SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
นาฎศิลป์ ตอนหุ่นกระบอก
บทนำ
หุ่นกระบอก มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยหม่อมราชวงศ์เถาะพยัคฆเสนา มีประวัติกล่าวไว้ว่า
ได้แนวความคิดมาจากหุ่นของช่างแกะชื่อ เหน่ง ซึ่งทาเล่นอยู่ก่อนที่เมืองอุตรดิตถ์
และนายเหน่งก็ลอกแบบมาจากหุ่นไหหลา แต่ประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นแบบไทย
กระบวนร้องในการเชิดหุ่นใช้ทานอง สังขารา
การเล่นหุ่นกระบอก ก็คล้ายละคร แต่ใช้หุ่นแทนคนจริง ผู้เชิดหุ่นจะต้องรู้วิธีบังคับตัวหุ่น
โดยมือหนึ่งจับกระบอกไม้ไผ่ อีกมือหนึ่งจับไม้ที่ตรึงไว้กับข้อมือหุ่น เรียกว่า "ไม้ตะเกียบ" เวลาเชิด
ผู้เชิดมักจะขยับตัวตามจังหวะดนตรีไปด้วย
พร้อมกันนั้นก็บังคับหุ่นให้อ่อนไหวกล่อมตัวตามไปด้วย การทาท่าอ่อนช้อยเลียนแบบละครราอย่างแนบเนียน
ย่อมเกิดจากความสามารถของคนเชิดหุ่น ไม่ว่าจะกล่อมตัว กระทบตัว เชิดย้อนมือ โยกตัว
และราเพลง หุ่นกระบอกจะมีผ้าคลุมตัวลงมาจากช่วงไหล่ ยาวเลยปลายไม้กระบอกด้านล่าง
ผู้เชิหุ่นจึงสามารถซ่อนมือไว้ภายในได้
การร้องและเจรจา ผู้เชิดหุ่นที่เป็นสตรีมักจะร้องและเจรจาด้วย นอกจากตัวตลกหรือตัวอื่นๆ มักใช้ผู้ชาย
แต่การขับร้องดาเนินเรื่องแล้วจะใช้เสียงผู้หญิงทั้งหมด พร้อมกันนั้นลูกคู่ก็จะรับกันให้เสียงแน่นและเป็นช่วงๆ
หุ่นกระบอก ของไทยมีลักษณะน่ารักน่าเอ็นดูคล้ายตุ๊กตาที่มีความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
แต่สามารถเคลื่อนไหวร่ายรา แสดงอาการต่างๆ ได้เหมือนมนุษย์
โดยมีผู้เชิดหุ่นกระบอกเป็นผู้ควบคุมบังคับอากัปกิริยาต่างๆ ของหุ่น ให้เป็นไปตามที่ผู้เชิดหุ่นต้องการ
หุ่นกระบอกของไทยแต่งกายและสวมเครื่องประดับคล้ายตัวละคร ในการแสดงของไทยแบบโบราณ
ซึ่งงดงามประณีต และมีความเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่ง
ก่อนที่หุ่นกระบอกของไทยจะเริ่มมีขึ้นในกรุงเทพฯ เราเคยมีการแสดงหุ่นชนิดอื่นเป็นมหรสพมานาน
ตั้งแต่เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง การแสดงหุ่นที่มีในสมัยแรกเริ่ม คือ การแสดงหุ่นหลวง
หรือบางครั้งมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หุ่นใหญ่หุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่มีขนาดใหญ่กว่าหุ่นกระบอก คือ
มีความสูงถึงประมาณ ๑ เมตร และมีอุปกรณ์กลไกภายในตัวหุ่น ซับซ้อนกว่าหุ่นกระบอก ดังนั้น
วิธีเชิดแสดงหุ่นหลวงจึงยากกว่าการเชิดแสดงหุ่นกระบอก อย่างไรก็ตาม
หุ่นหลวงได้ใช้เล่นแสดงเป็นการมหรสพอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นกระบอกของไทยได้เข้ามาสู่สังคมชาวกรุงเทพฯ และเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย จนกลายเป็นการเล่นมหรสพ
ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งเด็กชายเล็กๆ คนหนึ่ง ได้มีโอกาสติดตามบิดา
ผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ไปราชการยังหัวเมืองฝ่ายเหนือ ครั้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
เด็กชายผู้นี้ได้มีโอกาสชมการเชิดหุ่นกระบอก จึงเกิดความสนใจและอยากได้หุ่นกระบอกอย่างมาก เนื่องจาก
หุ่นกระบอกมีขนาดไล่เลี่ยกับตุ๊กตา มีลักษณะสวยงามน่ารัก และสามารถเชิดให้แสดงกิริยาอาการต่างๆ ได้
หุ่นกระบอกจึงเป็นสิ่งที่ดูแล้วเพลินตาเพลินใจ เป็นที่ถูกใจเด็กชายอย่างยิ่ง
ในที่สุดเด็กชายคนนี้ก็ได้หุ่นกระบอกมาตัวหนึ่ง และได้นากลับมายังกรุงเทพฯ ด้วย
เจ้าของหุ่นกระบอก คนเดิม เป็นชายยากจนชื่อ เหน่ง เป็นชาวจังหวัดสุโขทัย อาศัยอยู่ตามวัด
นายเหน่งเห็นหุ่นจีนไหหลาจึงเอาแบบอย่างมาคิดดัดแปลงประดิษฐฺ์เป็นหุ่นไทยขึ้น
และคิดกระบวนร้องเพลงประกอบตามแบบอย่างของหุ่นจีนไหหลา นายเหน่งนาหุ่นกระบอกออกเชิดแสดง
เพื่อหาเลี้ยงชีพ ต่อมามีคนชอบมากขึ้น หุ่นกระบอกของนายเหน่งจึงเป็นที่รู้จักกัน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ในเวลานั้น นายเหน่งได้มอบหุ่นตัวหนึ่งให้แก่เด็กชายผู้ที่ได้มาเยือน
ในระหว่างเดินทางกลับจากหัวเมืองเหนือมายังกรุงเทพฯ เด็กชายผู้เป็นเจ้าของหุ่นกระบอกคนใหม่กับพี่เลี้ยง
ได้หัดเล่นเชิดหุ่นกระบอกที่เพิ่งได้มานั้นอย่างสนุกสนานตลอดทาง เป็นที่น่าเสียใจยิ่งที่เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ
ได้ไม่นาน เด็กชายเจ้าของหุ่นกระบอกได้เสียชีวิตลง พี่เลี้ยงของเด็กชายผู้นี้ชื่อ หม่อมราชวงศ์เถาะ ซึ่งชื่นชม
และติดใจ ในความงดงามน่ารักของหุ่นกระบอกด้วยเช่นกัน
เกิดความคิดที่จะจัดการแสดงหุ่นกระบอกต่อสาธารณชน โดยตั้งเป็นคณะหุ่นกระบอกขึ้น
เพื่อนาออกแสดงเป็นมหรสพ สร้างความบันเทิงให้ประชาชนทั่วไปได้ชม
หม่อมราชวงศ์เถาะจึงเป็นผู้คิดริเริ่มก่อตั้ง และเป็นเจ้าของคณะหุ่นกระบอกคณะแรกในประเทศไทย
ผู้คนในสมัยนั้น เรียกหุ่นกระบอกไทยคณะนี้ว่า หุ่นคุณเถาะ
หลังจากนั้น หุ่นกระบอกก็ได้รับความนิยมแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
จนมีคณะหุ่นกระบอกเกิดขึ้นอีกมากมายหลายคณะ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวเมืองรอบๆ เมืองหลวง ในรัชกาลที่ ๕ จึงถือได้ว่า
เป็นยุคทองของการแสดงหุ่นกระบอกของไทย
การเล่นหุ่นกระบอกของไทยเป็นการแสดงมหรสพที่มีความสาคัญยิ่งอย่างหนึ่ง
และมีลักษณะเด่นไม่แพ้มหรสพชนิดอื่นๆ การแสดงหุ่นกระบอกประกอบด้วยศิลปะชั้นสูงหลายสาขา
ตั้งแต่การสร้างตัวหุ่นซึ่งมีความสูงประมาณ ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร
ศีรษะของหุ่นส่วนมากทาจากวัสดุที่มีน้าหนักเบา แต่มีความทนทาน เช่น ไม้นุ่น หรือไม้ทองหลาง
ซึ่งเป็นไม้เนื้อเบา ศีรษะของหุ่นกระบอกมีขนาดความสูงประมาณ ๑๐ - ๑๒ เซนติเมตร
ส่วนศีรษะติดกับลาคอที่ยาวประมาณ ๘ เซนติเมตร
ศีรษะของหุ่นถ้าจะเทียบแล้วก็คงมีขนาดไล่เลี่ยกับกามือของผู้ใหญ่ ที่ลาคอคว้านให้เป็นรูไว้ตรงกลาง
เพื่อสอดลาไม้ไผ่ ที่มีปล้องขนาดเล็ก เช่นไม้ไผ่รวก ขนาดความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร
กระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นลาตัวของหุ่นนี้เอง ที่เป็นที่มาของชื่อ หุ่นกระบอก มือของหุ่นก็ทาจากไม้ด้วยเช่นกัน
หรือบางครั้งอาจใช้แผ่นหนังอย่างหนามาทาเป็นมือหุ่น เพื่อความทนทานขึ้น
ที่ข้อมือของหุ่นแต่ละข้างมีไม้ไผ่ที่เหลาให้มีขนาดเล็กประมาณแท่งดินสอ ความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร
ผูกติดกับข้อมือของหุ่นไว้ทั้ง ๒ ข้าง เรียวไม้ไผ่ที่ผูกติดกับข้อมือของหุ่นกระบอกนี้ มักเรียกกันว่า "ตะเกียบ" ทั้งนี้
คงเป็นเพราะว่ามีขนาดไล่เลี่ยกับตะเกียบที่ชาวจีนนิยมใช้รับประทานอาหาร และต้องใช้เป็นคู่เช่นเดียวกันนั่นเอง
ทั้งตะเกียบ และแกนกระบอกลาตัวของหุ่น ซ่อนอยู่ในเสื้อผ้าของหุ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายถุง
ความงดงามของหุ่นกระบอก จะอยู่ที่การวาดหน้าตาของหุ่น เครื่องประดับ และเสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ
ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ การแต่งกายของโขน และละครของไทยที่มีมาแต่โบราณ
ถึงแม้ว่าทั้งตัวหุ่นกระบอกและเครื่องแต่งกาย ตลอดจน เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ของหุ่นกระบอกจะมีขนาดเล็ก
แต่ผู้ประดิษฐ์ก็พยายามจะสร้างให้เหมือนของจริงอย่างประณีตงดงาม
ตัวละครหุ่นกระบอกนอกจากตัวพระและตัวนาง คือ ตัวพระเอกและนางเอกแล้ว ยังมีตัวละครอื่นๆ ตามท้องเรื่อง
ที่นามาเล่นแสดง เนื้อเรื่องสาหรับเล่นแสดงหุ่นกระบอกเป็นนิยาย นิทาน หรือเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ
รวมทั้งบทละครนอก ในวรรณคดีไทยที่ได้รับความนิยม เช่นลักษณวงศ์ สังข์ทอง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี
ดังนั้น ตัวละครหุ่นกระบอกจึงมีทั้งนางผีเสื้อสมุทรผู้มีเขี้ยวยาวโง้ง สินสมุทรผู้มีหน้าเป็นยักษ์ตามมารดา
ตลอดจนชีเปลือย ม้านิลมังกร เจ้าเงาะ และนางรจนา จะเห็นได้ว่า การแสดงหุ่นกระบอกเรื่องหนึ่งๆ นั้น
ตัวละครหุ่นกระบอกที่ครบถ้วนทั้งโรงมีจานวนมาก ดังนั้น
การประดิษฐ์หุ่นกระบอกรวมทั้งอุปกรณ์การแสดงอื่นๆ เช่นอาวุธ พาหนะ ถ้าจะให้งดงามประณีตจริงๆ
จึงมิใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทั้งเวลา แรงงาน และฝีมือช่างผู้ชานาญหลายสาขา
นอกจากตัวหุ่นกระบอกแล้ว ในการแสดงยังต้องมีโรงและฉากประกอบตามท้องเรื่อง เช่นฉากปราสาทราชวัง
ฉากป่าเขาลาเนาไพร ฉากท้องทะเลที่มีเกาะแก่งต่างๆ เมื่อมีตัวหุ่นกระบอก
มีโรงพร้อมทั้งฉากประกอบตามท้องเรื่องแล้ว ยังต้องมีวงดนตรีปี่พาทย์ และผู้ขับร้องเพลงต่างๆ
ตลอดจนผู้พากย์หรือผู้เจรจาประกอบการแสดงด้วย เครื่องดนตรีสาคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ คือ ซออู้ นอกจากนี้
การเล่นแสดงหุ่นกระบอกจะดูมีชีวิตชีวา จนสามารถดึงดูดความสนใจผู้ชมได้
ก็อยู่ที่หุ่นกระบอกนั้นต้องมีผู้เชิดที่มีความชานาญ จนสามารถเชิดให้หุ่นร่ายราทาท่าต่างๆ ได้เหมือนคนจริงๆ
การที่ผู้เชิดหุ่นจะเชิดได้งดงามอ่อนช้อย เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ชมมากน้อยเพียงใดนั้น
นอกจากจะขึ้นอยู่กับทักษะของผู้เชิด ซึ่งต้องฝึกฝนเป็นเวลานานแล้ว
ผู้เชิดหุ่นกระบอกยังต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ ราไทยเป็นอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้เชิดหุ่นอาจเคยแสดงละครราเอง
หรืออย่างน้อยเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับท่าราของไทย หรือเป็นผู้ที่สันทัดในเรื่องนี้เป็นอย่างดี
ในขณะเชิดหุ่นกระบอก ผู้เชิดหุ่นจะนั่งเชิดมือซ้ายถือแกนกระบอกลาตัวของหุ่นไว้ โดยยกตัวหุ่นให้ตั้งตรง
ส่วนมือขวาจับตะเกียบ บังคับการเคลื่อนไหวของมือหุ่น โดยใช้นิ้วมือของผู้เชิดซึ่งทาหน้าที่เสมือนกลไกให้หุ่น
แสดงท่าทาง และร่ายรา ไปตามท้องเรื่อง จะเห็นได้ว่า วิธีการเชิดหุ่นกระบอกนี้ มิใช่เรื่องง่าย
ผู้ที่จะเชิดหุ่นกระบอกได้ดี จนกระทั่งมีความชานาญนั้น ต้องใช้เวลาฝึกฝนเป็นระยะเวลานาน
และต้องใช้ความอดทนวิริยะพากเพียรเป็นอย่างมาก
ในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุคทองของหุ่นกระบอก ชาวไทยทั่วไปรู้จัก
และนิยมการเชิดแสดงหุ่นกระบอก เป็นมหรสพอย่างมาก สาเหตุที่ทาให้หุ่นกระบอกเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในยุคนั้น
คงเนื่องมาจาก ความงดงาม และความน่ารัก ของหุ่นกระบอก ซึ่งมีลักษณะคล้ายตุ๊กตา แต่สามารถเคลื่อนไหว
แสดงกิริยาท่าทางได้คล้ายมนุษย์ นอกจากนี้ เนื้อเรื่องประเภทนิยาย นิทาน และวรรณคดีจักรๆ วงศ์ๆ
ที่นิยมนามาใช้สาหรับเล่นหุ่นกระบอกก็เน้นความสนุกสนาน ตลก ทานองจาอวดของไทย เป็นที่ถูกใจผู้ชม
ซึ่งมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การแสดงหุ่นกระบอก จะมีเนื้อเรื่องสนุกสนาน ตลกโปกฮา
แทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็แฝงไว้ด้วยคติธรรมอันลึกซึ้ง มีเนื้อเรื่องกินใจ ดังนั้น
การเชิดแสดงหุ่นกระบอกของไทยจึงเหมือนกับการละเล่นมหรสพอย่างอื่นๆ คือ เป็นแบบที่เรียกว่า "เด็กดูได้
ผู้ใหญ่ดูดี"
หุ่นกระบอก
ความหมาย
คาว่า "หุ่น" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า"รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา,
รูปแบบที่จาลองจากของจริงต่างๆ; ... ชื่อการเล่นมหรสพ ที่ใช้รูปหุ่น แสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน,
..." ดังนั้น การเล่นหุ่น หรือการแสดงหุ่น ก็คือ การแสดงที่ใช้รูปจาลองที่มีกลไก
ทาให้รูปจาลองนั้นเคลื่อนไหวได้โดยการเชิด หรือการชัก แทนการใช้ตัวคนในการดาเนินเรื่อง
ความนิยมในการเล่นแสดงหุ่นเป็นมหรสพ ในประวัติศาสตร์โลก
การแสดงหุ่นเป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่มีมาช้านาน และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก
แม้จะไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่ชัดว่า การเล่นหุ่นชนิดต่างๆ ถือกาเนิดขึ้นเมื่อใด
และมีในประเทศใดก่อนก็ตาม แต่ก็มีหลักฐานให้สันนิษฐานได้ว่า การเล่นหุ่นเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน
ทั้งฝ่ายโลกตะวันตก และฝ่ายโลกตะวันออก โดยมีปรากฏเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับหุ่นตุ๊กตา รูปเคารพหลากหลายชนิด
ที่นามาใช้ประกอบพิธีกรรมในโบสถ์หรือวิหาร ตามโอกาสต่างๆ ทั้งที่ประเทศอียิปต์ กรีซ อิตาลี อินเดีย
และที่พระ หรือนักบวช นาเข้ากระบวนแห่ต่างๆ ด้วย หุ่นตุ๊กตารูปเคารพเหล่านี้สามารถขยับอวัยวะบางส่วนได้
เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในศาสนา นอกจากการใช้หุ่นตุ๊กตารูปเคารพ
เพื่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั่วไปแล้ว ยังใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับการทาศพอีกด้วย
โดยมีผู้นาหุ่นตุ๊กตาจากสุสานแห่งหนึ่ง ในอียิปต์ออกแสดง
และได้กลายเป็นการแสดงมหรสพในโรงละครหุ่นในเวลาต่อมา เป็นที่น่าประหลาดใจว่า
หุ่นตุ๊กตารูปเคารพจานวนมาก ที่ขุดค้นพบในประเทศอียิปต์ และประเทศเม็กซิโก
ซึ่งอยู่ห่างไกลกันเกือบคนละซีกโลก มีลักษณะที่เหมือนกันมาก จนเกือบแยกกันไม่ออก
ในกลุ่มประเทศทางตะวันออก จากการศึกษาหลักฐานทางด้านคติชนวิทยาของอินเดีย มีข้อความเล่าว่า
ในโบราณกาล ที่ประเทศอินเดีย มีการเล่นหุ่นเพื่อแสดงเป็นมหรสพ เช่นเดียวกับการพบหลักฐานที่ระบุว่า
มีการแสดงหุ่นเป็นมหรสพในอีกหลายประเทศ เช่น สยาม ชวา พม่า ตุรกีเปอร์เซีย นอกจากนี้
ก็มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น ชอบการแสดงหุ่นอย่างมากด้วย
ส่วนกลุ่มประเทศทางตะวันตก เช่น ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี หรือประเทศกรีซ
การเล่นแสดงหุ่นก็ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่การเล่นแสดงหุ่นต้องสูญสลายไป
พร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ครั้นเมื่อคริสต์ศาสนาได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก
การเล่นแสดงหุ่นจึงกลับฟื้นคืนมา โดยมีการใช้หุ่นเชิดแสดงประกอบการเผยแผ่ศาสนา
ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอิตาลี และต่อมาที่ประเทศฝรั่งเศส ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖
เกิดความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ของบุคคลในวงการศาสนา ถึงความเหมาะสม
เกี่ยวกับการนาหุ่นมาเล่นแสดงในโบสถ์วิหาร จนถึงกับมีการห้ามเล่นแสดงหุ่นในโบสถ์
ผู้ที่นิยมการแสดงหุ่นจึงนามาเล่นแสดงนอกโบสถ์ โดยเล่นที่บริเวณรอบๆ โบสถ์ และต่อมาก็นาไปเล่นทั่วๆ
ไปในที่ชุมชน เช่น กลางตลาด แต่การเล่นแสดงหุ่นในยุคนั้น ยังคงเป็นไป เพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่ศาสนา
วิวัฒนาการของการเล่นแสดงหุ่น
หลังจากเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ แนวนิยมการเล่นแสดงหุ่นค่อยๆ เปลี่ยนไปจากวัตถุประสงค์ทางศาสนา
