SlideShare a Scribd company logo
1 of 83
Download to read offline
โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน
เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
จัดทาโดย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
ที่ปรึกษาโครงงาน
คุณครูกวี รอนกระโทก
โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศิลปะ รหัสวิชา ศ31101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน
เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
จัดทาโดย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
ที่ปรึกษาโครงงาน
คุณครูกวี รอนกระโทก
โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศิลปะ รหัสวิชา ศ31101
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ก
เกี่ยวกับโครงงาน
หัวข้อเรื่อง : การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : ศิลปะ (ศ31101)
ผู้จัดทา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
ระดับชั้น : ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่ปรึกษาโครงงาน : คุณครูกวี รอนกระโทก
ที่ปรึกษาพิเศษ : นายอาไพ บุญรอด
สถานศึกษา : โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การติดต่อ : โทร. 038 029050
โทรสาร 038 029051
มือถือ 081 7813788
ปีการศึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
ข
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวางฉบับนี้สาเร็จลุล่วงไป
ได้ด้วยดี เนื่องจากคณะผู้จัดทาได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูกวี รอนกระโทก คุณครูที่ปรึกษา
โครงงานที่ได้สละเวลาให้คาแนะนา ข้อคิดเห็น และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอนในขั้นตอน
ต่างๆ ซึ่งคณะผู้จัดทารู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทาขอขอบพระคุณ คุณครูอาไพ บุญรอด และคณะจากโรงละครหนังใหญ่วัดบ้านดอนที่ได้
กรุณาให้คาปรึกษา คาแนะนา และถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอนแก่คณะผู้จัดทา
ซึ่งทาให้การทาโครงงานฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้ในวิชาต่างๆ ซึ่งคณะผู้จัดทาได้นามาใช้
ประโยชน์ในโครงงานฉบับนี้ ขอขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาหรับกาลังใจและ
ความช่วยเหลือที่มีให้มาตลอด
สุดท้ายขอขอบพระคุณ บิดา มารดา และครอบครัวที่ได้ช่วยเหลือ ให้การส่งเสริม สนับสนุน และเป็น
กาลังใจที่สาคัญยิ่ง ตลอดจนทาให้การทาโครงงานในครั้งนี้ประสบผลสาเร็จไปได้อย่างลุล่วง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
กันยายน 2561
ค
หัวข้อเรื่อง : การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
ผู้จัดทา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
ที่ปรึกษาโครงงาน : คุณครูกวี รอนกระโทก
บทคัดย่อ
โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอนทเรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง คณะผู้จัดทาได้
ทาการศึกษาค้นคว้าวิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอนและการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เพื่อเป็นการเรียนรู้
ศิลปวัฒนธรรมไทย และทาการเผยแพร่มหรสพการแสดงหนังใหญ่ภายในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริม และปลูก
จิตสานึกการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับการทาหนังใหญ่
ทางคณะผู้จัดทาได้ทาการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง ณ
หอประชุมสุนทรเมธี ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2561 และทาการประเมินผลการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน
จากคณะกรรมการจานวน 5 ท่าน ตามหัวข้อการประเมิน 5 ข้อโดยลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเติมคาสั้นๆ
ในช่องว่าง (Short Answer) มีคะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 92.8 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ใน
เกณฑ์ดีมาก นอกจากนี้ยังทาการสารวจความพึงพอใจจากนักเรียนที่ร่วมชมการแสดงจานวน 80 คน โดยส่วน
ใหญ่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 77.5 รองลงคือนักเรียนที่ไม่ระบุระดับการศึกษา และนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามลาดับ พบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 4.34 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ
มาก โดยด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านภาพรวมของการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน รองลงมาคือ
ด้านตัวหนังใหญ่ที่มีความคมชัด ฉลุลายชัดเจน สวยงาม, ความเหมาะสมของระยะเวลาในการแสดง และด้าน
การเตรียมตัวและความพร้อมของผู้เชิดและผู้บรรยายประกอบ
ง
สารบัญ
หน้า
เกี่ยวกับโครงงาน ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทคัดย่อ ค
สารบัญ ง
สารบัญรูปภาพ ฉ
สารบัญตาราง ซ
บทที่ 1 บทนา
ความเป็นมาและความสาคัญ 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2
ขอบเขตของการศึกษา 2
นิยามศัพท์เฉพาะ 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประวัติและความเป็นมาของหนังใหญ่ 4
ที่มาและความหมายของการแสดงหนังใหญ่ 5
ความหมายหนังใหญ่ 7
ประเภทของหนังใหญ่ 8
หนังใหญ่วัดบ้านดอน 9
องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ๋วัดบ้านดอน 10
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน 13
วิธีการทาหนังใหญ่แบบโบราณ 15
วิธีการทาหนังใหญ่โดยใช้แผ่นประเก็น 16
ลักษณะการแสดงหนังใหญ่ 18
บทพากย์-เจรจา รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง 20
บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน
การทาตัวหนังใหญ่ 22
การเชิดหนังใหญ่ 24
จ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ประเมินผลการดาเนินงาน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ประเมิน 25
เครื่องมือที่ใชในการประเมิน 26
วิธีรวบรวมข้อมูล 26
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 27
บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน
ตัวหนังใหญ่ที่เสร็จสมบูรณ์ 31
การแสดงเชิดหนังใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง 32
ประเมินผลการดาเนินงาน
แบบประเมินผล (คณะครูและกรรมการเป็นผู้ประเมิน) 34
แบบประเมินผลความพึงพอใจ (นักเรียนเป็นผู้ประเมิน) 35
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการดาเนินงาน 38
ข้อเสนอแนะ 39
บรรณานุกรม 41
ภาคผนวก ก รูปภาพ 43
ภาคผนวก ข หน้าที่รับผิดชอบ 53
ภาคผนวก ค แบบประเมินผลการแสดง 57
ภาคผนวก ง ผลวิเคราะห์ข้อมูลการประเมิน (คณะครูเป็นผู้ประเมิน) 58
ภาคผนวก จ ผลวิเคราะห์ความพอใจ (นักเรียนเป็นผู้ประเมิน) 60
ประวัติผู้จัดทา 70
ฉ
สารบัญรูปภาพ
หน้า
บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน
ภาพที่ 3.1 ลงลวดลายลงแผ่นปะเก็นด้วยดินสอ 23
ภาพที่ 3.2 ลงลวดลายลงแผ่นปะเก็นด้วยดินสอ 23
ภาพที่ 3.3 ลงลวดลายลงแผ่นปะเก็นด้วยดินสอ 23
ภาพที่ 3.4 ใช้ตัวตอกเจาะรูตามลายที่ลงไว้ 23
ภาพที่ 3.5 ใช้ตัวตอกเจาะรูตามลายที่ลงไว้ 23
ภาพที่ 3.6 ใช้ตัวตอกเจาะรูตามลายที่ลงไว้ 23
ภาพที่ 3.7 พ่นสีสเปรย์สีดาด้านลงแผ่นตัวหนัง 23
ภาพที่ 3.8 พ่นสีสเปรย์สีดาด้านลงแผ่นตัวหนัง 23
ภาพที่ 3.9 พ่นสีสเปรย์สีดาด้านลงแผ่นตัวหนัง 23
ภาพที่ 3.10 ประกบไม้ไผ่ มัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ และพันด้วยเทปพันสายไฟ 24
ภาพที่ 3.11 ประกบไม้ไผ่ มัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ และพันด้วยเทปพันสายไฟ 24
ภาพที่ 3.12 ประกบไม้ไผ่ มัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ และพันด้วยเทปพันสายไฟ 24
ภาพที่ 3.13 การซ้อมเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน 24
ภาพที่ 3.14 การซ้อมเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน 24
ภาพที่ 3.15 การซ้อมเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน 24
บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน
ภาพที่ 4.1 พระราม (เดิน) 30
ภาพที่ 4.2 พระราม (แผลงศร) 30
ภาพที่ 4.3 นางสีดา 31
ภาพที่ 4.4 กวางทอง 31
ภาพที่ 4.5 พระลักษณ์ 31
ภาพที่ 4.6 มารีศ 31
ภาพที่ 4.7 สรุปการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอนชั้นม.4/4 32
ภาพที่ 4.8 พากย์และบรรยายประกอบการแสดง 32
ภาพที่ 4.9 พากย์และบรรยายประกอบการแสดง 32
ช
สารบัญรูปภาพ (ต่อ)
หน้า
ภาพที่ 4.10 การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน ณ หอประชุมสุนทรเมธี 32
ภาพที่ 4.11 การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน ณ หอประชุมสุนทรเมธี 32
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
ภาพที่ 5.1 สรุปผลข้อมูลทั่วไปของนักเรียน 39
ซ
สารบัญตาราง
หน้า
บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน
ตารางที่ 4.1 แสดงค่าเฉลี่ย และแปลความหมายข้อมูลการประเมินผล 33
การแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน
ตารางที่ 4.2 แสดงจานวนและร้อยละเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักเรียนผู้ตอบ 34
แบบสอบถาม
ตารางที่ 4.3 แสดงจานวนผู้ตอบแบบประเมินในระดับความใจ 5 ระดับ 35
ตารางที่ 4.4 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเกี่ยวกับ 36
ความพึงพอใจในการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอนทั้ง 7 หัวข้อการประเมิน
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
ตารางที่ 5.1 สรุปผลการประเมินผลการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน 38
ตารางที่ 5.2 สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ 39
บทที่ 1
บทนา
1.1. ความเป็นมาและความสาคัญ
การแสดงหนังใหญ่ เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง แสดงเฉพาะในงานพระราชพิธีสาคัญ มีมาตั้งแต่ พ.ศ.
2001 ตามหลักฐานที่กล่าวไว้ในกฎมณเทียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และในเรื่องสมุทรโฆษชาดคา
ฉันท์ มีการเล่นตลอดมา จนกระทั่งสมัยอยุธยาในพ.ศ. 2301 มีการยุติการเล่นหนังใหญ่ไป แต่เมื่อกรุงธนบุรี
ขึ้นมามีศักดิ์ศรีราชธานีใหม่ โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การเล่นหนังใหญ่จึงฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้ง ซึ่ง
ยังคงมียืนยาวต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังนั้นหนังใหญ่จึงเป็นมหรสพที่ค่อนข้างสาคัญและมโหฬาร คล้าย
กับภาพยนตร์จอยักษ์ในสมัยปัจจุบัน
หนังใหญ่วัดบ้านดอน มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิด บังคราม (เกตุ ยมจินดา)
ประมาณปี พ.ศ. 2431 เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดระยอง ได้เห็นว่าวัฒนธรรมการเล่นหนังใหญ่ เป็นสิ่งควร
ค่าที่จะอนุรักษ์สืบทอดไว้ จึงซื้อตัวหนังใหญ่มาจากจังหวัดพัทลุงจานวนหนึ่งชุด ประมาณ 200 ตัว ขนส่งข้าม
อ่าวไทยมาทางเรือ พร้อมทั้งจ้างครูหนังมาช่วยในการฝึกสอน ถ่ายทอดการแสดงให้กับคนของท่านเจ้าเมือง
เพื่อแสดงในงานสาคัญๆ ระยะแรกได้จัดแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล
ระยอง ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่เพื่อสะดวกในการฝึกซ้อม การแสดงจึงถูกย้ายมายังวัดบ้านดอน จนกระทั่งปี
พ.ศ. 2523 ได้มีการฝึกซ้อมหนังใหญ่ และนาออกแสดงตามงานต่างๆ อีกครั้ง เช่น งานหมู่บ้าน งานฉลองกรุง
รัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์ เพื่อเป็นการฟื้นฟู การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่เคยมี ต่อมา
พระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาส เห็นว่าควรมีสถานที่เก็บอนุรักษ์ตัวหนังให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน
สามารถเห็นศิลปเก่าแก่ จึงริเริ่มโครงการสร้างอาคารเพื่อเก็บหนังใหญ่ และเปิดให้คนได้เข้าชมเมื่อวันที่ 16
พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
คณะผู้จัดทาจึงเลือกทาการศึกษาค้นคว้าวิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอนและการเชิดหนังใหญ่ โดย
เลือกเอาเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง มาเป็นเนื้อเรื่องในการทาหนังใหญ่และการแสดงเพื่อเป็น
การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทย และทาการเผยแพร่มหรสพการแสดงหนังใหญ่ภายในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริม
และปลูกจิตสานึกการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับการทาหนังใหญ่
2
1.2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อเป็นการส่งเสริม และสืบสานการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับหนังใหญ่
2. เพื่อปลูกจิตสานึกการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย หนังใหญ่วัดบ้านบ้าน
3. เพื่อศึกษาวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
4. เพื่อเรียนรู้วิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอน
5. เพื่อเรียนรู้วิธีการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน
1.3. ขอบเขตของการศึกษา
ขอบเขตด้านเนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องที่คณะผู้จัดทาจะนามาใช้แสดงในการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน คือ เรื่องรามเกียรติ์ ตอน
พระรามตามกวาง
ขอบเขตด้านสถานที่
1. สถานที่จัดทาและเชิดหนังใหญ่ คือ
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง
เลขที่ 1 หมู่ที่ 4 ตาบลนาตาขวัญ อาเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000
2. สถานที่ฝึกซ้อมเชิดหนังใหญ่ คือ โรงละครหนังใหญ่ วัดบ้านดอน
หมู่ที่ 4 ตาบลเชิงเนิน อาเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000
ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาที่ในการทาโครงงานฉบับนี้ ดาเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ตั้งแต่วันที่ 24
พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2561
ขอบเขตด้านงบประมาณ
โครงงานฉบับนี้ใช้งบประมาณเป็นจานวนเงินทั้งสิ้น 5,600 บาท
1.4. นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ตัวหนังใหญ่ หมายถึง แผ่นปะเก็นที่ฉลุฉลักลวดลายเป็นรูปตัวละครต่าง ๆ มีไม้ผูกทาบแผ่นปะเก็น
ไว้ทั้ง 2 ข้าง โดยมีคันยื่นลงมาใต้แผ่นปะเก็นสาหรับจับถือ
2. แผ่นปะเก็น หมายถึง แผ่นหนังที่ใช้แทนหนังวัวหรือหนังควายเป็นตัวหนังใหญ่
3. การเชิดหนัง หมายถึง การที่คนเชิดถือตัวหนังใหญ่โดยยกสูงเหนือหัว เต้นไปตามจังหวะเพลงและ
บทพากย์-เจรจา ซึ่งใช้ลาตัวและแขนขาเป็นสาคัญ
4. บทพากย์-เจรจา หมายถึง บทประกอบการแสดง มีทั้งการพากย์ เจรจาและการขับร้อง
5. ผู้พากย์ หมายถึง บุคคลที่พูดเจรจาโต้ตอบกันตามบทพากย์-เจรจาขณะทาการเชิด
6. พระรามตามกวาง หมายถึง เนื้อเรื่องตอนที่ 14 ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์
3
1.5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ร่วมกันส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับหนังใหญ่
2. เพื่อปลูกจิตสานึกการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย หนังใหญ่วัดบ้านบ้าน
3. ได้ศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
4. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอน
5. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การจัดทาโครงงานเรื่อง การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรต์ ตอน พระรามตามกวาง คณะ
ผู้จัดทาได้ทาการศึกษาค้นคว้าแนวคิด เอกสารต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทา
โครงงาน ดังนี้
2.1. ประวัติและความเป็นมาของหนังใหญ่
2.2. ที่มาและความหมายของการแสดงหนังใหญ่
2.3. ความหมายหนังใหญ่
2.4. ประเภทของหนังใหญ่
2.5. หนังใหญ่วัดบ้านดอน
2.6. องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ๋วัดบ้านดอน
2.7. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน
2.8. วิธีการทาหนังใหญ่แบบโบราณ
2.9. วิธีการทาหนังใหญ่โดยใช้แผ่นประเก็น
2.10. ลักษณะการแสดงหนังใหญ่
