SlideShare a Scribd company logo
1 of 41
Download to read offline
(Haplopelma longipes)
1. เด็กชายพัฒนพล ไกรสุข
2. เด็กชายนนท์ธนา ตะคอนรัมย์
3. เด็กชายสุรสิทธิ์ แดงดี
1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน 2. นางธีร์กัญญา พลนันท์
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสารวจ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เนื่องในงานวันวิทยาศาสตร์ ประจาปี 2559
การสารวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes)
เพื่อการอนุรักษ์ในป่าชุมชน
โดย
1. เด็กชายพัฒนพล ไกรสุข
2. เด็กชายนนท์ธนา ตะคอนรัมย์
3. เด็กชายสุรสิทธิ์ แดงดี
ครูที่ปรึกษา
1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน
2. นางธีร์กัญญา พลนันท์
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสารวจ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เนื่องในงานวันวิทยาศาสตร์ ประจาปี 2559
ชื่อโครงงาน การสารวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ในป่าชุมชน
ผู้ทาโครงงาน เด็กชายพัฒนพล ไกรสุข, เด็กชายนนท์ธนา ตะคอนรัมย์ และ เด็กชายสุรสิทธิ์ แดงดี
ครูที่ปรึกษา นายศิริวุฒิ บัวสมาน, นางธีร์กัญญา พลนันท์
สาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประเภทโครงงาน สารวจ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียน ศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจประชากรของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ในป่าชุมชน
ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และบ้านดงแดง ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อ
เพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ ศึกษาการเจริญเติบโตและอนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์ สารวจโดยใช้วิธีแถบเส้นทาง
เดินสารวจ (Line transect) โดยกาหนดความกว้างแถบซ้ายและขวาเท่ากัน คือ 5 เมตร จานวน 2 แปลง
ความยาวตามเส้นทางเดินสารวจ แปลงละ 2,000 เมตร สารวจ 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 –
กุมภาพันธ์ 2559
จากการสารวจพบบึ้งขายาว วงศ์ Theraphosidae จานวน 6ตัว โดยพบที่ป่าชุมชนบ้านหนองเพีย
ขันธ์ 5 ตัว และป่าชุมชนบ้านดงแดง 1 ตัว มีความหนาแน่นของประชากรบึ้งขายาว เท่ากับ 0.00025 ตัว/
ตารางเมตร และ 0.00005 ตัว/ตารางเมตร ตามลาดับ โดยมักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่าและใกล้
ชุมชนมากกว่าในป่าลึก และมีแนวโน้มลดจานวนลง รูบึ้ง มีความกว้างเฉลี่ย 6.63 cm ความลึกเฉลี่ย 41.55
cm และความกว้างเฉลี่ยของโพรง 8.43 cm ความยาวเฉลี่ยของบึ้ง 14.73 cm มีตา 4 คู่ จัดเรียงแบบ
procurve มีรยางค์ (palp) ยื่นยาวออกมาด้านหน้า 2 รยางค์ มีเขี้ยว (fang) 1 คู่ มีขา 4 คู่ ขาคู่ที่ 4 ยาวที่สุด
ส่วนขาคู่ที่ 1 ยาวรองลงมา แต่ละขามี 7 ปล้อง ที่ปลายขามีเล็บ (claw) 2 เล็บ ส่วนท้องไม่ได้แบ่งเป็นปล้อง
มีลักษณะเป็นถุงนิ่มๆ มีขนสีน้าตาลดา ส่วนท้องในเพศเมียมีช่องเปิดของระบบหายใจ/ปอดแผง (booklung)
2 คู่ ช่องอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (epigyne) อยู่ระหว่างปอดแผง และส่วนปลายท้องมีรยางค์ปล่อยเส้นใย
(spinneret) 2 คู่ โดย posterior spinneret ยาวกว่า anterior spinneret ประมาณ 4 เท่า
จากการเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว พบว่า บึ้งฟักเป็นตัวทั้งหมด 391 ตัว ตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6 เดือน มีการ
ลอกคราบ 5 ครั้ง ซึ่งการลอกคราบแต่ละรอบจะนานออกไปทุกครั้ง และหลังลอกคราบส่วนต่างๆ ของบึ้งจะมี
ความยาวและขนาดเพิ่มขึ้นทุกครั้ง และมีสีเข้มขึ้น โดยก่อนลอกคราบบึ้งจะไม่กินอาหาร และอนุรักษ์บึ้งขายาว
ไม่ให้สูญพันธุ์โดยนาบึ้งที่เลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด ป่าชุมชน และป่าที่เหมาะสม ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า
ให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ นาเสนอผ่านสื่อต่างๆ เช่น รายการ Nature Spy สายลับ
ธรรมชาติ facebook เป็นต้น
คาสาคัญ : บึ้ง, บึ้งขายาว, Haplopelma longipes , Theraphosidae
ก
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง “การสารวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ใน
ป่าชุมชน” สาเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณา อย่างยิ่งจากคุณครูศิริวุฒิ บัวสมาน และคุณครูธีร์กัญญา พลนันท์
ครูที่ปรึกษาโครงงาน ซึ่งได้ให้คาปรึกษาอันเป็นแนวทางในการทาโครงงานและการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
ปลูกฝังให้คณะผู้จัดทามีความเพียรพยายามและรักการทางาน สนับสนุน ส่งเสริม ให้โอกาส ให้กาลังใจ และ
เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คณะผู้จัดทามาโดยตลอดและขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณท่านพัชรินทร์ หยาดไธสง ผู้อานวยการโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ที่ให้
กาลังใจและสนับสนุนในการทาโครงงาน และขอขอบพระคุณ คุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ทุกท่าน ที่ให้กาลังใจและคาแนะนาที่ดีเสมอมา
ขอขอบพระคุณ คุณชวลิต ส่งแสงโชติ ผู้อานวยการศูนย์วิจัย Spider Planet ที่อนุเคราะห์ให้การ
อบรม สนับสนุนอุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงบึ้งและมอบกล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ ในโครงการมอบกล้องให้น้อง
ส่องอนาคต จานวน 4 เครื่อง ให้กับโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา และคุณอธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ นักศึกษา
สาขาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ช่วยอบรม แนะนาเกี่ยวกับแมงมุมและบึ้ง การ
จาแนกชนิด สนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องมือในการศึกษาบึ้ง
ขอขอบพระคุณ คุณแม่ประหยัด ตรีสอนและคณะกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และ
ป่าชุมชนบ้านดงแดงที่ให้คาแนะนาเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของบึ้งในป่าชุมชน ตลอดจนร่วมปลูกต้นไม้และปล่อย
ลูกบึ้งสู่ธรรมชาติ และขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้ คงมีประโยชน์หรือเป็นแนวทางในการศึกษาด้านบึ้งในท้องถิ่นต่อไป
และหวังว่าคงมีผู้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
คณะผู้จัดทา
สิงหาคม 2559
ข
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนา 1
1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของโครงงาน 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1
1.3 ขอบเขตของการศึกษา 1
1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3
2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบึ้ง 3
2.2 บึ้งขายาว 5
2.3 วิธีการหาและเก็บตัวอย่างบึ้งในธรรมชาติ 6
2.4 การเลี้ยงและเพาะพันธุ์บึ้ง 6
2.5 ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง 7
บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการศึกษา 8
3.1 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการสารวจ 8
3.2 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการเพาะเลี้ยงบึ้ง 8
3.3 วิธีการสารวจ/ศึกษา 9
บทที่ 4 ผลการศึกษา 11
ตอนที่ 1 ผลการสารวจบึ้งขายาว 11
ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว 15
ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว 24
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล 27
5.1 สรุปผลการศึกษา 27
5.2 อภิปรายผล 27
5.3 ข้อเสนอแนะ 28
เอกสารอ้างอิง 29
ภาคผนวก 30-36
ค
บทที่ 1
บทนา
1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเพราะอยู่ในเขตร้อนชื้น แต่ยังขาด
การสารวจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งบึ้งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังขาด
การสารวจและได้รับความสนใจน้อยมาก ทั้งที่บึ้งมีบทบาทสาคัญทาหน้าที่เป็นผู้ล่าในระบบนิเวศ และยังเป็น
อาหารสาหรับคนในบางท้องถิ่นของประเทศ ทั่วโลกมีการสารวจพบบึ้งประมาณ 130 สกุล 979 ชนิด
ในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าน่าจะพบบึ้งประมาณ 10 กว่าชนิด ซึ่งในปัจจุบันเท่าที่มีรายงานพบเพียง 3
สกุล 7 ชนิด พบใหม่ 1 สกุล 3 ชนิด เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่ายังมีบึ้งอีกหลายชนิดที่ยังรอการค้นพบ
สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในชนบทในภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จะมีการดารงชีวิตที่ต้อง
พึ่งพาอาศัยกับระบบนิเวศป่าไม้อยู่มาก เช่น ดอนปู่ตา ป่าสาธารณะประโยชน์ และป่าชุมชน เป็นต้น ซึ่งในป่า
เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารพื้นบ้านให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเห็ด ผัก หน่อไม้ ผลไม้ป่า สมุนไพร
กิ้งก่า แย้ น้าผึ้ง ต่อ หรือแม้กระทั้ง บึ้ง เป็นต้น
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังมีชาวบ้านบางส่วนนาบึ้งมาประกอบอาหารเพื่อรับประทาน เช่น ปิ้ง ย่าง
ทอด ป่น หมก เป็นต้น ทาให้บึ้งมีประชากรน้อยลงและในป่าชุมชนบางแห่งบึ้งได้สูญหายไปจากพื้นที่ เช่น
ดอนปู่ตาป่าสาธารณะประโยชน์ ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด (ซึ่งแต่เดิมเคยมีบึ้งแต่ปัจจุบัน
บึ้งในป่าแห่งนี้ได้สูญหายไป)
ทาให้กลุ่มของพวกเรา “ชุมนุมนักสารวจแห่ท้องทุ่ง” สนใจที่จะศึกษาและอนุรักษ์บึ้ง จึงได้มีการ
สอบถามชาวบ้าน (บ้านก่อ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 13 ตาบลศรีสมเด็จ อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด) ที่ไปเก็บ
เห็ดและได้พบบึ้งที่ป่าชุมชนป่าบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง (ป่าดงหนองเอียด) ตาบลดงแดง
อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด พวกเราจึงใช้พื้นที่นี้ในการสารวจ และศึกษาต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.2.1 เพื่อสารวจประชากรของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ในป่าชุมชนบ้านดงแดงและป่า
ชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
1.2.2 เพื่อเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ และศึกษาการเจริญเติบโตของบึ้งขายาวในห้องปฏิบัติการ
1.2.3 เพื่อนาบึ้งที่เพาะเลี้ยงไว้ไปปล่อยกลับสู่ธรรมชาติในป่าชุมชนและพื้นที่ป่าที่เหมาะสม
1.2.4 เพื่ออนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์
1.3 ขอบเขตของการศึกษา
1.3.1 ระยะเวลาในการศึกษา : 10 เดือน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือนสิงหาคม 2559
1.3.2 พื้นที่ดาเนินการสารวจ : ป่าชุมชนบ้านดงแดงและป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดงแดง
อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด (สารวจตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2559)
1.3.3 พื้นที่ดาเนินการเพาะเลี้ยง : ห้องปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา ตาบลศรีสมเด็จ อาเภอศรีสมเด็จ
จังหวัดร้อยเอ็ด (เพาะเลี้ยงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ถึง เดือนสิงหาคม 2559 รวม 6 เดือน)
1.3.4 ช่วงเวลาในการสารวจ : สารวจเฉพาะช่วงเวลากลางวัน
1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ
1.4.1 ได้เรียนรู้วิธีการศึกษาและสารวจบึ้งขายาว ทั้งภาคทฤษฏี ภาคสนามและภาคปฏิบัติ
1.4.2 ทราบถึงประโยชน์ โทษ บทบาท และความสาคัญของบึ้งขายาวในระบบนิเวศป่าชุมชน
1.4.3 ได้เทคนิค วิธีการศึกษาและวิธีเพาะพันธุ์บึ้งขายาว
1.4.4 เกิดความรักหวงแหน มีจิตสานึกในการอนุรักษ์บึ้งขายาวและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
2
บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ผู้จัดทาโครงงานได้ศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยนาเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
โครงงาน ดังนี้
2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบึ้ง
บึ้ง (Tarantula) หรือ ก่าบึ้ง หรือ อีบึ้ง ในภาษาอีสาน เป็นสัตว์ขาปล้องจาพวกแมงมุมกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่
ในวงศ์ Theraphosidae เป็นแมงมุมที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณกว่า 350 ล้านปีมาแล้ว โดยมีการ
เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างร่างกายน้อยมาก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับแมงมุมท้องปล้อง แต่บึ้งจะไม่เหลือปล้อง
บริเวณท้องอีกแล้ว บึ้งทั่วไปเป็นแมงมุมขนาดใหญ่ มีขายาว และมีลักษณะเด่นคือ มีเส้นขนจานวนมากขึ้นอยู่
ตามตัวและขา เห็นได้ชัดเจน ส่วนมากมีสีสันหรือลวดลายที่สดใส พบได้ทั่วไปทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่
ทะเลทราย ทุ่งหญ้า หรือในถ้าที่มืดมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบร้อนชื้น หรืออุณหภูมิแบบป่าดิบชื้น ยกเว้น
ขั้วโลกเท่านั้น
บึ้งมีขนาดแตกต่างหลากหลายออกไป ตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร จนถึง 33 เซนติเมตร น้าหนักกว่า 160
กรัม (แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร) จัดเป็นแมงมุมที่มีอายุขัยยาวนานกว่าแมงมุมจาพวก
อื่น โดยมีอายุยาวนานถึง 15-20 ปี
โดยทั่วไปแล้ว บึ้ง มีประสาทสายตาที่ไม่ค่อยดี จึงใช้ขนตามตัวเป็นตัวจับแรงสั่นสะเทือน ซึ่งสามารถทา
ให้บึ้งรับรู้ได้แม้กระทั่งทิศทาง หรือระยะห่างของวัตถุ
บึ้งหรือทารันทูล่า แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ จาแนกตามการอยู่อาศัย คือ อาศัยอยู่บนต้นไม้
กับขุดรูอาศัยอยู่ในดิน ประเภทที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้จะสร้างใยอย่างหนาแน่น หรืออาศัยอยู่ตามโพรงหรือ
ซอกหลืบของต้นไม้ หรือแม้กระทั่งสร้างใยไว้ระหว่างกิ่งไม้ รูปร่างลักษณะของบึ้งประเภทนี้จะแตกต่างจากบึ้งที่
อาศัยอยู่บนพื้นดิน คือ มีลาตัวไม่ใหญ่หรืออ้วนเทอะทะมากนัก แต่จะมีรูปร่างเพรียวยาว มีขาที่ยาว และปลาย
ขาจะมีแบนใหญ่กว่า เพราะต้องการพื้นผิวสัมผัสที่มากกว่าเพื่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ซึ่งบึ้งที่อาศัย
บนต้นไม้จะมีการเคลื่อนที่ที่ว่องไวปราดเปรียวกว่า
ส่วนประเภทที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน จะขุดดินเป็นรูลึกประมาณ 30-45 เซนติเมตร หรือเสาะแสวงหา
โพรง ภายในรูมีใยฉาบอยู่โดยรอบ เพื่อป้องกันดินรอบๆ พังทลายลงมา ซึ่งใยรอบๆ ปากรูนี้จะไม่มีความเหนียว
หรือเหมาะแก่การจับเหยื่อเลย แต่มีไว้เพื่อป้องกันการพังทลายของรูมากกว่า และช่วยป้องกันมิให้มีสัตว์หรือสิ่ง
ใดๆ มารบกวน ภายนอกของรูก็มักมีใยอยู่บริเวณรอบๆ ด้วย บางชนิดจะสร้างใยจนล้นออกมานอกบริเวณปาก
รู และปากรูมักจะสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ หากใยขาดก็จะซ่อมแซมใหม่ทันที โดยปกติแล้ว บึ้งเป็นแมงมุมที่
รักความสะอาด หากมีเศษชิ้นส่วนต่างๆ ตกลงไปในรู หรือเศษอาหารที่กินเหลือ ก็จะคาบมาทิ้งไว้ข้างนอกทันที
3
ปัจจุบัน มีการค้นพบบึ้งหรือทารันทูล่าแล้ว 130 สกุล จานวน 979 ชนิด และก็ยังมีชนิดที่ค้นพบใหม่
อยู่เรื่อยๆ สาหรับในประเทศไทยก็มีการค้นพบบึ้ง 3 สกุล จานวน 7 ชนิด และพบใหม่ 1 สกุล 3 ชนิด
ตัวอย่างบึ้งที่พบในประเทศไทย เช่นบึ้งดา (Haplopelma minax) จัดเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีขนาดใหญ่
ที่สุด มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว บึ้งสีน้าเงิน (H. lividum) มีขนาดย่อมลงมา มีสีน้าเงินเข้มตลอดทั้งตัว มีสีสัน
สวยงาม มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวเช่นเดียวกัน บึ้งลายหรือบึ้งม้าลาย (H. albostriatum) เป็นชนิดที่พบได้น้อย
ที่สุด มีลวดลายตามขาอันเป็นที่มาของชื่อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว แต่น้อยกว่า 2 ชนิดแรก และบึ้งสี
น้าตาล (Chilobrachys huahini) มีสีน้าตาลอมแดง มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว เช่นเดียวกัน และบึ้งขายาว(H.
