SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5
ปีการศึกษา 2562
ชื่อโครงงาน โรคเครียด (Acute Stress Disorder)
ชื่อผู้ทำโครงงาน
ชื่อ นายถิรภูมิ ถีระพันธ์ เลขที่ 7 ชั้น ม.6 ห้อง 8
ชื่อ นางสาวดวงเดือน กำแหงหาญ เลขที่ 30 ชั้น ม.6 ห้อง 8
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 62
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
โรคเครียด
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
Acute Stress Disorder
ประเภทโครงงาน
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
ชื่อผู้ทำโครงงาน
นายถิรภูมิ ถีระพันธ์ และ นางสาวดวงเดือน กำแหงหาญ
ชื่อที่ปรึกษา
ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนกันยายน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ จนเกิดเป็นปัญหาที่ต้องเผชิญ อาทิเช่น
ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านเศรษฐกิจในครอบครัว ปัญหาด้านร่างกาย และปัญหาด้านสังคม เป็นต้น ล้วนส่งผล
ต่อความคิดและจิตใจ และก่อให้เกิดภาวะเครียด ซึ่งภาวะเครียดนั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย โดยหากเกิดภาวะเครียด
ในระดับที่พอดีก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น แต่หากมีภาวะเครียดมากเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดความ
ผิดปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เช่น มีอาการปวดศีรษะ ท้องเสีย นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ป่วยง่าย
มีความวิตกกังวล คิดมาก ฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ เงียบขรึม เก็บตัว หรืออาจถึงขั้นเกิดภาวะเศร้าซึม และ
นำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ภาวะความเครียดเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเสียมากมาย
ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงสนใจในการศึกษาในเรื่องภาวะความเครียด เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ ปัจจัย และวิธีการป้องกัน
ซึ่งสามารถนำข้อมูลจากการศึกษานี้ไปต่อยอดในงานด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย และนำไปใช้ในการหาแนวทาง
ในการช่วยเหลือ และแก้ปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงในโรคนี้ต่อไป
3
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาวะความเครียด
2. เพื่อศึกษาสาเหตุ และวิธีการป้องกันเกี่ยวกับภาวะความเครียด
ขอบเขตโครงงาน
ศึกษาเกี่ยวกับที่มาของโรคความเครียด ลักษณะอาการ ผลกระทบตลอดจนวิธีการรักษา และการจัดการ
ป้องกันจากความเครียด โดยศึกษาหาข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ต และหนังสือ
หลักการและทฤษฎี
โรคเครียด (Acute Stress Disorder) คือ ภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะ
ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกาย และจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการ
เครียดประมาณหนึ่งเดือน หากเกิดอาการนานกว่านั้นจะกลายเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ
(Posttraumatic Stress Disorder: PTSD)
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ร่างกาย
ตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight) ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิต
สูงขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดจะรู้สึกกลัว หวาดระแวง หรือตื่นตระหนกหลังเผชิญสถานการณ์อันตราย ทั้งนี้ อาจรู้สึก
วิตกกังวล ว้าวุ่น และฟุ้งซ่าน หรือฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม มนุษย์เราจะประสบ
ภาวะเครียดจากสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ สถานการณ์บางอย่างอาจทำให้คนหนึ่งเกิดความเครียดได้
ในขณะที่อีกคนอาจรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ และไม่รู้สึกเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
สาเหตุโรคเครียด
: โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรงมาก โดยเหตุการณ์นั้นทำให้
รู้สึกกลัว ตื่นตระหนก หรือรู้สึกสะเทือนขวัญ เช่น การประสบอุบัติเหตุจนเกือบเสียชีวิต การได้รับบาดเจ็บอย่าง
รุนแรง รวมทั้งทราบข่าวการเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ หรือการป่วยร้ายแรงของคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท ทั้งนี้
เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโรคเครียดซึ่งพบได้ทั่วไปนั้น มักเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการออกรบของทหาร ถูกล่วงละเมิดทาง
เพศ ถูกโจรปล้น ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือทราบข่าวร้ายอย่างกะทันหันโดยไม่ทันตั้งตัว นอกจากนี้
โรคเครียดยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย โดยผู้ที่เสียงป่วยเป็นโรคเครียดได้สูง มักมีลักษณะ ดังนี้
- เคยเผชิญเหตุการณ์อันตรายอย่างรุนแรงในอดีต
- มีประวัติป่วยเป็นโรคเครียดหรือภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ
- มีประวัติประสบปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง
- มีประวัติว่าเกิดอาการของโรคดิสโซสิเอทีฟเมื่อเผชิญเหตุการณ์อันตราย เช่น หลงลืมตัวเองหรือสิ่งต่าง ๆ
อารมณ์แปรปรวนกะทันหัน วิตกกังวลหรือรู้สึกซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ เป็นต้น
