SlideShare a Scribd company logo
1 of 8
1
คุตติลชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๓. คุตติลชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๒๔๓)
ว่าด้วยคุตติลโพธิสัตว์
(นักขับร้องโพธิสัตว์กล่าวกับท้าวสักกะว่า)
[๑๘๖] ข้าพระองค์ได้สอนศิษย์ให้เรียนการดีดพิณ ๗ สาย
มีเสียงอันไพเราะ น่าจับจิตจับใจ
เขากลับมาท้าทายข้าพระองค์แข่งขันดีดพิณสู้กันบนเวที ท้าวโกสีย์
ขอพระองค์จงเป็ นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด
(ท้าวสักกะสดับคาของพระโพธิสัตว์แล้ว จึงตรัสว่า)
[๑๘๗] เพื่อนเอ๋ย เราจะเป็ นที่พึ่ง เราเป็ นคนบูชาอาจารย์
ศิษย์จักชนะท่านไม่ได้ ส่วนท่านจะชนะศิษย์ นะอาจารย์
คุตติลชาดกที่ ๓ จบ
-------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
คุตติลชาดก
ว่าด้วย ลูกศิษย์คิดล้างครู
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระเทวทัตว่า
ดูก่อนพระเทวทัต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ของท่าน
ท่านอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เล่าเรียนพระไตรปิฎก ยังฌาน ๔ ให้เกิดขึ้น
การที่จะเป็นศัตรูต่อผู้ที่ชื่อว่าเป็นอาจารย์ ไม่สมควรเลย.
พระเทวทัตกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
พระสมณโคดมเป็นอาจารย์ของเราหรือ
พระไตรปิฎกเราเรียนด้วยกาลังของตนเองทั้งนั้น มิใช่หรือ ฌานทั้ง ๔
เราก็ทาให้เกิดด้วยกาลังของตนทั้งนั้น บอกคืนอาจารย์แล้ว ฉะนี้.
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย
พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์แล้ว กลับเป็ นศัตรูต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ถึงความพินาศแล้ว.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร?
ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต
มิใช่บอกคืนอาจารย์เป็นศัตรูต่อเราแล้วถึงความพินาศในบัดนี้เท่านั้น
2
แม้เมื่อก่อนก็ถึงความมหาวินาศแล้วเหมือนกัน.
ทรงนาเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลนักขับร้อง มารดาบิดาตั้งชื่อว่า คุตติลกุมาร.
กุมารนั้น ครั้นเจริญวัย สาเร็จศิลปะการขับร้อง
ได้เป็นนักขับร้องชั้นยอดในชมพูทวีปทั้งสิ้น
ชื่อว่า คุตติลคนธรรพ์. เขาไม่มีภรรยา เลี้ยงมารดาบิดาผู้ตาบอด.
ในกาลนั้น พ่อค้าชาวกรุงพาราณสีไปค้าขายยังเมืองอุชเชนี
เมื่อเขาป่าวร้องมีการมหรสพ จึงเรี่ยไรกันหาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้
ตลอดจนของเคี้ยวของบริโภคเป็นต้น เป็ นอันมากประชุมกัน ณ สนามกีฬา
ให้ค่าจ้างแล้วกล่าวว่า พวกท่านจงนานักร้องมาคนหนึ่งเถิด.
สมัยนั้น
ในกรุงอุชเชนีมีนักขับร้องชั้นเยี่ยมชื่อ มุสิละ. พวกพ่อค้าจึงหาเขามาให้แสดงการ
ขับร้องให้ตนชม. มุสิละ เมื่อจะดีดพิณได้ขึ้นสายเสียงเอกดีดแล้ว
การดีดสีของเขานั้นได้ปรากฏ ดุจเสียงเกาเสื่อราแพนแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น
ผู้มีความชินหูในการดีดสีของคุตติลคนธรรพ์
จึงมิได้แสดงอาการชอบใจแม้สักคนเดียว. มุสิละ
เมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นไม่แสดงอาการพอใจ คิดว่าเราเห็นจะดีดพิณขันตึงเกินไป
จึงลดลงปานกลางดีดด้วยเสียงปานกลาง.
พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็คงเฉยอยู่ในเสียงพิณนั้น.
ลาดับนั้น เขาคิดว่า พวกพ่อค้าเหล่านี้คงไม่รู้จักอะไร
จึงแกล้งทาเป็นไม่รู้เรื่องเสียเอง ดีดพิณหย่อนๆ พวกพ่อค้าก็มิได้ว่าอะไร.
มุสิละจึงกล่าวกะพ่อค้านั้นว่า ดูก่อนพ่อค้าผู้เจริญ
เมื่อข้าพเจ้าดีดพิณท่านไม่พอใจหรือ.
พวกพ่อค้ากล่าวว่า ก็ท่านดีดพิณอะไร พวกเรามิได้เข้าใจว่า
ท่านขึ้นเสียงพิณดีดสี.
มุสิละถามว่า ก็ท่านรู้จักอาจารย์ที่เก่งกว่าข้าพเจ้าหรือ
หรือไม่รู้สึกยินดีเพราะตนไม่รู้จักฟัง.
พวกพ่อค้ากล่าวว่า
เราเคยได้ฟังเสียงพิณคุตติลคนธรรพ์ที่กรุงพาราณสี
เสียงพิณของท่านจึงฟังคล้ายเสียงสตรีกล่อมเด็ก.
มุสิละกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรับค่าจ้างที่ท่านให้คืนไปเถิด
ข้าพเจ้าไม่ต้องการค่าจ้างนั้น ก็แต่ว่า เมื่อท่านจะกลับไปกรุงพาราณสี
ช่วยพาข้าพเจ้าไปด้วย.
พวกพ่อค้าเหล่านั้นรับว่าดีละ.
3
ในเวลากลับได้พาเขาไปกรุงพาราณสี บอกมุสิละว่า
นี่คือที่อยู่ของคุตติลคนธรรพ์ แล้วเลยไปที่อยู่ของตน.
มุสิละเข้าไปบ้านพระโพธิสัตว์ เห็นพิณคู่มือของพระโพธิสัตว์ จึงหยิบมาดีด.
ลาดับนั้น มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์ แลไม่เห็นมุสิละเพราะตาบอด
เข้าใจว่าเห็นจะหนูกัดพิณ จึงกล่าวว่า หนูกัดพิณ. มุสิละจึงวางพิณ
ไหว้มารดาบิดาพระโพธิสัตว์. เมื่อท่านถามว่า มาแต่ไหน จึงกล่าวว่า
มาจากเมืองอุชเชนี เพื่อขอเรียนศิลปะในสานักของท่านอาจารย์.
เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์รับ ดีละ. แล้วจึงถามว่า ท่านอาจารย์อยู่ไหน.
ได้ฟังว่า ไม่อยู่จ้ะ พ่อคุณ วันนี้จะกลับมา จึงนั่งอยู่ที่นั้นเอง.
ครั้นพระโพธิสัตว์กลับมาได้รับปฏิสันถารแล้ว จึงบอกเหตุที่ตนมา.
