SlideShare a Scribd company logo
1 of 46
Download to read offline
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เรื่อง : ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา
โดย
1. นางสาวพัชรินทร์ ศรีวิเศษ
2. นางสาวไพริน ทิพนัด
3. นายสุธิพงษ์ สีลาโส
ครูที่ปรึกษา
1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน
2. นางธีร์กัญญา พลนันท์
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เรื่อง : ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา
ประเภท วิทยาศาสตร์กายภาพ  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ชื่อเจ้าของโครงงาน
1. นางสาวพัชรินทร์ ศรีวิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2. นางสาวไพริน ทิพนัด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3. นายสุธิพงษ์ สีลาโส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่ปรึกษาโครงงาน
1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน เบอร์โทรศัพท์ 08-9573-7764 e-mail. siricom4@gmail.com
2. นางธีร์กัญญา พลนันท์ เบอร์โทรศัพท์ 08-7265-8200 e-mail. east_teeganya@hotmail.com
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา”
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ด ความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศและวิถีชุมชนในดอนปู่ตา
สาธารณประโยชน์ ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพื้นที่ 33 ไร่ โดยสุ่มสารวจ 3 บริเวณ คือ
แปลงที่ 1 (ป่าดิบแล้ง) แปลงที่ 2 (ป่าเต็งรัง) และแปลงที่ 3 เส้นทางเดิน (ป่าดิบแล้ง) ในดอนปู่ตาฯ โดยวางแปลง
ขนาด 40x40 ตารางเมตร โดยใช้กระบวนการนักสารวจแห่งท้องทุ่ง จากการสารวจเห็ดตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึง
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จานวน 7 ครั้ง ปรากฏว่า
พบเห็ดทั้งสิ้น 30 วงศ์ จานวน 167 ชนิด จาแนกชื่อได้ 103 ชนิด (61.68%) และจาแนกชื่อไม่ได้ 64 ชนิด
(38.32%) วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ Agaricaceae (20.00%) เห็ดที่พบมากที่สุดคือ เห็ดโคนปลวกข้าวตอก
เห็ดตะไคลหน้าเขียว และเห็ดหน้าม่วง ตามลาดับ บริเวณที่พบเห็ดปริมาณมากที่สุด คือ แปลงที่ 3 เส้นทางเดิน
(ป่าดิบแล้ง) (49.54%) แต่เห็ดกินได้จะพบในแปลงที่ 2 (ป่าเต็งรัง) มากกว่าแปลงที่ 1 และ 3 (ป่าดิบแล้ง) เห็ดกินได้
ส่วนมากพบอยู่ในวงศ์ Russulaceae และวงศ์ Amanitaceae พบความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา
4 รูปแบบ คือ 1)ย่อยสลาย/ย่อยซากพืช (62.88%) 2) พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับรากไม้ (20.36%) 3)ปรสิต/ก่อ
โรค (12.57%) และ 4) พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับปลวก (4.19%) พบเห็ดที่สามารถรับประทานได้จานวน 48
ชนิด (28.74%) เป็นยา 20 ชนิด (11.98%) เห็ดพิษ 9 ชนิด (5.39%) และไม่มีข้อมูล 90 ชนิด (53.89%) แหล่ง
อาศัยของเห็ดพบบนพื้นดินมากที่สุด 96 ชนิด (57.48%) พบการเจริญของดอกเห็ดแบบเดี่ยวหรือกลุ่มมากที่สุด 76
ชนิด (45.51%) เดือนที่พบชนิดเห็ดมากที่สุดคือ สิงหาคม พบความสัมพันธ์ของเห็ดกับต้นไม้หลายชนิด เช่น ต้น
ยางเหียง(ซาด) และต้นเต็ง(จิก) มักพบเห็ดกินได้หลายชนิด และพบความสัมพันธ์ของเห็ดกับวิถีชุมชน โดยเห็ดเป็น
แหล่งอาหาร ยาและแหล่งรายได้ของชาวบ้าน ส่วนการอนุรักษ์เห็ด คือ ไม่เก็บเห็ดที่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ช่วยกัน
อนุรักษ์ป่าไม้ ปลูกต้นไม้ที่ทาให้เกิดเห็ด เช่น ยางนา เพื่อให้ลูกหลานได้มีเห็ดกินในอนาคต สาหรับการแบ่งปัน ได้
เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น face book มีการแต่งเพลงเห็ดป่าดอนปู่ตา และสรภัญญะเห็ดอีกด้วย
คาสาคัญ : เห็ด, ดอนปู่ตา
ก
กิตติกรรมประกาศ
รายงาน เรื่อง “ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา” นี้ เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของเห็ด ความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศและวิถีชุมชนในดอนปู่ตา
สาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยนักสารวจกลุ่มพลพรรครักษ์ดอนปู่ตา
โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จัดทาขึ้นเพื่อรายงานผลการการเรียนรู้
ตามกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนของนักสารวจแห่งท้องทุ่ง ได้แก่ ขั้นค้นหา ขั้นสารวจ ขั้นอนุรักษ์ และขั้น
แบ่งปัน
ขอขอบพระคุณ ท่านพัชรินทร์ หยาดไธสง ผู้อานวยการโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ที่
อนุญาตและอานวยความสะดวกในการศึกษา ขอขอบพระคุณ คุณครูศิริวุฒิ บัวสมาน และคุณครูธีร์
กัญญา พลนันท์ ซึ่งเป็นครูที่ปรึกษาให้คาแนะนาในการเรียนรู้เกี่ยวกับเห็ด คณะผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณะคุณครูโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยาทุกท่าน ที่ให้กาลังใจในการสารวจ
ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตรที่ให้การอบรม ดูแลและให้คาแนะนา ให้
กาลังใจในการทางานนักสารวจอย่างสม่าเสมอ ขอขอบพระคุณ นายกองค์การบริหารส่วนตาบลสวนจิก
คุณทองรัก สุทธิบาก กานันตาบลสวนจิก และคุณจรูญ ศรีทอง ผู้ใหญ่บ้านสวนจิก ที่อนุญาตให้เข้าศึกษาใน
ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก ขอขอบพระคุณคุณยายทองจันทร์ มงคลมะไฟ และคุณยายจงกล
พันชวะนัส ที่แนะนาเกี่ยวกับเห็ด คุณตาสุข พันโภคา ที่แนะนาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก้พิษเห็ด คุณพ่อเรือง
วิลัยพิทย์ ที่แนะนาเกี่ยวกับชื่อของต้นไม้และประโยชน์ ดร.ขวัญเรือน พาป้อง และภัณฑารักษ์ คุณบุษยา
มูลศรีแก้ว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มี
ฤทธิ์ทางยา ผศ.ดร.อุทัยวรรณ แสงวณิช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่แนะนาความรู้เกี่ยวกับเห็ดและตรวจ
แก้บทคัดย่อ ขอขอบพระคุณบรรณารักษ์ หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่อนุญาตให้เข้าสืบค้นหนังสือ
เกี่ยวกับเห็ด และขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้ คงมีประโยชน์หรือเป็นแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเห็ดในท้องถิ่น
ต่อไป และหวังว่าคงมีผู้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
คณะผู้จัดทา
ข
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
บทที่ 1 บทนา 1
1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1
1.3 ขอบเขตของการศึกษา 2
1.4 นิยามศัพท์ 2
1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3
2.1 ข้อมูลทั่วไปของเห็ด 3
2.2 บทบาทของเห็ดที่อยู่ตามธรรมชาติ 5
2.3 การจาแนกเห็ด 6
2.4 การวินิจฉัยกลุ่มเห็ด 9
2.5 การเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่ 12
2.6 เห็ดพิษและอาการเมื่อรับประทานเข้าไป 15
2.7 การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ 16
บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการทดลอง 17
3.1 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือ 17
3.2 วิธีการสารวจ/ศึกษา 19
บทที่ 4 ผลการศึกษา 24
4.1 ผลการศึกษา 24
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา 37
5.1 สรุปผลการศึกษา 37
5.2 อภิปรายผลการศึกษา 38
5.3 ข้อเสนอแนะ 39
5.4 ประโยชน์ที่ได้รับ 39
บรรณานุกรม 40
ภาคผนวก 41
ภาคผนวก ก 42-92
ค
บทที่ 1
บทนา
1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในชนบทยังมีการดารงชีวิตที่อิงอาศัยอยู่กับระบบนิเวศป่าไม้อยู่มาก ดังจะ
เห็นได้จากบริเวณชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่า มีดอนปู่ตาซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยใช้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมีการนาเห็ดป่าออกมาเป็นอาหารและขายในลักษณะเป็นของป่า ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตาม
ชนิดของเห็ด ฤดูกาล และปริมาณของเห็ดที่ออกในช่วงนั้นๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าทุกปีจะมีประชาชนตาม
ต่างจังหวัดบริโภคเห็ดพิษจนทาให้เกิดอาการเจ็บป่วย บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากเกิดการเข้าใจผิด
คิดว่าเป็นเห็ดชนิดที่รับประทาน วิธีการปรุงและการบริโภคไม่ถูกต้อง เป็นต้น จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นทาให้
ประชาชนเกิดความสนใจในทรัพยากรเห็ดมากยิ่งขึ้น
เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรรา เป็นกลุ่มราที่มีการรวมตัวกันของเส้นใยเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่
มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถหยิบ จับ สัมผัสได้ และเป็นทรัพยากรธรรมชาติกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทหน้าที่ที่
สาคัญในระบบนิเวศป่าไม้ หากขาดสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้แล้วจะส่งผลให้ระบบนิเวศป่าไม้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดไป
จากปกติ อาจส่งผลให้ความหลากชนิดของสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นๆ อยู่ในภาวะไม่สมดุลได้ ประโยชน์ของเห็ดเป็นที่
ทราบดีอยู่แล้วว่าสามารถนามาใช้ได้หลายช่องทาง เช่น เห็ดที่รับประทานได้ เห็ดสมุนไพร เป็นต้น
เห็ดนอกจากจะมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศและมนุษย์แล้วก็ยังมีโทษอยู่ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ เห็ดบางชนิดที่
ขึ้นอยู่บนไม้ที่เป็นโครงสร้างต่างๆ ที่ต้องการความคงทน เมื่อเห็ดไปเจริญขึ้นโครงสร้างดังกล่าวจะเสื่อมและผุ
ทาให้เสียหายได้ และโทษอีกประการหนึ่งที่ได้รับความสนใจมาเป็นเวลานาน แม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังคงได้รับ
ความใส่ใจเป็นพิเศษ นั่นก็คือ เห็ดพิษ ซึ่งเป็นกลุ่มเห็ดที่สร้างสารพิษขึ้นมาด้วยตัวเอง ลักษณะอาการที่เกิดจาก
พิษเห็ดโดยทั่วไป ได้แก่ ท้องร่วง คลื่นเหียน อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
จากการที่กลุ่มของพวกเราได้ตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นมาชื่อว่า “พลพรรครักษ์ดอนปู่ตา” ได้ร่วมกันศึกษา
เรื่อง “ดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน” ได้ศึกษาเรียนรู้ความเชื่อ พิธีกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน
ในการอนุรักษ์ป่าชุมชน และได้ศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเบื้องต้นในดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์
ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า มี สิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิด เช่น ต้นไม้ นก แมลง
และเห็ด อันเป็นผลมาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในการอนุรักษ์ดอนปู่ตาแห่งนี้เอาไว้
ดังนั้น กลุ่มของพวกเราจึงต้องการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดอนปู่ตา โดยศึกษาเฉพาะ
เห็ด ความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากเห็ดในป่าดอนปู่ตาของชาวบ้าน
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.2.1 เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ดในป่าดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรี
สมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
1.2.2 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตาและความสัมพันธ์ของเห็ดกับวิถีชุมชน
รอบดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
1.2.3 เพื่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน สร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์เห็ด ต้นไม้ และ
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
1.3 ขอบเขตของการศึกษา
1.3.1 ระยะเวลาในการศึกษา : 5 เดือน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
1.3.2 พื้นที่ดาเนินการสารวจ : ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัด
ร้อยเอ็ด
1.3.3 ช่วงเวลาในการสารวจ : สารวจเฉพาะช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น.
1.4 นิยามศัพท์
1.4.1 ดอนปู่ตา หมายถึง ป่าประจาหมู่บ้านของชาวอีสาน และเชื่อว่าเป็นสถานที่สิงสถิตดวงวิญญาณของ
ปู่ ตา และถือว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ประจาหมู่บ้าน ที่ดอนปู่ตาจะมีตูบ(ศาล) ปู่ตาซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้าน
จะไปทาพิธีเคารพสักการะเป็นประจาทุกปี โดยจะมีการเลี้ยงผีปู่ตาเพื่อความเป็นสิริมงคล และทานายฟ้าฝนไปด้วย
ในขณะเดียวกัน โดยปกติดอนปู่ตาจะเป็นป่ารกครึ้ม มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ เนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าไปตัดไม้
หรือจับสัตว์ในป่าดอนปู่ตา เพราะเกรงกลัวปู่ตาจะทาให้มีอันเป็นไป
1.4.2 กระบวนการนักสารวจแห่งท้องทุ่ง หมายถึง กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการ
เรียนรู้เรื่องราวของสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว มีขั้นตอนดาเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหา 2) สารวจ 3) อนุรักษ์
และ 4) แบ่งปัน โดยในแต่ละขั้นตอนจะช่วยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้สารวจ เรียนรู้ และใกล้ชิดกับธรรมชาติ
อันจะช่วยพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการเรียนรู้ เข้าใจและตระหนักในความสาคัญของสิ่งแวดล้อม โดยการ
รวมกลุ่มกันทากิจกรรมเพื่อดูแลรักษาพื้นที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ได้เรียนรู้วิธีการศึกษาเห็ดทั้งภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ
1.5.2 ได้ทราบถึงประโยชน์ บทบาทและความสัมพันธ์ของเห็ดป่าในระบบนิเวศดอนปู่ตา
1.5.3 ได้ทราบถึงความสัมพันธ์ของเห็ดกับวิถีชุมชนรอบดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก
อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
1.5.4 ได้เทคนิคและวิธีการศึกษาเก็บรักษาตัวอย่างเห็ด
1.5.5 เกิดความรัก ความหวงแหน มีจิตสานึกในการอนุรักษ์เห็ด ต้นไม้ และทรัพยากรธรรมชาติใน
ท้องถิ่น
2
บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ผู้จัดทาโครงงานได้ศึกษาเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องโดยนาเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
ดังนี้
2.1 ข้อมูลทั่วไปของเห็ด
เห็ด หมายถึง สิ่งมีชีวิตชั้นต่าจาพวกเห็ดรา (Fungi) เจริญเติบโตเป็นเส้นใย เมื่อถึงระยะสร้างเซล
สืบพันธุ์จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเรียกว่าดอกเห็ด (Fruiting body) ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกัน
มากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดนั้นๆ
เห็ดรามีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาป่าและการอนุรักษ์ระบบนิเวศทั้งมวลของโลก โดยเห็ดรามี
อิทธิพลต่อกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุ การหมุนเวียนของธาตุอาหารที่เอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และ
จุลินทรีย์ในระบบนิเวศต่างๆ ให้สามารถดารงชีวิตเติบโตพัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืนตลอดไป และเป็นอาหาร
สาหรับมนุษย์ ซึ่งเห็ดบางชนิดยังมีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรค จึงทาให้มีการบริโภคเห็ดกันมากขึ้น
เห็ดไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนพืชจึงต้องอาศัยอาหารจาก
แหล่งต่างๆ ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ อินทรียวัตถุ โดยการย่อยสลายแล้วนาสารอาหารมาใช้ในการดารงชีวิต
รวมทั้งต้องอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิ ความชื้น และแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอีกด้วย
วงจรชีวิตของเห็ด
วงจรชีวิตของเห็ดทุกชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือเมื่อดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ขึ้น ผิวดอกจะปริ
แตกออกทาให้ “สปอร์” (Spores) จานวนล้านๆ จากครีบ (Gills) ปลิวออกมา เมื่อตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสมก็จะงอกเป็นใยรา (hypha) และเจริญต่อไปเป็นกลุ่มใยรา (mycelium) แล้วรวมกันเป็นกลุ่มก้อน
เกิดเป็นดอกเห็ด (fruiting body) เมื่อดอกเห็ดเจริญเติบโตขึ้นก็สร้างสปอร์ เมื่อปลิวหรือหลุดไปตกในที่
เหมาะสมก็งอกเป็นใยรา เจริญต่อไปเป็นกลุ่มใยรา และดอกเห็ดเพื่อสร้างสปอร์หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏ
จักร
