SlideShare a Scribd company logo
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาเซปักตะกร้อ
	 กีฬาเซปักตะกร้อได้มีวิวัฒนาการมาจากการเล่นกีฬาตะกร้อของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ซึ่งได้คิดดัดแปลงวิธีการเล่นผสมผสานกันระหว่าง       
กีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายของประเทศไทยกับกีฬาเซปัก รากา จาริง (Sepak Raga Jaring) ของประเทศ
มาเลเซีย โดยสหพันธ์เซปักตะกร้อแห่งอาเซียน (Asian Sepaktakraw Federation or ASTAF) เป็น  
ผู้ก�ำหนดชื่อกีฬาเซปักตะกร้อขึ้นและประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2508
โดยได้มีการจัดการแข่งขันตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึงการแข่งขันในระดับกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian
Games) และปัจจุบันได้พยายามผลักดันให้เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic
Games) เพื่อบรรจุให้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอนาคตต่อไป ประโยชน์
ที่ได้รับจากการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อมีหลายด้านด้วยกัน เช่น ทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ         
อารมณ์และสังคม
เนื้อหา
	 1.	 ความหมายของกีฬาเซปักตะกร้อ                                                    
	 2.	 ความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อ                                                                                 
	 3.	 ประวัติความเป็นมาของกีฬาเซปักตะกร้อ                                           
	 4.	 กีฬาเซปักตะกร้อในกีฬาซีเกมส์	 	                                                                      
	 5.	 กีฬาเซปักตะกร้อในกีฬาเอเชียนเกมส์	                                                                    
	 6.	 ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ                                                                                 
        7.	 อุปกรณ์และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก	 	                                     
        8.	 การดูแลและการรักษาอุปกรณ์กีฬาเซปักตะกร้อ                                                        
        9.	 มารยาทและความปลอดภัยในการเล่น                                                                                              
บ ท ที่
1
2
1. ความหมายของกีฬาเซปักตะกร้อ
	 ค�ำว่า“ตะกร้อ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 437) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
“ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา ๆ ส�ำหรับเตะ”
	 ฟอง เกิดแก้ว (2521 : 333) กล่าวว่า “กีฬาตะกร้อ” หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งสานด้วยหวาย
ส�ำหรับเตะเล่นบ้าง บางอย่างท�ำด้วยหนังปักพู่ขนไก่”
	 สุพจน์ ปราณี (2549 : 1) กล่าวไว้ว่า “กีฬาเซปักตะกร้อ หมายถึง การแข่งขันที่ประกอบด้วย         
ผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน แต่ละฝ่ายพยายามให้ลูกตะกร้อตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้ามจึงจะได้คะแนน”
	 วิทเวช วงศ์เพม (2543 : 2) กล่าวไว้ว่า “กีฬาเซปักตะกร้อ หมายถึง การแข่งขันที่ประกอบด้วย
ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้าเล่นก่อนและอีกฝ่ายหนึ่งตั้งรับ แต่ละฝ่ายพยายามเล่น          
ไม่เกิน 3 ครั้งเพื่อให้ลูกตะกร้อตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้ามจึงจะได้คะแนน”
	 สรุปได้ว่า “กีฬาเซปักตะกร้อ หมายถึง การแข่งขันที่ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน เริ่มเล่น
โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้าเล่นก่อนโดยการโยนและเสิร์ฟจ�ำนวน 3 ครั้งและอีกฝ่ายหนึ่งเปิดตั้งชงลูก
และรุกหรือท�ำบริเวณหน้าตาข่ายจ�ำนวน 3 ครั้งสลับกัน แต่ละฝ่ายพยายามเล่นไม่เกิน 3 ครั้งเพื่อให้  
ลูกตะกร้อตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้ามจึงจะได้คะแนน”
2. ความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อ
	 สถาพร เกษแก้ว (2543 : 5) กล่าวถึงความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อไว้ว่า กีฬาทุกชนิดถ้า          
ผู้เล่นน�ำไปใช้ให้ถูกต้องแล้วย่อมกลายเป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดสังคมมิตรภาพ ความสามัคคี               
กลมเกลียว ปลูกฝังความมีน�้ำใจ นักกีฬาถ้าหากมีทักษะหรือความสามารถสูงย่อมมีโอกาสเป็นตัวแทน
ของสถาบันการศึกษา สโมสร เขตและตัวแทนของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นการประกาศเกียรติคุณและ
ได้รับผลประโยชน์จากการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ ซึ่งมีความส�ำคัญดังนี้
	 1.	 เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่
	 2.	 เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ท�ำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
	 3.	 เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท�ำให้ว่องไวปราดเปรียว
	 4.	 เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และ             
มีปฏิภาณไหวพริบดี  
	 5.	 เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง
	 6.	 เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น
	 7.	 เป็นกีฬาที่ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจ�ำชาติไทย
3
	 รังสฤษฏ์ บุญชลอ (2543 : 10) ได้สรุปความส�ำคัญของการเล่นกีฬาตะกร้อไว้กว้าง ๆ ดังนี้
	 1.	 เป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้าน
ร่างกายและจิตใจ
	 2.	 เป็นกีฬาที่ประหยัดค่าใช้จ่าย เล่นง่าย กติกาและระเบียบการแข่งขันไม่เคร่งครัด
	 3.	 เป็นกีฬาที่ไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่
	 4.	 เป็นกีฬาที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว ว่องไว สร้างเสริม
บุคลิกภาพ
	 5.	 เป็นกีฬาที่สร้างเสริมอารมณ์ ความคิดและจิตใจให้มีความสุขุม รอบคอบ เยือกเย็น
	 6.	 เป็นกีฬาที่ช่วยให้ระบบประสาทท�ำงานประสานกับระบบอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
	 7.	 เป็นกีฬาที่สร้างเสริมความสามัคคีในหมู่คณะและสังคมรวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเข้าสังคม
และพัฒนาชุมชนทางด้านสุขภาพและพลานามัย
	 8.	 เป็นกีฬาที่ใช้เป็นแนวทาง หรือทักษะพื้นฐานอันน�ำไปสู่การเล่นกีฬาชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น
ฟุตบอล
	 9.	 เป็นกีฬาที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประจ�ำชาติ        
ที่ดีงามให้คงไว้
	 10.	เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามารถด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้ง
ทักษะที่สูงมากส�ำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นเลิศทางด้านกีฬาตะกร้อ ถ้าผู้เล่นมีความตั้งใจใช้ความ        
เพียรพยายามที่ดีอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างชื่อเสียง เกียรติประวัติให้แก่ตนเอง
สังคม และประเทศชาติได้
	 จึงสรุปความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อ ได้ดังต่อไปนี้
	 1.	 เป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางด้าน
ร่างกายและจิตใจ
	 2.	 เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ท�ำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
	 3.	 เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่
	 4.	 เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง
	 5.	 เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น
	 6.	 เป็นกีฬาที่ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจ�ำชาติไทย
	 7.	 เป็นกีฬาที่สร้างเสริมความสามัคคีในหมู่คณะและสังคมรวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเข้าสังคม
และพัฒนาชุมชนทางด้านสุขภาพและพลานามัย
	 8.	 เป็นกีฬาที่มีกติกาและระเบียบการแข่งขันไม่เคร่งครัดมากนัก
	 9.	 เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมี
ปฏิภาณไหวพริบดี
4
	 10.	เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท�ำให้ว่องไวปราดเปรียว
	 11.	เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามารถด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้ง
ทักษะที่สูงมากส�ำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นเลิศทางด้านกีฬาตะกร้อ ถ้าผู้เล่นมีความตั้งใจใช้ความ        
เพียรพยายามที่ดีอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างชื่อเสียง เกียรติประวัติให้แก่ตนเอง
สังคม และประเทศชาติได้
3. ประวัติความเป็นมาของกีฬาเซปักตะกร้อ
	
