SlideShare a Scribd company logo
1 of 28
Download to read offline
บทที่ 3
แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย
สัญญาของการประกันภัยเป็นสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายต่างตกลงร่วมกันรับผิดชอบในภัยที่จะเกิดขึ้น
ในอนาคต โดยฝ่ายผู้เอาประกันภัยเป็นผู้เสนอ (Offer) ขอทาประกันภัย และฝ่ายผู้รับประกันภัยจะทาหน้าที่
เป็นผู้สนอง (Acceptance) คาขอทาประกัน และเมื่อรับประกันภัยแล้วเกิดภัยอันตรายอันนามาซึ่ง
ความเสียหาย ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์
ตามข้อตกลงที่ระบุในกรมธรรม์ และการทาประกันภัยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เอาประกันได้รับประโยชน์
ทางการเงิน หรือกาไรจากการทาประกันภัยนั้น แท้จริงแล้วการทาประกันภัย มีวัตถุประสงค์ในการ
ช่วยขจัดหรือลดภาระความเสียหายทางการเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัย เนื่องจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับ
ผลกาไรหรือประโยชน์จากการประกันภัยแล้ว อาจทาให้ผู้เอาประกันภัยมีความจงใจที่จะก่อให้เกิดความ
เสียหายนั้นได้ แทนที่จะเป็นการลดหรือขจัดความเสียหายกลับจะเป็นการเพิ่มหรือกระตุ้นให้เกิดความ
เสียหายนั้นมากขึ้น ดังนั้นในการทาประกันภัยจะมีหลักฐานพื้นฐานสาคัญที่ได้กาหนดไว้ เพื่อให้ผู้เอา
ประกันภัยและผู้รับประกันภัยได้ถือปฏิบัติ การกระทาบางอย่างของผู้เอาประกันภัยแม้จะไม่ได้มีเจตนาที่
จะฉ้อโกงผู้รับประกันภัย แต่อาจมีผลทาให้สัญญาประกันภัยมีข้อบกพร่องและอาจถูกบอกล้างได้ เช่น
การบรรยายข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสาคัญต่อการประกันภัยที่มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
ทาให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะและผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาประกันภัยได้ เป็นต้น หรือ
ในบางกรณีอาจทาให้ไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจานวนความเสียหาย เช่น กรณีที่มีการ
ทาประกันภัยไว้ต่ากว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ดังนั้นการศึกษาและทาความเข้าใจในหลักของการ
ประกันภัยจึงเป็นสิ่งสาคัญสาหรับบุคคลหรือผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการประกันภัย
สามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลและธุรกิจของตนได้
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย
ในการประกันภัยมีหลักการ แนวคิดประกอบอยู่เป็นจานวนมาก เช่น หลักการทางสถิติ
คณิตศาสตร์ เพื่อนามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ
คานวณเบี้ยประกันภัยให้มีความเหมาะสม ดังนั้น การประกันภัยจึงใช้หลักการหรือแนวความคิดที่
เกี่ยวข้อง หลักการพื้นฐานที่สาคัญของการประกันภัยที่ควรทราบ ประกอบด้วย 1) หลักส่วนได้เสีย
อันสามารถเอาประกันภัยได้ (Principle of Insurable Interest) 2) หลักความสุจริตใจอย่างยิ่ง
64
(Principle of Utmost Good Faith) 3) หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน (Principle of
Indemnity) 4) หลักการ ร่วมเฉลี่ยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Contribution) 5) หลักการรับ
ช่วงสิทธิ (Principle of Subrogation) 6) หลักสาเหตุที่ใกล้ชิด (Principle of Proximate Cause)
1. หลักส่วนได้เสียอันสามารถเอาประกันได้ (Principle of Insurable Interest)
การประกันภัยเป็นหลักกฎหมายที่ให้ความสาคัญในการกาหนดให้ผู้เอาประกันภัยจะต้อง
เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุ (Subject Matter) ที่เอาประกันภัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ในชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือความรับผิดต่อบุคคลอื่น ส่วนได้เสีย (Interest) หมายถึง ความสัมพันธ์ (Relation)
หรือความเกี่ยวข้อง (Concern) ของบุคคลที่มีต่อวัตถุเอาประกันภัยโดยผลจากการเอาประกันภัยนั้น
อาจทาให้บุคคลได้รับประโยชน์จากการที่ทรัพย์นั้นปลอดภัยไม่ได้รับความเสียหายอาจทาให้สิทธิของ
ผู้เอาประกันภัยถูกกระทบกระเทือนหากทรัพย์นั้นสูญหายหรือเสียหายหรือต้องมีส่วนรับผิดชอบในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น
สาหรับประวัติการพัฒนาธุรกิจการรับประกันภัยที่ผ่านมานั้น พบว่าประเทศที่มีธุรกิจ
ประกันภัยเกิดขึ้นมานานและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษและ
สหรัฐอเมริกานั้นเดิมไม่ได้มีการกาหนดเป็นกฎหมายที่จะต้องให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุ
ที่เอาประกัน แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้น ต่อมาความเสียหากมักจะเกิดจากความ
จงใจของผู้เอาประกันภัยซึ่งไม่ได้มีส่วนได้เสียในชีวิตหรือทรัพย์สินนั้น ตัวอย่างเช่น การรับประกันภัยการ
ขนส่งสินค้าทางทะเลของผู้รับประกันภัยสัญชาติอังกฤษ สินค้าได้รับความเสียหากมากกว่าปกติและ
บางครั้งเรือก็สูญหายไประหว่างทางและจากข้อเท็จจริงพบว่าการสูญเสียดังกล่าวเกิดจากความจงใจของ
ผู้เอาประกันภัยซึ่งมีส่วนได้เสียโดยการทาลายสินค้าและเรือเพื่อที่จะได้รับเงินประกันนั้น เพื่อแก้ปัญหา
ดังกล่าวในกฎหมายประกันภัยของแต่ละประเทศจึงมักกาหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียใน
เหตุที่เอาประกัน ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้มีการกาหนดไว้ ว่าสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มี
ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ส่วนได้เสียใน
เหตุที่ประกันภัยไว้นั้นจะต้องพิจารณาซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตัววัตถุหรือชีวิตที่เหตุการณ์นั้นมีผลถึงอีก
ประการหนึ่ง(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863) ในส่วนของ Lord Blackburn ได้กล่าวถึง
ส่วนได้เสียว่า ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งจะได้ประโยชน์ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายนั้น
จะได้รับความเสียหาย กล่าวคือ “ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินอันอาจเอาประกันภัยได้คือผู้ที่จะได้ประโยชน์
จากการที่ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิมอยู่ หรือจะได้รับความเสียหายจากการที่ทรัพย์สินนั้นทาลายไป (จิตติ
ติงศภัทิย์, 2553 : 26)
65
ตัวอย่าง กรณีของการประกันอัคคีภัย บุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้านถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ในบ้านหลังนั้น กรณีหากเกิดเพลิงไหม้เจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ส่วนผู้เช่าหรือ
ผู้อยู่อาศัยไม่สามารถนาบ้านของผู้อื่น (ผู้ให้เช่า) มาทาประกันได้ เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในบ้าน
หลังนั้นทาให้เกิดความเสียหายต่อผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เพราะหากยอมให้ผู้เช่าสามารถนาบ้านของ
ผู้อื่นมาทาประกันได้ ผู้เช่าอาจจงใจวางเพลิงเพื่อเอาเงินประกัน ในขณะที่ผู้เช่าชาระเบี้ยประกันภัย และ
ค่าเช่าบ้านเป็นจานวนเงินไม่มากนัก ดังนั้น การกาหนดส่วนได้เสียจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยง และทาให้
การประกันภัยไม่มีลักษณะเป็นการพนันด้วย
การที่คู่สัญญาประกันภัยที่เป็นผู้เอาประกันภัยมีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
กับวัตถุแห่งการประกันภัยไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน หรือความรับผิด ซึ่งบุคคลอยู่บนพื้นฐาน
ของความเสี่ยงภัยถือว่าบุคคลนั้นมีส่วนได้เสียที่สามารถเอาประกันภัยได้ หรือมีส่วนได้เสียในเหตุที่
ประกันภัยไว้ อันเป็นสิ่งจาเป็นพื้นฐานที่สัญญาประกันภัยจะต้องมี เว้นแต่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้ว่าไม่
ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยกาหนดให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ ผู้รับ
ผลประโยชน์ ซึ่งผู้รับผลประโยชน์นี้มิใช่ผู้เอาประกันภัยและกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าผู้รับผลประโยชน์
จะต้องมีส่วนได้เสีย ในเหตุที่ได้ทาประกันภัยไว้ เมื่อส่วนได้เสียเป็นหลักการสาคัญประการหนึ่งของการ
ทาสัญญาประกันภัย จึงได้ระบุสาระสาคัญของส่วนได้เสียที่สามารถเอาประกันภัยในกรณีการประกันชีวิต
ประกันทรัพย์สิน และประกันความรับผิดที่เกิดขึ้น ได้ดังนี้
1.1 กรณีการประกันชีวิต
1.1.1 ผู้มีส่วนได้เสีย ในการทาประกันชีวิต ประกอบด้วย
1.1.1.1 เจ้าตัว (Owner) ซึ่งสามารถขอทาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือ
ประกันอุบัติเหตุให้กับตนเอง ซึ่งการทาประกันดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อตัวของผู้เอาประกันเอง และ
หากเกรงว่าผู้เอาประกันจะฆ่าตัวตาย เพื่อหวังเงินประกันภัย ผู้รับประกันภัยมักกาหนดแนวทางการ
ปฏิบัติไว้ เช่น การกาหนดข้อตกลงว่า หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการฆ่าตัวตายซึ่งผู้รับ
ประกันภัยสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้นั้นผู้รับประกันภัยไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เป็นต้น
1.1.1.2 การเอาประกันชีวิตบุคคลอื่น (Third Party) กรณีที่ผู้เอาประกันภัย
มิได้ประกันชีวิตตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์ที่จะทาประกันชีวิตให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้นั้น
หรือเพื่อตนเองจะได้เป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์นั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียใน
เหตุที่เอาประกันภัยนั้น การพิจารณาว่าผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยหรือไม่
สามารถพิจารณาได้จากความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยและบุคคลผู้นั้นว่าเมื่อเกิดเหตุกับบุคคลผู้นั้น
จะส่งผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตของผู้เอาประกันภัยอย่างไรบ้าง เช่น คู่สมรส ตามประมวลกฎหมาย
66
แพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1461 ได้กล่าวว่า “สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้อง
ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน” หากผู้หนึ่งผู้ใดเสียชีวิต หรือไม่สามารถ
ทางานได้ อีกคนก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง หรือกรณีที่บุคคลมีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิต เช่น บิดา
มารดาและบุตร ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1563 กาหนดไว้ว่า “บุตรจาต้อง
อุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา” หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1564 “บิดามารดา
จาต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์” ดังนั้น บิดามารดา
จึงสามารถทาประกันชีวิตให้บุตรได้เพราะหากบุตรเป็นซึ่งจะเป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดาในอนาคต เกิด
เสียชีวิตลงก่อนวัยอันควร ก็จะไม่มีผู้อุปการะบิดามารดาต่อไป บิดามารดาจึงถือเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย
ในชีวิตของบุตร เป็นต้น
1.1.2.3 ผู้รับผลประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862
ได้กล่าวว่า “ผู้รับประโยชน์” หมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจานวนเงิน
ใช้ให้และในวรรคต่อมาได้กล่าวว่า “อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลหนึ่งคน
เดียวก็ได้” ดังนั้น ผู้รับประโยชน์นั้นนอกจากจะเป็นผู้เอาประกันภัยเองแล้ว อาจจะเป็นใครก็ได้
แต่ในทางปฏิบัติ ผู้รับประกันภัยจาเป็นต้องพิจารณาเรื่องของผู้รับผลประโยชน์ด้วย เนื่องจากมีความ
เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดาเนินธุรกิจ และถ้าผู้รับประกันภัยพิจารณาว่า
ผู้เอาประกันภัยมอบผลประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นอันไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กันเลย กรณีเช่นนี้ผู้รับ
ประกันภัยสามารถพิจารณาไม่รับประกันภัยก็ได้ เนื่องจากการพิจารณาไม่รับประกันเป็นเรื่องของความ
เสี่ยงมิได้เป็นข้อกาหนดของกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นในทางปฏิบัติ ผู้รับประกันภัยจะพิจารณาว่าผู้รับ
ประโยชน์ในกรมธรรม์ควรจะได้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้ ตัวของผู้เอาประกัน บิดา มารดาของผู้เอาประกัน
ภรรยาหรือสามีของผู้เอาประกัน บุตรของผู้เอาประกัน เจ้าหนี้ ธุรกิจของผู้เอาประกัน กองมรดก กรณี
ที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ให้ตั้งเอาจานวนเงินเอาประกันภัยนั้นเป็น
สินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้สามารถมารับไปเพื่อการชดใช้ตามจานวนหนี้
ได้ดังนั้น สาหรับกรณีของการประกันชีวิตลักษณะที่ควรพิจารณาควบคู่ไปกับหลักส่วนได้เสียก็คือ
การพิจารณาถึงผู้รับผลประโยชน์ด้วย
1.1.3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 863 กล่าวว่า “ส่วนได้เสีย
จะต้องเกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ วันที่ทาสัญญา และหาก ณ วันที่ทาสัญญาผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีส่วนได้เสีย
ถือว่าสัญญานั้นไม่มีผลผูกพัน คู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ตัวอย่างเช่น หากผู้เอาประกันภัยนาบุคคล
อื่นที่มีส่วนได้เสียมาทาประกันชีวิต และภายหลังได้มีเหตุให้สิ้นสุดความสัมพันธ์ เช่น การหย่าร้างของสามี
ภรรยา ให้ถือหลักการปฏิบัติ ซึ่งมีความแตกต่างกัน 2 ประการ ได้แก่
67
สัญญานั้นยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป ถึงแม้ว่าส่วนได้เสียของกันและกันจะหมดไป
โดยยึดหลักว่าเรื่องของการประกันชีวิตนั้นเป็นเรื่องของการออม ไม่ใช่เรื่องของการชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น
แม้ต่อมาสามีและภรรยาได้หย่าขาดจากกัน หากภรรยายังคงชาระค่าเบี้ยประกัน (กรณีภรรยาเป็นผู้ชาระ
เบี้ยประกันและเป็นผู้รับผลประโยชน์) กรมธรรม์นั้นยังคงมีผลบังคับอยู่ทุกประการ ในการที่สัญญายังคง
มีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ชาระเบี้ยประกันในฐานะที่ตนเป็น
ผู้รับผลประโยชน์พยายามหาวิถีทางในการได้รับค่าสินไหมชดเชย เช่น การฆ่าผู้เอาประกันเพื่อหวังเงิน
ค่าสินไหมชดเชย เนื่องจากการที่ฐานะของตนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียหมดไปอาจเกิดความไม่พอใจ
ซึ่งกันและกันได้ จึงมีกฎหมายกาหนดเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันไม่ให้จ่ายค่าสินไหมชดเชยให้ผู้เอา
ประกันหรือผู้รับประโยชน์ในกรณีที่บุคคลนั้นถูกฆ่าโดยเจตนาจากผู้รับผลประโยชน์ ว่าผู้รับประกันภัย
ไม่จาเป็นต้องใช้เงินนั้นหากการเสียชีวิตนั้นเกิดจากบุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 895 (2))
1.2 กรณีการประกันวินาศภัย
1.2.2 ผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินและความรับผิดชอบนั้นจะใช้หลักการทั่ว ๆ ไป
เหมือนกรณีของการประกันชีวิต ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1.2.2.1 เจ้าของทรัพย์สิน (Owner) หมายถึง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อ
ทรัพย์สินนั้น เนื่องจากเมื่อทรัพย์สินนั้นถูกทาลายลงเจ้าของก็ได้รับความเสียหายด้วยทรัพย์สินต่าง ๆ
ได้แก่ อาคาร โรงงาน บ้านพักอาศัย เครื่องมือ เครื่องจักร เรือ รถยนต์ สินค้า เป็นต้น โดยทรัพย์สิน
หนึ่งชิ้นอาจมีเจ้าร่วมกันของหลายคน หรือเจ้าของหนึ่งคนอาจมีทรัพย์สินได้หลายชิ้น หากทรัพย์สินถูก
ทาลายลง ผลทางอ้อมที่ตามมา คือ ธุรกิจอาจต้องหยุดดาเนินงานชั่วคราวซึ่งส่งผลให้ขาดรายได้หรือกาไร
และยังมีค่าใช้จ่ายประจาที่ยังเกิดขึ้น ถึงแม้จะหยุดการดาเนินงานแล้วก็ตาม ดังนั้นเจ้าของธุรกิจหรือ
ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินอยู่แล้วจึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในความเสียหายที่