ชนิดของความเครียด
1. Acute Stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน
โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ
ตัวอย่างความเครียด เช่น เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ หิวข้าว เป็นต้น
4
2. Chronic Stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนอง
หรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่าง
ความเครียดเรื้อรัง เช่น ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเครียดของ
แม่บ้าน และความเหงา
การวินิจฉัยโรคเครียด
: ผู้ที่ผ่านการเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรง อาจเกิดอาการของโรคเครียดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดอาการดังกล่าว
ควรไปพบแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยสาเหตุ โดยแพทย์จะ
สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้พบหรือได้รับรู้ รวมทั้งสอบถามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย ทั้งนี้
เมื่อได้รับการตรวจแล้ว แพทย์อาจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการป่วยว่า เกิดจากสาเหตุอื่นหรือไม่ เช่น การใช้สารเสพ
ติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางอย่าง ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ หากอาการที่ผู้ป่วยเป็นไม่ได้เกิด
จากสาเหตุอื่น ก็แสดงว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคเครียด
การรักษาโรคเครียด
: วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด
ผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียดอย่างไรก็
ตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- ปรึกษาแพทย์ การปรึกษาจิตแพทย์ถือเป็นวิธีรักษาโรคเครียดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยโรค
เครียดที่เกิดอาการรุนแรงและเป็นมานาน โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิด
ความเครียด รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้
- บำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดความวิตกกังวลและอาการไม่ดีขึ้น จะได้รับการรักษา
ด้วยวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) การบำบัดความคิดและ
พฤติกรรมเป็นวิธีจิตบำบัดที่มีแนวคิดว่าความคิดบางอย่างของผู้ป่วยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรค
เครียดอาจได้รับการบำบัดระยะสั้น โดยแพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของผู้ป่วย รวมทั้งช่วย
ให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ให้มองทุกอย่าง
ได้ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง
- ใช้ยารักษา แพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคเครียดให้แก่ผู้ป่วยบางราย โดยผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาด้วยยาเป็น
ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรืออาการซึมเศร้า โดยยาที่ใช้
รักษาโรคเครียด ได้แก่
o เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blocker) ยานี้จะช่วยบรรเทาอาการป่วยทางร่างกายซึ่งเกิดจากการหลั่ง
ฮอร์โมนความเครียดออกมา เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยรับประทานเมื่อเกิดอาการป่วย เนื่อง
จากเบต้า บล็อกเกอร์ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาระงับประสาท จึงไม่ก่อให้เกิดอาการง่วง ส่งผลต่อการ
ทำงานต่าง ๆ หรือทำให้ผู้ป่วยเสพติด
o ไดอะซีแพม (Diazepam) ยาตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiapines) ซึ่งเป็นยา
ระงับประสาท แพทย์ไม่นิยมนำมาใช้รักษาผู้ป่วย เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา
5
ไดอะซีแพม ซึ่งจะใช้รักษาเป็นระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ ยาไดอะซีแพมอาจทำให้ผู้ป่วยเสพติดยา และ
ประสิทธิภาพในการรักษาเสื่อมลงหากผู้ป่วยใช้ยาดังกล่าวเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ แพทย์อาจจ่ายยาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาระงับอาการวิตกกังวล ยาต้านเศร้ากลุ่ม
เอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) และยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอื่น ๆ หรือรักษา
จิตบำบัดด้วยการสะกดจิต (Hypnotherapy) ซึ่งพบในการรักษาไม่มากนัก ส่วนผู้ป่วยที่เสี่ยงฆ่าตัวตายหรือมีแนวโน้ม
ทำร้ายผู้อื่น จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเครียด
: ผู้ที่เกิดความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำควรดูแลตัวเอง โดยหากิจกรรมอย่างอื่นทำยามว่าง เพื่อให้
ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้ ผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนี้
- โรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยโรคเครียดบางรายอาจมีอาการของโรคนานกว่า 1 เดือน โดย
อาการเครียดจะรุนแรงขึ้นและทำให้ดำเนินชีวิตตามปกติได้ยาก ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ป่วยเป็นโรคเครียด
หลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงไม่ทำให้อาการของ
โรคแย่ลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญร้อยละ 50 รักษาให้หายได้ภายใน 6 เดือน
