SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                  หน้าที่ 1
                      ประวัต ิค วามเป็น มาของหนัง ตะลุง

      หนังตะลุงหรือการละเล่นแบบแสดงเงา เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ ที่
แพร่หลายปรากฏทั้งในแถบประเทศยุโรป ตะวันออกกลางและเอเชียอาคเนย์ ดัง
ปรากฏหลักฐานว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะแก่อิยิปต์ได้ใช้
หนังตะลุงแสดง เฉลิมฉลองชัยชนะประกาศเกียรติคุณของพระองค์ หนังตะลุงมีแพร่
หลายในประเทศอิยิปต์ก่อนพุทธกาล ในประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนัง
บูชาเทพเจ้าและสดุดีวิระบุรุษ เรื่องมหากาพย์รามยณะ เรียกหนังตะลุง "ฉายานาฏ
กะ" ในประเทศจีนสมัยจักรพรรดิยวนตี่ (พ.ศ.๔๙๕-๔๑๑) พวกนักพรตลัทธิเต๋า
ได้แสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกผู้หนึ่งแห่งจักรพรรดิพระองค์นี้ เมื่อ
พระนางวายชนม์
     ในสมัยต่อมา หนังตะลุงได้แพร่หลายเข้าสู่ในเอเชียอาคเนย์ เขมร พม่า ชวา
มาเลเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย มีความเชื่อว่า หนังใหญ่เกิดขึ้นก่อน
หนังตะลุงน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย ลัทธิพราหมณ์มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก เรา
เคารพนับถือฤๅษี พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ มีบทบาท
ต่อคนไทยทั้งประเทศถือเป็นเรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์ หนังใหญ่จึงแสดงเฉพาะเรื่อง
รามเกียรติ์ เริ่มแรกคงไม่มีจอ คนเชิดหนังจึงแสดงท่าทางประกอบการเชิดไปด้วย
และหนังใหญ่เกิดขึ้นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีหลักฐานอ้างอิงได้ว่า
มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทาง
โหราศาสตร์และทางกวี พระเจ้าปราสาททอง ทรงรับสั่งเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา
ได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระ
มหาราชครู หรือพระโหราธิบดี ทรงมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนังอัน
เป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทโฆษคำาฉันท์ว่า

                          "ไหว้เทพยดา
                                           รักษ์ทั่วทิศาดร
                      อา-
                      ขอสวัสดีขอพร         ลุแก่ใดดังใจหวัง
                           ทนายผู้คอย      เร่งตามใต้ส่อง
                      ความ                 เบื้องหลัง
                      จงเรืองจำารัสทั้ง    ทิศาภาคทุกพาย
                           จงแจ้งจำาหลัก   อันยิ่งยวดด้วย
                      ภาพ                  ลวดลาย
                      ให้เห็นแก่คนทั้ง
                                           ทวยจะดูจงดูดี"
                      หลาย

        หนังใหญ่เดิมเรียกว่าหนัง เมื่อมีหนังตะลุงขึ้นในภาคใต้ รูปหนังที่ใช้เชิดเล็ก
กว่ามากจึงเรียกหนังที่มีมาก่อนว่าหนังใหญ่ หนังตะลุงเลียนแบบหนังใหญ่ย่อรูป
หนังให้เล็กลง คงแสดงเรื่องรามเกียรติ์เหมือนหนังใหญ่ เปลี่ยนบทพากย์เป็นภาษา
พื้นเมือง เครื่องดนตรีจาก พิณพาทย์ ตะโพน มาเป็น ทับ กลอง ฉิ่ง โหม่ง โองการ
บทพากย์พระอิศวรหนังตะลุงก็ยังนำามาใช้อยู่ตอนหนึ่งว่า
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                  หน้าที่ 2
                           "อดุลโหชันชโน พิณพาทย์ ตะโพน
                      ทั้งผอง              กลอง
                      ข้าจะเล่นให้ท่านทั้ง
                      หลายดู"

          เครื่องดนตรีหนังตะลุง ไม่มีพิณพาทย์ ไม่มีตะโพนใช้เลย แต่เพราะเลียน
แบบหนังใหญ่ จึงติดอยู่ในโองการร่ายมนต์พระอิศวร
     ภาคใต้อยู่ระหว่างภาคกลางกับมาเลเซียและชวา หนังตะลุงจึงเอารูปแบบของ
หนังชวาที่เรียกว่า "วายัง" เข้ามาประสมประสานด้วยมือทั้ง ๒ ของหนังใหญ่
เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ของหนังชวาเคลื่อนไหวได้ อย่างน้อยมือหน้าเคลื่อนที่ได้ รูปหนัง
ตะลุงมือทั้ง ๒ เคลื่อนที่ เช่น รูปตลก รูปนาง ๒ แขน รูปทั่วไป มือหน้าเคลื่อนที่ รูป
หนังชวาให้มีใบหน้าผิดจากคนจริง หนังตะลุงเลียนแบบ ทำาให้หน้ารูปตลกผิดจาก
คนจริง เช่น นายหนูนุ้ยหน้าคล้ายวัว นายเท่งหน้าคล้ายนกกระงัง นายดิกมีปาก
เหมือนเป็ด เป็นต้น
     หนังตะลุงเกิดเมื่อใด นักวิชาการถกเถียงกันมาก หนังตะลุงเกิดขึ้นประมาณ
ปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ ด้วยเหตุผลดังนี้
     ๑.สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่นิยมแต่งกลอนแปด ส่วนมากเป็นลิลิต โคลง กาพย์ พอ
จะมีตัวอย่างกลอนแปดคือเรื่องศิริบูลย์กิติ แต่เพิ่งมาแพร่หลายสมัยต้นกรุง
รัตนโกสินทร์ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร กล่าวเรื่องศิริบูลย์กิติไว้ว่า "กลอนแปดสมัย
กรุง ศรีอ ยุธ ยานั้น เพิ่ง เริ่ม ไหวตัว ยัง หาเป็น แบบประพัน ธ์ท ี่น ิย มกัน นัก ไม่ "
ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้าน ที่เป็นของรุ่นเก่าแก่ ล้วนแต่งเป็นกลอนกาพย์ทั้ง
สิ้น เราพอจะได้แบบกลอนแปดเมื่อหนังสืออุณรุทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๑
เกิดขึ้น กลอนแปดเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง เมื่อสุนทรภู่แต่งเรื่อง
พระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้ว อย่างไรก็ตามเรื่องกากี รามเกียรติ์ อิเหนา สังข์ทอง
มีลักษณะคล้ายกลอนแปด หนังตะลุงที่นิยมขับร้องกลอนแปดเป็นพื้น พอจะถือเป็น
แบบได้
     ๒.ในบทละครเรื่องสังข์ทองของรัชกาลที่ ๒ มีคำากลอนตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "เ
จ้า เงาะนอนถอนหนวดสวดสุบ ิน เล่น ลิ้น ละลัก ยัก ลำา นำา "           ในหนังสือสุบิน
คำากาพย์ ได้กล่าวถึงการเล่นหนังตะลุงไว้ดังนี้       "สมเด็จ ภูธ ร ให้เ ล่น ละคร
โขนหนัง มโนห์ร า "         ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ให้ความเห็นว่า หนังที่
เล่นคู่กับมโนห์รา       ไม่ใช่หนังใหญ่ น่าจะหมายถึงหนังตะลุง เรื่องนางแตงอ่อน
วรรณกรรมท้องถิ่น มีข้อความกล่าวไว้ว่า             "โขนละครหุ่น หนัง โนราร้อ ง
ดัง รับ เพลงยวนดีต ีเ ก้ง "       แสดงว่าในวรรณกรรมเรื่องนี้มีทั้งหนังตะลุงและมโน
ห์รา และเรื่องนางแตงอ่อน คงแต่งก่อนที่หนังมีชื่อใหม่ว่าหนังตะลุง หนังจากภาคใต้
เข้าไปเล่นในกรุงเทพฯครั้งแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโดย
พระยาพัทลุง (เผือก) นำาไปเล่นที่แถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้น ไปจากจังหวัด
พัทลุง คนกรุงเทพฯจึงเรียกหนัง "พัทลุง" ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็นหนังตะลุง หนังที่
เข้าไปกรุงเทพฯครั้งนั้น น่าจะเป็นหนังโรงที่ ๓ สืบจากหนังหนุ้ยโรงที่ ๑ หนักทอง
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                  หน้าที่ 3
หนังก้อนทอง เล่นคู่กันโรงที่ ๒ ดังบทไหว้ครูหนังแต่งโดยนายลั่นตอนหนึ่ง กล่าวไว้
ว่า

                       "นายทองเกื้อที่สาม
                                        วิชาพอเชิดยักษ์ชัก
                   ขึ้นตามต่อ           ฤาษี
                   มุตโตสดศัพท์เสียง    รูพาทีโอดครวญรูป
                   สำาเนียงดี           นวลนาง
                   เขาออกชื่อลือดังหนัง เล่นดีเหลือจนรุ่งพุ่ง
                   ทองเกื้อ             สว่าง
                                        จนชาวบางกอกรับไป
                   มีวิชาพากายไม่จืดจาง
                                        นับนาน"

       ดูถึงฝีมือนายช่างแกะรูปหนัง น่าจะเลียนแบบรูปภาพเรื่องรามเกียรติ์ ที่ผนัง
กำาแพงวัดพระแก้ว เพราะหนังรุ่นแรกล้วนแสดงเรื่องรามเกียรติ์เป็นพื้น ช่างแกะรูป
หนังคงถ่ายทอดแบบมาในสมัยรัชกาลที่ ๒
      หนังตะลุงโรงแรกของภาคใต้เกิดขึ้นที่จังหวัดใด นักวิชาการยังหาข้อยุติไม่ได้
ผู้เขียนเป็นชาวพัทลุง ไม่ได้ช่วงชิงให้หนังตะลุงเกิดที่พัทลุง แต่เมื่อพิจารณาอย่าง
รอบคอบแล้ว หนังโรงแรกน่าจะเกิดที่พัทลุง โดยมีข้ออ้างอิงดังนี้
      ๑.ถ้านายหนุ้ย นายหนักทอง นายก้อนทอง เป็นนายกองช้าง เดินทางระหว่าง
นครศรีธรรมราชกับเมืองยะโฮ ต้องผ่านพัทลุง เพราะผ่านทางสงขลาไม่ได้ มี
ทะเลสาบตอนออกอ่าวไทยกั้นขวาง การหยุดพักกองช้าง ก็น่าหยุดพักที่พัทลุง
มากกว่าหยุดพักที่สงขลา
      ๒.การตั้งชื่อคนพัทลุง ชื่อหนุ้ยกันมากทั้งผู้หญิงและผู้ชาย หนุ้ย หมายถึงเด็ก
เล็กๆ ถ้าเป็นผู้ชายก็เรียกว่าอ้ายหนุ้ย อ้ายตัวหนุ้ย ถ้าเป็นผู้หญิงก็เรียกว่าอีตัวหนุ้ย
อีหมานุ้ย อีนางหนุ้ย เด็กที่มีอายุ ๗-๘ ปี แล้วยังงอแงกับพ่อแม่เรียกว่าทำาหนุ้ย แม้
ในปัจจุบันผู้ชายที่เรียกชื่อว่านายไข่หนุ้ยยังมีอีกจำานวนมาก นายหนุ้ยหนังโรงแรก
จึงน่าจะเป็นชาวพัทลุง
      ๓.จากบทไหว้ครูของนายลั่น ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า

                       "ออกโอษฐ์อ้าสาธก      เป็นนับนานหนังควน
                  ยกนิทาน                    แต่เดิมมา
                  ถิ่นที่อยู่แหลมมะลายูทิศ   เป็นบ้านนอกอาคเนย์
                  ตะวันออก                   บูรทิศา
                  ชื่อบ้านควนเทียมทิมริม     ถางไร่ป่าปลูกผล
                  มรรคา                      ตำาบลนาน
                  มีพวกแขกปนไทยใน            อยู่เป็นที่เป็นถิ่นบุตร
                  บ้านนี้                    หลินหลาน
                  แต่นายหนุ้ยคนไทยใจ         หัดชำานาญตีทับขับ
                  เชี่ยวชาญ                  เป็นกลอน
                  แล้ววาดรูปขูดแกะแล         ช่างโตถึกเรียนรู้ไม่ครู
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                  หน้าที่ 4
                 พิลึก                    สอน
                 รู้ต่างต่างอย่างเทพสิง   ได้ฝึกสอนเริ่มชิด
                 หรณ์                     ติดต่อมา"

     ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการเกิดหนังขึ้นนั้น พัทลุงตั้งเมืองที่เขาไชยบุรี
ต.บ้านควนมะพร้าว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมืองในสมัยนั้น มีเส้น
ทางใหญ่ผ่านทางทิศเหนือบ้านควนมะพร้าว จากลำาปำาไปจังหวัดตรังสำาหรับเป็น
ทางช้างเดินเท้า เส้นทางนี้คือ ถนนพัทลุงตรังในปัจจุบัน พระยาบังส้นผู้ครองเมือง
เป็นแขก จึงมีแขกจากปัตตานีมาตั้งรกรากอยู่ในจังหวัดพัทลุงทั่วไป นานเข้าลูก
หลานก็มีวัฒนะธรรมคล้ายคนไทย พระยาพัทลุง (ขุน) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุไล
มานได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ที่บ้านควนมะพร้าวจึงมีพวกแขกปะปนอยู่ด้วย
หนังนุ้ยน่าจะเป็นชาวบ้านควนมะพร้าว จึงเรียกหนังตะลุงสมัยนั้นว่า "หนัง ควน"
    ๔.นักวิชาการหลายท่าน เห็นพ้องกันว่าหนังทองเกื้อโรงที่ ๓ ที่แสดงที่กรุงเทพฯ
สมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นหนังที่พระยาพัทลุง (เผือก) นำาไปจากเมืองพัทลุง ขณะนั้น
พัทลุงตั้งเมืองอยู่ที่ลำาปำาแล้ว บ้านควนมะพร้าวอยู่ห่างจากลำาปำาไปทางทิศตะวันตก
ประมาณ ๒ กิโลเมตร เนื่องจากพระยาพัทลุง (เผือก) มีอายุมากแล้ว รัชกาลที่ ๓ จึง
โปรดเกล้าให้รับราชการที่กรุงเทพฯ พระราชทานที่บ้าน สนามควาย (บริเวณตลาด
นางเลิ้งในปัจจุบัน) เป็นที่อยู่อาศัย หนังทองเกื้อชาวบ้านควนมะพร้าว ใกล้ชิดกับ
พระยาพัทลุง (เผือก) มาก ไปอยู่กรุงเทพฯ เป็นเวลานานปี ดังบทไหว้ครูว่า           "มี
วิช าพากายไม่จ ืด จาง จนชาวบางกอกรัก ไปนับ นาน "

    ๕.จากหนังควนเป็นหนังตะลุง มีเหตุผลตามข้อ ๔ แล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์
เธอกรมพระยาดำารงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในตำานานละครอิเหนาว่า พวกบ้าน
ควนมะพร้าว แขวงจังหวัดพัทลุง คิดเอาหนังแขกชวามาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อน
แล้วจึงแพร่หลายไปที่อื่นในมณฑลนั้น เรียกกันว่าหนังควน เจ้าพระยาสุรวงศ์ ไวย
วัฒน์ (วร บุนนาค) พาเข้ามากรุงเทพฯ ได้เล่นถวายตัวที่บางปะอินเป็นครั้งแรก เมื่อ
ปีชวด พ.ศ.๒๔๑๙ แม้พระองค์จะทรงกล่าวไว้ว่าหนังตะลุงเป็นของใหม่ เพิ่งเกิดขึ้น
ในรัชกาลที่ ๕ เหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นออกจะค้านที่พระองค์ทรงบันทึกไว้ แต่
ลองคิดถึงความเป็นจริง หนังตะลุงที่กล้าเล่นถวาย ต้องฝึกฝนมาอย่างชำานาญ มีครู
หนังมาก่อนแล้ว หนังตะลุงจึงเกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ แน่นอน
    ๖.จังหวัดพัทลุงเสมือนหนึ่งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และ
สงขลา เมื่อเกิดหนังตะลุงขึ้นที่พัทลุงก็แพร่หลายไปยังจังหวัดใกล้เคียงได้ง่าย
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน มีคณะ
หนังตะลุงเป็นจำานวนมาก จากเหตุผลดังกล่าวแล้ว น่าจะได้ข้อยุติว่าใครเป็นหนัง
ตะลุงโรงแรก เกิดขึ้นเมื่อใด ทำาไมจึงมีชื่อว่า "หนัง ตะลุง "
    นอกจากหนังตะลุงเป็นศิลปะพื้นเมืองของภาคใต้แล้ว ยังแพร่หลายไปยังภาค
กลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ทำานองพากย์และเครื่องดนตรีประกอบการเชิด
ผิดแผกแตกต่างกันไปตามสำาเนียงภาษา ตามความนิยมของภาคนั้นๆ และไม่มีหนัง
ตะลุงจำานวนมากเหมือนในภาคใต้
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                 หน้าที่ 5
                           การสร้า งโรงหนัง ตะลุง

