SlideShare a Scribd company logo
1
ยุวดี คาดการณ์ไกล
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
สิงหาคม 2565
ที่มา : จาก Financial Times https://www.ft.com/content/190c61ba-b018-46dc-9276-fff32321961b
การเยือนไต้หวันของนาง Nancy Pelosi เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2022 เป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก ทา
ให้ผู้ติดตามข่าวอย่างในประเทศไทยต่างลุ้นไปกับความหาญกล้าของนาง Pelosi เพราะเธอนั้นเป็นถึง
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกฎหมายของสหรัฐฯ ถือว่าเป็นบุคคลสาคัญที่มีสิทธิเป็นลาดับที่สามรองจากรอง
ประธานาธิบดี สามารถขึ้นเป็นประธานาธิบดีในกรณีที่จาเป็น ดังนั้น จึงสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงแก่คนทั่ว
โลก เกรงจะมีผลอะไรเกิดขึ้นตามมา เพราะสหรัฐฯ ย่อมเข้าใจดีในหลักการจีนเดียว ฉะนั้น ความสัมพันธ์
ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะต้องอยู่บนพื้นฐานจีนเดียวเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่เป็นทางการระหว่างสหรัฐฯ กับ
ไต้หวันจึงไม่ควรเกิดขึ้น
สาหรับคนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทัน อาจจะมีคาถามว่าไต้หวันไม่ใช่ประเทศหรือ ทาไมจีนจึงยอมไม่ได้ที่จะ
ให้ไต้หวันดาเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ ได้อย่างอิสระ ผู้อ่านลองมาย้อนประวัติศาสตร์ดู
กัน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล
ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
2
ไต้หวันเป็นมาอย่างไร ทาไมเป็นส่วนที่แบ่งแยกไม่ได้ของจีน
เอกสารประวัติศาสตร์ของจีน "Linhai Tuzhi" 《临海水土志》ได้ระบุว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของ
จีนตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เมื่อ 1,700 ปีที่แล้ว ได้มีบันทึกข้อความที่เก่าแก่ที่สุดในโลก บรรยายถึงไต้หวันว่า
ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่เข้าไปพัฒนาไต้หวันขึ้นมา เริ่มตั้งแต่ในศตวรรษที่ 3 และ 7 การปกครองของซุนหวู่ใน
ยุคสมัยสามก๊กและในยุคของราชวงศ์สุยได้ส่งผู้คนมากกว่า 10,000 คนเข้าไปยังไต้หวันอย่างต่อเนื่อง ต่อมาใน
ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา การพัฒนาของชาวจีนในไต้หวันก็มีขนาดใหญ่และกว้างขวางขึ้น ผู้ปกครองแผ่นดิน
จีนถัดมาตั้งแต่ราชวงศ์หยวน (1206-1368) จึงได้จัดตั้งหน่วยงานบริหารในไต้หวันเพื่อใช้อานาจปกครองอย่าง
มีประสิทธิภาพเหนือไต้หวัน
พอย่างเข้าช่วงกลางของศตวรรษที่ 17 ชาวอาณานิคมดัตช์ได้เข้ามายึดครองไต้หวัน Zheng
Chenggong วีรบุรุษของชาติจีนได้ขับไล่ชาวอาณานิคมดัตช์ในปี 1662 และฟื้นฟูไต้หวันกลับขึ้นมา และในปี
1895 เนื่องจากความพ่ายแพ้ของราชวงศ์ชิงของจีนในสงครามจีน-ญี่ปุ่น จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญาชิโมโน
เซกิที่ไม่เท่าเทียมกันจากการบีบบังคับของญี่ปุ่น โดยไต้หวันและเกาะเผิงหูก็ถูกยกให้แก่ญี่ปุ่น ในเดือน
กรกฎาคม 1937 ชาวจีนทั้งประเทศเริ่มทาสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น รัฐบาลจีนประกาศใน
"ปฏิญญาสงครามกับญี่ปุ่น" ว่าจีนและต่างประเทศยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งหมดที่ลงนามกับญี่ปุ่น
และประกาศว่า พวกเขาจะยึดไต้หวันและเกาะเผิงหูกลับคืนมาจากญี่ปุ่น
ในปี 1945 ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ยอมรับปฏิญญาพอทสดัม (Potsdam Proclamation) และ
ปฏิญญาไคโร (Cairo Declaration) อย่างไม่มีเงื่อนไข และส่งคืนไต้หวันกลับไปสู่จีน จนถึงช่วงนี้ ไต้หวันได้
ผนวกเข้าสู่ดินแดนของจีนและกลับสู่เขตอานาจอธิปไตยของจีนอีกครั้ง กระนั้นก็ตาม หลังปี 1949 ด้วยปัญหา
ทางการเมืองภายในประเทศ ไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ที่เป็นมาตุภูมินั้นได้ถูกแยกออกจากกันอีกครั้ง
จีนเชื่อว่าสิ่งนี้ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่าไต้หวันเป็นส่วนที่แบ่งแยกไม่ได้ของจีน มีเพียงจีนเดียวเท่านั้น
ในโลก ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่มิอาจแบ่งแยกได้ นี่คือฉันทามติของจีนทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็น
ที่ยอมรับของสหประชาชาติและประเทศส่วนใหญ่ในโลกอีกด้วย กล่าวคือ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ขององค์การ
