SlideShare a Scribd company logo
บทบาทของจีนในอาเซียน
กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
ปลายฟ้า บุนนาค
ผู้ช่วยนักวิจัย
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
บทบาทของจีนในอาเซียน
กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
ผู้เขียน : ปลายฟ้า บุนนาค
ภาพปก : https://www.linkedin.com/pulse/exaggerated-influence-china-asean-economic-huy-dang
เผยแพร่ : สิงหาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
หน้า
จุดประสงค์การศึกษา 1
ขอบเขตและประเด็นของการศึกษา 1
บทนา 2
บทที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว 5
บทที่ 2 บทบาทด้านต่างๆ ของจีน ในมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว 15
บทที่ 3 บทสรุป 34
ข้อตระหนัก 35
ข้อสังเกต 35
ข้อเสนอแนะต่อไทย 36
บรรณานุกรม 37
1
จุดประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสาคัญของจีนในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศ
มาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว ที่มีชายแดนติดกับไทย
2. เพื่อให้ไทยมองเห็นโอกาสที่จะได้จากการที่จีนเข้ามาลงทุนในประเทศดังกล่าว เพื่อตรียมความ
พร้อมและวางยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กาลังเปลี่ยนแปลง
ขอบเขตและประเด็นของการศึกษา
งานวิจัยชิ้นนี้ ผู้เขียนศึกษาบทบาทของจีนในประเทศมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว ที่เกิดขึ้น
ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนหันมาให้ความสาคัญกับนโยบาย BELT AND
ROAD INITIATIVE ซึ่งจะมีเส้นทางพาดผ่านบริเวณที่ศึกษาด้วย โดยจะวิเคราะห์บทบาทของจีนในด้าน
เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนเป็นสาคัญ และอาจมีประเด็นการเมือง การทูต และความมั่นคงร่วมด้วย
ซึ่งประเด็นการศึกษาจะเน้นศึกษาจากโครงการใหญ่ๆ ที่จีนเข้ามาลงทุนในประเทศนั้นๆ เป็นหลัก
2
บทนา
กว่า 25 ปีมาแล้วที่ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนได้พัฒนาและเติบโตไปตามลาดับ ความร่วมมือ
ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ การค้า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความมั่นคง การเมือง และการเป็นหุ้นส่วน
ทางยุทธศาสตร์ เหตุผลที่ทาให้จีนให้ความสนใจกับอาเซียน นั่นเพราะในช่วงหลังสงครามเย็น จีน
ต้องการดาเนินยุทธศาสตร์ใหม่ เรียกว่านโยบาย “เพื่อนบ้านที่ดี” โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทาให้ภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงยุทธศาสตร์ “การขึ้นสู่มหาอานาจอย่างสันติ” ของ
จีน เพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเปลี่ยนทัศนะที่เคยคิดว่าจีนเป็นภัยคุกคามและ
ลดความหวาดระแวงจีนลงโดยการใช้ Soft Power ในขณะเดียวกัน อาเซียนเองก็ดาเนินยุทธศาสตร์
“การเกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์” โดยอาเซียนจะไม่โดดเดี่ยวจีนแต่จะเกี่ยวพันกันมากกว่า
เมื่อปี 1997 เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จีนประกาศไม่ลดค่าเงินหยวน (เป็นผลดีต่อประเทศ
อาเซียน) และให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มประเทศอาเซียนยิ่งทาให้จีนได้รับการยอมรับจาก
ประเทศอาเซียนมากขึ้น จนกระทั่งปี 2001 จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ส่งผลให้
ประเทศอาเซียนเกิดความกังวลว่าจีนจะกลายมาเป็นคู่แข่งคนสาคัญต่ออาเซียน เพราะเป็นแหล่งการ
ผลิตสินค้าที่มีราคาถูก มีแรงงานจานวนมาก และประสิทธิภาพของสินค้ามีมากขึ้นภายหลังจากการเข้า
เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จีนจึงจาเป็นต้องหาหนทางเพื่อสร้างความวางใจและลดความหวาดวิตก
ทางเศรษฐกิจจากอาเซียนให้ได้ ดังนั้น เมื่อปี 2004 จีนและอาเซียนได้ลงนามกันในการประชุมสุดยอด
จีน – อาเซียน ซึ่งจัดที่ลาว ถือเป็นความตกลง FTA ด้านการค้าฉบับแรกที่อาเซียนทากับประเทศนอก
กลุ่ม
จีนเป็นประเทศมหาอานาจที่กาลังเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจการเมืองโลก และ
เป็นตลาดที่ใหญ่มากซึ่งกาลังเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ความตกลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวจึงทาให้
อาเซียนและจีนได้ประโยชน์ร่วมกันในแง่การแลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์ระหว่างกัน ทาให้สินค้าของจีน
และอาเซียนเข้าตลาดของอีกฝ่ายโดยเสียภาษีนาเข้าต่ากว่าสมาชิก WTO อื่นๆ ซึ่งการเปิดโอกาสให้
อาเซียนเข้าถึงตลาดจีนก่อนประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ นับว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ
อาเซียนอีกครั้ง ถือเป็นการดาเนินนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาดของจีนที่ทาให้อาเซียนปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมไปในทิศทางที่จีนพอใจ ขณะเดียวกัน อาเซียนก็พึงพอใจที่จีนยอมรับเงื่อนไขความร่วมมือ
แบบพหุภาคี และได้มีการสร้างสถาบันมารับรองด้วย
3
ความสาคัญของอาเซียนต่อจีน
ประชาคมอาเซียน เป็นการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และสิงคโปร์ รวมตัวกันทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งกาหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก
คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การรวมกลุ่มของประเทศอาเซียนทาให้เกิดเป็นชุมชน (Community) ทาให้เกิดความแข็งแกร่ง สามารถ
สร้างโอกาสและรับมือความท้าทายได้ ทั้งทางด้านการเมือง ความมั่น เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบ
ใหม่
ภาพ : แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศอาเซียนและจีน
ที่มา : Google map
สาหรับจีน อาเซียนมีความสาคัญหลายด้าน อย่างแรก อาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่มี
ประชากรราว 600 กว่าล้านคน และเป็นเพื่อนบ้าน มีชายแดนบางส่วนติดกับจีน ในด้านภูมิรัฐศาสตร์
(Geopolitics) อาเซียนตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างสองอารยธรรมยิ่งใหญ่ คือ จีนกับอินเดีย และมีทางออกสู่
ทะเลทั้งอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีประโยชน์ต่อจีนมาก อีกทั้งอาเซียนและจีนยังมีความ
ใกล้เคียงทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ อาเซียนมีความหลากหลายเพราะการรวมตัวกัน 10 ประเทศ
หลากหลายนี้กลับกลายเป็นจุดแข็ง ทาให้อาเซียนผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้จนถึงปัจจุบัน และทาให้
4
อาเซียนเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันแม้จะมีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งความเข้านี้จะนาไปสู่ความวางใจ
ระหว่างอาเซียนกับจีนได้ นอกจากนี้ อาเซียนยังมีพันธมิตรจานวนมาก ด้วยอาเซียนมีประเทศสมาชิก
10 ประเทศ และแต่ละประเทศก็มีพันธมิตรของตน ทาให้อาเซียนมีพันธมิตรทุกกลุ่มในโลก ตรงนี้เป็น
ปัจจัยสาคัญที่ทาให้จีนสามารถสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เป็นอย่างดี1
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าจีนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด
จนทาให้เงินทุนในประเทศล้นทะลักออกไปลงทุนในต่างประเทศเป็นจานวนมาก ทุนจีนเหล่านี้ ออกไป
ลงทุนนอกประเทศจากการสนับสนุนของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย Going Out
ที่รัฐจีนสนับสนุนด้านภาษีและการเงินให้บริษัทจีนต่างๆ รวมถึงนโยบาย Soft Power ซึ่งมักจะเป็นการ
ช่วยเหลือในด้านการเงินแก่ประเทศที่ด้อยกว่า โดยเฉพาะในประเทศแถบอาเซียน ที่จีนกาลังให้
ความสาคัญเป็นอย่างมาก เช่น การเข้าไปลงทุนด้านพลังงานในพม่า การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ใน
มาเลเซีย และด้านโครงสร้างพื้นฐานในลาว เป็นต้น ในรายงานฉบับนี้ เราจะศึกษาถึงบทบาทของจีนใน
อาเซียน โดยยกกรณีศึกษาประเทศมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว และแบ่งออกเป็น ด้านพลังงาน
โครงสร้างพื้นฐาน การทหารและความมั่นคง อสังหาริมทรัพย์ และเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศเหล่านี้
เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ซึ่งการเข้ามามีบทบาทของจีนในประเทศเหล่านี้
อาจส่งผลกระทบหรืออาจเป็นโอกาสในการเติบโตของไทยในอนาคตได้
1 ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย งานสัมมนา “เหลียวหลังแลหน้า ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน 25 ปี” โรงแรมพลาซ่า แอทธินี วัน
5
บทที่ 1
ข้อมูลเบื้องต้นของมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
มาเลเซีย
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศมาเลเซีย ปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศมาเลเซียปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
193.5
230.8
202.3
255.0
298.0
314.4 323.3
338.1
296.3 296.4
0.00
50.00
100.00
150.00
200.00
250.00
300.00
350.00
400.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP (current US$)
7.6 7.8
7.5
8.5
8.0 8.0 8.0
7.6
7.3
7.0
0.00
1.00
2.00
3.00
4.00
5.00
6.00
7.00
8.00
9.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP growth (annual %)
6
มาเลเซียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยน
จากประเทศผลิตและส่งออกพืชผลทางการเกษตร มาเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่
ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
และด้วยมาเลเซียมีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ชัดเจน (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
มาเลเซีย) รวมถึงการมีแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่ดี ยิ่งเป็นปัจจัยเสริมให้
มาเลเซียพัฒนาเศรษฐกิจของตนได้ดี
มาเลเซียมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างดี ทั้งทางด้านคมนาคม โทรคมนาคม การไฟฟ้า
การประปา รวมถึงด้านพลังงานที่มีการใช้เชื้อเพลงแบบผสมผสานโดยใช้ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 79 และ
ถ่านหินร้อยละ 21 ความพยายามของรัฐบาลมาเลเซียที่ต้องการลดการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและหัน
มาพึ่งการใช้ถ่านหินให้มากขึ้น จึงได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแมนจุง ขนาดกาลังผลิต 2,100 เมกะวัตต์
ที่รัฐเปรักทางฝั่งตะวันตกของประเทศ และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการหาพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าบน
แผ่นดินใหญ่ จึงได้สร้างเกาะเทียมชื่อ “เกาะแมนจุง” มีพื้นที่ประมาณ 830 เอเคอร์ เพื่อใช้ก่อสร้าง
โรงไฟฟ้าดังกล่าว และเป็นท่าเรือน้าลึก สามารถรองรับเรือบรรทุกถ่านหินขนาด 1.8 แสนตันได้
ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทาให้จีนให้ความสนใจที่จะมาลงทุนในมาเลเซีย นอกจากนี้ จีน
เป็นประเทศที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับมาเลเซีย ทั้งระดับรัฐบาล การค้าและการลงทุน โดยมาเลเซียเป็นทั้ง
ประเทศคู่ค้าและหุ้นส่วนการค้าในอาเซียนที่ใหญ่ที่สุดของจีน ในปี 2015 จีนลงทุนในมาเลเซียเพิ่มขึ้น
กว่า 200% หรือคิดเป็นเงิน 408 ล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 นายหลี่เค่อเฉียง
นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เซ็น
สนธิสัญญาด้านกลาโหมฉบับสาคัญ มีเนื้อหาครอบคลุมความร่วมมือทั้งในเรื่องของรางรถไฟ พลังงาน
การป้องกัน และการพัฒนาร่วมกันด้านกองทัพเรือของมาเลเซีย โครงสร้างพื้นฐาน เกษตรกรรม
การศึกษา ภาษี
7
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า : Republic of the Union of Myanmar (ในที่นี้จะขอเรียกว่าพม่า
เพื่อความกระชับ) เมืองหลวงชื่อเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) มีประชากรราว 53.9 ล้านคน (2015)2 มีพื้นที่
ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือ
คาบสมุทรอินโดจีน)3 ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน มีชายฝั่งทะเลยาวถึง
2,000 ไมล์ จุดแข็งของพม่าคือมีภูมิประเทศที่ดี ตั้งอยู่ระหว่างสองอารยธรรมใหญ่ อย่างจีนกับอินเดีย
และมีทางออกทะเลเชื่อมไปยังมหาสมุทรอินเดียได้ นอกจากนี้ พม่ายังเป็นประเทศที่มี
ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก ทั้งปิโตรเลียม หยก อัญมณี น้ามัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ประมง และ
มีกาลังแรงงานที่มีค่าจ้างต่า ซึ่งเป็นฐานกาลังแรงงานที่สาคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้านเศรษฐกิจ พม่าถูกธนาคารโลกจัดให้เป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก
ในปี 2006 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ของพม่าอยู่ที่ 14,500
