SlideShare a Scribd company logo
1 of 29
Download to read offline
2
รายงานถอดความ (Transcript)
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท
ผู้นำเสนอหลัก
Prof.Li Xiaoyun (Ph.D.)
รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
ผู้ดำเนินรายการ
คุณยุวดี คาดการณ์ไกล
รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทีวิชาการ เรื่อง "กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท" จัด
โดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ร่วมกับ Institute for International and Area Studies (IIAS) of Tsinghua University สาธารณรัฐ
ประชาชนจีน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 (การประชุมออนไลน์)
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ช่วยบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง
ผู้ถอดความ: ภูมิภัทร เอี่ยมบุตรลบ
อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปีที่เผยแพร่: กรกฎาคม พ.ศ. 2566
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
อาคาร The Line Phahon-Pradipat ถนนประดิพัทธิ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400
3
คำนำ
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.30-11.30 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และ
ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จัดเวทีวิชาการไทย-จีน เรื่อง "กระบวนทัศน์การ
พัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท" การจัดประชุมใช้รูปแบบเวทีวิชาการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน
ZOOM ระหว่างห้องประชุมฝ่ายไทยกับห้องประชุมฝ่ายจีน โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ เข้าร่วม
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
จนกลายมาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในชนบทให้พ้นขีดความยากจนได้อย่างน่าทึ่ง ขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทาง
เศรษฐกิจ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการยกระดับรายได้และสร้างเศรษฐกิจในระดับฐานรากทั้งเมืองและ
ชนบทเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืนเช่นกัน จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
และไทยจะร่วมกันเรียนรู้และแบ่งบันประสบการณ์ของกันและกัน ทบทวนบทเรียนการพัฒนาที่ผ่านมาเพื่อมอง
หากระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ นำประเทศให้ก้าวต่อไปสู่ความมั่งคั่งและยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทำรายงานสรุปและถอดความเนื้อหาเวที
วิชาการครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กำหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา และ
ประชาชนทั่วไปที่สนใจการยกระดับรายได้และสร้างเศรษฐกิจในระดับฐานรากทั้งเมืองและชนบท และ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ในยุคที่อำนาจโลก มีความซับซ้อน และกำลังเปลี่ยนแปลงนี้
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
4
สารบัญ
หน้า
คำนำ 3
กล่าวเปิด
ดร.วิภารัตน์ ดีอ๋อง 6
กระบวนทัศน์การฟื้นฟูชนบทจีนยุคใหม่
Prof.Li Xiaoyun (Ph.D.) 8
Q&A และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 11
เศรษฐกิจภาคประชาชนของไทย:
โอกาสและข้อจำกัดบนเส้นทางทุนนิยม
รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ 15
Q&A และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 22
5
6
กล่าวเปิด
ดร.วิภารัตน์ ดีอ๋อง
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
เรียน ศาสตราจารย์หลี่ เสี่ยวหยิน คณบดีกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยแห่งการพัฒนานานาชาติและ
เกษตรกรรมโลก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งชาติจีน รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดี
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยากร และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในนามของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดิฉันมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นประธานกล่าว
เปิดเวทีวิชาการไทย-จีน ครั้งนี้ ในหัวข้อ “กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท” ในวันนี้
ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งตลอด 47 ปีที่ผ่านมา และจะ
เข้าสู่ปีที่ 48 ในปีนี้ ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น มีการขยายความร่วมมือในมิติต่าง
ๆ ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อสร้างอนาคตแห่งโชคชะตาและสันติภาพร่วมกัน
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
จนกลายมาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในชนบทให้พ้นขีดความยากจนได้อย่างน่าทึ่ง ขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทาง
เศรษฐกิจ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการยกระดับรายได้และสร้างเศรษฐกิจในระดับฐานรากทั้งเมืองและ
ชนบทเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน เช่นกัน จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
และไทยจะร่วมกันเรียนรู้และแบ่งบันประสบการณ์ของกันและกัน ทบทวนบทเรียนการพัฒนาที่ผ่านมาเพื่อมอง
หากระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ นำประเทศให้ก้าวต่อไปสู่ความมั่งคั่งและยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชน
7
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะที่เป็นผู้นำการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลกและยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ด้วยเหตุนี้ จึง
สนับสนุนให้มีการจัดเวทีวิชาการไทย-จีนขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานทั้งสองประเทศ
ในโอกาสนี้ จึงขอขอบคุณ Institute for International and Area Studies (IIAS) มหาวิทยาลัยชิง
หวา สาธารณรัฐประชาชนจีน, ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, และสถาบันคลัง
ปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ที่ได้ร่วมมือกันจัดการประชุมในครั้งนี้ ผ่านระบบออนไลน์โดยใช้แอพพลิเคชั่น
Zoom และเผยแพร่ให้กับนักวิชาการผู้สนใจและผู้กำหนดนโยบายทั้งในประเทศไทยและสาธารณประชาชน
จีนได้รับฟัง จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลจากการประชุมในวันนี้ จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์ความรู้
ที่จะนำไปต่อยอดในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบทอย่างยั่งยืนต่อไป รวมทั้ง
สร้างสายสัมพันธ์ทางวิชาการไทย-จีนให้มีความเข้มแข็งและแน่นแฟ้นขึ้น
สุดท้ายนี้ ดิฉันขอให้เวทีวิชาการไทย-จีน ในครั้งนี้ ในหัวข้อ “กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณา
การเมืองกับชนบท” ดำเนินการลุล่วงไปด้วยดี ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ดังที่คาดหวังทุก
ประการ ขอบคุณค่ะ
8
กระบวนทัศน์การฟื้นฟูชนบทจีนยุคใหม่
โดย
Prof.Li Xiaoyun (Ph.D.)
Honorary Dean of College of International Development
and Global Agriculture, China Agricultural University
กรรมการที่ปรึกษารัฐบาลจีนด้านขจัดความยากจน
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของ WB, ADB, UN
วันนี้จะเเบ่งปันประสบการณ์ครับ ในอดีตที่ผ่านมาประมาณสัก 70 ปีที่ผ่านมา ที่จีนเกิดการ
เปลี่ยนแปลงใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่ง ก็คือเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนในสมัยก่อน
ประชากรร้อยละ 95 อาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งปัจจุบันมีไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ไม่ถึงร้อยละ 50 ที่อาศัยอยู่ในชนบท ใน
ขณะเดียวกันก็อาศัยอยู่ในเมือง
ดังนั้น มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งที่ 1 กับการเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งก็คือ ประชากรที่มี
ความยากจนลดน้อยลงอย่างมหาศาล ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ 2 ประการ เป็นประเด็นที่ทำให้เรา
ทบทวนและเป็นความท้าทายว่า “จีนทำได้อย่างไร” ภายในระยะเวลาสั้นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
2 ครั้งนี้ ทำให้ประชากรที่มีความยากจนลดน้อยลง ซึ่งผมอยากจะแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมอง 3 ด้าน
ประการแรก คือ เราต้องเข้าใจว่าการลดความยากจนกับการพัฒนามันเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่สามารถ
ที่จะบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลาสั้นๆ 1 วัน 2 วัน ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ดังนั้น เราก็ คือ “จีน” ที่เป็น
ประเทศจีน ที่เพิ่งเริ่มมีการแก้ไขปัญหาความยากจนตั้งแต่ค.ศ. 1949 ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา ประเทศจีน
เกิดการเปลี่ยนแปลงจากจีนที่เคยมีความยากจนยากแค้น ซึ่งในสมัยนั้นก็คือ เศรษฐกิจแบบการวางแผนจาก
รัฐบาลส่วนกลางไม่สามารถที่จะมีเกิดการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างเศรษฐกิจ
9
ดังนั้น ตั้งแต่ค.ศ. 1949 ถึง 1978 เป็นเศรษฐกิจแบบวางแผนจากรัฐบาลส่วนกลาง ตั้งแต่ ค.ศ. 1978
เป็นต้นมา เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของจีนอย่างที่เราเข้าใจคือเป็นการปฏิรูป การปฏิรูปนั้นมี
หลายด้านด้วยกัน ด้านที่สำคัญก็คือ การปฏิรูปชนบทกับการปฏิรูปการเกษตร
ด้านที่ 1 ที่จีน ดำเนินการก็คือ การปฏิรูปการเกษตร
ด้านที่ 2 คือที่ประเทศจีนมีการลงทุนในเรื่องโครงการศึกษา ลงทุนในเรื่องของการรักษาพยาบาล
ดังนั้น ก่อน ค.ศ. 1978 จริงๆ จีนก็ได้มีการปูพื้นฐานที่ดี เพื่อที่จะไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญที่สุด
ของจีนได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการเตรียมบุคลากรเอาไว้ เนื่องจาก
ประเทศจีนมีประชากรมีจำนวนมาก และในขณะเดียวกันอย่างที่ผมได้กล่าวไปว่าที่จีนมีการลงทุนในด้าน
การศึกษาเป็นการเตรียมบุคลากรอย่างดี
ด้านที่ 3 เป็นการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ ค.ศ. 1949 - 1978 จีนได้พัฒนาระบบ
ชลประทาน สามารถที่จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณอยู่ที่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทางการเกษตร มีการพัฒา
ระบบชลประทาน ซึ่งอันนี้เป็นการเตรียม 3 ประการ คือ เตรียมบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน และการศึกษา
เพื่อที่จะเป็นรากฐานสู่การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ จริงๆ ก็คือ การปฏิรูปก็เป็นวิวัฒนาการทาง
ประวัติศาสตร์ ค.ศ. 1978 เป็นปีที่ประเทศจีนเปิดประเทศ ทำให้ประเทศจีนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบกลไก
การตลาดอย่างรวดเร็ว
หลังจาก ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา จีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเป็นการต่อยอดจากการพัฒนาการ
เกษตรแบบดั้งเดิม อันนี้ก็มีการเพิ่มศักยภาพมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้การเกษตรมีเกิดผลผลิตอย่างมี
ประสิทธิภาพกับมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร มีการพัฒนาแล้วทำให้เพิ่มผลการผลิตทาง
การเกษตรไปจนถึงปลายๆ ปีทศวรรษ 1980 ทำให้การพัฒนาการเกษตรทีจีนกับโดยเฉพาะในชนบทเริ่มเข้าสู่
วาระที่มีการลดความยากจน ชาวชนบทที่มีความยากจนต่อเนื่องจากตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา มีการปฏิรูปมี
การสะสมทุนพอสมควร
ดังนั้น ทุนทรัพย์ต่างๆ ที่จีนสะสมเอาไว้มีการกระจายไปสู่การพัฒนาชนบทมากพอสมควรซึ่งตั้งแต่
ทศวรรษที่ 1980 ที่เรา เรียกว่าเป็นช่วงที่ 1 ที่จีนเริ่มจะเข้าสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและลดความ
ยากจนในชนบท เมื่อเศรษฐกิจของจีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประเทศจีนก็ผลักดันการปฏิรูปในชนบทอย่าง
ต่อเนื่องจากการใช้แรงงานในชนบท ให้คนชนบทเหล่านี้สามารถที่จะไปหางานทำในเมืองหรือเมืองใกล้ชนบท
ณ ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 300 ล้านคน อพยพจากชนบทไปทำงานในเมืองจากประชากรภาคการเกษตร
ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ทำให้เหล่านี้สามารถที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นหลุดพ้นจากความยากจน
เนื่องจากว่าอุตสาหกรรมที่เข้าไปทำ ไม่ว่าเป็นภาคอุตสาหกรรม หรือภาคบริการต่างๆ ทำให้มีประสบการณ์
และสะสมทุนระดับหนึ่งทำให้ประชากรที่อยู่ในชนบทกับคนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชนบทนั้นมีประชากรลด
น้อยลง ทำให้ประชากรที่ยังคงอยู่ในชนบทนั้นจะมีประชากรลดน้อยลง ก่อนซึ่งเกิดจากแรงผลักดันและแรง
ดึงดูดทำให้คนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชนบทนั้นมีศักยภาพที่พัฒนาดีขึ้นมีรายได้เพิ่มขึ้น อันนี้คือ เป็นการพัฒนา
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แล้ว ภายใต้การปฏิรูปของจีน อันนี้เป็นช่วงหนึ่ง
10
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนเพิ่มการลงทุนในชนบทเพื่อที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนชนบท ไม่ว่า
ด้านการศึกษาและรักษาพยาบาลทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้สวัสดิการทางสังคมมีการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน สิ่ง
ที่เราต้องชี้แจงให้เห็นว่าเมื่อมีการพัฒนาความเป็นเมืองเป็นอุตสาหกรรมเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่มีปัญหาที่
เกิดขึ้นอย่างนั้น คือการพัฒนาที่ไม่สมดุลกับมีความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในชนบทเหลื่อมล้ำในเรื่อง
ของรายได้ มีการขยายช่องว่างเพิ่มมากขึ้น ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่ 2 ของการลดความยากจน
หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่ 3 คือทำอย่างไรให้มีการบรรเทาความยากจน ในขณะเดียวกัน ลดช่องว่างระหว่าง
เหลื่อมล้ำทางรายได้ กรณีนี้เป็นช่วงที่ 3 ดังนั้นในช่วงที่ 3 เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือว่าจะทำอย่างไรให้ลด
ช่องว่างความเหลื่อมล้ำในชนบทให้แคบลง
ตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะใน ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา เราได้ใช้นโยบายการแก้โจทย์
ตรงเป้าทำให้แก้ไขข้อจำกัด ซึ่งเป็นข้อจำกัดเพื่อการเพิ่มรายได้ของคนในชนบท เป็นข้อจำกัดในเรื่องของการลด
ช่องว่างเหลื่อมล้ำให้แคบลง ดังนั้น ต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพซึ่งอาจจะเป็นกลไกที่มีอยู่ของรัฐบาลจีน
ใช้กลไกของรัฐสามารถที่จะไปแก้ไขหรือไปควบคุมด้วยมาตรการต่างๆ ไปทำลายข้อจำกัดเหล่านี้ เพื่อที่จะลด
ช่องว่างทางรายได้ นอกจากทางรายได้ยังมีความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ ไม่ว่าโอกาสเข้าถึงการศึกษา โอกาสเข้าถึง
การรักษาพยาบาลหรือโอกาสเข้าถึงการจ้างงาน ทำให้โอกาสเหล่านี้สามารถที่จะกระจายไปสู่ทุกกลุ่มในชนบท
จนถึง ค.ศ. 2020 ยุทธการเอาชนะความยากจนได้รับชัยชนะการทำให้ประชาชนสามารถหลุดพ้นจากความ
ยากจน
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศจีนก็หนีไม่พ้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของจีน ซึ่ง
ใช้เวลาระยะหนึ่งพอสมควร ใช้เวลาระยะหนึ่งประมาณตั้งแต่ ค.ศ. 1949 เป็นการทำกันอย่างต่อเนื่อง ด้วยการ
พัฒนากับเพิ่มรายได้ด้วยการปฏิรูปในเกษตรกร แล้วเพิ่มแรงจูงใจกับในเกษตรกร ทำให้สร้างเงื่อนไขต่างๆ เพื่อ
อำนวยต่อการสร้างรายได้ทำให้ประชาชนมีความมั่งคั่งในชนบท ซึ่งอันนี้ถือได้ว่ามันเป็นแนวคิดหรือเป็น
กระบวนทัศน์ที่จีนใช้อยู่ ดังนั้นเราจะเน้น 2 ตัวคือ
1. เน้นการพัฒนาสำหรับเพิ่มรายได้ การขับเคลื่อนด้วยระบบกลไกการตลาด สร้างเพิ่มรายได้ให้แก่
เกษตรกร ต้องมีการแรงขับเคลื่อนและการขับเคลื่อนคือ การพัฒนาการเกษตร พัฒนาการเกษตร
ชนบทสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรม
2. ใช้มาตรการแทรกแซง ของรัฐเพราะรัฐบาลใช้กลไกเข้าไปแทรกแซงในการทำลายเงื่อนไขหรือข้อจำกัด
ต่างๆ ในการ พัฒนาของชนบท ดังนั้น การแก้ไขปัญหาความยากจนก็สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ในช่วงที่ 3 ที่บอกว่าแก้ไขความยากจนด้วย ในขณะเดียวกันแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางโอกาส
การจ้างงานการศึกษาเหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์การแก้จนของจีน ถ้าอยากจัดการแก้ไขความ
ยากจนถึงรากถึงโคนกรณีนี้คือ ต้องมีการพัฒนาสามารถที่จะสร้างรายได้เพิ่มรายได้ ดังนั้น เพื่อให้มีการพัฒนา
อย่างมีประสิทธิภาพสูงต้องมีกลไกของรัฐเข้าไปแทรกแซงประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากว่าเวลาวันนี้มีข้อจำกัดก็ไม่
สามารถที่จะแบ่งปันรายละเอียดมากกว่านี้ครับ ซึ่งผมอาจจะให้กระบวนทัศน์หรือแนวคิดคร่าวๆ เช่นนี้
ขอขอบพระคุณครับ
11
Q&A และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
คุณยุวดี คาดการณ์ไกล:
ขอเรียนเชิญอาจารย์ Xu Jin ผู้ช่วยของ Prof.Li Xiaoyun จะเข้ามาตอบคำถามแทน อาจารย์ Prof.Li
Xiaoyun ขอให้อาจารย์ดร. Xu Jin ได้ตอกย้ำและอธิบายเพิ่มเติมเรื่องการพัฒนาชนบทของจีนมากขึ้น
ดร. Xu Jin :
ต้องขอขอบพระคุณทุกท่าน จริงๆ แล้ว Professor Li Xiaoyun ก็อธิบายได้ชัดเจน ซึ่งดิฉันก็อยากจะ
เน้นย้ำนิดหนึ่งว่า ช่วงการแก้ไขความยากจนคือตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ไปจนถึง ค.ศ. 1978 ตอนนี้ถึงช่วงนี้ เรา
อาจจะเรียกว่าเป็นช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เป็นการผลักดันการเติบโต ไม่ว่าตั้งแต่โปรแกรมลงทุนใน
การศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานสู่การพัฒนา
ในช่วงที่ 2 ในช่วงนี้ตั้งแต่ค.ศ. 1949 - 1978 สังคมมีความเหลื่อมล้ำน้อยมาก จริงๆ ก็คือ มีความเท่า
เทียมกันเสมอภาคตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นไป ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่มีการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของจีนแล้วก็เป็นช่วงที่เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้
หลังจากนั้นก็เป็นช่วงที่ 3 ที่บอกว่าเป้าหมายที่สำคัญก็คือว่า มีการลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ นั่น
ก็คือในช่วงที่ 2 การพัฒนาที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงเป็นผลพลอยทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำใน
สังคมต่างๆ จึงเป็นเป้าหมายที่ 3 ก็จนถึง ค.ศ. 2020 จีนสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายการแก้ไขปัญหาความ
ยากจนให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน ตั้งแต่ ค.ศ. 2022 เป็นต้นมา เราใช้คำว่า “การฟื้นฟูความเจริญ
ในชนบท” ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้คำว่าลดความยากจน จริงๆ เราก็สำเร็จ จากการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างสุด
ขีดไปแล้ว จริงๆ แล้วก็คือมาตรฐานความยากจนของจีนสูงกว่ามาตรฐานโดยเฉลี่ยของสากลโลก ตั้งแต่ ค.ศ.