สืบเนื่องมาจากความเสียหายทางตรงนั้น
1.2.2.2 เจ้าหนี้ประเภทที่ต้องมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน (Secured Creditor)
เจ้าหนี้ประเภทนี้อาจเป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อโดยมีอาคาร ที่ดิน โรงงาน สินค้า รถยนต์
เป็นตัวค้าประกันการกู้ยืม เจ้าหนี้ประเภทนี้จึงมีสิทธิ์เหนือทรัพย์สินนั้นตามสัดส่วนของหนี้ที่ยังค้างอยู่
ดังนั้น เจ้าหนี้จึงสามารถนาทรัพย์สินนั้นมาทาประกันภัยโดยมีเจ้าหนี้เป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ เช่น กรณี
การประกันอัคคีภัยของบ้านที่จานองไว้กับธนาคารพาณิชย์โดยมีเงื่อนไขยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับจานอง
1.2.2.3 ผู้เช่า เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสิทธิการเช่า (Leasehold Interest)
ซึ่งมิใช่ส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของอาคาร โดยการเช่าอาคารทั่วไปการสิ้นสุดของสัญญาเช่าอาจเกิดจากการที่
68
ทรัพย์สินนั้นถูกทาลาย เช่น ไฟไหม้ กรณีเช่นนี้นอกจากเจ้าของทรัพย์สินจะได้รับความเดือดร้อนแล้ว
ผู้เช่าย่อมได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วย เนื่องจากต้องขาดรายได้และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหา
อาคารใหม่ ซึ่งอัตราที่เช่าใหม่อาจมีมูลค่าแพงกว่าอัตราค่าเช่าเดิมมาก
1.2.2.4 ผู้ที่ต้องมีความรับผิด (Liability) ต่อบุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดจากการใช้
ทรัพย์สินนั้น หรือเกิดจากดาเนินงานตามปกติของบุคคลหรือธุรกิจนั้น เช่น ผู้ครอบครอง ผู้ดูแล หรือ
ผู้จัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่น ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องมีความรับผิดตาม
กฎหมายต่อผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น หากทรัพย์สินนั้นเกิดสูญหายหรือได้รับความเสียหาย บุคคล
เหล่านี้ มีส่วนได้เสียที่สามารถนาไปประกันได้
1.2.2.5 ผู้ที่คาดว่าจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินในอนาคต (Factual Expectation) เช่น
บุตรของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยปกติคาดว่าต่อไปตนจะเป็นผู้รับมรดกหรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น
แทนบิดามารดา ดังนั้น บุตรผู้นั้นสามารถนาทรัพย์สินนั้นไปทาประกันภัยได้
1.2.3 ผู้ที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียในวัตถุที่
เอาประกันภัยขณะที่เกิดความเสียหายนั้น ตามหลักการดังกล่าวจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่มาก
เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของการประกันชีวิต กล่าวคือ หากต่อมาเกิดความเสียหายขึ้นแก่วัตถุที่เอาประกันภัย
และปรากฏว่าผู้มีส่วนได้เสียนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ถือว่าบุคคลผู้ทาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับการชดใช้
ค่าเสียหายนั้น เพราะถือว่าผู้นั้น ไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น
ตัวอย่าง นายเอ ขอทาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กาหนดระยะเวลา 1 ปี ต่อมาหลังจาก
ชาระค่าเบี้ยประกันภัยไปแล้ว 5 เดือน นายเอได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ถือว่าส่วนได้เสียของ
นายเอ ต่อรถยนต์คันดังกล่าวหมดไปแล้ว ดังนั้น ภายในกาหนดระยะเวลาของการประกันภัยรถยนต์
รถยนต์คันดังกล่าวประสบภัยได้รับความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมชดเชยให้แก่เจ้าของ
รถยนต์คนใหม่ ซึ่งไม่ใช่นายเอ เป็นต้น
2 หลักความสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of Utmost Good Faith)
ตามความหมายของหลักการสุจริตใจ คือ ผู้รับประกันภัยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตใจต่อผู้เอา
ประกันภัย เช่น ในการเขียนสัญญาประกันภัยผู้รับประกันภัย ต้องแสดงถึงความโปร่งใส ชัดเจน และเข้าใจ
ได้ง่าย มีการระบุข้อยกเว้นในการไม่รับประกันภัยที่แน่ชัด และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามที่ได้ระบุไว้
ในสัญญาประกันภัยซึ่งมีการระบุรายละเอียดของความคุ้มครอง ผู้รับประกันจาเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญา
ประกันภัย เช่น กรณีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
สาหรับผู้เอาประกันภัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผู้รับประกันภัยเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเอาประกันภัยเป็น
69
ลักษณะการโอนความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากผู้เอาประกันภัยไปยังผู้รับประกันภัย ดังนั้น
ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ว่า ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย
มีมูลค่าเป็นเท่าไร ผู้รับประกันภัยจึงต้องอาศัยข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาว่าควรรับผู้เอา
ประกันภัยรายนี้หรือไม่ หากต้องรับประกันภัยจะมีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้อง
เปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับตัวของผู้เอาประกันภัยเอง เช่น เพศ อายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมทั้ง
เปิดเผยรายละเอียดของหน่วยเสี่ยงภัย (Exposure Unit) เช่น สภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อความเสี่ยงภัยให้
ผู้รับประกันภัยทราบโดยละเอียด ซึ่งหน้าที่การให้ข้อมูลที่เป็นจริงเป็นสาระสาคัญที่มีผลต่อความเสี่ยงภัย
ของผู้เอาประกันภัยตามหลักการสุจริตอย่างยิ่ง เป็นหลักของสัญญาประกันภัยในทุกประเทศที่ดาเนิน
ธุรกิจประกันภัย (ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 64)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 บัญญัติว่า “ถ้าในเวลาทาสัญญาประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือกรณีการประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของ
เขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ย
ประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทาสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้
ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ” ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกาหนดเดือนหนึ่งนับตั้งแต่วันที่ผู้รับประกันภัย
ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบ
มูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกาหนดเวลาห้าปีนับแต่วันทาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้น
เป็นอันระงับสิ้นไป” (สรพลจ์ สุขทรรศนีย์, 2556 : 34)
ตามปกติเมื่อบุคคลได้ตกลงทาสัญญาหรือทานิติกรรม หรือใช้สิทธิต่าง ๆ ย่อมมีหน้าที่ต้อง
กระทาการโดยสุจริต ตามที่ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 กล่าวไว้ว่า “ในการ
ใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชาระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทาโดยสุจริต” หมายความว่า จะต้องกระทา
อย่างตรงไปตรงมา ไม่กล่าวเท็จ ไม่ฉ้อฉลหลอกลวงให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิดในข้อสาคัญ แต่ไม่ได้
หมายความว่า คู่สัญญามีหน้าที่แสดงข้อบกพร่องหรือข้อเสียเปรียบของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เป็น
หน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องสืบสวนใคร่ครวญเอาเองก่อนตัดสินใจ ส่วนสัญญาประกันภัยเป็น
สัญญามีลักษณะพิเศษที่กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาฝ่ายผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่อง
ของตนให้ฝ่ายผู้รับประกันภัยทราบ โดยเหตุผลที่ว่าการที่ผู้รับประกันภัยจะตัดสินใจเข้าเสี่ยงภัยแทนผู้เอา
ประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจาเป็นต้องทราบข้อมูลโดยละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูล
บางอย่างเป็นเรื่องสาคัญที่บุคคลอื่นไม่มีทางรู้ได้เลยนอกจากตัวของผู้เอาประกันภัยเอง และสุดวิสัยใน
การที่ผู้รับประกันภัยจะสืบสวนให้ครบถ้วน จึงมีเพียงหนทางเดียวเท่านั้น คือ การกาหนดให้ผู้เอา
70
ประกันภัยมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้น เพื่อมิให้ผู้รับประกันภัยตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบจนเกินไปในการ
ทาสัญญา
ตัวอย่าง นายหมู ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว
ขณะทาสัญญาประกันชีวิตก็ยังมีอาการป่วยอยู่ เช่นนี้นายหมู ต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบมิฉะนั้น
สัญญาจะตกเป็นโมฆียะ
ตัวอย่าง นายเมฆ มีอาการป่วยเป็นโรคตับอักเสบ เจ้าตัวทราบดีเนื่องจากต้องไปพบ
แพทย์เพื่อรับการรักษาและรับประทานยาโดยตลอด ได้ยื่นคาขอเอาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์
โดยแถลงต่อผู้รับประกันภัยว่าตนไม่เคยป่วยเป็นโรคร้ายแรงและไม่มีโรคประจาตัวใด ๆ ต่อมาวันที่ 4
มีนาคม บริษัทผู้รับประกันภัยได้ตอบรับทาสัญญาโดยไม่ทราบถึงอาการป่วยของนายเมฆ ดังนี้สัญญา
ประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
หลักความสุจริตอย่างยิ่งเป็นหลักที่ใช้ในการประกันภัยกับทั้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย
เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความที่เป็นจริงด้วยความสุจริตใจอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้รับประกันภัยสามารถ
ประเมินความเสี่ยงที่จะรับประกันภัยได้ เพราะหากข้อมูลที่ได้รับไม่ถูกต้องก็จะทาให้การประเมินความเสี่ยง
ของผู้รับประกันภัยเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้รับประกันภัย ขณะเดียวกันหลัก
ความสุจริตใจอย่างยิ่งนี้ก็ใช้กับผู้รับประกันภัยในลักษณะที่ผู้รับประกันภัยควรชี้แจงให้ ผู้เอาประกันภัย
ได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับความคุ้มครอง หรือการที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขอย่างไร เพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง หากผู้รับประกันภัยทราบข้อมูลว่าผู้เอาประกันภัยได้ปกปิด
ข้อเท็จจริง หรือไม่แถลงข้อความที่เป็นจริง ซึ่งเป็นสาระสาคัญและความเสียหายที่เอาประกันภัยไว้
ยังไม่ได้เกิดขึ้น ผู้รับประกันควรแสดงความสุจริตใจด้วยการบอกล้างสัญญา เป็นต้น
ในการทาสัญญาถือว่าคู่สัญญาจะต้องมีความสุจริตใจต่อกันเพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ไม่สุจริต อาจทาให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับต่อไป หรือเป็นสัญญาที่เป็นโมฆียะ ซึ่งแม้จะ
เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้แต่ก็อาจถูกบอกล้างโดยผู้มีสิทธิบอกล้างตามกฎหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ความร้ายแรงของผลแห่งความไม่สุจริต อย่างไรก็ตามสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความ
สุจริตอย่างยิ่งซึ่งเป็นความสุจริตที่สูงกว่าการทาสัญญาอื่นทั่วไปและในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกันภัยบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษ ค.ศ.906 (Marine
Insurance Act 1906) มีบทบัญญัติที่รับรองหลักความสุจริตอย่างยิ่งไว้ในกฎหมาย ความสุจริตอย่างยิ่ง
ในสัญญาประกันภัยเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องยึดถือปฏิบัติ คือทั้งผู้เอาประกันภัยและ
ผู้รับประกันภัยเพื่อป้องกันมิให้มีการฉ้อโกงกัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย
ที่จะต้องสุจริตในการเปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสาคัญให้ผู้รับประกันภัยทราบ และการแถลง
71
ข้อความจริงให้ถูกต้อง โดยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายไทยที่ใช้กับการ
ประกันภัย ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 865 ว่า ให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยรู้อยู่
แล้วในเวลาทาสัญญาประกันภัยถึงข้อความจริงซึ่งอาจจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก
หรือบอกปัดไม่ยอมทาสัญญาประกันภัยด้วย แต่ผู้เอาประกันภัยละเว้นการปฏิบัติไม่ยอมเปิดเผยข้อความจริง
หรือกลับแถลงข้อความต่อผู้รับประกันภัยให้ผิดไปจากความจริงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ
ดังนั้น ข้อความจริงอันเป็นสาระสาคัญที่จะทาให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ผู้รับ
ประกันภัยซึ่งอาจจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือถึงขนาดไม่ยอมรับประกันภัย
การพิจารณาถึงความสุจริตใจของผู้เอาประกันภัยสามารถพิจารณาได้จากลักษณะสาคัญ
ดังต่อไปนี้
2.1 การแถลงข้อเท็จจริง (Representation) สาหรับการแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิต
ทรัพย์สินหรือความรับผิดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตถือเป็นหน้าที่สาคัญของผู้เอาประกันภัย การแถลง
หรือการให้ข้อมูลอาจกระทาได้โดยการกรอกแบบฟอร์มขอทาประกัน กับผู้รับประกันภัยหรืออาจแจ้งด้วยวาจา
หรือการให้เอกสารอื่น ๆ ที่สาคัญต่อการรับประกันภัยตามที่ผู้รับประกันภัยร้องขอ เพื่อให้ผู้รับประกัน
สามารถประเมินความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยได้ เช่น ในการทาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยต้องการ
ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือข้อมูลของผู้เอาประกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ประวัติการ
รักษาพยาบาล ข้อมูลสุขภาพของบุคคลภายในครอบครัว และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัย
เป็นต้น ตามหลักการ หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่จาเป็นต้องแจ้ง
ข้อเท็จจริงต่อไปนี้ให้ผู้รับประกันภัยทราบ ได้แก่ ข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่สาระสาคัญและเป็นข้อเท็จจริงที่เป็น
ผลดีต่อความเสี่ยงภัย ข้อเท็จจริงที่ผู้รับประกันภัยควรจะทราบในทางการค้าหรือธุรกิจตามปกติของตน
ข้อมูลที่ผู้รับประกันภัยสละสิทธิที่จะทราบ ข้อเท็จจริงควรจะเข้าใจหรืออนุมานได้จากข้อมูลที่ผู้เสนอขอ
ทาประกันภัยได้เคยให้ไว้แล้ว ข้อเท็จจริงทั่วไปที่ผู้รับประกันภัยทราบ และข้อเท็จจริงที่ผู้รับประกันภัย
ควรจะทราบ หากว่า ได้มีการซักถามตามปกติ นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้มีการให้ไว้แล้ว
2.2 คารับรอง (Warranty) หมายถึง คารับรองที่ฝ่ายผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ให้สัญญากับฝ่าย
ผู้รับประกันภัยในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไข โดยถือว่า
คารับรองนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ดังนั้น หากผู้เอาประกันภัยทาผิดคารับรองถือว่าทาผิดสัญญาด้วย
ซึ่งคารับรองโดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท คือ
2.2.2 คารับรองที่ต้องกาหนดเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนในสัญญา ว่าผู้เอาประกัน
จะให้คารับรองอย่างไร เช่น ผู้เอาประกันที่เป็นร้านอาหารให้คารับรองว่าในระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับ
จะใช้ความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ให้นาเชื้อเพลิงเข้าใกล้เตาไฟปรุงอาหารเป็นอันขาด
72
2.2.3 คารับรองที่ไม่ได้เขียนในสัญญาแต่เป็นที่เข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย คารับรองนี้
มักจะพบในสัญญาประกันภัยทางทะเล เช่น เรื่องของการที่ผู้เอาประกันภัยตัวเรือจะต้องตรวจเช็คสภาพเรือ
ให้พร้อมก่อนออกเดินทาง หรือการเดินทางของเรือจะไม่ออกนอกเส้นทางการเดินเรือปกติ เป็นต้น
เมื่อหลักของการแถลงข้อเท็จจริงต้องเป็นไปด้วยความสุจริตใจอย่างยิ่ง พบว่ากฎหมาย