ล้านเหรียญสหรัฐ4 แต่หลังจากการประกาศใช้การปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบกว้างๆ เมื่อปี
2011 โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (ดารงตาแหน่ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2559)5 ทา
ให้เศรษฐกิจของพม่าขยายตัวมากขึ้น นักลุงทุนต่างให้ความสนใจพม่า รัฐบาลเริ่มออกกฎหมายเพื่อ
ส่งเสริมการลงทุน โดยอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศและหน่วยงานที่สนับสนุนด้านเงินทุนเข้ามาใน
ประเทศได้
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2012 พม่าได้ประกาศใช้กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โดยอนุญาตให้
ชาวต่างชาติสามารถเข้าลงทุนโครงการได้ 100% รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีต่างๆ
จากการประการใช้กฎหมายการลงทุนดังกล่าว นาไปสู่การขยายโอกาสทางด้านการลงทุนและธุรกิจที่
หลากหลาย ความต้องการลงทุนในพม่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ โดยเฉพาะ
จีนและไทย ที่เข้าไปลงทุนในพม่าเป็นอันดับ1 และ 2 ตามลาดับ ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในกลุ่มพลังงาน
ได้แก่ น้ามันและก๊าซ ทรัพยากรน้า และถ่านหิน เป็นต้น
2 ออนไลน์ : http://www.tradingeconomics.com/myanmar/population ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559
3 ออนไลน์ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%
E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2 ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559
4 ออนไลน์ : http://www.tradingeconomics.com/myanmar/gdp ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559
5 ออนไลน์ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%87_%E0%B9%80%
E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87 ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559
8
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศพม่า ปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศพม่าปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
20.2
31.9
36.9
49.5
60.0 59.7 60.1
65.6
62.6
67.4
0.00
10.00
20.00
30.00
40.00
50.00
60.00
70.00
80.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP (current US$)
12.0
10.3 10.6
9.6
5.6
7.3
8.4
8.0
7.3
6.5
0.00
2.00
4.00
6.00
8.00
10.00
12.00
14.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP growth (annual %)
9
ความสาคัญของพม่าต่อจีน
พม่าเปรียบเหมือนประตูหลังบ้านของจีน พม่าเป็นเส้นทางออกมหาสมุทรอินเดียทางด้าน
ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐบาลจีนตั้งเป้าให้เศรษฐกิจด้านนี้ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยอาศัยพม่าในการเป็น
เส้นทางการค้าที่สาคัญ สาหรับระบายสินค้าจากจีนออกสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย และเพื่อ
ลดความเสี่ยงและต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบและน้ามันเข้าสู่ประเทศผ่านช่องแคบมะละกา จึงได้กาหนด
เป็นยุทธศาสตร์ที่สาคัญ คือ 1 ประเทศ (จีน) 2 มหาสมุทร (อินเดียและแปซิฟิก) และภาครัฐของจีนจึงเร่ง
ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากประตูด้านยูนนาน-พม่า เพราะแม้จีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่แค่ไหน แต่ก็มี
จุดอ่อนจากการมีทางออกทะเลเพียงด้านเดียว คือ มหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้น ในการขนส่งค้าขายกับคู่ค้า
หลักอย่างสหภาพยุโรป จีนจึงต้องเดินเรือทะเลไปอ้อมช่องแคบมะละกา รวมไปถึงการขนส่งพลังงาน
สาคัญจากตะวันออกกลางก็ต้องไปอ้อมช่องแคบมะละกาอีกเช่นกัน แต่การพึ่งพาและพึ่งพิงช่องแคบนี้
มากเกินไป ย่อมเป็นความเสี่ยง รัฐบาลจีนจึงได้พยายามหาทางออกสู่ทะเลอีกด้าน และในที่สุด ก็
ตัดสินใจเลือกที่จะใช้เส้นทางผ่านกลางประเทศพม่าเพื่อออกสู่มหาสมุทรอินเดีย
ดังนั้น จีนจึงได้เข้าไปทุ่มงบประมาณลงทุนและช่วยเหลือพม่าในหลากหลายโครงการอย่างครบ
วงจร รวมทั้งอภิมหาโครงการพัฒนาเมืองชายฝั่งของพม่า
นอกจากพม่าจะมีความสาคัญต่อจีนในทางเศรษฐกิจแล้ว พม่ายังมีความสาคัญต่อจีนในทาง
ยุทธศาสตร์อีกด้วย นั่นคือการเป็นสะพานให้จีนสามารถขยายแสนยานุภาพของตนเข้าไปในมหาสมุทร
อินเดียได้ รวมทั้งยังช่วยให้จีนสามารถสกัดกั้นอิทธิพลของอินเดียได้สะดวกขึ้น
ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนจีนกับพม่าเห็นรูปร่างชัดเจนเมื่อปี 2004 ทั้งสองประเทศ
ได้ทาข้อตกลงว่าด้วยการลดภาษีสินค้าในส่วนเร่งรัด (early harvest) ภายใต้กรอบการค้าเสรีจีน-
อาเซียน (The ASEAN-China Free Trade Area) ส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้น ในปี
2010 จีนมีมูลค่าการลงทุนในพม่าสูงถึง 1.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และด้วยทรัพยากรของพม่าที่
จาเป็นต่อความมั่นคงด้านพลังงานของจีน จึงทาให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2007 รัฐวิสาหกิจของจีน
ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ China National Offshore Oil Corporation Myanmar Ltd. (CNOOC-Myanmar
Ltd.) China National Petroleum Corporation (CNPC) แ ล ะ China Petroleum and Chemical
Corporation (Sinopec) ได้รับสิทธิในการเข้าไปลงทุนสารวจน้ามันและก๊าซธรรมชาติในพม่าเป็นจานวน
14 ช่อง (block) และต่อมาในปี 2008 CNPC รัฐบาลพม่าและ Daewoo International Group Corporation
ได้ลงนามในข้อตกลงสร้างท่อส่งก๊าซจากช่อง A1 และ A3 จากพม่าไปยังเมืองคุณหมิงของจีน นอกจากนี้
สี จิ้น ผิง (ขณะนั้นดารงตาแหน่งรองประธานาธิบดี) ได้มีการมาลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)
ร่วมกับผู้นาพม่าว่าด้วยการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการบริหารท่อก๊าซดังกล่าวระหว่างการเยือน
พม่าเมื่อมิถุนายนปี 2009 อีกด้วย6
6
สิทธิพล เครือรัฐติกาล. นโยบายต่างประเทศของจีนต่อพม่า อดีตและปัจจุบัน (ค.ศ. 1949-2010), กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556), 89-91.
10
กัมพูชา
กัมพูชาตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีชายแดนติดกับ
ไทยและเป็นสมาชิกอาเซียน มีประชากร 15.58 ล้านคน (2015) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
ประมาณ 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (2015) และมีอัตราการเติบโตของ GDP 7% (2015)7
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจของกัมพูชาเจริญเติบโตขึ้นมาก แต่หากเทียบกับประเทศใน
อาเซียนด้วยกันก็ยังอยู่ในระดับต่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เศรษฐกิจสาคัญของ
ประเทศคือการเกษตร อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และมีการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติ
การเพิ่มขึ้นของ GDP ของกัมพูชาเป็นผลมาจากการเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจให้เป็นแบบเปิด
มากขึ้นและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย รัฐบาลกัมพูชาจึงจาเป็นต้องดึงดูดเม็ดเงินลงทุน
จากทั้งในและนอกประเทศ เพราะหวังพึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI เป็นตัวขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ ซึ่งบริษัทต่างชาติให้ความสนใจในการเข้าไปลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีแรงงานราคาถูก
จานวนมาก และกัมพูชาได้รับระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จานวน 25 ประเทศ ส่วนใหญ่
เป็นประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น และแคนาดา ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ที่มาลงทุนก็หวังเพื่อที่จะได้
ใช้สิทธิพิเศษนี้ ระบายสินค้าของตนสู่ตลาดสหรัฐ และยุโรป
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศกัมพูชาปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
7 The World Bank : http://www.worldbank.org/en/country/cambodia ค้นเมื่อ 20/4/2017
4.2
5.4 5.8
7.1
8.3
10.2
11.9
13.3
14.4
15.9
0.00
2.00
4.00
6.00
8.00
10.00
12.00
14.00
16.00
18.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP (current billion US$)
11
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศกัมพูชาปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
จีนกับกัมพูชานั้นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาอย่างยาวนาน แม้ในยุคที่กัมพูชาปกครองด้วยเขมร
แดงและมีการปิดประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับกัมพูชาก็ไม่ได้ตัดขาดกัน ผู้นาเขมรแดงได้นา
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ The Great Leap Forward ของจีน มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศตน และจีนก็ให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาตลอดมา ต่างกับความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกที่
กัมพูชาดูจะไม่ค่อยพอใจความช่วยเหลือแบบตะวันตกสักเท่าไร ที่ความช่วยเหลือมักจะมาพร้อมเงื่อนไข
มุ่งให้กัมพูชาปรับปรุงประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ในขณะกัมพูชามองว่าจีนเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาคที่
คอยให้ความช่วยเหลือโดยปราศจากเงื่อนไขดังกล่าว
ปัจจุบันจีนกลายเป็นประเทศที่มีการลงทุนในกัมพูชา มากเป็นอันดับ 1 ส่วนใหญ่ ได้แก่ ด้าน
พลังงาน โดยเน้นการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นความต้องการของกัมพูชาที่ยังขาดแคลน
ไฟฟ้าอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งกัมพูชาต้องการเร่งสร้างเพื่อเชื่อมโยง
ระบบเศรษฐกิจทั่วประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยอานวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าจาก
แหล่งผลิตไปยังตลาดผู้บริโภค และหวังใช้ถนนเพื่อเชื่อมโยงอานาจการปกครองจากรัฐบาลกลางไปยัง
การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนของกัมพูชา
การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและบุคลากรระหว่างสองประเทศขยายตัวเรื่อยๆ ปี 2015
นักท่องเที่ยวจีนที่เที่ยวกัมพูชามีจานวนเกือบ 8 แสนคน ขณะนี้ กว่า 10 เมืองของจีนมีเที่ยวบินตรงถึง
เมืองต่างๆ ของกัมพูชา แต่ละวันมีเที่ยวบินไปมาระหว่างจีนกับกัมพูชา 35 เที่ยว มีการแลกเปลี่ยนการ
เยือนระหว่างศิลปินในแวดวงวัฒนธรรมอย่างสม่าเสมอ มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรเพิ่มมาก
ขึ้น และเกิดกระแสนิยมเรียนภาษาจีนในกัมพูชาด้วย ซึ่งสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อได้รับความ
นิยมอย่างสูง
7.6 7.8
7.5
8.5
8.0 8.0 8.0
7.6
7.3 7.0
0.00
1.00
2.00
3.00
4.00
5.00
6.00
7.00
8.00
9.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP growth (annual %)
12
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) หรือที่เรารู้จักกันในนามประเทศลาว มี
ประชากรเพียง 6.9 ล้านคน(2016) จีดีพี 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (2016)8
เศรษฐกิจของลาวมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่
ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีแบบตลาดเมื่อปี 1986 เศรษฐกิจลาว
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี นับเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทว่าเศรษฐกิจลาวประสบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงถึง
ร้อยละ 21.9 ของ GDP เนื่องจากความต้องการนาเข้าสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น และมีข้อจากัดด้าน
ศักยภาพการผลิตเพื่อการส่งออก9
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศลาวปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
8ออนไลน์ : https://knoema.com/atlas/Lao-Peoples-Democratic-Republic/GDP ค้นเมื่อ 23/4/2017
9 กรมเจรจาการค้า, 2557
4.2
5.4 5.8
7.1
8.3
10.2
11.9
13.3
14.4
15.9
0.00
2.00
4.00
6.00
8.00
10.00
12.00
14.00
16.00
18.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP (current billion US$)
13
ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศลาวปี 2007-2016
ที่มา : World Development Indicators
ปัจจุบันเศรษฐกิจลาวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ย 8%
ต่อปี อย่างไรก็ตาม ลาวก็ยังคงถูกจัดเป็นประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) โดยมีรายได้ต่อ
หัวอยู่ที่ 1,490 เหรียญสหรัฐ ประชากรกว่า 37% ยังอยู่ใต้เส้นความยากจน การกระจายรายได้ยังอยู่
ระดับท้ายๆ เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ภาคเกษตร (ซึ่งใช้แรงงาน 75% ของแรงงานทั้งหมด) มี