ภาพที่ 2.1 วงจรชีวิตของเห็ด
(ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา, 2555)
3
ภาพที่ 2.2 โครงสร้างและส่วนประกอบของดอกเห็ด
(ที่มา : อุทัยวรรณ แสงวณิช, 2553)
ส่วนประกอบของดอกเห็ด
1. หมวกเห็ด (pileus หรือ cap) เป็นส่วนบนของดอกเห็ดที่เจริญเติบโตไปในอากาศเมื่อเห็ด
เจริญเติบโตเต็มที่จะกางออกคล้ายร่ม รูปร่างหมวกอาจแตกต่างไปจากที่กล่าวไว้ เช่น เป็นรูปกรวยลึก เป็นรูป
ระฆัง ผิวด้านบนเรียบ ขรุขระ มีเกล็ด หรือมีขนอาจติดแน่นหรือฉีกขาดง่ายๆ สีหมวกอาจแตกต่างจากส่วน
อื่นๆของดอกเห็ดขอบหมวกเรียบเสมอฉีกขาดกะรุ่งกะริ่ง หรือมีเส้นลายเป็นเส้นรัศมีโดยรอบบางชนิดหยักเป็น
คลื่นเนื้อหมวกหนาแตกต่างกันบางชนิดเมื่อสัมผัสฉีกขาดหรือช้าจะเปลี่ยนสีได้ผิวแห้งเปียกชื้นลื่นหรือหนืดมือ
หมวกของเห็ดบางชนิดอาจยึดติดกับก้านบางชนิดหลุดจากก้านได้ง่าย
2.ครีบ (lamella หรือ gill) เป็นแผ่นบางๆที่อยู่ด้านล่างของหมวกเรียงเป็นรัศมีออกไปรอบก้านบาง
ชนิดเชื่อมติดกันบางตอนครีบมีความหนาบางและการเรียงระยะถี่ห่างแตกต่างกันจานวนครีบและความยาว
แตกต่างกันในเห็ดแต่ละชนิดเห็ดบางชนิดครีบยึดติดแน่นกับก้านแต่บางชนิดแขวนห้อยลงมาจากเนื้อหมวก
ครีบเป็นแหล่งกาเนิของสปอร์มีชั้นเยื้อกาเนิดสปอร์บุอยู่โดยรอบครีบของเห็ดบางชนิดมีวิวัฒนาการ
เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็นรูพรุน(pores) ซี่ฟัน(teeth) หรือเป็นสัน(ridges)เห็ดหลายชนิดมีซิสทิเดียม
(cystidium) ที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน
3. ก้าน(stipe หรือ stalk)มีขนาดรูปร่างและสีสันแตกต่างกันตอนบนยึดติดกับหมวกหรือยึดติดกับ
ครีบมีทั้งผิวเรียบขรุขระมีขนหรือมีเกล็ดบางชนิดมีวงแหวนหรือเยื่อบางๆคล้ายวงแหวนติดรอบก้านตอนบน
4
เนื้อก้านประกอบด้วยเส้นใยหยาบที่สานกันแน่นหรือสานกันอย่างหลวมๆบางชนิดถ้าถูกตัดฉีกขาดหรือช้าจะ
เปลี่ยนสีหลายชนิดมีรูกลวงตรงกลางใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ชนิดก้านที่อยู่กึ่งกลางหรือเยื้องไปทางใดทางหนึ่งบาง
ชนิดไม่มีก้าน เช่น เห็ดเผาะ บางชนิดมีรากยาวหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น เห็ดโคน
4. แอนนูลัส (annulus หรือ ring) เป็นวงแหวนเหนือม่าน(veil) ที่ยึดก้านดอกและขอบหมวกไว้เมื่อ
เป็นดอกอ่อนเมื่อหมวกบานเยื่อดังกล่าวจะขาดแยกจากขอบหมวกคงเหลือส่วนที่ยึดติดกับก้านเป็นวงแหวน
เรียกว่า เยื้อขอบหมวก (inner veil หรือ parpial veil) เมื่อดอกโตเต็มที่แอนนูลัสของเห็ดบางชนิดบางชนิดจะ
หลุดเป็นปลอก เห็ดหลายชนิดไม่มีแอนนูลัส
5. เยื่อหุ้มดอกเห็ด (volva, out veil หรือ universal veil) เป็นเยื่อชั้นนอก เมื่อดอกเห็ดเจริญขึ้น
ตอนบนของเยื่อจะแตกออกเพื่อให้หมวกและก้านยืดตัวสูงขึ้น เนื่อหุ่มคงค้างเป็นรูปถ้วยอยู่ที่โคน เช่น เห็ดบัว
บางชนิดเยื่อหุ้มไม่เป็นรูปถ้วยแต่เป็นเกล็ดรอบโคนก้าน บางชนิดมีเส้นใยหยาบคล้ายเส้นด้ายทาหน้าที่ยึดดอก
เห็ดให้ติดกับพื้น
6. เนื้อในเห็ด (context) เนื้อที่อยู่ใต้ผิวหมวกและเนื้อในก้าน
7. เยื่อหุ้มส่วนสร้างสปอร์ (peridium) เยื่อกุ้มอับสปอร์หรือเยื่อหุ้มดอกเห็ด เห็ดเกิดชุกชุมตาม
ธรรมชาติในฤดูฝน ตามป่า ทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นดิน ต้นไม้ ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ตามอินทรียวัตถุ เช่น กองปุ๋ยหมัก
มูลสัตว์ ทาให้เกิดการผุเน่าเปื่อยของอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นเช่น เห็ดฟาง บางชนิดพืชเบียนต้นไม้ บางชนิดเกิดใน
ดินจอมปลวก เช่นเห็ดโคน
ลักษณะวิสัยของเห็ดแต่ละชนิดแตกต่างกัน เกิดเป็นดอกเดี่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นกลุ่มโคนชิดกัน หรือ
แตกกระจายเป็นวงกลม บางชนิดขึ้นซ้อนกันเป็นชั้น หรือซ่อนติดเป็นเนื้อเดียวกัน ชนิดหลังนี้เกิดติดต่อกัน
หลายปีทาให้ดอกใหญ่ขึ้นทุกปีและไม่ผุเปื่อยเน่าไปเหมือนเห็ดชนิดอื่นดังนั้น เห็ดจึงมีทั้งชนิดเน่าเร็วอยู่ได้ไม่
นานและชนิดอยู่ได้หลายปี
2.2 บทบาทของเห็ดที่อยู่ตามธรรมชาติ
เห็ดไม่สามารถสังเคราะห์อาหารได้เอง ต้องอาศัยดูดอาหารจากสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่ไปใช้เพื่อการ
เจริญเติบโต ดังนั้นถ้าเรามองสิ่งที่ให้อาหารแก่เห็ด เราก็สามารถบอกถึงบทบาทของเห็ดได้ ดังต่อไปนี้
1. บทบาทการเป็นผู้ย่อยสลายซาก เห็ดที่ขึ้นอยู่บนเศษซากพืช เช่น ซากใบ กิ่งไม้และขอนไม้ผุ และ
บนมูลสัตว์ เห็ดพวกนี้ทาหน้าที่ย่อยสลายซากเหล่านั้น โดยการปล่อยน้าย่อยออกไปย่อยเนื้อไม้ ทาให้เนื้อไม้
ค่อยๆ ผุพัง และแตกสลายกลายเป็นแร่ธาตุ ซึ่งบางส่วนของแร่ธาตุจะถูกเส้นใยของเห็ดดูดไปใช้ แต่ส่วนใหญ่
จะซึมลงสู่ดิน แล้วพืชก็ดูด ไปใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตของพืชต่อไป
2. บทบาทการเป็นปรสิตและก่อให้เกิดโรค เห็ดที่ขึ้นอยู่บนลาต้น กิ่ง และก้านของต้นไม้ที่มีชีวิต หรือ
เห็ดที่ เข้าทาลายตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ของแมลงที่มีชีวิต เห็ดพวกนี้เป็นปรสิตและก่อให้เกิดโรคใน
ต้นไม้และแมลง เพราะเส้นใยของเห็ดไปแย่งน้า แย่งอาหาร ทาให้เซลล์และเนื้อเยื่อของสิ่งที่มันไปขึ้นอยู่ค่อย ๆ
ตายลง จากจุดเล็ก ๆ แล้ว ค่อย ๆ ลุกลามออกไปจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นไม้อย่างมาก หรือทาให้
หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของแมลงตายในที่สุด ต้นไม้ที่มีเห็ดขึ้นอยู่ข้างลาต้นจะมีส่วนของแก่นไม้ผุเป็นโพรง
เนื้อไม้ใช้งานไม่ได้ แต่เห็ดบางชนิดที่ก่อให้เกิดโรคแก่ต้นไม้กลับมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค เช่น เห็ดหลินจือ
สาหรับเห็ดที่ฆ่าตัวหนอนและดักแด้ของแมลงได้นั้น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในแง่ของการควบคุม
5
ประชากรของแมลง โดยเฉพาะถ้าแมลงนั้นเป็นศัตรูของพืชเศรษฐกิจ และบาง ชนิดมีผู้นามาทาเป็นยาบารุง
สุขภาพ ซึ่งได้แก่ ถั่งเช่า
3. บทบาทในการอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เห็ดที่มีบทบาทแบบ
นี้มัก พบดอกเห็ดขึ้นโดยตรงจากดิน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
3.1 เห็ดที่อยู่ร่วมกับรากของพืชที่มีชีวิตในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยเส้นใยของเห็ดที่แผ่
กระจายอยู่ ในดินจะไปพันอยู่รอบๆ รากพืชที่ทาหน้าที่ดูดน้าและแร่ธาตุ และบางส่วนก็แทงเข้าไปเจริญภายใน
ราก เส้นใยของเห็ด เหล่านี้จะช่วยดูดน้าและแร่ธาตุจากดินแล้วส่งผ่านไปให้ต้นพืช ทาให้ต้นพืชสามารถ
สังเคราะห์อาหารได้มากขึ้น จึงส่งผล ให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น อาหารที่พืชสังเคราะห์ขึ้นนอกจากจะส่งไป
เลี้ยงส่วนต่างๆ ของลาต้นแล้ว ยังมีเหลือส่งไปเก็บ สะสมที่รากด้วย ซึ่งอาหารสะสมที่รากนี้จะถูกเส้นใยราดูด
ไปใช้ในการเจริญเติบโตอีกทีหนึ่ง ความสัมพันธ์ของรากพืชและ เห็ดแบบนี้ มีชื่อเรียกว่า เอคโตไมคอร์ไรซา
(ectomycorrhiza) และเราเรียกเห็ดกลุ่มนี้ว่า เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา
นอกจากประโยชน์ที่ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตให้แก่ต้นพืชแล้ว ต้นพืชยังมีความต้านทานต่อโรคที่ราก
และทนทานต่อความแห้งแล้งได้สูงกว่าปกติด้วย ดังนั้นนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการป่าไม้ จึงได้นาความรู้ทาง
เอคโตไมคอร์ไรซามาประยุกต์กับการเพาะกล้าไม้ เพื่อให้ได้กล้าไม้ที่มีเอคโตไมคอร์ไรซาอยู่ที่รากก่อนย้ายไป
ปลูกในสวนป่า ซึ่งช่วยให้การปลูกสวนป่าในที่แห้งแล้งประสบความสาเร็จมากขึ้น
3.2 เห็ดที่อยู่ร่วมกับปลวกในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ เห็ดโคน โดยเส้นใยของเห็ดโคน
ย่อยสลายรังปลวกเป็นอาหาร รังปลวกนี้ปลวกสร้างขึ้นจากสิ่งขับถ่ายของมันเอง ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็น
ของเหลวและกากเนื้อไม้ ส่วนปลวกกินเส้นใยของเห็ดโคนเป็นอาหาร จนถึงระยะหนึ่งที่ปลวกกินเส้นใยของ
เห็ดโคนน้อยลง ทาให้เส้นใยมีมากและสมบูรณ์พอที่จะรวมตัวกันเจริญเป็นดอกเห็ดโคนโผล่ขึ้นมาเหนือดิน
ดังนั้นเราจึงเห็นเห็ดโคนขึ้นอยู่เหนือดินใกล้ๆ กับรังปลวกหรือจอมปลวกเสมอ
เห็ดไม่ว่าจะมีบทบาทเช่นไร เมื่ออยู่ตามในธรรมชาติ เช่น ในป่า ย่อมส่งผลให้ป่ามีความสวยงามและมี
ชีวิตชีวาเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากบทบาทที่กล่าวมา เห็ดบางชนิดเป็นอาหารของคนและสัตว์ และบางชนิดมี
สรรพคุณทางยา จึงช่วยให้มนุษย์ไม่ขาดแคลนอาหารและมีสุขภาพดีด้วย แต่เห็ดบางชนิดมีพิษ จึงต้องพึงระวัง
อย่างมากในเรื่องการเก็บเห็ดป่ามารับประทาน ถ้าไม่รู้จักหรือแน่ใจไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเห็ดนั้นรับประทาน
ได้ อย่าเก็บมารับประทานเป็นอันขาด สาหรับเห็ดป่าที่รับประทานได้และมีรสชาติดี แต่ยังไม่มีการนามา
เพาะเลี้ยงเพื่อการค้า ก็ควรมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อไป
2.3 การจาแนกเห็ด
การจาแนกเห็ดจึงมีเกณฑ์ในหลายด้านประกอบกัน ทั้งลักษณะรูปร่าง สี การดารงชีวิต และการ
นามาใช้ประโยชน์
จาแนกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
การจาแนกเห็ดตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ อาศัยหลักฐานจากลักษณะรูปพรรณสัณฐาน การ
ดารงชีวิต สายวิวัฒนาการ จนถึงความรู้ทางชีวโมเลกุล มีลาดับการจัดหมวดหมู่ดังนี้
6
Kingdom Fungi
Subkingdom Dikarya
Phylum Ascomycota
Subphylum Taphrinomycotina
แบ่งเป็น 4 Class 4 Order 5 Family
Subphylum Saccharomycotina
แบ่งเป็น 1 Class 1 Order 13 Family
Subphylum Pezizomycotina
แบ่งเป็น 9 Class 55 Order 224 Family
Phylum Basidiomycota
Subphylum Agaricomycotina
แบ่งเป็น 8 Class 18 Order 36 Family
Subphylum Ustilaginomycotina
แบ่งเป็น 7 Class 32 Order 143 Family
จาแนกตามคุณสมบัติการเป็นอาหารของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เห็ดกินได้ (edible mushroom) หมายถึง เห็ดที่น่ามากินสดๆหรือประกอบอาหารได้ ส่วนใหญ่มี
เนื้ออ่อนนุ่ม ไม่มีขอบวงหรือวงแหวนและไม่มีเปลือกหุ้มคล้ายถ้วยที่โคนก้านดอกเห็ด
2. เห็ดมีพิษ (poisonous mushroom หรือ toad stool) หมายถึง เห็ดที่มีพิษ เมื่อกินอาจทาให้เกิด
อาการมึนเมา เห็นภาพลวงตา อาเจียน อาจถึงตายได้ เห็ดมีพิษมักมีลักษณะดังนี้ คือ มีสีเข้มจัดเช่น แดง ส้ม
ดา หรือมีสีฉูดฉาด มีแผ่นหรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด เมื่อดมมีกลิ่นเหม็นแปลกๆ บริเวณขอบหมวกเห็ดมี
หยักอยู่รอบ ๆ มีขอบวงหรือวงแหวน มีเมือกหรือน้ายางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด หรือมีครีบที่ใต้หมวก
จาแนกตามการดารงชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. เห็ดแซบโปรไฟต์ หมายถึง เห็ดที่เจริญอยู่บนซากสิ่งมีชีวิต
2. เห็ดปรสิต หมายถึง เห็ดที่เจริญอยู่บนสิ่งมีชีวิต เช่น เห็ดหิ้งที่เกิดอยู่ข้างล่าต้นของต้นไม้ใหญ่ที่ยังมี
ชีวิต
3. เห็ดไมคอร์ไรซา หมายถึง เห็ดที่มีเส้นใยเจริญอยู่กับรากของพืชชั้นสูงที่มีชีวิตในแบบพึ่งพาอาศัยกัน
จาแนกตามรูปร่างลักษณะของแหล่งกาเนิดสปอร์ สามารถแบ่งได้ 14 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มเห็ดที่มีครีบ ( Agarics or gilled mushrooms) ดอกเห็ดมีหมวก อาจมีก้านหรือไม่มีก้าน
ด้านล่างของหมวกมีลักษณะเป็นครีบและเป็นที่เกิดของสปอร์ ดอกเห็ดขึ้นบนดิน หรือบนท่อนไม้ ใบไม้ผุ หรือ
บนมูลสัตว์
2. กลุ่มเห็ดมันปู (Chanterelles) ดอกเห็ดมีหมวกและก้านรูปร่างคล้ายแตรหรือแจกันปากบาน ผนัง
ด้านนอกของกรวย อาจเรียบหรือหยักย่นหรือเป็นร่องตื้นๆ สปอร์เกิดอยู่บนผนังด้านนี้ ดอกเห็ดขึ้นบนดิน
7
3. กลุ่มเห็ดตับเต่า (Boletes) ดอกเห็ดมีหมวกและก้าน มีเนื้ออ่อนนิ่ม ด้านล่างของหมวกมีลักษณะ
คล้ายฟองน้าที่มีรูพรุน ชั้นที่มีรูสามารถดึงแยกออกจากหมวกได้ สปอร์เกิดอยู่ภายในรู ตามปกติดอกเห็ดขึ้นอยู่
บนดิน
4. กลุ่มเห็ดหิ้ง (Polypores and Bracket fungi ) ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายชั้นหรือหิ้ง หรือคล้าย
เครื่องหมายวงเล็บหรือคล้ายพัด ไม่มีก้านหรือมีก้านที่อยู่เยื้องไปทางด้านหนึ่งของหมวก หรือติดอยู่ทาง
ด้านข้างของหมวก ส่วนใหญ่เนื้อเหนียวและแข็งคล้ายเนื้อไม้ ด้านล่างหรือด้านหลังของหมวกมีรูขนาดเล็กเรียง
กันแน่นและภายในรูเป็นที่เกิดของสปอร์ ชั้นที่เป็นรูไม่สามารถแยกออกมาจากส่วนหมวกได้ ตามปกติขึ้นอยู่บน
ต้นไม้ แต่อาจพบขึ้นบนดินได้
5. กลุ่มเห็ดแผ่นหนัง ( Leather-bracket fungi ) ดอกเห็ดรูปร่างคล้ายเครื่องหมายวงเล็บหรือคล้าย
พัด ไม่มีก้าน มีลักษณะเป็นแผ่นบางเหนียว และมักเรียงซ้อนกันหรือขึ้นอยู่ติดๆกัน ด้านบนของหมวกมีสีอ่อน
แก่สลับกันเป็นวง และบนผิวหมวกอาจมีขนสั้นๆ ด้านตรงข้ามซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์มีลักษณะเรียบ หรือเป็น
รอยนูนขึ้นลง บางชนิดขึ้นบนดิน บางชนิดขึ้นบนไม้
6. กลุ่มเห็ดหูหนู (Jelly fungi) ดอกเห็ดมีรูปร่างหลายแบบ อาจเหมือนใบหู เนื้อบางคล้ายแผ่นยาง
นิ่มและเป็นเมือก สปอร์เกิดอยู่ทางด้านที่มีรอยย่นหรือมีรอยเส้นแตกแขนง ขึ้นบนไม้ผุในที่ชื้น
7. กลุ่มเห็ดที่เป็นแผ่นราบไปกับท่อนไม้ (Crust and Parch fungi) ดอกเห็ดเป็นแผ่นแข็งติดบนไม้
หรือมีขอบดอกโค้งงอออกจากท่อนไม้คล้ายหิ้ง เนื้อเหนียวและไม่เป็นเมือก ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับท่อนไม้ คือที่
เกิดของสปอร์ อาจมีลักษณะเรียบ ย่น เป็นเส้นคดเคี้ยว หรือนูนเป็นปุ่ม
8. กลุ่มเห็ดฟันเลื่อย (Tooth fungi) ดอกเห็ดอาจมีหมวกและก้าน หรือไม่มีก้านก็ได้ ด้านล่างของ
หมวกมีลักษณะคล้ายซี่เลื่อยหรือหนามแทงลงพื้นดิน สปอร์เกิดอยู่ที่ซี่เลื่อยหรือหนามนี้ ดอกเห็ดอาจขึ้นจาก
ดินหรือขึ้นบนไม้
9. กลุ่มเห็ดปะการังและเห็ดกระบอง (Coral and Club fungi) ดอกเห็ดตั้งตรง อาจแตกแขนงเป็นกิ่ง
ก้านเล็กๆ หรือตั้งตรงแล้วพองออกตอนปลายดูคล้ายกระบอง ขึ้นอยู่เดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่ม สปอร์เกิดบนผนัง
ด้านนอกของกระบองและตามกิ่งแขนง ขึ้นบนดินหรือบนไม้
10. กลุ่มเห็ดรูปร่มหุบ (Gastroid Agarics) ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายร่มหุบ คือมีหมวกและมีก้านอยู่ตรง
กลางหมวก หมวกอยู่ในลักษณะหุบงุ้ม ไม่กางออก เนื่องจากขอบหมวกติดอยู่กับก้าน ภายใต้หมวกมีแผ่น
เนื้อเยื่อที่แตกเป็นร่องแยกออกหลายแขนง มองดูคล้ายครีบที่บิดเบี้ยว เนื้อเยื่อส่วนนี้คือที่เกิดของสปอร์ แล้ว
เปลี่ยนเป็นฝุ่นผงทั้งหมด เมื่อดอกเห็ดแก่ สปอร์ออกสู่ภายนอกได้เมื่อหมวกฉีกขาด มีลักษณะก้านดอกผ่าน
ส่วนที่เป็นที่เกิดของสปอร์จนถึงยอดหมวก มักพบเห็ดชนิดนี้บนดินในที่ร้อนและแห้งในทะเลทรายและบนภูเขา
สูง
11. กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นและเห็ดดาวดิน (Puffballs and Earthstars) ดอกเห็ดทรงกลม รูปไข่ หรือคล้าย
ผลสาลี่ บางชนิดเมื่อดอกแก่ ผนังชั้นนอกแตกและบานออกคล้ายกลีบดอกไม้ สปอร์เกิดอยู่ภายในส่วนที่เป็น
ทรงกลม เมื่ออ่อนผ่าดูเนื้อข้างในมีลักษณะหยุ่นและอ่อนนุ่ม เมื่อแก่มีลักษณะเป็นฝุ่นผง ดอกเห็ดอาจเกิดบน
ดินหรือบนไม้
8
12. กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นก้านยาว (Stalked Puffballs) ดอกเห็ดทรงกลมคล้ายกับกลุ่มเห็ดลูกฝุ่น แต่มี
ก้านยาวชัดเจน ปลายก้านสิ้นสุดที่ฐานของรูปทรงกลม สปอร์เป็นฝุ่นผงอยู่ภายในรูปทรงกลม มักพบขึ้นบน
ทราย หรือบนดินในที่รกร้าง
13. กลุ่มเห็ดรังนก (Bird’s nest fungi) ดอกเห็ดมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1
เซนติเมตร รูปร่างคล้ายรังนกและมีสิ่งที่คล้ายไข่รูปร่างกลมแบนวางอยู่ภายใน ภายในไข่เต็มไปด้วยสปอร์ ดอก
เห็ดนี้เมื่อยังอ่อนด้านบนของรังมีเนื้อเยื่อปิดหุ้ม พบขึ้นบนไม้ผุ
14. กลุ่มดอกเห็ดเขาเหม็น (Stinkhorns) ดอกเห็ดเมื่ออ่อนรูปร่างคล้ายไข่ ต่อมาส่วนของก้านค่อยๆ
โผล่ดันเปลือกหุ้มจนแตกออก ส่วนที่คล้ายเปลือกไข่กลายเป็นถุงหรือถ้วยหุ้มโคนดอกด้านบน ส่วนปลายก้าน
อาจมีหรือไม่มีหมวก ก้านมีลักษณะพรุนและนิ่มมาก อาจมีร่างแหปกคลุมก้านที่โผล่ออกมาจากเปลือกคล้าย
หนวดปลาหมึก หรือพองเป็นช่อโปร่งคล้ายลูกตะกร้อ สปอร์เป็นเมือกสีเข้มฉาบอยู่ ดอกเห็ดมีกลิ่นเหม็นมาก
ขึ้นบนดินที่มีซากพืชทับถมหนา
2.4 การวินิจฉัยกลุ่มเห็ด
เมื่อได้ตัวอย่างเห็ดมาจากภาคสนามให้นามาจัดจาแนกในเบื้องต้นโดยใช้กุญแจการจาแนกตามกุญแจ
จาแนกเห็ดกลุ่มที่สาคัญอย่างง่าย (Key to Major Groups of Fungi) (กิตติมา ด้วงแค, 2551)
1 ก. ดอกเห็ด (Fruiting body or mushroom) มีหมวก (Cap or pileus) แบบครีบ (gills) มีรูพรุน
(pores) ครีบเป็นสัน (blunt ridge) คล้ายฟัน (teeth) อาจมีก้านดอก (stalk or stem) หรือไม่มีก้านดอก