ของการประกันภัยในต่างประเทศ ได้มีการกาหนดเรื่องนี้ไว้เพื่อรักษาความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัยและ
ผู้รับประกันภัย ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้กาหนดเรื่องนี้ไว้เช่นกัน
2.3 ระยะเวลาในการบอกล้างสัญญา หลังจากที่ผู้เอาประกันได้ตกลงทาประกันภัยและ
ผู้รับประกันภัยได้ตกลงรับทาประกันภัยแล้ว ต่อมาภายหลังผู้รับประกันภัยได้ตรวจพบหรือได้ทราบว่า
ผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริงหรือแถลงข้อความเท็จ ซึ่งมิได้แสดงความสุจริตใจในการทาประกัน และ
อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ ผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาได้ภายในกาหนด
ระยะเวลาที่กฎหมาย จะกาหนดแล้วแต่ว่าแต่ละประเทศจะกาหนดระยะเวลาบอกล้างเท่าใด ซึ่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ได้กาหนดระยะเวลาการบอกล้างไว้ดังนี้ ถ้ามิได้ใช้
สิทธิบอกล้างภายในกาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบข้อมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือ
มิได้ใช้สิทธินั้นภายในกาหนดห้าปี นับแต่วันทาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นระงับสิ้นไป
2.3.1 ระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ผู้รับประกันทราบมูลอันจะบอกล้างได้
ผู้รับประกันภัยจะต้องรีบบอกล้างสัญญานั้นภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยไม่คานึงถึงว่าวันที่ตรวจพบ
หรือได้ทราบข้อมูลนั้นได้เกิดความเสียหายขึ้นหรือยัง ถึงแม้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็สามารถบอก
ล้างได้เช่นกัน อย่างเช่นกรณีการประกันชีวิตบ่อยครั้งที่ผู้รับประกันภัยได้ทราบข้อมูลที่แท้จริงหลังจาก
ผู้เอาประกันภัยได้เสียชีวิตลง ซึ่งถ้าผู้รับประกันภัยประสงค์จะบอกล้างสัญญาก็สามารถกระทาได้โดยต้อง
บอกล้างภายในระยะเวลา 1 เดือน ถึงแม้เรื่องจะเกิดขึ้นแล้ว
2.3.2 ระยะเวลา 5 ปี เป็นระยะเวลาสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะมีสิทธิบอกล้างสัญญา
ได้นับแต่วันเริ่มทาประกัน หลังจาก 5 ปีไปแล้วถึงแม้ว่าผู้รับประกันภัยจะทราบมูลที่แท้จริงก็ไม่สามารถ
บอกล้างสัญญาได้ถือว่าสัญญานั้นสมบูรณ์ทุกอย่าง ที่มีการกาหนดระยะเวลาไว้เนื่องจากการประกันภัย
บางประเภท เช่น การประกันชีวิตมักจะเป็นสัญญาระยะยาว
2.3.3 เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ เมื่อมีการบอกล้างสัญญาภายในระยะเวลา 5 ปี
ตามที่กาหนดไว้ ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 892 กาหนดมูลค่าเงินที่จะคืนไว้ว่า กรณีบอกล้างสัญญาผู้รับประกันต้องคืนค่า
ไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น ซึ่งค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ หมายถึง
ค่าเบี้ยประกันที่ได้หักค่าใช้จ่ายออกมาแล้ว กล่าวคือ เมื่อผู้รับประกันได้บอกล้างสัญญาอันเกิดจาก
73
มาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าเบี้ยประกันที่ได้เก็บมาแล้ว โดยยอมให้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นมาในระหว่างสัญญาได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับผู้รับประกันภัยจะระบุ เนื่องจากผู้รับประกันภัย
แต่ละรายมีค่าใช้จ่ายในการทาสัญญาแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อยุติดังกล่าว แต่ก็พอใช้เป็น
แนวทางในการปฏิบัติได้
3. หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity)
เมื่อสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเพื่อการชดใช้ ดังนั้น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงเป็น
พื้นฐานและหลักการที่สาคัญประการหนึ่งของสัญญาประกันภัยและให้บริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต้อง
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้ ดังนี้
1. เพื่อจานวนวินาศภัยอันแท้จริง ซึ่งหมายถึงจานวนความเสียหายที่แท้จริง
2. เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตาม
สมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
3. เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้น
มิให้วินาศ
นอกจากหลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้นกฎหมายได้ระบุไว้ด้วยว่า จานวนหรือ
ขนาดของวินาศภัยจะต้องตีราคา ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดวินาศภัย โดยสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจานวน
เงินที่เอาประกันภัยนั้นเป็นการตีราคาจานวนเงินเอาประกันภัยที่ถูกต้อง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจานวนเงินเอาประกันภัยนั้น
ตัวอย่าง ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้ง
อุปกรณ์ติดตั้งประจารถ เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือความสูญเสียเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลา
ประกันภัย ต่อมานายสมนึก ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งได้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ โดยมีนาย
สมพงษ์ เป็นผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าว และต่อมาได้เกิดอุบัติเหตุ นายสมพงษ์ได้รับบาดเจ็บไม่สามารถ
ทางานได้ ดังนี้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย กรณีที่นายสมพงษ์ ผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวขาด
รายได้ประจาวัน เพราะมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถและอุปกรณ์
แม้ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้
ดังกล่าวข้างต้น จะทาให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่เอาประกันภัย แต่สาหรับ
การประกันภัยค้าจุน (Guarantee Insurance) ซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัย ตกลงว่าจะชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความเสียหายหรือวินาศภัยที่ เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นและ
ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายนั้น เช่น การประกันภัยความรับผิด
74
ของผู้ขนส่ง ซึ่งผู้รับประกันภัยรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยสาหรับสินค้าที่ได้รับ
ความเสียหายหรือสูญหายหรือส่งมอบล่าช้าอันเกิดจากความผิดของผู้ขนส่งที่ได้ทาประกันภัยไว้กับตน
เป็นต้น การประกันภัยค้าจุนมีประเด็นสาคัญที่ผู้รับประกันภัยควรพิจารณา กล่าวคือ ถึงแม้ว่าผู้รับ
ประกันภัยค้าจุนจะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว แต่ก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับ
ผิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เว้นแต่ผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้เสียหายได้รับค่า
สินไหมทดแทนนั้นจากผู้เอาประกันภัยแล้ว ดังนั้นตามตัวอย่างการประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง
ข้างต้น ผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัย
(ผู้ขนส่ง) ได้นาค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยไปชาระให้แก่เจ้าของสินค้า ด้วยเหตุนี้
กรมธรรม์ประกันภัยบางฉบับ เข่น กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง จึงกาหนดไว้ในกรมธรรม์
ประกันภัยให้ผู้รับประกันภัยมีสิทธิชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเรียกร้อง
3.1 หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) การชดใช้
ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจะใช้เฉพาะกรณีของการประกันวินาศภัยเท่านั้น เนื่องจากการประกัน
ชีวิตเป็นสัญญาการกาหนดจานวนเงิน (Value Policy) ไว้แน่นอนตั้งแต่แรกของการทาประกัน โดยที่
ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยยอมตกลงที่จะรับประกันชีวิตของบุคคลนั้นตามฐานะทางเศรษฐกิจ
และเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงและอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกรมธรรม์ที่จะจ่ายได้ ผู้รับประกันภัย
จะต้องชดใช้เงินนั้นทั้งจานวน (Total Benefit) ให้กับผู้เอาประกันภัย โดยไม่มีการโต้แย้งกันว่าเมื่อผู้เอา
ประกันเสียชีวิตลงความเสียหายจริงจะมีมูลค่าเท่าใด เนื่องจากความรับผิดชอบของผู้ประกันภัยได้ถูก
กาหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว
สาหรับการกาหนดเงื่อนไขการชดใช้ค่าเสียหายซึ่งได้มีการระบุไว้ในประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 ว่าสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือ
มรณะของบุคคลคนหนึ่ง และตามมาตรา 895 ได้กาหนดว่า เมื่อใดจะต้องใช้จานวนเงินในเหตุมรณะของ
บุคคลคนหนึ่งคนใด ผู้รับประกันจาต้องใช้เงินนั้นเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น หมายความว่า การชดใช้
ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันชีวิตพิจารณาจากระยะเวลาการมีชีวิตและการ
เสียชีวิตอยู่ของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลง
เหตุที่สัญญาของการประกันวินาศภัยไม่ได้ใช้หลักการชดใช้ค่าเสียหายในลักษณะของสัญญาการกาหนด
จานวนเงิน (Value Policy) นั้น เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอาจจะไม่ได้เป็นไปตามวงเงินที่
ทาประกันไว้
ตัวอย่าง นางสาวบี ทาประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินไว้เป็นจานวน 3,000,000 บาท
ต่อมาเกิดความเสียหายบางส่วนคิดเป็นมูลค่าได้ 1,700,000 บาทเท่านั้น หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้
75
เท่ากับสัญญาการกาหนดจานวนเงิน (Value Policy) คือ 3,000,000 บาทเท่ากับว่ากับผู้เอาประกันภัย
จะได้รับประโยชน์ส่วนเกินจากการทาประกันภัย ทาให้มีโอกาสจะเกิดภัยจากการขาดคุณธรรมของ
ผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard) มากขึ้น ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการทาประกันภัย ในกรณีเช่นนี้
ความเสียหายจริงเพียง 1,700,00 บาท นางสาวบี ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทน
เท่ากับ 1,700,000 บาทเท่านั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยนั้น
จะจ่ายให้ตามความเสียหายที่แท้จริง (Actual Loss) และจานวนเงินนั้นจะต้องไม่เกินวงเงินที่ทาประกัน
ไว้ตามที่กฎหมายกาหนด
3.2 การประกันทรัพย์สินในมูลค่าต่างกัน หลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยมากจะใช้กับ
การประกันวินาศภัย แต่กรณีของการประกันทรัพย์สินมีลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับมูลค่าของทรัพย์สิน
ที่เอาประกันภัยกับวงเงินที่ทาประกันภัยอาจจะเป็นคนละจานวนกัน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นค่าสินไหม
ทดแทนที่จะได้รับจากผู้รับประกันภัยย่อมแตกต่างกันด้วย
ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งมีมูลค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท ผู้เอาประกันภัยอาจขอทาประกัน
เต็มมูลค่า 3,000,000 บาทหรือขอทาประกันเพียง 2,000,000 บาท เนื่องจากค่าเบี้ยประกันมีราคาสูง
หรือขอเอาประกันภัยเป็นเงิน 3,500,000 บาท ด้วยเหตุที่ผู้เอาประกันภัยอาจไม่ทราบว่าราคาทรัพย์สินที่
แท้จริงมีมูลค่าเท่าใด หรือาจทราบมูลค่าที่แท้จริงแต่มีความตั้งใจที่จะทาประกันภัยเกินมูลค่าด้วยมีเจตนา
อื่นแอบแฝงอยู่ จึงขอยกตัวอย่างการทาประกันภัยทรัพย์สิน ในวงเงินที่แตกต่างจากมูลค่าที่แท้จริงของ
ทรัพย์สินดังนี้
วงเงินที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้จากผู้รับประกันภัยสามารถคานวณได้ ดังนี้
สมมติว่า ทรัพย์สินมีมูลค่าที่แท้จริง (Full Value) 3,000,000 บาท ต่อมาเกิดความ
เสียหายขึ้น 2 กรณี คือ (1) ทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด (Total Loss) (2) ทรัพย์สินเสียหายเพียงบางส่วน
(Partial Loss) เป็นจานวน 2,000,000 บาท
3.2.1 คานวณการทาประกันภัยทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเท่ากับมูลค่าที่แท้จริงของ
ทรัพย์สิน (Full Value)
3.2.1.1 กรณีเกิดความเสียหายทั้งหมด ค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับจะเป็น
3,000,000 บาท หรือคานวณได้ ดังนี้
มูลค่าที่ทาประกันภัย (Sum Insured)
สินไหมทดแทน = X ความเสียหาย (Loss)
มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Face Value)
76
3.2.1.2 กรณีเกิดความเสียหาย 2,000,000 ค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับจะ
เท่ากับความเสียหายที่แท้จริง คือ 2,000,000 บาท หรือคานวณได้ดังนี้
3.2.2 คานวณการทาประกันภัยทรัพย์สินที่เอาประกันภัยต่ากว่ามูลค่าที่แท้จริง
(Underinsured) โดยสมมติว่าผู้เอาประกันภัยทาประกันภัยทรัพย์สินไว้เพียง 2,000,000 บาทจากมูล
ค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท
3.2.2.1 เมื่อทรัพย์สินเกิดความเสียหายเพียง 2,000,000 บาท ผู้เอา
ประกันภัย จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามจานวนความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ 2,000,000 บาท เนื่องจาก
ผู้เอาประกันภัยชาระค่าเบี้ยประกันภัยน้อยกว่าการประกันภัยมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน หรือกล่าวอีก
นัยหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนี้จะจ่ายเป็นไปตามสัดส่วนที่ผู้เอาประกันทาประกันไว้ คานวณได้ดังนี้
3.2.2.2 ตัวอย่างการคานวณเมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน มูลค่าความ
เสียหายเท่ากับ 1,000,000 บาท
3,000,000
สินไหมทดแทน = X 3,000,000
3,000,000
= 3,000,000 บาท
3,000,000
สินไหมทดแทน = X 2,000,000
3,000,000
= 2,000,000 บาท
2,000,000
สินไหมทดแทน = X 3,000,000
3,000,000
= 1,999,999.99 บาท
หรือประมาณ 2,000,000 บาท
2,000,000
สินไหมทดแทน = X 1,000,000
3,000,000
= 666,666.67 บาท
77
โดยส่วนต่างที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบในความเสียหายเองมีมูลค่าประมาณ
333,333,34 บาท
3.2.3 คานวณกรณีการเอาประกันภัยทรัพย์สินเกินมูลค่าที่แท้จริง (Over insured)
โดยสมมติว่าผู้เอาประกันภัยทาประกันภัยทรัพย์สินในราคา 3,500,000 บาท
3.2.3.1 เมื่อเกิดความเสียหายทั้งหมด ถือว่า ผู้เอาประกันภัยได้รับมีความ
เสียหายจริงเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินนั้น
ดังนั้นค่าสินไหมทดแทนจะเป็น 3,000,000 บาท เท่ากับความเสียหายจริง
ถึงแม้ว่าเมื่อเข้าสูตรในการคานวณแล้วจะได้ผลออกมาเป็น 3,500,000 บาท ก็ตาม
เพราะหากชดใช้ให้ 3,500,000 บาท จะทาให้ผู้เอาประกันได้ประโยชน์จากการทา
ประกัน ทาให้โอกาสของการเกิดภัยที่เกิดจากการขาดคุณธรรมของผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard)
เป็นไปได้ง่าย
3.2.3.2 เมื่อเกิดความเสียหายบางส่วนเป็นเงิน 1,000,000 บาท ก็จะได้รับ
ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับ 1,000,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริงเช่นกัน ถึงแม้ว่าเมื่อใช้สูตร
คานวณแล้วจะได้ 1,166,666.67 บาทก็ตาม
จากตัวอย่าง 3.2.3.1 และ 3.2.3.2 นี้ จะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ใดเลยที่จะทา
ประกันภัยทรัพย์สินเกินมูลค่าที่แท้จริง เพราะผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามความเป็นจริง
เท่านั้น
3.3 วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ผู้รับประกันภัยอาจเลือก
ดาเนินการตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งจาก 4 วิธี ดังนี้
3.3.1 การชาระคืนเป็นเงินสด (Cash) เป็นวิธีที่สะดวกและนิยมใช้มากที่สุดเนื่องจากเป็น
วิธีที่ง่ายที่สุด หากสามารถประเมินราคาทรัพย์สินได้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น กรณีการเกิดอุบัติเหตุ
3,500,000
สินไหมทดแทน = X 3,000,000
3,000,000
= 3,500,000 บาท
3,500,000
สินไหมทดแทน = X 1,000,000
3,000,000
= 1,166,666.67 บาท
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน

More Related Content

What's hot

การประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไรการประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไรKruPor Sirirat Namthai
 
การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์KruPor Sirirat Namthai
 
ทำอย่างไร
ทำอย่างไรทำอย่างไร
ทำอย่างไรtanutta
 
การประกันภัย
การประกันภัยการประกันภัย
การประกันภัยBank Kitsana
 
การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )Maneerat Amrapal
 
คปภ ประกันภัย
คปภ ประกันภัยคปภ ประกันภัย
คปภ ประกันภัยChanakan Sukha
 

What's hot (8)

การประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไรการประกันชีวิตคืออะไร
การประกันชีวิตคืออะไร
 
การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์การประกันภัยรถยนต์
การประกันภัยรถยนต์
 
ทำอย่างไร
ทำอย่างไรทำอย่างไร
ทำอย่างไร
 
การประกันภัย
การประกันภัยการประกันภัย
การประกันภัย
 
คปภ
คปภคปภ
คปภ
 
การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )การประกันภัย ( คปภ )
การประกันภัย ( คปภ )
 
คปภ ประกันภัย
คปภ ประกันภัยคปภ ประกันภัย
คปภ ประกันภัย
 
Nissan deller(update06 03-56)
Nissan deller(update06 03-56)Nissan deller(update06 03-56)
Nissan deller(update06 03-56)
 

Viewers also liked

บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยบทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยchakaew4524
 
บทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยบทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยchakaew4524
 
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิตบทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิตchakaew4524
 
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งchakaew4524
 
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งบทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งchakaew4524
 
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดบทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดchakaew4524
 
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ chakaew4524
 
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศExim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศWannarat Wattananimitkul
 
การประกันภัย
การประกันภัย การประกันภัย
การประกันภัย Saharat Yimpakdee
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญาYosiri
 
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61Manow Butnow
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยchakaew4524
 
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยาchakaew4524
 
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์chakaew4524
 
หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1
หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1
หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1chwalit
 
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัยหัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัยchakaew4524
 
Exim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้า
Exim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้าExim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้า
Exim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้าWannarat Wattananimitkul
 
Exim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก
Exim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกExim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก
Exim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกWannarat Wattananimitkul
 
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญากฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญาYosiri
 

Viewers also liked (20)

บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัยบทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
บทที่ 6 การประกันอัคคีภัย
 
บทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัยบทที่6การประกันอัคคีภัย
บทที่6การประกันอัคคีภัย
 
บทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิตบทที่4การประกันชีวิต
บทที่4การประกันชีวิต
 
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
 
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่งบทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
บทที่ 10 ประกันภัยทางบกและขนส่ง
 
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ดบทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
บทที่9ประกันภัยเบ็ตเตล็ด
 
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
บทที่10ประกันภัยอุตสาหกรรมฯ
 
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศExim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
Exim11การประกันภัยสินค้าระหว่างประเทศ
 
SlideBus226
SlideBus226SlideBus226
SlideBus226
 
การประกันภัย
การประกันภัย การประกันภัย
การประกันภัย
 
กฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญากฎหมายเอกเทศสัญญา
กฎหมายเอกเทศสัญญา
 