      โรงหนังตะลุง ต้องยกเสา ๔ เสา (ใช้ไม้คำ้าเพิ่มจากเสาได้) ขนาดโรงประมาณ
๒.๓ X ๓ เมตร พื้นยกสูงเลยศีรษะผู้ใหญ่เล็กน้อย และให้ลาดตำ่าไปข้างหน้านิด
หน่อย หลังคาเป็นแบบเพิงหมาแหงน กั้นด้านข้างและด้านหลังอย่างหยาบๆ ด้าน
หลังทำาช่องประตูพาดบันไดขึ้นโรง ด้านหน้าใช้ผ้าขาวบางขึงเป็นจอ จอกว้างและ
ยาวประมาณ ๕ x ๑๐ ฟุต ในโรงมี ตะเกียงนำ้ามันไขสัตว์หรือตะเกียงนำ้ามันมะพร้าว
หรือตะเกียงเจ้าพายุหรือดวงไฟแขวนไว้ใกล้จอสูงจากพื้นราว ๑ ฟุตเศษและห่าง
จากจอราว ๑ ศอก นอกจากนี้ยังมีต้นกล้วยวางไว้ข้างฝาทั้งสองข้างของโรง เพื่อไว้
ปักพักรูปหนัง ประเภทรูปเบ็ดเตล็ด ส่วนบนเพดานโรงจะมีเชือกขึงไว้สำาหรับแขวน
รูปหนังประเภทรูปที่สำาคัญซึ่งมีรูปพระ รูปนาง เป็นต้น สำาหรับจอหนัง ทำาด้วยผ้า
ขาว รูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ ๑.๘ x ๒.๓ เมตรทั้ง ๔ ด้านมอบริมด้วยผ้าสี เช่น
แดง นำ้าเงิน ขนาดกว้าง ๔-๕ นิ้ว มีห่วงผ้าเรียกว่า หูรามเย็บไว้เป็นระยะโดยรอบ หู
รามแต่ละอันจะผูกเชือกยาวประมาณ ๒ ฟุต ๕ นิ้ว เรียกว่า หนวดราม สำาหรับผูกขึง
ไปประมาณ ๑ ฟุตจะตีตะเข็บนัยว่าเป็นเส้นแบ่งแดนกับแดนมนุษย์ เวลาเชิดรูปมี
เฉพาะรูปฤาษี เทวดา และรูปที่มีฤทธานุภาพเท่านั้นที่เชิดเลยเส้นนี้ได้

        ความเชื่อ ในการสร้า งโรงหนัง ตะลุง
     ๑.ห้ามสร้างโรงแสดงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ว่ากันว่าหนังคณะใดแสดงหัน
หน้าโรงไปทางทิศตะวันตก จะไม่มีความเจริญ ชื่อเสียงจะตกตำ่า เหมือนดวงอาทิตย์
ลับฟ้ามีแต่ความมืด
     ๒.ห้ามสร้างโรงแสดงใต้ต้นไม้ใหญ่ทุกต้น ตามลัทธิของพราหมณ์มีความเชื่อกัน
ว่า เทวดาและเทพารักษ์อยู่อาศัย สร้างโรงหนังตะลุงแสดงใต้ต้นไม้ใหญ่เป็นการ
รบกวนเทพ
     ๓.ห้ามสร้างโรงหนังตะลุงคร่อมทางเดิน และทางนำ้าไหล มีความเชื่อกันว่า ทาง
เดินก็ดี ทางสายนำ้าไหลก็ดี เวลากลางคืนมีพวกผีเดิน จะเป็นการขัดขวางทางเดิน
ของพวกผี
     ๔.งานพิธีมงคลสมรส จะแสดงกี่คืนก็ได้ แต่คืนทำาพิธีมอบสาดเรียงหมอนห้าม
แสดง (เรียกว่าหลวงบ่อ) หนังตะลุงคณะใดแสดงคืนนี้มีความเชื่อกันว่าอุบาทว์แก้ไม่
หาย
     ๕.งานศพก็แสดงได้ วันที่ห้ามแสดงคือวันเผาศพ กล่าวคือ วันเผาศพวันไหน
คำ่าคืนนั้นจะห้ามแสดงหนังตะลุง การเผาศพของชาวใต้ สมมุติวันนี้เป็นวันเผา วันรุ่ง
ขึนก็มีการพิธีดับธาตุ หนังตะลุงที่แสดงวันเผาศพก็จะถูกดับธาตุไปด้วยในวันรุ่งขึ้น
   ้
หนังตะลุงคณะใดแสดงวันเผาศพจะไม่มีความเจริญหรืออาจจะต้องเลิกแสดงหนัง
ตะลุงไปตลอดชีวิต
     ๖.ห้ามหนังตะลุงแสดงแก้บน วันขึ้นแรม ๘ คำ่า ๑๔-๑๕ คำ่า (วันพระ) หนังตะลุง
คณะใดแสดงแก้บนวันที่กล่าวมานี้ มีความเชื่อกันว่าแก้บนไม่ขาด สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ถือศีล ไม่มารับเครื่องสังเวย
     ๗.โรงหนังตะลุงที่ดีเหมาะสมกับการแสดง ต้องหันหน้าโรงไปทางทิศตะวันออก
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                  หน้าที่ 6
และทิศใต้ ก็ที่มีความเชื่อดังนี้ คงจะเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศด้วย กล่าวคือ ฤดูการ
แสดงหนังตะลุงก็คือเวลาว่างจากการประกอบอาชีพทำาไร่ทำานา ไม่มีฝนตกทางภาค
ใต้ เมื่อไม่มีฝน ลมจะพัดมาทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก เสียงที่ดังออกจากโรง
หนังจะดังตามกระแสลมไปไกล ทำาให้ผู้ฟังหน้าโรงฟังได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เวลาประชัน
กัน ๒ หรือ ๓ คณะ ถ้าโรงหนังตะลุงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก โรงที่ดีคือโรงทาง
ทิศเหนือ จะได้เปรียบทางทิศใต้ เสียงทางโรงทิศเหนือลมจะช่วยพาไปรบกวนโรง
ทางทิศใต้ โดยที่เสียงโรงทางทิศใต้จะไม่ทวนกระแสลมไปรบกวนโรงทางทิศเหนือ
   ถ้าโรงหนังหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้เวลาประชันกัน โรงที่อยู่ทางทิศ
ตะวันตกจะดีกว่าโรงที่อยู่ทางทิศตะวันออก เพราะลมจะช่วยพาเสียงจากโรงที่อยู่
ทางทิศตะวันตก รบกวนโรงที่อยู่ทางทิศตะวันออก เหมือนกับเสียงทางทิศเหนือ
รบกวนโรงทางทิศใต้
   นอกจากความเชื่อที่กล่าวมาแล้ว คณะหนังตะลุงในสมัยโบราณ ยังมีความเชื่อ
ปลีกย่อยเกี่ยวกับศาสนา และทางโหรศาสตร์อีกมากมาย ความเชื่อและประเพณีการ
แสดงหนังตะลุง ถ้าเรามองให้ลึก ศึกษาให้ดี จะเห็นว่าเกี่ยวกับศีลธรรม สังคม ขีวิต
ประจำาวัน ของมนุษย์เราทั้งสิ้น

                                  รูป หนัง ตะลุง

      รูปหนัง เป็นอุปกรณ์สำาคัญในการแสดงหนังตะลุง หนังคณะหนึ่งๆ ใช้รูปหนัง
ประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ตัว หนังตะลุงแกะโดยนายช่างผู้ชำานาญ ในจังหวัดหนึ่งๆ ของ
ภาคใต้ มีเพียง ๒-๓ คนเท่านั้น ต้นแบบได้มาจากรูปหนังใหญ่ เพราะรูปเก่าแก่ที่
เหลืออยู่เท้าเหยียบนาค มีอายุกว่า ๑๐๐ ปีไปแล้ว ต้นแบบสำาคัญคือรูปเรื่อง
รามเกียรติ์ที่ฝาผนังรอบวัดพระแก้ว ผสมผสานกับรูปหนังของชวา ทำาให้รูป
กะทัดรัดขึ้นและมือหน้าเคลื่อนไหวได้ รูปหนังจะจัดเก็บไว้ใน แผงหนัง โดยวาง
เรียงอย่างเป็นระเบียบและตามศักดิ์ของรูป นั่นคือ เอารูปเบ็ดเตล็ดและรูปตลกที่ไม่
สำาคัญซึ่งเรียกรวมกันว่า รูปกาก ไว้ล่าง ถัดขึ้นมาเป็นรูปยักษ์ พระ นาง เจ้าเมือง
ตัวตลกสำาคัญ รูปปรายหน้าบท พระอิศวร และฤๅษี ตามลำาดับ

           กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะ ช่างภาคใต้ที่ไปพบเห็นก็
ถ่ายทอดมาเป็นแบบ ช่างราม เป็นช่างแกะรูปหนังที่เก่าแก่คนหนึ่งของจังหวัดพัทลุง
นอกจากแกะให้หนังภายในจังหวัดแล้ว ยังแกะให้หนังต่างจังหวัดด้วย รูปของช่าง
รามได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศ แม้ถึงแก่กรรมไปประมาณ ๖๐ ปีแล้ว ชื่อเสียงของท่าน
ทางศิลปะยังมีผู้คนกล่าวขานถึงอยู่ท่านเลียนแบบรูปภาพ เรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระ
แก้วเริ่มแรกก็แกะรูปที่ นำาไปแสดงเรื่องรามเกียรติ์อย่างเดียวจึงได้ชื่อว่า"ช่างราม"
ครั้งหนึ่งท่านส่งรูปหนุมานเข้าประกวด ดูผิวเผินสวยงามมาก หัวของวานร ต้องเกิด
จากวงกลม แต่ของช่างรามไม่อยู่ในกรอบของวงกลม จึงไม่ได้รับรางวัล
     การละเล่นพื้นเมืองที่ได้ชื่อว่า"หนัง" เพราะผู้เล่นใช้รูปหนังประกอบการเล่า
นิทานหลังเงา การแกะรูปหนังตัวสำาคัญ เช่น ฤๅษี พระอิศวร พระอินทร์ นางกินรี
ยังคงเหมือนเดิม แต่รูปอื่นๆ ได้วิวัฒนาการไปตามสมัยนิยมของผู้คน เช่น ทรงผม
เสื้อผ้า รูปหนังรุ่นแรกมีขนาดใหญ่รองจากรูปหนังใหญ่ฉลุลวดลายงดงามมาก เป็น
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                  หน้าที่ 7
รูปขาวดำา แล้วค่อยเปลี่ยนรูปให้มีขนาดเล็กลง ระบายสีให้ดูสะดุดตายิ่งขึ้น
    สมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เคร่งครัดทางด้านวัฒนธรรมมาก ออกเป็นรัฐนิยม
หลายฉบับ ยักษ์นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวก รูปตลก รูปนาง รูปพระสวมหมวก
สวมเสื้อ นุ่งกางเกง นุ่งกระโปรง รูปหนังที่ออกมาแต่งกายมีผิดวัฒนธรรม ตำารวจจะ
จับและถูกปรับทันที
    การแกะรูปหนังสำาหรับเชิดหนัง ให้เด่นทางรูปทรงและสีสัน เมื่อทาบกับจอผ้า
แสงไฟช่วยให้เกิดเงาดูเด่นและสะดุดตา กรรมวิธีแกะรูปหนังแบบพื้นบ้านนำาหนังวัว
หนังควายมาฟอก ขูดให้เกลี้ยงเกลา หนังสัตว์ชนิดอื่นก็นิยมใช้บ้าง เช่น หนังเสือ
ใช้แกะรูปฤๅษีประจำาโรงเป็นเจ้าแผง
    ในปัจจุบัน รูปหนังแกะจากหนังวัวอย่างเดียว ซือหนังจากร้านค้าที่ฟอกสำาเร็จรูป
                                                    ้
อยู่แล้ว ทั้งสามารถเลือกหนังหนา บาง ได้ตามความต้องการ นายช่างวางหนังลง
บนพื้นเขียงที่มีขนาดใหญ่ ใช้เหล็กปลายแหลมวาดโครงร่าง และรายละเอียดของ
รูปตามที่ต้องการลงบนผืนหนัง ใช้แท่งเหล็กกลมปลายเป็นรูคม เรียกว่า "ตุดตู่"   ๊
ตอกลายเป็นแนวตามที่ใช้เหล็กแหลมร่างไว้ ส่วนริมนอกหรือส่วนที่เป็นมุมเป็น
เหลี่ยมและกนกลวดลายอันอ่อนช้อย ต้องใช้มีดปลายแหลมคมยาวประมาณ ๒ นิ้ว
มีด้ามกลมรี พอจับถนัดมือขุดแกะ ทั้งตุ๊ดตู่และมีดขุดแกะมีหลายขนาด เมื่อทำา
ลวดลายตามที่ร่างไว้เสร็จตัดออกจากแผ่นหนัง เรียกว่ารูปหนัง รูปใดนายช่างเห็น
ว่าได้สัดส่วนสวยงาม นายช่างจะเก็บไว้เป็นแม่แบบ เพียงแตะระบายสีให้แตกต่าง
กัน รูปที่นิยมเก็บไว้เป็นแบบ มีรูปเจ้าเมือง นางเมือง รูปยักษ์ รูปวานร รูปพระเอก
รูปนางเอก นำารูปแม่แบบมาทาบหนัง แกะไปตามรูปแม่แบบ ประหยัดเวลา และได้
รูปสวยงาม ผลิตได้รวดเร็ว สีที่ใช้ระบายรูปหรือลงสี นิยมใช้นำ้าหมึก สียอมผ้า สี
                                                                          ้
ย้อมขนม มีสีแดง เหลือง แสด ชมพู ม่วง เขียว นำ้าเงิน และสีดำา ต้องผสมสีหรือ
ละลายสีให้เข้มข้น ใช่พู่กันขนาดต่างๆ จุ่มสีระบาย ต้องระบายเหมือนกันทั้ง ๒ หน้า
ระวังไม่ให้สีเปื้อน สีซึมเข้าในเนื้อของหนังเร็ว ลบออกไม่ได้
    ช่างแกะรูปต้องมีความรู้ประวัติที่มาของรูป ศึกษาแบบของรูป จากรูปจริง จาก
รูปภาพ การเปลี่ยนอิริยาบทของรูปได้อย่างถูกต้อง การเบิกตา เบิกปากรูปต้องใช้
เวทมนต์ประกอบด้วย ที่สำาคัญต้องมีสมาธิอย่างแน่วแน่ เศษหนัง ทำาเป็นมือรูป ริม
ฝีปากล่าง อาวุธต่างๆ ใช้ร้อยมือให้ตดกันเป็น ๓ ท่อน เพื่อให้มอเคลื่อนไหวได้
                                        ิ                        ื
    เมื่อสีแห้งสนิทแล้ว ลงนำ้ามันยางใส เพื่อให้รูปเกิดเงาวาววับ เดี๋ยวนี้หานำ้ามันยาง
ไม่ได้ ใช้นำ้ามันชักเงาแทน จากนั้นติดไม้ตับ ติดไม้มือ รูปที่ชักปากได้ ติดคันเบ็ดผูก
เชือกชักปาก เป็นอันว่าเป็นรูปหนังที่สมบูรณ์ ช่างแกะรูปหนัง นอกจากแกะจำาหน่าย
แก่คณะหนังตะลุงแล้ว ยังแกะจำาหน่ายทั่วไป เพื่อนำาไปประดับประดา อาคารบ้าน
เรือน ชาวต่างชาตินิยมกันมาก แต่ตองทำาอย่างประณีต บรรจง จึงจะจำาหน่ายได้
                                      ้
ราคาดี ช่างแกะรูปหนังหาความรำ่ารวยมิได้ เพียงแต่พอดำารงชีพอยู่ได้เท่านั้น

