SlideShare a Scribd company logo
พื้นฐานนักพูด
และปลุกวิญญาณนักพูด
ภาคที่
1
ภาคที่ 1 พื้นฐานนักพูดและปลุกวิญญาณนักพูด มี
วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเป็นนักพูดที่ดี
เกิดแรงบันดาลใจที่จะเป็นนักพูดที่เก่งกล้าขึ้น ผู้ที่พูดเก่งอยู่แล้ว
ก็จะเก่งยิ่งขึ้น ส่วนผู้ที่ยังพูดไม่เก่งก็พร้อมที่จะเป็นนักพูดที่เก่ง
ในกาลต่อไป
	 เนื้อหาของภาคนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่
	 คุณสมบัติของนักพูดที่ดี ประกอบด้วยพื้นฐานของการ
เป็นนักพูดที่ดีและเก่ง รีบเร่งหาความรู้และความรอบรู้ของนักพูด
ที่ดี มีวิสัยของนักถ่ายทอดความรู้ และเชิดชูจรรยาบรรณ
	 บันไดก้าวสู่การเป็นนักพูดอย่างมืออาชีพ ประกอบด้วย
หาจุดเริ่มต้นให้ดี พบเวทีรีบแสดงฝีมือ ถือโอกาสพัฒนาสม�่ำเสมอ
พบเจอสิ่งใหม่ให้ฝึกฝนจนช�ำนาญ ถือเป็นงานที่ท�ำไม่หยุดเว้น
เลือกเฟ้นสรรสร้างความรู้ใหม่
	 การเตรียมใจให้พร้อมที่จะเป็นนักพูด โดยจะต้องมี
ธรรมะพื้นฐาน 4 ประการ คือ เริ่มต้นด้วยฉันทะ รู้วิริยะน้อมน�ำ 
จิตตะธรรมมั่นคง และเสริมส่งวิมังสา
1
2
คุณสมบัติของนักพูดที่ดี
	 การเป็นนักพูดที่ดีนั้น มิใช่ว่าทุกคนจะสามารถท�ำได้ดีและประสบ
ความส�ำเร็จเหมือนกันเสมอไป แต่ก็หาใช่งานที่ยากแก่การจะเป็น หากมีการ
เรียนรู้ มีการฝึกหัด และรู้จักเพิ่มเติมหรือพัฒนาคุณสมบัติแห่งตนให้เหมาะสม
ที่จะเป็นนักพูดที่ดี คุณสมบัติของนักพูดที่ดีซึ่งกล่าวถึงในที่นี้มี 4 ประเด็น
คือ
	 •	 พื้นฐานของการเป็นนักพูดที่ดีและเก่ง
	 •	 รีบเร่งหาความรู้และความรอบรู้ของนักพูดที่ดี
	 •	 มีวิสัยของนักถ่ายทอดความรู้
	 •	 เชิดชูจรรยาบรรณ
พื้นฐานของการเป็นนักพูดที่ดีและเก่ง
	 คนที่จะเป็นนักพูดที่ดีและเก่งได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติตามถ้อยค�ำ
คล้องจองต่อไปนี้คือ บุคลิกดีงามสง่า ภูมิปัญญารอบรู้และลุ่มลึก ฝึกปฏิภาณ
ไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ น�้ำเสียงใส ชัดเจน ถูกต้อง ความเร็ว
พอเหมาะพอดี มีมารยาทงามสม อารมณ์ขันหรรษา รู้ลีลาสร้างสรรค์ค�ำ
น�ำความยืดหยุ่นประยุกต์ใช้ นิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนตั้งใจจริงและ
รับผิดชอบหลากหลาย มุ่งหมายพัฒนาเต็มหัวใจ
	 1.	บุคลิกดีงามสง่า เกิดจากการแต่งกายดี มีรสนิยมดี ตลอดจน
สุขภาพร่างกายต้องแข็งแรง มีสัดส่วนทรวดทรงที่ดี
	 2.	ภูมิปัญญารอบรู้และลุ่มลึก หมายถึง มีความรู้เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง
อย่างแตกฉาน อย่างน้อยก็ในสาขาวิชาที่ถนัดหรือศึกษามา นอกจากนี้
ยังต้องมีความรู้รอบตัวทั่วไป เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
เทคโนโลยี
3
	 3.	ฝึกปฏิภาณไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ใครก็ตามที่สามารถ
แก้ปัญหาเฉพาะได้ดี ผู้นั้นจะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถ การจะ
กระท�ำการดังกล่าวได้นั้นต้องมีประสบการณ์มามาก อาจพบด้วยตนเอง
เห็นตัวอย่างจากบุคคลอื่น ตลอดจนอ่านจากหนังสือหรือแหล่งค้นคว้า
ต่าง ๆ ก็ได้
	 4.	น�้ำเสียงใส ชัดเจน ถูกต้อง ความเร็วพอเหมาะพอดี น�้ำเสียงที่
ดีเกิดจากความมั่นใจ เต็มใจ และจริงใจที่จะพูด พูดให้ชัดเจน ถูกต้อง
ความเร็วในการเปล่งถ้อยค�ำพอดี ๆ ไม่เร็วไม่ช้าจนเกินไป คนพูดดีมิใช่คน
พูดเร็ว
	 5.	มีมารยาทงามสม มารยาทมีทั้งภายนอกและภายใน มารยาท
ภายในคือ มีจิตใจดีงาม เป็นมิตร ไม่ขุ่นเคือง ไม่คิดเอาของของคนอื่น
มาเป็นของตนเอง โดยเฉพาะความรู้ ความคิด และวิทยาการต่าง ๆ หาก
ไม่ได้มาจากการค้นพบของตน เวลาพูดต้องกล่าวอ้างอิง ส่วนมารยาท
ภายนอกคือ พฤติกรรม เช่น ความตรงต่อเวลา ประพฤติในสิ่งสมควร ไม่
เรียกร้องอะไรที่มากเกินควร ไม่พูดอะไรที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
	 6.	อารมณ์ขันหรรษา ไม่มีผู้ฟังคนใดต้องการฟังสิ่งที่เครียด ๆ แม้
เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องยาก วิชาการ หรือปัญหาหนัก ๆ นักพูดที่ดีต้องถ่ายทอด
ให้ฟังแล้วไม่เครียด แต่เนื้อหาครบถ้วนเช่นเดิม อารมณ์ขันจะเป็นเครื่องมือ
ช่วยได้เป็นอย่างดี เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ไม่ยาก แต่ต้องใช้เวทีแสดงและประสบการณ์
แบบค่อยเป็นค่อยไป
	 7.	รู้ลีลาสร้างสรรค์ค�ำ ภาษาฟังเพลิน คือ ภาษาประกอบด้วยถ้อยค�ำ
แปลกใหม่ สร้างสรรค์ ไม่ซ�้ำซาก การพูดที่ดีผู้พูดต้องสามารถคิดค�ำใหม่ ๆ
ใช้ในการพูดของตนเองบ้าง จะชวนให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น ภาษาเหล่านี้ต้องค่อย ๆ
สะสมจากการอ่าน การฟัง การอ่านหนังสือของนักเขียนที่เชี่ยวชาญด้าน
การใช้ภาษาสร้างสรรค์จะช่วยให้เราซึมซับภาษานั้นโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
4
	 8.	น�ำความยืดหยุ่นประยุกต์ใช้ อะไรที่ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป
เป็นสิ่งที่ไม่ช่วยให้เกิดการพัฒนา การพูดในลักษณะที่ย่อหย่อน เป็นสิ่งที่
ไม่ดีและไม่ควรปฏิบัติ ใคร ๆ ก็รู้ แต่สิ่งที่ตึงเกินไป เช่น เนื้อหาสาระ เวลา
กิจกรรม หรืออื่น ๆ มักจะเกินเลยที่ผู้ฟังจะรับได้ นักพูดที่ดีต้องรู้จักยืดหยุ่น
ประสบการณ์และปฏิภาณปัญญาจะช่วยได้เมื่อการพูดจริง ๆ มาถึง
	 9. นิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่มีใครไม่ชอบคนอ่อนน้อม แต่อย่าลืม
ว่าอ่อนน้อมไม่ใช่อ่อนแอ ความอ่อนน้อมแสดงได้ด้วยพฤติกรรม ทั้งความ
ประพฤติและการพูด เช่น การไหว้ โค้งค�ำนับ การกล่าวสวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ
หรือกล่าวชื่นชม เช่น เยี่ยม ดี ดีมาก ถูกต้อง เหล่านี้ควรเป็นสิ่งที่นักพูด
ผู้เยี่ยมยอดต้องมี
	 10. เป็นคนตั้งใจจริงและรับผิดชอบหลากหลาย การพูดที่ประสบ