2.11. บทพากย์-เจรจา รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
แนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1. ประวัติและความเป็นมาของหนังใหญ่
ทัศนีย์ ทานตวนิช (2535 อ้างถึงใน งานวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน 2546, หน้า 67)
กล่าวว่า หนังใหญ่ชุดดังกล่าวมาจากพัทลุง แต่บางท่านก็ว่ามาจากกรุงเทพฯ แต่ แพรว เกศารัตน์ (2523 อ้าง
ถึงใน งานวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน, 2524, หน้า 348) กล่าวว่า หนังใหญ่มาจากพัทลุงใน
สมัยนั้นนามาทางเรือ พร้อมด้วยเครื่องดนตรีปี่พาทย์ครบชุด ต้องใช้เวลารอนแรมมานานหลายวันหลายคืน ซึ่ง
ในขณะที่นาหนังมาทางเรือ ได้เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดขึ้น คือ ตัวนางสีดาปลิวตกทะเลไป ผู้คนต่างตก
อกตกใจกลัวจะถูกทาโทษ แต่ไม่รู้จะทาอย่างไรและคิดว่านางสีดาคงจมหายไปในทะเลแล้ว พอมาถึงเมือง
ระยอง ขณะที่จอดเรือเทียบท่า ปรากฏว่ามีผู้เห็นนางสีดาติดอยู่กับหางเสือเรือ ทุกคนที่อยู่ในที่นั้นต่างพากัน
ประหลา ใจที่เห็นนางสีดาไม่ยอมพรากจากพระราม
อเนก นาวิกมูล (2530, หน้า 50) กล่าวว่า ตัวหนังใหญ่เป็นฝีมือช่างสองกลุ่ม คือ อยุธยาและกรุงเทพฯ
ซึ่งช่างอยุธยาเนื้อหนังจะละเอียดกว่า แต่จะสร้างในปีใด เก่าเท่าไร ไม่ทราบแน่นอน ตัวหนังเป็นสีดา มีระบาย
สีอื่นเล็กน้อย ฝีมือประณีตมาก หนังใหญ่ครั้งแรกได้นาไปแสดงที่วัดเก๋ง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างเหลือเพียงเจดีย์
และเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลระยองและโรงเรียนวัดป่าประดู่) มีการฝึกซ้อมและนาออกแสดงเป็นครั้ง
5
คราว โดยเล่ากันว่าหนังชุดนี้ครูแรง เมื่อวัดเก๋งร้างเจ้าคุณเฒ่าจึงได้นาไปถวาย วัดบ้านดอน เพราะผู้เชิดผู้พากย์
ส่วนใหญ่เป็นคนชากใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับวัดบ้านดอน อาจารย์เล็ก เจ้าอาวาส วัดบ้านดอน (พ.ศ. 2439-2481)
มีความสนใจการแสดงหนังใหญ่ ขณะนั้นก็มีการฝึกหัดผู้แสดงอยู่ เป็นประจาวงปี่พาทย์ที่เล่นร่วมกันประจาก็
เป็นชาวบ้านทุ่งโพธิ์ ตาบลนาตาขวัญ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน นั่นเอง
อุดม นัทธีประทุม (2535 อ้างถึงใน วัดบ้านดอน, 2536, หน้า 61-63) กล่าวว่า หนังใหญ่มาอยู่ที่วัด
บ้านดอนประมาณ 90 ปีมาแล้ว โดยนายเรือง นางแจ่ม รื่นเริง ผู้รับมอบ เป็นครูหนัง โดยมีครูประดิษฐ์เป็นผู้
ร่วมมือฝึกด้วย ปี่พาทย์ใช้วงของนายถั่ว ดนตรี เล่นร่วมกันมา โดยตลอด ผู้ร่วมพากย์หนังสืบทอดกันมา คือ
นายสวม เป็นธรรม นายช่า ช่างทอง ขุนวรภรณ์รัตน์ ศึกษาเขียว โสภณ (ทิดเขียว) เมื่อนายเรือง รื่นเริงชรา
ภาพมาก ก็ได้มอบให้ นายสี รื่นเริง ผู้เชิดร่วมโรง ซึ่งเป็นบุตรรับมอบเป็นครูหนังต่อมา และเมื่อเข้าวัยชราก็ได้
มอบให้นายเฉลิม มณีแสง พากย์ร่วมกับนายเจิม ขอบอรัญ ต่อมา นายเฉลิม มณีแสง ถึงแก่กรรม นายถ่อย
หวานฤดี ได้รับมอบ เป็นครูหนังต่อมา ผู้แจกตัวหนังที่ชานาญมากคือ นายหนุด สระหมัด กับนายจา สนิท
ราษฎร์ เมื่อถึงแก่กรรมจึงเหลือ นายเจิม ขอบอรัญ และนายถ่อย หวานฤดี เป็นครูหนังโรงนี้สืบมา ส่วนปี่พาทย์
สืบต่อจากนายถั่วก็คือ นายสาย ดนตรี จากนั้น ก็ล้มหายตายจากไปบ้าง ระยะหลังๆ ใช้วงปี่พาทย์ของ นาย
ฉลอม พุทธมี
2.2. ที่มาและความหมายของการแสดงหนังใหญ่
สุจิตร มาถาวร (2541, หน้า 78) กล่าวไว้ว่า หนังใหญ่ หมายถึง หนังสัตว์แกะฉลุตามลวดลายตัวละคร
เรื่องรามเกียรติ์นิยมใช้หนังโคในการแกะฉลุมากกว่าหนังกระบือ เนื่องจากหนังโคมีความบางกว่าหนังกระบือ
และเมื่อหนังแห้งมักไม่ย่น
สุจิตต์ วงษ์เทศ (2532, หน้า 194) กล่าวไว้ว่า หนังใหญ่ หมายถึง หนังสัตว์แกะสลัก ลวดลายเป็นตัว
ละครเรื่องรามเกียรติ์ ประดับเทวสถานประสารทปาปวน นครวัด ยุคเขมรพุทธ ศตวรรษที่ 15-16 และ
ปราสาทหินพิมายพนมรุ้ง แต่ไม่พบในบริเวณราบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา หรืออาจเป็นเพราะไม่มีผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ชานาญการแกะสลักบนปราสาทหินในเขมรที่แสดงรูปด้านข้างเป็นส่วนมาก หนังใหญ่จึงแสดงรูปด้านข้าง
เกือบทั้งหมด และเป็นไปได้มากที่การเผยแพร่เรื่องรามเกียรติ์ด้วยหนังใหญ่จะแพร่กระจายออกมาจาก
อาณาจักรเขมรโบราณ ซึ่งเรียกว่า หนังแสบกหรือหนังสแบก และในวรรณคดีเรื่องสมุทรโฆษคาฉันท์ แต่งใน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธา
มนตรี ตราโมท (2518, หน้า 10) กล่าวไว้ว่า หนังใหญ่ที่พบในชาติอื่นๆ ตัวหนังจะมีขนาดเล็กแบบ
หนังตะลุงทั้งนั้น แต่หนังใหญ่ของชาวชวาจะมีขนาดใหญ่เท่ากับหนังใหญ่ของไทย ซึ่งจะติดไว้เป็นเครื่องประดับ
บ้านของเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ แต่การแสดงหนังใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเป็นหนังเล็กๆ ขนาดเท่ากับ
หนังตะลุงจึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า ชวาเคยมีหนังใหญ่แสดงมาแต่โบราณ และได้หมดความนิยทลงจนสูญ
หายไป เพราะฉะนั้น นอกจากการเอาแบบแผนเรื่องการฉลุหนังเป็นภาพเชิดซึ่งไม่ทราบว่ามาจากไหนแล้ว การ
แสดงหนังขนาดใหญ่นี้จะมีการเอาอย่างกันก็เปชห็นจะเป็นระหว่างไทยกับชวา
6
เสถียร ชังเกตุ (2537, หน้า 8) กล่าวไว้ว่า หนังเขมรที่มีลักษณะคล้ายกับหนังของประเทศไทยมี 2
ชนิด คือ หนังแสบก ซึ่งเป็นชื่อเรียกหนังใหญ่ของเขมร คือ คณะหนังใหญ่ แสบกธม วัดปราสาทสิริ ซึ่งเคยมา
แสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4-27 เมษายน พ.ศ.2534 ในช่วงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีพระชนมายุครบ 3 รอบ ตัวหนังใหญ่ของเขมรจะเล็กกว่าตัว
หนังใหญ่ของไทย คือ สูงประมาณ 1.2 – 1.5 เมตร คล้ายสี่เหลี่ยม มีลวดลายไม่ละเอียดเหมือนหนังใหญ่ของ
ไทย ซึ่งจะนิยมเล่นเรื่องรามายณะ และ หนังเขมรชนิดที่สองเรียกว่า “อยอง” (AYONG) คือ หนังตะลุงของ
เขมรจะเป็นหนังเล็กนิยมเล่น เรื่องรามเกียรติ์ มีความสูงประมาณ 2 ฟุต
ผอบ โปษะกฤษณะ (2520, หน้า 6) กล่าวไว้ว่า การแสดงหนังในชวาคล้ายคลึงกับการแสดงหนังใหญ่
ของไทยเรามาก แม้จนทุกวันนี้ก็ยังมีการเล่นอยู่ และคนพากย์หนังชวาจะเรียกว่า “ดาหลัง” ในการแสดงหนัง
ใหญ่ส่วนสาคัญจะอยู่ที่ดาหลัง จอหนังของชวาใหญ่กว่าหนังตะลุงเล็กน้อย ตัวหนังสูงประมาณ 1 เมตร ไม่มี
ใหญ่กว่านี้ แต่การเชื่อมไม้ที่จับเชิดนั้นจะสามารถทาให้ ตัวหนังเคลื่อนไหวได้
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร, (2518, หน้า 10) ทรงกล่าวไว้ในหนังสือ Shadow
Play (THE NANG) ว่าหนังใหญ่ของไทยมาจากอาณาจักรศรีวิชัยผ่านคาบสมุทรมลายูขึ้นมาจนถึงลุ่มแม่น้า
เจ้าพระยา และในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีการพัฒนาลักษณะสาคัญต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของ
คนไทยด้านความคิดริเริ่มและการเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (2549 หน้า 1-120) ได้ทาหนังสือเรื่อง “หนังใหญ่วัด
บ้านดอน” และสรุปได้ว่า ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นองค์กรของรัฐที่ดาเนินงานด้าน
วิชาการ เพื่อพัฒนาทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรมที่มีความสาคัญภายในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและ
พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และเผยแพร่สู่สาธารณชน ประกอบกับการสร้างเวทีที่ถ่ายทอดวิธีการแกะ
หนังให้กับเด็กๆ และผู้สนใจอีกด้วย
ลักษณะของหนังใหญ่ ลักษณะของหนังใหญ่ เมื่อฉลุแล้วจะเป็นภาพโปร่ง การฉลุจะมี 2 แบบ คือ การ
ฉลุเอาหนังออกเหลือแต่เส้นแสดงวงหน้า ตา คิ้ว ปาก หรือเส้นขอบแขน คอ เท่านั้น ซึ่งจะเรียกว่า “หน้า
แขวะ” อีกแบบหนึ่งต้องฉลุเอาเส้นตา คิ้ว วงหน้า ขอบแขนออก เรียกว่า “หน้าเต็ม” จึงดูกลับกัน ลักษณะของ
ภาพตัวหนังสามารถจาแนกได้ ดังนี้
1. หนังเดี่ยว คือ ตัวหนังที่มีภาพเดี่ยว เป็นภาพอยู่ในท่าเดิน ยืน ทาความเคารพ ท่าผาดแผลง เช่น ท่า
เดิน ท่าเหาะ ท่านั่งพนมมือหรือกิริยาเข้าเฝ้า เป็นต้น
2. หนังเรื่อง คือ ตัวหนังที่มีภาพ 2 ตัวขึ้นไป หรืออยู่ในแผ่นเดียวกัน เช่น ภาพที่แสดงการต่อสู้กัน ลิง
ขาวดารบกัน เป็นต้น
3. หนังเบ็ดเตล็ด คือ หนังที่ไม่จากัดว่าจะเป็นภาพอะไร เช่น คนถืออาวุธ ตัวตลก ช้าง ม้า เป็นต้น
ประเภทของตัวหนังใหญ่ ตัวหนังใหญ่ สามารถจาแนกออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่
1. หนังเทพเจ้าหรือหนังครู
2. หนังเฝ้าหรือหนังไหว้
7
3. หนังคเนจรหรือหนังเดิน
4. หนังง่าหรือหนังเหาะ
5. หนังเมืองหรือหนังปราสาท
6. หนังจับหรือหนังรบ
7. หนังเบ็ตเตล็ด
จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า หนังใหญ่ถือเป็นการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ โบราณ
กาล มีวิวัฒนาการและมีการปรับเปลี่ยนตัวเองมาโดยตลอด ซึ่งการแสดงหนังไม่ได้จากัดอยู่เฉพาะในกลุ่ม
ประเทศแถบเอเชียเท่านั้น แต่หากยังแพร่หลายไปสู่ประเทศตะวันตก โดยเชื่อกันว่ามีการแพร่กระจายจาก
ประเทศในแถบเอเชียด้วยการค้าขายและการติดต่อสัมพันธ์กัน ด้านอื่นๆ ไปทางเปอร์เชียสู่ตุรกี กรีซ และกลุ่ม
ประเทศทางตอนเหนือของทวีปอัฟริกาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยตัวหนังจะทามาจากหนังอูฐและมีการระบายสีให้
สวยงาม
2.3. ความหมายหนังใหญ่
หนังใหญ่ คือมหรสพที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้แผ่นหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละคร ใน
เรื่องรามเกียรติ์ และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทาให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัว
หนังเป็นสองข้างสาหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอ
จะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทาให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้น
คนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดงโขนก็ประกอบไปด้วยการพากย์
เจรจา ขับร้อง และการเต้นทาท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนาเอาการพากย์ เจรจาและท่าทางการเต้น
การแสดง มาจากหนังใหญ่ปัจจุบันเหลือคณะหนังใหญ่อยู่ทั้งหมด 3 คณะได้แก่
- หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี
- หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง
- หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี
หนังใหญ่เป็นมหรสพชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยโบราณ แสดงเฉพาะในงาน
พระราชพิธีสาคัญ ตัวหนังใหญ่ทาด้วยหนังวัวที่ฉลุฉลักลวดลายเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีขนาดสูง
ตั้งแต่ 1 - 2 เมตรเมื่อมีหนังตะลุง ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเข้ามาเผยแพร่ จึงเรียกหนังที่มีมาแต่เดิมว่า หนังใหญ่ ตาม
ปรกติหนังใหญ่ทาจากหนังวัว เมื่อทาเป็นตัวหนังเสร็จแล้ว จะมีความโปร่งแสงเรียกว่า หนังแก้ว เวลาเชิด แผ่น
หนังทาบบนจอ ผ้าขาวจะแลเห็นลวดลายสวยงามนอกจากหนังใหญ่ทั่วๆ ไปที่ใช้หนังวัวฉลุฉลักแล้ว ยังมีหนัง
เจ้าสามตัวเรียกว่า หนังครู คือ ฤาษี พระอิศวร และพระนารายณ์ ใช้เชิดตอนเบิกหน้าพาทย์สามตระ เป็นการ
ไหว้ครูก่อนเริ่มแสดงหนังใหญ่ หนังตัวฤาษีใช้หนังเสือ หรือหนังหมีฉลุฉลัก ส่วนหนังตัวพระอิศวรและพระ
นารายณ์ ใช้หนังวัวที่เสือกัดตาย ออกลูกตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย เรียกว่า โคตายพรายแผ่นหนังใหญ่ ที่ฉลุฉลัก
เป็นรูปต่างๆ ของตัวละครเรื่องรามเกียรติ์เหล่านี้ จะต้องระบายสีให้ถูกต้องตามพงศ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อทา
8
ตัวหนังเสร็จแล้ว จะต้องมีไม้สองอัน เรียกว่า ไม้ตับ หรือไม้คาบตัวหนัง ทาด้วยไม้ไผ่สองอัน คาบตัวหนัง ทาง
ด้านซ้ายและด้านขวา เหลือไม้ตับลงมาใต้ตัวหนังประมาณ 50 ซม. สาหรับให้คนเชิดจับนาตัวหนังออกเชิด
2.4. ประเภทของหนังใหญ่
หนังใหญ่ที่ทาเสร็จแล้ว มีลักษณะแตกต่างกันอยู่ 7 ประเภท คือ
1. หนังเจ้าหรือหนังครู เป็นตัวหนังที่ใช้สาหรับพิธีไหว้ครูเท่านั้น ตัวหนังนี้จะไม่ใช้ในการแสดงได้แก่
หนังฤษี หนังพระอิศวร หนังพระนารายณ์
2. หนังเฝ้า หรือหนังไหว้ เป็นหนังภาพเดี่ยวหน้าเสี้ยว (หันด้านข้าง) อยู่ในท่านั่งคุกเข่าพนมมือ ใช้
สาหรับเชิดในตอนเข้าเฝ้า มักมีขนาดเล็ก สูงประมาณหนึ่งเมตร
3. หนังคเนจร หรือหนังเดิน เป็นหนังภาพเดี่ยวหน้าเสี้ยว ทาท่าเดิน มีพญานาครองรับอยู่ที่ใต้เท้า
ใช้สาหรับเชิดในตอนเดิน
4. หนังง่า เป็นหนังภาพเดี่ยวหน้าเสี้ยว ทาท่าเหาะ หนังง่ามีลักษณะเฉพาะสองอย่างคือ ตัวหนัง
ทาท่าโก่งศรเรียกว่า หนังโก่ง และตัวหนังทาท่าแผลงศรเรียกว่า หนังแผลง หนังง่าใช้เชิดสาหรับ
ในตอนเหาะ ตอนโก่งศร และแผลงศร
5. หนังเมือง หรือหนังปราสาท เป็นหนังที่มีตัวละครหลายตัวอยู่ในผืนเดียวกัน จะต้องมีภาพ
ปราสาท ราชวัง ศาลา หรือตัวอาคารประกอบในหนังสือ หนังใหญ่ในตอนที่ทศกัณฐ์นั่งเมืองว่า
ราชการ หรือพญายักษ์ตนใดตนหนึ่งออกว่าราชการเรียกว่า หนังเมือง และหนังใหญ่ภาพพระราม
อยู่ในพลับพลาเรียกว่า หนังพลับพลา ถ้าตัวในเรื่องทาท่าเล้าโลมกันเรียกว่า หนังปราสาทโลม ถ้า
มีบทพูดกันเรียกว่า หนังปราสาทพูด หนังเมืองจะมีขนาดใหญ่ประมาณ 1.5 เมตร และสูง
ประมาณ 2 เมตร
6. หนังจับ มีลักษณะคล้ายหนังเมือง แต่เป็นตัวละครตั้งแต่สองตัวขึ้นไปทาท่ารบกัน หนังจับมีขนาด
ใหญ่เช่นเดียวกับหนังเมือง
7. หนังเบ็ดเตล็ด เป็นหนังที่ไม่อยู่ในห้าประเภทที่กล่าวแล้ว มีหนังภาพลูกศร ภาพราชรถ ภาพต้นไม้
และหนังตัวตลก จึงมีหนังภาพลิงขาวมัดลิงดา ซึ่งเรียกได้อีกชื่อว่า หนังเตียว
2.5. หนังใหญ่วัดบ้านดอน
หนังใหญ่วัดบ้านดอน มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิด บังคราม (เกตุ ยมจินดา)
ประมาณปี พ.ศ. 2431 เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดระยอง ได้เห็นว่าวัฒนธรรมการเล่นหนังใหญ่ เป็นสิ่งควร
ค่าที่จะอนุรักษ์สืบทอดไว้ จึงซื้อตัวหนังใหญ่มาจากจังหวัดพัทลุงจานวนหนึ่งชุด ประมาณ 200 ตัว ขนส่งข้าม
อ่าวไทยมาทางเรือ พร้อมทั้งจ้างครูหนังมาช่วยในการฝึกสอน ถ่ายทอดการแสดงให้กับคนของท่านเจ้าเมือง
เพื่อแสดงในงานสาคัญๆ ระยะแรกได้จัดแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล
ระยอง ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่เพื่อสะดวกในการฝึกซ้อม การแสดงจึงถูกย้ายมายังวัดบ้านดอน จนกระทั่งปี
9
พ.ศ. 2523 ได้มีการฝึกซ้อมหนังใหญ่ และนาออกแสดงตามงานต่างๆ อีกครั้ง เช่น งานหมู่บ้าน งานฉลองกรุง
รัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์ เพื่อเป็นการฟื้นฟู การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่เคยมี ต่อมา
พระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาส เห็นว่าควรมีสถานที่เก็บอนุรักษ์ตัวหนังให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน
สามารถเห็นศิลปเก่าแก่ จึงริเริ่มโครงการสร้างอาคารเพื่อเก็บหนังใหญ่ และเปิดให้คนได้เข้าชมเมื่อวันที่ 16
พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
10
2.6. องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ๋วัดบ้านดอน
ทักษ์ญภรณ์ จรรยารัตน์ ( 2548, หน้า 38-50) ได้กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ่
วัดบ้านดอน ดังนี้
1. จอหนัง จอหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ชุด ซึ่งจาแนกลักษณะตามแต่ละชุด
1.1 จอหนังที่ใช้แสดงในศาลาการเปรียญ ลักษณะของจอหนังชุดนี้ จะเป็นจอหนังที่มีขนาดเล็ก - ขอ
หน่งที่ใช้แสดงกลางแจ้ง มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร ผืนจอทาด้วยผ้าสีขาว เป็นผ้าขาวบางชนิดหยาบ
ตัดเย็บเป็นแนวนอน มีผ้าสีแดงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 5 เมตร คาดเป็นม่านร่องถุนอยู่ขอบด้านล่าง มีจอเล็ก
2 จอทาเป็นหลืบอยู่สองข้าง ขนาด กว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร มีม่านร่องถุนคาดในระดับเดียวกันกับจอหนัง
ระห่างระหว่างหลืบและจอหนังประมาณ 1.5 เมตร จอหนังและหลืบสามารถม้วนเก็บขึ้นไว้บนเพดานได้
1.2 จอหนังที่ใช้ขึงแสดงกลางแจ้งหรือนอกสถานที่ ลักษณะของจอหนังชุดนี้จะเป็นจอหนังที่มีขนาดใหญ่
กว่าจอหนังที่ใช้แสดงในศาลาการเปรียญ มีขนาดกว้าง 3.5 เมตร ยาว 9 เมตร ผืนจอทาด้วยผ้าสีขาว เป็นผ้า