longipes) และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการค้นพบหรือระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์
ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคกลาง หรือภาคอีสาน รวมถึงในประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา
จะนิยมจับบึ้งมารับประทานโดยถือเป็นอาหารพื้นบ้าน โดยมักจะนามาปิ้งหรือย่าง ด้วยการขุดรู มีรสชาติคล้าย
กับกุ้งหรือปู มีความหอมมัน แต่ทว่าไม่มีเปลือกแข็ง และบึ้งในอีกหลายชนิดก็นิยมเลี้ยงกัน
บึ้งจัดเป็นแมงมุม เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในชั้น (Class) Arachnida ซึ่งแตกต่างกับแมลงซึ่งจัดอยู่ใน
ชั้น Insecta ดังตารางที่ 2.1
ตารางที่ 2.1 ตารางแสดงลักษณะเปรียบเทียบระหว่างบึ้ง/แมงมุมกับแมลง
ลักษณะ บึ้ง/แมงมุม แมลง
ส่วนหลักของร่างกาย 2 ส่วน คือ Cephalothoraxและ Abdomen
โดยหัวและอกจะรวมเป็นส่วนเดียว
3 ส่วน คือ Head Thorax
และ Abdomen
หนวด ( Antennae ) ไม่มี มี
ขา 4 คู่ 3 คู่
Pedipalps มีโดยจะพัฒนาไปเป็นอวัยวะที่ใช้ในการผสม
พันธุ์ของตัวผู้
ไม่มี
ส่วนที่ปล่อยพิษ ส่วนของรยางค์ปาก ( Chelicerae )
ต่อมพิษบริเวณโคนเขี้ยว
หากมีจะอยู่ส่วนปลายของ
ท้อง
ปีก ไม่มี ส่วนใหญ่มี
ตา มีตาเดี่ยว ( Ocelli ) 6 หรือ 8 ตา ปกติมีตาประกอบ 1 คู่บาง
ชนิด พบตา
เดี่ยว 2 หรือ 3 ตา
อวัยวะที่ใช้ในการสร้าง
ใย
แมงมุมทุกชนิดมีอวัยวะพิเศษที่ใช้ในการสร้าง
ใย (Spinneret)
พบในระยะตัวอ่อนหรือใน
แมลงบางชนิด
การย่อยอาหาร ย่อยโดยใช้เอมไซน์ก่อนที่จะมีการกลืนกิน โดยทั่วไปจะย่อยหลังกลืน
การเจริญเติบโต ไม่มี Metamorphosis
ตัวอ่อนคล้ายพ่อแม่
แมลงหลายชนิด
มี Metamorphosis
ในระยะตัวอ่อนและดักแด้
4
2.2 บึ้งขายาว (Haplopelma longipes)
บึ้งขายาวมีการจาแนกตามหลักอนุกรมวิธาน ดังนี้
อาณาจักร Kingdom : Animalia
ไฟลัม Phylum: Arthropoda
ไฟลัมย่อย Subphylum: Chelicerata
ชั้น Class: Arachnida
อันดับ Order: Araneae
อันดับย่อย Suborder: Opisthothelae
อันดับฐาน Infraorder: Mygalomorphae
วงศ์ Family: Theraphosidae
สกุล Genus: Haplopelma
ภาพที่ 2.1 บึ้งขายาว (เพศเมีย)
ชื่อพื้นบ้าน : บึ้ง, อีบึ้ง
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์: Haplopelma longipes von Wirth & Striffler, 2005
ถิ่นอาศัย : ไทย ,กัมพูชา
ลักษณะการอาศัย : ขุดรู
อุณหภูมิ/ความชื้น : 23-28 องศาเซลเซียส , 70-80 %
ขนาดเต็มวัย : 5.0-7.0 นิ้ว
การเจริญเติบโต/อายุขัย : 2-3 ปี ถึงโตเต็มวัย /อายุ 10-15 ปี
นิสัย : ดุแบบโจมตี ขนคัน : ไม่มี
พิษ : มีต่อมพิษ
อาหาร : จิ้งหรีด แมลงขนาดเล็ก เขียด หนอน ตั๊กแตน จิ้งเหลนขนาดเล็ก เป็นต้น
5
2.3 วิธีการหาและการเก็บตัวอย่างบึ้งในธรรมชาติ
วิธีการหาบึ้งในธรรมชาติ สามารถหาได้ตามสวน สนามหญ้า ป่าโปร่ง ป่าทึบ หน้าผาดิน ซอกหิน
ปล้องไม้ไผ่ ใต้ขอนไม้ผุ โพรงต้นไม้ เป็นต้น
สาหรับการเก็บตัวอย่างบึ้งในธรรมชาติ สามารถทาได้หลายวิธี เช่น การตกบึ้ง การขุด อุโมงค์บึ้ง
เป็นต้น
2.4 การเลี้ยงและการเพาะพันธุ์บึ้ง
การเลี้ยงบึ้งให้มีชีวิตรอดสามารถทาได้โดย ศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมแล้วสร้างกล่องเลี้ยงให้มีสภาพ
คล้ายแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมให้มากที่สุด
การผสมพันธุ์บึ้ง บึ้งสามารถผสมพันธุ์ได้เมื่อโตเต็มวัย บึ้งเพศผู้จะโตเต็มวัยเร็วกว่าเพศเมีย 1 เท่า แต่
ละชนิดโตเต็มวัยไม่เท่ากัน บางชนิดโตเต็มวัยเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป บางชนิดอายุไม่กี่เดือนก็โตเต็มวัยแล้ว การ
ผสมพันธุ์บึ้งสามารถทาได้โดยนาเพศผู้โตเต็มวัยใส่ในกล่องเลี้ยงของเพศเมียชนิดเดียวกัน บึ้งเพศผู้จะมีรยางค์คู่
หน้าที่เรียกว่า palp ซึ่ง palp ของบึ้งเพศผู้ที่โตเต็มวัยจะถูกออกแบบให้ไว้ใช้สาหรับผสมพันธุ์ ปลาย palp จะ
มีลักษณะคล้ายนวม มีเข็มสาหรับปล่อยน้าเชื้อ โดยบึ้งเพศผู้จะเริ่มเก็บน้าเชื้อของตัวเองก่อน โดยสร้างใย
รองรับ แล้วถ่ายน้าเชื้อมาไว้ที่ใย ก่อนใช้ palp ดูดน้าเชื้อไว้ จากนั้นเมื่อเจอบึ้งเพศเมีย จะส่งสัญญาณโดยการ
เคาะ palp กับขาหน้าเป็นจังหวะ หากบึ้งเพศเมียเคาะตอบ แสดงว่ายินยอมให้ผสมพันธุ์ บึ้งเพศผู้จะเดินเข้าไป
หาแล้วใช้ขาหน้ายกบึ้งเพศเมียขึ้น แล้วใช้เข็มปลาย palp ฉีดน้าเชื้อเข้าไปที่กระเปาะหน้าท้องของบึ้งเพศเมีย
การฉีดเข้าไปไม่ได้หมายความว่าไข่จะได้รับการผสมทันที เพราะบึ้งเพศเมียจะรอจังหวะให้ไข่สุก แล้วจึงเบ่งไข่
ออกมาผสมกับน้าเชื้อ เมื่อไข่ได้รับการผสม บึ้งเพศเมียจะชักใยที่พื้นเป็นแอ่งกระทะ จากนั้นขึ้นคร่อมแล้วเบ่ง
ไข่ออกมา ชักใยคลุมถุงไข่ให้หนาขึ้น แล้วคาบไข่ไว้ ถุงไข่ที่ติดอยู่หน้าท้องของเพศเมีย มองดูเหมือนเพศเมียอุ้ม
ไข่ไว้ แต่ที่จริงใช้ปากคาบไว้ ภายในถุงไข่จะมีไข่บึ้งที่ยังไม่ฟักเป็นตัว 70-800 ฟอง ภายใน 4-12 สัปดาห์ จะฟัก
เป็นตัวแล้วแต่ชนิดของบึ้ง หากบึ้งเพศเมียไม่ยอมให้ผสมพันธุ์ จะไม่ส่งสัญญาณเคาะตอบ ควรนาบึ้งเพศผู้ออก
เพราะจะเกิดการต่อสู้กัน ซึ่งส่วนใหญ่จะสูญเสียบึ้งเพศผู้ หรือเมื่อบึ้งผสมพันธุ์กันแล้วตามธรรมชาติบึ้งเพศเมีย
จะกินบึ้งเพศผู้ นอกจากนี้ การผสมพันธุ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจไม่ได้ลูกบึ้ง หากบึ้งเพสเมียไม่มีไข่ออกมาผสมกับ
น้าเชื้อที่บึ้งเพศผู้ฉีดเข้าไป
เมื่อบึ้งเพศเมียถูกฉีดน้าเชื้อเข้าไปยังกระเปาะหน้าท้องแล้ว ควรนากล่องบึ้งเพศเมียไปเก็บไว้ในที่
ปลอดการรบกวน เพราะหากถูกรบกวน โอกาสที่บึ้งเพศเมียจะกินไข่ตัวเองมีสูง
เมื่อลูกบึ้งฟักออกจากไข่แล้วจะอยู่รวมกันได้หลังลอกคราบ 1-2 ครั้ง จากนั้นจะเริ่มกินกันเอง จึงควร
แยกใส่กล่องเลี้ยงกล่องละตัว
กล่องเลี้ยง ควรมีขนาดใหญ่กว่าลูกบึ้ง 3-4 เท่า ทรงกล่องควรพิจารณาจากชนิดของบึ้ง หากเป็นบึ้งดิน
ควรเป็นแนวราบหรือทรงสูง แต่ถมดินสูงเกือบถึงด้านบนกล่อง ส่วนบึ้งต้นไม้ กล่องเลี้ยงจะเป็นทรงสูงหรือ
แนวราบก็ได้ แต่ควรมีขอนไม้ให้บึ้งได้เข้าไปทาโพรงเข้าไปอยู่อาศัย กล่องเลี้ยงควรมีฝาปิด เพราะบึ้งจะปีนออก
ได้ มีรูระบายอากาศมากพอ ทาให้อากาศในกล่องเลี้ยงถ่ายเทได้สะดวก ภายในกล่องควรมีภาชนะสาหรับใส่น้า
6
ให้บึ้งไว้กิน ใช้วัสดุรองพื้นให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่และถิ่นที่มาของบึ้ง เช่น ขุยมะพร้าว ดินร่วนปนทราย ทราย
พีทมอสส์ เป็นต้น กล่องเลี้ยงแต่ละกล่องควรเลี้ยงบึ้งกล่องละตัว และเปลี่ยนกล่องเมื่อบึ้งลอกคราบ เพราะทุก
ครั้งที่มีการลอกคราบ หมายความว่าบึ้งจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการลอกคราบแต่ละรอบจะนานออกไปทุกครั้ง
เช่น ครั้งแรก 1 สัปดาห์ ครั้งถัดไป 3 สัปดาห์ ครั้งถัดไป 8 สัปดาห์ และเพิ่มระยะเวลาแต่ละรอบไปเรื่อยๆ บาง
รอบนานถึง 1 ปี ก็มีแล้วแต่ชนิดของบึ้ง
อาหารสารับบึ้ง คือ แมลง หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด อาหารควรทาให้มีขนาดใกล้เคียงกับขนาด
ของบึ้ง ถ้ามีขนาดที่ใหญ่กว่าควรตัดหรือหั่นเป็นชิ้นให้เล็กลง
การให้อาหารบึ้งนั้น ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่ามีจานวนบึ้งที่ต้องดูแลมากน้อยเพียงใด หากเลี้ยงเป็นจานวน
มาก การให้อาหารสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอ เพราะการให้อาหารควรสังเกตทุกครั้งว่าอาหารที่ให้บึ้งกินหมด
หรือไม่ ถ้าหมดก็นากากอาหารที่เหลือออกไปทิ้งเพาะอาจทาให้เกิดเชื้อราหรือไรลามไปสู่บึ้ง ถ้าบึ้งไม่กินอาหาร
แสดงว่าบึ้งตัวนั้นเกิดปัญหาบางอย่าง ซึ่งต้องสังเกตต่อไป บึ้งก่อนลอกคราบและหลังลอกคราบจะหยุดกิน
อาหาร ดังนั้นไม่ควรให้อาหาร เพราะเมื่ออาหารเหลือ ปัญหาเชื้อราและไรที่จะมากินอาหาร จะลามไปกินบึ้ง
จะเกิดขึ้น
2.5 ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง (ป่าดงหนองเอียด)
ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
มีเนื้อที่ 98 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา ประเภทป่า เป็นที่ดินตามหนังสือสาคัญสาหรับทางที่หลวง
สภาพทั่วไป เป็นที่ราบ มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2554
ภาพที่ 2.2 ป้ายป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์
ป่าชุมชนบ้านดงแดง ที่ตั้ง หมู่ที่ 13 ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
มีเนื้อที่ 103 ไร่ 2 งาน 86 ตารางวา ประเภทป่า เป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484
สภาพทั่วไป เป็นที่ราบ มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2553
ภาพที่ 2.3 ป้ายป่าชุมชนบ้านดงแดง
7
บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
3.1 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการสารวจ
1. แผนที่ป่าชุมชน
2. โทรศัพท์มือถือที่ระบุตาแหน่ง GPS ได้
3. เทปวัด
4. สายวัด
5. เข็มทิศ
6. ไม้บรรทัด
7.แว่นขยาย
8. ขวดเก็บตัวอย่าง
9. คัตเตอร์
10. สมุดบันทึก
11. ปากกา
12. กล้องถ่ายรูป
13. กล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ
14. จานเพาะเชื้อ
15. เอทานอลเข้มข้น ร้อยละ 70 โดยปริมาตร
16. เทอร์โมมิเตอร์
3.2 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการเพาะเลี้ยงบึ้ง
1. กล่องพลาสติกมีฝาเปิดได้
2. สว่านไฟฟ้า
3. หัวแร้ง
4. กล่องพลาสติกใส (กลม) มีฝาขนาดต่างๆ
5. ผ้าแก้ว
6. เทปใส
7. กล่องพลาสติกใสทรงสูงมีฝาปิด เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 cm สูง 6 cm
8. กระดาษชาระ
9. ขุยมะพร้าว
10. ดิน
11. กระบอกฉีดน้า
8
12. ตะกร้าขนาด 33 cm x44 cm x 13 cm
13. ปากคีบ
14. หนอนนก
15. จิ้งหรีด
3.3 วิธีการสารวจ/ศึกษา
ตอนที่ 1 วิธีการสารวจบึ้งขายาว
1. สืบค้นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบึ้งในอินเทอร์เน็ต
2. อบรมเกี่ยวกับวิธีการศึกษา วิธีการสารวจ วิธีการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์บึ้ง วิทยากรโดย คุณชวลิต
ส่งแสงโชติ ผู้อานวยการศูนย์วิจัยสไปเดอร์แพลนเน็ต (Spider Planet Research Center)และคุณอธิปัตย์
อู่ศิลปกิจ นักศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร
3. เดินทางไปสอบถามชาวบ้านที่เคยไปเก็บเห็ดแล้วพบบึ้ง เพื่อหาข้อมูลพื้นที่ที่น่าจะมีบึ้ง
4. เดินทางเข้าไปในพื้นที่ชุมชน ที่อยู่ติดกับป่าชุมชนบ้านดงแดง และป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดง
แดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
5. ลงพื้นที่จริง เพื่อสารวจประชากรบึ้ง
5.1กาหนดพื้นที่ในการสารวจ โดยใช้วิธีแถบเส้นทางเดินสารวจ(Line transect) โดยกาหนดความ
กว้างแถบว้ายและขวามือเท่ากันคือ 5 เมตร ความยาวตามเส้นทางเดินสารวจ 2,000 เมตร สารวจ 4 ครั้ง และ
เก็บตัวอย่างครั้งละ 1 ตัว พร้อมศึกษาโครงสร้างของรูบึ้ง และวัดอุณหภูมิ
5.2 บันทึกข้อมูลของบึ้ง เพิ่มเติมจากภาคสนามจาแนกและระบุชื่อของบึ้ง (โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ)
5.3 ในกรณีบึ้งตาย ให้เก็บรักษาสภาพตัวอย่าง โดยวิธีการดอง ในสารละลายเอทานอลเข้มข้นร้อยละ
70 โดยปริมาตรและระบุข้อมูลข้างขวด
5.4 นาข้อมูลจากการสารวจมาวิเคราะห์ และสรุปผลสารวจ
ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว
1. ศึกษาวงจรชีวิตของบึ้ง
2. เตรียมกล่องเลี้ยงพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ บึ้งขายาวโดยใช้กล่องขนาด กว้าง 25 ซม. สูง 35 ซม. ยาว 20ซม. ใช้
สว่านเจาะรูที่ฝา และด้านข้างของกล่อง เพื่อเป็นที่ระบายอากาศใส่ดินร่วนปนทราย และขุยมะพร้าวใส่ใน
อัตราส่วน 2:1ลงไปในกล่องให้ได้ประมาณ1ส่วน3 ของกล่อง หลังจากนั้นฉีดน้าให้ชุ่ม แล้วนาน้าใส่ภาชนะ แล้ว
นาไปไว้มุมใดมุมหนึ่งของกล่องเลี้ยง ทิ้งไว้ 1คืนจากนั้นนาพ่อแม่พันธุ์บึ้งใส่ลงไปในกล่องเลี้ยง กล่องละ 1 ตัว
ให้อาหารสัปดาห์ละครั้ง
3. เมื่อพ่อแม่พันธุ์มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ สังเกตได้จากเพศผู้มีส่วนที่เป็นรยางค์ (palp) ส่วนปลายจะ
พองคล้ายนวมส่วนเพศเมียจะมีสีดาเข้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุ 1 ปีขึ้นไป ให้ย้ายเพศผู้มาใส่ในกล่องเพศเมีย
9
สังเกตพฤติกรรมของเพศผู้และเพศเมีย โดยที่เพศผู้จะใช้ขาคู่หน้าเคาะที่ปากหลุม เพื่อให้เพศเมียรู้ ถ้าเพศเมีย
พร้อมที่จะผสมพันธุ์ เพศผู้จะใช้ขาคู่หน้าดันท้องของเพศเมียให้สูงขึ้น แล้วยื่นปลาย palp ไปที่ช่องเพศของเพศ
เมียแล้วถ่ายโอนน้าเชื้อไปเก็บไว้ที่ช่องเก็บสเปิร์มของเพศเมีย(เพศเมียสามารถเก็บสเปิร์มไว้ได้นานจนกว่าจะ
พร้อมผสม) เมื่อผสมเรียบร้อยแล้วให้รีบย้ายเพศผู้ออกจากล่องเพศเมีย(เพื่อป้องกันเพศเมียกินเพศผู้) ในกรณี
เพศเมียไม่พร้อมในการผสมพันธุ์ ถึงแม้เพศผู้จะส่งสัญญาณเพศเมียก็ไม่ตอบสนอง ให้ทาการย้ายเพศผู้ออกจาก
ล่องเพศเมีย
4. เมื่อผสมพันธุ์เรียบร้อยแล้ว ให้แยกเพศเมียไปเก็บในห้องที่ไม่มีสิ่งใดรบกวนได้ และงดให้อาหารนอกจากน้า
จนกว่าบึงจะออกไข่ใส่ในถุงห่อหุ้มไข่
5. แยกถุงไข่ออกจากกล่องเลี้ยงเพศเมียไปใส่ในกล่องอนุบาลไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 ซม. สูง 9 ซม.
โดยใช้กระดาษชาระรองพื้นหลายๆชั้น และมีฝาที่สามารถระบายอากาศได้ แล้วนากล่องอนุบาลไข่ ไปใส่ใน
กล่องพลาสติกที่ใหญ่กว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 ซม. สูง 10 ซม. ที่มีน้า 1/5 ของกล่อง แล้วพลิกไข่วัน
ละครั้ง
6. วิธีการสังเกตการฟักของไข่บึ้ง โดยใช้มือค่อยๆ คล่าถุงไข่ถ้ารู้สึกมีฟองน้าอยู่ข้างใน แสดงว่าไข่ฟักแล้ว แต่ถ้า
รู้สึกถุงไข่ตึง(แน่นอยู่) แสดงว่าไข่ยังไม่ฟัก นอกจากนั้นถ้าไข่ฟักแล้วใช้กรรไกรขลิบถุงไข่ด้านบนแล้วเปิดถุงไข่
ออก แล้วเทตัวอ่อนของบึ้งลงบนกระดาษชาระที่อยู่ในกล่องอนุบาลลูกบึ้ง
7. จนบึ้งมีการลอกคราบ 2 ครั้งแล้วแยกลูกบึ้งแต่ละตัวใส่กล่องเลี้ยงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 ซม. สูง 6 ซม.
ให้อาหารตัวอ่อนบึ้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คือวังอังคารและวันศุกร์ โดยใช้หนอนนก พร้อมฉีดน้า(ในขวดเลี้ยงบึ้งมี
เฉพาะขุยมะพร้าวเท่านั้น)
8. บันทึกการเจริญเติบโตของลูกบึ้งโดยการวัดความยาว ขาคู่ที่ 1 ถึงปลายขาคู่ที่ 4 ทุกๆเดือน
ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว
1. นาลูกบึ้งอายุ 5-6 เดือน ที่เพาะเลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด คือ ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ป่าชุมชน
บ้านดงแดง ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ปล่อยร่วมกับชาวบ้าน และติดตามทุก 3
เดือน
2. เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชนให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งโดยนาต้นไม้ไปปลูกร่วมกับชาวบ้าน
3.นาลูกบึ้งขายาวไปปล่อยในสวนศรีพิมพ์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยาร่วมกับครูและนักเรียนในชุมนุม
นักสารวจแห่งท้องทุ่ง
4. นาเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบึ้งขายาวผ่านรายการ “Nature Spy สายลับธรรมชาติ” ตอน “ตามหาบึ้งขา
ยาว” ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS วันที่ 25 เมษายน 2559
5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ผ่าน facebook ในกลุ่มนักสารวจ ศ.พ.ว. และพลพรรครักษ์
ดอนปู่ตา
10
บทที่ 4
ผลการศึกษา
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจประชากรของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ในป่าชุมชน
บ้านดงแดงและป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อ
เพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์และศึกษาการเจริญเติบโตของบึ้งขายาวในห้องปฏิบัติการและนาบึ้งที่เพาะเลี้ยงไว้ไป
ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติในป่าชุมชนเพื่ออนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์ สารวจโดยใช้วิธีแถบเส้นทางเดินสารวจ
(Line transect) โดยกาหนดความกว้างแถบซ้ายและขวาเท่ากัน คือ 5 เมตร จานวน 2 แปลง ความยาวตาม
เส้นทางเดินสารวจ แปลงละ 2,000 เมตร สารวจ 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – กุมภาพันธ์ 2559 และ
เก็บตัวอย่างครั้งละ 1 ตัว พร้อมศึกษาโครงสร้างและรายละเอียดต่างๆ ของบึ้งขายาว มีผลการสารวจและผล
การศึกษา ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการสารวจบึ้งขายาว