สัดส่วน 40.3% ของ GDP รองลงมาเป็นอุตสาหกรรม (34.1%) และภาคบริการ (25.6%) โครงสร้าง
พื้นฐานยังค่อนข้างล้าหลัง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทซึ่งถนนยังคงเป็นแบบพื้นฐานและส่วนใหญ่เป็นถนน
ลูกรัง ระบบโทรศัพท์พื้นฐานยังมีใช้กันอยู่ในขอบเขตจากัดไม่ทั่วถึง ในด้านไฟฟ้า 25% ของพื้นที่ในลาว
ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แม้ลาวจะเป็นผู้ส่งออกไฟฟ้าก็ตาม10
ลาวเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้านแร่ธาตุมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีแร่ธาตุมากกว่า 570
ชนิด แร่ธาตุสาคัญ เช่น ทองคา ทองแดง ตะกั่ว วูลแฟรมและยิปซัม การส่งออกแร่มีสัดส่วนถึง 40%
ของการส่งออกทั้งหมดของลาว ภาคเหมืองแร่ลาวมีสัดส่วน 10% ของ GDP แรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
สาคัญจึงเป็นการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากร
ธรรมชาติ/แร่ธาตุ อันได้แก่ การผลิตไฟฟ้าพลังน้า เช่น เขื่อนน้าเทิน 2 (ลาวมีศักยภาพที่จะ
ผลิตไฟฟ้าได้สูงถึง 26,000 MW แต่ปัจจุบันผลิตเพียง 19%)
จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวทาให้ลาวมีรายได้สูงขึ้น เนื่องจากราคาทองคาและทองแดงใน
ตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น นอกจากนั้นลาวยังมีการขยายการผลิตสินแร่อื่นๆ ที่ตลาดโลกมีความต้องการสูง
เช่นกัน ได้แก่ บอกไซต์ (ทาอลูมิเนียม) คาดว่ามีปริมาณเบื้องต้นที่จะขุดมาใช้ได้ 2.0-2.5 พันล้านตัน ซึ่ง
จากการสารวจของบริษัทจีนที่ได้สัมปทาน 30 ปีจากลาว พบว่ามีขนาดใหญ่โตติดอันดับ 1 ใน 3 แหล่ง
บอกไซต์ใหญ่ที่สุดในโลก ประมาณการว่าจะสามารถขุดมาใช้ได้ 50 ปีก็ยังไม่หมด และอาจเทียบชั้นกับ
แหล่งใหญ่อันดับ 1 ของโลกที่ออสเตรเลียก็เป็นได้ นอกจากนั้นที่แขวงจาปาสักยังได้สารวจพบแร่เหล็ก
10 ออนไลน์ : http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/tpso_journal_oct_58_issue_51.pdf ค้นเมื่อ 27/6/2017
7.6 7.8
7.5
8.5
8.0 8.0 8.0
7.6
7.3 7.0
0.00
1.00
2.00
3.00
4.00
5.00
6.00
7.00
8.00
9.00
2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016
GDP growth (annual %)
14
และแร่ฟอสฟอรัสจานวนมากอีกด้วย สาหรับแร่โพแทชมีบริษัทจากจีนและอินเดียได้รับสัมปทานในแถบ
ทางใต้ของแขวงเวียงจันทน์ ผลผลิตประมาณ 50 พันล้านตัน และในแขวงคาม่วน มีบริษัทจีนได้รับ
สัมปทานไปจานวน 5 แห่ง ด้วยกาลังการผลิต 1 แสนตัน/ปี
นอกจากนั้นลาวยังมีอุตสาหกรรมสาคัญเป็นธุรกิจไม้ซุง การแปรรูปสินค้าเกษตร ยางพารา การ
ก่อสร้าง เสื้อผ้าสาเร็จรูป ซีเมนต์ และการท่องเที่ยว ปัจจุบันจีนเป็นผู้ลงทุนอันดับ 1 (มูลค่าลงทุน 5.1
พันล้านเหรียญสหรัฐ) แซงหน้าไทยและเวียดนามแล้ว การลงทุนส่วนใหญ่ของจีนเป็นด้านเหมืองแร่
พลังงานไฟฟ้า และเมื่อปี 2016 คณะกรรมการความร่วมมือลาว-จีน ได้ออกมาประกาศว่าจีนเป็นประเทศ
ที่ลงทุนในลาวมากที่สุด โดยมีโครงการลงทุนรวม 760 โครงการ ยอดการลงทุนมากกว่า 6,700 ล้าน
เหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะระหว่างปี 2011 ถึงปัจจุบัน มีการลงทุนกว่า 160 โครงการ ยอดการลงทุน
มากกว่า 2,750 ล้านเหรียญสหรัฐ11 ซึ่งการลงทุนของจีนในลาวได้ครอบคลุมในหลายด้าน แต่ที่สาคัญคือ
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน เหมืองแร่ การเกษตร และเสื้อผ้า
11 ออนไลน์ : http://thai.cri.cn/247/2016/05/02/101s241891.htm ค้นเมื่อ 27/6/2017
15
บทที่ 2
บทบาทด้านต่างๆ ของจีน ในมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
พลังงาน
มาเลเซีย
บริษัทผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์ 2 ยักษ์ใหญ่ของจีน ได้แก่ Jinko Solar Co Ltd และ JA
Solar Malaysia Sdn Bhd ได้ลงทุนสร้างโรงงานในปีนังและมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 363.21 ล้านริงกิต
และ 300 ล้านริงกิตตามลาดับ นอกจากนี้ ยังมี บริษัท JA Solar Holdings Co., Ltd. (Nasdaq: JASO)
บริษัทสัญชาติจีน ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เปิด
โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงขนาด 400 เมกะวัตต์ ในปีนัง โดยใช้เงินลงทุน
ประมาณ 300 ล้านริงกิตมาเลเซียในการก่อสร้างโรงงานแห่งนี้ในนิคมอุตสาหกรรมปีนัง บายัน เลปาส
ซึ่งจะสร้างตาแหน่งงานถึง 700 ตาแหน่งในชุมชน และสามารถรองรับการขยายกาลังการผลิตเพื่อให้
สอดรับกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
เหตุผลที่ทาให้จีนเลือกมาลงทุนในปีนัง เนื่องจากปีนังเป็นหนึ่งในเมืองท่าอุตสาหกรรมและเมือง
เศรษฐกิจที่สาคัญของมาเลเซีย ตั้งอยู่ในทาเลทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสนามบิน ท่าเรือ
รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่น่าเชื่อถือ
พม่า
โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Gas Pipeline)
โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินี้ เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China National
Petroleum Corporation หรือ CNPC ของจีน และบริษัทเมียนมาร์ ออย แอนด์ ก๊าซ เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่ง
เป็นบริษัทน้ามันแห่งชาติของพม่า นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอีก 4 แห่งจากอินเดียและเกาหลีใต้ ถือหุ้นใน
โครงการนี้ด้วย โดยท่อส่งก๊าซมีความยาว 793 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างอ่าวเบงกอลของพม่า ซึ่งมีแหล่ง
ก๊าซธรรมชาติหลายแห่ง กับมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยมีจุดเริ่มต้นที่เมืองจ้าวผิ่ว
ในรัฐยะไข่ ผ่านเขตมาเกว เขตมัณฑะเลย์ และรัฐฉาน และเข้าสู่เขตเมืองรุยลี่ ในมณฑลยูนนานของจีน
วางแนวขนานไปกับท่อส่งน้ามันดิบ และคาดว่าจะส่งก๊าซธรรมชาติจานวน 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ไปยังจีนต่อปี12 โครงการนี้จะทาให้ย่นระยะทางมากกว่า 1,820 ไมล์ทะเล โดยโครงการท่อส่งก๊าซ
ดังกล่าวได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2013 โดยมีการก่อตั้งบริษัท เซาธ์
อีสต์ เอเชีย ครู้ด ก๊าซ ไปป์ไลน์ เพื่อบริหารการส่งก๊าซ
12 ออนไลน์ : http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=947.0 ค้นเมื่อ 16/4/2017
16
โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ามันดิบ (Crude Oil Pipeline)
โครงการนี้ จะนาน้ามันดิบจากตะวันออกกลางและแอฟริกาขนส่งมาทางเรือมาที่ท่าเรือเจียว
เพียว (ภาษาจีน) หรือจ้าวผิ่ว (Kyaukphyu) ภาษาพม่า แล้วขนส่งไปตามท่อที่จีนจะสร้างขึ้นในพม่า โดย
มีแนวท่อเริ่มจากเมืองเจียวเพียว-มัณฑะเลย์-ลาโช-มูเซ-รุยลี่ ของมณฑลยูนนาน ไปสิ้นสุดที่ฉงชิ่งของจีน
รวมระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร ซึ่ง China National Petroleum Corporation หรือ CNPC ของจีน
เป็นผู้ถือหุ้น 50.9% และอีก 49.1% เป็นของ South East Asia Pipe Company Ltd. (SEAP) ซึ่งบริษัท
น้ามันแห่งชาติของพม่าเป็นเจ้าของอยู่ โดยคาดว่าจะสามารถขนส่งน้ามันดิบได้ประมาณปีละ 22 ล้านตัน
และได้ก่อตั้งบริษัทเซาธ์อีสต์ เอเชีย ครู้ด ออยล์ ไปป์ไลน์ เพื่อบริการการส่งน้ามัน แต่ปัจจุบันท่อส่ง
น้ามันดิบเสร็จไปแล้วบางส่วนแต่ยังไม่ครบทั้งเส้น
ภาพ : เส้นทางท่อส่งก๊าซและน้ามันพม่า-จีน
ที่มา : http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=7433.0
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ามิตโสน (Myitson dam)
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ามิตโสนเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนกับรัฐบาลพม่า มีมูลค่า
กว่า 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ (หนึ่งแสนกว่าล้านบาท) หากก่อสร้างสาเร็จจะผลิตไฟฟ้าได้ 29,400
กิโลวัตต์ต่อปี เดิมออกแบบเพื่อจัดส่งกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ให้แก่จีน ทาให้ประชาชนชาวพม่า
ที่ยังขลาดแคลนไฟฟ้าใช้จานวนมากไม่พอใจ ซ้ายังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การครอบงาทางเศรษฐกิจ
ของจีนเหนือพม่า ทาให้ประชาชนคัดค้านอย่างหนักและถูกระงับไปเมื่อปี 2011 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่
17
10 เมษายน 2017 ได้มีการพบปะระหว่างสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนกับ อู ถิ่นจอ ประธานาธิบดีของพม่า
ทั้งสองฝ่ายแสดงความปรารถนาที่จะเดินหน้าโครงการดังกล่าว แต่จะเป็นไปในทิศทางที่ช่วยส่งเสริม
ความสัมพันธ์และเอื้อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
กัมพูชา
แม้ว่ากัมพูชามีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าประเทศในแอฟริกาและเอเชียกลาง แต่จากการ
สารวจพบว่ากัมพูชาเป็นเจ้าของแหล่งน้ามันดิบจานวนมากประมาณ 400 ล้านบาร์เรล และ 30,000 ล้าน
ลูกบาศก์ฟุตของก๊าซธรรมชาติ13 ซึ่งบริษัทจากจีนได้รับสัมปทานที่ดินและใบอนุญาตลงทุนด้านเหมืองแร่
เขื่อน และอุตสาหกรรมการเกษตรในกัมพูชาเป็นจานวนมาก ตามรายงานของศูนย์สิทธิมนุษยชน
กัมพูชา (The Cambodian Centre for Human Rights – CCHR) ระบุว่าร้อยละ 50 ของที่ดินที่ให้
สัมปทานตั้งแต่ปี 1994 มีถึง 4.6 ล้านเฮกตาร์ อยู่ในครอบครองของบริษัทจีนถึง 107 บริษัท โดย
แบ่งเป็นบริษัทลงทุนสารวจทรัพยากรแร่ธาตุ 23 บริษัท บริษัทก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า 5 บริษัท
บริษัทลงทุนด้านอุตสาหกรรมเกษตร 66 บริษัท และยังไม่แน่ชัดว่ามีกี่บริษัทจากจีนที่ลงทุนอุตสาหกรรม
น้ามัน แต่ที่แน่ชัดเมื่อปี 2007 บรรษัทน้ามันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน (The China National Offshore Oil
Corporation – CNOOC) เข้ามาลงทุนในกัมพูชา จากรายงานระบุว่าได้รับสัมปทานในการสารวจและขุด
เจาะนอก ชายฝั่งกัมพูชาในเขตบล็อค F ครอบคลุมพื้นที่ 7,026.7 ตารางกิโลเมตร14
เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน
มาเลเซีย
กองทุนซูปเปอร์ซีด
มาเลเซีย เวนเจอร์ แคปปิตอล จับมือกับ โกบี พาร์ตเนอร์ส กองทุนร่วมลงทุนของจีน ก่อตั้ง
กองทุนซูปเปอร์ซีด มูลค่า 5.12 แสนล้านบาท เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในมาเลเซียและชาติอาเซียน โดย
โกบีแบ่งชาติอาเซียนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตลาดโต มีสิงคโปร์และมาเลเซีย กลุ่มตลาดไอพีทีวี มี
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม และกลุ่มตลาดโตต่า มีพม่าและลาว ซึ่งถือเป็นการมองการณ์
ไกล ลงทุนเพื่อรองรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจบริการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจใน
อนาคตได้
13 Heng Pheakdey, 2012, 73.
14 อ้างแล้ว http://www.ias.chula.ac.th/ias/en/Article-Detail.php?id=17
18
เขตการค้าเสรีดิจิทัล (Digital Free Trade Zone : DFTZ)
มาเลเซียเพิ่งเปิดเขตการค้าเสรีดิจิทัล (Digital Free Trade Zone : DFTZ) ในมาเลเซียซึ่งเป็น
ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลมาเลเซียกับ Alibaba Group ถือเป็นเขตการค้าเสรีดิจิทัลแห่งที่สองของโลก
และเป็นศูนย์ e-commerce นอกจีนแห่งแรกของ Alibaba Group โดยคาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2020
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศมาเลเซียจะเพิ่มเป็น 211 พันล้านริงกิต และภายในปี 2025
ความสามารถในการส่งออกสินค้าของธุรกิจ SMEs จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว สร้างมูลค่าการค้ากว่า 65
พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสร้างงานกว่า 60,000 ตาแหน่ง
โครงการเขตการค้าเสรีดิจิทัล ตั้งอยู่ในเขตเมืองท่าอากาศยาน KLIA Aeropolis บนเนื้อที่ 45
เฮกตาร์ (ประมาณ 281 ไร่) ประกอบด้วย hub ย่อย ๆ ได้แก่ 1.) e-fulfillment hub จะดาเนินการในเฟส
แรกภายในสิ้นปี ค.ศ. 2017 ภายใต้ความร่วมมือของ Alibaba, Cainiao, Lazada และ Pos Malaysia
เพื่ออานวยความสะดวกพิธีศุลกากรให้การส่งออกและการนาเข้าสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ 2.) e-
commerce และ e-logistics Hub ศูนย์กระจายสินค้าเต็มรูปแบบของ Alibaba ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ
ภายในปี ค.ศ. 201915
ลงนามบันทึกความเข้าใจกับมณฑลกวางตุ้ง
ทางรัฐบาลท้องถิ่นของมะละกาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับมณฑลกวางตุ้งในปี 2015 เพื่อ
พัฒนากลยุทธ์การเป็นคู่ค้าที่แข็งแกร่งในอนาคต เห็นได้จากโครงการสาคัญที่จะถือกาเนิดขึ้นคือ นิคม
อุตสาหกรรมกวางตุ้ง-มะละกา ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ท่าเรือน้าลึกมะละกา และ
นิคมอุตสาหกรรมทางทะเล
เขตนิคมอุตสาหกรรมมาเลเซีย(กวนตัน)-จีน
จีนและมาเลเซียร่วมมือในการสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรม คือ เขตนิคมอุตสาหกรรมมาเลเซีย
