SlideShare a Scribd company logo
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์
เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
จัดทำโดย
นายภูมินทร์ จันทานวน
นางสาวธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ที่ปรึกษาโครงงาน
นางสาวธัญญลักษณ์ เลิศมีศิลศรัทธา
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ห้องเรียนพิเศษ
ในโครงการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการนักเรียนห้องเรียนพิเศษ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 9
เครือข่ายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2563
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์
เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
จัดทำโดย
นายภูมินทร์ จันทานวน
นางสาวธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ที่ปรึกษาโครงงาน
นางสาวธัญญลักษณ์ เลิศมีศิลศรัทธา
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า ก
หัวข้อเรื่อง : อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ผู้จัดทำ : 1. นายภูมินทร์ จันทานวน
2. นางสาวธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่ปรึกษาโครงงาน : นางสาวธัญญลักษณ์ เลิศมีศิลศรัทธา
สถานศึกษา : โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บทคัดย่อ
วิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ฉบับ
นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประดิษฐ์คิดค้นระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID แบบสแกนบัตร 2)
เพื่อทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 3) เพื่อเปรียบเทียบการทำงานของ
ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID กับการเช็คชื่อนักเรียนด้วยการขานชื่อนักเรียนแบบปกติ จาก
การศึกษาค้นคว้าข้อมูล การใช้เทคโนโลยี RFID หรือเทคโนโลยีแสดงตัวตนที่สามารถอ่านข้อมูลได้ใน
ปริมาณมาก พร้อมกับการใช้โปรแกรม excel ซึ่งเหมาะกับการรวบรวมและวิเคราะห์คะแนน หรือ
ข้อมูลประเภทตัวเลขได้ง่าย และ Application LINE ที่ช่วยในการอัพเดทข้อมูลได้ในทันที อีกทั้ง
เทคโนโลยีเหล่านี้ยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันทางอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบข้อมูล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทำโครงงาน คือ กลุ่มนักเรียนและอาจารย์ภายในโรงเรียนโดยมี
การทดสอบในด้านการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ทั้งการบันทึกข้อมูลจำนวน
นักเรียนลงใน Google Sheet และการทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์ และการ
ทดสอบเปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียนในห้องเรียน
จึงสรุปผลการทดลองได้ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้ มีการอัพเดตข้อมูล
ลงออนไลน์ ระบบบันทึกการ์ดมีความแม่นยำในการอ่านแท็ก RFID และบัตรทุกใบที่นักเรียนได้สแกน
บัตรเข้าอุปกรณ์แล้ว มีการขึ้นแจ้งเตือนอาจารย์ในกลุ่มไลน์ทุกคนตามวันเวลาที่นักเรียนมาสแกนบัตร
เข้าเรียน และการสแกนบัตรเป็นการสแกนก่อนที่นักเรียนจะเข้าเรียนในคาบทุกครั้งจึงไม่กินเวลาใน
คาบเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาได้มากกว่าการขานชื่อนักเรียนเพื่อเช็คชื่อที่จำเป็นต้องใช้เวลาใน
คาบเรียน ขานชื่อและทำการบันทึกจำนวนนักเรียน
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า ข
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID นี้สำเร็จลุล่วงไปได้
ด้วยดี เนื่องจากทางคณะผู้จัดทำได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูธัญญลักษณ์ เลิศมีศิล
ศรัทธา คุณครูที่ปรึกษาโครงงานที่ได้สละเวลาให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็น และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการ
จัดทำโครงงานในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งคณะผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณครูพิชญา พลศิริ ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา คำแนะนำ และ
ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่คณะผู้จัดทำ ซึ่งทำให้โครงงานฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้ในวิชาต่าง ๆ ซึ่งคณะผู้จัดทำได้
นำมาใช้ประโยชน์ในโครงงานฉบับนี้ ขอขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
สำหรับกำลังใจและความช่วยเหลือที่มีให้มาตลอด
สุดท้ายขอขอบพระคุณ บิดา มารดา และครอบครัว ที่ได้ช่วยเหลือ ให้การส่งเสริม สนับสนุน
และเป็นกำลังใจที่สำคัญยิ่ง ตลอดจนทำให้การทำโครงงานในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จไปได้อย่างลุล่วง
คณะผู้จัดทำโครงงาน
อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า ค
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 11
วิธีการดำเนินงาน 12
วิธีการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ 13
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 16
ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 17
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน 19
ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ 21
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการดำเนินงาน 22
อภิปรายผลการดำเนินงาน 24
ประโยชน์ที่ได้รับ 24
บรรณานุกรม 26
ภาคผนวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 1
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ
ในปัจจุบัน การเรียนเกือบทุกวิชาและทุกสถาบันจะมีการตรวจสอบการเข้าเรียนของนักเรียน
หรือนิสิต เพื่อเป็นคะแนนเก็บหรือคะแนนช่วย โดยแต่เดิมนั้นอาจารย์ตรวจสอบการเข้าเรียนของ
นักเรียนโดยการตรวจนับ หรือขานชื่อนักเรียน หรือให้นักเรียนเซ็นชื่อตัวเองลงในกระดาษ หรือสมุดที่
อาจารย์ได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งการตรวจนับ ขานชื่อ หรือการให้นักเรียนเซ็นชื่อของตัวเองลงในกระดาษ
จะทำให้เกิดการทุจริตได้ง่าย เช่น การนับจำนวนนักเรียนที่เข้าห้องเรียน นักเรียนบางคนอาจอยู่ในมุม
ที่อาจารย์ไม่เห็น ทำให้ไม่สามารถนับได้อย่างถูกต้อง หรือการที่จะให้นักเรียนเซ็นชื่อลงในกระดาษ
หรือสมุดที่เตรียมไว้ให้ ในส่วนนี้ นักเรีนจะสามารถเขียนชื่อให้นักเรียนอีกคนที่ไม่ได้เข้าชั้นเรียนได้
อย่างง่ายดาย ซึ่งจะทำให้ตรวจสอบได้ยาก หลังจากเก็บรายชื่อนักเรียนเข้าชั้นเรียนเรียบร้อยแล้ว
อาจารย์ก็จะต้องมาทำการหาจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนและรวบรวมคะแนนการเข้าชั้นเรียนให้กับ
นักเรียนทุกคนทำให้อาจารย์ต้องใช้เวลานานในการรวบรวมคะแนน และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดใน
การรวมคะแนนได้ง่าย
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล คณะผู้จัดทำได้ข้อมูลดังนี้
เทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทันสมัยทำให้อุปกรณ์หลายรูปแบบ มีฟังก์ชันที่ดีกว่าเครื่องเช็คชื่อรุ่นเดิม มี
ครบภายในอุปกรณ์เครื่องเดียว อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแลนไร้สาย (Wireless) และหน้าจอแสดงผลไว้
ในเครื่องเดียว เครื่องอ่านรหัสบัตร RFID ก็สามารถอ่านบัตรได้ด้วยความถี่เฉพาะ และปัจจุบันนี้การ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถทำได้ง่าย และทำงานร่วมกับโปรแกรมได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น
Application LINE โปรแกรม excel จากข้อมูลข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงเน้นการศึกษาเรื่องการใช้
เทคโนโลยี RFID หรือเทคโนโลยีแสดงตัวตนที่สามารถอ่านข้อมูลได้ในปริมาณมาก พร้อมกับการใช้
โปรแกรม excel ซึ่งเหมาะกับการรวบรวมและวิเคราะห์คะแนน หรือข้อมูลประเภทตัวเลขได้ง่าย
และโปรแกรมหรือ Application LINE ที่ช่วยในการอัพเดทข้อมูลได้ในทันที อีกทั้งเทคโนโลยีเหล่านี้
ยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันทางอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบข้อมูล
กลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดที่จะทำโครงงานเรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ขึ้นเพื่อ
ช่วยในการบันทึกการเข้าชั้นเรียนโดยใช้ RFID มาเป็นตัวแปรสำคัญที่นักเรียนจำเป็นต้องแสดงบัตร
ประจำตัวของตนเองเพื่อบันทึกข้อมูล และข้อมูลที่ได้จะทำการบันทึกในโปรแกรม excel ซึ่งเชื่อมต่อ
กับอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย พร้อมกับแสดงเวลาใขณะนั้น
เพื่อให้นักเรียนและอาจารย์ทราบเวลาการเข้าเรียน
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 2
คำถามการวิจัย
ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID สามารถช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้รวดเร็วกว่า และ
ช่วยสรุปข้อมูลและตรวจสอบได้ง่ายกว่าการเช็คชื่อแบบปกติหรือไม่
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อประดิษฐ์คิดค้นระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID แบบสแกนบัตร
2. เพื่อทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
3. เพื่อเปรียบเทียบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID กับการเช็คชื่อ
นักเรียนด้วยการขานชื่อนักเรียนแบบปกติ
ขอบเขตของการศึกษา
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ขอบเขตการทำงานของระบบ
1. ลักษณะการทำงาน คือการใช้ RFID แท็กการ์ดเป็นบัตรประจำตัวนักเรียนสแกนที่ตัว
อุปกรณ์อ่านแท็ก จากนั้นข้อมูลจะส่งไปที่ตารางแบบออนไลน์บนคอมพิวเตอร์
2. แท็ก RFID ที่ใช้จะเป็นแบบการ์ด ความถี่ 13.56 Mhz ซึ่งสามารถติดข้อมูลลงบนหน้าบัตร
ได้ตามที่ต้องการ ในการทำโครงงานนี้ คณะผู้จัดทำจะใช้เป็นรูปแบบบัตรประจำตัวนักเรียน เพราะมี
ข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนอย่างครบถ้วน
3. การทดสอบการทำงานของระบบ คือการทดลองให้นักเรียนจำนวนหนึ่ง (จำนวน 23 คน
หรือ 1 ห้องเรียน) สแกนบัตรในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนคาบแรกของวัน จากนั้นตรวจสอบว่าผลการ
วิเคราะห์จำนวนนักเรียนถูกต้องหรือไม่ และมีการอัพเดทข้อมูลลงออนไลน์หรือไม่
4. กรณีนักเรียนนักเรียนไม่สามารถมาเข้าคาบเรียนได้ (มาสาย ลากิจ ลาป่วย หรือทำ
กิจกรรมนอกห้องเรียน) จะต้องมีการแจ้งครูที่ปรึกษาผ่านทางไลน์เพื่อให้อาจารย์ลงชื่อนักเรียนไว้ใน
Google Spreadsheet
ตัวแปรต้น วิธีตรวจสอบรายชื่อนักเรียนเข้าชั้นเรียน (ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียน)
ตัวแปรตาม ระยะเวลาในการเช็คชื่อ และข้อมูลที่ได้จากการเช็คชื่อ
ตัวแปรควบคุม จำนวนนักเรียนที่มาเรียน (ขาด ลา มาสาย)
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 3
ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
สมมติฐาน ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้ มีการอัพเดตข้อมูลลงออนไลน์
ตัวแปรต้น ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ตัวแปรตาม ข้อมูลที่บันทึกได้และการสรุปข้อมูล
ตัวแปรควบคุม จำนวนข้อมูลจากแท็กที่ทดสอบ
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน
สมมติฐาน ระบบเช็คชื่อด้วย RFID สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วกว่าโดยไม่กินเวลาใน
คาบเรียนไป
ตัวแปรต้น ระบบเช็คชื่อด้วย RFID
ตัวแปรตาม ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลและสรุปข้อมูล
ตัวแปรควบคุม จำนวนนักเรียนในห้องเรียน, รูปแบบ RFID แท็กการ์ดที่นักเรียนใช้
ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์
สมมติฐาน ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้จริง และสามารถสรุปข้อมูลได้
ตัวแปรต้น ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ตัวแปรตาม ระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบ
ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาที่ใช้, จำนวนคาบเรียนที่นักเรียนจะเข้าเรียน
2. ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาที่ในการทำโครงงานฉบับนี้ ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2563
นิยามศัพท์เฉพาะหรือนิยามเชิงปฏิบัติการ
RFID แท็กการ์ด หมายถึง แท็กคลื่นความถี่ RFID แบบการ์ด ความถี่ 13.56 MHz ซึ่งแท็กแต่
ละตัวก่อนนำไปใชงานจริงจะมีการใช้ลงทะเบียนไว้ก่อนเพื่อยืนยันบัตรที่ใช้งาน
การเช็คชื่อนักเรียนแบบปกติ หมายถึง การตรวจสอบชื่อนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนด้วยการขาน
ชื่อนักเรียนแล้วบันทึกข้อมูลลงในกระดาษ
RFID module หมายถึง เครื่องอ่านแท็ก RFID ที่คอยรับสัญญาณคลื่นวิทยุจากแท็ก
Arduino หมายถึง บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ประเภทอาร์ดูโน
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 4
Library RFID หมายถึง ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของอาร์เอฟไอดีโมดูล (เครื่องอ่านแท็ก
อาร์เอฟไอดี) เป็นโปรแกรมสำหรับรับข้อมูลหมายเลขแท็กที่ได้รับลงเครื่องคอมพิวเตอร์
Google sheet หมายถึง แผ่นงานที่มีลักษณะเป็นช่องตารางสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับการจัดเรียง
ข้อมูลและคำนวณเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นนผ่านทางออนไลน์ได้
Script Setup หมายถึง ตัวตั้งค่าโปรแกรมสำหรับกูเกิลสามารถใส่โค้ดเพิ่มเติมเพื่อจัดการ
การทำงานของ Google sheet ได้
LINE BOT หมายถึง ฐานข้อมูลเชื่อมต่อแอปพลิเคชันไลน์โดยใช้ Google sheet เป็น
ฐานข้อมูลเพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันไลน์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ระบบบันทึกการเข้าเรียนจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเช็คชื่อนักเรียน เนื่องจากเช็ค