                                 ตัวตลกหนังตะลุง
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                  หน้าที่ 8
          ตัว ตลก หรือ รูป กาก มีความสำาคัญในการแสดงหนังตะลุงมาก
สามารถตรึงคนดูได้มีความผูกพันกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าตัวละครอื่นๆ หนัง
คณะหนึ่งๆ มีตัวตลกไม่น้อยกว่า 10 ตัวขึ้นไป พูดภาษาถิ่นใต้ การแต่งกายมัก
เปลือยท่อนบน หน้าตาจะผิดเพี้ยนจากคนจริงไปบ้าง แต่ละตัวมีเสียงพูดหรือสำาเนียง
โดยเฉพาะ ตัวตลกเอก นิยมนำาหนังตีนของอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ มาทำาเป็นริม
ฝีปากล่าง เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ปิดทองทั้งตัว ขนาดเชือกชักปากทำา
ด้วยทองแบบสร้อยคอก็มี ตัวตลกมีเป็นจำานวนมาก เฉพาะตัวที่สำาคัญมีดังนี้
                              1.อ้า ยเท่ง เอาเค้ามาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อเท่ง
                          อยู่บ้านคูขุด อำาเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา หนังจวน
                          บ้านคูขุดนำามาตัดรูปตลกเป็นครั้งแรก หนังคณะอื่นๆ นำา
                          ไปเลียนแบบ รูปร่างผอมบางสูง ท่อนบนยาวกว่าท่อน
                          ล่าง ผิวดำา ปากกว้าง หัวเถิก ผมงอหยิก ใบหน้าคล้าย
                          นกกระฮัง นิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย นิ้งชี้
                          กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน นุ่งผ้าโสร่ง
                          ลายตาหมากรุก คาดพุงด้วยผ้าขะม้า ไม่สวมเสื้อ ที่สะเอว
                          เหน็บมีดอ้ายครก (มีดปลายแหลมด้านงอโค้งมีฝัก) ชอบ
                          พูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ขู่สำาทับผู้อื่น ล้อเลียนเก่ง
                          เป็นคู่หูกับอ้ายหนูนุ้ย
                            2.อ้า ยหนูน ุ้ย นำาเค้ามาจากคนซื่อๆ แกมโง่ ผิวดำา
                         รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงยานโย้คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า
                         จมูกปากยื่นออกไป คล้ายกับปากวัว มีเครายาวคล้าย
                         หนวดแพะ ใครพูดเรื่องวัวเป็นไม่พอใจ นุ่งผ้าโสร่งแต่
                         ไม่มีลวดลาย ไม่สวมเสื้อ ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็น
                         อาวุธ พูดเสียงตำ่าสั่นเครือดันขึ้นนาสิก ชอบคล้อยตามคน
                         ยุยงส่งเสริม แสดงความซื่อออกมาเสมอ
                              3.นายยอดทอง เชื่อกันว่าเป็นชื่อคนจริงชาวจังหวัด
                         พัทลุง รูปร่างอ้วน ผิวดำา พุงย้อยก้นงอนขึ้นบนผมหยิก
                         เป็นลอน จมูกยื่น ปากบุ๋ม เหมือนปากคนแก่ไม่มีฟัน หน้า
                         เป็นแผลจนลายคล้ายหน้าจระเข้ ใครพูดถึงเรื่องจระเข้
                         ไม่พอใจ นุ่งผ้าลายโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อ เหน็บกริช
                         เป็นอาวุธประจำากาย เป็นคนเจ้าชู้ ปากพูดจาโอ้อวด
                         ใจเสาะ ขีขลาด ชอบขูหลอก พูดจาเหลวไหล ยกย่อง
                                    ้              ่
                         ตนเอง บ้ายอ ชอบอยู่กับนายสาว ที่มีสำานวนชาวบ้านว่า
                         "ยอดทองบ้า นาย "
                               นายยอดทอง แสดงคู่กับตัวตลกอื่นๆ ได้หลายตัว
                         เช่น คู่กับอ้ายหลำา คู่กับอ้ายขวัญเมือง คู่กับอ้ายพูนแก้ว
                         คู่กับอ้ายดำาบ้า คู่กับอ้ายลูกหมี คู่กับอ้ายเสมียน เป็นต้น
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                หน้าที่ 9
                           4.นายสีแ ก้ว เชื่อกันว่าเอาเค้ามาจากคนที่ชื่อสีแก้ว
                       จริงๆ เป็นคนมีตบะ มือหนักโกรธใครตบด้วยมือหรือชน
                       ด้วยศีรษะ เป็นคนพูดจริง ทำาจริง สู้คน ชอบอาสาเจ้า
                       นายด้วยจริงใจ ตักเตือนผูอื่นให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตาม
                                                    ้
                       ทำานองคลองธรรม รูปร่างอ้วนเตี้ย ผิวคลำ้า มีโหนกคอ
                       ศีรษะล้าน นุ่งผ้าโจงกระเบนลายตาหมากรุก ไม่สวมเสื้อ
                       ไม่ถืออาวุธใดๆ ใครพูดล้อเลียนเกี่ยวกับเรื่องพระ เรื่อง
                       ร้อน เรื่องจำานวนเงินมากๆ จะโกรธทันที พูดช้าๆ ชัด
                       ถ้อยชัดคำา เพื่อนคู่หูคือนายยอดทอง
                            5.อ้า ยสะหม้อ หนังกั้น ทองหล่อ นำามาจากคนจริง
                       โดยได้รับอนุญาตจากชาวอิสลามชื่อสะหม้อ อยู่บ้านสะ
                       กอม อำาเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนังตะลุงอื่นๆ ที่นำาไป
                       เลียนแบบ พูดกินรูปสู้หนังกั้น ทองหล่อไม่ได้ รูปร่างอ้าย
                       สะหม้อ หลังโกง มีโหนกคอ คางย้อย ลงพุง รูปร่างเตี้ย
                       สวมหมวกแขก นุ่งผ้าโสร่ง ไม่สวมเสื้อ พูดล้อเลียนผู้อื่น
                       ได้เก่ง ค่อนข้างอวดดี นับถือศาสนาอิสลามแต่ชอบกิน
                       หมู ชอบดื่มเหล้า พูดสำาเนียงเนิบนาบ รัวปลายลิ้น
                            6.อ้า ยขวัญ เมือ ง ไม่มีประวัติความเป็นมา เป็นตัว
                       ตลกเอกของหนังจันทร์แก้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช
                       คนในถิ่นนั้น เขาไม่เรียกว่าอ้ายเมือง แต่เรียกว่า
                       "ลุง ขวัญ เมือ ง" แสดงว่าได้รับการยกย่องจากคนใน
                       ท้องถิ่นอย่างสูงเหมือนกับเป็นคนสำาคัญผู้หนึ่ง ใบหน้า
                       ของขวัญเมืองคล้ายแพะ ผมบางหยิกเล็กน้อย ผิวดำา หัว
                       เถิก จมูกโด่งโตยาว ปากกว้าง พุงยานโย้ ก้นเชิด ปลาย
                       นิ้วชี้คล้ายนิ้วมืออ้ายเท่ง นุ่งผ้าพื้นดำา คาดเข็มขัด ไม่
                       สวมเสื้อ เป็นคนซื่อ บางครั้งแฝงไว้ซึ่งความฉลาด ชอบ
                       สงสัยเรื่องของผู้อื่น พูดจาเสียงหวาน หนังจังหวัดสงขลา
                       แสดงคู่กับอ้ายสะหม้อ หนังจังหวัดนครศรีธรรมราชแถว
                       อำาเภอเชียรใหญ่ หัวไทร ปากพนัง ท่าศาลา ให้แสดงคู่
                       กับนายยอดทอง หนังพัทลุง ตรัง นิยมให้เป็นตัวบอก
                       เรื่อง เฝ้าประตูเมือง ออกตีฆ้องร้องป่าว
                            7.อ้า ยโถ เอาเค้ามาจากจีนบ๋าบา ชาวพังบัว อำาเภอ
                       สะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา รูปร่าง มีศีรษะค่อนข้างเล็ก
                       ตาโตถลน ปากกว้าง ริมฝีปากล่างเม้มเข้าใน ส่วนท้องตึง
                       อกใหญ่เป็นรูปโค้ง สวมหมวกมีกระจุกข้างบน นุ่งกางเกง
                       ถลกขา ถือมีดบังตอเป็นอาวุธ ชอบร้องรำาทำาเพลง ขี้
                       ขลาดตาขาว โกรธใครไม่เป็น ถือเอาเรื่องกินเป็นเรื่อง
                       ใหญ่ ใครจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม อ้ายโถจะชักเรื่องที่พูด
                       วกเข้าหาเรื่องกินเสมอ เป็นตัวตลกประกอบ
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                 หน้าที่ 10
                              8.ผู้ใ หญ่พ ูน น่าจะเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่คนใดคน
                          หนึ่ง รูปร่างสูงใหญ่ จมูกยาวคล้ายตะขอเกี่ยวมะพร้าว
                          ศีรษะล้าน มีผมเป็นกระจุกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลาง
                          กลวงอยู่ กลางพุงโย้ย้อยยาน ตะโพกใหญ่ขวิดขึ้นบน
                          เพื่อนมักจะล้อเลียนว่า บนหัวติดงวงถังตักนำ้า สันหลัง
                          เหมือนเขาพักผ้า (อยู่ระหว่างพัทลุง-ตรัง) นุ่งผ้าโจง
                          กระเบน ไม่มีลวดลาย ชอบยุยง โม้โอ้อวด เห่อยศ ขูตะ    ่
                          คอผู้อื่นให้เกรงกลัว ธาตุแท้เป็นคนขี้ขลาดตาขาว ชอบ
                          แสแสร้งปั้นเรื่องฟ้องเจ้านาย ส่วนมากเป็นคนรับใช้อยู่
                          เมืองยักษ์หรือกับฝ่ายโกง พูดช้าๆ หนีบจมูก เป็นตัวตลก
                          ประกอบ
    นอกจากที่นำามาเสนอไว้ ยังมีตัวตลกอีกหลายตัว เช่น ครูฉิม ครูฉุย สิบค้างคูด อี
โร้ง อ้ายทองทิง อ้ายบองหลา อ้ายท่านำ้าตก เผียก อ้ายโหนด ตัวตลกฝ่ายหญิงก็มี
หลายตัว เช่น อีหนูเตร็ด อีหนูเน่า หนังแต่ละคณะ มีตลกเอกไม่เกิน 6 ตัว เข้ากับ
เสียงและนิสัยของนายหนัง นอกนั้นเป็นตัวตลกประกอบ ทุกตัวต้องเรียกเสียง
หัวเราะจากคนดูได้ ตัวตลกเอกเรียกเสียงหัวเราะได้มากและแสดงตลอดเรื่อง



                                ดนตรีห นัง ตะลุง

                ดนตรีหนังตะลุงในอดีต มีความเรียบง่าย ชาวพื้นบ้านในท้องถิ่น
ประดิษฐ์ขึ้นได้เอง โดยใช้วัสดุในพื้นบ้าน มีทับ กลอง โหม่ง ฉิ่ง เป็นสำาคัญ ปี่ ซอ
เกิดขึ้นภายหลังก็คงใช้วัสดุพื้นบ้านอยู่ดี ต่อมาวัฒนธรรมภายนอกโดยเฉพาะดนตรี
ไทยสากล หนังตะลุงจึงเพิ่มดนตรีใหม่ๆ เข้ามาเสริม เช่น กลองชุด กีตาร์ ไวโอลีน
ออร์แกน จำานวนลูกคู่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ค่าราดเพิ่มขึ้น ยิ่งในปัจจุบันคน
ยากจนไม่มีทุนรอนพอที่จะรับหนังตะลุงไปแสดงได้เลย
    ดนตรีหนังตะลุง คณะหนึ่งๆ มีดังนี้




    ๑.ทับ เครื่องกำากับจังหวะและท่วงทำานอง ที่สำาคัญที่สุด ผู้บรรเลงดนตรีชิ้นอื่นๆ
ต้องคอยฟังจังหวะยักย้ายตามเพลงทับ ที่นิยมใช้มีถึง ๑๒ เพลง คือ เพลงเดิน เพลง
ถอยหลังเข้าคลอง เพลิงเดินยักษ์ เพลงสามหมู่ เพลงนาดกลายออกจากวัง เพลงนาง
เดินป่า เพลงสรงนำ้า เพลงเจ้าเมืองออกสั่งการ เพลงชุมพล เพลงยกพล เพลงยักษ์
และเพลงกลับวัง ผู้ชำานาญที่เรียกว่ามือทับเท่านั้นจึงสามารถตีทับครบ ๑๒ เพลงได้
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                 หน้าที่ 11
ทับหนังตะลุงมี ๒ ใบ ใบหนึ่งเสียงเล็กแหลม เรียกว่า "หน่วยฉับ" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม
เรียกว่า "หน่วยเทิง" ทับหน่วยฉับเป็นตัวยืน ทับหน่วยเทิงเป็นตัวเสริม หนังตะลุงใน
อดีตมีมอทับ ๒ คน ไม่น้อยกว่า ๖๐ ปีมาแล้วใช้มือทับเพียงคนเดียว ใช้ผ้าผูกไขว้
        ื
กัน บางคนวางบนขา บางคนวางขาข้างหนึ่งบนทับ กดไว้ไม่ให้ทับเคลื่อนที่
    โดยทั่วไป ทับนิยมทำาด้วยแก่นไม้ขนุน ตบแต่งและกลึงได้ง่าย ตัดไม้ขนุนออก
เป็นท่อนๆ ยาวท่อนละประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ฟันโกลนด้วยขวานให้เป็นรูปคล้าย
กลองยาว นำามาเจาะภายใน และกลึงให้ได้รูปทรงตามต้องการลงนำ้ามันชักเงาด้าน
นอก หุ้มด้วยหนังค่าง ตรงแก้มทับร้อยไขว้ด้วยเชือกด้วยหรือไนลอน ร้อยด้วย
หวาย ลอดเข้าในปลอกหวายส่วนหลัง ดึงหวายให้ตึงเสมอกัน ก่อนใช้ทุกครั้ง ต้อง
ชุบนำ้าที่หนังหุ้ม ใช้ผ้าขนาดนิ้วก้อยอัดที่แก้มทับด้านใน ทำาให้หนังตึงมีเสียงไพเราะ
กังวาน




    ๒.โหม่ง เป็นเครื่องกำากับการขับบทของนายหนัง โหม่งมี ๒ ใบ ร้อยเชือกแขวน
ไว้ในรางไม้ ห่างกันประมาณ ๒ นิ้ว เรียกว่า "รางโหม่ง" ใบที่ใช้ตีเป็นเหล็กมีเสียง
แหลมเรียกว่า "หน่วยจี้" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม เรียกว่า "หน่วยทุ้ม" ในอดีตใช้โหม่ง
ราง โหม่งลูกฟากก็เรียก ทำาด้วยเหล็กหนาประมาณ ๐.๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐ นิ้ว
กว้าง ๔ นิ้ว อัดส่วนกลางให้เป็นปุ่มสำาหรับตี ส่วนโหม่งหล่อใช้กันมาประมาณ ๖๐
ปี หล่อด้วยทองสำาริดรูปลักษณะเหมือนฆ้องวง การซื้อโหม่งต้องเลือกซื้อที่เข้ากับ
เสียงของนายหนัง อาจขูดใต้ปุ่มหรือพอกชันอุดด้านใน ให้มีใยเสียงกลมกลืนกับ
เสียงของนายหนัง ไม้ตีโหม่งใช้อันเดียว ปลายข้างหนึ่งพันด้วยผ้าหรือสวมยาง
ทำาให้โหม่งมีเสียงนุ่มนวล และสึกหรอน้อยใช้ได้นาน
    ๓.ฉิ่ง ใช้ตีเข้าจังหวะกับโหม่ง คนตีโหม่งทำาหน้าที่ตีฉิ่งไปด้วย กรับเดี๋ยวนี้ไม่
ต้องใช้ นำาฝาฉิ่งกระแทรกกับรางโหม่งแทนเสียงกรับได้




   ๔.กลองตุก มีขนาดเล็กกว่ากลองมโนห์รา รูปแบบเหมือนกัน ใช้ไม้ ๒ อัน โทน
ใช้ตีแทนกลองตุกได้
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                 หน้าที่ 12




    ๕.ปีีี่ หนังตะลุงใช้ปี่นอกบรรเลงเพลงต่างๆ ถือเอาเพลงพัดชาเป็นเพลงครู
ประกอบด้วยเพลงไทยเดิมอื่นๆ ได้แก่ เพลงสาวสมเด็จ เขมรปี่แก้ว เขมรปากท่อ
ชะนีกันแสง พม่ารำาขวาน พม่าแทงกบ สุดสงวน เขมรพวง ลาวดวงเดือน เพลงลูก
ทุ่งหลายเพลงอาศัยทำานองเพลงไทยเดิม คนเป่าปี่ก็เล่นได้ดี แม้เพลงไทยสากลที่
กำาลังฮิต ปี่ ซอ ก็เล่นได้ โดยไม่รู้ตัวโน๊ตเลย ซออู้ ซอด้วง ประกอบปี่ ทำาให้เสียงปี่มิ
เล็กแหลมเกินไป ชวนฟังยิ่งขึ้น ปี่ ซอ สามารถยักย้ายจังหวะให้ช้าลงหรือเร็วขึ้น
ตามจังหวะทับได้อย่างกลมกลืนและลงตัว

    การบรรเลงดนตรีหนังตะลุง แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
    ๑.บรรเลงดนตรีล้วน เช่น ยกเครื่อง ตั้งเครื่อง ลงโรง
    ๒.บรรเลงเพลงประกอบการรับบท ขึ้นบท ถอนบท เลยบท เชิด บรรเลงประกอบ
การขับกลอนแปด กลอนคำากลอน กลอนลอดโหม่ง ประกอบการบรรยาย อิริยาบถ
ของตัวละครและบรรเลงประกอบบทบาทเฉพาะอย่าง เช่น บทโศก ลักพา ร่ายมนต์
     ปัจจุบันนี้ ดนตรีหนังตะลุงเปลี่ยนแปลงไปมาก มีเครื่องดนตรีมากขึ้น บางท่าน
ว่าเป็นการพัฒนาให้เข้ากับสมัยนิยม แต่เป็นการทำาลายเอกลักษณ์ของดนตรีหนัง
ตะลุงไปอย่างน่าเป็นห่วง เวลา ๑๒.๐๐ น. ของวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ มี
นายหนังระดับปริญญาโท ๒ ท่าน คือ หนังนครินทร์ชาทอง จังหวัดสงขลา หนัง
บุญธรรม เทิดเกียรติชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ให้สัมภาษณ์ออกทีวีช่อง ๙
ยอมรับในความลืมตัวของนายหนังรุ่นใหม่ ทำาให้มีค่าใช้จ่ายสูง โอกาสการแสดง
น้อยลง ลูกคู่ยิ่งหายาก เพราะไม่มีคนสืบสานต่อ นี่เป็นลางบอกให้ทราบล่วงหน้า
หนังตะลุงสัญลักษณ์ของภาคใต้ จะลงเอยในรูปใด

                          ขั้น ตอนการแสดงหนัง ตะลุง

              หนังตะลุงทุกคณะมีลำาดับขั้นตอนในการแสดงเหมือนกันจนถือเป็น
ธรรมเนียมนิยม ดังนี้
   ๑.ตั้งเครื่อง
   ๒.แตกแผง หรือแก้แผง
   ๓.เบิกโรง
   ๔.ลงโรง
   ๕.ออกลิงหัวคำ่า เป็นธรรมเนียมของหนังในอดีต ลิงดำาเป็นสัญลักษณ์ของอธรรม
ลงขาวเป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ เกิดสู้รบกัน ฝ่ายธรรมะก็มีชัยชนะแก่ฝ่ายอธรรม
ออกลิงหัวคำ่ายกเลิกไปไม่น้อยกว่า ๗๐ ปีแล้ว ช่วงชีวิตของผู้เขียนไม่เคยเห็นลิงดำา
ลิงขาวที่สู้รบกันเลย เพียงได้รับการบอกเล่าจากผู้สูงอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป
   ๖.ออกฤๅษี หรือ ชักฤๅษี
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                หน้าที่ 13




   ฤๅษี เป็นรูปครู มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องปัดเสนียดจัญไร และ
ภยันตรายทั้งปวง ทั้งช่วยดลบันดาลให้หนังแสดงได้ดี เป็นที่ชื่นชมของคนดู รูปฤๅษี
รูปแรกออกครั้งเดียว นอกจากประกอบพิธีตัดเหมฺรฺยเท่านั้น
   ๗.ออกรูปพระอิศวร หรือรูปโค