______________________________________________________________________________ 2
ข. ดอกเห็ดเป็นแบบทรงกลม (puffball) แตกเป็นแฉกคล้ายดาวดิน (earthstar) แบบรังนก (bird's nest)
มีกลิ่นเหม็น (stinkhorn) แบบปะการัง (coral-shaped) รูปถ้วย (cup-shaped) รูปคล้ายผลของ
ไม้สนเขา (pine cone) คล้ายวุ้น (jelly-like)
______________________________________________________________________________ 6
2 ก. หมวกเห็ดมีครีบ (gill) มีก้านดอก (stalk) หรือไม่มีก้านดอก ________________________________
_________________________ เห็ดนิ่ม – Agarics
ข หมวกเห็ดเป็นสัน (ridge) มีรูพรุน (pores) หรือรูปฟัน (teeth) มีก้านดอกหรือไม่มีก้านดอก
______________________________________________________________________________ 3
3 ก. หมวกมีครีบลักษณะเป็นสันทื่อ (blunt) สันมีลักษณะขยุกขยิก (irregular ridge) มีก้านดอก
________________________________ เห็ดแตร – Cantharelles
ข. หมวกเห็ดมีรูพรุน (pores) หรือลักษณะคล้ายฟัน (teeth) มีก้านดอก หรือไม่มีก้านดอก
______________________________________________________________________________ 4
9
4 ก. หมวกเห็ด (cap) มีลักษณะเป็นฟัน (teeth) มีก้านดอก ถ้าไม่มีก้านดอกจะขึ้นอยู่กับต้นไม้หรือ
เนื้อไม้ (wood) ______________________ เห็ดหนาม - Teeth fungi
ข. หมวกเห็ดมีรูพรุน (pores) ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน (ground) หรือขึ้นอยู่กับไม้ _______________________ 5
5 ก. หมวกเห็ดสดนุ่มมีรูพรุน (pores), ขึ้นอยู่ดอกเดี่ยว ๆ มีก้านดอกอยู่กึ่งกลางหมวกเห็ด
(central stalk) ขึ้นอยู่บนดิน (ground) _____________ เห็ดตับเต่า – Boletes
ข. หมวกมีรูพรุน (pores) เหนียวคล้ายหนังถึงแข็งคล้ายไม้ (leatherto woody) ถ้าดอกเห็ดสดนิ่ม
จะมีก้านดอกไม่อยู่กึ่งกลางหมวก (stalk eccentric) ก้านดอกอาจติดชิดกับก้านดอกอื่น หรือไม่มี
ก้านดอก ปกติมักขึ้นอยู่กับไม้ _____________________ เห็ดกระด้าง – Polypores
6 ก. ดอกเห็ดมีถุงสปอร์ (spore sacs) รูปร่างกลม (round) ถึงรูปไข่ (oval) หรือมีลักษณะคล้ายรูปลูก
แพร์ (pear) ลูกชมพู่ หรือคล้ายแก้วก้นแบน (flask-shaped) รูปดาวเป็นแฉก (star-shaped) มีถุงสปอร์
อยู่ตรงกลาง หรือรูปร่างคล้ายรังนก (bird's nests) เล็ก _________________________เห็ดรังนก เห็ดดาว
ดิน เห็ดกลม -Bird's nests, Earthstars และ Puffballs
ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น
____________________________________________________________________________ 7
7 ก. ก้านดอก (stalk) มีสีเขียว เป็นเมือก (slimy top) เปราะหักง่าย (fragile) มีกลิ่นไม่พึงปรารถนา
(disagreeable odor) ฐานดอก (base) จะหุ้มด้วยปลอก (volva) ______________________________
________________________________________ เห็ดหนวดเหม็น - Stinkhorn
ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น
_____________________________________________________________________________ 8
10
8 ก. ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายปะการัง(coral) ขึ้นอยู่เดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม มีปริมาณมาก รูปร่างคล้าย
นิ้วมือ (fingers)บางทีมีฐานรอบกลุ่ม(massive base) _ เห็ดปะการัง - Coral fungi
ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น
_________________________________________________________________________ 9
9 ก. ดอกเห็ดคล้ายกับผลของลูกสนเขา (pine-shaped top) มีสัน (ridge) และรู (pits) และมีก้านดอก
อยู่กึ่งกลางดอก (central stalk) หรือมีลักษณะขยุกขยิกถึงเรียบ บางทีมีลักษณะคล้ายอานม้า (saddle
shaped top) และมีก้านดอกอยู่กึ่งกลาง ________________________________________________
เห็ดมันสมอง - True morels และ False morels
ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น ________________________________________________________ 10
10 ก. ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายถ้วย (cup-shaped) รูปร่างคล้ายโถหรือแจกัน (urn-shaped) หรือมีก้น
กลม (flattened disc) ขึ้นบนพื้นดิน (on ground) หรือมีรูปร่างแตกต่างออกไป ______________เห็ดถ้วย
เห็ดลิ้นพสุธาและเห็ดสัมพันธมิตร - Cup fungi Earth tongues and allies
ข. ดอกเห็ดมีลักษณะคล้ายวุ้น (jelly-like) มีสีขาว เหลือง ถึงสีน้าตาลเข้ม หรือสีน้าตาลดา
ขึ้นบนไม้ (wood) _______________________________________________ เห็ดวุ้น - Jelly fungi
สารเคมีที่ใช้ในการทดสอบปฏิกริยา
การวินิจฉัยเห็ดต้องอาศัยสารเคมีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ Lactophenol cotton
blue, Melzer’s reagent และ Potassium Hydroxide (KOH) สารเคมีแต่ละชนิดใช้ทดสอบและเกิด
ปฏิกริยาที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้
Lactophenol Cotton Blue
ส่วนประกอบและการเตรียม ละลาย 50 % ของสารละลาย cotton blue (1 มิลลิกรัมcotton blue
ในน้า 99 มิลลิลิตร) ลงในกรดแลกติก (lactic acid) 100 กรัม phenol 100 กรัม กลีเซอรีน(glycerine) 100
มิลลิลิตร ในน้า (50 มิลลิลิตร) ใช้เพื่อย้อมสีผนังของเชื้อรา และสิ่งประดับให้สังเกตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สาหรับผนัง
หรือสิ่งประดับด้านนอกของสปอร์ที่ติดสีย้อม และเกิดความแตกต่างอย่างเด่นชัดกับผนังสปอร์ด้านใน เรียก
สปอร์ที่มีลักษณะนี้ว่า Cyanophilous (Largent, 1977)
11
Melzer’s reagent
ส่วนประกอบและการเตรียม เติมไอโอดีน (Iodine) 1.5 กรัม โพแทสเซียมไอโอไดด์ (Potassium-
Iodine) 5.0 กรัม และ Chloral Hydrate 100 กรัม (มิลลิลิตร) ลงในน้า 100 มิลลิลิตร จากนั้นนาไปอุ่นให้
ร้อนแต่ไม่ให้เดือด จนส่วนผสมดังกล่าวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน สีย้อมประเภทนี้ก่อให้เกิดปฏิกริยา 3 ประเภทโดย
ดูจากปฏิกริยาการเปลี่ยนสีของผนังเซลล์ที่ทาการศึกษา (Largent, 1977)
1. เปลี่ยนเป็นสีน้าเงินถึงสีดา เรียก Amyloid reaction
2. เปลี่ยนเป็นสีน้าตาล ถึงสีน้าตาลปนแดง เรียก Dextrinoid reaction หรือ Pseudoamyloid
reaction
3. ไม่มีการเปลี่ยนสี เรียก Inamyloid reaction สิ่งที่นามาตรวจสอบเห็นเป็นสีเหลือง หรือใสไม่มีสี
Potassium Hydroxide (KOH) ความเข้มข้นที่นิยมใช้คือ 3 – 5 เปอร์เซนต์ ใช้บ่อยเวลาเมื่อต้องการนาเอา
ตัวอย่างแห้งกลับมาศึกษาใหม่ เพราะ KOH จะช่วยให้เส้นใยของดอกเห็ดดูดน้าได้ดีขึ้น (Largent,1977) และ
ใช้ในการทดสอบการเปลี่ยนสีของเนื้อเห็ดหิ้ง โดยถ้าเนื้อของเห็ดหิ้งเปลี่ยนเป็นสีน้าตาลปนดา หรือสีดา เรียก
ปฏิกริยานี้ว่า Xanthochronic reaction (Ryvarden and Johansen, 1980)
เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว สามารถตรวจสอบหาชนิด ตามกุญแจ (Keys) และข้อมูลชนิด
(Monographs of species descriptions) ตามเอกสารดังต่อไปนี้ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน 2539; อนิวรรต
และคณะ 2541ก; อนิวรรต และคณะ 2541ข; Chalermpongse, 1997 เป็นต้น
2.5 การเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่
ในการเก็บเห็ดและราขนาดใหญ่ชนิดสดจะต้องคานึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บตัวอย่าง
ซึ่งปกติควรจะอยู่ในช่วงฤดูฝน สถานที่และแหล่งที่ไปหาเก็บตัวอย่าง ควรเป็นที่มีอากาศชื้นและมีแสงแดดแผ่
กระจายไปถึง ดังนั้นบริเวณที่เป็นป่าไม้จัดว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการไปหาและเก็บตัวอย่างเห็ดรา ต้อง
รู้จักสังเกตแหล่งที่อยู่อาศัยที่เห็ดและราชอบขึ้น ได้แก่บนดินที่มีอินทรียวัตถุสูง หรือมีเศษใบไม้กิ่งไม้เน่าเปื่อยผุ
พัง บนกิ่งไม้ ท่อนไม้ ตอไม้ผุพัง หรือบนต้นไม้ที่ยังมีชีวิต บางกลุ่มชอบขึ้นอยู่ตามมูลสัตว์ต่าง ๆ บางกลุ่มชอบ
ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้าธรรมชาติ ลาธาร เป็นต้น
ในการเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่นั้น ถ้าเป็นไปได้ควรจะเก็บทุกระยะการเจริญเติบโต เพื่อให้
ทราบถึงการเจริญในแต่ละระยะของเห็ดและราขนาดใหญ่ รวมถึงการสังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสี
บางชนิดที่พบขึ้นอยู่ตามพื้นดิน ไม่ควรจะดึงขึ้นมาทันทีเพราะจะทาให้เกิดความเสียหายได้ง่าย ควรจะขุดและ
เก็บตัวอย่างด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีส่วนของราที่เจริญลึกลงไปในดิน ถ้าเป็นตัวอย่างที่พบบนท่อนซุง
หรือท่อนไม้ผุพังควรใช้มีดแซะที่บริเวณโคนหรือฐานของเห็ดรานั้นๆ ให้มีชิ้นส่วนของไม้เล็ก ๆ ติดกับส่วนของ
รามาด้วย ในแต่ละตัวอย่างควรจะเก็บแยกออกจากกัน ในกรณีที่เป็นเห็ดหรือราสดและอ่อนนุ่มควรเก็บในขวด
เก็บตัวอย่าง ในแต่ละตัวอย่างที่เก็บได้นั้นควรเขียนชื่อผู้เก็บ สถานที่เก็บ วันเดือนปีที่เก็บ เมื่อเดินทางกลับจาก
เก็บตัวอย่างเห็ดราแล้ว ควรนาเข้าตรวจสอบในห้องปฏิบัติการทันที ทาการวินิจฉัยและจัดจาแนกหมวดหมู่
เพื่อให้ชื่อวิทยาศาสตร์ (sciencetific name) ของรานั้น ควรจะเขียนบันทึกรายละเอียดของลักษณะต่างๆ ไว้
เนื่องจากเห็ดและราขนาดใหญ่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาด และสีเป็นต้น
อุปกรณ์ในการเก็บและสารวจตัวอย่าง
1. มีด (ใช้ฝานออกจากบริเวณที่ขึ้น) หรือ กรรไกรตัดกิ่ง (สาหรับตัวอย่างที่อยู่บนกิ่งไม้ขนาดเล็ก)
2. กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือ กระดาษไขห่อผลไม้ หรือ อลูมินั่มฟรอยด์แบบหนา (ใช้ห่อตัวอย่าง
ไม่ให้ปะปนกันโดยเฉพาะตัวอย่างขนาดใหญ่)
12
3. กล่องเก็บตัวอย่างเห็ด หรือ ตะกร้าเก็บตัวอย่าง (สาหรับป้องกันไม่ให้ตัวอย่างเกิดการกดทับ)
4. เลนส์ขยาย (สาหรับส่องดูรายละเอียดของตัวอย่าง เช่น บริเวณผิวเป็นต้น)
5. กล้องถ่ายรูป (สาหรับบันทึกบริเวณถิ่นอาศัย และ สีสัน)
6. สมุดบันทึก/ดินสอ/ปากกา (เพื่อบันทึกข้อมูลเบื้อต้นในธรรมชาติ)
7. คู่มือจาแนกชนิดของเห็ด
การเก็บเห็ดและราขนาดใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้
1. เก็บตัวอย่างดอกเห็ดแต่ละชนิดหลาย ๆ ขั้นตอนของการพัฒนาเป็นดอกเห็ด และเก็บให้ได้
ส่วนประกอบทุกส่วนด้วย
2. เก็บดอกเห็ดแต่ละชนิดใส่ห่อแยกกัน เพื่อป้องกันการปะปนกันของสปอร์ สาหรับเห็ดที่มีความ
อ่อนนิ่มและเน่าเสียได้ง่ายนิยมใช้กระดาษห่อ เช่น กระดาษไข หนังสือพิมพ์ กระดาษอลูมินั่มฟลอยด์แบบหนา
(ใช้ห่อไก่อบ) หรือ กระดาษสองด้านใช้แล้ว เป็นต้น ส่วนเห็ดที่มีโครงสร้างแข็งและเน่าเสียได้ยากนิยมใช้
ถุงพลาสติกห่อ
3. บันทึกชนิดเห็ด โดยให้รหัสและหมายเลขกากับ สถานที่ที่พบ และสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่ การบันทึกข้อมูล
ต่างๆ มีความจาเป็นสาหรับการจัดจาแนก ข้อมูล ขนาด สี ผิว รูปร่าง และสิ่งยึดอาศัย เป็นข้อมูลสาคัญ
ในการบันทึก โดยเฉพาะสี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในภายหลังจึงต้องทาการบันทึก นอกจากนั้น ยังนิยมนา
เห็ดดังกล่าวมาวาดภาพ และ บันทึกภาพแบบละเอียดอีกครั้งภายในห้องปฏิบัติการ
3. สังเกตและจดบันทึกลักษณะต่าง ๆ ของเห็ดที่อยู่ไม่คงทน ของเหลวที่ปรากฏออกมาเมื่อดอกเห็ด
ฉีกขาด การเปลี่ยนสีของส่วนต่าง ๆ หรือสีของรอยช้า เป็นต้น
4. บันทึกข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้นไม้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับเห็ดที่ขึ้นอยู่บนดิน ประเภทของ
ป่าที่พบเห็ด นิสัยการเจริญของดอกเห็ด พร้อมบันทึกภาพดอกเห็ดที่เจริญอยู่ตามธรรมชาติ
5. หลังจากนาเห็ดมาถึงที่พัก ต้องบรรยายลักษณะภายนอกที่เห็นด้วยตาเปล่าของดอกเห็ด วัดขนาด
ของส่วนประกอบต่าง ๆ ทารอยพิมพ์สปอร์ และถ่ายภาพตัวอย่างเห็ดในระยะใกล้ (close up) อีกครั้งหนึ่ง
6. นาตัวอย่างเห็ดใส่ในขวดพลาสติก ใส่สารดูดความชื้น (silica sand) เพื่อนากลับไปวินิจฉัยชนิดใน
ห้องปฏิบัติการต่อไป
การทารอยพิมพ์สปอร์ (spore print)
ในการเก็บตัวอย่างควรทาการพิมพ์สปอร์ (spore print) ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทาได้เพื่อดูลักษณะของสี
สปอร์ซึ่งเป็นข้อมูลที่สาคัญและสามารถนาสปอร์ที่ได้นั้นไปศึกษาลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยเลือกดอก
เห็ดที่โตเต็มที่และยังสดอยู่มา 1 ดอก ใช้ใบมีดที่คมตัดส่วนหมวกออกจากก้าน แล้วคว่าหมวกเห็ดลงบน
กึ่งกลางของแผ่นกระดาษที่ข้างหนึ่งเป็นสีดาและอีกข้างหนึ่งเป็นสีขาว จากนั้นนาจานแก้วหรือถ้วยแก้วมา
ครอบหมวกเห็ด ทิ้งไว้หลาย ๆ ชั่วโมงหรือทิ้งไว้ข้ามคืน เพื่อให้สปอร์ที่อยู่บนครีบของดอกเห็ดตกลงบน
แผ่นกระดาษ ยิ่งทิ้งไว้นานยิ่งได้รอยพิมพ์ของสปอร์ที่หนาและสีสปอร์ที่ชัดเจน และยังช่วยให้ความถี่ ห่างใน
การเรียงตัวของครีบด้วยสีสปอร์ที่อ่อนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนบนกระดาษสีดา ส่วนสปอร์ที่สีเข้ม เช่น สีดา
สีเทา สีน้าตาล มองเห็นได้ชัดเจนบนกระดาษสีขาว สาหรับการบอกสีสปอร์ให้ใช้รอยพิมพ์สปอร์ที่หนา ซึ่งอยู่
บนกระดาษสีขาว ภายใต้แสงธรรมชาติ สีของรอยพิมพ์สปอร์แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มสีขาวหรือสีอ่อน
ได้แก่ สีขาว สีครีม สีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองและสีเขียวอ่อน กลุ่มสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูแก่และน้าตาลอม
ชมพู กลุ่มสีน้าตาลปนเหลืองจนถึงสีนาตาลและน้าตาลปนแดงหรือสีสนิมเหล็ก กลุ่มสีน้าตาลปนม่วงจนถึงสี
น้าตาลปนสีชอคโกแลต และกลุ่มสีเทาปนดาจนถึงสีดา (อนงค์ จันทร์ศรีกุล พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ และ
อุทัยวรรณ แสงวณิช, 2551)
13
การเก็บและรักษาตัวอย่าง
การสะสมและเก็บรักษาตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่ด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนา
ตัวอย่างไปศึกษาอย่างไร หากต้องการจาแนกชนิด ควรรีบสารวจลักษณะ รายละเอียดให้เร็วที่สุดในขณะที่ยัง
สดอยู่ พร้อมทั้งเก็บรักษาตัวอย่างให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อนากลับไปศึกษายังห้องปฏิบัติการโดย
ละเอียดอีกครั้ง ถ้ามีตัวอย่างมากพอควรแบ่งตัวอย่างรักษาไว้ในฟอร์มาลีน 10% และตัวอย่างที่เหลือควร
นาไปอบหรือผึ่งแดดให้แห้งโดยเร็วเพื่อเก็บรวบรวมไว้ศึกษา เพื่อป้องกันการทาลายตัวอย่างที่แห้งแล้ว ใน
เบื้องต้นควรนาตัวอย่างแช่ในฟอร์มาลีนก่อนที่จะนาไปอบหรือผึ่งให้แห้ง
การเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่ที่มีสี (colored fungi) โดยใช้น้ายาดองในการเก็บรักษาได้ดังต่อไปนี้
สูตรที่ 1 น้ายาดองซึ่งสีไม่ละลายในน้า มีส่วนผสมดังนี้
เมอร์คิวริค อะซิเตท (mercuric acetate) 10 กรัม
เซียล อะซีติค แอซิด (glacial acetic acid) 5 มล.
น้ากลั่น 1,000 มล.
สูตรที่ 2 น้ายาซึ่งสีละลายในน้า มีส่วนผสมดังนี้
เมอร์คิวริค อะซิเตท 1 กรัม
นิวทรัล ลีด อะซิเตท (neutral lead acetate) 10 กรัม
กลาเซียล อะซีติค แอซิด 10 มล.
แอลกอฮอล์ 90% (ethanol) 1,000 มล.
สูตรที่ 3 น้ายาซิงค์ซัลเฟต (zinc sulphate) มีส่วนผสมดังนี้
ซิงค์ซัลเฟต 25 กรัม
ฟอร์มัลดีไอด์ (formaldehyde) 10 มล.
น้ากลั่น 1,000 มล.
การเก็บตัวอย่างในลักษณะแห้ง (herbaria)
จัดว่าเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้เก็บรักษาที่ถาวรวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนาไปใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง และ
เก็บรักษาไว้เพื่อศึกษารายละเอียดต่อไปได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่การนากลับมาใช้ใหม่ หรือการศึกษาในลักษณะ
อื่น ๆ ฉะนั้นแต่ละตัวอย่างที่ได้ศึกษาไปแล้วจึงควรเก็บรักษาไว้อย่างดีเพื่อใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบต่อไป ใน
การทาตัวอย่างแห้ง (herbarium specimen) ของเห็ดและราขนาดใหญ่โดยการผึ่งแดดหรืออบแห้ง วิธีการทา
ให้แห้งมีหลายวิธี เช่น ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ หรือใช้เครื่องอบแห้ง อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส
ก่อนที่จะเก็บไว้ในกล่องเก็บตัวอย่าง แล้วทาฉลากหรือป้าย (lebels) แสดงชื่อผู้เก็บ สถานที่ วันเดือนปีที่เก็บ
ระบุวัสดุรองรับที่เป็นอาหาร (substrate) สิ่งอาศัย (host) หรืออื่น ๆ ห้องเก็บตัวอย่างแห้งควรจะรมด้วย
สารเคมี โดยใช้ด่างทับทิมผสมกับฟอร์มาลีนเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการปนเปื้อนจาก
จุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงป้องกันการเข้าทาลายของไรและแมลงต่าง ๆ และอาจใช้ลูกเหม็น (naphthalene
balls) วางไว้ตามชั้นที่เก็บกล่องตัวอย่างเพื่อป้องกันความเสียหายจากแมลง (เกษม สร้อยทอง, 2537)
14
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่