ความส�ำเร็จต้องมาจากความตั้งใจอย่างเต็มใจ เมื่อคนเรามีสิ่งนี้ เราก็มีใจ
ที่จะเตรียมตัว เตรียมเนื้อหาสาระ เตรียมซ้อมการพูด ประกอบกับมีความ
รับผิดชอบต่อการพูด ทั้งรับผิดชอบในเนื้อหาที่น�ำมาเสนอ ซึ่งจะต้องถูกต้อง
และสร้างสรรค์ รวมทั้งรับผิดชอบเป็นผู้พูดในเรื่องนั้น เวลานั้น ตามที่
ก�ำหนดตกลงกันไว้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ช่วยน�ำพาให้เป็นนักพูดที่ดีได้
	 11. มุ่งหมายพัฒนาเต็มหัวใจ ไม่มีใครพูดได้ พูดดีได้ในครั้งเดียว
และไม่มีนักพูดคนใดพูดครั้งเดียวแล้วประสบความส�ำเร็จ เป็นนักพูดมือ
อาชีพได้ในทันที การที่เรามุ่งหวังพัฒนาตนเองให้ศักยภาพการพูดก้าวหน้า
ไปเป็นล�ำดับ ๆ ความผิดพลาดในครั้งนี้เป็นหนทางให้เราได้พัฒนาในครั้ง
ต่อไป ขอเพียงไม่ย่อท้อเท่านั้นเอง ก็จะเป็นนักพูดมืออาชีพได้ในที่สุด
5
รีบเร่งหาความรู้และความรอบรู้ของนักพูดที่ดี
	 การพูดแต่ละครั้งเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้หรือ
รับทราบ เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้พูดเองนั่นแหละจะต้องมีความรู้และความรอบรู้
เป็นอย่างดีเสียก่อน
	 ความรู้ คือ วิทยาการในด้านใดด้านหนึ่งตามศาสตร์สาขาวิชาที่ได้
ศึกษา เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ บริการธุรกิจ รัฐศาสตร์
ความรู้เหล่านี้ได้จากการศึกษาตามระบบ และส่วนหนึ่งได้จากศึกษาเรียนรู้
ด้วยตนเอง
	 ความรอบรู้ คือ วิชา องค์ความรู้ หรือสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
ด�ำรงชีวิตของมนุษย์ อาจเป็นข่าวสาร เกร็ดความรู้นานาประการ สังคม
วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เป็นต้น เราต้องค่อย ๆ สั่งสมจากการอ่านหนังสือ
การฟัง การศึกษาสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
	 ทั้งความรู้และความรอบรู้ต้องมีอยู่อย่างสมบูรณ์ในตัวนักพูดที่ดี
มีลักษณะทั่วไปดังนี้
	 1.	รู้สาระอันเป็นรายละเอียดในเรื่องนั้นอย่างเพียงพอ การรู้เรื่อง
ต่าง ๆ อย่างเพียงพอนั้นไม่จ�ำเป็นต้องรู้มาแต่ต้นหรือรู้มาก่อนที่จะได้พูด
เรื่องที่พูดบางเรื่องเราเพียงแต่พอมีความรู้และคิดว่าพูดได้ เมื่อเราต้องพูด
จริง ๆ ก็ต้องค้นคว้า เตรียมข้อมูลให้เพียงพอ ดังนั้น เราต้องเป็นนักค้นคว้า
ที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
	 2.	เข้าใจเหตุผลของรายละเอียดนั้น เรื่องทุกเรื่อง งานทุกงาน หรือ
อะไรก็ตามย่อมมีเหตุผลอันเป็นรายละเอียดอยู่ด้วยเสมอ การที่เรารู้สิ่งนั้น
ย่อมหมายความว่าเรามีความลึกซึ้งในเนื้อหาสาระของสิ่งนั้นอย่างถ่องแท้
เช่น ในการเขียนหนังสือ จดหมาย หรืออีเมลโต้ตอบกัน เราจะไม่ใช้ประโยค
ลงท้ายที่ว่า “จักขอบคุณยิ่ง” แต่เราใช้ว่า “จะขอบคุณยิ่ง” การที่เราตอบ
6
ได้ว่า เหตุที่ต้องใช้ “จะ” นั้น เพราะค�ำว่า “จัก” มีความหมายอันหนัก ใช้
เมื่อแสดงการลงโทษหรือคาดโทษ การขอบคุณใครก็ตามไม่ใช่การคาดโทษ
จึงใช้ค�ำว่า “จะขอบคุณยิ่ง” ความรู้ในลักษณะนี้ส่วนหนึ่งเป็นความรู้
เนื่องมาจากได้ศึกษาในชั้นเรียน และส่วนหนึ่งก็ได้มาจากการศึกษาเพิ่มเติม
ด้วยตนเอง
	 3.	รู้สมมติฐานหรือความเป็นมาของสิ่งนั้น เป็นการคาดเดาสิ่งที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคตอันเนื่องมาจากสิ่งนั้นได้อย่างมีเหตุผล การที่เราจะท�ำ
เช่นนี้ได้ก็มาจากการที่เรามีความรู้ในรายละเอียดและเหตุผลของสิ่งนั้น
มาเป็นอย่างดี เช่น เรารู้ว่าการติดต่อสื่อสารกันอย่างเป็นทางการในงาน
ราชการและธุรกิจ ต้องจัดท�ำเป็นหนังสือหรือจดหมายโต้ตอบ ต่อมาเมื่อมี
ระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าอีเมล เราก็ตั้งสมมุติฐานได้ว่า
ในอนาคตการติดต่อสามารถท�ำได้โดยทางอีเมล ซึ่งก็ก�ำลังเกิดขึ้นและได้รับ
ความนิยมอยู่ในขณะนี้
	 4.	สามารถประยุกต์สิ่งนั้นให้เห็นเป็นจริงได้ การจะพิสูจน์ว่ารู้อะไร
สักอย่างหนึ่งได้ถึงขั้นหรือไม่นั้น การประยุกต์ให้เป็นจริงเป็นเครื่องทดสอบ
ได้ เช่น เรารู้หลักการเขียนอีเมลชี้แจงลูกค้าที่เขียนเข้ามาร้องเรียนเรื่องการ
ส่งสินค้าล่าช้าได้ และต่อมามีจดหมายร้องเรียนจากลูกค้ามาเป็นหนังสือ
หรือเอกสารว่าสินค้านอกจากส่งไปล่าช้าแล้วยังช�ำรุดอีก หากเราเขียนอีเมล
ฉบับนั้นได้อย่างดี เราก็สามารถเขียนจดหมายตอบข้อร้องเรียนของลูกค้า
ฉบับนี้ได้ดีเช่นกัน เพราะหลักและวิธีการเขียนอีเมลกับหลักและวิธีการเขียน
หนังสือหรือเอกสารเป็นสิ่งที่ประยุกต์กันได้ หากเราสามารถประยุกต์ได้
เช่นนี้ แสดงว่าเป็นนักพูดที่มีความรู้และความรอบรู้เป็นอย่างดีทีเดียว
7
มีวิสัยของนักถ่ายทอดความรู้
	 หากเปรียบนักพูดเป็นครูหรืออาจารย์ก็ย่อมได้ เพราะต่างก็เป็นนัก
ถ่ายทอดความรู้ทั้งสิ้น การจะเป็นนักถ่ายทอดที่ดีนั้น นอกจากพรสวรรค์
แล้ว พรแสวงที่เกิดขึ้นภายหลังอันเนื่องมาจากความตั้งใจจริงก็เป็นสิ่งช่วยให้
เป็นนักถ่ายทอดชั้นเยี่ยมทั้งนั้น
	 นักถ่ายทอดที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้
	 1.	มีเทคนิคต่าง ๆ เป็นอย่างดี เช่น ในการบรรยาย การอภิปราย
และการสัมมนา ต้องรู้จักจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ฟังได้ความรู้อย่างครบถ้วน
อย่างง่าย ได้สาระ
	 2.	ต้องพูดให้เป็น ฟังเข้าใจตามที่พูดได้อย่างรวดเร็ว ต้องพูดเรื่องที่ยาก
และซับซ้อนให้เข้าใจได้โดยง่าย หรือพูดเรื่องที่ดูง่าย ๆ พื้น ๆ ให้มีหลักการ
ได้แง่คิด
	 3.	ต้องเป็นนักฟัง นักพูดมิใช่พูดอย่างเดียวโดยไม่ฟัง เวลาพูดก็มี
ผู้ฟัง ผู้ฟังจะโต้ตอบกับผู้พูด เมื่อผู้ฟังพูดเราต้องตั้งใจฟัง ฟังให้ตลอดและ
ควบคุมอารมณ์ ขณะที่ฟังอย่าคิดค�ำตอบทันที และฟังเอาความหมาย
มากกว่าถ้อยค�ำ เมื่อได้ความครบถ้วนแล้วจึงคิด แล้วพูดตอบตามหลักการ
เป็นนักพูดที่ดี