	 กีฬาเซปักตะกร้อได้มีวิวัฒนาการมาจากการเล่นกีฬาตะกร้อของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ซึ่งได้คิดดัดแปลงวิธีการเล่นผสมผสานกันระหว่าง       
กีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายของประเทศไทยกับกีฬาเซปัก รากา จาริง (Sepak-Raga Jaring) ของประเทศ
มาเลเชีย โดยสหพันธ์เซปักตะกร้อแห่งอาเซียน (Asian Sepaktakraw Federation, ASTAF) เป็น          
ผู้ก�ำหนดชื่อกีฬาเซปักตะกร้อขึ้นและประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2508   
ได้มีการจัดการแข่งขันตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึงการแข่งขันในระดับกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian
Games) และปัจจุบันได้พยายามผลักดันให้เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic
Games) เพื่อบรรจุให้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอนาคตต่อไป
	 กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาของชนชาติเอเชีย ซึ่งมีหลายประเทศนิยมเล่นกัน แต่ละประเทศก็มีวิธี        
การเล่นหรือกติกาที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศพม่าเตะกันแบบล้อมเป็นวง (5-6 คน) พม่าเรียก           
ตะกร้อว่า ชินลง (Chin Long) ประเทศมาเลเซียเล่นตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่งดัดแปลงการเล่นมาจาก     
กีฬาวอลเลย์บอล แต่ได้ก�ำหนดให้สนามเล็กลงและมีผู้เล่นน้อยลง (จาก 6 คน เหลือ 3 คน) เรียกว่า
เซปัก รากา จาริง (Sepak-Raga Jaring) โดยแปลความหมายได้ว่า “เตะตะกร้อข้ามตาข่าย” มาเลเซีย
เรียกลูกตะกร้อว่า“รากา”
	 ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ประเทศไทยเดิมชื่อ “ประเทศสยาม” ในช่วง
พ.ศ.2133-2149เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา
เป็นเมืองหลวง คนไทยหรือคนสยามมีการเริ่มเล่นตะกร้อที่ท�ำด้วยหวาย ซึ่งเป็นการเล่นตะกร้อวง
(ล้อมวงกันเตะ)
	 พ.ศ. 2199-2231 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในยุคสมัย         
กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง มีคณะสอนศาสนาชาวฝรั่งเศสมาพ�ำนักในกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22
สิงหาคม พ.ศ. 2205 มีการสร้างวัดนักบุญยอเซฟ นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีบันทึกของบาทหลวงเดรียง              
โลเนย์ ว่าชาวสยามชอบเล่นตะกร้อกันมาก
	 ต่อมา พ.ศ. 2315 เป็นช่วงหมดยุคกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นตอนต้นแห่งยุคสมัยกรุงธนบุรี                   
เป็นเมืองหลวง ได้มีชาวฝรั่งเศสชื่อนายฟรังซัว อังรี ตุระแปง ได้บันทึกในหนังสือชื่อ “Histoire
5
DuRoyaume De Siam” พิมพ์ที่กรุงปารีส ระบุว่า ชาวสยามชอบเล่นตะกร้อในยามว่างเพื่อออก          
ก�ำลังกาย(ปิยะศักดิ์มุทาลัย,2557:สืบค้นเมื่อ9เมษายน2557;Onlinefromhttp://www.takraw.
or.th/th/index.php?action=background_takraw.htm)
	 การเล่นตะกร้อของคนไทยหรือคนสยามมีหลักฐานอ้างอิงค่อนข้างจะชัดเจนว่ามีการเล่นกัน       
มานานแล้วตั้งแต่ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง พยานหลักฐานส�ำคัญที่จะยืนยันหรืออ้างอิง          
ได้ดีที่สุดน่าจะเป็นบทกวีในวรรณคดีต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยที่เรียงร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึงค�ำว่า
ตะกร้อไว้ เช่น
	 พ.ศ. 2352-2366 เป็นยุคตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพมหานคร) เป็นเมืองหลวง           
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่2)ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้พระราชนิพนธ์
ร้อยกรองของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา มีบทร้อยกรองถ้อยความเกี่ยวพันถึงค�ำว่า “ตะกร้อ” ดังนี้
	 	 บัดนั้น	 เสนากิดาหยันน้อยใหญ่
	 บรรดาที่ตามเสด็จไป	 อยู่ในหน้าวิหารลานวัด
	 บ้างตั้งวงลงเตะตะกร้อเล่น	 เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด
	 ปะเตะโต้คู่กันสันทัด	 บ้างถนัดเข่าเคาะเป็นน่าดู
(กรมศิลปากร,  2514 : 102)
	 พ.ศ. 2366-2394 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า            
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) “สุนทรภู่” กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เขียนบทกวี นิราศเมืองสุพรรณ            
มีบทร้อยกรองถ้อยความเกี่ยวพันถึงค�ำว่า ตะกร้อ ไว้ดังนี้
	 	 ตะวันเย็นเห็นพระพร้อม          	 ล้อมวง
	 ตีปะเตะตะกร้อตรง                    	 คู่โต้
	 สมภารท่านก็ลง                        	 เล่นสนุก  ขลุกแฮ
	 เข่าข้างต่างอวดอ้าง                   	 อกได้  ใจหาย
(กรมศิลปากร, 2514 : 187)
	 พ.ศ.2395ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงยังมีข้ออ้างอิงในหนังสือ
ชื่อ “Narrative of a Residence in Siam” ของชาวอังกฤษชื่อ เฟรเดอริก อาร์เทอร์ นีล (Frederick
Arthur Niel) ระบุว่ามีการเล่นตะกร้อในประเทศสยาม)
	 เหตุผลหรือข้ออ้างที่กล่าวมาทั้งหลายทั้งปวง ย่อมถือเป็นพยานหลักฐานไว้ว่า คนสยามหรือ         
คนไทยได้เล่นตะกร้อมาเป็นเวลาช้านานแล้ว
6
	 กรมพลศึกษา (ม.ป.ป. : 1) ได้กล่าวถึงประวัติกีฬาตะกร้อไว้ว่า กีฬาตะกร้อเกิดขึ้นเมื่อไรสมัยใด
นั้น ไม่สามารถจะบอกได้แน่นอน เพราะสมัยก่อนนั้นไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ เนื่องจากเรานิยมแต่             
ด้านปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลต่าง ๆ ทั้งทางประวัติศาสตร์พงศาวดารและจากจดหมายเหตุ        
ต่าง ๆ พอวิเคราะห์ได้ว่า ตะกร้อมีในประเทศไทยมาช้านานแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายประเทศ
ต่างก็เข้าใจว่า ตะกร้อเกิดขึ้นในประเทศของตนและได้มีอิทธิพลเข้าไปในประเทศใกล้เคียง อย่างที่มี             
ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ตะกร้อเริ่มมีมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ เมื่อตอนที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยา          
แก่พม่าราวพ.ศ.2310ซึ่งครั้งนั้นพม่าตั้งค่ายรักษาพระนครอยู่ที่โพธิ์สามต้นเวลาว่างพม่าได้น�ำตะกร้อ
มาเตะเล่นกัน พม่าได้เรียกตะกร้อนี้ว่า “ชินลง” ซึ่งแปลว่า “ตะกร้อ” โดยปกติการลอกเลียนแบบหรือ
น�ำเอาของคนอื่นมาใช้ต้องคงรูปของสิ่งนั้นหรือค�ำนั้นไว้ ถ้าไทยเราน�ำเอาตะกร้อมาจากพม่าก็น่าจะ  
เรียกตามพม่าให้มีส่วนใกล้เคียงบ้าง อาจจะเป็นชินลางหรือชินลอง ไม่น่าเรียกว่า “ตะกร้อ” เหตุผล        
ที่ว่าพม่าน�ำตะกร้อเข้ามาในประเทศไทยประเด็นนี้น่าจะตกไป ทางประเทศมาเลเซียก็ได้ประกาศว่า
“ตะกร้อ” นั้นเป็นกีฬาของประเทศมลายูเดิมและถือว่าเป็นกีฬาประจ�ำชาติ เรียกว่า เซปัก รากา จาริง
(Sepak-raga jaring) ความหมายของค�ำว่า “Raga” หมายถึง “ตะกร้อ” ซึ่งค�ำก็ใกล้เคียงกับค�ำว่า
“ตะกร้อ”ของไทย แต่ถ้าใช้เหตุผลว่า ไทยจะเอากีฬาของมลายูมาเล่นนั้นไม่น่าเป็นไปได้ เพราะจาก
เหตุผลดังต่อไปนี้
	 เหตุผลประการแรก จากนักประวัติศาสตร์ได้ส�ำรวจแล้วว่า วิวัฒนาการความเจริญย่อมจะแผ่
อาณาเขตจากเหนือลงใต้ ไม่มีวิวัฒนาการที่จะแผ่จากใต้ขึ้นเหนือ สังเกตจากการอพยพของเผ่าพันธุ์
มนุษย์จะถอยร่นจากเหนือลงสู่ทางใต้เรื่อยมา ประเทศใหญ่ ๆ ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตหรือก่อน
ศตวรรษก็มักจะเป็นประเทศอยู่ตอนเหนือแทบทั้งสิ้น ฉะนั้น “ตะกร้อ” จะก่อก�ำเนิดจากประเทศ
มาเลเซียแล้วมานิยมเล่นในประเทศไทยย่อมจะเป็นไปไม่ได้  
	 เหตุผลประการที่ 2 ประเทศไทยและประเทศมาเลเซียนั้นตามหลักฐานประวัติศาสตร์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก�ำเนิดขึ้นก่อนและเก่าแก่กว่าประเทศมาเลเซีย ฉะนั้น ความเจริญก็ยิ่งจะ
เจริญมากกว่าและวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ ก็ย่อมจะดีกว่า จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าตะกร้อจะเกิดจาก
ประเทศมาเลเซีย  
	 เหตุผลประการที่ 3 “กีฬาเซปัก รากา จาริง” ของมาเลเซียที่เล่นอยู่ก็คือตะกร้อหวายเหมือน       
ของไทยเช่นกัน จากข้อนี้ถ้าจะบอกว่า อิทธิพลจากทางใต้ได้แผ่ขึ้นไปตอนเหนือก็จะขัดกับความเป็น      
จริง เพราะว่าทางใต้ของประเทศไทย คือ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ก็มีการเล่นตะกร้อ              
เช่นกัน แต่ลักษณะของตะกร้อเป็นลักษณะเหมือนตะกร้อขนไก่ คือใช้หนังวัวหรือหนังควายขนาดกว้าง
4 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว พับครึ่งให้ปลายต่อกันที่จุดกึ่งกลางพอดี แล้วตัดหนังขนาดพอที่จะผูกขนไก่ 10-12 ชิ้น
ซึ่งประเด็นนี้ไทยไม่เคยได้รับอิทธิพลจากประเทศมาเลเซีย
	 บุญยงค์ เกศเทศ (2547 : 13) ได้กล่าวถึงการเล่นตะกร้อว่า การเล่นตะกร้อในตอนแรก ๆ คง
เตะส่งให้กันเพื่อไม่ให้ตกพื้น หรือช่วยกันเตะเลี้ยงรับส่งประคองไม่ให้ตกถึงพื้น เมื่อมีอันต้องตกถึงพื้น
7
ก็หยิบมาโยนเตะกันใหม่ โดยนิยมเตะกันเป็นวงซึ่งไม่จ�ำกัดจ�ำนวนผู้เล่น ต่อมาผู้เล่นคงเห็นว่าเป็น        
ระยะเวลานานจึงจะได้เตะลูกสักครั้งหนึ่งจึงแยกออกเป็นหลาย ๆ วง วงละประมาณ 3-8 คน ต่อมา        
ได้มีการเล่นพลิกแพลง เช่น เตะตะกร้อลอดห่วง เตะตะกร้อข้ามตาข่าย จึงตั้งชื่อเรียกกันว่า ตะกร้อ
ลอดห่วง และตะกร้อข้ามตาข่าย
	 กรมพลศึกษา (ม.ป.ป. : 6-7) ได้กล่าวถึงประวัติกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายไว้ว่าเริ่มจากนายผล        
ผลาสินธุ์ ได้ทดลองเตะตะกร้อข้ามเชือกซึ่งขึงไว้ตึง เมื่อครั้งก�ำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
ซึ่งความคิดของท่านคงดัดแปลงมาจากการเล่นกีฬาแบดมินตัน ในระยะแรกไม่มีกติกาอะไรมาก           
เพียงแต่แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ข้างแล้วผลัดกันเตะข้ามเชือกที่ขึงไว้ ถ้าฝ่ายไหนรับไม่ได้ก็เสียคะแนน        
ต่อมาตะกร้อข้ามเชือกนิยมเล่นในหมู่นักศึกษาด้วยกัน จนกระทั่งเริ่มให้มีการจัดการแข่งขันกันภายใน
หมู่คณะ
	 พ.ศ. 2468-2477 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า          
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ได้มีการปรับปรุงหรือดัดแปลงการเล่นตะกร้อขึ้น       
หลายรูปแบบ คือ ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย ตะกร้อชิงธง ตะกร้อพลิกแพลง และการติด
ตะกร้อตามร่างกาย
	 พ.ศ. 2470 หลวงมงคลแมน ชื่อเดิมนายสังข์ บูรณะศิริ เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเล่นตะกร้อลอดห่วง
และเป็นผู้คิดประดิษฐ์ห่วงชัยตะกร้อขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมห่วงชัยตะกร้อเรียงติดกันลงมา มี 3 ห่วง
แต่ละห่วงมีความกว้างไม่เท่ากัน กล่าวคือ ห่วงบนเป็นห่วงเล็ก ห่วงกลางจะกว้างกว่าห่วงบน และ         
ห่วงล่างสุดมีความกว้างกว่าทุกห่วง เรียกว่า ห่วงใหญ่ ต่อมาได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปทรง            
ของห่วงชัยเป็นสามเส้าติดกัน โดยทั้ง 3 ห่วง (สามด้าน) มีความกว้างเท่ากัน ดังที่ใช้ท�ำการแข่งขันใน
ปัจจุบัน ส่วนการติดตะกร้อตามร่างกายถือว่าเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ซึ่งการติดลูกตะกร้อ  
ไว้ตามร่างกายเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ต้องได้รับการฝึกอย่างมากประกอบกับพรสวรรค์ เพราะการติดลูก
ตะกร้อต้องกระท�ำโดยลูกตะกร้อลอยมาในอากาศและผู้เล่นต้องใช้อวัยวะของร่างกาย เช่น หน้าผาก