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
การประกันชีวิต นางสาว ณัฏฐณิชา หุนสนธิ ม.61
 
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหัวข้อที่  ๓  แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
หัวข้อที่ ๓ แหล่งกำเนิดของชนชาติไทย
 
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
 
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
บทที่ 7 ประกันภัยรถยนต์
 
หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1
หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1
หน่วยที่ 1กฎหมายธุรกิจ1
 
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัยหัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
 
Exim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้า
Exim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้าExim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้า
Exim2การดำเนินธุรกิจส่งออกนำเข้า
 
Exim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก
Exim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออกExim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก
Exim14เอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก
 
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญากฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
กฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา
 

Similar to บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน

งานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ยงานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ยDiZz Tang Art Zii
 
งานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ยงานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ยDiZz Tang Art Zii
 
Assurance Knowledge
Assurance KnowledgeAssurance Knowledge
Assurance KnowledgePao Nanu
 
การประกันชีวิต นก@ตุ๊ก
การประกันชีวิต นก@ตุ๊กการประกันชีวิต นก@ตุ๊ก
การประกันชีวิต นก@ตุ๊กNok Le Dy
 
5up พนักงาน 5 19 คน
5up พนักงาน 5 19 คน5up พนักงาน 5 19 คน
5up พนักงาน 5 19 คนssuserbecb25
 

Similar to บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน (6)

งานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ยงานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ย
 
งานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ยงานคอมประก นภ ย
งานคอมประก นภ ย
 
Assurance Knowledge
Assurance KnowledgeAssurance Knowledge
Assurance Knowledge
 
Doc2
Doc2Doc2
Doc2
 
การประกันชีวิต นก@ตุ๊ก
การประกันชีวิต นก@ตุ๊กการประกันชีวิต นก@ตุ๊ก
การประกันชีวิต นก@ตุ๊ก
 
5up พนักงาน 5 19 คน
5up พนักงาน 5 19 คน5up พนักงาน 5 19 คน
5up พนักงาน 5 19 คน
 

More from chakaew4524

หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยหัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยchakaew4524
 
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยchakaew4524
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์chakaew4524
 
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์chakaew4524
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ดchakaew4524
 
บทที่8แ
บทที่8แบทที่8แ
บทที่8แchakaew4524
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์chakaew4524
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์chakaew4524
 
บทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตบทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตchakaew4524
 

More from chakaew4524 (9)

หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยหัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
 
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหัวข้อที่  ๔  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
หัวข้อที่ ๔ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๑ ความหมายของประวัติศาสตร์
 
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ดบทที่ 9  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
บทที่ 9 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
 
บทที่8แ
บทที่8แบทที่8แ
บทที่8แ
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์บทที่7การประกันภัยรถยนต์
บทที่7การประกันภัยรถยนต์
 
บทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิตบทที่ 4 การประกันชีวิต
บทที่ 4 การประกันชีวิต
 