2020 เป็นต้นมา เราจะใช้คำว่า “การฟื้นฟูความเจริญของชนบท” ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบใหม่แล้วจะใช้คำ
แปลกใหม่ แต่อย่างนั้นก็แล้วแต่ ความเหลื่อมล้ำหรือการพัฒนาไม่สมดุลระหว่างเมืองกับชนบทก็ยังมีอยู่ ไม่ว่า
ในภาคบริการต่างๆ เนื่องจากประเทศจีนกว้างใหญ่ไพศาลแต่ละภูมิภาคมีความเหลื่อมล้ำอยู่ค่อนข้างพอสมควร
อย่างเช่น ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกก็มีความแตกต่าง
จริงๆ โครงสร้างของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง อย่างเช่น ในภาคตะวันตกและภาคตะวันออก อันนี้ก็
คือ เป็นการพัฒนาไม่สมดุลระหว่างเมืองกับชนบท ในขณะเดียวกัน ในเมืองเดียวกันก็จะมีความพัฒนาความไม่
สมดุลก็ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ ซึ่งเป้าหมายหลัก ๆ เราจะใช้คำว่า “มั่งคั่งไปด้วยกัน” อันนี้ก็จะเป็นเป้าหมายใน
หลังปี 2020 ขอบคุณค่ะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ:
ผมคิดว่าสิ่งที่ผมอ่านตามเรื่องการแก้ปัญหาของทางจีนมาตลอด สิ่งที่ผมประทับใจก็คือทางจีนเขา
เข้าถึงครัวเรือน ผมก็เสนอรัฐบาลมาก่อนแล้ว ว่าอยากจะให้รัฐบาล นำหลักการ 3-1 มา ใช้ 3-1 คือ อะไรครับ
12
1 หมู่บ้าน 1 นักวิจัย นักวิชาการ และ 1 ข้าราชการ ทำงานร่วมกันครับ และดูว่าหมู่บ้านนั้นมีปัญหาความ
ยากจนเกิดจากอะไรจะได้แก้เป็นจุดๆไป แต่ก็รู้สึกว่าไม่มีใครยอมรับ เท่าที่จีนเขาทำสำเร็จซึ่งจีนไม่ใช่แค่ 1
หมู่บ้านแต่มีการทำไประดับย่อยถึงครัวเรือน 4-10 ครัวเรือน ประการต่อมาคือว่า ในการแบ่งปันโอกาส ชัดเจน
ว่าโอกาสที่สำคัญที่สุดคือ โอกาสทางการศึกษา โอกาสการได้รับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้คนชนบทก็
ตามแต่ แม้แต่คนงานก็ตามแต่ คนงานอยู่ในโรงงานมีโอกาสจะรับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องน้อย ทั้งที่ขณะนี้เรา
เป็นประเทศทุนนิยมก่อนจีน โดยใช้เศรษฐกิจตลาดก่อนจีน และช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราบอกว่าถ้าค่าจ้างบ้าน
เราขึ้น เราจะไปลงทุนเมืองจีนแต่ ณ วันนี้ไม่ใช่ วันนี้ค่าจ้างในจีนสูงกว่าเราประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ครับ มันมี
แต่จีนที่ย้ายทุนมาเมืองไทย เพราะค่าจ้างมันถูกกว่า
ถ้าถามว่าเกิดอะไรขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อเราพัฒนาเศรษฐกิจตลาดมาก่อนจีนถึง 20 ปี แต่ทำไมค่าจ้าง
ของไทยเฉลี่ยแล้วต่ำกว่าจีนเพราะอะไร? อันนี้เป็นโจทย์ที่ถาม เราบอกว่าจีนเป็นคอมมิวนิสต์อย่างนู้นอย่างนี้
อย่างนั้น พอเขาเปิดเศรษฐกิจตลาดขึ้นมา เขาสามารถยกระดับรายได้ของจีนไปได้ไกล และตอนนี้ผมทราบว่า
จีนเขาจะหันมาพึ่งตลาดภายในมากขึ้น ถึงแม้เขาจะเป็นประเทศส่งออกก็จริง แต่เขาจะกลับมาพึ่งตลาดภายใน
มากขึ้น ปรับดุลยภาพระหว่างตลาดภายในกับภายนอกหันมาพึ่งตลาดภายในมากขึ้น ซึ่งข้อเสนอนี้ ผมเสนอมา
20 ปีแล้ว ตั้งเเต่เราเจอวิกฤต พ.ศ. 2540 คงบอกถึงเวลาที่เราต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้พึ่งตลาดภายใน
กับตลาดภายนอกคู่กันไป ให้มากขึ้นพอๆ กัน ไม่ใช่ว่าเอาแต่การส่งออกอย่างเดียว แต่ว่าเราก็ยังไม่ได้ทำเพราะ
การพึ่งตลาดภายในมากขึ้นเร็วๆ เราต้องทำให้คนในประเทศมีรายได้มากขึ้น โดยเฉพาะคนงานและเกษตรกรมี
รายได้มากขึ้น เพราะการที่คนเหล่านี้มีรายได้มากขึ้นมันจะทำให้การบริโภคดีขึ้น และลากจูงเศรษฐกิจได้มาก
ขึ้นครับ
คุณยุวดี คาดการณ์ไกล:
ขอให้อาจารย์ Xu Jin สรุปบทเรียนที่ได้จากโครงการที่อาจารย์ Li Xiaoyun พานักศึกษาลงไปทำงาน
พัฒนาชุมชน และได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาของชุมชนนั้นในเชิงเป็นกรณีศึกษาของการพัฒนา
ชุมชน มีโมเดลการพัฒนาอย่างไร และมีข้อจำกัดอย่างไรของการพัฒนาฟื้นฟูชนบทของจีน
ดร. Xu Jin :
จริงๆ อาจารย์ Li Xiaoyun ไม่ใช่แค่เป็นนักวิชาการแต่เป็นนักปฏิบัติด้วย จริงๆ ของเราก็มี Social
Lab ก็มีการขับเคลื่อนกับการแก้ไขปัญหาความยากจนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนเผ่า ชนกลุ่มน้อย อยู่
ระหว่างชายแดนจีนกับประเทศลาว เราใช้โมเดล “การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน” ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร เรามีแนวความคิด เมื่อมีความคิดแล้วก็นำสู่การปฏิบัติ แต่ว่าก็คือต้องใช้กองทุนการ
พัฒนาหรือกองทุนการแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อที่จะผลักดันแนวคิดของเราสู่การปฏิบัติ ก็ซึ่งถือว่ามันเป็น
สิ่งที่น่าท้าทายแล้วก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง หลังจาก ค.ศ. 2020 เป็นต้นไป เป็นช่วงที่การฟื้นฟูความ
เจริญรุ่งเรืองของชนบท ซึ่งตอนนี้เรามาขยายผลไปถึง 20 กว่าชนบท ซึ่งอาจจะมีการทำ Social Lab มีการ
ทดลองในโมเดลต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งเราทดลองที่คุนหมิง คุนหมิงถือเป็นเมืองใหญ่ของภาคตะวันตกเฉียงใต้
13
ซึ่งเราอยากจะไปขับเคลื่อนในคุนหมิง แล้วให้คุนหมิงไปขยายผลกระจายการพัฒนาไปสู่ชนบทต่างๆ ของ
คุนหมิง เหมือนกับเป็นคล้ายๆ เป็นเมืองบริวาร ขับเคลื่อนการพัฒนา ดังนั้น เราทำให้มีการสร้างเครือข่าย ให้
คนในชนบทสร้างเป็นเครือข่ายได้ ไปประสานกับเมืองใหญ่นั่นก็คือคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองใหญ่ให้ได้
ประเทศจีนให้ความสำคัญในเรื่องของ 3 ประการ นั่นก็คือ เกษตรกร ชนบท และการเกษตร เราเอา
ผลประโยชน์ของเกษตรกรไว้เป็นอันดับ 1 อย่างเช่น เราหาวิสาหกิจ 1 แห่งแล้วเป็นพี่เลี้ยง และไปศึกษาความ
เป็นไปได้ในการเปิดวิสาหกิจชุมชนในชนบท ซึ่งนั่นก็คืออาจจะเป็นการประสานงานเหมือนกับเป็นพี่เลี้ยง ใน
กระบวนการนี้บางทีเกษตรกรจะไม่ค่อยเข้าใจ ไม่มีความรู้ทักษะในการประกอบอาชีพต่างๆ ซึ่งบางทีเขาจะ
เข้าใจว่าสิ่งที่เขามีก็อาจจะเป็นแค่เป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร เขาไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพต่างๆ
หรือบางทีเขาอาจจะแค่เอาที่ดินเป็นทรัพย์สินให้เช่าให้มีรายได้ เขาไม่ค่อยเปลี่ยน mindset ไปเป็น
ผู้ประกอบการ ดังนั้น สิ่งที่เราทำนั้นก็คือว่าเราให้ความรู้และก็พยายามที่จะให้เกษตรกรตระหนักถึงการสร้าง
มูลค่าเพิ่ม
เขาอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน สามารถที่จะทำให้สินทรัพย์ที่เขามีอยู่สามารถที่
จะสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าเป็นที่ดินอะไรต่างๆ ในขณะเดียวกัน เราก็เน้นสร้าง SE เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม
และให้ผลไปต่างๆ คงไว้ที่ชนบท ให้เกษตรกรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างเช่น ในเรื่องของการแปรรูปสินค้า
เกษตร ทำอย่างไรให้มีความรู้ในการแปรรูปในการเกษตร ขณะเดียวกัน ขยายช่องทางการขายและผลประโยชน์
นั้นก็ตกอยู่ที่เกษตรกร ตกอยู่ที่ชนบท ดังนั้น เราก็อาจจะต้องมีมาตรการดึงดูดคนหนุ่มสาว ซึ่งจบการศึกษา
เมืองใหญ่กลับไปเป็นผู้ประกอบการ เป็น CEO ในวิสาหกิจชุมชน สามารถที่จะใช้ความรู้ที่เขามีอยู่แปรรูปสินค้า
การเกษตร ขณะเดียวกันขยายช่องทางการขาย ทำให้ธุรกิจในชนบทสามารถที่จะมีชีวิตชีวา แล้วก็มีการจัดสรร
ผลประโยชน์ที่เหมาะสม ให้ผลประโยชน์นั้นตกอยู่ที่เกษตรกร ตกอยู่ที่ชนบท
รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ:
สิ่งที่ทางจีนทำกับชนบท กับชุมชนชนกลุ่มน้อย เหมือนกับโครงการเครือข่ายเศรษฐกิจสมานฉันท์ที่ผม
กำลังทำอยู่ใน 6-7 จังหวัด ต่างกันตรงที่ว่าเราทำโดยภาคประชาชนล้วนๆ ถูกแรงกดดันจากธุรกิจ แล้วก็ไม่ได้
รับการสนใจรัฐบาล เงื่อนไขที่จีนดีกว่าเรามากในการไปช่วยกระตุ้นชุมชน เพราะรัฐสนับสนุนเต็มที่ แต่ที่ผมทำ
ทำด้วยตัวเองล้วนๆ 5 จังหวัด แล้วก็เหมือนที่ว่าเขาไม่มีความคิดในเชิงการประกอบการ
เราพยายามทำให้เขาเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ นี้ ถ้าเราใช้ความรู้ใส่เข้าไปเราสามารถเพิ่มมูลค่าได้ แต่แค่ว่าจะ
ทำผลิตภัณฑ์ดูดีก็ยังทำไม่ได้เลยครับ หมู่บ้านที่ผมลงไปทำเองต้องไปนั่งจับมือสอน ไม่มีใครช่วยเลยอันนี้ เป็น
ข้อจำกัดมากๆ ในสังคมไทย เราไม่มีราชการที่มีจิตอาสาลงไปคลุกคลีกับชาวบ้านเหมือนจีน
เราจะทำอย่างไรให้ข้าราชการที่มีคนจำนวนมากมีจิตใจ มีจิตอาสา ที่จะไปพัฒนาจริงๆ คลุกคลีกับเขา
เพื่อยกระดับความคิดครับ ต้องเปลี่ยนความคิดคน จีนตั้งใจทำแบบนั้น แต่ว่าเราไม่มีนโยบายจากใครที่ต้องการ
ให้คนไปทำเช่นนั้น ไปอยู่ ไปคลุกคลีกับชาวบ้าน เพื่อเปลี่ยนแปลงชาวบ้านให้ดีขึ้นเ ราไม่มีโครงการนี้จริงๆครับ
นอกจากทำกันเองตามจิตอาสาแต่ละคน
14
คุณยุวดี คาดการณ์ไกล:
จริงๆ อย่างที่อาจารย์ Li Xiaoyun พูดว่ามี Social Lab ประเทศไทยก็น่าจะทำ Social Lab ได้ไหม
รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ:
สิ่งที่ผมทำอยู่จริงๆ ก็คือ Social Lab ผมใช้คำนี้มา 10 กว่าปีแล้ว หมู่บ้านแรงงานที่ผมทำ ผมไปก็
เรียนรู้ไป แก้ปัญหาไป โครงการเครือข่ายเศรษฐกิจสมาฉันท์ที่เริ่มมา 3 – 4 เดือน กำลังทดลองขาย ตอนนี้
ยอดขายประมาณ 2 หมื่นบาทต่อวัน เรียนรู้ไปทำไป ก็เป็น Social Lab เปลี่ยนสารตัวนี้ใส่ขวดนั่นนี่ ทดลองไป
เรื่อยๆ แต่ทำไปบนข้อจำกัด ไม่มีอุปกรณ์และงบประมาณ พึ่งตัวเองล้วนๆ จีนเขามีบุคลากร มีอุปกรณ์ มี