จากการสารวจพบบึ้งขายาว จานวน 6 ตัว โดยพบที่ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ 5 ตัว และป่าชุมชน
บ้านดงแดง 1 ตัว มีความหนาแน่นของประชากรบึ้งขายาว เท่ากับ 0.00025 ตัว/ตารางเมตร (250ตัว/ตาราง
กิโลเมตร, 0.4 ตัว/ไร่) และ 0.00005 ตัว/ตารางเมตร (50 ตัว/ตารางกิโลเมตร, 0.08 ตัว/ไร่) ตามลาดับ โดย
มักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่าและใกล้ชุมชนมากกว่าในป่าลึก ตาแหน่งและรายละเอียด ดังภาพที่
4.1 และตารางที่ 4.1
ภาพที่ 4.1 แผนที่แสดงตาแหน่งที่พบบึ้งขายาวในป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง
11
ตารางที่ 4.1 บันทึกผลการสารวจบึ้งในป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง ต.ดงแดง
อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด
สารวจ
ครั้งที่
ว/ด/ป สถานที่ ลักษณะปากรูบึ้ง พิกัดตาแหน่ง
(GPS) ที่พบ
ความกว้าง
ของปากรู (cm)
หมาย
เหตุ
1 14/10/2558 ป่าชุมชน
บ้าน
หนองเพีย
ขันธ์
15.85117, 103.60919 6.11 พบ
ข้างโคน
ต้นไม้
15.8507, 103.60664 7.00 คู
ข้างถนน
ทางเดิน
2 18/10/2558 ป่าชุมชน
บ้านดง
แดง
ไม่พบ - - -
3 16/02/2559 ป่าชุมชน
บ้าน
หนองเพีย
ขันธ์
15.84892, 103.60615 6.00 พบใต้
ร่มไม้
15.84911, 103.60641 7.40 ที่โล่ง
ชายป่า
15.84958, 103.6057 6.15 สนาม
หญ้า
ใกล้
ชุมชน
4 20/02/2559 ป่าชุมชน
บ้านดง
แดง
15.84571, 103.61534 7.12 ใต้
พุ่มไม้
เล็กๆ
สรุป สารวจ 4 ครั้ง 2 แห่ง ป่าชุมชนบ้าน
หนองเพียขันธ์ 5 รู
ป่าชุมชนบ้านดงแดง
1 รู
6 ตาแหน่ง เฉลี่ย
6.63 cm
-
12
รูบึ้ง มีความกว้างเฉลี่ย 6.63 cm ความลึกเฉลี่ย 41.55 cm และความกว้างเฉลี่ยของโพรง 8.43 cm
(ดังภาพที่ 4.2) ความยาวเฉลี่ยของบึ้ง 14.73 cm
ภาพที่ 4.2 โครงสร้างภายในของรูบึ้งขายาว (Haplopelma longipes)
ตารางที่ 4.2 ความกว้างของปากรู ความลึกของรู ความกว้างของโพรงและความยาวของบึ้งขายาว
ที่สารวจพบในป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง ต.ดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด
รูที่ 1 2 3 4 5* 6* เฉลี่ย (cm)
ความกว้าง (cm) 6.11 7.00 6.00 7.40 6.15 7.12 6.63
ความลึก (cm) 41.00 39.00 43.00 43.20 - - 41.55
ขนาดโพรง (cm) 8.74 8.23 7.42 9.31 - - 8.43
ความยาวของบึ้ง (cm) 13.93 15.23 14.24 15.5 - - 14.73
หมายเหตุ : * ไม่ได้ขุดสารวจ
จากการนาตัวอย่างบึ้งไปศึกษาลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน
แมงมุมและบึ้ง พบว่า บึ้งที่สารวจพบเป็น บึ้งขายาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Haplopelma longipes von
Wirth & Striffler, 2005 อยู่ในวงศ์ Theraphosidae สกุล (Genus) Haplopelma ร่างกายแบ่งออกเป็น 2
ส่วน คือ ส่วนแรกมีส่วนหัวและอกเชื่อมเป็นส่วนเดียวกัน (cephalothorax) แยกออกจากส่วนที่สองคือส่วน
ท้อง (abdomen) อย่างชัดเจน มีเปลือกแข็ง (carapace) หุ้มอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่าง เป็นที่ตั้งของตา มี 8
ตา จัดเรียงแบบ procurve มีรยางค์ (palp) ยื่นยาวออกมาด้านหน้า 2 รยางค์ ใช้สาหรับเขี่ยอาหารเข้าปาก
ปากรู
โพรงบึ้ง
รู
ใยคลุมปากรู
13
และส่วนปลายเก็บน้าเชื้อ (มีลักษณะคล้ายขาแต่ไม่ได้ทาหน้าที่เกาะหรือเดิน) มีเขี้ยว (fang) ที่แหลมคมใช้กัด
เหยื่อและปลายเขี้ยวมีรูสาหรับปล่อยพิษหรือน้าย่อยได้ มีขา 4 คู่ ขาคู่ที่ 4 ยาวที่สุด ส่วนขาคู่ที่ 1 ยาว
รองลงมา แต่ละขาเป็นข้อปล้องต่อๆ กัน 7 ปล้อง ที่ปลายขามีเล็บ (claw) เล็กแหลม 2 เล็บ ส่วนท้องไม่ได้
แบ่งเป็นปล้อง มีลักษณะเป็นถุงนิ่มๆ มีขนสีน้าตาลดา ส่วนท้องในเพศเมียมีช่องเปิดของระบบหายใจ/ปอด
แผง (booklung) 2 คู่ ช่องอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (epigyne) อยู่ระหว่างปอดแผง และส่วนปลายท้องมี
รยางค์ปล่อยเส้นใย (spinneret) 2 คู่ โดย posterior spinneret ยาวกว่า anterior spinneret ประมาณ 4
เท่า ดังภาพที่ 4.3 และ 4.4
ภาพที่ 4.3 ลักษณะโครงสร้างภายนอกของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) (ด้านบน)
14
ภาพที่ 4.4 ลักษณะโครงสร้างภายนอกของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) (ด้านล่าง)
ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว
ภาพที่ 4.5 นาบึ้งเพศผู้ที่โตเต็มวัยมาใส่ในกล่องเพศเมีย (อายุประมาณ 2 ปี) สังเกตบึ้งเพศผู้จะส่งสัญญาณโดย
การเคาะ palp กับขาหน้าเป็นจังหวะ หากบึ้งเพศเมียเคาะตอบ แสดงว่ายินยอมให้ผสมพันธุ์ บึ้งเพศผู้จะใช้ขา
หน้ายกบึ้งเพศเมียขึ้นแล้วใช้ palp ฉีดน้าเชื้อเข้าไปในกระเปาะหน้าท้องของบึ้งเพศเมีย แล้วแยกเพศผู้ออก
เพศเมีย
เพศผู้
15
ภาพที่ 4.6 ลักษณะถุงไข่บึ้งขายาว เมื่อไข่ได้รับการผสม บึ้งเพศเมียจะชักใยที่พื้นเป็นแอ่งกระทะ จากนั้นขึ้น
คร่อมแล้วเบ่งไข่ออกมา ชักใยคลุมไข่ให้หนาขึ้น คาบถุงไข่ไว้ติดกับหน้าท้อง
ภาพที่ 4.7 ลักษณะไข่บึ้งขายาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.0 mm มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน
16
ภาพที่ 4.8 สภาพไข่บึ้งที่ไม่ได้รับการผสมหรือถูกรบกวน แม่บึ้งจะกินไข่
ภาพที่ 4.9 พัฒนาการของไข่บึ้งขายาวก่อนฟักเป็นตัว
17
เมื่อไข่ของบึ้งขายาวได้รับการผสมแล้วประมาณ 60 วัน ก็จะฟักเป็นตัวอ่อนในถุงไข่
ภาพที่ 4.10 สภาพลูกบึ้งขายาวที่ฟักออกจากไข่อยู่ภายในถุงห่อหุ้มไข่ จานวน 391 ตัว
ภาพที่ 4.11 ลักษณะลูกบึ้งขายาวที่เพิ่งฟักออกจากไข่ ขนาดความยาว 0.72 cm
18
ภาพที่ 4.12 สภาพลูกบึ้งขายาวที่กาลังลอกคราบในกล่องอนุบาลลูกบึ้ง
ภาพที่ 4.13 เมื่ออายุได้ 3 วัน ลอกคราบครั้งที่ 1 ความยาว 1.10 cm
19
ภาพที่ 4.14 เมื่ออายุได้ 12 วัน ลอกคราบครั้งที่ 2 ความยาว 2.84 cm
ภาพที่ 4.15 เมื่ออายุได้ 23 วัน ลอกคราบครั้งที่ 3 ความยาว 3.20 cm
ภาพที่ 4.16 เมื่ออายุได้ 48 วัน ลอกคราบครั้งที่ 4 ความยาว 4.56 cm
20
ภาพที่ 4.17 เมื่ออายุได้ 180 วัน ลอกคราบครั้งที่ 5 ความยาว 5.43 cm
ตารางที่ 4.3 การลอกคราบของลูกบึ้งขายาวตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6 เดือน
ลอกคราบครั้งที่ ว/ด/ป ระยะห่างของการลอกคราบ (วัน) อายุ (วัน) หมายเหตุ
แรกเกิด 20/2/2559 - 1
1 23/2/2559 3 3
2 2/3/2559 8 11
3 14/3/2559 12 23
4 8/4/2559 25 48
5 16/8/2559 132 180
ตารางที่ 4.4 ความยาวของลูกบึ้งขายาว (วัดจากปลายขาคู่ที่ 1 –ปลายขาคู่ที่ 4) ตั้งแต่แรกเกิด - 6 เดือน
เดือนที่ ความยาว (cm)
แรกเกิด 0.72
1 1.1
2 2.84
3 3.2
4 4.56
5 5.43
6 5.88
ลูกบึ้งขายาวจะมีการลอกคราบเพื่อเพิ่มขนาดและมีความยาวเพิ่มขึ้นหลังลอกคราบ
21
ความยาว (cm)
แรกเกิด 1 2 3 4 5 6 เวลา (เดือน)
ภาพที่ 4.18 กราฟแสดงการเจริญเติบโต (ความยาว) ของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes)
ตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6 เดือน
ความยาว (cm)
7
6
5
4
3
2
1
แรกเกิด 1 2 3 4 5 6
เวลา (เดือน)
ภาพที่ 4.19 กราฟแสดงพัฒนาการและการเจริญเติบโตของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes)
0.72
1.1
2.84
3.2
4.56
5.43
5.88
0
1
2
3
4
5
6
7
1 2 3 4 5 6 7
22
ภาพที่ 4.20 ภาพแสดงลักษณะภายนอกของบึ้งขายาวอายุ 1 เดือน เมื่อส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ
(กาลังขยาย 20 เท่า)
23
ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว
1. นาลูกบึ้งอายุ 5-6 เดือน ที่เพาะเลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด คือ ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์
ป่าชุมชนบ้านดงแดง ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ปล่อยร่วมกับชาวบ้าน และติดตาม
ทุก 3 เดือน
ภาพที่ 4.21 นาลูกบึ้งขายาวไปปล่อยในป่าชุมชนร่วมกับชาวบ้าน
2. เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชนให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งโดยนาต้นไม้ไปปลูกร่วมกับชาวบ้าน
ภาพที่ 4.22 นาต้นไม้ไปปลูกในป่าชุมชนร่วมกับชาวบ้าน
24
ภาพที่ 4.23 นาลูกบึ้งขายาวไปปล่อยในสวนศรีพิมพ์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา
ร่วมกับครูและนักเรียนในชุมนุมนักสารวจแห่งท้องทุ่ง
25
3. นาเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบึ้งขายาวผ่านรายการ “Nature Spy สายลับธรรมชาติ” ตอน “ตามหา
บึ้งขายาว” ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS วันที่ 25 เมษายน 2559 สามารถชมย้อนหลังได้ทาง
https://www.youtube.com/watch?v=zCdZkPDX6tA หรือ
http://program.thaipbs.or.th/watch/azwcX5 ดังภาพที่ 4.24
ภาพที่ 4.24 รายการ “Nature Spy สายลับธรรมชาติ” ตอน “ตามหาบึ้งขายาว”
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ผ่าน facebook ในกลุ่มนักสารวจ ศ.พ.ว. และพลพรรครักษ์
ดอนปู่ตา
ภาพที่ 4.25 หน้า facebook ในกลุ่มนักสารวจ ศ.พ.ว. และพลพรรครักษ์ดอนปู่ตา
26
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
5.1 สรุปผลการศึกษา
ตอนที่ 1 การสารวจบึ้งขายาว
จากการสารวจพบบึ้งขายาว วงศ์ Theraphosidae จานวน 6ตัว โดยพบที่ป่าชุมชนบ้าน
หนองเพียขันธ์ 5 ตัว และป่าชุมชนบ้านดงแดง 1 ตัว มีความหนาแน่นของประชากรบึ้งขายาว เท่ากับ
0.00025 ตัว/ตาราง และ 0.00005 ตัว/ตารางเมตร ตามลาดับ โดยมักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่า
และใกล้ชุมชนมากกว่าในป่าลึก รูบึ้ง มีความกว้างเฉลี่ย 6.63 cm ความลึกเฉลี่ย 41.55 cm และความกว้าง
เฉลี่ยของโพรง 8.43 cm ความยาวเฉลี่ยของบึ้ง 14.73 cm มีตา 4 คู่ จัดเรียงแบบ procurve มีรยางค์
(palp) ยื่นยาวออกมาด้านหน้า 2 รยางค์ มีเขี้ยว (fang) 1 คู่ มีขา 4 คู่ ขาคู่ที่ 4 ยาวที่สุด ส่วนขาคู่ที่ 1 ยาว
รองลงมา แต่ละขามี 7 ปล้อง ที่ปลายขามีเล็บ (claw) 2 เล็บ ส่วนท้องไม่ได้แบ่งเป็นปล้อง มีลักษณะเป็นถุง
นิ่มๆ มีขนสีน้าตาลดา ส่วนท้องในเพศเมียมีช่องเปิดของระบบหายใจ/ปอดแผง (booklung) 2 คู่ ช่องอวัยวะ
สืบพันธุ์เพศเมีย (epigyne) อยู่ระหว่างปอดแผง และส่วนปลายท้องมีรยางค์ปล่อยเส้นใย (spinneret) 2 คู่
โดย posterior spinneret ยาวกว่า anterior spinneret ประมาณ 4 เท่า
ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว
จากการเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว พบว่า บึ้งฟักเป็นตัวทั้งหมด 391 ตัว ตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6
เดือน มีการลอกคราบ 5 ครั้ง ซึ่งการลอกคราบแต่ละรอบจะนานออกไปทุกครั้ง และหลังลอกคราบส่วนต่างๆ
ของบึ้งจะมีความยาวและขนาดเพิ่มขึ้นทุกครั้ง และมีสีเข้มขึ้น โดยก่อนลอกคราบบึ้งจะไม่กินอาหาร
ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว
อนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์โดยนาบึ้งที่เลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด ป่าชุมชน และป่าที่
เหมาะสม ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ นาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ
บึ้งขายาวผ่านสื่อต่างๆ เช่น รายการ Nature Spy สายลับธรรมชาติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบึ้ง
ขายาวผ่าน facebook เป็นต้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน
5.2 อภิปรายผลการศึกษา
ตอนที่ 1 การสารวจบึ้งขายาว
จากการสารวจประชากรบึ้งขายาวจะเห็นได้ว่า พบที่ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์มากกว่าป่า
ชุมชนบ้านดงแดง และมักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่าและใกล้ชุมชนมากกว่าในป่าลึก ทั้งนี้อาจเป็น
เพราะว่า สารวจในช่วงที่บึ้งกาลังหาคู่ผสมพันธุ์และในชุมชน/หมู่บ้านมีแสงไฟล่อแมลงทาให้บึ้งออกมาล่าแมลง
เป็นอาหารใกล้ๆ สวนชาวบ้าน จากการสารวจนี้จะเห็นได้ว่า ความหนาแน่นของประชากรบึ้งต่อพื้นที่มีน้อย
แสดงว่า ถ้าไม่มีการอนุรักษ์บึ้งชนิดนี้ไว้ บึ้งชนิดนี้อาจสูญหายหรือสูญพันธุ์ไปจากป่าชุมชนนี้ได้
27
ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว
จากการเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว พบว่า บึ้งฟักเป็นตัวทั้งหมด 391 ตัว และตายระหว่างลอกคราบ
17 ตัว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอากาศแห้ง ดังนั้น จะต้องรักษาสภาพความชื้นในกล่องเลี้ยงให้ได้ประมาณ 80%
อุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ก่อนและหลังลอกคราบ 1 สัปดาห์ ไม่ควรให้อาหารบึ้งเพราะจะทาให้
บึ้งมีปัญหาในการลอกคราบและขณะลอกคราบลาตัวและผิวของบึ้งจะอ่อน อาหารหรือหนอนที่ให้ไปอาจกิน
บึ้งได้ จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าบึ้งขายาวสามารถเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการได้
ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว
การอนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์สามารถทาได้หลายวิธี แต่สิ่งสาคัญที่สุด คือ การสร้าง
จิตสานึก ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าชุมชนและ
เยาวชนให้เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลป่าชุมชนของตนเอง จะทาให้การอนุรักษ์ยั่งยืนต่อไป
5.3 ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการศึกษาบึ้งหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ประกอบด้วย
2. ควรมีการศึกษาปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความชื้นในดิน pH ของดิน ความเข้มแสง เรือนยอดปก
คลุมของต้นไม้/ป่าไม้ ประกอบการสารวจ
3. ควรมีการสารวจบึ้งขายาวในสถานที่อื่นๆ ด้วย จะได้ทราบถึงความแตกต่างของจานวนและชนิดบึ้ง
ในแต่ละระบบนิเวศ
28
เอกสารอ้างอิง
นรินทร์ ชมพูพวง. 2554. ความหลากหลายทางชนิดของแมงมุมในพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่เกษตรที่
ตาบลไหล่น่าน อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
"Gen. Haplopelma Simon, 1892", World Spider Catalog, Natural History Museum Bern,
retrieved 2016-05-17
Simon, E. (1892), "Haplopelma, nov. gen.", Histoire naturelle des araignées, I, Paris: Roret,
p. 151, retrieved 2016-05-18
Zhu, M.S. & Zhang, R. (2008), "Revision of the theraphosid spiders from China (Araneae:
Mygalomorphae)", Journal of Arachnology, 36: 425–447
http://www.striffler.net/papers/von_Wirth_&_Striffler_2005-Ornithoctonus_
aureotibialis&Haplopelma_longipes.pdf
http://insects.about.com/od/spiders/ss/Tarantula-Anatomy-Diagram.htm
http://forestinfo.forest.go.th/55/fCom_detail.aspx?id=8011
http://forestinfo.forest.go.th/55/fCom_detail.aspx?id=6949
http://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=2200
https://th.wikipedia.org/wiki/แมงมุมทารันทูล่า
http://www.dnp.go.th/FOREMIC/Entomology/Web/Eminent/Eminent/spider1/index.htm
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/insect_sara/index.php?transaction=insect_1.php&id_m=24780
*******************
29
ภาคผนวก
- ภาพประกอบโครงงาน
ภาพที่ 6.1 สอบถามชาวบ้านที่เคยไปเก็บเห็ดแล้วพบบึ้ง
ภาพที่ 6.2 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบึ้งกับคณะกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์
(คุณประหยัด ตรีสอน)
31
ภาพที่ 6.3 อบรมเกี่ยวกับการสารวจ และการเพาะเลี้ยงบึ้งกับวิทยากรจากศูนย์วิจัย Spider Planet
ภาพที่ 6.4 ลงพื้นที่จริง เพื่อสารวจเส้นทางและสารวจบึ้งอย่างคร่าวๆ
32
ภาพที่ 6.5 ฟังคาแนะนาในการสารวจบึ้งจากครูที่ปรึกษา
ภาพที่ 6.6 สารวจและบันทึกข้อมูลบึ้งอย่างละเอียด พร้อมบันทึกตาแหน่งพิกัด GPS
33
ภาพที่ 6.7 ทดลองผสมพันธุ์บึ้งขายาว
ภาพที่ 6.8 เตรียมกล่องอนุบาลลูกบึ้ง พร้อมฟังคาแนะนาจากครูที่ปรึกษา
34
ภาพที่ 6.9 ลูกบึ้งขายาวที่กาลังลอกคราบครั้งที่ 1 ในกล่องอนุบาล
ภาพที่ 6.10 เตรียมกล่องเลี้ยงลูกบึ้ง แยกเลี้ยงกล่องละ 1 ตัว
35
ภาพที่ 6.11 ให้หนอนนกเป็นอาหารลูกบึ้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง พร้อมฉีดน้า และบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต
ภาพที่ 6.12 ภาพความประทับใจ
36