   รูปพระอิศวรของหนังตะลุง ถือเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเทพเจ้าแห่งความบันเทิง
ทรงโคอุสุภราชหรือนนทิ หนังเรียกรูปพระอิศวรว่ารูปพระโคหรือรูปโค หนังคณะใด
สามารถเลือกหนังวัวที่มีเท้าทั้ง 4 สีขาว โหนกสีขาว หน้าผากรูปใบโพธิ์สีขาว ขน
หางสีขาว วัวประเภทนี้หายากมาก ถือเป็นมิ่งมงคล ตำาราภาคใต้ เรียกว่า "ตีนด่าง
หางดอก หนอกพาดผ้า หน้าใบโพธิ์"
   โคอุสุภราชสีเผือกแต่ช่างแกะรูปให้วัวเป็นสีดำานิล เจาะจงให้สีตัดกับสีรูปพระ
อิศวร ตามลัทธิพราหมณ์พระอิศวรมี 4 พระกร ถือตรีศูล ธนู คฑา และ บาศ พระ
อิศวรรูปหนังตะลุงมีเพียง 2 กร ถือจักร และ พระขรรค์ เพื่อให้รูปกะทัดรัดสวยงาม
   ๘.ออกรูปฉะ หรือรูปจับ "ฉะ" หมายถึง การสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์
ยกเลิกไปพร้อมๆกับลิงหัวคำ่า
   ๙.ออกรูปรายหน้าบทหรือรูปกาศ ปราย หมายถึง อภิปราย กาศ หมายถึง
ประกาศ
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                 หน้าที่ 14
    รูปปรายหน้าบท หรือ รูปกาศ หรือ รูปหน้าบท เสมือนเป็นตัวแทนนายหนังตะลุง
เป็นรูปชายหนุ่มแต่งกายโอรสเจ้าเมือง มือหน้าเคลื่อนไหวได้ มือทำาเป็นพิเศษให้นิ้ว
มือทั้ง 4 อ้าออกจากนิ้วหัวแม่มือได้ อีกมือหนึ่งงอเกือบตั้งฉาก ติดกับลำาตัวถือ
ดอกบัว หรือช่อดอกไม้ หรือธง
   ๑๐.ออกรูปบอกเรื่อง




   รูปบอกเรื่อง คือรูปบอกคนดูให้ทราบว่า ในคืนนี้หนังแสดงเรื่องอะไร สมัยทีหนัง
                                                                            ่
แสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว ก็ตองบอกให้ผู้ดูทราบว่าแสดงเรื่องรามเกียรติ์
                                         ้
ตอนใด บอกคณะบอกเค้าเรื่องย่อๆ เพื่อให้ผู้ดูสนใจติดตามดู หนังทั่วไปนิยมใช้รูป
นายขวัญเมืองบอกเรื่อง
  ๑๑.ขับร้องบทเกี้ยวจอ
  ๑๒.ตั้งนามเมืองหรือตั้งเมือง เริ่มแสดงเป็นเรื่องราว




  ตั้งนามเมือง เป็นการเปิดเรื่องหรือจับเรื่องที่จะนำาแสดงในคืนนั้น กล่าวคือการ
ออกรูปเจ้าเมืองและนางเมือง

                        การประชัน โรงของหนัง ตะลุง

              การประชันโรงของหนังตะลุง เป็นที่ชื่นชอบของชาวปักษ์ใต้มาเป็น
เวลานานปี นับแต่สมัย ร.๕ จนถึงปัจจุบัน การประชันโรงมีตั้งแต่ ๒ โรงขึ้นไป ถึง
๑๐ โรง เลือกเฟ้นเอาหนังที่มีชื่อเสียงระดับเดียวกัน ถ้าเปรียบกับภาษามวยเรียกว่า
ถูกคู่ ในงานเทศกาลสำาคัญๆ มีการแข่งขันประชันโรงแพ้คัดออก มีประชันติดต่อกัน
หลายคืน เอารองชนะเลิศมาแข่งขันกันในคืนสุดท้าย นอกจากเงินราดแล้วมีการตั้ง
รางวัลเกียรติยศ เช่น ฤๅษีทองคำา หรือขันนำ้าพานรอง หรือถ้วยของบุคคลสำาคัญ
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                 หน้าที่ 15
งานประชันหนังตะลุงที่สนามหน้าเมือง สนามหน้าอำาเภอทุ่งสง จังหวัด
นครศรีธรรมราช ที่สนามกีฬา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่หน้าศาลากลางจังหวัด
พัทลุง มีหนังตั้งแต่ ๑๐ คณะ ถึง ๒๕ คณะ ผู้ชนะเลิศย่อมได้รับการยกย่อง มีงาน
แสดงมากขึ้น ค่าราดโรงเพิ่มขึ้น
            หนังตะลุงประชันกันในวัด เพราะเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีเพียง ๒ โรง
เคร่งครัดต่อกติกา ทำาเป็นหนังสือสัญญา ๓ ฉบับ นายหนังหรือเจ้างานผิดสัญญา
ปรับไหมกันได้ ถือกติกาธรรมเนียมดังนี้
     ๑.นายหนังทั้ง ๒ โรง ต้องมาถึงสถานที่แข่งขันก่อนคำ่าอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง
     ๒.ต้องจับฉลากขึ้นโรง จะเลือกที่โรงเอาเองตามใจชอบไม่ได้
     ๓.มาตกลงข้อสัญญา และเทียบเวลากับนาฬิกากองกลางเพื่อให้เวลาตรงกันทั้ง
๒ โรง
     ๔.๑ ทุ่มตรง ลงโรง หรือโหมโรง ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๑
     ๕.๒ ทุ่มตรง ออกฤๅษี ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๒
     ๖.เที่ยงคืน หยุดพัก ๑ ชั่วโมง ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๓
     ๗.เวลา ๑ นาฬิกาตรง แสดงต่อ ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๔
     ๘.เวลา ๕ นาฬิกาตรง ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๔ เพื่อบอกให้นายหนังรู
ตัวว่ายังเหลือเวลาเพียงชั่วโมงเดียวก็จะถึงเวลาเลิกแสดง ใครมีทีเด็ดเม็ดทราย ก็ใช้
กันในตอนนี้เรียกว่าชะโรงเพื่อให้คนจากอีกโรงหนึ่ง มาอยู่หน้าโรงของตน แม้ว่า
แพ้มาตลอดคืน แต่ตอนใกล้รุ่งสามารถกู้หน้าไว้ได้
     ๙.เวลา ๖ นาฬิกาตรง ตะโพนยำ่าให้สัญญาณเป็นครั้งสุดท้ายเลิกการแสดงได้
    ๑๐.เจ้างานต้องเลี้ยงดูอาหารมื้อเย็น และจัดอาหารว่างตอนหยุดพัก อาหารต้อง
ปราศจากยาพิษ ที่ฝ่ายตรงกันข้ามอาจลอบใส่ลงได้ เจ้างานต้องรับผิดชอบ
    ๑๑.ต้องจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรยามใต้ถุนโรงตลอดเวลา
    ๑๒.ให้ค่าราดโรงครบตามสัญญา
         การแข่งขันประชันโรงหนังตะลุหลังจากปี พ.ศ.๒๕๐๐ ไม่ค่อยเคร่งครัดใน
กติการสัญญา หนังแต่ละโรงต่างรู้จักกันดี แข่งขันเอาแพ้ชนะตามความสามารถตน
ไม่ผูกแค้นจองเวรซึ่งกันและกัน พิธีกรรมทางไสยศาสตร์แทบไม่มีนับถอยหลังไป
จาก พ.ศ.๒๕๐๐ ในการแข่งขันประชันโรง ใช้พิธีกรรมทางไสยศาสตร์กันอย่าง
เคร่งครัด ใช้ชิน ใช้ผี ให้ไปทำาร้ายฝ่ายตรงกันข้าม เช่น เสียงแหบแห้ง ความทรง
จำาเลอะเลือน ตลกไม่ออก ตลกแล้วไม่มีคนหัวเราะ คนที่ไม่เชื่อทางไสยศาสตร์มา
ตั้งแต่เยาว์ แต่ไม่ตำาหนิติเตียนผู้ที่มีความเชื่อ อย่างน้อยก็ช่วยให้เกิดความมั่นใจ
มีหมอทางไสยศาสตร์คนหนึ่ง เป็นที่เชื่อถือของหนังทั่วไป มีความสามารถในการ
ทำาให้จอของฝ่ายตรงกันข้ามมืด มองรูปบนจอไม่ชัดเจน คืนหนึ่งมาขอช่วยให้ผู้
เขียนไปทำาให้ ถ้าทำาเองมีคนรู้จักมาก คืนนั้นเป็นเวลา ๙ ทุ่มแล้ว จึงไปถึงหน้าโรง
หนังที่ไปหาท่านเอาไว้ มอบหลอดไม้ไผ่เล็กๆ ให้แก่ผู้เขียน และบอกว่าในหลอดนี้มี
ชันบดผง ถ้าเราเป่าไปบนจอหนังตรงตะเกียงจอร้อน ชันที่บดละเอียดพอกระทบกับ
จอ ก็จะละลายจับผ้าจอ หนึ่งหลอดก็พอแล้ว และสั่งว่าถ้าหนังมีคนดูไล่เลี่ยกัน ไม่
ต้องทำา จอเขาติดชันซักออกยาก เป็นบาปเป็นกรรม ผู้เขียนโชคดีไม่ต้องใช้ผงชัน
เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง
                                 หน้าที่ 16
เพราะการแข่งขันอยู่ในเกณฑ์เสมอกัน และการใช้ผงชัน ถ้าเขาจับได้ เสี่ยง
อันตรายมากทีเดียว

                           การสืบ ทอดและพิธ ีก รรม

       ๑.ในสมัยโบราณผู้ใดจะแสดงหนังตะลุงก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์กับคณะหนัง
ตะลุงที่ตัวเองชอบในแนวทางการแสดง พร้อมกับนำาดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ไป
มอบให้เพื่อเป็นการบูชา ฝ่ายครูก็มีการทดสอบโดยให้ร้องบทให้ฟังก่อน เพราะคนที่
จะแสดงหนังตะลุงได้นั้นต้องมีการสนใจมาก่อน และจะต้องจำาบทหนังตะลุงได้บ้าง
ถึงไม่มากก็น้อย อันดับแรกครูจะฟังนำ้าเสียง และเชาว์ปัญญา ถ้าไม่มีเชาว์ นำ้าเสียง
ไม่ดี ก็ไม่รับเป็นศิษย์ ไม่เพียงหนังตะลุงศิลปินพื้นบ้านทุกประเภทในสมัยโบราณ ถ้า
นำ้าเสียงไม่ดีไม่สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะไม่มีเทคโนโลยีช่วยเหมือนสมัยนี้
ต้องใช้เสียงตัวเอง โดยเฉพาะหนังตะลุงแสดงตั้งแต่หัวคำ่าจนสว่างใช้เวลาในการ
แสดงไม่ตำ่ากว่าแปดชั่วโมง นับว่าเป็นงานที่หนักมากพอดู
    ๒.การครอบมือ เมื่ออาจารย์รับผู้สมัครไว้เป็นศิษย์ ถ้าบ้านลูกศิษย์อยู่ไกล เช่น
ต่างอำาเภอหรือต่างจังหวัด อาจารย์ก็จะรับไว้ให้อยู่ที่บ้าน อยู่กินกับอาจารย์ สอน
วิชาให้ อาจารย์ไปแสดงที่ไหนก็จะพาไปด้วย สอนให้ออกฤๅษี และปรายหน้าบท
ก่อนเพื่อต้องการให้ชินกับคนดูมากๆ การฝึกแสดงหนังตะลุงไม่ใช่ฝึกกันได้ง่ายๆ
ต้องใช้เวลามาก อย่างน้อยต้องฝึกสี่หลักด้วยกัน เช่น
    ก.ฝึกใช้เสียงเพื่อให้เข้ากับบทบาทของตัวละคร เสียงพระ เสียงนาง เสียงยักษ์
ตัวตลก ภาษาสัตว์ต่างๆ
    ข.บทร้อง ต้องฝึกฉันทลักษณ์ของกลอน กลอนแบบไหนใช้กับตัวหนังตัวใด
เช่น บทรัก บทโศก บทสมห้อง บทเทวดา บทยักษ์
    ค.การเชิดรูป ตัวหนังแต่ละตัวเชิดไม่เหมือนกัน เช่น พระราชา ต้องเชิดแบบ
ผู้ใหญ่ที่มีอำานาจ ราชินีกริยาท่าทางแบบผู้ดี พระเอกเชิดแบบชายหนุ่มเจ้าชู้นิดๆ
นางเอกกริยาเรียบร้อย ยักษ์หยาบกระด้าง
    ง.ตัวตลก ตัวตลอกหนังตะลุงมีบทบาทสำาคัญต่อผู้แสดงหนังตะลุงมาก คนดูหนัง
ตะลุงได้จนสว่างก็เพราะตัวตลกนี่เอง ตัวตลกหนังตะลุงสามารถนำาศีลธรรม สังคม
การบ้าน การเมือง มาแทรกในบทหนังตะลุงได้อย่างกลมกลืน และยังสามารถนำาผู้
ชมเข้าร่วมในการแสดงได้อีกด้วย
    ในสมัยโบราณการฝึกหนังตะลุง อย่างน้อยต้องอยู่กับอาจารย์สามปี บางคนอยู่
กับอาจารย์ห้าปี หกปี ก็มี เมื่ออาจารย์เห็นว่าลูกศิษย์แสดงได้ดีแล้ว ก็จะทำาพิธีครอบ
มือให้ เมื่อผ่านการครอบมือแล้วก็เป็นหนังตะลุงสมบูรณ์แบบ แก้บนได้ (แก้เหมรย)
หนังตะลุงโรงใดที่ยังไม่ได้รับการครอบมือ เชื่อกันว่าแก้บนไม่ขาด พิธีการครอบมือ
เหมือนกับการไหว้ครูทุกประการ
    ๓.พิธีการไหว้ครู การไหว้ครูเป็นประเพณีสำาคัญของหนังตะลุง มีความเชื่อกันว่า
หนังตะลุงคณะใดมีการไหว้ครูเป็นประจำาทุกปีเป็นมงคลแก่ตัวเอง ทำามาหากินคล่อง
เป็นที่นิยมของคนดู หนังตะลุงบางคนที่แสดงหนังตะลุงไม่ได้แล้ว เช่น แก่ หรือ
พิการ ก็ยังมีการไหว้ครูกันแต่ไม่ประจำาทุกปี การไหว้ครูเป็นการบูชาครูอาจารย์ที่
ใบความรู้  หนังตะลุง ม52

More Related Content

What's hot

5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)อัมพร ศรีพิทักษ์
 
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัดพระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัดTong Thitiphong
 
เฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำ
เฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำเฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำ
เฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำKu'kab Ratthakiat
 
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1พัน พัน
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความขนิษฐา ทวีศรี
 
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพเฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพกึม จันทิภา
 
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงLakkana Wuittiket
 
นาฏศิลป์สากล
นาฏศิลป์สากลนาฏศิลป์สากล
นาฏศิลป์สากลPonpirun Homsuwan
 
สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)
สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)
สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)B'Ben Rattanarat
 
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑พัน พัน
 
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑bangonchin
 
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีBlackrab Chiba
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดMethaporn Meeyai
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดThiranan Suphiphongsakorn
 
คำสมาส สนธิ
คำสมาส สนธิ คำสมาส สนธิ
คำสมาส สนธิ Rodchana Pattha
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Jariya Huangjing
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีWarodom Techasrisutee
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...คำเมย มุ่งเงินทอง
 
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียนบันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน5171422
 

What's hot (20)

5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
 
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัดพระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
 
เฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำ
เฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำเฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำ
เฉลยแบบฝึกหัดชนิดของคำ
 
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
แบบฝึกการอ่านชุดที่ 1
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
 
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพเฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เฉลยฝึกหัดการแต่งโคลงสี่สุภาพ
 
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
 
นาฏศิลป์สากล
นาฏศิลป์สากลนาฏศิลป์สากล
นาฏศิลป์สากล
 
สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)
สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)
สามัคคีเภทคำฉันท์ (อินทรวิเชียร)
 
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง คำประสม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
 
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
 
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรีบทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
บทวิเคราะห์ร่ายยาวเวสสันดรมหาชาดก กัณฑ์มัทรี
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
 
คำสมาส สนธิ
คำสมาส สนธิ คำสมาส สนธิ
คำสมาส สนธิ
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
ไทย
ไทยไทย
ไทย
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
 
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียนบันได ๔ ขั้นสอนเขียน
บันได ๔ ขั้นสอนเขียน
 

Viewers also liked

กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลากาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลาSmile Petsuk
 
แบบริบบิ้น - Peterfineart.com
แบบริบบิ้น - Peterfineart.comแบบริบบิ้น - Peterfineart.com
แบบริบบิ้น - Peterfineart.competer dontoom
 
ทฤษฎีกราฟ
ทฤษฎีกราฟทฤษฎีกราฟ
ทฤษฎีกราฟNAMFON Supattra
 
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้นพัน พัน
 

Viewers also liked (14)

5.2 google appsforedu activities
5.2 google appsforedu activities5.2 google appsforedu activities
5.2 google appsforedu activities
 
ประกาศโรงเรียนประชาบำรุง
ประกาศโรงเรียนประชาบำรุงประกาศโรงเรียนประชาบำรุง
ประกาศโรงเรียนประชาบำรุง
 
สมุนไพรแก้คันกันยุง
สมุนไพรแก้คันกันยุงสมุนไพรแก้คันกันยุง
สมุนไพรแก้คันกันยุง
 
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลากาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
กาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา
 