	 4.	ต้องรู้หลักและเทคนิคการน�ำเสนอเป็นประเด็น นักพูดที่ดีต้องเป็น
นักฟัง นักอ่าน นักค้นคว้าที่ดีมาก่อน จากนั้นจึงมาเป็นนักเสนอหรือนักพูด
เราต้องรู้จักตั้งประเด็นและสรุปประเด็น รู้ว่าประเด็นใดคือประเด็นหลัก
ประเด็นใดคือประเด็นรอง และอะไรที่มิใช่ประเด็น
	 5.	มีอารมณ์ขันและสร้างบรรยากาศในการพูดการฟังได้อย่างเหมาะสม
เกร็ดอารมณ์ขันมีอยู่มากมาย ทั้งที่มีขายเป็นหนังสือ เทป หรือซีดี การที่เรา
8
ได้ดูได้อ่านก็สามารถเก็บเกี่ยวมาใช้ประกอบการพูดได้ แต่ก่อนใช้เราต้อง
ตีความให้แตกเสียก่อน มิเช่นนั้นแล้วจะไม่ขัน อีกทั้งต้องดูกาลเทศะ
ให้เหมาะสมด้วย
	 6.	ใช้ภาษาพูดได้ดี คือ เป็นภาษาที่ตรงกับเนื้อหา ความต้องการ
และพื้นฐานความรู้ของผู้ฟัง เวลาพูดกับนักวิชาการ พนักงานบริษัท นิสิต
นักศึกษา ชาวบ้าน ล้วนแต่ต้องใช้ภาษาที่แตกต่างกัน นักพูดที่ดีต้องเลือก
ภาษาที่ใช้พูดให้เหมาะกับผู้ฟังจึงจะประสบความส�ำเร็จ
เชิดชูจรรยาบรรณ
	 อาชีพใด ๆ ก็มีจรรยาบรรณทั้งนั้น รวมทั้งนักพูดด้วย ไม่ว่าจะมืออาชีพ
หรือมือสมัครเล่น เพราะจรรยาบรรณจะเป็นประทีปชวาลาส่องน�ำทางให้
เส้นทางการพูดสว่างไสวได้อย่างยาวนาน จรรยาบรรณที่นักพูดควรมีได้แก่
	 1.	 เมื่อถ่ายทอดหรือสอน ต้องมีความรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ หากไม่รู้มา
แต่ดั้งเดิม ก็ต้องค้นคว้าและศึกษาให้แตกฉานเสียก่อน
	 2.	ต้องมุ่งประโยชน์ของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง ส่วนใหญ่หน่วยงานหรือผู้เชิญ
ให้ไปพูดมีความต้องการว่าผู้มาพูดนั้นจะมาท�ำประโยชน์ ช่วยแก้ปัญหาให้
ผู้เชิญหรือผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องมุ่งสิ่งดังกล่าว แม้ผลตอบแทนเป็นสิ่งของและ
เงินทองที่เราจะได้จะสูงหรือต�่ำก็ตาม ก็ไม่ควรถือเป็นความมุ่งหวัง
	 3.	เมื่อได้รับเชิญให้ไปพูด แสดงว่าโอกาสเป็นของผู้พูดแล้ว ในโอกาสนี้
ไม่ควรฉกฉวยการกล่าวโจมตีคนอื่นหรือหน่วยงานอื่นให้เกิดความเสียหาย
แม้เรื่องนั้นเป็นเรื่องจริงและไม่ดี หากจ�ำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นอย่าง
เลี่ยงไม่ได้ก็ควรแสดงความเป็นกลางเอาไว้
9
	 4.	ไม่ฉกฉวยโอกาสเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว เช่น ประโยชน์
ในการขายหนังสือหรือสิ่งของของผู้พูด หรือเชิญชวนร่วมกิจกรรมของผู้พูด
	 5.	ความประพฤติและการปฏิบัติตนของผู้พูดควรจะสอดคล้องกับ
เรื่องที่พูด เช่น พูดเรื่องการปฏิบัติธรรม ผู้พูดต้องปฏิบัติธรรมด้วย ไม่มี
เรื่องเสื่อมเสียไม่ว่าในเรื่องใด
บันไดก้าวสู่การเป็นนักพูดอย่างมืออาชีพ
	 การเป็นนักพูดที่ประสบความส�ำเร็จนั้นต้องมีจุดเริ่มต้นทั้งนั้น บางคน
ก็เหมือนกับคนอื่น ๆ หรือบางคนก็ไม่เหมือนใคร เช่น จุดเริ่มต้นการพูด
ของผู้เขียน คือผู้เขียนเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ลูกศิษย์ชั้นปีที่ 4 ออกไป
ฝึกงาน และหน่วยงานนั้นมอบหมายให้ลูกศิษย์จัดหาวิทยากรมาพูดเรื่อง
การเขียนหนังสือราชการ ลูกศิษย์จึงเสนอชื่อผู้เขียนไป แล้วประตูแห่งการพูด
ได้เงินได้ทองของผู้เขียนก็เปิดตั้งแต่บัดนั้น เมื่อวิเคราะห์ว่าท�ำไมจึงท�ำได้
ก็น่าจะเพราะผู้เขียนเป็นอาจารย์อยู่แล้ว ความรู้ที่จะพูดก็มีอยู่อย่างพร้อมมูล
อีกทั้งการพูดก็เป็นศาสตร์ที่ศึกษาและฝึกฝนมาโดยตรง จึงไม่ใช่เรื่องยาก
อะไรนัก
	 การก้าวไปสู่นักพูดเหมือนกับการขึ้นบันไดที่ต้องขึ้นไปทีละขั้น ๆ
การที่เราได้พูดครั้งแรกก็ท�ำนายล่วงหน้าได้ว่าต้องมีครั้งที่ 2 และครั้งต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของผู้เขียนและการศึกษาแนวคิดทฤษฎี
สามารถสรุปบันไดก้าวไปสู่นักพูดมืออาชีพได้ 6 ขั้น ได้แก่
	 •	 หาจุดเริ่มต้นให้ดี
	 •	 พบเวทีรีบแสดงฝีมือ
	 •	 ถือโอกาสพัฒนาสม�่ำเสมอ
	 •	 พบเจอสิ่งใหม่ให้ฝึกฝนจนช�ำนาญ
10
	 •	 ถือเป็นงานที่ท�ำไม่หยุดเว้น
	 •	 เลือกเฟ้นสรรสร้างความรู้ใหม่
หาจุดเริ่มต้นให้ดี
	 การเป็นนักพูดที่ประสบความส�ำเร็จก็เหมือนกับการท�ำงานอื่น ๆ ที่ต้อง
อาศัยจุดเริ่มต้นที่ดี
	 จุดเริ่มต้นจริง ๆ อยู่ในใจของทุกคน คือเราต้องตั้งใจให้แน่วแน่ว่าจะเป็น
นักพูดที่ประสบความส�ำเร็จให้ได้นั่นเอง
	 หลังจากนั้นคงต้องคิดทบทวนตนเองว่า ถนัดที่จะพูดเรื่องอะไรมาก
ที่สุด ศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมให้ช�ำนาญที่สุด พยายามหาโอกาสพูดให้ได้
เช่น ในหน่วยงานที่เราท�ำงานอยู่ หากว่างานนั้นเปิดโอกาสให้เราพูด จงคว้าไว้
ทันที อย่างน้อยการพูดในหน่วยงานก็เป็นเวทีให้เราฝึกฝน
	 เมื่อเราท�ำเช่นนี้บ่อย ๆ ก็เหมือนกับการท�ำความดีที่จะได้รับความ
ชื่นชมแผ่กว้างออกไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็จะมีโอกาสพูดนอกหน่วยงาน นั่น
หมายถึงการได้รับค่าตอบแทนการพูดนั่นเอง
	 เรื่องที่เราคิดว่าจะพูดให้ได้ดีที่สุดนั้นไม่ควรมีเรื่องเดียว แต่ในขั้นต้น
ก็ไม่ควรเกิน 3 เรื่อง หากมีมากเกินไปอาจไม่ได้รับความเชื่อถือก็ได้ แต่ถ้า
เป็นผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ ก็ไม่เป็นอะไร เพราะเก่งจริง
	 ส�ำหรับผู้เขียนนั้นแม้มิได้ประกอบอาชีพหลักเป็นนักพูด แต่ก็มีโอกาส
ได้ออกไปพูดในเรื่องต่าง ๆ ณ องค์การต่าง ๆ ตามที่เชิญให้ไปพูดหรือเป็น
วิทยากรอยู่สม�่ำเสมอ ก็มีจุดเริ่มต้นของการพูดเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในขณะ
ที่ปฏิบัติอาชีพเป็นอาจารย์สอนที่สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมนั้น ลูกศิษย์คนหนึ่ง
ซึ่งออกไปฝึกงานที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มาแจ้งแก่
ผู้เขียนว่า ทางสถานที่ฝึกงานมอบหมายให้เขาจัดหาวิทยากรมาพูดเรื่องการ
เขียนหนังสือราชการแก่พนักงานของการรถไฟฟ้าฯ เขาก็แจ้งแก่หน่วยงานว่า

