SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
3
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการทําโครงงานคณิตศาสตร์ออนไลน์เรื่อง เลขยกกําลัง มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
2. คุณสมบัติของนักเรียนในอาเซียน
3. สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้
4. การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสอน
5. ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์
6. บทสรุปเรื่องเลขยกกําลัง
1. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตใน
ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสําคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผล
ต่อวิถีการดํารงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการ
เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสําหรับการออกไปดํารงชีวิตในโลกในศตวรรษที่
21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สําคัญที่สุด คือ ทักษะการ
เรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้
มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจําเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการ
เรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ( วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21)) ได้กล่าวถึง
ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือ สาระวิชาก็มีความสําคัญ แต่ไม่เพียงพอสําหรับการ
เรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter)
ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์โดยครูช่วยแนะนํา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วย
ให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนํามาสู่การกําหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สําคัญต่อการ
จัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสําหรับศตวรรษที่ 21 โดย
4
การส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปใน
ทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
1. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial,
Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
2. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
จะเป็นตัวกําหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทํางานที่มีความซับซ้อนมาก
ขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการ
แก้ปัญหา
และการสื่อสารและการร่วมมือ
3. ทักษะด้านสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและ
เทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ
ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับ
สื่อและความรู้ด้านเทคโนโลยี
4. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ในการดํารงชีวิตและทํางานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสําเร็จ นักเรียนจะต้อง
พัฒนาทักษะชีวิตที่สําคัญดังต่อไปนี้ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัว
ของตัวเอง
5. ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้
(Accountability) ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Responsibility)
5
6. ทักษะการเรียนรู้ 3R x 7C
3R คือ
1. (R)Reading (อ่านออก)
2. (W) Writing (เขียนได้)
3. (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
1. Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม
ต่างกระบวนทัศน์)
4. Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางาน
เป็นทีม และภาวะผู้นํา)
5. Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร
สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร)
7. Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกําหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดย
ร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้
ในการดํารงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนา
มาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st
Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการ
เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชํานาญการและความ
รู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสําเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทํางานและการดําเนินชีวิต
6
2. คุณสมบัติของนักเรียนในอาเซียน
คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กําหนดคุณลักษณะ 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านความรู้
1. มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
2. มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
2.1 จุดกําเนิดอาเซียน
2.2 กฎบัตรอาเซียน
2.3 ประชาคมอาเซียน
2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ
1. ทักษะพื้นฐาน
1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีก
อย่างน้อย 1 ภาษา)
1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
2. ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม
2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
2.2 มีภาวะผู้นํา
2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
3. ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง
3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
7
3. ด้านเจตคติ
1. มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน
2. ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน
3. มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน
4. มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม
5. ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา
6. ดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้
สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใช้เพื่อการศึกษา ด้วยข้อมูลจํานวนมากที่ถูกนําเสนอ
ในเครือข่ายสังคมออนไลน์หากนํามาสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนย่อมก่อให้เกิดผลสําคัญ
ในหลากหลายลักษณะเช่นกัน เช่น
1. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นห้องเรียน เนื่องจากบรรยากาศของ
เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารผ่านภายมิติความสัมพันธ์ของคนใน
เครือข่าย ด้วยเหตุนี้เมื่อทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ภายในระบบเครือข่าย
สังคมออนไลน์ก็จะนําไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ในสังคมจริงในทิศทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ซึ่ง
เป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจริง นอกจากนี้ลักษณะการนําเสนอข้อมูล
สถานภาพที่เป็นปัจจุบัน ทําให้ทั้งผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมและประสานข้อมูลได้อย่าง
ทันท่วงที
2. การกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างขวาง การตั้งประเด็น
แลกเปลี่ยน ข้อสงสัยต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทําได้อย่างทันท่วงที และเป็นเครื่องมือ
สําหรับผู้สอนในการกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันผู้สอนสามารถนําเสนอเนื้อหา
ใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง
3. การส่งเสริมการศึกษาตามความสนใจและความถนัด เครือข่ายสังคมออนไลน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเว็บบล็อกเป็นระบบที่ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานตามความถนัด
และความสนใจของทั้งผู้สอนและผู้เรียน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนขยายผลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
8
4. การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วน
ใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลายลักษณะ เช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลาง
ของเว็บ facebook หรือข้อความยาวๆ ของระบบเว็บบล็อก เป็นต้น
ในขณะเดียวกันเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็มีข้อเสียที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับผู้เรียนที่อาจจะมีความจําเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
เช่น
1. การใช้งานเพื่อความบันเทิง เกมมากกว่าการศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้ระบบเครือข่ายสังคม
ออนไลน์ เช่นใน facebook จะประกอบด้วยเกมต่างๆ มากมาย และส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาในการ
เล่นที่ต่อเนื่อง
2. ความจําเป็นของอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่อง
และหากผู้สอนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการนําเสนอข้อมูลไปยังผู้เรียนเป็นหลักอาจจะก่อให้
การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้เรียนได้
3. การรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการขาดวิจารณญาณในการข้อมูล ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนเข้าสู่
การเรียนรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ แหล่งการรับข้อมูลจะไม่สามารถจํากัดไว้เพียงจากผู้สอน
เท่านั้น ซึ่งจําเป็นที่ผู้สอนจะต้องยํ้าถึงแนวทางการตรวจสอบข้อมูลให้กับผู้เรียน
4. การขาดวิจารณญาณในการนําเสนอข้อมูล เนื้อหาของผู้เรียน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว
ในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะพบว่า หลายครั้งทําให้หลายคนขาด
ความยั้งคิดในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ และนําไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา
แนวปฏิบัติเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในชั้นเรียน
เมื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่เป็นการยากที่ผู้สอนจะปฏิเสธการใช้
เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ด้วยเหตุนี้ผู้สอนควรมีแนวปฏิบัติสําคัญเพื่อให้การใช้เครือข่ายสังคม
ออนไลน์มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ดังนี้
1. ควรศึกษาธรรมชาติของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่จะนํามาใช้อย่างชัดเจน
2. ควรศึกษาความพร้อมของผู้เรียนในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
3. เป็นต้นแบบที่ดีในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
4. ติดตามพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
5. สร้างเครือข่ายผู้สอนและผู้ปกครองเพื่อประสิทธิภาพของการดูแลผู้เรียนในเครือข่าย
สังคมออนไลน์
9
4. การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสอน
1. ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอน
จากการจัดอันดับของเครื่องมือสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพบว่าทวิตเตอร์
เป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งในปีพ.ศ. 2552 ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ทวิตเตอร์ทําให้ข่าวสารและข้อมูลแพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว
2. ทวิตเตอร์ช่วยทําให้ ทั้งให้และรับได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนการ
สนทนาความคิดกับผู้อื่นที่มีความสนใจได้ดี
3. ข้อความในทวิตเตอร์สั้นทําให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ยาวเกินความจําเป็น
4. มีแอพที่ทําให้การเข้าถึงทวิตเตอร์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ทวิตเตอร์ง่าย เช่น
Google Chrome, Firefox ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทําให้หัวข้อฟีดไปแสดงที่บัญชีทวิเตอร์โดยอัตโนมัติ
แม้ว่าความน่าจะเป็นช่วยให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ที่พิจารณาอยู่นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อย
เพียงใด แต่บางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะช่วย
ตัดสินใจได้จําเป็นต้องหาองค์ประกอบอื่น มาช่วยในการตัดสินใจด้วยซึ่งองค์ประกอบหนึ่งคือ
ผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้นในทางสถิติได้นําความน่าจะเป็นของเหตุการณ์และ
ผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้นมาพิจารณาประกอบกันเป็น “ค่าคาดหมาย” ซึ่งหาได้จาก
ผลรวมของผลคูณระหว่างความน่าจะเป็นของเหตุการณ์กับผลคูณระหว่างความน่าจะเป็นของ
เหตุการณ์กับผลตอบแทนของเหตุการณ์
2. ประโยชน์ของ YouTube สําหรับโรงเรียน(Youtube for Schools)
1. กว้างขวางครอบคลุม YouTube สําหรับโรงเรียนเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ
เข้าถึงวิดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก YouTube EDU วิดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มี
ชื่อเสียงต่างๆ เช่น Stanford, PBS และ TED รวมทั้งจากพันธมิตรที่กําลังได้รับความนิยมของ
YouTube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน เช่น Khan Academy, Steve Spangler Science และ
Numberphile
2. ปรับแก้ได้สามารถกําหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะ
ได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหา YouTube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอที่ดู
ได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน
10
3. เหมาะสมสําหรับโรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวิดีโอ
ใดๆ ก็ได้แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และจะดูได้เฉพาะวิดีโอ YouTube EDU และวิดีโอที่
โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวิดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการ
ค้นหาจะจํากัดเฉพาะวิดีโอ YouTube EDU เท่านั้น
4. เป็นมิตรกับครู YouTube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วิดีโอนับร้อยรายการที่ได้
มาตรฐานการศึกษาทั่วไป และจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสต์เหล่านี้สร้างขึ้นโดย
ครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง
3. การใช้เฟซบุ๊ก เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึง
ส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆ นําเฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการ เรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริม
ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับ
ผู้เรียน จากการค้น “เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษา (Facebook for Education)”ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล
922 ล้านรายการ และจากการค้น“ศูนย์แห่งการเรียนรู้บนเฟซบุ๊ก (Learning Center on Facebook)”
ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ จะเห็นได้ว่ามีการนําเฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เพื่อ
การศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น เฟซบุ๊กได้เป็นสื่อ
สังคมยอดนิยมสําหรับครูผู้สอน ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 “เพียร์สัน (Pearson)”ได้รายงานผลสํารวจการ
ใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ 2,000 แห่ง จากบล็อก “เอ็ดดูเดมิก
(edudemic.com)”สรุปได้ว่า ครูผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้เฟซบุ๊กในด้านส่วนตัวและครูผู้สอน ร้อยละ
30 ใช้เฟซบุ๊กในด้านวิชาชีพเว็บ “พีซีเทคแม็กกาซีน (www.pctechmagazine.com)”ได้อ้างถึงเหตุผล
4 ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เฟซ บุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
1. การพัฒนาด้านภาษาซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนจําเป็นต้องใช้เฟซบุ๊กในการ
ติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ การใช้ เฟซบุ๊กเป็น
ประจําในการเขียนและอ่านข้อความต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการเขียน การสะกดคํา และการใช้
ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง
2. การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับ
ครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากยิ่งขึ้น
11
3. การทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งเฟซบุ๊กเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียน
ผู้ใดผู้หนึ่งจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้เรียนผู้อื่นเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นการฝึกทักษะ
การเป็นผู้นําและการเป็นผู้ตาม
4. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งการใช้เฟซบุ๊กในการเรียน
การสอน จะช่วยผู้เรียนมีความสนใจและมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศใหม่ๆ
สิ่งที่ครูผู้สอนพึงปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนนั้น เมื่อ
มิถุนายน2554 เว็บ “ออลเฟซบุ๊ก(www.allfacebook.com)”ได้นําเสนอเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดไว้7
ประการเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนใช้เฟซบุ๊กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ห้ามครูผู้สอนระบายอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ที่มีต่อผู้เรียนในเชิงลบผ่านเฟซบุ๊ก
ควรกําหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียนให้
ชัดเจน ในกรณีที่ยกเลิกการเรียนการสอนในห้องเรียนเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออํานวย ครูผู้สอน
สามารถใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนโดยการกําหนดหัวข้อเกี่ยวกับวิชาที่สอน
เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ไม่ควรใช้ข้อความที่รุนแรงในการแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับผู้เรียนและสถานศึกษา หลีกเลี่ยงการแสดงข้อความที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่รุนแรง ควรตั้ง
ค่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ควรแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับผู้เรียนในเชิงบวกเท่านั้น เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ หรือ แอพพลิเคชัน หรือ“แอพส์
(Apps = Applications)” เพื่อการศึกษามากมายที่จะช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนในการ
เตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น
1. “ไฟลส์ (Files)”สําหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน
2. “เมกอะควิซ (Make a Quiz)”สําหรับสร้างคําถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของ
ผู้เรียน
3. “คาเลนเดอร์ (Calendar)”สําหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกําหนดการต่างๆ
4. “คอร์ส(Course)” สําหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน
12
นอกจากนี้ ยังมีแอพส์ที่จะช่วยอํานวยความสะดวกในการเรียนและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นประโยชน์
ในการเรียนรู้สําหรับผู้เรียน ตัวอย่างเช่น
1. “วีรีด (WeRead)” สําหรับจัดการรายชื่อหนังสือให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น
2. “คลาสโน้ตส์ (Class Notes)”สําหรับถ่ายภาพในขณะที่ครูผู้สอนเขียนเนื้อหาบน
กระดาน หรือคัดลอกเนื้อหาที่เรียน แล้วนําไปโพสต่อเพื่อแบ่งปันผู้อื่น สําหรับผู้สนใจสามารถเข้า
อินเทอร์เน็ตแล้วค้นหาข้อมูลแอพส์ของ เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษาได้จะเห็นได้ว่า เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่ง
การเรียนรู้และเป็นห่วงโซ่การศึกษาขนาดใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบไร้ขีดจํากัด ซึ่ง
ครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา ตลอดวันละ24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน
ฉะนั้น ผู้บริหารการศึกษาจึงควรกําหนดแนวปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลด
ความเสี่ยงด้านการใช้เฟซบุ๊กไปในทางที่ผิดหรือด้านการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่
สถานศึกษา ยิ่งกว่านั้น ผู้บริหารการศึกษาจําเป็นต้องพัฒนานโยบายการใช้เฟซบุ๊กที่มีอยู่เป็นระยะๆ
เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
5. ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์
ข้อดีของ Social networks เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น
แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกัน
ตอบ
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
4. เป็นสื่อในการนาเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้
ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
5. ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสาหรับบริษัทและ
องค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
6. ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น
7. คลายเครียดได้สาหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ
8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
13
ข้อเสียของ Social networks เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการ
ไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนามาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วน
บุคคลได้
2. Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาด
วิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็น
ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
3. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social
Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดง
ความคิดเห็น
4. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social
Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กาหนดอายุการ
สมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
5. ผู้ใช้ที่เล่น Social Network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจ
สายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้
6. ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ Social Network มากเกินไปอาจทาให้เสียการเรียนหรือผล
การเรียนตกตํ่าลงได้
7. จะทําให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์
6. บทสรุปเรื่องเลขยกกําลัง
เลขยกกําลัง คือ การคูณตัวเลขนั้นๆตามจํานวนของเลขชี้กําลัง ซึ่งตัวเลขนั้นๆจะคูณตัว
ของมันเองและเมื่อแทน a เป็นจํานวนใด ๆ และแทน n เป็นจํานวนเต็มบวก โดยที่มี a เป็นฐานหรือ
ตัวเลข และ n เป็นเลขชี้กําลัง(an
) จะได้ว่า a คูณกัน n ตัว (axaxaxaxax…xa)
ตัวอย่าง 25
เป็นเลขยกกําลัง ที่มี 2 เป็นฐานหรือตัวเลข และมี 5 เป็นเลขชี้กําลัง
จะได้ว่า 25
= 2x2x2x2x2 = 32
14
สมบัติของเลขยกกําลัง
1. สมบัติการคูณเลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มบวก เมื่อ a เป็นจํานวนใดๆ
และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวก
รูปภาพที่ 1 สมบัติการคูณของเลขยกกําลัง
เช่น 23
x 27
x 29
= 2(3 + 7 + 9)
= 219
2. สมบัติการหารเลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มบวก
กรณีที่ 1 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆที่ไม่ใช่ศูนย์และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวกที่ m > n
รูปภาพที่ 2 สมบัติการหารเลขยกกําลัง กรณีที่ 1
เช่น 412
÷ 43
=412-3
= 49
กรณีที่ 2 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆที่ไม่ใช่ศูนย์และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวกที่ m = n
นิยาม ถ้า a เป็นจํานวนจริงใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์a0
= 1
รูปภาพที่ 3 สมบัติการหารเลขยกกําลัง กรณีที่ 2
เช่น 67
÷ 67
= 67-7
= 60
= 1 หรือถ้า (-7)o
= 1
กรณีที่ 3 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆที่ไม่ใช่ศูนย์และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวกที่ m < n
รูปภาพที่ 4 สมบัติการหารเลขยกกําลัง กรณีที่ 3
15
กรณีที่ 4 นิยาม ถ้า a เป็นจํานวนจริงใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์และ n เป็นจํานวนเต็มบวก แล้ว
หรือ
รูปภาพที่ 5 การหารเลขยกกําลังกรณีที่ 4
เช่น หรือ
3. สมบัติอื่น ๆ ของเลขยกกําลัง
1. เลขยกกําลังที่มีฐานเป็นเลขยกกําลัง
เมื่อ a ≥0 และ m, n เป็นจํานวนเต็ม
รูปภาพที่ 6 สมบัติอื่นๆของเลขยกกําลัง กรณีที่ 1
เช่น
2. เลขยกกําลังที่มีฐานอยู่ในรูปการคูณ หรือการหารของจํานวนหลาย ๆ จํานวน
และ เมื่อ a ≠ 0 , b ≠ 0 และ n เป็นจํานวนเต็ม
รูปภาพที่ 7 สมบัติอื่นๆของเลขยกกําลัง กรณีที่ 2
เช่น (5.3)2
= 53
. 32
16
3. เลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นเศษส่วน
เมื่อ a > 0 และ n เป็นจํานวนเต็มบวกที่มากกว่า 1
เมื่อ a ≠ 0 และ m เป็นจํานวนเต็มบวก ; n ≥ 2
รูปภาพที่ 8 สมบัติอื่นๆของเลขยกกําลัง กรณีที่ 3
การใช้เลขยกกําลังแทนจํานวน
การเขียนจํานวนที่มีค่ามากๆนิยมเขียนแทนได้ด้วยรูป Ax10n
เมื่อ 1≤A<10 และ n เป็น
จํานวนเต็มบวก เช่น 16,000,000 = 1.6×107
และทํานองเดียวกันการเขียนจํานวนเต็มที่มีค่าน้อยๆก็
สามารถเขียนในรูป Ax10n
ได้เช่นเดียวกัน แต่ n จะเป็นจํานวนเต็มลบ เช่น 0.000016 = 1.6×10-5
หลักการเปลี่ยนจํานวนให้อยู่ในรูป Ax10n
เมื่อ 1≤A<10 และ n เป็นจํานวนเต็มอย่างง่ายๆ คือ
ให้พิจารณาว่าจุดทศนิยมมีการเลื่อนตําแหน่งไปทางซ้ายหรือขวากี่ตําแหน่ง ถ้าเลื่อนไปทางซ้ายเลข
ชี้กําลังจะเป็นบวก และถ้าเลื่อนไปทางขวาเลขชี้กําลังก็จะเป็นลบ
เช่น 75000.0=7.5×104
0.000075 = 7.5×10-5
หรือกล่าวได้ว่า ถ้าจุดทศนิยมเลื่อนไปทางขวา n ตําแหน่ง เลขชี้กําลังของ 10 จะลดลง n ถ้าจุด
ทศนิยมเลื่อนไปทางซ้าย n ตําแหน่ง เลขชี้กําลังของ10 จะเพิ่มขึ้น n