More Related Content

What's hot

โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วงโครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วงchanon leedee
 
มัธยฐาน F
มัธยฐาน  Fมัธยฐาน  F
มัธยฐาน FBangon Suyana
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...ssuser858855
 
โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์Nomjeab Nook
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศPa'rig Prig
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์Aomiko Wipaporn
 
ตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็คtumetr1
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1Green Greenz
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนWichai Likitponrak
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์Srinthip Chaiya
 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4Tatthep Deesukon
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย Thitaree Samphao
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58renusaowiang
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)Napadon Yingyongsakul
 
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกโครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกพัน พัน
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตsripayom
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดBio Beau
 

What's hot (20)

โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วงโครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
มัธยฐาน F
มัธยฐาน  Fมัธยฐาน  F
มัธยฐาน F
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์โครงงานคณิตศาสตร์
โครงงานคณิตศาสตร์
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
 
ตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ เล่มโปรเจ็ค
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 1
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
 
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกโครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
 

Similar to รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่

รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1Sircom Smarnbua
 
Heritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54scienceHeritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54sciencefaiiz011132
 
Hibiscus herbarium group7 room333
Hibiscus herbarium group7 room333Hibiscus herbarium group7 room333
Hibiscus herbarium group7 room333PakananKhlibthong
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ThanyapornK1
 
เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒
เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒
เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒cherdpr1
 
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น dentyomaraj
 
Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341PiriyaT
 
Herbarium g8 825 starfruit
Herbarium g8 825 starfruitHerbarium g8 825 starfruit
Herbarium g8 825 starfruitJinjuthaSaeung
 
กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3
กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3
กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3ปรัชญา จันตา
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงานduckbellonly
 

Similar to รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่ (20)

ตารางการนำเสนอโครงงาน
ตารางการนำเสนอโครงงานตารางการนำเสนอโครงงาน
ตารางการนำเสนอโครงงาน
 
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
รายงานโครงการเห็ดสุดยอดผู้ย่อยสลายสายสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2557ศพว 1
 
Heritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54scienceHeritage ok 05-01-54science
Heritage ok 05-01-54science
 
Hibiscus herbarium group7 room333
Hibiscus herbarium group7 room333Hibiscus herbarium group7 room333
Hibiscus herbarium group7 room333
 
931 pre7
931 pre7931 pre7
931 pre7
 
Herbarium room 332 group 5
Herbarium room 332 group 5Herbarium room 332 group 5
Herbarium room 332 group 5
 
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334 ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
ต้นเข็ม Ixora กลุ่ม 5 ห้อง334
 
342 pre6(1)
342 pre6(1)342 pre6(1)
342 pre6(1)
 
เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒
เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒
เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒
 
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
 
Herbarium g8 825
Herbarium g8 825Herbarium g8 825
Herbarium g8 825
 
ป.5
ป.5ป.5
ป.5
 
Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341Herbarium กลุ่ม 3 341
Herbarium กลุ่ม 3 341
 
Herbarium g8 825 starfruit
Herbarium g8 825 starfruitHerbarium g8 825 starfruit
Herbarium g8 825 starfruit
 
กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3
กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3
กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ป.3
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
Herbarium
HerbariumHerbarium
Herbarium
 
ป.4
ป.4ป.4
ป.4
 
Plant ser 125_60_8
Plant ser 125_60_8Plant ser 125_60_8
Plant ser 125_60_8
 
Ixora group 5/334
Ixora group 5/334Ixora group 5/334
Ixora group 5/334
 

More from Sircom Smarnbua

1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกดSircom Smarnbua
 
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา20152โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015Sircom Smarnbua
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2Sircom Smarnbua
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1Sircom Smarnbua
 
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...Sircom Smarnbua
 
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อSircom Smarnbua
 
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือSircom Smarnbua
 
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอนSircom Smarnbua
 
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดรายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดSircom Smarnbua
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2Sircom Smarnbua
 
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีSircom Smarnbua
 
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีSircom Smarnbua
 
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558Sircom Smarnbua
 
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...Sircom Smarnbua
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...Sircom Smarnbua
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1Sircom Smarnbua
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558Sircom Smarnbua
 

More from Sircom Smarnbua (20)

1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
1หนังสือส่งเสริมการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระ อะ เมื่อมีตัวสะกด
 
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา20152โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
2โปสเตอร์เห็ดเป็นยาในดอนปู่ตา2015
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v2
 
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
โปสเตอร์เห็ดกินได้ใต้ร่มไม้วงศ์ยาง 2016 v1
 
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
รายงานโครงงานวิทย์ เรื่อง การสำรวจและเพาะเลี้ยงบึ้งขายาว (Haplopelma longipes...
 