More Related Content

Viewers also liked

9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832
CUPress
 
9789740335795
97897403357959789740335795
9789740335795
CUPress
 
9789740335801
97897403358019789740335801
9789740335801
CUPress
 
Conjuntos numericos
Conjuntos numericosConjuntos numericos
Conjuntos numericosjostin1997
 
Informatica -------yurley
Informatica -------yurleyInformatica -------yurley
Informatica -------yurleyYurleybueno
 
Industrias de-boyaca (1)
Industrias de-boyaca (1)Industrias de-boyaca (1)
Industrias de-boyaca (1)vaneparada
 
Presentación1
Presentación1Presentación1
Presentación1skrappydoo
 
Lengua y literatura
Lengua y literaturaLengua y literatura
Lengua y literaturaruthdemarcos
 
Diapositivas indicadores y medición
Diapositivas indicadores y mediciónDiapositivas indicadores y medición
Diapositivas indicadores y medición
Alejandro Maqueda
 
WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017
WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017
WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017
DreamOrbit Softech Pvt Ltd.
 
Industrias de boyaca
Industrias de boyacaIndustrias de boyaca
Industrias de boyacavaneparada
 
la ilustracion y sus ilustrados
la ilustracion y sus ilustradosla ilustracion y sus ilustrados
la ilustracion y sus ilustradosAmfrancom16
 
Pearl harbor
Pearl harborPearl harbor
Pearl harborakrab
 
Aprendizaje invisible
Aprendizaje invisibleAprendizaje invisible
Aprendizaje invisible
Lencina Christian EmmAnuel
 
Erika chica
Erika chicaErika chica
Erika chica
Dennis Chik
 

Viewers also liked (20)

9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832
 
9789740335795
97897403357959789740335795
9789740335795
 
9789740335801
97897403358019789740335801
9789740335801
 
Conjuntos numericos
Conjuntos numericosConjuntos numericos
Conjuntos numericos
 
Informatica -------yurley
Informatica -------yurleyInformatica -------yurley
Informatica -------yurley
 
Trabajo de algoritmo
Trabajo de algoritmoTrabajo de algoritmo
Trabajo de algoritmo
 
Industrias de-boyaca (1)
Industrias de-boyaca (1)Industrias de-boyaca (1)
Industrias de-boyaca (1)
 
Presentación1
Presentación1Presentación1
Presentación1
 
Lengua y literatura
Lengua y literaturaLengua y literatura
Lengua y literatura
 
Unidad 2[1]
Unidad 2[1]Unidad 2[1]
Unidad 2[1]
 