ชื่อด้วยการสแกนบัตร ทำให้ไม่ต้องมีการขานชื่อ หรือบันทึกข้อมูลลงกระดาษที่อาจผิดพลาดได้ง่าย
2. ช่วยให้นักเรียน อาจารย์ และผู้ปกครองสามารถติดตามข้อมูลการเข้าชั้นเรียนได้ง่าย โดย
จะการแจ้งเตือนนักเรียนที่เช็คชื่อแล้วผ่าน Mobile Application
3. ช่วยให้นักเรียนสามารถตรวจสอบข้อมูลได้สะดวก โดยการดูข้อมูลผ่านทาง Online
4. ช่วยอำนวยความสะดวกในการสรุปวิเคราะห์และรายงานนักเรียนที่เข้าเรียนได้ทันที
5. การตรวจสอบจำนวนนักเรียนเข้าเรียนมีความแม่นยำมากขึ้น ข้อมูลไม่สูญหายเพราะมีการ
เก็บสำรองข้อมูลออนไลน์ และนักเรียนทำการทุจริตได้ยาก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 5
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม modem คล้ายกับ
Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ e-mail สามารถ
สืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็
ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมี
ถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง เช่น
ไทยมี Chulanet KSC Infonews เป็นต้น มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล
2. หลักการทำงานของ RFID
อาร์เอฟไอดี (RFID ย่อมาจากคำเต็มว่า Radio frequency identification ) เป็นวิธีการในการ
เก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ
ผ่านทางคลื่นวิทยุ แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า
สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับ
ข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้
รูปที่ 2.1 อุปกรณ์ของ RFID
แท็ก (Tag) โครงสร้างภายในของแท็กจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ขดลวดขนาดเล็กซึ่ง
จะทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna)
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 6
สำหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ และสร้างพลังงาน ป้อนให้ส่วนของไมโครชิพ
(Microchip) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุ เช่น รหัสสินค้า โดยทั่วไปตัวแท็กอาจอยู่ในชนิดทั้งเป็น
กระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำไปติดและมี
หลายรูปแบบเช่น ขนาดเท่ากับบัตรเครดิต เหรียญ กระดุม ฉลากสินค้า แคปซูล เป็นต้น ส่วนในเรื่อง
ของโครงสร้างและราคาจะแบ่งชนิดของ Tag เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. Passive RFID Tag คือ เป็นแท็กที่ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใด ๆ เพราะภายในจะมี
วงจรเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กอยู่ ฉะนั้นการอ่านข้อมูลได้ไม่ไกลนัก ระยะไม่เกิน 1 เมตรขึ้นอยู่กับ
ความแรงของเครื่องส่งและคลิ่นความถี่วิทยุ หน่วยความจำขนาดเล็ก 16 – 1,024 ไบร์ท ส่วน IC
(Integrated circuits) จะควบคุมโครงสร้างเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ
2. Active RFID Tag คือ เป็นแท็กที่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายนอกเพื่อจ่าย
พลังงานให้กับวงจรภายในทำงานซึ่งจะมีหน่วยความจำได้ถึง 1 เมกะไบร์ท การอ่านข้อมูลได้ไกลสูงสุด
10 เมตรซึ่งแท็กชนิดนี้สามารถแบ่งประเภทย่อยๆ ได้อีก ดังนี้
1. สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ (Read-Write)
2. สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ
3. สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read–only)
เสาส่งสัญญาณ RFID Reader คือส่วนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่เป็นหัวอ่าน โดยหน้าที่หลักคือ
อุปกรณ์ที่สามารถรับค่า หรืออ่านค่า เพื่อนำเข้าสู่อุปกรณ์ใด ๆ เช่น หัวอ่าน อาร์เอฟไอดีของทาง
FEDA หรือ หัวอ่านที่อยู่กับเครื่อง Access Control
หลักการทำงานเบื้องต้นของ RFID
1. Reader จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาตลอดเวลา และคอยตรวจจับว่ามี Tag
ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการคอยตรวจจับว่ามีการมอดูเลต
สัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่
2. เมื่อมี Tag ข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Tag จะได้รับพลังงานไฟฟ้าที่เกิด
จากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้ Tag เริ่มทำงาน และจะส่งข้อมูลใน
หน่วยความจำที่ผ่านการมอดูเลตกับคลื่นพาหะแล้วออกมาทางสายอากาศที่อยู่ภายในแท็ก
3. คลื่นพาหะที่ถูกส่งออกมาจากแท็กจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแอมปลิจูด, ความถี่ ขึ้นอยู่
กับวิธีการมอดูเลต
4. Reader จะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นพาหะแปลงออกมาเป็นข้อมูลแล้ว
ทำการถอดรหัสเพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 7
รูปที่ 2.2 เสาส่งสัญญาณ RFID Reader
3. บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ประเภทอาร์ดูโน
Arduino เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์บอร์ดแบบสำเร็จรูปในยุคปัจจุบัน ซึ่งถูกสร้างมาจาก
Controller ตระกูล ARM ของ ATMEL ข้อดีของไมโครคอนโทรลเลอร์บอร์ดคือเรื่องของ Open
Source ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้และความสามารถในการเพิ่ม Boot Loader
เข้าไปที่ตัว ARM จึงทำให้การ Upload Code เข้าตัวบอร์ดสามารถทำได้ง่ายขึ้น และยังมีการพัฒนา
Software ที่ใช้ในการควบคุมตัวบอร์ดของ Arduino มีลักษณะเป็นภาษา C++ ที่โปรแกรมเมอร์มี
ความคุ้นเคยในการใช้งาน ตัวบอร์ดสามารถนำโมดูลมาต่อเพิ่ม ซึ่งทาง Arduino เรียกว่าเป็น shield
เพื่อเพิ่มความสามารถเพิ่มขึ้น
รูปที่ 2.3 Arduino Board
4. กูเกิลสเปรดชีต (Google Spreadsheet)
สเปรดชีต (spreadsheet) หรือแผ่นตารางทำการ คือ แผ่นงานที่มีลักษณะเป็นช่องตาราง
สี่เหลี่ยม ใช้สำหรับการจัดเรียงข้อมูลและคำนวณเป็นหลัก มีโปรแกรมสเปรดชีต (spreadsheet) ที่
เป็นที่นิยมอยู่มากมาย แต่สเปรดชีต (spreadsheet) ออนไลน์ของ Google เป็น Application ที่ใช้
งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถสร้างสเปรดชีต (spreadsheet) ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น
ข้อมูลผลการเรียนของนักเรียน บัญชีรายจ่าย เป็นต้น สามารถสร้างแผนภูมิเพื่อนำเสนอข้อมูล รวมไป
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 8
ถึงฟอร์มหรือแบบสอบถามออนไลน์สำหรับเก็บข้อมูล ทั้งยังสามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นได้แก้ไขและ
ทำงานร่วมกันในสเปรตชีตสเปรดชีต (spreadsheet) ของตนได้
รูปที่ 2.4 Google Spreadsheet
5. แอพพลิเคชันไลน์ (Line)
ไลน์ หมายถึง แอพพลิเคชั่นสำหรับการสนทนาบน อุปกรณ์การสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น สมาร์ท
โฟน คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต (Tablet) ผู้ใช้สามารถสื่อสารด้วยการพิมพ์ ข้อความจากอุปกรณ์การ
สื่อสารเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ไลน์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถหลากหลายเพื่อรองรับ
การใช้งานของผู้ใช้หลายๆ ด้าน จุดเด่นที่ทำให้ไลน์แตกต่างกับ แอปพลิเคชันสำหรับการสนทนา
รูปแบบอื่นๆ คือ รูปแบบของ “สติ๊กเกอร์” (Sticker) ที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ที่
หลากหลาย เช่น สติ๊กเกอร์แสดงความรู้สึกขั้นพื้นฐาน สติ๊กเกอร์ตามเทศกาลและวันสำคัญ สติ๊กเกอร์
ของตราสินค้า ต่างๆ และสติ๊กเกอร์การ์ตูนที่มีชื่อเสียงเป็นต้น
6. Line Bot
LINE BOT คือ Line@ Account ที่ใช้ LINE Message API ซึ่งเป็น API ของ LINE ซึ่งเปิด
ให้บริการแก่นักพัฒนาที่ Line Business Center (https://business.line.me) โดยเจ้าของ LINE@
จะทำโปรแกรมไว้เบื้องหลังเพื่อให้ LINE@ Account นั้นสามารถตอบโต้กับการสนทนาได้โดย
อัตโนมัติ (ไม่ใช่คนมาพิมพ์ตอบเองนะ) ดังนั้นข้อความที่เราสนทนากับ LINE Bot จะเป็นการตั้ง
โปรแกรมไว้ล่วงหน้าทั้งสิ้น เพราะเมื่อใช้ LINE Message API แล้ว LINE@ Account นั้น จะไม่
สามารถสนทนาโต้ตอบโดยการใช้คนพิมพ์ได้ รวมทั้งวิธีการสร้าง LINE@ Account ก็จะมีขั้นตอนและ
วิธีการที่แตกต่างกันด้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 9
รูปที่ 2.5 LINE BOT
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การสร้างระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วย QR Code
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วยระบบ QR Code
ในรายวิชาศึกษาทั่วไป 2) เพื่อศึกษาผลการประเมินการใช้ระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วยระบบ
QR Code ในรายวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลล้านนาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาศิลปะการใช้ชีวิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำ นวน
ทั้งหมด 113 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินผลการใช้
ระบบตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบที่สร้างขึ้นสามารถใช้ได้ง่าย ลดระยะเวลาในการขานชื่อ
เข้าชั้นเรียนได้มาก ระบบที่สร้างขึ้นมี 5 ขั้นตอน คือ (1) สร้างแบบสอบถามออนไลน์เพื่อให้นักศึกษา
เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนด้วย Google Form (2) การตัด URL ของแบบสอบถามออนไลน์ให้สั้นลงด้วย
http://gg.gg (3) การสร้างสไลด์ออนไลน์ด้วย Google slide (4) การเปลี่ยนURL เป็นภาพ QR Code
เพื่อให้นักศึกษาสแกนไปยังแบบสอบถามออนไลน์ด้วยโปรแกรมQR Code Generator (5) การเพิ่ม
เพื่อนแบบ QR Code โดยการสแกนใน Function ของ Line กับสมาร์ทโฟน 2) ระบบสามารถช่วยให้
การตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนใช้เวลาน้อยนักศึกษาสามารถศึกษาเนื้อหาบทเรียนผ่านระบบได้ด้วย
ตนเอง ส่วนข้อมูลที่ส่งผ่านระบบก็มีการจัดเรียงข้อมูลเรียบร้อย สะดวก รวดเร็ว ผู้สอนสามารถ
นำมาใช้ได้เลย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 10
บทสรุป
ระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วย QR Code ที่สร้างขึ้นสามารถใช้ได้ง่ายลดระยะเวลาใน
การขานชื่อเข้าชั้นเรียนได้มาก ระบบที่สร้างขึ้นมี 5 ขั้นตอน คือ (1) สร้างแบบสอบถามออนไลน์
เพื่อให้นักศึกษาเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนด้วย Google Form (2) การตัดURL ของแบบสอบถามออนไลน์ให้
สั้นลงด้วย http://gg.gg (3) การสร้างสไลด์ออนไลน์ด้วย Google slide (4) การเปลี่ยน URL เป็น
ภาพ QR Code เพื่อให้นักศึกษาสแกนไปยังแบบสอบถามออนไลน์ด้วยโปรแกรม QR Code
Generator (5) การเพิ่มเพื่อนแบบ QRCode โดยการสแกนใน Function ของ Line กับสมาร์ทโฟน
นอกจากนั้น ระบบสามารถช่วยให้การตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนใช้เวลาน้อย นักศึกษาสามารถศึกษา
เนื้อหาบทเรียนผ่านระบบได้ด้วยตนเอง ส่วนข้อมูลที่ส่งผ่านระบบก็มีการจัดเรียงข้อมูลเรียบร้อย
สะดวกรวดเร็ว ผู้สอนสามารถนำมาใช้งานได้เลย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 11
บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID เป็นการทำ
โครงงานเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบชื่อนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนในแต่ละวันด้วยการใช้
บัตรสแกนเวลาเข้าเรียน และทำระบบบันทึกข้อมูลลงออนไลน์ โดยวิธีการดำเนินงานของการทำ
โครงงานฉบับนี้ คณะผู้จัดทำจะนำเสนอข้อมูลแบ่งเป็น 4 ตอน ดังต่อไปนี้
1. ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
2. ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
3. เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน
4. ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ (เผยแพร่โครงงานกับโรงเรียน)
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
ฮาร์ดแวร์
1. คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
2. เครื่องอ่านแท็กอาร์เอฟไอดี (RC522 MIFARE RFID module)
3. แท็กอาร์เอฟไอดีแบบการ์ด (RFID Tags Card)
4. บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ประเภทอาร์ดูโน (Arduino UNO R3 Board)
5. บอร์ดอาร์ดูโน อีเทอร์เน็ตชีลด์ (Ethernet Shield)
6. สายไฟต่อวงจร (Jumper)
ซอฟต์แวร์
1. ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของอาร์เอฟไอดีโมดูล (Library RFID Module Arduino)
2. กูเกิลสเปรดชีต (Google Spreadsheets)
3. ตัวตั้งค่าโปรแกรมสำหรับกูเกิล (Google App Script Setup)
4. ฐานข้อมูลเชื่อมต่อแอปพลิเคชันไลน์ (LINE BOT สร้างจาก Dialog flow)
5. แอปพลิเคชันไลน์ (LINE Application)
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 12
วิธีการดำเนินงาน
ตอนที่ 1 ประดิษฐ์อุปกรณ์บันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
รูปที่ 3.1 ภาพร่างการต่ออุปกรณ์ RFID
ขั้นตอนการประดิษฐ์อุปกรณ์
1. เชื่อมต่อสาย RC522 MIFARE RFID module เข้ากับ Arduino UNO R3 Board และ
เชื่อมสาย USB ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อลงโปรแกรมคำสั่ง
2. อัพโหลดโค้ด Library Sensor DS18B20 ในโปรแกรม Arduino เพื่อเชื่อมต่อกับตัว
เซ็นเซอร์อ่านแท็ก RFID
3. เปิด Serial Monitor บนคอมพิวเตอร์ขึ้นมา จากนั้นนำแท็ก RFID ที่เตรียมไว้มาแตะที่ตัว
อ่านบัตร รหัสแท็กจะขึ้นในจอคอมพิวเตอร์ แล้วทำการ Login รหัสแท็กกับชื่อนักเรียน
4. ล็อกอินเข้าอีเมล์ เข้าไปที่ Google Spreadsheet เปิดชีทใหม่ คลิกเข้าไปที่ Script Editor
ตั้งโค้ดเพื่อเชื่อมต่อกับ Library RFID Module Arduino เมื่อมีการสแกนบัตรจะมีการส่งข้อมูลไปที่
Google Spreadsheet
5. สร้าง LINE BOT บน Dialog flow จากนั้นเพิ่มโค้ดใหม่เข้าไปที่ Script Editor บน
Spreadsheet (ขั้นตอนนี้จะได้ LINE BOT ที่มีฐานข้อมูลอยู่ใน Spreadsheet คือเมื่อมีการเพิ่มข้อมูล