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบ 100 ข้อ
แบบทดสอบ 100  ข้อแบบทดสอบ 100  ข้อ
แบบทดสอบ 100 ข้อหรร 'ษๅ
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงChok Ke
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2Enormity_tung
 
โครงงาน แว๊กซ์สะดุ้ง
โครงงาน แว๊กซ์สะดุ้งโครงงาน แว๊กซ์สะดุ้ง
โครงงาน แว๊กซ์สะดุ้งNuties Electron
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)
โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)
โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)firstnarak
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่Panomporn Chinchana
 
โครงงานน้ำหมักชีวภาพ
โครงงานน้ำหมักชีวภาพโครงงานน้ำหมักชีวภาพ
โครงงานน้ำหมักชีวภาพKris Niyomphandh
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1Enormity_tung
 
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบโครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบLorpiyanon Krittaya
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...Sircom Smarnbua
 
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลกโครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลกพัน พัน
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานHero Siamza
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศPa'rig Prig
 
กากกาแฟสครับผิว
กากกาแฟสครับผิวกากกาแฟสครับผิว
กากกาแฟสครับผิวJitrapron Tongon
 
โครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะโครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะPang Pond
 
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติมโครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติมtanapatwangklaew
 

What's hot (20)

แบบทดสอบ 100 ข้อ
แบบทดสอบ 100  ข้อแบบทดสอบ 100  ข้อ
แบบทดสอบ 100 ข้อ
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผง
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
 
รวม
รวมรวม
รวม
 
โครงงาน แว๊กซ์สะดุ้ง
โครงงาน แว๊กซ์สะดุ้งโครงงาน แว๊กซ์สะดุ้ง
โครงงาน แว๊กซ์สะดุ้ง
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)
โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)
โครงงานคอม(ยาสามัญประจำบ้าน)
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
 
โครงงานน้ำหมักชีวภาพ
โครงงานน้ำหมักชีวภาพโครงงานน้ำหมักชีวภาพ
โครงงานน้ำหมักชีวภาพ
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 1
 
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบโครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
 
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลกโครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
กากกาแฟสครับผิว
กากกาแฟสครับผิวกากกาแฟสครับผิว
กากกาแฟสครับผิว
 
โครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะโครงงานคัดแยกขยะ
โครงงานคัดแยกขยะ
 
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติมโครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
โครงงานเรื่องกล่องเอนกประสงค์จากไม้ไอติม
 

Viewers also liked

รายงานผลการอบรม 2 53
รายงานผลการอบรม 2  53รายงานผลการอบรม 2  53
รายงานผลการอบรม 2 53Sircom Smarnbua
 
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-5
รายงานผลการอบรมภาษา2  53-5รายงานผลการอบรมภาษา2  53-5
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-5Sircom Smarnbua
 
รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554
รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554
รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554Sircom Smarnbua
 
บทกลอนแด่แม่
บทกลอนแด่แม่บทกลอนแด่แม่
บทกลอนแด่แม่niralai
 
แมงมุม
แมงมุมแมงมุม
แมงมุมicon753951
 
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะรายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะมาณวิกา นาคนอก
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีSircom Smarnbua
 
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-4
รายงานผลการอบรมภาษา2  53-4รายงานผลการอบรมภาษา2  53-4
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-4Sircom Smarnbua
 
บทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อนบทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อนniralai
 
Ch 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistryCh 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistrykruannchem
 
โครงสร้างอะตอม Atoms
โครงสร้างอะตอม Atomsโครงสร้างอะตอม Atoms
โครงสร้างอะตอม AtomsBELL N JOYE
 
(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอม
(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอม(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอม
(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอมBELL N JOYE
 
พันธะเคมี Part ionic bonds
พันธะเคมี Part ionic bondsพันธะเคมี Part ionic bonds
พันธะเคมี Part ionic bondsBELL N JOYE
 
บทกลอนเกี่ยวกับครู
บทกลอนเกี่ยวกับครูบทกลอนเกี่ยวกับครู
บทกลอนเกี่ยวกับครูniralai
 
คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์PomPam Comsci
 
บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)
บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)
บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)BELL N JOYE
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีjirat266
 
มาลาบูชาครู
มาลาบูชาครูมาลาบูชาครู
มาลาบูชาครูniralai
 

Viewers also liked (20)

อำลา อาลัย จากใจครู
อำลา  อาลัย  จากใจครูอำลา  อาลัย  จากใจครู
อำลา อาลัย จากใจครู
 
รายงานผลการอบรม 2 53
รายงานผลการอบรม 2  53รายงานผลการอบรม 2  53
รายงานผลการอบรม 2 53
 
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-5
รายงานผลการอบรมภาษา2  53-5รายงานผลการอบรมภาษา2  53-5
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-5
 