ขาวบางชนิดหยาบ ตัดเย็บเป็นแนวนอน ริมขอบทั้ง 4 ด้านใช้ผ้าสีแดงกว้าง 50 เซนติเมตร เดินเป็นกรอบจอ
ขอบด้านบน เย็บตัวอักษรสีขาวสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ว่า “หนังใหญ่วัดบ้านดอน ต.เชิงเนิน อ.เมือง
จระยอง โทร 038-620127” จอหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนี้ จะมีความสูงเหนือพื้นดอนประมาณ 30
เซนติเมตร จากริมขอบผ้าสีแดง และเพื่อไม่ให้ผู้ชมมองผ่านด้านล่างของจอ ซึ่งดูไม่เหมาะสม จึงได้ใช้ผ้าสีแดง
อีกผืนหนึ่งซึ่งมีความกว้าง 1.20 เมตร บังช่องโหว่ข้างใต้จอเรียกว่า ม่านร่องถุน
2. ร้านเพลิง ปัจจุบันคณะหนังใหญ่ของวัดบ้านดอน ใช้แสงสว่างจากเชื้อเพลิงกะลามะพร้าวในการ แสดง
เชิงสาธิต เพราะแสงไฟจากกะลามะพร้าวนั้น เวลาไฟลุกจะมีประกายวูบวาบสูงต่าทาให้ลวดลายตัวหนังใหญ่ที่
ทาบจอผ้าขาวมีชีวิตชีวาขึ้น เมื่อเชื้อเพลิงกะลามะพร้าวหมด ก็เป็นอันสิ้นสุดการสาธิตเท่านั้น แต่จะใช้แสงไฟ
จากสปอตไลท์ ช่วยในการให้แสงต่อจนสิ้นสุดการแสดง สาเหตุที่เลือกใช้กะลามะพร้าว นายโรงของหนังใหญ่
โรงนี้ได้ให้เหตุผลไว้ว่า การใช้กะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิงนั้น จะมีควันน้อยและได้ไฟที่นวลสวยกว่าฟืนไม้
ธรรมดาเพราะฟืนไม้นั้นนอกจากไฟจะไม่สวยเพราะมีควันมากแล้ว ควันยังไปรบกวนสมาธิของนักแสดงอีกด้วย
สปอตไลท์ที่ใช้เป็นมีกาลังไฟประมาณ 500 วัตต์ จานวน 2 ดวง ตั้งสูงจากพื้นดินประมาณ 3 เมตร ยึดติดอยู่กับ
เสาเหล็ก ห่างจากจอประมาณ 5 เมตร ทั้งสองดวงตั้งห่างกัน 2 เมตร ส่วนสปอตไลท์ที่ใช้ในศาลาการเปรียญมี
สองดวง ยึดติดอยู่กับเพดานศาลาการเปรียญ ซึ่งสูงจากพื้นศาลาประมาณ 2.25 เมตร
3. ชนิดและลักษณะของตัวหนังใหญ่ ตัวหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนั้น มีตัวหนังเก่าที่นามาจากพัทลุง
ตั้งแต่สมัยเจ้าพระยาศรีสมุทรโภค ชัยโชคชิตสงคราม เจ้าเมืองระยองคนสุดท้ายแล้ว ตัวหนังใหญ่ชุดเก่านี้มี
ลวดลายการฉลุที่ละเอียด ประณีต ตามแบบสมัยโบราณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้สั่งทาหนังชุดใหม่ขึ้น 77 ตัว
เนื่องจากตัวหนังชุดเก่าผุพังเสียหายไปหลายตัว จะนามาเล่นเป็นตอนๆ ก็ขาดหายไปบ้าง จนกระทั่งปี พ.ศ.
2542 ตัวหนังทั้ง 77 ตัวเสร็จสมบูรณ์ พ.ศ. 2545 ได้สั่งทาหนังใหม่เพิ่มอีก 10 ตัว เพื่อนาไปใช้ในการโฆษณา
11
ประชาสัมพันธ์ ซึ่งทาเสร็จเรียบร้อยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 จึงได้ใช้ตัวหนังชุดใหม่ออกแสดงแทนหนังชุด
เก่า และตัวหนังชุดเก่าจึงได้นาไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดบ้านดอน แต่ก็นา
ออกมาใช้บ้างบางตัว
ตัวหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนี้ จากการสารวจพบว่า ตัวหนังทั้งเก่าและใหม่ที่ยังมีสภาพใช้ได้ทั้งหมด แบ่ง
ได้เป็นหนังเก่า 119 ตัว หนังใหม่ 87 ตัว รวมเป็น 206 ตัว และได้จาแนกตามชนิดของหนังใหญ่และแบ่งตัว
หนังเก่าและตัวหนังใหม่ของ แต่ละชนิด ดังนี้
1. หนังเจ้าหรือหนังครู มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 4 ตัว ตัวหนังใหม่ ทั้งหมด 5 ตัว
2. เฝ้าหรือหนังไหว้ มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 10 ตัว ตัวหนังใหม่ ทั้งหมด 5 ตัว
3. หนังคเนจร หรือหนังเดิน มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 31 ตัว ตัวหนังใหม่ทั้งหมด 23 ตัว
4. หนังง่า หรือ หนังเหาะ มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 11 ตัว และตัวหนังใหม่ทั้งหมด 9 ตัว
5. หนังเมือง มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 6 ตัว และตัวหนังใหม่ทั้งหมด 7 ตัว
6. หนังจับ มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 21 ตัว และตัวหนังเก่าทั้งหมด 15 ตัว
7. หนังเบ็ดเตล็ด มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 36 ตัว เป็นตัวหนังใหม่ทั้งหมด 23 ตัว
4. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดง หนังใหญ่วัดบ้านดอนตั้งแต่อดีต มีการแต่งกายทั้งหมด 3 แบบ
- แบบที่ 1 เป็นแบบที่นักแสดงหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนในสมัยก่อนใช้กัน ซึ่งรูปแบบของเครื่องแต่งกาย
ประกอบด้วย เสื้อคอตั้ง ผ้าแขนสั้นสีส้ม ผ้าโพกศีรษะสีชมพู ผ้าคาดเอวสีชมพู และผ้าโจงกระเบนลาย 20 พิกล
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 หลังจากที่คุณภัทราวดี มีชูธน เข้ามาช่วยพัฒนาแล้วก็ได้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายของ
นักแสดงเป็นแบบสีมืดๆ ไม่ฉูดฉาด เพราะสีสันของเครื่องแต่งกายจะดึงความเด่นของตัวหนังไป และมีการ
จัดทาเสื้อยืดของหนังใหญ่วัดบ้านดอนขึ้นเป็นเสื้อสีดามีตัวหนังสือสีขาวเขียนไว้ข้างหลังว่า “หนังใหญ่วัดบ้าน
ดอน” จึงได้ให้นักแสดงสวมเสื้อยืดสีดากับนุ่งโจงกระเบนสีแดงแสดงเป็นเครื่องแต่งกาย
- แบบที่ 2 แต่การแต่งกายแบบนี้ก็ใช้แสดงอยู่ไม่นานก็เปลี่ยนเป็น
- แบบที่ 3 ซึ่งรูปแบบของเครื่องแต่งกายแบบที่ 3 ซึ่งเป็นแบบที่ใช้แสดงอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย เสื้อ
คอตั้งแขนยาวสีเขียวขี้ม้า ผ้าโจงกระเบนสีเขียวขี้ม้า ผ้าโพกศีรษะ สีเขียวขี้ม้า และ ผ้าคาดเอวสีเขียวขี้ม้า ส่วน
เครื่องแต่งกายแบบที่ 2 นั้น ก็นามาใช้ในการซ้อมการแสดงแทน
5. วรรณกรรมที่ใช้แสดง วรรณกรรมที่หนังใหญ่วัดบ้านดอนใช้แสดง คือ เรื่องรามเกียรติ์ ถือว่าเป็น
วรรณกรรมชั้นสูง เป็นวรรณกรรมที่สืบทอดบทพากย์บทเจรจามาตั้งแต่คนพากย์ สมัยครูเรื่อง รื่นเริง ได้ตก
ทอดมาสู่นายสี รื่นเริง ผู้เป็นลูกชาย ต่อมานายเฉลิม มณีแสง ซึ่งเป็นศิษย์รับมอบจากครูสี รื่นเริง ได้มอบ
ต้นฉบับเป็นสมุดขนาด 100 แผ่น ซึ่งเขียนเองแบบสมัยเก่า ยากแก่การที่จะทาการเข้าใจได้ทันที นายอานาจ
มณีแสงจึงขอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบทพากย์ บทเจรจาของหนังใหญ่วัดบ้านดอน เพื่อให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา เมื่อนายเฉลิม มณีแสง เสียชีวิต นางเอี้ยม มณีแสง ซึ่งเป็นภรรยา ได้มอบ
12
ต้นฉบับนี้ให้แก่คุณแพรว เกศารัตน์ และปัจจุบันมอบไว้ที่วัดบ้านดอน เพื่อให้นักพากย์คนต่อๆ ไปได้ใช้พากย์
ประกอบการแสดง หนังใหญ่วัดบ้านดอนสมัยครูเรือง รื่นเริง มีเรื่องแสดงหลายตอน รวมทั้งตอนที่โด่งดังใน
อดีตคือ ตอนสีดาลุยไฟ ซึ่งมีการลุยไฟจริงๆ ให้ชมกัน แต่ปัจจุบันไม่ได้มีการแสดงตอนนี้แล้ว เนื่องจากบท
พากย์ บทเจรจา ครูสี รื่นเริง ไม่ได้มอบไว้ให้กับนายเฉลิม มณีแสง ได้เพียงแต่เนื้อเรื่องที่สืบสานต่อมา ดังนี้
5.1. ตอนกาเนิดสองกุมาร เมื่อพระรามให้พระลักษณ์นานางสีดาไปประหารชีวิต เพราะคิดว่าเป็นชู้กับ
ทศกัณฐ์แต่ฆ่าไม่ตาย เพราะมีบุตรในครรภ์ซึ่งเกิดกับพระราม จึงได้ไปอาศัยอยู่กับพระฤษีในป่าจนคลอดลูก
ออกมาชื่อ พระบุตร ส่วนพระลบนั้นพระฤษีชุบขึ้นมาเพื่อให้เป็นเพื่อนและได้ชุบศรและพระขรรค์ให้กุมารทั้ง
สองป้องกันตัว เมื่อพระกุมารอายุได้ 10 ปี ได้ขอพระมารดาไปเที่ยวป่าและทดลองศรพระเจ้าตาแผลงถูกต้นไม้
ใหญ่ล้มลงดังสนั่นเมือง เป็นที่สนุกสนานเพลิดเพลิน
5.2. ตอนปล่อยม้าอุปการ เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาทราบว่าผู้มีฤทธิ์ไม่เกรงกลัวบังอาจทาการไม่สมควรจึงจัด
พิธีฉลองม้าพระที่นั่ง และยกทัพเคลื่อนขบวนไปปล่อยม้าอุปการส่งให้กาแหงหนุมานติดตามไปเฝ้าดูแลม้า ถ้า
ผู้ใดพบเห็นแต่ไม่นอบน้อมบูชา ให้หนุมานฆ่าเสีย พอดีกับสองกุมารลาพระมารดาไปเที่ยวป่านึกสนุก แผลงศร
ต้อนสัตว์ป่ามาดูเล่น สัตว์ต่างๆ ทั้งป่าออกมาให้ได้ชมเห็นม้าตัวหนึ่งสวยงาม ท่าทางดี จึงชอบใจ ช่วยกันจับมา
ขี่เล่น ซึ่งหารู้ไม่ว่านั่นคือม้าพระที่นั่ง หนุมานเข้าต่อสู้ชิงมา ม้าถูกสองกุมารจับมัดและสักหน้า มาหาพระราม
ช่วยแก้มัด
5.3. พระอนุชาต่อสู้กับสองกุมาร พระอินทร์ช่วยสองกุมารให้พ้นทุกข์ พระรามสั่งให้พระอนุชาไปจับสอง
กุมาร พระบุตรถูกจับใส่ขื่อคาคอแห่ประจานไปทั่วเมือง ส่วนพระลบหนีเข้าป่าไปเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้นางสี
ดาฟัง ตอนนี้พระอินทร์คิดช่วยเหลือทาให้นางสีดานึกถึงธามรงค์ ให้พระลบเอาไปให้นางกานัลในวัง โดยใส่
กระออมน้าไปให้พระบุตรหนีไป พระบุตรเห็นแหวนจึงเอาสวมนิ้วขวาไว้ ทันใดนั้นเครื่องพันธนาการก็หลุดออก
ทันทั นางกานัลก็พาพระบุตรหนีไป พอพ้นเขตอันตรายนางกานัลก็หายไปทันที
5.4. พ่อลูกรู้จักกัน พระรามยกทัพติดตามสองกุมาร เกิดการต่อสู้กัน ศรของทั้งสองไม่ทาอันตรายต่อกัน
พระบุตร (พระมงกุฏ) แผลงศรออกไปก็กลายเป็นเครื่องบูชา พระรามแผลงศรเข้ามา ก็กลายเป็นขนมและ
ผลไม้ ผลสุดท้ายก็ทราบว่า เป็นพ่อลูกกัน พระรามอ้อนวอนให้นางสีดากลับเข้าเมืองแต่นางสีดาไม่ยอมไป ให้
แต่บุตรทั้งสองไปเท่านั้น พระรามพาพระบุตร พระลบกลับเมือง และจัดขบวนทัพใหญ่ให้ไปรับนางสีดากลับคืน
สู่กรุงศรีอยุธยา
ในพ.ศ. 2547 ด้วยความร่วมมือและประสานงานกันระหว่างโรงเรียน วัด และชุมชน จัดให้มีการหารือ
พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาในท้องถิ่น
ที่ตนอาศัยอยู่ เช่น การตีเหล็กโบราณ การทาขนมจีน การนวด แผนไทย การแสดงหนังใหญ่ เป็นต้น โรงเรียน
วัดบ้านดอนได้พิจารณาบรรจุสาระความรู้เรื่อง หนังใหญ่ ไว้เป็นสาระหนึ่งในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่ม
ศิลปวัฒนธรรม จัดอยู่ในแผนการสอนสาหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นที่ 2 หรือระดับประถมปลาย (ป.4 - ป.6)
วางแผนเริ่มทาการทดลองสอนในปีการศึกษา 2548 เพื่อปฏิรูปลักษณะการถ่ายทอดวัฒนธรรมของท้องถิ่นและ
13
บ่มเพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับหนังใหญ่ให้เท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง เพื่อปลูกฝังจิตสานึก ความ
ภาคภูมิใจ ความรู้สึกรักหวงแหนในวัฒนธรรมของตนให้แก่เยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม
2.7. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นสถานที่สืบ
ทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมการแสดงหนังใหญ่ และเก็บรักษาตัวหนังใหญ่ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้
สืบไป การแสดงหนังใหญ่เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงที่ผสมผสานศิลปะหลายด้าน ทั้งหัตถศิลป์ นาฏศิลป์
วรรณศิลป์ และคีตศิลป์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอนนี้ถือเป็น 1 ใน 3 แห่งที่เหลืออยู่ อีก 2 แห่งคือ วัด
ขนอนจังหวัดราชบุรี และวัดสว่างอารมณ์จังหวัดสิงห์บุรี
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน ตั้งอยู่ในวัดบ้านดอน หมู่ 4 ตาบลเชิงเนิน ห่างจากตัวเมืองระยอง 5
กิโลเมตร สามารถเข้าชมได้ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ส่วนที่เก็บอนุรักษ์หนังใหญ่ ที่เก็บหนังใหญ่อายุ กว่า 200 ปี
หนังใหญ่วัดบ้านดอนมีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิด บังคราม (เกตุ ยมจินดา)
ประมาณปี พ.ศ. 2431 เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดระยอง ได้เห็นวัฒนธรรมการเล่นหนังใหญ่เป็นสิ่งควรค่าที่
จะอนุรักษ์สืบทอดไว้ จึงซื้อตัวหนังใหญ่มาจากจังหวัดพัทลุงจานวนหนึ่งชุด ประมาณ 200 ตัว ขนส่งข้ามอ่าว
ไทยมาทางเรือพร้อมทั้งจ้างครูหนังมาช่วยในการฝึกสอน ถ่ายทอดการแสดงให้กับคนของท่านเจ้าเมือง เพื่อ
แสดงในงานสาคัญๆ ระยะแรกได้จัดแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล
ระยอง ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่เพื่อสะดวกในการฝึกซ้อมการแสดง จึงถูกย้ายมายังวัดบ้านดอนจนกระทั่งปี
พ.ศ.2523 ได้มีการฝึกซ้อมหนังใหญ่ และนาออกแสดงตามงานต่างๆ อีกครั้ง เช่น งานหมู่บ้าน งานส
รัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์ เพื่อเป็นการฟื้นฟู การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่เคยมี ต่อมา
พระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสเห็นว่าควรมีสถานที่เก็บอนุรักษ์ตัวหนังให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน
สามารถเห็นศิลปะเก่าแก่ จึงริเริ่มโครงการสร้างอาคารเพื่อเก็บหนังใหญ่ และเปิดให้คนได้เข้าชมเมื่อวันที่ 16
พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตัวหนังใหญ่ มีตู้เก็บตัวหนังเป็นกล่องไฟ เพื่อให้เห็นลวดลายที่วิจิตร
บรรจงลงบนตัวหนังใหญ่ ตัวหนังทั้งหมดได้ถูกเปลี่ยนไม้ตับ (ไม้ถือ) จากไม้ไผ่เป็นไม้เหลาชะโอน เพื่อความ
แข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ยังมีห้องประชุม เพื่อรับฟังคาบรรยาย ชมวีดีทัศน์การแสดงหนังใหญ่ด้วย ปัจจุบัน
หนังใหญ่ที่เคยมีอยู่จาก 200 ตัว ได้ผุพังไปบ้าง จึงได้มีการทาเพิ่มเติมอีก 77 ตัว และใช้เล่นแสดงร่วมกันกับ
หนังใหญ่ชุดเดิม
ตัวหนังที่สาคัญที่จัดแสดงไว้มี 7 ประเภทคือ
- หนังเจ้าหรือหนังครู เป็นตัวหนังที่ใช้สาหรับพิธีไหว้ครูเท่านั้น ตัวหนังนี้จะไม่ใช้ในการแสดง ได้แก่
หนังฤษี หนังพระอิศวร หนังพระนารายณ์
14
- หนังเฝ้าหรือหนังไหว้ เป็นภาพเดี่ยว เห็นหน้าด้านข้าง ตัวหนังอยู่ในท่าพนมมือไหว้ หนังชนิดนี้มี
ความสูงประมาณ 1 เมตร
- หนังคเนจรหรือหนังเดิน เป็นภาพเดี่ยว เห็นหน้าด้านข้าง หากเป็นตัวพระ ตัวนาง หรือตัวยักษ์ ตัว
หนังอยู่ในท่าเดิน ถ้าเป็นภาพลิง จะเป็นท่าหย่อง
- หนังง่า หรือหนังเหาะ เป็นภาพเดี่ยว เห็นหน้าด้านข้าง เป็นตัวหนังทาท่าเหาะ ท่าแผลงศร ท่าถือ
อาวุธ
- หนังเมือง เป็นหนังภาพเดี่ยวหรือหลายภาพในหนังผืนเดียว ตัวหนังที่มีลวดลายปราสาท ราชวัง หนัง
ชนิดนี้ บางตัวสูงถึง 2 เมตร
- หนังรถ เป็นหนังรูปลวดลายราชรถ มีทั้งตัวหนังเดี่ยวๆ และหลายตัวในแผงเดียวกัน
- หนังจับ เป็นหนังที่มีภาพตัวละครตั้งแต่สองตัวขึ้นไป อยู่ในหนังผืนเดียว ทาท่าสู้รบหรือ หนังที่มี
ความสูงพอกับหนังเมือง
2.8. วิธีการทาหนังใหญ่แบบโบราณ
การทาหนังใหญ่ในสมัยก่อนนั้น จะใช้แผ่นหนังวัว หรือหนังควายดิบที่ตากแห้งโดยวิธีขึงลงในกรอบไม้
ให้ตึง แล้วเขียนภาพลงบนแผ่นหนัง เป็นรูปตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องรามเกียรติ์ จากนั้นจึงฉลุด้วยเครื่องมือตอก
ฉลุให้เป็นช่องหลุดขาดออกไป เมื่อลงสีจะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือหนังสีและหนังดา
นอกจากหนังใหญ่ทั่ว ๆ ไปที่ใช้แผ่นหนังวัวฉลุฉลักแลัว ยังมีหนังเจ้าสามตัวเรียกว่า หนังครู คือ ฤาษี
พระอิศวร และพระนารายณ์ ใช้เชิดตอนเบิกหน้าพาทย์สามตระ เป็นการไหว้ครูก่อนเริ่มแสดงหนังใหญ่ สาหรับ
หนังตัวฤาษีจะใช้หนังเสือ หรือหนังหมีฉลุฉลัก ส่วนหนังตัวพระอิศวรและพระนารายณ์จะ ใช้หนังวัวที่เสือกัด
ตาย ออกลูกตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย เรียกว่า โคตายพราย
การทารูปหนังใหญ่แบบดั้งเดิมมีกรรมวิธีดังนี้
1. การฟอกหนัง เมื่อได้หนังแล้วต้องนามาฟอก ตามกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน สมัยโบราณจะ
ใช้มะเฟือง ข่า ใบสมอ มาตาผสมกันให้แตก แล้วนาหนังสดมาหมักทิ้งไว้จนขนหนังหลุด ขึงแล้ว
ตากให้แห้ง อาจทาด้วยขี้เถ้า ขูดเอาพังผืดและขนออก หรืออาจฟอกด้วยสัปปะรด ปัจจุบันนิยม
ฟอกหนังด้วยน้าส้มสายชู หรือสารเคมี เพราะสะดวกและใช้เวลาน้อย
2. การลงลวดลาย ใช้ถ่านไม้รวก ดินสอ หรือใช้เหล็กแหลม วาดลวดลายลงบนหนัง ตามแต่เนื้อ
เรื่องที่จะแสดง บางครั้งใช้วิธีการลอกลายลงกระดาษแล้วนามาทาบบนหนังเพื่อร่างแบบ
3. การแกะฉลุ จะใช้ตาไก่ ตอก และมีดแกะสลัก การฉลุมีสองแบบคือ "แบบหน้าเต็ม" คือ การฉลุ
เอาเส้นตา คิ้ว วงหน้า ขอบแขนออก ซึ่งการฉลุ “แบบหน้าแขวะ” คือ การฉลุส่วนอื่นๆ ออก ให้
เหลือเฉพาะเส้นวงหน้า ตา คิ้ว ปาก หรือเส้นขอบแขน คอ
4. การลงสี สีที่นิยมใช้เป็นสีที่ผลิตจากธรรมชาติ เช่นสีแดง ได้จากน้าฝางผสมสารส้ม หรือหมากแห้ง
ผสมแอลกอฮอล์ สีดาได้จากเขม่าก้นหม้อ สีเขียวได้จากจุนสีผสมน้ามะนาว สีเหลืองใช้น้าฝางทา
15
แล้วถูด้วยน้ามะนาว ปัจจุบันช่างสามารถเลือกใช้สีในท้องตลาด นามาละลายกับน้าอุ่นผสมกับ
เหล้าขาว เพื่อช่วยให้สีซึมเข้าเนื้อหนัง
5. การผูกไม้เชิด เรียกว่า "ไม้ตับหนัง" หรือ "ไม้คีบหนัง" นิยมใช้ไม้ไผ่แก่จัดเนื้อหนามาเหลา หนัง
ใหญ่หนึ่งตัวจะใช้ไม้คีบสองคู่ ประกบกันทางด้านซ้าย และด้านขวา แล้วใช้หวายผูกเป็นปล้องห่าง
กันพอประมาณ เหลือไม้ตับลงมาใต้ตัวหนังประมาณ 50 ซม. ทั้ง 2 ข้าง ไว้สาหรับให้คนเชิดจับ
และออกเชิด
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง
โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง

More Related Content

What's hot

ใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติ
ใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติ
ใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติkanjana2536
 
โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก)
โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก) โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก)
โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก) Np Vnk
 
โครงการปันน้ำใจ
โครงการปันน้ำใจโครงการปันน้ำใจ
โครงการปันน้ำใจพัน พัน
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนkrupornpana55
 
โครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเล
โครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเลโครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเล
โครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเลThipwaree Tobangpa
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานRawinnipha Joy
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1prayut2516
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์Rapheephan Phola
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดMethaporn Meeyai
 
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...chaiwat vichianchai
 
โครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะโครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะPang Pond
 
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชChoengchai Rattanachai
 
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติมโครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติมtanapatwangklaew
 
รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...
รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...
รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...Prawwe Papasson
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาดGob Chantaramanee
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
การผูกผ้า
การผูกผ้าการผูกผ้า
การผูกผ้าThakorn Yimtae
 
หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งMapowzee Dahajee
 
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาดโครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาดAraya Chiablaem
 

What's hot (20)

ใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติ
ใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติ
ใบงานรูปเรขาคณิตสามมิติ
 
โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก)
โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก) โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก)
โครงงานเรื่อง กล้วย (กล้วยแขก)
 