ในขณะที่ผู้ป่วยรายอื่นอาจประสบภาวะดังกล่าวนานหลายปี
- ปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเครียดที่ไม่ได้รับการรักษา และมีอาการของโรคเรื้อรังอาจมีปัญหา
สุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวน
ผลเสียต่อสุขภาพ
ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมน
ที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น
แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มี
ความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด โรคทางเดิน
อาหาร โรคปวดศีรษะไมเกรน โรคปวดหลัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ติดสุรา โรคภูมิแพ้
โรคหอบหืด ภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นหวัดง่าย อุบัติเหตุขณะทำงาน การฆ่าตัวตายและมะเร็ง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิด
จากความเครียด คุณอาการเหล่านี้หรือไม่ อาการแสดงออกทางร่างกาย คือ มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวด
ศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง
เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง อาการแสดงออกทางด้านจิตใจ คือ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม
สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
อาการแสดงออกทางด้านอารมณ์ คือโกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลก
ในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง
อาการแสดงทางพฤติกรรม คือ รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัวจาก
ผู้อื่น อาการของผู้ที่มีภาวะที่เครียดมาก คือ อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ วิตกกังวล มี
ปัญหาเรื่องการนอน ไม่มีความสุขกับชีวิต เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อใดควรปรึกษาแพทย์
• เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทาง หาทางแก้ไขไม่เจอ
• เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
6
• เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิต เช่น การนอน การรับประทานอาหาร งานที่ทำ
ความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง
การป้องกันโรคเครียด
โรคเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์อันตรายอันเป็นสาเหตุของโรคเครียดนั้น
ควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเครียดดูแลตนเองและจัดการอาการของโรคไม่ให้แย่ลงได้ โดยปฏิบัติ ดังนี้
- หลังจากเผชิญสถานการณ์ร้ายแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อช่วยลดโอกาสป่วยเป็นโรคเครียด
- ผู้ที่ประกอบอาชีพซึ่งเสี่ยงเผชิญสถานการณ์อันตราย เช่น ทหาร อาจต้องเข้ารับการฝึกซ้อมรับมือเหตุการณ์
อันตรายและปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวและลดโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นโรค
เครียด
- ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
- ฝึกหายใจลึก ๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือนวด เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย รวมทั้งทำจิตใจให้แจ่มใส
- พบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือพูดคุยกับครอบครัว
- หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมทั้งงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือใช้สารเสพติดอื่น ๆ
วิธีดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงาน
1. ค้นหาและตกลงหัวข้อโครงงาน พร้อมวางแผนการทำโครงงาน
2. ศึกษา ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลของโครงงาน
3. จัดทำแบบโครงร่างโครงงาน
4. จัดทำโครงงาน พร้อมทั้งตรวจสอบและปรับปรุงเนื้อหา
5. นำเสนอโครงงานและประเมินผล
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
ใช้คอมพิวเตอร์และหนังสือในการศึกษาข้อมูล ตลอดจนการจัดทำโครงงานและการนำเสนอ
งบประมาณ
-
7
ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ลำดั
บ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
1
2
1
3
1
4
1
5
1
6
1
7
1 คิดหัวข้อโครงงาน กลุ่มผู้จัดทำ
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล กลุ่มผู้จัดทำ
3 จัดทำโครงร่างงาน กลุ่มผู้จัดทำ
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน กลุ่มผู้จัดทำ
5 ปรับปรุงทดสอบ กลุ่มผู้จัดทำ
6 การทำเอกสารรายงาน กลุ่มผู้จัดทำ
7 ประเมินผลงาน กลุ่มผู้จัดทำ
8 นำเสนอโครงงาน กลุ่มผู้จัดทำ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- มีความรู้ความเข้าใจในสาเหตุของการเกิดโรค ตลอดจนสามารถรับมือกับคนที่เป็นโรคเครียดได้
- สามารถแก้ไขปัญหาและได้รับการรักษาโรคเครียดได้อย่างถูกวิธี
- สามารถลดสาเหตุการเกิดโรคได้
- สามารถนำความรู้ที่ศึกษา ค้นคว้าไปเผยแพร่ต่อผู้คนอื่นๆได้ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อื่นต่อไป
สถานที่ดำเนินการ
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
แหล่งอ้างอิง
- พบแพทย์(ออนไลน์).(2560).สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com/โรคเครียด [ 25 ตุลาคม 2562]
- โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Hospital PCL.) (ออนไลน์).(2561).สืบค้นจาก :
https://www.vibhavadi.com/health316 [ 25 ตุลาคม 2562]