พระโพธิสัตว์รู้องค์วิชาทานายลักษณะคน จึงรู้ว่า มุสิละเป็ นอสัตบุรุษ
ได้บอกปัดว่า ไปเถิดพ่อ ศิลปะไม่สาเร็จแก่ท่านดอก.
มุสิละจับเท้ามารดาบิดาพระโพธิสัตว์ ลูบไล้ให้สงสารตน แล้วอ้อนวอนว่า
ขอท่านจงช่วยให้พระโพธิสัตว์ถ่ายทอดศิลปะให้ข้าพเจ้าเถิด.
พระโพธิสัตว์ถูกมารดาบิดาช่วยพูดบ่อยๆ ก็ไม่อาจขัดท่านได้
จึงสอนศิลปะให้. มุสิละไปราชนิเวศน์กับพระโพธิสัตว์.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นเขา ตรัสถามว่า นั่นใครน่ะ ท่านอาจารย์.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะ นี่คืออันเตวาสิกของข้าพระองค์.
เขาจึงได้คุ้นเคยกับพระราชาโดยลาดับ พระโพธิสัตว์มิได้ปิดบังอาพรางวิชา
ให้ศึกษาตามแบบที่ตนรู้มาจนจบ แล้วกล่าวว่า แน่ะพ่อ ท่านเรียนศิลปะจบแล้ว.
มุสิละคิดว่า ศิลปะเราก็ช่าชองแล้ว
ทั้งกรุงพาราณสีนี้ก็เป็นนครเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ถ้าอาจารย์แก่
เราควรจะอยู่ในกรุงพาราณสีนี้แหละ.
มุสิละจึงบอกอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าจักรับราชการ. อาจารย์กล่าวว่า ดีแล้ว
เราจะกราบทูลพระราชา จึงพาไปเฝ้ าพระราชา กราบทูลว่า
อันเตวาสิกของข้าพระองค์ปรารถนาจะรับราชการสนองพระคุณพระองค์
ขอพระองค์จงพิจารณาเบี้ยหวัดให้เขา เมื่อพระราชาตรัสว่า
เขาจะได้กึ่งหนึ่งจากเบี้ยหวัดที่ท่านได้ จึงบอกเรื่องนั้นแก่มุสิละ. มุสิละกล่าวว่า
เมื่อข้าพเจ้าได้รับเบี้ยหวัดเท่ากับท่าน จึงจะรับราชการ เมื่อไม่ได้เท่าจะไม่ขอรับ.
พระโพธิสัตว์ถามว่า เพราะเหตุไร. มุสิละตอบว่า
ข้าพเจ้ารู้ศิลปะที่ท่านรู้หมด มิใช่หรือ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถูกแล้ว
ท่านรู้ทั้งหมด. มุสิละกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร
พระราชาจึงพระราชทานแก่ข้าพเจ้ากึ่งหนึ่งเล่า.
พระโพธิสัตว์จึงกราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาตรัสว่า ถ้าเขาสามารถแสดงศิลปะทัดเทียมท่าน
4
ก็จะได้เท่ากัน. พระโพธิสัตว์ฟังพระดารัสดังนั้น จึงบอกแก่มุสิละ เมื่อเขากล่าวว่า
ดีละ ข้าพเจ้าจักแสดง จึงกราบทูลแด่พระราชา เมื่อพระองค์ตรัสว่า ดีแล้ว
จงแสดงเถิด จะแสดงแข่งขันกันวันไหนเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ขอจงแข่งขันกันในวันที่ ๗ นับแต่วันนี้.
พระราชารับสั่งหาตัวมุสิละ มาตรัสถามว่า ได้ยินว่า
ท่านจะทาการแข่งขันกับอาจารย์หรือ. กราบทูลว่า ขอเดชะ จริง พระเจ้าข้า.
แม้ทรงห้ามว่า อันการแข่งดีกับอาจารย์ ไม่สมควรเลย. กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราช ช่างเถิด ขอให้ข้าพระองค์แข่งขันกับอาจารย์ในวันที่เจ็ดเถิด
จักได้ทราบว่าคนไหนจักชนะ.
พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว รับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องว่า
ในวันที่เจ็ดนับแต่วันนี้ อาจารย์กับศิษย์จะแสดงศิลปะแข่งขันกันที่ประตูวัง
ชาวเมืองจงมาประชุมดูศิลปะกันเถิด.
พระโพธิสัตว์คิดว่า มุสิละผู้นี้ยังหนุ่มแน่นมีกาลังแข็งแรง
เราแก่ตัวถอยกาลังแล้ว. ธรรมดาว่า กิริยาของคนแก่ย่อมไม่กระฉับกระเฉง อนึ่ง
ธรรมดาว่า ลูกศิษย์แพ้ก็ไม่แปลกอะไร แต่เมื่อลูกศิษย์ชนะ
เข้าไปตายเสียในป่ายังดีกว่า ความละอายที่พึงจะได้รับ.
พระโพธิสัตว์จึงเข้าไปป่า แล้วก็กลับเพราะกลัวตาย
แล้วกลับไปอีกกลัวอาย.
เมื่อพระโพธิสัตว์กลับไปกลับมาดังนี้จนล่วงไปได้ ๖ วัน
ต้นหญ้าตายราบเกิดเป็นรอยทางเดินเท้าแล้ว. ขณะนั้น
พิภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะทรงเล็งแลดูก็รู้เหตุการณ์นั้น
ทรงดาริว่า คุตติลคนธรรพ์ได้รับความทุกข์ใหญ่หลวงในป่า
เพราะกลัวอันเตวาสิก เราควรจะเป็ นที่พึ่งแก่เขา จึงรีบเสด็จไปยืนอยู่ข้างหน้า
ตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ ท่านเข้าป่าไปทาไม.
เมื่อพระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านเป็นใคร
ตรัสว่า เราเป็นท้าวสักกะ.
ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงทูลท้าวสักกะว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า
ข้าพระองค์ไปป่า ก็เพราะกลัวแพ้อันเตวาสิก จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
ข้าพระองค์ได้สอนให้ศิษย์ชื่อมุสิละ เรียนวิชาดีดพิณ ๗ สาย
มีเสียงไพเราะจับใจคนฟัง เขากลับมาขันดีดพิณสู้ข้าพระองค์ ณ ท่ามกลางสนาม
ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็ นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด.
ท้าวสักกะสดับคาของพระโพธิสัตว์ แล้วตรัสว่า อย่ากลัวเลย
เราจะช่วยต่อต้านป้ องกันท่านเอง ได้กล่าวคาถา ๒ ว่า :-
ดูก่อนสหาย ฉันจะเป็ นที่พึ่งของท่าน ฉันเป็ นผู้บูชาอาจารย์
ศิษย์จักไม่ชนะท่าน ท่านจักชนะศิษย์.