โครงการปันน้ำใจ
โครงการปันน้ำใจโครงการปันน้ำใจ
โครงการปันน้ำใจ
 
คู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียนคู่มือสภานักเรียน
คู่มือสภานักเรียน
 
โครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเล
โครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเลโครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเล
โครงร่างโครงงาน เรื่อง ขยะทางทะเล
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
 
ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์ขอความอนุเคราะห์
ขอความอนุเคราะห์
 
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัดรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก พร้อมแบบฝึกหัด
 
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
 
โครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะโครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะ
 
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติมโครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
 
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทยความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
 
รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...
รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...
รูปเล่มโครงการแต้มสีเติมฝัน...
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
การผูกผ้า
การผูกผ้าการผูกผ้า
การผูกผ้า
 
หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่ง
 
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาดโครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
 

More from ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล

แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFIDโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFIDธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วยธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTMLโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTMLธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 

More from ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล (9)

แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
แบบประเมินผลการแสดงนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ตำนานท้าวศรีจุฬาลักษณ์
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFIDโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง อุปกรณ์ระบบการเข้าชั้นเรียนด้วย RFID
 
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิดโครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
 
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
โครงงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง การวิเคราะห์ประเภทและบริการของที่พ...
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
 
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุดโครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
โครงงานอาชีพ เรื่อง ธูปหอมเปลือกมังคุด
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบน้ำหยดประหยัดน้ำเลียนแบบต้นกล้วย
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTMLโครงงานคอมพิวเตอร์  เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เว็บไซต์ NIFTY HEALTH ด้วยภาษา HTML
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลงโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขยะหอมไล่แมลง
 