ไหล่ คอ คาง ข้อพับแขน ข้อพับขาด้านหลังหรือขาหนีบ โดยไม่ให้ลูกตะกร้อตกพื้น ผู้ที่มีความสามารถ
ในการติดตะกร้อตามร่างกาย ได้แก่
	 1.	 พ.ศ. 2470 หม่องปาหยิน ชาวพม่าสามารถติดตะกร้อได้จ�ำนวน 5 ลูก การที่น�ำเอาชื่อ         
หม่องปาหยินบันทึกไว้เป็นประวัติการติดลูกตะกร้อของไทย ก็เพราะว่าหม่องปาหยินอาศัยอยู่ใน
ประเทศไทยตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม มีภรรยาเป็นคนไทย ประกอบอาชีพอยู่ในประเทศไทยจนเสียชีวิต
	 2. 	นางชลอศรี ชมเฉวก เป็นชาวอ�ำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถติดลูกตะกร้อ             
ไว้ตามร่างกายได้จ�ำนวน 9 ลูก
	 3. 	นายแปลง สังขวัลย์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร สามารถติดลูกตะกร้อไว้ตามร่างกายได้       
จ�ำนวน 9 ลูก
8
	 4. 	นายคล่อง ไตรสุวรรณ เป็นชาวอ�ำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถติด            
ลูกตะกร้อไว้ตามร่างกายได้ 11 ลูก
	 5.	 นายประสงค์ แสงจันทร์ เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี สามารถติดลูกตะกร้อไว้ตามร่างกายได้
จ�ำนวน 24 ลูก ซึ่งมีการดัดแปลงลูกตะกร้อบางลูกให้เล็กลง (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่)
	 พ.ศ. 2470 คนสยามหรือคนไทยมีความชื่นชอบกีฬาตะกร้อกันอย่างแพร่หลายขึ้น เพราะตาม
เทศกาลงานวัดต่างๆในยุคกรุงรัตนโกสินทร์เช่นวัดสระเกศ(ภูเขาทอง)วัดโพธิ์ท่าเตียนวัดอินทรวิหาร
(บางขุนพรหม) ได้เชิญหม่องปาหยินไปแสดงโชว์การติดลูกตะกร้อตามร่างกาย ซึ่งมีการเก็บเงิน             
ค่าชมด้วย หลังยุคหม่องปาหยิน ยังมีหม่อมราชวงศ์อภินพ นวรัตน์ (หม่อมป๋อง) เป็นอีกผู้หนึ่งที่มี        
ความสามารถเล่นตะกร้อพลิกแพลง ซึ่งก็ได้รับเชิญไปเดาะตะกร้อโชว์ตามเทศกาลงานวัดโรงเรียนและ
มหาวิทยาลัยด้วยและในปีเดียวกันนี้ได้มีการจดทะเบียนก่อตั้ง“สมาคมกีฬาสยาม”อย่างเป็นทางการ
โดยมี “พระยาภิรมย์ภักดี” เป็นนายกสมาคมกีฬาสยามคนแรก ซึ่งได้จัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้าม
ตาข่ายที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรก
	 พ.ศ. 2472 นายยิ้ม ศรีหงษ์ หลวงส�ำเร็จวรรณกิจ ขุนจรรยาวิทิต และนายผล ผลาสินธุ์ ได้             
ร่วมกันคิดวิธีเล่นและกติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายขึ้น โดยดัดแปลงมาจากกีฬาตะกร้อกับกีฬา
แบดมินตัน และใช้จัดการแข่งขันภายในสมาคมกีฬาสยามและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก
	 พ.ศ. 2475-2479 นายยิ้ม ศรีหงส์ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ “โรงพิมพ์ศรีหงส์” ได้รับการแต่งตั้งให้
เป็นนายกสมาคมกีฬาสยาม คนที่ 2 ได้ร่างกฎ กติกาและจัดการแข่งขันกีฬาไทยและกีฬาตะกร้อข้าม
ตาข่ายประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับความสนใจและนิยมเล่นกันทั่วไป เช่น กีฬาว่าว  
ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย ตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ และตะกร้อชิงธง ที่ท้องสนามหลวง  
ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศสยามหรือประเทศไทย
	 พ.ศ. 2476 กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ได้ก่อตั้งกรมพลศึกษาขึ้นและแต่งตั้ง        
ให้นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. ด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษาเป็นคนแรก ซึ่งท่านเป็นผู้มีความ
ส�ำคัญยิ่งในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการเล่นตะกร้อ โดยมีผู้ให้ความช่วยเหลือที่ส�ำคัญจ�ำนวน 5 คน คือ  
คุณพระวิบูลย์ คุณหลวงมงคลแมน คุณหลวงประคูณ พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ และพระยาภักดี            
นรเศรษฐ (นายเลิด) ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการรถเมล์และโรงน�้ำแข็ง
	 พ.ศ. 2479 พระยาจินดารักษ์ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา คนที่ 2         
ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขกติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น                  
ซึ่งกรมพลศึกษาได้ประกาศใช้กติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2480 และ      
จัดให้มีการแข่งขันระหว่างโรงเรียนมัธยมชายขึ้นทั่วประเทศด้วย
	 พ.ศ. 2480-2484 นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสมาคมกีฬา  
สยาม คนที่ 3
9
	 พ.ศ. 2482 “ประเทศสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” จึงท�ำให้นาวาเอก หลวง               
ศุภชลาศัย ร.น. ด�ำรงต�ำแหน่ง 2 สถานภาพในคราวเดียวกัน กล่าวคือ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคม       
กีฬาสยาม คนที่ 3 และรักษาการต�ำแหน่งนายกสมาคมกีฬาไทยด้วย เพราะว่าสมาคมกีฬาสยามได้
เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทยตามการเปลี่ยนชื่อของประเทศนั่นเอง
	 พ.ศ. 2484-2490 พระยาจินดารักษ์ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคมกีฬาไทย       
คนที่ 1
	 พ.ศ. 2485 กีฬาตะกร้อได้ลดความนิยมลงเนื่องจากเกิดภาวะสงครามโลก ครั้งที่ 2 หลังจาก
สงครามได้สงบลง ได้มีการฟื้นฟูและส่งเสริมกีฬาตะกร้อขึ้นมาอีกครั้ง โดยเฉพาะกีฬาตะกร้อลอดห่วง
และกีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย
	 พ.ศ. 2490-2498 พันเอก หลวงรณสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม       
กีฬาไทย คนที่ 2 โดยท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นผู้อุปถัมภ์พิเศษ
	 พ.ศ. 2498-2500 จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล ร.น. ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่ง       
เป็นนายกสมาคมกีฬาไทย คนที่ 3
	 พ.ศ. 2500-2503 พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายก       
สมาคมกีฬาไทย คนที่ 4  
	 พ.ศ. 2501 หลวงสุขุมนัยประดิษฐ ขณะนั้นด�ำรงต�ำแหน่งรองประธานคณะกรรมการ           
โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ได้เป็นผู้คิดริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มประเทศแหลมทอง
ขึ้นในลักษณะคล้ายคลึงกับกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) หรือกีฬาโอลิมปิกเกมส์ (Olympic
Games) เพื่อยกระดับมาตรฐานการกีฬาของประเทศกลุ่มแหลมทองให้สูงขึ้น และต่อมาในระหว่าง        
การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยน�ำแนวความคิด          
การจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนไปปรึกษาหารือกับกลุ่มประเทศอาเซียน          
ด้วยกัน ที่ประชุมเห็นชอบและมีมติให้จัดการแข่งขันโดยใช้ชื่อว่า การแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ (The  
South East Asia Peninsular Games or Seap Games) และได้จัดการแข่งขันขึ้นครั้งแรกที่
ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12-17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ได้มีการปรึกษา      
หารือให้กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาสาธิตไว้ด้วย
	 พ.ศ. 2502 ได้มีการแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ (Seap Games) ครั้งที่ 1 (ปัจจุบันเรียกว่า กีฬา  
ซีเกมส์ (The South East Asian Games or Sea Games) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
ในครั้งนั้นยังไม่ได้บรรจุกีฬาตะกร้อเข้าในการแข่งขัน มีแต่คณะนักกีฬาตะกร้อชาวเมียนมา (พม่า)         
มาเล่นตะกร้อพลิกแพลงให้ชาวไทยได้ชมและในโอกาสเดียวกันสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้เชิญคณะนักกีฬาตะกร้อชาวเมียนมาไปชมการแข่งขันกีฬาตะกร้อลอดห่วงและตะกร้อข้ามตาข่าย
แบบไทย จึงได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และจะพยายามผลักดัน       
กีฬาตะกร้อให้บรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ (Seap Games) ครั้งต่อไป
10
	 ต่อมาในช่วงต้น พ.ศ. 2503 พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้น�ำความกราบบังคมทูล พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ขอให้ “สมาคมกีฬาไทย” อยู่ใน “พระบรม-
ราชูปถัมภ์”
	 วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ          
ให้รับสมาคมกีฬาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาไทยจึงได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นสมาคม        
กีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
	 พ.ศ. 2504 ประเทศเมียนมาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ ครั้งที่ 2 ได้เชิญนักกีฬา
ตะกร้อไทยไปร่วมแสดงโชว์ซึ่งประเทศไทยได้ส่งทีมตะกร้อลอดห่วงไปแสดงโชว์และได้รับความชื่นชอบ
จากชาวเมียนมาเป็นอย่างมาก
	 พ.ศ. 2504-2511 พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายก      
สมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 1
	 พ.ศ. 2512 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทย ในพระบรม-
ราชูปถัมภ์ชุดใหม่ พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้รับการเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม       
กีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 2 อีกวาระหนึ่ง
	 พ.ศ. 2517 หลวงสัมฤทธิ์วิศวกรรมได้รับการเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม             
กีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 3 แต่ก็ด�ำรงต�ำแหน่งได้เพียงปีเดียวก็ลาออก เนื่องจากสุขภาพ       
ไม่ดี
	 พ.ศ. 2518-2526 พลโท เผชิญ นิมิบุตรได้รับการเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม       
กีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 4 ในช่วงที่พลโท เผชิญ นิมิบุตร ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคมกีฬา
ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อภายใน
ประเทศไทยอย่างมากมายหลายประการ ซึ่งเหตุการณ์ที่ส�ำคัญได้แก่ การแยกแผนกกีฬาตะกร้อออก
จากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อกลางพ.ศ.2524เนื่องจากสมาคมกีฬาไทยในพระบรม-
ราชูปถัมภ์ มีภารกิจมากเกินไปท�ำให้กีฬาเซปักตะกร้อไทยไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรและการจัด
กิจกรรมของสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีเพียงการแข่งขันที่สนามหลวงปีละ 1 ครั้ง                
ดังนั้น พันเอก (พิเศษ) เดชา กาลบุตร เลขานุการสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ                  
นายนพชัย วุฒิกมลชัย หัวหน้าแผนกกีฬาตะกร้อ ได้ปรึกษาหารือกันเพื่อน�ำเรื่องขออนุมัติต่อที่ประชุม
คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอให้ที่ประชุมพิจารณาผลการแข่งขัน
เซปักตะกร้อไทยกับมาเลเซียในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาพร้อมเสนอข้อมูลที่แท้จริงให้ที่ประชุมพิจารณา        
ผลสุดท้ายที่ประชุมมีมติรับหลักการในการเสนอขอแยกไปจัดตั้งเป็นสมาคมตะกร้อขึ้นอีกสมาคมหนึ่ง        
โดยได้มอบหมายให้พันเอก (พิเศษ) เดชา กาลบุตร กับคณะเป็นผู้ออกกฎ ข้อบังคับสมาคมตะกร้อ  
จนถึงเวลาในการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติให้แยกแผนกกีฬาตะกร้อออกจาก
สมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อจดทะเบียนก่อตั้งสมาคมตะกร้อและให้สมาชิกที่มีกิจกรรม