More Related Content

What's hot

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21Teacher Sophonnawit
 
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21Rujroad Kaewurai
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารThamonwan Kottapan
 
งานนำเสนอบท 6
งานนำเสนอบท 6งานนำเสนอบท 6
งานนำเสนอบท 6Sineenartt
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษาบทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษาDee Arna'
 
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21Atar Tharinee
 
งานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะ
งานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะงานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะ
งานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะOopip' Orranicha
 
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Nichaya100376
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษาบทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษาDee Arna'
 
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21kulachai
 
Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาChapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาPan Kannapat Hengsawat
 
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาFern's Supakyada
 
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Prakaidao Suebwong
 
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)lovegussen
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯPannathat Champakul
 
นวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษา
นวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษานวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษา
นวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษาAmu P Thaiying
 
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Nichaya100376
 
เอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บ
เอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บเอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บ
เอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บKobwit Piriyawat
 

What's hot (20)

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 
งานนำเสนอบท 6
งานนำเสนอบท 6งานนำเสนอบท 6
งานนำเสนอบท 6
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษาบทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
 
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 
งานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะ
งานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะงานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะ
งานที่จะส่งจริงๆนะจ้ะ
 
21st century skill for librarian
21st century skill for librarian21st century skill for librarian
21st century skill for librarian
 
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษาบทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
บทที่ 1 เทคโนโลยีนวัตกรรมและสื่อการศึกษา
 
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
 
Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาChapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
 
5 step
5 step5 step
5 step
 
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
 
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
 
นวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษา
นวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษานวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษา
นวัตกรรมบทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศทางศึกษา
 
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่6เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 
เอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บ
เอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บเอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บ
เอกสารประกอบการอบรมการสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส รวมขึ้นเว็บ
 

Similar to บทที่ 2

The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...Mudhita Ubasika
 
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์30082527
 
Prefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71pPrefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71pNam Chon
 
Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936Aon Narinchoti
 
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...nanny2126
 
โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์Phiromporn Norachan
 
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_kanyarat chinwong
 
แนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษา
แนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษาแนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษา
แนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษาSakaeoPlan
 
ศตรวรรดที่ 21
ศตรวรรดที่ 21ศตรวรรดที่ 21
ศตรวรรดที่ 21Pa'rig Prig
 
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...Nakhon Pathom Rajabhat University
 
Stem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills developmentStem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills developmentWeerachat Martluplao
 

Similar to บทที่ 2 (20)

The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
The result from using project based learning upon partnership for 21th centur...
 