More Related Content

What's hot

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ปราณปริยา สุขเสริฐ
 
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนโครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนMai Natthida
 
2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanokpimchanokSirichaisop
 
Bipolar disorder22
Bipolar disorder22Bipolar disorder22
Bipolar disorder22dalika
 
สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยสมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยNarrongdej3110
 
กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Korakrit Jindadang
 
Music therapy 614 29
Music therapy 614 29Music therapy 614 29
Music therapy 614 29Naphat Ming
 
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นKorakrit Jindadang
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้า
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้าโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้า
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้าธนัชพร ส่งงาน
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Boonyarat Thongyoung
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Boonyarat Thongyoung
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Boonyarat Thongyoung
 
รักษาโรคมะเร็ง
รักษาโรคมะเร็งรักษาโรคมะเร็ง
รักษาโรคมะเร็งpornkanok02
 

What's hot (20)

Punisa
PunisaPunisa
Punisa
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วนโครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
โครงงาน สมุนไพรลดความอ้วน
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
Benyapa 607 35
Benyapa 607 35Benyapa 607 35
Benyapa 607 35
 
2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok2562 final-project 40-609_pimchanok
2562 final-project 40-609_pimchanok
 
Bipolar disorder22
Bipolar disorder22Bipolar disorder22
Bipolar disorder22
 
สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยสมุนไพรไทย
สมุนไพรไทย
 
กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 5 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Music therapy 614 29
Music therapy 614 29Music therapy 614 29
Music therapy 614 29
 
W.1
W.1W.1
W.1
 
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่นยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
ยาเสพติดพิษของวัยรุ่น
 
Rabies
RabiesRabies
Rabies
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้า
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้าโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้า
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง โรคซึมเศร้า
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
รักษาโรคมะเร็ง
รักษาโรคมะเร็งรักษาโรคมะเร็ง
รักษาโรคมะเร็ง
 
Project2222
Project2222Project2222
Project2222
 
W.1
W.1W.1
W.1
 

Similar to 2562 final-project

Philophobia
PhilophobiaPhilophobia
PhilophobiaSuppamas
 
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าNattanichaYRC
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์barbeesati
 
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายPatitta Sitti
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Thanwarath Khemthong
 