ลงใน Spreadesheet โค้ดที่ตั้งไว้จะส่งค่าการลงชื่อไปที่ LINE ทันที)
6. ตั้งค่าการตอบกลับของ LINE เมื่อมีการลงชื่อนักเรียนเข้าในระบบ เป็นการแจ้งชื่อนักเรียน
พร้อมกับคาบและเวลาที่เข้าเรียน
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 13
ขั้นตอนการทำงานของระบบ
รูปที่ 3.1 แผนผังขั้นตอนการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ขั้นตอนการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์
1. แจก RFID แท็กการ์ดให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ในห้องจำนวน 23 คน
จากนั้นลงทะเบียนหมายเลขแท็กไว้บนคอมพิวเตอร์
2. ทดลองสแกนบัตรเข้าไปที่เครื่องอ่านแท็ก จากนั้นตรวจสอบว่าข้อมูลมีการบันทึกลงใน
Google Sheet หรือไม่ และหมายเลขบัตรตรงกับชื่อนักเรียนเจ้าของบัตร
3. ทุกเช้าก่อนเข้าแถวหน้าเสาธง ให้นักเรียนจำนวน 23 คน สแกนบัตรลงบนเครื่องอ่านแท็ก
RFID เป็นระเวลา 5 วัน (วันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี และศุกร์)
4. กรณีนักเรียนที่มีปัญหาไม่สามารถมาเข้าเรียนได้ ให้ลงทะเบียนในอินเตอร์เน็ตและ แจ้งชื่อ
ลงออนไลน์พร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถมาเข้าเรียนได้ (มาสาย ลากิจ ลาป่วย หรือทำกิจกรรมนอก
ห้องเรียน)
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 14
5. จากนั้นตรวจสอบการวิเคราะห์ข้อมูลของรายชื่อนักเรียนใน Google Sheet และตรวจสอบ
การแสดงผลข้อมูลแบบออนไลน์ว่าถูกต้องตรงตามจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนหรือไม่
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน
ขั้นตอนการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์
1. สแกนบัตร RFID ก่อนเข้าเรียนทุกเช้าก่อนเข้าแถวหน้าเสาธงและทุกคาบก่อนเข้าเรียน เป็น
ระยะเวลา 5 วัน และตรวจสอบข้อมูลใน Google Sheet
2. ให้อาจารย์ขานชื่อนักเรียนแต่ละคนเพื่อเช็คชื่อนักเรียนก่อนเข้าแถวหน้าเสาธง
3. บันทึกรายชื่อนักเรียนลงบนใบรายชื่อ เป็นระยะเวลา 5 วัน จากนั้นตรวจสอบข้อมูล
4. วัดระเวลาขณะสแกนบัตรเปรียบเทียบกับการขานชื่อนักเรียน
5. ตรวจสอบข้อมูลใน Google Sheet และข้อมูลในใบรายชื่อนักเรียน
6. จากนั้นนำบันทึกที่ได้มาทำสรุปรายงานการเข้าเรียนของนักเรียนจากการเช็คชื่อทั้ง 2 แบบ
ว่าแบบไหนสามารถทำได้สะดวกมากกว่า
7. ทำสรุปข้อมูลการเช็คชื่อแบบแกนบัตรแล้วส่งไฟล์การสรุปให้อาจารย์ผู้สอนเพื่อบันทึกลง
ระบบนักเรียน เปรียบเทียบกับการให้อาจารย์ผู้สอนสแกนคิวอาร์โค้ดแล้วทำสรุปเพื่อบันทึกลงระบบ
นักเรียน จากนั้นสอบถามความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอนและนักเรียน
ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์
ขั้นตอนการประเมินความพึงพอใจ
1. ทำแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID จำนวน 30
ชุด เพื่อนำไปประเมินสำหรับนักเรียนจำนวน 23 คน และอาจารย์จำนวน 2 คน โดยแบ่งระดับความ
พึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ (5) = มากที่สุด, (4) = มาก, (3) = ปานกลาง, (2) = น้อย และ (1) =
น้อยที่สุด
2. นำชุดแท็ก RFID และเครื่องอ่านแท็กอาร์เอฟไอดีไปให้นักเรียนและอาจารย์ทดลองใช้งาน
3. ให้ผู้ทดลองใช้กรอกรายละเอียดแบบประเมินความพึงพอใจการใช้ระบบบักทึกการเข้าชั้น
เรียนด้วย RFID ให้ครบถ้วน
4. ถ่ายภาพกับผู้ทดลองใช้งานและตัวชุดระบบการบันทึกการเข้าชั้นเรียนจำนวน 30 คน
จากนั้นนำข้อมูลจากแบบประเมินเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
5. ทำตารางและแผนผังสรุปแบบประเมินความพึงพอใจที่ได้จากผู้ทดลองใช้งานระบบ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 15
แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / หน้าข้อที่ตรงกับความเป็นจริง หรือความคิดเห็นของท่านมากที่สุด
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
2. อาชีพ ( ) นักเรียน นักศึกษา ( ) ครู
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจของการใช้งานระบบ
โดยมีระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ ดังนี้
(5) = มากที่สุด (4) = มาก (3) = ปานกลาง (2) = น้อย (1) = น้อยที่สุด
ลำดับ รายละเอียดความพึงพอใจ
ระดับความพอใจ
5 4 3 2 1
1 ระบบช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
2 การ์ดอาร์เอฟไอดีใช้งานได้ เลขที่การ์ดตรงกับข้อมูลนักเรียน
3 เครื่องอ่านการ์ดใช้งานได้ และอ่านการ์ดได้รวดเร็ว
4 ข้อมูลบันทึกการเช็คชื่อของนักเรียนถูกต้อง และชัดเจน
5 ระบบมีการแจ้งเตือนในไลน์ทันที และข้อมูลแจ้งเตือนถูกต้อง
ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ
ลงชื่อ (ผู้ประเมิน)
( )
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 16
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูล และผลการดำเนินงานของการทำโครงงานฉบับนี้
คณะผู้จัดทำจะนำเสนอข้อมูลแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน
ตอนที่ 4 การนำระบบไปใช้ในห้องเรียน (เผยแพร่โครงงานกับโรงเรียน)
ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ผลงานอุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ที่สำเร็จแล้วและ RFID แท็กการ์ด
รูปที่ 4.1 – 4.2 ผลงานอุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID และ RFID แท็กการ์ด
รูปที่ 4.3 – 4.4 อุปกรณ์บันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ด้านหน้าและด้านข้าง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 17
ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
ในการทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID จะตรวจสอบการบันทึก
ข้อมูลนักเรียนจากแท็กอาร์เอฟไอดีที่สแกนได้ลงใน Google Sheet โดยตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่
ถูกบันทึกได้กับจำนวนนักเรียนที่มาจริงในแต่ละวัน เป็นระยะเวลา 5 วันว่าเครื่องอ่านแท็กอาร์เอฟไอ
ดีสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ถูกต้องตามจริงหรือไม่
ตารางที่ 1 ทดสอบการบันทึกข้อมูลจำนวนนักเรียนลงใน Google Sheet
วันที่
ข้อมูลจำนวนนักเรียนที่บันทึกใน Google Sheet
จำนวนนักเรียนที่มาจริง (คน) จำนวนนักเรียนที่บันทึกได้ (คน) ร้อยละ
1 23 23 100
2 23 22 95.65
3 23 23 100
4 23 23 100
5 23 23 100
เฉลี่ย 23 22.8 99.13
แผนภูมิที่ 1 ทดสอบการบันทึกข้อมูลจำนวนนักเรียนลงใน Google Sheet
99.13
0.87
จานวนนักเรียนที่สามารถบันทึก
การ์ดได้อย่างถูกต้อง
จานวนนักเรียนที่ไม่สามารถ
บันทึกการ์ดได้
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 18
ตรวจสอบการบันทึกผลข้อมูลของแท็กอาร์เอฟไอดีลงใน Google Sheet โดยทดสอบการ
บันทึกข้อมูลของแต่ละวัน เป็นระยะเวลา 5 วัน ในตารางสรุปผลข้อมูลบน Google Sheet และ
บันทึกข้อมูลการสรุปผลเป็นรูปภาพ
ตารางที่ 2 ข้อมูลที่บันทึกได้จากการสแกนแท็ก RFID ใน Google Sheet
วันที่ รูปภาพผลการบันทึกข้อมูลใน Google Sheet
1
2
3
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 19
4
5
ทดสอบการทำงานของระบบแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์ โดยตรวจสอบว่าในแต่ละครั้งที่มี
การสแกนแท็กอาร์เอฟไอดีของนักเรียนแต่ละคน มีการขึ้นแจ้งเตือนในไลน์หรือไม่
ตารางที่ 3 ทดสอบการทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์
วันที่
การทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์
จำนวนนักเรียนที่มา (คน) การแจ้งเตือนลงในไลน์ของนักเรียนแต่ละคน (คน)
1 23 23
2 23 22
3 23 23
4 23 23
5 23 23
ร้อยละ 100 99.13
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 20
แผนภูมิที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน
ในการเปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน จะ
เปรียบเทียบโดยการจับเวลาตั้งแต่มีการเริ่มเช็คชื่อนักเรียนคนแรกของชั้นจนถึงคนสุดท้ายของชั้น
เรียน (คนสุดท้ายของชั้นเรียน หมายถึง คนสุดท้ายตามจำนวนนักเรียนที่เข้าในวันนั้น) จากนั้น
เปรียบเทียบระยะเวลาในการเช็คชื่อแต่ละวัน เป็นระยะเวลา 5 วัน
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบระยะเวลาในการเช็คชื่อนักเรียนด้วยระบบ RFID กับการขานชื่อนักเรียน
วันที่
ระยะเวลาในการเช็คชื่อ (วินาที)
ระบบสแกน RFID การขานชื่อนักเรียน
1 117 212
2 119 -
3 121 222
4 155 245
5 126 240
เฉลี่ย 127.6 229.8
* (-) หมายถึง วันที่ 2 อาจารย์ไม่มีการขานชื่อนักเรียนเพื่อเช็คชื่อภายในห้อง
99.13
0.87
จานวนนักเรียนที่มีการแจ้ง
เตือนในไลน์
จานวนนักเรียนที่ไม่ขึ้นแจ้ง
เตือนในไลน์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 21
แผนภูมิที่ 3 เปรียบเทียบระยะเวลาในการเช็คชื่อนักเรียนด้วยระบบ RFID กับการขานชื่อ (วินาที)
เปรียบเทียบการบันทึกผลข้อมูลของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน โดย
บันทึกข้อมูลตารางสรุปผลข้อมูลบน Google Sheet และบันทึกข้อมูลเป็นรูปภาพ
ตารางที่ 5 ข้อมูลที่บันทึกได้จากการเช็คชื่อด้วยระบบ RFID
ระบบสแกน RFID
0 50 100 150 200 250 300 350
วันที่ 1
วันที่ 2
วันที่ 3
วันที่ 4
วันที่ 5
การขานชื่อนักเรียน ระบบสแกน RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 22
ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ ชายจำนวน 1 คน หญิงจำนวน 6 คน
2. อาชีพ นักเรียนจำนวน 2 คน ครูจำนวน 5 คน
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจของการใช้งานระบบ
บักทึกข้อมูลความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามในการทดลองใช้ระบบบันทึกการเข้าชั้น
เรียนด้วย RFID โดยแบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ
(5) = มากที่สุด, (4) = มาก, (3) = ปานกลาง, (2) = น้อย, (1) = น้อยที่สุด
ตารางที่ 6 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อระบบเช็คชื่อด้วย RFID
ลำดับ รายละเอียดความพึงพอใจ
ระดับความพอใจ (ร้อยละ)
5 4 3 2 1
1
ระบบช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้ง่าย
และรวดเร็วมากขึ้น
57.14 48.86 0 0 0
2
การ์ดอาร์เอฟไอดีใช้งานได้ เลขที่
การ์ดตรงกับข้อมูลนักเรียน
100.00 0 0 0 0
3
เครื่องอ่านการ์ดใช้งานได้ และอ่าน
การ์ดได้รวดเร็ว
28.57 71.43 0 0 0
4
ข้อมูลบันทึกการเช็คชื่อของนักเรียน
ถูกต้อง และชัดเจน
71.43 28.57 0 0 0
5
ระบบมีการแจ้งเตือนในไลน์ทันที
และข้อมูลแจ้งเตือนถูกต้อง
14.29 71.42 14.29 0 0
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ
- เป็นโครงงานที่มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำโครงงานดี สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ได้จริง เหมาะสมกับ
การใช้งานภายในโรงเรียน
- เป็นโครงงานแปลกใหม่ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี ก้าวทันสถานการณ์ในปัจจุบัน มี
ความคิดริเริ่มที่ดี ประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายวิชา ไปต่อยอดสู่ความคิดและสาขาอาชีพในอนาคตได้
- ควรจะให้เวลาดีเลย์เร็วขึ้น
- สะดวกสบายมากกว่าการขานชื่อนักเรียนในคาบเรียนและช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หน้า 23
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล
สรุปผลการดำเนินงาน
ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
อุปกรณ์การเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ช่วยในการตรวจสอบชื่อนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนในแต่ละวัน
ด้วยการใช้บัตรสแกนก่อนเข้าเรียนคาบแรก สามารถเช็คชื่อนักเรียนได้อย่างรวดเร็วจาก RFID แท็ก
การ์ดและอุปกรณ์มีการนำข้อมูลบันทึกลงในออนไลน์โดยมีการบันทึกทั้งวันที่และเวลาที่สแกนบัตร
ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
จากสมมติฐานที่ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้ มีการอัพเดตข้อมูลลง
ออนไลน์ สามารถสรุปได้ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถอ่านการ์ดจากนักเรียนได้อย่างอย่าง
แม่นยำ คิดเป็นร้อยละ 99.13 และการ์ดทุกใบที่สามารถสแกนได้มีการขึ้นแจ้งเตือนลงในไลน์ทั้งหมด
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน
จากสมมติฐานที่ว่า ระบบเช็คชื่อด้วย RFID สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วกว่า
โดยไม่กินเวลาในคาบเรียนไปสามารถสรุปได้ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ใช้ระยะเวลา
เฉลี่ยในการสแกนบัตรลงบนตัวเครื่องอ่านการ์ดเฉลี่ยวันละ 127.6 วินาทีส่วนการชื่อนักเรียนด้วยการ
ขานชื่อใช้ระยะเวลาเฉลี่ยวันละ 229.8 วินาที เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การเช็คชื่อด้วย RFID
ประหยัดเวลาไปมากกว่า 102.2 วินาทีหรือประมาณ 1 นาที 42 วินาที และในการใช้งานจริงสามารถ
สแกนบัตรได้ก่อนเข้าคาบเรียนเลย จึงไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในคาบเรียนเพื่อเช็คชื่อเหมือนการขานชื่อ
นักเรียนในคาบเรียน
ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์
จากสมมติฐานที่ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้จริง และสามารถสรุป
ข้อมูลได้ว่า ด้านระบบช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่
ระดับ 5 หรือ พึงพอใจมากที่สุด ด้านการ์ดอาร์เอฟไอดีใช้งานได้ เลขที่การ์ดตรงกับข้อมูลนักเรียนมี
ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 5 หรือ พึงพอใจมากที่สุด ด้านเครื่องอ่านการ์ดใช้งานได้ และอ่าน
การ์ดได้รวดเร็วมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 4 หรือ พึงพอใจมาก ด้านข้อมูลบันทึกการเช็คชื่อ
ของนักเรียนถูกต้อง และชัดเจน และด้านระบบมีการแจ้งเตือนในไลน์ทันที และข้อมูลแจ้งเตือน
ถูกต้องมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 4 หรือ พึงพอใจมาก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID

More Related Content

What's hot

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
Phongsak Kongkham
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกพัน พัน
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
maerimwittayakom school
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
โทโต๊ะ บินไกล
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
พัน พัน
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ณัฐพล บัวพันธ์
 
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะบทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะKittichai Pinlert
 
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวwaraporny
 
เล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
เล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันเล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
เล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
Preeyapat Lengrabam
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1
Jutarat Bussadee
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
KruKaiNui
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
ตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็ค
tumetr1
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
Prachoom Rangkasikorn
 
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานบทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานChamp Wachwittayakhang
 
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิดโครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
บทที่ 4.ผลการดำเนินงาน
บทที่ 4.ผลการดำเนินงานบทที่ 4.ผลการดำเนินงาน
บทที่ 4.ผลการดำเนินงาน
น๊อต เอกลักษณ์
 

What's hot (20)

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รายงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะบทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
 
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
 
เล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
เล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันเล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
เล่ม 5 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1
 
บทนำ
บทนำบทนำ
บทนำ
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
ตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างสารบัญ เล่มโปรเจ็ค
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
 
แผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงานแผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงาน
 
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานบทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
 
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิดโครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
 
บทที่ 4.ผลการดำเนินงาน
บทที่ 4.ผลการดำเนินงานบทที่ 4.ผลการดำเนินงาน
บทที่ 4.ผลการดำเนินงาน
 

Similar to โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
Kongkrit Pimpa
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1dechathon
 
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์kruood
 
Smart classroom
Smart classroomSmart classroom
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
Kiattipong Sriwichai
 
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
inkkuaoy1
 
โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602Scott Tape
 
งานวิจัยในชั้นเรียน 57
งานวิจัยในชั้นเรียน 57งานวิจัยในชั้นเรียน 57
งานวิจัยในชั้นเรียน 57
Khemjira Plongsawai
 
Ativities student system
Ativities student systemAtivities student system
Ativities student system
Apple Preeya
 
2561 project 608-08
2561 project  608-082561 project  608-08
2561 project 608-08
ChanikarnSuvanapark
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...
Nattapon
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1nakaenoi
 
วิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมีวิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมีWichai Likitponrak
 
ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์Sirikanya Pota
 
Khemjira
KhemjiraKhemjira
Khemjira
Khemjira_P
 
Algebra Castle
Algebra CastleAlgebra Castle
Algebra Castle
Thanawut Rattanadon
 
Ppt herbarium
Ppt herbariumPpt herbarium
Ppt herbarium
PhatornPitiphat
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6dechathon
 

Similar to โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID (20)

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
 
Smart classroom
Smart classroomSmart classroom
Smart classroom
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยี ชั้น ป.3
 
โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602
 
งานวิจัยในชั้นเรียน 57
งานวิจัยในชั้นเรียน 57งานวิจัยในชั้นเรียน 57
งานวิจัยในชั้นเรียน 57
 
Ativities student system
Ativities student systemAtivities student system
Ativities student system
 
2561 project 608-08
2561 project  608-082561 project  608-08
2561 project 608-08
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนช...
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1
 
วิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมีวิจัยในชั้นเรียนเคมี
วิจัยในชั้นเรียนเคมี
 
ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2-8 : โครงงานคอมพิวเตอร์
 
h6ju
h6juh6ju
h6ju
 
Khemjira
KhemjiraKhemjira
Khemjira
 
Algebra Castle
Algebra CastleAlgebra Castle
Algebra Castle
 
Ppt herbarium
Ppt herbariumPpt herbarium
Ppt herbarium
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
 

More from ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล

แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุดโครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวางโครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTMLโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลงโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 

More from ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล (8)

แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
 
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
โครงงานนาฏศิลป์ เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
 
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
 
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุดโครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
 
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวางโครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTMLโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลงโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
 

Recently uploaded

งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 

Recently uploaded (10)

งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID

  • 1. โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID จัดทำโดย นายภูมินทร์ จันทานวน นางสาวธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวธัญญลักษณ์ เลิศมีศิลศรัทธา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ห้องเรียนพิเศษ ในโครงการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 9 เครือข่ายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2563
  • 2. โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID จัดทำโดย นายภูมินทร์ จันทานวน นางสาวธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวธัญญลักษณ์ เลิศมีศิลศรัทธา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • 3. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า ก หัวข้อเรื่อง : อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ผู้จัดทำ : 1. นายภูมินทร์ จันทานวน 2. นางสาวธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล ระดับชั้น : มัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ปรึกษาโครงงาน : นางสาวธัญญลักษณ์ เลิศมีศิลศรัทธา สถานศึกษา : โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บทคัดย่อ วิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ฉบับ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประดิษฐ์คิดค้นระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID แบบสแกนบัตร 2) เพื่อทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 3) เพื่อเปรียบเทียบการทำงานของ ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID กับการเช็คชื่อนักเรียนด้วยการขานชื่อนักเรียนแบบปกติ จาก การศึกษาค้นคว้าข้อมูล การใช้เทคโนโลยี RFID หรือเทคโนโลยีแสดงตัวตนที่สามารถอ่านข้อมูลได้ใน ปริมาณมาก พร้อมกับการใช้โปรแกรม excel ซึ่งเหมาะกับการรวบรวมและวิเคราะห์คะแนน หรือ ข้อมูลประเภทตัวเลขได้ง่าย และ Application LINE ที่ช่วยในการอัพเดทข้อมูลได้ในทันที อีกทั้ง เทคโนโลยีเหล่านี้ยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันทางอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทำโครงงาน คือ กลุ่มนักเรียนและอาจารย์ภายในโรงเรียนโดยมี การทดสอบในด้านการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ทั้งการบันทึกข้อมูลจำนวน นักเรียนลงใน Google Sheet และการทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์ และการ ทดสอบเปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียนในห้องเรียน จึงสรุปผลการทดลองได้ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้ มีการอัพเดตข้อมูล ลงออนไลน์ ระบบบันทึกการ์ดมีความแม่นยำในการอ่านแท็ก RFID และบัตรทุกใบที่นักเรียนได้สแกน บัตรเข้าอุปกรณ์แล้ว มีการขึ้นแจ้งเตือนอาจารย์ในกลุ่มไลน์ทุกคนตามวันเวลาที่นักเรียนมาสแกนบัตร เข้าเรียน และการสแกนบัตรเป็นการสแกนก่อนที่นักเรียนจะเข้าเรียนในคาบทุกครั้งจึงไม่กินเวลาใน คาบเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาได้มากกว่าการขานชื่อนักเรียนเพื่อเช็คชื่อที่จำเป็นต้องใช้เวลาใน คาบเรียน ขานชื่อและทำการบันทึกจำนวนนักเรียน
  • 4. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID นี้สำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยดี เนื่องจากทางคณะผู้จัดทำได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูธัญญลักษณ์ เลิศมีศิล ศรัทธา คุณครูที่ปรึกษาโครงงานที่ได้สละเวลาให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็น และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการ จัดทำโครงงานในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งคณะผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณครูพิชญา พลศิริ ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา คำแนะนำ และ ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่คณะผู้จัดทำ ซึ่งทำให้โครงงานฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้ในวิชาต่าง ๆ ซึ่งคณะผู้จัดทำได้ นำมาใช้ประโยชน์ในโครงงานฉบับนี้ ขอขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับกำลังใจและความช่วยเหลือที่มีให้มาตลอด สุดท้ายขอขอบพระคุณ บิดา มารดา และครอบครัว ที่ได้ช่วยเหลือ ให้การส่งเสริม สนับสนุน และเป็นกำลังใจที่สำคัญยิ่ง ตลอดจนทำให้การทำโครงงานในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จไปได้อย่างลุล่วง คณะผู้จัดทำโครงงาน อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
  • 5. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า ค สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญ 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5 บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 11 วิธีการดำเนินงาน 12 วิธีการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ 13 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 16 ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 17 ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน 19 ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ 21 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการดำเนินงาน 22 อภิปรายผลการดำเนินงาน 24 ประโยชน์ที่ได้รับ 24 บรรณานุกรม 26 ภาคผนวก
  • 6. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญ ในปัจจุบัน การเรียนเกือบทุกวิชาและทุกสถาบันจะมีการตรวจสอบการเข้าเรียนของนักเรียน หรือนิสิต เพื่อเป็นคะแนนเก็บหรือคะแนนช่วย โดยแต่เดิมนั้นอาจารย์ตรวจสอบการเข้าเรียนของ นักเรียนโดยการตรวจนับ หรือขานชื่อนักเรียน หรือให้นักเรียนเซ็นชื่อตัวเองลงในกระดาษ หรือสมุดที่ อาจารย์ได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งการตรวจนับ ขานชื่อ หรือการให้นักเรียนเซ็นชื่อของตัวเองลงในกระดาษ จะทำให้เกิดการทุจริตได้ง่าย เช่น การนับจำนวนนักเรียนที่เข้าห้องเรียน นักเรียนบางคนอาจอยู่ในมุม ที่อาจารย์ไม่เห็น ทำให้ไม่สามารถนับได้อย่างถูกต้อง หรือการที่จะให้นักเรียนเซ็นชื่อลงในกระดาษ หรือสมุดที่เตรียมไว้ให้ ในส่วนนี้ นักเรีนจะสามารถเขียนชื่อให้นักเรียนอีกคนที่ไม่ได้เข้าชั้นเรียนได้ อย่างง่ายดาย ซึ่งจะทำให้ตรวจสอบได้ยาก หลังจากเก็บรายชื่อนักเรียนเข้าชั้นเรียนเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็จะต้องมาทำการหาจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนและรวบรวมคะแนนการเข้าชั้นเรียนให้กับ นักเรียนทุกคนทำให้อาจารย์ต้องใช้เวลานานในการรวบรวมคะแนน และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดใน การรวมคะแนนได้ง่าย จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล คณะผู้จัดทำได้ข้อมูลดังนี้ เทคโนโลยีในปัจจุบันที่ทันสมัยทำให้อุปกรณ์หลายรูปแบบ มีฟังก์ชันที่ดีกว่าเครื่องเช็คชื่อรุ่นเดิม มี ครบภายในอุปกรณ์เครื่องเดียว อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับแลนไร้สาย (Wireless) และหน้าจอแสดงผลไว้ ในเครื่องเดียว เครื่องอ่านรหัสบัตร RFID ก็สามารถอ่านบัตรได้ด้วยความถี่เฉพาะ และปัจจุบันนี้การ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถทำได้ง่าย และทำงานร่วมกับโปรแกรมได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น Application LINE โปรแกรม excel จากข้อมูลข้างต้น คณะผู้จัดทำจึงเน้นการศึกษาเรื่องการใช้ เทคโนโลยี RFID หรือเทคโนโลยีแสดงตัวตนที่สามารถอ่านข้อมูลได้ในปริมาณมาก พร้อมกับการใช้ โปรแกรม excel ซึ่งเหมาะกับการรวบรวมและวิเคราะห์คะแนน หรือข้อมูลประเภทตัวเลขได้ง่าย และโปรแกรมหรือ Application LINE ที่ช่วยในการอัพเดทข้อมูลได้ในทันที อีกทั้งเทคโนโลยีเหล่านี้ ยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันทางอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบข้อมูล กลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดที่จะทำโครงงานเรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ขึ้นเพื่อ ช่วยในการบันทึกการเข้าชั้นเรียนโดยใช้ RFID มาเป็นตัวแปรสำคัญที่นักเรียนจำเป็นต้องแสดงบัตร ประจำตัวของตนเองเพื่อบันทึกข้อมูล และข้อมูลที่ได้จะทำการบันทึกในโปรแกรม excel ซึ่งเชื่อมต่อ กับอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย พร้อมกับแสดงเวลาใขณะนั้น เพื่อให้นักเรียนและอาจารย์ทราบเวลาการเข้าเรียน
  • 7. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 2 คำถามการวิจัย ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID สามารถช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้รวดเร็วกว่า และ ช่วยสรุปข้อมูลและตรวจสอบได้ง่ายกว่าการเช็คชื่อแบบปกติหรือไม่ วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อประดิษฐ์คิดค้นระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID แบบสแกนบัตร 2. เพื่อทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 3. เพื่อเปรียบเทียบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID กับการเช็คชื่อ นักเรียนด้วยการขานชื่อนักเรียนแบบปกติ ขอบเขตของการศึกษา 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ขอบเขตการทำงานของระบบ 1. ลักษณะการทำงาน คือการใช้ RFID แท็กการ์ดเป็นบัตรประจำตัวนักเรียนสแกนที่ตัว อุปกรณ์อ่านแท็ก จากนั้นข้อมูลจะส่งไปที่ตารางแบบออนไลน์บนคอมพิวเตอร์ 2. แท็ก RFID ที่ใช้จะเป็นแบบการ์ด ความถี่ 13.56 Mhz ซึ่งสามารถติดข้อมูลลงบนหน้าบัตร ได้ตามที่ต้องการ ในการทำโครงงานนี้ คณะผู้จัดทำจะใช้เป็นรูปแบบบัตรประจำตัวนักเรียน เพราะมี ข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนอย่างครบถ้วน 3. การทดสอบการทำงานของระบบ คือการทดลองให้นักเรียนจำนวนหนึ่ง (จำนวน 23 คน หรือ 1 ห้องเรียน) สแกนบัตรในตอนเช้าก่อนเข้าเรียนคาบแรกของวัน จากนั้นตรวจสอบว่าผลการ วิเคราะห์จำนวนนักเรียนถูกต้องหรือไม่ และมีการอัพเดทข้อมูลลงออนไลน์หรือไม่ 4. กรณีนักเรียนนักเรียนไม่สามารถมาเข้าคาบเรียนได้ (มาสาย ลากิจ ลาป่วย หรือทำ กิจกรรมนอกห้องเรียน) จะต้องมีการแจ้งครูที่ปรึกษาผ่านทางไลน์เพื่อให้อาจารย์ลงชื่อนักเรียนไว้ใน Google Spreadsheet ตัวแปรต้น วิธีตรวจสอบรายชื่อนักเรียนเข้าชั้นเรียน (ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียน) ตัวแปรตาม ระยะเวลาในการเช็คชื่อ และข้อมูลที่ได้จากการเช็คชื่อ ตัวแปรควบคุม จำนวนนักเรียนที่มาเรียน (ขาด ลา มาสาย)
  • 8. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 3 ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID สมมติฐาน ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้ มีการอัพเดตข้อมูลลงออนไลน์ ตัวแปรต้น ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ตัวแปรตาม ข้อมูลที่บันทึกได้และการสรุปข้อมูล ตัวแปรควบคุม จำนวนข้อมูลจากแท็กที่ทดสอบ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน สมมติฐาน ระบบเช็คชื่อด้วย RFID สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วกว่าโดยไม่กินเวลาใน คาบเรียนไป ตัวแปรต้น ระบบเช็คชื่อด้วย RFID ตัวแปรตาม ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลและสรุปข้อมูล ตัวแปรควบคุม จำนวนนักเรียนในห้องเรียน, รูปแบบ RFID แท็กการ์ดที่นักเรียนใช้ ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ สมมติฐาน ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้จริง และสามารถสรุปข้อมูลได้ ตัวแปรต้น ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ตัวแปรตาม ระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบ ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาที่ใช้, จำนวนคาบเรียนที่นักเรียนจะเข้าเรียน 2. ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ในการทำโครงงานฉบับนี้ ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2563 นิยามศัพท์เฉพาะหรือนิยามเชิงปฏิบัติการ RFID แท็กการ์ด หมายถึง แท็กคลื่นความถี่ RFID แบบการ์ด ความถี่ 13.56 MHz ซึ่งแท็กแต่ ละตัวก่อนนำไปใชงานจริงจะมีการใช้ลงทะเบียนไว้ก่อนเพื่อยืนยันบัตรที่ใช้งาน การเช็คชื่อนักเรียนแบบปกติ หมายถึง การตรวจสอบชื่อนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนด้วยการขาน ชื่อนักเรียนแล้วบันทึกข้อมูลลงในกระดาษ RFID module หมายถึง เครื่องอ่านแท็ก RFID ที่คอยรับสัญญาณคลื่นวิทยุจากแท็ก Arduino หมายถึง บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ประเภทอาร์ดูโน
  • 9. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 4 Library RFID หมายถึง ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของอาร์เอฟไอดีโมดูล (เครื่องอ่านแท็ก อาร์เอฟไอดี) เป็นโปรแกรมสำหรับรับข้อมูลหมายเลขแท็กที่ได้รับลงเครื่องคอมพิวเตอร์ Google sheet หมายถึง แผ่นงานที่มีลักษณะเป็นช่องตารางสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับการจัดเรียง ข้อมูลและคำนวณเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นนผ่านทางออนไลน์ได้ Script Setup หมายถึง ตัวตั้งค่าโปรแกรมสำหรับกูเกิลสามารถใส่โค้ดเพิ่มเติมเพื่อจัดการ การทำงานของ Google sheet ได้ LINE BOT หมายถึง ฐานข้อมูลเชื่อมต่อแอปพลิเคชันไลน์โดยใช้ Google sheet เป็น ฐานข้อมูลเพื่อส่งการแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชันไลน์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ระบบบันทึกการเข้าเรียนจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเช็คชื่อนักเรียน เนื่องจากเช็ค ชื่อด้วยการสแกนบัตร ทำให้ไม่ต้องมีการขานชื่อ หรือบันทึกข้อมูลลงกระดาษที่อาจผิดพลาดได้ง่าย 2. ช่วยให้นักเรียน อาจารย์ และผู้ปกครองสามารถติดตามข้อมูลการเข้าชั้นเรียนได้ง่าย โดย จะการแจ้งเตือนนักเรียนที่เช็คชื่อแล้วผ่าน Mobile Application 3. ช่วยให้นักเรียนสามารถตรวจสอบข้อมูลได้สะดวก โดยการดูข้อมูลผ่านทาง Online 4. ช่วยอำนวยความสะดวกในการสรุปวิเคราะห์และรายงานนักเรียนที่เข้าเรียนได้ทันที 5. การตรวจสอบจำนวนนักเรียนเข้าเรียนมีความแม่นยำมากขึ้น ข้อมูลไม่สูญหายเพราะมีการ เก็บสำรองข้อมูลออนไลน์ และนักเรียนทำการทุจริตได้ยาก
