SlideShare a Scribd company logo
1

                 เหตุแห่งการถวายพระสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย”
                   แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
                                                                       รศ.สุรพล ศรีบญทรง อดีตเลขาธิการ ปอมท.
                                                                                    ุ
            เป็นที่รับรู้กันในหมู่บุคลากรมหาวิทยาลัยไทยส่วนหนึ่งว่าที่
ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิท ยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
เป็นองค์กรที่มีบทบาทสําคัญในการผลักดันให้มีการถวายพระสมัญญา
“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลย
เดชวิ ก รม พ ระบร มราช ชนก โดย มี ต้ น เ รื่ อ งจากสํ า นั ก งา น
คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล1 จน
นําไปสู่มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และได้รับ
การประกาศในราชกิจจานุเบกษา2ในระยะเวลาต่อมา
            อย่ า งไรก็ ต าม มี เ พี ย งผู้ เ กี่ ย วข้ อ งใกล้ ชิ ด จํ า นวนไม่ กี่ ร าย
เท่านั้นที่จะได้รับทราบถึงลําดับความเป็นมาของเหตุแห่งการถวายพระ
สมัญญาฯ ดังกล่าว บางคนก็โทรศัพท์มาสอบถามผม ในฐานะที่เป็น
เลขาธิ การ ปอมท. มายาวนานถึ ง ๔ ปี 3 ว่ าการถวายพระสมัญ ญา
“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลย
เดชวิกรม พระบรมราชชนก นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ผมจึงได้คิดว่าน่าจะต้องเขียนบทความเพื่ออธิบายถึงความ
เป็นมาดังกล่าวในฐานะของบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และเกลือกว่าผมอาจจะหลงลืมไปในอนาคตเมื่อ
เหตุการณ์ผ่านไปนานๆ
            เรื่องราวทั้งหมดนั้นเริ่มเมื่อผมดํารงตําแหน่งเลขาธิการ ปอมท. ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ผมพบว่า
การทํางานประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ นั้นเป็นไปอย่างยากลําบาก ผู้คนมักมองว่าสภาคณาจารย์เป็นพวกฝ่าย
ค้านในมหาวิทยาลัย ผู้บริหารก็มักจะมองว่าสภาคณาจารย์เป็นพวกหัวแข็ง จึงได้ปรึกษากันกับเพื่อนๆ ว่าน่าจะ

1
   บันทึกที่ ศธ.๐๕๐๓(๓)/๔๕๔๙ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เรื่อง “การขอพระราชทานถวายพระสมัญญา ‘บิดาแห่งการ
อุดมศึกษาไทย’ แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “
2
   ราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ง หน้าที่ ๒๘-๒๙ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕
3
  ผู้เขียนเป็นเลขาธิการที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ตังแต่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐
                                                                                   ้
จนถึงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ผ่านการทํางานร่วมกับประธาน ปอมท. ๕ ท่าน ได้แก่ รศ.ดร. รัตนา สนั่นเมือง ดร. ไชยา
กุฎาคาร ผศ.ปฐม ปฐมธนพงศ์ ผศ.ดร. นพพร ลีปรีชานนท์ และ รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน เรียกได้ว่าเป็นเลขาธิการมายาวนาน
ที่สุดนับแต่มีการก่อตังที่ประประชุม ปอมท. ขึ้นมา
                      ้
2

สืบหาที่มาที่ไปของงานสภาคณาจารย์ในประเทศไทยว่ามีจุดกําเนิดและวัตถุประสงค์แรกตั้งในลักษณะเช่นไรกันแน่
ได้ไปพบเอกสารทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระ
บรมราชชนกทรงนําเสนอแนวความคิดเรื่องการมี “สภาซีเนท” ให้มีตัวแทนของบุคลากรหรือที่สมัยนี้เราเรียกว่า
สภาคณาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมบริหารมหาวิทยาลัยในเอกสารโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ทรงนําเสนอต่อรัฐบาล
ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ หรือเมื่อ ๗๑ ปีที่แล้ว
           ด้วยความศรัทธาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกว่าทรงมีความคิดก้าวไกล
มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย นําเสนอแนวทางบริหารมหาวิทยาลัยแบบโปร่งใสมีธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ประเทศไทยยัง
เป็นระบบสมบูรณายาสิทธิราช ผมจึงใช้เ วลาศึกษาค้นคว้าเอกสารและเรื่องราวของพระองค์ในที่ต่างๆ ไปเจอ
เอกสารหนังสือเก่าที่ไหนก็ซื้อเก็บเอาไว้ ไปเจอเหรียญกษาปณ์ หรือวัตถุที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระองค์ท่านก็พยายาม
ซื้อหาเอาไว้เก็บหรือเอาไว้แจกให้คนอื่นบ้างตามความเหมาะสม ยิ่งค้นคว้าข้อมูลประวัติของพระองค์ก็ยิ่งเกิดความ
ศรัท ธา จึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจออกเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ อาทิเช่น
เอกสารการประชุมวิชาการประจําปีของที่ประชุม ปอมท. เอกสารสรุปผลการดําเนินงานประจําปีของ ปอมท.
จดหมายข่าวสภาคณาจารย์ มจพ. วารสาร สออ.ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Journal) ฯลฯ
           ผนวกกับว่าทาง ปอมท. ได้เรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นที่ปรึกษา
และมาให้คําบรรยายแก่ที่ประชุมฯ ในหัวข้อ “ธรรมาภิบาลในอุดมศึกษา “ อาจารย์คุณหญิงสุมณฑา ท่านได้ยก
พระราชดําริของสมเด็จฯ พระบรมราชชนกที่ว่าด้วย “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ”4 มาเล่าให้
ที่ประชุมฯ ได้รับทราบ ซึ่งก็สร้างความศรัทธาแก่ที่ประชุมฯ ว่าทรงมีความลึกซึ้งในเรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่
วิธีการจั ดการศึกษามหาวิท ยาลัยในระดับ สากล และแนวคิ ดที่ ทรงประทานก็ยั งคงทัน สมัย อยู่ เสมอแม้ในกาล
ปัจจุบัน
           ผมได้เรียนอาจารย์คุณหญิงสุมณฑา ว่าผมกําลังค้นคว้าพระราชประวัติของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก
เห็นว่ารัฐบาลน่าจะถวายพระสมัญญา“องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” และจะรวบรวมเรียบเรียงเป็นหนังสือ
พระราชประวัติที่มีความครบถ้วนเป็นลําดับขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยขอให้อาจารย์คุณหญิงสุมณฑาช่วยเขียนคํานํา
ให้กับหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งท่านก็เห็นดีด้วย แต่เตือนให้ระมัดระวังความถูกต้องทั้งในเรื่องราชาศัพท์ และเรื่อง
ความถูกต้องของเอกสารหลักฐาน โดยแนะนําให้ผมไปพบ ศ.นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล ราชบัณฑิต ซึ่งเคยได้ร่วม
รับผิดชอบด้านเอกสารเมื่อคราวงานฉลองคล้ายวันสมโภช ๑๐๐ ปีของพระองค์ท่านในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ผมจึง
เดินทางไปปรึกษาหารือคุณหมออดุลย์ที่บ้านของท่านในซอยเรวดีอยู่ ๒ ครั้ง ซึ่งก็ได้รับความเมตตาให้คําแนะนํามา
อย่างมากมาย ให้ยืมเอกสารหายากบางเล่มมาศึกษา และแนะนําให้ผมเดินทางไปเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา


4
   จากบันทึกพระราชดําริ เรื่อง “การสํารวจการศึกษาเพื่อประกอบพระราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัย” และ “รายงานความเห็นเรื่องโครงการมหาวิทยาลัย”
ที่ทรงนําเสนอต่อรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔
3

เพื่อไปดูเอกสารและสิ่งสําคัญทางประวัติศาสตร์ของพระองค์ท่านด้วยตนเอง (ผมก็รับคําท่านอย่างดี แต่ผมไม่กล้า
เรียนท่านอาจารย์อดุลย์หรอกว่าผมไม่มีปัญญาจ่ายค่าเดินทางมากมายขนาดนั้นได้)
           นอกจากที่ปรึกษาสองท่านที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ก็ยังมีที่ปรึกษา ปอมท. อีกสามท่านที่ได้รับรู้เรื่องความ
พยายามให้มีการถวายพระสมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดช
วิกรม พระบรมราชชนก มาตั้งแต่ต้น คือ ศ. ระพี สาคริก (ประธาน ปอมท. ท่านแรก) ศ.ดร. อานนท์ บุณยะ
รัตเวช (อดีตเลขาธิการสภาวิจัย) ดร.สุเมธ แย้มนุ่น (อดีตเลขาธิการ สกอ.) โดยเฉพาะท่าน ดร.สุเมธ แย้มนุ่น
นั้นได้เมตตาสอบถามผมถึงเรื่องดังกล่าวทุกครั้งที่พบกัน รวมทั้งกรุณาเป็นต้นเรื่องนําเสนอบันทึกข้อเสนอให้มีการ
ถวายพระสมัญญา“บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในท้ายที่สุดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมได้รับการเตือนจากที่ปรึกษาทุกท่าน
ก็คือ ต้องระมัดระวังเรื่องความถูกต้องของเอกสารให้มาก
           การได้รับการสนับสนุนจากบรรดาที่ปรึกษาเหล่านี้นับเป็นกําลังใจให้ผมเดินหน้าทําเรื่องการถวายพระ
สมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนกต่อไป แต่ลําพังผมทําคงไม่ได้ผลหาก
ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประธาน ปอมท. ทั้ง ๕ ท่านที่ได้กรุณาสนับสนุนการทํางานในเรื่องนี้ในทุกๆ โอกาส
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผมและท่านประธาน ปอมท. ท่านที่ ๓๑ ผศ. ปฐม ปฐมธนพงศ์ ได้รับเชิญจากทีมงานของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ไปร่วมระดมสมองเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบ
๒ กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการที่หัวหิน และที่พัทยา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เราสองคนก็พยายามหา
โอกาสเท่าที่มีอยู่อย่างจํากัดนําเสนอต่อที่ประชุมว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ทรงมีแนวพระราชดํารัสและแนวการดํารงพระชนมชีพที่สอดคล้องกับการเป็นต้นแบบ (Role Model) ให้กับผู้ใฝ่
ในการศึกษาทุกคน การยกย่องเชิดชูพระองค์ท่านนั้นจะช่วยเสริมสร้างจิตสํานึกของความเป็นครูได้
           ต่อมา ในยุคของ ประธาน ปอมท. ท่านที่ ๓๒ ผศ.ดร. นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์นพพรได้กรุณา
ช่วยติดต่อพูดคุยถึงเหตุและผลในการถวายพระสมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิต
ลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พร้อมกับยื่นหนังสือบันทึกที่ ๕๒๕๓(๒)/๓๓ จาก ปอมท. แก่ท่าน
รัฐมนตรีช่ว ยว่ าการกระทรวงศึ กษาธิการ นายไชยยศ จิรเมธากร เพื่อให้มีการดํ าเนิ นการดังกล่า ว ซึ่ง ท่า น
รัฐมนตรี ก็เ ห็ นด้ ว ยและรั บ ปากที่ จะดํ าเนิ นการให้ ตามเสนอ แต่เ มื่ อมี การเปลี่ ย นแปลงคณะรัฐ มนตรีเ รื่ องราว
ดังกล่าวก็มีการหยุดชงักไปชั่วขณะ
           ในปีเดียวกันนั้นเอง ที่ผมทราบจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว ที่ผมเคารพศรัทธา
กําลังจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี และมีสุขภาพแข็งแรง สามารถให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวไทยรัฐได้ ผมจึงโทรศัพท์ติดต่อ
ขอนัดหมายสัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับเรื่องราวของสมเด็จพระมหิตลาธิเ บศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใน
ฐานะที่คุณหมอเสมเป็นศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชที่เกิดทันยุคของพระองค์ท่าน ในเบื้องต้นสุภาพสตรีที่รับโทรศัพท์ผม
ได้เรียนถามคุณหมอเสม และให้การตอบรับว่าจะให้สัมภาษณ์หลังจากผ่านพ้นช่วงสงกรานต์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม
4