More Related Content

What's hot

วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...
วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...
วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...
ssuser920267
 
ประวัติลูกเสือ
ประวัติลูกเสือประวัติลูกเสือ
ประวัติลูกเสือguest64f3d9
 
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียนเค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียนphysical04
 
ฟุตบอลFootball
ฟุตบอลFootballฟุตบอลFootball
ฟุตบอลFootball
Pachara Panchai Ice
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1Ocean'Funny Haha
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
Phongsak Kongkham
 
Em ball By ACR 58
Em ball By ACR 58Em ball By ACR 58
Em ball By ACR 58
Channarong_13383
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
Supada Phuluang
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Thanawut Rattanadon
 
Cippa model
Cippa modelCippa model
Cippa model
DuangdenSandee
 
Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)
Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)
Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)
wiriya kosit
 
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
พัน พัน
 
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
ungpao
 
หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งMapowzee Dahajee
 
1.ประเภทของการวิ่ง 2ประเภทของนักวิ่ง 3ประวัติกรีฑา 4กติกากรีฑา 5.การเลือก...
1.ประเภทของการวิ่ง  2ประเภทของนักวิ่ง  3ประวัติกรีฑา  4กติกากรีฑา  5.การเลือก...1.ประเภทของการวิ่ง  2ประเภทของนักวิ่ง  3ประวัติกรีฑา  4กติกากรีฑา  5.การเลือก...
1.ประเภทของการวิ่ง 2ประเภทของนักวิ่ง 3ประวัติกรีฑา 4กติกากรีฑา 5.การเลือก...
Sassyblue Yoyoyim
 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
สุรินทร์ ดีแก้วเกษ
 
3.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 3
3.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 33.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 3
3.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 3Kruthai Kidsdee
 
Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20
Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20
Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
พละ ม.1
พละ ม.1พละ ม.1
พละ ม.1
Computer ITSWKJ
 

What's hot (20)

วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...
วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...
วิทย์ ม.2 บทที่ 5 งาน กำลัง และเครื่องกลอย่างง่าย (คาน รอก พื้นเอียง ลิ่ม ล้อ...
 