งบประมาณให้ทำ แต่เราไม่มี เราอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของระบบทุนนิยม ถ้าลงไปทำแล้วไม่มีกำไร ไม่มีใครทำ
อย่างพวกเราลงไปทำ เรายินดีขาดทุน แต่เราก็รับความคิดของในหลวง ร.9 ว่า “ขาดทุนคือกำไร” ขาดทุนของ
เราแต่กำไรของสังคม เรายินดีทำ ทำอย่างไรให้ราชการคิดว่าการขาดทุนของเราแต่กำไรของสังคม ถ้าราชการ
คิดอย่างนี้ก็ไปต่อได้ครับ เพราะมีอุปกรณ์ มีงบประมาณที่จะทำ
คุณยุวดี คาดการณ์ไกล:
ขอเรียนถามอาจารย์ Xu Jin งบประมาณที่อาจารย์ Li Xiaoyun ไปทำที่คุนหมิงใช้งบประมาณของ
ใคร เป็นโครงการวิจัย หรือเป็นงบประมาณจากรัฐบาลให้ทำ
ดร. Xu Jin :
ที่จีนเป็นแบบนี้ ส่วนใหญ่รัฐบาลจีนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายงบประมาณ อาศัยงบประมาณของหน่วยงาน
กระทรวงต่างๆ ที่รับผิดชอบในการฟื้นฟูความเจริญชนบท ยังเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล ส่วนใหญ่ก็จะ
เป็นผู้บริหารในระดับอำเภอรับผิดชอบในการผลักดันนโยบาย ตอบสนองนโยบายส่วนกลาง บทบาทของ
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็จะเป็นแผนงาน รวมไปถึงวิธีการบริหารการจัดการ ซึ่งจะทำไป ปรับปรุงวิธีการหรือ
แนวคิดไป งบประมาณส่วนใหญ่ก็จะมาจากรัฐบาล
นอกจากนั้น เราก็จะมีบูรณาการการใช้ทรัพยากร ใช้งบประมาณของภาคสังคม ส่วนหนึ่ง แต่หลักๆ ก็
คือ งบประมาณของรัฐ และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตอนนี้สถานการณ์โควิดก็ผ่อนคลาย แล้วก็อยากจะลงไป
ศึกษาในชนบทต่างๆ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะ อาจจะมาศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนหน้านี้เราก็ได้จัด Forum แลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเข้าใจว่านักวิชาการของไทยเองก็มีประสบการณ์แก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย
สถานการณ์โควิดผ่านพ้นไปแล้ว การเดินทางจะสะดวกมากขึ้น ซึ่งเราก็หวังเป็นอย่างที่ว่ามีโอกาสที่จะเดินทาง
มาประเทศไทยเพื่อไปศึกษาความรู้เพิ่มเติม
15
เศรษฐกิจภาคประชาชนของไทย:
โอกาสและข้อจำกัดบนเส้นทางทุนนิยม
รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
จีนเริ่มต้นจากการปฏิรูปภาคเกษตร ผมจำได้ว่า เมื่อผมศึกษาเรื่องจีนผมประจำในยุคที่ เติ้ง เสี่ยวผิง
ท่านพูดสี่ทันสมัย เกษตรทันสมัย อุตสาหกรรมทันสมัย เทคโนโลยีทันสมัย กองทัพทันสมัย เราจะเห็นชัดเจนได้
ว่า ในประเทศจีนการเริ่มต้น เริ่มต้นจากฐานราก การจะทำให้เกษตรทันสมัยแปลได้ว่า ฐานรากของจีนอยู่ที่
ภาคเกษตรมาก่อน ซึ่งไม่ต่างจากไทยเพราะฐานรากของเราอยู่ที่ภาคเกษตร แต่วิชาเศรษฐศาสตร์ที่เราสอนกัน
ในประเทศไทย ผมมีความรู้สึกว่าออกจากกำหนดทิศทางแตกต่างกันไป
ถ้าถามว่าทำไมถึงแตกต่างกันไป ผมอยากจะอ่านคำประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 สิ่งแรกที่เขาพูดแล้วก็บังคับให้รัฐบาลปฏิบัติต่างๆตามกัน การเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยจะ
ทำได้อย่างมีผลดีโดยความพยายามของฝ่ายเอกชน ทั้งนี้โดยทางฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมแทนที่
รัฐบาลจะเป็นฝ่ายเข้าทำการพัฒนาเอง ดังนั้น แนวทางสำคัญที่สุดของแผนการรัฐบาลจึงได้แก่การส่งเสริมให้มี
ความเจริญเติบโตในภาคเอกชนโดยรัฐบาลจะทุ่มเททรัพยากรของจังหวัดเข้าไปในโครงการ ที่ผมอ่านอยู่มันเป็น
การบอกว่าการ เริ่มต้นพัฒนาประเทศของเราไม่ได้ปักหมุดไว้ที่การปฏิรูปเกษตรเป็นเบื้องต้นหรือเคียงคู่กันมา
กับการปฏิรูปอุตสาหกรรม พูดง่ายๆว่าเราปักหมุดอุตสาหกรรมเป็นหลักปักหมุดไปที่เอกชนเป็นหลัก ไม่ได้ปัก
หมุดว่าเกษตรกับอุตสาหกรรมเคียงคู่กันไปเหมือนที่จีนวางจุดไว้ ทั้งๆที่ในวิชาเศรษฐศาสตร์ตอนนี้มีความเข้าใจ
ในประเทศไทย ผมรู้สึกว่ามันออกจะแคบ แคบคืออะไรครับ เวลาเราถามว่าเราศึกษาเศรษฐศาสตร์หรือเราเรียน
เศรษฐศาสตร์เรียนอย่างไร หลายคนมักจะมองว่าการ ศึกษาเศรษฐศาสตร์คือ เน้นไปที่การค้า การลงทุน การ
16
หากำไร จากการค้าการลงทุนเป็นหลัก พอพูดอย่างนี้มันทำให้สมองเราในถูกปรับไปสู่ภาคธุรกิจเป็นหลัก แต่
จริงๆ วิชาเศรษฐศาสตร์มันเป็นวิชาการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ มันกว้างกว่าคำว่า การค้า
การลงทุน ทีนี่พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ เริ่มต้นคือ การบริโภค การจับจ่ายใช้สอย เมื่อเราบริโภคแล้วเราต้องทำ
การผลิตและการ ผลิตคืออะไร ฉะนั้น การผลิตที่เราศึกษากันโดยให้ความคิดไปทางภาคเอกชน การผลิตจึง
กลายเป็นการทำธุรกิจร่วมงานสถานประกอบการเท่านั้น แต่ในพื้นฐาน basic knowledge พื้นฐานที่สุดของ
การผลิตคือ การใช้พลังแรงงาน หมายถึง กำลังกายบำรุงสมองของเรา แต่ปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆให้เกิดผลผลิต
เพื่อบริโภคได้นั้นคือการผลิต ไม่ได้หมายถึงเรื่องโรงงานเท่านั้น แต่ว่าเราถูกคิดเห็นอย่างนั้นตลอดเวลา เมื่อเรา
มีการผลิตแต่เราผลิตเองไม่ได้ เราก็ต้องทำสิ่งที่เราผลิตไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เราอยากจะได้ เราเรียกว่า การค้า
ขายแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้น พฤติกรรมทางเศรษฐกิจจะมีด้วยกัน 3 ด้าน คือ การบริโภค การผลิต การ
แลกเปลี่ยน
ฉะนั้น วิชาเศรษฐศาสตร์มันเป็นความรู้เรื่องการบริโภคลึกมาก แต่เรามักจะไม่เห็นเศรษฐศาสตร์เรื่อง
การบริโภค จนลืมพื้นฐานเรื่องนี้ไปเลย ดังนั้นพฤติกรรม 3 ด้านของมนุษย์ จะนำไปสู่เรื่องการจัดสรรทรัพยากร
นำไปสู่การกระจายผลิตภัณฑ์และสินค้า นำไปสู่การกระจายรายได้ในรูปของค่าเช่ารูป เรื่องดอกเบี้ย เรื่อง
ค่าจ้าง เรื่องกำไร
การนำไปสู่ 3 อย่าง ในภาษาของเศรษฐศาสตร์หรือภาษาของ บิดาทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ 3
อย่างนี้คือ การสร้าง nation คือ “การสร้างความมั่นคงของชาติ” ความมั่นคงของชาติมาจาก พฤติกรรมการ
บริโภค พฤติกรรมการผลิต การขาย การแลกเปลี่ยนของมนุษย์ จึงทำให้เกิดการ 3 อย่างที่ว่า การจัดสรร
ทรัพยากรติดตามสินค้าและการกระจายรายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเข้าใจที่ไปวางไว้ที่ธุรกิจเอกชนมันจึงทำให้
เราไม่ค่อยคิดถึงการบริโภค รองลงมาจากการค้าจากเอกชนการขยายภาครัฐ และก็มาจากภาครัฐ ซึ่งภาครัฐจะ
มีการสร้างถนน สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
17
การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกมันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำธุรกิจที่ทำต่อกันมา แต่ในการสร้างสิ่ง
อำนวยความสะดวกต่างๆจะเน้นไปที่บุคคลคนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็คือภาคเอกชน ทำให้ เกิด exynos
หรือว่าการกระจาย การประหยัดจากภายนอก หรือรัฐบาลจัดการให้ ตั้งแต่เราพัฒนาเศรษฐกิจมาตั้งแต่แผนที่1
เราไม่เคยปักหมุดว่าจะต้องปฏิรูปภาคเกษตร
ทีนี้เวลาเราจะพัฒนาเศรษฐกิจ เราก็ลืมคิดไปว่าในระบบเศรษฐกิจมันมี 3 ภาคส่วน คือ
1. ภาคธุรกิจ
2. ภาคเศรษฐกิจของรัฐหรือเศรษฐกิจมหภาค
3. ภาคประชาชน
ในสามภาคนี้ จะมีส่วนทับซ้อนกันอยู่เช่นว่า ผสมระหว่างรัฐกับประชาชน คือ ภาครัฐกับประชาชน
เช่น กองทุนหมู่บ้าน ส่วนผสมระหว่างธุรกิจกับประชาชน คือ ธุรกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชน เพราะฉะนั้น ในส่วน
สามส่วนก็จะมีภาคนี้ผสมอยู่ แต่ส่วนที่เป็นภาคประชาชนล้วนๆ เรามักจะไม่พูดถึง
ทำไมผมจึงให้ความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจกับภาคประชาชน เพราะเวลาเราจะดูว่าเศรษฐกิจไทยจะ
เติบโตมาอย่างไรเรามักจะดูที่ GDP พอเราดูก็พบว่าโดยเฉลี่ยประมาณ พบว่า GDP ไทยมันถูกสร้างขึ้นมาจาก
การบริโภคครัวเรือนถึง 50% ในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนที่เราเน้นกันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามันได้ไม่เกิน
23% นั่นแปลว่าภาคธุรกิจที่เราทุ่มเทกันมาตลอดวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เราเรียนกันมาก็มักจะเน้นไปทางนี้ กำไร
ขาดทุนของธุรกิจไมโครของธุรกิจมันสร้าง GDP ไม่เกิน 23% มันไม่ถึงครึ่งของการบริโภคของครัวเรือน แล้ว
18
ภาครัฐลงทุนตรงนั้นตรงนี้เอาเงินภาษีไปใช้สร้างนั่นสร้างนี้ เอาเข้าจริงๆ มันสร้าง GDP ได้ประมาณ 14% แล้ว
เราจะเห็นในเศรษฐกิจไทยเราพยายามที่จะบอกว่าเราเป็นประเทศส่งออกเป็นหลัก
ตั้งแต่ผ่านแผนพัฒนาฯ สังคมฉบับที่ 3 เป็นต้นมา เราก็เน้น export oriented เน้นการส่งออกเป็น
หลัก เราคิดว่ามันจะเป็นตัวลากจุงเศรษฐกิจของเรา ก็ไม่ผิดที่จะคิดเช่นนี้ แต่เราลองกลับมาดูว่าการค้า
เศรษฐกิจของเรามันสร้าง GDP ได้มากน้อยแค่ไหน ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือในสูตรการคำนวณการ
เติบโตทางเศรษฐกิจ ในคำว่าส่งออกเราไม่ได้ส่งออกอย่างเดียว แต่เราคิดที่จะดุลการค้าต่างหาก ดุลการค้าคือ
การคิดที่จะมูลการส่งออกลบด้วยมูลค้าการนำเข้า เพราะฉะนั้น การส่งออกมากเท่าไหร่แต่ถ้าการนำเข้า
มากกว่ามันก็จะไม่ลากจุงให้ GDP โตขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามักจะพูดกันว่าการส่งออกของเราเท่านั้นเท่านี้แต่เรา
มักจะไม่พูดว่าการขยายตัวกับการนำเข้าเท่าไหร่