สหประชาชาติได้มีข้อตกลงที่ 2758 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1971 รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีน (เรียกย่อๆ ว่า
จีน) เป็นผู้แทนเพียงหนึ่งเดียวโดยชอบธรรมในสหประชาชาติ ตามฉันทามติเมื่อปี 1992 (1992 Consensus)
จีนและไต้หวันได้มีการตกลงในหลักการจีนเดียว (One China Policy) แม้ทั้งสองฝ่ายจะให้ความหมายของคา
ว่าจีนเดียวที่ต่างกันไป แต่จีนก็ถือว่าไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน การดาเนินการใดๆของไต้หวันที่
แสดงออกถึงการแบ่งแยกประเทศตามความหมายของจีน ก็จะถูกจีนคัดค้าน
3
ความพยายามในการเรียกร้องเอกราชของไต้หวัน
การเกิดขึ้นและพัฒนาการของกระแสความคิดและการดาเนินกิจกรรม "การเรียกร้องเอกราชของ
ไต้หวัน" มีเหตุผลทางประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองที่ซับซ้อน อีกทั้งยังเป็นผลผลิตจากการช่วยเหลือและ
การสนับสนุนของพลังต่อต้านจีนในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นอีกด้วย ในอดีตนั้นเชื่อกันว่ากาลังทหารของญี่ปุ่นเป็นผู้
ริเริ่มให้เกิดองค์กรและการดาเนินกิจกรรม "การเรียกร้องเอกราชของไต้หวัน"
ในปี 1945 จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นได้ประกาศยอมจานนอย่างไม่มีเงื่อนไข ตาม "ปฏิญญาไคโร" "ดินแดน
ที่ถูกเอาไปจากประเทศจีน" โดยญี่ปุ่น เช่น ไต้หวัน จะต้องถูกส่งกลับไปให้จีน ในเวลานั้น Ando Gili ผู้ว่า
ราชการญี่ปุ่นในไต้หวันได้ยุยงทหารและผู้ทรยศในกองทัพญี่ปุ่นให้จัดตั้งองค์กร "เรียกร้องเอกราชไต้หวัน" ใน
ไต้หวัน ในเวลาเดียวกัน ทหารฝ่ายขวาของญี่ปุ่นที่ประจาการในไต้หวันก็ได้ทาการเปิดตัว " เหตุการณ์ประกาศ
อิสรภาพของไต้หวัน"
นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการรณรงค์ "เอกราชของไต้หวัน" ต่อมาขบวนการ "เรียกร้องเอกราชของ
ไต้หวัน" ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ญี่ปุ่นและ
สหรัฐฯ เป็น "ฐานที่มั่น" สาหรับการทากิจกรรมของพวกเขา
ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เกาะไต้หวันก็อยู่ภายใต้รัฐบาลของพรรคก๊กมินตั๋ง แต่การเข้ามาของ
พรรคก๊กมินตั๋งกลายเป็นการปกครองแบบเผด็จการทหาร ควบคุมสาธารณูปโภคทุกอย่าง มีการเล่นพรรค
เล่นพวก ให้ตาแหน่งสาคัญแก่พวกพ้องในพรรค แทนที่ชาวไต้หวันเดิมต่อมาจึงเกิดเหตุการณ์ 228 ซึ่งตั้งชื่อ
ตามวันและเดือนที่เกิดเหตุการณ์ คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1947 เป็นวันที่ชาวไต้หวันลุกฮือเพื่อต่อต้านการ
ปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง เกิดปะทะกันทั้งระหว่างกองทัพของรัฐบาลกับประชาชน และระหว่างประชาชน
ด้วยกันเอง เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจานวนมาก
ในด้านหนึ่งก็มีการกล่าวกันว่า นี่เป็นความทะเยอทะยานของชาวไต้หวันจานวนน้อยที่ออกมาและเอา
ประโยชน์จากช่องว่างของการขัดขวางของความเป็นมณฑลที่ตั้งขึ้น จาก “เหตุการณ์ 228 ” ซึ่งเป็นการ
เคลื่อนไหวเพื่อแยกดินแดนของจีนโดยมีเป้าหมายในการจัดตั้ง "สาธารณรัฐจีน" นั่นเอง
การเมืองสองขั้วหลักในไต้หวัน
เมื่อประธานาธิบดีเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1975 ลูกชายชื่อ เจียง จิ่งกั๊วะ สืบทอดอานาจ
และเมื่อเจียง จิ่งกั๊วะ เสียชีวิต ไต้หวันจึงได้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่ง
เกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ โดยการสนับสนุนของเจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang
Chingkuo) ทั้งที่ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) นั้นเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวัน ช่วงเวลาที่หลี่ เติงฮุย
4
เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พรรคก๊กมินตั๋ง เป็นพวกที่
ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2)
พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) เป็นพวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีน
แผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดารงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองใหญ่
สองขั้วหลักคือ พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าก็ขับเคี่ยวกันสลับกันขึ้นปกครองประเทศ
หลังจากประธานาธิบดีหลี่ เติงฮุย ลงจากอานาจ ผู้นาคนถัดมาจากพรรค DPP คือ เฉิน สุยเปี่ยน ขึ้นสู่อานาจ
จากนั้นตามมาด้วย หม่า อิงจิ่ว จากพรรคก๊กมินตั๋ง และคนปัจจุบันอยู่ในอานาจ 2 สมัยคือไช่ อิงเหวิน จาก
พรรค DPP