Mod tranc
Mod trancMod tranc
Mod tranc
 
Diapositivas indicadores y medición
Diapositivas indicadores y mediciónDiapositivas indicadores y medición
Diapositivas indicadores y medición
 
Sistemas operativos
Sistemas operativosSistemas operativos
Sistemas operativos
 
WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017
WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017
WHICH TECHNOLOGY WILL BE IN FOCUS FOR MOBILE APP DEVELOPMENT IN 2017
 
Industrias de boyaca
Industrias de boyacaIndustrias de boyaca
Industrias de boyaca
 
la ilustracion y sus ilustrados
la ilustracion y sus ilustradosla ilustracion y sus ilustrados
la ilustracion y sus ilustrados
 
Pearl harbor
Pearl harborPearl harbor
Pearl harbor
 
Se sabe ya
Se sabe yaSe sabe ya
Se sabe ya
 
Aprendizaje invisible
Aprendizaje invisibleAprendizaje invisible
Aprendizaje invisible
 
Erika chica
Erika chicaErika chica
Erika chica
 

Similar to 9789740335733

Consult
ConsultConsult
Consult
kamyui_49
 
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพสรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพnunaka
 
คู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรคู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากร
niralai
 
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วยค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
Aon Wallapa
 
Tha203 6
Tha203 6Tha203 6
วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead
วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead
วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead
maruay songtanin
 
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูดถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
pyopyo
 
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาpentanino
 
Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...
Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...
Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...
aphithak
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านKanjana Pothinam
 
Brands thai (o net)
Brands thai (o net)Brands thai (o net)
Brands thai (o net)
Khamcha-I Pittaya​khom school
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบปNamfon Wannapa
 
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
 คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
maruay songtanin
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
niralai
 
Radio Interview
Radio InterviewRadio Interview
Radio Interview
Sakulsri Srisaracam
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1supap6259
 
Tha203 5
Tha203 5Tha203 5

Similar to 9789740335733 (20)

Consult
ConsultConsult
Consult
 
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพสรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
 
คู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรคู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากร
 
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วยค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
 
Tha203 6
Tha203 6Tha203 6
Tha203 6
 
วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead
วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead
วิถีผู้นำชั้นยอด How the best leaders lead
 
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูดถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
 
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
 
Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...
Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...
Chapter การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เ...
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
 
Brands thai (o net)
Brands thai (o net)Brands thai (o net)
Brands thai (o net)
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบป
 
Cjpowerpoint2
Cjpowerpoint2Cjpowerpoint2
Cjpowerpoint2
 
นำเสนอ
นำเสนอนำเสนอ
นำเสนอ
 
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
 คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
 
Eb chapter2
Eb chapter2Eb chapter2
Eb chapter2
 
Radio Interview
Radio InterviewRadio Interview
Radio Interview
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1สุขฯ ม.2 หน่วย 1
สุขฯ ม.2 หน่วย 1
 
Tha203 5
Tha203 5Tha203 5
Tha203 5
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

Recently uploaded

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (10)