(กวนตัน)-จีน (ตั้งอยู่ในรัฐปาหัง) เป็นโครงการสาคัญภายใต้การผลักดันของผู้นาจีนและผู้นามาเลเซีย
และเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและวิสาหกิจท้องถิ่นของทั้ง 2 ประเทศ และเป็นเขตนิคม
อุตสาหกรรมพี่น้องกับเขตนิคมอุตสาหกรรมจีน(ชินโจว)-มาเลเซีย (กวางสี) การสร้างความร่วมมือในครั้ง
นี้ผู้นาของทั้ง 2 ประเทศให้ความสาคัญอย่างมากถือเป็นการสร้างสรรค์โมเดลความร่วมมือระดับสากล
รูปแบบใหม่ “สองประเทศสองนิคม” คือ เขตนิคมอุตสาหกรรมจีน(ชินโจว)-มาเลเซีย และเขตนิคม
อุตสาหกรรมมาเลเซีย(กวนตัน)-จีน นอกจากนี้ ยังมีท่าเรือกวนตันที่อยู่ห่างออกไปจากเขตนิคม
อุตสาหกรรมกวนตันเพียง 11 กิโลเมตร ซึ่งเขตนิคมฯ ต้องอาศัยท่าเรือน้าลึกในการขับเคลื่อนการพัฒนา
ของนิคมและสร้างความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างท่าเรือชินโจวและท่าเรือกวนตัน ขยายความ
ร่วมมือทางทะเล และกระตุ้นการพัฒนาระหว่างนิคม
15 New Straits Times หัวข้อ Digital Leap ฉบับวันที่ 23 มีนาคม 2560
19
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกัสดาร์ (Iskandar)
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ ของมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณรัฐยะโฮร์บารูห์ ซึ่งติดกับ
สิงคโปร์ พัฒนาตามแนวคิดของเมือง “เซินเจิ้น” เขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนแผ่นดินใหญ่ ที่อาศัยทาเลที่
ใกล้กับเกาะฮ่องกง ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองเซินเจิ้นให้เติบโตอย่างรวดเร็ว รัฐบาลมาเลเซียจึง
พยายามทาแบบเดียวกันกับ Iskandar โดยใช้ความใกล้กับสิงคโปร์ให้เป็นประโยชน์
โครงการพื้นที่พิเศษนี้มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 ล้านล้าน
บาท ซึ่งจะมีบ้านพักอาศัยเกิดขึ้น 5 แสนยูนิต จากโครงการอสังหาริมทรัพย์กว่า 60 โครงการ
ภาพ : แผนที่แสดงจุดตั้งของโครงการพื้นที่พิเศษ Iskandar ในรัฐยะโฮร์บารูห์
ที่มา : https://brandinside.asia/china-city-johor-malaysia-singapore/
20
การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ ที่ผ่านมาจนถึงปี 2014 มีมูลค่า รวมทั้งสิ้นประมาณ
133 พันล้านริงกิต (ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท) โดยเป็นการลงทุนโดยตรงของภาครัฐเพียงร้อยละ 6
ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดขณะที่พบว่าภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนสะสมสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 36 รอง
มาคือภาคอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 25 และภาคอื่นๆ ได้แก่การท่องเที่ยว การบริการ การศึกษา
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโลจิสติกส์ มีการลงทุนสะสมรวมร้อยละ 33 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด16
โครงการขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองใหม่แห่งนี้เป็นของ Country Garden Holdings บริษัทก่อสร้าง
และอสังหาริมทรัพย์จากประเทศจีน โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า Forest City ประกอบด้วยเกาะที่ถมทะเล
ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด 4 เกาะ พื้นที่รวมกัน 3,425 เอเคอร์ (13.86 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งตามแผนแล้วจะมี
ประชากรอาศัยอยู่ถึง 7 แสนคน
บริษัท Country Garden Holdings เคยสร้างโครงการริมน้า Danga Bay มาแล้วในปี 2013 และ
ขายอพาร์ทเมนต์เกือบหนึ่งหมื่นยูนิตได้หมดเกลี้ยง ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่เข้ามาทาตลาดมาเลเซียคือ
Greenland Group รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน และ Guangzhou R&F Properties จากเมืองกวางโจว
ภาพ : ภาพโครงการ Forest City บนเกาะใกล้ชายแดนสิงคโปร์ มีลักษณะเป็นกลุ่มของเกาะที่สร้างขึ้นใหม่ 4 เกาะ จะมีขนาดใหญ่เกือบ 3
เท่าของเกาะเซนโตซาในสิงคโปร์ และเป็นเขตปลอดภาษี
ที่มา : https://brandinside.asia/china-city-johor-malaysia-singapore/
16 ออนไลน์ : http://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2637 ค้นเมื่อ 24/7/2017
21
ปัจจัยที่จะทาให้จีนและนานาประเทศสนใจลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกัสดาร์ ได้แก่
1. มีจุดยุทธศาสตร์ที่ตั้งที่ดี มีพื้นที่ติดกับประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สาคัญ
แห่งหนึ่งของโลก แต่สิงคโปร์มีข้อจากัดด้านพื้นที่และค่าครองชีพที่สูงทาให้อิสกันดาร์ได้รับ
ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2. มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ จากการดาเนินการตาม
นโยบายอย่างเคร่งครัดในการพิจารณาอนุมัติให้สิทธิประโยชน์เฉพาะแก่ธุรกิจที่สอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเท่านั้น เป็นการป้องกันปัญหาการเก็งกาไรที่ดิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อ
การขยายตัวของการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม (real industrial sector) ในอนาคต
3. มีโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างพร้อม จากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางน้า ถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ และมีแผนความร่วมมือรถไฟ
ความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์กับสิงคโปร์
4. นโยบายรัฐบาลท้องถิ่น(รัฐยะโฮบารูห์) สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลกลางของมาเลเซีย ส่งผล
ให้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
แต่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ของมาเลเซีย กาลังเผชิญความท้าทาย เนื่องจาก
บริษัทจีนมีแผนที่จะสร้างที่พักอาศัยจานวนมากพร้อมกัน ส่งผลให้ราคาบ้านในยะโฮร์บารูห์ตกลงไป 1
ส่วน 3 และกาลังซื้ออสังหาริมทรัพย์จากคนในท้องถิ่นเริ่มหมดไป จึงเกิดปัญหาว่า “ใคร” จะเป็นผู้มาซื้อ
ที่พักอาศัยเหล่านี้ บริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนจึงหันพยายามดึงผู้ซื้อจากจีนแผ่นดินใหญ่ บริษัทใหญ่ๆ
อย่าง Country Garden จึงลงทุนเช่าเครื่องบินจาก Air Asia เหมาลาขนคนจากกวางโจวมาดูสถานที่จริง
ในมาเลเซียเพื่อกระตุ้นยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างขึ้น
พม่า
เขตเศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่ว
เขตเศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่วประกอบไปด้วย โครงการนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือน้าลึกจ้าวผิ่ว และ
พื้นที่พักอาศัย เขตเศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่วจะมีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ในพม่า เช่น
อุตสาหกรรมป่าไม้ อุตสาหกรรม การประมง น้ามันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงภาคบริการด้วย โครงการนี้
มีกาหนดเริ่มดาเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 ด้วยพื้นที่พัฒนาเบื้องต้น 625 ไร่ เพื่อพัฒนานิคม
อุตสาหกรรม ซึ่งโครงการรวมทั้งหมดจะใช้เวลาพัฒนานานราว 20-30 ปี
นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้าลึกที่เมืองจ้าวผิ่ว ภายใต้โครงการชื่อ Kyaukpyu Economic and
Technical Development Zone and Deep Seaport ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพม่า บริเวณอ่าวเบงกอลใน
ทะเลอันดามัน จากเมืองจ้าวผิ่วสามารถเชื่อมโยงกับมณฑลยูนนานของจีน โดยผ่านเมืองมัณฑะเลย์
(Mandalay) ต่อไปที่เมืองลาโช (Lachio) ไปจนถึงชายแดนพม่าที่เมืองมูเซ (Muse) ผ่านไปยังเมืองรุ่ยลี่
(Ruili) ในมณฑลยูนนานของจีน ด้วยระยะทางประมาณ 800 - 1,000 กิโลเมตร
ท่าเรือนี้จะสามารถรองรับเรือบรรทุกน้ามันได้ 300,000 ตัน มีเมืองนิคมอุตสาหกรรมที่ครบ
วงจร พร้อมทั้งมีสนามบิน โรงงานปิโตรเคมี และโรงงานถลุงเหล็ก
22
ภายในนิคมอุตสาหกรรมเจียวเพียว มีการจัดแบ่งเป็นโซนต่างๆ เช่น โซนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
โซนอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ตลอดจนการสร้างสนามบิน โดยเฉพาะท่าเรือน้าลึกจ้าวผิ่ว จะมีทั้งท่าเรือ
รองรับสินค้าคอนเทนเนอร์ และท่าเรือน้ามันพร้อมคลังเก็บน้ามันดิบ ซึ่งกลุ่ม China National Petroleum
Corporation (CNPC) ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของจีนได้เข้าไปก่อสร้าง Tanker Port ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก
รวมทั้งมีร่องน้าลึกมากจนสามารถรองรับเรือบรรทุกน้ามันขนาดใหญ่ร่วม 3 แสนตันได้17
กัมพูชา
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า
การลงทุนด้านการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า บริษัทจากจีนที่เข้ามาลงทุนในกัมพูชา และได้
ใช้สถานะสิทธิพิเศษของกัมพูชาในการส่งออกสินค้าเสื้อผ้า เช่น สถานภาพชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง
(Most Favoured Nation – MFN) สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preference –
GSP) และข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าทุกชนิดยกเว้นอาวุธ (Anything But Arms) ที่สหภาพยุโรปให้แก่
กัมพูชา ทาให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าของจีนสามารถส่งออกสินค้าให้เข้าถึงตลาดในสหรัฐ สหภาพยุโรป
และตลาดโลกแห่งอื่นๆ โดยใช้สิทธิพิเศษเหล่านี้
การลงทุนด้านเกษตรกรรม
กัมพูชายังเปรียบเสมือนพื้นที่เกษตรกรรมของจีน เพราะจีนจาเป็นต้องมองหาความมั่นคงทาง
อาหารจากภายนอกประเทศ และกัมพูชาเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ทา
เกษตรกรรม และยังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์อีกมาก รัฐบาลกัมพูชาจึงได้ให้สัมปทานแก่บริษัทจีนลงทุนด้าน
เกษตรกรรม
จีนให้ความสนใจต่อผลผลิตการเกษตรของกัมพูชา เมื่อเดือนสิงหาคม 2011 บริษัท The China
National Food Industry Group ลงนามในข้อตกลงกับบริษัท The Cambodian agricultural ซื้อมัน
สาปะหลังปริมาณ 1 ล้านตัน และในเดือนเดียวกัน The Guangzhou สาขาของ The China Grain
Reserves Corporation (Sinograin) ได้ลงนามซื้อข้าวสารจากกัมพูชาเพิ่มเป็น 200,000 ตัน/ปี
นอกจากนี้ยังมีบริษัทจากจีนเข้ามาขอสัมปทานพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อปลูกยางพารา ในจังหวัดทาง
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ได้แก่ สตึงเตร็ง กระแจ๊ะ รัตนคีรี และมณฑลคีรี18
ลาว
จีนรุกตลาดค้าปลีกและค้าส่งในลาวอย่างมาก โดยเฉพาะในนครหลวงเวียงจันทน์ มี Mega
Project จานวน 11 โครงการ ได้แก่ 1. ตลาดเช้า Shopping Mall(ลงทุนโดยทุนจากสิงคโปร์-จีน) 2.
ตลาดซังเจียง-เน้นขายส่งสินค้า (จีน) 3. ศูนย์การค้าสากลนครทรัพย์ช้อปปิ้งพลาซ่า (จีน) 4. รีกัล เมก้า
17 ออนไลน์ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/488112 ค้นเมื่อ 18/4/2017
18 อ้างแล้ว http://www.ias.chula.ac.th/ias/en/Article-Detail.php?id=17
23
มอลล์ (สิงคโปร์) 5. ตลาดธาตุหลวง 6. เวียงจันทน์ เซ็นเตอร์ (จีนและสิงคโปร์) เน้นสินค้าแบรนด์เนม 7.
เวียงจันทน์นิวเวิลด์ พลาซ่า (จีน) 8. โครงการ “โลกใหม่ดอนจันทน์” (Done Chan New World) (จีน) บน
พื้นที่ 700,000 ตารางเมตร เป็น Complex ด้านการค้าสมบูรณ์แบบ 9. โครงการเวียงจันทน์เมกะมอลล์
(จีนและสิงคโปร์) 10. “เวียงจันทน์คอมเพล็กซ์” 11. ศูนย์การค้าพระธาตุหลวง (ไทยและจีน) ทั้งนี้เพื่อ
รองรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากจีนที่จะผ่านเวียงจันทน์มายังกรุงเทพและสิงคโปร์ในอนาคตอันใกล้
ขณะที่ Alibaba ได้มี MOU กับ AJ ของไทยในความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และ E-Commerce
เชื่อมจีนกับอาเซียน ซึ่งจะเป็นส่วนผลักดันให้ลาวเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก
ภาพ : ศูนย์การค้าเวียงจันทน์เซ็นเตอร์ เป็นการร่วมทุนระหว่างจีน-สิงคโปร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2015
ลงทุนคาสิโน
นักธุรกิจชาวจีนไปลงทุนคาสิโนในลาว เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่อนุญาตให้มีคาสิโนถูกกฎหมายใน
ประเทศ ทุนคาสิโนจีนจึงต้องดิ้นรนออกไปนอกประเทศและพบว่า ลาว เป็นประเทศที่อนุญาตให้มีคาสิโน
เกิดขึ้นเพียงแห่งเดียวตั้งแต่ปี 1996 คือบริเวณที่เรียกว่า “แดนสวรรค์น้างึมรีสอร์ท” (Dansavanh Nam
Ngum) ตั้งอยู่ในแขวงเวียงจันทน์ ห่างจากนครหลวง 60 กิโลเมตร
หวง มิ่งชวน นักธุรกิจชาวจีนฟูเจี้ยน สัญชาติฮ่องกง เป็นหนึ่งในทุนคาสิโน เป็นหนึ่งในผู้
เดินหน้าผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) ของรัฐบาลลาว โดยเริ่ม
จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโน แขวงสะหวันนะเขตตรงข้ามจังหวัดมุกดาหารของไทยเป็นแห่ง
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว

More Related Content

What's hot

รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
Sircom Smarnbua
 
ประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทยประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทย
Lilrat Witsawachatkun
 
การศึกษาของประเทศจีน
การศึกษาของประเทศจีนการศึกษาของประเทศจีน
การศึกษาของประเทศจีนwongsrida
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วรรณา ไชยศรี
 
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียงคู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
โรงเรียนเทพลีลา
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
prayut2516
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
Tawatchai Bunchuay
 
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartok
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartokการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartok
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartok
pitsanu duangkartok
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
Ponpirun Homsuwan
 
เรื่อง คลื่นโทรทัศน์
เรื่อง  คลื่นโทรทัศน์เรื่อง  คลื่นโทรทัศน์
เรื่อง คลื่นโทรทัศน์Somporn Laothongsarn
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57Chok Ke
 
เอกสารประกอบการพิจารณา
เอกสารประกอบการพิจารณาเอกสารประกอบการพิจารณา
เอกสารประกอบการพิจารณา
Pinmanas Kotcha
 
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
สภานักเรียน ส.ป. samutprakanstudentcouncil
 
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดSununtha Putpun
 
เรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วมเรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วม
พัน พัน
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
Chainarong Maharak
 
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
pop Jaturong
 
ใบงาน 1
ใบงาน 1ใบงาน 1
ใบงาน 1piboon7516
 

What's hot (20)

รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
 
ประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทยประโยคในภาษาไทย
ประโยคในภาษาไทย
 
การศึกษาของประเทศจีน
การศึกษาของประเทศจีนการศึกษาของประเทศจีน
การศึกษาของประเทศจีน
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
 
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียงคู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
คู่มือการใช้นวัตกรรมคลื่นกลและเสียง
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
 
ทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตรทฤ.หลักสูตร
ทฤ.หลักสูตร
 
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartok
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartokการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartok
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎเมนเดล by pitsanu duangkartok
 
1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)
1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)
1แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 1)
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
เรื่อง คลื่นโทรทัศน์
เรื่อง  คลื่นโทรทัศน์เรื่อง  คลื่นโทรทัศน์
เรื่อง คลื่นโทรทัศน์
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย  57
โครงงานวิทยาศาสตร์ กระติบข้าวเก็บความร้อน 17 ก.ย 57
 
โมเมนต์
โมเมนต์โมเมนต์
โมเมนต์
 
เอกสารประกอบการพิจารณา
เอกสารประกอบการพิจารณาเอกสารประกอบการพิจารณา
เอกสารประกอบการพิจารณา
 
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
บันทึกข้อความขออนุญาตประชุมสามัญสภานักเรียนครั้งที่ 1/2560
 
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
 
เรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วมเรื่องปัญหาน้ำท่วม
เรื่องปัญหาน้ำท่วม
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลกวิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
วิวัฒนาการการศึกษาไทยและการศึกษาโลก
 
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
บทที่ 2 โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย2
 
ใบงาน 1
ใบงาน 1ใบงาน 1
ใบงาน 1
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
Klangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
Klangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
Klangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว

  • 1. บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว ปลายฟ้า บุนนาค ผู้ช่วยนักวิจัย วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 2. บทบาทของจีนในอาเซียน กรณีศึกษามาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com ผู้เขียน : ปลายฟ้า บุนนาค ภาพปก : https://www.linkedin.com/pulse/exaggerated-influence-china-asean-economic-huy-dang เผยแพร่ : สิงหาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สารบัญ หน้า จุดประสงค์การศึกษา 1 ขอบเขตและประเด็นของการศึกษา 1 บทนา 2 บทที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว 5 บทที่ 2 บทบาทด้านต่างๆ ของจีน ในมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว 15 บทที่ 3 บทสรุป 34 ข้อตระหนัก 35 ข้อสังเกต 35 ข้อเสนอแนะต่อไทย 36 บรรณานุกรม 37
  • 4. 1 จุดประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสาคัญของจีนในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว ที่มีชายแดนติดกับไทย 2. เพื่อให้ไทยมองเห็นโอกาสที่จะได้จากการที่จีนเข้ามาลงทุนในประเทศดังกล่าว เพื่อตรียมความ พร้อมและวางยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กาลังเปลี่ยนแปลง ขอบเขตและประเด็นของการศึกษา งานวิจัยชิ้นนี้ ผู้เขียนศึกษาบทบาทของจีนในประเทศมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว ที่เกิดขึ้น ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนหันมาให้ความสาคัญกับนโยบาย BELT AND ROAD INITIATIVE ซึ่งจะมีเส้นทางพาดผ่านบริเวณที่ศึกษาด้วย โดยจะวิเคราะห์บทบาทของจีนในด้าน เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนเป็นสาคัญ และอาจมีประเด็นการเมือง การทูต และความมั่นคงร่วมด้วย ซึ่งประเด็นการศึกษาจะเน้นศึกษาจากโครงการใหญ่ๆ ที่จีนเข้ามาลงทุนในประเทศนั้นๆ เป็นหลัก
  • 5. 2 บทนา กว่า 25 ปีมาแล้วที่ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนได้พัฒนาและเติบโตไปตามลาดับ ความร่วมมือ ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ การค้า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความมั่นคง การเมือง และการเป็นหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์ เหตุผลที่ทาให้จีนให้ความสนใจกับอาเซียน นั่นเพราะในช่วงหลังสงครามเย็น จีน ต้องการดาเนินยุทธศาสตร์ใหม่ เรียกว่านโยบาย “เพื่อนบ้านที่ดี” โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทาให้ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงยุทธศาสตร์ “การขึ้นสู่มหาอานาจอย่างสันติ” ของ จีน เพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศต่างๆ ทั่วโลกเปลี่ยนทัศนะที่เคยคิดว่าจีนเป็นภัยคุกคามและ ลดความหวาดระแวงจีนลงโดยการใช้ Soft Power ในขณะเดียวกัน อาเซียนเองก็ดาเนินยุทธศาสตร์ “การเกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์” โดยอาเซียนจะไม่โดดเดี่ยวจีนแต่จะเกี่ยวพันกันมากกว่า เมื่อปี 1997 เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จีนประกาศไม่ลดค่าเงินหยวน (เป็นผลดีต่อประเทศ อาเซียน) และให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มประเทศอาเซียนยิ่งทาให้จีนได้รับการยอมรับจาก ประเทศอาเซียนมากขึ้น จนกระทั่งปี 2001 จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ส่งผลให้ ประเทศอาเซียนเกิดความกังวลว่าจีนจะกลายมาเป็นคู่แข่งคนสาคัญต่ออาเซียน เพราะเป็นแหล่งการ ผลิตสินค้าที่มีราคาถูก มีแรงงานจานวนมาก และประสิทธิภาพของสินค้ามีมากขึ้นภายหลังจากการเข้า เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จีนจึงจาเป็นต้องหาหนทางเพื่อสร้างความวางใจและลดความหวาดวิตก ทางเศรษฐกิจจากอาเซียนให้ได้ ดังนั้น เมื่อปี 2004 จีนและอาเซียนได้ลงนามกันในการประชุมสุดยอด จีน – อาเซียน ซึ่งจัดที่ลาว ถือเป็นความตกลง FTA ด้านการค้าฉบับแรกที่อาเซียนทากับประเทศนอก กลุ่ม จีนเป็นประเทศมหาอานาจที่กาลังเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจการเมืองโลก และ เป็นตลาดที่ใหญ่มากซึ่งกาลังเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ความตกลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวจึงทาให้ อาเซียนและจีนได้ประโยชน์ร่วมกันในแง่การแลกเปลี่ยนสิทธิประโยชน์ระหว่างกัน ทาให้สินค้าของจีน และอาเซียนเข้าตลาดของอีกฝ่ายโดยเสียภาษีนาเข้าต่ากว่าสมาชิก WTO อื่นๆ ซึ่งการเปิดโอกาสให้ อาเซียนเข้าถึงตลาดจีนก่อนประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ นับว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ อาเซียนอีกครั้ง ถือเป็นการดาเนินนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาดของจีนที่ทาให้อาเซียนปรับเปลี่ยน พฤติกรรมไปในทิศทางที่จีนพอใจ ขณะเดียวกัน อาเซียนก็พึงพอใจที่จีนยอมรับเงื่อนไขความร่วมมือ แบบพหุภาคี และได้มีการสร้างสถาบันมารับรองด้วย
  • 6. 3 ความสาคัญของอาเซียนต่อจีน ประชาคมอาเซียน เป็นการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และสิงคโปร์ รวมตัวกันทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งกาหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การรวมกลุ่มของประเทศอาเซียนทาให้เกิดเป็นชุมชน (Community) ทาให้เกิดความแข็งแกร่ง สามารถ สร้างโอกาสและรับมือความท้าทายได้ ทั้งทางด้านการเมือง ความมั่น เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบ ใหม่ ภาพ : แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศอาเซียนและจีน ที่มา : Google map สาหรับจีน อาเซียนมีความสาคัญหลายด้าน อย่างแรก อาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่มี ประชากรราว 600 กว่าล้านคน และเป็นเพื่อนบ้าน มีชายแดนบางส่วนติดกับจีน ในด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) อาเซียนตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างสองอารยธรรมยิ่งใหญ่ คือ จีนกับอินเดีย และมีทางออกสู่ ทะเลทั้งอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีประโยชน์ต่อจีนมาก อีกทั้งอาเซียนและจีนยังมีความ ใกล้เคียงทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ อาเซียนมีความหลากหลายเพราะการรวมตัวกัน 10 ประเทศ หลากหลายนี้กลับกลายเป็นจุดแข็ง ทาให้อาเซียนผ่านร้อนผ่านหนาวมาได้จนถึงปัจจุบัน และทาให้
  • 7. 4 อาเซียนเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันแม้จะมีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งความเข้านี้จะนาไปสู่ความวางใจ ระหว่างอาเซียนกับจีนได้ นอกจากนี้ อาเซียนยังมีพันธมิตรจานวนมาก ด้วยอาเซียนมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ และแต่ละประเทศก็มีพันธมิตรของตน ทาให้อาเซียนมีพันธมิตรทุกกลุ่มในโลก ตรงนี้เป็น ปัจจัยสาคัญที่ทาให้จีนสามารถสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เป็นอย่างดี1 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าจีนมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด จนทาให้เงินทุนในประเทศล้นทะลักออกไปลงทุนในต่างประเทศเป็นจานวนมาก ทุนจีนเหล่านี้ ออกไป ลงทุนนอกประเทศจากการสนับสนุนของรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย Going Out ที่รัฐจีนสนับสนุนด้านภาษีและการเงินให้บริษัทจีนต่างๆ รวมถึงนโยบาย Soft Power ซึ่งมักจะเป็นการ ช่วยเหลือในด้านการเงินแก่ประเทศที่ด้อยกว่า โดยเฉพาะในประเทศแถบอาเซียน ที่จีนกาลังให้ ความสาคัญเป็นอย่างมาก เช่น การเข้าไปลงทุนด้านพลังงานในพม่า การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ใน มาเลเซีย และด้านโครงสร้างพื้นฐานในลาว เป็นต้น ในรายงานฉบับนี้ เราจะศึกษาถึงบทบาทของจีนใน อาเซียน โดยยกกรณีศึกษาประเทศมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว และแบ่งออกเป็น ด้านพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน การทหารและความมั่นคง อสังหาริมทรัพย์ และเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย ซึ่งการเข้ามามีบทบาทของจีนในประเทศเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบหรืออาจเป็นโอกาสในการเติบโตของไทยในอนาคตได้ 1 ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย งานสัมมนา “เหลียวหลังแลหน้า ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน 25 ปี” โรงแรมพลาซ่า แอทธินี วัน
  • 8. 5 บทที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว มาเลเซีย ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศมาเลเซีย ปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศมาเลเซียปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators 193.5 230.8 202.3 255.0 298.0 314.4 323.3 338.1 296.3 296.4 0.00 50.00 100.00 150.00 200.00 250.00 300.00 350.00 400.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP (current US$) 7.6 7.8 7.5 8.5 8.0 8.0 8.0 7.6 7.3 7.0 0.00 1.00 2.00 3.00 4.00 5.00 6.00 7.00 8.00 9.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP growth (annual %)
  • 9. 6 มาเลเซียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยน จากประเทศผลิตและส่งออกพืชผลทางการเกษตร มาเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และด้วยมาเลเซียมีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ชัดเจน (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ มาเลเซีย) รวมถึงการมีแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่ดี ยิ่งเป็นปัจจัยเสริมให้ มาเลเซียพัฒนาเศรษฐกิจของตนได้ดี มาเลเซียมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างดี ทั้งทางด้านคมนาคม โทรคมนาคม การไฟฟ้า การประปา รวมถึงด้านพลังงานที่มีการใช้เชื้อเพลงแบบผสมผสานโดยใช้ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 79 และ ถ่านหินร้อยละ 21 ความพยายามของรัฐบาลมาเลเซียที่ต้องการลดการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและหัน มาพึ่งการใช้ถ่านหินให้มากขึ้น จึงได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแมนจุง ขนาดกาลังผลิต 2,100 เมกะวัตต์ ที่รัฐเปรักทางฝั่งตะวันตกของประเทศ และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการหาพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าบน แผ่นดินใหญ่ จึงได้สร้างเกาะเทียมชื่อ “เกาะแมนจุง” มีพื้นที่ประมาณ 830 เอเคอร์ เพื่อใช้ก่อสร้าง โรงไฟฟ้าดังกล่าว และเป็นท่าเรือน้าลึก สามารถรองรับเรือบรรทุกถ่านหินขนาด 1.8 แสนตันได้ ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทาให้จีนให้ความสนใจที่จะมาลงทุนในมาเลเซีย นอกจากนี้ จีน เป็นประเทศที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับมาเลเซีย ทั้งระดับรัฐบาล การค้าและการลงทุน โดยมาเลเซียเป็นทั้ง ประเทศคู่ค้าและหุ้นส่วนการค้าในอาเซียนที่ใหญ่ที่สุดของจีน ในปี 2015 จีนลงทุนในมาเลเซียเพิ่มขึ้น กว่า 200% หรือคิดเป็นเงิน 408 ล้านเหรียญสหรัฐ ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 นายหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และนายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เซ็น สนธิสัญญาด้านกลาโหมฉบับสาคัญ มีเนื้อหาครอบคลุมความร่วมมือทั้งในเรื่องของรางรถไฟ พลังงาน การป้องกัน และการพัฒนาร่วมกันด้านกองทัพเรือของมาเลเซีย โครงสร้างพื้นฐาน เกษตรกรรม การศึกษา ภาษี
  • 10. 7 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า : Republic of the Union of Myanmar (ในที่นี้จะขอเรียกว่าพม่า เพื่อความกระชับ) เมืองหลวงชื่อเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw) มีประชากรราว 53.9 ล้านคน (2015)2 มีพื้นที่ ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือ คาบสมุทรอินโดจีน)3 ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ จุดแข็งของพม่าคือมีภูมิประเทศที่ดี ตั้งอยู่ระหว่างสองอารยธรรมใหญ่ อย่างจีนกับอินเดีย และมีทางออกทะเลเชื่อมไปยังมหาสมุทรอินเดียได้ นอกจากนี้ พม่ายังเป็นประเทศที่มี ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก ทั้งปิโตรเลียม หยก อัญมณี น้ามัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ ประมง และ มีกาลังแรงงานที่มีค่าจ้างต่า ซึ่งเป็นฐานกาลังแรงงานที่สาคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านเศรษฐกิจ พม่าถูกธนาคารโลกจัดให้เป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก ในปี 2006 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ของพม่าอยู่ที่ 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ4 แต่หลังจากการประกาศใช้การปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบกว้างๆ เมื่อปี 2011 โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (ดารงตาแหน่ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2559)5 ทา ให้เศรษฐกิจของพม่าขยายตัวมากขึ้น นักลุงทุนต่างให้ความสนใจพม่า รัฐบาลเริ่มออกกฎหมายเพื่อ ส่งเสริมการลงทุน โดยอนุญาตให้บริษัทต่างประเทศและหน่วยงานที่สนับสนุนด้านเงินทุนเข้ามาใน ประเทศได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2012 พม่าได้ประกาศใช้กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ โดยอนุญาตให้ ชาวต่างชาติสามารถเข้าลงทุนโครงการได้ 100% รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีต่างๆ จากการประการใช้กฎหมายการลงทุนดังกล่าว นาไปสู่การขยายโอกาสทางด้านการลงทุนและธุรกิจที่ หลากหลาย ความต้องการลงทุนในพม่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจ โดยเฉพาะ จีนและไทย ที่เข้าไปลงทุนในพม่าเป็นอันดับ1 และ 2 ตามลาดับ ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ามันและก๊าซ ทรัพยากรน้า และถ่านหิน เป็นต้น 2 ออนไลน์ : http://www.tradingeconomics.com/myanmar/population ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 3 ออนไลน์ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97% E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2 ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 4 ออนไลน์ : http://www.tradingeconomics.com/myanmar/gdp ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559 5 ออนไลน์ : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%87_%E0%B9%80% E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87 ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559
  • 11. 8 ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศพม่า ปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศพม่าปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators 20.2 31.9 36.9 49.5 60.0 59.7 60.1 65.6 62.6 67.4 0.00 10.00 20.00 30.00 40.00 50.00 60.00 70.00 80.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP (current US$) 12.0 10.3 10.6 9.6 5.6 7.3 8.4 8.0 7.3 6.5 0.00 2.00 4.00 6.00 8.00 10.00 12.00 14.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP growth (annual %)
  • 12. 9 ความสาคัญของพม่าต่อจีน พม่าเปรียบเหมือนประตูหลังบ้านของจีน พม่าเป็นเส้นทางออกมหาสมุทรอินเดียทางด้าน ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐบาลจีนตั้งเป้าให้เศรษฐกิจด้านนี้ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยอาศัยพม่าในการเป็น เส้นทางการค้าที่สาคัญ สาหรับระบายสินค้าจากจีนออกสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย และเพื่อ ลดความเสี่ยงและต้นทุนในการขนส่งวัตถุดิบและน้ามันเข้าสู่ประเทศผ่านช่องแคบมะละกา จึงได้กาหนด เป็นยุทธศาสตร์ที่สาคัญ คือ 1 ประเทศ (จีน) 2 มหาสมุทร (อินเดียและแปซิฟิก) และภาครัฐของจีนจึงเร่ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากประตูด้านยูนนาน-พม่า เพราะแม้จีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่แค่ไหน แต่ก็มี จุดอ่อนจากการมีทางออกทะเลเพียงด้านเดียว คือ มหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้น ในการขนส่งค้าขายกับคู่ค้า หลักอย่างสหภาพยุโรป จีนจึงต้องเดินเรือทะเลไปอ้อมช่องแคบมะละกา รวมไปถึงการขนส่งพลังงาน สาคัญจากตะวันออกกลางก็ต้องไปอ้อมช่องแคบมะละกาอีกเช่นกัน แต่การพึ่งพาและพึ่งพิงช่องแคบนี้ มากเกินไป ย่อมเป็นความเสี่ยง รัฐบาลจีนจึงได้พยายามหาทางออกสู่ทะเลอีกด้าน และในที่สุด ก็ ตัดสินใจเลือกที่จะใช้เส้นทางผ่านกลางประเทศพม่าเพื่อออกสู่มหาสมุทรอินเดีย ดังนั้น จีนจึงได้เข้าไปทุ่มงบประมาณลงทุนและช่วยเหลือพม่าในหลากหลายโครงการอย่างครบ วงจร รวมทั้งอภิมหาโครงการพัฒนาเมืองชายฝั่งของพม่า นอกจากพม่าจะมีความสาคัญต่อจีนในทางเศรษฐกิจแล้ว พม่ายังมีความสาคัญต่อจีนในทาง ยุทธศาสตร์อีกด้วย นั่นคือการเป็นสะพานให้จีนสามารถขยายแสนยานุภาพของตนเข้าไปในมหาสมุทร อินเดียได้ รวมทั้งยังช่วยให้จีนสามารถสกัดกั้นอิทธิพลของอินเดียได้สะดวกขึ้น ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนจีนกับพม่าเห็นรูปร่างชัดเจนเมื่อปี 2004 ทั้งสองประเทศ ได้ทาข้อตกลงว่าด้วยการลดภาษีสินค้าในส่วนเร่งรัด (early harvest) ภายใต้กรอบการค้าเสรีจีน- อาเซียน (The ASEAN-China Free Trade Area) ส่งผลให้มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้น ในปี 2010 จีนมีมูลค่าการลงทุนในพม่าสูงถึง 1.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และด้วยทรัพยากรของพม่าที่ จาเป็นต่อความมั่นคงด้านพลังงานของจีน จึงทาให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2007 รัฐวิสาหกิจของจีน ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ China National Offshore Oil Corporation Myanmar Ltd. (CNOOC-Myanmar Ltd.) China National Petroleum Corporation (CNPC) แ ล ะ China Petroleum and Chemical Corporation (Sinopec) ได้รับสิทธิในการเข้าไปลงทุนสารวจน้ามันและก๊าซธรรมชาติในพม่าเป็นจานวน 14 ช่อง (block) และต่อมาในปี 2008 CNPC รัฐบาลพม่าและ Daewoo International Group Corporation ได้ลงนามในข้อตกลงสร้างท่อส่งก๊าซจากช่อง A1 และ A3 จากพม่าไปยังเมืองคุณหมิงของจีน นอกจากนี้ สี จิ้น ผิง (ขณะนั้นดารงตาแหน่งรองประธานาธิบดี) ได้มีการมาลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับผู้นาพม่าว่าด้วยการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการบริหารท่อก๊าซดังกล่าวระหว่างการเยือน พม่าเมื่อมิถุนายนปี 2009 อีกด้วย6 6 สิทธิพล เครือรัฐติกาล. นโยบายต่างประเทศของจีนต่อพม่า อดีตและปัจจุบัน (ค.ศ. 1949-2010), กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556), 89-91.