30233
3023330233
30233
 
รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554
รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554
รายงานผลการอบรมครูเคมี 2554
 
บทกลอนแด่แม่
บทกลอนแด่แม่บทกลอนแด่แม่
บทกลอนแด่แม่
 
แมงมุม
แมงมุมแมงมุม
แมงมุม
 
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะรายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
รายงานการไปราชการ อบรมวิทฐานะ
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-4
รายงานผลการอบรมภาษา2  53-4รายงานผลการอบรมภาษา2  53-4
รายงานผลการอบรมภาษา2 53-4
 
บทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อนบทบรรยายอำลาเพื่อน
บทบรรยายอำลาเพื่อน
 
Ch 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistryCh 03 nuclear chemistry
Ch 03 nuclear chemistry
 
โครงสร้างอะตอม Atoms
โครงสร้างอะตอม Atomsโครงสร้างอะตอม Atoms
โครงสร้างอะตอม Atoms
 
(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอม
(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอม(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอม
(6) สื่อ ppt เรื่อง อะตอม
 
พันธะเคมี Part ionic bonds
พันธะเคมี Part ionic bondsพันธะเคมี Part ionic bonds
พันธะเคมี Part ionic bonds
 
บทกลอนเกี่ยวกับครู
บทกลอนเกี่ยวกับครูบทกลอนเกี่ยวกับครู
บทกลอนเกี่ยวกับครู
 
คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์
 
บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)
บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)
บทที่ 5 สรชีวโมเลกุล (เอกสารประกอบการสอน)
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
มาลาบูชาครู
มาลาบูชาครูมาลาบูชาครู
มาลาบูชาครู
 

Similar to รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ในป่าชุมชน 2559 เผยแพร่

20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd20080801 Carena Pmd
20080801 Carena PmdAkradech M.
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพวSircom Smarnbua
 
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1Sircom Smarnbua
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศUNDP
 
พะยูน
พะยูนพะยูน
พะยูนteryberry
 
สายใยรัก
สายใยรักสายใยรัก
สายใยรักpanaage
 
โครงการรักษ์โลกให้ถูกทาง
โครงการรักษ์โลกให้ถูกทางโครงการรักษ์โลกให้ถูกทาง
โครงการรักษ์โลกให้ถูกทางพัน พัน
 
ป่าชุมชน ห้วยหินลาด
ป่าชุมชน ห้วยหินลาดป่าชุมชน ห้วยหินลาด
ป่าชุมชน ห้วยหินลาดDow P.
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ThanyapornK1
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกAuraphin Phetraksa
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติAuraphin Phetraksa
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกAuraphin Phetraksa
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 SlidejanjaoKanjanjao
 
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงการวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงsavokclash
 

Similar to รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ในป่าชุมชน 2559 เผยแพร่ (20)

20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
 
042147
042147042147
042147
 
พะยูน
พะยูนพะยูน
พะยูน
 
Bioosm
BioosmBioosm
Bioosm
 
Biomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timberBiomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timber
 
สายใยรัก
สายใยรักสายใยรัก
สายใยรัก
 
โครงการรักษ์โลกให้ถูกทาง
โครงการรักษ์โลกให้ถูกทางโครงการรักษ์โลกให้ถูกทาง
โครงการรักษ์โลกให้ถูกทาง
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
ป่าชุมชน ห้วยหินลาด
ป่าชุมชน ห้วยหินลาดป่าชุมชน ห้วยหินลาด
ป่าชุมชน ห้วยหินลาด
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
 
สมุนไพรแก้คันกันยุง
สมุนไพรแก้คันกันยุงสมุนไพรแก้คันกันยุง
สมุนไพรแก้คันกันยุง
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao
 
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงการวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์โครงการป่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
 

More from Sircom Smarnbua

1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกดSircom Smarnbua
 
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา20152โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015Sircom Smarnbua
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2Sircom Smarnbua
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1Sircom Smarnbua
 
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อSircom Smarnbua
 
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือSircom Smarnbua
 
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอนSircom Smarnbua
 
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดรายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดSircom Smarnbua
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2Sircom Smarnbua
 
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีSircom Smarnbua
 
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558Sircom Smarnbua
 
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...Sircom Smarnbua
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...Sircom Smarnbua
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1Sircom Smarnbua
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558Sircom Smarnbua
 
โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558
โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558
โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558Sircom Smarnbua
 
กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5 1 2558
กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5  1 2558กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5  1 2558
กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5 1 2558Sircom Smarnbua
 

More from Sircom Smarnbua (20)

1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
 
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา20152โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
 
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
 
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
 
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
 
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดรายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
 
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
 
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
 
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
 
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
 
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558
 
โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558
โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558
โครงสร้างรายวิชาเคมี ม5 1 2558
 
กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5 1 2558
กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5  1 2558กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5  1 2558
กำหนดการสอนรายวิชา เคมี ม5 1 2558
 

รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ในป่าชุมชน 2559 เผยแพร่

  • 1. (Haplopelma longipes) 1. เด็กชายพัฒนพล ไกรสุข 2. เด็กชายนนท์ธนา ตะคอนรัมย์ 3. เด็กชายสุรสิทธิ์ แดงดี 1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน 2. นางธีร์กัญญา พลนันท์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสารวจ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในงานวันวิทยาศาสตร์ ประจาปี 2559
  • 2. การสารวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ในป่าชุมชน โดย 1. เด็กชายพัฒนพล ไกรสุข 2. เด็กชายนนท์ธนา ตะคอนรัมย์ 3. เด็กชายสุรสิทธิ์ แดงดี ครูที่ปรึกษา 1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน 2. นางธีร์กัญญา พลนันท์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสารวจ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เนื่องในงานวันวิทยาศาสตร์ ประจาปี 2559
  • 3. ชื่อโครงงาน การสารวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ในป่าชุมชน ผู้ทาโครงงาน เด็กชายพัฒนพล ไกรสุข, เด็กชายนนท์ธนา ตะคอนรัมย์ และ เด็กชายสุรสิทธิ์ แดงดี ครูที่ปรึกษา นายศิริวุฒิ บัวสมาน, นางธีร์กัญญา พลนันท์ สาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประเภทโครงงาน สารวจ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน ศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ปีการศึกษา 2559 บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจประชากรของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ในป่าชุมชน ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และบ้านดงแดง ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อ เพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ ศึกษาการเจริญเติบโตและอนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์ สารวจโดยใช้วิธีแถบเส้นทาง เดินสารวจ (Line transect) โดยกาหนดความกว้างแถบซ้ายและขวาเท่ากัน คือ 5 เมตร จานวน 2 แปลง ความยาวตามเส้นทางเดินสารวจ แปลงละ 2,000 เมตร สารวจ 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – กุมภาพันธ์ 2559 จากการสารวจพบบึ้งขายาว วงศ์ Theraphosidae จานวน 6ตัว โดยพบที่ป่าชุมชนบ้านหนองเพีย ขันธ์ 5 ตัว และป่าชุมชนบ้านดงแดง 1 ตัว มีความหนาแน่นของประชากรบึ้งขายาว เท่ากับ 0.00025 ตัว/ ตารางเมตร และ 0.00005 ตัว/ตารางเมตร ตามลาดับ โดยมักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่าและใกล้ ชุมชนมากกว่าในป่าลึก และมีแนวโน้มลดจานวนลง รูบึ้ง มีความกว้างเฉลี่ย 6.63 cm ความลึกเฉลี่ย 41.55 cm และความกว้างเฉลี่ยของโพรง 8.43 cm ความยาวเฉลี่ยของบึ้ง 14.73 cm มีตา 4 คู่ จัดเรียงแบบ procurve มีรยางค์ (palp) ยื่นยาวออกมาด้านหน้า 2 รยางค์ มีเขี้ยว (fang) 1 คู่ มีขา 4 คู่ ขาคู่ที่ 4 ยาวที่สุด ส่วนขาคู่ที่ 1 ยาวรองลงมา แต่ละขามี 7 ปล้อง ที่ปลายขามีเล็บ (claw) 2 เล็บ ส่วนท้องไม่ได้แบ่งเป็นปล้อง มีลักษณะเป็นถุงนิ่มๆ มีขนสีน้าตาลดา ส่วนท้องในเพศเมียมีช่องเปิดของระบบหายใจ/ปอดแผง (booklung) 2 คู่ ช่องอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (epigyne) อยู่ระหว่างปอดแผง และส่วนปลายท้องมีรยางค์ปล่อยเส้นใย (spinneret) 2 คู่ โดย posterior spinneret ยาวกว่า anterior spinneret ประมาณ 4 เท่า จากการเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว พบว่า บึ้งฟักเป็นตัวทั้งหมด 391 ตัว ตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6 เดือน มีการ ลอกคราบ 5 ครั้ง ซึ่งการลอกคราบแต่ละรอบจะนานออกไปทุกครั้ง และหลังลอกคราบส่วนต่างๆ ของบึ้งจะมี ความยาวและขนาดเพิ่มขึ้นทุกครั้ง และมีสีเข้มขึ้น โดยก่อนลอกคราบบึ้งจะไม่กินอาหาร และอนุรักษ์บึ้งขายาว ไม่ให้สูญพันธุ์โดยนาบึ้งที่เลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด ป่าชุมชน และป่าที่เหมาะสม ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า ให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ นาเสนอผ่านสื่อต่างๆ เช่น รายการ Nature Spy สายลับ ธรรมชาติ facebook เป็นต้น คาสาคัญ : บึ้ง, บึ้งขายาว, Haplopelma longipes , Theraphosidae ก
  • 4. กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่อง “การสารวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) เพื่อการอนุรักษ์ใน ป่าชุมชน” สาเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณา อย่างยิ่งจากคุณครูศิริวุฒิ บัวสมาน และคุณครูธีร์กัญญา พลนันท์ ครูที่ปรึกษาโครงงาน ซึ่งได้ให้คาปรึกษาอันเป็นแนวทางในการทาโครงงานและการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ปลูกฝังให้คณะผู้จัดทามีความเพียรพยายามและรักการทางาน สนับสนุน ส่งเสริม ให้โอกาส ให้กาลังใจ และ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คณะผู้จัดทามาโดยตลอดและขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณท่านพัชรินทร์ หยาดไธสง ผู้อานวยการโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ที่ให้ กาลังใจและสนับสนุนในการทาโครงงาน และขอขอบพระคุณ คุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ทุกท่าน ที่ให้กาลังใจและคาแนะนาที่ดีเสมอมา ขอขอบพระคุณ คุณชวลิต ส่งแสงโชติ ผู้อานวยการศูนย์วิจัย Spider Planet ที่อนุเคราะห์ให้การ อบรม สนับสนุนอุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงบึ้งและมอบกล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ ในโครงการมอบกล้องให้น้อง ส่องอนาคต จานวน 4 เครื่อง ให้กับโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา และคุณอธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ นักศึกษา สาขาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ช่วยอบรม แนะนาเกี่ยวกับแมงมุมและบึ้ง การ จาแนกชนิด สนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องมือในการศึกษาบึ้ง ขอขอบพระคุณ คุณแม่ประหยัด ตรีสอนและคณะกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และ ป่าชุมชนบ้านดงแดงที่ให้คาแนะนาเกี่ยวกับแหล่งอาศัยของบึ้งในป่าชุมชน ตลอดจนร่วมปลูกต้นไม้และปล่อย ลูกบึ้งสู่ธรรมชาติ และขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้ คงมีประโยชน์หรือเป็นแนวทางในการศึกษาด้านบึ้งในท้องถิ่นต่อไป และหวังว่าคงมีผู้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คณะผู้จัดทา สิงหาคม 2559 ข
  • 5. สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1 บทนา 1 1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของโครงงาน 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 1 1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ 2 บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3 2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบึ้ง 3 2.2 บึ้งขายาว 5 2.3 วิธีการหาและเก็บตัวอย่างบึ้งในธรรมชาติ 6 2.4 การเลี้ยงและเพาะพันธุ์บึ้ง 6 2.5 ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง 7 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการศึกษา 8 3.1 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการสารวจ 8 3.2 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการเพาะเลี้ยงบึ้ง 8 3.3 วิธีการสารวจ/ศึกษา 9 บทที่ 4 ผลการศึกษา 11 ตอนที่ 1 ผลการสารวจบึ้งขายาว 11 ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว 15 ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว 24 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล 27 5.1 สรุปผลการศึกษา 27 5.2 อภิปรายผล 27 5.3 ข้อเสนอแนะ 28 เอกสารอ้างอิง 29 ภาคผนวก 30-36 ค
  • 6. บทที่ 1 บทนา 1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน ประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเพราะอยู่ในเขตร้อนชื้น แต่ยังขาด การสารวจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งบึ้งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังขาด การสารวจและได้รับความสนใจน้อยมาก ทั้งที่บึ้งมีบทบาทสาคัญทาหน้าที่เป็นผู้ล่าในระบบนิเวศ และยังเป็น อาหารสาหรับคนในบางท้องถิ่นของประเทศ ทั่วโลกมีการสารวจพบบึ้งประมาณ 130 สกุล 979 ชนิด ในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าน่าจะพบบึ้งประมาณ 10 กว่าชนิด ซึ่งในปัจจุบันเท่าที่มีรายงานพบเพียง 3 สกุล 7 ชนิด พบใหม่ 1 สกุล 3 ชนิด เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่ายังมีบึ้งอีกหลายชนิดที่ยังรอการค้นพบ สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในชนบทในภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จะมีการดารงชีวิตที่ต้อง พึ่งพาอาศัยกับระบบนิเวศป่าไม้อยู่มาก เช่น ดอนปู่ตา ป่าสาธารณะประโยชน์ และป่าชุมชน เป็นต้น ซึ่งในป่า เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารพื้นบ้านให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเห็ด ผัก หน่อไม้ ผลไม้ป่า สมุนไพร กิ้งก่า แย้ น้าผึ้ง ต่อ หรือแม้กระทั้ง บึ้ง เป็นต้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังมีชาวบ้านบางส่วนนาบึ้งมาประกอบอาหารเพื่อรับประทาน เช่น ปิ้ง ย่าง ทอด ป่น หมก เป็นต้น ทาให้บึ้งมีประชากรน้อยลงและในป่าชุมชนบางแห่งบึ้งได้สูญหายไปจากพื้นที่ เช่น ดอนปู่ตาป่าสาธารณะประโยชน์ ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด (ซึ่งแต่เดิมเคยมีบึ้งแต่ปัจจุบัน บึ้งในป่าแห่งนี้ได้สูญหายไป) ทาให้กลุ่มของพวกเรา “ชุมนุมนักสารวจแห่ท้องทุ่ง” สนใจที่จะศึกษาและอนุรักษ์บึ้ง จึงได้มีการ สอบถามชาวบ้าน (บ้านก่อ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 13 ตาบลศรีสมเด็จ อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด) ที่ไปเก็บ เห็ดและได้พบบึ้งที่ป่าชุมชนป่าบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง (ป่าดงหนองเอียด) ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด พวกเราจึงใช้พื้นที่นี้ในการสารวจ และศึกษาต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อสารวจประชากรของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ในป่าชุมชนบ้านดงแดงและป่า ชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด 1.2.2 เพื่อเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ และศึกษาการเจริญเติบโตของบึ้งขายาวในห้องปฏิบัติการ 1.2.3 เพื่อนาบึ้งที่เพาะเลี้ยงไว้ไปปล่อยกลับสู่ธรรมชาติในป่าชุมชนและพื้นที่ป่าที่เหมาะสม 1.2.4 เพื่ออนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์ 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 1.3.1 ระยะเวลาในการศึกษา : 10 เดือน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือนสิงหาคม 2559 1.3.2 พื้นที่ดาเนินการสารวจ : ป่าชุมชนบ้านดงแดงและป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด (สารวจตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2559) 1.3.3 พื้นที่ดาเนินการเพาะเลี้ยง : ห้องปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา ตาบลศรีสมเด็จ อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด (เพาะเลี้ยงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ถึง เดือนสิงหาคม 2559 รวม 6 เดือน) 1.3.4 ช่วงเวลาในการสารวจ : สารวจเฉพาะช่วงเวลากลางวัน
  • 7. 1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ 1.4.1 ได้เรียนรู้วิธีการศึกษาและสารวจบึ้งขายาว ทั้งภาคทฤษฏี ภาคสนามและภาคปฏิบัติ 1.4.2 ทราบถึงประโยชน์ โทษ บทบาท และความสาคัญของบึ้งขายาวในระบบนิเวศป่าชุมชน 1.4.3 ได้เทคนิค วิธีการศึกษาและวิธีเพาะพันธุ์บึ้งขายาว 1.4.4 เกิดความรักหวงแหน มีจิตสานึกในการอนุรักษ์บึ้งขายาวและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น 2
  • 8. บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดทาโครงงานได้ศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยนาเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ โครงงาน ดังนี้ 2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบึ้ง บึ้ง (Tarantula) หรือ ก่าบึ้ง หรือ อีบึ้ง ในภาษาอีสาน เป็นสัตว์ขาปล้องจาพวกแมงมุมกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ ในวงศ์ Theraphosidae เป็นแมงมุมที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณกว่า 350 ล้านปีมาแล้ว โดยมีการ เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างร่างกายน้อยมาก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับแมงมุมท้องปล้อง แต่บึ้งจะไม่เหลือปล้อง บริเวณท้องอีกแล้ว บึ้งทั่วไปเป็นแมงมุมขนาดใหญ่ มีขายาว และมีลักษณะเด่นคือ มีเส้นขนจานวนมากขึ้นอยู่ ตามตัวและขา เห็นได้ชัดเจน ส่วนมากมีสีสันหรือลวดลายที่สดใส พบได้ทั่วไปทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่ ทะเลทราย ทุ่งหญ้า หรือในถ้าที่มืดมิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบร้อนชื้น หรืออุณหภูมิแบบป่าดิบชื้น ยกเว้น ขั้วโลกเท่านั้น บึ้งมีขนาดแตกต่างหลากหลายออกไป ตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร จนถึง 33 เซนติเมตร น้าหนักกว่า 160 กรัม (แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร) จัดเป็นแมงมุมที่มีอายุขัยยาวนานกว่าแมงมุมจาพวก อื่น โดยมีอายุยาวนานถึง 15-20 ปี โดยทั่วไปแล้ว บึ้ง มีประสาทสายตาที่ไม่ค่อยดี จึงใช้ขนตามตัวเป็นตัวจับแรงสั่นสะเทือน ซึ่งสามารถทา ให้บึ้งรับรู้ได้แม้กระทั่งทิศทาง หรือระยะห่างของวัตถุ บึ้งหรือทารันทูล่า แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ จาแนกตามการอยู่อาศัย คือ อาศัยอยู่บนต้นไม้ กับขุดรูอาศัยอยู่ในดิน ประเภทที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้จะสร้างใยอย่างหนาแน่น หรืออาศัยอยู่ตามโพรงหรือ ซอกหลืบของต้นไม้ หรือแม้กระทั่งสร้างใยไว้ระหว่างกิ่งไม้ รูปร่างลักษณะของบึ้งประเภทนี้จะแตกต่างจากบึ้งที่ อาศัยอยู่บนพื้นดิน คือ มีลาตัวไม่ใหญ่หรืออ้วนเทอะทะมากนัก แต่จะมีรูปร่างเพรียวยาว มีขาที่ยาว และปลาย ขาจะมีแบนใหญ่กว่า เพราะต้องการพื้นผิวสัมผัสที่มากกว่าเพื่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ซึ่งบึ้งที่อาศัย บนต้นไม้จะมีการเคลื่อนที่ที่ว่องไวปราดเปรียวกว่า ส่วนประเภทที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน จะขุดดินเป็นรูลึกประมาณ 30-45 เซนติเมตร หรือเสาะแสวงหา โพรง ภายในรูมีใยฉาบอยู่โดยรอบ เพื่อป้องกันดินรอบๆ พังทลายลงมา ซึ่งใยรอบๆ ปากรูนี้จะไม่มีความเหนียว หรือเหมาะแก่การจับเหยื่อเลย แต่มีไว้เพื่อป้องกันการพังทลายของรูมากกว่า และช่วยป้องกันมิให้มีสัตว์หรือสิ่ง ใดๆ มารบกวน ภายนอกของรูก็มักมีใยอยู่บริเวณรอบๆ ด้วย บางชนิดจะสร้างใยจนล้นออกมานอกบริเวณปาก รู และปากรูมักจะสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ หากใยขาดก็จะซ่อมแซมใหม่ทันที โดยปกติแล้ว บึ้งเป็นแมงมุมที่ รักความสะอาด หากมีเศษชิ้นส่วนต่างๆ ตกลงไปในรู หรือเศษอาหารที่กินเหลือ ก็จะคาบมาทิ้งไว้ข้างนอกทันที 3