เมื่อผมติดต่อไปอีกครั้งหลังสงกรานต์ ปรากฏว่าบุตรชายของท่านได้ปฏิเสธมาเนื่องจากสุขภาพท่านไม่ค่อยแข็งแรง
อยากให้ท่านได้มีโอกาสพักผ่อนบ้าง การสัมภาษณ์ครั้งนี้จึงต้องจบไปอย่างน่าเสียดาย
              การถวายพระสมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก มาเริ่มดําเนินการต่อในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ในยุคของประธาน ปอมท. ท่านที่ ๓๓ รศ. ทวีศักดิ์ สูท
กวาทิน ซึ่งก็มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก เมื่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ได้มีคําสั่งที่ ๑๖/๒๕๕๓
แต่ ง ตั้ ง อนุ ก รรมการดํ า เนิ น การน้ อ มเกล้ า น้ อ มกระหม่ อ มถวายสมั ญ ญาแด่ ส มเด็ จ ฯ พระบรมราชชนก ซึ่ ง มี
เลขาธิ การ สกอ. เป็ นประธานอนุ กรรมการฯ มี เ ลขาธิก ารสภาการศึ กษาเป็ นรองประธานฯ มีตั ว แทนจาก
อธิการบดี ตัวแทนจากราชบัณฑิตยสถาน ตลอดจนมีประธาน ปอมท. เป็นอนุกรรมการโดยตําแหน่งด้วยในฐานะ
ที่ ปอมท. เป็นต้นเรื่อง นอกจากอนุกรรมการโดยตําแหน่งแล้วยังมี ศ.สุมน อมรวิวัฒน์ และศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์
สุ วรรณ เป็ นอนุ กรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ และต่ อ มาได้มี คํา สั่ ง ลงวั นที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ แต่ ง ตั้ ง ผมเป็ น
อนุกรรมการเพิ่มเติมในฐานะผู้ศึกษาค้นคว้าพระราชประวัติในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการอุดมศึกษา
              ในการนําเสนอข้อมูลให้แก่ที่ประชุมอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญา
แด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนกครั้งแรกนั้น เมื่อ ดร.มัทนา สานติวัตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับทราบ
ถึงความล้มเหลวในการติดต่อขอสัมภาษณ์ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ก็เสนอตัวว่าท่านจะช่วยไปสัมภาษณ์ให้เอง
เนื่องจากครอบครัวของท่านอธิการบดีสนิทกับครอบครัวของคุณหมอเสม5 ผมได้นําเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมมา
พร้อมข้อเสนอให้ใช้สมัญญา “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” โดยยึดตามพระวินิจฉัยของสมเด็จพระเจ้าพี่นาง
เธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ที่ได้ทรงรับสั่งให้ใช้คําว่า “องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” ในคราวที่บรรดาอาจารย์
สถาบันการศึกษาทางสาธารณสุขมีมติพร้อมเพรียงในความประสงค์ขอพระราชทานพระสมัญญา “พระบิดาแห่ง
การสาธารณสุขไทย” แด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนกในปี พ.ศ. ๒๕๓๖
              สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงอธิบายเหตุผลแห่งการเปลี่ยนคํา โดยการยกตัวอย่าง
เปรียบเทียบไว้ดังนี้ คือ สําหรับพระสงฆ์จะใช้คําว่า "พระ" นําคําว่า "อาจารย์" เสมอไป เช่น "พระอาจารย์ฝั้น"
"พระอาจารย์มั่น" ศิษย์จะเป็นใครก็ตาม สําหรับฆราวาสนั้นจะเป็นพระอาจารย์เพียงเมื่อศิษย์เป็นเจ้าเช่น นาย ก
เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระเทพรัตนฯ แต่สมเด็จพระเทพรัตนฯ มิได้ทรงเป็นพระอาจารย์ของนักเรียนนายร้อย
เพราะนัก เรี ยนนายร้ อ ยไม่ ไ ด้เ ป็ นเจ้ า เห็ นเขาเรี ยกกั น ว่า "ทู ลกระหม่ อ มอาจารย์ " ด้ ว ยหลัก เกณฑ์เ ดี ยวกั น
การแพทย์หรือการสาธารณสุขไม่ได้เป็นเจ้า ก็ไม่น่าจะใช้คําว่า "พระบิดา" แต่บิดาเป็นเจ้าจึงเสนอให้ใช้คําว่า "องค์
บิดา" ดังที่ใช้ว่า "องค์อุปถัมภ์" หรือ "องค์ประธาน" ไม่ได้ใช้คําว่า "พระอุปถัมภ์" หรือ "พระประธาน" อย่างไรก็
ตาม เมื่อผมได้นําเสนอข้อคิดดังกล่าวในการประชุมของคณะอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม


5
 น่าเสียดายว่าการสัมภาษณ์ ศ.นพ.เสม พริงพวงแก้ว ไม่สามารถกระทําได้เนื่องจากคุณหมอเสมได้ถงอนิจกรรมเสียก่อนในวัย
                                      ้                                                ึ
๑๐๐ ปี
5

ถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จพระบรมราชชนก ก็ได้รับการท้วงติงถึงการใช้คําว่า “องค์บิดา...” จากผู้ทรงคุณวุฒิ
จากราชบัณฑิตยสถาน
               คณะอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก
ได้ สรุ ปว่ า ควรใช้พ ระสมัญ ญา “บิ ด าแห่ง การอุ ดมศึก ษาไทย” พร้ อ มกับ มอบหมายให้ ผ มไปค้ นคว้ า หาข้ อ มู ล
เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านอุดมศึกษาของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเพิ่มเติมที่
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ โดย ศ. สุมน อมรวิวัฒน์ ได้เมตตามอบสําเนาหนังสือ “ปรีชาญานสยาม” ที่ท่านได้เคย
ค้นคว้าเรียบเรียงเกี่ยวกับผลงานด้านการศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ของของสมเด็จฯ พระบรม
ราชชนก มาเป็นแนวทางในการค้นคว้าด้วย
              ผมจึงได้ใช้เวลาสองเดือนในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ไปกับการค้นคว้าเอกสารประเภท
ไมโครฟิล์มอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติก่อนจะสรุปเป็นเอกสารชื่อว่า “เหตุอันควรถวายพระสมัญญา‘บิดาแห่ง
การอุ ด มศึ ก ษาไทย’ แด่ ส มเด็ จ พระมหิ ต ลาธิ เ บศรอดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก” เพื่ อ นํ า เสนอต่ อ
คณะอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก อีกครั้งใน
วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ คราวนี้ ที่ประชุมเห็นว่าเอกสารมีความพร้อมเหมาะสมดีแล้วจึงให้ดําเนินการ
ต่ อ ไปโดยท่ า นศาสตราจารย์ ( พิ เ ศษ) ธงทอง จั น ทรางศุ 6 เลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษาในขณะนั้ น ได้ ก รุ ณ าให้
ข้อเสนอแนะเรื่องระเบียบพิธีการต่างๆ ในการผ่านเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรีและคําแนะนําอันทรงคุณค่าไว้อย่าง
มากมายให้แก่ที่ประชุม
              และที่น่าจะต้องบันทึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจอีกอย่างคือ เอกสาร “เหตุอันควรถวายพระสมัญญา“บิดา
แห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ที่ผมได้จัดทําขึ้นนั้นได้
ถูกนําไปใช้เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ และข้อความที่ใช้ใน
เอกสารก็ได้รับการนําไปอ้างประกอบเหตุผลในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และในประกาศของราชกิจจา
นุเบกษา ผมรู้สึกตื้นตันใจมากเมื่อได้รับทราบมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว และคิดว่าเพื่อนๆ ปอมท. ทุกคนที่ได้
ร่วมผลักดันภารกิจนี้มากับผมตลอดระยะเวลา ๔ ปี ก็น่าจะได้มีความภาคภูมิใจในภารกิจดังกล่าวด้วยกันทุกคน
              นอกเหนือกว่านั้น ผมหวังว่าการถวายพระสมัญญาครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า
ของการเรียนรู้อย่างทุ่มเทตามรอยพระราชจริยาวัตรของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราช
ชนก อันจะนําไปสู่การติดตั้งรูปบูชาของพระองค์คู่ไปกับรูปเคารพอื่นๆ ในบ้านเรือนของประชาชน เพื่อที่พ่อแม่
จะได้บอกเล่าให้บุตรหลานของของตนได้รับรู้ถึงพระราชประวัติ เล่าให้เด็กๆ ได้รู้ถึงคุณค่าพื้นฐานที่สําคัญของ
มนุษย์ซึ่งทรงแสดงให้สังคมได้ประจักษ์ไม่ว่าจะเป็นการรักใคร่กตัญญูต่อบุพการี การเสียสละทุ่มเทเพื่อสังคมและ



6
    ปัจจุบัน ศาสตราจารย์(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ ดํารงตําแหน่งปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
6

ประเทศชาติ ความขยันใฝ่ใจในการเรียนรู้อย่างทุ่มเท การสอนและถ่ายทอดความรู้แก่ชนรุ่นหลังอย่างยากจะหา
ครูคนใดมาเสมอ ตลอดจนจิตใจอันเป็นประชาธิปไตยที่แสดงออกให้เห็นได้อย่างชัดเจน ฯลฯ

หมายเหตุ ผู้อ่านบทความนี้อาจจะสับสนว่าควรจะใช้คําว่า “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษา” “บิดาแห่งการ
อุดมศึกษา” หรือ “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” ดี คําตอบคือ “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” เพราะหลังจากที่
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกับพระสมัญญา “บิดาแห่งการอุดมศึกษา” ไปแล้วในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕
ตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.๐๕๐๘/ว๑๖ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ได้มีการอ้างถึง
บันทึกด่วนที่สุดจากราชบัณฑิตยสถานที่ รถ ๐๐๐๔/๑๔ ลงวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ เห็นควรให้ใช้พระ
สมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” เนื่องจากเป็นพระราชนิยม เพราะฉนั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับที่ ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ง หน้าที่ ๒๘-๒๙ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีจึงปรากฏ
พระสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา”
7
8
9
10

More Related Content

What's hot

ปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิตปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิต
Padvee Academy
 
ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)
ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)
ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)
Padvee Academy
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาวัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนาศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนาpentanino
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
Padvee Academy
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนาวัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
Padvee Academy
 
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้นบทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
Gawewat Dechaapinun
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชน
Padvee Academy
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1วรรณา ไชยศรี
 
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
Padvee Academy
 
ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2Krusangworn
 
ศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนาศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนาpentanino
 
พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1
wanpenrd
 
ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2kuraek1530
 

What's hot (20)

ปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิตปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิต
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 
ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)
ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)
ปรัชญาทั่วไป ตอนทฤษฎีความรู้ (ญาณวิทยา)
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
 
ข้อสอบO-NET
ข้อสอบO-NETข้อสอบO-NET
ข้อสอบO-NET
 
ศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนาศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องหนี้ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนา
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
สส
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
 
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้นบทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
บทที่ 1 ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาเทววิทยาเบื้องต้น
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชน
 
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
การนับเวลาทางประวัติศาสตร์.1
 
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
 
ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2
 
ศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนาศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนา
ศึกษาเรื่องกรรมในทางพระพุทธศาสนา
 
พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1พุทธประวัติ 1
พุทธประวัติ 1
 
ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2
 

Similar to เหตุแห่งการถวายสมัญญา

หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
สุรพล ศรีบุญทรง
 
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
เตชะชิน เก้าเดือนยี่
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
Ning Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชNing Rommanee
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Net'Net Zii
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกchaichaichaiyoyoyo
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
Panda Jing
 