บทคัดย่อ (แก้ไข)
บทคัดย่อ (แก้ไข)บทคัดย่อ (แก้ไข)
บทคัดย่อ (แก้ไข)
 
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
 
Prefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71pPrefix 15082557-042337-t1d71p
Prefix 15082557-042337-t1d71p
 
Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936Lxt6 sonvyqi20150807080936
Lxt6 sonvyqi20150807080936
 
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
การเปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 (ฉบับปรั...
 
โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์
 
ตัว
ตัวตัว
ตัว
 
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
ว จ ย ร_ปแบบการพ_ฒนาการสอนว_ทยาศาสตร_
 
แนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษา
แนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษาแนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษา
แนวทางการดำแนินงานด้านการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 สนง ประกันคูณภาพการศึกษา
 
ศตรวรรดที่ 21
ศตรวรรดที่ 21ศตรวรรดที่ 21
ศตรวรรดที่ 21
 
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
 
Chapter3 jp
Chapter3 jpChapter3 jp
Chapter3 jp
 
Tep summary
Tep summaryTep summary
Tep summary
 
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศกิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
 
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศกิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
กิตติกรรมประกาศ'งานลูกเกศ
 
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...
การศึกษาการยอมรับรูปแบบการนำเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสมือนสำหรับรายวิชาโครงงานนัก...
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
Stem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills developmentStem education and 21st century skills development
Stem education and 21st century skills development
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 

More from กิตติพงษ์ วงเฟือง

More from กิตติพงษ์ วงเฟือง (17)

ส่วนท้าย
ส่วนท้ายส่วนท้าย
ส่วนท้าย
 
ส่วนท้าย
ส่วนท้ายส่วนท้าย
ส่วนท้าย
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
ส่วนหน้า
ส่วนหน้าส่วนหน้า
ส่วนหน้า
 
ปกโครงงาน
ปกโครงงานปกโครงงาน
ปกโครงงาน
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
ส่วนท้าย
ส่วนท้ายส่วนท้าย
ส่วนท้าย
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
ปกโครงงาน
ปกโครงงานปกโครงงาน
ปกโครงงาน
 