5
ท้าวสักกะตรัสว่า ก็และเมื่อท่านจะดีดพิณ ท่านจงเด็ดเสียสายหนึ่ง ดีด
๖ สาย เสียงพิณของเจ้าจักเหมือนเดิม แม้มุสิละก็จะเด็ดสายพิณ
แต่เสียงพิณของเขาจักไม่เหมือนเดิม ขณะนั้น เขาจะถึงความปราชัย
ครั้นทราบว่า เขาถึงความปราชัยแล้ว ท่านพึงเด็ดแม้สายที่ ๒ สายที่ ๓ สายที่ ๔
สายที่ ๕ สายที่ ๖ สายที่ ๗ ดีดแต่คันพิณเปล่าๆ เสียงจะออกจากเงื่อน
สายพิณที่เด็ดทิ้งดังไปทั่วกรุงพาราณสีทั้ง ๑๒ โยชน์ทั้งสิ้น.
ท้าวสักกะตรัสอย่างนี้แล้ว จึงประทานห่วง ๓ ห่วงให้พระโพธิสัตว์
แล้วตรัสว่า
เมื่อเสียงพิณของท่านดังไปทั่วนครแล้ว
ท่านจงโยนห่วงจากจานวนนี้ไปในอากาศห่วงหนึ่ง ลาดับนั้น นางอัปสร ๓๐๐
จักลงมาฟ้ อนราข้างหน้าท่าน ในเวลาที่นางอัปสรเหล่านั้นฟ้ อนรา
ท่านพึงโยนห่วงที่ ๒ ไป ลาดับนั้น นางอัปสรอีก ๓๐๐
จะลงมาฟ้ อนราข้างหน้าพิณของท่าน จากนั้นพึงโยนห่วงที่ ๓ ไป ลาดับนั้น
นางอัปสรอีก ๓๐๐ จะลงมาฟ้ อนราบนลานสนามฟ้ อน แม้เราก็จักมาหาท่าน
ท่านจงไปเถิด อย่ากลัวเลย.
พระโพธิสัตว์ได้กลับไปบ้านในเวลาเช้า
พวกชาวเมืองทามณฑปที่ใกล้ประตูพระราชวัง ตกแต่งที่ประทับสาหรับพระราชา
พระราชาเสด็จลงจากปราสาท แล้วประทับนั่งกลางบัลลังก์ ณ
มณฑปที่ประดับประดาแล้ว สตรีตกแต่งแล้วหนึ่งหมื่น และอามาตย์ พราหมณ์
ชาวแว่นแคว้นเป็นต้น ต่างก็เฝ้ าแหนอยู่พร้อมพรั่ง ชาวนครทั้งปวงชุมนุมกันแล้ว
ต่างจัดตั้งรถซ้อนรถ เตียงซ้อนเตียงที่สนามหลวง
แม้พระโพธิสัตว์อาบน้า ลูบไล้กายแล้ว บริโภคอาหารมีรสเลิศต่างๆ
แล้ว ให้ถือพิณไปนั่งบนอาสนะสาหรับตน.
ท้าวสักกเทวราชมาสถิตอยู่ในอากาศโดยไม่ปรากฏกาย
พระโพธิสัตว์เท่านั้นเห็นท้าวสักกเทวราช. ฝ่ายมุสิละมานั่งบนอาสนะของตน
มหาชนแวดล้อมแล้ว.
แม้ทั้งสองก็ดีดพิณตั้งแต่เริ่มเสมอกัน
มหาชนต่างโห่ร้องยินดีด้วยการบรรเลงของทั้งสองคน.
ท้าวสักกเทวราชสถิตอยู่บนอากาศ
บอกให้ได้ยินแต่พระโพธิสัตว์เท่านั้นว่า ท่านจงเด็ดพิณเสียสายหนึ่ง.
พระโพธิสัตว์เด็ดพิณสายที่ ๑ ทิ้งแล้ว แม้เด็ดสายที่ ๑ ออกแล้ว
เสียงยังดังออกได้จากเงื่อนที่ขาดแล้ว ดุจเสียงพิณเทพคนธรรพ์.
ฝ่ายมุสิละก็เด็ดสายพิณบ้าง แต่เสียงหาดังออกไม่.
อาจารย์ได้เด็ดสายที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗
เมื่อดีดแต่คันพิณเปล่าๆ เสียงยังดังตลบทั่วพระนคร
6
เสียงโห่ร้องและธงโบกสะบัดเป็นจานวนพันได้เป็ นไปแล้ว.
พระโพธิสัตว์ได้โยนห่วงที่ ๑ ไปในอากาศ ในคราวนั้น นางอัปสร
๓๐๐ นางลงมาขับฟ้ อน เมื่อโยนห่วงที่ ๒ และที่ ๓ ไปแล้วนางอัปสรทั้ง ๙๐๐
ได้ลงมาฟ้ อนราตามนัยที่กล่าวแล้ว.
ขณะพระราชาได้ให้อิงคิตสัญญาโครงพระเศียรแก่มหาชน
มหาชนต่างพากันลุกขึ้นคุกคามมุสิละว่า ท่านแข็งข้อกับอาจารย์
พยายามทาอาการตีเสมอ ท่านไม่รู้จักประมาณตน ทุบตีด้วยก้อนหิน
ต้นไม้เป็ นต้น ที่ฉวยได้นั่นเองจนแหลกเหลว ให้ถึงแก่ความตาย
จับเท้าลากไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ.
พระราชามีพระทัยยินดีพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัต
ว์ ดุจฝนลูกเห็บโปรยปรายลงมา ชาวนครก็ให้เหมือนอย่างนั้น.
แม้ท้าวสักกะทรงทาปฏิสันถารกับพระโพธิสัตว์ว่า ท่านบัณฑิต
ข้าพเจ้าจะให้มาตลีเทพบุตรเอารถเทียมม้าอาชาไนยหนึ่งพัน มารับท่านภายหลัง
ท่านพึงขึ้นรถเวชยันต์เทียมม้าหนึ่งพันไปเทวโลกเถิด ตรัสแล้วเสด็จกลับ.
ครั้งนั้น
เทพธิดาทั้งหลายได้ทูลถามท้าวสักกเทวราชผู้เสด็จมาถึงประทับนั่งบนบัณฑุกัมพล
ศิลาอาสน์ว่า ข้าแต่เทวราช พระองค์เสด็จไปไหนมา
ท้าวสักกะตรัสเล่าเหตุนั้นแก่พวกเทพธิดาโดยพิสดาร แล้วพรรณนาศีล
และคุณธรรมของพระโพธิสัตว์. พวกเทพธิดากราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช
แม้พวกหม่อมฉันก็ใคร่จะเห็นท่านอาจารย์ ขอพระองค์จงให้พามาที่นี่เถิด.
ท้าวสักกเทวราชตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรมาตรัสว่า แน่ะพ่อ
นางเทพอัปสรอยากจะเห็นคุตติลคนธรรพ์ ท่านจงไปให้นั่งรถเวชยันต์พามาเถิด.
มาตลีเทพบุตรรับเทวโองการ ไปนาพระโพธิสัตว์มาแล้ว.
ท้าวสักกะทรงชื่นชมกับพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ท่านอาจารย์
พวกเทพกัญญาใคร่จะฟังการบรรเลงของท่าน.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช
พวกข้าพระองค์ชื่อว่าเป็นคนธรรพ์ อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ
เมื่อได้ค่ากานัลจึงจะบรรเลง.