ประวัติลูกเสือ
ประวัติลูกเสือประวัติลูกเสือ
ประวัติลูกเสือ
 
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียนเค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน
 
ฟุตบอลFootball
ฟุตบอลFootballฟุตบอลFootball
ฟุตบอลFootball
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
Em ball By ACR 58
Em ball By ACR 58Em ball By ACR 58
Em ball By ACR 58
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
Cippa model
Cippa modelCippa model
Cippa model
 
Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)
Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)
Ep03 บวก ลบ คูณ หาร เลขนัยสำคัญ (เรียนฟิสิกส์กับครูอุ๋ย)
 
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
โครงงานเว็บไซต์โทษของบุหรี่
 
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน-ประจำปีการศึกษา-2561
 
หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่ง
 
1.ประเภทของการวิ่ง 2ประเภทของนักวิ่ง 3ประวัติกรีฑา 4กติกากรีฑา 5.การเลือก...
1.ประเภทของการวิ่ง  2ประเภทของนักวิ่ง  3ประวัติกรีฑา  4กติกากรีฑา  5.การเลือก...1.ประเภทของการวิ่ง  2ประเภทของนักวิ่ง  3ประวัติกรีฑา  4กติกากรีฑา  5.การเลือก...
1.ประเภทของการวิ่ง 2ประเภทของนักวิ่ง 3ประวัติกรีฑา 4กติกากรีฑา 5.การเลือก...
 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 
3.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 3
3.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 33.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 3
3.แผนสุขศึกษาหลีกเลี่ยงความรุนแรงม. 3
 
Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20
Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20
Unit4 ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
พละ ม.1
พละ ม.1พละ ม.1
พละ ม.1
 

Viewers also liked

9789740335863
97897403358639789740335863
9789740335863
CUPress
 
9789740335696
97897403356969789740335696
9789740335696
CUPress
 
9789740335702
97897403357029789740335702
9789740335702
CUPress
 
9789740335566
97897403355669789740335566
9789740335566
CUPress
 
9789740333418
97897403334189789740333418
9789740333418
CUPress
 
9789740331292
97897403312929789740331292
9789740331292
CUPress
 
9789740332923
97897403329239789740332923
9789740332923CUPress
 
9789740335627
97897403356279789740335627
9789740335627
CUPress
 
9789740333302
97897403333029789740333302
9789740333302CUPress
 
9789740335603
97897403356039789740335603
9789740335603
CUPress
 
9789740333579
97897403335799789740333579
9789740333579
CUPress
 
9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832
CUPress
 
9789740335146
97897403351469789740335146
9789740335146
CUPress
 
9789740333333
97897403333339789740333333
9789740333333CUPress
 
123a
123a123a
123a
O J
 
9789740329831
97897403298319789740329831
9789740329831
CUPress
 
Eduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicos
Eduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicosEduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicos
Eduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicos
Mestrado em Planeamento Regional e Urbano (UA)
 
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตsarun_ss
 
9789740333449
97897403334499789740333449
9789740333449
CUPress
 
มะเร็งปอด
มะเร็งปอดมะเร็งปอด
มะเร็งปอดWan Ngamwongwan
 

Viewers also liked (20)

9789740335863
97897403358639789740335863
9789740335863
 
9789740335696
97897403356969789740335696
9789740335696
 
9789740335702
97897403357029789740335702
9789740335702
 
9789740335566
97897403355669789740335566
9789740335566
 
9789740333418
97897403334189789740333418
9789740333418
 
9789740331292
97897403312929789740331292
9789740331292
 
9789740332923
97897403329239789740332923
9789740332923
 
9789740335627
97897403356279789740335627
9789740335627
 
9789740333302
97897403333029789740333302
9789740333302
 
9789740335603
97897403356039789740335603
9789740335603
 
9789740333579
97897403335799789740333579
9789740333579
 
9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832
 
9789740335146
97897403351469789740335146
9789740335146
 
9789740333333
97897403333339789740333333
9789740333333
 
123a
123a123a
123a
 
9789740329831
97897403298319789740329831
9789740329831
 
Eduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicos
Eduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicosEduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicos
Eduardo Anselmo Castro - Metodologias de participação em planos estratégicos
 
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
 
9789740333449
97897403334499789740333449
9789740333449
 
มะเร็งปอด
มะเร็งปอดมะเร็งปอด
มะเร็งปอด
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740335597