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
 
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
2ภาคผนวก ข วิธีการเครื่องมือ
 
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
1 ภาคผนวก ก ภาพนักสำรวจ 4 ขั้นตอน
 
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดรายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
 
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
4 พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา
 
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
3 แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยา
 
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
บันทึกหน่วยการเรียนรู้ วิชาเคมี (ว30223) 2/2558
 
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เถ้าธรรมชาติเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Biodie...
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว40223acids base1
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2  2558
เอกสารประกอบการเรียนรู้ ว 30222 เคมี2 2558
 

รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2015 เผยแพร่

  • 2. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง : ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา โดย 1. นางสาวพัชรินทร์ ศรีวิเศษ 2. นางสาวไพริน ทิพนัด 3. นายสุธิพงษ์ สีลาโส ครูที่ปรึกษา 1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน 2. นางธีร์กัญญา พลนันท์ โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • 3. โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง : ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา ประเภท วิทยาศาสตร์กายภาพ  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชื่อเจ้าของโครงงาน 1. นางสาวพัชรินทร์ ศรีวิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2. นางสาวไพริน ทิพนัด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3. นายสุธิพงษ์ สีลาโส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ปรึกษาโครงงาน 1. นายศิริวุฒิ บัวสมาน เบอร์โทรศัพท์ 08-9573-7764 e-mail. siricom4@gmail.com 2. นางธีร์กัญญา พลนันท์ เบอร์โทรศัพท์ 08-7265-8200 e-mail. east_teeganya@hotmail.com โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด บทคัดย่อ โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ด ความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศและวิถีชุมชนในดอนปู่ตา สาธารณประโยชน์ ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีพื้นที่ 33 ไร่ โดยสุ่มสารวจ 3 บริเวณ คือ แปลงที่ 1 (ป่าดิบแล้ง) แปลงที่ 2 (ป่าเต็งรัง) และแปลงที่ 3 เส้นทางเดิน (ป่าดิบแล้ง) ในดอนปู่ตาฯ โดยวางแปลง ขนาด 40x40 ตารางเมตร โดยใช้กระบวนการนักสารวจแห่งท้องทุ่ง จากการสารวจเห็ดตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จานวน 7 ครั้ง ปรากฏว่า พบเห็ดทั้งสิ้น 30 วงศ์ จานวน 167 ชนิด จาแนกชื่อได้ 103 ชนิด (61.68%) และจาแนกชื่อไม่ได้ 64 ชนิด (38.32%) วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ Agaricaceae (20.00%) เห็ดที่พบมากที่สุดคือ เห็ดโคนปลวกข้าวตอก เห็ดตะไคลหน้าเขียว และเห็ดหน้าม่วง ตามลาดับ บริเวณที่พบเห็ดปริมาณมากที่สุด คือ แปลงที่ 3 เส้นทางเดิน (ป่าดิบแล้ง) (49.54%) แต่เห็ดกินได้จะพบในแปลงที่ 2 (ป่าเต็งรัง) มากกว่าแปลงที่ 1 และ 3 (ป่าดิบแล้ง) เห็ดกินได้ ส่วนมากพบอยู่ในวงศ์ Russulaceae และวงศ์ Amanitaceae พบความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา 4 รูปแบบ คือ 1)ย่อยสลาย/ย่อยซากพืช (62.88%) 2) พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับรากไม้ (20.36%) 3)ปรสิต/ก่อ โรค (12.57%) และ 4) พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับปลวก (4.19%) พบเห็ดที่สามารถรับประทานได้จานวน 48 ชนิด (28.74%) เป็นยา 20 ชนิด (11.98%) เห็ดพิษ 9 ชนิด (5.39%) และไม่มีข้อมูล 90 ชนิด (53.89%) แหล่ง อาศัยของเห็ดพบบนพื้นดินมากที่สุด 96 ชนิด (57.48%) พบการเจริญของดอกเห็ดแบบเดี่ยวหรือกลุ่มมากที่สุด 76 ชนิด (45.51%) เดือนที่พบชนิดเห็ดมากที่สุดคือ สิงหาคม พบความสัมพันธ์ของเห็ดกับต้นไม้หลายชนิด เช่น ต้น ยางเหียง(ซาด) และต้นเต็ง(จิก) มักพบเห็ดกินได้หลายชนิด และพบความสัมพันธ์ของเห็ดกับวิถีชุมชน โดยเห็ดเป็น แหล่งอาหาร ยาและแหล่งรายได้ของชาวบ้าน ส่วนการอนุรักษ์เห็ด คือ ไม่เก็บเห็ดที่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ช่วยกัน อนุรักษ์ป่าไม้ ปลูกต้นไม้ที่ทาให้เกิดเห็ด เช่น ยางนา เพื่อให้ลูกหลานได้มีเห็ดกินในอนาคต สาหรับการแบ่งปัน ได้ เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น face book มีการแต่งเพลงเห็ดป่าดอนปู่ตา และสรภัญญะเห็ดอีกด้วย คาสาคัญ : เห็ด, ดอนปู่ตา ก
  • 4. กิตติกรรมประกาศ รายงาน เรื่อง “ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตา” นี้ เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของเห็ด ความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศและวิถีชุมชนในดอนปู่ตา สาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยนักสารวจกลุ่มพลพรรครักษ์ดอนปู่ตา โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จัดทาขึ้นเพื่อรายงานผลการการเรียนรู้ ตามกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนของนักสารวจแห่งท้องทุ่ง ได้แก่ ขั้นค้นหา ขั้นสารวจ ขั้นอนุรักษ์ และขั้น แบ่งปัน ขอขอบพระคุณ ท่านพัชรินทร์ หยาดไธสง ผู้อานวยการโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา ที่ อนุญาตและอานวยความสะดวกในการศึกษา ขอขอบพระคุณ คุณครูศิริวุฒิ บัวสมาน และคุณครูธีร์ กัญญา พลนันท์ ซึ่งเป็นครูที่ปรึกษาให้คาแนะนาในการเรียนรู้เกี่ยวกับเห็ด คณะผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณะคุณครูโรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยาทุกท่าน ที่ให้กาลังใจในการสารวจ ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตรที่ให้การอบรม ดูแลและให้คาแนะนา ให้ กาลังใจในการทางานนักสารวจอย่างสม่าเสมอ ขอขอบพระคุณ นายกองค์การบริหารส่วนตาบลสวนจิก คุณทองรัก สุทธิบาก กานันตาบลสวนจิก และคุณจรูญ ศรีทอง ผู้ใหญ่บ้านสวนจิก ที่อนุญาตให้เข้าศึกษาใน ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก ขอขอบพระคุณคุณยายทองจันทร์ มงคลมะไฟ และคุณยายจงกล พันชวะนัส ที่แนะนาเกี่ยวกับเห็ด คุณตาสุข พันโภคา ที่แนะนาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรแก้พิษเห็ด คุณพ่อเรือง วิลัยพิทย์ ที่แนะนาเกี่ยวกับชื่อของต้นไม้และประโยชน์ ดร.ขวัญเรือน พาป้อง และภัณฑารักษ์ คุณบุษยา มูลศรีแก้ว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มี ฤทธิ์ทางยา ผศ.ดร.อุทัยวรรณ แสงวณิช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่แนะนาความรู้เกี่ยวกับเห็ดและตรวจ แก้บทคัดย่อ ขอขอบพระคุณบรรณารักษ์ หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่อนุญาตให้เข้าสืบค้นหนังสือ เกี่ยวกับเห็ด และขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องมา ณ โอกาสนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้ คงมีประโยชน์หรือเป็นแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเห็ดในท้องถิ่น ต่อไป และหวังว่าคงมีผู้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คณะผู้จัดทา ข
  • 5. สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค บทที่ 1 บทนา 1 1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 2 1.4 นิยามศัพท์ 2 1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ 2 บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3 2.1 ข้อมูลทั่วไปของเห็ด 3 2.2 บทบาทของเห็ดที่อยู่ตามธรรมชาติ 5 2.3 การจาแนกเห็ด 6 2.4 การวินิจฉัยกลุ่มเห็ด 9 2.5 การเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่ 12 2.6 เห็ดพิษและอาการเมื่อรับประทานเข้าไป 15 2.7 การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ 16 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการทดลอง 17 3.1 อุปกรณ์ สารเคมีและเครื่องมือ 17 3.2 วิธีการสารวจ/ศึกษา 19 บทที่ 4 ผลการศึกษา 24 4.1 ผลการศึกษา 24 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา 37 5.1 สรุปผลการศึกษา 37 5.2 อภิปรายผลการศึกษา 38 5.3 ข้อเสนอแนะ 39 5.4 ประโยชน์ที่ได้รับ 39 บรรณานุกรม 40 ภาคผนวก 41 ภาคผนวก ก 42-92 ค
  • 6. บทที่ 1 บทนา 1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน สังคมไทยโดยเฉพาะสังคมในชนบทยังมีการดารงชีวิตที่อิงอาศัยอยู่กับระบบนิเวศป่าไม้อยู่มาก ดังจะ เห็นได้จากบริเวณชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่า มีดอนปู่ตาซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นมีการนาเห็ดป่าออกมาเป็นอาหารและขายในลักษณะเป็นของป่า ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตาม ชนิดของเห็ด ฤดูกาล และปริมาณของเห็ดที่ออกในช่วงนั้นๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าทุกปีจะมีประชาชนตาม ต่างจังหวัดบริโภคเห็ดพิษจนทาให้เกิดอาการเจ็บป่วย บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากเกิดการเข้าใจผิด คิดว่าเป็นเห็ดชนิดที่รับประทาน วิธีการปรุงและการบริโภคไม่ถูกต้อง เป็นต้น จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นทาให้ ประชาชนเกิดความสนใจในทรัพยากรเห็ดมากยิ่งขึ้น เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรรา เป็นกลุ่มราที่มีการรวมตัวกันของเส้นใยเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถหยิบ จับ สัมผัสได้ และเป็นทรัพยากรธรรมชาติกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทหน้าที่ที่ สาคัญในระบบนิเวศป่าไม้ หากขาดสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้แล้วจะส่งผลให้ระบบนิเวศป่าไม้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดไป จากปกติ อาจส่งผลให้ความหลากชนิดของสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นๆ อยู่ในภาวะไม่สมดุลได้ ประโยชน์ของเห็ดเป็นที่ ทราบดีอยู่แล้วว่าสามารถนามาใช้ได้หลายช่องทาง เช่น เห็ดที่รับประทานได้ เห็ดสมุนไพร เป็นต้น เห็ดนอกจากจะมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศและมนุษย์แล้วก็ยังมีโทษอยู่ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ เห็ดบางชนิดที่ ขึ้นอยู่บนไม้ที่เป็นโครงสร้างต่างๆ ที่ต้องการความคงทน เมื่อเห็ดไปเจริญขึ้นโครงสร้างดังกล่าวจะเสื่อมและผุ ทาให้เสียหายได้ และโทษอีกประการหนึ่งที่ได้รับความสนใจมาเป็นเวลานาน แม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังคงได้รับ ความใส่ใจเป็นพิเศษ นั่นก็คือ เห็ดพิษ ซึ่งเป็นกลุ่มเห็ดที่สร้างสารพิษขึ้นมาด้วยตัวเอง ลักษณะอาการที่เกิดจาก พิษเห็ดโดยทั่วไป ได้แก่ ท้องร่วง คลื่นเหียน อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น จากการที่กลุ่มของพวกเราได้ตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นมาชื่อว่า “พลพรรครักษ์ดอนปู่ตา” ได้ร่วมกันศึกษา เรื่อง “ดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน” ได้ศึกษาเรียนรู้ความเชื่อ พิธีกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการอนุรักษ์ป่าชุมชน และได้ศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเบื้องต้นในดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า มี สิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิด เช่น ต้นไม้ นก แมลง และเห็ด อันเป็นผลมาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในการอนุรักษ์ดอนปู่ตาแห่งนี้เอาไว้ ดังนั้น กลุ่มของพวกเราจึงต้องการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดอนปู่ตา โดยศึกษาเฉพาะ เห็ด ความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากเห็ดในป่าดอนปู่ตาของชาวบ้าน 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.2.1 เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ดในป่าดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรี สมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 1.2.2 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของเห็ดในระบบนิเวศดอนปู่ตาและความสัมพันธ์ของเห็ดกับวิถีชุมชน รอบดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 1.2.3 เพื่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน สร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์เห็ด ต้นไม้ และ ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