ส่วนหน้า
ส่วนหน้าส่วนหน้า
ส่วนหน้า
 

บทที่ 2

  • 1. 3 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการทําโครงงานคณิตศาสตร์ออนไลน์เรื่อง เลขยกกําลัง มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 2. คุณสมบัติของนักเรียนในอาเซียน 3. สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ 4. การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสอน 5. ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ 6. บทสรุปเรื่องเลขยกกําลัง 1. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตใน ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสําคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผล ต่อวิถีการดํารงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการ เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสําหรับการออกไปดํารงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สําคัญที่สุด คือ ทักษะการ เรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจําเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการ เรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ( วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21)) ได้กล่าวถึง ทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือ สาระวิชาก็มีความสําคัญ แต่ไม่เพียงพอสําหรับการ เรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์โดยครูช่วยแนะนํา และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วย ให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ โดยวิชาแกนหลักนี้จะนํามาสู่การกําหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สําคัญต่อการ จัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสําหรับศตวรรษที่ 21 โดย
  • 2. 4 การส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปใน ทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้ 1. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy) 2. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกําหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทํางานที่มีความซับซ้อนมาก ขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการ แก้ปัญหา และการสื่อสารและการร่วมมือ 3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและ เทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ ปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้ ความรู้ด้านสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับ สื่อและความรู้ด้านเทคโนโลยี 4. ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดํารงชีวิตและทํางานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสําเร็จ นักเรียนจะต้อง พัฒนาทักษะชีวิตที่สําคัญดังต่อไปนี้ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัว ของตัวเอง 5. ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability) ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Responsibility)
  • 3. 5 6. ทักษะการเรียนรู้ 3R x 7C 3R คือ 1. (R)Reading (อ่านออก) 2. (W) Writing (เขียนได้) 3. (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) 7C ได้แก่ 1. Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) 2. Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) 3. Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) 4. Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางาน เป็นทีม และภาวะผู้นํา) 5. Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) 6. Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร) 7. Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกําหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดย ร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ ในการดํารงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนา มาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชํานาญการและความ รู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสําเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทํางานและการดําเนินชีวิต
  • 4. 6 2. คุณสมบัติของนักเรียนในอาเซียน คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กําหนดคุณลักษณะ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านความรู้ 1. มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 2. มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน 2.1 จุดกําเนิดอาเซียน 2.2 กฎบัตรอาเซียน 2.3 ประชาคมอาเซียน 2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน 2. ด้านทักษะ/กระบวนการ 1. ทักษะพื้นฐาน 1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีก อย่างน้อย 1 ภาษา) 1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์ 1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี 1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น 2. ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม 2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2.2 มีภาวะผู้นํา 2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง 3. ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน 3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน 3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง 3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
  • 5. 7 3. ด้านเจตคติ 1. มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน 2. ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน 3. มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน 4. มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม 5. ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา 6. ดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ สื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใช้เพื่อการศึกษา ด้วยข้อมูลจํานวนมากที่ถูกนําเสนอ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์หากนํามาสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนย่อมก่อให้เกิดผลสําคัญ ในหลากหลายลักษณะเช่นกัน เช่น 1. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นห้องเรียน เนื่องจากบรรยากาศของ เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารผ่านภายมิติความสัมพันธ์ของคนใน เครือข่าย ด้วยเหตุนี้เมื่อทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ภายในระบบเครือข่าย สังคมออนไลน์ก็จะนําไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ในสังคมจริงในทิศทางที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ซึ่ง เป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจริง นอกจากนี้ลักษณะการนําเสนอข้อมูล สถานภาพที่เป็นปัจจุบัน ทําให้ทั้งผู้สอนสามารถติดตามพฤติกรรมและประสานข้อมูลได้อย่าง ทันท่วงที 2. การกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างขวาง การตั้งประเด็น แลกเปลี่ยน ข้อสงสัยต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ทําได้อย่างทันท่วงที และเป็นเครื่องมือ สําหรับผู้สอนในการกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันผู้สอนสามารถนําเสนอเนื้อหา ใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง 3. การส่งเสริมการศึกษาตามความสนใจและความถนัด เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเว็บบล็อกเป็นระบบที่ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานตามความถนัด และความสนใจของทั้งผู้สอนและผู้เรียน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนขยายผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  • 6. 