มาเป็นการสนองประโยชน์ ด้านการบันเทิงทางฝ่ายโลก ผู้ชมการเล่นแสดงหุ่นได้ขยายวงกว้างมากขึ้น
เข้าไปสู่ผู้คนทั่วไป การแสดงหุ่นจึงมีการพัฒนาให้มีความหลากหลายในรูปแบบมากขึ้น
ทั้งวิธีการเล่นแสดงหุ่นที่มีคนเชิดเพียงคนเดียวที่ร่อนเร่ไปแสดงตามที่ต่างๆ ไปจนถึง
การแสดงหุ่นในโรงละครที่หรูหรา ตลอดจนบุคลิกลักษณะและรูปลักษณ์ของตัวหุ่น
โดยปรับเปลี่ยนไปตามบุคลิกลักษณะของผู้คนตามภูมิประเทศ และเส้นทาง ที่การแสดงหุ่นเดินทางผ่านไป
และด้วยเหตุนี้ แต่ละประเทศ จึงมีหุ่น และวิธีการแสดง ที่มีลักษณะกลมกลืนกับสภาพพื้นบ้านพื้นเมืองของตนเอง
การแสดงหุ่นเป็นมหรสพที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และกลายมาเป็นส่วนหนึ่ง ของการดาเนินชีวิต
เรื่องราวที่ใช้แสดงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเรื่องราวชีวิตจริง ของมนุษย์
มีการเขียนบทเพื่อใช้แสดงหุ่นนับเป็นพันๆ เรื่อง โดยกวีและนักปราชญ์ จานวนมาก
และมีการฝึกฝนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเล่นแสดงหุ่น เช่น ผู้ประดิษฐ์ตัวหุ่น
ผู้ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องประดับสาหรับหุ่น ผู้อ่านบท นักดนตรี ผู้เชิดหุ่น และอื่นๆ อีกเป็นจานวนมาก
ประเภทของหุ่นและวิธีการแสดง
ในภาษาอังกฤษมีคาที่หมายถึง "หุ่น" อยู่๒ คา คือ พัปเพ็ต (Puppet) และ แมริโอเนตต์ (Marionette)
โดยมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ พัปเพ็ตเป็นหุ่นที่เชิด โดยใช้มือจับแกนลาตัวหุ่น แล้วเชิดจากด้านล่าง
ส่วนแมริโอเนตต์เป็นหุ่นที่เชิด โดยการชักสายที่โยงจากส่วนต่างๆ ของหุ่น แล้วเชิดจากด้านบน
หุ่นที่เล่นแสดงตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก อาจจาแนกได้เป็น ๖ ประเภทใหญ่ๆดังนี้
๑. หุ่นมือ (Hand - puppet)
๒. หุ่นนิ้วมือ (Finger - puppet)
๓. หุ่นสาหรับสร้างเป็นภาพยนตร์ (Stop - motion puppet)
๔. หุ่นกระบอก (Rod - puppet)
๕. หุ่นเงา (Shadow - puppet)
๖. หุ่นชักสายเชิด (String - puppet หรือ Marionette)
หุ่นแต่ละประเภทมีความแตกต่างทั้งในรูปลักษณะ การสร้าง และวิธีเชิดแสดง
หุ่นมือ
มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ สาหรับให้เด็กเล่นแสดง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
ใช้เชิดแสดงเป็นมหรสพสาหรับผู้เชิดระดับมืออาชีพ หุ่นมือมีลาตัวกลวง เพื่อให้ผู้เชิดสอดแขนเข้าไปได้
โดยใช้มือและนิ้วมือควบคุมบังคับการเคลื่อนไหวของตัวหุ่น ส่วนศีรษะของหุ่นมือ คือ
อวัยวะหลักที่สาคัญมากของหุ่นประเภทนี้ ซึ่งวัสดุที่นามาใช้ประดิษฐ์ มีหลายชนิด เช่นลูกบอลยาง กระดาษแข็ง
ถุงเท้ายัดนุ่น เศษผ้าหรือผ้าสักหลาด กระดาษปิดกาว เศษพลาสติก ยางหรือไม้ที่มีน้าหนักเบา ศีรษะของหุ่นมือ
ส่วนมากเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่ในบางครั้งผู้ประดิษฐ์อาจสร้างให้ขยับขากรรไกร ดวงตา และใบหูได้
ศีรษะของหุ่นมือจะตรึงติดอยู่กับลาตัวหุ่นซึ่งมีลักษณะเป็นเสื้อคลุมหลวมๆ ตรงๆ ลงมา
เพื่อให้ผู้เชิดสอดแขนเข้าไปได้ อวัยวะส่วนที่เป็นมือ มักใช้วัสดุประเภทเดียวกันกับศีรษะ
แต่ให้มีขนาดไม่เหมือนธรรมชาติ สาหรับมือของหุ่น มักให้ถือสิ่งของต่างๆ ตามท้องเรื่อง
การเชิดไม่ซับซ้อนยุ่งยากเท่าหุ่นชนิดอื่น โดยทั่วไปผู้เชิดหุ่นมือใช้แขน และมือ สอดเข้าไปในถุงซึ่งเป็นลาตัวหุ่น
และใช้นิ้วชี้สอดให้ตรงกับรูที่เชื่อมระหว่างลาตัวกับศีรษะหุ่น เพื่อบังคับส่วนศีรษะของหุ่น
นิ้วโป้งและนิ้วกลางใช้บังคับมือและแขนทั้ง ๒ ข้างของหุ่น
การเชิดแสดงหุ่นมือมีข้อจากัดอยู่เพียงแค่ลาตัวส่วนครึ่งบนของตัวหุ่น อย่างไรก็ตาม
หากผู้เชิดมีทักษะมากก็อาจให้หุ่นมือแสดงบทเดิน กระโดด เต้นรา หรือวิ่งได้บ้างเหมือนกัน
เนื่องจากผู้ชมการแสดงหุ่นมือส่วนมากเป็นเด็ก เรื่องราว หรือเนื้อเรื่องของการแสดงหุ่นมือ
ที่เหมาะสมสาหรับการนามาใช้แสดงคือ เรื่องตลก จาอวด หรือเทพนิยาย บทสนทนามีเพียงสั้นๆ
ซึ่งส่วนมากผู้เชิดจะพูดเอง แต่การเชิดแสดง จะเน้นที่การเคลื่อนไหวมากๆ
และเทคนิคการใช้เสียงประกอบมากกว่าบทสนทนา เรื่องที่เป็นแบบแผนและแนวนิยมของการแสดงหุ่นมือ คือ
เรื่องซึ่งมีบทเกินธรรมชาติ ทั้งในด้านบุคลิกลักษณะการเคลื่อนไหว และเค้าโครงเรื่อง โรงที่ใช้แสดงหุ่นมือ
ต้องสร้างให้มีเนื้อที่มากพอที่ผู้เชิดจะเคลื่อนไหวได้สะดวก ส่วนมากเว้นช่องว่างจากด้านล่าง
เนื่องจากผู้เชิดหุ่นมือจะเชิดหุ่นจากด้านล่างของขอบเวทีโรงหุ่น
หุ่นนิ้วมือ
เป็นหุ่นที่แตกแขนงมาจากหุ่นมือ หุ่นชนิดนี้มีขนาดเล็ก เนื่องจากเป็นการใช้นิ้วมือเชิดแสดง
ผู้เชิดจะใช้นิ้วชี้และนิ้วนางเป็นส่วนขาของหุ่น ส่วนนิ้วกลางใช้เชิดลาตัวและหัว การเชิดแสดง
ส่วนมากใช้การเคลื่อนไหวของขาหุ่นทั้ง ๒ข้าง โดยเน้นการวิ่ง เดิน เต้นรา กระโดด
สาหรับส่วนบนของตัวหุ่นเคลื่อนไหวไม่ได้มากนัก เนื่องจากความจากัดของขนาด และร่างกาย
โดยทั่วไปหุ่นนิ้วมือจึงนามาเป็นของเล่นสาหรับเด็กภายในกลุ่มเล็กๆ มากกว่าจะใช้เชิดแสดงเป็นมหรสพ
หุ่นสาหรับสร้างเป็นภาพยนตร์
มีลักษณะคล้ายตุ๊กตามากกว่าหุ่นที่ใช้สาหรับการเชิดแสดงเป็นมหรสพในโรงหุ่น ส่วนมาก
ประดิษฐ์ให้มีรูปร่างเหมือนมนุษย์มากที่สุด เพื่อให้ภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ ดูแล้วน่าสนใจ
เหมือนการแสดงของมนุษย์ ตัวหุ่นอาจดัดแปลงให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับ อากัปกิริยาของมนุษย์
การจัดวางท่าทางของหุ่นเพื่อประโยชน์สาหรับการถ่ายทาภาพยนตร์
จึงเป็นเรื่องที่สาคัญของการสร้างหุ่นประเภทนี้ โดยทั่วไป หุ่นที่สร้างขึ้น
สาหรับการถ่ายทาภาพยนตร์นี้จะมีขนาดไล่เลี่ยกับตุ๊กตาทั่วๆ ไป ส่วนการจัดฉากประกอบต่างๆ
ก็มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของหุ่นตามกันไปด้วย
หุ่นกระบอก
มีลักษณะคล้ายกับหุ่นมือ กล่าวคือ ลาตัวของหุ่นมีส่วนกลวงภายใน เพื่อให้แขนสอดเข้าไปเชิดได้
การเชิดแสดงหุ่นกระบอกก็เชิดจากด้านล่างเช่นเดียวกัน หุ่นกระบอกส่วนมากมีศีรษะและลาคอกลวง
ส่วนหัวของหุ่นกระบอกอาจประดิษฐ์ขึ้น จากวัสดุต่างๆ ที่มีน้าหนักไม่มากนัก เช่นกระดาษ ไม้ที่มีเนื้อเบา
หุ่นกระบอกเป็นมหรสพสาหรับชาวบ้าน และสามารถเชิดแสดง โดยใช้บท สาหรับการแสดงหุ่นสารพัดประเภท
ไม่ว่าจะเป็นโศกนาฏกรรม ตลก เทพนิยาย หรือเรื่องจินตนาการแบบเพ้อฝัน (fantasy) แต่ที่เหมาะที่สุดคือ
นามาเล่นกับบท ซึ่งมีเรื่องราวที่เน้นการแสดงออกของตัวละคร มากกว่าการสนทนา
โรงหุ่นกระบอกมีลักษณะคล้ายโรงหุ่นมือ คือ มีที่ว่างด้านล่างของพื้นเวที
เพราะใช้การเชิดแสดงจากด้านล่างเป็นส่วนมาก แต่ที่บางภูมิภาค เช่นเกาะซิซิลี มีการเชิดแสดงจากด้านบน
ในกรณีเช่นนี้ โรงหุ่นกระบอกจะมีลักษณะคล้ายโรงหุ่นชักสายเชิด
หุ่นเงา
เป็นหุ่นที่คนไทยรู้จักกันดี ในชื่อหนังตะลุง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของหุ่นกระบอก ความแตกต่าง คือ
ผู้ชมจะไม่ชมการแสดงจากการมองตัวหุ่นโดยตรง แต่จะชมภาพของหุ่น ซึ่งปรากฏที่จอ
โดยใช้ไฟส่องจากด้านหลังของตัวหุ่นที่มีลักษณะแบนเป็นภาพมิติเดียวนั้น
ให้เงาของตัวหุ่นไปตกกระทบจอที่ใช้ผ้าขาวผืนใหญ่ขึงตึง เกิดเป็นภาพบนจอ
ผู้ชมจึงชมการเชิดแสดงหุ่นประเภทนี้ในลักษณะของการดูหนัง
ลักษณะของหุ่นประเภทนี้เป็นแผ่นภาพแบน ประดิษฐ์ขึ้นจากกระดาษแข็ง แผ่นสังกะสี
ในประเทศทางตะวันออกจะประดิษฐ์จากหนังสัตว์ เช่น โค กระบือ ขนาดหุ่นเงา
หรือที่เรียกว่า "ตัวหนัง" จะมีขนาดไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ลักษณะของตัวหนัง
อาจออกแบบให้เห็นเป็นภาพใบหน้า ที่เอียงข้างของตัวละคร หรืออาจเป็นภาพหน้าตรง ที่แสดงความรู้สึกต่างๆ
ก็ได้ แต่ส่วนมากจะเป็นภาพใบหน้าด้านข้าง ตัวหนังสามารถเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ได้บ้าง
โดยการดึงเชือก ที่ผูกไว้ที่อวัยวะนั้นๆ
การเชิดจะเชิดตัวหนังทางด้านหลังของจอ และเชิดจากด้านล่าง ผู้เชิดต้องวางแนวจับตัวหนังด้านแบนๆ
นั้นให้ขนานไปกับจอ แล้วเคลื่อนตัวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นแนวระนาบตามกันไป
ความสนุกสนานของการชมหนังตะลุงเกิดจากบทสนทนา หรือการแสดงของผู้เชิด
ซึ่งช่วยสร้างสีสันให้แก่การเล่น หุ่นเงาเหมาะที่จะใช้แสดงกับเรื่องราวที่มีอยู่ในคติชาวบ้าน เช่น นิทาน
นิยายพื้นบ้าน หรือเนื้อเรื่องประเภทเทพนิยาย สาหรับโรงเชิดหุ่น มีลักษณะคล้ายโรงเชิดหุ่นมือ
แต่ด้านหน้าโรงขึงจอผ้าขาวให้ตึง
หุ่นชักสายเชิด
เป็นหุ่นแบบใช้เส้นเชือกชักเชิดในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า String-puppet แต่คา Marionette
ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเหตุว่า หุ่นชนิดนี้
เป็นที่นิยมแพร่หลายมากในประเทศฝรั่งเศส ตามหลักฐานที่ค้นพบ
มีการเชิดแสดงหุ่นชนิดนี้มานานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ แล้ว
ช่างผู้ประดิษฐ์หุ่นชักสายเชิดจะมีวิธีการสร้างหุ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไป
ศีรษะและลาคอของหุ่นประเภทนี้สร้างจากวัสดุที่คล้ายกับวัสดุของหุ่นมือ คือ ใช้ไม้ที่มีน้าหนักเบา
หรือกระดาษปิดกาว หรือกระดาษแข็ง ส่วนวัสดุที่นามาประดิษฐ์เป็นลาตัวของหุ่น ต้องแข็งแรงพอสมควร เช่น
ไม้กระดาษปิดกาว ผ้ายัดนุ่น
ลาตัวของหุ่นชักสายเชิดแยกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไป และส่วนล่างจากเอวลงมา
เพื่อให้การเชิดเคลื่อนไหวได้อ่อนช้อย คล้ายคลึงกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์มากที่สุด
และที่เท้าของหุ่นมักถ่วงให้หนักด้วยตะกั่ว โดยรวมแล้ว
อวัยวะแทบทุกส่วนของตัวหุ่นชักสายเชิดจะประดิษฐ์ให้เคลื่อนไหวได้ รวมทั้ง นัยน์ตาทั้ง ๒
ข้างที่กลอกไปมาได้ด้วย
การตกแต่งหุ่นจะใช้สีวาดและทาอวัยวะต่างๆ ที่เป็นร่างกาย เสื้อผ้าก็มักจะให้มีสีสันสดใส ฉูดฉาด
เพื่อดึงดูดสายตา และความสนใจ เสื้อผ้าและเครื่องประดับต่างๆ ของหุ่น มีลักษณะหลวมๆ และเบา
เพราะหุ่นประเภทนี้ต้องเคลื่อนไหวมาก ตัวหุ่นมีรูปร่างครบสมบูรณ์ทุกอย่าง มีเส้นเชือก ซึ่งมีความเหนียวมาก
ผูกตรึงกับอวัยวะส่วนต่างๆ ของหุ่น โดยเฉพาะที่แขนและขา และโยงไปยังด้ามบังคับ ที่ทาด้วยไม้เป็นรูปกากบาท
ผู้เชิดหุ่นจะเชิดจากด้านบนของโรงหุ่น ซึ่งสร้างยกพื้นอยู่ด้านหลังของฉาก เพื่อให้ผู้เชิดแสดง
สามารถยืนชะโงกออกมาเชิดตัวหุ่นที่อยู่ข้างหน้าฉากได้ถนัด หุ่นชักสายเชิดนี้
ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในยุโรป ระหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ประเทศที่นิยมนาหุ่นชนิดนี้มาเล่น เช่น
ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย
องค์ประกอบพื้นฐานสาคัญของการเล่นหุ่นกระบอก
อาจจาแนกได้เป็นส่วนต่างๆ คือ ตัวหุ่นกระบอก เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ โรงหุ่นและฉาก
ดนตรีและการขับร้อง วิธีการเชิดแสดง เนื้อเรื่องที่นามาแสดง
ตัวหุ่นกระบอก
หุ่นกระบอกที่ใช้แสดงกันในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้น โดยอาศัยกรรมวิธี
การสร้างหุ่นกระบอกตามแบบหุ่น ซึ่งหม่อมราชวงศ์เถาะ ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงขึ้น กล่าวคือ
ตัวหุ่นกระบอกประกอบขึ้นด้วยส่วนสาคัญ ๔ ส่วน ได้แก่ศีรษะหุ่น ลาตัว มือ
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับตัวหุ่นกระบอก ส่วนที่เลียนแบบอวัยวะของคนจริงๆ คือ ศีรษะและมือทั้ง ๒
ข้างเท่านั้น ส่วนลาตัวหุ่นเป็นกระบอกไม้ไผ่ทั้งปล้องสอดเข้าไปตรงลาคอ ศีรษะและลาตัว ถอดออกจากกันได้
เมื่อไม่ใช้แสดงแล้วก็จะถอดออกและเก็บไว้แยกกัน โดยถอดส่วนศีรษะเก็บตั้งไว้บนฐานที่ประดิษฐ์ขึ้น
เพื่อตั้งศีรษะหุ่นกระบอก ลาตัวที่เป็นกระบอกไม้ไผ่ เมื่อถอดออกแล้ว จะนาแยกเก็บต่างหากจากตัวเสื้อ
ที่มีลักษณะคล้ายถุง ตัวเสื้อซึ่งมีมือติดอยู่ทั้ง ๒ข้าง พับเก็บใส่หีบ
ศีรษะของหุ่นกระบอกส่วนมากจะทาด้วยไม้เนื้อเบาทั้งแท่ง เช่น ไม้ทองหลาง ไม้โมก ไม้สักทอง
ไม้ที่นามาใช้ควรเป็นไม้เนื้อดี ไม่มีตา แท่งไม้ควรมีขนาดความกว้างประมาณ ๑๒ เซนติเมตร
และความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เมื่อได้ไม้แล้ว ช่างก็จะนามาแกะให้เป็นรูปศีรษะ รูปหน้าและลาคอ
ส่วนของรูปหน้าและศีรษะยาวประมาณ ๑๐ - ๑๒ เซนติเมตร ส่วนของลาคอยาวประมาณ ๘ เซนติเมตร
คว้านให้เป็นรูกว้างพอ ที่กระบอกไม้ไผ่รวกจะสอดเข้าไปได้โดยสะดวก เหตุที่ต้องทาลาคอให้ยาว
เพราะจะใช้เป็นส่วนต่อกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นส่วนลาตัวหุ่น
เมื่อสวมเสื้อคลุมทับอีกชั้นหนึ่งก็จะได้รูปลาคอพอดี ขั้นต่อไปคือ ปั้นแต่งด้วยรักสมุกหรือดิน ให้เป็นจมูก ปาก
คิ้ว หู ประเพณีนิยม เกี่ยวกับความเชื่อ ในการประดิษฐ์ศีรษะหุ่นกระบอกอย่างหนึ่ง คือ ต้องมีพิธีไหว้ครู
เบิกเนตรหุ่น คล้ายกับการประดิษฐ์หัวโขนถือกันว่าเป็นสิ่งต้องกระทา ฉะนั้น การเขียนดวงตาของหุ่นกระบอก
จึงจะทาเป็นขั้นตอนสุดท้าย และต้องทาในพิธีด้วย
ลาตัวของหุ่นกระบอกซึ่งก็คือ กระบอกไม้ไผ่รวก ยาวประมาณ ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร
กระบอกไม้ไผ่ที่จะทาเป็นลาตัวหรือแกนให้คนเชิดจับถือ ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ - ๕ เซนติเมตร
อวัยวะส่วนที่เป็นมือ มักแกะด้วยไม้ มีขนาดประมาณ ๔ - ๕เซนติเมตร ให้พอดีกับขนาดของตัวหุ่น
หรือทาด้วยหนังตัดเป็นรูปมือมีนิ้ว และดัดให้อ่อนอย่างมือละคร โดยมือขวาของหุ่นตัวพระจะกาอาวุธไว้เสมอ
จึงเจาะรูตรงกลางไว้ สาหรับเสียบอาวุธ ซึ่งจะเปลี่ยนไปได้ตามเนื้อเรื่อง ถ้าในบทไม่กาหนดให้ถืออะไร
ก็ปล่อยไว้ให้กามือเฉยๆ เช่นนั้นมือซ้ายเป็นรูปมือแบตั้งวงรา ถ้าเป็นมือตัวนาง โดยมากจะตั้งวงราทั้ง ๒ข้าง
มือทั้ง ๒ ข้างจะตอกติดกับเรียวไม้ไผ่เล็กๆ ๒อัน
ขนาดความยาวของเรียวไม้ไผ่เท่ากับปล้องไม้ไผ่ที่ทาเป็นลาตัวสาหรับจับเชิด
ชาวหุ่นกระบอกเรียกเรียวไม้ไผ่ทั้งสองข้างของหุ่นกระบอกคู่นี้ว่า "ตะเกียบ"
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ
เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับของหุ่นกระบอก นับว่ามีส่วนสาคัญ ที่ทาให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจได้มาก
เสื้อของหุ่นกระบอกประดิษฐ์ด้วยผ้าผืนเดียว ขนาดความกว้างประมาณ ๖๐ เซนติเมตร และยาวตั้งแต่ ๑.๒ - ๑.๕
เมตร นามาพับครึ่ง เย็บเป็นถุงคลุม โดยตรงกึ่งกลางส่วนที่เป็นสันพับครึ่ง ซึ่งคลุมไหล่หุ่น
จะเจาะเป็นช่องวงกลมเล็กๆ ให้มีขนาดพอเหมาะพอดีกับขนาดลาคอ ของหุ่นกระบอก
สาหรับสอดลาคออันเป็นส่วนของศีรษะ ตรงมุมผ้าทั้ง ๒ข้างที่พับ มีช่องสาหรับให้มือหุ่นโผล่ออกมา
เรียวไม้ไผ่ที่ตรึงติดมือหุ่นทั้ง ๒ ข้าง และกระบอกลาตัวหุ่นซ่อนอยู่ภายในเสื้อที่คลุมไว้ สิ่งสาคัญมาก
สาหรับการตกแต่งส่วนศีรษะ คือ เครื่องประดับศีรษะ เช่น มงกุฎ ชฎา รัดเกล้า หุ่นกระบอกจะสวยสะดุดตา
งดงามมากน้อยเพียงใดนั้น เครื่องประดับต่างๆ ก็มีส่วนสาคัญมิใช่น้อย