เฉพาะฉะนั้น สมองของคนมักจะไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ถูกเปลี่ยน ถูกกล่อมเกลา ถูกทำให้คิดว่าการ
ส่งออกสำคัญที่สุด แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ที่สุด แถมมันจะไปเหนี่ยวรั้งการเติบโต GDP ปี 2565 ตัวเลข 9
เดือนของปีที่แล้วเราขาดดุลการค้าประมาณ 6 แสนกว่าล้าน ถ้าทั้งปีของปี 2565 ประมาณเกือบๆ 8 แสนล้าน
ถ้าการส่งออกนั้นคือการนำเงินเข้าประเทศ แน่นอนว่าการนำเงินเข้ามันจะช่วยกระตุ้นประเทศช่วยกระตุ้น
GDP แน่นอน แต่การที่เรานำเข้ามากแต่เงินไหลออกมากจะทำให้ฉุด GDP ลง ตัวส่งออกฉุด GDP ขึ้น ผู้นำเข้า
ฉุด GDP ลง และสุทธิก็จะเหลือแค่ 34%
แล้วปี 2565 เราขาดดุลการค้าแปลว่าตัวฉุดมันเยอะกว่าตัวเพิ่ม เพราะฉะนั้น เวลานักธุรกิจพูดหรือ
รัฐบาลพูดก็ตาม เราพูดแต่ด้านการส่งออกเราไม่พูดด้านการนำเข้า แล้วถ้าลงลึกลงไปอีกเราจะะพบว่าผู้ส่งออก
หลักๆ เช่น รถยนต์ที่ผ่านมาปี 2 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่ส่งออกเยอะที่สุด แล้วถ้า
ถามว่าบริษัทส่งออกเป็นของใคร คือ บริษัทลูกจีน บริษัทลูกญี่ปุ่น พวกนี้หมด
19
แล้วมันสำคัญที่ว่าในกติกาการนำเงินเข้าธนาคารที่ไทยบอกว่า ถ้าเราขายของแล้วได้ไม่เกิน 1 พันล้าน
ดอลลาร์ไม่ต้องนำกลับประเทศก็ได้ ถ้าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์บางส่วนไม่ต้องนำกลับประเทศก็ได้ สมมติจะ
เป็นบริษัทหรือคนต่างประเทศหรือคนไทยก็ได้ เราส่งออกผลไม้สัปดาห์ละครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 1 ล้านดอลลาร์
4 สัปดาห์ 4 ล้านดอลลาร์ 1 ปี 48 ล้านดอลลาร์ ถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 14,000-15,000ล้านบาท
เพราะฉะนั้น เรามองการส่งออกมองตัวเลขแบบหยาบๆ เราไม่ดูให้ลึกๆ ว่าการส่งออกมันเท่าไหร่ ภาพแบบนี้
มันจะทำให้เราเน้นธุรกิจมากเกินไป ไม่ใช่ว่าไม่ดีแต่มันจะทำให้ละเลยในส่วนที่สำคัญมากเกินไป คือ การบริโภค
ของครอบเรือน เราไปปักหมุดว่าการส่งออกเป็นการเพิ่ม GDP การเพิ่ม GDP คือการลงทุนของต่างประเทศ เรา
นั้นสร้างนิคมอุตสาหกรรมสารพัดที่เราจะสร้างขึ้นมาแต่ เรามักจะเน้นเรื่องการปฏิรูปเกษตรเรามักจะไม่เน้น
รายได้ของการเกษตรเรามักจะไม่เน้นรายได้ของคนงาน เพราะรายได้ของเกษตรรายได้ของคนงานมันกลายเป็น
รายได้หลักของครัวเรือน
ตัวเลขหยาบๆ ที่ผมอ่านจากสภาพัฒน์ หรือจากสำนักงานสถิติก็ตาม พบว่า รายได้ประชาชาติของไทย
41% มาจากค่าจ้าง อีก 37% มาจากอาชีพอิสระ อาชีพอิสระที่สำคัญที่สุดคือ ภาคการเกษตร ฉะนั้น ตัวหลัก
มาจากค่าจ้าง ตัวรองมาจากรายได้เกษตรกร รวมกันได้ 78% นั่นแปลว่ามันเป็นกำลังซื้อของเกษตรกรกับ
แรงงาน และกำลังซื้อสร้าง GDP ได้ 50% หมายความว่า เศรษฐกิจภาคประชาชนมันเป็นพระเอกในการสร้าง
ของชาติ แล้ว เราให้ความสนใจกับเศรษฐกิจภาคประชาชนมากน้อยแค่ไหน ฉะนั้น การที่เราไปเน้นจุดรอง
มากกว่าจุดหลัก แล้วเน้นจุดหลักมากกว่าจุดรองจึงทำให้เกิดความผิดเพี้ยนในการพัฒนาประเทศ ผิดเพี้ยน
อย่างไร ผลได้จากการพัฒนามันจะไปกองอยู่ในภาคธุรกิจที่ผมเรียกภาคทุนนิยม มันจึงทำให้เกิดความเหลื่อม
ล้ำทางรายได้สูงมาก เมื่อ 2ปีที่แล้ว (ค.ศ. 2021) Credit Suisse เขาจึงบอกว่าคน 1% ในประเทศไทยครอง
ทรัพย์สินและรายได้ 68% และคนอีก 99% ในประเทศไทยครองรายได้ทรัพย์สินเพียง 32% เท่านั้น
เปรียบเสมือนว่าคน 100 คน มีเงิน 100 บาท ใน100 บาทคนแรกเอาไปแล้ว 68บาท อีก 99 คน ได้คนละ 32
บาท แปลว่ามันเหลื่อมล้ำมากเกินไป และความเหลื่อมล้ำนี้มันก็แพร่กระจายไปสู่ความเหลื่อมล้ำอื่นๆ จึงทำให้
สังคมไทยเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงความไม่เป็นธรรมกับความเหลื่อมล้ำในสังคม
ดูที่จีน ในช่วงที่ 3 ช่วงที่จีนบอกว่าพัฒนาเศรษฐกิจตลาดมากขึ้น เขารับชัดเจนว่ารัฐจะเข้าไปแทรกแซง
จัดการ คำว่ารัฐของจีนมี 2 ตัว คือ รัฐคือรัฐบาลที่คนรู้จักกันทั่วไป กับ รัฐที่อยู่เบื้องหลังรัฐบาล คือ พรรค
คอมมิวนิสต์ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีจุดยืนตลอดมาว่าประชาชนเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ก่อรูปมาจากธุรกิจ แต่ใน
บ้านเราพรรคทุกพรรคมันก่อรูปมาจากทุน ก่อมาจากธุรกิจ แล้วมันก็ไปรองรับแผนพัฒนาฯ ที่บอกว่าธุรกิจ
เอกชนเป็นตัวหลัก รัฐจะต้องทุ่มเงินทุกอย่างเพื่อสนับสนุนเอกชน ดังนั้น พรรคต่างๆ ที่มาจากพรรคทุนมันก็
สอดรับพอดีกับรัฐราชการที่ต้องการส่งเสริมเอกชนหรือธุรกิจ ฉะนั้น รัฐบาลในประเทศไทยจึงไม่กล้าแทรกแซง
ธุรกิจแต่รัฐบาลในไทยจะคล้อยตามธุรกิจเป็นด้านหลักแล้วก็ลืมหรือให้ความสำคัญน้อยกว่าเศรษฐกิจภาค
ประชาชน เพราะฉะนั้น ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นเราจะเห็นได้ชัดเจนเริ่มจากรายได้ทรัพยสินที่มันเกิดขึ้นมากๆ
จึงนำไปสู่เรื่องสิทธิ์เรื่องโอกาสเรื่องอำนาจและการตัดสินมนุษย์ รวมกันแล้ว 5 มิติที่เกิดในความเหลื่อมล้ำ ซึ่ง
ถ้าโยงแบบนี้องศาที่มันเปลี่ยน องศาที่มันแตกต่างระหว่างจีนกับไทยคือ จุดเน้นของการพัฒนา
20
จุดเน้นของการพัฒนาของไทยเราเริ่มที่ภาคเอกชนเป็นหลัก องศาก็เริ่มแตกต่างกัน พอนานเข้า 60 ปี
ผ่านไป จากความแตกต่างที่แคบๆ ระหว่างภาคเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมพอนานเข้าก้เริ่มบานปลายขึ้น
เรื่อยๆ ในขณะที่จีนก็รู้ตัวว่าเกษตรทันสมัย อุตสาหกรรมทันสมัยต้องควบคู่กันไปและรัฐก็แทรกแซงไม่ให้ห่าง
กันมาก แต่ก็แทรกแซงแล้ว แต่พอเปิดตลาดใหม่ รู้สึกว่าห่างกันมาก จึงเริ่มกลับมาทบทวนกันใหม่ว่ามันห่างกัน
เกินไปแล้ว ถ้าจีนสามารถทุบโต๊ะได้ว่าทุนใหญ่สามารถทำอย่างนี้ได้ ถ้าไม่ทำเราไม่ยอม อย่างเช่น ALIBABA
หรือธุรกิจนายทุนใหญ่ถึงกับซึม เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ในจีนเขากล้าที่จะแทรกแซงธุรกิจ แต่ของเราไม่ใช่ของ
เราอำนาจรัฐถูกครอบงำด้วยอำนาจธุรกิจ มันจะต่างกันกับจีนตรงนี้
จีนมีอำนาจรัฐเหนือธุรกิจสามารถทุบโต๊ะให้ธุรกิจทำตามได้ แต่ในสังคมไทยอำนาจธุรกิจใหญ่กว่า
อำนาจรัฐ เพราะถ้าเป็นยุคเลือกตั้งพรรคการเมืองก็มาจากพรรคธุรกิจล้วนๆ รัฐบาลปัจจุบันเป็นนักราชการแต่ก็
ต้องอาศัยธุรกิจเป็นหลัก เพราะฉะนั้น ความเหลื่อมล้ำจึงมาก การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน รัฐก็หัน
มาสนใจแต่เป็นการปฏิบัติมันไม่สามารถแก้ปัญหาเท่ากับจีนได้เลย ยกตัวอย่าง
นโบายแก้ปัญหาความยากจน เราใช้วิธีการ คือ การลด แลก แจก แถม พรรคการเมืองก็หาเสียงใน
เรื่องการลดแลกแจกแถม แต่ผมดูฝั่งจีนเขาลงรายละเอียดไปถึงครอบครัวว่าครอบครัวไหนชุมชนไหนมันเกิด
ปัญหาอะไรขึ้นมา และปัญหาแต่ละปัญหามันไม่ได้เกิดจากเรื่องเดียวกันไ ม่ได้ชุมชนเดียวกัน มันแก้เป็น
ประเด็นๆ ไป ภายในชุมชนและครอบครัวเกิดจากปัญหาอะไรก็ต้องแก้กันไป ของเรามีลักษณะว่าเสื้อตัวเดียวใส่
ได้ทุกคน เราจำเป็นต้องตัดเสื้อให้พอดีกับคนสวม หรือว่าเราต้องวางมาตรฐานแก้ไขปัญหาความยากจนแต่ละ
ชุมชนแต่ละครอบครัวไปถึงจะแก้ได้เหมือนที่จีนทำ แต่ว่าเราไม่ใช่ พอเราไม่ใช่เราก็ต้องอาศัยกลไกรัฐบาลเข้า
ไปแทรกแซง แต่พอดูเหมือนว่าการแทรกแซงของรัฐในไทยในเรื่องนี้ค่อนข้างอ่อนแรง ไม่กล้าแตะธุรกิจ ลงไป
แก้ไขปัญหาความยากจน วางมาตรการรวมๆ เขาเรียกว่า การลดแลกแจกแถม
เพราะฉะนั้น ในการแก้ปัญหาไปถึงรากถึงโคนมันคือภาครัฐไม่ใช่ภาคประชาชน ภาคประชาชนคือการ
ที่มีจิตอาสาลงไปชุมชนนี้ หมู่บ้านนี้ มีปัญหาอย่างนี้เราต้องแก้อย่างนี้ ซึ่งก็มีน้อยคนเพราะว่าคนที่จะทำอย่าง
นั้น มันเป็นจิตอาสาหรือทรัพยสินเงินทองหรืออุปกรณ์ที่นำไปใช้มีน้อย อย่างที่ผมไปพัฒนาหมู่บ้านแรงงานแค่
60-70 ครัวเรือน เลือดตาแทบกระเด็น เพราะว่าเราไม่มีอุปกรณ์ทั้งสิ้น แต่เรามีจิตใจ ในขณะที่ถ้าเราใช้อำนาจ
รัฐเข้าไปทำ มีงบประมาณ มีเครื่องมือ มีกำลังคน แต่ความรู้สึกผมคือว่าผู้มีอำนาจรัฐ ผู้มีอำนาจราชการสิ่งที่
ขาดคือใจ ภาคประชาชนขาดทุกอย่างแต่ที่มีคือใจ เพราะฉะนั้น การสร้างหมู่บ้านมั่นคงแรงงานสังคมเพื่อน
หรือขณะนี้ที่ผมกำลังทำกับผู้ช่วยของผมคือ การสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจสมานฉันท์ ดึงเอาภาคแรงงานกับภาค
เกษตรมาจับมือกัน เพราะตัวอย่างมันชัดเจนแล้วว่าการบริโภคครัวเรือน ครัวเรือนหลักก้คือแรงงานกับ
เกษตรกรเป็นผู้สร้างเศรษฐกิจหลักในการพัฒนา GDP ของไทย
แรงงานนั้นเป็นผู้กินเงินเดือน วันๆ ก็อยู่แต่ในโรงงานเป็นผู้ซื้อ เกษตรกรเป็นผู้ผลิต เราก็พยายามที่จะ
เอาผลผลิตเกษตรกรมาสู่กำลังซื้อของแรงงานเชื่อมกันตรงนั้น เราพยายามจะไม่ผ่านธุรกิจให้มันมากหนัก ตรงนี้
เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าในความเหลื่อมล้ำ คณะกรรมการปฏิรูปซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้น มีคุณอานันท์ ปันยารชุน
เป็นประธาน ส่วนผมเป็นกรรมการ เมื่อเราไปดูปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในความไม่เป็นธรรม แล้วถ้าเราจะ
เริ่มนับหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ได้โดยตรงไหนในสังคมไทย เพราะพรรคการเมืองเป็นรัฐกองทุน รัฐเป็นรัฐราชการ
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท

More Related Content

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 

กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท

  • 1.