เมื่อเข้าใจที่มาของการเมืองไต้หวัน และความสัมพันธ์กับจีนแล้ว ลองมาดูความคิดเห็นของผู้นา นักคิด
นักการต่างประเทศบ้างว่า มองเหตุการณ์ของ Pelosi อย่างไร
เสียงสะท้อนจากผู้นา นักคิดและนักการต่างประเทศ ที่มีต่อการมาเยือนไต้หวันของนาง Pelosi
• ทัศนะของ Huang Zhixian ชาวไต้หวัน นักวิจารณ์การเมืองบนโซเชียลมีเดีย
Huang Zhixian วิเคราะห์ว่ายุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันคือ การป้องกันไม่ให้จีนรุ่งเรือง
และควบคุมจีนในทุกด้านผ่านการร่างกฎหมายและสร้างพันธมิตรกับฝ่ายต่างๆ "สหรัฐฯ นั้นเล่นไพ่หลายใบ
รวมทั้งไพ่ 'ทะเลจีนใต้', 'ไพ่ฮ่องกง' และ 'ไพ่ซินเจียง' แต่ตอนนี้ 'ไพ่ไต้หวัน' ได้ถูกนามาใช้แล้ว"
Huang Zhixian ยังกล่าวว่า กลุ่ม "เรียกร้องเอกราชของไต้หวัน" จานวนมากถูกล้างสมอง พวกเขามี
"ความมั่นใจแบบลุ่มหลง" ในตัวเอง และกลับเชื่อว่าการมาเยือนของนาง Pelosi หมายถึงชัยชนะของกองกาลัง
"เรียกร้องเอกราชของไต้หวัน" และ "สหรัฐฯ จะช่วยพวกเราได้" แต่ในความเป็นจริง สหรัฐฯ หวังที่จะเปลี่ยน
ไต้หวันให้เป็นแนวหน้าสาหรับสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับจีน ซึ่งชาวไต้หวันบางคนยังไม่ตระหนักถึงความเลวร้าย
ของสถานการณ์นี้
• ทัศนะของ Kishore Mahbubani นักคิดและนักการทูตชั้นนา
Kishore Mahbubani นักการทูตและอดีตผู้แทนถาวรประจาสหประชาชาติของสิงคโปร์ ได้เรียกร้อง
ให้สหรัฐฯ ควรปรับใช้มุมมองที่ยาวไกลในการดาเนินความสัมพันธ์กับจีน เพราะจีนมีประวัติศาสตร์ยาวนาน
4,000 ปี หลับไปร้อยปี และเพิ่งตื่นขึ้นมา เมื่อเราไปมองตามังกรและไม่สนใจว่ามังกรคิดอะไร เราจะทาตามที่
เราต้องการทา ซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมาก ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ผ่านมาทุกคนมีความระมัดระวังอย่าง
มากในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับจีนในประเด็นไต้หวัน
5
แต่กรณี Pelosi ด้วยเหตุผลทางการเมืองภายในประเทศจริงๆ ได้สร้างความสั่นสะเทือนกับฉันทามติ
ซึ่งเป็นประเด็นที่อันตรายมาก ทาให้คนทั่วโลกกังวลใจอย่างมาก
จีนนั้นมักจะกาหนดวาระต่างๆ ในระยะยาว ณ ปี 2022 นี้ จีนไม่พร้อมที่จะรบหรือทาสงครามกับ
สหรัฐฯ แต่จีนอาจจะมีปฏิกิริยาต่อสหรัฐบ้างสาหรับการมาเยือนของ Pelosi ฉะนั้น สงครามโลกครั้งที่ 3 ยัง
ไม่ได้เริ่ม แต่กรณีนี้เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แบบถอยหลัง
• ทัศนะของ Kevin Rudd อดีตผู้นา เป็นนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียและเป็นนักการทูตในจีน
อดีตนายกรัฐมนตรี Kevin Rudd กล่าวว่า นาง Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นั้น ไม่
ควรไปเยือนไต้หวัน เพราะนาง Pelosi เป็นถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนแรกของสหรัฐฯ การที่ไปเยือนไต้หวันซึ่ง
เป็นเกาะที่ปกครองตนเองแห่งนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ได้จุดชนวนให้เกิดการซ้อมรบทางทหาร
ของจีนเป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ ด้านกองทัพจีนยืนยันว่า การซ้อมรบรอบปัจจุบันเสร็จสิ้นแล้ว แต่ให้คามั่นที่
จะดาเนินการลาดตระเวนช่องแคบไต้หวันต่อไป
จีนกล่าวว่า ตนเองกาลังดาเนินการในด้านบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตย และการเยือนของนาง
Pelosi และแถลงการณ์ร่วมของสหรัฐฯ และออสเตรเลียขัดต่อนโยบาย “จีนเดียว”
Kevin Rudd กล่าวว่า นาง Pelosi “มีสิทธิ์” เดินทางไปไต้หวัน แต่บอกได้ว่า นั่นเป็นการดาเนินการ
ที่ไม่ฉลาด คาถามที่แท้จริงคือได้ประโยชน์จริงหรือ ถ้าคุณถามคาถามนี้กับชาวไต้หวันว่าความมั่นคงของชาติดี
ขึ้นหรือแย่ลงหลังจากการมาเยือนของ Pelosi? ย่อมมีความเห็นตรงกันว่า แย่ลง
Kevin Rudd ยังกล่าวว่า ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการทาให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับจีนมีเสถียรภาพ
และมีประสิทธิภาพ แต่การเยือนของนาง Pelosi กลับไม่ได้ช่วยอะไร กลับทาให้สถานการณ์โดยรวมเลวร้ายลง
ทั้งสาหรับชาวไต้หวันและความมั่นคงโดยรวมของความสัมพันธ์สหรัฐฯ กับจีน
• ทัศนะของ เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศวัย 99 ปี ของสหรัฐฯ
เฮนรี คิสซิงเจอร์ นักยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ผู้มีประสบการณ์คว่าหวอดด้านการต่างประเทศมานาน
หลายทศวรรษ ตระหนักดีถึงผลที่จะตามมาหลังการเยือนไต้หวันของนาง Pelosi จึงได้ส่งคาเตือนถึงฝ่าย