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลาEbook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลาPanda Jing
 
Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Kasem S. Mcu
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีท
การวางแผนการจัดการเรียนรู้  วิชาพระพุทธศาสนา  ชั้นมัธยมศึกษาปีทการวางแผนการจัดการเรียนรู้  วิชาพระพุทธศาสนา  ชั้นมัธยมศึกษาปีท
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีทkroobannakakok
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2sangworn
 

Similar to เหตุแห่งการถวายสมัญญา (20)

ทิพาพร บุญพา 5/4
ทิพาพร บุญพา 5/4ทิพาพร บุญพา 5/4
ทิพาพร บุญพา 5/4
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
 
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
ประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวกประวัติพุทธสาวก
ประวัติพุทธสาวก
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลาEbook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
Ebook ดาไลลามะ สนทนาธรรมกับคนไทยที่ธรรมศาลา
 
Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
 
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีท
การวางแผนการจัดการเรียนรู้  วิชาพระพุทธศาสนา  ชั้นมัธยมศึกษาปีทการวางแผนการจัดการเรียนรู้  วิชาพระพุทธศาสนา  ชั้นมัธยมศึกษาปีท
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีท
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
สุรพล ศรีบุญทรง
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
สุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
สุรพล ศรีบุญทรง
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
สุรพล ศรีบุญทรง
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
สุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
สุรพล ศรีบุญทรง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
สุรพล ศรีบุญทรง
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
สุรพล ศรีบุญทรง
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
สุรพล ศรีบุญทรง
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
สุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 

Recently uploaded

ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdfรายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
NitayataNuansri
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 

Recently uploaded (9)

ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdfรายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 