  • 2. 2 รายงานถอดความ (Transcript) กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท ผู้นำเสนอหลัก Prof.Li Xiaoyun (Ph.D.) รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ผู้ดำเนินรายการ คุณยุวดี คาดการณ์ไกล รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทีวิชาการ เรื่อง "กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท" จัด โดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ Institute for International and Area Studies (IIAS) of Tsinghua University สาธารณรัฐ ประชาชนจีน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 (การประชุมออนไลน์) บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ช่วยบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง ผู้ถอดความ: ภูมิภัทร เอี่ยมบุตรลบ อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปีที่เผยแพร่: กรกฎาคม พ.ศ. 2566 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคาร The Line Phahon-Pradipat ถนนประดิพัทธิ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400
  • 3. 3 คำนำ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.30-11.30 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จัดเวทีวิชาการไทย-จีน เรื่อง "กระบวนทัศน์การ พัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท" การจัดประชุมใช้รูปแบบเวทีวิชาการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM ระหว่างห้องประชุมฝ่ายไทยกับห้องประชุมฝ่ายจีน โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ เข้าร่วม สาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนกลายมาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในชนบทให้พ้นขีดความยากจนได้อย่างน่าทึ่ง ขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทาง เศรษฐกิจ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการยกระดับรายได้และสร้างเศรษฐกิจในระดับฐานรากทั้งเมืองและ ชนบทเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืนเช่นกัน จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และไทยจะร่วมกันเรียนรู้และแบ่งบันประสบการณ์ของกันและกัน ทบทวนบทเรียนการพัฒนาที่ผ่านมาเพื่อมอง หากระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ นำประเทศให้ก้าวต่อไปสู่ความมั่งคั่งและยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชน ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทำรายงานสรุปและถอดความเนื้อหาเวที วิชาการครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กำหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา และ ประชาชนทั่วไปที่สนใจการยกระดับรายได้และสร้างเศรษฐกิจในระดับฐานรากทั้งเมืองและชนบท และ ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ในยุคที่อำนาจโลก มีความซับซ้อน และกำลังเปลี่ยนแปลงนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 4. 4 สารบัญ หน้า คำนำ 3 กล่าวเปิด ดร.วิภารัตน์ ดีอ๋อง 6 กระบวนทัศน์การฟื้นฟูชนบทจีนยุคใหม่ Prof.Li Xiaoyun (Ph.D.) 8 Q&A และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 11 เศรษฐกิจภาคประชาชนของไทย: โอกาสและข้อจำกัดบนเส้นทางทุนนิยม รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ 15 Q&A และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 22
  • 5. 5
  • 6. 6 กล่าวเปิด ดร.วิภารัตน์ ดีอ๋อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เรียน ศาสตราจารย์หลี่ เสี่ยวหยิน คณบดีกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยแห่งการพัฒนานานาชาติและ เกษตรกรรมโลก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งชาติจีน รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยากร และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ในนามของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดิฉันมีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาเป็นประธานกล่าว เปิดเวทีวิชาการไทย-จีน ครั้งนี้ ในหัวข้อ “กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณาการเมืองกับชนบท” ในวันนี้ ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งตลอด 47 ปีที่ผ่านมา และจะ เข้าสู่ปีที่ 48 ในปีนี้ ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น มีการขยายความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อสร้างอนาคตแห่งโชคชะตาและสันติภาพร่วมกัน สาธารณรัฐประชาชนจีนได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนกลายมาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในชนบทให้พ้นขีดความยากจนได้อย่างน่าทึ่ง ขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทาง เศรษฐกิจ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการยกระดับรายได้และสร้างเศรษฐกิจในระดับฐานรากทั้งเมืองและ ชนบทเพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน เช่นกัน จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และไทยจะร่วมกันเรียนรู้และแบ่งบันประสบการณ์ของกันและกัน ทบทวนบทเรียนการพัฒนาที่ผ่านมาเพื่อมอง หากระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ นำประเทศให้ก้าวต่อไปสู่ความมั่งคั่งและยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชน
  • 7. 7 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะที่เป็นผู้นำการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลกและยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชน จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ด้วยเหตุนี้ จึง สนับสนุนให้มีการจัดเวทีวิชาการไทย-จีนขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานทั้งสองประเทศ ในโอกาสนี้ จึงขอขอบคุณ Institute for International and Area Studies (IIAS) มหาวิทยาลัยชิง หวา สาธารณรัฐประชาชนจีน, ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, และสถาบันคลัง ปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ที่ได้ร่วมมือกันจัดการประชุมในครั้งนี้ ผ่านระบบออนไลน์โดยใช้แอพพลิเคชั่น Zoom และเผยแพร่ให้กับนักวิชาการผู้สนใจและผู้กำหนดนโยบายทั้งในประเทศไทยและสาธารณประชาชน จีนได้รับฟัง จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลจากการประชุมในวันนี้ จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์ความรู้ ที่จะนำไปต่อยอดในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบทอย่างยั่งยืนต่อไป รวมทั้ง สร้างสายสัมพันธ์ทางวิชาการไทย-จีนให้มีความเข้มแข็งและแน่นแฟ้นขึ้น สุดท้ายนี้ ดิฉันขอให้เวทีวิชาการไทย-จีน ในครั้งนี้ ในหัวข้อ “กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่: บูรณา การเมืองกับชนบท” ดำเนินการลุล่วงไปด้วยดี ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ดังที่คาดหวังทุก ประการ ขอบคุณค่ะ
  • 8. 8 กระบวนทัศน์การฟื้นฟูชนบทจีนยุคใหม่ โดย Prof.Li Xiaoyun (Ph.D.) Honorary Dean of College of International Development and Global Agriculture, China Agricultural University กรรมการที่ปรึกษารัฐบาลจีนด้านขจัดความยากจน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของ WB, ADB, UN วันนี้จะเเบ่งปันประสบการณ์ครับ ในอดีตที่ผ่านมาประมาณสัก 70 ปีที่ผ่านมา ที่จีนเกิดการ เปลี่ยนแปลงใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่ง ก็คือเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนในสมัยก่อน ประชากรร้อยละ 95 อาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งปัจจุบันมีไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ไม่ถึงร้อยละ 50 ที่อาศัยอยู่ในชนบท ใน ขณะเดียวกันก็อาศัยอยู่ในเมือง ดังนั้น มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งที่ 1 กับการเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งก็คือ ประชากรที่มี ความยากจนลดน้อยลงอย่างมหาศาล ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ 2 ประการ เป็นประเด็นที่ทำให้เรา ทบทวนและเป็นความท้าทายว่า “จีนทำได้อย่างไร” ภายในระยะเวลาสั้นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล 2 ครั้งนี้ ทำให้ประชากรที่มีความยากจนลดน้อยลง ซึ่งผมอยากจะแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมอง 3 ด้าน ประการแรก คือ เราต้องเข้าใจว่าการลดความยากจนกับการพัฒนามันเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่สามารถ ที่จะบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลาสั้นๆ 1 วัน 2 วัน ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ดังนั้น เราก็ คือ “จีน” ที่เป็น ประเทศจีน ที่เพิ่งเริ่มมีการแก้ไขปัญหาความยากจนตั้งแต่ค.ศ. 1949 ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา ประเทศจีน เกิดการเปลี่ยนแปลงจากจีนที่เคยมีความยากจนยากแค้น ซึ่งในสมัยนั้นก็คือ เศรษฐกิจแบบการวางแผนจาก รัฐบาลส่วนกลางไม่สามารถที่จะมีเกิดการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างเศรษฐกิจ
  • 9. 9 ดังนั้น ตั้งแต่ค.ศ. 1949 ถึง 1978 เป็นเศรษฐกิจแบบวางแผนจากรัฐบาลส่วนกลาง ตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของจีนอย่างที่เราเข้าใจคือเป็นการปฏิรูป การปฏิรูปนั้นมี หลายด้านด้วยกัน ด้านที่สำคัญก็คือ การปฏิรูปชนบทกับการปฏิรูปการเกษตร ด้านที่ 1 ที่จีน ดำเนินการก็คือ การปฏิรูปการเกษตร ด้านที่ 2 คือที่ประเทศจีนมีการลงทุนในเรื่องโครงการศึกษา ลงทุนในเรื่องของการรักษาพยาบาล ดังนั้น ก่อน ค.ศ. 1978 จริงๆ จีนก็ได้มีการปูพื้นฐานที่ดี เพื่อที่จะไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญที่สุด ของจีนได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการเตรียมบุคลากรเอาไว้ เนื่องจาก ประเทศจีนมีประชากรมีจำนวนมาก และในขณะเดียวกันอย่างที่ผมได้กล่าวไปว่าที่จีนมีการลงทุนในด้าน การศึกษาเป็นการเตรียมบุคลากรอย่างดี ด้านที่ 3 เป็นการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ ค.ศ. 1949 - 1978 จีนได้พัฒนาระบบ ชลประทาน สามารถที่จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณอยู่ที่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทางการเกษตร มีการพัฒา ระบบชลประทาน ซึ่งอันนี้เป็นการเตรียม 3 ประการ คือ เตรียมบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน และการศึกษา เพื่อที่จะเป็นรากฐานสู่การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ จริงๆ ก็คือ การปฏิรูปก็เป็นวิวัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ ค.ศ. 1978 เป็นปีที่ประเทศจีนเปิดประเทศ ทำให้ประเทศจีนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบกลไก การตลาดอย่างรวดเร็ว หลังจาก ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา จีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเป็นการต่อยอดจากการพัฒนาการ เกษตรแบบดั้งเดิม อันนี้ก็มีการเพิ่มศักยภาพมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้การเกษตรมีเกิดผลผลิตอย่างมี ประสิทธิภาพกับมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร มีการพัฒนาแล้วทำให้เพิ่มผลการผลิตทาง การเกษตรไปจนถึงปลายๆ ปีทศวรรษ 1980 ทำให้การพัฒนาการเกษตรทีจีนกับโดยเฉพาะในชนบทเริ่มเข้าสู่ วาระที่มีการลดความยากจน ชาวชนบทที่มีความยากจนต่อเนื่องจากตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา มีการปฏิรูปมี การสะสมทุนพอสมควร ดังนั้น ทุนทรัพย์ต่างๆ ที่จีนสะสมเอาไว้มีการกระจายไปสู่การพัฒนาชนบทมากพอสมควรซึ่งตั้งแต่ ทศวรรษที่ 1980 ที่เรา เรียกว่าเป็นช่วงที่ 1 ที่จีนเริ่มจะเข้าสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและลดความ ยากจนในชนบท เมื่อเศรษฐกิจของจีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประเทศจีนก็ผลักดันการปฏิรูปในชนบทอย่าง ต่อเนื่องจากการใช้แรงงานในชนบท ให้คนชนบทเหล่านี้สามารถที่จะไปหางานทำในเมืองหรือเมืองใกล้ชนบท ณ ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 300 ล้านคน อพยพจากชนบทไปทำงานในเมืองจากประชากรภาคการเกษตร ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ทำให้เหล่านี้สามารถที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นหลุดพ้นจากความยากจน เนื่องจากว่าอุตสาหกรรมที่เข้าไปทำ ไม่ว่าเป็นภาคอุตสาหกรรม หรือภาคบริการต่างๆ ทำให้มีประสบการณ์ และสะสมทุนระดับหนึ่งทำให้ประชากรที่อยู่ในชนบทกับคนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชนบทนั้นมีประชากรลด น้อยลง ทำให้ประชากรที่ยังคงอยู่ในชนบทนั้นจะมีประชากรลดน้อยลง ก่อนซึ่งเกิดจากแรงผลักดันและแรง ดึงดูดทำให้คนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชนบทนั้นมีศักยภาพที่พัฒนาดีขึ้นมีรายได้เพิ่มขึ้น อันนี้คือ เป็นการพัฒนา ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์แล้ว ภายใต้การปฏิรูปของจีน อันนี้เป็นช่วงหนึ่ง