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 

9789740335733

  • 2. ภาคที่ 1 พื้นฐานนักพูดและปลุกวิญญาณนักพูด มี วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเป็นนักพูดที่ดี เกิดแรงบันดาลใจที่จะเป็นนักพูดที่เก่งกล้าขึ้น ผู้ที่พูดเก่งอยู่แล้ว ก็จะเก่งยิ่งขึ้น ส่วนผู้ที่ยังพูดไม่เก่งก็พร้อมที่จะเป็นนักพูดที่เก่ง ในกาลต่อไป เนื้อหาของภาคนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ คุณสมบัติของนักพูดที่ดี ประกอบด้วยพื้นฐานของการ เป็นนักพูดที่ดีและเก่ง รีบเร่งหาความรู้และความรอบรู้ของนักพูด ที่ดี มีวิสัยของนักถ่ายทอดความรู้ และเชิดชูจรรยาบรรณ บันไดก้าวสู่การเป็นนักพูดอย่างมืออาชีพ ประกอบด้วย หาจุดเริ่มต้นให้ดี พบเวทีรีบแสดงฝีมือ ถือโอกาสพัฒนาสม�่ำเสมอ พบเจอสิ่งใหม่ให้ฝึกฝนจนช�ำนาญ ถือเป็นงานที่ท�ำไม่หยุดเว้น เลือกเฟ้นสรรสร้างความรู้ใหม่ การเตรียมใจให้พร้อมที่จะเป็นนักพูด โดยจะต้องมี ธรรมะพื้นฐาน 4 ประการ คือ เริ่มต้นด้วยฉันทะ รู้วิริยะน้อมน�ำ จิตตะธรรมมั่นคง และเสริมส่งวิมังสา 1
  • 3. 2 คุณสมบัติของนักพูดที่ดี การเป็นนักพูดที่ดีนั้น มิใช่ว่าทุกคนจะสามารถท�ำได้ดีและประสบ ความส�ำเร็จเหมือนกันเสมอไป แต่ก็หาใช่งานที่ยากแก่การจะเป็น หากมีการ เรียนรู้ มีการฝึกหัด และรู้จักเพิ่มเติมหรือพัฒนาคุณสมบัติแห่งตนให้เหมาะสม ที่จะเป็นนักพูดที่ดี คุณสมบัติของนักพูดที่ดีซึ่งกล่าวถึงในที่นี้มี 4 ประเด็น คือ • พื้นฐานของการเป็นนักพูดที่ดีและเก่ง • รีบเร่งหาความรู้และความรอบรู้ของนักพูดที่ดี • มีวิสัยของนักถ่ายทอดความรู้ • เชิดชูจรรยาบรรณ พื้นฐานของการเป็นนักพูดที่ดีและเก่ง คนที่จะเป็นนักพูดที่ดีและเก่งได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติตามถ้อยค�ำ คล้องจองต่อไปนี้คือ บุคลิกดีงามสง่า ภูมิปัญญารอบรู้และลุ่มลึก ฝึกปฏิภาณ ไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ น�้ำเสียงใส ชัดเจน ถูกต้อง ความเร็ว พอเหมาะพอดี มีมารยาทงามสม อารมณ์ขันหรรษา รู้ลีลาสร้างสรรค์ค�ำ น�ำความยืดหยุ่นประยุกต์ใช้ นิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนตั้งใจจริงและ รับผิดชอบหลากหลาย มุ่งหมายพัฒนาเต็มหัวใจ 1. บุคลิกดีงามสง่า เกิดจากการแต่งกายดี มีรสนิยมดี ตลอดจน สุขภาพร่างกายต้องแข็งแรง มีสัดส่วนทรวดทรงที่ดี 2. ภูมิปัญญารอบรู้และลุ่มลึก หมายถึง มีความรู้เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง อย่างแตกฉาน อย่างน้อยก็ในสาขาวิชาที่ถนัดหรือศึกษามา นอกจากนี้ ยังต้องมีความรู้รอบตัวทั่วไป เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
  • 4. 3 3. ฝึกปฏิภาณไหวพริบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ใครก็ตามที่สามารถ แก้ปัญหาเฉพาะได้ดี ผู้นั้นจะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถ การจะ กระท�ำการดังกล่าวได้นั้นต้องมีประสบการณ์มามาก อาจพบด้วยตนเอง เห็นตัวอย่างจากบุคคลอื่น ตลอดจนอ่านจากหนังสือหรือแหล่งค้นคว้า ต่าง ๆ ก็ได้ 4. น�้ำเสียงใส ชัดเจน ถูกต้อง ความเร็วพอเหมาะพอดี น�้ำเสียงที่ ดีเกิดจากความมั่นใจ เต็มใจ และจริงใจที่จะพูด พูดให้ชัดเจน ถูกต้อง ความเร็วในการเปล่งถ้อยค�ำพอดี ๆ ไม่เร็วไม่ช้าจนเกินไป คนพูดดีมิใช่คน พูดเร็ว 5. มีมารยาทงามสม มารยาทมีทั้งภายนอกและภายใน มารยาท ภายในคือ มีจิตใจดีงาม เป็นมิตร ไม่ขุ่นเคือง ไม่คิดเอาของของคนอื่น มาเป็นของตนเอง โดยเฉพาะความรู้ ความคิด และวิทยาการต่าง ๆ หาก ไม่ได้มาจากการค้นพบของตน เวลาพูดต้องกล่าวอ้างอิง ส่วนมารยาท ภายนอกคือ พฤติกรรม เช่น ความตรงต่อเวลา ประพฤติในสิ่งสมควร ไม่ เรียกร้องอะไรที่มากเกินควร ไม่พูดอะไรที่ก่อให้เกิดความเสียหาย 6. อารมณ์ขันหรรษา ไม่มีผู้ฟังคนใดต้องการฟังสิ่งที่เครียด ๆ แม้ เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องยาก วิชาการ หรือปัญหาหนัก ๆ นักพูดที่ดีต้องถ่ายทอด ให้ฟังแล้วไม่เครียด แต่เนื้อหาครบถ้วนเช่นเดิม อารมณ์ขันจะเป็นเครื่องมือ ช่วยได้เป็นอย่างดี เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ไม่ยาก แต่ต้องใช้เวทีแสดงและประสบการณ์ แบบค่อยเป็นค่อยไป 7. รู้ลีลาสร้างสรรค์ค�ำ ภาษาฟังเพลิน คือ ภาษาประกอบด้วยถ้อยค�ำ แปลกใหม่ สร้างสรรค์ ไม่ซ�้ำซาก การพูดที่ดีผู้พูดต้องสามารถคิดค�ำใหม่ ๆ ใช้ในการพูดของตนเองบ้าง จะชวนให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น ภาษาเหล่านี้ต้องค่อย ๆ สะสมจากการอ่าน การฟัง การอ่านหนังสือของนักเขียนที่เชี่ยวชาญด้าน การใช้ภาษาสร้างสรรค์จะช่วยให้เราซึมซับภาษานั้นโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว
  • 5. 4 8. น�ำความยืดหยุ่นประยุกต์ใช้ อะไรที่ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป เป็นสิ่งที่ไม่ช่วยให้เกิดการพัฒนา การพูดในลักษณะที่ย่อหย่อน เป็นสิ่งที่ ไม่ดีและไม่ควรปฏิบัติ ใคร ๆ ก็รู้ แต่สิ่งที่ตึงเกินไป เช่น เนื้อหาสาระ เวลา กิจกรรม หรืออื่น ๆ มักจะเกินเลยที่ผู้ฟังจะรับได้ นักพูดที่ดีต้องรู้จักยืดหยุ่น ประสบการณ์และปฏิภาณปัญญาจะช่วยได้เมื่อการพูดจริง ๆ มาถึง 9. นิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่มีใครไม่ชอบคนอ่อนน้อม แต่อย่าลืม ว่าอ่อนน้อมไม่ใช่อ่อนแอ ความอ่อนน้อมแสดงได้ด้วยพฤติกรรม ทั้งความ ประพฤติและการพูด เช่น การไหว้ โค้งค�ำนับ การกล่าวสวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ หรือกล่าวชื่นชม เช่น เยี่ยม ดี ดีมาก ถูกต้อง เหล่านี้ควรเป็นสิ่งที่นักพูด ผู้เยี่ยมยอดต้องมี 10. เป็นคนตั้งใจจริงและรับผิดชอบหลากหลาย การพูดที่ประสบ ความส�ำเร็จต้องมาจากความตั้งใจอย่างเต็มใจ เมื่อคนเรามีสิ่งนี้ เราก็มีใจ ที่จะเตรียมตัว เตรียมเนื้อหาสาระ เตรียมซ้อมการพูด ประกอบกับมีความ รับผิดชอบต่อการพูด ทั้งรับผิดชอบในเนื้อหาที่น�ำมาเสนอ ซึ่งจะต้องถูกต้อง และสร้างสรรค์ รวมทั้งรับผิดชอบเป็นผู้พูดในเรื่องนั้น เวลานั้น ตามที่ ก�ำหนดตกลงกันไว้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ช่วยน�ำพาให้เป็นนักพูดที่ดีได้ 11. มุ่งหมายพัฒนาเต็มหัวใจ ไม่มีใครพูดได้ พูดดีได้ในครั้งเดียว และไม่มีนักพูดคนใดพูดครั้งเดียวแล้วประสบความส�ำเร็จ เป็นนักพูดมือ อาชีพได้ในทันที การที่เรามุ่งหวังพัฒนาตนเองให้ศักยภาพการพูดก้าวหน้า ไปเป็นล�ำดับ ๆ ความผิดพลาดในครั้งนี้เป็นหนทางให้เราได้พัฒนาในครั้ง ต่อไป ขอเพียงไม่ย่อท้อเท่านั้นเอง ก็จะเป็นนักพูดมืออาชีพได้ในที่สุด