  • 13. 10 กัมพูชา กัมพูชาตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีชายแดนติดกับ ไทยและเป็นสมาชิกอาเซียน มีประชากร 15.58 ล้านคน (2015) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ประมาณ 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (2015) และมีอัตราการเติบโตของ GDP 7% (2015)7 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจของกัมพูชาเจริญเติบโตขึ้นมาก แต่หากเทียบกับประเทศใน อาเซียนด้วยกันก็ยังอยู่ในระดับต่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เศรษฐกิจสาคัญของ ประเทศคือการเกษตร อุตสาหกรรมขนาดเล็ก และมีการค้นพบทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มขึ้นของ GDP ของกัมพูชาเป็นผลมาจากการเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจให้เป็นแบบเปิด มากขึ้นและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย รัฐบาลกัมพูชาจึงจาเป็นต้องดึงดูดเม็ดเงินลงทุน จากทั้งในและนอกประเทศ เพราะหวังพึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI เป็นตัวขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ซึ่งบริษัทต่างชาติให้ความสนใจในการเข้าไปลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีแรงงานราคาถูก จานวนมาก และกัมพูชาได้รับระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จานวน 25 ประเทศ ส่วนใหญ่ เป็นประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น และแคนาดา ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ที่มาลงทุนก็หวังเพื่อที่จะได้ ใช้สิทธิพิเศษนี้ ระบายสินค้าของตนสู่ตลาดสหรัฐ และยุโรป ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศกัมพูชาปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators 7 The World Bank : http://www.worldbank.org/en/country/cambodia ค้นเมื่อ 20/4/2017 4.2 5.4 5.8 7.1 8.3 10.2 11.9 13.3 14.4 15.9 0.00 2.00 4.00 6.00 8.00 10.00 12.00 14.00 16.00 18.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP (current billion US$)
  • 14. 11 ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศกัมพูชาปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators จีนกับกัมพูชานั้นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาอย่างยาวนาน แม้ในยุคที่กัมพูชาปกครองด้วยเขมร แดงและมีการปิดประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับกัมพูชาก็ไม่ได้ตัดขาดกัน ผู้นาเขมรแดงได้นา แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ The Great Leap Forward ของจีน มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศตน และจีนก็ให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาตลอดมา ต่างกับความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกที่ กัมพูชาดูจะไม่ค่อยพอใจความช่วยเหลือแบบตะวันตกสักเท่าไร ที่ความช่วยเหลือมักจะมาพร้อมเงื่อนไข มุ่งให้กัมพูชาปรับปรุงประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ในขณะกัมพูชามองว่าจีนเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาคที่ คอยให้ความช่วยเหลือโดยปราศจากเงื่อนไขดังกล่าว ปัจจุบันจีนกลายเป็นประเทศที่มีการลงทุนในกัมพูชา มากเป็นอันดับ 1 ส่วนใหญ่ ได้แก่ ด้าน พลังงาน โดยเน้นการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นความต้องการของกัมพูชาที่ยังขาดแคลน ไฟฟ้าอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งกัมพูชาต้องการเร่งสร้างเพื่อเชื่อมโยง ระบบเศรษฐกิจทั่วประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยอานวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าจาก แหล่งผลิตไปยังตลาดผู้บริโภค และหวังใช้ถนนเพื่อเชื่อมโยงอานาจการปกครองจากรัฐบาลกลางไปยัง การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนของกัมพูชา การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและบุคลากรระหว่างสองประเทศขยายตัวเรื่อยๆ ปี 2015 นักท่องเที่ยวจีนที่เที่ยวกัมพูชามีจานวนเกือบ 8 แสนคน ขณะนี้ กว่า 10 เมืองของจีนมีเที่ยวบินตรงถึง เมืองต่างๆ ของกัมพูชา แต่ละวันมีเที่ยวบินไปมาระหว่างจีนกับกัมพูชา 35 เที่ยว มีการแลกเปลี่ยนการ เยือนระหว่างศิลปินในแวดวงวัฒนธรรมอย่างสม่าเสมอ มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรเพิ่มมาก ขึ้น และเกิดกระแสนิยมเรียนภาษาจีนในกัมพูชาด้วย ซึ่งสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อได้รับความ นิยมอย่างสูง 7.6 7.8 7.5 8.5 8.0 8.0 8.0 7.6 7.3 7.0 0.00 1.00 2.00 3.00 4.00 5.00 6.00 7.00 8.00 9.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP growth (annual %)
  • 15. 12 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) หรือที่เรารู้จักกันในนามประเทศลาว มี ประชากรเพียง 6.9 ล้านคน(2016) จีดีพี 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (2016)8 เศรษฐกิจของลาวมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีแบบตลาดเมื่อปี 1986 เศรษฐกิจลาว ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี นับเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทว่าเศรษฐกิจลาวประสบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงถึง ร้อยละ 21.9 ของ GDP เนื่องจากความต้องการนาเข้าสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น และมีข้อจากัดด้าน ศักยภาพการผลิตเพื่อการส่งออก9 ภาพ : แผนภาพแสดง GDP ของประเทศลาวปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators 8ออนไลน์ : https://knoema.com/atlas/Lao-Peoples-Democratic-Republic/GDP ค้นเมื่อ 23/4/2017 9 กรมเจรจาการค้า, 2557 4.2 5.4 5.8 7.1 8.3 10.2 11.9 13.3 14.4 15.9 0.00 2.00 4.00 6.00 8.00 10.00 12.00 14.00 16.00 18.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP (current billion US$)
  • 16. 13 ภาพ : แผนภาพแสดง GDP growth rate ของประเทศลาวปี 2007-2016 ที่มา : World Development Indicators ปัจจุบันเศรษฐกิจลาวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ลาวก็ยังคงถูกจัดเป็นประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDC) โดยมีรายได้ต่อ หัวอยู่ที่ 1,490 เหรียญสหรัฐ ประชากรกว่า 37% ยังอยู่ใต้เส้นความยากจน การกระจายรายได้ยังอยู่ ระดับท้ายๆ เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ภาคเกษตร (ซึ่งใช้แรงงาน 75% ของแรงงานทั้งหมด) มี สัดส่วน 40.3% ของ GDP รองลงมาเป็นอุตสาหกรรม (34.1%) และภาคบริการ (25.6%) โครงสร้าง พื้นฐานยังค่อนข้างล้าหลัง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทซึ่งถนนยังคงเป็นแบบพื้นฐานและส่วนใหญ่เป็นถนน ลูกรัง ระบบโทรศัพท์พื้นฐานยังมีใช้กันอยู่ในขอบเขตจากัดไม่ทั่วถึง ในด้านไฟฟ้า 25% ของพื้นที่ในลาว ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แม้ลาวจะเป็นผู้ส่งออกไฟฟ้าก็ตาม10 ลาวเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้านแร่ธาตุมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีแร่ธาตุมากกว่า 570 ชนิด แร่ธาตุสาคัญ เช่น ทองคา ทองแดง ตะกั่ว วูลแฟรมและยิปซัม การส่งออกแร่มีสัดส่วนถึง 40% ของการส่งออกทั้งหมดของลาว ภาคเหมืองแร่ลาวมีสัดส่วน 10% ของ GDP แรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สาคัญจึงเป็นการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากร ธรรมชาติ/แร่ธาตุ อันได้แก่ การผลิตไฟฟ้าพลังน้า เช่น เขื่อนน้าเทิน 2 (ลาวมีศักยภาพที่จะ ผลิตไฟฟ้าได้สูงถึง 26,000 MW แต่ปัจจุบันผลิตเพียง 19%) จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวทาให้ลาวมีรายได้สูงขึ้น เนื่องจากราคาทองคาและทองแดงใน ตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น นอกจากนั้นลาวยังมีการขยายการผลิตสินแร่อื่นๆ ที่ตลาดโลกมีความต้องการสูง เช่นกัน ได้แก่ บอกไซต์ (ทาอลูมิเนียม) คาดว่ามีปริมาณเบื้องต้นที่จะขุดมาใช้ได้ 2.0-2.5 พันล้านตัน ซึ่ง จากการสารวจของบริษัทจีนที่ได้สัมปทาน 30 ปีจากลาว พบว่ามีขนาดใหญ่โตติดอันดับ 1 ใน 3 แหล่ง บอกไซต์ใหญ่ที่สุดในโลก ประมาณการว่าจะสามารถขุดมาใช้ได้ 50 ปีก็ยังไม่หมด และอาจเทียบชั้นกับ แหล่งใหญ่อันดับ 1 ของโลกที่ออสเตรเลียก็เป็นได้ นอกจากนั้นที่แขวงจาปาสักยังได้สารวจพบแร่เหล็ก 10 ออนไลน์ : http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/tpso_journal_oct_58_issue_51.pdf ค้นเมื่อ 27/6/2017 7.6 7.8 7.5 8.5 8.0 8.0 8.0 7.6 7.3 7.0 0.00 1.00 2.00 3.00 4.00 5.00 6.00 7.00 8.00 9.00 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 GDP growth (annual %)
  • 17. 14 และแร่ฟอสฟอรัสจานวนมากอีกด้วย สาหรับแร่โพแทชมีบริษัทจากจีนและอินเดียได้รับสัมปทานในแถบ ทางใต้ของแขวงเวียงจันทน์ ผลผลิตประมาณ 50 พันล้านตัน และในแขวงคาม่วน มีบริษัทจีนได้รับ สัมปทานไปจานวน 5 แห่ง ด้วยกาลังการผลิต 1 แสนตัน/ปี นอกจากนั้นลาวยังมีอุตสาหกรรมสาคัญเป็นธุรกิจไม้ซุง การแปรรูปสินค้าเกษตร ยางพารา การ ก่อสร้าง เสื้อผ้าสาเร็จรูป ซีเมนต์ และการท่องเที่ยว ปัจจุบันจีนเป็นผู้ลงทุนอันดับ 1 (มูลค่าลงทุน 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) แซงหน้าไทยและเวียดนามแล้ว การลงทุนส่วนใหญ่ของจีนเป็นด้านเหมืองแร่ พลังงานไฟฟ้า และเมื่อปี 2016 คณะกรรมการความร่วมมือลาว-จีน ได้ออกมาประกาศว่าจีนเป็นประเทศ ที่ลงทุนในลาวมากที่สุด โดยมีโครงการลงทุนรวม 760 โครงการ ยอดการลงทุนมากกว่า 6,700 ล้าน เหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะระหว่างปี 2011 ถึงปัจจุบัน มีการลงทุนกว่า 160 โครงการ ยอดการลงทุน มากกว่า 2,750 ล้านเหรียญสหรัฐ11 ซึ่งการลงทุนของจีนในลาวได้ครอบคลุมในหลายด้าน แต่ที่สาคัญคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน เหมืองแร่ การเกษตร และเสื้อผ้า 11 ออนไลน์ : http://thai.cri.cn/247/2016/05/02/101s241891.htm ค้นเมื่อ 27/6/2017
  • 18. 15 บทที่ 2 บทบาทด้านต่างๆ ของจีน ในมาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว พลังงาน มาเลเซีย บริษัทผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์ 2 ยักษ์ใหญ่ของจีน ได้แก่ Jinko Solar Co Ltd และ JA Solar Malaysia Sdn Bhd ได้ลงทุนสร้างโรงงานในปีนังและมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 363.21 ล้านริงกิต และ 300 ล้านริงกิตตามลาดับ นอกจากนี้ ยังมี บริษัท JA Solar Holdings Co., Ltd. (Nasdaq: JASO) บริษัทสัญชาติจีน ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เปิด โรงงานผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงขนาด 400 เมกะวัตต์ ในปีนัง โดยใช้เงินลงทุน ประมาณ 300 ล้านริงกิตมาเลเซียในการก่อสร้างโรงงานแห่งนี้ในนิคมอุตสาหกรรมปีนัง บายัน เลปาส ซึ่งจะสร้างตาแหน่งงานถึง 700 ตาแหน่งในชุมชน และสามารถรองรับการขยายกาลังการผลิตเพื่อให้ สอดรับกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น เหตุผลที่ทาให้จีนเลือกมาลงทุนในปีนัง เนื่องจากปีนังเป็นหนึ่งในเมืองท่าอุตสาหกรรมและเมือง เศรษฐกิจที่สาคัญของมาเลเซีย ตั้งอยู่ในทาเลทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งสนามบิน ท่าเรือ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่น่าเชื่อถือ พม่า โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Gas Pipeline) โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินี้ เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China National Petroleum Corporation หรือ CNPC ของจีน และบริษัทเมียนมาร์ ออย แอนด์ ก๊าซ เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่ง เป็นบริษัทน้ามันแห่งชาติของพม่า นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอีก 4 แห่งจากอินเดียและเกาหลีใต้ ถือหุ้นใน โครงการนี้ด้วย โดยท่อส่งก๊าซมีความยาว 793 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างอ่าวเบงกอลของพม่า ซึ่งมีแหล่ง ก๊าซธรรมชาติหลายแห่ง กับมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยมีจุดเริ่มต้นที่เมืองจ้าวผิ่ว ในรัฐยะไข่ ผ่านเขตมาเกว เขตมัณฑะเลย์ และรัฐฉาน และเข้าสู่เขตเมืองรุยลี่ ในมณฑลยูนนานของจีน วางแนวขนานไปกับท่อส่งน้ามันดิบ และคาดว่าจะส่งก๊าซธรรมชาติจานวน 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปยังจีนต่อปี12 โครงการนี้จะทาให้ย่นระยะทางมากกว่า 1,820 ไมล์ทะเล โดยโครงการท่อส่งก๊าซ ดังกล่าวได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2013 โดยมีการก่อตั้งบริษัท เซาธ์ อีสต์ เอเชีย ครู้ด ก๊าซ ไปป์ไลน์ เพื่อบริหารการส่งก๊าซ 12 ออนไลน์ : http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=947.0 ค้นเมื่อ 16/4/2017
  • 19. 16 โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ามันดิบ (Crude Oil Pipeline) โครงการนี้ จะนาน้ามันดิบจากตะวันออกกลางและแอฟริกาขนส่งมาทางเรือมาที่ท่าเรือเจียว เพียว (ภาษาจีน) หรือจ้าวผิ่ว (Kyaukphyu) ภาษาพม่า แล้วขนส่งไปตามท่อที่จีนจะสร้างขึ้นในพม่า โดย มีแนวท่อเริ่มจากเมืองเจียวเพียว-มัณฑะเลย์-ลาโช-มูเซ-รุยลี่ ของมณฑลยูนนาน ไปสิ้นสุดที่ฉงชิ่งของจีน รวมระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร ซึ่ง China National Petroleum Corporation หรือ CNPC ของจีน เป็นผู้ถือหุ้น 50.9% และอีก 49.1% เป็นของ South East Asia Pipe Company Ltd. (SEAP) ซึ่งบริษัท น้ามันแห่งชาติของพม่าเป็นเจ้าของอยู่ โดยคาดว่าจะสามารถขนส่งน้ามันดิบได้ประมาณปีละ 22 ล้านตัน และได้ก่อตั้งบริษัทเซาธ์อีสต์ เอเชีย ครู้ด ออยล์ ไปป์ไลน์ เพื่อบริการการส่งน้ามัน แต่ปัจจุบันท่อส่ง น้ามันดิบเสร็จไปแล้วบางส่วนแต่ยังไม่ครบทั้งเส้น ภาพ : เส้นทางท่อส่งก๊าซและน้ามันพม่า-จีน ที่มา : http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=7433.0 โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ามิตโสน (Myitson dam) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ามิตโสนเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนกับรัฐบาลพม่า มีมูลค่า กว่า 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ (หนึ่งแสนกว่าล้านบาท) หากก่อสร้างสาเร็จจะผลิตไฟฟ้าได้ 29,400 กิโลวัตต์ต่อปี เดิมออกแบบเพื่อจัดส่งกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ให้แก่จีน ทาให้ประชาชนชาวพม่า ที่ยังขลาดแคลนไฟฟ้าใช้จานวนมากไม่พอใจ ซ้ายังถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การครอบงาทางเศรษฐกิจ ของจีนเหนือพม่า ทาให้ประชาชนคัดค้านอย่างหนักและถูกระงับไปเมื่อปี 2011 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่