ท้าวสักกะตรัสว่า จงบรรเลงเถิด เราจะให้ค่ากานัลแก่ท่าน.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการค่ากานัลอย่างอื่น
ขอแต่ให้นางเทพธิดาเหล่านี้บอกกัลยาณธรรมของตนแก่ข้าพระองค์เถิด
ถ้าอย่างนี้ ข้าพระองค์จะบรรเลง.
ลาดับนั้น นางเทพธิดาทั้งหลายได้กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า
พวกข้าพเจ้าจักบอกกัลยาณธรรมที่ทาไว้แก่ท่านในภายหลัง
ขอท่านอาจารย์จงทาการบรรเลงก่อนเถิด.
7
พระโพธิสัตว์ทาการบรรเลงแก่เทพยดาทั้งหลายตลอด ๗ วัน
เสียงพิณนั้นเสนาะสนั่น ยิ่งกว่าพิณทิพยคนธรรพ์.
ครั้นครบ ๗ วัน
พระโพธิสัตว์จึงเริ่มถามเทพธิดาทั้งหลายถึงกัลยาณกรรม.
เทพธิดานางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง
ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เกิดมาเป็นนางบริจาริกาของท้าวสักกเ
ทวราช มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็ นบริวาร.
พระโพธิสัตว์จึงถามนางเทพกัญญาผู้ทรงพัสตราภรณ์อันล้าเลิศว่า
ในภพก่อน ท่านได้ทากรรมอะไรไว้. อาการที่พระโพธิสัตว์ถาม
และนางกล่าวตอบมาแล้วใน วิมานวัตถุ นั้นแล.
ความในวิมานวัตถุนั้น พระโพธิสัตว์ถามว่า :-
ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีผิวพรรณงามล้า
ยืนอยู่สว่างไสวไปทั่วทิศ ดุจดาวประจารุ่ง เพราะกรรมอันใด
ท่านจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ เพราะกรรมอันใดอิฐผล จึงสัมฤทธิ์แก่ท่านในที่นี้
ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่ท่าน อันน่าชื่นใจไม่ว่าอย่างไหน
ดูก่อนนางเทพีผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอถามท่าน ครั้งเป็ นมนุษย์
ได้ทาบุญอะไรไว้ เพราะอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง ถึงอย่างนี้
ทั้งผิวพรรณของท่าน ก็สว่างจ้าไปทุกทิศ.
นางเทพธิดานั้นตอบว่า :-
นารีนางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดี นับว่าเป็ นผู้ล้าเลิศในชายหญิงทั้งหลาย
นางนั้นผู้ถวายสิ่งของอันน่ารักอย่างนี้ จึงเลื่อนฐานะได้ทิพยสมบัติอันน่าปลื้มใจ.
เชิญชมวิมานของข้าพเจ้านั่นเถิด ข้าพเจ้าเป็นอัปสรผู้มีผิวพรรณอันน่ารัก
ล้าเลิศกว่านางอัปสรเป็นจานวนพัน.
จงเห็นวิบากของบุญเถิด เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณเช่นนี้
เพราะกรรมนั้นอิฐผลจึงสัมฤทธิ์แก่ข้าพเจ้าในที่นี้
ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่ข้าพเจ้า ล้วนแต่น่ารักไม่ว่าอย่างไหน
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ทั้งผิวพรรณของข้าพเจ้า
จึงสว่างจ้าไปทุกทิศ.
อีกนางหนึ่ง ได้ถวายดอกไม้สาหรับบูชาภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต.
อีกนางหนึ่ง เมื่อเขาบอกว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายของหอม
สาหรับเจิมที่พระเจดีย์เถิด ได้ถวายของหอมแล้ว.
อีกนางหนึ่งได้ถวายผลไม้มีรสอร่อย.
อีกนางหนึ่งได้ถวายอาหารรสเยี่ยม.
นางหนึ่งได้ถวายของสาหรับเจิมที่เจดีย์ของพระกัสสปทศพล.
นางหนึ่งได้ฟังธรรมในสานักภิกษุ ภิกษุณี ผู้เดินทางและพักที่หมู่บ้าน.
8
นางหนึ่งยืนอยู่ในน้าได้ถวายน้าแก่ภิกษุผู้ฉันจังหันในเรือ.
นางหนึ่ง เมื่ออยู่ในครอบครัวไม่มักโกรธ
ทาการปรนนิบัติพ่อผัวและแม่ผัว.
นางหนึ่งต้องแบ่งส่วนที่ตนได้ออกแจกจ่ายเสียก่อน จึงบริโภค
ทั้งเป็นผู้มีศีล.
นางหนึ่งเป็ นทาสี อยู่บ้านผู้อื่น เป็นคนไม่โกรธ ไม่ถือตัว
แบ่งส่วนที่ตนได้ออกแจกจ่าย
จึงได้มาเกิดเป็นนางบริจาริกาของท้าวสักกเทวราช.
ความทั้งหมดนี้ อยู่ใน คุตติลวิมานวัตถุ
นางเทพธิดา ๓๗ นางได้ทากรรมใดๆ
ไว้จึงได้มาเกิดในเทวโลกนั้นทั้งหมด พระโพธิสัตว์ซักถาม ได้กล่าวคาถาทั้งหลาย
แสดงกรรมที่ตนได้ทาไว้ๆ.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังคานั้น แล้วกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพเจ้าหนอ
ข้าพเจ้าได้ดีแล้วหนอที่มาที่นี้ได้ฟังสมบัติที่ได้มาด้วยกรรม แม้มีประมาณน้อย
คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป ข้าพเจ้ากลับไปมนุษยโลกแล้ว
จักทาแต่กุศลกรรมมีทานเป็นต้นเท่านั้น ได้เปล่งอุทาน ดังนี้ว่า :-
วันนี้ นับว่าเรามาดีแล้วหนอ เป็ นฤกษ์งามยามดี
ที่ได้มาเห็นนางเทพอัปสรทั้งหลาย ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่
เราได้ฟังคาของนางเทพธิดานี้ แล้วจักทากุศลให้มาก ด้วยทาน การให้
สมจริยา ประพฤติชอบ สัญญม การสารวม กับทมะ การฝึกหัดตน.
อีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าจักต้องไปเทวโลกนั้นให้ได้
เป็ นที่ซึ่งไปแล้วไม่เสียใจ.
ครั้นครบ ๗ วัน
ท้าวสักกเทวราชทรงบัญชาให้มาตลีเทพสารถีพาพระโพธิสัตว์ให้นั่งรถไปส่งกรุง
พาราณสีดังเดิม. พระโพธิสัตว์ ครั้นกลับมากรุงพาราณสีแล้ว
ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ตนได้เห็นแล้วในเทวโลกให้พวกมนุษย์ฟัง.
ตั้งแต่นั้น พวกมนุษย์เหล่านั้นก็ตั้งหน้าอุตสาหะทาบุญกัน.
พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.