  • 6. 5 รีบเร่งหาความรู้และความรอบรู้ของนักพูดที่ดี การพูดแต่ละครั้งเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้หรือ รับทราบ เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้พูดเองนั่นแหละจะต้องมีความรู้และความรอบรู้ เป็นอย่างดีเสียก่อน ความรู้ คือ วิทยาการในด้านใดด้านหนึ่งตามศาสตร์สาขาวิชาที่ได้ ศึกษา เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ บริการธุรกิจ รัฐศาสตร์ ความรู้เหล่านี้ได้จากการศึกษาตามระบบ และส่วนหนึ่งได้จากศึกษาเรียนรู้ ด้วยตนเอง ความรอบรู้ คือ วิชา องค์ความรู้ หรือสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ด�ำรงชีวิตของมนุษย์ อาจเป็นข่าวสาร เกร็ดความรู้นานาประการ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เป็นต้น เราต้องค่อย ๆ สั่งสมจากการอ่านหนังสือ การฟัง การศึกษาสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งความรู้และความรอบรู้ต้องมีอยู่อย่างสมบูรณ์ในตัวนักพูดที่ดี มีลักษณะทั่วไปดังนี้ 1. รู้สาระอันเป็นรายละเอียดในเรื่องนั้นอย่างเพียงพอ การรู้เรื่อง ต่าง ๆ อย่างเพียงพอนั้นไม่จ�ำเป็นต้องรู้มาแต่ต้นหรือรู้มาก่อนที่จะได้พูด เรื่องที่พูดบางเรื่องเราเพียงแต่พอมีความรู้และคิดว่าพูดได้ เมื่อเราต้องพูด จริง ๆ ก็ต้องค้นคว้า เตรียมข้อมูลให้เพียงพอ ดังนั้น เราต้องเป็นนักค้นคว้า ที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 2. เข้าใจเหตุผลของรายละเอียดนั้น เรื่องทุกเรื่อง งานทุกงาน หรือ อะไรก็ตามย่อมมีเหตุผลอันเป็นรายละเอียดอยู่ด้วยเสมอ การที่เรารู้สิ่งนั้น ย่อมหมายความว่าเรามีความลึกซึ้งในเนื้อหาสาระของสิ่งนั้นอย่างถ่องแท้ เช่น ในการเขียนหนังสือ จดหมาย หรืออีเมลโต้ตอบกัน เราจะไม่ใช้ประโยค ลงท้ายที่ว่า “จักขอบคุณยิ่ง” แต่เราใช้ว่า “จะขอบคุณยิ่ง” การที่เราตอบ
  • 7. 6 ได้ว่า เหตุที่ต้องใช้ “จะ” นั้น เพราะค�ำว่า “จัก” มีความหมายอันหนัก ใช้ เมื่อแสดงการลงโทษหรือคาดโทษ การขอบคุณใครก็ตามไม่ใช่การคาดโทษ จึงใช้ค�ำว่า “จะขอบคุณยิ่ง” ความรู้ในลักษณะนี้ส่วนหนึ่งเป็นความรู้ เนื่องมาจากได้ศึกษาในชั้นเรียน และส่วนหนึ่งก็ได้มาจากการศึกษาเพิ่มเติม ด้วยตนเอง 3. รู้สมมติฐานหรือความเป็นมาของสิ่งนั้น เป็นการคาดเดาสิ่งที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตอันเนื่องมาจากสิ่งนั้นได้อย่างมีเหตุผล การที่เราจะท�ำ เช่นนี้ได้ก็มาจากการที่เรามีความรู้ในรายละเอียดและเหตุผลของสิ่งนั้น มาเป็นอย่างดี เช่น เรารู้ว่าการติดต่อสื่อสารกันอย่างเป็นทางการในงาน ราชการและธุรกิจ ต้องจัดท�ำเป็นหนังสือหรือจดหมายโต้ตอบ ต่อมาเมื่อมี ระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าอีเมล เราก็ตั้งสมมุติฐานได้ว่า ในอนาคตการติดต่อสามารถท�ำได้โดยทางอีเมล ซึ่งก็ก�ำลังเกิดขึ้นและได้รับ ความนิยมอยู่ในขณะนี้ 4. สามารถประยุกต์สิ่งนั้นให้เห็นเป็นจริงได้ การจะพิสูจน์ว่ารู้อะไร สักอย่างหนึ่งได้ถึงขั้นหรือไม่นั้น การประยุกต์ให้เป็นจริงเป็นเครื่องทดสอบ ได้ เช่น เรารู้หลักการเขียนอีเมลชี้แจงลูกค้าที่เขียนเข้ามาร้องเรียนเรื่องการ ส่งสินค้าล่าช้าได้ และต่อมามีจดหมายร้องเรียนจากลูกค้ามาเป็นหนังสือ หรือเอกสารว่าสินค้านอกจากส่งไปล่าช้าแล้วยังช�ำรุดอีก หากเราเขียนอีเมล ฉบับนั้นได้อย่างดี เราก็สามารถเขียนจดหมายตอบข้อร้องเรียนของลูกค้า ฉบับนี้ได้ดีเช่นกัน เพราะหลักและวิธีการเขียนอีเมลกับหลักและวิธีการเขียน หนังสือหรือเอกสารเป็นสิ่งที่ประยุกต์กันได้ หากเราสามารถประยุกต์ได้ เช่นนี้ แสดงว่าเป็นนักพูดที่มีความรู้และความรอบรู้เป็นอย่างดีทีเดียว
  • 8. 7 มีวิสัยของนักถ่ายทอดความรู้ หากเปรียบนักพูดเป็นครูหรืออาจารย์ก็ย่อมได้ เพราะต่างก็เป็นนัก ถ่ายทอดความรู้ทั้งสิ้น การจะเป็นนักถ่ายทอดที่ดีนั้น นอกจากพรสวรรค์ แล้ว พรแสวงที่เกิดขึ้นภายหลังอันเนื่องมาจากความตั้งใจจริงก็เป็นสิ่งช่วยให้ เป็นนักถ่ายทอดชั้นเยี่ยมทั้งนั้น นักถ่ายทอดที่ดีมีคุณลักษณะดังนี้ 1. มีเทคนิคต่าง ๆ เป็นอย่างดี เช่น ในการบรรยาย การอภิปราย และการสัมมนา ต้องรู้จักจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ฟังได้ความรู้อย่างครบถ้วน อย่างง่าย ได้สาระ 2. ต้องพูดให้เป็น ฟังเข้าใจตามที่พูดได้อย่างรวดเร็ว ต้องพูดเรื่องที่ยาก และซับซ้อนให้เข้าใจได้โดยง่าย หรือพูดเรื่องที่ดูง่าย ๆ พื้น ๆ ให้มีหลักการ ได้แง่คิด 3. ต้องเป็นนักฟัง นักพูดมิใช่พูดอย่างเดียวโดยไม่ฟัง เวลาพูดก็มี ผู้ฟัง ผู้ฟังจะโต้ตอบกับผู้พูด เมื่อผู้ฟังพูดเราต้องตั้งใจฟัง ฟังให้ตลอดและ ควบคุมอารมณ์ ขณะที่ฟังอย่าคิดค�ำตอบทันที และฟังเอาความหมาย มากกว่าถ้อยค�ำ เมื่อได้ความครบถ้วนแล้วจึงคิด แล้วพูดตอบตามหลักการ เป็นนักพูดที่ดี 4. ต้องรู้หลักและเทคนิคการน�ำเสนอเป็นประเด็น นักพูดที่ดีต้องเป็น นักฟัง นักอ่าน นักค้นคว้าที่ดีมาก่อน จากนั้นจึงมาเป็นนักเสนอหรือนักพูด เราต้องรู้จักตั้งประเด็นและสรุปประเด็น รู้ว่าประเด็นใดคือประเด็นหลัก ประเด็นใดคือประเด็นรอง และอะไรที่มิใช่ประเด็น 5. มีอารมณ์ขันและสร้างบรรยากาศในการพูดการฟังได้อย่างเหมาะสม เกร็ดอารมณ์ขันมีอยู่มากมาย ทั้งที่มีขายเป็นหนังสือ เทป หรือซีดี การที่เรา