บทที่3แนวความคิดพื้นฐาน

  • 1. บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย สัญญาของการประกันภัยเป็นสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายต่างตกลงร่วมกันรับผิดชอบในภัยที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต โดยฝ่ายผู้เอาประกันภัยเป็นผู้เสนอ (Offer) ขอทาประกันภัย และฝ่ายผู้รับประกันภัยจะทาหน้าที่ เป็นผู้สนอง (Acceptance) คาขอทาประกัน และเมื่อรับประกันภัยแล้วเกิดภัยอันตรายอันนามาซึ่ง ความเสียหาย ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์ ตามข้อตกลงที่ระบุในกรมธรรม์ และการทาประกันภัยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เอาประกันได้รับประโยชน์ ทางการเงิน หรือกาไรจากการทาประกันภัยนั้น แท้จริงแล้วการทาประกันภัย มีวัตถุประสงค์ในการ ช่วยขจัดหรือลดภาระความเสียหายทางการเงินให้แก่ผู้เอาประกันภัย เนื่องจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับ ผลกาไรหรือประโยชน์จากการประกันภัยแล้ว อาจทาให้ผู้เอาประกันภัยมีความจงใจที่จะก่อให้เกิดความ เสียหายนั้นได้ แทนที่จะเป็นการลดหรือขจัดความเสียหายกลับจะเป็นการเพิ่มหรือกระตุ้นให้เกิดความ เสียหายนั้นมากขึ้น ดังนั้นในการทาประกันภัยจะมีหลักฐานพื้นฐานสาคัญที่ได้กาหนดไว้ เพื่อให้ผู้เอา ประกันภัยและผู้รับประกันภัยได้ถือปฏิบัติ การกระทาบางอย่างของผู้เอาประกันภัยแม้จะไม่ได้มีเจตนาที่ จะฉ้อโกงผู้รับประกันภัย แต่อาจมีผลทาให้สัญญาประกันภัยมีข้อบกพร่องและอาจถูกบอกล้างได้ เช่น การบรรยายข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสาคัญต่อการประกันภัยที่มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทาให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะและผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาประกันภัยได้ เป็นต้น หรือ ในบางกรณีอาจทาให้ไม่ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจานวนความเสียหาย เช่น กรณีที่มีการ ทาประกันภัยไว้ต่ากว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ดังนั้นการศึกษาและทาความเข้าใจในหลักของการ ประกันภัยจึงเป็นสิ่งสาคัญสาหรับบุคคลหรือผู้ประกอบการธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการประกันภัย สามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลและธุรกิจของตนได้ หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันภัย ในการประกันภัยมีหลักการ แนวคิดประกอบอยู่เป็นจานวนมาก เช่น หลักการทางสถิติ คณิตศาสตร์ เพื่อนามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสาหรับพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ คานวณเบี้ยประกันภัยให้มีความเหมาะสม ดังนั้น การประกันภัยจึงใช้หลักการหรือแนวความคิดที่ เกี่ยวข้อง หลักการพื้นฐานที่สาคัญของการประกันภัยที่ควรทราบ ประกอบด้วย 1) หลักส่วนได้เสีย อันสามารถเอาประกันภัยได้ (Principle of Insurable Interest) 2) หลักความสุจริตใจอย่างยิ่ง
  • 2. 64 (Principle of Utmost Good Faith) 3) หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) 4) หลักการ ร่วมเฉลี่ยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Contribution) 5) หลักการรับ ช่วงสิทธิ (Principle of Subrogation) 6) หลักสาเหตุที่ใกล้ชิด (Principle of Proximate Cause) 1. หลักส่วนได้เสียอันสามารถเอาประกันได้ (Principle of Insurable Interest) การประกันภัยเป็นหลักกฎหมายที่ให้ความสาคัญในการกาหนดให้ผู้เอาประกันภัยจะต้อง เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุ (Subject Matter) ที่เอาประกันภัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือความรับผิดต่อบุคคลอื่น ส่วนได้เสีย (Interest) หมายถึง ความสัมพันธ์ (Relation) หรือความเกี่ยวข้อง (Concern) ของบุคคลที่มีต่อวัตถุเอาประกันภัยโดยผลจากการเอาประกันภัยนั้น อาจทาให้บุคคลได้รับประโยชน์จากการที่ทรัพย์นั้นปลอดภัยไม่ได้รับความเสียหายอาจทาให้สิทธิของ ผู้เอาประกันภัยถูกกระทบกระเทือนหากทรัพย์นั้นสูญหายหรือเสียหายหรือต้องมีส่วนรับผิดชอบในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น สาหรับประวัติการพัฒนาธุรกิจการรับประกันภัยที่ผ่านมานั้น พบว่าประเทศที่มีธุรกิจ ประกันภัยเกิดขึ้นมานานและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษและ สหรัฐอเมริกานั้นเดิมไม่ได้มีการกาหนดเป็นกฎหมายที่จะต้องให้ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุ ที่เอาประกัน แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้น ต่อมาความเสียหากมักจะเกิดจากความ จงใจของผู้เอาประกันภัยซึ่งไม่ได้มีส่วนได้เสียในชีวิตหรือทรัพย์สินนั้น ตัวอย่างเช่น การรับประกันภัยการ ขนส่งสินค้าทางทะเลของผู้รับประกันภัยสัญชาติอังกฤษ สินค้าได้รับความเสียหากมากกว่าปกติและ บางครั้งเรือก็สูญหายไประหว่างทางและจากข้อเท็จจริงพบว่าการสูญเสียดังกล่าวเกิดจากความจงใจของ ผู้เอาประกันภัยซึ่งมีส่วนได้เสียโดยการทาลายสินค้าและเรือเพื่อที่จะได้รับเงินประกันนั้น เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าวในกฎหมายประกันภัยของแต่ละประเทศจึงมักกาหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียใน เหตุที่เอาประกัน ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้มีการกาหนดไว้ ว่าสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มี ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ส่วนได้เสียใน เหตุที่ประกันภัยไว้นั้นจะต้องพิจารณาซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตัววัตถุหรือชีวิตที่เหตุการณ์นั้นมีผลถึงอีก ประการหนึ่ง(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863) ในส่วนของ Lord Blackburn ได้กล่าวถึง ส่วนได้เสียว่า ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายหนึ่งจะได้ประโยชน์ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นคู่กรณีฝ่ายนั้น จะได้รับความเสียหาย กล่าวคือ “ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินอันอาจเอาประกันภัยได้คือผู้ที่จะได้ประโยชน์ จากการที่ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิมอยู่ หรือจะได้รับความเสียหายจากการที่ทรัพย์สินนั้นทาลายไป (จิตติ ติงศภัทิย์, 2553 : 26)
  • 3. 65 ตัวอย่าง กรณีของการประกันอัคคีภัย บุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้านถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในบ้านหลังนั้น กรณีหากเกิดเพลิงไหม้เจ้าของบ้านจะต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ส่วนผู้เช่าหรือ ผู้อยู่อาศัยไม่สามารถนาบ้านของผู้อื่น (ผู้ให้เช่า) มาทาประกันได้ เนื่องจากเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในบ้าน หลังนั้นทาให้เกิดความเสียหายต่อผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน เพราะหากยอมให้ผู้เช่าสามารถนาบ้านของ ผู้อื่นมาทาประกันได้ ผู้เช่าอาจจงใจวางเพลิงเพื่อเอาเงินประกัน ในขณะที่ผู้เช่าชาระเบี้ยประกันภัย และ ค่าเช่าบ้านเป็นจานวนเงินไม่มากนัก ดังนั้น การกาหนดส่วนได้เสียจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยง และทาให้ การประกันภัยไม่มีลักษณะเป็นการพนันด้วย การที่คู่สัญญาประกันภัยที่เป็นผู้เอาประกันภัยมีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะ กับวัตถุแห่งการประกันภัยไม่ว่าจะเป็นร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สิน หรือความรับผิด ซึ่งบุคคลอยู่บนพื้นฐาน ของความเสี่ยงภัยถือว่าบุคคลนั้นมีส่วนได้เสียที่สามารถเอาประกันภัยได้ หรือมีส่วนได้เสียในเหตุที่ ประกันภัยไว้ อันเป็นสิ่งจาเป็นพื้นฐานที่สัญญาประกันภัยจะต้องมี เว้นแต่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้ว่าไม่ ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยกาหนดให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ ผู้รับ ผลประโยชน์ ซึ่งผู้รับผลประโยชน์นี้มิใช่ผู้เอาประกันภัยและกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าผู้รับผลประโยชน์ จะต้องมีส่วนได้เสีย ในเหตุที่ได้ทาประกันภัยไว้ เมื่อส่วนได้เสียเป็นหลักการสาคัญประการหนึ่งของการ ทาสัญญาประกันภัย จึงได้ระบุสาระสาคัญของส่วนได้เสียที่สามารถเอาประกันภัยในกรณีการประกันชีวิต ประกันทรัพย์สิน และประกันความรับผิดที่เกิดขึ้น ได้ดังนี้ 1.1 กรณีการประกันชีวิต 1.1.1 ผู้มีส่วนได้เสีย ในการทาประกันชีวิต ประกอบด้วย 1.1.1.1 เจ้าตัว (Owner) ซึ่งสามารถขอทาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือ ประกันอุบัติเหตุให้กับตนเอง ซึ่งการทาประกันดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อตัวของผู้เอาประกันเอง และ หากเกรงว่าผู้เอาประกันจะฆ่าตัวตาย เพื่อหวังเงินประกันภัย ผู้รับประกันภัยมักกาหนดแนวทางการ ปฏิบัติไว้ เช่น การกาหนดข้อตกลงว่า หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการฆ่าตัวตายซึ่งผู้รับ ประกันภัยสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้นั้นผู้รับประกันภัยไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เป็นต้น 1.1.1.2 การเอาประกันชีวิตบุคคลอื่น (Third Party) กรณีที่ผู้เอาประกันภัย มิได้ประกันชีวิตตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์ที่จะทาประกันชีวิตให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้นั้น หรือเพื่อตนเองจะได้เป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์นั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียใน เหตุที่เอาประกันภัยนั้น การพิจารณาว่าผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยและบุคคลผู้นั้นว่าเมื่อเกิดเหตุกับบุคคลผู้นั้น จะส่งผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตของผู้เอาประกันภัยอย่างไรบ้าง เช่น คู่สมรส ตามประมวลกฎหมาย
  • 4. 66 แพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1461 ได้กล่าวว่า “สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้อง ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน” หากผู้หนึ่งผู้ใดเสียชีวิต หรือไม่สามารถ ทางานได้ อีกคนก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง หรือกรณีที่บุคคลมีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิต เช่น บิดา มารดาและบุตร ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1563 กาหนดไว้ว่า “บุตรจาต้อง อุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดา” หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 1564 “บิดามารดา จาต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์” ดังนั้น บิดามารดา จึงสามารถทาประกันชีวิตให้บุตรได้เพราะหากบุตรเป็นซึ่งจะเป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดาในอนาคต เกิด เสียชีวิตลงก่อนวัยอันควร ก็จะไม่มีผู้อุปการะบิดามารดาต่อไป บิดามารดาจึงถือเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ในชีวิตของบุตร เป็นต้น 1.1.2.3 ผู้รับผลประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 ได้กล่าวว่า “ผู้รับประโยชน์” หมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจานวนเงิน ใช้ให้และในวรรคต่อมาได้กล่าวว่า “อนึ่ง ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลหนึ่งคน เดียวก็ได้” ดังนั้น ผู้รับประโยชน์นั้นนอกจากจะเป็นผู้เอาประกันภัยเองแล้ว อาจจะเป็นใครก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ผู้รับประกันภัยจาเป็นต้องพิจารณาเรื่องของผู้รับผลประโยชน์ด้วย เนื่องจากมีความ เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดาเนินธุรกิจ และถ้าผู้รับประกันภัยพิจารณาว่า ผู้เอาประกันภัยมอบผลประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นอันไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กันเลย กรณีเช่นนี้ผู้รับ ประกันภัยสามารถพิจารณาไม่รับประกันภัยก็ได้ เนื่องจากการพิจารณาไม่รับประกันเป็นเรื่องของความ เสี่ยงมิได้เป็นข้อกาหนดของกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นในทางปฏิบัติ ผู้รับประกันภัยจะพิจารณาว่าผู้รับ ประโยชน์ในกรมธรรม์ควรจะได้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้ ตัวของผู้เอาประกัน บิดา มารดาของผู้เอาประกัน ภรรยาหรือสามีของผู้เอาประกัน บุตรของผู้เอาประกัน เจ้าหนี้ ธุรกิจของผู้เอาประกัน กองมรดก กรณี ที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ให้ตั้งเอาจานวนเงินเอาประกันภัยนั้นเป็น สินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้สามารถมารับไปเพื่อการชดใช้ตามจานวนหนี้ ได้ดังนั้น สาหรับกรณีของการประกันชีวิตลักษณะที่ควรพิจารณาควบคู่ไปกับหลักส่วนได้เสียก็คือ การพิจารณาถึงผู้รับผลประโยชน์ด้วย 1.1.3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 863 กล่าวว่า “ส่วนได้เสีย จะต้องเกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ วันที่ทาสัญญา และหาก ณ วันที่ทาสัญญาผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีส่วนได้เสีย ถือว่าสัญญานั้นไม่มีผลผูกพัน คู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ตัวอย่างเช่น หากผู้เอาประกันภัยนาบุคคล อื่นที่มีส่วนได้เสียมาทาประกันชีวิต และภายหลังได้มีเหตุให้สิ้นสุดความสัมพันธ์ เช่น การหย่าร้างของสามี ภรรยา ให้ถือหลักการปฏิบัติ ซึ่งมีความแตกต่างกัน 2 ประการ ได้แก่
  • 5. 67 สัญญานั้นยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป ถึงแม้ว่าส่วนได้เสียของกันและกันจะหมดไป โดยยึดหลักว่าเรื่องของการประกันชีวิตนั้นเป็นเรื่องของการออม ไม่ใช่เรื่องของการชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น แม้ต่อมาสามีและภรรยาได้หย่าขาดจากกัน หากภรรยายังคงชาระค่าเบี้ยประกัน (กรณีภรรยาเป็นผู้ชาระ เบี้ยประกันและเป็นผู้รับผลประโยชน์) กรมธรรม์นั้นยังคงมีผลบังคับอยู่ทุกประการ ในการที่สัญญายังคง มีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ชาระเบี้ยประกันในฐานะที่ตนเป็น ผู้รับผลประโยชน์พยายามหาวิถีทางในการได้รับค่าสินไหมชดเชย เช่น การฆ่าผู้เอาประกันเพื่อหวังเงิน ค่าสินไหมชดเชย เนื่องจากการที่ฐานะของตนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียหมดไปอาจเกิดความไม่พอใจ ซึ่งกันและกันได้ จึงมีกฎหมายกาหนดเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันไม่ให้จ่ายค่าสินไหมชดเชยให้ผู้เอา ประกันหรือผู้รับประโยชน์ในกรณีที่บุคคลนั้นถูกฆ่าโดยเจตนาจากผู้รับผลประโยชน์ ว่าผู้รับประกันภัย ไม่จาเป็นต้องใช้เงินนั้นหากการเสียชีวิตนั้นเกิดจากบุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราที่ 895 (2)) 1.2 กรณีการประกันวินาศภัย 1.2.2 ผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินและความรับผิดชอบนั้นจะใช้หลักการทั่ว ๆ ไป เหมือนกรณีของการประกันชีวิต ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียจะต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1.2.2.1 เจ้าของทรัพย์สิน (Owner) หมายถึง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อ ทรัพย์สินนั้น เนื่องจากเมื่อทรัพย์สินนั้นถูกทาลายลงเจ้าของก็ได้รับความเสียหายด้วยทรัพย์สินต่าง ๆ ได้แก่ อาคาร โรงงาน บ้านพักอาศัย เครื่องมือ เครื่องจักร เรือ รถยนต์ สินค้า เป็นต้น โดยทรัพย์สิน หนึ่งชิ้นอาจมีเจ้าร่วมกันของหลายคน หรือเจ้าของหนึ่งคนอาจมีทรัพย์สินได้หลายชิ้น หากทรัพย์สินถูก ทาลายลง ผลทางอ้อมที่ตามมา คือ ธุรกิจอาจต้องหยุดดาเนินงานชั่วคราวซึ่งส่งผลให้ขาดรายได้หรือกาไร และยังมีค่าใช้จ่ายประจาที่ยังเกิดขึ้น ถึงแม้จะหยุดการดาเนินงานแล้วก็ตาม ดังนั้นเจ้าของธุรกิจหรือ ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในทรัพย์สินอยู่แล้วจึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในความเสียหายที่ สืบเนื่องมาจากความเสียหายทางตรงนั้น 1.2.2.2 เจ้าหนี้ประเภทที่ต้องมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน (Secured Creditor) เจ้าหนี้ประเภทนี้อาจเป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อโดยมีอาคาร ที่ดิน โรงงาน สินค้า รถยนต์ เป็นตัวค้าประกันการกู้ยืม เจ้าหนี้ประเภทนี้จึงมีสิทธิ์เหนือทรัพย์สินนั้นตามสัดส่วนของหนี้ที่ยังค้างอยู่ ดังนั้น เจ้าหนี้จึงสามารถนาทรัพย์สินนั้นมาทาประกันภัยโดยมีเจ้าหนี้เป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ เช่น กรณี การประกันอัคคีภัยของบ้านที่จานองไว้กับธนาคารพาณิชย์โดยมีเงื่อนไขยกผลประโยชน์ให้แก่ผู้รับจานอง 1.2.2.3 ผู้เช่า เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสิทธิการเช่า (Leasehold Interest) ซึ่งมิใช่ส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของอาคาร โดยการเช่าอาคารทั่วไปการสิ้นสุดของสัญญาเช่าอาจเกิดจากการที่