หลากหลายวิธีการใช้ Ict เพื่อการเรียนการสอน
หลากหลายวิธีการใช้ Ict เพื่อการเรียนการสอนหลากหลายวิธีการใช้ Ict เพื่อการเรียนการสอน
หลากหลายวิธีการใช้ Ict เพื่อการเรียนการสอน
 
นวัตกรรมเลขยกกำลังชุดที่ 1
นวัตกรรมเลขยกกำลังชุดที่ 1นวัตกรรมเลขยกกำลังชุดที่ 1
นวัตกรรมเลขยกกำลังชุดที่ 1
 
กรอบนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและการสอสาร ระยะ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๓ ของประเทศไทย
กรอบนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและการสอสาร ระยะ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๓ ของประเทศไทยกรอบนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและการสอสาร ระยะ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๓ ของประเทศไทย
กรอบนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและการสอสาร ระยะ พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๓ ของประเทศไทย
 
Online learning lms
Online learning lms Online learning lms
Online learning lms
 
บทคัดย่อวิจัย การพัฒนา แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน.Docx
บทคัดย่อวิจัย การพัฒนา แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียน.Docxบทคัดย่อวิจัย การพัฒนา แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียน.Docx
บทคัดย่อวิจัย การพัฒนา แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน.Docx
 
แบบริบบิ้น - Peterfineart.com
แบบริบบิ้น - Peterfineart.comแบบริบบิ้น - Peterfineart.com
แบบริบบิ้น - Peterfineart.com
 
ทฤษฎีกราฟ
ทฤษฎีกราฟทฤษฎีกราฟ
ทฤษฎีกราฟ
 
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
ใบงานที่ 1 เรื่องคำนาม
ใบงานที่ 1  เรื่องคำนามใบงานที่ 1  เรื่องคำนาม
ใบงานที่ 1 เรื่องคำนาม
 

Similar to ใบความรู้ หนังตะลุง ม52

ความงามกับภาษา ม. ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง
ความงามกับภาษา ม. ๔  นิราศนรินทร์คำโคลงความงามกับภาษา ม. ๔  นิราศนรินทร์คำโคลง
ความงามกับภาษา ม. ๔ นิราศนรินทร์คำโคลงnarongsak kalong
 
หุ่นกระบอก
หุ่นกระบอกหุ่นกระบอก
หุ่นกระบอกleemeanxun
 
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1krubuatoom
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาChinnakorn Pawannay
 
โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12MilkOrapun
 
หุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.docหุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.docpinglada1
 
หุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.docหุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.docpinglada1
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗Milky' __
 

Similar to ใบความรู้ หนังตะลุง ม52 (20)

ความงามกับภาษา ม. ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง
ความงามกับภาษา ม. ๔  นิราศนรินทร์คำโคลงความงามกับภาษา ม. ๔  นิราศนรินทร์คำโคลง
ความงามกับภาษา ม. ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง
 
Short film2012
Short film2012Short film2012
Short film2012
 
เล่าขานบ้านคำชะอี
เล่าขานบ้านคำชะอีเล่าขานบ้านคำชะอี
เล่าขานบ้านคำชะอี
 
หุ่นกระบอก
หุ่นกระบอกหุ่นกระบอก
หุ่นกระบอก
 
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
สื่อ Powerpoint รสวรรณคดีใหม่.ppt1
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
สรุปเรื่อง สามก๊ก
สรุปเรื่อง สามก๊กสรุปเรื่อง สามก๊ก
สรุปเรื่อง สามก๊ก
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
Ppt1
Ppt1Ppt1
Ppt1
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12โตฎก ฉันท์ 12
โตฎก ฉันท์ 12
 
หุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.docหุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.doc
 
หุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.docหุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.doc
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗
 

More from ห้องเรียน ภาษาไทยออนไลน์

More from ห้องเรียน ภาษาไทยออนไลน์ (20)

ใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร
ใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสารใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร
ใบความรู้การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
ใบความรู้เรื่องระบบคำยืม
ใบความรู้เรื่องระบบคำยืมใบความรู้เรื่องระบบคำยืม
ใบความรู้เรื่องระบบคำยืม
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
งานนำเสนอ
งานนำเสนองานนำเสนอ
งานนำเสนอ
 
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็กใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
ใบความรู้คติชาวบ้านและเพลงกล่อมเด็ก
 
ใบความรู้ เรื่อง ภาษิตใต้
ใบความรู้ เรื่อง  ภาษิตใต้ใบความรู้ เรื่อง  ภาษิตใต้
ใบความรู้ เรื่อง ภาษิตใต้
 
ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
ใบความรู้ การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
 
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสายพฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
 
คู่มือวิธีใช้Wordpress
คู่มือวิธีใช้Wordpressคู่มือวิธีใช้Wordpress
คู่มือวิธีใช้Wordpress
 
ใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่น
ใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่นใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่น
ใบความรู้วรรณกรรมท้องถิ่น
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
 
ใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทย
ใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทยใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทย
ใบความรู้การสร้างคำในภาษาไทย
 
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
 
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
 
กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค
กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค
กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค
 
แบบเขียนรายงานทางวิชาการ
แบบเขียนรายงานทางวิชาการแบบเขียนรายงานทางวิชาการ
แบบเขียนรายงานทางวิชาการ
 
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทยใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
 