นอกจากการประดิษฐ์ตัวหุ่นกระบอกแล้ว สิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ
ที่จะต้องนาออกแสดงพร้อมกันตามท้องเรื่องที่เล่น ก็ต้องประดิษฐ์ให้มีขนาดที่พอเหมาะกับตัวหุ่นกระบอก เช่น
เรือสาเภา โคมไฟ สีวิกา (ที่นั่งมีคานหาม เป็นเครื่องแสดงอิสริยยศ) ตลอดจน สัตว์ที่เป็นพาหนะทั้งหลาย
โรงหุ่นกระบอก
แต่เดิมนั้น เจ้าของคณะหุ่นกระบอกมักจะมีโรงหุ่นกระบอกเป็นของตนเอง
โรงหุ่นกระบอกมักสร้างด้วยไม้กระดาน ไม่นิยมใช้ไม้ไผ่ เพราะถือเป็นของชั่วคราว ไม่คงทนถาวร
และไม่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสาและพื้นของโรงหุ่นกระบอก ซึ่งต้องรับน้าหนักคนจานวนมาก
ถ้าไม่แข็งแรงก็อาจเป็นอันตรายได้
โรงหุ่นกระบอกปลูกเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวประมาณ ๕ เมตร
ยกพื้นขึ้นให้สูงพอเหมาะกับสายตาของผู้ชมที่จะยืนดูได้ถนัด ส่วนมากมักยกพื้นขึ้นสูงประมาณ ๑ เมตร ถึง๑.๕๐
เมตร ความสูงจากพื้นโรงถึงหลังคาด้านหน้าประมาณ ๕ เมตร ด้านหลังและด้านข้างมีฝากั้นทึบ
เพื่อกันไม่ให้คนภายนอกเข้าไปได้ ส่วนด้านหน้าตั้งเสาเรียงกัน ๔ เสา ให้มีเสาคู่กันอยู่ด้านข้าง
เสาที่ตั้งคู่กันนี้ห่างกัน ๑ เมตร ฉะนั้น จะมีที่ว่างตรงกลาง ๓ เมตร
ฉาก
ฉากที่ใช้ตกแต่งโรงอาจแยกออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ
ฉากส่วนแรก
คือ ฉากที่ขึงไว้เสมอด้านหน้าโรงระหว่างเสาทั้ง ๒ ข้าง โดยขึงตลอด ตั้งแต่ชายหลังคาจนจรดพื้นโรง
เบื้องล่างมักเขียนเป็นรูปป้อมปราการ มีกาแพงเมือง และสุมทุมพุ่มไม้ตกแต่ง ที่ฉากส่วนนี้มักมีผ้าต่วน
หรือผ้าแพรยกดอก แขวนตลอดความสูง ทาเป็นม่านสองไขไว้ทั้งสองข้าง
โดยแขวนม่านนี้ทับด้านนอกของฉากอีกทีหนึ่ง
ฉากส่วนที่ ๒
คือ ฉากที่เขียนบนจอ ซึ่งขึงโดยให้อยู่ลึกจากริมโรงเข้าไปประมาณ ๓๐ เซนติเมตร กั้นเป็นจอ
เขียนรูปอย่างฉากละคร ฉากนี้เป็นฉากใหญ่ความยาวประมาณ ๓ เมตร พอดีกับโรง
ในยุคที่การละเล่นหุ่นกระบอกเฟื่องฟู นายเปียก ประเสริฐกุล ใช้วิธีเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง
ฉากที่ใช้เปลี่ยนตามท้องเรื่อง มี ๓ ฉากด้วยกัน คือ ฉากปราสาทราชมนเทียร ฉากป่าเขาลาเนาไม้
และฉากท้องทะเลมหาสาคร แต่โดยทั่วไปแล้ว พื้นจอจะเขียนให้เป็นรูปอย่างไรก็ได้
แล้วแต่ความนิยมของยุคสมัย หรือเห็นงามเท่าที่นิยมกัน ในปัจจุบันมักเขียนเป็นรูปปราสาทราชวัง อย่างไรก็ตาม
ฉากส่วนตรงกลางโรงนี้ จะต้องมีประตูเข้าออก ๒ ข้าง โดยมีขนาดให้พอเหมาะกับตัวหุ่นกระบอก ที่ประตูทั้ง ๒
ข้าง ติดม่านแหวกกลางไว้ เพื่อบังไม่ให้คนดูเห็นเข้าไปข้างในโรง เบื้องล่างของฉากส่วนนี้
ยกให้สูงจากพื้นโรงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้เชิดที่นั่งอยู่หลังฉาก
ลอดมือออกไปเชิดหุ่นที่หน้าฉากได้สะดวก บริเวณส่วนที่เป็นชายของจอนี้ ทาด้วยผ้าโปร่งขาว สูงราว ๕๐
เซนติเมตร ยาวตลอดแนวฉาก เพื่อให้คนเชิดมองลอดออกไป
เห็นตัวหุ่นที่ตนกาลังยื่นแขนออกไปเชิดที่หน้าฉากได้ แต่ผู้ชมจะมองไม่เห็นผู้เชิด หรือถ้าจะเห็นก็เพียงลางๆ
เท่านั้น
ฉากส่วนที่ ๓
คือ แผงกระจกติดภาพต่างๆ ใช้กันสายตา ตั้งเรียงติดต่อกันประมาณ ๖ - ๗ ภาพ
ที่ด้านล่างของโรงหุ่นกระบอกที่ระดับพื้นโรง สาหรับบังไม่ให้คนดูเห็นมือคนเชิด ที่ลอดใต้ฉากออกมา
และบังชายด้านล่างสุดของผ้าขาวบางนั้นไว้ จากสายตาของผู้ชม
แผงกระจกเหล่านี้เรียกว่า "กระจกบังมือ" มักประดับด้วย ภาพตัวละครสาคัญในวรรณคดีเอกของไทย
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เช่น พระราม พระลักษมณ์ ทศกัณฐ์ หนุมานตอนหาวเป็นดาวเป็นเดือน
หรือรูปสัตว์ในวรรณคดี เช่นพญาครุฑ กินรี กินนร ไกรสร ราชสีห์ มิฉะนั้น ก็ใช้วิธีการวาดภาพบนแผ่นกระจก
เป็นแผงติดด้านล่างของโรง หุ่นกระบอกคณะของนายเปียก ประเสริฐกุล ใช้วิธีวาดภาพบนด้านหลังแผ่นกระจกนี้
เพื่อให้คงทนไม่ชารุดง่าย ภาพบนแผงกระจกเหล่านี้ จะช่วยดึงดูดความสนใจให้คนเข้ามายืนชม
ก่อนที่จะมีการแสดง เป็นการฆ่าเวลาระหว่างนั่งรอชมการแสดงนั่นเอง
เครื่องดนตรี ทานองเพลง และการดาเนินเรื่อง
เครื่องดนตรีสาหรับประกอบการแสดงหุ่นกระบอกใช้ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่
แต่ในวงปี่พาทย์สาหรับการแสดงหุ่นกระบอกจะต้องมีกลองตะโพน ซออู้ กลองต๊อก กลองแต๋ว และม้าล่อ
เป็นเครื่องดนตรีสาคัญประกอบด้วย
ในตอนดาเนินเรื่องอาจใช้เพลงร่ายนอก หรือร่ายในก็ได้ แต่ที่นิยมกันมาก
สาหรับการแสดงหุ่นกระบอกโดยเฉพาะ จนถือว่า เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของการแสดงหุ่นกระบอกคือ
การใช้ทานองเพลง "สังขารา" ซึ่งเป็นทานองเพลงโบราณ นามาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม
กับการแสดงหุ่นกระบอก โดยประกอบเข้ากับการสีซออู้เคล้าไปในการขับร้อง เป็นการดาเนินเรื่อง
ส่วนเนื้อเรื่องที่นามาแสดงโดยมาก เป็นเนื้อหาที่คัดสรรตัดตอนมาจากวรรณคดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนิทานคากลอน
หรือบทละครนอก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน ลักษณวงศ์ ไกรทอง
ประวัติความเป็นมาของการเล่นหุ่นเป็นมหรสพของไทย
ประเทศไทยมีหลักฐานเป็นเอกสารแสดงว่า มีการเล่นหุ่น เป็นเครื่องบันเทิง
หรือมหรสพมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งหลักฐานที่แสดงว่า มีการเล่นหุ่น ปรากฏอยู่ในบันทึก
ทั้งที่เป็นหมายรับสั่ง สมุดไทย วรรณกรรม และวรรณคดีเรื่องต่างๆ ตั้งแต่แผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เรื่อยมาจนถึงแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย และต่อมาจนถึงสมัยธนบุรี
และสมัยรัตนโกสินทร์ โดยระบุไว้ว่า มีการแสดงหุ่นในงานฉลอง และสมโภชทั้งในพิธีหลวง เช่น
งานออกพระเมรุ และในพิธีราษฎร์ต่างๆ แต่การแสดงหุ่น ดังที่ปรากฏในบันทึกต่างๆ เหล่านั้น สันนิษฐานว่า
น่าจะเป็นการเล่นหุ่นหลวง มิใช่การเล่นหุ่นกระบอก ซึ่งมีหลักฐานแน่ชัดว่า เกิดขึ้น และนิยมกันอย่างแพร่หลาย
ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ในที่นี้จะได้อธิบายถึงลักษณะและองค์ประกอบสาคัญของหุ่นหลวง และการเชิดแสดงหุ่นหลวงอย่างสังเขป
ตลอดจนหุ่นประเภทอื่นๆ ของไทย ที่มีการเล่นแสดงเป็นมหรสพ เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจ
ก่อนนาเข้าสู่เรื่องหุ่นกระบอกไทย
นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ได้ให้คาจากัดความของหุ่นหลวง
ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง ไว้ว่า
"หุ่นหลวง เป็นศิลปะการแสดงชนิดหนึ่ง ที่ใช้วัสดุมาประดิษฐ์ ให้มีรูปร่างท่าทางเหมือนคน มีขนาดใหญ่สูงถึง ๑
เมตร มีคนเชิดและชัก ให้เคลื่อนไหว หุ่นหลวงเป็นมหรสพของหลวง ที่มีมาแต่สมัยอยุธยา"
ส่วนลักษณะและเครื่องแต่งกายของหุ่นหลวงก็ได้อธิบายไว้ว่า ตัวหุ่นทาด้วยไม้ คว้านให้บางเบา
เฉพาะที่ส่วนเอวของตัวหุ่น ใช้เส้นหวายขดซ้อนกัน เพื่อให้เคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ มีเชือกร้อยจากนิ้วมือ
ผ่านตามลาแขน เข้าสู่ลาตัวของหุ่น เพื่อให้มือและแขนขยับได้ ส่วนเท้านั้นติดไว้กับแข้งและขา
กระดิกไม่ได้เหมือนมือ จากข้างในของลาตัวมีแกนไม้ยาว สาหรับคนเชิดจับ
ยื่นออกมาจากส่วนก้นของหุ่น "...ตัวหุ่นหลวงเหล่านี้ ถึงจะมีขนาดเขื่องกว่าตัวหุ่นกระบอก
แต่ก็มีน้าหนักเบากว่ามาก ฝีมือการประดิษฐ์ก็ล้วนวิจิตร ประณีต สมกับที่ได้ชื่อว่า ‘หุ่นหลวง’ โดยแท้...
ส่วนเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับหุ่นหลวง มีลักษณะคล้ายกับ เครื่องแต่งกายของโขน ละคร..."
วิธีเชิดเล่นหุ่นหลวงนั้น นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ผู้เชิดคงจะเชิดหุ่นให้อยู่เหนือระดับศีรษะ
โดยผู้เชิดยืนจับแกนไม้ที่บังคับตัวหุ่น ยกชูขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง และใช้มืออีกข้างหนึ่ง คอยบังคับสายชัก
ที่ร้อยจากอวัยวะต่างๆ ของหุ่นให้ออกมาทางก้น โดยห้อยลงมารวมกันที่แป้นไม้
ที่ตรึงติดอยู่กับแกนไม้ชิ้นที่สาหรับจับเชิด
นอกจากหุ่นหลวงซึ่งเป็นมหรสพที่เล่นในงานพระราชพิธีต่างๆ ที่มีมาแต่เดิมแล้ว ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีการประดิษฐ์หุ่น ที่มีขนาดความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
เรียกกันว่า หุ่นเล็ก ด้วยเหตุนี้ ต่อมาจึงมีผู้เรียกหุ่นหลวงว่า "หุ่นใหญ่"ตามขนาดของหุ่น ผู้ประดิษฐฺ์หุ่นเล็ก คือ
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ โดยทรงประดิษฐ์ขึ้น ๒แบบ คือ หุ่นจีน เป็นลักษณะหุ่นมือ
ใช้นิ้วเชิดบังคับให้เคลื่อนไหว หัว และหน้า เขียนสีต่างๆ รวมทั้งเครื่องแต่งกายเหมือนอย่างงิ้ว
หุ่นจีนใช้เล่นเรื่องของจีน เช่นซวยงัก สามก๊ก ส่วน หุ่นไทย ซึ่งมีขนาดเท่าหุ่นจีน เครื่องแต่งกาย
และเครื่องประดับ มีลักษณะเช่นเดียวกับหุ่นหลวง ใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ หุ่นไทยเป็นหุ่นชักอย่างหุ่นหลวง หุ่นจีน
และหุ่นไทย ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสร้างขึ้นอย่างวิจิตรประณีต ทั้งหุ่นจีน และหุ่นไทยนี้
ยังเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน โดยตั้งแสดงไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
อนึ่ง ยังมีการเล่นแสดงหุ่นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ละครเล็ก ซึ่งสันนิษฐานว่า เริ่มมีการเล่นเป็นมหรสพ ราว พ.ศ.
๒๔๔๔ โดยนายแกร ศัพทวนิช เป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้น ตัวหุ่นมีขนาดสูงประมาณ ๑ เมตร
สร้างขึ้นเลียนแบบหุ่นหลวง และหุ่นเล็ก แต่ต่างกันที่การบังคับหุ่น และลีลาการเชิด ซึ่งเป็นศิลปะ
ที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ต่อมา เมื่อนายแกรถึงแก่กรรม นายทองอยู่ ศัพทวนิช ลูกชาย และนางทองหยิบ ลูกสะใภ้
ได้รับการสืบทอดต่อมาจนถึงวัยชรา จึงได้มอบตัวหุ่นละครเล็กที่ยังเหลืออยู่บ้างให้แก่ นายสาคร ยังเขียวสด
(ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในนามของโจหลุยส์) ซึ่งเป็นลูกของคนเชิดในคณะละครเล็ก ของนายแกร
ตัวหุ่นละครเล็กที่นายแกรสร้างไว้ ซึ่งยังเหลืออยู่เพียง ๓๐ ตัว ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ
จังหวัดสมุทรปราการ
แต่เดิมตัวหุ่นละครเล็กที่สาคัญและเป็นตัวนายโรงจะใช้ผู้เชิด ๓ คน ส่วนตัวนาง และตัวตลกอื่นๆ จะใช้ผู้เชิด ๒
คนบ้าง หรือ ๑ คนบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นละคร เช่นพระอภัยมณี แก้วหน้าม้า จนกระทั่ง
นายสาคร ยังเขียวสด ได้สร้างหุ่นละครเล็กขึ้นมาใหม่ และมีการพัฒนารูปแบบในการเชิด
ให้ออกมาเชิดอยู่ด้านนอก เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นลีลาของผู้เชิดไปพร้อมๆกับหุ่น โดยหุ่น ๑ ตัว ใช้ผู้เชิด๓ คน
และมีการถ่ายทอดสู่บุตรชายหญิง โดยจัดตั้งคณะหุ่นขึ้นครั้งแรก ใช้ชื่อว่า
คณะสาครนาฏศิลป์ละครเล็กหลานครูแกร และได้ก่อตั้งโรงละคร สาหรับจัดแสดงหุ่นละครเล็กขึ้นเป็นครั้งแรก
ในประเทศไทย ซึ่งรู้จักกันในนาม นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) ในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย
อาจถือได้ว่า หุ่นกระบอกไทยมีกาเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติความเป็นมาของการเล่นแสดงหุ่นกระบอก เพื่อเป็นเครื่องมหรสพ มีปรากฏอย่างชัดเจน
ในลายพระหัตถ์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงโต้ตอบกันในหนังสือสาส์นสมเด็จ ดังจะนามากล่าวเป็นตอนๆ ดังนี้
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงริเริ่มตั้งข้อสังเกต ถึงเรื่องหุ่นกระบอกขึ้นก่อน
ในลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๙ กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ
เกี่ยวกับคนขอทานตาบอด นั่งร้องเพลง และสีซออยู่ข้างถนน และเลยไปถึงเรื่องหุ่นกระบอก
มีความว่า "มีเรื่องเกล้ากระหม่อมบวช ซึ่งติดจะขัน จะเก็บมาเล่าถวายอีกเรื่องหนึ่ง คือ
เมื่อเกล้ากระหม่อมบวชนั้นได้ตั้งใจรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นพระ พ้นอาบัติทั้งปวง
ความปฏิบัติเป็นไปได้สมปรารถนา แต่มาวันหนึ่ง เจ้ากรรมจริงๆ เดินกลับจากบิณฑบาต
พอถึงแถวหน้าศาลเจ้าพ่อเสือก็พบคนขอทานตาบอด นั่งร้องเองสีซอเองอยู่ข้างถนน ตามที่ควรเป็นแล้ว
ดนตรีของคนขอทานนั้นควรจะไม่น่าฟัง แต่ที่ไหนได้ นี่อะไร มันช่างไพเราะดีเสียเหลือเกิน
ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยพบการเล่นดนตรี ที่ไพเราะจับใจเหมือนคราวนั้นเลย เล่นเอาลืมสติ หย่อนฝีเท้าก้าวเดินช้าๆ
ฟังเสียงสาเหนียกการบรรเลงจนพ้นมาด้วยความเสียใจ โกยเอาอาบัติไปพอแรง จะกราบทูลได้อย่างง่ายๆ ว่า
ตาคนที่เล่นเพลงพาลืมตัวไปได้นั้น คือ ตาคนที่มีชื่อลือชาเรียกกันโดยสมญาว่า ‘ตาสังขารา’ นั้นแล
ทานองร้องของแกก็ไพเราะไปในทางร้อง และความก็ดีด้วย
ส่วนทางซอของแกก็ไพเราะไปในทางดนตรีอีกทางหนึ่ง แต่ทั้งสองทางเข้ากันสนิทสนมกลมเกลียวดีเหลือเกิน
ติดใจจนกระทั่งสึกออกมาแล้ว ลองทาดูบ้าง ไม่ยักได้ ถ้าสีซอเหมือนร้อง แล้วทาได้ แต่ร้องไปทางร้อง
สีซอไปทางซอ ทาไม่ได้ ทาให้รู้สึกว่าตาสังขารานั้นเป็นคนเลิศประเสริฐมนุษย์ แกแบ่งใจให้เป็นสองภาค
เล่นสองอย่างพร้อมกันได้ เราแบ่งไม่ได้ จึงเล่นไม่ได้ ทางที่แกเล่นก็คือ หุ่นกระบอกเรานี่เอง
แต่เวลานั้นหุ่นกระบอกยังไม่เกิด หุ่นกระบอกก็เอาอย่างตาสังขารานั้นเองไปเล่น
แต่หุ่นกระบอกนั้นไม่ประหลาดเพราะคนหนึ่งร้อง คนหนึ่งนั่งสีซอ เป็นของทาได้ง่าย
ไม่เหมือนตาสังขาราซึ่งร้องเองสีซอเอง เล่นยากเหลือเกิน"
ข้อความในจดหมายลายพระหัตถ์ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงตอบ สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๙
ปรากฏดังนี้ "คนตาบอดสีซอขอทานที่ท่านตรัสถึงนั้น หม่อมฉันรู้จักดีทีเดียว
เคยเรียกแกว่า ‘ตาสังขารา’ เพราะแกชอบขับเรื่องปลงสังขารกับเรื่องพระยาฉัททันต์ รู้สึกไพเราะจับใจมาก
ประหลาดอยู่ที่ไปพบคนเช่นนั้นที่เมืองพม่า เมื่อหม่อมฉันขึ้นไปบูชาพระมหาธาตุสิงคุดร ที่เมืองแปร
มีคนขอทานตาบอด ๒ คน นั่งอยู่ที่ร้านข้างทาง คนหนึ่งขับลานาและสีซออู้ อีกคนหนึ่งตีระนาด (ไทย)
ประสานกันไป ฟังไพเราะจับใจ เสียแต่ไม่เข้าใจคาขับ ถึงกระนั้นก็ต้องหยุดยืนฟังทั้งเมื่อขาขึ้นและขาลง
จะทูลเลยไปถึงเรื่องหุ่นกระบอก เพราะเรื่องประวัติเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันเองมากอยู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕
ปีที่หม่อมฉันเข้าว่าการกระทรวงมหาดไทย ถึงเดือนตุลาคม หม่อมฉันขึ้นไปตรวจหัวเมืองเหนือ ครั้งนั้น
ลูกชายกลาง อิทธิดารง (น้องรองจุลดิศ) อายุได้สัก ๕ขวบ ติดหม่อมฉัน จึงตามไปด้วย หม่อมราชวงศ์เถาะ
(เป็นทหารมหาดเล็กอยู่ก่อน ท่านคงรู้จัก) รับอาสาไปเป็นพี่เลี้ยง เมื่อไปถึงเมืองอุตรดิตถ์ สามเณรรณชัย
หุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.doc
หุ่นกระบอก.doc