  • 9. ปัจจุบัน มีการค้นพบบึ้งหรือทารันทูล่าแล้ว 130 สกุล จานวน 979 ชนิด และก็ยังมีชนิดที่ค้นพบใหม่ อยู่เรื่อยๆ สาหรับในประเทศไทยก็มีการค้นพบบึ้ง 3 สกุล จานวน 7 ชนิด และพบใหม่ 1 สกุล 3 ชนิด ตัวอย่างบึ้งที่พบในประเทศไทย เช่นบึ้งดา (Haplopelma minax) จัดเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีขนาดใหญ่ ที่สุด มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว บึ้งสีน้าเงิน (H. lividum) มีขนาดย่อมลงมา มีสีน้าเงินเข้มตลอดทั้งตัว มีสีสัน สวยงาม มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวเช่นเดียวกัน บึ้งลายหรือบึ้งม้าลาย (H. albostriatum) เป็นชนิดที่พบได้น้อย ที่สุด มีลวดลายตามขาอันเป็นที่มาของชื่อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว แต่น้อยกว่า 2 ชนิดแรก และบึ้งสี น้าตาล (Chilobrachys huahini) มีสีน้าตาลอมแดง มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว เช่นเดียวกัน และบึ้งขายาว(H. longipes) และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการค้นพบหรือระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคกลาง หรือภาคอีสาน รวมถึงในประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา จะนิยมจับบึ้งมารับประทานโดยถือเป็นอาหารพื้นบ้าน โดยมักจะนามาปิ้งหรือย่าง ด้วยการขุดรู มีรสชาติคล้าย กับกุ้งหรือปู มีความหอมมัน แต่ทว่าไม่มีเปลือกแข็ง และบึ้งในอีกหลายชนิดก็นิยมเลี้ยงกัน บึ้งจัดเป็นแมงมุม เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในชั้น (Class) Arachnida ซึ่งแตกต่างกับแมลงซึ่งจัดอยู่ใน ชั้น Insecta ดังตารางที่ 2.1 ตารางที่ 2.1 ตารางแสดงลักษณะเปรียบเทียบระหว่างบึ้ง/แมงมุมกับแมลง ลักษณะ บึ้ง/แมงมุม แมลง ส่วนหลักของร่างกาย 2 ส่วน คือ Cephalothoraxและ Abdomen โดยหัวและอกจะรวมเป็นส่วนเดียว 3 ส่วน คือ Head Thorax และ Abdomen หนวด ( Antennae ) ไม่มี มี ขา 4 คู่ 3 คู่ Pedipalps มีโดยจะพัฒนาไปเป็นอวัยวะที่ใช้ในการผสม พันธุ์ของตัวผู้ ไม่มี ส่วนที่ปล่อยพิษ ส่วนของรยางค์ปาก ( Chelicerae ) ต่อมพิษบริเวณโคนเขี้ยว หากมีจะอยู่ส่วนปลายของ ท้อง ปีก ไม่มี ส่วนใหญ่มี ตา มีตาเดี่ยว ( Ocelli ) 6 หรือ 8 ตา ปกติมีตาประกอบ 1 คู่บาง ชนิด พบตา เดี่ยว 2 หรือ 3 ตา อวัยวะที่ใช้ในการสร้าง ใย แมงมุมทุกชนิดมีอวัยวะพิเศษที่ใช้ในการสร้าง ใย (Spinneret) พบในระยะตัวอ่อนหรือใน แมลงบางชนิด การย่อยอาหาร ย่อยโดยใช้เอมไซน์ก่อนที่จะมีการกลืนกิน โดยทั่วไปจะย่อยหลังกลืน การเจริญเติบโต ไม่มี Metamorphosis ตัวอ่อนคล้ายพ่อแม่ แมลงหลายชนิด มี Metamorphosis ในระยะตัวอ่อนและดักแด้ 4
  • 10. 2.2 บึ้งขายาว (Haplopelma longipes) บึ้งขายาวมีการจาแนกตามหลักอนุกรมวิธาน ดังนี้ อาณาจักร Kingdom : Animalia ไฟลัม Phylum: Arthropoda ไฟลัมย่อย Subphylum: Chelicerata ชั้น Class: Arachnida อันดับ Order: Araneae อันดับย่อย Suborder: Opisthothelae อันดับฐาน Infraorder: Mygalomorphae วงศ์ Family: Theraphosidae สกุล Genus: Haplopelma ภาพที่ 2.1 บึ้งขายาว (เพศเมีย) ชื่อพื้นบ้าน : บึ้ง, อีบึ้ง ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์: Haplopelma longipes von Wirth & Striffler, 2005 ถิ่นอาศัย : ไทย ,กัมพูชา ลักษณะการอาศัย : ขุดรู อุณหภูมิ/ความชื้น : 23-28 องศาเซลเซียส , 70-80 % ขนาดเต็มวัย : 5.0-7.0 นิ้ว การเจริญเติบโต/อายุขัย : 2-3 ปี ถึงโตเต็มวัย /อายุ 10-15 ปี นิสัย : ดุแบบโจมตี ขนคัน : ไม่มี พิษ : มีต่อมพิษ อาหาร : จิ้งหรีด แมลงขนาดเล็ก เขียด หนอน ตั๊กแตน จิ้งเหลนขนาดเล็ก เป็นต้น 5
  • 11. 2.3 วิธีการหาและการเก็บตัวอย่างบึ้งในธรรมชาติ วิธีการหาบึ้งในธรรมชาติ สามารถหาได้ตามสวน สนามหญ้า ป่าโปร่ง ป่าทึบ หน้าผาดิน ซอกหิน ปล้องไม้ไผ่ ใต้ขอนไม้ผุ โพรงต้นไม้ เป็นต้น สาหรับการเก็บตัวอย่างบึ้งในธรรมชาติ สามารถทาได้หลายวิธี เช่น การตกบึ้ง การขุด อุโมงค์บึ้ง เป็นต้น 2.4 การเลี้ยงและการเพาะพันธุ์บึ้ง การเลี้ยงบึ้งให้มีชีวิตรอดสามารถทาได้โดย ศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมแล้วสร้างกล่องเลี้ยงให้มีสภาพ คล้ายแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมให้มากที่สุด การผสมพันธุ์บึ้ง บึ้งสามารถผสมพันธุ์ได้เมื่อโตเต็มวัย บึ้งเพศผู้จะโตเต็มวัยเร็วกว่าเพศเมีย 1 เท่า แต่ ละชนิดโตเต็มวัยไม่เท่ากัน บางชนิดโตเต็มวัยเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป บางชนิดอายุไม่กี่เดือนก็โตเต็มวัยแล้ว การ ผสมพันธุ์บึ้งสามารถทาได้โดยนาเพศผู้โตเต็มวัยใส่ในกล่องเลี้ยงของเพศเมียชนิดเดียวกัน บึ้งเพศผู้จะมีรยางค์คู่ หน้าที่เรียกว่า palp ซึ่ง palp ของบึ้งเพศผู้ที่โตเต็มวัยจะถูกออกแบบให้ไว้ใช้สาหรับผสมพันธุ์ ปลาย palp จะ มีลักษณะคล้ายนวม มีเข็มสาหรับปล่อยน้าเชื้อ โดยบึ้งเพศผู้จะเริ่มเก็บน้าเชื้อของตัวเองก่อน โดยสร้างใย รองรับ แล้วถ่ายน้าเชื้อมาไว้ที่ใย ก่อนใช้ palp ดูดน้าเชื้อไว้ จากนั้นเมื่อเจอบึ้งเพศเมีย จะส่งสัญญาณโดยการ เคาะ palp กับขาหน้าเป็นจังหวะ หากบึ้งเพศเมียเคาะตอบ แสดงว่ายินยอมให้ผสมพันธุ์ บึ้งเพศผู้จะเดินเข้าไป หาแล้วใช้ขาหน้ายกบึ้งเพศเมียขึ้น แล้วใช้เข็มปลาย palp ฉีดน้าเชื้อเข้าไปที่กระเปาะหน้าท้องของบึ้งเพศเมีย การฉีดเข้าไปไม่ได้หมายความว่าไข่จะได้รับการผสมทันที เพราะบึ้งเพศเมียจะรอจังหวะให้ไข่สุก แล้วจึงเบ่งไข่ ออกมาผสมกับน้าเชื้อ เมื่อไข่ได้รับการผสม บึ้งเพศเมียจะชักใยที่พื้นเป็นแอ่งกระทะ จากนั้นขึ้นคร่อมแล้วเบ่ง ไข่ออกมา ชักใยคลุมถุงไข่ให้หนาขึ้น แล้วคาบไข่ไว้ ถุงไข่ที่ติดอยู่หน้าท้องของเพศเมีย มองดูเหมือนเพศเมียอุ้ม ไข่ไว้ แต่ที่จริงใช้ปากคาบไว้ ภายในถุงไข่จะมีไข่บึ้งที่ยังไม่ฟักเป็นตัว 70-800 ฟอง ภายใน 4-12 สัปดาห์ จะฟัก เป็นตัวแล้วแต่ชนิดของบึ้ง หากบึ้งเพศเมียไม่ยอมให้ผสมพันธุ์ จะไม่ส่งสัญญาณเคาะตอบ ควรนาบึ้งเพศผู้ออก เพราะจะเกิดการต่อสู้กัน ซึ่งส่วนใหญ่จะสูญเสียบึ้งเพศผู้ หรือเมื่อบึ้งผสมพันธุ์กันแล้วตามธรรมชาติบึ้งเพศเมีย จะกินบึ้งเพศผู้ นอกจากนี้ การผสมพันธุ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจไม่ได้ลูกบึ้ง หากบึ้งเพสเมียไม่มีไข่ออกมาผสมกับ น้าเชื้อที่บึ้งเพศผู้ฉีดเข้าไป เมื่อบึ้งเพศเมียถูกฉีดน้าเชื้อเข้าไปยังกระเปาะหน้าท้องแล้ว ควรนากล่องบึ้งเพศเมียไปเก็บไว้ในที่ ปลอดการรบกวน เพราะหากถูกรบกวน โอกาสที่บึ้งเพศเมียจะกินไข่ตัวเองมีสูง เมื่อลูกบึ้งฟักออกจากไข่แล้วจะอยู่รวมกันได้หลังลอกคราบ 1-2 ครั้ง จากนั้นจะเริ่มกินกันเอง จึงควร แยกใส่กล่องเลี้ยงกล่องละตัว กล่องเลี้ยง ควรมีขนาดใหญ่กว่าลูกบึ้ง 3-4 เท่า ทรงกล่องควรพิจารณาจากชนิดของบึ้ง หากเป็นบึ้งดิน ควรเป็นแนวราบหรือทรงสูง แต่ถมดินสูงเกือบถึงด้านบนกล่อง ส่วนบึ้งต้นไม้ กล่องเลี้ยงจะเป็นทรงสูงหรือ แนวราบก็ได้ แต่ควรมีขอนไม้ให้บึ้งได้เข้าไปทาโพรงเข้าไปอยู่อาศัย กล่องเลี้ยงควรมีฝาปิด เพราะบึ้งจะปีนออก ได้ มีรูระบายอากาศมากพอ ทาให้อากาศในกล่องเลี้ยงถ่ายเทได้สะดวก ภายในกล่องควรมีภาชนะสาหรับใส่น้า 6
  • 12. ให้บึ้งไว้กิน ใช้วัสดุรองพื้นให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่และถิ่นที่มาของบึ้ง เช่น ขุยมะพร้าว ดินร่วนปนทราย ทราย พีทมอสส์ เป็นต้น กล่องเลี้ยงแต่ละกล่องควรเลี้ยงบึ้งกล่องละตัว และเปลี่ยนกล่องเมื่อบึ้งลอกคราบ เพราะทุก ครั้งที่มีการลอกคราบ หมายความว่าบึ้งจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการลอกคราบแต่ละรอบจะนานออกไปทุกครั้ง เช่น ครั้งแรก 1 สัปดาห์ ครั้งถัดไป 3 สัปดาห์ ครั้งถัดไป 8 สัปดาห์ และเพิ่มระยะเวลาแต่ละรอบไปเรื่อยๆ บาง รอบนานถึง 1 ปี ก็มีแล้วแต่ชนิดของบึ้ง อาหารสารับบึ้ง คือ แมลง หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด อาหารควรทาให้มีขนาดใกล้เคียงกับขนาด ของบึ้ง ถ้ามีขนาดที่ใหญ่กว่าควรตัดหรือหั่นเป็นชิ้นให้เล็กลง การให้อาหารบึ้งนั้น ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่ามีจานวนบึ้งที่ต้องดูแลมากน้อยเพียงใด หากเลี้ยงเป็นจานวน มาก การให้อาหารสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอ เพราะการให้อาหารควรสังเกตทุกครั้งว่าอาหารที่ให้บึ้งกินหมด หรือไม่ ถ้าหมดก็นากากอาหารที่เหลือออกไปทิ้งเพาะอาจทาให้เกิดเชื้อราหรือไรลามไปสู่บึ้ง ถ้าบึ้งไม่กินอาหาร แสดงว่าบึ้งตัวนั้นเกิดปัญหาบางอย่าง ซึ่งต้องสังเกตต่อไป บึ้งก่อนลอกคราบและหลังลอกคราบจะหยุดกิน อาหาร ดังนั้นไม่ควรให้อาหาร เพราะเมื่ออาหารเหลือ ปัญหาเชื้อราและไรที่จะมากินอาหาร จะลามไปกินบึ้ง จะเกิดขึ้น 2.5 ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง (ป่าดงหนองเอียด) ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ 98 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา ประเภทป่า เป็นที่ดินตามหนังสือสาคัญสาหรับทางที่หลวง สภาพทั่วไป เป็นที่ราบ มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2554 ภาพที่ 2.2 ป้ายป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ป่าชุมชนบ้านดงแดง ที่ตั้ง หมู่ที่ 13 ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ 103 ไร่ 2 งาน 86 ตารางวา ประเภทป่า เป็นป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 สภาพทั่วไป เป็นที่ราบ มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2553 ภาพที่ 2.3 ป้ายป่าชุมชนบ้านดงแดง 7
  • 13. บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการศึกษา 3.1 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการสารวจ 1. แผนที่ป่าชุมชน 2. โทรศัพท์มือถือที่ระบุตาแหน่ง GPS ได้ 3. เทปวัด 4. สายวัด 5. เข็มทิศ 6. ไม้บรรทัด 7.แว่นขยาย 8. ขวดเก็บตัวอย่าง 9. คัตเตอร์ 10. สมุดบันทึก 11. ปากกา 12. กล้องถ่ายรูป 13. กล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ 14. จานเพาะเชื้อ 15. เอทานอลเข้มข้น ร้อยละ 70 โดยปริมาตร 16. เทอร์โมมิเตอร์ 3.2 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือในการเพาะเลี้ยงบึ้ง 1. กล่องพลาสติกมีฝาเปิดได้ 2. สว่านไฟฟ้า 3. หัวแร้ง 4. กล่องพลาสติกใส (กลม) มีฝาขนาดต่างๆ 5. ผ้าแก้ว 6. เทปใส 7. กล่องพลาสติกใสทรงสูงมีฝาปิด เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 cm สูง 6 cm 8. กระดาษชาระ 9. ขุยมะพร้าว 10. ดิน 11. กระบอกฉีดน้า 8
  • 14. 12. ตะกร้าขนาด 33 cm x44 cm x 13 cm 13. ปากคีบ 14. หนอนนก 15. จิ้งหรีด 3.3 วิธีการสารวจ/ศึกษา ตอนที่ 1 วิธีการสารวจบึ้งขายาว 1. สืบค้นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบึ้งในอินเทอร์เน็ต 2. อบรมเกี่ยวกับวิธีการศึกษา วิธีการสารวจ วิธีการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์บึ้ง วิทยากรโดย คุณชวลิต ส่งแสงโชติ ผู้อานวยการศูนย์วิจัยสไปเดอร์แพลนเน็ต (Spider Planet Research Center)และคุณอธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ นักศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร 3. เดินทางไปสอบถามชาวบ้านที่เคยไปเก็บเห็ดแล้วพบบึ้ง เพื่อหาข้อมูลพื้นที่ที่น่าจะมีบึ้ง 4. เดินทางเข้าไปในพื้นที่ชุมชน ที่อยู่ติดกับป่าชุมชนบ้านดงแดง และป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดง แดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด 5. ลงพื้นที่จริง เพื่อสารวจประชากรบึ้ง 5.1กาหนดพื้นที่ในการสารวจ โดยใช้วิธีแถบเส้นทางเดินสารวจ(Line transect) โดยกาหนดความ กว้างแถบว้ายและขวามือเท่ากันคือ 5 เมตร ความยาวตามเส้นทางเดินสารวจ 2,000 เมตร สารวจ 4 ครั้ง และ เก็บตัวอย่างครั้งละ 1 ตัว พร้อมศึกษาโครงสร้างของรูบึ้ง และวัดอุณหภูมิ 5.2 บันทึกข้อมูลของบึ้ง เพิ่มเติมจากภาคสนามจาแนกและระบุชื่อของบึ้ง (โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ) 5.3 ในกรณีบึ้งตาย ให้เก็บรักษาสภาพตัวอย่าง โดยวิธีการดอง ในสารละลายเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 70 โดยปริมาตรและระบุข้อมูลข้างขวด 5.4 นาข้อมูลจากการสารวจมาวิเคราะห์ และสรุปผลสารวจ ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว 1. ศึกษาวงจรชีวิตของบึ้ง 2. เตรียมกล่องเลี้ยงพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ บึ้งขายาวโดยใช้กล่องขนาด กว้าง 25 ซม. สูง 35 ซม. ยาว 20ซม. ใช้ สว่านเจาะรูที่ฝา และด้านข้างของกล่อง เพื่อเป็นที่ระบายอากาศใส่ดินร่วนปนทราย และขุยมะพร้าวใส่ใน อัตราส่วน 2:1ลงไปในกล่องให้ได้ประมาณ1ส่วน3 ของกล่อง หลังจากนั้นฉีดน้าให้ชุ่ม แล้วนาน้าใส่ภาชนะ แล้ว นาไปไว้มุมใดมุมหนึ่งของกล่องเลี้ยง ทิ้งไว้ 1คืนจากนั้นนาพ่อแม่พันธุ์บึ้งใส่ลงไปในกล่องเลี้ยง กล่องละ 1 ตัว ให้อาหารสัปดาห์ละครั้ง 3. เมื่อพ่อแม่พันธุ์มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ สังเกตได้จากเพศผู้มีส่วนที่เป็นรยางค์ (palp) ส่วนปลายจะ พองคล้ายนวมส่วนเพศเมียจะมีสีดาเข้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุ 1 ปีขึ้นไป ให้ย้ายเพศผู้มาใส่ในกล่องเพศเมีย 9
  • 15. สังเกตพฤติกรรมของเพศผู้และเพศเมีย โดยที่เพศผู้จะใช้ขาคู่หน้าเคาะที่ปากหลุม เพื่อให้เพศเมียรู้ ถ้าเพศเมีย พร้อมที่จะผสมพันธุ์ เพศผู้จะใช้ขาคู่หน้าดันท้องของเพศเมียให้สูงขึ้น แล้วยื่นปลาย palp ไปที่ช่องเพศของเพศ เมียแล้วถ่ายโอนน้าเชื้อไปเก็บไว้ที่ช่องเก็บสเปิร์มของเพศเมีย(เพศเมียสามารถเก็บสเปิร์มไว้ได้นานจนกว่าจะ พร้อมผสม) เมื่อผสมเรียบร้อยแล้วให้รีบย้ายเพศผู้ออกจากล่องเพศเมีย(เพื่อป้องกันเพศเมียกินเพศผู้) ในกรณี เพศเมียไม่พร้อมในการผสมพันธุ์ ถึงแม้เพศผู้จะส่งสัญญาณเพศเมียก็ไม่ตอบสนอง ให้ทาการย้ายเพศผู้ออกจาก ล่องเพศเมีย 4. เมื่อผสมพันธุ์เรียบร้อยแล้ว ให้แยกเพศเมียไปเก็บในห้องที่ไม่มีสิ่งใดรบกวนได้ และงดให้อาหารนอกจากน้า จนกว่าบึงจะออกไข่ใส่ในถุงห่อหุ้มไข่ 5. แยกถุงไข่ออกจากกล่องเลี้ยงเพศเมียไปใส่ในกล่องอนุบาลไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 ซม. สูง 9 ซม. โดยใช้กระดาษชาระรองพื้นหลายๆชั้น และมีฝาที่สามารถระบายอากาศได้ แล้วนากล่องอนุบาลไข่ ไปใส่ใน กล่องพลาสติกที่ใหญ่กว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 22 ซม. สูง 10 ซม. ที่มีน้า 1/5 ของกล่อง แล้วพลิกไข่วัน ละครั้ง 6. วิธีการสังเกตการฟักของไข่บึ้ง โดยใช้มือค่อยๆ คล่าถุงไข่ถ้ารู้สึกมีฟองน้าอยู่ข้างใน แสดงว่าไข่ฟักแล้ว แต่ถ้า รู้สึกถุงไข่ตึง(แน่นอยู่) แสดงว่าไข่ยังไม่ฟัก นอกจากนั้นถ้าไข่ฟักแล้วใช้กรรไกรขลิบถุงไข่ด้านบนแล้วเปิดถุงไข่ ออก แล้วเทตัวอ่อนของบึ้งลงบนกระดาษชาระที่อยู่ในกล่องอนุบาลลูกบึ้ง 7. จนบึ้งมีการลอกคราบ 2 ครั้งแล้วแยกลูกบึ้งแต่ละตัวใส่กล่องเลี้ยงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 ซม. สูง 6 ซม. ให้อาหารตัวอ่อนบึ้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คือวังอังคารและวันศุกร์ โดยใช้หนอนนก พร้อมฉีดน้า(ในขวดเลี้ยงบึ้งมี เฉพาะขุยมะพร้าวเท่านั้น) 8. บันทึกการเจริญเติบโตของลูกบึ้งโดยการวัดความยาว ขาคู่ที่ 1 ถึงปลายขาคู่ที่ 4 ทุกๆเดือน ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว 1. นาลูกบึ้งอายุ 5-6 เดือน ที่เพาะเลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด คือ ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ป่าชุมชน บ้านดงแดง ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ปล่อยร่วมกับชาวบ้าน และติดตามทุก 3 เดือน 2. เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชนให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งโดยนาต้นไม้ไปปลูกร่วมกับชาวบ้าน 3.นาลูกบึ้งขายาวไปปล่อยในสวนศรีพิมพ์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยาร่วมกับครูและนักเรียนในชุมนุม นักสารวจแห่งท้องทุ่ง 4. นาเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบึ้งขายาวผ่านรายการ “Nature Spy สายลับธรรมชาติ” ตอน “ตามหาบึ้งขา ยาว” ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS วันที่ 25 เมษายน 2559 5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ผ่าน facebook ในกลุ่มนักสารวจ ศ.พ.ว. และพลพรรครักษ์ ดอนปู่ตา 10
  • 16. บทที่ 4 ผลการศึกษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจประชากรของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ในป่าชุมชน บ้านดงแดงและป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อ เพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์และศึกษาการเจริญเติบโตของบึ้งขายาวในห้องปฏิบัติการและนาบึ้งที่เพาะเลี้ยงไว้ไป ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติในป่าชุมชนเพื่ออนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์ สารวจโดยใช้วิธีแถบเส้นทางเดินสารวจ (Line transect) โดยกาหนดความกว้างแถบซ้ายและขวาเท่ากัน คือ 5 เมตร จานวน 2 แปลง ความยาวตาม เส้นทางเดินสารวจ แปลงละ 2,000 เมตร สารวจ 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – กุมภาพันธ์ 2559 และ เก็บตัวอย่างครั้งละ 1 ตัว พร้อมศึกษาโครงสร้างและรายละเอียดต่างๆ ของบึ้งขายาว มีผลการสารวจและผล การศึกษา ดังนี้ ตอนที่ 1 ผลการสารวจบึ้งขายาว จากการสารวจพบบึ้งขายาว จานวน 6 ตัว โดยพบที่ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ 5 ตัว และป่าชุมชน บ้านดงแดง 1 ตัว มีความหนาแน่นของประชากรบึ้งขายาว เท่ากับ 0.00025 ตัว/ตารางเมตร (250ตัว/ตาราง กิโลเมตร, 0.4 ตัว/ไร่) และ 0.00005 ตัว/ตารางเมตร (50 ตัว/ตารางกิโลเมตร, 0.08 ตัว/ไร่) ตามลาดับ โดย มักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่าและใกล้ชุมชนมากกว่าในป่าลึก ตาแหน่งและรายละเอียด ดังภาพที่ 4.1 และตารางที่ 4.1 ภาพที่ 4.1 แผนที่แสดงตาแหน่งที่พบบึ้งขายาวในป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง 11
