SlideShare a Scribd company logo
1
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนำ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิป
ตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ซึ่งพระองค์แสดงส่วนสุดโต่งคือทั้งการหมกมุ่นในกาม และการทรมาน
ตนเองนั้น ไม่ก่อประโยชน์ในการพ้นทุกข์ พระพุทธองค์ได้แสดงทางสายกลางคืออริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น
จึงเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
อริยสัจ ๔ ประการ ทุกขอริยสัจนี้ ควรกาหนดรู้ ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจนี้
ควรทาให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสูตรนี้ ทาให้ธรรมจักษุ
อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” ก็ธรรมจักรนี้ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็นไปตราบ
จนถึงพระอัญญาโกณฑัญญเถระกับพรหม ๑๘ โกฏิดารงอยู่ในโสดาปัตติผล
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหำจุฬำฯ]
สังยุตตนิกำย มหำวำรวรรค
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค
หมวดว่ำด้วยกำรประกำศพระธรรมจักร
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ว่ำด้วยกำรประกำศพระธรรมจักร
[๑๐๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันทราม เป็นของ
ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ
ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
2
มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบ
ระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้ คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาที่ก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ
เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความ
เจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอัน
เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทาให้เกิดอีก ประกอบด้วยความ
เพลิดเพลินและความกาหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วย วิราคะ ความสละ
ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกาหนดรู้’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กาหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขสมุทยอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ ควรละ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ เราละได้แล้ว’
3
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขนิโรธอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ ควรทาให้แจ้ง’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เราได้ทาให้แจ้งแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิด ขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่
เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน
๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ตราบนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ
มี ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมใน
โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ญาณทัส
สนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘ความหลุดพ้นของเราไม่กาเริบ ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณะ (เวยยากรณะ ในที่นี้ หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา
ประกอบด้วยคาถาม คาตอบ เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์) อยู่ ธรรมจักษุ (ธรรมจักษุ หมายถึง
ดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ) อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณ
ฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ทวยเทพชั้นภุมมะกระจายข่าวว่า
“นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้ (ใครๆ ในโลกหมุน
กลับไม่ได้ หมายถึง ใครๆ ในโลกปฏิเสธไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของธรรมตรัสรู้มาโดยชอบ
และเพราะธรรมจักร เป็นธรรมยอดเยี่ยม)”
4
ทวยเทพชั้นจาตุมหาราช สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระ
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระ
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพชั้นยามา สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักร
อันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพชั้นดุสิต สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักร
อันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพชั้นนิมมานรดี สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระ
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อัน
สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่น
พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจายข่าวว่า
“นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็ปรากฏในโลก
ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ ว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้
เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คาว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของพระโกณ
ฑัญญะนั่นแล
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ ๑ จบ
-----------------------------------------------
5
คำอธิบำยเพิ่มเติมนี้ นำมำจำกบำงส่วนของ ธัมมจักกกถำ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหำจุฬำฯ]
ขุททกนิกำย ปฏิสัมภิทำมรรค
๗. ธัมมจักกกถำ
ว่ำด้วยธรรมจักร
๑. สัจจวำร
วำระว่ำด้วยสัจจะ
[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ ดังนั้น คา
ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขอริยสัจ”
คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
อย่างไร คาว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คา
ว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คาว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คาว่า “แสง
สว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม สภาวะที่รู้เป็นอรรถ ปัญญาเป็นธรรม
สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็น
อรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะ
เป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
[๔๐] คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักรเพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความชานาญในธรรมให้จักรเป็นไป
6
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความชานาญในธรรมให้จักร
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความสาเร็จในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความสาเร็จในธรรมให้จักร
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักร
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงสักการะธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักรเพราะพระผู้มีพระภาคทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นธงให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะธรรมจักรนั่นเอง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ใน
โลกให้หมุนกลับไม่ได้
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธินทรีย์เป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญินทรีย์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธาพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือวิริยพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือปัญญาพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือวิริยสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือปีติสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาทิฏฐิเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสังกัปปะเป็นไป
7
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาวาจาเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมากัมมันตะเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาอาชีวะเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสติเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสมาธิเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนาออกเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่นเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สาเร็จเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่าง
เดียวกันเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสารวมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็นเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้งเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาดเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ (อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณใน
อรหัตตผล) เพราะมีสภาวะสงบระงับเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐานเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธานเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่เป็นไป
8
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสารเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุก
ขอริยสัจนี้ นั้นควรกาหนดรู้” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ นั้นเรากาหนดรู้แล้ว”
คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะอย่างไร
คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ
ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมา
ก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ นั้นควรละ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ นั้นเราละได้แล้ว”
คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะอย่างไร
คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ
ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็น
9
ที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งมรรค เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์
เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุดเป็นไป
๒. สติปัฏฐำนวำร
วำระว่ำด้วยสติปัฏฐำน
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้ การพิจารณาเห็นกายในกาย” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้น
เราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้นเราเจริญแล้ว”
10
คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะอย่างไร
คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ
ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้ง
แห่งสติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ มีสติปัฏฐานเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในสติปัฏฐาน นับเนื่องในสติ
ปัฏฐาน รวมลงในสติปัฏฐาน ตั้งอยู่ในสติปัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน
คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุดเป็นไป
๓. อิทธิปำทวำร
วำระว่ำด้วยอิทธิบำท
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้ อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ”
ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทส
มาธิปธานสังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
11
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน
สังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน
สังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว”
คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
อย่างไร คาว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
อย่างไร คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คา
ว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คาว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คาว่า “แสง
สว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ
ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์
ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท
คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้
อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว”
คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะอย่างไร
12
คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ
ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็น
ที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งวิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาทเป็น
โคจรสงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท รวมลงในอิทธิบาท ตั้งอยู่ในอิทธิบาท ประดิษฐานอยู่
ในอิทธิบาท
คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุดเป็นไป
ธัมมจักกกถา จบ
------------------------