บริหารของไบเดน ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในช่องแคบไต้หวัน เฮนรี คิสซิงเจอร์ กล่าวว่าโลกทุกวันนี้
กาลังใกล้จะเกิดความไม่สมดุลที่เป็นอันตราย และเรียกร้องให้มีการดาเนินการอย่างระมัดระวัง ทว่าทาเนียบ
ขาวยังคงโทษจีนต่อไปเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการเดินทางเหมือนซ้าเติมกองไฟของนาง Pelosi โดยไม่สนใจ
เสียงที่เพิ่มขึ้นที่คัดค้านการเดินทางครั้งนี้ ของนักการเมืองและผู้สังเกตการณ์ที่มองการณ์ไกลในสหรัฐฯ
ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนเชื่อว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันขาดปัญญาทางการเมืองและความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ กาลัง
กลายเป็นความไม่แน่นอนที่ยิ่งใหญ่ต่อโลก
6
ในการให้สัมภาษณ์กับ The Wall Street Journal คิสซิงเจอร์กังวลเกี่ยวกับ "ความไม่สมดุล" โดย
กล่าวว่า "เราอยู่ในภาวะสงครามกับรัสเซียและจีนในประเด็นที่เราสร้างขึ้นบางส่วน โดยไม่มีแนวคิดว่าเรื่องนี้จะ
จบลงอย่างไรหรือจะนาไปสู่อะไร"
คิสซิงเจอร์ ยังกังวลว่า สหรัฐฯ และจีนกาลังเผชิญกับวิกฤตสาหรับกรณีไต้หวัน เขาได้ให้คาแนะนา
เกี่ยวกับความมั่นคงในนโยบายของสหรัฐฯ บนเกาะไต้หวันว่า "ระหว่างจีนและสหรัฐฯ สามารถรักษาสันติภาพ
มาได้เป็นเวลา 50 ปี" จึงให้ข้อสังเกตว่า "ควรระมัดระวังให้มาก"
จากความเห็นของผู้นา นักคิด นักการต่างประเทศในข้างต้น ต่างมีความสอดคล้องไปในทิศทาง
เดียวกัน คือไม่เห็นด้วยกับการกระทาของสหรัฐฯ ที่ได้ส่งนาง Pelosi ไปเยือนไต้หวัน เพราะเป็นการกระทาที่
เป็นเชื้อไฟให้กับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน และรังแต่จะสร้างความร้าวฉานในจิตใจของชาวจีนแผ่นดินใหญ่
รวมถึงผู้สนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋งในไต้หวัน และชาวโลกที่คอยจดจ่อกับสถานการณ์อันอ่อนไหวนี้ เพียงเพื่อ
สนองความพยายามในการเสริมสร้างพลานุภาพของสหรัฐฯ ในเอเชีย
บทสรุป
กล่าวโดยสรุป ผู้เขียนเห็นว่า ช่องแคบไต้หวันเป็นความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนใน
เอเชียที่สาคัญ นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐฯ ได้เปลี่ยนจุดเน้นทางยุทธศาสตร์จากยุโรปมาเป็นเอเชีย
อย่างชัดเจน (Brezinski: Die einzige Weltmacht, 1997) ไต้หวันจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญของสหรัฐฯ ใน
ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีดินแดนริมขอบ (Rimland) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สหรัฐฯ ใช้มาตั้งแต่
สมัยสงครามเย็นเพื่อปิดล้อมการแผ่ขยายอิทธิพลของศัตรูจากดินแดนใจกลาง จึงเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ ก็กาลังใช้
ยุทธศาสตร์เดียวกันนี้กับจีนด้วย เพื่อไม่ให้อานาจของจีนล่วงล้าเข้ามาในเขตอิทธิพลของตนมากไปกว่านี้ อีกทั้ง
ช่องแคบไต้หวันเป็นหนึ่งใน 'hotspot' ของโลกที่เหลืออยู่ เนื่องจาก ช่องแคบไต้หวัน “ยังคงเป็นหนึ่งในการ
เผชิญหน้าทางทหารที่อันตรายที่สุดในโลก”
สถานการณ์ความขัดแย้งสาหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุด ก็คือความขัดแย้งทางทหารอย่างไม่ต้องสงสัย ใน
สถานการณ์เช่นนี้ หากไต้หวันยังมีความปรารถนาที่จะแยกตนเองออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ ก็จะเทียบเท่ากับ
การประกาศสงคราม แน่นอนว่าเป็นสิ่งจีนไม่ต้องการ ในทางตรงกันข้าม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไต้หวันและ
จีนแผ่นดินใหญ่กาลังปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งพัฒนา
อย่างรวดเร็วในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ท่ามกลางความกลัวว่าจีนจะพยายามยึดเกาะคืน
ด้วยกาลัง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบจึงตกต่าลง เหนือสิ่งอื่นใด จีนจาเป็นต้องอดทน ไม่เร่งรีบกระทา
7
การใดๆ อันจะเป็นผลให้ความขัดแย้งที่ดารงอยู่นั้นบานปลายไปสู่การรบพุ่งกันด้วยกาลังอาวุธ และเพื่อไม่ให้
ตกหลุมพรางการยั่วยุของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ปรารถนาเห็นสันติภาพของช่องแคบไต้หวัน
เอกสารอ้างอิง
Karl Lemberg. 2004. Geopolitics in the Taiwan Strait. Seminar Paper.
https://www.grin.com/document/45859
Shlapak, David A.; Orletsky, David T.; Wilson, Barry A.: Dire Strait? - Military Aspects of the China-
Taiwan Confrontation and Options for U.S. Policy. RAND, 2000.p.iii.