2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasarajKUMBELL
 
โรคซึมเศร้าแก้ไข
โรคซึมเศร้าแก้ไขโรคซึมเศร้าแก้ไข
โรคซึมเศร้าแก้ไขNattanichaYRC
 
ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5Ffim Radchasan
 
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Guy Prp
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5Papitchaya_19
 

Similar to 2562 final-project (20)

Philophobia
PhilophobiaPhilophobia
Philophobia
 
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า
 
Comm 1-final
Comm 1-finalComm 1-final
Comm 1-final
 
Fill
FillFill
Fill
 
Project com no.38 (1)
Project com no.38 (1)Project com no.38 (1)
Project com no.38 (1)
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
AT1AT1
AT1AT1AT1AT1
AT1AT1
 
2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj2562 final-project1-18-vasaraj
2562 final-project1-18-vasaraj
 
โรคซึมเศร้าแก้ไข
โรคซึมเศร้าแก้ไขโรคซึมเศร้าแก้ไข
โรคซึมเศร้าแก้ไข
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
Depression of thai people
Depression of thai peopleDepression of thai people
Depression of thai people
 
Do you-know-green-tea
Do you-know-green-teaDo you-know-green-tea
Do you-know-green-tea
 
ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5
 
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
แบบเสนอโครงร่างโครงงานชิ้นที่ 5
 