8 4. การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน การเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วน ใหญ่ผ่านรูปแบบของข้อเขียนในหลายลักษณะ เช่น ข้อความสั้นในระบบ twitter ข้อความปานกลาง ของเว็บ facebook หรือข้อความยาวๆ ของระบบเว็บบล็อก เป็นต้น ในขณะเดียวกันเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็มีข้อเสียที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับผู้เรียนที่อาจจะมีความจําเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น 1. การใช้งานเพื่อความบันเทิง เกมมากกว่าการศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้ระบบเครือข่ายสังคม ออนไลน์ เช่นใน facebook จะประกอบด้วยเกมต่างๆ มากมาย และส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาในการ เล่นที่ต่อเนื่อง 2. ความจําเป็นของอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่อง และหากผู้สอนใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการนําเสนอข้อมูลไปยังผู้เรียนเป็นหลักอาจจะก่อให้ การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของผู้เรียนได้ 3. การรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการขาดวิจารณญาณในการข้อมูล ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนเข้าสู่ การเรียนรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ แหล่งการรับข้อมูลจะไม่สามารถจํากัดไว้เพียงจากผู้สอน เท่านั้น ซึ่งจําเป็นที่ผู้สอนจะต้องยํ้าถึงแนวทางการตรวจสอบข้อมูลให้กับผู้เรียน 4. การขาดวิจารณญาณในการนําเสนอข้อมูล เนื้อหาของผู้เรียน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ในการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะพบว่า หลายครั้งทําให้หลายคนขาด ความยั้งคิดในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ และนําไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา แนวปฏิบัติเพื่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในชั้นเรียน เมื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่เป็นการยากที่ผู้สอนจะปฏิเสธการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ด้วยเหตุนี้ผู้สอนควรมีแนวปฏิบัติสําคัญเพื่อให้การใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ดังนี้ 1. ควรศึกษาธรรมชาติของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่จะนํามาใช้อย่างชัดเจน 2. ควรศึกษาความพร้อมของผู้เรียนในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 3. เป็นต้นแบบที่ดีในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 4. ติดตามพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด 5. สร้างเครือข่ายผู้สอนและผู้ปกครองเพื่อประสิทธิภาพของการดูแลผู้เรียนในเครือข่าย สังคมออนไลน์
  • 7. 9 4. การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสอน 1. ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอน จากการจัดอันดับของเครื่องมือสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพบว่าทวิตเตอร์ เป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งในปีพ.ศ. 2552 ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. ทวิตเตอร์ทําให้ข่าวสารและข้อมูลแพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว 2. ทวิตเตอร์ช่วยทําให้ ทั้งให้และรับได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนการ สนทนาความคิดกับผู้อื่นที่มีความสนใจได้ดี 3. ข้อความในทวิตเตอร์สั้นทําให้ได้รับข้อมูลที่ไม่ยาวเกินความจําเป็น 4. มีแอพที่ทําให้การเข้าถึงทวิตเตอร์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ทวิตเตอร์ง่าย เช่น Google Chrome, Firefox ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทําให้หัวข้อฟีดไปแสดงที่บัญชีทวิเตอร์โดยอัตโนมัติ แม้ว่าความน่าจะเป็นช่วยให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ที่พิจารณาอยู่นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อย เพียงใด แต่บางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะช่วย ตัดสินใจได้จําเป็นต้องหาองค์ประกอบอื่น มาช่วยในการตัดสินใจด้วยซึ่งองค์ประกอบหนึ่งคือ ผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้นในทางสถิติได้นําความน่าจะเป็นของเหตุการณ์และ ผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้นมาพิจารณาประกอบกันเป็น “ค่าคาดหมาย” ซึ่งหาได้จาก ผลรวมของผลคูณระหว่างความน่าจะเป็นของเหตุการณ์กับผลคูณระหว่างความน่าจะเป็นของ เหตุการณ์กับผลตอบแทนของเหตุการณ์ 2. ประโยชน์ของ YouTube สําหรับโรงเรียน(Youtube for Schools) 1. กว้างขวางครอบคลุม YouTube สําหรับโรงเรียนเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวิดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก YouTube EDU วิดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มี ชื่อเสียงต่างๆ เช่น Stanford, PBS และ TED รวมทั้งจากพันธมิตรที่กําลังได้รับความนิยมของ YouTube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน เช่น Khan Academy, Steve Spangler Science และ Numberphile 2. ปรับแก้ได้สามารถกําหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะ ได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหา YouTube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอที่ดู ได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน
  • 8. 10 3. เหมาะสมสําหรับโรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวิดีโอ ใดๆ ก็ได้แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และจะดูได้เฉพาะวิดีโอ YouTube EDU และวิดีโอที่ โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวิดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการ ค้นหาจะจํากัดเฉพาะวิดีโอ YouTube EDU เท่านั้น 4. เป็นมิตรกับครู YouTube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วิดีโอนับร้อยรายการที่ได้ มาตรฐานการศึกษาทั่วไป และจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสต์เหล่านี้สร้างขึ้นโดย ครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง 3. การใช้เฟซบุ๊ก เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึง ส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆ นําเฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการ เรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริม ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับ ผู้เรียน จากการค้น “เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษา (Facebook for Education)”ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 922 ล้านรายการ และจากการค้น“ศูนย์แห่งการเรียนรู้บนเฟซบุ๊ก (Learning Center on Facebook)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ จะเห็นได้ว่ามีการนําเฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เพื่อ การศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น เฟซบุ๊กได้เป็นสื่อ สังคมยอดนิยมสําหรับครูผู้สอน ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 “เพียร์สัน (Pearson)”ได้รายงานผลสํารวจการ ใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ 2,000 แห่ง จากบล็อก “เอ็ดดูเดมิก (edudemic.com)”สรุปได้ว่า ครูผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้เฟซบุ๊กในด้านส่วนตัวและครูผู้สอน ร้อยละ 30 ใช้เฟซบุ๊กในด้านวิชาชีพเว็บ “พีซีเทคแม็กกาซีน (www.pctechmagazine.com)”ได้อ้างถึงเหตุผล 4 ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เฟซ บุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา 1. การพัฒนาด้านภาษาซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนจําเป็นต้องใช้เฟซบุ๊กในการ ติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ การใช้ เฟซบุ๊กเป็น ประจําในการเขียนและอ่านข้อความต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการเขียน การสะกดคํา และการใช้ ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง 2. การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับ ครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากยิ่งขึ้น