  • 17. ตารางที่ 4.1 บันทึกผลการสารวจบึ้งในป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง ต.ดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด สารวจ ครั้งที่ ว/ด/ป สถานที่ ลักษณะปากรูบึ้ง พิกัดตาแหน่ง (GPS) ที่พบ ความกว้าง ของปากรู (cm) หมาย เหตุ 1 14/10/2558 ป่าชุมชน บ้าน หนองเพีย ขันธ์ 15.85117, 103.60919 6.11 พบ ข้างโคน ต้นไม้ 15.8507, 103.60664 7.00 คู ข้างถนน ทางเดิน 2 18/10/2558 ป่าชุมชน บ้านดง แดง ไม่พบ - - - 3 16/02/2559 ป่าชุมชน บ้าน หนองเพีย ขันธ์ 15.84892, 103.60615 6.00 พบใต้ ร่มไม้ 15.84911, 103.60641 7.40 ที่โล่ง ชายป่า 15.84958, 103.6057 6.15 สนาม หญ้า ใกล้ ชุมชน 4 20/02/2559 ป่าชุมชน บ้านดง แดง 15.84571, 103.61534 7.12 ใต้ พุ่มไม้ เล็กๆ สรุป สารวจ 4 ครั้ง 2 แห่ง ป่าชุมชนบ้าน หนองเพียขันธ์ 5 รู ป่าชุมชนบ้านดงแดง 1 รู 6 ตาแหน่ง เฉลี่ย 6.63 cm - 12
  • 18. รูบึ้ง มีความกว้างเฉลี่ย 6.63 cm ความลึกเฉลี่ย 41.55 cm และความกว้างเฉลี่ยของโพรง 8.43 cm (ดังภาพที่ 4.2) ความยาวเฉลี่ยของบึ้ง 14.73 cm ภาพที่ 4.2 โครงสร้างภายในของรูบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ตารางที่ 4.2 ความกว้างของปากรู ความลึกของรู ความกว้างของโพรงและความยาวของบึ้งขายาว ที่สารวจพบในป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์และป่าชุมชนบ้านดงแดง ต.ดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด รูที่ 1 2 3 4 5* 6* เฉลี่ย (cm) ความกว้าง (cm) 6.11 7.00 6.00 7.40 6.15 7.12 6.63 ความลึก (cm) 41.00 39.00 43.00 43.20 - - 41.55 ขนาดโพรง (cm) 8.74 8.23 7.42 9.31 - - 8.43 ความยาวของบึ้ง (cm) 13.93 15.23 14.24 15.5 - - 14.73 หมายเหตุ : * ไม่ได้ขุดสารวจ จากการนาตัวอย่างบึ้งไปศึกษาลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน แมงมุมและบึ้ง พบว่า บึ้งที่สารวจพบเป็น บึ้งขายาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Haplopelma longipes von Wirth & Striffler, 2005 อยู่ในวงศ์ Theraphosidae สกุล (Genus) Haplopelma ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมีส่วนหัวและอกเชื่อมเป็นส่วนเดียวกัน (cephalothorax) แยกออกจากส่วนที่สองคือส่วน ท้อง (abdomen) อย่างชัดเจน มีเปลือกแข็ง (carapace) หุ้มอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่าง เป็นที่ตั้งของตา มี 8 ตา จัดเรียงแบบ procurve มีรยางค์ (palp) ยื่นยาวออกมาด้านหน้า 2 รยางค์ ใช้สาหรับเขี่ยอาหารเข้าปาก ปากรู โพรงบึ้ง รู ใยคลุมปากรู 13
  • 19. และส่วนปลายเก็บน้าเชื้อ (มีลักษณะคล้ายขาแต่ไม่ได้ทาหน้าที่เกาะหรือเดิน) มีเขี้ยว (fang) ที่แหลมคมใช้กัด เหยื่อและปลายเขี้ยวมีรูสาหรับปล่อยพิษหรือน้าย่อยได้ มีขา 4 คู่ ขาคู่ที่ 4 ยาวที่สุด ส่วนขาคู่ที่ 1 ยาว รองลงมา แต่ละขาเป็นข้อปล้องต่อๆ กัน 7 ปล้อง ที่ปลายขามีเล็บ (claw) เล็กแหลม 2 เล็บ ส่วนท้องไม่ได้ แบ่งเป็นปล้อง มีลักษณะเป็นถุงนิ่มๆ มีขนสีน้าตาลดา ส่วนท้องในเพศเมียมีช่องเปิดของระบบหายใจ/ปอด แผง (booklung) 2 คู่ ช่องอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (epigyne) อยู่ระหว่างปอดแผง และส่วนปลายท้องมี รยางค์ปล่อยเส้นใย (spinneret) 2 คู่ โดย posterior spinneret ยาวกว่า anterior spinneret ประมาณ 4 เท่า ดังภาพที่ 4.3 และ 4.4 ภาพที่ 4.3 ลักษณะโครงสร้างภายนอกของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) (ด้านบน) 14
  • 20. ภาพที่ 4.4 ลักษณะโครงสร้างภายนอกของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) (ด้านล่าง) ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว ภาพที่ 4.5 นาบึ้งเพศผู้ที่โตเต็มวัยมาใส่ในกล่องเพศเมีย (อายุประมาณ 2 ปี) สังเกตบึ้งเพศผู้จะส่งสัญญาณโดย การเคาะ palp กับขาหน้าเป็นจังหวะ หากบึ้งเพศเมียเคาะตอบ แสดงว่ายินยอมให้ผสมพันธุ์ บึ้งเพศผู้จะใช้ขา หน้ายกบึ้งเพศเมียขึ้นแล้วใช้ palp ฉีดน้าเชื้อเข้าไปในกระเปาะหน้าท้องของบึ้งเพศเมีย แล้วแยกเพศผู้ออก เพศเมีย เพศผู้ 15
  • 21. ภาพที่ 4.6 ลักษณะถุงไข่บึ้งขายาว เมื่อไข่ได้รับการผสม บึ้งเพศเมียจะชักใยที่พื้นเป็นแอ่งกระทะ จากนั้นขึ้น คร่อมแล้วเบ่งไข่ออกมา ชักใยคลุมไข่ให้หนาขึ้น คาบถุงไข่ไว้ติดกับหน้าท้อง ภาพที่ 4.7 ลักษณะไข่บึ้งขายาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.0 mm มีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน 16
  • 22. ภาพที่ 4.8 สภาพไข่บึ้งที่ไม่ได้รับการผสมหรือถูกรบกวน แม่บึ้งจะกินไข่ ภาพที่ 4.9 พัฒนาการของไข่บึ้งขายาวก่อนฟักเป็นตัว 17
  • 23. เมื่อไข่ของบึ้งขายาวได้รับการผสมแล้วประมาณ 60 วัน ก็จะฟักเป็นตัวอ่อนในถุงไข่ ภาพที่ 4.10 สภาพลูกบึ้งขายาวที่ฟักออกจากไข่อยู่ภายในถุงห่อหุ้มไข่ จานวน 391 ตัว ภาพที่ 4.11 ลักษณะลูกบึ้งขายาวที่เพิ่งฟักออกจากไข่ ขนาดความยาว 0.72 cm 18
  • 24. ภาพที่ 4.12 สภาพลูกบึ้งขายาวที่กาลังลอกคราบในกล่องอนุบาลลูกบึ้ง ภาพที่ 4.13 เมื่ออายุได้ 3 วัน ลอกคราบครั้งที่ 1 ความยาว 1.10 cm 19
  • 25. ภาพที่ 4.14 เมื่ออายุได้ 12 วัน ลอกคราบครั้งที่ 2 ความยาว 2.84 cm ภาพที่ 4.15 เมื่ออายุได้ 23 วัน ลอกคราบครั้งที่ 3 ความยาว 3.20 cm ภาพที่ 4.16 เมื่ออายุได้ 48 วัน ลอกคราบครั้งที่ 4 ความยาว 4.56 cm 20
  • 26. ภาพที่ 4.17 เมื่ออายุได้ 180 วัน ลอกคราบครั้งที่ 5 ความยาว 5.43 cm ตารางที่ 4.3 การลอกคราบของลูกบึ้งขายาวตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6 เดือน ลอกคราบครั้งที่ ว/ด/ป ระยะห่างของการลอกคราบ (วัน) อายุ (วัน) หมายเหตุ แรกเกิด 20/2/2559 - 1 1 23/2/2559 3 3 2 2/3/2559 8 11 3 14/3/2559 12 23 4 8/4/2559 25 48 5 16/8/2559 132 180 ตารางที่ 4.4 ความยาวของลูกบึ้งขายาว (วัดจากปลายขาคู่ที่ 1 –ปลายขาคู่ที่ 4) ตั้งแต่แรกเกิด - 6 เดือน เดือนที่ ความยาว (cm) แรกเกิด 0.72 1 1.1 2 2.84 3 3.2 4 4.56 5 5.43 6 5.88 ลูกบึ้งขายาวจะมีการลอกคราบเพื่อเพิ่มขนาดและมีความยาวเพิ่มขึ้นหลังลอกคราบ 21
  • 27. ความยาว (cm) แรกเกิด 1 2 3 4 5 6 เวลา (เดือน) ภาพที่ 4.18 กราฟแสดงการเจริญเติบโต (ความยาว) ของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) ตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6 เดือน ความยาว (cm) 7 6 5 4 3 2 1 แรกเกิด 1 2 3 4 5 6 เวลา (เดือน) ภาพที่ 4.19 กราฟแสดงพัฒนาการและการเจริญเติบโตของบึ้งขายาว (Haplopelma longipes) 0.72 1.1 2.84 3.2 4.56 5.43 5.88 0 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 22
  • 28. ภาพที่ 4.20 ภาพแสดงลักษณะภายนอกของบึ้งขายาวอายุ 1 เดือน เมื่อส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบ 3 มิติ (กาลังขยาย 20 เท่า) 23
  • 29. ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว 1. นาลูกบึ้งอายุ 5-6 เดือน ที่เพาะเลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด คือ ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ ป่าชุมชนบ้านดงแดง ตาบลดงแดง อาเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด ปล่อยร่วมกับชาวบ้าน และติดตาม ทุก 3 เดือน ภาพที่ 4.21 นาลูกบึ้งขายาวไปปล่อยในป่าชุมชนร่วมกับชาวบ้าน 2. เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชนให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งโดยนาต้นไม้ไปปลูกร่วมกับชาวบ้าน ภาพที่ 4.22 นาต้นไม้ไปปลูกในป่าชุมชนร่วมกับชาวบ้าน 24
  • 30. ภาพที่ 4.23 นาลูกบึ้งขายาวไปปล่อยในสวนศรีพิมพ์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ร่วมกับครูและนักเรียนในชุมนุมนักสารวจแห่งท้องทุ่ง 25
  • 31. 3. นาเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบึ้งขายาวผ่านรายการ “Nature Spy สายลับธรรมชาติ” ตอน “ตามหา บึ้งขายาว” ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS วันที่ 25 เมษายน 2559 สามารถชมย้อนหลังได้ทาง https://www.youtube.com/watch?v=zCdZkPDX6tA หรือ http://program.thaipbs.or.th/watch/azwcX5 ดังภาพที่ 4.24 ภาพที่ 4.24 รายการ “Nature Spy สายลับธรรมชาติ” ตอน “ตามหาบึ้งขายาว” 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ผ่าน facebook ในกลุ่มนักสารวจ ศ.พ.ว. และพลพรรครักษ์ ดอนปู่ตา ภาพที่ 4.25 หน้า facebook ในกลุ่มนักสารวจ ศ.พ.ว. และพลพรรครักษ์ดอนปู่ตา 26
  • 32. บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา 5.1 สรุปผลการศึกษา ตอนที่ 1 การสารวจบึ้งขายาว จากการสารวจพบบึ้งขายาว วงศ์ Theraphosidae จานวน 6ตัว โดยพบที่ป่าชุมชนบ้าน หนองเพียขันธ์ 5 ตัว และป่าชุมชนบ้านดงแดง 1 ตัว มีความหนาแน่นของประชากรบึ้งขายาว เท่ากับ 0.00025 ตัว/ตาราง และ 0.00005 ตัว/ตารางเมตร ตามลาดับ โดยมักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่า และใกล้ชุมชนมากกว่าในป่าลึก รูบึ้ง มีความกว้างเฉลี่ย 6.63 cm ความลึกเฉลี่ย 41.55 cm และความกว้าง เฉลี่ยของโพรง 8.43 cm ความยาวเฉลี่ยของบึ้ง 14.73 cm มีตา 4 คู่ จัดเรียงแบบ procurve มีรยางค์ (palp) ยื่นยาวออกมาด้านหน้า 2 รยางค์ มีเขี้ยว (fang) 1 คู่ มีขา 4 คู่ ขาคู่ที่ 4 ยาวที่สุด ส่วนขาคู่ที่ 1 ยาว รองลงมา แต่ละขามี 7 ปล้อง ที่ปลายขามีเล็บ (claw) 2 เล็บ ส่วนท้องไม่ได้แบ่งเป็นปล้อง มีลักษณะเป็นถุง นิ่มๆ มีขนสีน้าตาลดา ส่วนท้องในเพศเมียมีช่องเปิดของระบบหายใจ/ปอดแผง (booklung) 2 คู่ ช่องอวัยวะ สืบพันธุ์เพศเมีย (epigyne) อยู่ระหว่างปอดแผง และส่วนปลายท้องมีรยางค์ปล่อยเส้นใย (spinneret) 2 คู่ โดย posterior spinneret ยาวกว่า anterior spinneret ประมาณ 4 เท่า ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว จากการเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว พบว่า บึ้งฟักเป็นตัวทั้งหมด 391 ตัว ตั้งแต่อายุแรกเกิด - 6 เดือน มีการลอกคราบ 5 ครั้ง ซึ่งการลอกคราบแต่ละรอบจะนานออกไปทุกครั้ง และหลังลอกคราบส่วนต่างๆ ของบึ้งจะมีความยาวและขนาดเพิ่มขึ้นทุกครั้ง และมีสีเข้มขึ้น โดยก่อนลอกคราบบึ้งจะไม่กินอาหาร ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว อนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์โดยนาบึ้งที่เลี้ยงไว้ไปปล่อยสู่ถิ่นกาเนิด ป่าชุมชน และป่าที่ เหมาะสม ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้เป็นแหล่งอาศัยของบึ้งและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ นาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ บึ้งขายาวผ่านสื่อต่างๆ เช่น รายการ Nature Spy สายลับธรรมชาติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับบึ้ง ขายาวผ่าน facebook เป็นต้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน 5.2 อภิปรายผลการศึกษา ตอนที่ 1 การสารวจบึ้งขายาว จากการสารวจประชากรบึ้งขายาวจะเห็นได้ว่า พบที่ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์มากกว่าป่า ชุมชนบ้านดงแดง และมักพบบึ้งชนิดนี้ตามชายป่าหรือขอบป่าและใกล้ชุมชนมากกว่าในป่าลึก ทั้งนี้อาจเป็น เพราะว่า สารวจในช่วงที่บึ้งกาลังหาคู่ผสมพันธุ์และในชุมชน/หมู่บ้านมีแสงไฟล่อแมลงทาให้บึ้งออกมาล่าแมลง เป็นอาหารใกล้ๆ สวนชาวบ้าน จากการสารวจนี้จะเห็นได้ว่า ความหนาแน่นของประชากรบึ้งต่อพื้นที่มีน้อย แสดงว่า ถ้าไม่มีการอนุรักษ์บึ้งชนิดนี้ไว้ บึ้งชนิดนี้อาจสูญหายหรือสูญพันธุ์ไปจากป่าชุมชนนี้ได้ 27
  • 33. ตอนที่ 2 การขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว จากการเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว พบว่า บึ้งฟักเป็นตัวทั้งหมด 391 ตัว และตายระหว่างลอกคราบ 17 ตัว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอากาศแห้ง ดังนั้น จะต้องรักษาสภาพความชื้นในกล่องเลี้ยงให้ได้ประมาณ 80% อุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส ก่อนและหลังลอกคราบ 1 สัปดาห์ ไม่ควรให้อาหารบึ้งเพราะจะทาให้ บึ้งมีปัญหาในการลอกคราบและขณะลอกคราบลาตัวและผิวของบึ้งจะอ่อน อาหารหรือหนอนที่ให้ไปอาจกิน บึ้งได้ จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าบึ้งขายาวสามารถเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการได้ ตอนที่ 3 การอนุรักษ์บึ้งขายาว การอนุรักษ์บึ้งขายาวไม่ให้สูญพันธุ์สามารถทาได้หลายวิธี แต่สิ่งสาคัญที่สุด คือ การสร้าง จิตสานึก ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าชุมชนและ เยาวชนให้เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลป่าชุมชนของตนเอง จะทาให้การอนุรักษ์ยั่งยืนต่อไป 5.3 ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการศึกษาบึ้งหรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ประกอบด้วย 2. ควรมีการศึกษาปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความชื้นในดิน pH ของดิน ความเข้มแสง เรือนยอดปก คลุมของต้นไม้/ป่าไม้ ประกอบการสารวจ 3. ควรมีการสารวจบึ้งขายาวในสถานที่อื่นๆ ด้วย จะได้ทราบถึงความแตกต่างของจานวนและชนิดบึ้ง ในแต่ละระบบนิเวศ 28
  • 34. เอกสารอ้างอิง นรินทร์ ชมพูพวง. 2554. ความหลากหลายทางชนิดของแมงมุมในพื้นที่ป่าทุติยภูมิและพื้นที่เกษตรที่ ตาบลไหล่น่าน อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. "Gen. Haplopelma Simon, 1892", World Spider Catalog, Natural History Museum Bern, retrieved 2016-05-17 Simon, E. (1892), "Haplopelma, nov. gen.", Histoire naturelle des araignées, I, Paris: Roret, p. 151, retrieved 2016-05-18 Zhu, M.S. & Zhang, R. (2008), "Revision of the theraphosid spiders from China (Araneae: Mygalomorphae)", Journal of Arachnology, 36: 425–447 http://www.striffler.net/papers/von_Wirth_&_Striffler_2005-Ornithoctonus_ aureotibialis&Haplopelma_longipes.pdf http://insects.about.com/od/spiders/ss/Tarantula-Anatomy-Diagram.htm http://forestinfo.forest.go.th/55/fCom_detail.aspx?id=8011 http://forestinfo.forest.go.th/55/fCom_detail.aspx?id=6949 http://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=2200 https://th.wikipedia.org/wiki/แมงมุมทารันทูล่า http://www.dnp.go.th/FOREMIC/Entomology/Web/Eminent/Eminent/spider1/index.htm http://www.isan.clubs.chula.ac.th/insect_sara/index.php?transaction=insect_1.php&id_m=24780 ******************* 29
  • 36. ภาพที่ 6.1 สอบถามชาวบ้านที่เคยไปเก็บเห็ดแล้วพบบึ้ง ภาพที่ 6.2 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบึ้งกับคณะกรรมการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านหนองเพียขันธ์ (คุณประหยัด ตรีสอน) 31
  • 37. ภาพที่ 6.3 อบรมเกี่ยวกับการสารวจ และการเพาะเลี้ยงบึ้งกับวิทยากรจากศูนย์วิจัย Spider Planet ภาพที่ 6.4 ลงพื้นที่จริง เพื่อสารวจเส้นทางและสารวจบึ้งอย่างคร่าวๆ 32
  • 38. ภาพที่ 6.5 ฟังคาแนะนาในการสารวจบึ้งจากครูที่ปรึกษา ภาพที่ 6.6 สารวจและบันทึกข้อมูลบึ้งอย่างละเอียด พร้อมบันทึกตาแหน่งพิกัด GPS 33
  • 39. ภาพที่ 6.7 ทดลองผสมพันธุ์บึ้งขายาว ภาพที่ 6.8 เตรียมกล่องอนุบาลลูกบึ้ง พร้อมฟังคาแนะนาจากครูที่ปรึกษา 34
  • 40. ภาพที่ 6.9 ลูกบึ้งขายาวที่กาลังลอกคราบครั้งที่ 1 ในกล่องอนุบาล ภาพที่ 6.10 เตรียมกล่องเลี้ยงลูกบึ้ง แยกเลี้ยงกล่องละ 1 ตัว 35
  • 41. ภาพที่ 6.11 ให้หนอนนกเป็นอาหารลูกบึ้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง พร้อมฉีดน้า และบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ภาพที่ 6.12 ภาพความประทับใจ 36