  • 9. 8 ได้ดูได้อ่านก็สามารถเก็บเกี่ยวมาใช้ประกอบการพูดได้ แต่ก่อนใช้เราต้อง ตีความให้แตกเสียก่อน มิเช่นนั้นแล้วจะไม่ขัน อีกทั้งต้องดูกาลเทศะ ให้เหมาะสมด้วย 6. ใช้ภาษาพูดได้ดี คือ เป็นภาษาที่ตรงกับเนื้อหา ความต้องการ และพื้นฐานความรู้ของผู้ฟัง เวลาพูดกับนักวิชาการ พนักงานบริษัท นิสิต นักศึกษา ชาวบ้าน ล้วนแต่ต้องใช้ภาษาที่แตกต่างกัน นักพูดที่ดีต้องเลือก ภาษาที่ใช้พูดให้เหมาะกับผู้ฟังจึงจะประสบความส�ำเร็จ เชิดชูจรรยาบรรณ อาชีพใด ๆ ก็มีจรรยาบรรณทั้งนั้น รวมทั้งนักพูดด้วย ไม่ว่าจะมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่น เพราะจรรยาบรรณจะเป็นประทีปชวาลาส่องน�ำทางให้ เส้นทางการพูดสว่างไสวได้อย่างยาวนาน จรรยาบรรณที่นักพูดควรมีได้แก่ 1. เมื่อถ่ายทอดหรือสอน ต้องมีความรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ หากไม่รู้มา แต่ดั้งเดิม ก็ต้องค้นคว้าและศึกษาให้แตกฉานเสียก่อน 2. ต้องมุ่งประโยชน์ของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง ส่วนใหญ่หน่วยงานหรือผู้เชิญ ให้ไปพูดมีความต้องการว่าผู้มาพูดนั้นจะมาท�ำประโยชน์ ช่วยแก้ปัญหาให้ ผู้เชิญหรือผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องมุ่งสิ่งดังกล่าว แม้ผลตอบแทนเป็นสิ่งของและ เงินทองที่เราจะได้จะสูงหรือต�่ำก็ตาม ก็ไม่ควรถือเป็นความมุ่งหวัง 3. เมื่อได้รับเชิญให้ไปพูด แสดงว่าโอกาสเป็นของผู้พูดแล้ว ในโอกาสนี้ ไม่ควรฉกฉวยการกล่าวโจมตีคนอื่นหรือหน่วยงานอื่นให้เกิดความเสียหาย แม้เรื่องนั้นเป็นเรื่องจริงและไม่ดี หากจ�ำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นอย่าง เลี่ยงไม่ได้ก็ควรแสดงความเป็นกลางเอาไว้
  • 10. 9 4. ไม่ฉกฉวยโอกาสเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว เช่น ประโยชน์ ในการขายหนังสือหรือสิ่งของของผู้พูด หรือเชิญชวนร่วมกิจกรรมของผู้พูด 5. ความประพฤติและการปฏิบัติตนของผู้พูดควรจะสอดคล้องกับ เรื่องที่พูด เช่น พูดเรื่องการปฏิบัติธรรม ผู้พูดต้องปฏิบัติธรรมด้วย ไม่มี เรื่องเสื่อมเสียไม่ว่าในเรื่องใด บันไดก้าวสู่การเป็นนักพูดอย่างมืออาชีพ การเป็นนักพูดที่ประสบความส�ำเร็จนั้นต้องมีจุดเริ่มต้นทั้งนั้น บางคน ก็เหมือนกับคนอื่น ๆ หรือบางคนก็ไม่เหมือนใคร เช่น จุดเริ่มต้นการพูด ของผู้เขียน คือผู้เขียนเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ลูกศิษย์ชั้นปีที่ 4 ออกไป ฝึกงาน และหน่วยงานนั้นมอบหมายให้ลูกศิษย์จัดหาวิทยากรมาพูดเรื่อง การเขียนหนังสือราชการ ลูกศิษย์จึงเสนอชื่อผู้เขียนไป แล้วประตูแห่งการพูด ได้เงินได้ทองของผู้เขียนก็เปิดตั้งแต่บัดนั้น เมื่อวิเคราะห์ว่าท�ำไมจึงท�ำได้ ก็น่าจะเพราะผู้เขียนเป็นอาจารย์อยู่แล้ว ความรู้ที่จะพูดก็มีอยู่อย่างพร้อมมูล อีกทั้งการพูดก็เป็นศาสตร์ที่ศึกษาและฝึกฝนมาโดยตรง จึงไม่ใช่เรื่องยาก อะไรนัก การก้าวไปสู่นักพูดเหมือนกับการขึ้นบันไดที่ต้องขึ้นไปทีละขั้น ๆ การที่เราได้พูดครั้งแรกก็ท�ำนายล่วงหน้าได้ว่าต้องมีครั้งที่ 2 และครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของผู้เขียนและการศึกษาแนวคิดทฤษฎี สามารถสรุปบันไดก้าวไปสู่นักพูดมืออาชีพได้ 6 ขั้น ได้แก่ • หาจุดเริ่มต้นให้ดี • พบเวทีรีบแสดงฝีมือ • ถือโอกาสพัฒนาสม�่ำเสมอ • พบเจอสิ่งใหม่ให้ฝึกฝนจนช�ำนาญ
  • 11. 10 • ถือเป็นงานที่ท�ำไม่หยุดเว้น • เลือกเฟ้นสรรสร้างความรู้ใหม่ หาจุดเริ่มต้นให้ดี การเป็นนักพูดที่ประสบความส�ำเร็จก็เหมือนกับการท�ำงานอื่น ๆ ที่ต้อง อาศัยจุดเริ่มต้นที่ดี จุดเริ่มต้นจริง ๆ อยู่ในใจของทุกคน คือเราต้องตั้งใจให้แน่วแน่ว่าจะเป็น นักพูดที่ประสบความส�ำเร็จให้ได้นั่นเอง หลังจากนั้นคงต้องคิดทบทวนตนเองว่า ถนัดที่จะพูดเรื่องอะไรมาก ที่สุด ศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมให้ช�ำนาญที่สุด พยายามหาโอกาสพูดให้ได้ เช่น ในหน่วยงานที่เราท�ำงานอยู่ หากว่างานนั้นเปิดโอกาสให้เราพูด จงคว้าไว้ ทันที อย่างน้อยการพูดในหน่วยงานก็เป็นเวทีให้เราฝึกฝน เมื่อเราท�ำเช่นนี้บ่อย ๆ ก็เหมือนกับการท�ำความดีที่จะได้รับความ ชื่นชมแผ่กว้างออกไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็จะมีโอกาสพูดนอกหน่วยงาน นั่น หมายถึงการได้รับค่าตอบแทนการพูดนั่นเอง เรื่องที่เราคิดว่าจะพูดให้ได้ดีที่สุดนั้นไม่ควรมีเรื่องเดียว แต่ในขั้นต้น ก็ไม่ควรเกิน 3 เรื่อง หากมีมากเกินไปอาจไม่ได้รับความเชื่อถือก็ได้ แต่ถ้า เป็นผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ ก็ไม่เป็นอะไร เพราะเก่งจริง ส�ำหรับผู้เขียนนั้นแม้มิได้ประกอบอาชีพหลักเป็นนักพูด แต่ก็มีโอกาส ได้ออกไปพูดในเรื่องต่าง ๆ ณ องค์การต่าง ๆ ตามที่เชิญให้ไปพูดหรือเป็น วิทยากรอยู่สม�่ำเสมอ ก็มีจุดเริ่มต้นของการพูดเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในขณะ ที่ปฏิบัติอาชีพเป็นอาจารย์สอนที่สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมนั้น ลูกศิษย์คนหนึ่ง ซึ่งออกไปฝึกงานที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มาแจ้งแก่ ผู้เขียนว่า ทางสถานที่ฝึกงานมอบหมายให้เขาจัดหาวิทยากรมาพูดเรื่องการ เขียนหนังสือราชการแก่พนักงานของการรถไฟฟ้าฯ เขาก็แจ้งแก่หน่วยงานว่า