More Related Content

Similar to หุ่นกระบอก.doc

ละครชาตรี.docx
ละครชาตรี.docxละครชาตรี.docx
ละครชาตรี.docxpinglada1
 
ประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณ
ประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณ
ประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณAunaun Hoom
 
เรื่อง การแสดงโขน
เรื่อง      การแสดงโขนเรื่อง      การแสดงโขน
เรื่อง การแสดงโขนCholticha Chatanon
 
อภัย
อภัยอภัย
อภัยkutoyseta
 
แบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศน
แบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศนแบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศน
แบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศนpeter dontoom
 
งานนำเสนอรามเกียรติ์
งานนำเสนอรามเกียรติ์งานนำเสนอรามเกียรติ์
งานนำเสนอรามเกียรติ์bambookruble
 
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6Panomporn Chinchana
 

Similar to หุ่นกระบอก.doc (9)

ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
ใบความรู้  หนังตะลุง ม52ใบความรู้  หนังตะลุง ม52
ใบความรู้ หนังตะลุง ม52
 
ละครชาตรี.docx
ละครชาตรี.docxละครชาตรี.docx
ละครชาตรี.docx
 
ประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณ
ประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณ
ประวัติความเป็นมาของช่างสิบหมู่และกรรมวิธีของช่างไทยโบราณ
 
เรื่อง การแสดงโขน
เรื่อง      การแสดงโขนเรื่อง      การแสดงโขน
เรื่อง การแสดงโขน
 
อภัย
อภัยอภัย
อภัย
 
ปุ
ปุปุ
ปุ
 
แบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศน
แบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศนแบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศน
แบบการเรียนรู้ศิลปะ ม.ต้น กศน
 
งานนำเสนอรามเกียรติ์
งานนำเสนอรามเกียรติ์งานนำเสนอรามเกียรติ์
งานนำเสนอรามเกียรติ์
 
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ  ละครไทย  ละครสากล  ละครสร้างสรรค์  ม.4-6
วิวัฒนาการละครไทยในสมัยต่างๆ ละครไทย ละครสากล ละครสร้างสรรค์ ม.4-6
 

More from pinglada1

Avicii_Heaven_WIP.pdf
Avicii_Heaven_WIP.pdfAvicii_Heaven_WIP.pdf
Avicii_Heaven_WIP.pdfpinglada1
 
Avicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdf
Avicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdfAvicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdf
Avicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdfpinglada1
 
Avicii_Medley.pdf
Avicii_Medley.pdfAvicii_Medley.pdf
Avicii_Medley.pdfpinglada1
 
avicii_levels.pdf
avicii_levels.pdfavicii_levels.pdf
avicii_levels.pdfpinglada1
 
Avicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdf
Avicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdfAvicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdf
Avicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdfpinglada1
 
08CHAPTER_4.pdf
08CHAPTER_4.pdf08CHAPTER_4.pdf
08CHAPTER_4.pdfpinglada1
 
หนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docx
หนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docxหนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docx
หนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docxpinglada1
 