เรื่องย่อ สามก๊ก
เรื่องย่อ   สามก๊กเรื่องย่อ   สามก๊ก
เรื่องย่อ สามก๊ก
 

ใบความรู้ หนังตะลุง ม52

  • 1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 1 ประวัต ิค วามเป็น มาของหนัง ตะลุง หนังตะลุงหรือการละเล่นแบบแสดงเงา เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ ที่ แพร่หลายปรากฏทั้งในแถบประเทศยุโรป ตะวันออกกลางและเอเชียอาคเนย์ ดัง ปรากฏหลักฐานว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะแก่อิยิปต์ได้ใช้ หนังตะลุงแสดง เฉลิมฉลองชัยชนะประกาศเกียรติคุณของพระองค์ หนังตะลุงมีแพร่ หลายในประเทศอิยิปต์ก่อนพุทธกาล ในประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนัง บูชาเทพเจ้าและสดุดีวิระบุรุษ เรื่องมหากาพย์รามยณะ เรียกหนังตะลุง "ฉายานาฏ กะ" ในประเทศจีนสมัยจักรพรรดิยวนตี่ (พ.ศ.๔๙๕-๔๑๑) พวกนักพรตลัทธิเต๋า ได้แสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกผู้หนึ่งแห่งจักรพรรดิพระองค์นี้ เมื่อ พระนางวายชนม์ ในสมัยต่อมา หนังตะลุงได้แพร่หลายเข้าสู่ในเอเชียอาคเนย์ เขมร พม่า ชวา มาเลเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย มีความเชื่อว่า หนังใหญ่เกิดขึ้นก่อน หนังตะลุงน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย ลัทธิพราหมณ์มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก เรา เคารพนับถือฤๅษี พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ มีบทบาท ต่อคนไทยทั้งประเทศถือเป็นเรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์ หนังใหญ่จึงแสดงเฉพาะเรื่อง รามเกียรติ์ เริ่มแรกคงไม่มีจอ คนเชิดหนังจึงแสดงท่าทางประกอบการเชิดไปด้วย และหนังใหญ่เกิดขึ้นก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีหลักฐานอ้างอิงได้ว่า มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทาง โหราศาสตร์และทางกวี พระเจ้าปราสาททอง ทรงรับสั่งเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา ได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระ มหาราชครู หรือพระโหราธิบดี ทรงมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนังอัน เป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทโฆษคำาฉันท์ว่า "ไหว้เทพยดา รักษ์ทั่วทิศาดร อา- ขอสวัสดีขอพร ลุแก่ใดดังใจหวัง ทนายผู้คอย เร่งตามใต้ส่อง ความ เบื้องหลัง จงเรืองจำารัสทั้ง ทิศาภาคทุกพาย จงแจ้งจำาหลัก อันยิ่งยวดด้วย ภาพ ลวดลาย ให้เห็นแก่คนทั้ง ทวยจะดูจงดูดี" หลาย หนังใหญ่เดิมเรียกว่าหนัง เมื่อมีหนังตะลุงขึ้นในภาคใต้ รูปหนังที่ใช้เชิดเล็ก กว่ามากจึงเรียกหนังที่มีมาก่อนว่าหนังใหญ่ หนังตะลุงเลียนแบบหนังใหญ่ย่อรูป หนังให้เล็กลง คงแสดงเรื่องรามเกียรติ์เหมือนหนังใหญ่ เปลี่ยนบทพากย์เป็นภาษา พื้นเมือง เครื่องดนตรีจาก พิณพาทย์ ตะโพน มาเป็น ทับ กลอง ฉิ่ง โหม่ง โองการ บทพากย์พระอิศวรหนังตะลุงก็ยังนำามาใช้อยู่ตอนหนึ่งว่า
  • 2. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 2 "อดุลโหชันชโน พิณพาทย์ ตะโพน ทั้งผอง กลอง ข้าจะเล่นให้ท่านทั้ง หลายดู" เครื่องดนตรีหนังตะลุง ไม่มีพิณพาทย์ ไม่มีตะโพนใช้เลย แต่เพราะเลียน แบบหนังใหญ่ จึงติดอยู่ในโองการร่ายมนต์พระอิศวร ภาคใต้อยู่ระหว่างภาคกลางกับมาเลเซียและชวา หนังตะลุงจึงเอารูปแบบของ หนังชวาที่เรียกว่า "วายัง" เข้ามาประสมประสานด้วยมือทั้ง ๒ ของหนังใหญ่ เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ของหนังชวาเคลื่อนไหวได้ อย่างน้อยมือหน้าเคลื่อนที่ได้ รูปหนัง ตะลุงมือทั้ง ๒ เคลื่อนที่ เช่น รูปตลก รูปนาง ๒ แขน รูปทั่วไป มือหน้าเคลื่อนที่ รูป หนังชวาให้มีใบหน้าผิดจากคนจริง หนังตะลุงเลียนแบบ ทำาให้หน้ารูปตลกผิดจาก คนจริง เช่น นายหนูนุ้ยหน้าคล้ายวัว นายเท่งหน้าคล้ายนกกระงัง นายดิกมีปาก เหมือนเป็ด เป็นต้น หนังตะลุงเกิดเมื่อใด นักวิชาการถกเถียงกันมาก หนังตะลุงเกิดขึ้นประมาณ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ ด้วยเหตุผลดังนี้ ๑.สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่นิยมแต่งกลอนแปด ส่วนมากเป็นลิลิต โคลง กาพย์ พอ จะมีตัวอย่างกลอนแปดคือเรื่องศิริบูลย์กิติ แต่เพิ่งมาแพร่หลายสมัยต้นกรุง รัตนโกสินทร์ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร กล่าวเรื่องศิริบูลย์กิติไว้ว่า "กลอนแปดสมัย กรุง ศรีอ ยุธ ยานั้น เพิ่ง เริ่ม ไหวตัว ยัง หาเป็น แบบประพัน ธ์ท ี่น ิย มกัน นัก ไม่ " ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้าน ที่เป็นของรุ่นเก่าแก่ ล้วนแต่งเป็นกลอนกาพย์ทั้ง สิ้น เราพอจะได้แบบกลอนแปดเมื่อหนังสืออุณรุทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๑ เกิดขึ้น กลอนแปดเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง เมื่อสุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้ว อย่างไรก็ตามเรื่องกากี รามเกียรติ์ อิเหนา สังข์ทอง มีลักษณะคล้ายกลอนแปด หนังตะลุงที่นิยมขับร้องกลอนแปดเป็นพื้น พอจะถือเป็น แบบได้ ๒.ในบทละครเรื่องสังข์ทองของรัชกาลที่ ๒ มีคำากลอนตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "เ จ้า เงาะนอนถอนหนวดสวดสุบ ิน เล่น ลิ้น ละลัก ยัก ลำา นำา " ในหนังสือสุบิน คำากาพย์ ได้กล่าวถึงการเล่นหนังตะลุงไว้ดังนี้ "สมเด็จ ภูธ ร ให้เ ล่น ละคร โขนหนัง มโนห์ร า " ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ให้ความเห็นว่า หนังที่ เล่นคู่กับมโนห์รา ไม่ใช่หนังใหญ่ น่าจะหมายถึงหนังตะลุง เรื่องนางแตงอ่อน วรรณกรรมท้องถิ่น มีข้อความกล่าวไว้ว่า "โขนละครหุ่น หนัง โนราร้อ ง ดัง รับ เพลงยวนดีต ีเ ก้ง " แสดงว่าในวรรณกรรมเรื่องนี้มีทั้งหนังตะลุงและมโน ห์รา และเรื่องนางแตงอ่อน คงแต่งก่อนที่หนังมีชื่อใหม่ว่าหนังตะลุง หนังจากภาคใต้ เข้าไปเล่นในกรุงเทพฯครั้งแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโดย พระยาพัทลุง (เผือก) นำาไปเล่นที่แถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้น ไปจากจังหวัด พัทลุง คนกรุงเทพฯจึงเรียกหนัง "พัทลุง" ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็นหนังตะลุง หนังที่ เข้าไปกรุงเทพฯครั้งนั้น น่าจะเป็นหนังโรงที่ ๓ สืบจากหนังหนุ้ยโรงที่ ๑ หนักทอง
  • 3. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 3 หนังก้อนทอง เล่นคู่กันโรงที่ ๒ ดังบทไหว้ครูหนังแต่งโดยนายลั่นตอนหนึ่ง กล่าวไว้ ว่า "นายทองเกื้อที่สาม วิชาพอเชิดยักษ์ชัก ขึ้นตามต่อ ฤาษี มุตโตสดศัพท์เสียง รูพาทีโอดครวญรูป สำาเนียงดี นวลนาง เขาออกชื่อลือดังหนัง เล่นดีเหลือจนรุ่งพุ่ง ทองเกื้อ สว่าง จนชาวบางกอกรับไป มีวิชาพากายไม่จืดจาง นับนาน" ดูถึงฝีมือนายช่างแกะรูปหนัง น่าจะเลียนแบบรูปภาพเรื่องรามเกียรติ์ ที่ผนัง กำาแพงวัดพระแก้ว เพราะหนังรุ่นแรกล้วนแสดงเรื่องรามเกียรติ์เป็นพื้น ช่างแกะรูป หนังคงถ่ายทอดแบบมาในสมัยรัชกาลที่ ๒ หนังตะลุงโรงแรกของภาคใต้เกิดขึ้นที่จังหวัดใด นักวิชาการยังหาข้อยุติไม่ได้ ผู้เขียนเป็นชาวพัทลุง ไม่ได้ช่วงชิงให้หนังตะลุงเกิดที่พัทลุง แต่เมื่อพิจารณาอย่าง รอบคอบแล้ว หนังโรงแรกน่าจะเกิดที่พัทลุง โดยมีข้ออ้างอิงดังนี้ ๑.ถ้านายหนุ้ย นายหนักทอง นายก้อนทอง เป็นนายกองช้าง เดินทางระหว่าง นครศรีธรรมราชกับเมืองยะโฮ ต้องผ่านพัทลุง เพราะผ่านทางสงขลาไม่ได้ มี ทะเลสาบตอนออกอ่าวไทยกั้นขวาง การหยุดพักกองช้าง ก็น่าหยุดพักที่พัทลุง มากกว่าหยุดพักที่สงขลา ๒.การตั้งชื่อคนพัทลุง ชื่อหนุ้ยกันมากทั้งผู้หญิงและผู้ชาย หนุ้ย หมายถึงเด็ก เล็กๆ ถ้าเป็นผู้ชายก็เรียกว่าอ้ายหนุ้ย อ้ายตัวหนุ้ย ถ้าเป็นผู้หญิงก็เรียกว่าอีตัวหนุ้ย อีหมานุ้ย อีนางหนุ้ย เด็กที่มีอายุ ๗-๘ ปี แล้วยังงอแงกับพ่อแม่เรียกว่าทำาหนุ้ย แม้ ในปัจจุบันผู้ชายที่เรียกชื่อว่านายไข่หนุ้ยยังมีอีกจำานวนมาก นายหนุ้ยหนังโรงแรก จึงน่าจะเป็นชาวพัทลุง ๓.จากบทไหว้ครูของนายลั่น ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า "ออกโอษฐ์อ้าสาธก เป็นนับนานหนังควน ยกนิทาน แต่เดิมมา ถิ่นที่อยู่แหลมมะลายูทิศ เป็นบ้านนอกอาคเนย์ ตะวันออก บูรทิศา ชื่อบ้านควนเทียมทิมริม ถางไร่ป่าปลูกผล มรรคา ตำาบลนาน มีพวกแขกปนไทยใน อยู่เป็นที่เป็นถิ่นบุตร บ้านนี้ หลินหลาน แต่นายหนุ้ยคนไทยใจ หัดชำานาญตีทับขับ เชี่ยวชาญ เป็นกลอน แล้ววาดรูปขูดแกะแล ช่างโตถึกเรียนรู้ไม่ครู
  • 4. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 4 พิลึก สอน รู้ต่างต่างอย่างเทพสิง ได้ฝึกสอนเริ่มชิด หรณ์ ติดต่อมา" ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการเกิดหนังขึ้นนั้น พัทลุงตั้งเมืองที่เขาไชยบุรี ต.บ้านควนมะพร้าว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมืองในสมัยนั้น มีเส้น ทางใหญ่ผ่านทางทิศเหนือบ้านควนมะพร้าว จากลำาปำาไปจังหวัดตรังสำาหรับเป็น ทางช้างเดินเท้า เส้นทางนี้คือ ถนนพัทลุงตรังในปัจจุบัน พระยาบังส้นผู้ครองเมือง เป็นแขก จึงมีแขกจากปัตตานีมาตั้งรกรากอยู่ในจังหวัดพัทลุงทั่วไป นานเข้าลูก หลานก็มีวัฒนะธรรมคล้ายคนไทย พระยาพัทลุง (ขุน) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากสุไล มานได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ที่บ้านควนมะพร้าวจึงมีพวกแขกปะปนอยู่ด้วย หนังนุ้ยน่าจะเป็นชาวบ้านควนมะพร้าว จึงเรียกหนังตะลุงสมัยนั้นว่า "หนัง ควน" ๔.นักวิชาการหลายท่าน เห็นพ้องกันว่าหนังทองเกื้อโรงที่ ๓ ที่แสดงที่กรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นหนังที่พระยาพัทลุง (เผือก) นำาไปจากเมืองพัทลุง ขณะนั้น พัทลุงตั้งเมืองอยู่ที่ลำาปำาแล้ว บ้านควนมะพร้าวอยู่ห่างจากลำาปำาไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒ กิโลเมตร เนื่องจากพระยาพัทลุง (เผือก) มีอายุมากแล้ว รัชกาลที่ ๓ จึง โปรดเกล้าให้รับราชการที่กรุงเทพฯ พระราชทานที่บ้าน สนามควาย (บริเวณตลาด นางเลิ้งในปัจจุบัน) เป็นที่อยู่อาศัย หนังทองเกื้อชาวบ้านควนมะพร้าว ใกล้ชิดกับ พระยาพัทลุง (เผือก) มาก ไปอยู่กรุงเทพฯ เป็นเวลานานปี ดังบทไหว้ครูว่า "มี วิช าพากายไม่จ ืด จาง จนชาวบางกอกรัก ไปนับ นาน " ๕.จากหนังควนเป็นหนังตะลุง มีเหตุผลตามข้อ ๔ แล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมพระยาดำารงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในตำานานละครอิเหนาว่า พวกบ้าน ควนมะพร้าว แขวงจังหวัดพัทลุง คิดเอาหนังแขกชวามาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปที่อื่นในมณฑลนั้น เรียกกันว่าหนังควน เจ้าพระยาสุรวงศ์ ไวย วัฒน์ (วร บุนนาค) พาเข้ามากรุงเทพฯ ได้เล่นถวายตัวที่บางปะอินเป็นครั้งแรก เมื่อ ปีชวด พ.ศ.๒๔๑๙ แม้พระองค์จะทรงกล่าวไว้ว่าหนังตะลุงเป็นของใหม่ เพิ่งเกิดขึ้น ในรัชกาลที่ ๕ เหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นออกจะค้านที่พระองค์ทรงบันทึกไว้ แต่ ลองคิดถึงความเป็นจริง หนังตะลุงที่กล้าเล่นถวาย ต้องฝึกฝนมาอย่างชำานาญ มีครู หนังมาก่อนแล้ว หนังตะลุงจึงเกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ แน่นอน ๖.จังหวัดพัทลุงเสมือนหนึ่งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และ สงขลา เมื่อเกิดหนังตะลุงขึ้นที่พัทลุงก็แพร่หลายไปยังจังหวัดใกล้เคียงได้ง่าย จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน มีคณะ หนังตะลุงเป็นจำานวนมาก จากเหตุผลดังกล่าวแล้ว น่าจะได้ข้อยุติว่าใครเป็นหนัง ตะลุงโรงแรก เกิดขึ้นเมื่อใด ทำาไมจึงมีชื่อว่า "หนัง ตะลุง " นอกจากหนังตะลุงเป็นศิลปะพื้นเมืองของภาคใต้แล้ว ยังแพร่หลายไปยังภาค กลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน ทำานองพากย์และเครื่องดนตรีประกอบการเชิด ผิดแผกแตกต่างกันไปตามสำาเนียงภาษา ตามความนิยมของภาคนั้นๆ และไม่มีหนัง ตะลุงจำานวนมากเหมือนในภาคใต้
  • 5. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 5 การสร้า งโรงหนัง ตะลุง โรงหนังตะลุง ต้องยกเสา ๔ เสา (ใช้ไม้คำ้าเพิ่มจากเสาได้) ขนาดโรงประมาณ ๒.๓ X ๓ เมตร พื้นยกสูงเลยศีรษะผู้ใหญ่เล็กน้อย และให้ลาดตำ่าไปข้างหน้านิด หน่อย หลังคาเป็นแบบเพิงหมาแหงน กั้นด้านข้างและด้านหลังอย่างหยาบๆ ด้าน หลังทำาช่องประตูพาดบันไดขึ้นโรง ด้านหน้าใช้ผ้าขาวบางขึงเป็นจอ จอกว้างและ ยาวประมาณ ๕ x ๑๐ ฟุต ในโรงมี ตะเกียงนำ้ามันไขสัตว์หรือตะเกียงนำ้ามันมะพร้าว หรือตะเกียงเจ้าพายุหรือดวงไฟแขวนไว้ใกล้จอสูงจากพื้นราว ๑ ฟุตเศษและห่าง จากจอราว ๑ ศอก นอกจากนี้ยังมีต้นกล้วยวางไว้ข้างฝาทั้งสองข้างของโรง เพื่อไว้ ปักพักรูปหนัง ประเภทรูปเบ็ดเตล็ด ส่วนบนเพดานโรงจะมีเชือกขึงไว้สำาหรับแขวน รูปหนังประเภทรูปที่สำาคัญซึ่งมีรูปพระ รูปนาง เป็นต้น สำาหรับจอหนัง ทำาด้วยผ้า ขาว รูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ ๑.๘ x ๒.๓ เมตรทั้ง ๔ ด้านมอบริมด้วยผ้าสี เช่น แดง นำ้าเงิน ขนาดกว้าง ๔-๕ นิ้ว มีห่วงผ้าเรียกว่า หูรามเย็บไว้เป็นระยะโดยรอบ หู รามแต่ละอันจะผูกเชือกยาวประมาณ ๒ ฟุต ๕ นิ้ว เรียกว่า หนวดราม สำาหรับผูกขึง ไปประมาณ ๑ ฟุตจะตีตะเข็บนัยว่าเป็นเส้นแบ่งแดนกับแดนมนุษย์ เวลาเชิดรูปมี เฉพาะรูปฤาษี เทวดา และรูปที่มีฤทธานุภาพเท่านั้นที่เชิดเลยเส้นนี้ได้ ความเชื่อ ในการสร้า งโรงหนัง ตะลุง ๑.ห้ามสร้างโรงแสดงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ว่ากันว่าหนังคณะใดแสดงหัน หน้าโรงไปทางทิศตะวันตก จะไม่มีความเจริญ ชื่อเสียงจะตกตำ่า เหมือนดวงอาทิตย์ ลับฟ้ามีแต่ความมืด ๒.ห้ามสร้างโรงแสดงใต้ต้นไม้ใหญ่ทุกต้น ตามลัทธิของพราหมณ์มีความเชื่อกัน ว่า เทวดาและเทพารักษ์อยู่อาศัย สร้างโรงหนังตะลุงแสดงใต้ต้นไม้ใหญ่เป็นการ รบกวนเทพ ๓.ห้ามสร้างโรงหนังตะลุงคร่อมทางเดิน และทางนำ้าไหล มีความเชื่อกันว่า ทาง เดินก็ดี ทางสายนำ้าไหลก็ดี เวลากลางคืนมีพวกผีเดิน จะเป็นการขัดขวางทางเดิน ของพวกผี ๔.งานพิธีมงคลสมรส จะแสดงกี่คืนก็ได้ แต่คืนทำาพิธีมอบสาดเรียงหมอนห้าม แสดง (เรียกว่าหลวงบ่อ) หนังตะลุงคณะใดแสดงคืนนี้มีความเชื่อกันว่าอุบาทว์แก้ไม่ หาย ๕.งานศพก็แสดงได้ วันที่ห้ามแสดงคือวันเผาศพ กล่าวคือ วันเผาศพวันไหน คำ่าคืนนั้นจะห้ามแสดงหนังตะลุง การเผาศพของชาวใต้ สมมุติวันนี้เป็นวันเผา วันรุ่ง ขึนก็มีการพิธีดับธาตุ หนังตะลุงที่แสดงวันเผาศพก็จะถูกดับธาตุไปด้วยในวันรุ่งขึ้น ้ หนังตะลุงคณะใดแสดงวันเผาศพจะไม่มีความเจริญหรืออาจจะต้องเลิกแสดงหนัง ตะลุงไปตลอดชีวิต ๖.ห้ามหนังตะลุงแสดงแก้บน วันขึ้นแรม ๘ คำ่า ๑๔-๑๕ คำ่า (วันพระ) หนังตะลุง คณะใดแสดงแก้บนวันที่กล่าวมานี้ มีความเชื่อกันว่าแก้บนไม่ขาด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือศีล ไม่มารับเครื่องสังเวย ๗.โรงหนังตะลุงที่ดีเหมาะสมกับการแสดง ต้องหันหน้าโรงไปทางทิศตะวันออก