Kevin Rudd says Nancy Pelosi shouldn’t have visited Taiwan. https://techinkers.com/kevin-
rudd-says-nancy-pelosi-shouldnt-have-visited-taiwan
Chen Qingqing. 2022. Kissinger warns Biden administration against changing Taiwan status
quo. Global Times. Aug 15, 2022 12:14 AM
台湾的政治与社会 https://www.mfa.gov.cn/ce/cels/chn/zt/twwt/t167962.htm
为什么说“台湾是中国不可分割的一部分”
https://www.fmprc.gov.cn/chn/pds/ziliao/zt/ywzt/wzzt/2108/2153/t8681.htm

More Related Content

More from Klangpanya

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
Klangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
Klangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
Klangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Klangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
Klangpanya
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
Klangpanya
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
Klangpanya
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
Klangpanya
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
Klangpanya
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
Klangpanya
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
Klangpanya
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
Klangpanya
 

More from Klangpanya (20)

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
 

Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน

  • 1. 1 ยุวดี คาดการณ์ไกล สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ สิงหาคม 2565 ที่มา : จาก Financial Times https://www.ft.com/content/190c61ba-b018-46dc-9276-fff32321961b การเยือนไต้หวันของนาง Nancy Pelosi เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2022 เป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก ทา ให้ผู้ติดตามข่าวอย่างในประเทศไทยต่างลุ้นไปกับความหาญกล้าของนาง Pelosi เพราะเธอนั้นเป็นถึง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกฎหมายของสหรัฐฯ ถือว่าเป็นบุคคลสาคัญที่มีสิทธิเป็นลาดับที่สามรองจากรอง ประธานาธิบดี สามารถขึ้นเป็นประธานาธิบดีในกรณีที่จาเป็น ดังนั้น จึงสร้างความประหวั่นพรั่นพรึงแก่คนทั่ว โลก เกรงจะมีผลอะไรเกิดขึ้นตามมา เพราะสหรัฐฯ ย่อมเข้าใจดีในหลักการจีนเดียว ฉะนั้น ความสัมพันธ์ ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะต้องอยู่บนพื้นฐานจีนเดียวเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่เป็นทางการระหว่างสหรัฐฯ กับ ไต้หวันจึงไม่ควรเกิดขึ้น สาหรับคนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทัน อาจจะมีคาถามว่าไต้หวันไม่ใช่ประเทศหรือ ทาไมจีนจึงยอมไม่ได้ที่จะ ให้ไต้หวันดาเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ ได้อย่างอิสระ ผู้อ่านลองมาย้อนประวัติศาสตร์ดู กัน Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
  • 2. 2 ไต้หวันเป็นมาอย่างไร ทาไมเป็นส่วนที่แบ่งแยกไม่ได้ของจีน เอกสารประวัติศาสตร์ของจีน "Linhai Tuzhi" 《临海水土志》ได้ระบุว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของ จีนตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เมื่อ 1,700 ปีที่แล้ว ได้มีบันทึกข้อความที่เก่าแก่ที่สุดในโลก บรรยายถึงไต้หวันว่า ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่เข้าไปพัฒนาไต้หวันขึ้นมา เริ่มตั้งแต่ในศตวรรษที่ 3 และ 7 การปกครองของซุนหวู่ใน ยุคสมัยสามก๊กและในยุคของราชวงศ์สุยได้ส่งผู้คนมากกว่า 10,000 คนเข้าไปยังไต้หวันอย่างต่อเนื่อง ต่อมาใน ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา การพัฒนาของชาวจีนในไต้หวันก็มีขนาดใหญ่และกว้างขวางขึ้น ผู้ปกครองแผ่นดิน จีนถัดมาตั้งแต่ราชวงศ์หยวน (1206-1368) จึงได้จัดตั้งหน่วยงานบริหารในไต้หวันเพื่อใช้อานาจปกครองอย่าง มีประสิทธิภาพเหนือไต้หวัน พอย่างเข้าช่วงกลางของศตวรรษที่ 17 ชาวอาณานิคมดัตช์ได้เข้ามายึดครองไต้หวัน Zheng Chenggong วีรบุรุษของชาติจีนได้ขับไล่ชาวอาณานิคมดัตช์ในปี 1662 และฟื้นฟูไต้หวันกลับขึ้นมา และในปี 1895 เนื่องจากความพ่ายแพ้ของราชวงศ์ชิงของจีนในสงครามจีน-ญี่ปุ่น จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญาชิโมโน เซกิที่ไม่เท่าเทียมกันจากการบีบบังคับของญี่ปุ่น โดยไต้หวันและเกาะเผิงหูก็ถูกยกให้แก่ญี่ปุ่น ในเดือน กรกฎาคม 1937 ชาวจีนทั้งประเทศเริ่มทาสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น รัฐบาลจีนประกาศใน "ปฏิญญาสงครามกับญี่ปุ่น" ว่าจีนและต่างประเทศยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งหมดที่ลงนามกับญี่ปุ่น และประกาศว่า พวกเขาจะยึดไต้หวันและเกาะเผิงหูกลับคืนมาจากญี่ปุ่น ในปี 1945 ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ยอมรับปฏิญญาพอทสดัม (Potsdam Proclamation) และ ปฏิญญาไคโร (Cairo Declaration) อย่างไม่มีเงื่อนไข และส่งคืนไต้หวันกลับไปสู่จีน จนถึงช่วงนี้ ไต้หวันได้ ผนวกเข้าสู่ดินแดนของจีนและกลับสู่เขตอานาจอธิปไตยของจีนอีกครั้ง กระนั้นก็ตาม หลังปี 1949 ด้วยปัญหา ทางการเมืองภายในประเทศ ไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ที่เป็นมาตุภูมินั้นได้ถูกแยกออกจากกันอีกครั้ง จีนเชื่อว่าสิ่งนี้ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่าไต้หวันเป็นส่วนที่แบ่งแยกไม่ได้ของจีน มีเพียงจีนเดียวเท่านั้น ในโลก ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่มิอาจแบ่งแยกได้ นี่คือฉันทามติของจีนทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็น ที่ยอมรับของสหประชาชาติและประเทศส่วนใหญ่ในโลกอีกด้วย กล่าวคือ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ขององค์การ สหประชาชาติได้มีข้อตกลงที่ 2758 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1971 รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีน (เรียกย่อๆ ว่า จีน) เป็นผู้แทนเพียงหนึ่งเดียวโดยชอบธรรมในสหประชาชาติ ตามฉันทามติเมื่อปี 1992 (1992 Consensus) จีนและไต้หวันได้มีการตกลงในหลักการจีนเดียว (One China Policy) แม้ทั้งสองฝ่ายจะให้ความหมายของคา ว่าจีนเดียวที่ต่างกันไป แต่จีนก็ถือว่าไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน การดาเนินการใดๆของไต้หวันที่ แสดงออกถึงการแบ่งแยกประเทศตามความหมายของจีน ก็จะถูกจีนคัดค้าน
  • 3. 3 ความพยายามในการเรียกร้องเอกราชของไต้หวัน การเกิดขึ้นและพัฒนาการของกระแสความคิดและการดาเนินกิจกรรม "การเรียกร้องเอกราชของ ไต้หวัน" มีเหตุผลทางประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองที่ซับซ้อน อีกทั้งยังเป็นผลผลิตจากการช่วยเหลือและ การสนับสนุนของพลังต่อต้านจีนในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นอีกด้วย ในอดีตนั้นเชื่อกันว่ากาลังทหารของญี่ปุ่นเป็นผู้ ริเริ่มให้เกิดองค์กรและการดาเนินกิจกรรม "การเรียกร้องเอกราชของไต้หวัน" ในปี 1945 จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นได้ประกาศยอมจานนอย่างไม่มีเงื่อนไข ตาม "ปฏิญญาไคโร" "ดินแดน ที่ถูกเอาไปจากประเทศจีน" โดยญี่ปุ่น เช่น ไต้หวัน จะต้องถูกส่งกลับไปให้จีน ในเวลานั้น Ando Gili ผู้ว่า ราชการญี่ปุ่นในไต้หวันได้ยุยงทหารและผู้ทรยศในกองทัพญี่ปุ่นให้จัดตั้งองค์กร "เรียกร้องเอกราชไต้หวัน" ใน ไต้หวัน ในเวลาเดียวกัน ทหารฝ่ายขวาของญี่ปุ่นที่ประจาการในไต้หวันก็ได้ทาการเปิดตัว " เหตุการณ์ประกาศ อิสรภาพของไต้หวัน" นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการรณรงค์ "เอกราชของไต้หวัน" ต่อมาขบวนการ "เรียกร้องเอกราชของ ไต้หวัน" ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ญี่ปุ่นและ สหรัฐฯ เป็น "ฐานที่มั่น" สาหรับการทากิจกรรมของพวกเขา ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เกาะไต้หวันก็อยู่ภายใต้รัฐบาลของพรรคก๊กมินตั๋ง แต่การเข้ามาของ พรรคก๊กมินตั๋งกลายเป็นการปกครองแบบเผด็จการทหาร ควบคุมสาธารณูปโภคทุกอย่าง มีการเล่นพรรค เล่นพวก ให้ตาแหน่งสาคัญแก่พวกพ้องในพรรค แทนที่ชาวไต้หวันเดิมต่อมาจึงเกิดเหตุการณ์ 228 ซึ่งตั้งชื่อ ตามวันและเดือนที่เกิดเหตุการณ์ คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1947 เป็นวันที่ชาวไต้หวันลุกฮือเพื่อต่อต้านการ ปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง เกิดปะทะกันทั้งระหว่างกองทัพของรัฐบาลกับประชาชน และระหว่างประชาชน ด้วยกันเอง เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจานวนมาก ในด้านหนึ่งก็มีการกล่าวกันว่า นี่เป็นความทะเยอทะยานของชาวไต้หวันจานวนน้อยที่ออกมาและเอา ประโยชน์จากช่องว่างของการขัดขวางของความเป็นมณฑลที่ตั้งขึ้น จาก “เหตุการณ์ 228 ” ซึ่งเป็นการ เคลื่อนไหวเพื่อแยกดินแดนของจีนโดยมีเป้าหมายในการจัดตั้ง "สาธารณรัฐจีน" นั่นเอง การเมืองสองขั้วหลักในไต้หวัน เมื่อประธานาธิบดีเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1975 ลูกชายชื่อ เจียง จิ่งกั๊วะ สืบทอดอานาจ และเมื่อเจียง จิ่งกั๊วะ เสียชีวิต ไต้หวันจึงได้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่ง เกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ โดยการสนับสนุนของเจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang Chingkuo) ทั้งที่ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) นั้นเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวัน ช่วงเวลาที่หลี่ เติงฮุย