More Related Content

Similar to ๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf

4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasati4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasatiTongsamut vorasan
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
Padvee Academy
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพรampy48
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
niralai
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปดสำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปดTongsamut vorasan
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
maruay songtanin
 
๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf
๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf
๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
Songsarid Ruecha
 
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
บาลี 61 80
บาลี 61 80บาลี 61 80
บาลี 61 80Rose Banioki
 
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมTaweedham Dhamtawee
 
๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdf๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdf
maruay songtanin
 
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
maruay songtanin
 

Similar to ๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf (20)

4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasati4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasati
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
 
-------------- --- 1
 -------------- --- 1 -------------- --- 1
-------------- --- 1
 
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
๑๕ โมฆราชปัญหา.pdf
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
 
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปดสำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
 
๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf
๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf
๑๕ อานาปานัสสติสูตร มจร.pdf
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
 
บาลี 61 80
บาลี 61 80บาลี 61 80
บาลี 61 80
 
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
 
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
 
๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdf๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdf
 
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
 

More from maruay songtanin

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
536 กุณาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
535 สุธาโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
534 มหาหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
533 จูฬหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
532 โสณนันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
531 กุสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
530 สังกิจจชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
529 โสณกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
528 มหาโพธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
527 อุมมาทันตีชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
526 นฬินิกาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
525 จูฬสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
524 สังขปาลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
523 อลัมพุสาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
522 สรภังคชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
521 เตสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
520 คันธตินทุกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
519 สัมพุลาชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf

  • 1. 1 ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนำ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ซึ่งพระองค์แสดงส่วนสุดโต่งคือทั้งการหมกมุ่นในกาม และการทรมาน ตนเองนั้น ไม่ก่อประโยชน์ในการพ้นทุกข์ พระพุทธองค์ได้แสดงทางสายกลางคืออริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น จึงเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อริยสัจ ๔ ประการ ทุกขอริยสัจนี้ ควรกาหนดรู้ ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทาให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสูตรนี้ ทาให้ธรรมจักษุ อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” ก็ธรรมจักรนี้ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็นไปตราบ จนถึงพระอัญญาโกณฑัญญเถระกับพรหม ๑๘ โกฏิดารงอยู่ในโสดาปัตติผล ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหำจุฬำฯ] สังยุตตนิกำย มหำวำรวรรค ๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค หมวดว่ำด้วยกำรประกำศพระธรรมจักร ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่ำด้วยกำรประกำศพระธรรมจักร [๑๐๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย) เป็นธรรมอันทราม เป็นของ ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
  • 2. 2 มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบ ระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ นี้ คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาที่ก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความ เจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอัน เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทาให้เกิดอีก ประกอบด้วยความ เพลิดเพลินและความกาหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วย วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกาหนดรู้’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กาหนดรู้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขสมุทยอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ ควรละ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ เราละได้แล้ว’
  • 3. 3 ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขนิโรธอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ ควรทาให้แจ้ง’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เราได้ทาให้แจ้งแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิด ขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมใน โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ญาณทัส สนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘ความหลุดพ้นของเราไม่กาเริบ ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก’ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณะ (เวยยากรณะ ในที่นี้ หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา ประกอบด้วยคาถาม คาตอบ เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์) อยู่ ธรรมจักษุ (ธรรมจักษุ หมายถึง ดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ) อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณ ฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ทวยเทพชั้นภุมมะกระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้ (ใครๆ ในโลกหมุน กลับไม่ได้ หมายถึง ใครๆ ในโลกปฏิเสธไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคผู้เป็นเจ้าของธรรมตรัสรู้มาโดยชอบ และเพราะธรรมจักร เป็นธรรมยอดเยี่ยม)”
  • 4. 4 ทวยเทพชั้นจาตุมหาราช สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระ ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อัน สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระ ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อัน สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” ทวยเทพชั้นยามา สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักร อันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” ทวยเทพชั้นดุสิต สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระธรรมจักร อันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” ทวยเทพชั้นนิมมานรดี สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่นพระ ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อัน สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่น พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็กระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้” เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็ปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ ว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้ เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คาว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของพระโกณ ฑัญญะนั่นแล ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ ๑ จบ -----------------------------------------------
  • 5. 5 คำอธิบำยเพิ่มเติมนี้ นำมำจำกบำงส่วนของ ธัมมจักกกถำ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหำจุฬำฯ] ขุททกนิกำย ปฏิสัมภิทำมรรค ๗. ธัมมจักกกถำ ว่ำด้วยธรรมจักร ๑. สัจจวำร วำระว่ำด้วยสัจจะ [๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ ดังนั้น คา ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขอริยสัจ” คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ อย่างไร คาว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คา ว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คาว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คาว่า “แสง สว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม สภาวะที่รู้เป็นอรรถ ปัญญาเป็นธรรม สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็น อรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะ เป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ [๔๐] คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความชานาญในธรรมให้จักรเป็นไป
  • 6. 6 ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความชานาญในธรรมให้จักร เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความสาเร็จในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความสาเร็จในธรรมให้จักร เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักร เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงสักการะธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะพระผู้มีพระภาคทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นธงให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะธรรมจักรนั่นเอง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ใน โลกให้หมุนกลับไม่ได้ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธินทรีย์เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญินทรีย์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธาพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือวิริยพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือปัญญาพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือวิริยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือปีติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาทิฏฐิเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสังกัปปะเป็นไป
  • 7. 7 ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาวาจาเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมากัมมันตะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาอาชีวะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสติเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสมาธิเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนาออกเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สาเร็จเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่าง เดียวกันเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสารวมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้งเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาดเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ (อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณใน อรหัตตผล) เพราะมีสภาวะสงบระงับเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่เป็นไป
  • 8. 8 ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสารเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น ที่สุดเป็นไป จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุก ขอริยสัจนี้ นั้นควรกาหนดรู้” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่ เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้ นั้นเรากาหนดรู้แล้ว” คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะอย่างไร คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะสว่างไสว จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น ที่สุดเป็นไป จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ นั้นควรละ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ นั้นเราละได้แล้ว” คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะอย่างไร คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะสว่างไสว จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็น
  • 9. 9 ที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งมรรค เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์ เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น ที่สุดเป็นไป ๒. สติปัฏฐำนวำร วำระว่ำด้วยสติปัฏฐำน [๔๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า “นี้ การพิจารณาเห็นกายในกาย” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้น เราเจริญแล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่ เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ นั้นเราเจริญแล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ นั้นเราเจริญแล้ว”
  • 10. 10 คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะอย่างไร คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะสว่างไสว จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้ง แห่งสติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ มีสติปัฏฐานเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในสติปัฏฐาน นับเนื่องในสติ ปัฏฐาน รวมลงในสติปัฏฐาน ตั้งอยู่ในสติปัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น ที่สุดเป็นไป ๓. อิทธิปำทวำร วำระว่ำด้วยอิทธิบำท [๔๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า “นี้ อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทส มาธิปธานสังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่ เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
  • 11. 11 เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน สังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่ เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน สังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว” คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ อย่างไร คาว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คาว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ อย่างไร คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คาว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คา ว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คาว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คาว่า “แสง สว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น ที่สุดเป็นไป จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้ นั้นเราเจริญแล้ว” คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะอย่างไร
  • 12. 12 คือ คาว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คาว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี สภาวะสว่างไสว จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็น ที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งวิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาทเป็น โคจรสงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท รวมลงในอิทธิบาท ตั้งอยู่ในอิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ ในอิทธิบาท คาว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดารงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น ที่สุดเป็นไป ธัมมจักกกถา จบ ------------------------