เหตุแห่งการถวายสมัญญา

  • 1. 1 เหตุแห่งการถวายพระสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก รศ.สุรพล ศรีบญทรง อดีตเลขาธิการ ปอมท. ุ เป็นที่รับรู้กันในหมู่บุคลากรมหาวิทยาลัยไทยส่วนหนึ่งว่าที่ ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิท ยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) เป็นองค์กรที่มีบทบาทสําคัญในการผลักดันให้มีการถวายพระสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลย เดชวิ ก รม พ ระบร มราช ชนก โดย มี ต้ น เ รื่ อ งจากสํ า นั ก งา น คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล1 จน นําไปสู่มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และได้รับ การประกาศในราชกิจจานุเบกษา2ในระยะเวลาต่อมา อย่ า งไรก็ ต าม มี เ พี ย งผู้ เ กี่ ย วข้ อ งใกล้ ชิ ด จํ า นวนไม่ กี่ ร าย เท่านั้นที่จะได้รับทราบถึงลําดับความเป็นมาของเหตุแห่งการถวายพระ สมัญญาฯ ดังกล่าว บางคนก็โทรศัพท์มาสอบถามผม ในฐานะที่เป็น เลขาธิ การ ปอมท. มายาวนานถึ ง ๔ ปี 3 ว่ าการถวายพระสมัญ ญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลย เดชวิกรม พระบรมราชชนก นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ผมจึงได้คิดว่าน่าจะต้องเขียนบทความเพื่ออธิบายถึงความ เป็นมาดังกล่าวในฐานะของบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และเกลือกว่าผมอาจจะหลงลืมไปในอนาคตเมื่อ เหตุการณ์ผ่านไปนานๆ เรื่องราวทั้งหมดนั้นเริ่มเมื่อผมดํารงตําแหน่งเลขาธิการ ปอมท. ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ผมพบว่า การทํางานประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ นั้นเป็นไปอย่างยากลําบาก ผู้คนมักมองว่าสภาคณาจารย์เป็นพวกฝ่าย ค้านในมหาวิทยาลัย ผู้บริหารก็มักจะมองว่าสภาคณาจารย์เป็นพวกหัวแข็ง จึงได้ปรึกษากันกับเพื่อนๆ ว่าน่าจะ 1 บันทึกที่ ศธ.๐๕๐๓(๓)/๔๕๔๙ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เรื่อง “การขอพระราชทานถวายพระสมัญญา ‘บิดาแห่งการ อุดมศึกษาไทย’ แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “ 2 ราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ง หน้าที่ ๒๘-๒๙ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ 3 ผู้เขียนเป็นเลขาธิการที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ตังแต่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ้ จนถึงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ผ่านการทํางานร่วมกับประธาน ปอมท. ๕ ท่าน ได้แก่ รศ.ดร. รัตนา สนั่นเมือง ดร. ไชยา กุฎาคาร ผศ.ปฐม ปฐมธนพงศ์ ผศ.ดร. นพพร ลีปรีชานนท์ และ รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน เรียกได้ว่าเป็นเลขาธิการมายาวนาน ที่สุดนับแต่มีการก่อตังที่ประประชุม ปอมท. ขึ้นมา ้
  • 2. 2 สืบหาที่มาที่ไปของงานสภาคณาจารย์ในประเทศไทยว่ามีจุดกําเนิดและวัตถุประสงค์แรกตั้งในลักษณะเช่นไรกันแน่ ได้ไปพบเอกสารทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระ บรมราชชนกทรงนําเสนอแนวความคิดเรื่องการมี “สภาซีเนท” ให้มีตัวแทนของบุคลากรหรือที่สมัยนี้เราเรียกว่า สภาคณาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมบริหารมหาวิทยาลัยในเอกสารโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ทรงนําเสนอต่อรัฐบาล ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ หรือเมื่อ ๗๑ ปีที่แล้ว ด้วยความศรัทธาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกว่าทรงมีความคิดก้าวไกล มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย นําเสนอแนวทางบริหารมหาวิทยาลัยแบบโปร่งใสมีธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ประเทศไทยยัง เป็นระบบสมบูรณายาสิทธิราช ผมจึงใช้เ วลาศึกษาค้นคว้าเอกสารและเรื่องราวของพระองค์ในที่ต่างๆ ไปเจอ เอกสารหนังสือเก่าที่ไหนก็ซื้อเก็บเอาไว้ ไปเจอเหรียญกษาปณ์ หรือวัตถุที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระองค์ท่านก็พยายาม ซื้อหาเอาไว้เก็บหรือเอาไว้แจกให้คนอื่นบ้างตามความเหมาะสม ยิ่งค้นคว้าข้อมูลประวัติของพระองค์ก็ยิ่งเกิดความ ศรัท ธา จึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจออกเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ อาทิเช่น เอกสารการประชุมวิชาการประจําปีของที่ประชุม ปอมท. เอกสารสรุปผลการดําเนินงานประจําปีของ ปอมท. จดหมายข่าวสภาคณาจารย์ มจพ. วารสาร สออ.ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Journal) ฯลฯ ผนวกกับว่าทาง ปอมท. ได้เรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นที่ปรึกษา และมาให้คําบรรยายแก่ที่ประชุมฯ ในหัวข้อ “ธรรมาภิบาลในอุดมศึกษา “ อาจารย์คุณหญิงสุมณฑา ท่านได้ยก พระราชดําริของสมเด็จฯ พระบรมราชชนกที่ว่าด้วย “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ”4 มาเล่าให้ ที่ประชุมฯ ได้รับทราบ ซึ่งก็สร้างความศรัทธาแก่ที่ประชุมฯ ว่าทรงมีความลึกซึ้งในเรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่ วิธีการจั ดการศึกษามหาวิท ยาลัยในระดับ สากล และแนวคิ ดที่ ทรงประทานก็ยั งคงทัน สมัย อยู่ เสมอแม้ในกาล ปัจจุบัน ผมได้เรียนอาจารย์คุณหญิงสุมณฑา ว่าผมกําลังค้นคว้าพระราชประวัติของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก เห็นว่ารัฐบาลน่าจะถวายพระสมัญญา“องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” และจะรวบรวมเรียบเรียงเป็นหนังสือ พระราชประวัติที่มีความครบถ้วนเป็นลําดับขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยขอให้อาจารย์คุณหญิงสุมณฑาช่วยเขียนคํานํา ให้กับหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งท่านก็เห็นดีด้วย แต่เตือนให้ระมัดระวังความถูกต้องทั้งในเรื่องราชาศัพท์ และเรื่อง ความถูกต้องของเอกสารหลักฐาน โดยแนะนําให้ผมไปพบ ศ.นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล ราชบัณฑิต ซึ่งเคยได้ร่วม รับผิดชอบด้านเอกสารเมื่อคราวงานฉลองคล้ายวันสมโภช ๑๐๐ ปีของพระองค์ท่านในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ผมจึง เดินทางไปปรึกษาหารือคุณหมออดุลย์ที่บ้านของท่านในซอยเรวดีอยู่ ๒ ครั้ง ซึ่งก็ได้รับความเมตตาให้คําแนะนํามา อย่างมากมาย ให้ยืมเอกสารหายากบางเล่มมาศึกษา และแนะนําให้ผมเดินทางไปเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา 4 จากบันทึกพระราชดําริ เรื่อง “การสํารวจการศึกษาเพื่อประกอบพระราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัย” และ “รายงานความเห็นเรื่องโครงการมหาวิทยาลัย” ที่ทรงนําเสนอต่อรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔
  • 3. 3 เพื่อไปดูเอกสารและสิ่งสําคัญทางประวัติศาสตร์ของพระองค์ท่านด้วยตนเอง (ผมก็รับคําท่านอย่างดี แต่ผมไม่กล้า เรียนท่านอาจารย์อดุลย์หรอกว่าผมไม่มีปัญญาจ่ายค่าเดินทางมากมายขนาดนั้นได้) นอกจากที่ปรึกษาสองท่านที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ก็ยังมีที่ปรึกษา ปอมท. อีกสามท่านที่ได้รับรู้เรื่องความ พยายามให้มีการถวายพระสมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก มาตั้งแต่ต้น คือ ศ. ระพี สาคริก (ประธาน ปอมท. ท่านแรก) ศ.ดร. อานนท์ บุณยะ รัตเวช (อดีตเลขาธิการสภาวิจัย) ดร.สุเมธ แย้มนุ่น (อดีตเลขาธิการ สกอ.) โดยเฉพาะท่าน ดร.สุเมธ แย้มนุ่น นั้นได้เมตตาสอบถามผมถึงเรื่องดังกล่าวทุกครั้งที่พบกัน รวมทั้งกรุณาเป็นต้นเรื่องนําเสนอบันทึกข้อเสนอให้มีการ ถวายพระสมัญญา“บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในท้ายที่สุดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมได้รับการเตือนจากที่ปรึกษาทุกท่าน ก็คือ ต้องระมัดระวังเรื่องความถูกต้องของเอกสารให้มาก การได้รับการสนับสนุนจากบรรดาที่ปรึกษาเหล่านี้นับเป็นกําลังใจให้ผมเดินหน้าทําเรื่องการถวายพระ สมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนกต่อไป แต่ลําพังผมทําคงไม่ได้ผลหาก ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประธาน ปอมท. ทั้ง ๕ ท่านที่ได้กรุณาสนับสนุนการทํางานในเรื่องนี้ในทุกๆ โอกาส ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผมและท่านประธาน ปอมท. ท่านที่ ๓๑ ผศ. ปฐม ปฐมธนพงศ์ ได้รับเชิญจากทีมงานของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ไปร่วมระดมสมองเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการที่หัวหิน และที่พัทยา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เราสองคนก็พยายามหา โอกาสเท่าที่มีอยู่อย่างจํากัดนําเสนอต่อที่ประชุมว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีแนวพระราชดํารัสและแนวการดํารงพระชนมชีพที่สอดคล้องกับการเป็นต้นแบบ (Role Model) ให้กับผู้ใฝ่ ในการศึกษาทุกคน การยกย่องเชิดชูพระองค์ท่านนั้นจะช่วยเสริมสร้างจิตสํานึกของความเป็นครูได้ ต่อมา ในยุคของ ประธาน ปอมท. ท่านที่ ๓๒ ผศ.ดร. นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์นพพรได้กรุณา ช่วยติดต่อพูดคุยถึงเหตุและผลในการถวายพระสมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิต ลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พร้อมกับยื่นหนังสือบันทึกที่ ๕๒๕๓(๒)/๓๓ จาก ปอมท. แก่ท่าน รัฐมนตรีช่ว ยว่ าการกระทรวงศึ กษาธิการ นายไชยยศ จิรเมธากร เพื่อให้มีการดํ าเนิ นการดังกล่า ว ซึ่ง ท่า น รัฐมนตรี ก็เ ห็ นด้ ว ยและรั บ ปากที่ จะดํ าเนิ นการให้ ตามเสนอ แต่เ มื่ อมี การเปลี่ ย นแปลงคณะรัฐ มนตรีเ รื่ องราว ดังกล่าวก็มีการหยุดชงักไปชั่วขณะ ในปีเดียวกันนั้นเอง ที่ผมทราบจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว ที่ผมเคารพศรัทธา กําลังจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี และมีสุขภาพแข็งแรง สามารถให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวไทยรัฐได้ ผมจึงโทรศัพท์ติดต่อ ขอนัดหมายสัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับเรื่องราวของสมเด็จพระมหิตลาธิเ บศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใน ฐานะที่คุณหมอเสมเป็นศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชที่เกิดทันยุคของพระองค์ท่าน ในเบื้องต้นสุภาพสตรีที่รับโทรศัพท์ผม ได้เรียนถามคุณหมอเสม และให้การตอบรับว่าจะให้สัมภาษณ์หลังจากผ่านพ้นช่วงสงกรานต์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม
  • 4. 4 เมื่อผมติดต่อไปอีกครั้งหลังสงกรานต์ ปรากฏว่าบุตรชายของท่านได้ปฏิเสธมาเนื่องจากสุขภาพท่านไม่ค่อยแข็งแรง อยากให้ท่านได้มีโอกาสพักผ่อนบ้าง การสัมภาษณ์ครั้งนี้จึงต้องจบไปอย่างน่าเสียดาย การถวายพระสมัญญา“พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มาเริ่มดําเนินการต่อในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ในยุคของประธาน ปอมท. ท่านที่ ๓๓ รศ. ทวีศักดิ์ สูท กวาทิน ซึ่งก็มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก เมื่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ได้มีคําสั่งที่ ๑๖/๒๕๕๓ แต่ ง ตั้ ง อนุ ก รรมการดํ า เนิ น การน้ อ มเกล้ า น้ อ มกระหม่ อ มถวายสมั ญ ญาแด่ ส มเด็ จ ฯ พระบรมราชชนก ซึ่ ง มี เลขาธิ การ สกอ. เป็ นประธานอนุ กรรมการฯ มี เ ลขาธิก ารสภาการศึ กษาเป็ นรองประธานฯ มีตั ว แทนจาก อธิการบดี ตัวแทนจากราชบัณฑิตยสถาน ตลอดจนมีประธาน ปอมท. เป็นอนุกรรมการโดยตําแหน่งด้วยในฐานะ ที่ ปอมท. เป็นต้นเรื่อง นอกจากอนุกรรมการโดยตําแหน่งแล้วยังมี ศ.สุมน อมรวิวัฒน์ และศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์ สุ วรรณ เป็ นอนุ กรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ และต่ อ มาได้มี คํา สั่ ง ลงวั นที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ แต่ ง ตั้ ง ผมเป็ น อนุกรรมการเพิ่มเติมในฐานะผู้ศึกษาค้นคว้าพระราชประวัติในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการอุดมศึกษา ในการนําเสนอข้อมูลให้แก่ที่ประชุมอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญา แด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนกครั้งแรกนั้น เมื่อ ดร.