  • 6. 68 ทรัพย์สินนั้นถูกทาลาย เช่น ไฟไหม้ กรณีเช่นนี้นอกจากเจ้าของทรัพย์สินจะได้รับความเดือดร้อนแล้ว ผู้เช่าย่อมได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วย เนื่องจากต้องขาดรายได้และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหา อาคารใหม่ ซึ่งอัตราที่เช่าใหม่อาจมีมูลค่าแพงกว่าอัตราค่าเช่าเดิมมาก 1.2.2.4 ผู้ที่ต้องมีความรับผิด (Liability) ต่อบุคคลอื่น ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ ทรัพย์สินนั้น หรือเกิดจากดาเนินงานตามปกติของบุคคลหรือธุรกิจนั้น เช่น ผู้ครอบครอง ผู้ดูแล หรือ ผู้จัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่น ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องมีความรับผิดตาม กฎหมายต่อผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น หากทรัพย์สินนั้นเกิดสูญหายหรือได้รับความเสียหาย บุคคล เหล่านี้ มีส่วนได้เสียที่สามารถนาไปประกันได้ 1.2.2.5 ผู้ที่คาดว่าจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินในอนาคต (Factual Expectation) เช่น บุตรของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยปกติคาดว่าต่อไปตนจะเป็นผู้รับมรดกหรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น แทนบิดามารดา ดังนั้น บุตรผู้นั้นสามารถนาทรัพย์สินนั้นไปทาประกันภัยได้ 1.2.3 ผู้ที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียในวัตถุที่ เอาประกันภัยขณะที่เกิดความเสียหายนั้น ตามหลักการดังกล่าวจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของการประกันชีวิต กล่าวคือ หากต่อมาเกิดความเสียหายขึ้นแก่วัตถุที่เอาประกันภัย และปรากฏว่าผู้มีส่วนได้เสียนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ถือว่าบุคคลผู้ทาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับการชดใช้ ค่าเสียหายนั้น เพราะถือว่าผู้นั้น ไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น ตัวอย่าง นายเอ ขอทาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กาหนดระยะเวลา 1 ปี ต่อมาหลังจาก ชาระค่าเบี้ยประกันภัยไปแล้ว 5 เดือน นายเอได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ถือว่าส่วนได้เสียของ นายเอ ต่อรถยนต์คันดังกล่าวหมดไปแล้ว ดังนั้น ภายในกาหนดระยะเวลาของการประกันภัยรถยนต์ รถยนต์คันดังกล่าวประสบภัยได้รับความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมชดเชยให้แก่เจ้าของ รถยนต์คนใหม่ ซึ่งไม่ใช่นายเอ เป็นต้น 2 หลักความสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of Utmost Good Faith) ตามความหมายของหลักการสุจริตใจ คือ ผู้รับประกันภัยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตใจต่อผู้เอา ประกันภัย เช่น ในการเขียนสัญญาประกันภัยผู้รับประกันภัย ต้องแสดงถึงความโปร่งใส ชัดเจน และเข้าใจ ได้ง่าย มีการระบุข้อยกเว้นในการไม่รับประกันภัยที่แน่ชัด และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามที่ได้ระบุไว้ ในสัญญาประกันภัยซึ่งมีการระบุรายละเอียดของความคุ้มครอง ผู้รับประกันจาเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญา ประกันภัย เช่น กรณีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ สาหรับผู้เอาประกันภัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อผู้รับประกันภัยเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเอาประกันภัยเป็น
  • 7. 69 ลักษณะการโอนความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากผู้เอาประกันภัยไปยังผู้รับประกันภัย ดังนั้น ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ว่า ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย มีมูลค่าเป็นเท่าไร ผู้รับประกันภัยจึงต้องอาศัยข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณาว่าควรรับผู้เอา ประกันภัยรายนี้หรือไม่ หากต้องรับประกันภัยจะมีเงื่อนไขอย่างไร ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้อง เปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับตัวของผู้เอาประกันภัยเอง เช่น เพศ อายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมทั้ง เปิดเผยรายละเอียดของหน่วยเสี่ยงภัย (Exposure Unit) เช่น สภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อความเสี่ยงภัยให้ ผู้รับประกันภัยทราบโดยละเอียด ซึ่งหน้าที่การให้ข้อมูลที่เป็นจริงเป็นสาระสาคัญที่มีผลต่อความเสี่ยงภัย ของผู้เอาประกันภัยตามหลักการสุจริตอย่างยิ่ง เป็นหลักของสัญญาประกันภัยในทุกประเทศที่ดาเนิน ธุรกิจประกันภัย (ฐิติวดี ชัยวัฒน์, 2556 : 64) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 บัญญัติว่า “ถ้าในเวลาทาสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือกรณีการประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของ เขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ย ประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทาสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ” ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกาหนดเดือนหนึ่งนับตั้งแต่วันที่ผู้รับประกันภัย ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบ มูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกาหนดเวลาห้าปีนับแต่วันทาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้น เป็นอันระงับสิ้นไป” (สรพลจ์ สุขทรรศนีย์, 2556 : 34) ตามปกติเมื่อบุคคลได้ตกลงทาสัญญาหรือทานิติกรรม หรือใช้สิทธิต่าง ๆ ย่อมมีหน้าที่ต้อง กระทาการโดยสุจริต ตามที่ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 กล่าวไว้ว่า “ในการ ใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชาระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทาโดยสุจริต” หมายความว่า จะต้องกระทา อย่างตรงไปตรงมา ไม่กล่าวเท็จ ไม่ฉ้อฉลหลอกลวงให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิดในข้อสาคัญ แต่ไม่ได้ หมายความว่า คู่สัญญามีหน้าที่แสดงข้อบกพร่องหรือข้อเสียเปรียบของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ เป็น หน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องสืบสวนใคร่ครวญเอาเองก่อนตัดสินใจ ส่วนสัญญาประกันภัยเป็น สัญญามีลักษณะพิเศษที่กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาฝ่ายผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่อง ของตนให้ฝ่ายผู้รับประกันภัยทราบ โดยเหตุผลที่ว่าการที่ผู้รับประกันภัยจะตัดสินใจเข้าเสี่ยงภัยแทนผู้เอา ประกันภัยนั้น ผู้รับประกันภัยจาเป็นต้องทราบข้อมูลโดยละเอียดเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูล บางอย่างเป็นเรื่องสาคัญที่บุคคลอื่นไม่มีทางรู้ได้เลยนอกจากตัวของผู้เอาประกันภัยเอง และสุดวิสัยใน การที่ผู้รับประกันภัยจะสืบสวนให้ครบถ้วน จึงมีเพียงหนทางเดียวเท่านั้น คือ การกาหนดให้ผู้เอา
  • 8. 70 ประกันภัยมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้น เพื่อมิให้ผู้รับประกันภัยตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบจนเกินไปในการ ทาสัญญา ตัวอย่าง นายหมู ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว ขณะทาสัญญาประกันชีวิตก็ยังมีอาการป่วยอยู่ เช่นนี้นายหมู ต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบมิฉะนั้น สัญญาจะตกเป็นโมฆียะ ตัวอย่าง นายเมฆ มีอาการป่วยเป็นโรคตับอักเสบ เจ้าตัวทราบดีเนื่องจากต้องไปพบ แพทย์เพื่อรับการรักษาและรับประทานยาโดยตลอด ได้ยื่นคาขอเอาประกันชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ โดยแถลงต่อผู้รับประกันภัยว่าตนไม่เคยป่วยเป็นโรคร้ายแรงและไม่มีโรคประจาตัวใด ๆ ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม บริษัทผู้รับประกันภัยได้ตอบรับทาสัญญาโดยไม่ทราบถึงอาการป่วยของนายเมฆ ดังนี้สัญญา ประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หลักความสุจริตอย่างยิ่งเป็นหลักที่ใช้ในการประกันภัยกับทั้งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความที่เป็นจริงด้วยความสุจริตใจอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้รับประกันภัยสามารถ ประเมินความเสี่ยงที่จะรับประกันภัยได้ เพราะหากข้อมูลที่ได้รับไม่ถูกต้องก็จะทาให้การประเมินความเสี่ยง ของผู้รับประกันภัยเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้รับประกันภัย ขณะเดียวกันหลัก ความสุจริตใจอย่างยิ่งนี้ก็ใช้กับผู้รับประกันภัยในลักษณะที่ผู้รับประกันภัยควรชี้แจงให้ ผู้เอาประกันภัย ได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับความคุ้มครอง หรือการที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขอย่างไร เพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง หากผู้รับประกันภัยทราบข้อมูลว่าผู้เอาประกันภัยได้ปกปิด ข้อเท็จจริง หรือไม่แถลงข้อความที่เป็นจริง ซึ่งเป็นสาระสาคัญและความเสียหายที่เอาประกันภัยไว้ ยังไม่ได้เกิดขึ้น ผู้รับประกันควรแสดงความสุจริตใจด้วยการบอกล้างสัญญา เป็นต้น ในการทาสัญญาถือว่าคู่สัญญาจะต้องมีความสุจริตใจต่อกันเพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สุจริต อาจทาให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับต่อไป หรือเป็นสัญญาที่เป็นโมฆียะ ซึ่งแม้จะ เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้แต่ก็อาจถูกบอกล้างโดยผู้มีสิทธิบอกล้างตามกฎหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความร้ายแรงของผลแห่งความไม่สุจริต อย่างไรก็ตามสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความ สุจริตอย่างยิ่งซึ่งเป็นความสุจริตที่สูงกว่าการทาสัญญาอื่นทั่วไปและในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ประกันภัยบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเลของประเทศอังกฤษ ค.ศ.906 (Marine Insurance Act 1906) มีบทบัญญัติที่รับรองหลักความสุจริตอย่างยิ่งไว้ในกฎหมาย ความสุจริตอย่างยิ่ง ในสัญญาประกันภัยเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องยึดถือปฏิบัติ คือทั้งผู้เอาประกันภัยและ ผู้รับประกันภัยเพื่อป้องกันมิให้มีการฉ้อโกงกัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย ที่จะต้องสุจริตในการเปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสาคัญให้ผู้รับประกันภัยทราบ และการแถลง
  • 9. 71 ข้อความจริงให้ถูกต้อง โดยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายไทยที่ใช้กับการ ประกันภัย ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 865 ว่า ให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยรู้อยู่ แล้วในเวลาทาสัญญาประกันภัยถึงข้อความจริงซึ่งอาจจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือบอกปัดไม่ยอมทาสัญญาประกันภัยด้วย แต่ผู้เอาประกันภัยละเว้นการปฏิบัติไม่ยอมเปิดเผยข้อความจริง หรือกลับแถลงข้อความต่อผู้รับประกันภัยให้ผิดไปจากความจริงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ดังนั้น ข้อความจริงอันเป็นสาระสาคัญที่จะทาให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ผู้รับ ประกันภัยซึ่งอาจจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือถึงขนาดไม่ยอมรับประกันภัย การพิจารณาถึงความสุจริตใจของผู้เอาประกันภัยสามารถพิจารณาได้จากลักษณะสาคัญ ดังต่อไปนี้ 2.1 การแถลงข้อเท็จจริง (Representation) สาหรับการแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิต ทรัพย์สินหรือความรับผิดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตถือเป็นหน้าที่สาคัญของผู้เอาประกันภัย การแถลง หรือการให้ข้อมูลอาจกระทาได้โดยการกรอกแบบฟอร์มขอทาประกัน กับผู้รับประกันภัยหรืออาจแจ้งด้วยวาจา หรือการให้เอกสารอื่น ๆ ที่สาคัญต่อการรับประกันภัยตามที่ผู้รับประกันภัยร้องขอ เพื่อให้ผู้รับประกัน สามารถประเมินความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยได้ เช่น ในการทาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยต้องการ ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือข้อมูลของผู้เอาประกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ประวัติการ รักษาพยาบาล ข้อมูลสุขภาพของบุคคลภายในครอบครัว และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัย เป็นต้น ตามหลักการ หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ถือว่าผู้เอาประกันภัยไม่จาเป็นต้องแจ้ง ข้อเท็จจริงต่อไปนี้ให้ผู้รับประกันภัยทราบ ได้แก่ ข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่สาระสาคัญและเป็นข้อเท็จจริงที่เป็น ผลดีต่อความเสี่ยงภัย ข้อเท็จจริงที่ผู้รับประกันภัยควรจะทราบในทางการค้าหรือธุรกิจตามปกติของตน ข้อมูลที่ผู้รับประกันภัยสละสิทธิที่จะทราบ ข้อเท็จจริงควรจะเข้าใจหรืออนุมานได้จากข้อมูลที่ผู้เสนอขอ ทาประกันภัยได้เคยให้ไว้แล้ว ข้อเท็จจริงทั่วไปที่ผู้รับประกันภัยทราบ และข้อเท็จจริงที่ผู้รับประกันภัย ควรจะทราบ หากว่า ได้มีการซักถามตามปกติ นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้มีการให้ไว้แล้ว 2.2 คารับรอง (Warranty) หมายถึง คารับรองที่ฝ่ายผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ให้สัญญากับฝ่าย ผู้รับประกันภัยในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไข โดยถือว่า คารับรองนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ดังนั้น หากผู้เอาประกันภัยทาผิดคารับรองถือว่าทาผิดสัญญาด้วย ซึ่งคารับรองโดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท คือ 2.2.2 คารับรองที่ต้องกาหนดเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนในสัญญา ว่าผู้เอาประกัน จะให้คารับรองอย่างไร เช่น ผู้เอาประกันที่เป็นร้านอาหารให้คารับรองว่าในระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับ จะใช้ความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ให้นาเชื้อเพลิงเข้าใกล้เตาไฟปรุงอาหารเป็นอันขาด