  • 7. 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 1.3.1 ระยะเวลาในการศึกษา : 5 เดือน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 1.3.2 พื้นที่ดาเนินการสารวจ : ดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัด ร้อยเอ็ด 1.3.3 ช่วงเวลาในการสารวจ : สารวจเฉพาะช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น. 1.4 นิยามศัพท์ 1.4.1 ดอนปู่ตา หมายถึง ป่าประจาหมู่บ้านของชาวอีสาน และเชื่อว่าเป็นสถานที่สิงสถิตดวงวิญญาณของ ปู่ ตา และถือว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ประจาหมู่บ้าน ที่ดอนปู่ตาจะมีตูบ(ศาล) ปู่ตาซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้าน จะไปทาพิธีเคารพสักการะเป็นประจาทุกปี โดยจะมีการเลี้ยงผีปู่ตาเพื่อความเป็นสิริมงคล และทานายฟ้าฝนไปด้วย ในขณะเดียวกัน โดยปกติดอนปู่ตาจะเป็นป่ารกครึ้ม มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ เนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าไปตัดไม้ หรือจับสัตว์ในป่าดอนปู่ตา เพราะเกรงกลัวปู่ตาจะทาให้มีอันเป็นไป 1.4.2 กระบวนการนักสารวจแห่งท้องทุ่ง หมายถึง กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเสริมสร้างการ เรียนรู้เรื่องราวของสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว มีขั้นตอนดาเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหา 2) สารวจ 3) อนุรักษ์ และ 4) แบ่งปัน โดยในแต่ละขั้นตอนจะช่วยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้สารวจ เรียนรู้ และใกล้ชิดกับธรรมชาติ อันจะช่วยพัฒนาศักยภาพเยาวชนในการเรียนรู้ เข้าใจและตระหนักในความสาคัญของสิ่งแวดล้อม โดยการ รวมกลุ่มกันทากิจกรรมเพื่อดูแลรักษาพื้นที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.5.1 ได้เรียนรู้วิธีการศึกษาเห็ดทั้งภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ 1.5.2 ได้ทราบถึงประโยชน์ บทบาทและความสัมพันธ์ของเห็ดป่าในระบบนิเวศดอนปู่ตา 1.5.3 ได้ทราบถึงความสัมพันธ์ของเห็ดกับวิถีชุมชนรอบดอนปู่ตาสาธารณประโยชน์ตาบลสวนจิก อาเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 1.5.4 ได้เทคนิคและวิธีการศึกษาเก็บรักษาตัวอย่างเห็ด 1.5.5 เกิดความรัก ความหวงแหน มีจิตสานึกในการอนุรักษ์เห็ด ต้นไม้ และทรัพยากรธรรมชาติใน ท้องถิ่น 2
  • 8. บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดทาโครงงานได้ศึกษาเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องโดยนาเสนอในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน ดังนี้ 2.1 ข้อมูลทั่วไปของเห็ด เห็ด หมายถึง สิ่งมีชีวิตชั้นต่าจาพวกเห็ดรา (Fungi) เจริญเติบโตเป็นเส้นใย เมื่อถึงระยะสร้างเซล สืบพันธุ์จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเรียกว่าดอกเห็ด (Fruiting body) ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกัน มากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดนั้นๆ เห็ดรามีบทบาทสาคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาป่าและการอนุรักษ์ระบบนิเวศทั้งมวลของโลก โดยเห็ดรามี อิทธิพลต่อกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุ การหมุนเวียนของธาตุอาหารที่เอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์ในระบบนิเวศต่างๆ ให้สามารถดารงชีวิตเติบโตพัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืนตลอดไป และเป็นอาหาร สาหรับมนุษย์ ซึ่งเห็ดบางชนิดยังมีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรค จึงทาให้มีการบริโภคเห็ดกันมากขึ้น เห็ดไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนพืชจึงต้องอาศัยอาหารจาก แหล่งต่างๆ ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ อินทรียวัตถุ โดยการย่อยสลายแล้วนาสารอาหารมาใช้ในการดารงชีวิต รวมทั้งต้องอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิ ความชื้น และแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอีกด้วย วงจรชีวิตของเห็ด วงจรชีวิตของเห็ดทุกชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือเมื่อดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ขึ้น ผิวดอกจะปริ แตกออกทาให้ “สปอร์” (Spores) จานวนล้านๆ จากครีบ (Gills) ปลิวออกมา เมื่อตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมก็จะงอกเป็นใยรา (hypha) และเจริญต่อไปเป็นกลุ่มใยรา (mycelium) แล้วรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เกิดเป็นดอกเห็ด (fruiting body) เมื่อดอกเห็ดเจริญเติบโตขึ้นก็สร้างสปอร์ เมื่อปลิวหรือหลุดไปตกในที่ เหมาะสมก็งอกเป็นใยรา เจริญต่อไปเป็นกลุ่มใยรา และดอกเห็ดเพื่อสร้างสปอร์หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏ จักร ภาพที่ 2.1 วงจรชีวิตของเห็ด (ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา, 2555) 3
  • 9. ภาพที่ 2.2 โครงสร้างและส่วนประกอบของดอกเห็ด (ที่มา : อุทัยวรรณ แสงวณิช, 2553) ส่วนประกอบของดอกเห็ด 1. หมวกเห็ด (pileus หรือ cap) เป็นส่วนบนของดอกเห็ดที่เจริญเติบโตไปในอากาศเมื่อเห็ด เจริญเติบโตเต็มที่จะกางออกคล้ายร่ม รูปร่างหมวกอาจแตกต่างไปจากที่กล่าวไว้ เช่น เป็นรูปกรวยลึก เป็นรูป ระฆัง ผิวด้านบนเรียบ ขรุขระ มีเกล็ด หรือมีขนอาจติดแน่นหรือฉีกขาดง่ายๆ สีหมวกอาจแตกต่างจากส่วน อื่นๆของดอกเห็ดขอบหมวกเรียบเสมอฉีกขาดกะรุ่งกะริ่ง หรือมีเส้นลายเป็นเส้นรัศมีโดยรอบบางชนิดหยักเป็น คลื่นเนื้อหมวกหนาแตกต่างกันบางชนิดเมื่อสัมผัสฉีกขาดหรือช้าจะเปลี่ยนสีได้ผิวแห้งเปียกชื้นลื่นหรือหนืดมือ หมวกของเห็ดบางชนิดอาจยึดติดกับก้านบางชนิดหลุดจากก้านได้ง่าย 2.ครีบ (lamella หรือ gill) เป็นแผ่นบางๆที่อยู่ด้านล่างของหมวกเรียงเป็นรัศมีออกไปรอบก้านบาง ชนิดเชื่อมติดกันบางตอนครีบมีความหนาบางและการเรียงระยะถี่ห่างแตกต่างกันจานวนครีบและความยาว แตกต่างกันในเห็ดแต่ละชนิดเห็ดบางชนิดครีบยึดติดแน่นกับก้านแต่บางชนิดแขวนห้อยลงมาจากเนื้อหมวก ครีบเป็นแหล่งกาเนิของสปอร์มีชั้นเยื้อกาเนิดสปอร์บุอยู่โดยรอบครีบของเห็ดบางชนิดมีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็นรูพรุน(pores) ซี่ฟัน(teeth) หรือเป็นสัน(ridges)เห็ดหลายชนิดมีซิสทิเดียม (cystidium) ที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน 3. ก้าน(stipe หรือ stalk)มีขนาดรูปร่างและสีสันแตกต่างกันตอนบนยึดติดกับหมวกหรือยึดติดกับ ครีบมีทั้งผิวเรียบขรุขระมีขนหรือมีเกล็ดบางชนิดมีวงแหวนหรือเยื่อบางๆคล้ายวงแหวนติดรอบก้านตอนบน 4
  • 10. เนื้อก้านประกอบด้วยเส้นใยหยาบที่สานกันแน่นหรือสานกันอย่างหลวมๆบางชนิดถ้าถูกตัดฉีกขาดหรือช้าจะ เปลี่ยนสีหลายชนิดมีรูกลวงตรงกลางใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ชนิดก้านที่อยู่กึ่งกลางหรือเยื้องไปทางใดทางหนึ่งบาง ชนิดไม่มีก้าน เช่น เห็ดเผาะ บางชนิดมีรากยาวหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น เห็ดโคน 4. แอนนูลัส (annulus หรือ ring) เป็นวงแหวนเหนือม่าน(veil) ที่ยึดก้านดอกและขอบหมวกไว้เมื่อ เป็นดอกอ่อนเมื่อหมวกบานเยื่อดังกล่าวจะขาดแยกจากขอบหมวกคงเหลือส่วนที่ยึดติดกับก้านเป็นวงแหวน เรียกว่า เยื้อขอบหมวก (inner veil หรือ parpial veil) เมื่อดอกโตเต็มที่แอนนูลัสของเห็ดบางชนิดบางชนิดจะ หลุดเป็นปลอก เห็ดหลายชนิดไม่มีแอนนูลัส 5. เยื่อหุ้มดอกเห็ด (volva, out veil หรือ universal veil) เป็นเยื่อชั้นนอก เมื่อดอกเห็ดเจริญขึ้น ตอนบนของเยื่อจะแตกออกเพื่อให้หมวกและก้านยืดตัวสูงขึ้น เนื่อหุ่มคงค้างเป็นรูปถ้วยอยู่ที่โคน เช่น เห็ดบัว บางชนิดเยื่อหุ้มไม่เป็นรูปถ้วยแต่เป็นเกล็ดรอบโคนก้าน บางชนิดมีเส้นใยหยาบคล้ายเส้นด้ายทาหน้าที่ยึดดอก เห็ดให้ติดกับพื้น 6. เนื้อในเห็ด (context) เนื้อที่อยู่ใต้ผิวหมวกและเนื้อในก้าน 7. เยื่อหุ้มส่วนสร้างสปอร์ (peridium) เยื่อกุ้มอับสปอร์หรือเยื่อหุ้มดอกเห็ด เห็ดเกิดชุกชุมตาม ธรรมชาติในฤดูฝน ตามป่า ทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นดิน ต้นไม้ ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ตามอินทรียวัตถุ เช่น กองปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ ทาให้เกิดการผุเน่าเปื่อยของอินทรีย์วัตถุเหล่านั้นเช่น เห็ดฟาง บางชนิดพืชเบียนต้นไม้ บางชนิดเกิดใน ดินจอมปลวก เช่นเห็ดโคน ลักษณะวิสัยของเห็ดแต่ละชนิดแตกต่างกัน เกิดเป็นดอกเดี่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นกลุ่มโคนชิดกัน หรือ แตกกระจายเป็นวงกลม บางชนิดขึ้นซ้อนกันเป็นชั้น หรือซ่อนติดเป็นเนื้อเดียวกัน ชนิดหลังนี้เกิดติดต่อกัน หลายปีทาให้ดอกใหญ่ขึ้นทุกปีและไม่ผุเปื่อยเน่าไปเหมือนเห็ดชนิดอื่นดังนั้น เห็ดจึงมีทั้งชนิดเน่าเร็วอยู่ได้ไม่ นานและชนิดอยู่ได้หลายปี 2.2 บทบาทของเห็ดที่อยู่ตามธรรมชาติ เห็ดไม่สามารถสังเคราะห์อาหารได้เอง ต้องอาศัยดูดอาหารจากสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่ไปใช้เพื่อการ เจริญเติบโต ดังนั้นถ้าเรามองสิ่งที่ให้อาหารแก่เห็ด เราก็สามารถบอกถึงบทบาทของเห็ดได้ ดังต่อไปนี้ 1. บทบาทการเป็นผู้ย่อยสลายซาก เห็ดที่ขึ้นอยู่บนเศษซากพืช เช่น ซากใบ กิ่งไม้และขอนไม้ผุ และ บนมูลสัตว์ เห็ดพวกนี้ทาหน้าที่ย่อยสลายซากเหล่านั้น โดยการปล่อยน้าย่อยออกไปย่อยเนื้อไม้ ทาให้เนื้อไม้ ค่อยๆ ผุพัง และแตกสลายกลายเป็นแร่ธาตุ ซึ่งบางส่วนของแร่ธาตุจะถูกเส้นใยของเห็ดดูดไปใช้ แต่ส่วนใหญ่ จะซึมลงสู่ดิน แล้วพืชก็ดูด ไปใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตของพืชต่อไป 2. บทบาทการเป็นปรสิตและก่อให้เกิดโรค เห็ดที่ขึ้นอยู่บนลาต้น กิ่ง และก้านของต้นไม้ที่มีชีวิต หรือ เห็ดที่ เข้าทาลายตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ของแมลงที่มีชีวิต เห็ดพวกนี้เป็นปรสิตและก่อให้เกิดโรคใน ต้นไม้และแมลง เพราะเส้นใยของเห็ดไปแย่งน้า แย่งอาหาร ทาให้เซลล์และเนื้อเยื่อของสิ่งที่มันไปขึ้นอยู่ค่อย ๆ ตายลง จากจุดเล็ก ๆ แล้ว ค่อย ๆ ลุกลามออกไปจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นไม้อย่างมาก หรือทาให้ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของแมลงตายในที่สุด ต้นไม้ที่มีเห็ดขึ้นอยู่ข้างลาต้นจะมีส่วนของแก่นไม้ผุเป็นโพรง เนื้อไม้ใช้งานไม่ได้ แต่เห็ดบางชนิดที่ก่อให้เกิดโรคแก่ต้นไม้กลับมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค เช่น เห็ดหลินจือ สาหรับเห็ดที่ฆ่าตัวหนอนและดักแด้ของแมลงได้นั้น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในแง่ของการควบคุม 5
  • 11. ประชากรของแมลง โดยเฉพาะถ้าแมลงนั้นเป็นศัตรูของพืชเศรษฐกิจ และบาง ชนิดมีผู้นามาทาเป็นยาบารุง สุขภาพ ซึ่งได้แก่ ถั่งเช่า 3. บทบาทในการอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เห็ดที่มีบทบาทแบบ นี้มัก พบดอกเห็ดขึ้นโดยตรงจากดิน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 3.1 เห็ดที่อยู่ร่วมกับรากของพืชที่มีชีวิตในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยเส้นใยของเห็ดที่แผ่ กระจายอยู่ ในดินจะไปพันอยู่รอบๆ รากพืชที่ทาหน้าที่ดูดน้าและแร่ธาตุ และบางส่วนก็แทงเข้าไปเจริญภายใน ราก เส้นใยของเห็ด เหล่านี้จะช่วยดูดน้าและแร่ธาตุจากดินแล้วส่งผ่านไปให้ต้นพืช ทาให้ต้นพืชสามารถ สังเคราะห์อาหารได้มากขึ้น จึงส่งผล ให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น อาหารที่พืชสังเคราะห์ขึ้นนอกจากจะส่งไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ของลาต้นแล้ว ยังมีเหลือส่งไปเก็บ สะสมที่รากด้วย ซึ่งอาหารสะสมที่รากนี้จะถูกเส้นใยราดูด ไปใช้ในการเจริญเติบโตอีกทีหนึ่ง ความสัมพันธ์ของรากพืชและ เห็ดแบบนี้ มีชื่อเรียกว่า เอคโตไมคอร์ไรซา (ectomycorrhiza) และเราเรียกเห็ดกลุ่มนี้ว่า เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา นอกจากประโยชน์ที่ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตให้แก่ต้นพืชแล้ว ต้นพืชยังมีความต้านทานต่อโรคที่ราก และทนทานต่อความแห้งแล้งได้สูงกว่าปกติด้วย ดังนั้นนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการป่าไม้ จึงได้นาความรู้ทาง เอคโตไมคอร์ไรซามาประยุกต์กับการเพาะกล้าไม้ เพื่อให้ได้กล้าไม้ที่มีเอคโตไมคอร์ไรซาอยู่ที่รากก่อนย้ายไป ปลูกในสวนป่า ซึ่งช่วยให้การปลูกสวนป่าในที่แห้งแล้งประสบความสาเร็จมากขึ้น 3.2 เห็ดที่อยู่ร่วมกับปลวกในแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ เห็ดโคน โดยเส้นใยของเห็ดโคน ย่อยสลายรังปลวกเป็นอาหาร รังปลวกนี้ปลวกสร้างขึ้นจากสิ่งขับถ่ายของมันเอง ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็น ของเหลวและกากเนื้อไม้ ส่วนปลวกกินเส้นใยของเห็ดโคนเป็นอาหาร จนถึงระยะหนึ่งที่ปลวกกินเส้นใยของ เห็ดโคนน้อยลง ทาให้เส้นใยมีมากและสมบูรณ์พอที่จะรวมตัวกันเจริญเป็นดอกเห็ดโคนโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ดังนั้นเราจึงเห็นเห็ดโคนขึ้นอยู่เหนือดินใกล้ๆ กับรังปลวกหรือจอมปลวกเสมอ เห็ดไม่ว่าจะมีบทบาทเช่นไร เมื่ออยู่ตามในธรรมชาติ เช่น ในป่า ย่อมส่งผลให้ป่ามีความสวยงามและมี ชีวิตชีวาเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากบทบาทที่กล่าวมา เห็ดบางชนิดเป็นอาหารของคนและสัตว์ และบางชนิดมี สรรพคุณทางยา จึงช่วยให้มนุษย์ไม่ขาดแคลนอาหารและมีสุขภาพดีด้วย แต่เห็ดบางชนิดมีพิษ จึงต้องพึงระวัง อย่างมากในเรื่องการเก็บเห็ดป่ามารับประทาน ถ้าไม่รู้จักหรือแน่ใจไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเห็ดนั้นรับประทาน ได้ อย่าเก็บมารับประทานเป็นอันขาด สาหรับเห็ดป่าที่รับประทานได้และมีรสชาติดี แต่ยังไม่มีการนามา เพาะเลี้ยงเพื่อการค้า ก็ควรมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อไป 2.3 การจาแนกเห็ด การจาแนกเห็ดจึงมีเกณฑ์ในหลายด้านประกอบกัน ทั้งลักษณะรูปร่าง สี การดารงชีวิต และการ นามาใช้ประโยชน์ จาแนกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจาแนกเห็ดตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ อาศัยหลักฐานจากลักษณะรูปพรรณสัณฐาน การ ดารงชีวิต สายวิวัฒนาการ จนถึงความรู้ทางชีวโมเลกุล มีลาดับการจัดหมวดหมู่ดังนี้ 6