  • 6. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 6 และทิศใต้ ก็ที่มีความเชื่อดังนี้ คงจะเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศด้วย กล่าวคือ ฤดูการ แสดงหนังตะลุงก็คือเวลาว่างจากการประกอบอาชีพทำาไร่ทำานา ไม่มีฝนตกทางภาค ใต้ เมื่อไม่มีฝน ลมจะพัดมาทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก เสียงที่ดังออกจากโรง หนังจะดังตามกระแสลมไปไกล ทำาให้ผู้ฟังหน้าโรงฟังได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เวลาประชัน กัน ๒ หรือ ๓ คณะ ถ้าโรงหนังตะลุงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก โรงที่ดีคือโรงทาง ทิศเหนือ จะได้เปรียบทางทิศใต้ เสียงทางโรงทิศเหนือลมจะช่วยพาไปรบกวนโรง ทางทิศใต้ โดยที่เสียงโรงทางทิศใต้จะไม่ทวนกระแสลมไปรบกวนโรงทางทิศเหนือ ถ้าโรงหนังหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้เวลาประชันกัน โรงที่อยู่ทางทิศ ตะวันตกจะดีกว่าโรงที่อยู่ทางทิศตะวันออก เพราะลมจะช่วยพาเสียงจากโรงที่อยู่ ทางทิศตะวันตก รบกวนโรงที่อยู่ทางทิศตะวันออก เหมือนกับเสียงทางทิศเหนือ รบกวนโรงทางทิศใต้ นอกจากความเชื่อที่กล่าวมาแล้ว คณะหนังตะลุงในสมัยโบราณ ยังมีความเชื่อ ปลีกย่อยเกี่ยวกับศาสนา และทางโหรศาสตร์อีกมากมาย ความเชื่อและประเพณีการ แสดงหนังตะลุง ถ้าเรามองให้ลึก ศึกษาให้ดี จะเห็นว่าเกี่ยวกับศีลธรรม สังคม ขีวิต ประจำาวัน ของมนุษย์เราทั้งสิ้น รูป หนัง ตะลุง รูปหนัง เป็นอุปกรณ์สำาคัญในการแสดงหนังตะลุง หนังคณะหนึ่งๆ ใช้รูปหนัง ประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ตัว หนังตะลุงแกะโดยนายช่างผู้ชำานาญ ในจังหวัดหนึ่งๆ ของ ภาคใต้ มีเพียง ๒-๓ คนเท่านั้น ต้นแบบได้มาจากรูปหนังใหญ่ เพราะรูปเก่าแก่ที่ เหลืออยู่เท้าเหยียบนาค มีอายุกว่า ๑๐๐ ปีไปแล้ว ต้นแบบสำาคัญคือรูปเรื่อง รามเกียรติ์ที่ฝาผนังรอบวัดพระแก้ว ผสมผสานกับรูปหนังของชวา ทำาให้รูป กะทัดรัดขึ้นและมือหน้าเคลื่อนไหวได้ รูปหนังจะจัดเก็บไว้ใน แผงหนัง โดยวาง เรียงอย่างเป็นระเบียบและตามศักดิ์ของรูป นั่นคือ เอารูปเบ็ดเตล็ดและรูปตลกที่ไม่ สำาคัญซึ่งเรียกรวมกันว่า รูปกาก ไว้ล่าง ถัดขึ้นมาเป็นรูปยักษ์ พระ นาง เจ้าเมือง ตัวตลกสำาคัญ รูปปรายหน้าบท พระอิศวร และฤๅษี ตามลำาดับ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะ ช่างภาคใต้ที่ไปพบเห็นก็ ถ่ายทอดมาเป็นแบบ ช่างราม เป็นช่างแกะรูปหนังที่เก่าแก่คนหนึ่งของจังหวัดพัทลุง นอกจากแกะให้หนังภายในจังหวัดแล้ว ยังแกะให้หนังต่างจังหวัดด้วย รูปของช่าง รามได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศ แม้ถึงแก่กรรมไปประมาณ ๖๐ ปีแล้ว ชื่อเสียงของท่าน ทางศิลปะยังมีผู้คนกล่าวขานถึงอยู่ท่านเลียนแบบรูปภาพ เรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระ แก้วเริ่มแรกก็แกะรูปที่ นำาไปแสดงเรื่องรามเกียรติ์อย่างเดียวจึงได้ชื่อว่า"ช่างราม" ครั้งหนึ่งท่านส่งรูปหนุมานเข้าประกวด ดูผิวเผินสวยงามมาก หัวของวานร ต้องเกิด จากวงกลม แต่ของช่างรามไม่อยู่ในกรอบของวงกลม จึงไม่ได้รับรางวัล การละเล่นพื้นเมืองที่ได้ชื่อว่า"หนัง" เพราะผู้เล่นใช้รูปหนังประกอบการเล่า นิทานหลังเงา การแกะรูปหนังตัวสำาคัญ เช่น ฤๅษี พระอิศวร พระอินทร์ นางกินรี ยังคงเหมือนเดิม แต่รูปอื่นๆ ได้วิวัฒนาการไปตามสมัยนิยมของผู้คน เช่น ทรงผม เสื้อผ้า รูปหนังรุ่นแรกมีขนาดใหญ่รองจากรูปหนังใหญ่ฉลุลวดลายงดงามมาก เป็น
  • 7. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 7 รูปขาวดำา แล้วค่อยเปลี่ยนรูปให้มีขนาดเล็กลง ระบายสีให้ดูสะดุดตายิ่งขึ้น สมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เคร่งครัดทางด้านวัฒนธรรมมาก ออกเป็นรัฐนิยม หลายฉบับ ยักษ์นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวก รูปตลก รูปนาง รูปพระสวมหมวก สวมเสื้อ นุ่งกางเกง นุ่งกระโปรง รูปหนังที่ออกมาแต่งกายมีผิดวัฒนธรรม ตำารวจจะ จับและถูกปรับทันที การแกะรูปหนังสำาหรับเชิดหนัง ให้เด่นทางรูปทรงและสีสัน เมื่อทาบกับจอผ้า แสงไฟช่วยให้เกิดเงาดูเด่นและสะดุดตา กรรมวิธีแกะรูปหนังแบบพื้นบ้านนำาหนังวัว หนังควายมาฟอก ขูดให้เกลี้ยงเกลา หนังสัตว์ชนิดอื่นก็นิยมใช้บ้าง เช่น หนังเสือ ใช้แกะรูปฤๅษีประจำาโรงเป็นเจ้าแผง ในปัจจุบัน รูปหนังแกะจากหนังวัวอย่างเดียว ซือหนังจากร้านค้าที่ฟอกสำาเร็จรูป ้ อยู่แล้ว ทั้งสามารถเลือกหนังหนา บาง ได้ตามความต้องการ นายช่างวางหนังลง บนพื้นเขียงที่มีขนาดใหญ่ ใช้เหล็กปลายแหลมวาดโครงร่าง และรายละเอียดของ รูปตามที่ต้องการลงบนผืนหนัง ใช้แท่งเหล็กกลมปลายเป็นรูคม เรียกว่า "ตุดตู่" ๊ ตอกลายเป็นแนวตามที่ใช้เหล็กแหลมร่างไว้ ส่วนริมนอกหรือส่วนที่เป็นมุมเป็น เหลี่ยมและกนกลวดลายอันอ่อนช้อย ต้องใช้มีดปลายแหลมคมยาวประมาณ ๒ นิ้ว มีด้ามกลมรี พอจับถนัดมือขุดแกะ ทั้งตุ๊ดตู่และมีดขุดแกะมีหลายขนาด เมื่อทำา ลวดลายตามที่ร่างไว้เสร็จตัดออกจากแผ่นหนัง เรียกว่ารูปหนัง รูปใดนายช่างเห็น ว่าได้สัดส่วนสวยงาม นายช่างจะเก็บไว้เป็นแม่แบบ เพียงแตะระบายสีให้แตกต่าง กัน รูปที่นิยมเก็บไว้เป็นแบบ มีรูปเจ้าเมือง นางเมือง รูปยักษ์ รูปวานร รูปพระเอก รูปนางเอก นำารูปแม่แบบมาทาบหนัง แกะไปตามรูปแม่แบบ ประหยัดเวลา และได้ รูปสวยงาม ผลิตได้รวดเร็ว สีที่ใช้ระบายรูปหรือลงสี นิยมใช้นำ้าหมึก สียอมผ้า สี ้ ย้อมขนม มีสีแดง เหลือง แสด ชมพู ม่วง เขียว นำ้าเงิน และสีดำา ต้องผสมสีหรือ ละลายสีให้เข้มข้น ใช่พู่กันขนาดต่างๆ จุ่มสีระบาย ต้องระบายเหมือนกันทั้ง ๒ หน้า ระวังไม่ให้สีเปื้อน สีซึมเข้าในเนื้อของหนังเร็ว ลบออกไม่ได้ ช่างแกะรูปต้องมีความรู้ประวัติที่มาของรูป ศึกษาแบบของรูป จากรูปจริง จาก รูปภาพ การเปลี่ยนอิริยาบทของรูปได้อย่างถูกต้อง การเบิกตา เบิกปากรูปต้องใช้ เวทมนต์ประกอบด้วย ที่สำาคัญต้องมีสมาธิอย่างแน่วแน่ เศษหนัง ทำาเป็นมือรูป ริม ฝีปากล่าง อาวุธต่างๆ ใช้ร้อยมือให้ตดกันเป็น ๓ ท่อน เพื่อให้มอเคลื่อนไหวได้ ิ ื เมื่อสีแห้งสนิทแล้ว ลงนำ้ามันยางใส เพื่อให้รูปเกิดเงาวาววับ เดี๋ยวนี้หานำ้ามันยาง ไม่ได้ ใช้นำ้ามันชักเงาแทน จากนั้นติดไม้ตับ ติดไม้มือ รูปที่ชักปากได้ ติดคันเบ็ดผูก เชือกชักปาก เป็นอันว่าเป็นรูปหนังที่สมบูรณ์ ช่างแกะรูปหนัง นอกจากแกะจำาหน่าย แก่คณะหนังตะลุงแล้ว ยังแกะจำาหน่ายทั่วไป เพื่อนำาไปประดับประดา อาคารบ้าน เรือน ชาวต่างชาตินิยมกันมาก แต่ตองทำาอย่างประณีต บรรจง จึงจะจำาหน่ายได้ ้ ราคาดี ช่างแกะรูปหนังหาความรำ่ารวยมิได้ เพียงแต่พอดำารงชีพอยู่ได้เท่านั้น ตัวตลกหนังตะลุง
  • 8. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 8 ตัว ตลก หรือ รูป กาก มีความสำาคัญในการแสดงหนังตะลุงมาก สามารถตรึงคนดูได้มีความผูกพันกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าตัวละครอื่นๆ หนัง คณะหนึ่งๆ มีตัวตลกไม่น้อยกว่า 10 ตัวขึ้นไป พูดภาษาถิ่นใต้ การแต่งกายมัก เปลือยท่อนบน หน้าตาจะผิดเพี้ยนจากคนจริงไปบ้าง แต่ละตัวมีเสียงพูดหรือสำาเนียง โดยเฉพาะ ตัวตลกเอก นิยมนำาหนังตีนของอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ มาทำาเป็นริม ฝีปากล่าง เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ปิดทองทั้งตัว ขนาดเชือกชักปากทำา ด้วยทองแบบสร้อยคอก็มี ตัวตลกมีเป็นจำานวนมาก เฉพาะตัวที่สำาคัญมีดังนี้ 1.อ้า ยเท่ง เอาเค้ามาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อเท่ง อยู่บ้านคูขุด อำาเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา หนังจวน บ้านคูขุดนำามาตัดรูปตลกเป็นครั้งแรก หนังคณะอื่นๆ นำา ไปเลียนแบบ รูปร่างผอมบางสูง ท่อนบนยาวกว่าท่อน ล่าง ผิวดำา ปากกว้าง หัวเถิก ผมงอหยิก ใบหน้าคล้าย นกกระฮัง นิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย นิ้งชี้ กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน นุ่งผ้าโสร่ง ลายตาหมากรุก คาดพุงด้วยผ้าขะม้า ไม่สวมเสื้อ ที่สะเอว เหน็บมีดอ้ายครก (มีดปลายแหลมด้านงอโค้งมีฝัก) ชอบ พูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ขู่สำาทับผู้อื่น ล้อเลียนเก่ง เป็นคู่หูกับอ้ายหนูนุ้ย 2.อ้า ยหนูน ุ้ย นำาเค้ามาจากคนซื่อๆ แกมโง่ ผิวดำา รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงยานโย้คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า จมูกปากยื่นออกไป คล้ายกับปากวัว มีเครายาวคล้าย หนวดแพะ ใครพูดเรื่องวัวเป็นไม่พอใจ นุ่งผ้าโสร่งแต่ ไม่มีลวดลาย ไม่สวมเสื้อ ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็น อาวุธ พูดเสียงตำ่าสั่นเครือดันขึ้นนาสิก ชอบคล้อยตามคน ยุยงส่งเสริม แสดงความซื่อออกมาเสมอ 3.นายยอดทอง เชื่อกันว่าเป็นชื่อคนจริงชาวจังหวัด พัทลุง รูปร่างอ้วน ผิวดำา พุงย้อยก้นงอนขึ้นบนผมหยิก เป็นลอน จมูกยื่น ปากบุ๋ม เหมือนปากคนแก่ไม่มีฟัน หน้า เป็นแผลจนลายคล้ายหน้าจระเข้ ใครพูดถึงเรื่องจระเข้ ไม่พอใจ นุ่งผ้าลายโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อ เหน็บกริช เป็นอาวุธประจำากาย เป็นคนเจ้าชู้ ปากพูดจาโอ้อวด ใจเสาะ ขีขลาด ชอบขูหลอก พูดจาเหลวไหล ยกย่อง ้ ่ ตนเอง บ้ายอ ชอบอยู่กับนายสาว ที่มีสำานวนชาวบ้านว่า "ยอดทองบ้า นาย " นายยอดทอง แสดงคู่กับตัวตลกอื่นๆ ได้หลายตัว เช่น คู่กับอ้ายหลำา คู่กับอ้ายขวัญเมือง คู่กับอ้ายพูนแก้ว คู่กับอ้ายดำาบ้า คู่กับอ้ายลูกหมี คู่กับอ้ายเสมียน เป็นต้น
  • 9. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 9 4.นายสีแ ก้ว เชื่อกันว่าเอาเค้ามาจากคนที่ชื่อสีแก้ว จริงๆ เป็นคนมีตบะ มือหนักโกรธใครตบด้วยมือหรือชน ด้วยศีรษะ เป็นคนพูดจริง ทำาจริง สู้คน ชอบอาสาเจ้า นายด้วยจริงใจ ตักเตือนผูอื่นให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตาม ้ ทำานองคลองธรรม รูปร่างอ้วนเตี้ย ผิวคลำ้า มีโหนกคอ ศีรษะล้าน นุ่งผ้าโจงกระเบนลายตาหมากรุก ไม่สวมเสื้อ ไม่ถืออาวุธใดๆ ใครพูดล้อเลียนเกี่ยวกับเรื่องพระ เรื่อง ร้อน เรื่องจำานวนเงินมากๆ จะโกรธทันที พูดช้าๆ ชัด ถ้อยชัดคำา เพื่อนคู่หูคือนายยอดทอง 5.อ้า ยสะหม้อ หนังกั้น ทองหล่อ นำามาจากคนจริง โดยได้รับอนุญาตจากชาวอิสลามชื่อสะหม้อ อยู่บ้านสะ กอม อำาเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนังตะลุงอื่นๆ ที่นำาไป เลียนแบบ พูดกินรูปสู้หนังกั้น ทองหล่อไม่ได้ รูปร่างอ้าย สะหม้อ หลังโกง มีโหนกคอ คางย้อย ลงพุง รูปร่างเตี้ย สวมหมวกแขก นุ่งผ้าโสร่ง ไม่สวมเสื้อ พูดล้อเลียนผู้อื่น ได้เก่ง ค่อนข้างอวดดี นับถือศาสนาอิสลามแต่ชอบกิน หมู ชอบดื่มเหล้า พูดสำาเนียงเนิบนาบ รัวปลายลิ้น 6.อ้า ยขวัญ เมือ ง ไม่มีประวัติความเป็นมา เป็นตัว ตลกเอกของหนังจันทร์แก้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช คนในถิ่นนั้น เขาไม่เรียกว่าอ้ายเมือง แต่เรียกว่า "ลุง ขวัญ เมือ ง" แสดงว่าได้รับการยกย่องจากคนใน ท้องถิ่นอย่างสูงเหมือนกับเป็นคนสำาคัญผู้หนึ่ง ใบหน้า ของขวัญเมืองคล้ายแพะ ผมบางหยิกเล็กน้อย ผิวดำา หัว เถิก จมูกโด่งโตยาว ปากกว้าง พุงยานโย้ ก้นเชิด ปลาย นิ้วชี้คล้ายนิ้วมืออ้ายเท่ง นุ่งผ้าพื้นดำา คาดเข็มขัด ไม่ สวมเสื้อ เป็นคนซื่อ บางครั้งแฝงไว้ซึ่งความฉลาด ชอบ สงสัยเรื่องของผู้อื่น พูดจาเสียงหวาน หนังจังหวัดสงขลา แสดงคู่กับอ้ายสะหม้อ หนังจังหวัดนครศรีธรรมราชแถว อำาเภอเชียรใหญ่ หัวไทร ปากพนัง ท่าศาลา ให้แสดงคู่ กับนายยอดทอง หนังพัทลุง ตรัง นิยมให้เป็นตัวบอก เรื่อง เฝ้าประตูเมือง ออกตีฆ้องร้องป่าว 7.อ้า ยโถ เอาเค้ามาจากจีนบ๋าบา ชาวพังบัว อำาเภอ สะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา รูปร่าง มีศีรษะค่อนข้างเล็ก ตาโตถลน ปากกว้าง ริมฝีปากล่างเม้มเข้าใน ส่วนท้องตึง อกใหญ่เป็นรูปโค้ง สวมหมวกมีกระจุกข้างบน นุ่งกางเกง ถลกขา ถือมีดบังตอเป็นอาวุธ ชอบร้องรำาทำาเพลง ขี้ ขลาดตาขาว โกรธใครไม่เป็น ถือเอาเรื่องกินเป็นเรื่อง ใหญ่ ใครจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม อ้ายโถจะชักเรื่องที่พูด วกเข้าหาเรื่องกินเสมอ เป็นตัวตลกประกอบ
  • 10. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 10 8.ผู้ใ หญ่พ ูน น่าจะเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่คนใดคน หนึ่ง รูปร่างสูงใหญ่ จมูกยาวคล้ายตะขอเกี่ยวมะพร้าว ศีรษะล้าน มีผมเป็นกระจุกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลาง กลวงอยู่ กลางพุงโย้ย้อยยาน ตะโพกใหญ่ขวิดขึ้นบน เพื่อนมักจะล้อเลียนว่า บนหัวติดงวงถังตักนำ้า สันหลัง เหมือนเขาพักผ้า (อยู่ระหว่างพัทลุง-ตรัง) นุ่งผ้าโจง กระเบน ไม่มีลวดลาย ชอบยุยง โม้โอ้อวด เห่อยศ ขูตะ ่ คอผู้อื่นให้เกรงกลัว ธาตุแท้เป็นคนขี้ขลาดตาขาว ชอบ แสแสร้งปั้นเรื่องฟ้องเจ้านาย ส่วนมากเป็นคนรับใช้อยู่ เมืองยักษ์หรือกับฝ่ายโกง พูดช้าๆ หนีบจมูก เป็นตัวตลก ประกอบ นอกจากที่นำามาเสนอไว้ ยังมีตัวตลกอีกหลายตัว เช่น ครูฉิม ครูฉุย สิบค้างคูด อี โร้ง อ้ายทองทิง อ้ายบองหลา อ้ายท่านำ้าตก เผียก อ้ายโหนด ตัวตลกฝ่ายหญิงก็มี หลายตัว เช่น อีหนูเตร็ด อีหนูเน่า หนังแต่ละคณะ มีตลกเอกไม่เกิน 6 ตัว เข้ากับ เสียงและนิสัยของนายหนัง นอกนั้นเป็นตัวตลกประกอบ ทุกตัวต้องเรียกเสียง หัวเราะจากคนดูได้ ตัวตลกเอกเรียกเสียงหัวเราะได้มากและแสดงตลอดเรื่อง ดนตรีห นัง ตะลุง ดนตรีหนังตะลุงในอดีต มีความเรียบง่าย ชาวพื้นบ้านในท้องถิ่น ประดิษฐ์ขึ้นได้เอง โดยใช้วัสดุในพื้นบ้าน มีทับ กลอง โหม่ง ฉิ่ง เป็นสำาคัญ ปี่ ซอ เกิดขึ้นภายหลังก็คงใช้วัสดุพื้นบ้านอยู่ดี ต่อมาวัฒนธรรมภายนอกโดยเฉพาะดนตรี ไทยสากล หนังตะลุงจึงเพิ่มดนตรีใหม่ๆ เข้ามาเสริม เช่น กลองชุด กีตาร์ ไวโอลีน ออร์แกน จำานวนลูกคู่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ค่าราดเพิ่มขึ้น ยิ่งในปัจจุบันคน ยากจนไม่มีทุนรอนพอที่จะรับหนังตะลุงไปแสดงได้เลย ดนตรีหนังตะลุง คณะหนึ่งๆ มีดังนี้ ๑.ทับ เครื่องกำากับจังหวะและท่วงทำานอง ที่สำาคัญที่สุด ผู้บรรเลงดนตรีชิ้นอื่นๆ ต้องคอยฟังจังหวะยักย้ายตามเพลงทับ ที่นิยมใช้มีถึง ๑๒ เพลง คือ เพลงเดิน เพลง ถอยหลังเข้าคลอง เพลิงเดินยักษ์ เพลงสามหมู่ เพลงนาดกลายออกจากวัง เพลงนาง เดินป่า เพลงสรงนำ้า เพลงเจ้าเมืองออกสั่งการ เพลงชุมพล เพลงยกพล เพลงยักษ์ และเพลงกลับวัง ผู้ชำานาญที่เรียกว่ามือทับเท่านั้นจึงสามารถตีทับครบ ๑๒ เพลงได้