มุสิละ ในครั้งนั้นได้เป็น เทวทัต ในครั้งนี้
ท้าวสักกะได้เป็น อนุรุทธะ
พระราชาได้เป็น อานนท์
ส่วนคุตติลคนธรรพ์ คือ เราตถาคต นี้แล.
จบ อรรถกถาคุตติลชาดกที่ ๓
-----------------------------------------------------

More Related Content

More from maruay songtanin

537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
518 ปัณฑรกนาคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 

243 คุตติลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 คุตติลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๓. คุตติลชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๒๔๓) ว่าด้วยคุตติลโพธิสัตว์ (นักขับร้องโพธิสัตว์กล่าวกับท้าวสักกะว่า) [๑๘๖] ข้าพระองค์ได้สอนศิษย์ให้เรียนการดีดพิณ ๗ สาย มีเสียงอันไพเราะ น่าจับจิตจับใจ เขากลับมาท้าทายข้าพระองค์แข่งขันดีดพิณสู้กันบนเวที ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็ นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด (ท้าวสักกะสดับคาของพระโพธิสัตว์แล้ว จึงตรัสว่า) [๑๘๗] เพื่อนเอ๋ย เราจะเป็ นที่พึ่ง เราเป็ นคนบูชาอาจารย์ ศิษย์จักชนะท่านไม่ได้ ส่วนท่านจะชนะศิษย์ นะอาจารย์ คุตติลชาดกที่ ๓ จบ ------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา คุตติลชาดก ว่าด้วย ลูกศิษย์คิดล้างครู พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้. ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระเทวทัตว่า ดูก่อนพระเทวทัต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เล่าเรียนพระไตรปิฎก ยังฌาน ๔ ให้เกิดขึ้น การที่จะเป็นศัตรูต่อผู้ที่ชื่อว่าเป็นอาจารย์ ไม่สมควรเลย. พระเทวทัตกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระสมณโคดมเป็นอาจารย์ของเราหรือ พระไตรปิฎกเราเรียนด้วยกาลังของตนเองทั้งนั้น มิใช่หรือ ฌานทั้ง ๔ เราก็ทาให้เกิดด้วยกาลังของตนทั้งนั้น บอกคืนอาจารย์แล้ว ฉะนี้. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์แล้ว กลับเป็ นศัตรูต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ถึงความพินาศแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต มิใช่บอกคืนอาจารย์เป็นศัตรูต่อเราแล้วถึงความพินาศในบัดนี้เท่านั้น
  • 2. 2 แม้เมื่อก่อนก็ถึงความมหาวินาศแล้วเหมือนกัน. ทรงนาเรื่องอดีตมาตรัสเล่า. ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลนักขับร้อง มารดาบิดาตั้งชื่อว่า คุตติลกุมาร. กุมารนั้น ครั้นเจริญวัย สาเร็จศิลปะการขับร้อง ได้เป็นนักขับร้องชั้นยอดในชมพูทวีปทั้งสิ้น ชื่อว่า คุตติลคนธรรพ์. เขาไม่มีภรรยา เลี้ยงมารดาบิดาผู้ตาบอด. ในกาลนั้น พ่อค้าชาวกรุงพาราณสีไปค้าขายยังเมืองอุชเชนี เมื่อเขาป่าวร้องมีการมหรสพ จึงเรี่ยไรกันหาดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ตลอดจนของเคี้ยวของบริโภคเป็นต้น เป็ นอันมากประชุมกัน ณ สนามกีฬา ให้ค่าจ้างแล้วกล่าวว่า พวกท่านจงนานักร้องมาคนหนึ่งเถิด. สมัยนั้น ในกรุงอุชเชนีมีนักขับร้องชั้นเยี่ยมชื่อ มุสิละ. พวกพ่อค้าจึงหาเขามาให้แสดงการ ขับร้องให้ตนชม. มุสิละ เมื่อจะดีดพิณได้ขึ้นสายเสียงเอกดีดแล้ว การดีดสีของเขานั้นได้ปรากฏ ดุจเสียงเกาเสื่อราแพนแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น ผู้มีความชินหูในการดีดสีของคุตติลคนธรรพ์ จึงมิได้แสดงอาการชอบใจแม้สักคนเดียว. มุสิละ เมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นไม่แสดงอาการพอใจ คิดว่าเราเห็นจะดีดพิณขันตึงเกินไป จึงลดลงปานกลางดีดด้วยเสียงปานกลาง. พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็คงเฉยอยู่ในเสียงพิณนั้น. ลาดับนั้น เขาคิดว่า พวกพ่อค้าเหล่านี้คงไม่รู้จักอะไร จึงแกล้งทาเป็นไม่รู้เรื่องเสียเอง ดีดพิณหย่อนๆ พวกพ่อค้าก็มิได้ว่าอะไร. มุสิละจึงกล่าวกะพ่อค้านั้นว่า ดูก่อนพ่อค้าผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าดีดพิณท่านไม่พอใจหรือ. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ก็ท่านดีดพิณอะไร พวกเรามิได้เข้าใจว่า ท่านขึ้นเสียงพิณดีดสี. มุสิละถามว่า ก็ท่านรู้จักอาจารย์ที่เก่งกว่าข้าพเจ้าหรือ หรือไม่รู้สึกยินดีเพราะตนไม่รู้จักฟัง. พวกพ่อค้ากล่าวว่า เราเคยได้ฟังเสียงพิณคุตติลคนธรรพ์ที่กรุงพาราณสี เสียงพิณของท่านจึงฟังคล้ายเสียงสตรีกล่อมเด็ก. มุสิละกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรับค่าจ้างที่ท่านให้คืนไปเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการค่าจ้างนั้น ก็แต่ว่า เมื่อท่านจะกลับไปกรุงพาราณสี ช่วยพาข้าพเจ้าไปด้วย. พวกพ่อค้าเหล่านั้นรับว่าดีละ.