  • 10. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 5 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง แนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือ หน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม modem คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ e-mail สามารถ สืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมี ถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง เช่น ไทยมี Chulanet KSC Infonews เป็นต้น มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล 2. หลักการทำงานของ RFID อาร์เอฟไอดี (RFID ย่อมาจากคำเต็มว่า Radio frequency identification ) เป็นวิธีการในการ เก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับ ข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้ รูปที่ 2.1 อุปกรณ์ของ RFID แท็ก (Tag) โครงสร้างภายในของแท็กจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ขดลวดขนาดเล็กซึ่ง จะทำหน้าที่เป็นสายอากาศ (Antenna)
  • 11. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 6 สำหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ และสร้างพลังงาน ป้อนให้ส่วนของไมโครชิพ (Microchip) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุ เช่น รหัสสินค้า โดยทั่วไปตัวแท็กอาจอยู่ในชนิดทั้งเป็น กระดาษ แผ่นฟิล์ม พลาสติก มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำไปติดและมี หลายรูปแบบเช่น ขนาดเท่ากับบัตรเครดิต เหรียญ กระดุม ฉลากสินค้า แคปซูล เป็นต้น ส่วนในเรื่อง ของโครงสร้างและราคาจะแบ่งชนิดของ Tag เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. Passive RFID Tag คือ เป็นแท็กที่ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใด ๆ เพราะภายในจะมี วงจรเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กอยู่ ฉะนั้นการอ่านข้อมูลได้ไม่ไกลนัก ระยะไม่เกิน 1 เมตรขึ้นอยู่กับ ความแรงของเครื่องส่งและคลิ่นความถี่วิทยุ หน่วยความจำขนาดเล็ก 16 – 1,024 ไบร์ท ส่วน IC (Integrated circuits) จะควบคุมโครงสร้างเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ 2. Active RFID Tag คือ เป็นแท็กที่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายนอกเพื่อจ่าย พลังงานให้กับวงจรภายในทำงานซึ่งจะมีหน่วยความจำได้ถึง 1 เมกะไบร์ท การอ่านข้อมูลได้ไกลสูงสุด 10 เมตรซึ่งแท็กชนิดนี้สามารถแบ่งประเภทย่อยๆ ได้อีก ดังนี้ 1. สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ (Read-Write) 2. สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ 3. สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read–only) เสาส่งสัญญาณ RFID Reader คือส่วนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่เป็นหัวอ่าน โดยหน้าที่หลักคือ อุปกรณ์ที่สามารถรับค่า หรืออ่านค่า เพื่อนำเข้าสู่อุปกรณ์ใด ๆ เช่น หัวอ่าน อาร์เอฟไอดีของทาง FEDA หรือ หัวอ่านที่อยู่กับเครื่อง Access Control หลักการทำงานเบื้องต้นของ RFID 1. Reader จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาตลอดเวลา และคอยตรวจจับว่ามี Tag ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการคอยตรวจจับว่ามีการมอดูเลต สัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่ 2. เมื่อมี Tag ข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Tag จะได้รับพลังงานไฟฟ้าที่เกิด จากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้ Tag เริ่มทำงาน และจะส่งข้อมูลใน หน่วยความจำที่ผ่านการมอดูเลตกับคลื่นพาหะแล้วออกมาทางสายอากาศที่อยู่ภายในแท็ก 3. คลื่นพาหะที่ถูกส่งออกมาจากแท็กจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแอมปลิจูด, ความถี่ ขึ้นอยู่ กับวิธีการมอดูเลต 4. Reader จะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นพาหะแปลงออกมาเป็นข้อมูลแล้ว ทำการถอดรหัสเพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป
  • 12. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 7 รูปที่ 2.2 เสาส่งสัญญาณ RFID Reader 3. บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ประเภทอาร์ดูโน Arduino เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์บอร์ดแบบสำเร็จรูปในยุคปัจจุบัน ซึ่งถูกสร้างมาจาก Controller ตระกูล ARM ของ ATMEL ข้อดีของไมโครคอนโทรลเลอร์บอร์ดคือเรื่องของ Open Source ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้และความสามารถในการเพิ่ม Boot Loader เข้าไปที่ตัว ARM จึงทำให้การ Upload Code เข้าตัวบอร์ดสามารถทำได้ง่ายขึ้น และยังมีการพัฒนา Software ที่ใช้ในการควบคุมตัวบอร์ดของ Arduino มีลักษณะเป็นภาษา C++ ที่โปรแกรมเมอร์มี ความคุ้นเคยในการใช้งาน ตัวบอร์ดสามารถนำโมดูลมาต่อเพิ่ม ซึ่งทาง Arduino เรียกว่าเป็น shield เพื่อเพิ่มความสามารถเพิ่มขึ้น รูปที่ 2.3 Arduino Board 4. กูเกิลสเปรดชีต (Google Spreadsheet) สเปรดชีต (spreadsheet) หรือแผ่นตารางทำการ คือ แผ่นงานที่มีลักษณะเป็นช่องตาราง สี่เหลี่ยม ใช้สำหรับการจัดเรียงข้อมูลและคำนวณเป็นหลัก มีโปรแกรมสเปรดชีต (spreadsheet) ที่ เป็นที่นิยมอยู่มากมาย แต่สเปรดชีต (spreadsheet) ออนไลน์ของ Google เป็น Application ที่ใช้ งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถสร้างสเปรดชีต (spreadsheet) ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลผลการเรียนของนักเรียน บัญชีรายจ่าย เป็นต้น สามารถสร้างแผนภูมิเพื่อนำเสนอข้อมูล รวมไป
  • 13. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 8 ถึงฟอร์มหรือแบบสอบถามออนไลน์สำหรับเก็บข้อมูล ทั้งยังสามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นได้แก้ไขและ ทำงานร่วมกันในสเปรตชีตสเปรดชีต (spreadsheet) ของตนได้ รูปที่ 2.4 Google Spreadsheet 5. แอพพลิเคชันไลน์ (Line) ไลน์ หมายถึง แอพพลิเคชั่นสำหรับการสนทนาบน อุปกรณ์การสื่อสารรูปแบบต่างๆ เช่น สมาร์ท โฟน คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต (Tablet) ผู้ใช้สามารถสื่อสารด้วยการพิมพ์ ข้อความจากอุปกรณ์การ สื่อสารเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ไลน์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถหลากหลายเพื่อรองรับ การใช้งานของผู้ใช้หลายๆ ด้าน จุดเด่นที่ทำให้ไลน์แตกต่างกับ แอปพลิเคชันสำหรับการสนทนา รูปแบบอื่นๆ คือ รูปแบบของ “สติ๊กเกอร์” (Sticker) ที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ที่ หลากหลาย เช่น สติ๊กเกอร์แสดงความรู้สึกขั้นพื้นฐาน สติ๊กเกอร์ตามเทศกาลและวันสำคัญ สติ๊กเกอร์ ของตราสินค้า ต่างๆ และสติ๊กเกอร์การ์ตูนที่มีชื่อเสียงเป็นต้น 6. Line Bot LINE BOT คือ Line@ Account ที่ใช้ LINE Message API ซึ่งเป็น API ของ LINE ซึ่งเปิด ให้บริการแก่นักพัฒนาที่ Line Business Center (https://business.line.me) โดยเจ้าของ LINE@ จะทำโปรแกรมไว้เบื้องหลังเพื่อให้ LINE@ Account นั้นสามารถตอบโต้กับการสนทนาได้โดย อัตโนมัติ (ไม่ใช่คนมาพิมพ์ตอบเองนะ) ดังนั้นข้อความที่เราสนทนากับ LINE Bot จะเป็นการตั้ง โปรแกรมไว้ล่วงหน้าทั้งสิ้น เพราะเมื่อใช้ LINE Message API แล้ว LINE@ Account นั้น จะไม่ สามารถสนทนาโต้ตอบโดยการใช้คนพิมพ์ได้ รวมทั้งวิธีการสร้าง LINE@ Account ก็จะมีขั้นตอนและ วิธีการที่แตกต่างกันด้วย
  • 14. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 9 รูปที่ 2.5 LINE BOT งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสร้างระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วย QR Code บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วยระบบ QR Code ในรายวิชาศึกษาทั่วไป 2) เพื่อศึกษาผลการประเมินการใช้ระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วยระบบ QR Code ในรายวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาศิลปะการใช้ชีวิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำ นวน ทั้งหมด 113 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินผลการใช้ ระบบตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบที่สร้างขึ้นสามารถใช้ได้ง่าย ลดระยะเวลาในการขานชื่อ เข้าชั้นเรียนได้มาก ระบบที่สร้างขึ้นมี 5 ขั้นตอน คือ (1) สร้างแบบสอบถามออนไลน์เพื่อให้นักศึกษา เช็คชื่อเข้าชั้นเรียนด้วย Google Form (2) การตัด URL ของแบบสอบถามออนไลน์ให้สั้นลงด้วย http://gg.gg (3) การสร้างสไลด์ออนไลน์ด้วย Google slide (4) การเปลี่ยนURL เป็นภาพ QR Code เพื่อให้นักศึกษาสแกนไปยังแบบสอบถามออนไลน์ด้วยโปรแกรมQR Code Generator (5) การเพิ่ม เพื่อนแบบ QR Code โดยการสแกนใน Function ของ Line กับสมาร์ทโฟน 2) ระบบสามารถช่วยให้ การตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนใช้เวลาน้อยนักศึกษาสามารถศึกษาเนื้อหาบทเรียนผ่านระบบได้ด้วย ตนเอง ส่วนข้อมูลที่ส่งผ่านระบบก็มีการจัดเรียงข้อมูลเรียบร้อย สะดวก รวดเร็ว ผู้สอนสามารถ นำมาใช้ได้เลย
  • 15. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 10 บทสรุป ระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วย QR Code ที่สร้างขึ้นสามารถใช้ได้ง่ายลดระยะเวลาใน การขานชื่อเข้าชั้นเรียนได้มาก ระบบที่สร้างขึ้นมี 5 ขั้นตอน คือ (1) สร้างแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อให้นักศึกษาเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนด้วย Google Form (2) การตัดURL ของแบบสอบถามออนไลน์ให้ สั้นลงด้วย http://gg.gg (3) การสร้างสไลด์ออนไลน์ด้วย Google slide (4) การเปลี่ยน URL เป็น ภาพ QR Code เพื่อให้นักศึกษาสแกนไปยังแบบสอบถามออนไลน์ด้วยโปรแกรม QR Code Generator (5) การเพิ่มเพื่อนแบบ QRCode โดยการสแกนใน Function ของ Line กับสมาร์ทโฟน นอกจากนั้น ระบบสามารถช่วยให้การตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนใช้เวลาน้อย นักศึกษาสามารถศึกษา เนื้อหาบทเรียนผ่านระบบได้ด้วยตนเอง ส่วนข้อมูลที่ส่งผ่านระบบก็มีการจัดเรียงข้อมูลเรียบร้อย สะดวกรวดเร็ว ผู้สอนสามารถนำมาใช้งานได้เลย
  • 16. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 11 บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID เป็นการทำ โครงงานเพื่อประดิษฐ์เครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบชื่อนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนในแต่ละวันด้วยการใช้ บัตรสแกนเวลาเข้าเรียน และทำระบบบันทึกข้อมูลลงออนไลน์ โดยวิธีการดำเนินงานของการทำ โครงงานฉบับนี้ คณะผู้จัดทำจะนำเสนอข้อมูลแบ่งเป็น 4 ตอน ดังต่อไปนี้ 1. ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 2. ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID 3. เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน 4. ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ (เผยแพร่โครงงานกับโรงเรียน) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา ฮาร์ดแวร์ 1. คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต 2. เครื่องอ่านแท็กอาร์เอฟไอดี (RC522 MIFARE RFID module) 3. แท็กอาร์เอฟไอดีแบบการ์ด (RFID Tags Card) 4. บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ประเภทอาร์ดูโน (Arduino UNO R3 Board) 5. บอร์ดอาร์ดูโน อีเทอร์เน็ตชีลด์ (Ethernet Shield) 6. สายไฟต่อวงจร (Jumper) ซอฟต์แวร์ 1. ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของอาร์เอฟไอดีโมดูล (Library RFID Module Arduino) 2. กูเกิลสเปรดชีต (Google Spreadsheets) 3. ตัวตั้งค่าโปรแกรมสำหรับกูเกิล (Google App Script Setup) 4. ฐานข้อมูลเชื่อมต่อแอปพลิเคชันไลน์ (LINE BOT สร้างจาก Dialog flow) 5. แอปพลิเคชันไลน์ (LINE Application)
  • 17. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 12 วิธีการดำเนินงาน ตอนที่ 1 ประดิษฐ์อุปกรณ์บันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID รูปที่ 3.1 ภาพร่างการต่ออุปกรณ์ RFID ขั้นตอนการประดิษฐ์อุปกรณ์ 1. เชื่อมต่อสาย RC522 MIFARE RFID module เข้ากับ Arduino UNO R3 Board และ เชื่อมสาย USB ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อลงโปรแกรมคำสั่ง 2. อัพโหลดโค้ด Library Sensor DS18B20 ในโปรแกรม Arduino เพื่อเชื่อมต่อกับตัว เซ็นเซอร์อ่านแท็ก RFID 3. เปิด Serial Monitor บนคอมพิวเตอร์ขึ้นมา จากนั้นนำแท็ก RFID ที่เตรียมไว้มาแตะที่ตัว อ่านบัตร รหัสแท็กจะขึ้นในจอคอมพิวเตอร์ แล้วทำการ Login รหัสแท็กกับชื่อนักเรียน 4. ล็อกอินเข้าอีเมล์ เข้าไปที่ Google Spreadsheet เปิดชีทใหม่ คลิกเข้าไปที่ Script Editor ตั้งโค้ดเพื่อเชื่อมต่อกับ Library RFID Module Arduino เมื่อมีการสแกนบัตรจะมีการส่งข้อมูลไปที่ Google Spreadsheet 5. สร้าง LINE BOT บน Dialog flow จากนั้นเพิ่มโค้ดใหม่เข้าไปที่ Script Editor บน Spreadsheet (ขั้นตอนนี้จะได้ LINE BOT ที่มีฐานข้อมูลอยู่ใน Spreadsheet คือเมื่อมีการเพิ่มข้อมูล ลงใน Spreadesheet โค้ดที่ตั้งไว้จะส่งค่าการลงชื่อไปที่ LINE ทันที) 6. ตั้งค่าการตอบกลับของ LINE เมื่อมีการลงชื่อนักเรียนเข้าในระบบ เป็นการแจ้งชื่อนักเรียน พร้อมกับคาบและเวลาที่เข้าเรียน