โครงงานศิลปะ การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง

  • 1. โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง จัดทาโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูกวี รอนกระโทก โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศิลปะ รหัสวิชา ศ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • 2. โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง จัดทาโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูกวี รอนกระโทก โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศิลปะ รหัสวิชา ศ31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • 3. ก เกี่ยวกับโครงงาน หัวข้อเรื่อง : การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ : ศิลปะ (ศ31101) ผู้จัดทา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ระดับชั้น : ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ปรึกษาโครงงาน : คุณครูกวี รอนกระโทก ที่ปรึกษาพิเศษ : นายอาไพ บุญรอด สถานศึกษา : โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การติดต่อ : โทร. 038 029050 โทรสาร 038 029051 มือถือ 081 7813788 ปีการศึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
  • 4. ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวางฉบับนี้สาเร็จลุล่วงไป ได้ด้วยดี เนื่องจากคณะผู้จัดทาได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูกวี รอนกระโทก คุณครูที่ปรึกษา โครงงานที่ได้สละเวลาให้คาแนะนา ข้อคิดเห็น และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอนในขั้นตอน ต่างๆ ซึ่งคณะผู้จัดทารู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทาขอขอบพระคุณ คุณครูอาไพ บุญรอด และคณะจากโรงละครหนังใหญ่วัดบ้านดอนที่ได้ กรุณาให้คาปรึกษา คาแนะนา และถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอนแก่คณะผู้จัดทา ซึ่งทาให้การทาโครงงานฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้ในวิชาต่างๆ ซึ่งคณะผู้จัดทาได้นามาใช้ ประโยชน์ในโครงงานฉบับนี้ ขอขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาหรับกาลังใจและ ความช่วยเหลือที่มีให้มาตลอด สุดท้ายขอขอบพระคุณ บิดา มารดา และครอบครัวที่ได้ช่วยเหลือ ให้การส่งเสริม สนับสนุน และเป็น กาลังใจที่สาคัญยิ่ง ตลอดจนทาให้การทาโครงงานในครั้งนี้ประสบผลสาเร็จไปได้อย่างลุล่วง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 กันยายน 2561
  • 5. ค หัวข้อเรื่อง : การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง ผู้จัดทา : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ที่ปรึกษาโครงงาน : คุณครูกวี รอนกระโทก บทคัดย่อ โครงงานการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอนทเรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง คณะผู้จัดทาได้ ทาการศึกษาค้นคว้าวิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอนและการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เพื่อเป็นการเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมไทย และทาการเผยแพร่มหรสพการแสดงหนังใหญ่ภายในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริม และปลูก จิตสานึกการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับการทาหนังใหญ่ ทางคณะผู้จัดทาได้ทาการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง ณ หอประชุมสุนทรเมธี ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2561 และทาการประเมินผลการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน จากคณะกรรมการจานวน 5 ท่าน ตามหัวข้อการประเมิน 5 ข้อโดยลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเติมคาสั้นๆ ในช่องว่าง (Short Answer) มีคะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน ได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 92.8 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ใน เกณฑ์ดีมาก นอกจากนี้ยังทาการสารวจความพึงพอใจจากนักเรียนที่ร่วมชมการแสดงจานวน 80 คน โดยส่วน ใหญ่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 77.5 รองลงคือนักเรียนที่ไม่ระบุระดับการศึกษา และนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามลาดับ พบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ 4.34 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ มาก โดยด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านภาพรวมของการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน รองลงมาคือ ด้านตัวหนังใหญ่ที่มีความคมชัด ฉลุลายชัดเจน สวยงาม, ความเหมาะสมของระยะเวลาในการแสดง และด้าน การเตรียมตัวและความพร้อมของผู้เชิดและผู้บรรยายประกอบ
  • 6. ง สารบัญ หน้า เกี่ยวกับโครงงาน ก กิตติกรรมประกาศ ข บทคัดย่อ ค สารบัญ ง สารบัญรูปภาพ ฉ สารบัญตาราง ซ บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญ 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ขอบเขตของการศึกษา 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประวัติและความเป็นมาของหนังใหญ่ 4 ที่มาและความหมายของการแสดงหนังใหญ่ 5 ความหมายหนังใหญ่ 7 ประเภทของหนังใหญ่ 8 หนังใหญ่วัดบ้านดอน 9 องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ๋วัดบ้านดอน 10 พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน 13 วิธีการทาหนังใหญ่แบบโบราณ 15 วิธีการทาหนังใหญ่โดยใช้แผ่นประเก็น 16 ลักษณะการแสดงหนังใหญ่ 18 บทพากย์-เจรจา รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง 20 บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน การทาตัวหนังใหญ่ 22 การเชิดหนังใหญ่ 24
  • 7. จ สารบัญ (ต่อ) หน้า ประเมินผลการดาเนินงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ประเมิน 25 เครื่องมือที่ใชในการประเมิน 26 วิธีรวบรวมข้อมูล 26 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 27 บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน ตัวหนังใหญ่ที่เสร็จสมบูรณ์ 31 การแสดงเชิดหนังใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง 32 ประเมินผลการดาเนินงาน แบบประเมินผล (คณะครูและกรรมการเป็นผู้ประเมิน) 34 แบบประเมินผลความพึงพอใจ (นักเรียนเป็นผู้ประเมิน) 35 บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ สรุปผลการดาเนินงาน 38 ข้อเสนอแนะ 39 บรรณานุกรม 41 ภาคผนวก ก รูปภาพ 43 ภาคผนวก ข หน้าที่รับผิดชอบ 53 ภาคผนวก ค แบบประเมินผลการแสดง 57 ภาคผนวก ง ผลวิเคราะห์ข้อมูลการประเมิน (คณะครูเป็นผู้ประเมิน) 58 ภาคผนวก จ ผลวิเคราะห์ความพอใจ (นักเรียนเป็นผู้ประเมิน) 60 ประวัติผู้จัดทา 70
  • 8. ฉ สารบัญรูปภาพ หน้า บทที่ 3 วิธีการดาเนินงาน ภาพที่ 3.1 ลงลวดลายลงแผ่นปะเก็นด้วยดินสอ 23 ภาพที่ 3.2 ลงลวดลายลงแผ่นปะเก็นด้วยดินสอ 23 ภาพที่ 3.3 ลงลวดลายลงแผ่นปะเก็นด้วยดินสอ 23 ภาพที่ 3.4 ใช้ตัวตอกเจาะรูตามลายที่ลงไว้ 23 ภาพที่ 3.5 ใช้ตัวตอกเจาะรูตามลายที่ลงไว้ 23 ภาพที่ 3.6 ใช้ตัวตอกเจาะรูตามลายที่ลงไว้ 23 ภาพที่ 3.7 พ่นสีสเปรย์สีดาด้านลงแผ่นตัวหนัง 23 ภาพที่ 3.8 พ่นสีสเปรย์สีดาด้านลงแผ่นตัวหนัง 23 ภาพที่ 3.9 พ่นสีสเปรย์สีดาด้านลงแผ่นตัวหนัง 23 ภาพที่ 3.10 ประกบไม้ไผ่ มัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ และพันด้วยเทปพันสายไฟ 24 ภาพที่ 3.11 ประกบไม้ไผ่ มัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ และพันด้วยเทปพันสายไฟ 24 ภาพที่ 3.12 ประกบไม้ไผ่ มัดด้วยสายเคเบิ้ลไทร์ และพันด้วยเทปพันสายไฟ 24 ภาพที่ 3.13 การซ้อมเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน 24 ภาพที่ 3.14 การซ้อมเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน 24 ภาพที่ 3.15 การซ้อมเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน 24 บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน ภาพที่ 4.1 พระราม (เดิน) 30 ภาพที่ 4.2 พระราม (แผลงศร) 30 ภาพที่ 4.3 นางสีดา 31 ภาพที่ 4.4 กวางทอง 31 ภาพที่ 4.5 พระลักษณ์ 31 ภาพที่ 4.6 มารีศ 31 ภาพที่ 4.7 สรุปการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอนชั้นม.4/4 32 ภาพที่ 4.8 พากย์และบรรยายประกอบการแสดง 32 ภาพที่ 4.9 พากย์และบรรยายประกอบการแสดง 32
  • 9. ช สารบัญรูปภาพ (ต่อ) หน้า ภาพที่ 4.10 การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน ณ หอประชุมสุนทรเมธี 32 ภาพที่ 4.11 การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน ณ หอประชุมสุนทรเมธี 32 บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ ภาพที่ 5.1 สรุปผลข้อมูลทั่วไปของนักเรียน 39
  • 10. ซ สารบัญตาราง หน้า บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน ตารางที่ 4.1 แสดงค่าเฉลี่ย และแปลความหมายข้อมูลการประเมินผล 33 การแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน ตารางที่ 4.2 แสดงจานวนและร้อยละเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักเรียนผู้ตอบ 34 แบบสอบถาม ตารางที่ 4.3 แสดงจานวนผู้ตอบแบบประเมินในระดับความใจ 5 ระดับ 35 ตารางที่ 4.4 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเกี่ยวกับ 36 ความพึงพอใจในการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอนทั้ง 7 หัวข้อการประเมิน บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ ตารางที่ 5.1 สรุปผลการประเมินผลการแสดงหนังใหญ่วัดบ้านดอน 38 ตารางที่ 5.2 สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ 39
  • 11. บทที่ 1 บทนา 1.1. ความเป็นมาและความสาคัญ การแสดงหนังใหญ่ เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง แสดงเฉพาะในงานพระราชพิธีสาคัญ มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2001 ตามหลักฐานที่กล่าวไว้ในกฎมณเทียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และในเรื่องสมุทรโฆษชาดคา ฉันท์ มีการเล่นตลอดมา จนกระทั่งสมัยอยุธยาในพ.ศ. 2301 มีการยุติการเล่นหนังใหญ่ไป แต่เมื่อกรุงธนบุรี ขึ้นมามีศักดิ์ศรีราชธานีใหม่ โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การเล่นหนังใหญ่จึงฟื้นคืนชีพขึ้นอีกครั้ง ซึ่ง ยังคงมียืนยาวต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังนั้นหนังใหญ่จึงเป็นมหรสพที่ค่อนข้างสาคัญและมโหฬาร คล้าย กับภาพยนตร์จอยักษ์ในสมัยปัจจุบัน หนังใหญ่วัดบ้านดอน มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิด บังคราม (เกตุ ยมจินดา) ประมาณปี พ.ศ. 2431 เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดระยอง ได้เห็นว่าวัฒนธรรมการเล่นหนังใหญ่ เป็นสิ่งควร ค่าที่จะอนุรักษ์สืบทอดไว้ จึงซื้อตัวหนังใหญ่มาจากจังหวัดพัทลุงจานวนหนึ่งชุด ประมาณ 200 ตัว ขนส่งข้าม อ่าวไทยมาทางเรือ พร้อมทั้งจ้างครูหนังมาช่วยในการฝึกสอน ถ่ายทอดการแสดงให้กับคนของท่านเจ้าเมือง เพื่อแสดงในงานสาคัญๆ ระยะแรกได้จัดแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล ระยอง ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่เพื่อสะดวกในการฝึกซ้อม การแสดงจึงถูกย้ายมายังวัดบ้านดอน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2523 ได้มีการฝึกซ้อมหนังใหญ่ และนาออกแสดงตามงานต่างๆ อีกครั้ง เช่น งานหมู่บ้าน งานฉลองกรุง รัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์ เพื่อเป็นการฟื้นฟู การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่เคยมี ต่อมา พระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาส เห็นว่าควรมีสถานที่เก็บอนุรักษ์ตัวหนังให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน สามารถเห็นศิลปเก่าแก่ จึงริเริ่มโครงการสร้างอาคารเพื่อเก็บหนังใหญ่ และเปิดให้คนได้เข้าชมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 คณะผู้จัดทาจึงเลือกทาการศึกษาค้นคว้าวิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอนและการเชิดหนังใหญ่ โดย เลือกเอาเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง มาเป็นเนื้อเรื่องในการทาหนังใหญ่และการแสดงเพื่อเป็น การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทย และทาการเผยแพร่มหรสพการแสดงหนังใหญ่ภายในชุมชนเพื่อเป็นการส่งเสริม และปลูกจิตสานึกการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับการทาหนังใหญ่
  • 12. 2 1.2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อเป็นการส่งเสริม และสืบสานการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับหนังใหญ่ 2. เพื่อปลูกจิตสานึกการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย หนังใหญ่วัดบ้านบ้าน 3. เพื่อศึกษาวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง 4. เพื่อเรียนรู้วิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอน 5. เพื่อเรียนรู้วิธีการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน 1.3. ขอบเขตของการศึกษา ขอบเขตด้านเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องที่คณะผู้จัดทาจะนามาใช้แสดงในการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน คือ เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง ขอบเขตด้านสถานที่ 1. สถานที่จัดทาและเชิดหนังใหญ่ คือ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง เลขที่ 1 หมู่ที่ 4 ตาบลนาตาขวัญ อาเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000 2. สถานที่ฝึกซ้อมเชิดหนังใหญ่ คือ โรงละครหนังใหญ่ วัดบ้านดอน หมู่ที่ 4 ตาบลเชิงเนิน อาเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000 ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ในการทาโครงงานฉบับนี้ ดาเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2561 ขอบเขตด้านงบประมาณ โครงงานฉบับนี้ใช้งบประมาณเป็นจานวนเงินทั้งสิ้น 5,600 บาท 1.4. นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ตัวหนังใหญ่ หมายถึง แผ่นปะเก็นที่ฉลุฉลักลวดลายเป็นรูปตัวละครต่าง ๆ มีไม้ผูกทาบแผ่นปะเก็น ไว้ทั้ง 2 ข้าง โดยมีคันยื่นลงมาใต้แผ่นปะเก็นสาหรับจับถือ 2. แผ่นปะเก็น หมายถึง แผ่นหนังที่ใช้แทนหนังวัวหรือหนังควายเป็นตัวหนังใหญ่ 3. การเชิดหนัง หมายถึง การที่คนเชิดถือตัวหนังใหญ่โดยยกสูงเหนือหัว เต้นไปตามจังหวะเพลงและ บทพากย์-เจรจา ซึ่งใช้ลาตัวและแขนขาเป็นสาคัญ 4. บทพากย์-เจรจา หมายถึง บทประกอบการแสดง มีทั้งการพากย์ เจรจาและการขับร้อง 5. ผู้พากย์ หมายถึง บุคคลที่พูดเจรจาโต้ตอบกันตามบทพากย์-เจรจาขณะทาการเชิด 6. พระรามตามกวาง หมายถึง เนื้อเรื่องตอนที่ 14 ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์
  • 13. 3 1.5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ร่วมกันส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับหนังใหญ่ 2. เพื่อปลูกจิตสานึกการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย หนังใหญ่วัดบ้านบ้าน 3. ได้ศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง 4. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทาหนังใหญ่วัดบ้านดอน 5. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน
  • 14. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดทาโครงงานเรื่อง การเชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอน เรื่องรามเกียรต์ ตอน พระรามตามกวาง คณะ ผู้จัดทาได้ทาการศึกษาค้นคว้าแนวคิด เอกสารต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทา โครงงาน ดังนี้ 2.1. ประวัติและความเป็นมาของหนังใหญ่ 2.2. ที่มาและความหมายของการแสดงหนังใหญ่ 2.3. ความหมายหนังใหญ่ 2.4. ประเภทของหนังใหญ่ 2.5. หนังใหญ่วัดบ้านดอน 2.6. องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ๋วัดบ้านดอน 2.7. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน 2.8. วิธีการทาหนังใหญ่แบบโบราณ 2.9. วิธีการทาหนังใหญ่โดยใช้แผ่นประเก็น 2.10. ลักษณะการแสดงหนังใหญ่ 2.11. บทพากย์-เจรจา รามเกียรติ์ ตอน พระรามตามกวาง แนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1. ประวัติและความเป็นมาของหนังใหญ่ ทัศนีย์ ทานตวนิช (2535 อ้างถึงใน งานวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน 2546, หน้า 67) กล่าวว่า หนังใหญ่ชุดดังกล่าวมาจากพัทลุง แต่บางท่านก็ว่ามาจากกรุงเทพฯ แต่ แพรว เกศารัตน์ (2523 อ้าง ถึงใน งานวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน, 2524, หน้า 348) กล่าวว่า หนังใหญ่มาจากพัทลุงใน สมัยนั้นนามาทางเรือ พร้อมด้วยเครื่องดนตรีปี่พาทย์ครบชุด ต้องใช้เวลารอนแรมมานานหลายวันหลายคืน ซึ่ง ในขณะที่นาหนังมาทางเรือ ได้เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดขึ้น คือ ตัวนางสีดาปลิวตกทะเลไป ผู้คนต่างตก อกตกใจกลัวจะถูกทาโทษ แต่ไม่รู้จะทาอย่างไรและคิดว่านางสีดาคงจมหายไปในทะเลแล้ว พอมาถึงเมือง ระยอง ขณะที่จอดเรือเทียบท่า ปรากฏว่ามีผู้เห็นนางสีดาติดอยู่กับหางเสือเรือ ทุกคนที่อยู่ในที่นั้นต่างพากัน ประหลา ใจที่เห็นนางสีดาไม่ยอมพรากจากพระราม อเนก นาวิกมูล (2530, หน้า 50) กล่าวว่า ตัวหนังใหญ่เป็นฝีมือช่างสองกลุ่ม คือ อยุธยาและกรุงเทพฯ ซึ่งช่างอยุธยาเนื้อหนังจะละเอียดกว่า แต่จะสร้างในปีใด เก่าเท่าไร ไม่ทราบแน่นอน ตัวหนังเป็นสีดา มีระบาย สีอื่นเล็กน้อย ฝีมือประณีตมาก หนังใหญ่ครั้งแรกได้นาไปแสดงที่วัดเก๋ง (ปัจจุบันเป็นวัดร้างเหลือเพียงเจดีย์ และเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลระยองและโรงเรียนวัดป่าประดู่) มีการฝึกซ้อมและนาออกแสดงเป็นครั้ง
  • 15. 5 คราว โดยเล่ากันว่าหนังชุดนี้ครูแรง เมื่อวัดเก๋งร้างเจ้าคุณเฒ่าจึงได้นาไปถวาย วัดบ้านดอน เพราะผู้เชิดผู้พากย์ ส่วนใหญ่เป็นคนชากใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับวัดบ้านดอน อาจารย์เล็ก เจ้าอาวาส วัดบ้านดอน (พ.ศ. 2439-2481) มีความสนใจการแสดงหนังใหญ่ ขณะนั้นก็มีการฝึกหัดผู้แสดงอยู่ เป็นประจาวงปี่พาทย์ที่เล่นร่วมกันประจาก็ เป็นชาวบ้านทุ่งโพธิ์ ตาบลนาตาขวัญ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน นั่นเอง อุดม นัทธีประทุม (2535 อ้างถึงใน วัดบ้านดอน, 2536, หน้า 61-63) กล่าวว่า หนังใหญ่มาอยู่ที่วัด บ้านดอนประมาณ 90 ปีมาแล้ว โดยนายเรือง นางแจ่ม รื่นเริง ผู้รับมอบ เป็นครูหนัง โดยมีครูประดิษฐ์เป็นผู้ ร่วมมือฝึกด้วย ปี่พาทย์ใช้วงของนายถั่ว ดนตรี เล่นร่วมกันมา โดยตลอด ผู้ร่วมพากย์หนังสืบทอดกันมา คือ นายสวม เป็นธรรม นายช่า ช่างทอง ขุนวรภรณ์รัตน์ ศึกษาเขียว โสภณ (ทิดเขียว) เมื่อนายเรือง รื่นเริงชรา ภาพมาก ก็ได้มอบให้ นายสี รื่นเริง ผู้เชิดร่วมโรง ซึ่งเป็นบุตรรับมอบเป็นครูหนังต่อมา และเมื่อเข้าวัยชราก็ได้ มอบให้นายเฉลิม มณีแสง พากย์ร่วมกับนายเจิม ขอบอรัญ ต่อมา นายเฉลิม มณีแสง ถึงแก่กรรม นายถ่อย หวานฤดี ได้รับมอบ เป็นครูหนังต่อมา ผู้แจกตัวหนังที่ชานาญมากคือ นายหนุด สระหมัด กับนายจา สนิท ราษฎร์ เมื่อถึงแก่กรรมจึงเหลือ นายเจิม ขอบอรัญ และนายถ่อย หวานฤดี เป็นครูหนังโรงนี้สืบมา ส่วนปี่พาทย์ สืบต่อจากนายถั่วก็คือ นายสาย ดนตรี จากนั้น ก็ล้มหายตายจากไปบ้าง ระยะหลังๆ ใช้วงปี่พาทย์ของ นาย ฉลอม พุทธมี 2.2. ที่มาและความหมายของการแสดงหนังใหญ่ สุจิตร มาถาวร (2541, หน้า 78) กล่าวไว้ว่า หนังใหญ่ หมายถึง หนังสัตว์แกะฉลุตามลวดลายตัวละคร เรื่องรามเกียรติ์นิยมใช้หนังโคในการแกะฉลุมากกว่าหนังกระบือ เนื่องจากหนังโคมีความบางกว่าหนังกระบือ และเมื่อหนังแห้งมักไม่ย่น สุจิตต์ วงษ์เทศ (2532, หน้า 194) กล่าวไว้ว่า หนังใหญ่ หมายถึง หนังสัตว์แกะสลัก ลวดลายเป็นตัว ละครเรื่องรามเกียรติ์ ประดับเทวสถานประสารทปาปวน นครวัด ยุคเขมรพุทธ ศตวรรษที่ 15-16 และ ปราสาทหินพิมายพนมรุ้ง แต่ไม่พบในบริเวณราบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา หรืออาจเป็นเพราะไม่มีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชานาญการแกะสลักบนปราสาทหินในเขมรที่แสดงรูปด้านข้างเป็นส่วนมาก หนังใหญ่จึงแสดงรูปด้านข้าง เกือบทั้งหมด และเป็นไปได้มากที่การเผยแพร่เรื่องรามเกียรติ์ด้วยหนังใหญ่จะแพร่กระจายออกมาจาก อาณาจักรเขมรโบราณ ซึ่งเรียกว่า หนังแสบกหรือหนังสแบก และในวรรณคดีเรื่องสมุทรโฆษคาฉันท์ แต่งใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธา มนตรี ตราโมท (2518, หน้า 10) กล่าวไว้ว่า หนังใหญ่ที่พบในชาติอื่นๆ ตัวหนังจะมีขนาดเล็กแบบ หนังตะลุงทั้งนั้น แต่หนังใหญ่ของชาวชวาจะมีขนาดใหญ่เท่ากับหนังใหญ่ของไทย ซึ่งจะติดไว้เป็นเครื่องประดับ บ้านของเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ แต่การแสดงหนังใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเป็นหนังเล็กๆ ขนาดเท่ากับ หนังตะลุงจึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า ชวาเคยมีหนังใหญ่แสดงมาแต่โบราณ และได้หมดความนิยทลงจนสูญ หายไป เพราะฉะนั้น นอกจากการเอาแบบแผนเรื่องการฉลุหนังเป็นภาพเชิดซึ่งไม่ทราบว่ามาจากไหนแล้ว การ แสดงหนังขนาดใหญ่นี้จะมีการเอาอย่างกันก็เปชห็นจะเป็นระหว่างไทยกับชวา
  • 16. 6 เสถียร ชังเกตุ (2537, หน้า 8) กล่าวไว้ว่า หนังเขมรที่มีลักษณะคล้ายกับหนังของประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ หนังแสบก ซึ่งเป็นชื่อเรียกหนังใหญ่ของเขมร คือ คณะหนังใหญ่ แสบกธม วัดปราสาทสิริ ซึ่งเคยมา แสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4-27 เมษายน พ.ศ.2534 ในช่วงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่มีพระชนมายุครบ 3 รอบ ตัวหนังใหญ่ของเขมรจะเล็กกว่าตัว หนังใหญ่ของไทย คือ สูงประมาณ 1.2 – 1.5 เมตร คล้ายสี่เหลี่ยม มีลวดลายไม่ละเอียดเหมือนหนังใหญ่ของ ไทย ซึ่งจะนิยมเล่นเรื่องรามายณะ และ หนังเขมรชนิดที่สองเรียกว่า “อยอง” (AYONG) คือ หนังตะลุงของ เขมรจะเป็นหนังเล็กนิยมเล่น เรื่องรามเกียรติ์ มีความสูงประมาณ 2 ฟุต ผอบ โปษะกฤษณะ (2520, หน้า 6) กล่าวไว้ว่า การแสดงหนังในชวาคล้ายคลึงกับการแสดงหนังใหญ่ ของไทยเรามาก แม้จนทุกวันนี้ก็ยังมีการเล่นอยู่ และคนพากย์หนังชวาจะเรียกว่า “ดาหลัง” ในการแสดงหนัง ใหญ่ส่วนสาคัญจะอยู่ที่ดาหลัง จอหนังของชวาใหญ่กว่าหนังตะลุงเล็กน้อย ตัวหนังสูงประมาณ 1 เมตร ไม่มี ใหญ่กว่านี้ แต่การเชื่อมไม้ที่จับเชิดนั้นจะสามารถทาให้ ตัวหนังเคลื่อนไหวได้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร, (2518, หน้า 10) ทรงกล่าวไว้ในหนังสือ Shadow Play (THE NANG) ว่าหนังใหญ่ของไทยมาจากอาณาจักรศรีวิชัยผ่านคาบสมุทรมลายูขึ้นมาจนถึงลุ่มแม่น้า เจ้าพระยา และในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีการพัฒนาลักษณะสาคัญต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของ คนไทยด้านความคิดริเริ่มและการเลือกรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (2549 หน้า 1-120) ได้ทาหนังสือเรื่อง “หนังใหญ่วัด บ้านดอน” และสรุปได้ว่า ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นองค์กรของรัฐที่ดาเนินงานด้าน วิชาการ เพื่อพัฒนาทรัพยากรทางด้านวัฒนธรรมที่มีความสาคัญภายในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและ พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และเผยแพร่สู่สาธารณชน ประกอบกับการสร้างเวทีที่ถ่ายทอดวิธีการแกะ หนังให้กับเด็กๆ และผู้สนใจอีกด้วย ลักษณะของหนังใหญ่ ลักษณะของหนังใหญ่ เมื่อฉลุแล้วจะเป็นภาพโปร่ง การฉลุจะมี 2 แบบ คือ การ ฉลุเอาหนังออกเหลือแต่เส้นแสดงวงหน้า ตา คิ้ว ปาก หรือเส้นขอบแขน คอ เท่านั้น ซึ่งจะเรียกว่า “หน้า แขวะ” อีกแบบหนึ่งต้องฉลุเอาเส้นตา คิ้ว วงหน้า ขอบแขนออก เรียกว่า “หน้าเต็ม” จึงดูกลับกัน ลักษณะของ ภาพตัวหนังสามารถจาแนกได้ ดังนี้ 1. หนังเดี่ยว คือ ตัวหนังที่มีภาพเดี่ยว เป็นภาพอยู่ในท่าเดิน ยืน ทาความเคารพ ท่าผาดแผลง เช่น ท่า เดิน ท่าเหาะ ท่านั่งพนมมือหรือกิริยาเข้าเฝ้า เป็นต้น 2. หนังเรื่อง คือ ตัวหนังที่มีภาพ 2 ตัวขึ้นไป หรืออยู่ในแผ่นเดียวกัน เช่น ภาพที่แสดงการต่อสู้กัน ลิง ขาวดารบกัน เป็นต้น 3. หนังเบ็ดเตล็ด คือ หนังที่ไม่จากัดว่าจะเป็นภาพอะไร เช่น คนถืออาวุธ ตัวตลก ช้าง ม้า เป็นต้น ประเภทของตัวหนังใหญ่ ตัวหนังใหญ่ สามารถจาแนกออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ 1. หนังเทพเจ้าหรือหนังครู 2. หนังเฝ้าหรือหนังไหว้
  • 17. 7 3. หนังคเนจรหรือหนังเดิน 4. หนังง่าหรือหนังเหาะ 5. หนังเมืองหรือหนังปราสาท 6. หนังจับหรือหนังรบ 7. หนังเบ็ตเตล็ด จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า หนังใหญ่ถือเป็นการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ โบราณ กาล มีวิวัฒนาการและมีการปรับเปลี่ยนตัวเองมาโดยตลอด ซึ่งการแสดงหนังไม่ได้จากัดอยู่เฉพาะในกลุ่ม ประเทศแถบเอเชียเท่านั้น แต่หากยังแพร่หลายไปสู่ประเทศตะวันตก โดยเชื่อกันว่ามีการแพร่กระจายจาก ประเทศในแถบเอเชียด้วยการค้าขายและการติดต่อสัมพันธ์กัน ด้านอื่นๆ ไปทางเปอร์เชียสู่ตุรกี กรีซ และกลุ่ม ประเทศทางตอนเหนือของทวีปอัฟริกาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยตัวหนังจะทามาจากหนังอูฐและมีการระบายสีให้ สวยงาม 2.3. ความหมายหนังใหญ่ หนังใหญ่ คือมหรสพที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้แผ่นหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละคร ใน เรื่องรามเกียรติ์ และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทาให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัว หนังเป็นสองข้างสาหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอ จะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทาให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้น คนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดงโขนก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทาท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนาเอาการพากย์ เจรจาและท่าทางการเต้น การแสดง มาจากหนังใหญ่ปัจจุบันเหลือคณะหนังใหญ่อยู่ทั้งหมด 3 คณะได้แก่ - หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี - หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง - หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี หนังใหญ่เป็นมหรสพชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยโบราณ แสดงเฉพาะในงาน พระราชพิธีสาคัญ ตัวหนังใหญ่ทาด้วยหนังวัวที่ฉลุฉลักลวดลายเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีขนาดสูง ตั้งแต่ 1 - 2 เมตรเมื่อมีหนังตะลุง ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเข้ามาเผยแพร่ จึงเรียกหนังที่มีมาแต่เดิมว่า หนังใหญ่ ตาม ปรกติหนังใหญ่ทาจากหนังวัว เมื่อทาเป็นตัวหนังเสร็จแล้ว จะมีความโปร่งแสงเรียกว่า หนังแก้ว เวลาเชิด แผ่น หนังทาบบนจอ ผ้าขาวจะแลเห็นลวดลายสวยงามนอกจากหนังใหญ่ทั่วๆ ไปที่ใช้หนังวัวฉลุฉลักแล้ว ยังมีหนัง เจ้าสามตัวเรียกว่า หนังครู คือ ฤาษี พระอิศวร และพระนารายณ์ ใช้เชิดตอนเบิกหน้าพาทย์สามตระ เป็นการ ไหว้ครูก่อนเริ่มแสดงหนังใหญ่ หนังตัวฤาษีใช้หนังเสือ หรือหนังหมีฉลุฉลัก ส่วนหนังตัวพระอิศวรและพระ นารายณ์ ใช้หนังวัวที่เสือกัดตาย ออกลูกตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย เรียกว่า โคตายพรายแผ่นหนังใหญ่ ที่ฉลุฉลัก เป็นรูปต่างๆ ของตัวละครเรื่องรามเกียรติ์เหล่านี้ จะต้องระบายสีให้ถูกต้องตามพงศ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อทา
  • 18. 8 ตัวหนังเสร็จแล้ว จะต้องมีไม้สองอัน เรียกว่า ไม้ตับ หรือไม้คาบตัวหนัง ทาด้วยไม้ไผ่สองอัน คาบตัวหนัง ทาง ด้านซ้ายและด้านขวา เหลือไม้ตับลงมาใต้ตัวหนังประมาณ 50 ซม. สาหรับให้คนเชิดจับนาตัวหนังออกเชิด 2.4. ประเภทของหนังใหญ่ หนังใหญ่ที่ทาเสร็จแล้ว มีลักษณะแตกต่างกันอยู่ 7 ประเภท คือ 1. หนังเจ้าหรือหนังครู เป็นตัวหนังที่ใช้สาหรับพิธีไหว้ครูเท่านั้น ตัวหนังนี้จะไม่ใช้ในการแสดงได้แก่ หนังฤษี หนังพระอิศวร หนังพระนารายณ์ 2. หนังเฝ้า หรือหนังไหว้ เป็นหนังภาพเดี่ยวหน้าเสี้ยว (หันด้านข้าง) อยู่ในท่านั่งคุกเข่าพนมมือ ใช้ สาหรับเชิดในตอนเข้าเฝ้า มักมีขนาดเล็ก สูงประมาณหนึ่งเมตร 3. หนังคเนจร หรือหนังเดิน เป็นหนังภาพเดี่ยวหน้าเสี้ยว ทาท่าเดิน มีพญานาครองรับอยู่ที่ใต้เท้า ใช้สาหรับเชิดในตอนเดิน 4. หนังง่า เป็นหนังภาพเดี่ยวหน้าเสี้ยว ทาท่าเหาะ หนังง่ามีลักษณะเฉพาะสองอย่างคือ ตัวหนัง ทาท่าโก่งศรเรียกว่า หนังโก่ง และตัวหนังทาท่าแผลงศรเรียกว่า หนังแผลง หนังง่าใช้เชิดสาหรับ ในตอนเหาะ ตอนโก่งศร และแผลงศร 5. หนังเมือง หรือหนังปราสาท เป็นหนังที่มีตัวละครหลายตัวอยู่ในผืนเดียวกัน จะต้องมีภาพ ปราสาท ราชวัง ศาลา หรือตัวอาคารประกอบในหนังสือ หนังใหญ่ในตอนที่ทศกัณฐ์นั่งเมืองว่า ราชการ หรือพญายักษ์ตนใดตนหนึ่งออกว่าราชการเรียกว่า หนังเมือง และหนังใหญ่ภาพพระราม อยู่ในพลับพลาเรียกว่า หนังพลับพลา ถ้าตัวในเรื่องทาท่าเล้าโลมกันเรียกว่า หนังปราสาทโลม ถ้า มีบทพูดกันเรียกว่า หนังปราสาทพูด หนังเมืองจะมีขนาดใหญ่ประมาณ 1.5 เมตร และสูง ประมาณ 2 เมตร 6. หนังจับ มีลักษณะคล้ายหนังเมือง แต่เป็นตัวละครตั้งแต่สองตัวขึ้นไปทาท่ารบกัน หนังจับมีขนาด ใหญ่เช่นเดียวกับหนังเมือง 7. หนังเบ็ดเตล็ด เป็นหนังที่ไม่อยู่ในห้าประเภทที่กล่าวแล้ว มีหนังภาพลูกศร ภาพราชรถ ภาพต้นไม้ และหนังตัวตลก จึงมีหนังภาพลิงขาวมัดลิงดา ซึ่งเรียกได้อีกชื่อว่า หนังเตียว 2.5. หนังใหญ่วัดบ้านดอน หนังใหญ่วัดบ้านดอน มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิด บังคราม (เกตุ ยมจินดา) ประมาณปี พ.ศ. 2431 เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดระยอง ได้เห็นว่าวัฒนธรรมการเล่นหนังใหญ่ เป็นสิ่งควร ค่าที่จะอนุรักษ์สืบทอดไว้ จึงซื้อตัวหนังใหญ่มาจากจังหวัดพัทลุงจานวนหนึ่งชุด ประมาณ 200 ตัว ขนส่งข้าม อ่าวไทยมาทางเรือ พร้อมทั้งจ้างครูหนังมาช่วยในการฝึกสอน ถ่ายทอดการแสดงให้กับคนของท่านเจ้าเมือง เพื่อแสดงในงานสาคัญๆ ระยะแรกได้จัดแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล ระยอง ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่เพื่อสะดวกในการฝึกซ้อม การแสดงจึงถูกย้ายมายังวัดบ้านดอน จนกระทั่งปี
  • 19. 9 พ.ศ. 2523 ได้มีการฝึกซ้อมหนังใหญ่ และนาออกแสดงตามงานต่างๆ อีกครั้ง เช่น งานหมู่บ้าน งานฉลองกรุง รัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์ เพื่อเป็นการฟื้นฟู การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่เคยมี ต่อมา พระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาส เห็นว่าควรมีสถานที่เก็บอนุรักษ์ตัวหนังให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน สามารถเห็นศิลปเก่าแก่ จึงริเริ่มโครงการสร้างอาคารเพื่อเก็บหนังใหญ่ และเปิดให้คนได้เข้าชมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