  • 12. Kingdom Fungi Subkingdom Dikarya Phylum Ascomycota Subphylum Taphrinomycotina แบ่งเป็น 4 Class 4 Order 5 Family Subphylum Saccharomycotina แบ่งเป็น 1 Class 1 Order 13 Family Subphylum Pezizomycotina แบ่งเป็น 9 Class 55 Order 224 Family Phylum Basidiomycota Subphylum Agaricomycotina แบ่งเป็น 8 Class 18 Order 36 Family Subphylum Ustilaginomycotina แบ่งเป็น 7 Class 32 Order 143 Family จาแนกตามคุณสมบัติการเป็นอาหารของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. เห็ดกินได้ (edible mushroom) หมายถึง เห็ดที่น่ามากินสดๆหรือประกอบอาหารได้ ส่วนใหญ่มี เนื้ออ่อนนุ่ม ไม่มีขอบวงหรือวงแหวนและไม่มีเปลือกหุ้มคล้ายถ้วยที่โคนก้านดอกเห็ด 2. เห็ดมีพิษ (poisonous mushroom หรือ toad stool) หมายถึง เห็ดที่มีพิษ เมื่อกินอาจทาให้เกิด อาการมึนเมา เห็นภาพลวงตา อาเจียน อาจถึงตายได้ เห็ดมีพิษมักมีลักษณะดังนี้ คือ มีสีเข้มจัดเช่น แดง ส้ม ดา หรือมีสีฉูดฉาด มีแผ่นหรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด เมื่อดมมีกลิ่นเหม็นแปลกๆ บริเวณขอบหมวกเห็ดมี หยักอยู่รอบ ๆ มีขอบวงหรือวงแหวน มีเมือกหรือน้ายางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด หรือมีครีบที่ใต้หมวก จาแนกตามการดารงชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. เห็ดแซบโปรไฟต์ หมายถึง เห็ดที่เจริญอยู่บนซากสิ่งมีชีวิต 2. เห็ดปรสิต หมายถึง เห็ดที่เจริญอยู่บนสิ่งมีชีวิต เช่น เห็ดหิ้งที่เกิดอยู่ข้างล่าต้นของต้นไม้ใหญ่ที่ยังมี ชีวิต 3. เห็ดไมคอร์ไรซา หมายถึง เห็ดที่มีเส้นใยเจริญอยู่กับรากของพืชชั้นสูงที่มีชีวิตในแบบพึ่งพาอาศัยกัน จาแนกตามรูปร่างลักษณะของแหล่งกาเนิดสปอร์ สามารถแบ่งได้ 14 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มเห็ดที่มีครีบ ( Agarics or gilled mushrooms) ดอกเห็ดมีหมวก อาจมีก้านหรือไม่มีก้าน ด้านล่างของหมวกมีลักษณะเป็นครีบและเป็นที่เกิดของสปอร์ ดอกเห็ดขึ้นบนดิน หรือบนท่อนไม้ ใบไม้ผุ หรือ บนมูลสัตว์ 2. กลุ่มเห็ดมันปู (Chanterelles) ดอกเห็ดมีหมวกและก้านรูปร่างคล้ายแตรหรือแจกันปากบาน ผนัง ด้านนอกของกรวย อาจเรียบหรือหยักย่นหรือเป็นร่องตื้นๆ สปอร์เกิดอยู่บนผนังด้านนี้ ดอกเห็ดขึ้นบนดิน 7
  • 13. 3. กลุ่มเห็ดตับเต่า (Boletes) ดอกเห็ดมีหมวกและก้าน มีเนื้ออ่อนนิ่ม ด้านล่างของหมวกมีลักษณะ คล้ายฟองน้าที่มีรูพรุน ชั้นที่มีรูสามารถดึงแยกออกจากหมวกได้ สปอร์เกิดอยู่ภายในรู ตามปกติดอกเห็ดขึ้นอยู่ บนดิน 4. กลุ่มเห็ดหิ้ง (Polypores and Bracket fungi ) ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายชั้นหรือหิ้ง หรือคล้าย เครื่องหมายวงเล็บหรือคล้ายพัด ไม่มีก้านหรือมีก้านที่อยู่เยื้องไปทางด้านหนึ่งของหมวก หรือติดอยู่ทาง ด้านข้างของหมวก ส่วนใหญ่เนื้อเหนียวและแข็งคล้ายเนื้อไม้ ด้านล่างหรือด้านหลังของหมวกมีรูขนาดเล็กเรียง กันแน่นและภายในรูเป็นที่เกิดของสปอร์ ชั้นที่เป็นรูไม่สามารถแยกออกมาจากส่วนหมวกได้ ตามปกติขึ้นอยู่บน ต้นไม้ แต่อาจพบขึ้นบนดินได้ 5. กลุ่มเห็ดแผ่นหนัง ( Leather-bracket fungi ) ดอกเห็ดรูปร่างคล้ายเครื่องหมายวงเล็บหรือคล้าย พัด ไม่มีก้าน มีลักษณะเป็นแผ่นบางเหนียว และมักเรียงซ้อนกันหรือขึ้นอยู่ติดๆกัน ด้านบนของหมวกมีสีอ่อน แก่สลับกันเป็นวง และบนผิวหมวกอาจมีขนสั้นๆ ด้านตรงข้ามซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์มีลักษณะเรียบ หรือเป็น รอยนูนขึ้นลง บางชนิดขึ้นบนดิน บางชนิดขึ้นบนไม้ 6. กลุ่มเห็ดหูหนู (Jelly fungi) ดอกเห็ดมีรูปร่างหลายแบบ อาจเหมือนใบหู เนื้อบางคล้ายแผ่นยาง นิ่มและเป็นเมือก สปอร์เกิดอยู่ทางด้านที่มีรอยย่นหรือมีรอยเส้นแตกแขนง ขึ้นบนไม้ผุในที่ชื้น 7. กลุ่มเห็ดที่เป็นแผ่นราบไปกับท่อนไม้ (Crust and Parch fungi) ดอกเห็ดเป็นแผ่นแข็งติดบนไม้ หรือมีขอบดอกโค้งงอออกจากท่อนไม้คล้ายหิ้ง เนื้อเหนียวและไม่เป็นเมือก ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับท่อนไม้ คือที่ เกิดของสปอร์ อาจมีลักษณะเรียบ ย่น เป็นเส้นคดเคี้ยว หรือนูนเป็นปุ่ม 8. กลุ่มเห็ดฟันเลื่อย (Tooth fungi) ดอกเห็ดอาจมีหมวกและก้าน หรือไม่มีก้านก็ได้ ด้านล่างของ หมวกมีลักษณะคล้ายซี่เลื่อยหรือหนามแทงลงพื้นดิน สปอร์เกิดอยู่ที่ซี่เลื่อยหรือหนามนี้ ดอกเห็ดอาจขึ้นจาก ดินหรือขึ้นบนไม้ 9. กลุ่มเห็ดปะการังและเห็ดกระบอง (Coral and Club fungi) ดอกเห็ดตั้งตรง อาจแตกแขนงเป็นกิ่ง ก้านเล็กๆ หรือตั้งตรงแล้วพองออกตอนปลายดูคล้ายกระบอง ขึ้นอยู่เดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่ม สปอร์เกิดบนผนัง ด้านนอกของกระบองและตามกิ่งแขนง ขึ้นบนดินหรือบนไม้ 10. กลุ่มเห็ดรูปร่มหุบ (Gastroid Agarics) ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายร่มหุบ คือมีหมวกและมีก้านอยู่ตรง กลางหมวก หมวกอยู่ในลักษณะหุบงุ้ม ไม่กางออก เนื่องจากขอบหมวกติดอยู่กับก้าน ภายใต้หมวกมีแผ่น เนื้อเยื่อที่แตกเป็นร่องแยกออกหลายแขนง มองดูคล้ายครีบที่บิดเบี้ยว เนื้อเยื่อส่วนนี้คือที่เกิดของสปอร์ แล้ว เปลี่ยนเป็นฝุ่นผงทั้งหมด เมื่อดอกเห็ดแก่ สปอร์ออกสู่ภายนอกได้เมื่อหมวกฉีกขาด มีลักษณะก้านดอกผ่าน ส่วนที่เป็นที่เกิดของสปอร์จนถึงยอดหมวก มักพบเห็ดชนิดนี้บนดินในที่ร้อนและแห้งในทะเลทรายและบนภูเขา สูง 11. กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นและเห็ดดาวดิน (Puffballs and Earthstars) ดอกเห็ดทรงกลม รูปไข่ หรือคล้าย ผลสาลี่ บางชนิดเมื่อดอกแก่ ผนังชั้นนอกแตกและบานออกคล้ายกลีบดอกไม้ สปอร์เกิดอยู่ภายในส่วนที่เป็น ทรงกลม เมื่ออ่อนผ่าดูเนื้อข้างในมีลักษณะหยุ่นและอ่อนนุ่ม เมื่อแก่มีลักษณะเป็นฝุ่นผง ดอกเห็ดอาจเกิดบน ดินหรือบนไม้ 8
  • 14. 12. กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นก้านยาว (Stalked Puffballs) ดอกเห็ดทรงกลมคล้ายกับกลุ่มเห็ดลูกฝุ่น แต่มี ก้านยาวชัดเจน ปลายก้านสิ้นสุดที่ฐานของรูปทรงกลม สปอร์เป็นฝุ่นผงอยู่ภายในรูปทรงกลม มักพบขึ้นบน ทราย หรือบนดินในที่รกร้าง 13. กลุ่มเห็ดรังนก (Bird’s nest fungi) ดอกเห็ดมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายรังนกและมีสิ่งที่คล้ายไข่รูปร่างกลมแบนวางอยู่ภายใน ภายในไข่เต็มไปด้วยสปอร์ ดอก เห็ดนี้เมื่อยังอ่อนด้านบนของรังมีเนื้อเยื่อปิดหุ้ม พบขึ้นบนไม้ผุ 14. กลุ่มดอกเห็ดเขาเหม็น (Stinkhorns) ดอกเห็ดเมื่ออ่อนรูปร่างคล้ายไข่ ต่อมาส่วนของก้านค่อยๆ โผล่ดันเปลือกหุ้มจนแตกออก ส่วนที่คล้ายเปลือกไข่กลายเป็นถุงหรือถ้วยหุ้มโคนดอกด้านบน ส่วนปลายก้าน อาจมีหรือไม่มีหมวก ก้านมีลักษณะพรุนและนิ่มมาก อาจมีร่างแหปกคลุมก้านที่โผล่ออกมาจากเปลือกคล้าย หนวดปลาหมึก หรือพองเป็นช่อโปร่งคล้ายลูกตะกร้อ สปอร์เป็นเมือกสีเข้มฉาบอยู่ ดอกเห็ดมีกลิ่นเหม็นมาก ขึ้นบนดินที่มีซากพืชทับถมหนา 2.4 การวินิจฉัยกลุ่มเห็ด เมื่อได้ตัวอย่างเห็ดมาจากภาคสนามให้นามาจัดจาแนกในเบื้องต้นโดยใช้กุญแจการจาแนกตามกุญแจ จาแนกเห็ดกลุ่มที่สาคัญอย่างง่าย (Key to Major Groups of Fungi) (กิตติมา ด้วงแค, 2551) 1 ก. ดอกเห็ด (Fruiting body or mushroom) มีหมวก (Cap or pileus) แบบครีบ (gills) มีรูพรุน (pores) ครีบเป็นสัน (blunt ridge) คล้ายฟัน (teeth) อาจมีก้านดอก (stalk or stem) หรือไม่มีก้านดอก ______________________________________________________________________________ 2 ข. ดอกเห็ดเป็นแบบทรงกลม (puffball) แตกเป็นแฉกคล้ายดาวดิน (earthstar) แบบรังนก (bird's nest) มีกลิ่นเหม็น (stinkhorn) แบบปะการัง (coral-shaped) รูปถ้วย (cup-shaped) รูปคล้ายผลของ ไม้สนเขา (pine cone) คล้ายวุ้น (jelly-like) ______________________________________________________________________________ 6 2 ก. หมวกเห็ดมีครีบ (gill) มีก้านดอก (stalk) หรือไม่มีก้านดอก ________________________________ _________________________ เห็ดนิ่ม – Agarics ข หมวกเห็ดเป็นสัน (ridge) มีรูพรุน (pores) หรือรูปฟัน (teeth) มีก้านดอกหรือไม่มีก้านดอก ______________________________________________________________________________ 3 3 ก. หมวกมีครีบลักษณะเป็นสันทื่อ (blunt) สันมีลักษณะขยุกขยิก (irregular ridge) มีก้านดอก ________________________________ เห็ดแตร – Cantharelles ข. หมวกเห็ดมีรูพรุน (pores) หรือลักษณะคล้ายฟัน (teeth) มีก้านดอก หรือไม่มีก้านดอก ______________________________________________________________________________ 4 9
  • 15. 4 ก. หมวกเห็ด (cap) มีลักษณะเป็นฟัน (teeth) มีก้านดอก ถ้าไม่มีก้านดอกจะขึ้นอยู่กับต้นไม้หรือ เนื้อไม้ (wood) ______________________ เห็ดหนาม - Teeth fungi ข. หมวกเห็ดมีรูพรุน (pores) ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน (ground) หรือขึ้นอยู่กับไม้ _______________________ 5 5 ก. หมวกเห็ดสดนุ่มมีรูพรุน (pores), ขึ้นอยู่ดอกเดี่ยว ๆ มีก้านดอกอยู่กึ่งกลางหมวกเห็ด (central stalk) ขึ้นอยู่บนดิน (ground) _____________ เห็ดตับเต่า – Boletes ข. หมวกมีรูพรุน (pores) เหนียวคล้ายหนังถึงแข็งคล้ายไม้ (leatherto woody) ถ้าดอกเห็ดสดนิ่ม จะมีก้านดอกไม่อยู่กึ่งกลางหมวก (stalk eccentric) ก้านดอกอาจติดชิดกับก้านดอกอื่น หรือไม่มี ก้านดอก ปกติมักขึ้นอยู่กับไม้ _____________________ เห็ดกระด้าง – Polypores 6 ก. ดอกเห็ดมีถุงสปอร์ (spore sacs) รูปร่างกลม (round) ถึงรูปไข่ (oval) หรือมีลักษณะคล้ายรูปลูก แพร์ (pear) ลูกชมพู่ หรือคล้ายแก้วก้นแบน (flask-shaped) รูปดาวเป็นแฉก (star-shaped) มีถุงสปอร์ อยู่ตรงกลาง หรือรูปร่างคล้ายรังนก (bird's nests) เล็ก _________________________เห็ดรังนก เห็ดดาว ดิน เห็ดกลม -Bird's nests, Earthstars และ Puffballs ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น ____________________________________________________________________________ 7 7 ก. ก้านดอก (stalk) มีสีเขียว เป็นเมือก (slimy top) เปราะหักง่าย (fragile) มีกลิ่นไม่พึงปรารถนา (disagreeable odor) ฐานดอก (base) จะหุ้มด้วยปลอก (volva) ______________________________ ________________________________________ เห็ดหนวดเหม็น - Stinkhorn ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น _____________________________________________________________________________ 8 10