  • 4. 4 เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พรรคก๊กมินตั๋ง เป็นพวกที่ ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2) พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) เป็นพวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีน แผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดารงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองใหญ่ สองขั้วหลักคือ พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าก็ขับเคี่ยวกันสลับกันขึ้นปกครองประเทศ หลังจากประธานาธิบดีหลี่ เติงฮุย ลงจากอานาจ ผู้นาคนถัดมาจากพรรค DPP คือ เฉิน สุยเปี่ยน ขึ้นสู่อานาจ จากนั้นตามมาด้วย หม่า อิงจิ่ว จากพรรคก๊กมินตั๋ง และคนปัจจุบันอยู่ในอานาจ 2 สมัยคือไช่ อิงเหวิน จาก พรรค DPP เมื่อเข้าใจที่มาของการเมืองไต้หวัน และความสัมพันธ์กับจีนแล้ว ลองมาดูความคิดเห็นของผู้นา นักคิด นักการต่างประเทศบ้างว่า มองเหตุการณ์ของ Pelosi อย่างไร เสียงสะท้อนจากผู้นา นักคิดและนักการต่างประเทศ ที่มีต่อการมาเยือนไต้หวันของนาง Pelosi • ทัศนะของ Huang Zhixian ชาวไต้หวัน นักวิจารณ์การเมืองบนโซเชียลมีเดีย Huang Zhixian วิเคราะห์ว่ายุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันคือ การป้องกันไม่ให้จีนรุ่งเรือง และควบคุมจีนในทุกด้านผ่านการร่างกฎหมายและสร้างพันธมิตรกับฝ่ายต่างๆ "สหรัฐฯ นั้นเล่นไพ่หลายใบ รวมทั้งไพ่ 'ทะเลจีนใต้', 'ไพ่ฮ่องกง' และ 'ไพ่ซินเจียง' แต่ตอนนี้ 'ไพ่ไต้หวัน' ได้ถูกนามาใช้แล้ว" Huang Zhixian ยังกล่าวว่า กลุ่ม "เรียกร้องเอกราชของไต้หวัน" จานวนมากถูกล้างสมอง พวกเขามี "ความมั่นใจแบบลุ่มหลง" ในตัวเอง และกลับเชื่อว่าการมาเยือนของนาง Pelosi หมายถึงชัยชนะของกองกาลัง "เรียกร้องเอกราชของไต้หวัน" และ "สหรัฐฯ จะช่วยพวกเราได้" แต่ในความเป็นจริง สหรัฐฯ หวังที่จะเปลี่ยน ไต้หวันให้เป็นแนวหน้าสาหรับสหรัฐฯ ในการต่อสู้กับจีน ซึ่งชาวไต้หวันบางคนยังไม่ตระหนักถึงความเลวร้าย ของสถานการณ์นี้ • ทัศนะของ Kishore Mahbubani นักคิดและนักการทูตชั้นนา Kishore Mahbubani นักการทูตและอดีตผู้แทนถาวรประจาสหประชาชาติของสิงคโปร์ ได้เรียกร้อง ให้สหรัฐฯ ควรปรับใช้มุมมองที่ยาวไกลในการดาเนินความสัมพันธ์กับจีน เพราะจีนมีประวัติศาสตร์ยาวนาน 4,000 ปี หลับไปร้อยปี และเพิ่งตื่นขึ้นมา เมื่อเราไปมองตามังกรและไม่สนใจว่ามังกรคิดอะไร เราจะทาตามที่ เราต้องการทา ซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมาก ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ผ่านมาทุกคนมีความระมัดระวังอย่าง มากในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับจีนในประเด็นไต้หวัน
  • 5. 5 แต่กรณี Pelosi ด้วยเหตุผลทางการเมืองภายในประเทศจริงๆ ได้สร้างความสั่นสะเทือนกับฉันทามติ ซึ่งเป็นประเด็นที่อันตรายมาก ทาให้คนทั่วโลกกังวลใจอย่างมาก จีนนั้นมักจะกาหนดวาระต่างๆ ในระยะยาว ณ ปี 2022 นี้ จีนไม่พร้อมที่จะรบหรือทาสงครามกับ สหรัฐฯ แต่จีนอาจจะมีปฏิกิริยาต่อสหรัฐบ้างสาหรับการมาเยือนของ Pelosi ฉะนั้น สงครามโลกครั้งที่ 3 ยัง ไม่ได้เริ่ม แต่กรณีนี้เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แบบถอยหลัง • ทัศนะของ Kevin Rudd อดีตผู้นา เป็นนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียและเป็นนักการทูตในจีน อดีตนายกรัฐมนตรี Kevin Rudd กล่าวว่า นาง Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นั้น ไม่ ควรไปเยือนไต้หวัน เพราะนาง Pelosi เป็นถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนแรกของสหรัฐฯ การที่ไปเยือนไต้หวันซึ่ง เป็นเกาะที่ปกครองตนเองแห่งนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ได้จุดชนวนให้เกิดการซ้อมรบทางทหาร ของจีนเป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ ด้านกองทัพจีนยืนยันว่า การซ้อมรบรอบปัจจุบันเสร็จสิ้นแล้ว แต่ให้คามั่นที่ จะดาเนินการลาดตระเวนช่องแคบไต้หวันต่อไป จีนกล่าวว่า ตนเองกาลังดาเนินการในด้านบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตย และการเยือนของนาง Pelosi และแถลงการณ์ร่วมของสหรัฐฯ และออสเตรเลียขัดต่อนโยบาย “จีนเดียว” Kevin Rudd กล่าวว่า นาง Pelosi “มีสิทธิ์” เดินทางไปไต้หวัน แต่บอกได้ว่า นั่นเป็นการดาเนินการ ที่ไม่ฉลาด คาถามที่แท้จริงคือได้ประโยชน์จริงหรือ ถ้าคุณถามคาถามนี้กับชาวไต้หวันว่าความมั่นคงของชาติดี ขึ้นหรือแย่ลงหลังจากการมาเยือนของ Pelosi? ย่อมมีความเห็นตรงกันว่า แย่ลง Kevin Rudd ยังกล่าวว่า ในขณะที่สหรัฐฯ ต้องการทาให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับจีนมีเสถียรภาพ และมีประสิทธิภาพ แต่การเยือนของนาง Pelosi กลับไม่ได้ช่วยอะไร กลับทาให้สถานการณ์โดยรวมเลวร้ายลง ทั้งสาหรับชาวไต้หวันและความมั่นคงโดยรวมของความสัมพันธ์สหรัฐฯ กับจีน • ทัศนะของ เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศวัย 99 ปี ของสหรัฐฯ เฮนรี คิสซิงเจอร์ นักยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ผู้มีประสบการณ์คว่าหวอดด้านการต่างประเทศมานาน หลายทศวรรษ ตระหนักดีถึงผลที่จะตามมาหลังการเยือนไต้หวันของนาง Pelosi จึงได้ส่งคาเตือนถึงฝ่าย บริหารของไบเดน ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในช่องแคบไต้หวัน เฮนรี คิสซิงเจอร์ กล่าวว่าโลกทุกวันนี้ กาลังใกล้จะเกิดความไม่สมดุลที่เป็นอันตราย และเรียกร้องให้มีการดาเนินการอย่างระมัดระวัง ทว่าทาเนียบ ขาวยังคงโทษจีนต่อไปเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการเดินทางเหมือนซ้าเติมกองไฟของนาง Pelosi โดยไม่สนใจ เสียงที่เพิ่มขึ้นที่คัดค้านการเดินทางครั้งนี้ ของนักการเมืองและผู้สังเกตการณ์ที่มองการณ์ไกลในสหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนเชื่อว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันขาดปัญญาทางการเมืองและความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ กาลัง กลายเป็นความไม่แน่นอนที่ยิ่งใหญ่ต่อโลก