  • 20. 10 2.6. องค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ๋วัดบ้านดอน ทักษ์ญภรณ์ จรรยารัตน์ ( 2548, หน้า 38-50) ได้กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบของการแสดงหนังใหญ่ วัดบ้านดอน ดังนี้ 1. จอหนัง จอหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ชุด ซึ่งจาแนกลักษณะตามแต่ละชุด 1.1 จอหนังที่ใช้แสดงในศาลาการเปรียญ ลักษณะของจอหนังชุดนี้ จะเป็นจอหนังที่มีขนาดเล็ก - ขอ หน่งที่ใช้แสดงกลางแจ้ง มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร ผืนจอทาด้วยผ้าสีขาว เป็นผ้าขาวบางชนิดหยาบ ตัดเย็บเป็นแนวนอน มีผ้าสีแดงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 5 เมตร คาดเป็นม่านร่องถุนอยู่ขอบด้านล่าง มีจอเล็ก 2 จอทาเป็นหลืบอยู่สองข้าง ขนาด กว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร มีม่านร่องถุนคาดในระดับเดียวกันกับจอหนัง ระห่างระหว่างหลืบและจอหนังประมาณ 1.5 เมตร จอหนังและหลืบสามารถม้วนเก็บขึ้นไว้บนเพดานได้ 1.2 จอหนังที่ใช้ขึงแสดงกลางแจ้งหรือนอกสถานที่ ลักษณะของจอหนังชุดนี้จะเป็นจอหนังที่มีขนาดใหญ่ กว่าจอหนังที่ใช้แสดงในศาลาการเปรียญ มีขนาดกว้าง 3.5 เมตร ยาว 9 เมตร ผืนจอทาด้วยผ้าสีขาว เป็นผ้า ขาวบางชนิดหยาบ ตัดเย็บเป็นแนวนอน ริมขอบทั้ง 4 ด้านใช้ผ้าสีแดงกว้าง 50 เซนติเมตร เดินเป็นกรอบจอ ขอบด้านบน เย็บตัวอักษรสีขาวสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ว่า “หนังใหญ่วัดบ้านดอน ต.เชิงเนิน อ.เมือง จระยอง โทร 038-620127” จอหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนี้ จะมีความสูงเหนือพื้นดอนประมาณ 30 เซนติเมตร จากริมขอบผ้าสีแดง และเพื่อไม่ให้ผู้ชมมองผ่านด้านล่างของจอ ซึ่งดูไม่เหมาะสม จึงได้ใช้ผ้าสีแดง อีกผืนหนึ่งซึ่งมีความกว้าง 1.20 เมตร บังช่องโหว่ข้างใต้จอเรียกว่า ม่านร่องถุน 2. ร้านเพลิง ปัจจุบันคณะหนังใหญ่ของวัดบ้านดอน ใช้แสงสว่างจากเชื้อเพลิงกะลามะพร้าวในการ แสดง เชิงสาธิต เพราะแสงไฟจากกะลามะพร้าวนั้น เวลาไฟลุกจะมีประกายวูบวาบสูงต่าทาให้ลวดลายตัวหนังใหญ่ที่ ทาบจอผ้าขาวมีชีวิตชีวาขึ้น เมื่อเชื้อเพลิงกะลามะพร้าวหมด ก็เป็นอันสิ้นสุดการสาธิตเท่านั้น แต่จะใช้แสงไฟ จากสปอตไลท์ ช่วยในการให้แสงต่อจนสิ้นสุดการแสดง สาเหตุที่เลือกใช้กะลามะพร้าว นายโรงของหนังใหญ่ โรงนี้ได้ให้เหตุผลไว้ว่า การใช้กะลามะพร้าวเป็นเชื้อเพลิงนั้น จะมีควันน้อยและได้ไฟที่นวลสวยกว่าฟืนไม้ ธรรมดาเพราะฟืนไม้นั้นนอกจากไฟจะไม่สวยเพราะมีควันมากแล้ว ควันยังไปรบกวนสมาธิของนักแสดงอีกด้วย สปอตไลท์ที่ใช้เป็นมีกาลังไฟประมาณ 500 วัตต์ จานวน 2 ดวง ตั้งสูงจากพื้นดินประมาณ 3 เมตร ยึดติดอยู่กับ เสาเหล็ก ห่างจากจอประมาณ 5 เมตร ทั้งสองดวงตั้งห่างกัน 2 เมตร ส่วนสปอตไลท์ที่ใช้ในศาลาการเปรียญมี สองดวง ยึดติดอยู่กับเพดานศาลาการเปรียญ ซึ่งสูงจากพื้นศาลาประมาณ 2.25 เมตร 3. ชนิดและลักษณะของตัวหนังใหญ่ ตัวหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนั้น มีตัวหนังเก่าที่นามาจากพัทลุง ตั้งแต่สมัยเจ้าพระยาศรีสมุทรโภค ชัยโชคชิตสงคราม เจ้าเมืองระยองคนสุดท้ายแล้ว ตัวหนังใหญ่ชุดเก่านี้มี ลวดลายการฉลุที่ละเอียด ประณีต ตามแบบสมัยโบราณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้สั่งทาหนังชุดใหม่ขึ้น 77 ตัว เนื่องจากตัวหนังชุดเก่าผุพังเสียหายไปหลายตัว จะนามาเล่นเป็นตอนๆ ก็ขาดหายไปบ้าง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 ตัวหนังทั้ง 77 ตัวเสร็จสมบูรณ์ พ.ศ. 2545 ได้สั่งทาหนังใหม่เพิ่มอีก 10 ตัว เพื่อนาไปใช้ในการโฆษณา
  • 21. 11 ประชาสัมพันธ์ ซึ่งทาเสร็จเรียบร้อยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 จึงได้ใช้ตัวหนังชุดใหม่ออกแสดงแทนหนังชุด เก่า และตัวหนังชุดเก่าจึงได้นาไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดบ้านดอน แต่ก็นา ออกมาใช้บ้างบางตัว ตัวหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนนี้ จากการสารวจพบว่า ตัวหนังทั้งเก่าและใหม่ที่ยังมีสภาพใช้ได้ทั้งหมด แบ่ง ได้เป็นหนังเก่า 119 ตัว หนังใหม่ 87 ตัว รวมเป็น 206 ตัว และได้จาแนกตามชนิดของหนังใหญ่และแบ่งตัว หนังเก่าและตัวหนังใหม่ของ แต่ละชนิด ดังนี้ 1. หนังเจ้าหรือหนังครู มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 4 ตัว ตัวหนังใหม่ ทั้งหมด 5 ตัว 2. เฝ้าหรือหนังไหว้ มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 10 ตัว ตัวหนังใหม่ ทั้งหมด 5 ตัว 3. หนังคเนจร หรือหนังเดิน มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 31 ตัว ตัวหนังใหม่ทั้งหมด 23 ตัว 4. หนังง่า หรือ หนังเหาะ มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 11 ตัว และตัวหนังใหม่ทั้งหมด 9 ตัว 5. หนังเมือง มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 6 ตัว และตัวหนังใหม่ทั้งหมด 7 ตัว 6. หนังจับ มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 21 ตัว และตัวหนังเก่าทั้งหมด 15 ตัว 7. หนังเบ็ดเตล็ด มีตัวหนังเก่าทั้งหมด 36 ตัว เป็นตัวหนังใหม่ทั้งหมด 23 ตัว 4. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดง หนังใหญ่วัดบ้านดอนตั้งแต่อดีต มีการแต่งกายทั้งหมด 3 แบบ - แบบที่ 1 เป็นแบบที่นักแสดงหนังใหญ่ของวัดบ้านดอนในสมัยก่อนใช้กัน ซึ่งรูปแบบของเครื่องแต่งกาย ประกอบด้วย เสื้อคอตั้ง ผ้าแขนสั้นสีส้ม ผ้าโพกศีรษะสีชมพู ผ้าคาดเอวสีชมพู และผ้าโจงกระเบนลาย 20 พิกล ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 หลังจากที่คุณภัทราวดี มีชูธน เข้ามาช่วยพัฒนาแล้วก็ได้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายของ นักแสดงเป็นแบบสีมืดๆ ไม่ฉูดฉาด เพราะสีสันของเครื่องแต่งกายจะดึงความเด่นของตัวหนังไป และมีการ จัดทาเสื้อยืดของหนังใหญ่วัดบ้านดอนขึ้นเป็นเสื้อสีดามีตัวหนังสือสีขาวเขียนไว้ข้างหลังว่า “หนังใหญ่วัดบ้าน ดอน” จึงได้ให้นักแสดงสวมเสื้อยืดสีดากับนุ่งโจงกระเบนสีแดงแสดงเป็นเครื่องแต่งกาย - แบบที่ 2 แต่การแต่งกายแบบนี้ก็ใช้แสดงอยู่ไม่นานก็เปลี่ยนเป็น - แบบที่ 3 ซึ่งรูปแบบของเครื่องแต่งกายแบบที่ 3 ซึ่งเป็นแบบที่ใช้แสดงอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย เสื้อ คอตั้งแขนยาวสีเขียวขี้ม้า ผ้าโจงกระเบนสีเขียวขี้ม้า ผ้าโพกศีรษะ สีเขียวขี้ม้า และ ผ้าคาดเอวสีเขียวขี้ม้า ส่วน เครื่องแต่งกายแบบที่ 2 นั้น ก็นามาใช้ในการซ้อมการแสดงแทน 5. วรรณกรรมที่ใช้แสดง วรรณกรรมที่หนังใหญ่วัดบ้านดอนใช้แสดง คือ เรื่องรามเกียรติ์ ถือว่าเป็น วรรณกรรมชั้นสูง เป็นวรรณกรรมที่สืบทอดบทพากย์บทเจรจามาตั้งแต่คนพากย์ สมัยครูเรื่อง รื่นเริง ได้ตก ทอดมาสู่นายสี รื่นเริง ผู้เป็นลูกชาย ต่อมานายเฉลิม มณีแสง ซึ่งเป็นศิษย์รับมอบจากครูสี รื่นเริง ได้มอบ ต้นฉบับเป็นสมุดขนาด 100 แผ่น ซึ่งเขียนเองแบบสมัยเก่า ยากแก่การที่จะทาการเข้าใจได้ทันที นายอานาจ มณีแสงจึงขอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบทพากย์ บทเจรจาของหนังใหญ่วัดบ้านดอน เพื่อให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา เมื่อนายเฉลิม มณีแสง เสียชีวิต นางเอี้ยม มณีแสง ซึ่งเป็นภรรยา ได้มอบ
  • 22. 12 ต้นฉบับนี้ให้แก่คุณแพรว เกศารัตน์ และปัจจุบันมอบไว้ที่วัดบ้านดอน เพื่อให้นักพากย์คนต่อๆ ไปได้ใช้พากย์ ประกอบการแสดง หนังใหญ่วัดบ้านดอนสมัยครูเรือง รื่นเริง มีเรื่องแสดงหลายตอน รวมทั้งตอนที่โด่งดังใน อดีตคือ ตอนสีดาลุยไฟ ซึ่งมีการลุยไฟจริงๆ ให้ชมกัน แต่ปัจจุบันไม่ได้มีการแสดงตอนนี้แล้ว เนื่องจากบท พากย์ บทเจรจา ครูสี รื่นเริง ไม่ได้มอบไว้ให้กับนายเฉลิม มณีแสง ได้เพียงแต่เนื้อเรื่องที่สืบสานต่อมา ดังนี้ 5.1. ตอนกาเนิดสองกุมาร เมื่อพระรามให้พระลักษณ์นานางสีดาไปประหารชีวิต เพราะคิดว่าเป็นชู้กับ ทศกัณฐ์แต่ฆ่าไม่ตาย เพราะมีบุตรในครรภ์ซึ่งเกิดกับพระราม จึงได้ไปอาศัยอยู่กับพระฤษีในป่าจนคลอดลูก ออกมาชื่อ พระบุตร ส่วนพระลบนั้นพระฤษีชุบขึ้นมาเพื่อให้เป็นเพื่อนและได้ชุบศรและพระขรรค์ให้กุมารทั้ง สองป้องกันตัว เมื่อพระกุมารอายุได้ 10 ปี ได้ขอพระมารดาไปเที่ยวป่าและทดลองศรพระเจ้าตาแผลงถูกต้นไม้ ใหญ่ล้มลงดังสนั่นเมือง เป็นที่สนุกสนานเพลิดเพลิน 5.2. ตอนปล่อยม้าอุปการ เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาทราบว่าผู้มีฤทธิ์ไม่เกรงกลัวบังอาจทาการไม่สมควรจึงจัด พิธีฉลองม้าพระที่นั่ง และยกทัพเคลื่อนขบวนไปปล่อยม้าอุปการส่งให้กาแหงหนุมานติดตามไปเฝ้าดูแลม้า ถ้า ผู้ใดพบเห็นแต่ไม่นอบน้อมบูชา ให้หนุมานฆ่าเสีย พอดีกับสองกุมารลาพระมารดาไปเที่ยวป่านึกสนุก แผลงศร ต้อนสัตว์ป่ามาดูเล่น สัตว์ต่างๆ ทั้งป่าออกมาให้ได้ชมเห็นม้าตัวหนึ่งสวยงาม ท่าทางดี จึงชอบใจ ช่วยกันจับมา ขี่เล่น ซึ่งหารู้ไม่ว่านั่นคือม้าพระที่นั่ง หนุมานเข้าต่อสู้ชิงมา ม้าถูกสองกุมารจับมัดและสักหน้า มาหาพระราม ช่วยแก้มัด 5.3. พระอนุชาต่อสู้กับสองกุมาร พระอินทร์ช่วยสองกุมารให้พ้นทุกข์ พระรามสั่งให้พระอนุชาไปจับสอง กุมาร พระบุตรถูกจับใส่ขื่อคาคอแห่ประจานไปทั่วเมือง ส่วนพระลบหนีเข้าป่าไปเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้นางสี ดาฟัง ตอนนี้พระอินทร์คิดช่วยเหลือทาให้นางสีดานึกถึงธามรงค์ ให้พระลบเอาไปให้นางกานัลในวัง โดยใส่ กระออมน้าไปให้พระบุตรหนีไป พระบุตรเห็นแหวนจึงเอาสวมนิ้วขวาไว้ ทันใดนั้นเครื่องพันธนาการก็หลุดออก ทันทั นางกานัลก็พาพระบุตรหนีไป พอพ้นเขตอันตรายนางกานัลก็หายไปทันที 5.4. พ่อลูกรู้จักกัน พระรามยกทัพติดตามสองกุมาร เกิดการต่อสู้กัน ศรของทั้งสองไม่ทาอันตรายต่อกัน พระบุตร (พระมงกุฏ) แผลงศรออกไปก็กลายเป็นเครื่องบูชา พระรามแผลงศรเข้ามา ก็กลายเป็นขนมและ ผลไม้ ผลสุดท้ายก็ทราบว่า เป็นพ่อลูกกัน พระรามอ้อนวอนให้นางสีดากลับเข้าเมืองแต่นางสีดาไม่ยอมไป ให้ แต่บุตรทั้งสองไปเท่านั้น พระรามพาพระบุตร พระลบกลับเมือง และจัดขบวนทัพใหญ่ให้ไปรับนางสีดากลับคืน สู่กรุงศรีอยุธยา ในพ.ศ. 2547 ด้วยความร่วมมือและประสานงานกันระหว่างโรงเรียน วัด และชุมชน จัดให้มีการหารือ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาในท้องถิ่น ที่ตนอาศัยอยู่ เช่น การตีเหล็กโบราณ การทาขนมจีน การนวด แผนไทย การแสดงหนังใหญ่ เป็นต้น โรงเรียน วัดบ้านดอนได้พิจารณาบรรจุสาระความรู้เรื่อง หนังใหญ่ ไว้เป็นสาระหนึ่งในสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่ม ศิลปวัฒนธรรม จัดอยู่ในแผนการสอนสาหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นที่ 2 หรือระดับประถมปลาย (ป.4 - ป.6) วางแผนเริ่มทาการทดลองสอนในปีการศึกษา 2548 เพื่อปฏิรูปลักษณะการถ่ายทอดวัฒนธรรมของท้องถิ่นและ
  • 23. 13 บ่มเพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับหนังใหญ่ให้เท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง เพื่อปลูกฝังจิตสานึก ความ ภาคภูมิใจ ความรู้สึกรักหวงแหนในวัฒนธรรมของตนให้แก่เยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม 2.7. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นสถานที่สืบ ทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมการแสดงหนังใหญ่ และเก็บรักษาตัวหนังใหญ่ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้ สืบไป การแสดงหนังใหญ่เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงที่ผสมผสานศิลปะหลายด้าน ทั้งหัตถศิลป์ นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และคีตศิลป์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอนนี้ถือเป็น 1 ใน 3 แห่งที่เหลืออยู่ อีก 2 แห่งคือ วัด ขนอนจังหวัดราชบุรี และวัดสว่างอารมณ์จังหวัดสิงห์บุรี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน ตั้งอยู่ในวัดบ้านดอน หมู่ 4 ตาบลเชิงเนิน ห่างจากตัวเมืองระยอง 5 กิโลเมตร สามารถเข้าชมได้ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ส่วนที่เก็บอนุรักษ์หนังใหญ่ ที่เก็บหนังใหญ่อายุ กว่า 200 ปี หนังใหญ่วัดบ้านดอนมีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิด บังคราม (เกตุ ยมจินดา) ประมาณปี พ.ศ. 2431 เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดระยอง ได้เห็นวัฒนธรรมการเล่นหนังใหญ่เป็นสิ่งควรค่าที่ จะอนุรักษ์สืบทอดไว้ จึงซื้อตัวหนังใหญ่มาจากจังหวัดพัทลุงจานวนหนึ่งชุด ประมาณ 200 ตัว ขนส่งข้ามอ่าว ไทยมาทางเรือพร้อมทั้งจ้างครูหนังมาช่วยในการฝึกสอน ถ่ายทอดการแสดงให้กับคนของท่านเจ้าเมือง เพื่อ แสดงในงานสาคัญๆ ระยะแรกได้จัดแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล ระยอง ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่เพื่อสะดวกในการฝึกซ้อมการแสดง จึงถูกย้ายมายังวัดบ้านดอนจนกระทั่งปี พ.ศ.2523 ได้มีการฝึกซ้อมหนังใหญ่ และนาออกแสดงตามงานต่างๆ อีกครั้ง เช่น งานหมู่บ้าน งานส รัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์ เพื่อเป็นการฟื้นฟู การสืบสานศิลปวัฒนธรรมและการละเล่นที่เคยมี ต่อมา พระครูปัญญาวุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสเห็นว่าควรมีสถานที่เก็บอนุรักษ์ตัวหนังให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลาน สามารถเห็นศิลปะเก่าแก่ จึงริเริ่มโครงการสร้างอาคารเพื่อเก็บหนังใหญ่ และเปิดให้คนได้เข้าชมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตัวหนังใหญ่ มีตู้เก็บตัวหนังเป็นกล่องไฟ เพื่อให้เห็นลวดลายที่วิจิตร บรรจงลงบนตัวหนังใหญ่ ตัวหนังทั้งหมดได้ถูกเปลี่ยนไม้ตับ (ไม้ถือ) จากไม้ไผ่เป็นไม้เหลาชะโอน เพื่อความ แข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ยังมีห้องประชุม เพื่อรับฟังคาบรรยาย ชมวีดีทัศน์การแสดงหนังใหญ่ด้วย ปัจจุบัน หนังใหญ่ที่เคยมีอยู่จาก 200 ตัว ได้ผุพังไปบ้าง จึงได้มีการทาเพิ่มเติมอีก 77 ตัว และใช้เล่นแสดงร่วมกันกับ หนังใหญ่ชุดเดิม ตัวหนังที่สาคัญที่จัดแสดงไว้มี 7 ประเภทคือ - หนังเจ้าหรือหนังครู เป็นตัวหนังที่ใช้สาหรับพิธีไหว้ครูเท่านั้น ตัวหนังนี้จะไม่ใช้ในการแสดง ได้แก่ หนังฤษี หนังพระอิศวร หนังพระนารายณ์
  • 24. 14 - หนังเฝ้าหรือหนังไหว้ เป็นภาพเดี่ยว เห็นหน้าด้านข้าง ตัวหนังอยู่ในท่าพนมมือไหว้ หนังชนิดนี้มี ความสูงประมาณ 1 เมตร - หนังคเนจรหรือหนังเดิน เป็นภาพเดี่ยว เห็นหน้าด้านข้าง หากเป็นตัวพระ ตัวนาง หรือตัวยักษ์ ตัว หนังอยู่ในท่าเดิน ถ้าเป็นภาพลิง จะเป็นท่าหย่อง - หนังง่า หรือหนังเหาะ เป็นภาพเดี่ยว เห็นหน้าด้านข้าง เป็นตัวหนังทาท่าเหาะ ท่าแผลงศร ท่าถือ อาวุธ - หนังเมือง เป็นหนังภาพเดี่ยวหรือหลายภาพในหนังผืนเดียว ตัวหนังที่มีลวดลายปราสาท ราชวัง หนัง ชนิดนี้ บางตัวสูงถึง 2 เมตร - หนังรถ เป็นหนังรูปลวดลายราชรถ มีทั้งตัวหนังเดี่ยวๆ และหลายตัวในแผงเดียวกัน - หนังจับ เป็นหนังที่มีภาพตัวละครตั้งแต่สองตัวขึ้นไป อยู่ในหนังผืนเดียว ทาท่าสู้รบหรือ หนังที่มี ความสูงพอกับหนังเมือง 2.8. วิธีการทาหนังใหญ่แบบโบราณ การทาหนังใหญ่ในสมัยก่อนนั้น จะใช้แผ่นหนังวัว หรือหนังควายดิบที่ตากแห้งโดยวิธีขึงลงในกรอบไม้ ให้ตึง แล้วเขียนภาพลงบนแผ่นหนัง เป็นรูปตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องรามเกียรติ์ จากนั้นจึงฉลุด้วยเครื่องมือตอก ฉลุให้เป็นช่องหลุดขาดออกไป เมื่อลงสีจะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือหนังสีและหนังดา นอกจากหนังใหญ่ทั่ว ๆ ไปที่ใช้แผ่นหนังวัวฉลุฉลักแลัว ยังมีหนังเจ้าสามตัวเรียกว่า หนังครู คือ ฤาษี พระอิศวร และพระนารายณ์ ใช้เชิดตอนเบิกหน้าพาทย์สามตระ เป็นการไหว้ครูก่อนเริ่มแสดงหนังใหญ่ สาหรับ หนังตัวฤาษีจะใช้หนังเสือ หรือหนังหมีฉลุฉลัก ส่วนหนังตัวพระอิศวรและพระนารายณ์จะ ใช้หนังวัวที่เสือกัด ตาย ออกลูกตาย หรือถูกฟ้าผ่าตาย เรียกว่า โคตายพราย การทารูปหนังใหญ่แบบดั้งเดิมมีกรรมวิธีดังนี้ 1. การฟอกหนัง เมื่อได้หนังแล้วต้องนามาฟอก ตามกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน สมัยโบราณจะ ใช้มะเฟือง ข่า ใบสมอ มาตาผสมกันให้แตก แล้วนาหนังสดมาหมักทิ้งไว้จนขนหนังหลุด ขึงแล้ว ตากให้แห้ง อาจทาด้วยขี้เถ้า ขูดเอาพังผืดและขนออก หรืออาจฟอกด้วยสัปปะรด ปัจจุบันนิยม ฟอกหนังด้วยน้าส้มสายชู หรือสารเคมี เพราะสะดวกและใช้เวลาน้อย 2. การลงลวดลาย ใช้ถ่านไม้รวก ดินสอ หรือใช้เหล็กแหลม วาดลวดลายลงบนหนัง ตามแต่เนื้อ เรื่องที่จะแสดง บางครั้งใช้วิธีการลอกลายลงกระดาษแล้วนามาทาบบนหนังเพื่อร่างแบบ 3. การแกะฉลุ จะใช้ตาไก่ ตอก และมีดแกะสลัก การฉลุมีสองแบบคือ "แบบหน้าเต็ม" คือ การฉลุ เอาเส้นตา คิ้ว วงหน้า ขอบแขนออก ซึ่งการฉลุ “แบบหน้าแขวะ” คือ การฉลุส่วนอื่นๆ ออก ให้ เหลือเฉพาะเส้นวงหน้า ตา คิ้ว ปาก หรือเส้นขอบแขน คอ 4. การลงสี สีที่นิยมใช้เป็นสีที่ผลิตจากธรรมชาติ เช่นสีแดง ได้จากน้าฝางผสมสารส้ม หรือหมากแห้ง ผสมแอลกอฮอล์ สีดาได้จากเขม่าก้นหม้อ สีเขียวได้จากจุนสีผสมน้ามะนาว สีเหลืองใช้น้าฝางทา
  • 25. 15 แล้วถูด้วยน้ามะนาว ปัจจุบันช่างสามารถเลือกใช้สีในท้องตลาด นามาละลายกับน้าอุ่นผสมกับ เหล้าขาว เพื่อช่วยให้สีซึมเข้าเนื้อหนัง 5. การผูกไม้เชิด เรียกว่า "ไม้ตับหนัง" หรือ "ไม้คีบหนัง" นิยมใช้ไม้ไผ่แก่จัดเนื้อหนามาเหลา หนัง ใหญ่หนึ่งตัวจะใช้ไม้คีบสองคู่ ประกบกันทางด้านซ้าย และด้านขวา แล้วใช้หวายผูกเป็นปล้องห่าง กันพอประมาณ เหลือไม้ตับลงมาใต้ตัวหนังประมาณ 50 ซม. ทั้ง 2 ข้าง ไว้สาหรับให้คนเชิดจับ และออกเชิด