  • 1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาเซปักตะกร้อ กีฬาเซปักตะกร้อได้มีวิวัฒนาการมาจากการเล่นกีฬาตะกร้อของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ซึ่งได้คิดดัดแปลงวิธีการเล่นผสมผสานกันระหว่าง กีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายของประเทศไทยกับกีฬาเซปัก รากา จาริง (Sepak Raga Jaring) ของประเทศ มาเลเซีย โดยสหพันธ์เซปักตะกร้อแห่งอาเซียน (Asian Sepaktakraw Federation or ASTAF) เป็น ผู้ก�ำหนดชื่อกีฬาเซปักตะกร้อขึ้นและประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2508 โดยได้มีการจัดการแข่งขันตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึงการแข่งขันในระดับกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) และปัจจุบันได้พยายามผลักดันให้เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) เพื่อบรรจุให้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอนาคตต่อไป ประโยชน์ ที่ได้รับจากการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อมีหลายด้านด้วยกัน เช่น ทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม เนื้อหา 1. ความหมายของกีฬาเซปักตะกร้อ 2. ความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อ 3. ประวัติความเป็นมาของกีฬาเซปักตะกร้อ 4. กีฬาเซปักตะกร้อในกีฬาซีเกมส์ 5. กีฬาเซปักตะกร้อในกีฬาเอเชียนเกมส์ 6. ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ 7. อุปกรณ์และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก 8. การดูแลและการรักษาอุปกรณ์กีฬาเซปักตะกร้อ 9. มารยาทและความปลอดภัยในการเล่น บ ท ที่ 1
  • 2. 2 1. ความหมายของกีฬาเซปักตะกร้อ ค�ำว่า“ตะกร้อ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 437) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา ๆ ส�ำหรับเตะ” ฟอง เกิดแก้ว (2521 : 333) กล่าวว่า “กีฬาตะกร้อ” หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งสานด้วยหวาย ส�ำหรับเตะเล่นบ้าง บางอย่างท�ำด้วยหนังปักพู่ขนไก่” สุพจน์ ปราณี (2549 : 1) กล่าวไว้ว่า “กีฬาเซปักตะกร้อ หมายถึง การแข่งขันที่ประกอบด้วย ผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน แต่ละฝ่ายพยายามให้ลูกตะกร้อตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้ามจึงจะได้คะแนน” วิทเวช วงศ์เพม (2543 : 2) กล่าวไว้ว่า “กีฬาเซปักตะกร้อ หมายถึง การแข่งขันที่ประกอบด้วย ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้าเล่นก่อนและอีกฝ่ายหนึ่งตั้งรับ แต่ละฝ่ายพยายามเล่น ไม่เกิน 3 ครั้งเพื่อให้ลูกตะกร้อตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้ามจึงจะได้คะแนน” สรุปได้ว่า “กีฬาเซปักตะกร้อ หมายถึง การแข่งขันที่ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน เริ่มเล่น โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้าเล่นก่อนโดยการโยนและเสิร์ฟจ�ำนวน 3 ครั้งและอีกฝ่ายหนึ่งเปิดตั้งชงลูก และรุกหรือท�ำบริเวณหน้าตาข่ายจ�ำนวน 3 ครั้งสลับกัน แต่ละฝ่ายพยายามเล่นไม่เกิน 3 ครั้งเพื่อให้ ลูกตะกร้อตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้ามจึงจะได้คะแนน” 2. ความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อ สถาพร เกษแก้ว (2543 : 5) กล่าวถึงความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อไว้ว่า กีฬาทุกชนิดถ้า ผู้เล่นน�ำไปใช้ให้ถูกต้องแล้วย่อมกลายเป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดสังคมมิตรภาพ ความสามัคคี กลมเกลียว ปลูกฝังความมีน�้ำใจ นักกีฬาถ้าหากมีทักษะหรือความสามารถสูงย่อมมีโอกาสเป็นตัวแทน ของสถาบันการศึกษา สโมสร เขตและตัวแทนของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นการประกาศเกียรติคุณและ ได้รับผลประโยชน์จากการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ ซึ่งมีความส�ำคัญดังนี้ 1. เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่ 2. เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ท�ำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย 3. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท�ำให้ว่องไวปราดเปรียว 4. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และ มีปฏิภาณไหวพริบดี 5. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง 6. เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น 7. เป็นกีฬาที่ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจ�ำชาติไทย
  • 3. 3 รังสฤษฏ์ บุญชลอ (2543 : 10) ได้สรุปความส�ำคัญของการเล่นกีฬาตะกร้อไว้กว้าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้าน ร่างกายและจิตใจ 2. เป็นกีฬาที่ประหยัดค่าใช้จ่าย เล่นง่าย กติกาและระเบียบการแข่งขันไม่เคร่งครัด 3. เป็นกีฬาที่ไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่ 4. เป็นกีฬาที่กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว ว่องไว สร้างเสริม บุคลิกภาพ 5. เป็นกีฬาที่สร้างเสริมอารมณ์ ความคิดและจิตใจให้มีความสุขุม รอบคอบ เยือกเย็น 6. เป็นกีฬาที่ช่วยให้ระบบประสาทท�ำงานประสานกับระบบอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7. เป็นกีฬาที่สร้างเสริมความสามัคคีในหมู่คณะและสังคมรวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเข้าสังคม และพัฒนาชุมชนทางด้านสุขภาพและพลานามัย 8. เป็นกีฬาที่ใช้เป็นแนวทาง หรือทักษะพื้นฐานอันน�ำไปสู่การเล่นกีฬาชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ฟุตบอล 9. เป็นกีฬาที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประจ�ำชาติ ที่ดีงามให้คงไว้ 10. เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามารถด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้ง ทักษะที่สูงมากส�ำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นเลิศทางด้านกีฬาตะกร้อ ถ้าผู้เล่นมีความตั้งใจใช้ความ เพียรพยายามที่ดีอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างชื่อเสียง เกียรติประวัติให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติได้ จึงสรุปความส�ำคัญของกีฬาเซปักตะกร้อ ได้ดังต่อไปนี้ 1. เป็นกีฬาที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางด้าน ร่างกายและจิตใจ 2. เป็นกีฬาที่มีอุปกรณ์การเล่นราคาถูก ท�ำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย 3. เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่ 4. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวงสังคมกว้างขวาง 5. เป็นกีฬาที่มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น 6. เป็นกีฬาที่ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจ�ำชาติไทย 7. เป็นกีฬาที่สร้างเสริมความสามัคคีในหมู่คณะและสังคมรวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเข้าสังคม และพัฒนาชุมชนทางด้านสุขภาพและพลานามัย 8. เป็นกีฬาที่มีกติกาและระเบียบการแข่งขันไม่เคร่งครัดมากนัก 9. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจ ให้รู้จักการตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมี ปฏิภาณไหวพริบดี
  • 4. 4 10. เป็นกีฬาที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ท�ำให้ว่องไวปราดเปรียว 11. เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามารถด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้ง ทักษะที่สูงมากส�ำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นเลิศทางด้านกีฬาตะกร้อ ถ้าผู้เล่นมีความตั้งใจใช้ความ เพียรพยายามที่ดีอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ สร้างชื่อเสียง เกียรติประวัติให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติได้ 3. ประวัติความเป็นมาของกีฬาเซปักตะกร้อ กีฬาเซปักตะกร้อได้มีวิวัฒนาการมาจากการเล่นกีฬาตะกร้อของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ซึ่งได้คิดดัดแปลงวิธีการเล่นผสมผสานกันระหว่าง กีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายของประเทศไทยกับกีฬาเซปัก รากา จาริง (Sepak-Raga Jaring) ของประเทศ มาเลเชีย โดยสหพันธ์เซปักตะกร้อแห่งอาเซียน (Asian Sepaktakraw Federation, ASTAF) เป็น ผู้ก�ำหนดชื่อกีฬาเซปักตะกร้อขึ้นและประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ได้มีการจัดการแข่งขันตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึงการแข่งขันในระดับกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) และปัจจุบันได้พยายามผลักดันให้เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) เพื่อบรรจุให้เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอนาคตต่อไป กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาของชนชาติเอเชีย ซึ่งมีหลายประเทศนิยมเล่นกัน แต่ละประเทศก็มีวิธี การเล่นหรือกติกาที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศพม่าเตะกันแบบล้อมเป็นวง (5-6 คน) พม่าเรียก ตะกร้อว่า ชินลง (Chin Long) ประเทศมาเลเซียเล่นตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่งดัดแปลงการเล่นมาจาก กีฬาวอลเลย์บอล แต่ได้ก�ำหนดให้สนามเล็กลงและมีผู้เล่นน้อยลง (จาก 6 คน เหลือ 3 คน) เรียกว่า เซปัก รากา จาริง (Sepak-Raga Jaring) โดยแปลความหมายได้ว่า “เตะตะกร้อข้ามตาข่าย” มาเลเซีย เรียกลูกตะกร้อว่า“รากา” ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ประเทศไทยเดิมชื่อ “ประเทศสยาม” ในช่วง พ.ศ.2133-2149เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวง คนไทยหรือคนสยามมีการเริ่มเล่นตะกร้อที่ท�ำด้วยหวาย ซึ่งเป็นการเล่นตะกร้อวง (ล้อมวงกันเตะ) พ.ศ. 2199-2231 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในยุคสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง มีคณะสอนศาสนาชาวฝรั่งเศสมาพ�ำนักในกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2205 มีการสร้างวัดนักบุญยอเซฟ นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีบันทึกของบาทหลวงเดรียง โลเนย์ ว่าชาวสยามชอบเล่นตะกร้อกันมาก ต่อมา พ.ศ. 2315 เป็นช่วงหมดยุคกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นตอนต้นแห่งยุคสมัยกรุงธนบุรี เป็นเมืองหลวง ได้มีชาวฝรั่งเศสชื่อนายฟรังซัว อังรี ตุระแปง ได้บันทึกในหนังสือชื่อ “Histoire