AT1AT1
AT1AT1AT1AT1
AT1AT1
 

2562 final-project

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5 ปีการศึกษา 2562 ชื่อโครงงาน โรคเครียด (Acute Stress Disorder) ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อ นายถิรภูมิ ถีระพันธ์ เลขที่ 7 ชั้น ม.6 ห้อง 8 ชื่อ นางสาวดวงเดือน กำแหงหาญ เลขที่ 30 ชั้น ม.6 ห้อง 8 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 62 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) โรคเครียด ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Acute Stress Disorder ประเภทโครงงาน โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media) ชื่อผู้ทำโครงงาน นายถิรภูมิ ถีระพันธ์ และ นางสาวดวงเดือน กำแหงหาญ ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน เดือนกันยายน ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ จนเกิดเป็นปัญหาที่ต้องเผชิญ อาทิเช่น ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาด้านเศรษฐกิจในครอบครัว ปัญหาด้านร่างกาย และปัญหาด้านสังคม เป็นต้น ล้วนส่งผล ต่อความคิดและจิตใจ และก่อให้เกิดภาวะเครียด ซึ่งภาวะเครียดนั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย โดยหากเกิดภาวะเครียด ในระดับที่พอดีก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น แต่หากมีภาวะเครียดมากเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดความ ผิดปกติทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เช่น มีอาการปวดศีรษะ ท้องเสีย นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ป่วยง่าย มีความวิตกกังวล คิดมาก ฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ เงียบขรึม เก็บตัว หรืออาจถึงขั้นเกิดภาวะเศร้าซึม และ นำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ภาวะความเครียดเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเสียมากมาย ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงสนใจในการศึกษาในเรื่องภาวะความเครียด เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ ปัจจัย และวิธีการป้องกัน ซึ่งสามารถนำข้อมูลจากการศึกษานี้ไปต่อยอดในงานด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย และนำไปใช้ในการหาแนวทาง ในการช่วยเหลือ และแก้ปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงในโรคนี้ต่อไป
  • 3. 3 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาวะความเครียด 2. เพื่อศึกษาสาเหตุ และวิธีการป้องกันเกี่ยวกับภาวะความเครียด ขอบเขตโครงงาน ศึกษาเกี่ยวกับที่มาของโรคความเครียด ลักษณะอาการ ผลกระทบตลอดจนวิธีการรักษา และการจัดการ ป้องกันจากความเครียด โดยศึกษาหาข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ต และหนังสือ หลักการและทฤษฎี โรคเครียด (Acute Stress Disorder) คือ ภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากเหตุการณ์ร้ายแรง ซึ่งภาวะ ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกาย และจิตใจ ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด จะเกิดอาการ เครียดประมาณหนึ่งเดือน หากเกิดอาการนานกว่านั้นจะกลายเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ (Posttraumatic Stress Disorder: PTSD) โดยทั่วไปแล้ว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ร่างกาย ตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight) ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิต สูงขึ้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดจะรู้สึกกลัว หวาดระแวง หรือตื่นตระหนกหลังเผชิญสถานการณ์อันตราย ทั้งนี้ อาจรู้สึก วิตกกังวล ว้าวุ่น และฟุ้งซ่าน หรือฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม มนุษย์เราจะประสบ ภาวะเครียดจากสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ สถานการณ์บางอย่างอาจทำให้คนหนึ่งเกิดความเครียดได้ ในขณะที่อีกคนอาจรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ และไม่รู้สึกเครียดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สาเหตุโรคเครียด : โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรงมาก โดยเหตุการณ์นั้นทำให้ รู้สึกกลัว ตื่นตระหนก หรือรู้สึกสะเทือนขวัญ เช่น การประสบอุบัติเหตุจนเกือบเสียชีวิต การได้รับบาดเจ็บอย่าง รุนแรง รวมทั้งทราบข่าวการเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ หรือการป่วยร้ายแรงของคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโรคเครียดซึ่งพบได้ทั่วไปนั้น มักเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการออกรบของทหาร ถูกล่วงละเมิดทาง เพศ ถูกโจรปล้น ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือทราบข่าวร้ายอย่างกะทันหันโดยไม่ทันตั้งตัว นอกจากนี้ โรคเครียดยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย โดยผู้ที่เสียงป่วยเป็นโรคเครียดได้สูง มักมีลักษณะ ดังนี้ - เคยเผชิญเหตุการณ์อันตรายอย่างรุนแรงในอดีต - มีประวัติป่วยเป็นโรคเครียดหรือภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ - มีประวัติประสบปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง - มีประวัติว่าเกิดอาการของโรคดิสโซสิเอทีฟเมื่อเผชิญเหตุการณ์อันตราย เช่น หลงลืมตัวเองหรือสิ่งต่าง ๆ อารมณ์แปรปรวนกะทันหัน วิตกกังวลหรือรู้สึกซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ เป็นต้น ชนิดของความเครียด 1. Acute Stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด เช่น เสียง อากาศเย็นหรือร้อน ชุมชนที่คนมากๆ ความกลัว ตกใจ หิวข้าว เป็นต้น