  • 3. 3 ในเวลากลับได้พาเขาไปกรุงพาราณสี บอกมุสิละว่า นี่คือที่อยู่ของคุตติลคนธรรพ์ แล้วเลยไปที่อยู่ของตน. มุสิละเข้าไปบ้านพระโพธิสัตว์ เห็นพิณคู่มือของพระโพธิสัตว์ จึงหยิบมาดีด. ลาดับนั้น มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์ แลไม่เห็นมุสิละเพราะตาบอด เข้าใจว่าเห็นจะหนูกัดพิณ จึงกล่าวว่า หนูกัดพิณ. มุสิละจึงวางพิณ ไหว้มารดาบิดาพระโพธิสัตว์. เมื่อท่านถามว่า มาแต่ไหน จึงกล่าวว่า มาจากเมืองอุชเชนี เพื่อขอเรียนศิลปะในสานักของท่านอาจารย์. เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์รับ ดีละ. แล้วจึงถามว่า ท่านอาจารย์อยู่ไหน. ได้ฟังว่า ไม่อยู่จ้ะ พ่อคุณ วันนี้จะกลับมา จึงนั่งอยู่ที่นั้นเอง. ครั้นพระโพธิสัตว์กลับมาได้รับปฏิสันถารแล้ว จึงบอกเหตุที่ตนมา. พระโพธิสัตว์รู้องค์วิชาทานายลักษณะคน จึงรู้ว่า มุสิละเป็ นอสัตบุรุษ ได้บอกปัดว่า ไปเถิดพ่อ ศิลปะไม่สาเร็จแก่ท่านดอก. มุสิละจับเท้ามารดาบิดาพระโพธิสัตว์ ลูบไล้ให้สงสารตน แล้วอ้อนวอนว่า ขอท่านจงช่วยให้พระโพธิสัตว์ถ่ายทอดศิลปะให้ข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์ถูกมารดาบิดาช่วยพูดบ่อยๆ ก็ไม่อาจขัดท่านได้ จึงสอนศิลปะให้. มุสิละไปราชนิเวศน์กับพระโพธิสัตว์. พระราชาทอดพระเนตรเห็นเขา ตรัสถามว่า นั่นใครน่ะ ท่านอาจารย์. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะ นี่คืออันเตวาสิกของข้าพระองค์. เขาจึงได้คุ้นเคยกับพระราชาโดยลาดับ พระโพธิสัตว์มิได้ปิดบังอาพรางวิชา ให้ศึกษาตามแบบที่ตนรู้มาจนจบ แล้วกล่าวว่า แน่ะพ่อ ท่านเรียนศิลปะจบแล้ว. มุสิละคิดว่า ศิลปะเราก็ช่าชองแล้ว ทั้งกรุงพาราณสีนี้ก็เป็นนครเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ถ้าอาจารย์แก่ เราควรจะอยู่ในกรุงพาราณสีนี้แหละ. มุสิละจึงบอกอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าจักรับราชการ. อาจารย์กล่าวว่า ดีแล้ว เราจะกราบทูลพระราชา จึงพาไปเฝ้ าพระราชา กราบทูลว่า อันเตวาสิกของข้าพระองค์ปรารถนาจะรับราชการสนองพระคุณพระองค์ ขอพระองค์จงพิจารณาเบี้ยหวัดให้เขา เมื่อพระราชาตรัสว่า เขาจะได้กึ่งหนึ่งจากเบี้ยหวัดที่ท่านได้ จึงบอกเรื่องนั้นแก่มุสิละ. มุสิละกล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าได้รับเบี้ยหวัดเท่ากับท่าน จึงจะรับราชการ เมื่อไม่ได้เท่าจะไม่ขอรับ. พระโพธิสัตว์ถามว่า เพราะเหตุไร. มุสิละตอบว่า ข้าพเจ้ารู้ศิลปะที่ท่านรู้หมด มิใช่หรือ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถูกแล้ว ท่านรู้ทั้งหมด. มุสิละกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร พระราชาจึงพระราชทานแก่ข้าพเจ้ากึ่งหนึ่งเล่า. พระโพธิสัตว์จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า ถ้าเขาสามารถแสดงศิลปะทัดเทียมท่าน
  • 4. 4 ก็จะได้เท่ากัน. พระโพธิสัตว์ฟังพระดารัสดังนั้น จึงบอกแก่มุสิละ เมื่อเขากล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักแสดง จึงกราบทูลแด่พระราชา เมื่อพระองค์ตรัสว่า ดีแล้ว จงแสดงเถิด จะแสดงแข่งขันกันวันไหนเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอจงแข่งขันกันในวันที่ ๗ นับแต่วันนี้. พระราชารับสั่งหาตัวมุสิละ มาตรัสถามว่า ได้ยินว่า ท่านจะทาการแข่งขันกับอาจารย์หรือ. กราบทูลว่า ขอเดชะ จริง พระเจ้าข้า. แม้ทรงห้ามว่า อันการแข่งดีกับอาจารย์ ไม่สมควรเลย. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ช่างเถิด ขอให้ข้าพระองค์แข่งขันกับอาจารย์ในวันที่เจ็ดเถิด จักได้ทราบว่าคนไหนจักชนะ. พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว รับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องว่า ในวันที่เจ็ดนับแต่วันนี้ อาจารย์กับศิษย์จะแสดงศิลปะแข่งขันกันที่ประตูวัง ชาวเมืองจงมาประชุมดูศิลปะกันเถิด. พระโพธิสัตว์คิดว่า มุสิละผู้นี้ยังหนุ่มแน่นมีกาลังแข็งแรง เราแก่ตัวถอยกาลังแล้ว. ธรรมดาว่า กิริยาของคนแก่ย่อมไม่กระฉับกระเฉง อนึ่ง ธรรมดาว่า ลูกศิษย์แพ้ก็ไม่แปลกอะไร แต่เมื่อลูกศิษย์ชนะ เข้าไปตายเสียในป่ายังดีกว่า ความละอายที่พึงจะได้รับ. พระโพธิสัตว์จึงเข้าไปป่า แล้วก็กลับเพราะกลัวตาย แล้วกลับไปอีกกลัวอาย. เมื่อพระโพธิสัตว์กลับไปกลับมาดังนี้จนล่วงไปได้ ๖ วัน ต้นหญ้าตายราบเกิดเป็นรอยทางเดินเท้าแล้ว. ขณะนั้น พิภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะทรงเล็งแลดูก็รู้เหตุการณ์นั้น ทรงดาริว่า คุตติลคนธรรพ์ได้รับความทุกข์ใหญ่หลวงในป่า เพราะกลัวอันเตวาสิก เราควรจะเป็ นที่พึ่งแก่เขา จึงรีบเสด็จไปยืนอยู่ข้างหน้า ตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ ท่านเข้าป่าไปทาไม. เมื่อพระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านเป็นใคร ตรัสว่า เราเป็นท้าวสักกะ. ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงทูลท้าวสักกะว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า ข้าพระองค์ไปป่า ก็เพราะกลัวแพ้อันเตวาสิก จึงกล่าวคาถาแรกว่า :- ข้าพระองค์ได้สอนให้ศิษย์ชื่อมุสิละ เรียนวิชาดีดพิณ ๗ สาย มีเสียงไพเราะจับใจคนฟัง เขากลับมาขันดีดพิณสู้ข้าพระองค์ ณ ท่ามกลางสนาม ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็ นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด. ท้าวสักกะสดับคาของพระโพธิสัตว์ แล้วตรัสว่า อย่ากลัวเลย เราจะช่วยต่อต้านป้ องกันท่านเอง ได้กล่าวคาถา ๒ ว่า :- ดูก่อนสหาย ฉันจะเป็ นที่พึ่งของท่าน ฉันเป็ นผู้บูชาอาจารย์ ศิษย์จักไม่ชนะท่าน ท่านจักชนะศิษย์.