  • 10. 10 ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนเพิ่มการลงทุนในชนบทเพื่อที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนชนบท ไม่ว่า ด้านการศึกษาและรักษาพยาบาลทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้สวัสดิการทางสังคมมีการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน สิ่ง ที่เราต้องชี้แจงให้เห็นว่าเมื่อมีการพัฒนาความเป็นเมืองเป็นอุตสาหกรรมเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่มีปัญหาที่ เกิดขึ้นอย่างนั้น คือการพัฒนาที่ไม่สมดุลกับมีความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในชนบทเหลื่อมล้ำในเรื่อง ของรายได้ มีการขยายช่องว่างเพิ่มมากขึ้น ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่ 2 ของการลดความยากจน หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่ 3 คือทำอย่างไรให้มีการบรรเทาความยากจน ในขณะเดียวกัน ลดช่องว่างระหว่าง เหลื่อมล้ำทางรายได้ กรณีนี้เป็นช่วงที่ 3 ดังนั้นในช่วงที่ 3 เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือว่าจะทำอย่างไรให้ลด ช่องว่างความเหลื่อมล้ำในชนบทให้แคบลง ตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะใน ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา เราได้ใช้นโยบายการแก้โจทย์ ตรงเป้าทำให้แก้ไขข้อจำกัด ซึ่งเป็นข้อจำกัดเพื่อการเพิ่มรายได้ของคนในชนบท เป็นข้อจำกัดในเรื่องของการลด ช่องว่างเหลื่อมล้ำให้แคบลง ดังนั้น ต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพซึ่งอาจจะเป็นกลไกที่มีอยู่ของรัฐบาลจีน ใช้กลไกของรัฐสามารถที่จะไปแก้ไขหรือไปควบคุมด้วยมาตรการต่างๆ ไปทำลายข้อจำกัดเหล่านี้ เพื่อที่จะลด ช่องว่างทางรายได้ นอกจากทางรายได้ยังมีความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ ไม่ว่าโอกาสเข้าถึงการศึกษา โอกาสเข้าถึง การรักษาพยาบาลหรือโอกาสเข้าถึงการจ้างงาน ทำให้โอกาสเหล่านี้สามารถที่จะกระจายไปสู่ทุกกลุ่มในชนบท จนถึง ค.ศ. 2020 ยุทธการเอาชนะความยากจนได้รับชัยชนะการทำให้ประชาชนสามารถหลุดพ้นจากความ ยากจน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศจีนก็หนีไม่พ้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของจีน ซึ่ง ใช้เวลาระยะหนึ่งพอสมควร ใช้เวลาระยะหนึ่งประมาณตั้งแต่ ค.ศ. 1949 เป็นการทำกันอย่างต่อเนื่อง ด้วยการ พัฒนากับเพิ่มรายได้ด้วยการปฏิรูปในเกษตรกร แล้วเพิ่มแรงจูงใจกับในเกษตรกร ทำให้สร้างเงื่อนไขต่างๆ เพื่อ อำนวยต่อการสร้างรายได้ทำให้ประชาชนมีความมั่งคั่งในชนบท ซึ่งอันนี้ถือได้ว่ามันเป็นแนวคิดหรือเป็น กระบวนทัศน์ที่จีนใช้อยู่ ดังนั้นเราจะเน้น 2 ตัวคือ 1. เน้นการพัฒนาสำหรับเพิ่มรายได้ การขับเคลื่อนด้วยระบบกลไกการตลาด สร้างเพิ่มรายได้ให้แก่ เกษตรกร ต้องมีการแรงขับเคลื่อนและการขับเคลื่อนคือ การพัฒนาการเกษตร พัฒนาการเกษตร ชนบทสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรม 2. ใช้มาตรการแทรกแซง ของรัฐเพราะรัฐบาลใช้กลไกเข้าไปแทรกแซงในการทำลายเงื่อนไขหรือข้อจำกัด ต่างๆ ในการ พัฒนาของชนบท ดังนั้น การแก้ไขปัญหาความยากจนก็สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในช่วงที่ 3 ที่บอกว่าแก้ไขความยากจนด้วย ในขณะเดียวกันแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางโอกาส การจ้างงานการศึกษาเหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์การแก้จนของจีน ถ้าอยากจัดการแก้ไขความ ยากจนถึงรากถึงโคนกรณีนี้คือ ต้องมีการพัฒนาสามารถที่จะสร้างรายได้เพิ่มรายได้ ดังนั้น เพื่อให้มีการพัฒนา อย่างมีประสิทธิภาพสูงต้องมีกลไกของรัฐเข้าไปแทรกแซงประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากว่าเวลาวันนี้มีข้อจำกัดก็ไม่ สามารถที่จะแบ่งปันรายละเอียดมากกว่านี้ครับ ซึ่งผมอาจจะให้กระบวนทัศน์หรือแนวคิดคร่าวๆ เช่นนี้ ขอขอบพระคุณครับ
  • 11. 11 Q&A และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คุณยุวดี คาดการณ์ไกล: ขอเรียนเชิญอาจารย์ Xu Jin ผู้ช่วยของ Prof.Li Xiaoyun จะเข้ามาตอบคำถามแทน อาจารย์ Prof.Li Xiaoyun ขอให้อาจารย์ดร. Xu Jin ได้ตอกย้ำและอธิบายเพิ่มเติมเรื่องการพัฒนาชนบทของจีนมากขึ้น ดร. Xu Jin : ต้องขอขอบพระคุณทุกท่าน จริงๆ แล้ว Professor Li Xiaoyun ก็อธิบายได้ชัดเจน ซึ่งดิฉันก็อยากจะ เน้นย้ำนิดหนึ่งว่า ช่วงการแก้ไขความยากจนคือตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ไปจนถึง ค.ศ. 1978 ตอนนี้ถึงช่วงนี้ เรา อาจจะเรียกว่าเป็นช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เป็นการผลักดันการเติบโต ไม่ว่าตั้งแต่โปรแกรมลงทุนใน การศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานสู่การพัฒนา ในช่วงที่ 2 ในช่วงนี้ตั้งแต่ค.ศ. 1949 - 1978 สังคมมีความเหลื่อมล้ำน้อยมาก จริงๆ ก็คือ มีความเท่า เทียมกันเสมอภาคตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นต้นไป ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่มีการเติบโต ทางเศรษฐกิจของจีนแล้วก็เป็นช่วงที่เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ หลังจากนั้นก็เป็นช่วงที่ 3 ที่บอกว่าเป้าหมายที่สำคัญก็คือว่า มีการลดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ นั่น ก็คือในช่วงที่ 2 การพัฒนาที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงเป็นผลพลอยทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำใน สังคมต่างๆ จึงเป็นเป้าหมายที่ 3 ก็จนถึง ค.ศ. 2020 จีนสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายการแก้ไขปัญหาความ ยากจนให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน ตั้งแต่ ค.ศ. 2022 เป็นต้นมา เราใช้คำว่า “การฟื้นฟูความเจริญ ในชนบท” ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้คำว่าลดความยากจน จริงๆ เราก็สำเร็จ จากการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างสุด ขีดไปแล้ว จริงๆ แล้วก็คือมาตรฐานความยากจนของจีนสูงกว่ามาตรฐานโดยเฉลี่ยของสากลโลก ตั้งแต่ ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา เราจะใช้คำว่า “การฟื้นฟูความเจริญของชนบท” ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบใหม่แล้วจะใช้คำ แปลกใหม่ แต่อย่างนั้นก็แล้วแต่ ความเหลื่อมล้ำหรือการพัฒนาไม่สมดุลระหว่างเมืองกับชนบทก็ยังมีอยู่ ไม่ว่า ในภาคบริการต่างๆ เนื่องจากประเทศจีนกว้างใหญ่ไพศาลแต่ละภูมิภาคมีความเหลื่อมล้ำอยู่ค่อนข้างพอสมควร อย่างเช่น ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกก็มีความแตกต่าง จริงๆ โครงสร้างของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่าง อย่างเช่น ในภาคตะวันตกและภาคตะวันออก อันนี้ก็ คือ เป็นการพัฒนาไม่สมดุลระหว่างเมืองกับชนบท ในขณะเดียวกัน ในเมืองเดียวกันก็จะมีความพัฒนาความไม่ สมดุลก็ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ ซึ่งเป้าหมายหลัก ๆ เราจะใช้คำว่า “มั่งคั่งไปด้วยกัน” อันนี้ก็จะเป็นเป้าหมายใน หลังปี 2020 ขอบคุณค่ะ รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ: ผมคิดว่าสิ่งที่ผมอ่านตามเรื่องการแก้ปัญหาของทางจีนมาตลอด สิ่งที่ผมประทับใจก็คือทางจีนเขา เข้าถึงครัวเรือน ผมก็เสนอรัฐบาลมาก่อนแล้ว ว่าอยากจะให้รัฐบาล นำหลักการ 3-1 มา ใช้ 3-1 คือ อะไรครับ
  • 12. 12 1 หมู่บ้าน 1 นักวิจัย นักวิชาการ และ 1 ข้าราชการ ทำงานร่วมกันครับ และดูว่าหมู่บ้านนั้นมีปัญหาความ ยากจนเกิดจากอะไรจะได้แก้เป็นจุดๆไป แต่ก็รู้สึกว่าไม่มีใครยอมรับ เท่าที่จีนเขาทำสำเร็จซึ่งจีนไม่ใช่แค่ 1 หมู่บ้านแต่มีการทำไประดับย่อยถึงครัวเรือน 4-10 ครัวเรือน ประการต่อมาคือว่า ในการแบ่งปันโอกาส ชัดเจน ว่าโอกาสที่สำคัญที่สุดคือ โอกาสทางการศึกษา โอกาสการได้รับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้คนชนบทก็ ตามแต่ แม้แต่คนงานก็ตามแต่ คนงานอยู่ในโรงงานมีโอกาสจะรับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องน้อย ทั้งที่ขณะนี้เรา เป็นประเทศทุนนิยมก่อนจีน โดยใช้เศรษฐกิจตลาดก่อนจีน และช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราบอกว่าถ้าค่าจ้างบ้าน เราขึ้น เราจะไปลงทุนเมืองจีนแต่ ณ วันนี้ไม่ใช่ วันนี้ค่าจ้างในจีนสูงกว่าเราประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ครับ มันมี แต่จีนที่ย้ายทุนมาเมืองไทย เพราะค่าจ้างมันถูกกว่า ถ้าถามว่าเกิดอะไรขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อเราพัฒนาเศรษฐกิจตลาดมาก่อนจีนถึง 20 ปี แต่ทำไมค่าจ้าง ของไทยเฉลี่ยแล้วต่ำกว่าจีนเพราะอะไร? อันนี้เป็นโจทย์ที่ถาม เราบอกว่าจีนเป็นคอมมิวนิสต์อย่างนู้นอย่างนี้ อย่างนั้น พอเขาเปิดเศรษฐกิจตลาดขึ้นมา เขาสามารถยกระดับรายได้ของจีนไปได้ไกล และตอนนี้ผมทราบว่า จีนเขาจะหันมาพึ่งตลาดภายในมากขึ้น ถึงแม้เขาจะเป็นประเทศส่งออกก็จริง แต่เขาจะกลับมาพึ่งตลาดภายใน มากขึ้น ปรับดุลยภาพระหว่างตลาดภายในกับภายนอกหันมาพึ่งตลาดภายในมากขึ้น ซึ่งข้อเสนอนี้ ผมเสนอมา 20 ปีแล้ว ตั้งเเต่เราเจอวิกฤต พ.ศ. 2540 คงบอกถึงเวลาที่เราต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้พึ่งตลาดภายใน กับตลาดภายนอกคู่กันไป ให้มากขึ้นพอๆ กัน ไม่ใช่ว่าเอาแต่การส่งออกอย่างเดียว แต่ว่าเราก็ยังไม่ได้ทำเพราะ การพึ่งตลาดภายในมากขึ้นเร็วๆ เราต้องทำให้คนในประเทศมีรายได้มากขึ้น โดยเฉพาะคนงานและเกษตรกรมี รายได้มากขึ้น เพราะการที่คนเหล่านี้มีรายได้มากขึ้นมันจะทำให้การบริโภคดีขึ้น และลากจูงเศรษฐกิจได้มาก ขึ้นครับ คุณยุวดี คาดการณ์ไกล: ขอให้อาจารย์ Xu Jin สรุปบทเรียนที่ได้จากโครงการที่อาจารย์ Li Xiaoyun พานักศึกษาลงไปทำงาน พัฒนาชุมชน และได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาของชุมชนนั้นในเชิงเป็นกรณีศึกษาของการพัฒนา ชุมชน มีโมเดลการพัฒนาอย่างไร และมีข้อจำกัดอย่างไรของการพัฒนาฟื้นฟูชนบทของจีน ดร. Xu Jin : จริงๆ อาจารย์ Li Xiaoyun ไม่ใช่แค่เป็นนักวิชาการแต่เป็นนักปฏิบัติด้วย จริงๆ ของเราก็มี Social Lab ก็มีการขับเคลื่อนกับการแก้ไขปัญหาความยากจนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนเผ่า ชนกลุ่มน้อย อยู่ ระหว่างชายแดนจีนกับประเทศลาว เราใช้โมเดล “การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน” ในการแก้ไขปัญหาความยากจน เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร เรามีแนวความคิด เมื่อมีความคิดแล้วก็นำสู่การปฏิบัติ แต่ว่าก็คือต้องใช้กองทุนการ พัฒนาหรือกองทุนการแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อที่จะผลักดันแนวคิดของเราสู่การปฏิบัติ ก็ซึ่งถือว่ามันเป็น สิ่งที่น่าท้าทายแล้วก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง หลังจาก ค.ศ. 2020 เป็นต้นไป เป็นช่วงที่การฟื้นฟูความ เจริญรุ่งเรืองของชนบท ซึ่งตอนนี้เรามาขยายผลไปถึง 20 กว่าชนบท ซึ่งอาจจะมีการทำ Social Lab มีการ ทดลองในโมเดลต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งเราทดลองที่คุนหมิง คุนหมิงถือเป็นเมืองใหญ่ของภาคตะวันตกเฉียงใต้