  • 5. 5 DuRoyaume De Siam” พิมพ์ที่กรุงปารีส ระบุว่า ชาวสยามชอบเล่นตะกร้อในยามว่างเพื่อออก ก�ำลังกาย(ปิยะศักดิ์มุทาลัย,2557:สืบค้นเมื่อ9เมษายน2557;Onlinefromhttp://www.takraw. or.th/th/index.php?action=background_takraw.htm) การเล่นตะกร้อของคนไทยหรือคนสยามมีหลักฐานอ้างอิงค่อนข้างจะชัดเจนว่ามีการเล่นกัน มานานแล้วตั้งแต่ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง พยานหลักฐานส�ำคัญที่จะยืนยันหรืออ้างอิง ได้ดีที่สุดน่าจะเป็นบทกวีในวรรณคดีต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยที่เรียงร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึงค�ำว่า ตะกร้อไว้ เช่น พ.ศ. 2352-2366 เป็นยุคตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพมหานคร) เป็นเมืองหลวง สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่2)ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้พระราชนิพนธ์ ร้อยกรองของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา มีบทร้อยกรองถ้อยความเกี่ยวพันถึงค�ำว่า “ตะกร้อ” ดังนี้ บัดนั้น เสนากิดาหยันน้อยใหญ่ บรรดาที่ตามเสด็จไป อยู่ในหน้าวิหารลานวัด บ้างตั้งวงลงเตะตะกร้อเล่น เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด ปะเตะโต้คู่กันสันทัด บ้างถนัดเข่าเคาะเป็นน่าดู (กรมศิลปากร, 2514 : 102) พ.ศ. 2366-2394 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) “สุนทรภู่” กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เขียนบทกวี นิราศเมืองสุพรรณ มีบทร้อยกรองถ้อยความเกี่ยวพันถึงค�ำว่า ตะกร้อ ไว้ดังนี้ ตะวันเย็นเห็นพระพร้อม ล้อมวง ตีปะเตะตะกร้อตรง คู่โต้ สมภารท่านก็ลง เล่นสนุก ขลุกแฮ เข่าข้างต่างอวดอ้าง อกได้ ใจหาย (กรมศิลปากร, 2514 : 187) พ.ศ.2395ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงยังมีข้ออ้างอิงในหนังสือ ชื่อ “Narrative of a Residence in Siam” ของชาวอังกฤษชื่อ เฟรเดอริก อาร์เทอร์ นีล (Frederick Arthur Niel) ระบุว่ามีการเล่นตะกร้อในประเทศสยาม) เหตุผลหรือข้ออ้างที่กล่าวมาทั้งหลายทั้งปวง ย่อมถือเป็นพยานหลักฐานไว้ว่า คนสยามหรือ คนไทยได้เล่นตะกร้อมาเป็นเวลาช้านานแล้ว
  • 6. 6 กรมพลศึกษา (ม.ป.ป. : 1) ได้กล่าวถึงประวัติกีฬาตะกร้อไว้ว่า กีฬาตะกร้อเกิดขึ้นเมื่อไรสมัยใด นั้น ไม่สามารถจะบอกได้แน่นอน เพราะสมัยก่อนนั้นไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ เนื่องจากเรานิยมแต่ ด้านปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลต่าง ๆ ทั้งทางประวัติศาสตร์พงศาวดารและจากจดหมายเหตุ ต่าง ๆ พอวิเคราะห์ได้ว่า ตะกร้อมีในประเทศไทยมาช้านานแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายประเทศ ต่างก็เข้าใจว่า ตะกร้อเกิดขึ้นในประเทศของตนและได้มีอิทธิพลเข้าไปในประเทศใกล้เคียง อย่างที่มี ผู้รู้บางท่านกล่าวว่า ตะกร้อเริ่มมีมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ เมื่อตอนที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าราวพ.ศ.2310ซึ่งครั้งนั้นพม่าตั้งค่ายรักษาพระนครอยู่ที่โพธิ์สามต้นเวลาว่างพม่าได้น�ำตะกร้อ มาเตะเล่นกัน พม่าได้เรียกตะกร้อนี้ว่า “ชินลง” ซึ่งแปลว่า “ตะกร้อ” โดยปกติการลอกเลียนแบบหรือ น�ำเอาของคนอื่นมาใช้ต้องคงรูปของสิ่งนั้นหรือค�ำนั้นไว้ ถ้าไทยเราน�ำเอาตะกร้อมาจากพม่าก็น่าจะ เรียกตามพม่าให้มีส่วนใกล้เคียงบ้าง อาจจะเป็นชินลางหรือชินลอง ไม่น่าเรียกว่า “ตะกร้อ” เหตุผล ที่ว่าพม่าน�ำตะกร้อเข้ามาในประเทศไทยประเด็นนี้น่าจะตกไป ทางประเทศมาเลเซียก็ได้ประกาศว่า “ตะกร้อ” นั้นเป็นกีฬาของประเทศมลายูเดิมและถือว่าเป็นกีฬาประจ�ำชาติ เรียกว่า เซปัก รากา จาริง (Sepak-raga jaring) ความหมายของค�ำว่า “Raga” หมายถึง “ตะกร้อ” ซึ่งค�ำก็ใกล้เคียงกับค�ำว่า “ตะกร้อ”ของไทย แต่ถ้าใช้เหตุผลว่า ไทยจะเอากีฬาของมลายูมาเล่นนั้นไม่น่าเป็นไปได้ เพราะจาก เหตุผลดังต่อไปนี้ เหตุผลประการแรก จากนักประวัติศาสตร์ได้ส�ำรวจแล้วว่า วิวัฒนาการความเจริญย่อมจะแผ่ อาณาเขตจากเหนือลงใต้ ไม่มีวิวัฒนาการที่จะแผ่จากใต้ขึ้นเหนือ สังเกตจากการอพยพของเผ่าพันธุ์ มนุษย์จะถอยร่นจากเหนือลงสู่ทางใต้เรื่อยมา ประเทศใหญ่ ๆ ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตหรือก่อน ศตวรรษก็มักจะเป็นประเทศอยู่ตอนเหนือแทบทั้งสิ้น ฉะนั้น “ตะกร้อ” จะก่อก�ำเนิดจากประเทศ มาเลเซียแล้วมานิยมเล่นในประเทศไทยย่อมจะเป็นไปไม่ได้ เหตุผลประการที่ 2 ประเทศไทยและประเทศมาเลเซียนั้นตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก�ำเนิดขึ้นก่อนและเก่าแก่กว่าประเทศมาเลเซีย ฉะนั้น ความเจริญก็ยิ่งจะ เจริญมากกว่าและวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ ก็ย่อมจะดีกว่า จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าตะกร้อจะเกิดจาก ประเทศมาเลเซีย เหตุผลประการที่ 3 “กีฬาเซปัก รากา จาริง” ของมาเลเซียที่เล่นอยู่ก็คือตะกร้อหวายเหมือน ของไทยเช่นกัน จากข้อนี้ถ้าจะบอกว่า อิทธิพลจากทางใต้ได้แผ่ขึ้นไปตอนเหนือก็จะขัดกับความเป็น จริง เพราะว่าทางใต้ของประเทศไทย คือ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี ก็มีการเล่นตะกร้อ เช่นกัน แต่ลักษณะของตะกร้อเป็นลักษณะเหมือนตะกร้อขนไก่ คือใช้หนังวัวหรือหนังควายขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว พับครึ่งให้ปลายต่อกันที่จุดกึ่งกลางพอดี แล้วตัดหนังขนาดพอที่จะผูกขนไก่ 10-12 ชิ้น ซึ่งประเด็นนี้ไทยไม่เคยได้รับอิทธิพลจากประเทศมาเลเซีย บุญยงค์ เกศเทศ (2547 : 13) ได้กล่าวถึงการเล่นตะกร้อว่า การเล่นตะกร้อในตอนแรก ๆ คง เตะส่งให้กันเพื่อไม่ให้ตกพื้น หรือช่วยกันเตะเลี้ยงรับส่งประคองไม่ให้ตกถึงพื้น เมื่อมีอันต้องตกถึงพื้น
  • 7. 7 ก็หยิบมาโยนเตะกันใหม่ โดยนิยมเตะกันเป็นวงซึ่งไม่จ�ำกัดจ�ำนวนผู้เล่น ต่อมาผู้เล่นคงเห็นว่าเป็น ระยะเวลานานจึงจะได้เตะลูกสักครั้งหนึ่งจึงแยกออกเป็นหลาย ๆ วง วงละประมาณ 3-8 คน ต่อมา ได้มีการเล่นพลิกแพลง เช่น เตะตะกร้อลอดห่วง เตะตะกร้อข้ามตาข่าย จึงตั้งชื่อเรียกกันว่า ตะกร้อ ลอดห่วง และตะกร้อข้ามตาข่าย กรมพลศึกษา (ม.ป.ป. : 6-7) ได้กล่าวถึงประวัติกีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายไว้ว่าเริ่มจากนายผล ผลาสินธุ์ ได้ทดลองเตะตะกร้อข้ามเชือกซึ่งขึงไว้ตึง เมื่อครั้งก�ำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งความคิดของท่านคงดัดแปลงมาจากการเล่นกีฬาแบดมินตัน ในระยะแรกไม่มีกติกาอะไรมาก เพียงแต่แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ข้างแล้วผลัดกันเตะข้ามเชือกที่ขึงไว้ ถ้าฝ่ายไหนรับไม่ได้ก็เสียคะแนน ต่อมาตะกร้อข้ามเชือกนิยมเล่นในหมู่นักศึกษาด้วยกัน จนกระทั่งเริ่มให้มีการจัดการแข่งขันกันภายใน หมู่คณะ พ.ศ. 2468-2477 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ได้มีการปรับปรุงหรือดัดแปลงการเล่นตะกร้อขึ้น หลายรูปแบบ คือ ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย ตะกร้อชิงธง ตะกร้อพลิกแพลง และการติด ตะกร้อตามร่างกาย พ.ศ. 2470 หลวงมงคลแมน ชื่อเดิมนายสังข์ บูรณะศิริ เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเล่นตะกร้อลอดห่วง และเป็นผู้คิดประดิษฐ์ห่วงชัยตะกร้อขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมห่วงชัยตะกร้อเรียงติดกันลงมา มี 3 ห่วง แต่ละห่วงมีความกว้างไม่เท่ากัน กล่าวคือ ห่วงบนเป็นห่วงเล็ก ห่วงกลางจะกว้างกว่าห่วงบน และ ห่วงล่างสุดมีความกว้างกว่าทุกห่วง เรียกว่า ห่วงใหญ่ ต่อมาได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปทรง ของห่วงชัยเป็นสามเส้าติดกัน โดยทั้ง 3 ห่วง (สามด้าน) มีความกว้างเท่ากัน ดังที่ใช้ท�ำการแข่งขันใน ปัจจุบัน ส่วนการติดตะกร้อตามร่างกายถือว่าเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ซึ่งการติดลูกตะกร้อ ไว้ตามร่างกายเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ต้องได้รับการฝึกอย่างมากประกอบกับพรสวรรค์ เพราะการติดลูก ตะกร้อต้องกระท�ำโดยลูกตะกร้อลอยมาในอากาศและผู้เล่นต้องใช้อวัยวะของร่างกาย เช่น หน้าผาก ไหล่ คอ คาง ข้อพับแขน ข้อพับขาด้านหลังหรือขาหนีบ โดยไม่ให้ลูกตะกร้อตกพื้น ผู้ที่มีความสามารถ ในการติดตะกร้อตามร่างกาย ได้แก่ 1. พ.ศ. 2470 หม่องปาหยิน ชาวพม่าสามารถติดตะกร้อได้จ�ำนวน 5 ลูก การที่น�ำเอาชื่อ หม่องปาหยินบันทึกไว้เป็นประวัติการติดลูกตะกร้อของไทย ก็เพราะว่าหม่องปาหยินอาศัยอยู่ใน ประเทศไทยตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม มีภรรยาเป็นคนไทย ประกอบอาชีพอยู่ในประเทศไทยจนเสียชีวิต 2. นางชลอศรี ชมเฉวก เป็นชาวอ�ำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถติดลูกตะกร้อ ไว้ตามร่างกายได้จ�ำนวน 9 ลูก 3. นายแปลง สังขวัลย์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร สามารถติดลูกตะกร้อไว้ตามร่างกายได้ จ�ำนวน 9 ลูก