  • 5. 5 ท้าวสักกะตรัสว่า ก็และเมื่อท่านจะดีดพิณ ท่านจงเด็ดเสียสายหนึ่ง ดีด ๖ สาย เสียงพิณของเจ้าจักเหมือนเดิม แม้มุสิละก็จะเด็ดสายพิณ แต่เสียงพิณของเขาจักไม่เหมือนเดิม ขณะนั้น เขาจะถึงความปราชัย ครั้นทราบว่า เขาถึงความปราชัยแล้ว ท่านพึงเด็ดแม้สายที่ ๒ สายที่ ๓ สายที่ ๔ สายที่ ๕ สายที่ ๖ สายที่ ๗ ดีดแต่คันพิณเปล่าๆ เสียงจะออกจากเงื่อน สายพิณที่เด็ดทิ้งดังไปทั่วกรุงพาราณสีทั้ง ๑๒ โยชน์ทั้งสิ้น. ท้าวสักกะตรัสอย่างนี้แล้ว จึงประทานห่วง ๓ ห่วงให้พระโพธิสัตว์ แล้วตรัสว่า เมื่อเสียงพิณของท่านดังไปทั่วนครแล้ว ท่านจงโยนห่วงจากจานวนนี้ไปในอากาศห่วงหนึ่ง ลาดับนั้น นางอัปสร ๓๐๐ จักลงมาฟ้ อนราข้างหน้าท่าน ในเวลาที่นางอัปสรเหล่านั้นฟ้ อนรา ท่านพึงโยนห่วงที่ ๒ ไป ลาดับนั้น นางอัปสรอีก ๓๐๐ จะลงมาฟ้ อนราข้างหน้าพิณของท่าน จากนั้นพึงโยนห่วงที่ ๓ ไป ลาดับนั้น นางอัปสรอีก ๓๐๐ จะลงมาฟ้ อนราบนลานสนามฟ้ อน แม้เราก็จักมาหาท่าน ท่านจงไปเถิด อย่ากลัวเลย. พระโพธิสัตว์ได้กลับไปบ้านในเวลาเช้า พวกชาวเมืองทามณฑปที่ใกล้ประตูพระราชวัง ตกแต่งที่ประทับสาหรับพระราชา พระราชาเสด็จลงจากปราสาท แล้วประทับนั่งกลางบัลลังก์ ณ มณฑปที่ประดับประดาแล้ว สตรีตกแต่งแล้วหนึ่งหมื่น และอามาตย์ พราหมณ์ ชาวแว่นแคว้นเป็นต้น ต่างก็เฝ้ าแหนอยู่พร้อมพรั่ง ชาวนครทั้งปวงชุมนุมกันแล้ว ต่างจัดตั้งรถซ้อนรถ เตียงซ้อนเตียงที่สนามหลวง แม้พระโพธิสัตว์อาบน้า ลูบไล้กายแล้ว บริโภคอาหารมีรสเลิศต่างๆ แล้ว ให้ถือพิณไปนั่งบนอาสนะสาหรับตน. ท้าวสักกเทวราชมาสถิตอยู่ในอากาศโดยไม่ปรากฏกาย พระโพธิสัตว์เท่านั้นเห็นท้าวสักกเทวราช. ฝ่ายมุสิละมานั่งบนอาสนะของตน มหาชนแวดล้อมแล้ว. แม้ทั้งสองก็ดีดพิณตั้งแต่เริ่มเสมอกัน มหาชนต่างโห่ร้องยินดีด้วยการบรรเลงของทั้งสองคน. ท้าวสักกเทวราชสถิตอยู่บนอากาศ บอกให้ได้ยินแต่พระโพธิสัตว์เท่านั้นว่า ท่านจงเด็ดพิณเสียสายหนึ่ง. พระโพธิสัตว์เด็ดพิณสายที่ ๑ ทิ้งแล้ว แม้เด็ดสายที่ ๑ ออกแล้ว เสียงยังดังออกได้จากเงื่อนที่ขาดแล้ว ดุจเสียงพิณเทพคนธรรพ์. ฝ่ายมุสิละก็เด็ดสายพิณบ้าง แต่เสียงหาดังออกไม่. อาจารย์ได้เด็ดสายที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ เมื่อดีดแต่คันพิณเปล่าๆ เสียงยังดังตลบทั่วพระนคร
  • 6. 6 เสียงโห่ร้องและธงโบกสะบัดเป็นจานวนพันได้เป็ นไปแล้ว. พระโพธิสัตว์ได้โยนห่วงที่ ๑ ไปในอากาศ ในคราวนั้น นางอัปสร ๓๐๐ นางลงมาขับฟ้ อน เมื่อโยนห่วงที่ ๒ และที่ ๓ ไปแล้วนางอัปสรทั้ง ๙๐๐ ได้ลงมาฟ้ อนราตามนัยที่กล่าวแล้ว. ขณะพระราชาได้ให้อิงคิตสัญญาโครงพระเศียรแก่มหาชน มหาชนต่างพากันลุกขึ้นคุกคามมุสิละว่า ท่านแข็งข้อกับอาจารย์ พยายามทาอาการตีเสมอ ท่านไม่รู้จักประมาณตน ทุบตีด้วยก้อนหิน ต้นไม้เป็ นต้น ที่ฉวยได้นั่นเองจนแหลกเหลว ให้ถึงแก่ความตาย จับเท้าลากไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ. พระราชามีพระทัยยินดีพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัต ว์ ดุจฝนลูกเห็บโปรยปรายลงมา ชาวนครก็ให้เหมือนอย่างนั้น. แม้ท้าวสักกะทรงทาปฏิสันถารกับพระโพธิสัตว์ว่า ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าจะให้มาตลีเทพบุตรเอารถเทียมม้าอาชาไนยหนึ่งพัน มารับท่านภายหลัง ท่านพึงขึ้นรถเวชยันต์เทียมม้าหนึ่งพันไปเทวโลกเถิด ตรัสแล้วเสด็จกลับ. ครั้งนั้น เทพธิดาทั้งหลายได้ทูลถามท้าวสักกเทวราชผู้เสด็จมาถึงประทับนั่งบนบัณฑุกัมพล ศิลาอาสน์ว่า ข้าแต่เทวราช พระองค์เสด็จไปไหนมา ท้าวสักกะตรัสเล่าเหตุนั้นแก่พวกเทพธิดาโดยพิสดาร แล้วพรรณนาศีล และคุณธรรมของพระโพธิสัตว์. พวกเทพธิดากราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช แม้พวกหม่อมฉันก็ใคร่จะเห็นท่านอาจารย์ ขอพระองค์จงให้พามาที่นี่เถิด. ท้าวสักกเทวราชตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรมาตรัสว่า แน่ะพ่อ นางเทพอัปสรอยากจะเห็นคุตติลคนธรรพ์ ท่านจงไปให้นั่งรถเวชยันต์พามาเถิด. มาตลีเทพบุตรรับเทวโองการ ไปนาพระโพธิสัตว์มาแล้ว. ท้าวสักกะทรงชื่นชมกับพระโพธิสัตว์ ตรัสว่า ท่านอาจารย์ พวกเทพกัญญาใคร่จะฟังการบรรเลงของท่าน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช พวกข้าพระองค์ชื่อว่าเป็นคนธรรพ์ อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ เมื่อได้ค่ากานัลจึงจะบรรเลง. ท้าวสักกะตรัสว่า จงบรรเลงเถิด เราจะให้ค่ากานัลแก่ท่าน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการค่ากานัลอย่างอื่น ขอแต่ให้นางเทพธิดาเหล่านี้บอกกัลยาณธรรมของตนแก่ข้าพระองค์เถิด ถ้าอย่างนี้ ข้าพระองค์จะบรรเลง. ลาดับนั้น นางเทพธิดาทั้งหลายได้กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า พวกข้าพเจ้าจักบอกกัลยาณธรรมที่ทาไว้แก่ท่านในภายหลัง ขอท่านอาจารย์จงทาการบรรเลงก่อนเถิด.