  • 4. 4 2. Chronic Stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนอง หรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่าง ความเครียดเรื้อรัง เช่น ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเครียดของ แม่บ้าน และความเหงา การวินิจฉัยโรคเครียด : ผู้ที่ผ่านการเผชิญเหตุการณ์ร้ายแรง อาจเกิดอาการของโรคเครียดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยสาเหตุ โดยแพทย์จะ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้พบหรือได้รับรู้ รวมทั้งสอบถามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย ทั้งนี้ เมื่อได้รับการตรวจแล้ว แพทย์อาจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการป่วยว่า เกิดจากสาเหตุอื่นหรือไม่ เช่น การใช้สารเสพ ติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางอย่าง ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ หากอาการที่ผู้ป่วยเป็นไม่ได้เกิด จากสาเหตุอื่น ก็แสดงว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคเครียด การรักษาโรคเครียด : วิธีรักษาโรคเครียดคือการรับมืออาการของโรคที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้ป่วยควรเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว และพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อระบายความเครียดอย่างไรก็ ตาม ผู้ป่วยที่เกิดอาการรุนแรงหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ - ปรึกษาแพทย์ การปรึกษาจิตแพทย์ถือเป็นวิธีรักษาโรคเครียดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยโรค เครียดที่เกิดอาการรุนแรงและเป็นมานาน โดยแพทย์จะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิด ความเครียด รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยจัดการอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ - บำบัดความคิดและพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเครียดที่เกิดความวิตกกังวลและอาการไม่ดีขึ้น จะได้รับการรักษา ด้วยวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) การบำบัดความคิดและ พฤติกรรมเป็นวิธีจิตบำบัดที่มีแนวคิดว่าความคิดบางอย่างของผู้ป่วยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรค เครียดอาจได้รับการบำบัดระยะสั้น โดยแพทย์จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของผู้ป่วย รวมทั้งช่วย ให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าความคิดบางอย่างนั้นไม่ถูกต้อง และปรับทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ให้มองทุกอย่าง ได้ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง - ใช้ยารักษา แพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคเครียดให้แก่ผู้ป่วยบางราย โดยผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาด้วยยาเป็น ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดของร่างกาย ปัญหาการนอนหลับ หรืออาการซึมเศร้า โดยยาที่ใช้ รักษาโรคเครียด ได้แก่ o เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blocker) ยานี้จะช่วยบรรเทาอาการป่วยทางร่างกายซึ่งเกิดจากการหลั่ง ฮอร์โมนความเครียดออกมา เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยรับประทานเมื่อเกิดอาการป่วย เนื่อง จากเบต้า บล็อกเกอร์ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาระงับประสาท จึงไม่ก่อให้เกิดอาการง่วง ส่งผลต่อการ ทำงานต่าง ๆ หรือทำให้ผู้ป่วยเสพติด o ไดอะซีแพม (Diazepam) ยาตัวนี้จัดอยู่ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiapines) ซึ่งเป็นยา ระงับประสาท แพทย์ไม่นิยมนำมาใช้รักษาผู้ป่วย เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยา
  • 5. 5 ไดอะซีแพม ซึ่งจะใช้รักษาเป็นระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ ยาไดอะซีแพมอาจทำให้ผู้ป่วยเสพติดยา และ ประสิทธิภาพในการรักษาเสื่อมลงหากผู้ป่วยใช้ยาดังกล่าวเป็นเวลานาน นอกจากนี้ แพทย์อาจจ่ายยาอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาระงับอาการวิตกกังวล ยาต้านเศร้ากลุ่ม เอสเอสอาร์ไอ (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) และยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอื่น ๆ หรือรักษา จิตบำบัดด้วยการสะกดจิต (Hypnotherapy) ซึ่งพบในการรักษาไม่มากนัก ส่วนผู้ป่วยที่เสี่ยงฆ่าตัวตายหรือมีแนวโน้ม ทำร้ายผู้อื่น จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ภาวะแทรกซ้อนของโรคเครียด : ผู้ที่เกิดความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำควรดูแลตัวเอง โดยหากิจกรรมอย่างอื่นทำยามว่าง เพื่อให้ ตนเองรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งนี้ ผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนี้ - โรคเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยโรคเครียดบางรายอาจมีอาการของโรคนานกว่า 1 เดือน โดย อาการเครียดจะรุนแรงขึ้นและทำให้ดำเนินชีวิตตามปกติได้ยาก ซึ่งอาการดังกล่าวจะทำให้ป่วยเป็นโรคเครียด หลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงไม่ทำให้อาการของ โรคแย่ลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญร้อยละ 