เหนือ -เที่ยว ต.ค..docx
เหนือ -เที่ยว ต.ค..docxเหนือ -เที่ยว ต.ค..docx
เหนือ -เที่ยว ต.ค..docxpinglada1
 
ละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.docละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.docpinglada1
 
เหนือ-เที่ยว1.docx
เหนือ-เที่ยว1.docxเหนือ-เที่ยว1.docx
เหนือ-เที่ยว1.docxpinglada1
 
สารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdf
สารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdfสารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdf
สารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdfpinglada1
 
ลิเก.doc
ลิเก.docลิเก.doc
ลิเก.docpinglada1
 
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docx
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docxวันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docx
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docxpinglada1
 
สังคีตที่ยิ่งใหญ่.docx
สังคีตที่ยิ่งใหญ่.docxสังคีตที่ยิ่งใหญ่.docx
สังคีตที่ยิ่งใหญ่.docxpinglada1
 
โลกของดนตรีไทย พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...
โลกของดนตรีไทย  พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...โลกของดนตรีไทย  พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...
โลกของดนตรีไทย พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...pinglada1
 
ศาสนาพุทธ.docx
ศาสนาพุทธ.docxศาสนาพุทธ.docx
ศาสนาพุทธ.docxpinglada1
 
สังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docxสังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docxpinglada1
 
หอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.docหอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.docpinglada1
 
ละครรำ.docx
ละครรำ.docxละครรำ.docx
ละครรำ.docxpinglada1
 
เรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docx
เรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docxเรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docx
เรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docxpinglada1
 

More from pinglada1 (20)

Avicii_Heaven_WIP.pdf
Avicii_Heaven_WIP.pdfAvicii_Heaven_WIP.pdf
Avicii_Heaven_WIP.pdf
 
Avicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdf
Avicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdfAvicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdf
Avicii_-_You_be_love_feat._billy_raffoul.pdf
 
Avicii_Medley.pdf
Avicii_Medley.pdfAvicii_Medley.pdf
Avicii_Medley.pdf
 
avicii_levels.pdf
avicii_levels.pdfavicii_levels.pdf
avicii_levels.pdf
 
Avicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdf
Avicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdfAvicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdf
Avicii_-_X_You_D_Major_Piano_Duet.pdf
 
08CHAPTER_4.pdf
08CHAPTER_4.pdf08CHAPTER_4.pdf
08CHAPTER_4.pdf
 
หนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docx
หนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docxหนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docx
หนังสือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา.docx
 
เหนือ -เที่ยว ต.ค..docx
เหนือ -เที่ยว ต.ค..docxเหนือ -เที่ยว ต.ค..docx
เหนือ -เที่ยว ต.ค..docx
 
ละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.docละครพันทาง.doc
ละครพันทาง.doc
 
เหนือ-เที่ยว1.docx
เหนือ-เที่ยว1.docxเหนือ-เที่ยว1.docx
เหนือ-เที่ยว1.docx
 
สารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdf
สารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdfสารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdf
สารานุกรมเยาวชนไทย ตอนดนตรีไทย.pdf
 
ลิเก.doc
ลิเก.docลิเก.doc
ลิเก.doc
 
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docx
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docxวันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docx
วันสำคัญทางศาสนาพุทธ.docx
 
สังคีตที่ยิ่งใหญ่.docx
สังคีตที่ยิ่งใหญ่.docxสังคีตที่ยิ่งใหญ่.docx
สังคีตที่ยิ่งใหญ่.docx
 
โลกของดนตรีไทย พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...
โลกของดนตรีไทย  พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...โลกของดนตรีไทย  พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...
โลกของดนตรีไทย พื้นที่เล็กๆที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่ออนุรักษ์เผย...
 
ศาสนาพุทธ.docx
ศาสนาพุทธ.docxศาสนาพุทธ.docx
ศาสนาพุทธ.docx
 
สังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docxสังคีตวิทยา.docx
สังคีตวิทยา.docx
 
หอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.docหอเกียรติยศ.doc
หอเกียรติยศ.doc
 
ละครรำ.docx
ละครรำ.docxละครรำ.docx
ละครรำ.docx
 
เรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docx
เรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docxเรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docx
เรียนรู้เกี่ยวกับแผนภูมิ.docx
 