  • 20. 17 10 เมษายน 2017 ได้มีการพบปะระหว่างสี จิ้นผิงประธานาธิบดีจีนกับ อู ถิ่นจอ ประธานาธิบดีของพม่า ทั้งสองฝ่ายแสดงความปรารถนาที่จะเดินหน้าโครงการดังกล่าว แต่จะเป็นไปในทิศทางที่ช่วยส่งเสริม ความสัมพันธ์และเอื้อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย กัมพูชา แม้ว่ากัมพูชามีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าประเทศในแอฟริกาและเอเชียกลาง แต่จากการ สารวจพบว่ากัมพูชาเป็นเจ้าของแหล่งน้ามันดิบจานวนมากประมาณ 400 ล้านบาร์เรล และ 30,000 ล้าน ลูกบาศก์ฟุตของก๊าซธรรมชาติ13 ซึ่งบริษัทจากจีนได้รับสัมปทานที่ดินและใบอนุญาตลงทุนด้านเหมืองแร่ เขื่อน และอุตสาหกรรมการเกษตรในกัมพูชาเป็นจานวนมาก ตามรายงานของศูนย์สิทธิมนุษยชน กัมพูชา (The Cambodian Centre for Human Rights – CCHR) ระบุว่าร้อยละ 50 ของที่ดินที่ให้ สัมปทานตั้งแต่ปี 1994 มีถึง 4.6 ล้านเฮกตาร์ อยู่ในครอบครองของบริษัทจีนถึง 107 บริษัท โดย แบ่งเป็นบริษัทลงทุนสารวจทรัพยากรแร่ธาตุ 23 บริษัท บริษัทก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า 5 บริษัท บริษัทลงทุนด้านอุตสาหกรรมเกษตร 66 บริษัท และยังไม่แน่ชัดว่ามีกี่บริษัทจากจีนที่ลงทุนอุตสาหกรรม น้ามัน แต่ที่แน่ชัดเมื่อปี 2007 บรรษัทน้ามันนอกชายฝั่งแห่งชาติจีน (The China National Offshore Oil Corporation – CNOOC) เข้ามาลงทุนในกัมพูชา จากรายงานระบุว่าได้รับสัมปทานในการสารวจและขุด เจาะนอก ชายฝั่งกัมพูชาในเขตบล็อค F ครอบคลุมพื้นที่ 7,026.7 ตารางกิโลเมตร14 เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน มาเลเซีย กองทุนซูปเปอร์ซีด มาเลเซีย เวนเจอร์ แคปปิตอล จับมือกับ โกบี พาร์ตเนอร์ส กองทุนร่วมลงทุนของจีน ก่อตั้ง กองทุนซูปเปอร์ซีด มูลค่า 5.12 แสนล้านบาท เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในมาเลเซียและชาติอาเซียน โดย โกบีแบ่งชาติอาเซียนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตลาดโต มีสิงคโปร์และมาเลเซีย กลุ่มตลาดไอพีทีวี มี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม และกลุ่มตลาดโตต่า มีพม่าและลาว ซึ่งถือเป็นการมองการณ์ ไกล ลงทุนเพื่อรองรับนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจบริการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจใน อนาคตได้ 13 Heng Pheakdey, 2012, 73. 14 อ้างแล้ว http://www.ias.chula.ac.th/ias/en/Article-Detail.php?id=17
  • 21. 18 เขตการค้าเสรีดิจิทัล (Digital Free Trade Zone : DFTZ) มาเลเซียเพิ่งเปิดเขตการค้าเสรีดิจิทัล (Digital Free Trade Zone : DFTZ) ในมาเลเซียซึ่งเป็น ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลมาเลเซียกับ Alibaba Group ถือเป็นเขตการค้าเสรีดิจิทัลแห่งที่สองของโลก และเป็นศูนย์ e-commerce นอกจีนแห่งแรกของ Alibaba Group โดยคาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2020 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศมาเลเซียจะเพิ่มเป็น 211 พันล้านริงกิต และภายในปี 2025 ความสามารถในการส่งออกสินค้าของธุรกิจ SMEs จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว สร้างมูลค่าการค้ากว่า 65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสร้างงานกว่า 60,000 ตาแหน่ง โครงการเขตการค้าเสรีดิจิทัล ตั้งอยู่ในเขตเมืองท่าอากาศยาน KLIA Aeropolis บนเนื้อที่ 45 เฮกตาร์ (ประมาณ 281 ไร่) ประกอบด้วย hub ย่อย ๆ ได้แก่ 1.) e-fulfillment hub จะดาเนินการในเฟส แรกภายในสิ้นปี ค.ศ. 2017 ภายใต้ความร่วมมือของ Alibaba, Cainiao, Lazada และ Pos Malaysia เพื่ออานวยความสะดวกพิธีศุลกากรให้การส่งออกและการนาเข้าสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ 2.) e- commerce และ e-logistics Hub ศูนย์กระจายสินค้าเต็มรูปแบบของ Alibaba ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในปี ค.ศ. 201915 ลงนามบันทึกความเข้าใจกับมณฑลกวางตุ้ง ทางรัฐบาลท้องถิ่นของมะละกาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับมณฑลกวางตุ้งในปี 2015 เพื่อ พัฒนากลยุทธ์การเป็นคู่ค้าที่แข็งแกร่งในอนาคต เห็นได้จากโครงการสาคัญที่จะถือกาเนิดขึ้นคือ นิคม อุตสาหกรรมกวางตุ้ง-มะละกา ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ท่าเรือน้าลึกมะละกา และ นิคมอุตสาหกรรมทางทะเล เขตนิคมอุตสาหกรรมมาเลเซีย(กวนตัน)-จีน จีนและมาเลเซียร่วมมือในการสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรม คือ เขตนิคมอุตสาหกรรมมาเลเซีย (กวนตัน)-จีน (ตั้งอยู่ในรัฐปาหัง) เป็นโครงการสาคัญภายใต้การผลักดันของผู้นาจีนและผู้นามาเลเซีย และเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและวิสาหกิจท้องถิ่นของทั้ง 2 ประเทศ และเป็นเขตนิคม อุตสาหกรรมพี่น้องกับเขตนิคมอุตสาหกรรมจีน(ชินโจว)-มาเลเซีย (กวางสี) การสร้างความร่วมมือในครั้ง นี้ผู้นาของทั้ง 2 ประเทศให้ความสาคัญอย่างมากถือเป็นการสร้างสรรค์โมเดลความร่วมมือระดับสากล รูปแบบใหม่ “สองประเทศสองนิคม” คือ เขตนิคมอุตสาหกรรมจีน(ชินโจว)-มาเลเซีย และเขตนิคม อุตสาหกรรมมาเลเซีย(กวนตัน)-จีน นอกจากนี้ ยังมีท่าเรือกวนตันที่อยู่ห่างออกไปจากเขตนิคม อุตสาหกรรมกวนตันเพียง 11 กิโลเมตร ซึ่งเขตนิคมฯ ต้องอาศัยท่าเรือน้าลึกในการขับเคลื่อนการพัฒนา ของนิคมและสร้างความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างท่าเรือชินโจวและท่าเรือกวนตัน ขยายความ ร่วมมือทางทะเล และกระตุ้นการพัฒนาระหว่างนิคม 15 New Straits Times หัวข้อ Digital Leap ฉบับวันที่ 23 มีนาคม 2560
  • 22. 19 โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกัสดาร์ (Iskandar) โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ ของมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณรัฐยะโฮร์บารูห์ ซึ่งติดกับ สิงคโปร์ พัฒนาตามแนวคิดของเมือง “เซินเจิ้น” เขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนแผ่นดินใหญ่ ที่อาศัยทาเลที่ ใกล้กับเกาะฮ่องกง ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองเซินเจิ้นให้เติบโตอย่างรวดเร็ว รัฐบาลมาเลเซียจึง พยายามทาแบบเดียวกันกับ Iskandar โดยใช้ความใกล้กับสิงคโปร์ให้เป็นประโยชน์ โครงการพื้นที่พิเศษนี้มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.5 ล้านล้าน บาท ซึ่งจะมีบ้านพักอาศัยเกิดขึ้น 5 แสนยูนิต จากโครงการอสังหาริมทรัพย์กว่า 60 โครงการ ภาพ : แผนที่แสดงจุดตั้งของโครงการพื้นที่พิเศษ Iskandar ในรัฐยะโฮร์บารูห์ ที่มา : https://brandinside.asia/china-city-johor-malaysia-singapore/
  • 23. 20 การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ ที่ผ่านมาจนถึงปี 2014 มีมูลค่า รวมทั้งสิ้นประมาณ 133 พันล้านริงกิต (ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท) โดยเป็นการลงทุนโดยตรงของภาครัฐเพียงร้อยละ 6 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมดขณะที่พบว่าภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนสะสมสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 36 รอง มาคือภาคอสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 25 และภาคอื่นๆ ได้แก่การท่องเที่ยว การบริการ การศึกษา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโลจิสติกส์ มีการลงทุนสะสมรวมร้อยละ 33 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด16 โครงการขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองใหม่แห่งนี้เป็นของ Country Garden Holdings บริษัทก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์จากประเทศจีน โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า Forest City ประกอบด้วยเกาะที่ถมทะเล ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด 4 เกาะ พื้นที่รวมกัน 3,425 เอเคอร์ (13.86 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งตามแผนแล้วจะมี ประชากรอาศัยอยู่ถึง 7 แสนคน บริษัท Country Garden Holdings เคยสร้างโครงการริมน้า Danga Bay มาแล้วในปี 2013 และ ขายอพาร์ทเมนต์เกือบหนึ่งหมื่นยูนิตได้หมดเกลี้ยง ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่เข้ามาทาตลาดมาเลเซียคือ Greenland Group รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน และ Guangzhou R&F Properties จากเมืองกวางโจว ภาพ : ภาพโครงการ Forest City บนเกาะใกล้ชายแดนสิงคโปร์ มีลักษณะเป็นกลุ่มของเกาะที่สร้างขึ้นใหม่ 4 เกาะ จะมีขนาดใหญ่เกือบ 3 เท่าของเกาะเซนโตซาในสิงคโปร์ และเป็นเขตปลอดภาษี ที่มา : https://brandinside.asia/china-city-johor-malaysia-singapore/ 16 ออนไลน์ : http://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2637 ค้นเมื่อ 24/7/2017
  • 24. 21 ปัจจัยที่จะทาให้จีนและนานาประเทศสนใจลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกัสดาร์ ได้แก่ 1. มีจุดยุทธศาสตร์ที่ตั้งที่ดี มีพื้นที่ติดกับประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สาคัญ แห่งหนึ่งของโลก แต่สิงคโปร์มีข้อจากัดด้านพื้นที่และค่าครองชีพที่สูงทาให้อิสกันดาร์ได้รับ ประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 2. มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ จากการดาเนินการตาม นโยบายอย่างเคร่งครัดในการพิจารณาอนุมัติให้สิทธิประโยชน์เฉพาะแก่ธุรกิจที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเท่านั้น เป็นการป้องกันปัญหาการเก็งกาไรที่ดิน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อ การขยายตัวของการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม (real industrial sector) ในอนาคต 3. มีโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างพร้อม จากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางน้า ถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ และมีแผนความร่วมมือรถไฟ ความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์กับสิงคโปร์ 4. นโยบายรัฐบาลท้องถิ่น(รัฐยะโฮบารูห์) สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลกลางของมาเลเซีย ส่งผล ให้การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ของมาเลเซีย กาลังเผชิญความท้าทาย เนื่องจาก บริษัทจีนมีแผนที่จะสร้างที่พักอาศัยจานวนมากพร้อมกัน ส่งผลให้ราคาบ้านในยะโฮร์บารูห์ตกลงไป 1 ส่วน 3 และกาลังซื้ออสังหาริมทรัพย์จากคนในท้องถิ่นเริ่มหมดไป จึงเกิดปัญหาว่า “ใคร” จะเป็นผู้มาซื้อ ที่พักอาศัยเหล่านี้ บริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนจึงหันพยายามดึงผู้ซื้อจากจีนแผ่นดินใหญ่ บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Country Garden จึงลงทุนเช่าเครื่องบินจาก Air Asia เหมาลาขนคนจากกวางโจวมาดูสถานที่จริง ในมาเลเซียเพื่อกระตุ้นยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างขึ้น พม่า เขตเศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่ว เขตเศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่วประกอบไปด้วย โครงการนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือน้าลึกจ้าวผิ่ว และ พื้นที่พักอาศัย เขตเศรษฐกิจพิเศษจ้าวผิ่วจะมีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ในพม่า เช่น อุตสาหกรรมป่าไม้ อุตสาหกรรม การประมง น้ามันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงภาคบริการด้วย โครงการนี้ มีกาหนดเริ่มดาเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 ด้วยพื้นที่พัฒนาเบื้องต้น 625 ไร่ เพื่อพัฒนานิคม อุตสาหกรรม ซึ่งโครงการรวมทั้งหมดจะใช้เวลาพัฒนานานราว 20-30 ปี นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้าลึกที่เมืองจ้าวผิ่ว ภายใต้โครงการชื่อ Kyaukpyu Economic and Technical Development Zone and Deep Seaport ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพม่า บริเวณอ่าวเบงกอลใน ทะเลอันดามัน จากเมืองจ้าวผิ่วสามารถเชื่อมโยงกับมณฑลยูนนานของจีน โดยผ่านเมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) ต่อไปที่เมืองลาโช (Lachio) ไปจนถึงชายแดนพม่าที่เมืองมูเซ (Muse) ผ่านไปยังเมืองรุ่ยลี่ (Ruili) ในมณฑลยูนนานของจีน ด้วยระยะทางประมาณ 800 - 1,000 กิโลเมตร ท่าเรือนี้จะสามารถรองรับเรือบรรทุกน้ามันได้ 300,000 ตัน มีเมืองนิคมอุตสาหกรรมที่ครบ วงจร พร้อมทั้งมีสนามบิน โรงงานปิโตรเคมี และโรงงานถลุงเหล็ก
  • 25. 22 ภายในนิคมอุตสาหกรรมเจียวเพียว มีการจัดแบ่งเป็นโซนต่างๆ เช่น โซนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โซนอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ตลอดจนการสร้างสนามบิน โดยเฉพาะท่าเรือน้าลึกจ้าวผิ่ว จะมีทั้งท่าเรือ รองรับสินค้าคอนเทนเนอร์ และท่าเรือน้ามันพร้อมคลังเก็บน้ามันดิบ ซึ่งกลุ่ม China National Petroleum Corporation (CNPC) ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของจีนได้เข้าไปก่อสร้าง Tanker Port ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก รวมทั้งมีร่องน้าลึกมากจนสามารถรองรับเรือบรรทุกน้ามันขนาดใหญ่ร่วม 3 แสนตันได้17 กัมพูชา อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า การลงทุนด้านการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า บริษัทจากจีนที่เข้ามาลงทุนในกัมพูชา และได้ ใช้สถานะสิทธิพิเศษของกัมพูชาในการส่งออกสินค้าเสื้อผ้า เช่น สถานภาพชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation – MFN) สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preference – GSP) และข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าทุกชนิดยกเว้นอาวุธ (Anything But Arms) ที่สหภาพยุโรปให้แก่ กัมพูชา ทาให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าของจีนสามารถส่งออกสินค้าให้เข้าถึงตลาดในสหรัฐ สหภาพยุโรป และตลาดโลกแห่งอื่นๆ โดยใช้สิทธิพิเศษเหล่านี้ การลงทุนด้านเกษตรกรรม กัมพูชายังเปรียบเสมือนพื้นที่เกษตรกรรมของจีน เพราะจีนจาเป็นต้องมองหาความมั่นคงทาง อาหารจากภายนอกประเทศ และกัมพูชาเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ทา เกษตรกรรม และยังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์อีกมาก รัฐบาลกัมพูชาจึงได้ให้สัมปทานแก่บริษัทจีนลงทุนด้าน เกษตรกรรม จีนให้ความสนใจต่อผลผลิตการเกษตรของกัมพูชา เมื่อเดือนสิงหาคม 2011 บริษัท The China National Food Industry Group ลงนามในข้อตกลงกับบริษัท The Cambodian agricultural ซื้อมัน สาปะหลังปริมาณ 1 ล้านตัน และในเดือนเดียวกัน The Guangzhou สาขาของ The China Grain Reserves Corporation (Sinograin) ได้ลงนามซื้อข้าวสารจากกัมพูชาเพิ่มเป็น 200,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังมีบริษัทจากจีนเข้ามาขอสัมปทานพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อปลูกยางพารา ในจังหวัดทาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ได้แก่ สตึงเตร็ง กระแจ๊ะ รัตนคีรี และมณฑลคีรี18 ลาว จีนรุกตลาดค้าปลีกและค้าส่งในลาวอย่างมาก โดยเฉพาะในนครหลวงเวียงจันทน์ มี Mega Project จานวน 11 โครงการ ได้แก่ 1. ตลาดเช้า Shopping Mall(ลงทุนโดยทุนจากสิงคโปร์-จีน) 2. ตลาดซังเจียง-เน้นขายส่งสินค้า (จีน) 3. ศูนย์การค้าสากลนครทรัพย์ช้อปปิ้งพลาซ่า (จีน) 4. รีกัล เมก้า 17 ออนไลน์ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/488112 ค้นเมื่อ 18/4/2017 18 อ้างแล้ว http://www.ias.chula.ac.th/ias/en/Article-Detail.php?id=17
  • 26. 23 มอลล์ (สิงคโปร์) 5. ตลาดธาตุหลวง 6. เวียงจันทน์ เซ็นเตอร์ (จีนและสิงคโปร์) เน้นสินค้าแบรนด์เนม 7. เวียงจันทน์นิวเวิลด์ พลาซ่า (จีน) 8. โครงการ “โลกใหม่ดอนจันทน์” (Done Chan New World) (จีน) บน พื้นที่ 700,000 ตารางเมตร เป็น Complex ด้านการค้าสมบูรณ์แบบ 9. โครงการเวียงจันทน์เมกะมอลล์ (จีนและสิงคโปร์) 10. “เวียงจันทน์คอมเพล็กซ์” 11. ศูนย์การค้าพระธาตุหลวง (ไทยและจีน) ทั้งนี้เพื่อ รองรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากจีนที่จะผ่านเวียงจันทน์มายังกรุงเทพและสิงคโปร์ในอนาคตอันใกล้ ขณะที่ Alibaba ได้มี MOU กับ AJ ของไทยในความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และ E-Commerce เชื่อมจีนกับอาเซียน ซึ่งจะเป็นส่วนผลักดันให้ลาวเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่สาคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก ภาพ : ศูนย์การค้าเวียงจันทน์เซ็นเตอร์ เป็นการร่วมทุนระหว่างจีน-สิงคโปร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2015 ลงทุนคาสิโน นักธุรกิจชาวจีนไปลงทุนคาสิโนในลาว เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่อนุญาตให้มีคาสิโนถูกกฎหมายใน ประเทศ ทุนคาสิโนจีนจึงต้องดิ้นรนออกไปนอกประเทศและพบว่า ลาว เป็นประเทศที่อนุญาตให้มีคาสิโน เกิดขึ้นเพียงแห่งเดียวตั้งแต่ปี 1996 คือบริเวณที่เรียกว่า “แดนสวรรค์น้างึมรีสอร์ท” (Dansavanh Nam Ngum) ตั้งอยู่ในแขวงเวียงจันทน์ ห่างจากนครหลวง 60 กิโลเมตร หวง มิ่งชวน นักธุรกิจชาวจีนฟูเจี้ยน สัญชาติฮ่องกง เป็นหนึ่งในทุนคาสิโน เป็นหนึ่งในผู้ เดินหน้าผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) ของรัฐบาลลาว โดยเริ่ม จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโน แขวงสะหวันนะเขตตรงข้ามจังหวัดมุกดาหารของไทยเป็นแห่ง