50 รักษาให้หายได้ภายใน 6 เดือน ในขณะที่ผู้ป่วยรายอื่นอาจประสบภาวะดังกล่าวนานหลายปี - ปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเครียดที่ไม่ได้รับการรักษา และมีอาการของโรคเรื้อรังอาจมีปัญหา สุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวน ผลเสียต่อสุขภาพ ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมน ที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มี ความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด โรคทางเดิน อาหาร โรคปวดศีรษะไมเกรน โรคปวดหลัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ติดสุรา โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ภูมิคุ้มกันต่ำลง เป็นหวัดง่าย อุบัติเหตุขณะทำงาน การฆ่าตัวตายและมะเร็ง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิด จากความเครียด คุณอาการเหล่านี้หรือไม่ อาการแสดงออกทางร่างกาย คือ มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวด ศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง อาการแสดงออกทางด้านจิตใจ คือ วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาการแสดงออกทางด้านอารมณ์ คือโกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลก ในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง อาการแสดงทางพฤติกรรม คือ รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่ สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัวจาก ผู้อื่น อาการของผู้ที่มีภาวะที่เครียดมาก คือ อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ วิตกกังวล มี ปัญหาเรื่องการนอน ไม่มีความสุขกับชีวิต เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อใดควรปรึกษาแพทย์ • เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทาง หาทางแก้ไขไม่เจอ • เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
  • 6. 6 • เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิต เช่น การนอน การรับประทานอาหาร งานที่ทำ ความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง การป้องกันโรคเครียด โรคเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์อันตรายอันเป็นสาเหตุของโรคเครียดนั้น ควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเครียดดูแลตนเองและจัดการอาการของโรคไม่ให้แย่ลงได้ โดยปฏิบัติ ดังนี้ - หลังจากเผชิญสถานการณ์ร้ายแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อช่วยลดโอกาสป่วยเป็นโรคเครียด - ผู้ที่ประกอบอาชีพซึ่งเสี่ยงเผชิญสถานการณ์อันตราย เช่น ทหาร อาจต้องเข้ารับการฝึกซ้อมรับมือเหตุการณ์ อันตรายและปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวและลดโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นโรค เครียด - ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ - ฝึกหายใจลึก ๆ ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือนวด เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย รวมทั้งทำจิตใจให้แจ่มใส - พบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือพูดคุยกับครอบครัว - หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ หรือฟังเพลง - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน - หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมทั้งงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือใช้สารเสพติดอื่น ๆ วิธีดำเนินงาน แนวทางการดำเนินงาน 1. ค้นหาและตกลงหัวข้อโครงงาน พร้อมวางแผนการทำโครงงาน 2. ศึกษา ค้นคว้าและเรียบเรียงข้อมูลของโครงงาน 3. จัดทำแบบโครงร่างโครงงาน 4. จัดทำโครงงาน พร้อมทั้งตรวจสอบและปรับปรุงเนื้อหา 5. นำเสนอโครงงานและประเมินผล เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ ใช้คอมพิวเตอร์และหนังสือในการศึกษาข้อมูล ตลอดจนการจัดทำโครงงานและการนำเสนอ งบประมาณ -
  • 7. 7 ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน ลำดั บ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 1 2 1 3 1 4 1 5 1 6 1 7 1 คิดหัวข้อโครงงาน กลุ่มผู้จัดทำ 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล กลุ่มผู้จัดทำ 3 จัดทำโครงร่างงาน กลุ่มผู้จัดทำ 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน กลุ่มผู้จัดทำ 5 ปรับปรุงทดสอบ กลุ่มผู้จัดทำ 6 การทำเอกสารรายงาน กลุ่มผู้จัดทำ 7 ประเมินผลงาน กลุ่มผู้จัดทำ 8 นำเสนอโครงงาน กลุ่มผู้จัดทำ ผลที่คาดว่าจะได้รับ - มีความรู้ความเข้าใจในสาเหตุของการเกิดโรค ตลอดจนสามารถรับมือกับคนที่เป็นโรคเครียดได้ - สามารถแก้ไขปัญหาและได้รับการรักษาโรคเครียดได้อย่างถูกวิธี - สามารถลดสาเหตุการเกิดโรคได้ - สามารถนำความรู้ที่ศึกษา ค้นคว้าไปเผยแพร่ต่อผู้คนอื่นๆได้ เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อื่นต่อไป สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย 238 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง - กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา - กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา แหล่งอ้างอิง - พบแพทย์(ออนไลน์).(2560).สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com/โรคเครียด [ 25 ตุลาคม 2562] - โรงพยาบาลวิภาวดี (Vibhavadi Hospital PCL.) (ออนไลน์).(2561).สืบค้นจาก : https://www.vibhavadi.com/health316 [ 25 ตุลาคม 2562]