศาสตร์ประชากรสิ่งมีชีวิต
  • 22. 10. บันทึกหลังการสอน ผลการสอน ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ปัญหาและอุปสรรค ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… แนวทางแก้ไข ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… บันทึกเพิ่มเติม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ลงชื่อ.................................................. (นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์) ครูผู้สอน