  • 16. 8 ก. ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายปะการัง(coral) ขึ้นอยู่เดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม มีปริมาณมาก รูปร่างคล้าย นิ้วมือ (fingers)บางทีมีฐานรอบกลุ่ม(massive base) _ เห็ดปะการัง - Coral fungi ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น _________________________________________________________________________ 9 9 ก. ดอกเห็ดคล้ายกับผลของลูกสนเขา (pine-shaped top) มีสัน (ridge) และรู (pits) และมีก้านดอก อยู่กึ่งกลางดอก (central stalk) หรือมีลักษณะขยุกขยิกถึงเรียบ บางทีมีลักษณะคล้ายอานม้า (saddle shaped top) และมีก้านดอกอยู่กึ่งกลาง ________________________________________________ เห็ดมันสมอง - True morels และ False morels ข. ดอกเห็ดมีรูปร่างอย่างอื่น ________________________________________________________ 10 10 ก. ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายถ้วย (cup-shaped) รูปร่างคล้ายโถหรือแจกัน (urn-shaped) หรือมีก้น กลม (flattened disc) ขึ้นบนพื้นดิน (on ground) หรือมีรูปร่างแตกต่างออกไป ______________เห็ดถ้วย เห็ดลิ้นพสุธาและเห็ดสัมพันธมิตร - Cup fungi Earth tongues and allies ข. ดอกเห็ดมีลักษณะคล้ายวุ้น (jelly-like) มีสีขาว เหลือง ถึงสีน้าตาลเข้ม หรือสีน้าตาลดา ขึ้นบนไม้ (wood) _______________________________________________ เห็ดวุ้น - Jelly fungi สารเคมีที่ใช้ในการทดสอบปฏิกริยา การวินิจฉัยเห็ดต้องอาศัยสารเคมีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ Lactophenol cotton blue, Melzer’s reagent และ Potassium Hydroxide (KOH) สารเคมีแต่ละชนิดใช้ทดสอบและเกิด ปฏิกริยาที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้ Lactophenol Cotton Blue ส่วนประกอบและการเตรียม ละลาย 50 % ของสารละลาย cotton blue (1 มิลลิกรัมcotton blue ในน้า 99 มิลลิลิตร) ลงในกรดแลกติก (lactic acid) 100 กรัม phenol 100 กรัม กลีเซอรีน(glycerine) 100 มิลลิลิตร ในน้า (50 มิลลิลิตร) ใช้เพื่อย้อมสีผนังของเชื้อรา และสิ่งประดับให้สังเกตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สาหรับผนัง หรือสิ่งประดับด้านนอกของสปอร์ที่ติดสีย้อม และเกิดความแตกต่างอย่างเด่นชัดกับผนังสปอร์ด้านใน เรียก สปอร์ที่มีลักษณะนี้ว่า Cyanophilous (Largent, 1977) 11
  • 17. Melzer’s reagent ส่วนประกอบและการเตรียม เติมไอโอดีน (Iodine) 1.5 กรัม โพแทสเซียมไอโอไดด์ (Potassium- Iodine) 5.0 กรัม และ Chloral Hydrate 100 กรัม (มิลลิลิตร) ลงในน้า 100 มิลลิลิตร จากนั้นนาไปอุ่นให้ ร้อนแต่ไม่ให้เดือด จนส่วนผสมดังกล่าวเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน สีย้อมประเภทนี้ก่อให้เกิดปฏิกริยา 3 ประเภทโดย ดูจากปฏิกริยาการเปลี่ยนสีของผนังเซลล์ที่ทาการศึกษา (Largent, 1977) 1. เปลี่ยนเป็นสีน้าเงินถึงสีดา เรียก Amyloid reaction 2. เปลี่ยนเป็นสีน้าตาล ถึงสีน้าตาลปนแดง เรียก Dextrinoid reaction หรือ Pseudoamyloid reaction 3. ไม่มีการเปลี่ยนสี เรียก Inamyloid reaction สิ่งที่นามาตรวจสอบเห็นเป็นสีเหลือง หรือใสไม่มีสี Potassium Hydroxide (KOH) ความเข้มข้นที่นิยมใช้คือ 3 – 5 เปอร์เซนต์ ใช้บ่อยเวลาเมื่อต้องการนาเอา ตัวอย่างแห้งกลับมาศึกษาใหม่ เพราะ KOH จะช่วยให้เส้นใยของดอกเห็ดดูดน้าได้ดีขึ้น (Largent,1977) และ ใช้ในการทดสอบการเปลี่ยนสีของเนื้อเห็ดหิ้ง โดยถ้าเนื้อของเห็ดหิ้งเปลี่ยนเป็นสีน้าตาลปนดา หรือสีดา เรียก ปฏิกริยานี้ว่า Xanthochronic reaction (Ryvarden and Johansen, 1980) เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว สามารถตรวจสอบหาชนิด ตามกุญแจ (Keys) และข้อมูลชนิด (Monographs of species descriptions) ตามเอกสารดังต่อไปนี้ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน 2539; อนิวรรต และคณะ 2541ก; อนิวรรต และคณะ 2541ข; Chalermpongse, 1997 เป็นต้น 2.5 การเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่ ในการเก็บเห็ดและราขนาดใหญ่ชนิดสดจะต้องคานึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บตัวอย่าง ซึ่งปกติควรจะอยู่ในช่วงฤดูฝน สถานที่และแหล่งที่ไปหาเก็บตัวอย่าง ควรเป็นที่มีอากาศชื้นและมีแสงแดดแผ่ กระจายไปถึง ดังนั้นบริเวณที่เป็นป่าไม้จัดว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการไปหาและเก็บตัวอย่างเห็ดรา ต้อง รู้จักสังเกตแหล่งที่อยู่อาศัยที่เห็ดและราชอบขึ้น ได้แก่บนดินที่มีอินทรียวัตถุสูง หรือมีเศษใบไม้กิ่งไม้เน่าเปื่อยผุ พัง บนกิ่งไม้ ท่อนไม้ ตอไม้ผุพัง หรือบนต้นไม้ที่ยังมีชีวิต บางกลุ่มชอบขึ้นอยู่ตามมูลสัตว์ต่าง ๆ บางกลุ่มชอบ ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้าธรรมชาติ ลาธาร เป็นต้น ในการเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่นั้น ถ้าเป็นไปได้ควรจะเก็บทุกระยะการเจริญเติบโต เพื่อให้ ทราบถึงการเจริญในแต่ละระยะของเห็ดและราขนาดใหญ่ รวมถึงการสังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสี บางชนิดที่พบขึ้นอยู่ตามพื้นดิน ไม่ควรจะดึงขึ้นมาทันทีเพราะจะทาให้เกิดความเสียหายได้ง่าย ควรจะขุดและ เก็บตัวอย่างด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีส่วนของราที่เจริญลึกลงไปในดิน ถ้าเป็นตัวอย่างที่พบบนท่อนซุง หรือท่อนไม้ผุพังควรใช้มีดแซะที่บริเวณโคนหรือฐานของเห็ดรานั้นๆ ให้มีชิ้นส่วนของไม้เล็ก ๆ ติดกับส่วนของ รามาด้วย ในแต่ละตัวอย่างควรจะเก็บแยกออกจากกัน ในกรณีที่เป็นเห็ดหรือราสดและอ่อนนุ่มควรเก็บในขวด เก็บตัวอย่าง ในแต่ละตัวอย่างที่เก็บได้นั้นควรเขียนชื่อผู้เก็บ สถานที่เก็บ วันเดือนปีที่เก็บ เมื่อเดินทางกลับจาก เก็บตัวอย่างเห็ดราแล้ว ควรนาเข้าตรวจสอบในห้องปฏิบัติการทันที ทาการวินิจฉัยและจัดจาแนกหมวดหมู่ เพื่อให้ชื่อวิทยาศาสตร์ (sciencetific name) ของรานั้น ควรจะเขียนบันทึกรายละเอียดของลักษณะต่างๆ ไว้ เนื่องจากเห็ดและราขนาดใหญ่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาด และสีเป็นต้น อุปกรณ์ในการเก็บและสารวจตัวอย่าง 1. มีด (ใช้ฝานออกจากบริเวณที่ขึ้น) หรือ กรรไกรตัดกิ่ง (สาหรับตัวอย่างที่อยู่บนกิ่งไม้ขนาดเล็ก) 2. กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือ กระดาษไขห่อผลไม้ หรือ อลูมินั่มฟรอยด์แบบหนา (ใช้ห่อตัวอย่าง ไม่ให้ปะปนกันโดยเฉพาะตัวอย่างขนาดใหญ่) 12
  • 18. 3. กล่องเก็บตัวอย่างเห็ด หรือ ตะกร้าเก็บตัวอย่าง (สาหรับป้องกันไม่ให้ตัวอย่างเกิดการกดทับ) 4. เลนส์ขยาย (สาหรับส่องดูรายละเอียดของตัวอย่าง เช่น บริเวณผิวเป็นต้น) 5. กล้องถ่ายรูป (สาหรับบันทึกบริเวณถิ่นอาศัย และ สีสัน) 6. สมุดบันทึก/ดินสอ/ปากกา (เพื่อบันทึกข้อมูลเบื้อต้นในธรรมชาติ) 7. คู่มือจาแนกชนิดของเห็ด การเก็บเห็ดและราขนาดใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. เก็บตัวอย่างดอกเห็ดแต่ละชนิดหลาย ๆ ขั้นตอนของการพัฒนาเป็นดอกเห็ด และเก็บให้ได้ ส่วนประกอบทุกส่วนด้วย 2. เก็บดอกเห็ดแต่ละชนิดใส่ห่อแยกกัน เพื่อป้องกันการปะปนกันของสปอร์ สาหรับเห็ดที่มีความ อ่อนนิ่มและเน่าเสียได้ง่ายนิยมใช้กระดาษห่อ เช่น กระดาษไข หนังสือพิมพ์ กระดาษอลูมินั่มฟลอยด์แบบหนา (ใช้ห่อไก่อบ) หรือ กระดาษสองด้านใช้แล้ว เป็นต้น ส่วนเห็ดที่มีโครงสร้างแข็งและเน่าเสียได้ยากนิยมใช้ ถุงพลาสติกห่อ 3. บันทึกชนิดเห็ด โดยให้รหัสและหมายเลขกากับ สถานที่ที่พบ และสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่ การบันทึกข้อมูล ต่างๆ มีความจาเป็นสาหรับการจัดจาแนก ข้อมูล ขนาด สี ผิว รูปร่าง และสิ่งยึดอาศัย เป็นข้อมูลสาคัญ ในการบันทึก โดยเฉพาะสี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในภายหลังจึงต้องทาการบันทึก นอกจากนั้น ยังนิยมนา เห็ดดังกล่าวมาวาดภาพ และ บันทึกภาพแบบละเอียดอีกครั้งภายในห้องปฏิบัติการ 3. สังเกตและจดบันทึกลักษณะต่าง ๆ ของเห็ดที่อยู่ไม่คงทน ของเหลวที่ปรากฏออกมาเมื่อดอกเห็ด ฉีกขาด การเปลี่ยนสีของส่วนต่าง ๆ หรือสีของรอยช้า เป็นต้น 4. บันทึกข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้นไม้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับเห็ดที่ขึ้นอยู่บนดิน ประเภทของ ป่าที่พบเห็ด นิสัยการเจริญของดอกเห็ด พร้อมบันทึกภาพดอกเห็ดที่เจริญอยู่ตามธรรมชาติ 5. หลังจากนาเห็ดมาถึงที่พัก ต้องบรรยายลักษณะภายนอกที่เห็นด้วยตาเปล่าของดอกเห็ด วัดขนาด ของส่วนประกอบต่าง ๆ ทารอยพิมพ์สปอร์ และถ่ายภาพตัวอย่างเห็ดในระยะใกล้ (close up) อีกครั้งหนึ่ง 6. นาตัวอย่างเห็ดใส่ในขวดพลาสติก ใส่สารดูดความชื้น (silica sand) เพื่อนากลับไปวินิจฉัยชนิดใน ห้องปฏิบัติการต่อไป การทารอยพิมพ์สปอร์ (spore print) ในการเก็บตัวอย่างควรทาการพิมพ์สปอร์ (spore print) ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทาได้เพื่อดูลักษณะของสี สปอร์ซึ่งเป็นข้อมูลที่สาคัญและสามารถนาสปอร์ที่ได้นั้นไปศึกษาลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยเลือกดอก เห็ดที่โตเต็มที่และยังสดอยู่มา 1 ดอก ใช้ใบมีดที่คมตัดส่วนหมวกออกจากก้าน แล้วคว่าหมวกเห็ดลงบน กึ่งกลางของแผ่นกระดาษที่ข้างหนึ่งเป็นสีดาและอีกข้างหนึ่งเป็นสีขาว จากนั้นนาจานแก้วหรือถ้วยแก้วมา ครอบหมวกเห็ด ทิ้งไว้หลาย ๆ ชั่วโมงหรือทิ้งไว้ข้ามคืน เพื่อให้สปอร์ที่อยู่บนครีบของดอกเห็ดตกลงบน แผ่นกระดาษ ยิ่งทิ้งไว้นานยิ่งได้รอยพิมพ์ของสปอร์ที่หนาและสีสปอร์ที่ชัดเจน และยังช่วยให้ความถี่ ห่างใน การเรียงตัวของครีบด้วยสีสปอร์ที่อ่อนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนบนกระดาษสีดา ส่วนสปอร์ที่สีเข้ม เช่น สีดา สีเทา สีน้าตาล มองเห็นได้ชัดเจนบนกระดาษสีขาว สาหรับการบอกสีสปอร์ให้ใช้รอยพิมพ์สปอร์ที่หนา ซึ่งอยู่ บนกระดาษสีขาว ภายใต้แสงธรรมชาติ สีของรอยพิมพ์สปอร์แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มสีขาวหรือสีอ่อน ได้แก่ สีขาว สีครีม สีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองและสีเขียวอ่อน กลุ่มสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูแก่และน้าตาลอม ชมพู กลุ่มสีน้าตาลปนเหลืองจนถึงสีนาตาลและน้าตาลปนแดงหรือสีสนิมเหล็ก กลุ่มสีน้าตาลปนม่วงจนถึงสี น้าตาลปนสีชอคโกแลต และกลุ่มสีเทาปนดาจนถึงสีดา (อนงค์ จันทร์ศรีกุล พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ และ อุทัยวรรณ แสงวณิช, 2551) 13
  • 19. การเก็บและรักษาตัวอย่าง การสะสมและเก็บรักษาตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่ด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่จะนา ตัวอย่างไปศึกษาอย่างไร หากต้องการจาแนกชนิด ควรรีบสารวจลักษณะ รายละเอียดให้เร็วที่สุดในขณะที่ยัง สดอยู่ พร้อมทั้งเก็บรักษาตัวอย่างให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อนากลับไปศึกษายังห้องปฏิบัติการโดย ละเอียดอีกครั้ง ถ้ามีตัวอย่างมากพอควรแบ่งตัวอย่างรักษาไว้ในฟอร์มาลีน 10% และตัวอย่างที่เหลือควร นาไปอบหรือผึ่งแดดให้แห้งโดยเร็วเพื่อเก็บรวบรวมไว้ศึกษา เพื่อป้องกันการทาลายตัวอย่างที่แห้งแล้ว ใน เบื้องต้นควรนาตัวอย่างแช่ในฟอร์มาลีนก่อนที่จะนาไปอบหรือผึ่งให้แห้ง การเก็บตัวอย่างเห็ดและราขนาดใหญ่ที่มีสี (colored fungi) โดยใช้น้ายาดองในการเก็บรักษาได้ดังต่อไปนี้ สูตรที่ 1 น้ายาดองซึ่งสีไม่ละลายในน้า มีส่วนผสมดังนี้ เมอร์คิวริค อะซิเตท (mercuric acetate) 10 กรัม เซียล อะซีติค แอซิด (glacial acetic acid) 5 มล. น้ากลั่น 1,000 มล. สูตรที่ 2 น้ายาซึ่งสีละลายในน้า มีส่วนผสมดังนี้ เมอร์คิวริค อะซิเตท 1 กรัม นิวทรัล ลีด อะซิเตท (neutral lead acetate) 10 กรัม กลาเซียล อะซีติค แอซิด 10 มล. แอลกอฮอล์ 90% (ethanol) 1,000 มล. สูตรที่ 3 น้ายาซิงค์ซัลเฟต (zinc sulphate) มีส่วนผสมดังนี้ ซิงค์ซัลเฟต 25 กรัม ฟอร์มัลดีไอด์ (formaldehyde) 10 มล. น้ากลั่น 1,000 มล. การเก็บตัวอย่างในลักษณะแห้ง (herbaria) จัดว่าเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้เก็บรักษาที่ถาวรวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนาไปใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง และ เก็บรักษาไว้เพื่อศึกษารายละเอียดต่อไปได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่การนากลับมาใช้ใหม่ หรือการศึกษาในลักษณะ อื่น ๆ ฉะนั้นแต่ละตัวอย่างที่ได้ศึกษาไปแล้วจึงควรเก็บรักษาไว้อย่างดีเพื่อใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบต่อไป ใน การทาตัวอย่างแห้ง (herbarium specimen) ของเห็ดและราขนาดใหญ่โดยการผึ่งแดดหรืออบแห้ง วิธีการทา ให้แห้งมีหลายวิธี เช่น ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ หรือใช้เครื่องอบแห้ง อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส ก่อนที่จะเก็บไว้ในกล่องเก็บตัวอย่าง แล้วทาฉลากหรือป้าย (lebels) แสดงชื่อผู้เก็บ สถานที่ วันเดือนปีที่เก็บ ระบุวัสดุรองรับที่เป็นอาหาร (substrate) สิ่งอาศัย (host) หรืออื่น ๆ ห้องเก็บตัวอย่างแห้งควรจะรมด้วย สารเคมี โดยใช้ด่างทับทิมผสมกับฟอร์มาลีนเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการปนเปื้อนจาก จุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงป้องกันการเข้าทาลายของไรและแมลงต่าง ๆ และอาจใช้ลูกเหม็น (naphthalene balls) วางไว้ตามชั้นที่เก็บกล่องตัวอย่างเพื่อป้องกันความเสียหายจากแมลง (เกษม สร้อยทอง, 2537) 14