หุ่นกระบอก.doc

  • 1. นาฎศิลป์ ตอนหุ่นกระบอก บทนำ หุ่นกระบอก มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยหม่อมราชวงศ์เถาะพยัคฆเสนา มีประวัติกล่าวไว้ว่า ได้แนวความคิดมาจากหุ่นของช่างแกะชื่อ เหน่ง ซึ่งทาเล่นอยู่ก่อนที่เมืองอุตรดิตถ์ และนายเหน่งก็ลอกแบบมาจากหุ่นไหหลา แต่ประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นแบบไทย กระบวนร้องในการเชิดหุ่นใช้ทานอง สังขารา การเล่นหุ่นกระบอก ก็คล้ายละคร แต่ใช้หุ่นแทนคนจริง ผู้เชิดหุ่นจะต้องรู้วิธีบังคับตัวหุ่น โดยมือหนึ่งจับกระบอกไม้ไผ่ อีกมือหนึ่งจับไม้ที่ตรึงไว้กับข้อมือหุ่น เรียกว่า "ไม้ตะเกียบ" เวลาเชิด ผู้เชิดมักจะขยับตัวตามจังหวะดนตรีไปด้วย พร้อมกันนั้นก็บังคับหุ่นให้อ่อนไหวกล่อมตัวตามไปด้วย การทาท่าอ่อนช้อยเลียนแบบละครราอย่างแนบเนียน ย่อมเกิดจากความสามารถของคนเชิดหุ่น ไม่ว่าจะกล่อมตัว กระทบตัว เชิดย้อนมือ โยกตัว และราเพลง หุ่นกระบอกจะมีผ้าคลุมตัวลงมาจากช่วงไหล่ ยาวเลยปลายไม้กระบอกด้านล่าง ผู้เชิหุ่นจึงสามารถซ่อนมือไว้ภายในได้ การร้องและเจรจา ผู้เชิดหุ่นที่เป็นสตรีมักจะร้องและเจรจาด้วย นอกจากตัวตลกหรือตัวอื่นๆ มักใช้ผู้ชาย แต่การขับร้องดาเนินเรื่องแล้วจะใช้เสียงผู้หญิงทั้งหมด พร้อมกันนั้นลูกคู่ก็จะรับกันให้เสียงแน่นและเป็นช่วงๆ หุ่นกระบอก ของไทยมีลักษณะน่ารักน่าเอ็นดูคล้ายตุ๊กตาที่มีความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร แต่สามารถเคลื่อนไหวร่ายรา แสดงอาการต่างๆ ได้เหมือนมนุษย์ โดยมีผู้เชิดหุ่นกระบอกเป็นผู้ควบคุมบังคับอากัปกิริยาต่างๆ ของหุ่น ให้เป็นไปตามที่ผู้เชิดหุ่นต้องการ หุ่นกระบอกของไทยแต่งกายและสวมเครื่องประดับคล้ายตัวละคร ในการแสดงของไทยแบบโบราณ ซึ่งงดงามประณีต และมีความเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่ง ก่อนที่หุ่นกระบอกของไทยจะเริ่มมีขึ้นในกรุงเทพฯ เราเคยมีการแสดงหุ่นชนิดอื่นเป็นมหรสพมานาน ตั้งแต่เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง การแสดงหุ่นที่มีในสมัยแรกเริ่ม คือ การแสดงหุ่นหลวง หรือบางครั้งมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หุ่นใหญ่หุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่มีขนาดใหญ่กว่าหุ่นกระบอก คือ มีความสูงถึงประมาณ ๑ เมตร และมีอุปกรณ์กลไกภายในตัวหุ่น ซับซ้อนกว่าหุ่นกระบอก ดังนั้น วิธีเชิดแสดงหุ่นหลวงจึงยากกว่าการเชิดแสดงหุ่นกระบอก อย่างไรก็ตาม หุ่นหลวงได้ใช้เล่นแสดงเป็นการมหรสพอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ หุ่นกระบอกของไทยได้เข้ามาสู่สังคมชาวกรุงเทพฯ และเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย จนกลายเป็นการเล่นมหรสพ ที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งเด็กชายเล็กๆ คนหนึ่ง ได้มีโอกาสติดตามบิดา ผู้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ไปราชการยังหัวเมืองฝ่ายเหนือ ครั้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ เด็กชายผู้นี้ได้มีโอกาสชมการเชิดหุ่นกระบอก จึงเกิดความสนใจและอยากได้หุ่นกระบอกอย่างมาก เนื่องจาก
  • 2. หุ่นกระบอกมีขนาดไล่เลี่ยกับตุ๊กตา มีลักษณะสวยงามน่ารัก และสามารถเชิดให้แสดงกิริยาอาการต่างๆ ได้ หุ่นกระบอกจึงเป็นสิ่งที่ดูแล้วเพลินตาเพลินใจ เป็นที่ถูกใจเด็กชายอย่างยิ่ง ในที่สุดเด็กชายคนนี้ก็ได้หุ่นกระบอกมาตัวหนึ่ง และได้นากลับมายังกรุงเทพฯ ด้วย เจ้าของหุ่นกระบอก คนเดิม เป็นชายยากจนชื่อ เหน่ง เป็นชาวจังหวัดสุโขทัย อาศัยอยู่ตามวัด นายเหน่งเห็นหุ่นจีนไหหลาจึงเอาแบบอย่างมาคิดดัดแปลงประดิษฐฺ์เป็นหุ่นไทยขึ้น และคิดกระบวนร้องเพลงประกอบตามแบบอย่างของหุ่นจีนไหหลา นายเหน่งนาหุ่นกระบอกออกเชิดแสดง เพื่อหาเลี้ยงชีพ ต่อมามีคนชอบมากขึ้น หุ่นกระบอกของนายเหน่งจึงเป็นที่รู้จักกัน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในเวลานั้น นายเหน่งได้มอบหุ่นตัวหนึ่งให้แก่เด็กชายผู้ที่ได้มาเยือน ในระหว่างเดินทางกลับจากหัวเมืองเหนือมายังกรุงเทพฯ เด็กชายผู้เป็นเจ้าของหุ่นกระบอกคนใหม่กับพี่เลี้ยง ได้หัดเล่นเชิดหุ่นกระบอกที่เพิ่งได้มานั้นอย่างสนุกสนานตลอดทาง เป็นที่น่าเสียใจยิ่งที่เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ ได้ไม่นาน เด็กชายเจ้าของหุ่นกระบอกได้เสียชีวิตลง พี่เลี้ยงของเด็กชายผู้นี้ชื่อ หม่อมราชวงศ์เถาะ ซึ่งชื่นชม และติดใจ ในความงดงามน่ารักของหุ่นกระบอกด้วยเช่นกัน เกิดความคิดที่จะจัดการแสดงหุ่นกระบอกต่อสาธารณชน โดยตั้งเป็นคณะหุ่นกระบอกขึ้น เพื่อนาออกแสดงเป็นมหรสพ สร้างความบันเทิงให้ประชาชนทั่วไปได้ชม หม่อมราชวงศ์เถาะจึงเป็นผู้คิดริเริ่มก่อตั้ง และเป็นเจ้าของคณะหุ่นกระบอกคณะแรกในประเทศไทย ผู้คนในสมัยนั้น เรียกหุ่นกระบอกไทยคณะนี้ว่า หุ่นคุณเถาะ หลังจากนั้น หุ่นกระบอกก็ได้รับความนิยมแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จนมีคณะหุ่นกระบอกเกิดขึ้นอีกมากมายหลายคณะ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวเมืองรอบๆ เมืองหลวง ในรัชกาลที่ ๕ จึงถือได้ว่า เป็นยุคทองของการแสดงหุ่นกระบอกของไทย การเล่นหุ่นกระบอกของไทยเป็นการแสดงมหรสพที่มีความสาคัญยิ่งอย่างหนึ่ง และมีลักษณะเด่นไม่แพ้มหรสพชนิดอื่นๆ การแสดงหุ่นกระบอกประกอบด้วยศิลปะชั้นสูงหลายสาขา ตั้งแต่การสร้างตัวหุ่นซึ่งมีความสูงประมาณ ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร ศีรษะของหุ่นส่วนมากทาจากวัสดุที่มีน้าหนักเบา แต่มีความทนทาน เช่น ไม้นุ่น หรือไม้ทองหลาง ซึ่งเป็นไม้เนื้อเบา ศีรษะของหุ่นกระบอกมีขนาดความสูงประมาณ ๑๐ - ๑๒ เซนติเมตร ส่วนศีรษะติดกับลาคอที่ยาวประมาณ ๘ เซนติเมตร ศีรษะของหุ่นถ้าจะเทียบแล้วก็คงมีขนาดไล่เลี่ยกับกามือของผู้ใหญ่ ที่ลาคอคว้านให้เป็นรูไว้ตรงกลาง เพื่อสอดลาไม้ไผ่ ที่มีปล้องขนาดเล็ก เช่นไม้ไผ่รวก ขนาดความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร กระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นลาตัวของหุ่นนี้เอง ที่เป็นที่มาของชื่อ หุ่นกระบอก มือของหุ่นก็ทาจากไม้ด้วยเช่นกัน หรือบางครั้งอาจใช้แผ่นหนังอย่างหนามาทาเป็นมือหุ่น เพื่อความทนทานขึ้น ที่ข้อมือของหุ่นแต่ละข้างมีไม้ไผ่ที่เหลาให้มีขนาดเล็กประมาณแท่งดินสอ ความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร
  • 3. ผูกติดกับข้อมือของหุ่นไว้ทั้ง ๒ ข้าง เรียวไม้ไผ่ที่ผูกติดกับข้อมือของหุ่นกระบอกนี้ มักเรียกกันว่า "ตะเกียบ" ทั้งนี้ คงเป็นเพราะว่ามีขนาดไล่เลี่ยกับตะเกียบที่ชาวจีนนิยมใช้รับประทานอาหาร และต้องใช้เป็นคู่เช่นเดียวกันนั่นเอง ทั้งตะเกียบ และแกนกระบอกลาตัวของหุ่น ซ่อนอยู่ในเสื้อผ้าของหุ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายถุง ความงดงามของหุ่นกระบอก จะอยู่ที่การวาดหน้าตาของหุ่น เครื่องประดับ และเสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ การแต่งกายของโขน และละครของไทยที่มีมาแต่โบราณ ถึงแม้ว่าทั้งตัวหุ่นกระบอกและเครื่องแต่งกาย ตลอดจน เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ของหุ่นกระบอกจะมีขนาดเล็ก แต่ผู้ประดิษฐ์ก็พยายามจะสร้างให้เหมือนของจริงอย่างประณีตงดงาม ตัวละครหุ่นกระบอกนอกจากตัวพระและตัวนาง คือ ตัวพระเอกและนางเอกแล้ว ยังมีตัวละครอื่นๆ ตามท้องเรื่อง ที่นามาเล่นแสดง เนื้อเรื่องสาหรับเล่นแสดงหุ่นกระบอกเป็นนิยาย นิทาน หรือเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ รวมทั้งบทละครนอก ในวรรณคดีไทยที่ได้รับความนิยม เช่นลักษณวงศ์ สังข์ทอง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี ดังนั้น ตัวละครหุ่นกระบอกจึงมีทั้งนางผีเสื้อสมุทรผู้มีเขี้ยวยาวโง้ง สินสมุทรผู้มีหน้าเป็นยักษ์ตามมารดา ตลอดจนชีเปลือย ม้านิลมังกร เจ้าเงาะ และนางรจนา จะเห็นได้ว่า การแสดงหุ่นกระบอกเรื่องหนึ่งๆ นั้น ตัวละครหุ่นกระบอกที่ครบถ้วนทั้งโรงมีจานวนมาก ดังนั้น การประดิษฐ์หุ่นกระบอกรวมทั้งอุปกรณ์การแสดงอื่นๆ เช่นอาวุธ พาหนะ ถ้าจะให้งดงามประณีตจริงๆ จึงมิใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทั้งเวลา แรงงาน และฝีมือช่างผู้ชานาญหลายสาขา นอกจากตัวหุ่นกระบอกแล้ว ในการแสดงยังต้องมีโรงและฉากประกอบตามท้องเรื่อง เช่นฉากปราสาทราชวัง ฉากป่าเขาลาเนาไพร ฉากท้องทะเลที่มีเกาะแก่งต่างๆ เมื่อมีตัวหุ่นกระบอก มีโรงพร้อมทั้งฉากประกอบตามท้องเรื่องแล้ว ยังต้องมีวงดนตรีปี่พาทย์ และผู้ขับร้องเพลงต่างๆ ตลอดจนผู้พากย์หรือผู้เจรจาประกอบการแสดงด้วย เครื่องดนตรีสาคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ คือ ซออู้ นอกจากนี้ การเล่นแสดงหุ่นกระบอกจะดูมีชีวิตชีวา จนสามารถดึงดูดความสนใจผู้ชมได้ ก็อยู่ที่หุ่นกระบอกนั้นต้องมีผู้เชิดที่มีความชานาญ จนสามารถเชิดให้หุ่นร่ายราทาท่าต่างๆ ได้เหมือนคนจริงๆ การที่ผู้เชิดหุ่นจะเชิดได้งดงามอ่อนช้อย เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ชมมากน้อยเพียงใดนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับทักษะของผู้เชิด ซึ่งต้องฝึกฝนเป็นเวลานานแล้ว ผู้เชิดหุ่นกระบอกยังต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ ราไทยเป็นอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้เชิดหุ่นอาจเคยแสดงละครราเอง หรืออย่างน้อยเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับท่าราของไทย หรือเป็นผู้ที่สันทัดในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ในขณะเชิดหุ่นกระบอก ผู้เชิดหุ่นจะนั่งเชิดมือซ้ายถือแกนกระบอกลาตัวของหุ่นไว้ โดยยกตัวหุ่นให้ตั้งตรง ส่วนมือขวาจับตะเกียบ บังคับการเคลื่อนไหวของมือหุ่น โดยใช้นิ้วมือของผู้เชิดซึ่งทาหน้าที่เสมือนกลไกให้หุ่น แสดงท่าทาง และร่ายรา ไปตามท้องเรื่อง จะเห็นได้ว่า วิธีการเชิดหุ่นกระบอกนี้ มิใช่เรื่องง่าย ผู้ที่จะเชิดหุ่นกระบอกได้ดี จนกระทั่งมีความชานาญนั้น ต้องใช้เวลาฝึกฝนเป็นระยะเวลานาน และต้องใช้ความอดทนวิริยะพากเพียรเป็นอย่างมาก
  • 4. ในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุคทองของหุ่นกระบอก ชาวไทยทั่วไปรู้จัก และนิยมการเชิดแสดงหุ่นกระบอก เป็นมหรสพอย่างมาก สาเหตุที่ทาให้หุ่นกระบอกเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในยุคนั้น คงเนื่องมาจาก ความงดงาม และความน่ารัก ของหุ่นกระบอก ซึ่งมีลักษณะคล้ายตุ๊กตา แต่สามารถเคลื่อนไหว แสดงกิริยาท่าทางได้คล้ายมนุษย์ นอกจากนี้ เนื้อเรื่องประเภทนิยาย นิทาน และวรรณคดีจักรๆ วงศ์ๆ ที่นิยมนามาใช้สาหรับเล่นหุ่นกระบอกก็เน้นความสนุกสนาน ตลก ทานองจาอวดของไทย เป็นที่ถูกใจผู้ชม ซึ่งมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การแสดงหุ่นกระบอก จะมีเนื้อเรื่องสนุกสนาน ตลกโปกฮา แทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็แฝงไว้ด้วยคติธรรมอันลึกซึ้ง มีเนื้อเรื่องกินใจ ดังนั้น การเชิดแสดงหุ่นกระบอกของไทยจึงเหมือนกับการละเล่นมหรสพอย่างอื่นๆ คือ เป็นแบบที่เรียกว่า "เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี" หุ่นกระบอก ความหมาย คาว่า "หุ่น" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า"รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จาลองจากของจริงต่างๆ; ... ชื่อการเล่นมหรสพ ที่ใช้รูปหุ่น แสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, ..." ดังนั้น การเล่นหุ่น หรือการแสดงหุ่น ก็คือ การแสดงที่ใช้รูปจาลองที่มีกลไก ทาให้รูปจาลองนั้นเคลื่อนไหวได้โดยการเชิด หรือการชัก แทนการใช้ตัวคนในการดาเนินเรื่อง ความนิยมในการเล่นแสดงหุ่นเป็นมหรสพ ในประวัติศาสตร์โลก การแสดงหุ่นเป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่มีมาช้านาน และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก แม้จะไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่ชัดว่า การเล่นหุ่นชนิดต่างๆ ถือกาเนิดขึ้นเมื่อใด และมีในประเทศใดก่อนก็ตาม แต่ก็มีหลักฐานให้สันนิษฐานได้ว่า การเล่นหุ่นเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้งฝ่ายโลกตะวันตก และฝ่ายโลกตะวันออก โดยมีปรากฏเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับหุ่นตุ๊กตา รูปเคารพหลากหลายชนิด ที่นามาใช้ประกอบพิธีกรรมในโบสถ์หรือวิหาร ตามโอกาสต่างๆ ทั้งที่ประเทศอียิปต์ กรีซ อิตาลี อินเดีย และที่พระ หรือนักบวช นาเข้ากระบวนแห่ต่างๆ ด้วย หุ่นตุ๊กตารูปเคารพเหล่านี้สามารถขยับอวัยวะบางส่วนได้ เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในศาสนา นอกจากการใช้หุ่นตุ๊กตารูปเคารพ เพื่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั่วไปแล้ว ยังใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับการทาศพอีกด้วย โดยมีผู้นาหุ่นตุ๊กตาจากสุสานแห่งหนึ่ง ในอียิปต์ออกแสดง และได้กลายเป็นการแสดงมหรสพในโรงละครหุ่นในเวลาต่อมา เป็นที่น่าประหลาดใจว่า หุ่นตุ๊กตารูปเคารพจานวนมาก ที่ขุดค้นพบในประเทศอียิปต์ และประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ห่างไกลกันเกือบคนละซีกโลก มีลักษณะที่เหมือนกันมาก จนเกือบแยกกันไม่ออก
  • 5. ในกลุ่มประเทศทางตะวันออก จากการศึกษาหลักฐานทางด้านคติชนวิทยาของอินเดีย มีข้อความเล่าว่า ในโบราณกาล ที่ประเทศอินเดีย มีการเล่นหุ่นเพื่อแสดงเป็นมหรสพ เช่นเดียวกับการพบหลักฐานที่ระบุว่า มีการแสดงหุ่นเป็นมหรสพในอีกหลายประเทศ เช่น สยาม ชวา พม่า ตุรกีเปอร์เซีย นอกจากนี้ ก็มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น ชอบการแสดงหุ่นอย่างมากด้วย ส่วนกลุ่มประเทศทางตะวันตก เช่น ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี หรือประเทศกรีซ การเล่นแสดงหุ่นก็ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่การเล่นแสดงหุ่นต้องสูญสลายไป พร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ครั้นเมื่อคริสต์ศาสนาได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก การเล่นแสดงหุ่นจึงกลับฟื้นคืนมา โดยมีการใช้หุ่นเชิดแสดงประกอบการเผยแผ่ศาสนา ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอิตาลี และต่อมาที่ประเทศฝรั่งเศส ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เกิดความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน ของบุคคลในวงการศาสนา ถึงความเหมาะสม เกี่ยวกับการนาหุ่นมาเล่นแสดงในโบสถ์วิหาร จนถึงกับมีการห้ามเล่นแสดงหุ่นในโบสถ์ ผู้ที่นิยมการแสดงหุ่นจึงนามาเล่นแสดงนอกโบสถ์ โดยเล่นที่บริเวณรอบๆ โบสถ์ และต่อมาก็นาไปเล่นทั่วๆ ไปในที่ชุมชน เช่น กลางตลาด แต่การเล่นแสดงหุ่นในยุคนั้น ยังคงเป็นไป เพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่ศาสนา วิวัฒนาการของการเล่นแสดงหุ่น หลังจากเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ แนวนิยมการเล่นแสดงหุ่นค่อยๆ เปลี่ยนไปจากวัตถุประสงค์ทางศาสนา มาเป็นการสนองประโยชน์ ด้านการบันเทิงทางฝ่ายโลก ผู้ชมการเล่นแสดงหุ่นได้ขยายวงกว้างมากขึ้น เข้าไปสู่ผู้คนทั่วไป การแสดงหุ่นจึงมีการพัฒนาให้มีความหลากหลายในรูปแบบมากขึ้น ทั้งวิธีการเล่นแสดงหุ่นที่มีคนเชิดเพียงคนเดียวที่ร่อนเร่ไปแสดงตามที่ต่างๆ ไปจนถึง การแสดงหุ่นในโรงละครที่หรูหรา ตลอดจนบุคลิกลักษณะและรูปลักษณ์ของตัวหุ่น โดยปรับเปลี่ยนไปตามบุคลิกลักษณะของผู้คนตามภูมิประเทศ และเส้นทาง ที่การแสดงหุ่นเดินทางผ่านไป และด้วยเหตุนี้ แต่ละประเทศ จึงมีหุ่น และวิธีการแสดง ที่มีลักษณะกลมกลืนกับสภาพพื้นบ้านพื้นเมืองของตนเอง การแสดงหุ่นเป็นมหรสพที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และกลายมาเป็นส่วนหนึ่ง ของการดาเนินชีวิต เรื่องราวที่ใช้แสดงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเรื่องราวชีวิตจริง ของมนุษย์ มีการเขียนบทเพื่อใช้แสดงหุ่นนับเป็นพันๆ เรื่อง โดยกวีและนักปราชญ์ จานวนมาก และมีการฝึกฝนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเล่นแสดงหุ่น เช่น ผู้ประดิษฐ์ตัวหุ่น ผู้ออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องประดับสาหรับหุ่น ผู้อ่านบท นักดนตรี ผู้เชิดหุ่น และอื่นๆ อีกเป็นจานวนมาก ประเภทของหุ่นและวิธีการแสดง ในภาษาอังกฤษมีคาที่หมายถึง "หุ่น" อยู่๒ คา คือ พัปเพ็ต (Puppet) และ แมริโอเนตต์ (Marionette) โดยมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ พัปเพ็ตเป็นหุ่นที่เชิด โดยใช้มือจับแกนลาตัวหุ่น แล้วเชิดจากด้านล่าง