  • 18. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 13 ขั้นตอนการทำงานของระบบ รูปที่ 3.1 แผนผังขั้นตอนการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ขั้นตอนการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ 1. แจก RFID แท็กการ์ดให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ในห้องจำนวน 23 คน จากนั้นลงทะเบียนหมายเลขแท็กไว้บนคอมพิวเตอร์ 2. ทดลองสแกนบัตรเข้าไปที่เครื่องอ่านแท็ก จากนั้นตรวจสอบว่าข้อมูลมีการบันทึกลงใน Google Sheet หรือไม่ และหมายเลขบัตรตรงกับชื่อนักเรียนเจ้าของบัตร 3. ทุกเช้าก่อนเข้าแถวหน้าเสาธง ให้นักเรียนจำนวน 23 คน สแกนบัตรลงบนเครื่องอ่านแท็ก RFID เป็นระเวลา 5 วัน (วันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี และศุกร์) 4. กรณีนักเรียนที่มีปัญหาไม่สามารถมาเข้าเรียนได้ ให้ลงทะเบียนในอินเตอร์เน็ตและ แจ้งชื่อ ลงออนไลน์พร้อมสาเหตุที่ไม่สามารถมาเข้าเรียนได้ (มาสาย ลากิจ ลาป่วย หรือทำกิจกรรมนอก ห้องเรียน)
  • 19. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 14 5. จากนั้นตรวจสอบการวิเคราะห์ข้อมูลของรายชื่อนักเรียนใน Google Sheet และตรวจสอบ การแสดงผลข้อมูลแบบออนไลน์ว่าถูกต้องตรงตามจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนหรือไม่ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน ขั้นตอนการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ 1. สแกนบัตร RFID ก่อนเข้าเรียนทุกเช้าก่อนเข้าแถวหน้าเสาธงและทุกคาบก่อนเข้าเรียน เป็น ระยะเวลา 5 วัน และตรวจสอบข้อมูลใน Google Sheet 2. ให้อาจารย์ขานชื่อนักเรียนแต่ละคนเพื่อเช็คชื่อนักเรียนก่อนเข้าแถวหน้าเสาธง 3. บันทึกรายชื่อนักเรียนลงบนใบรายชื่อ เป็นระยะเวลา 5 วัน จากนั้นตรวจสอบข้อมูล 4. วัดระเวลาขณะสแกนบัตรเปรียบเทียบกับการขานชื่อนักเรียน 5. ตรวจสอบข้อมูลใน Google Sheet และข้อมูลในใบรายชื่อนักเรียน 6. จากนั้นนำบันทึกที่ได้มาทำสรุปรายงานการเข้าเรียนของนักเรียนจากการเช็คชื่อทั้ง 2 แบบ ว่าแบบไหนสามารถทำได้สะดวกมากกว่า 7. ทำสรุปข้อมูลการเช็คชื่อแบบแกนบัตรแล้วส่งไฟล์การสรุปให้อาจารย์ผู้สอนเพื่อบันทึกลง ระบบนักเรียน เปรียบเทียบกับการให้อาจารย์ผู้สอนสแกนคิวอาร์โค้ดแล้วทำสรุปเพื่อบันทึกลงระบบ นักเรียน จากนั้นสอบถามความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอนและนักเรียน ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ ขั้นตอนการประเมินความพึงพอใจ 1. ทำแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID จำนวน 30 ชุด เพื่อนำไปประเมินสำหรับนักเรียนจำนวน 23 คน และอาจารย์จำนวน 2 คน โดยแบ่งระดับความ พึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ (5) = มากที่สุด, (4) = มาก, (3) = ปานกลาง, (2) = น้อย และ (1) = น้อยที่สุด 2. นำชุดแท็ก RFID และเครื่องอ่านแท็กอาร์เอฟไอดีไปให้นักเรียนและอาจารย์ทดลองใช้งาน 3. ให้ผู้ทดลองใช้กรอกรายละเอียดแบบประเมินความพึงพอใจการใช้ระบบบักทึกการเข้าชั้น เรียนด้วย RFID ให้ครบถ้วน 4. ถ่ายภาพกับผู้ทดลองใช้งานและตัวชุดระบบการบันทึกการเข้าชั้นเรียนจำนวน 30 คน จากนั้นนำข้อมูลจากแบบประเมินเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 5. ทำตารางและแผนผังสรุปแบบประเมินความพึงพอใจที่ได้จากผู้ทดลองใช้งานระบบ
  • 20. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 15 แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / หน้าข้อที่ตรงกับความเป็นจริง หรือความคิดเห็นของท่านมากที่สุด ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง 2. อาชีพ ( ) นักเรียน นักศึกษา ( ) ครู ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจของการใช้งานระบบ โดยมีระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ ดังนี้ (5) = มากที่สุด (4) = มาก (3) = ปานกลาง (2) = น้อย (1) = น้อยที่สุด ลำดับ รายละเอียดความพึงพอใจ ระดับความพอใจ 5 4 3 2 1 1 ระบบช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น 2 การ์ดอาร์เอฟไอดีใช้งานได้ เลขที่การ์ดตรงกับข้อมูลนักเรียน 3 เครื่องอ่านการ์ดใช้งานได้ และอ่านการ์ดได้รวดเร็ว 4 ข้อมูลบันทึกการเช็คชื่อของนักเรียนถูกต้อง และชัดเจน 5 ระบบมีการแจ้งเตือนในไลน์ทันที และข้อมูลแจ้งเตือนถูกต้อง ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ ลงชื่อ (ผู้ประเมิน) ( )
  • 21. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 16 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูล และผลการดำเนินงานของการทำโครงงานฉบับนี้ คณะผู้จัดทำจะนำเสนอข้อมูลแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน ตอนที่ 4 การนำระบบไปใช้ในห้องเรียน (เผยแพร่โครงงานกับโรงเรียน) ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ผลงานอุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ที่สำเร็จแล้วและ RFID แท็กการ์ด รูปที่ 4.1 – 4.2 ผลงานอุปกรณ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID และ RFID แท็กการ์ด รูปที่ 4.3 – 4.4 อุปกรณ์บันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ด้านหน้าและด้านข้าง
  • 22. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 17 ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ในการทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID จะตรวจสอบการบันทึก ข้อมูลนักเรียนจากแท็กอาร์เอฟไอดีที่สแกนได้ลงใน Google Sheet โดยตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่ ถูกบันทึกได้กับจำนวนนักเรียนที่มาจริงในแต่ละวัน เป็นระยะเวลา 5 วันว่าเครื่องอ่านแท็กอาร์เอฟไอ ดีสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ถูกต้องตามจริงหรือไม่ ตารางที่ 1 ทดสอบการบันทึกข้อมูลจำนวนนักเรียนลงใน Google Sheet วันที่ ข้อมูลจำนวนนักเรียนที่บันทึกใน Google Sheet จำนวนนักเรียนที่มาจริง (คน) จำนวนนักเรียนที่บันทึกได้ (คน) ร้อยละ 1 23 23 100 2 23 22 95.65 3 23 23 100 4 23 23 100 5 23 23 100 เฉลี่ย 23 22.8 99.13 แผนภูมิที่ 1 ทดสอบการบันทึกข้อมูลจำนวนนักเรียนลงใน Google Sheet 99.13 0.87 จานวนนักเรียนที่สามารถบันทึก การ์ดได้อย่างถูกต้อง จานวนนักเรียนที่ไม่สามารถ บันทึกการ์ดได้
  • 23. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 18 ตรวจสอบการบันทึกผลข้อมูลของแท็กอาร์เอฟไอดีลงใน Google Sheet โดยทดสอบการ บันทึกข้อมูลของแต่ละวัน เป็นระยะเวลา 5 วัน ในตารางสรุปผลข้อมูลบน Google Sheet และ บันทึกข้อมูลการสรุปผลเป็นรูปภาพ ตารางที่ 2 ข้อมูลที่บันทึกได้จากการสแกนแท็ก RFID ใน Google Sheet วันที่ รูปภาพผลการบันทึกข้อมูลใน Google Sheet 1 2 3
  • 24. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 19 4 5 ทดสอบการทำงานของระบบแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์ โดยตรวจสอบว่าในแต่ละครั้งที่มี การสแกนแท็กอาร์เอฟไอดีของนักเรียนแต่ละคน มีการขึ้นแจ้งเตือนในไลน์หรือไม่ ตารางที่ 3 ทดสอบการทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์ วันที่ การทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์ จำนวนนักเรียนที่มา (คน) การแจ้งเตือนลงในไลน์ของนักเรียนแต่ละคน (คน) 1 23 23 2 23 22 3 23 23 4 23 23 5 23 23 ร้อยละ 100 99.13
  • 25. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 20 แผนภูมิที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชันไลน์ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน ในการเปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน จะ เปรียบเทียบโดยการจับเวลาตั้งแต่มีการเริ่มเช็คชื่อนักเรียนคนแรกของชั้นจนถึงคนสุดท้ายของชั้น เรียน (คนสุดท้ายของชั้นเรียน หมายถึง คนสุดท้ายตามจำนวนนักเรียนที่เข้าในวันนั้น) จากนั้น เปรียบเทียบระยะเวลาในการเช็คชื่อแต่ละวัน เป็นระยะเวลา 5 วัน ตารางที่ 4 เปรียบเทียบระยะเวลาในการเช็คชื่อนักเรียนด้วยระบบ RFID กับการขานชื่อนักเรียน วันที่ ระยะเวลาในการเช็คชื่อ (วินาที) ระบบสแกน RFID การขานชื่อนักเรียน 1 117 212 2 119 - 3 121 222 4 155 245 5 126 240 เฉลี่ย 127.6 229.8 * (-) หมายถึง วันที่ 2 อาจารย์ไม่มีการขานชื่อนักเรียนเพื่อเช็คชื่อภายในห้อง 99.13 0.87 จานวนนักเรียนที่มีการแจ้ง เตือนในไลน์ จานวนนักเรียนที่ไม่ขึ้นแจ้ง เตือนในไลน์
  • 26. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 21 แผนภูมิที่ 3 เปรียบเทียบระยะเวลาในการเช็คชื่อนักเรียนด้วยระบบ RFID กับการขานชื่อ (วินาที) เปรียบเทียบการบันทึกผลข้อมูลของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน โดย บันทึกข้อมูลตารางสรุปผลข้อมูลบน Google Sheet และบันทึกข้อมูลเป็นรูปภาพ ตารางที่ 5 ข้อมูลที่บันทึกได้จากการเช็คชื่อด้วยระบบ RFID ระบบสแกน RFID 0 50 100 150 200 250 300 350 วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 การขานชื่อนักเรียน ระบบสแกน RFID
  • 27. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 22 ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ ชายจำนวน 1 คน หญิงจำนวน 6 คน 2. อาชีพ นักเรียนจำนวน 2 คน ครูจำนวน 5 คน ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจของการใช้งานระบบ บักทึกข้อมูลความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามในการทดลองใช้ระบบบันทึกการเข้าชั้น เรียนด้วย RFID โดยแบ่งระดับความพึงพอใจออกเป็น 5 ระดับ คือ (5) = มากที่สุด, (4) = มาก, (3) = ปานกลาง, (2) = น้อย, (1) = น้อยที่สุด ตารางที่ 6 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อระบบเช็คชื่อด้วย RFID ลำดับ รายละเอียดความพึงพอใจ ระดับความพอใจ (ร้อยละ) 5 4 3 2 1 1 ระบบช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น 57.14 48.86 0 0 0 2 การ์ดอาร์เอฟไอดีใช้งานได้ เลขที่ การ์ดตรงกับข้อมูลนักเรียน 100.00 0 0 0 0 3 เครื่องอ่านการ์ดใช้งานได้ และอ่าน การ์ดได้รวดเร็ว 28.57 71.43 0 0 0 4 ข้อมูลบันทึกการเช็คชื่อของนักเรียน ถูกต้อง และชัดเจน 71.43 28.57 0 0 0 5 ระบบมีการแจ้งเตือนในไลน์ทันที และข้อมูลแจ้งเตือนถูกต้อง 14.29 71.42 14.29 0 0 ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ - เป็นโครงงานที่มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง - นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำโครงงานดี สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ได้จริง เหมาะสมกับ การใช้งานภายในโรงเรียน - เป็นโครงงานแปลกใหม่ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี ก้าวทันสถานการณ์ในปัจจุบัน มี ความคิดริเริ่มที่ดี ประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายวิชา ไปต่อยอดสู่ความคิดและสาขาอาชีพในอนาคตได้ - ควรจะให้เวลาดีเลย์เร็วขึ้น - สะดวกสบายมากกว่าการขานชื่อนักเรียนในคาบเรียนและช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า
  • 28. โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ห้องเรียนพิเศษ SMTE โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้า 23 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล สรุปผลการดำเนินงาน ตอนที่ 1 ประดิษฐ์ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID อุปกรณ์การเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ช่วยในการตรวจสอบชื่อนักเรียนที่เข้าชั้นเรียนในแต่ละวัน ด้วยการใช้บัตรสแกนก่อนเข้าเรียนคาบแรก สามารถเช็คชื่อนักเรียนได้อย่างรวดเร็วจาก RFID แท็ก การ์ดและอุปกรณ์มีการนำข้อมูลบันทึกลงในออนไลน์โดยมีการบันทึกทั้งวันที่และเวลาที่สแกนบัตร ตอนที่ 2 ทดสอบการทำงานของระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID จากสมมติฐานที่ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้ มีการอัพเดตข้อมูลลง ออนไลน์ สามารถสรุปได้ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถอ่านการ์ดจากนักเรียนได้อย่างอย่าง แม่นยำ คิดเป็นร้อยละ 99.13 และการ์ดทุกใบที่สามารถสแกนได้มีการขึ้นแจ้งเตือนลงในไลน์ทั้งหมด ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการทำงานของระบบเช็คชื่อด้วย RFID กับการขานชื่อนักเรียน จากสมมติฐานที่ว่า ระบบเช็คชื่อด้วย RFID สามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วกว่า โดยไม่กินเวลาในคาบเรียนไปสามารถสรุปได้ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID ใช้ระยะเวลา เฉลี่ยในการสแกนบัตรลงบนตัวเครื่องอ่านการ์ดเฉลี่ยวันละ 127.6 วินาทีส่วนการชื่อนักเรียนด้วยการ ขานชื่อใช้ระยะเวลาเฉลี่ยวันละ 229.8 วินาที เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การเช็คชื่อด้วย RFID ประหยัดเวลาไปมากกว่า 102.2 วินาทีหรือประมาณ 1 นาที 42 วินาที และในการใช้งานจริงสามารถ สแกนบัตรได้ก่อนเข้าคาบเรียนเลย จึงไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในคาบเรียนเพื่อเช็คชื่อเหมือนการขานชื่อ นักเรียนในคาบเรียน ตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ จากสมมติฐานที่ว่า ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนสามารถใช้งานได้จริง และสามารถสรุป ข้อมูลได้ว่า ด้านระบบช่วยให้เช็คชื่อนักเรียนได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ ระดับ 5 หรือ พึงพอใจมากที่สุด ด้านการ์ดอาร์เอฟไอดีใช้งานได้ เลขที่การ์ดตรงกับข้อมูลนักเรียนมี ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 5 หรือ พึงพอใจมากที่สุด ด้านเครื่องอ่านการ์ดใช้งานได้ และอ่าน การ์ดได้รวดเร็วมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 4 หรือ พึงพอใจมาก ด้านข้อมูลบันทึกการเช็คชื่อ ของนักเรียนถูกต้อง และชัดเจน และด้านระบบมีการแจ้งเตือนในไลน์ทันที และข้อมูลแจ้งเตือน ถูกต้องมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับ 4 หรือ พึงพอใจมาก