  • 11. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 11 ทับหนังตะลุงมี ๒ ใบ ใบหนึ่งเสียงเล็กแหลม เรียกว่า "หน่วยฉับ" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม เรียกว่า "หน่วยเทิง" ทับหน่วยฉับเป็นตัวยืน ทับหน่วยเทิงเป็นตัวเสริม หนังตะลุงใน อดีตมีมอทับ ๒ คน ไม่น้อยกว่า ๖๐ ปีมาแล้วใช้มือทับเพียงคนเดียว ใช้ผ้าผูกไขว้ ื กัน บางคนวางบนขา บางคนวางขาข้างหนึ่งบนทับ กดไว้ไม่ให้ทับเคลื่อนที่ โดยทั่วไป ทับนิยมทำาด้วยแก่นไม้ขนุน ตบแต่งและกลึงได้ง่าย ตัดไม้ขนุนออก เป็นท่อนๆ ยาวท่อนละประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ฟันโกลนด้วยขวานให้เป็นรูปคล้าย กลองยาว นำามาเจาะภายใน และกลึงให้ได้รูปทรงตามต้องการลงนำ้ามันชักเงาด้าน นอก หุ้มด้วยหนังค่าง ตรงแก้มทับร้อยไขว้ด้วยเชือกด้วยหรือไนลอน ร้อยด้วย หวาย ลอดเข้าในปลอกหวายส่วนหลัง ดึงหวายให้ตึงเสมอกัน ก่อนใช้ทุกครั้ง ต้อง ชุบนำ้าที่หนังหุ้ม ใช้ผ้าขนาดนิ้วก้อยอัดที่แก้มทับด้านใน ทำาให้หนังตึงมีเสียงไพเราะ กังวาน ๒.โหม่ง เป็นเครื่องกำากับการขับบทของนายหนัง โหม่งมี ๒ ใบ ร้อยเชือกแขวน ไว้ในรางไม้ ห่างกันประมาณ ๒ นิ้ว เรียกว่า "รางโหม่ง" ใบที่ใช้ตีเป็นเหล็กมีเสียง แหลมเรียกว่า "หน่วยจี้" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม เรียกว่า "หน่วยทุ้ม" ในอดีตใช้โหม่ง ราง โหม่งลูกฟากก็เรียก ทำาด้วยเหล็กหนาประมาณ ๐.๔ เซนติเมตร ยาว ๑๐ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว อัดส่วนกลางให้เป็นปุ่มสำาหรับตี ส่วนโหม่งหล่อใช้กันมาประมาณ ๖๐ ปี หล่อด้วยทองสำาริดรูปลักษณะเหมือนฆ้องวง การซื้อโหม่งต้องเลือกซื้อที่เข้ากับ เสียงของนายหนัง อาจขูดใต้ปุ่มหรือพอกชันอุดด้านใน ให้มีใยเสียงกลมกลืนกับ เสียงของนายหนัง ไม้ตีโหม่งใช้อันเดียว ปลายข้างหนึ่งพันด้วยผ้าหรือสวมยาง ทำาให้โหม่งมีเสียงนุ่มนวล และสึกหรอน้อยใช้ได้นาน ๓.ฉิ่ง ใช้ตีเข้าจังหวะกับโหม่ง คนตีโหม่งทำาหน้าที่ตีฉิ่งไปด้วย กรับเดี๋ยวนี้ไม่ ต้องใช้ นำาฝาฉิ่งกระแทรกกับรางโหม่งแทนเสียงกรับได้ ๔.กลองตุก มีขนาดเล็กกว่ากลองมโนห์รา รูปแบบเหมือนกัน ใช้ไม้ ๒ อัน โทน ใช้ตีแทนกลองตุกได้
  • 12. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 12 ๕.ปีีี่ หนังตะลุงใช้ปี่นอกบรรเลงเพลงต่างๆ ถือเอาเพลงพัดชาเป็นเพลงครู ประกอบด้วยเพลงไทยเดิมอื่นๆ ได้แก่ เพลงสาวสมเด็จ เขมรปี่แก้ว เขมรปากท่อ ชะนีกันแสง พม่ารำาขวาน พม่าแทงกบ สุดสงวน เขมรพวง ลาวดวงเดือน เพลงลูก ทุ่งหลายเพลงอาศัยทำานองเพลงไทยเดิม คนเป่าปี่ก็เล่นได้ดี แม้เพลงไทยสากลที่ กำาลังฮิต ปี่ ซอ ก็เล่นได้ โดยไม่รู้ตัวโน๊ตเลย ซออู้ ซอด้วง ประกอบปี่ ทำาให้เสียงปี่มิ เล็กแหลมเกินไป ชวนฟังยิ่งขึ้น ปี่ ซอ สามารถยักย้ายจังหวะให้ช้าลงหรือเร็วขึ้น ตามจังหวะทับได้อย่างกลมกลืนและลงตัว การบรรเลงดนตรีหนังตะลุง แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑.บรรเลงดนตรีล้วน เช่น ยกเครื่อง ตั้งเครื่อง ลงโรง ๒.บรรเลงเพลงประกอบการรับบท ขึ้นบท ถอนบท เลยบท เชิด บรรเลงประกอบ การขับกลอนแปด กลอนคำากลอน กลอนลอดโหม่ง ประกอบการบรรยาย อิริยาบถ ของตัวละครและบรรเลงประกอบบทบาทเฉพาะอย่าง เช่น บทโศก ลักพา ร่ายมนต์ ปัจจุบันนี้ ดนตรีหนังตะลุงเปลี่ยนแปลงไปมาก มีเครื่องดนตรีมากขึ้น บางท่าน ว่าเป็นการพัฒนาให้เข้ากับสมัยนิยม แต่เป็นการทำาลายเอกลักษณ์ของดนตรีหนัง ตะลุงไปอย่างน่าเป็นห่วง เวลา ๑๒.๐๐ น. ของวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ มี นายหนังระดับปริญญาโท ๒ ท่าน คือ หนังนครินทร์ชาทอง จังหวัดสงขลา หนัง บุญธรรม เทิดเกียรติชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ให้สัมภาษณ์ออกทีวีช่อง ๙ ยอมรับในความลืมตัวของนายหนังรุ่นใหม่ ทำาให้มีค่าใช้จ่ายสูง โอกาสการแสดง น้อยลง ลูกคู่ยิ่งหายาก เพราะไม่มีคนสืบสานต่อ นี่เป็นลางบอกให้ทราบล่วงหน้า หนังตะลุงสัญลักษณ์ของภาคใต้ จะลงเอยในรูปใด ขั้น ตอนการแสดงหนัง ตะลุง หนังตะลุงทุกคณะมีลำาดับขั้นตอนในการแสดงเหมือนกันจนถือเป็น ธรรมเนียมนิยม ดังนี้ ๑.ตั้งเครื่อง ๒.แตกแผง หรือแก้แผง ๓.เบิกโรง ๔.ลงโรง ๕.ออกลิงหัวคำ่า เป็นธรรมเนียมของหนังในอดีต ลิงดำาเป็นสัญลักษณ์ของอธรรม ลงขาวเป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ เกิดสู้รบกัน ฝ่ายธรรมะก็มีชัยชนะแก่ฝ่ายอธรรม ออกลิงหัวคำ่ายกเลิกไปไม่น้อยกว่า ๗๐ ปีแล้ว ช่วงชีวิตของผู้เขียนไม่เคยเห็นลิงดำา ลิงขาวที่สู้รบกันเลย เพียงได้รับการบอกเล่าจากผู้สูงอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป ๖.ออกฤๅษี หรือ ชักฤๅษี
  • 13. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 13 ฤๅษี เป็นรูปครู มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องปัดเสนียดจัญไร และ ภยันตรายทั้งปวง ทั้งช่วยดลบันดาลให้หนังแสดงได้ดี เป็นที่ชื่นชมของคนดู รูปฤๅษี รูปแรกออกครั้งเดียว นอกจากประกอบพิธีตัดเหมฺรฺยเท่านั้น ๗.ออกรูปพระอิศวร หรือรูปโค รูปพระอิศวรของหนังตะลุง ถือเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเทพเจ้าแห่งความบันเทิง ทรงโคอุสุภราชหรือนนทิ หนังเรียกรูปพระอิศวรว่ารูปพระโคหรือรูปโค หนังคณะใด สามารถเลือกหนังวัวที่มีเท้าทั้ง 4 สีขาว โหนกสีขาว หน้าผากรูปใบโพธิ์สีขาว ขน หางสีขาว วัวประเภทนี้หายากมาก ถือเป็นมิ่งมงคล ตำาราภาคใต้ เรียกว่า "ตีนด่าง หางดอก หนอกพาดผ้า หน้าใบโพธิ์" โคอุสุภราชสีเผือกแต่ช่างแกะรูปให้วัวเป็นสีดำานิล เจาะจงให้สีตัดกับสีรูปพระ อิศวร ตามลัทธิพราหมณ์พระอิศวรมี 4 พระกร ถือตรีศูล ธนู คฑา และ บาศ พระ อิศวรรูปหนังตะลุงมีเพียง 2 กร ถือจักร และ พระขรรค์ เพื่อให้รูปกะทัดรัดสวยงาม ๘.ออกรูปฉะ หรือรูปจับ "ฉะ" หมายถึง การสู้รบระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ ยกเลิกไปพร้อมๆกับลิงหัวคำ่า ๙.ออกรูปรายหน้าบทหรือรูปกาศ ปราย หมายถึง อภิปราย กาศ หมายถึง ประกาศ
  • 14. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 14 รูปปรายหน้าบท หรือ รูปกาศ หรือ รูปหน้าบท เสมือนเป็นตัวแทนนายหนังตะลุง เป็นรูปชายหนุ่มแต่งกายโอรสเจ้าเมือง มือหน้าเคลื่อนไหวได้ มือทำาเป็นพิเศษให้นิ้ว มือทั้ง 4 อ้าออกจากนิ้วหัวแม่มือได้ อีกมือหนึ่งงอเกือบตั้งฉาก ติดกับลำาตัวถือ ดอกบัว หรือช่อดอกไม้ หรือธง ๑๐.ออกรูปบอกเรื่อง รูปบอกเรื่อง คือรูปบอกคนดูให้ทราบว่า ในคืนนี้หนังแสดงเรื่องอะไร สมัยทีหนัง ่ แสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว ก็ตองบอกให้ผู้ดูทราบว่าแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ้ ตอนใด บอกคณะบอกเค้าเรื่องย่อๆ เพื่อให้ผู้ดูสนใจติดตามดู หนังทั่วไปนิยมใช้รูป นายขวัญเมืองบอกเรื่อง ๑๑.ขับร้องบทเกี้ยวจอ ๑๒.ตั้งนามเมืองหรือตั้งเมือง เริ่มแสดงเป็นเรื่องราว ตั้งนามเมือง เป็นการเปิดเรื่องหรือจับเรื่องที่จะนำาแสดงในคืนนั้น กล่าวคือการ ออกรูปเจ้าเมืองและนางเมือง การประชัน โรงของหนัง ตะลุง การประชันโรงของหนังตะลุง เป็นที่ชื่นชอบของชาวปักษ์ใต้มาเป็น เวลานานปี นับแต่สมัย ร.๕ จนถึงปัจจุบัน การประชันโรงมีตั้งแต่ ๒ โรงขึ้นไป ถึง ๑๐ โรง เลือกเฟ้นเอาหนังที่มีชื่อเสียงระดับเดียวกัน ถ้าเปรียบกับภาษามวยเรียกว่า ถูกคู่ ในงานเทศกาลสำาคัญๆ มีการแข่งขันประชันโรงแพ้คัดออก มีประชันติดต่อกัน หลายคืน เอารองชนะเลิศมาแข่งขันกันในคืนสุดท้าย นอกจากเงินราดแล้วมีการตั้ง รางวัลเกียรติยศ เช่น ฤๅษีทองคำา หรือขันนำ้าพานรอง หรือถ้วยของบุคคลสำาคัญ
  • 15. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 15 งานประชันหนังตะลุงที่สนามหน้าเมือง สนามหน้าอำาเภอทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช ที่สนามกีฬา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่หน้าศาลากลางจังหวัด พัทลุง มีหนังตั้งแต่ ๑๐ คณะ ถึง ๒๕ คณะ ผู้ชนะเลิศย่อมได้รับการยกย่อง มีงาน แสดงมากขึ้น ค่าราดโรงเพิ่มขึ้น หนังตะลุงประชันกันในวัด เพราะเป็นศูนย์กลางของชุมชน มีเพียง ๒ โรง เคร่งครัดต่อกติกา ทำาเป็นหนังสือสัญญา ๓ ฉบับ นายหนังหรือเจ้างานผิดสัญญา ปรับไหมกันได้ ถือกติกาธรรมเนียมดังนี้ ๑.นายหนังทั้ง ๒ โรง ต้องมาถึงสถานที่แข่งขันก่อนคำ่าอย่างน้อย ๑ ชั่วโมง ๒.ต้องจับฉลากขึ้นโรง จะเลือกที่โรงเอาเองตามใจชอบไม่ได้ ๓.มาตกลงข้อสัญญา และเทียบเวลากับนาฬิกากองกลางเพื่อให้เวลาตรงกันทั้ง ๒ โรง ๔.๑ ทุ่มตรง ลงโรง หรือโหมโรง ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๑ ๕.๒ ทุ่มตรง ออกฤๅษี ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๒ ๖.เที่ยงคืน หยุดพัก ๑ ชั่วโมง ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๓ ๗.เวลา ๑ นาฬิกาตรง แสดงต่อ ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๔ ๘.เวลา ๕ นาฬิกาตรง ใช้สัญญาณยำ่าตะโพนเป็นครั้งที่ ๔ เพื่อบอกให้นายหนังรู ตัวว่ายังเหลือเวลาเพียงชั่วโมงเดียวก็จะถึงเวลาเลิกแสดง ใครมีทีเด็ดเม็ดทราย ก็ใช้ กันในตอนนี้เรียกว่าชะโรงเพื่อให้คนจากอีกโรงหนึ่ง มาอยู่หน้าโรงของตน แม้ว่า แพ้มาตลอดคืน แต่ตอนใกล้รุ่งสามารถกู้หน้าไว้ได้ ๙.เวลา ๖ นาฬิกาตรง ตะโพนยำ่าให้สัญญาณเป็นครั้งสุดท้ายเลิกการแสดงได้ ๑๐.เจ้างานต้องเลี้ยงดูอาหารมื้อเย็น และจัดอาหารว่างตอนหยุดพัก อาหารต้อง ปราศจากยาพิษ ที่ฝ่ายตรงกันข้ามอาจลอบใส่ลงได้ เจ้างานต้องรับผิดชอบ ๑๑.ต้องจัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรยามใต้ถุนโรงตลอดเวลา ๑๒.ให้ค่าราดโรงครบตามสัญญา การแข่งขันประชันโรงหนังตะลุหลังจากปี พ.ศ.๒๕๐๐ ไม่ค่อยเคร่งครัดใน กติการสัญญา หนังแต่ละโรงต่างรู้จักกันดี แข่งขันเอาแพ้ชนะตามความสามารถตน ไม่ผูกแค้นจองเวรซึ่งกันและกัน พิธีกรรมทางไสยศาสตร์แทบไม่มีนับถอยหลังไป จาก พ.ศ.๒๕๐๐ ในการแข่งขันประชันโรง ใช้พิธีกรรมทางไสยศาสตร์กันอย่าง เคร่งครัด ใช้ชิน ใช้ผี ให้ไปทำาร้ายฝ่ายตรงกันข้าม เช่น เสียงแหบแห้ง ความทรง จำาเลอะเลือน ตลกไม่ออก ตลกแล้วไม่มีคนหัวเราะ คนที่ไม่เชื่อทางไสยศาสตร์มา ตั้งแต่เยาว์ แต่ไม่ตำาหนิติเตียนผู้ที่มีความเชื่อ อย่างน้อยก็ช่วยให้เกิดความมั่นใจ มีหมอทางไสยศาสตร์คนหนึ่ง เป็นที่เชื่อถือของหนังทั่วไป มีความสามารถในการ ทำาให้จอของฝ่ายตรงกันข้ามมืด มองรูปบนจอไม่ชัดเจน คืนหนึ่งมาขอช่วยให้ผู้ เขียนไปทำาให้ ถ้าทำาเองมีคนรู้จักมาก คืนนั้นเป็นเวลา ๙ ทุ่มแล้ว จึงไปถึงหน้าโรง หนังที่ไปหาท่านเอาไว้ มอบหลอดไม้ไผ่เล็กๆ ให้แก่ผู้เขียน และบอกว่าในหลอดนี้มี ชันบดผง ถ้าเราเป่าไปบนจอหนังตรงตะเกียงจอร้อน ชันที่บดละเอียดพอกระทบกับ จอ ก็จะละลายจับผ้าจอ หนึ่งหลอดก็พอแล้ว และสั่งว่าถ้าหนังมีคนดูไล่เลี่ยกัน ไม่ ต้องทำา จอเขาติดชันซักออกยาก เป็นบาปเป็นกรรม ผู้เขียนโชคดีไม่ต้องใช้ผงชัน
  • 16. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาภาษาและวรรณกรรมถิ่น เรื่อง การละเล่นหนังตะลุง หน้าที่ 16 เพราะการแข่งขันอยู่ในเกณฑ์เสมอกัน และการใช้ผงชัน ถ้าเขาจับได้ เสี่ยง อันตรายมากทีเดียว การสืบ ทอดและพิธ ีก รรม ๑.ในสมัยโบราณผู้ใดจะแสดงหนังตะลุงก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์กับคณะหนัง ตะลุงที่ตัวเองชอบในแนวทางการแสดง พร้อมกับนำาดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู ไป มอบให้เพื่อเป็นการบูชา ฝ่ายครูก็มีการทดสอบโดยให้ร้องบทให้ฟังก่อน เพราะคนที่ จะแสดงหนังตะลุงได้นั้นต้องมีการสนใจมาก่อน และจะต้องจำาบทหนังตะลุงได้บ้าง ถึงไม่มากก็น้อย อันดับแรกครูจะฟังนำ้าเสียง และเชาว์ปัญญา ถ้าไม่มีเชาว์ นำ้าเสียง ไม่ดี ก็ไม่รับเป็นศิษย์ ไม่เพียงหนังตะลุงศิลปินพื้นบ้านทุกประเภทในสมัยโบราณ ถ้า นำ้าเสียงไม่ดีไม่สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะไม่มีเทคโนโลยีช่วยเหมือนสมัยนี้ ต้องใช้เสียงตัวเอง โดยเฉพาะหนังตะลุงแสดงตั้งแต่หัวคำ่าจนสว่างใช้เวลาในการ แสดงไม่ตำ่ากว่าแปดชั่วโมง นับว่าเป็นงานที่หนักมากพอดู ๒.การครอบมือ เมื่ออาจารย์รับผู้สมัครไว้เป็นศิษย์ ถ้าบ้านลูกศิษย์อยู่ไกล เช่น ต่างอำาเภอหรือต่างจังหวัด อาจารย์ก็จะรับไว้ให้อยู่ที่บ้าน อยู่กินกับอาจารย์ สอน วิชาให้ อาจารย์ไปแสดงที่ไหนก็จะพาไปด้วย สอนให้ออกฤๅษี และปรายหน้าบท ก่อนเพื่อต้องการให้ชินกับคนดูมากๆ การฝึกแสดงหนังตะลุงไม่ใช่ฝึกกันได้ง่ายๆ ต้องใช้เวลามาก อย่างน้อยต้องฝึกสี่หลักด้วยกัน เช่น ก.ฝึกใช้เสียงเพื่อให้เข้ากับบทบาทของตัวละคร เสียงพระ เสียงนาง เสียงยักษ์ ตัวตลก ภาษาสัตว์ต่างๆ ข.บทร้อง ต้องฝึกฉันทลักษณ์ของกลอน กลอนแบบไหนใช้กับตัวหนังตัวใด เช่น บทรัก บทโศก บทสมห้อง บทเทวดา บทยักษ์ ค.การเชิดรูป ตัวหนังแต่ละตัวเชิดไม่เหมือนกัน เช่น พระราชา ต้องเชิดแบบ ผู้ใหญ่ที่มีอำานาจ ราชินีกริยาท่าทางแบบผู้ดี พระเอกเชิดแบบชายหนุ่มเจ้าชู้นิดๆ นางเอกกริยาเรียบร้อย ยักษ์หยาบกระด้าง ง.ตัวตลก ตัวตลอกหนังตะลุงมีบทบาทสำาคัญต่อผู้แสดงหนังตะลุงมาก คนดูหนัง ตะลุงได้จนสว่างก็เพราะตัวตลกนี่เอง ตัวตลกหนังตะลุงสามารถนำาศีลธรรม สังคม การบ้าน การเมือง มาแทรกในบทหนังตะลุงได้อย่างกลมกลืน และยังสามารถนำาผู้ ชมเข้าร่วมในการแสดงได้อีกด้วย ในสมัยโบราณการฝึกหนังตะลุง อย่างน้อยต้องอยู่กับอาจารย์สามปี บางคนอยู่ กับอาจารย์ห้าปี หกปี ก็มี เมื่ออาจารย์เห็นว่าลูกศิษย์แสดงได้ดีแล้ว ก็จะทำาพิธีครอบ มือให้ เมื่อผ่านการครอบมือแล้วก็เป็นหนังตะลุงสมบูรณ์แบบ แก้บนได้ (แก้เหมรย) หนังตะลุงโรงใดที่ยังไม่ได้รับการครอบมือ เชื่อกันว่าแก้บนไม่ขาด พิธีการครอบมือ เหมือนกับการไหว้ครูทุกประการ ๓.พิธีการไหว้ครู การไหว้ครูเป็นประเพณีสำาคัญของหนังตะลุง มีความเชื่อกันว่า หนังตะลุงคณะใดมีการไหว้ครูเป็นประจำาทุกปีเป็นมงคลแก่ตัวเอง ทำามาหากินคล่อง เป็นที่นิยมของคนดู หนังตะลุงบางคนที่แสดงหนังตะลุงไม่ได้แล้ว เช่น แก่ หรือ พิการ ก็ยังมีการไหว้ครูกันแต่ไม่ประจำาทุกปี การไหว้ครูเป็นการบูชาครูอาจารย์ที่