  • 13. 13 ซึ่งเราอยากจะไปขับเคลื่อนในคุนหมิง แล้วให้คุนหมิงไปขยายผลกระจายการพัฒนาไปสู่ชนบทต่างๆ ของ คุนหมิง เหมือนกับเป็นคล้ายๆ เป็นเมืองบริวาร ขับเคลื่อนการพัฒนา ดังนั้น เราทำให้มีการสร้างเครือข่าย ให้ คนในชนบทสร้างเป็นเครือข่ายได้ ไปประสานกับเมืองใหญ่นั่นก็คือคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองใหญ่ให้ได้ ประเทศจีนให้ความสำคัญในเรื่องของ 3 ประการ นั่นก็คือ เกษตรกร ชนบท และการเกษตร เราเอา ผลประโยชน์ของเกษตรกรไว้เป็นอันดับ 1 อย่างเช่น เราหาวิสาหกิจ 1 แห่งแล้วเป็นพี่เลี้ยง และไปศึกษาความ เป็นไปได้ในการเปิดวิสาหกิจชุมชนในชนบท ซึ่งนั่นก็คืออาจจะเป็นการประสานงานเหมือนกับเป็นพี่เลี้ยง ใน กระบวนการนี้บางทีเกษตรกรจะไม่ค่อยเข้าใจ ไม่มีความรู้ทักษะในการประกอบอาชีพต่างๆ ซึ่งบางทีเขาจะ เข้าใจว่าสิ่งที่เขามีก็อาจจะเป็นแค่เป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหาร เขาไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพต่างๆ หรือบางทีเขาอาจจะแค่เอาที่ดินเป็นทรัพย์สินให้เช่าให้มีรายได้ เขาไม่ค่อยเปลี่ยน mindset ไปเป็น ผู้ประกอบการ ดังนั้น สิ่งที่เราทำนั้นก็คือว่าเราให้ความรู้และก็พยายามที่จะให้เกษตรกรตระหนักถึงการสร้าง มูลค่าเพิ่ม เขาอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน สามารถที่จะทำให้สินทรัพย์ที่เขามีอยู่สามารถที่ จะสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าเป็นที่ดินอะไรต่างๆ ในขณะเดียวกัน เราก็เน้นสร้าง SE เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และให้ผลไปต่างๆ คงไว้ที่ชนบท ให้เกษตรกรมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างเช่น ในเรื่องของการแปรรูปสินค้า เกษตร ทำอย่างไรให้มีความรู้ในการแปรรูปในการเกษตร ขณะเดียวกัน ขยายช่องทางการขายและผลประโยชน์ นั้นก็ตกอยู่ที่เกษตรกร ตกอยู่ที่ชนบท ดังนั้น เราก็อาจจะต้องมีมาตรการดึงดูดคนหนุ่มสาว ซึ่งจบการศึกษา เมืองใหญ่กลับไปเป็นผู้ประกอบการ เป็น CEO ในวิสาหกิจชุมชน สามารถที่จะใช้ความรู้ที่เขามีอยู่แปรรูปสินค้า การเกษตร ขณะเดียวกันขยายช่องทางการขาย ทำให้ธุรกิจในชนบทสามารถที่จะมีชีวิตชีวา แล้วก็มีการจัดสรร ผลประโยชน์ที่เหมาะสม ให้ผลประโยชน์นั้นตกอยู่ที่เกษตรกร ตกอยู่ที่ชนบท รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ: สิ่งที่ทางจีนทำกับชนบท กับชุมชนชนกลุ่มน้อย เหมือนกับโครงการเครือข่ายเศรษฐกิจสมานฉันท์ที่ผม กำลังทำอยู่ใน 6-7 จังหวัด ต่างกันตรงที่ว่าเราทำโดยภาคประชาชนล้วนๆ ถูกแรงกดดันจากธุรกิจ แล้วก็ไม่ได้ รับการสนใจรัฐบาล เงื่อนไขที่จีนดีกว่าเรามากในการไปช่วยกระตุ้นชุมชน เพราะรัฐสนับสนุนเต็มที่ แต่ที่ผมทำ ทำด้วยตัวเองล้วนๆ 5 จังหวัด แล้วก็เหมือนที่ว่าเขาไม่มีความคิดในเชิงการประกอบการ เราพยายามทำให้เขาเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ นี้ ถ้าเราใช้ความรู้ใส่เข้าไปเราสามารถเพิ่มมูลค่าได้ แต่แค่ว่าจะ ทำผลิตภัณฑ์ดูดีก็ยังทำไม่ได้เลยครับ หมู่บ้านที่ผมลงไปทำเองต้องไปนั่งจับมือสอน ไม่มีใครช่วยเลยอันนี้ เป็น ข้อจำกัดมากๆ ในสังคมไทย เราไม่มีราชการที่มีจิตอาสาลงไปคลุกคลีกับชาวบ้านเหมือนจีน เราจะทำอย่างไรให้ข้าราชการที่มีคนจำนวนมากมีจิตใจ มีจิตอาสา ที่จะไปพัฒนาจริงๆ คลุกคลีกับเขา เพื่อยกระดับความคิดครับ ต้องเปลี่ยนความคิดคน จีนตั้งใจทำแบบนั้น แต่ว่าเราไม่มีนโยบายจากใครที่ต้องการ ให้คนไปทำเช่นนั้น ไปอยู่ ไปคลุกคลีกับชาวบ้าน เพื่อเปลี่ยนแปลงชาวบ้านให้ดีขึ้นเ ราไม่มีโครงการนี้จริงๆครับ นอกจากทำกันเองตามจิตอาสาแต่ละคน
  • 14. 14 คุณยุวดี คาดการณ์ไกล: จริงๆ อย่างที่อาจารย์ Li Xiaoyun พูดว่ามี Social Lab ประเทศไทยก็น่าจะทำ Social Lab ได้ไหม รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ: สิ่งที่ผมทำอยู่จริงๆ ก็คือ Social Lab ผมใช้คำนี้มา 10 กว่าปีแล้ว หมู่บ้านแรงงานที่ผมทำ ผมไปก็ เรียนรู้ไป แก้ปัญหาไป โครงการเครือข่ายเศรษฐกิจสมาฉันท์ที่เริ่มมา 3 – 4 เดือน กำลังทดลองขาย ตอนนี้ ยอดขายประมาณ 2 หมื่นบาทต่อวัน เรียนรู้ไปทำไป ก็เป็น Social Lab เปลี่ยนสารตัวนี้ใส่ขวดนั่นนี่ ทดลองไป เรื่อยๆ แต่ทำไปบนข้อจำกัด ไม่มีอุปกรณ์และงบประมาณ พึ่งตัวเองล้วนๆ จีนเขามีบุคลากร มีอุปกรณ์ มี งบประมาณให้ทำ แต่เราไม่มี เราอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของระบบทุนนิยม ถ้าลงไปทำแล้วไม่มีกำไร ไม่มีใครทำ อย่างพวกเราลงไปทำ เรายินดีขาดทุน แต่เราก็รับความคิดของในหลวง ร.9 ว่า “ขาดทุนคือกำไร” ขาดทุนของ เราแต่กำไรของสังคม เรายินดีทำ ทำอย่างไรให้ราชการคิดว่าการขาดทุนของเราแต่กำไรของสังคม ถ้าราชการ คิดอย่างนี้ก็ไปต่อได้ครับ เพราะมีอุปกรณ์ มีงบประมาณที่จะทำ คุณยุวดี คาดการณ์ไกล: ขอเรียนถามอาจารย์ Xu Jin งบประมาณที่อาจารย์ Li Xiaoyun ไปทำที่คุนหมิงใช้งบประมาณของ ใคร เป็นโครงการวิจัย หรือเป็นงบประมาณจากรัฐบาลให้ทำ ดร. Xu Jin : ที่จีนเป็นแบบนี้ ส่วนใหญ่รัฐบาลจีนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายงบประมาณ อาศัยงบประมาณของหน่วยงาน กระทรวงต่างๆ ที่รับผิดชอบในการฟื้นฟูความเจริญชนบท ยังเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล ส่วนใหญ่ก็จะ เป็นผู้บริหารในระดับอำเภอรับผิดชอบในการผลักดันนโยบาย ตอบสนองนโยบายส่วนกลาง บทบาทของ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็จะเป็นแผนงาน รวมไปถึงวิธีการบริหารการจัดการ ซึ่งจะทำไป ปรับปรุงวิธีการหรือ แนวคิดไป งบประมาณส่วนใหญ่ก็จะมาจากรัฐบาล นอกจากนั้น เราก็จะมีบูรณาการการใช้ทรัพยากร ใช้งบประมาณของภาคสังคม ส่วนหนึ่ง แต่หลักๆ ก็ คือ งบประมาณของรัฐ และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตอนนี้สถานการณ์โควิดก็ผ่อนคลาย แล้วก็อยากจะลงไป ศึกษาในชนบทต่างๆ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะ อาจจะมาศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านี้เราก็ได้จัด Forum แลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเข้าใจว่านักวิชาการของไทยเองก็มีประสบการณ์แก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย สถานการณ์โควิดผ่านพ้นไปแล้ว การเดินทางจะสะดวกมากขึ้น ซึ่งเราก็หวังเป็นอย่างที่ว่ามีโอกาสที่จะเดินทาง มาประเทศไทยเพื่อไปศึกษาความรู้เพิ่มเติม
  • 15. 15 เศรษฐกิจภาคประชาชนของไทย: โอกาสและข้อจำกัดบนเส้นทางทุนนิยม รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จีนเริ่มต้นจากการปฏิรูปภาคเกษตร ผมจำได้ว่า เมื่อผมศึกษาเรื่องจีนผมประจำในยุคที่ เติ้ง เสี่ยวผิง ท่านพูดสี่ทันสมัย เกษตรทันสมัย อุตสาหกรรมทันสมัย เทคโนโลยีทันสมัย กองทัพทันสมัย เราจะเห็นชัดเจนได้ ว่า ในประเทศจีนการเริ่มต้น เริ่มต้นจากฐานราก การจะทำให้เกษตรทันสมัยแปลได้ว่า ฐานรากของจีนอยู่ที่ ภาคเกษตรมาก่อน ซึ่งไม่ต่างจากไทยเพราะฐานรากของเราอยู่ที่ภาคเกษตร แต่วิชาเศรษฐศาสตร์ที่เราสอนกัน ในประเทศไทย ผมมีความรู้สึกว่าออกจากกำหนดทิศทางแตกต่างกันไป ถ้าถามว่าทำไมถึงแตกต่างกันไป ผมอยากจะอ่านคำประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 สิ่งแรกที่เขาพูดแล้วก็บังคับให้รัฐบาลปฏิบัติต่างๆตามกัน การเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยจะ ทำได้อย่างมีผลดีโดยความพยายามของฝ่ายเอกชน ทั้งนี้โดยทางฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมแทนที่ รัฐบาลจะเป็นฝ่ายเข้าทำการพัฒนาเอง ดังนั้น แนวทางสำคัญที่สุดของแผนการรัฐบาลจึงได้แก่การส่งเสริมให้มี ความเจริญเติบโตในภาคเอกชนโดยรัฐบาลจะทุ่มเททรัพยากรของจังหวัดเข้าไปในโครงการ ที่ผมอ่านอยู่มันเป็น การบอกว่าการ เริ่มต้นพัฒนาประเทศของเราไม่ได้ปักหมุดไว้ที่การปฏิรูปเกษตรเป็นเบื้องต้นหรือเคียงคู่กันมา กับการปฏิรูปอุตสาหกรรม พูดง่ายๆว่าเราปักหมุดอุตสาหกรรมเป็นหลักปักหมุดไปที่เอกชนเป็นหลัก ไม่ได้ปัก หมุดว่าเกษตรกับอุตสาหกรรมเคียงคู่กันไปเหมือนที่จีนวางจุดไว้ ทั้งๆที่ในวิชาเศรษฐศาสตร์ตอนนี้มีความเข้าใจ ในประเทศไทย ผมรู้สึกว่ามันออกจะแคบ แคบคืออะไรครับ เวลาเราถามว่าเราศึกษาเศรษฐศาสตร์หรือเราเรียน เศรษฐศาสตร์เรียนอย่างไร หลายคนมักจะมองว่าการ ศึกษาเศรษฐศาสตร์คือ เน้นไปที่การค้า การลงทุน การ
  • 16. 16 หากำไร จากการค้าการลงทุนเป็นหลัก พอพูดอย่างนี้มันทำให้สมองเราในถูกปรับไปสู่ภาคธุรกิจเป็นหลัก แต่ จริงๆ วิชาเศรษฐศาสตร์มันเป็นวิชาการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ มันกว้างกว่าคำว่า การค้า การลงทุน ทีนี่พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ เริ่มต้นคือ การบริโภค การจับจ่ายใช้สอย เมื่อเราบริโภคแล้วเราต้องทำ การผลิตและการ ผลิตคืออะไร ฉะนั้น การผลิตที่เราศึกษากันโดยให้ความคิดไปทางภาคเอกชน การผลิตจึง กลายเป็นการทำธุรกิจร่วมงานสถานประกอบการเท่านั้น แต่ในพื้นฐาน basic knowledge พื้นฐานที่สุดของ การผลิตคือ การใช้พลังแรงงาน หมายถึง กำลังกายบำรุงสมองของเรา แต่ปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆให้เกิดผลผลิต เพื่อบริโภคได้นั้นคือการผลิต ไม่ได้หมายถึงเรื่องโรงงานเท่านั้น แต่ว่าเราถูกคิดเห็นอย่างนั้นตลอดเวลา เมื่อเรา มีการผลิตแต่เราผลิตเองไม่ได้ เราก็ต้องทำสิ่งที่เราผลิตไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เราอยากจะได้ เราเรียกว่า การค้า ขายแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้น พฤติกรรมทางเศรษฐกิจจะมีด้วยกัน 3 ด้าน คือ การบริโภค การผลิต การ แลกเปลี่ยน ฉะนั้น วิชาเศรษฐศาสตร์มันเป็นความรู้เรื่องการบริโภคลึกมาก แต่เรามักจะไม่เห็นเศรษฐศาสตร์เรื่อง การบริโภค จนลืมพื้นฐานเรื่องนี้ไปเลย ดังนั้นพฤติกรรม 3 ด้านของมนุษย์ จะนำไปสู่เรื่องการจัดสรรทรัพยากร นำไปสู่การกระจายผลิตภัณฑ์และสินค้า นำไปสู่การกระจายรายได้ในรูปของค่าเช่ารูป เรื่องดอกเบี้ย เรื่อง ค่าจ้าง เรื่องกำไร การนำไปสู่ 3 อย่าง ในภาษาของเศรษฐศาสตร์หรือภาษาของ บิดาทางเศรษฐศาสตร์ของ อดัม สมิธ 3 อย่างนี้คือ การสร้าง nation คือ “การสร้างความมั่นคงของชาติ” ความมั่นคงของชาติมาจาก พฤติกรรมการ บริโภค พฤติกรรมการผลิต การขาย การแลกเปลี่ยนของมนุษย์ จึงทำให้เกิดการ 3 อย่างที่ว่า การจัดสรร ทรัพยากรติดตามสินค้าและการกระจายรายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเข้าใจที่ไปวางไว้ที่ธุรกิจเอกชนมันจึงทำให้ เราไม่ค่อยคิดถึงการบริโภค รองลงมาจากการค้าจากเอกชนการขยายภาครัฐ และก็มาจากภาครัฐ ซึ่งภาครัฐจะ มีการสร้างถนน สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