  • 6. 6 ในการให้สัมภาษณ์กับ The Wall Street Journal คิสซิงเจอร์กังวลเกี่ยวกับ "ความไม่สมดุล" โดย กล่าวว่า "เราอยู่ในภาวะสงครามกับรัสเซียและจีนในประเด็นที่เราสร้างขึ้นบางส่วน โดยไม่มีแนวคิดว่าเรื่องนี้จะ จบลงอย่างไรหรือจะนาไปสู่อะไร" คิสซิงเจอร์ ยังกังวลว่า สหรัฐฯ และจีนกาลังเผชิญกับวิกฤตสาหรับกรณีไต้หวัน เขาได้ให้คาแนะนา เกี่ยวกับความมั่นคงในนโยบายของสหรัฐฯ บนเกาะไต้หวันว่า "ระหว่างจีนและสหรัฐฯ สามารถรักษาสันติภาพ มาได้เป็นเวลา 50 ปี" จึงให้ข้อสังเกตว่า "ควรระมัดระวังให้มาก" จากความเห็นของผู้นา นักคิด นักการต่างประเทศในข้างต้น ต่างมีความสอดคล้องไปในทิศทาง เดียวกัน คือไม่เห็นด้วยกับการกระทาของสหรัฐฯ ที่ได้ส่งนาง Pelosi ไปเยือนไต้หวัน เพราะเป็นการกระทาที่ เป็นเชื้อไฟให้กับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน และรังแต่จะสร้างความร้าวฉานในจิตใจของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ รวมถึงผู้สนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋งในไต้หวัน และชาวโลกที่คอยจดจ่อกับสถานการณ์อันอ่อนไหวนี้ เพียงเพื่อ สนองความพยายามในการเสริมสร้างพลานุภาพของสหรัฐฯ ในเอเชีย บทสรุป กล่าวโดยสรุป ผู้เขียนเห็นว่า ช่องแคบไต้หวันเป็นความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนใน เอเชียที่สาคัญ นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐฯ ได้เปลี่ยนจุดเน้นทางยุทธศาสตร์จากยุโรปมาเป็นเอเชีย อย่างชัดเจน (Brezinski: Die einzige Weltmacht, 1997) ไต้หวันจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญของสหรัฐฯ ใน ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีดินแดนริมขอบ (Rimland) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สหรัฐฯ ใช้มาตั้งแต่ สมัยสงครามเย็นเพื่อปิดล้อมการแผ่ขยายอิทธิพลของศัตรูจากดินแดนใจกลาง จึงเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ ก็กาลังใช้ ยุทธศาสตร์เดียวกันนี้กับจีนด้วย เพื่อไม่ให้อานาจของจีนล่วงล้าเข้ามาในเขตอิทธิพลของตนมากไปกว่านี้ อีกทั้ง ช่องแคบไต้หวันเป็นหนึ่งใน 'hotspot' ของโลกที่เหลืออยู่ เนื่องจาก ช่องแคบไต้หวัน “ยังคงเป็นหนึ่งในการ เผชิญหน้าทางทหารที่อันตรายที่สุดในโลก” สถานการณ์ความขัดแย้งสาหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุด ก็คือความขัดแย้งทางทหารอย่างไม่ต้องสงสัย ใน สถานการณ์เช่นนี้ หากไต้หวันยังมีความปรารถนาที่จะแยกตนเองออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ ก็จะเทียบเท่ากับ การประกาศสงคราม แน่นอนว่าเป็นสิ่งจีนไม่ต้องการ ในทางตรงกันข้าม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไต้หวันและ จีนแผ่นดินใหญ่กาลังปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งพัฒนา อย่างรวดเร็วในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ท่ามกลางความกลัวว่าจีนจะพยายามยึดเกาะคืน ด้วยกาลัง ส่งผลให้ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบจึงตกต่าลง เหนือสิ่งอื่นใด จีนจาเป็นต้องอดทน ไม่เร่งรีบกระทา
  • 7. 7 การใดๆ อันจะเป็นผลให้ความขัดแย้งที่ดารงอยู่นั้นบานปลายไปสู่การรบพุ่งกันด้วยกาลังอาวุธ และเพื่อไม่ให้ ตกหลุมพรางการยั่วยุของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ปรารถนาเห็นสันติภาพของช่องแคบไต้หวัน เอกสารอ้างอิง Karl Lemberg. 2004. Geopolitics in the Taiwan Strait. Seminar Paper. https://www.grin.com/document/45859 Shlapak, David A.; Orletsky, David T.; Wilson, Barry A.: Dire Strait? - Military Aspects of the China- Taiwan Confrontation and Options for U.S. Policy. RAND, 2000.p.iii. Kevin Rudd says Nancy Pelosi shouldn’t have visited Taiwan. https://techinkers.com/kevin- rudd-says-nancy-pelosi-shouldnt-have-visited-taiwan Chen Qingqing. 2022. Kissinger warns Biden administration against changing Taiwan status quo. Global Times. Aug 15, 2022 12:14 AM 台湾的政治与社会 https://www.mfa.gov.cn/ce/cels/chn/zt/twwt/t167962.htm 为什么说“台湾是中国不可分割的一部分” https://www.fmprc.gov.cn/chn/pds/ziliao/zt/ywzt/wzzt/2108/2153/t8681.htm