  • 10. 72 2.2.3 คารับรองที่ไม่ได้เขียนในสัญญาแต่เป็นที่เข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย คารับรองนี้ มักจะพบในสัญญาประกันภัยทางทะเล เช่น เรื่องของการที่ผู้เอาประกันภัยตัวเรือจะต้องตรวจเช็คสภาพเรือ ให้พร้อมก่อนออกเดินทาง หรือการเดินทางของเรือจะไม่ออกนอกเส้นทางการเดินเรือปกติ เป็นต้น เมื่อหลักของการแถลงข้อเท็จจริงต้องเป็นไปด้วยความสุจริตใจอย่างยิ่ง พบว่ากฎหมาย ของการประกันภัยในต่างประเทศ ได้มีการกาหนดเรื่องนี้ไว้เพื่อรักษาความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัยและ ผู้รับประกันภัย ซึ่งกฎหมายไทยก็ได้กาหนดเรื่องนี้ไว้เช่นกัน 2.3 ระยะเวลาในการบอกล้างสัญญา หลังจากที่ผู้เอาประกันได้ตกลงทาประกันภัยและ ผู้รับประกันภัยได้ตกลงรับทาประกันภัยแล้ว ต่อมาภายหลังผู้รับประกันภัยได้ตรวจพบหรือได้ทราบว่า ผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริงหรือแถลงข้อความเท็จ ซึ่งมิได้แสดงความสุจริตใจในการทาประกัน และ อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ ผู้รับประกันภัยสามารถบอกล้างสัญญาได้ภายในกาหนด ระยะเวลาที่กฎหมาย จะกาหนดแล้วแต่ว่าแต่ละประเทศจะกาหนดระยะเวลาบอกล้างเท่าใด ซึ่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ได้กาหนดระยะเวลาการบอกล้างไว้ดังนี้ ถ้ามิได้ใช้ สิทธิบอกล้างภายในกาหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบข้อมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือ มิได้ใช้สิทธินั้นภายในกาหนดห้าปี นับแต่วันทาสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นระงับสิ้นไป 2.3.1 ระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ผู้รับประกันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ผู้รับประกันภัยจะต้องรีบบอกล้างสัญญานั้นภายในระยะเวลา 1 เดือน โดยไม่คานึงถึงว่าวันที่ตรวจพบ หรือได้ทราบข้อมูลนั้นได้เกิดความเสียหายขึ้นหรือยัง ถึงแม้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็สามารถบอก ล้างได้เช่นกัน อย่างเช่นกรณีการประกันชีวิตบ่อยครั้งที่ผู้รับประกันภัยได้ทราบข้อมูลที่แท้จริงหลังจาก ผู้เอาประกันภัยได้เสียชีวิตลง ซึ่งถ้าผู้รับประกันภัยประสงค์จะบอกล้างสัญญาก็สามารถกระทาได้โดยต้อง บอกล้างภายในระยะเวลา 1 เดือน ถึงแม้เรื่องจะเกิดขึ้นแล้ว 2.3.2 ระยะเวลา 5 ปี เป็นระยะเวลาสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะมีสิทธิบอกล้างสัญญา ได้นับแต่วันเริ่มทาประกัน หลังจาก 5 ปีไปแล้วถึงแม้ว่าผู้รับประกันภัยจะทราบมูลที่แท้จริงก็ไม่สามารถ บอกล้างสัญญาได้ถือว่าสัญญานั้นสมบูรณ์ทุกอย่าง ที่มีการกาหนดระยะเวลาไว้เนื่องจากการประกันภัย บางประเภท เช่น การประกันชีวิตมักจะเป็นสัญญาระยะยาว 2.3.3 เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ เมื่อมีการบอกล้างสัญญาภายในระยะเวลา 5 ปี ตามที่กาหนดไว้ ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จะต้องคืนเงินส่วนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 892 กาหนดมูลค่าเงินที่จะคืนไว้ว่า กรณีบอกล้างสัญญาผู้รับประกันต้องคืนค่า ไถ่ถอนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาทของผู้นั้น ซึ่งค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ หมายถึง ค่าเบี้ยประกันที่ได้หักค่าใช้จ่ายออกมาแล้ว กล่าวคือ เมื่อผู้รับประกันได้บอกล้างสัญญาอันเกิดจาก
  • 11. 73 มาตรา 865 ผู้รับประกันภัยต้องคืนค่าเบี้ยประกันที่ได้เก็บมาแล้ว โดยยอมให้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นมาในระหว่างสัญญาได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับผู้รับประกันภัยจะระบุ เนื่องจากผู้รับประกันภัย แต่ละรายมีค่าใช้จ่ายในการทาสัญญาแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อยุติดังกล่าว แต่ก็พอใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติได้ 3. หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) เมื่อสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเพื่อการชดใช้ ดังนั้น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงเป็น พื้นฐานและหลักการที่สาคัญประการหนึ่งของสัญญาประกันภัยและให้บริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้ ดังนี้ 1. เพื่อจานวนวินาศภัยอันแท้จริง ซึ่งหมายถึงจานวนความเสียหายที่แท้จริง 2. เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตาม สมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย 3. เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้น มิให้วินาศ นอกจากหลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้นกฎหมายได้ระบุไว้ด้วยว่า จานวนหรือ ขนาดของวินาศภัยจะต้องตีราคา ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดวินาศภัย โดยสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจานวน เงินที่เอาประกันภัยนั้นเป็นการตีราคาจานวนเงินเอาประกันภัยที่ถูกต้อง แต่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจานวนเงินเอาประกันภัยนั้น ตัวอย่าง ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้ง อุปกรณ์ติดตั้งประจารถ เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือความสูญเสียเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลา ประกันภัย ต่อมานายสมนึก ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งได้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ โดยมีนาย สมพงษ์ เป็นผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าว และต่อมาได้เกิดอุบัติเหตุ นายสมพงษ์ได้รับบาดเจ็บไม่สามารถ ทางานได้ ดังนี้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย กรณีที่นายสมพงษ์ ผู้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวขาด รายได้ประจาวัน เพราะมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวรถและอุปกรณ์ แม้ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้ ดังกล่าวข้างต้น จะทาให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิดที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่เอาประกันภัย แต่สาหรับ การประกันภัยค้าจุน (Guarantee Insurance) ซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัย ตกลงว่าจะชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความเสียหายหรือวินาศภัยที่ เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นและ ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายนั้น เช่น การประกันภัยความรับผิด
  • 12. 74 ของผู้ขนส่ง ซึ่งผู้รับประกันภัยรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยสาหรับสินค้าที่ได้รับ ความเสียหายหรือสูญหายหรือส่งมอบล่าช้าอันเกิดจากความผิดของผู้ขนส่งที่ได้ทาประกันภัยไว้กับตน เป็นต้น การประกันภัยค้าจุนมีประเด็นสาคัญที่ผู้รับประกันภัยควรพิจารณา กล่าวคือ ถึงแม้ว่าผู้รับ ประกันภัยค้าจุนจะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว แต่ก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับ ผิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เว้นแต่ผู้รับประกันภัยสามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้เสียหายได้รับค่า สินไหมทดแทนนั้นจากผู้เอาประกันภัยแล้ว ดังนั้นตามตัวอย่างการประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง ข้างต้น ผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัย (ผู้ขนส่ง) ได้นาค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยไปชาระให้แก่เจ้าของสินค้า ด้วยเหตุนี้ กรมธรรม์ประกันภัยบางฉบับ เข่น กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่ง จึงกาหนดไว้ในกรมธรรม์ ประกันภัยให้ผู้รับประกันภัยมีสิทธิชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเรียกร้อง 3.1 หลักการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) การชดใช้ ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนจะใช้เฉพาะกรณีของการประกันวินาศภัยเท่านั้น เนื่องจากการประกัน ชีวิตเป็นสัญญาการกาหนดจานวนเงิน (Value Policy) ไว้แน่นอนตั้งแต่แรกของการทาประกัน โดยที่ ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยยอมตกลงที่จะรับประกันชีวิตของบุคคลนั้นตามฐานะทางเศรษฐกิจ และเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงและอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกรมธรรม์ที่จะจ่ายได้ ผู้รับประกันภัย จะต้องชดใช้เงินนั้นทั้งจานวน (Total Benefit) ให้กับผู้เอาประกันภัย โดยไม่มีการโต้แย้งกันว่าเมื่อผู้เอา ประกันเสียชีวิตลงความเสียหายจริงจะมีมูลค่าเท่าใด เนื่องจากความรับผิดชอบของผู้ประกันภัยได้ถูก กาหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว สาหรับการกาหนดเงื่อนไขการชดใช้ค่าเสียหายซึ่งได้มีการระบุไว้ในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 ว่าสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือ มรณะของบุคคลคนหนึ่ง และตามมาตรา 895 ได้กาหนดว่า เมื่อใดจะต้องใช้จานวนเงินในเหตุมรณะของ บุคคลคนหนึ่งคนใด ผู้รับประกันจาต้องใช้เงินนั้นเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น หมายความว่า การชดใช้ ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันชีวิตพิจารณาจากระยะเวลาการมีชีวิตและการ เสียชีวิตอยู่ของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลง เหตุที่สัญญาของการประกันวินาศภัยไม่ได้ใช้หลักการชดใช้ค่าเสียหายในลักษณะของสัญญาการกาหนด จานวนเงิน (Value Policy) นั้น เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอาจจะไม่ได้เป็นไปตามวงเงินที่ ทาประกันไว้ ตัวอย่าง นางสาวบี ทาประกันภัยความเสียหายของทรัพย์สินไว้เป็นจานวน 3,000,000 บาท ต่อมาเกิดความเสียหายบางส่วนคิดเป็นมูลค่าได้ 1,700,000 บาทเท่านั้น หากจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้
  • 13. 75 เท่ากับสัญญาการกาหนดจานวนเงิน (Value Policy) คือ 3,000,000 บาทเท่ากับว่ากับผู้เอาประกันภัย จะได้รับประโยชน์ส่วนเกินจากการทาประกันภัย ทาให้มีโอกาสจะเกิดภัยจากการขาดคุณธรรมของ ผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard) มากขึ้น ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการทาประกันภัย ในกรณีเช่นนี้ ความเสียหายจริงเพียง 1,700,00 บาท นางสาวบี ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทน เท่ากับ 1,700,000 บาทเท่านั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยนั้น จะจ่ายให้ตามความเสียหายที่แท้จริง (Actual Loss) และจานวนเงินนั้นจะต้องไม่เกินวงเงินที่ทาประกัน ไว้ตามที่กฎหมายกาหนด 3.2 การประกันทรัพย์สินในมูลค่าต่างกัน หลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยมากจะใช้กับ การประกันวินาศภัย แต่กรณีของการประกันทรัพย์สินมีลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับมูลค่าของทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยกับวงเงินที่ทาประกันภัยอาจจะเป็นคนละจานวนกัน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นค่าสินไหม ทดแทนที่จะได้รับจากผู้รับประกันภัยย่อมแตกต่างกันด้วย ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งมีมูลค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท ผู้เอาประกันภัยอาจขอทาประกัน เต็มมูลค่า 3,000,000 บาทหรือขอทาประกันเพียง 2,000,000 บาท เนื่องจากค่าเบี้ยประกันมีราคาสูง หรือขอเอาประกันภัยเป็นเงิน 3,500,000 บาท ด้วยเหตุที่ผู้เอาประกันภัยอาจไม่ทราบว่าราคาทรัพย์สินที่ แท้จริงมีมูลค่าเท่าใด หรือาจทราบมูลค่าที่แท้จริงแต่มีความตั้งใจที่จะทาประกันภัยเกินมูลค่าด้วยมีเจตนา อื่นแอบแฝงอยู่ จึงขอยกตัวอย่างการทาประกันภัยทรัพย์สิน ในวงเงินที่แตกต่างจากมูลค่าที่แท้จริงของ ทรัพย์สินดังนี้ วงเงินที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้จากผู้รับประกันภัยสามารถคานวณได้ ดังนี้ สมมติว่า ทรัพย์สินมีมูลค่าที่แท้จริง (Full Value) 3,000,000 บาท ต่อมาเกิดความ เสียหายขึ้น 2 กรณี คือ (1) ทรัพย์สินเสียหายทั้งหมด (Total Loss) (2) ทรัพย์สินเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) เป็นจานวน 2,000,000 บาท 3.2.1 คานวณการทาประกันภัยทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเท่ากับมูลค่าที่แท้จริงของ ทรัพย์สิน (Full Value) 3.2.1.1 กรณีเกิดความเสียหายทั้งหมด ค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับจะเป็น 3,000,000 บาท หรือคานวณได้ ดังนี้ มูลค่าที่ทาประกันภัย (Sum Insured) สินไหมทดแทน = X ความเสียหาย (Loss) มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Face Value)
  • 14. 76 3.2.1.2 กรณีเกิดความเสียหาย 2,000,000 ค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับจะ เท่ากับความเสียหายที่แท้จริง คือ 2,000,000 บาท หรือคานวณได้ดังนี้ 3.2.2 คานวณการทาประกันภัยทรัพย์สินที่เอาประกันภัยต่ากว่ามูลค่าที่แท้จริง (Underinsured) โดยสมมติว่าผู้เอาประกันภัยทาประกันภัยทรัพย์สินไว้เพียง 2,000,000 บาทจากมูล ค่าที่แท้จริง 3,000,000 บาท 3.2.2.1 เมื่อทรัพย์สินเกิดความเสียหายเพียง 2,000,000 บาท ผู้เอา ประกันภัย จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามจานวนความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ 2,000,000 บาท เนื่องจาก ผู้เอาประกันภัยชาระค่าเบี้ยประกันภัยน้อยกว่าการประกันภัยมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน หรือกล่าวอีก นัยหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนี้จะจ่ายเป็นไปตามสัดส่วนที่ผู้เอาประกันทาประกันไว้ คานวณได้ดังนี้ 3.2.2.2 ตัวอย่างการคานวณเมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน มูลค่าความ เสียหายเท่ากับ 1,000,000 บาท 3,000,000 สินไหมทดแทน = X 3,000,000 3,000,000 = 3,000,000 บาท 3,000,000 สินไหมทดแทน = X 2,000,000 3,000,000 = 2,000,000 บาท 2,000,000 สินไหมทดแทน = X 3,000,000 3,000,000 = 1,999,999.99 บาท หรือประมาณ 2,000,000 บาท 2,000,000 สินไหมทดแทน = X 1,000,000 3,000,000 = 666,666.67 บาท
  • 15. 77 โดยส่วนต่างที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบในความเสียหายเองมีมูลค่าประมาณ 333,333,34 บาท 3.2.3 คานวณกรณีการเอาประกันภัยทรัพย์สินเกินมูลค่าที่แท้จริง (Over insured) โดยสมมติว่าผู้เอาประกันภัยทาประกันภัยทรัพย์สินในราคา 3,500,000 บาท 3.2.3.1 เมื่อเกิดความเสียหายทั้งหมด ถือว่า ผู้เอาประกันภัยได้รับมีความ เสียหายจริงเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินนั้น ดังนั้นค่าสินไหมทดแทนจะเป็น 3,000,000 บาท เท่ากับความเสียหายจริง ถึงแม้ว่าเมื่อเข้าสูตรในการคานวณแล้วจะได้ผลออกมาเป็น 3,500,000 บาท ก็ตาม เพราะหากชดใช้ให้ 3,500,000 บาท จะทาให้ผู้เอาประกันได้ประโยชน์จากการทา ประกัน ทาให้โอกาสของการเกิดภัยที่เกิดจากการขาดคุณธรรมของผู้เอาประกันภัย (Moral Hazard) เป็นไปได้ง่าย 3.2.3.2 เมื่อเกิดความเสียหายบางส่วนเป็นเงิน 1,000,000 บาท ก็จะได้รับ ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับ 1,000,000 บาท ตามความเสียหายที่แท้จริงเช่นกัน ถึงแม้ว่าเมื่อใช้สูตร คานวณแล้วจะได้ 1,166,666.67 บาทก็ตาม จากตัวอย่าง 3.2.3.1 และ 3.2.3.2 นี้ จะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ใดเลยที่จะทา ประกันภัยทรัพย์สินเกินมูลค่าที่แท้จริง เพราะผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามความเป็นจริง เท่านั้น 3.3 วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน การจ่ายค่าสินไหมทดแทน ผู้รับประกันภัยอาจเลือก ดาเนินการตามวิธีการใดวิธีการหนึ่งจาก 4 วิธี ดังนี้ 3.3.1 การชาระคืนเป็นเงินสด (Cash) เป็นวิธีที่สะดวกและนิยมใช้มากที่สุดเนื่องจากเป็น วิธีที่ง่ายที่สุด หากสามารถประเมินราคาทรัพย์สินได้เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น กรณีการเกิดอุบัติเหตุ 3,500,000 สินไหมทดแทน = X 3,000,000 3,000,000 = 3,500,000 บาท 3,500,000 สินไหมทดแทน = X 1,000,000 3,000,000 = 1,166,666.67 บาท