  • 6. ส่วนแมริโอเนตต์เป็นหุ่นที่เชิด โดยการชักสายที่โยงจากส่วนต่างๆ ของหุ่น แล้วเชิดจากด้านบน หุ่นที่เล่นแสดงตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก อาจจาแนกได้เป็น ๖ ประเภทใหญ่ๆดังนี้ ๑. หุ่นมือ (Hand - puppet) ๒. หุ่นนิ้วมือ (Finger - puppet) ๓. หุ่นสาหรับสร้างเป็นภาพยนตร์ (Stop - motion puppet) ๔. หุ่นกระบอก (Rod - puppet) ๕. หุ่นเงา (Shadow - puppet) ๖. หุ่นชักสายเชิด (String - puppet หรือ Marionette) หุ่นแต่ละประเภทมีความแตกต่างทั้งในรูปลักษณะ การสร้าง และวิธีเชิดแสดง หุ่นมือ มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ สาหรับให้เด็กเล่นแสดง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ใช้เชิดแสดงเป็นมหรสพสาหรับผู้เชิดระดับมืออาชีพ หุ่นมือมีลาตัวกลวง เพื่อให้ผู้เชิดสอดแขนเข้าไปได้ โดยใช้มือและนิ้วมือควบคุมบังคับการเคลื่อนไหวของตัวหุ่น ส่วนศีรษะของหุ่นมือ คือ อวัยวะหลักที่สาคัญมากของหุ่นประเภทนี้ ซึ่งวัสดุที่นามาใช้ประดิษฐ์ มีหลายชนิด เช่นลูกบอลยาง กระดาษแข็ง ถุงเท้ายัดนุ่น เศษผ้าหรือผ้าสักหลาด กระดาษปิดกาว เศษพลาสติก ยางหรือไม้ที่มีน้าหนักเบา ศีรษะของหุ่นมือ ส่วนมากเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่ในบางครั้งผู้ประดิษฐ์อาจสร้างให้ขยับขากรรไกร ดวงตา และใบหูได้ ศีรษะของหุ่นมือจะตรึงติดอยู่กับลาตัวหุ่นซึ่งมีลักษณะเป็นเสื้อคลุมหลวมๆ ตรงๆ ลงมา เพื่อให้ผู้เชิดสอดแขนเข้าไปได้ อวัยวะส่วนที่เป็นมือ มักใช้วัสดุประเภทเดียวกันกับศีรษะ แต่ให้มีขนาดไม่เหมือนธรรมชาติ สาหรับมือของหุ่น มักให้ถือสิ่งของต่างๆ ตามท้องเรื่อง การเชิดไม่ซับซ้อนยุ่งยากเท่าหุ่นชนิดอื่น โดยทั่วไปผู้เชิดหุ่นมือใช้แขน และมือ สอดเข้าไปในถุงซึ่งเป็นลาตัวหุ่น และใช้นิ้วชี้สอดให้ตรงกับรูที่เชื่อมระหว่างลาตัวกับศีรษะหุ่น เพื่อบังคับส่วนศีรษะของหุ่น นิ้วโป้งและนิ้วกลางใช้บังคับมือและแขนทั้ง ๒ ข้างของหุ่น การเชิดแสดงหุ่นมือมีข้อจากัดอยู่เพียงแค่ลาตัวส่วนครึ่งบนของตัวหุ่น อย่างไรก็ตาม หากผู้เชิดมีทักษะมากก็อาจให้หุ่นมือแสดงบทเดิน กระโดด เต้นรา หรือวิ่งได้บ้างเหมือนกัน เนื่องจากผู้ชมการแสดงหุ่นมือส่วนมากเป็นเด็ก เรื่องราว หรือเนื้อเรื่องของการแสดงหุ่นมือ ที่เหมาะสมสาหรับการนามาใช้แสดงคือ เรื่องตลก จาอวด หรือเทพนิยาย บทสนทนามีเพียงสั้นๆ ซึ่งส่วนมากผู้เชิดจะพูดเอง แต่การเชิดแสดง จะเน้นที่การเคลื่อนไหวมากๆ และเทคนิคการใช้เสียงประกอบมากกว่าบทสนทนา เรื่องที่เป็นแบบแผนและแนวนิยมของการแสดงหุ่นมือ คือ เรื่องซึ่งมีบทเกินธรรมชาติ ทั้งในด้านบุคลิกลักษณะการเคลื่อนไหว และเค้าโครงเรื่อง โรงที่ใช้แสดงหุ่นมือ ต้องสร้างให้มีเนื้อที่มากพอที่ผู้เชิดจะเคลื่อนไหวได้สะดวก ส่วนมากเว้นช่องว่างจากด้านล่าง เนื่องจากผู้เชิดหุ่นมือจะเชิดหุ่นจากด้านล่างของขอบเวทีโรงหุ่น
  • 7. หุ่นนิ้วมือ เป็นหุ่นที่แตกแขนงมาจากหุ่นมือ หุ่นชนิดนี้มีขนาดเล็ก เนื่องจากเป็นการใช้นิ้วมือเชิดแสดง ผู้เชิดจะใช้นิ้วชี้และนิ้วนางเป็นส่วนขาของหุ่น ส่วนนิ้วกลางใช้เชิดลาตัวและหัว การเชิดแสดง ส่วนมากใช้การเคลื่อนไหวของขาหุ่นทั้ง ๒ข้าง โดยเน้นการวิ่ง เดิน เต้นรา กระโดด สาหรับส่วนบนของตัวหุ่นเคลื่อนไหวไม่ได้มากนัก เนื่องจากความจากัดของขนาด และร่างกาย โดยทั่วไปหุ่นนิ้วมือจึงนามาเป็นของเล่นสาหรับเด็กภายในกลุ่มเล็กๆ มากกว่าจะใช้เชิดแสดงเป็นมหรสพ หุ่นสาหรับสร้างเป็นภาพยนตร์ มีลักษณะคล้ายตุ๊กตามากกว่าหุ่นที่ใช้สาหรับการเชิดแสดงเป็นมหรสพในโรงหุ่น ส่วนมาก ประดิษฐ์ให้มีรูปร่างเหมือนมนุษย์มากที่สุด เพื่อให้ภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ ดูแล้วน่าสนใจ เหมือนการแสดงของมนุษย์ ตัวหุ่นอาจดัดแปลงให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับ อากัปกิริยาของมนุษย์ การจัดวางท่าทางของหุ่นเพื่อประโยชน์สาหรับการถ่ายทาภาพยนตร์ จึงเป็นเรื่องที่สาคัญของการสร้างหุ่นประเภทนี้ โดยทั่วไป หุ่นที่สร้างขึ้น สาหรับการถ่ายทาภาพยนตร์นี้จะมีขนาดไล่เลี่ยกับตุ๊กตาทั่วๆ ไป ส่วนการจัดฉากประกอบต่างๆ ก็มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของหุ่นตามกันไปด้วย หุ่นกระบอก มีลักษณะคล้ายกับหุ่นมือ กล่าวคือ ลาตัวของหุ่นมีส่วนกลวงภายใน เพื่อให้แขนสอดเข้าไปเชิดได้ การเชิดแสดงหุ่นกระบอกก็เชิดจากด้านล่างเช่นเดียวกัน หุ่นกระบอกส่วนมากมีศีรษะและลาคอกลวง ส่วนหัวของหุ่นกระบอกอาจประดิษฐ์ขึ้น จากวัสดุต่างๆ ที่มีน้าหนักไม่มากนัก เช่นกระดาษ ไม้ที่มีเนื้อเบา หุ่นกระบอกเป็นมหรสพสาหรับชาวบ้าน และสามารถเชิดแสดง โดยใช้บท สาหรับการแสดงหุ่นสารพัดประเภท ไม่ว่าจะเป็นโศกนาฏกรรม ตลก เทพนิยาย หรือเรื่องจินตนาการแบบเพ้อฝัน (fantasy) แต่ที่เหมาะที่สุดคือ นามาเล่นกับบท ซึ่งมีเรื่องราวที่เน้นการแสดงออกของตัวละคร มากกว่าการสนทนา โรงหุ่นกระบอกมีลักษณะคล้ายโรงหุ่นมือ คือ มีที่ว่างด้านล่างของพื้นเวที เพราะใช้การเชิดแสดงจากด้านล่างเป็นส่วนมาก แต่ที่บางภูมิภาค เช่นเกาะซิซิลี มีการเชิดแสดงจากด้านบน ในกรณีเช่นนี้ โรงหุ่นกระบอกจะมีลักษณะคล้ายโรงหุ่นชักสายเชิด หุ่นเงา เป็นหุ่นที่คนไทยรู้จักกันดี ในชื่อหนังตะลุง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของหุ่นกระบอก ความแตกต่าง คือ ผู้ชมจะไม่ชมการแสดงจากการมองตัวหุ่นโดยตรง แต่จะชมภาพของหุ่น ซึ่งปรากฏที่จอ โดยใช้ไฟส่องจากด้านหลังของตัวหุ่นที่มีลักษณะแบนเป็นภาพมิติเดียวนั้น ให้เงาของตัวหุ่นไปตกกระทบจอที่ใช้ผ้าขาวผืนใหญ่ขึงตึง เกิดเป็นภาพบนจอ
  • 8. ผู้ชมจึงชมการเชิดแสดงหุ่นประเภทนี้ในลักษณะของการดูหนัง ลักษณะของหุ่นประเภทนี้เป็นแผ่นภาพแบน ประดิษฐ์ขึ้นจากกระดาษแข็ง แผ่นสังกะสี ในประเทศทางตะวันออกจะประดิษฐ์จากหนังสัตว์ เช่น โค กระบือ ขนาดหุ่นเงา หรือที่เรียกว่า "ตัวหนัง" จะมีขนาดไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ลักษณะของตัวหนัง อาจออกแบบให้เห็นเป็นภาพใบหน้า ที่เอียงข้างของตัวละคร หรืออาจเป็นภาพหน้าตรง ที่แสดงความรู้สึกต่างๆ ก็ได้ แต่ส่วนมากจะเป็นภาพใบหน้าด้านข้าง ตัวหนังสามารถเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ได้บ้าง โดยการดึงเชือก ที่ผูกไว้ที่อวัยวะนั้นๆ การเชิดจะเชิดตัวหนังทางด้านหลังของจอ และเชิดจากด้านล่าง ผู้เชิดต้องวางแนวจับตัวหนังด้านแบนๆ นั้นให้ขนานไปกับจอ แล้วเคลื่อนตัวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นแนวระนาบตามกันไป ความสนุกสนานของการชมหนังตะลุงเกิดจากบทสนทนา หรือการแสดงของผู้เชิด ซึ่งช่วยสร้างสีสันให้แก่การเล่น หุ่นเงาเหมาะที่จะใช้แสดงกับเรื่องราวที่มีอยู่ในคติชาวบ้าน เช่น นิทาน นิยายพื้นบ้าน หรือเนื้อเรื่องประเภทเทพนิยาย สาหรับโรงเชิดหุ่น มีลักษณะคล้ายโรงเชิดหุ่นมือ แต่ด้านหน้าโรงขึงจอผ้าขาวให้ตึง หุ่นชักสายเชิด เป็นหุ่นแบบใช้เส้นเชือกชักเชิดในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า String-puppet แต่คา Marionette ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเหตุว่า หุ่นชนิดนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายมากในประเทศฝรั่งเศส ตามหลักฐานที่ค้นพบ มีการเชิดแสดงหุ่นชนิดนี้มานานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ แล้ว ช่างผู้ประดิษฐ์หุ่นชักสายเชิดจะมีวิธีการสร้างหุ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไป ศีรษะและลาคอของหุ่นประเภทนี้สร้างจากวัสดุที่คล้ายกับวัสดุของหุ่นมือ คือ ใช้ไม้ที่มีน้าหนักเบา หรือกระดาษปิดกาว หรือกระดาษแข็ง ส่วนวัสดุที่นามาประดิษฐ์เป็นลาตัวของหุ่น ต้องแข็งแรงพอสมควร เช่น ไม้กระดาษปิดกาว ผ้ายัดนุ่น ลาตัวของหุ่นชักสายเชิดแยกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไป และส่วนล่างจากเอวลงมา เพื่อให้การเชิดเคลื่อนไหวได้อ่อนช้อย คล้ายคลึงกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์มากที่สุด และที่เท้าของหุ่นมักถ่วงให้หนักด้วยตะกั่ว โดยรวมแล้ว อวัยวะแทบทุกส่วนของตัวหุ่นชักสายเชิดจะประดิษฐ์ให้เคลื่อนไหวได้ รวมทั้ง นัยน์ตาทั้ง ๒ ข้างที่กลอกไปมาได้ด้วย การตกแต่งหุ่นจะใช้สีวาดและทาอวัยวะต่างๆ ที่เป็นร่างกาย เสื้อผ้าก็มักจะให้มีสีสันสดใส ฉูดฉาด เพื่อดึงดูดสายตา และความสนใจ เสื้อผ้าและเครื่องประดับต่างๆ ของหุ่น มีลักษณะหลวมๆ และเบา เพราะหุ่นประเภทนี้ต้องเคลื่อนไหวมาก ตัวหุ่นมีรูปร่างครบสมบูรณ์ทุกอย่าง มีเส้นเชือก ซึ่งมีความเหนียวมาก
  • 9. ผูกตรึงกับอวัยวะส่วนต่างๆ ของหุ่น โดยเฉพาะที่แขนและขา และโยงไปยังด้ามบังคับ ที่ทาด้วยไม้เป็นรูปกากบาท ผู้เชิดหุ่นจะเชิดจากด้านบนของโรงหุ่น ซึ่งสร้างยกพื้นอยู่ด้านหลังของฉาก เพื่อให้ผู้เชิดแสดง สามารถยืนชะโงกออกมาเชิดตัวหุ่นที่อยู่ข้างหน้าฉากได้ถนัด หุ่นชักสายเชิดนี้ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในยุโรป ระหว่างช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ประเทศที่นิยมนาหุ่นชนิดนี้มาเล่น เช่น ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย องค์ประกอบพื้นฐานสาคัญของการเล่นหุ่นกระบอก อาจจาแนกได้เป็นส่วนต่างๆ คือ ตัวหุ่นกระบอก เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ โรงหุ่นและฉาก ดนตรีและการขับร้อง วิธีการเชิดแสดง เนื้อเรื่องที่นามาแสดง ตัวหุ่นกระบอก หุ่นกระบอกที่ใช้แสดงกันในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้น โดยอาศัยกรรมวิธี การสร้างหุ่นกระบอกตามแบบหุ่น ซึ่งหม่อมราชวงศ์เถาะ ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงขึ้น กล่าวคือ ตัวหุ่นกระบอกประกอบขึ้นด้วยส่วนสาคัญ ๔ ส่วน ได้แก่ศีรษะหุ่น ลาตัว มือ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับตัวหุ่นกระบอก ส่วนที่เลียนแบบอวัยวะของคนจริงๆ คือ ศีรษะและมือทั้ง ๒ ข้างเท่านั้น ส่วนลาตัวหุ่นเป็นกระบอกไม้ไผ่ทั้งปล้องสอดเข้าไปตรงลาคอ ศีรษะและลาตัว ถอดออกจากกันได้ เมื่อไม่ใช้แสดงแล้วก็จะถอดออกและเก็บไว้แยกกัน โดยถอดส่วนศีรษะเก็บตั้งไว้บนฐานที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อตั้งศีรษะหุ่นกระบอก ลาตัวที่เป็นกระบอกไม้ไผ่ เมื่อถอดออกแล้ว จะนาแยกเก็บต่างหากจากตัวเสื้อ ที่มีลักษณะคล้ายถุง ตัวเสื้อซึ่งมีมือติดอยู่ทั้ง ๒ข้าง พับเก็บใส่หีบ ศีรษะของหุ่นกระบอกส่วนมากจะทาด้วยไม้เนื้อเบาทั้งแท่ง เช่น ไม้ทองหลาง ไม้โมก ไม้สักทอง ไม้ที่นามาใช้ควรเป็นไม้เนื้อดี ไม่มีตา แท่งไม้ควรมีขนาดความกว้างประมาณ ๑๒ เซนติเมตร และความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เมื่อได้ไม้แล้ว ช่างก็จะนามาแกะให้เป็นรูปศีรษะ รูปหน้าและลาคอ ส่วนของรูปหน้าและศีรษะยาวประมาณ ๑๐ - ๑๒ เซนติเมตร ส่วนของลาคอยาวประมาณ ๘ เซนติเมตร คว้านให้เป็นรูกว้างพอ ที่กระบอกไม้ไผ่รวกจะสอดเข้าไปได้โดยสะดวก เหตุที่ต้องทาลาคอให้ยาว เพราะจะใช้เป็นส่วนต่อกับกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นส่วนลาตัวหุ่น เมื่อสวมเสื้อคลุมทับอีกชั้นหนึ่งก็จะได้รูปลาคอพอดี ขั้นต่อไปคือ ปั้นแต่งด้วยรักสมุกหรือดิน ให้เป็นจมูก ปาก คิ้ว หู ประเพณีนิยม เกี่ยวกับความเชื่อ ในการประดิษฐ์ศีรษะหุ่นกระบอกอย่างหนึ่ง คือ ต้องมีพิธีไหว้ครู เบิกเนตรหุ่น คล้ายกับการประดิษฐ์หัวโขนถือกันว่าเป็นสิ่งต้องกระทา ฉะนั้น การเขียนดวงตาของหุ่นกระบอก จึงจะทาเป็นขั้นตอนสุดท้าย และต้องทาในพิธีด้วย ลาตัวของหุ่นกระบอกซึ่งก็คือ กระบอกไม้ไผ่รวก ยาวประมาณ ๓๐ - ๕๐ เซนติเมตร กระบอกไม้ไผ่ที่จะทาเป็นลาตัวหรือแกนให้คนเชิดจับถือ ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ - ๕ เซนติเมตร อวัยวะส่วนที่เป็นมือ มักแกะด้วยไม้ มีขนาดประมาณ ๔ - ๕เซนติเมตร ให้พอดีกับขนาดของตัวหุ่น หรือทาด้วยหนังตัดเป็นรูปมือมีนิ้ว และดัดให้อ่อนอย่างมือละคร โดยมือขวาของหุ่นตัวพระจะกาอาวุธไว้เสมอ
  • 10. จึงเจาะรูตรงกลางไว้ สาหรับเสียบอาวุธ ซึ่งจะเปลี่ยนไปได้ตามเนื้อเรื่อง ถ้าในบทไม่กาหนดให้ถืออะไร ก็ปล่อยไว้ให้กามือเฉยๆ เช่นนั้นมือซ้ายเป็นรูปมือแบตั้งวงรา ถ้าเป็นมือตัวนาง โดยมากจะตั้งวงราทั้ง ๒ข้าง มือทั้ง ๒ ข้างจะตอกติดกับเรียวไม้ไผ่เล็กๆ ๒อัน ขนาดความยาวของเรียวไม้ไผ่เท่ากับปล้องไม้ไผ่ที่ทาเป็นลาตัวสาหรับจับเชิด ชาวหุ่นกระบอกเรียกเรียวไม้ไผ่ทั้งสองข้างของหุ่นกระบอกคู่นี้ว่า "ตะเกียบ" เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับของหุ่นกระบอก นับว่ามีส่วนสาคัญ ที่ทาให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจได้มาก เสื้อของหุ่นกระบอกประดิษฐ์ด้วยผ้าผืนเดียว ขนาดความกว้างประมาณ ๖๐ เซนติเมตร และยาวตั้งแต่ ๑.๒ - ๑.๕ เมตร นามาพับครึ่ง เย็บเป็นถุงคลุม โดยตรงกึ่งกลางส่วนที่เป็นสันพับครึ่ง ซึ่งคลุมไหล่หุ่น จะเจาะเป็นช่องวงกลมเล็กๆ ให้มีขนาดพอเหมาะพอดีกับขนาดลาคอ ของหุ่นกระบอก สาหรับสอดลาคออันเป็นส่วนของศีรษะ ตรงมุมผ้าทั้ง ๒ข้างที่พับ มีช่องสาหรับให้มือหุ่นโผล่ออกมา เรียวไม้ไผ่ที่ตรึงติดมือหุ่นทั้ง ๒ ข้าง และกระบอกลาตัวหุ่นซ่อนอยู่ภายในเสื้อที่คลุมไว้ สิ่งสาคัญมาก สาหรับการตกแต่งส่วนศีรษะ คือ เครื่องประดับศีรษะ เช่น มงกุฎ ชฎา รัดเกล้า หุ่นกระบอกจะสวยสะดุดตา งดงามมากน้อยเพียงใดนั้น เครื่องประดับต่างๆ ก็มีส่วนสาคัญมิใช่น้อย นอกจากการประดิษฐ์ตัวหุ่นกระบอกแล้ว สิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ ที่จะต้องนาออกแสดงพร้อมกันตามท้องเรื่องที่เล่น ก็ต้องประดิษฐ์ให้มีขนาดที่พอเหมาะกับตัวหุ่นกระบอก เช่น เรือสาเภา โคมไฟ สีวิกา (ที่นั่งมีคานหาม เป็นเครื่องแสดงอิสริยยศ) ตลอดจน สัตว์ที่เป็นพาหนะทั้งหลาย โรงหุ่นกระบอก แต่เดิมนั้น เจ้าของคณะหุ่นกระบอกมักจะมีโรงหุ่นกระบอกเป็นของตนเอง โรงหุ่นกระบอกมักสร้างด้วยไม้กระดาน ไม่นิยมใช้ไม้ไผ่ เพราะถือเป็นของชั่วคราว ไม่คงทนถาวร และไม่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสาและพื้นของโรงหุ่นกระบอก ซึ่งต้องรับน้าหนักคนจานวนมาก ถ้าไม่แข็งแรงก็อาจเป็นอันตรายได้ โรงหุ่นกระบอกปลูกเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวประมาณ ๕ เมตร ยกพื้นขึ้นให้สูงพอเหมาะกับสายตาของผู้ชมที่จะยืนดูได้ถนัด ส่วนมากมักยกพื้นขึ้นสูงประมาณ ๑ เมตร ถึง๑.๕๐ เมตร ความสูงจากพื้นโรงถึงหลังคาด้านหน้าประมาณ ๕ เมตร ด้านหลังและด้านข้างมีฝากั้นทึบ เพื่อกันไม่ให้คนภายนอกเข้าไปได้ ส่วนด้านหน้าตั้งเสาเรียงกัน ๔ เสา ให้มีเสาคู่กันอยู่ด้านข้าง เสาที่ตั้งคู่กันนี้ห่างกัน ๑ เมตร ฉะนั้น จะมีที่ว่างตรงกลาง ๓ เมตร ฉาก ฉากที่ใช้ตกแต่งโรงอาจแยกออกได้เป็น ๓ ส่วน คือ