  • 7. 7 พระโพธิสัตว์ทาการบรรเลงแก่เทพยดาทั้งหลายตลอด ๗ วัน เสียงพิณนั้นเสนาะสนั่น ยิ่งกว่าพิณทิพยคนธรรพ์. ครั้นครบ ๗ วัน พระโพธิสัตว์จึงเริ่มถามเทพธิดาทั้งหลายถึงกัลยาณกรรม. เทพธิดานางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เกิดมาเป็นนางบริจาริกาของท้าวสักกเ ทวราช มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็ นบริวาร. พระโพธิสัตว์จึงถามนางเทพกัญญาผู้ทรงพัสตราภรณ์อันล้าเลิศว่า ในภพก่อน ท่านได้ทากรรมอะไรไว้. อาการที่พระโพธิสัตว์ถาม และนางกล่าวตอบมาแล้วใน วิมานวัตถุ นั้นแล. ความในวิมานวัตถุนั้น พระโพธิสัตว์ถามว่า :- ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีผิวพรรณงามล้า ยืนอยู่สว่างไสวไปทั่วทิศ ดุจดาวประจารุ่ง เพราะกรรมอันใด ท่านจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ เพราะกรรมอันใดอิฐผล จึงสัมฤทธิ์แก่ท่านในที่นี้ ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่ท่าน อันน่าชื่นใจไม่ว่าอย่างไหน ดูก่อนนางเทพีผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอถามท่าน ครั้งเป็ นมนุษย์ ได้ทาบุญอะไรไว้ เพราะอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง ถึงอย่างนี้ ทั้งผิวพรรณของท่าน ก็สว่างจ้าไปทุกทิศ. นางเทพธิดานั้นตอบว่า :- นารีนางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดี นับว่าเป็ นผู้ล้าเลิศในชายหญิงทั้งหลาย นางนั้นผู้ถวายสิ่งของอันน่ารักอย่างนี้ จึงเลื่อนฐานะได้ทิพยสมบัติอันน่าปลื้มใจ. เชิญชมวิมานของข้าพเจ้านั่นเถิด ข้าพเจ้าเป็นอัปสรผู้มีผิวพรรณอันน่ารัก ล้าเลิศกว่านางอัปสรเป็นจานวนพัน. จงเห็นวิบากของบุญเถิด เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ เพราะกรรมนั้นอิฐผลจึงสัมฤทธิ์แก่ข้าพเจ้าในที่นี้ ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่ข้าพเจ้า ล้วนแต่น่ารักไม่ว่าอย่างไหน เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ทั้งผิวพรรณของข้าพเจ้า จึงสว่างจ้าไปทุกทิศ. อีกนางหนึ่ง ได้ถวายดอกไม้สาหรับบูชาภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต. อีกนางหนึ่ง เมื่อเขาบอกว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายของหอม สาหรับเจิมที่พระเจดีย์เถิด ได้ถวายของหอมแล้ว. อีกนางหนึ่งได้ถวายผลไม้มีรสอร่อย. อีกนางหนึ่งได้ถวายอาหารรสเยี่ยม. นางหนึ่งได้ถวายของสาหรับเจิมที่เจดีย์ของพระกัสสปทศพล. นางหนึ่งได้ฟังธรรมในสานักภิกษุ ภิกษุณี ผู้เดินทางและพักที่หมู่บ้าน.
  • 8. 8 นางหนึ่งยืนอยู่ในน้าได้ถวายน้าแก่ภิกษุผู้ฉันจังหันในเรือ. นางหนึ่ง เมื่ออยู่ในครอบครัวไม่มักโกรธ ทาการปรนนิบัติพ่อผัวและแม่ผัว. นางหนึ่งต้องแบ่งส่วนที่ตนได้ออกแจกจ่ายเสียก่อน จึงบริโภค ทั้งเป็นผู้มีศีล. นางหนึ่งเป็ นทาสี อยู่บ้านผู้อื่น เป็นคนไม่โกรธ ไม่ถือตัว แบ่งส่วนที่ตนได้ออกแจกจ่าย จึงได้มาเกิดเป็นนางบริจาริกาของท้าวสักกเทวราช. ความทั้งหมดนี้ อยู่ใน คุตติลวิมานวัตถุ นางเทพธิดา ๓๗ นางได้ทากรรมใดๆ ไว้จึงได้มาเกิดในเทวโลกนั้นทั้งหมด พระโพธิสัตว์ซักถาม ได้กล่าวคาถาทั้งหลาย แสดงกรรมที่ตนได้ทาไว้ๆ. พระโพธิสัตว์ได้ฟังคานั้น แล้วกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพเจ้าหนอ ข้าพเจ้าได้ดีแล้วหนอที่มาที่นี้ได้ฟังสมบัติที่ได้มาด้วยกรรม แม้มีประมาณน้อย คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป ข้าพเจ้ากลับไปมนุษยโลกแล้ว จักทาแต่กุศลกรรมมีทานเป็นต้นเท่านั้น ได้เปล่งอุทาน ดังนี้ว่า :- วันนี้ นับว่าเรามาดีแล้วหนอ เป็ นฤกษ์งามยามดี ที่ได้มาเห็นนางเทพอัปสรทั้งหลาย ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ เราได้ฟังคาของนางเทพธิดานี้ แล้วจักทากุศลให้มาก ด้วยทาน การให้ สมจริยา ประพฤติชอบ สัญญม การสารวม กับทมะ การฝึกหัดตน. อีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าจักต้องไปเทวโลกนั้นให้ได้ เป็ นที่ซึ่งไปแล้วไม่เสียใจ. ครั้นครบ ๗ วัน ท้าวสักกเทวราชทรงบัญชาให้มาตลีเทพสารถีพาพระโพธิสัตว์ให้นั่งรถไปส่งกรุง พาราณสีดังเดิม. พระโพธิสัตว์ ครั้นกลับมากรุงพาราณสีแล้ว ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ตนได้เห็นแล้วในเทวโลกให้พวกมนุษย์ฟัง. ตั้งแต่นั้น พวกมนุษย์เหล่านั้นก็ตั้งหน้าอุตสาหะทาบุญกัน. พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. มุสิละ ในครั้งนั้นได้เป็น เทวทัต ในครั้งนี้ ท้าวสักกะได้เป็น อนุรุทธะ พระราชาได้เป็น อานนท์ ส่วนคุตติลคนธรรพ์ คือ เราตถาคต นี้แล. จบ อรรถกถาคุตติลชาดกที่ ๓ -----------------------------------------------------