  • 9. 11 3. การทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งเฟซบุ๊กเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียน ผู้ใดผู้หนึ่งจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้เรียนผู้อื่นเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นการฝึกทักษะ การเป็นผู้นําและการเป็นผู้ตาม 4. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งการใช้เฟซบุ๊กในการเรียน การสอน จะช่วยผู้เรียนมีความสนใจและมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศใหม่ๆ สิ่งที่ครูผู้สอนพึงปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนนั้น เมื่อ มิถุนายน2554 เว็บ “ออลเฟซบุ๊ก(www.allfacebook.com)”ได้นําเสนอเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดไว้7 ประการเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนใช้เฟซบุ๊กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ห้ามครูผู้สอนระบายอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ที่มีต่อผู้เรียนในเชิงลบผ่านเฟซบุ๊ก ควรกําหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียนให้ ชัดเจน ในกรณีที่ยกเลิกการเรียนการสอนในห้องเรียนเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออํานวย ครูผู้สอน สามารถใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนโดยการกําหนดหัวข้อเกี่ยวกับวิชาที่สอน เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ไม่ควรใช้ข้อความที่รุนแรงในการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผู้เรียนและสถานศึกษา หลีกเลี่ยงการแสดงข้อความที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่รุนแรง ควรตั้ง ค่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้ควรแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผู้เรียนในเชิงบวกเท่านั้น เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ หรือ แอพพลิเคชัน หรือ“แอพส์ (Apps = Applications)” เพื่อการศึกษามากมายที่จะช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนในการ เตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น 1. “ไฟลส์ (Files)”สําหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน 2. “เมกอะควิซ (Make a Quiz)”สําหรับสร้างคําถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของ ผู้เรียน 3. “คาเลนเดอร์ (Calendar)”สําหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกําหนดการต่างๆ 4. “คอร์ส(Course)” สําหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน
  • 10. 12 นอกจากนี้ ยังมีแอพส์ที่จะช่วยอํานวยความสะดวกในการเรียนและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ ในการเรียนรู้สําหรับผู้เรียน ตัวอย่างเช่น 1. “วีรีด (WeRead)” สําหรับจัดการรายชื่อหนังสือให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น 2. “คลาสโน้ตส์ (Class Notes)”สําหรับถ่ายภาพในขณะที่ครูผู้สอนเขียนเนื้อหาบน กระดาน หรือคัดลอกเนื้อหาที่เรียน แล้วนําไปโพสต่อเพื่อแบ่งปันผู้อื่น สําหรับผู้สนใจสามารถเข้า อินเทอร์เน็ตแล้วค้นหาข้อมูลแอพส์ของ เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษาได้จะเห็นได้ว่า เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่ง การเรียนรู้และเป็นห่วงโซ่การศึกษาขนาดใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบไร้ขีดจํากัด ซึ่ง ครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา ตลอดวันละ24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ฉะนั้น ผู้บริหารการศึกษาจึงควรกําหนดแนวปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลด ความเสี่ยงด้านการใช้เฟซบุ๊กไปในทางที่ผิดหรือด้านการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ สถานศึกษา ยิ่งกว่านั้น ผู้บริหารการศึกษาจําเป็นต้องพัฒนานโยบายการใช้เฟซบุ๊กที่มีอยู่เป็นระยะๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย 5. ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ ข้อดีของ Social networks เครือข่ายสังคมออนไลน์ 1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ 2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกัน ตอบ 3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว 4. เป็นสื่อในการนาเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น 5. ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสาหรับบริษัทและ องค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า 6. ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น 7. คลายเครียดได้สาหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ 8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้
  • 11. 13 ข้อเสียของ Social networks เครือข่ายสังคมออนไลน์ 1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการ ไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนามาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วน บุคคลได้ 2. Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาด วิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็น ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ 3. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดง ความคิดเห็น 4. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กาหนดอายุการ สมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้ 5. ผู้ใช้ที่เล่น Social Network และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจ สายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้ 6. ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ Social Network มากเกินไปอาจทาให้เสียการเรียนหรือผล การเรียนตกตํ่าลงได้ 7. จะทําให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์ 6. บทสรุปเรื่องเลขยกกําลัง เลขยกกําลัง คือ การคูณตัวเลขนั้นๆตามจํานวนของเลขชี้กําลัง ซึ่งตัวเลขนั้นๆจะคูณตัว ของมันเองและเมื่อแทน a เป็นจํานวนใด ๆ และแทน n เป็นจํานวนเต็มบวก โดยที่มี a เป็นฐานหรือ ตัวเลข และ n เป็นเลขชี้กําลัง(an ) จะได้ว่า a คูณกัน n ตัว (axaxaxaxax…xa) ตัวอย่าง 25 เป็นเลขยกกําลัง ที่มี 2 เป็นฐานหรือตัวเลข และมี 5 เป็นเลขชี้กําลัง จะได้ว่า 25 = 2x2x2x2x2 = 32
  • 12. 14 สมบัติของเลขยกกําลัง 1. สมบัติการคูณเลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มบวก เมื่อ a เป็นจํานวนใดๆ และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวก รูปภาพที่ 1 สมบัติการคูณของเลขยกกําลัง เช่น 23 x 27 x 29 = 2(3 + 7 + 9) = 219 2. สมบัติการหารเลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มบวก กรณีที่ 1 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆที่ไม่ใช่ศูนย์และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวกที่ m > n รูปภาพที่ 2 สมบัติการหารเลขยกกําลัง กรณีที่ 1 เช่น 412 ÷ 43 =412-3 = 49 กรณีที่ 2 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆที่ไม่ใช่ศูนย์และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวกที่ m = n นิยาม ถ้า a เป็นจํานวนจริงใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์a0 = 1 รูปภาพที่ 3 สมบัติการหารเลขยกกําลัง กรณีที่ 2 เช่น 67 ÷ 67 = 67-7 = 60 = 1 หรือถ้า (-7)o = 1 กรณีที่ 3 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆที่ไม่ใช่ศูนย์และ m, n เป็นจํานวนเต็มบวกที่ m < n รูปภาพที่ 4 สมบัติการหารเลขยกกําลัง กรณีที่ 3
  • 13. 15 กรณีที่ 4 นิยาม ถ้า a เป็นจํานวนจริงใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์และ n เป็นจํานวนเต็มบวก แล้ว หรือ รูปภาพที่ 5 การหารเลขยกกําลังกรณีที่ 4 เช่น หรือ 3. สมบัติอื่น ๆ ของเลขยกกําลัง 1. เลขยกกําลังที่มีฐานเป็นเลขยกกําลัง เมื่อ a ≥0 และ m, n เป็นจํานวนเต็ม รูปภาพที่ 6 สมบัติอื่นๆของเลขยกกําลัง กรณีที่ 1 เช่น 2. เลขยกกําลังที่มีฐานอยู่ในรูปการคูณ หรือการหารของจํานวนหลาย ๆ จํานวน และ เมื่อ a ≠ 0 , b ≠ 0 และ n เป็นจํานวนเต็ม รูปภาพที่ 7 สมบัติอื่นๆของเลขยกกําลัง กรณีที่ 2 เช่น (5.3)2 = 53 . 32
  • 14. 16 3. เลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นเศษส่วน เมื่อ a > 0 และ n เป็นจํานวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 เมื่อ a ≠ 0 และ m เป็นจํานวนเต็มบวก ; n ≥ 2 รูปภาพที่ 8 สมบัติอื่นๆของเลขยกกําลัง กรณีที่ 3 การใช้เลขยกกําลังแทนจํานวน การเขียนจํานวนที่มีค่ามากๆนิยมเขียนแทนได้ด้วยรูป Ax10n เมื่อ 1≤A<10 และ n เป็น จํานวนเต็มบวก เช่น 16,000,000 = 1.6×107 และทํานองเดียวกันการเขียนจํานวนเต็มที่มีค่าน้อยๆก็ สามารถเขียนในรูป Ax10n ได้เช่นเดียวกัน แต่ n จะเป็นจํานวนเต็มลบ เช่น 0.000016 = 1.6×10-5 หลักการเปลี่ยนจํานวนให้อยู่ในรูป Ax10n เมื่อ 1≤A<10 และ n เป็นจํานวนเต็มอย่างง่ายๆ คือ ให้พิจารณาว่าจุดทศนิยมมีการเลื่อนตําแหน่งไปทางซ้ายหรือขวากี่ตําแหน่ง ถ้าเลื่อนไปทางซ้ายเลข ชี้กําลังจะเป็นบวก และถ้าเลื่อนไปทางขวาเลขชี้กําลังก็จะเป็นลบ เช่น 75000.0=7.5×104 0.000075 = 7.5×10-5 หรือกล่าวได้ว่า ถ้าจุดทศนิยมเลื่อนไปทางขวา n ตําแหน่ง เลขชี้กําลังของ 10 จะลดลง n ถ้าจุด ทศนิยมเลื่อนไปทางซ้าย n ตําแหน่ง เลขชี้กําลังของ10 จะเพิ่มขึ้น n