มัทนา สานติวัตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับทราบ ถึงความล้มเหลวในการติดต่อขอสัมภาษณ์ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ก็เสนอตัวว่าท่านจะช่วยไปสัมภาษณ์ให้เอง เนื่องจากครอบครัวของท่านอธิการบดีสนิทกับครอบครัวของคุณหมอเสม5 ผมได้นําเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมมา พร้อมข้อเสนอให้ใช้สมัญญา “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” โดยยึดตามพระวินิจฉัยของสมเด็จพระเจ้าพี่นาง เธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ที่ได้ทรงรับสั่งให้ใช้คําว่า “องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” ในคราวที่บรรดาอาจารย์ สถาบันการศึกษาทางสาธารณสุขมีมติพร้อมเพรียงในความประสงค์ขอพระราชทานพระสมัญญา “พระบิดาแห่ง การสาธารณสุขไทย” แด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนกในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงอธิบายเหตุผลแห่งการเปลี่ยนคํา โดยการยกตัวอย่าง เปรียบเทียบไว้ดังนี้ คือ สําหรับพระสงฆ์จะใช้คําว่า "พระ" นําคําว่า "อาจารย์" เสมอไป เช่น "พระอาจารย์ฝั้น" "พระอาจารย์มั่น" ศิษย์จะเป็นใครก็ตาม สําหรับฆราวาสนั้นจะเป็นพระอาจารย์เพียงเมื่อศิษย์เป็นเจ้าเช่น นาย ก เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระเทพรัตนฯ แต่สมเด็จพระเทพรัตนฯ มิได้ทรงเป็นพระอาจารย์ของนักเรียนนายร้อย เพราะนัก เรี ยนนายร้ อ ยไม่ ไ ด้เ ป็ นเจ้ า เห็ นเขาเรี ยกกั น ว่า "ทู ลกระหม่ อ มอาจารย์ " ด้ ว ยหลัก เกณฑ์เ ดี ยวกั น การแพทย์หรือการสาธารณสุขไม่ได้เป็นเจ้า ก็ไม่น่าจะใช้คําว่า "พระบิดา" แต่บิดาเป็นเจ้าจึงเสนอให้ใช้คําว่า "องค์ บิดา" ดังที่ใช้ว่า "องค์อุปถัมภ์" หรือ "องค์ประธาน" ไม่ได้ใช้คําว่า "พระอุปถัมภ์" หรือ "พระประธาน" อย่างไรก็ ตาม เมื่อผมได้นําเสนอข้อคิดดังกล่าวในการประชุมของคณะอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม 5 น่าเสียดายว่าการสัมภาษณ์ ศ.นพ.เสม พริงพวงแก้ว ไม่สามารถกระทําได้เนื่องจากคุณหมอเสมได้ถงอนิจกรรมเสียก่อนในวัย ้ ึ ๑๐๐ ปี
  • 5. 5 ถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จพระบรมราชชนก ก็ได้รับการท้วงติงถึงการใช้คําว่า “องค์บิดา...” จากผู้ทรงคุณวุฒิ จากราชบัณฑิตยสถาน คณะอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ได้ สรุ ปว่ า ควรใช้พ ระสมัญ ญา “บิ ด าแห่ง การอุ ดมศึก ษาไทย” พร้ อ มกับ มอบหมายให้ ผ มไปค้ นคว้ า หาข้ อ มู ล เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านอุดมศึกษาของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเพิ่มเติมที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ โดย ศ. สุมน อมรวิวัฒน์ ได้เมตตามอบสําเนาหนังสือ “ปรีชาญานสยาม” ที่ท่านได้เคย ค้นคว้าเรียบเรียงเกี่ยวกับผลงานด้านการศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ของของสมเด็จฯ พระบรม ราชชนก มาเป็นแนวทางในการค้นคว้าด้วย ผมจึงได้ใช้เวลาสองเดือนในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ไปกับการค้นคว้าเอกสารประเภท ไมโครฟิล์มอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติก่อนจะสรุปเป็นเอกสารชื่อว่า “เหตุอันควรถวายพระสมัญญา‘บิดาแห่ง การอุ ด มศึ ก ษาไทย’ แด่ ส มเด็ จ พระมหิ ต ลาธิ เ บศรอดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก” เพื่ อ นํ า เสนอต่ อ คณะอนุกรรมการดําเนินการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระสมัญญาแด่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก อีกครั้งใน วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ คราวนี้ ที่ประชุมเห็นว่าเอกสารมีความพร้อมเหมาะสมดีแล้วจึงให้ดําเนินการ ต่ อ ไปโดยท่ า นศาสตราจารย์ ( พิ เ ศษ) ธงทอง จั น ทรางศุ 6 เลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษาในขณะนั้ น ได้ ก รุ ณ าให้ ข้อเสนอแนะเรื่องระเบียบพิธีการต่างๆ ในการผ่านเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรีและคําแนะนําอันทรงคุณค่าไว้อย่าง มากมายให้แก่ที่ประชุม และที่น่าจะต้องบันทึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจอีกอย่างคือ เอกสาร “เหตุอันควรถวายพระสมัญญา“บิดา แห่งการอุดมศึกษาไทย” แด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ที่ผมได้จัดทําขึ้นนั้นได้ ถูกนําไปใช้เป็นเอกสารประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ และข้อความที่ใช้ใน เอกสารก็ได้รับการนําไปอ้างประกอบเหตุผลในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และในประกาศของราชกิจจา นุเบกษา ผมรู้สึกตื้นตันใจมากเมื่อได้รับทราบมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว และคิดว่าเพื่อนๆ ปอมท. ทุกคนที่ได้ ร่วมผลักดันภารกิจนี้มากับผมตลอดระยะเวลา ๔ ปี ก็น่าจะได้มีความภาคภูมิใจในภารกิจดังกล่าวด้วยกันทุกคน นอกเหนือกว่านั้น ผมหวังว่าการถวายพระสมัญญาครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า ของการเรียนรู้อย่างทุ่มเทตามรอยพระราชจริยาวัตรของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราช ชนก อันจะนําไปสู่การติดตั้งรูปบูชาของพระองค์คู่ไปกับรูปเคารพอื่นๆ ในบ้านเรือนของประชาชน เพื่อที่พ่อแม่ จะได้บอกเล่าให้บุตรหลานของของตนได้รับรู้ถึงพระราชประวัติ เล่าให้เด็กๆ ได้รู้ถึงคุณค่าพื้นฐานที่สําคัญของ มนุษย์ซึ่งทรงแสดงให้สังคมได้ประจักษ์ไม่ว่าจะเป็นการรักใคร่กตัญญูต่อบุพการี การเสียสละทุ่มเทเพื่อสังคมและ 6 ปัจจุบัน ศาสตราจารย์(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ ดํารงตําแหน่งปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
  • 6. 6 ประเทศชาติ ความขยันใฝ่ใจในการเรียนรู้อย่างทุ่มเท การสอนและถ่ายทอดความรู้แก่ชนรุ่นหลังอย่างยากจะหา ครูคนใดมาเสมอ ตลอดจนจิตใจอันเป็นประชาธิปไตยที่แสดงออกให้เห็นได้อย่างชัดเจน ฯลฯ หมายเหตุ ผู้อ่านบทความนี้อาจจะสับสนว่าควรจะใช้คําว่า “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษา” “บิดาแห่งการ อุดมศึกษา” หรือ “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” ดี คําตอบคือ “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” เพราะหลังจากที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกับพระสมัญญา “บิดาแห่งการอุดมศึกษา” ไปแล้วในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕ ตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.๐๕๐๘/ว๑๖ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ได้มีการอ้างถึง บันทึกด่วนที่สุดจากราชบัณฑิตยสถานที่ รถ ๐๐๐๔/๑๔ ลงวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ เห็นควรให้ใช้พระ สมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา” เนื่องจากเป็นพระราชนิยม เพราะฉนั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๒๖ง หน้าที่ ๒๘-๒๙ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีจึงปรากฏ พระสมัญญา “พระบิดาแห่งการอุดมศึกษา”
  • 7. 7
  • 8. 8
  • 9. 9
  • 10. 10