  • 17. 17 การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกมันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำธุรกิจที่ทำต่อกันมา แต่ในการสร้างสิ่ง อำนวยความสะดวกต่างๆจะเน้นไปที่บุคคลคนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็คือภาคเอกชน ทำให้ เกิด exynos หรือว่าการกระจาย การประหยัดจากภายนอก หรือรัฐบาลจัดการให้ ตั้งแต่เราพัฒนาเศรษฐกิจมาตั้งแต่แผนที่1 เราไม่เคยปักหมุดว่าจะต้องปฏิรูปภาคเกษตร ทีนี้เวลาเราจะพัฒนาเศรษฐกิจ เราก็ลืมคิดไปว่าในระบบเศรษฐกิจมันมี 3 ภาคส่วน คือ 1. ภาคธุรกิจ 2. ภาคเศรษฐกิจของรัฐหรือเศรษฐกิจมหภาค 3. ภาคประชาชน ในสามภาคนี้ จะมีส่วนทับซ้อนกันอยู่เช่นว่า ผสมระหว่างรัฐกับประชาชน คือ ภาครัฐกับประชาชน เช่น กองทุนหมู่บ้าน ส่วนผสมระหว่างธุรกิจกับประชาชน คือ ธุรกิจชุมชนวิสาหกิจชุมชน เพราะฉะนั้น ในส่วน สามส่วนก็จะมีภาคนี้ผสมอยู่ แต่ส่วนที่เป็นภาคประชาชนล้วนๆ เรามักจะไม่พูดถึง ทำไมผมจึงให้ความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจกับภาคประชาชน เพราะเวลาเราจะดูว่าเศรษฐกิจไทยจะ เติบโตมาอย่างไรเรามักจะดูที่ GDP พอเราดูก็พบว่าโดยเฉลี่ยประมาณ พบว่า GDP ไทยมันถูกสร้างขึ้นมาจาก การบริโภคครัวเรือนถึง 50% ในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนที่เราเน้นกันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามันได้ไม่เกิน 23% นั่นแปลว่าภาคธุรกิจที่เราทุ่มเทกันมาตลอดวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เราเรียนกันมาก็มักจะเน้นไปทางนี้ กำไร ขาดทุนของธุรกิจไมโครของธุรกิจมันสร้าง GDP ไม่เกิน 23% มันไม่ถึงครึ่งของการบริโภคของครัวเรือน แล้ว
  • 18. 18 ภาครัฐลงทุนตรงนั้นตรงนี้เอาเงินภาษีไปใช้สร้างนั่นสร้างนี้ เอาเข้าจริงๆ มันสร้าง GDP ได้ประมาณ 14% แล้ว เราจะเห็นในเศรษฐกิจไทยเราพยายามที่จะบอกว่าเราเป็นประเทศส่งออกเป็นหลัก ตั้งแต่ผ่านแผนพัฒนาฯ สังคมฉบับที่ 3 เป็นต้นมา เราก็เน้น export oriented เน้นการส่งออกเป็น หลัก เราคิดว่ามันจะเป็นตัวลากจุงเศรษฐกิจของเรา ก็ไม่ผิดที่จะคิดเช่นนี้ แต่เราลองกลับมาดูว่าการค้า เศรษฐกิจของเรามันสร้าง GDP ได้มากน้อยแค่ไหน ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือในสูตรการคำนวณการ เติบโตทางเศรษฐกิจ ในคำว่าส่งออกเราไม่ได้ส่งออกอย่างเดียว แต่เราคิดที่จะดุลการค้าต่างหาก ดุลการค้าคือ การคิดที่จะมูลการส่งออกลบด้วยมูลค้าการนำเข้า เพราะฉะนั้น การส่งออกมากเท่าไหร่แต่ถ้าการนำเข้า มากกว่ามันก็จะไม่ลากจุงให้ GDP โตขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามักจะพูดกันว่าการส่งออกของเราเท่านั้นเท่านี้แต่เรา มักจะไม่พูดว่าการขยายตัวกับการนำเข้าเท่าไหร่ เฉพาะฉะนั้น สมองของคนมักจะไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ถูกเปลี่ยน ถูกกล่อมเกลา ถูกทำให้คิดว่าการ ส่งออกสำคัญที่สุด แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ที่สุด แถมมันจะไปเหนี่ยวรั้งการเติบโต GDP ปี 2565 ตัวเลข 9 เดือนของปีที่แล้วเราขาดดุลการค้าประมาณ 6 แสนกว่าล้าน ถ้าทั้งปีของปี 2565 ประมาณเกือบๆ 8 แสนล้าน ถ้าการส่งออกนั้นคือการนำเงินเข้าประเทศ แน่นอนว่าการนำเงินเข้ามันจะช่วยกระตุ้นประเทศช่วยกระตุ้น GDP แน่นอน แต่การที่เรานำเข้ามากแต่เงินไหลออกมากจะทำให้ฉุด GDP ลง ตัวส่งออกฉุด GDP ขึ้น ผู้นำเข้า ฉุด GDP ลง และสุทธิก็จะเหลือแค่ 34% แล้วปี 2565 เราขาดดุลการค้าแปลว่าตัวฉุดมันเยอะกว่าตัวเพิ่ม เพราะฉะนั้น เวลานักธุรกิจพูดหรือ รัฐบาลพูดก็ตาม เราพูดแต่ด้านการส่งออกเราไม่พูดด้านการนำเข้า แล้วถ้าลงลึกลงไปอีกเราจะะพบว่าผู้ส่งออก หลักๆ เช่น รถยนต์ที่ผ่านมาปี 2 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่ส่งออกเยอะที่สุด แล้วถ้า ถามว่าบริษัทส่งออกเป็นของใคร คือ บริษัทลูกจีน บริษัทลูกญี่ปุ่น พวกนี้หมด
  • 19. 19 แล้วมันสำคัญที่ว่าในกติกาการนำเงินเข้าธนาคารที่ไทยบอกว่า ถ้าเราขายของแล้วได้ไม่เกิน 1 พันล้าน ดอลลาร์ไม่ต้องนำกลับประเทศก็ได้ ถ้าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์บางส่วนไม่ต้องนำกลับประเทศก็ได้ สมมติจะ เป็นบริษัทหรือคนต่างประเทศหรือคนไทยก็ได้ เราส่งออกผลไม้สัปดาห์ละครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 1 ล้านดอลลาร์ 4 สัปดาห์ 4 ล้านดอลลาร์ 1 ปี 48 ล้านดอลลาร์ ถ้าคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 14,000-15,000ล้านบาท เพราะฉะนั้น เรามองการส่งออกมองตัวเลขแบบหยาบๆ เราไม่ดูให้ลึกๆ ว่าการส่งออกมันเท่าไหร่ ภาพแบบนี้ มันจะทำให้เราเน้นธุรกิจมากเกินไป ไม่ใช่ว่าไม่ดีแต่มันจะทำให้ละเลยในส่วนที่สำคัญมากเกินไป คือ การบริโภค ของครอบเรือน เราไปปักหมุดว่าการส่งออกเป็นการเพิ่ม GDP การเพิ่ม GDP คือการลงทุนของต่างประเทศ เรา นั้นสร้างนิคมอุตสาหกรรมสารพัดที่เราจะสร้างขึ้นมาแต่ เรามักจะเน้นเรื่องการปฏิรูปเกษตรเรามักจะไม่เน้น รายได้ของการเกษตรเรามักจะไม่เน้นรายได้ของคนงาน เพราะรายได้ของเกษตรรายได้ของคนงานมันกลายเป็น รายได้หลักของครัวเรือน ตัวเลขหยาบๆ ที่ผมอ่านจากสภาพัฒน์ หรือจากสำนักงานสถิติก็ตาม พบว่า รายได้ประชาชาติของไทย 41% มาจากค่าจ้าง อีก 37% มาจากอาชีพอิสระ อาชีพอิสระที่สำคัญที่สุดคือ ภาคการเกษตร ฉะนั้น ตัวหลัก มาจากค่าจ้าง ตัวรองมาจากรายได้เกษตรกร รวมกันได้ 78% นั่นแปลว่ามันเป็นกำลังซื้อของเกษตรกรกับ แรงงาน และกำลังซื้อสร้าง GDP ได้ 50% หมายความว่า เศรษฐกิจภาคประชาชนมันเป็นพระเอกในการสร้าง ของชาติ แล้ว เราให้ความสนใจกับเศรษฐกิจภาคประชาชนมากน้อยแค่ไหน ฉะนั้น การที่เราไปเน้นจุดรอง มากกว่าจุดหลัก แล้วเน้นจุดหลักมากกว่าจุดรองจึงทำให้เกิดความผิดเพี้ยนในการพัฒนาประเทศ ผิดเพี้ยน อย่างไร ผลได้จากการพัฒนามันจะไปกองอยู่ในภาคธุรกิจที่ผมเรียกภาคทุนนิยม มันจึงทำให้เกิดความเหลื่อม ล้ำทางรายได้สูงมาก เมื่อ 2ปีที่แล้ว (ค.ศ. 2021) Credit Suisse เขาจึงบอกว่าคน 1% ในประเทศไทยครอง ทรัพย์สินและรายได้ 68% และคนอีก 99% ในประเทศไทยครองรายได้ทรัพย์สินเพียง 32% เท่านั้น เปรียบเสมือนว่าคน 100 คน มีเงิน 100 บาท ใน100 บาทคนแรกเอาไปแล้ว 68บาท อีก 99 คน ได้คนละ 32 บาท แปลว่ามันเหลื่อมล้ำมากเกินไป และความเหลื่อมล้ำนี้มันก็แพร่กระจายไปสู่ความเหลื่อมล้ำอื่นๆ จึงทำให้ สังคมไทยเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงความไม่เป็นธรรมกับความเหลื่อมล้ำในสังคม ดูที่จีน ในช่วงที่ 3 ช่วงที่จีนบอกว่าพัฒนาเศรษฐกิจตลาดมากขึ้น เขารับชัดเจนว่ารัฐจะเข้าไปแทรกแซง จัดการ คำว่ารัฐของจีนมี 2 ตัว คือ รัฐคือรัฐบาลที่คนรู้จักกันทั่วไป กับ รัฐที่อยู่เบื้องหลังรัฐบาล คือ พรรค คอมมิวนิสต์ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีจุดยืนตลอดมาว่าประชาชนเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ก่อรูปมาจากธุรกิจ แต่ใน บ้านเราพรรคทุกพรรคมันก่อรูปมาจากทุน ก่อมาจากธุรกิจ แล้วมันก็ไปรองรับแผนพัฒนาฯ ที่บอกว่าธุรกิจ เอกชนเป็นตัวหลัก รัฐจะต้องทุ่มเงินทุกอย่างเพื่อสนับสนุนเอกชน ดังนั้น พรรคต่างๆ ที่มาจากพรรคทุนมันก็ สอดรับพอดีกับรัฐราชการที่ต้องการส่งเสริมเอกชนหรือธุรกิจ ฉะนั้น รัฐบาลในประเทศไทยจึงไม่กล้าแทรกแซง ธุรกิจแต่รัฐบาลในไทยจะคล้อยตามธุรกิจเป็นด้านหลักแล้วก็ลืมหรือให้ความสำคัญน้อยกว่าเศรษฐกิจภาค ประชาชน เพราะฉะนั้น ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นเราจะเห็นได้ชัดเจนเริ่มจากรายได้ทรัพยสินที่มันเกิดขึ้นมากๆ จึงนำไปสู่เรื่องสิทธิ์เรื่องโอกาสเรื่องอำนาจและการตัดสินมนุษย์ รวมกันแล้ว 5 มิติที่เกิดในความเหลื่อมล้ำ ซึ่ง ถ้าโยงแบบนี้องศาที่มันเปลี่ยน องศาที่มันแตกต่างระหว่างจีนกับไทยคือ จุดเน้นของการพัฒนา
  • 20. 20 จุดเน้นของการพัฒนาของไทยเราเริ่มที่ภาคเอกชนเป็นหลัก องศาก็เริ่มแตกต่างกัน พอนานเข้า 60 ปี ผ่านไป จากความแตกต่างที่แคบๆ ระหว่างภาคเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมพอนานเข้าก้เริ่มบานปลายขึ้น เรื่อยๆ ในขณะที่จีนก็รู้ตัวว่าเกษตรทันสมัย อุตสาหกรรมทันสมัยต้องควบคู่กันไปและรัฐก็แทรกแซงไม่ให้ห่าง กันมาก แต่ก็แทรกแซงแล้ว แต่พอเปิดตลาดใหม่ รู้สึกว่าห่างกันมาก จึงเริ่มกลับมาทบทวนกันใหม่ว่ามันห่างกัน เกินไปแล้ว ถ้าจีนสามารถทุบโต๊ะได้ว่าทุนใหญ่สามารถทำอย่างนี้ได้ ถ้าไม่ทำเราไม่ยอม อย่างเช่น ALIBABA หรือธุรกิจนายทุนใหญ่ถึงกับซึม เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ในจีนเขากล้าที่จะแทรกแซงธุรกิจ แต่ของเราไม่ใช่ของ เราอำนาจรัฐถูกครอบงำด้วยอำนาจธุรกิจ มันจะต่างกันกับจีนตรงนี้ จีนมีอำนาจรัฐเหนือธุรกิจสามารถทุบโต๊ะให้ธุรกิจทำตามได้ แต่ในสังคมไทยอำนาจธุรกิจใหญ่กว่า อำนาจรัฐ เพราะถ้าเป็นยุคเลือกตั้งพรรคการเมืองก็มาจากพรรคธุรกิจล้วนๆ รัฐบาลปัจจุบันเป็นนักราชการแต่ก็ ต้องอาศัยธุรกิจเป็นหลัก เพราะฉะนั้น ความเหลื่อมล้ำจึงมาก การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน รัฐก็หัน มาสนใจแต่เป็นการปฏิบัติมันไม่สามารถแก้ปัญหาเท่ากับจีนได้เลย ยกตัวอย่าง นโบายแก้ปัญหาความยากจน เราใช้วิธีการ คือ การลด แลก แจก แถม พรรคการเมืองก็หาเสียงใน เรื่องการลดแลกแจกแถม แต่ผมดูฝั่งจีนเขาลงรายละเอียดไปถึงครอบครัวว่าครอบครัวไหนชุมชนไหนมันเกิด ปัญหาอะไรขึ้นมา และปัญหาแต่ละปัญหามันไม่ได้เกิดจากเรื่องเดียวกันไ ม่ได้ชุมชนเดียวกัน มันแก้เป็น ประเด็นๆ ไป ภายในชุมชนและครอบครัวเกิดจากปัญหาอะไรก็ต้องแก้กันไป ของเรามีลักษณะว่าเสื้อตัวเดียวใส่ ได้ทุกคน เราจำเป็นต้องตัดเสื้อให้พอดีกับคนสวม หรือว่าเราต้องวางมาตรฐานแก้ไขปัญหาความยากจนแต่ละ ชุมชนแต่ละครอบครัวไปถึงจะแก้ได้เหมือนที่จีนทำ แต่ว่าเราไม่ใช่ พอเราไม่ใช่เราก็ต้องอาศัยกลไกรัฐบาลเข้า ไปแทรกแซง แต่พอดูเหมือนว่าการแทรกแซงของรัฐในไทยในเรื่องนี้ค่อนข้างอ่อนแรง ไม่กล้าแตะธุรกิจ ลงไป แก้ไขปัญหาความยากจน วางมาตรการรวมๆ เขาเรียกว่า การลดแลกแจกแถม เพราะฉะนั้น ในการแก้ปัญหาไปถึงรากถึงโคนมันคือภาครัฐไม่ใช่ภาคประชาชน ภาคประชาชนคือการ ที่มีจิตอาสาลงไปชุมชนนี้ หมู่บ้านนี้ มีปัญหาอย่างนี้เราต้องแก้อย่างนี้ ซึ่งก็มีน้อยคนเพราะว่าคนที่จะทำอย่าง นั้น มันเป็นจิตอาสาหรือทรัพยสินเงินทองหรืออุปกรณ์ที่นำไปใช้มีน้อย อย่างที่ผมไปพัฒนาหมู่บ้านแรงงานแค่ 60-70 ครัวเรือน เลือดตาแทบกระเด็น เพราะว่าเราไม่มีอุปกรณ์ทั้งสิ้น แต่เรามีจิตใจ ในขณะที่ถ้าเราใช้อำนาจ รัฐเข้าไปทำ มีงบประมาณ มีเครื่องมือ มีกำลังคน แต่ความรู้สึกผมคือว่าผู้มีอำนาจรัฐ ผู้มีอำนาจราชการสิ่งที่ ขาดคือใจ ภาคประชาชนขาดทุกอย่างแต่ที่มีคือใจ เพราะฉะนั้น การสร้างหมู่บ้านมั่นคงแรงงานสังคมเพื่อน หรือขณะนี้ที่ผมกำลังทำกับผู้ช่วยของผมคือ การสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจสมานฉันท์ ดึงเอาภาคแรงงานกับภาค เกษตรมาจับมือกัน เพราะตัวอย่างมันชัดเจนแล้วว่าการบริโภคครัวเรือน ครัวเรือนหลักก้คือแรงงานกับ เกษตรกรเป็นผู้สร้างเศรษฐกิจหลักในการพัฒนา GDP ของไทย แรงงานนั้นเป็นผู้กินเงินเดือน วันๆ ก็อยู่แต่ในโรงงานเป็นผู้ซื้อ เกษตรกรเป็นผู้ผลิต เราก็พยายามที่จะ เอาผลผลิตเกษตรกรมาสู่กำลังซื้อของแรงงานเชื่อมกันตรงนั้น เราพยายามจะไม่ผ่านธุรกิจให้มันมากหนัก ตรงนี้ เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าในความเหลื่อมล้ำ คณะกรรมการปฏิรูปซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้น มีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ส่วนผมเป็นกรรมการ เมื่อเราไปดูปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในความไม่เป็นธรรม แล้วถ้าเราจะ เริ่มนับหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ได้โดยตรงไหนในสังคมไทย เพราะพรรคการเมืองเป็นรัฐกองทุน รัฐเป็นรัฐราชการ