  • 11. ฉากส่วนแรก คือ ฉากที่ขึงไว้เสมอด้านหน้าโรงระหว่างเสาทั้ง ๒ ข้าง โดยขึงตลอด ตั้งแต่ชายหลังคาจนจรดพื้นโรง เบื้องล่างมักเขียนเป็นรูปป้อมปราการ มีกาแพงเมือง และสุมทุมพุ่มไม้ตกแต่ง ที่ฉากส่วนนี้มักมีผ้าต่วน หรือผ้าแพรยกดอก แขวนตลอดความสูง ทาเป็นม่านสองไขไว้ทั้งสองข้าง โดยแขวนม่านนี้ทับด้านนอกของฉากอีกทีหนึ่ง ฉากส่วนที่ ๒ คือ ฉากที่เขียนบนจอ ซึ่งขึงโดยให้อยู่ลึกจากริมโรงเข้าไปประมาณ ๓๐ เซนติเมตร กั้นเป็นจอ เขียนรูปอย่างฉากละคร ฉากนี้เป็นฉากใหญ่ความยาวประมาณ ๓ เมตร พอดีกับโรง ในยุคที่การละเล่นหุ่นกระบอกเฟื่องฟู นายเปียก ประเสริฐกุล ใช้วิธีเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง ฉากที่ใช้เปลี่ยนตามท้องเรื่อง มี ๓ ฉากด้วยกัน คือ ฉากปราสาทราชมนเทียร ฉากป่าเขาลาเนาไม้ และฉากท้องทะเลมหาสาคร แต่โดยทั่วไปแล้ว พื้นจอจะเขียนให้เป็นรูปอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความนิยมของยุคสมัย หรือเห็นงามเท่าที่นิยมกัน ในปัจจุบันมักเขียนเป็นรูปปราสาทราชวัง อย่างไรก็ตาม ฉากส่วนตรงกลางโรงนี้ จะต้องมีประตูเข้าออก ๒ ข้าง โดยมีขนาดให้พอเหมาะกับตัวหุ่นกระบอก ที่ประตูทั้ง ๒ ข้าง ติดม่านแหวกกลางไว้ เพื่อบังไม่ให้คนดูเห็นเข้าไปข้างในโรง เบื้องล่างของฉากส่วนนี้ ยกให้สูงจากพื้นโรงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เพื่อให้ผู้เชิดที่นั่งอยู่หลังฉาก ลอดมือออกไปเชิดหุ่นที่หน้าฉากได้สะดวก บริเวณส่วนที่เป็นชายของจอนี้ ทาด้วยผ้าโปร่งขาว สูงราว ๕๐ เซนติเมตร ยาวตลอดแนวฉาก เพื่อให้คนเชิดมองลอดออกไป เห็นตัวหุ่นที่ตนกาลังยื่นแขนออกไปเชิดที่หน้าฉากได้ แต่ผู้ชมจะมองไม่เห็นผู้เชิด หรือถ้าจะเห็นก็เพียงลางๆ เท่านั้น ฉากส่วนที่ ๓ คือ แผงกระจกติดภาพต่างๆ ใช้กันสายตา ตั้งเรียงติดต่อกันประมาณ ๖ - ๗ ภาพ ที่ด้านล่างของโรงหุ่นกระบอกที่ระดับพื้นโรง สาหรับบังไม่ให้คนดูเห็นมือคนเชิด ที่ลอดใต้ฉากออกมา และบังชายด้านล่างสุดของผ้าขาวบางนั้นไว้ จากสายตาของผู้ชม แผงกระจกเหล่านี้เรียกว่า "กระจกบังมือ" มักประดับด้วย ภาพตัวละครสาคัญในวรรณคดีเอกของไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เช่น พระราม พระลักษมณ์ ทศกัณฐ์ หนุมานตอนหาวเป็นดาวเป็นเดือน หรือรูปสัตว์ในวรรณคดี เช่นพญาครุฑ กินรี กินนร ไกรสร ราชสีห์ มิฉะนั้น ก็ใช้วิธีการวาดภาพบนแผ่นกระจก เป็นแผงติดด้านล่างของโรง หุ่นกระบอกคณะของนายเปียก ประเสริฐกุล ใช้วิธีวาดภาพบนด้านหลังแผ่นกระจกนี้ เพื่อให้คงทนไม่ชารุดง่าย ภาพบนแผงกระจกเหล่านี้ จะช่วยดึงดูดความสนใจให้คนเข้ามายืนชม ก่อนที่จะมีการแสดง เป็นการฆ่าเวลาระหว่างนั่งรอชมการแสดงนั่นเอง เครื่องดนตรี ทานองเพลง และการดาเนินเรื่อง เครื่องดนตรีสาหรับประกอบการแสดงหุ่นกระบอกใช้ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ แต่ในวงปี่พาทย์สาหรับการแสดงหุ่นกระบอกจะต้องมีกลองตะโพน ซออู้ กลองต๊อก กลองแต๋ว และม้าล่อ
  • 12. เป็นเครื่องดนตรีสาคัญประกอบด้วย ในตอนดาเนินเรื่องอาจใช้เพลงร่ายนอก หรือร่ายในก็ได้ แต่ที่นิยมกันมาก สาหรับการแสดงหุ่นกระบอกโดยเฉพาะ จนถือว่า เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของการแสดงหุ่นกระบอกคือ การใช้ทานองเพลง "สังขารา" ซึ่งเป็นทานองเพลงโบราณ นามาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม กับการแสดงหุ่นกระบอก โดยประกอบเข้ากับการสีซออู้เคล้าไปในการขับร้อง เป็นการดาเนินเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่องที่นามาแสดงโดยมาก เป็นเนื้อหาที่คัดสรรตัดตอนมาจากวรรณคดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนิทานคากลอน หรือบทละครนอก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน ลักษณวงศ์ ไกรทอง ประวัติความเป็นมาของการเล่นหุ่นเป็นมหรสพของไทย ประเทศไทยมีหลักฐานเป็นเอกสารแสดงว่า มีการเล่นหุ่น เป็นเครื่องบันเทิง หรือมหรสพมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งหลักฐานที่แสดงว่า มีการเล่นหุ่น ปรากฏอยู่ในบันทึก ทั้งที่เป็นหมายรับสั่ง สมุดไทย วรรณกรรม และวรรณคดีเรื่องต่างๆ ตั้งแต่แผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่อยมาจนถึงแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย และต่อมาจนถึงสมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ โดยระบุไว้ว่า มีการแสดงหุ่นในงานฉลอง และสมโภชทั้งในพิธีหลวง เช่น งานออกพระเมรุ และในพิธีราษฎร์ต่างๆ แต่การแสดงหุ่น ดังที่ปรากฏในบันทึกต่างๆ เหล่านั้น สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นการเล่นหุ่นหลวง มิใช่การเล่นหุ่นกระบอก ซึ่งมีหลักฐานแน่ชัดว่า เกิดขึ้น และนิยมกันอย่างแพร่หลาย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในที่นี้จะได้อธิบายถึงลักษณะและองค์ประกอบสาคัญของหุ่นหลวง และการเชิดแสดงหุ่นหลวงอย่างสังเขป ตลอดจนหุ่นประเภทอื่นๆ ของไทย ที่มีการเล่นแสดงเป็นมหรสพ เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจ ก่อนนาเข้าสู่เรื่องหุ่นกระบอกไทย นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ได้ให้คาจากัดความของหุ่นหลวง ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง ไว้ว่า "หุ่นหลวง เป็นศิลปะการแสดงชนิดหนึ่ง ที่ใช้วัสดุมาประดิษฐ์ ให้มีรูปร่างท่าทางเหมือนคน มีขนาดใหญ่สูงถึง ๑ เมตร มีคนเชิดและชัก ให้เคลื่อนไหว หุ่นหลวงเป็นมหรสพของหลวง ที่มีมาแต่สมัยอยุธยา" ส่วนลักษณะและเครื่องแต่งกายของหุ่นหลวงก็ได้อธิบายไว้ว่า ตัวหุ่นทาด้วยไม้ คว้านให้บางเบา เฉพาะที่ส่วนเอวของตัวหุ่น ใช้เส้นหวายขดซ้อนกัน เพื่อให้เคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ มีเชือกร้อยจากนิ้วมือ ผ่านตามลาแขน เข้าสู่ลาตัวของหุ่น เพื่อให้มือและแขนขยับได้ ส่วนเท้านั้นติดไว้กับแข้งและขา กระดิกไม่ได้เหมือนมือ จากข้างในของลาตัวมีแกนไม้ยาว สาหรับคนเชิดจับ ยื่นออกมาจากส่วนก้นของหุ่น "...ตัวหุ่นหลวงเหล่านี้ ถึงจะมีขนาดเขื่องกว่าตัวหุ่นกระบอก แต่ก็มีน้าหนักเบากว่ามาก ฝีมือการประดิษฐ์ก็ล้วนวิจิตร ประณีต สมกับที่ได้ชื่อว่า ‘หุ่นหลวง’ โดยแท้... ส่วนเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับหุ่นหลวง มีลักษณะคล้ายกับ เครื่องแต่งกายของโขน ละคร..."
  • 13. วิธีเชิดเล่นหุ่นหลวงนั้น นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ผู้เชิดคงจะเชิดหุ่นให้อยู่เหนือระดับศีรษะ โดยผู้เชิดยืนจับแกนไม้ที่บังคับตัวหุ่น ยกชูขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง และใช้มืออีกข้างหนึ่ง คอยบังคับสายชัก ที่ร้อยจากอวัยวะต่างๆ ของหุ่นให้ออกมาทางก้น โดยห้อยลงมารวมกันที่แป้นไม้ ที่ตรึงติดอยู่กับแกนไม้ชิ้นที่สาหรับจับเชิด นอกจากหุ่นหลวงซึ่งเป็นมหรสพที่เล่นในงานพระราชพิธีต่างๆ ที่มีมาแต่เดิมแล้ว ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีการประดิษฐ์หุ่น ที่มีขนาดความสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เรียกกันว่า หุ่นเล็ก ด้วยเหตุนี้ ต่อมาจึงมีผู้เรียกหุ่นหลวงว่า "หุ่นใหญ่"ตามขนาดของหุ่น ผู้ประดิษฐฺ์หุ่นเล็ก คือ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ โดยทรงประดิษฐ์ขึ้น ๒แบบ คือ หุ่นจีน เป็นลักษณะหุ่นมือ ใช้นิ้วเชิดบังคับให้เคลื่อนไหว หัว และหน้า เขียนสีต่างๆ รวมทั้งเครื่องแต่งกายเหมือนอย่างงิ้ว หุ่นจีนใช้เล่นเรื่องของจีน เช่นซวยงัก สามก๊ก ส่วน หุ่นไทย ซึ่งมีขนาดเท่าหุ่นจีน เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ มีลักษณะเช่นเดียวกับหุ่นหลวง ใช้เล่นเรื่องรามเกียรติ์ หุ่นไทยเป็นหุ่นชักอย่างหุ่นหลวง หุ่นจีน และหุ่นไทย ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสร้างขึ้นอย่างวิจิตรประณีต ทั้งหุ่นจีน และหุ่นไทยนี้ ยังเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน โดยตั้งแสดงไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร อนึ่ง ยังมีการเล่นแสดงหุ่นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ละครเล็ก ซึ่งสันนิษฐานว่า เริ่มมีการเล่นเป็นมหรสพ ราว พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยนายแกร ศัพทวนิช เป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้น ตัวหุ่นมีขนาดสูงประมาณ ๑ เมตร สร้างขึ้นเลียนแบบหุ่นหลวง และหุ่นเล็ก แต่ต่างกันที่การบังคับหุ่น และลีลาการเชิด ซึ่งเป็นศิลปะ ที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ต่อมา เมื่อนายแกรถึงแก่กรรม นายทองอยู่ ศัพทวนิช ลูกชาย และนางทองหยิบ ลูกสะใภ้ ได้รับการสืบทอดต่อมาจนถึงวัยชรา จึงได้มอบตัวหุ่นละครเล็กที่ยังเหลืออยู่บ้างให้แก่ นายสาคร ยังเขียวสด (ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในนามของโจหลุยส์) ซึ่งเป็นลูกของคนเชิดในคณะละครเล็ก ของนายแกร ตัวหุ่นละครเล็กที่นายแกรสร้างไว้ ซึ่งยังเหลืออยู่เพียง ๓๐ ตัว ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ แต่เดิมตัวหุ่นละครเล็กที่สาคัญและเป็นตัวนายโรงจะใช้ผู้เชิด ๓ คน ส่วนตัวนาง และตัวตลกอื่นๆ จะใช้ผู้เชิด ๒ คนบ้าง หรือ ๑ คนบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นละคร เช่นพระอภัยมณี แก้วหน้าม้า จนกระทั่ง นายสาคร ยังเขียวสด ได้สร้างหุ่นละครเล็กขึ้นมาใหม่ และมีการพัฒนารูปแบบในการเชิด ให้ออกมาเชิดอยู่ด้านนอก เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นลีลาของผู้เชิดไปพร้อมๆกับหุ่น โดยหุ่น ๑ ตัว ใช้ผู้เชิด๓ คน และมีการถ่ายทอดสู่บุตรชายหญิง โดยจัดตั้งคณะหุ่นขึ้นครั้งแรก ใช้ชื่อว่า คณะสาครนาฏศิลป์ละครเล็กหลานครูแกร และได้ก่อตั้งโรงละคร สาหรับจัดแสดงหุ่นละครเล็กขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย ซึ่งรู้จักกันในนาม นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) ในปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทย อาจถือได้ว่า หุ่นกระบอกไทยมีกาเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติความเป็นมาของการเล่นแสดงหุ่นกระบอก เพื่อเป็นเครื่องมหรสพ มีปรากฏอย่างชัดเจน
  • 14. ในลายพระหัตถ์ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงโต้ตอบกันในหนังสือสาส์นสมเด็จ ดังจะนามากล่าวเป็นตอนๆ ดังนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงริเริ่มตั้งข้อสังเกต ถึงเรื่องหุ่นกระบอกขึ้นก่อน ในลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๙ กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ เกี่ยวกับคนขอทานตาบอด นั่งร้องเพลง และสีซออยู่ข้างถนน และเลยไปถึงเรื่องหุ่นกระบอก มีความว่า "มีเรื่องเกล้ากระหม่อมบวช ซึ่งติดจะขัน จะเก็บมาเล่าถวายอีกเรื่องหนึ่ง คือ เมื่อเกล้ากระหม่อมบวชนั้นได้ตั้งใจรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นพระ พ้นอาบัติทั้งปวง ความปฏิบัติเป็นไปได้สมปรารถนา แต่มาวันหนึ่ง เจ้ากรรมจริงๆ เดินกลับจากบิณฑบาต พอถึงแถวหน้าศาลเจ้าพ่อเสือก็พบคนขอทานตาบอด นั่งร้องเองสีซอเองอยู่ข้างถนน ตามที่ควรเป็นแล้ว ดนตรีของคนขอทานนั้นควรจะไม่น่าฟัง แต่ที่ไหนได้ นี่อะไร มันช่างไพเราะดีเสียเหลือเกิน ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยพบการเล่นดนตรี ที่ไพเราะจับใจเหมือนคราวนั้นเลย เล่นเอาลืมสติ หย่อนฝีเท้าก้าวเดินช้าๆ ฟังเสียงสาเหนียกการบรรเลงจนพ้นมาด้วยความเสียใจ โกยเอาอาบัติไปพอแรง จะกราบทูลได้อย่างง่ายๆ ว่า ตาคนที่เล่นเพลงพาลืมตัวไปได้นั้น คือ ตาคนที่มีชื่อลือชาเรียกกันโดยสมญาว่า ‘ตาสังขารา’ นั้นแล ทานองร้องของแกก็ไพเราะไปในทางร้อง และความก็ดีด้วย ส่วนทางซอของแกก็ไพเราะไปในทางดนตรีอีกทางหนึ่ง แต่ทั้งสองทางเข้ากันสนิทสนมกลมเกลียวดีเหลือเกิน ติดใจจนกระทั่งสึกออกมาแล้ว ลองทาดูบ้าง ไม่ยักได้ ถ้าสีซอเหมือนร้อง แล้วทาได้ แต่ร้องไปทางร้อง สีซอไปทางซอ ทาไม่ได้ ทาให้รู้สึกว่าตาสังขารานั้นเป็นคนเลิศประเสริฐมนุษย์ แกแบ่งใจให้เป็นสองภาค เล่นสองอย่างพร้อมกันได้ เราแบ่งไม่ได้ จึงเล่นไม่ได้ ทางที่แกเล่นก็คือ หุ่นกระบอกเรานี่เอง แต่เวลานั้นหุ่นกระบอกยังไม่เกิด หุ่นกระบอกก็เอาอย่างตาสังขารานั้นเองไปเล่น แต่หุ่นกระบอกนั้นไม่ประหลาดเพราะคนหนึ่งร้อง คนหนึ่งนั่งสีซอ เป็นของทาได้ง่าย ไม่เหมือนตาสังขาราซึ่งร้องเองสีซอเอง เล่นยากเหลือเกิน" ข้อความในจดหมายลายพระหัตถ์ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงตอบ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๙ ปรากฏดังนี้ "คนตาบอดสีซอขอทานที่ท่านตรัสถึงนั้น หม่อมฉันรู้จักดีทีเดียว เคยเรียกแกว่า ‘ตาสังขารา’ เพราะแกชอบขับเรื่องปลงสังขารกับเรื่องพระยาฉัททันต์ รู้สึกไพเราะจับใจมาก ประหลาดอยู่ที่ไปพบคนเช่นนั้นที่เมืองพม่า เมื่อหม่อมฉันขึ้นไปบูชาพระมหาธาตุสิงคุดร ที่เมืองแปร มีคนขอทานตาบอด ๒ คน นั่งอยู่ที่ร้านข้างทาง คนหนึ่งขับลานาและสีซออู้ อีกคนหนึ่งตีระนาด (ไทย) ประสานกันไป ฟังไพเราะจับใจ เสียแต่ไม่เข้าใจคาขับ ถึงกระนั้นก็ต้องหยุดยืนฟังทั้งเมื่อขาขึ้นและขาลง จะทูลเลยไปถึงเรื่องหุ่นกระบอก เพราะเรื่องประวัติเกี่ยวข้องกับตัวหม่อมฉันเองมากอยู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ปีที่หม่อมฉันเข้าว่าการกระทรวงมหาดไทย ถึงเดือนตุลาคม หม่อมฉันขึ้นไปตรวจหัวเมืองเหนือ ครั้งนั้น ลูกชายกลาง อิทธิดารง (น้องรองจุลดิศ) อายุได้สัก ๕ขวบ ติดหม่อมฉัน จึงตามไปด้วย หม่อมราชวงศ์เถาะ (เป็นทหารมหาดเล็กอยู่ก่อน ท่านคงรู้จัก) รับอาสาไปเป็นพี่เลี้ยง เมื่อไปถึงเมืองอุตรดิตถ์ สามเณรรณชัย