  • 8. 8 4. นายคล่อง ไตรสุวรรณ เป็นชาวอ�ำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถติด ลูกตะกร้อไว้ตามร่างกายได้ 11 ลูก 5. นายประสงค์ แสงจันทร์ เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี สามารถติดลูกตะกร้อไว้ตามร่างกายได้ จ�ำนวน 24 ลูก ซึ่งมีการดัดแปลงลูกตะกร้อบางลูกให้เล็กลง (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่) พ.ศ. 2470 คนสยามหรือคนไทยมีความชื่นชอบกีฬาตะกร้อกันอย่างแพร่หลายขึ้น เพราะตาม เทศกาลงานวัดต่างๆในยุคกรุงรัตนโกสินทร์เช่นวัดสระเกศ(ภูเขาทอง)วัดโพธิ์ท่าเตียนวัดอินทรวิหาร (บางขุนพรหม) ได้เชิญหม่องปาหยินไปแสดงโชว์การติดลูกตะกร้อตามร่างกาย ซึ่งมีการเก็บเงิน ค่าชมด้วย หลังยุคหม่องปาหยิน ยังมีหม่อมราชวงศ์อภินพ นวรัตน์ (หม่อมป๋อง) เป็นอีกผู้หนึ่งที่มี ความสามารถเล่นตะกร้อพลิกแพลง ซึ่งก็ได้รับเชิญไปเดาะตะกร้อโชว์ตามเทศกาลงานวัดโรงเรียนและ มหาวิทยาลัยด้วยและในปีเดียวกันนี้ได้มีการจดทะเบียนก่อตั้ง“สมาคมกีฬาสยาม”อย่างเป็นทางการ โดยมี “พระยาภิรมย์ภักดี” เป็นนายกสมาคมกีฬาสยามคนแรก ซึ่งได้จัดให้มีการแข่งขันตะกร้อข้าม ตาข่ายที่ท้องสนามหลวงเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2472 นายยิ้ม ศรีหงษ์ หลวงส�ำเร็จวรรณกิจ ขุนจรรยาวิทิต และนายผล ผลาสินธุ์ ได้ ร่วมกันคิดวิธีเล่นและกติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายขึ้น โดยดัดแปลงมาจากกีฬาตะกร้อกับกีฬา แบดมินตัน และใช้จัดการแข่งขันภายในสมาคมกีฬาสยามและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2475-2479 นายยิ้ม ศรีหงส์ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ “โรงพิมพ์ศรีหงส์” ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นนายกสมาคมกีฬาสยาม คนที่ 2 ได้ร่างกฎ กติกาและจัดการแข่งขันกีฬาไทยและกีฬาตะกร้อข้าม ตาข่ายประเภทประชาชนขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับความสนใจและนิยมเล่นกันทั่วไป เช่น กีฬาว่าว ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย ตะกร้อวงเล็ก ตะกร้อวงใหญ่ และตะกร้อชิงธง ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศสยามหรือประเทศไทย พ.ศ. 2476 กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ได้ก่อตั้งกรมพลศึกษาขึ้นและแต่งตั้ง ให้นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. ด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษาเป็นคนแรก ซึ่งท่านเป็นผู้มีความ ส�ำคัญยิ่งในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการเล่นตะกร้อ โดยมีผู้ให้ความช่วยเหลือที่ส�ำคัญจ�ำนวน 5 คน คือ คุณพระวิบูลย์ คุณหลวงมงคลแมน คุณหลวงประคูณ พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ และพระยาภักดี นรเศรษฐ (นายเลิด) ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการรถเมล์และโรงน�้ำแข็ง พ.ศ. 2479 พระยาจินดารักษ์ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา คนที่ 2 ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขกติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งกรมพลศึกษาได้ประกาศใช้กติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่ายอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2480 และ จัดให้มีการแข่งขันระหว่างโรงเรียนมัธยมชายขึ้นทั่วประเทศด้วย พ.ศ. 2480-2484 นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกสมาคมกีฬา สยาม คนที่ 3
  • 9. 9 พ.ศ. 2482 “ประเทศสยาม” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประเทศไทย” จึงท�ำให้นาวาเอก หลวง ศุภชลาศัย ร.น. ด�ำรงต�ำแหน่ง 2 สถานภาพในคราวเดียวกัน กล่าวคือ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคม กีฬาสยาม คนที่ 3 และรักษาการต�ำแหน่งนายกสมาคมกีฬาไทยด้วย เพราะว่าสมาคมกีฬาสยามได้ เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมกีฬาไทยตามการเปลี่ยนชื่อของประเทศนั่นเอง พ.ศ. 2484-2490 พระยาจินดารักษ์ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคมกีฬาไทย คนที่ 1 พ.ศ. 2485 กีฬาตะกร้อได้ลดความนิยมลงเนื่องจากเกิดภาวะสงครามโลก ครั้งที่ 2 หลังจาก สงครามได้สงบลง ได้มีการฟื้นฟูและส่งเสริมกีฬาตะกร้อขึ้นมาอีกครั้ง โดยเฉพาะกีฬาตะกร้อลอดห่วง และกีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย พ.ศ. 2490-2498 พันเอก หลวงรณสิทธิ์ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม กีฬาไทย คนที่ 2 โดยท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นผู้อุปถัมภ์พิเศษ พ.ศ. 2498-2500 จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล ร.น. ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นนายกสมาคมกีฬาไทย คนที่ 3 พ.ศ. 2500-2503 พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายก สมาคมกีฬาไทย คนที่ 4 พ.ศ. 2501 หลวงสุขุมนัยประดิษฐ ขณะนั้นด�ำรงต�ำแหน่งรองประธานคณะกรรมการ โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ได้เป็นผู้คิดริเริ่มจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มประเทศแหลมทอง ขึ้นในลักษณะคล้ายคลึงกับกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) หรือกีฬาโอลิมปิกเกมส์ (Olympic Games) เพื่อยกระดับมาตรฐานการกีฬาของประเทศกลุ่มแหลมทองให้สูงขึ้น และต่อมาในระหว่าง การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยน�ำแนวความคิด การจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนไปปรึกษาหารือกับกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยกัน ที่ประชุมเห็นชอบและมีมติให้จัดการแข่งขันโดยใช้ชื่อว่า การแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ (The South East Asia Peninsular Games or Seap Games) และได้จัดการแข่งขันขึ้นครั้งแรกที่ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12-17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ได้มีการปรึกษา หารือให้กีฬาตะกร้อเป็นกีฬาสาธิตไว้ด้วย พ.ศ. 2502 ได้มีการแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ (Seap Games) ครั้งที่ 1 (ปัจจุบันเรียกว่า กีฬา ซีเกมส์ (The South East Asian Games or Sea Games) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในครั้งนั้นยังไม่ได้บรรจุกีฬาตะกร้อเข้าในการแข่งขัน มีแต่คณะนักกีฬาตะกร้อชาวเมียนมา (พม่า) มาเล่นตะกร้อพลิกแพลงให้ชาวไทยได้ชมและในโอกาสเดียวกันสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เชิญคณะนักกีฬาตะกร้อชาวเมียนมาไปชมการแข่งขันกีฬาตะกร้อลอดห่วงและตะกร้อข้ามตาข่าย แบบไทย จึงได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และจะพยายามผลักดัน กีฬาตะกร้อให้บรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ (Seap Games) ครั้งต่อไป
  • 10. 10 ต่อมาในช่วงต้น พ.ศ. 2503 พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้น�ำความกราบบังคมทูล พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ขอให้ “สมาคมกีฬาไทย” อยู่ใน “พระบรม- ราชูปถัมภ์” วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับสมาคมกีฬาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาไทยจึงได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นสมาคม กีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พ.ศ. 2504 ประเทศเมียนมาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเซียปเกมส์ ครั้งที่ 2 ได้เชิญนักกีฬา ตะกร้อไทยไปร่วมแสดงโชว์ซึ่งประเทศไทยได้ส่งทีมตะกร้อลอดห่วงไปแสดงโชว์และได้รับความชื่นชอบ จากชาวเมียนมาเป็นอย่างมาก พ.ศ. 2504-2511 พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายก สมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 1 พ.ศ. 2512 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทย ในพระบรม- ราชูปถัมภ์ชุดใหม่ พลเอก ประภาส จารุเสถียรได้รับการเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม กีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 2 อีกวาระหนึ่ง พ.ศ. 2517 หลวงสัมฤทธิ์วิศวกรรมได้รับการเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม กีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 3 แต่ก็ด�ำรงต�ำแหน่งได้เพียงปีเดียวก็ลาออก เนื่องจากสุขภาพ ไม่ดี พ.ศ. 2518-2526 พลโท เผชิญ นิมิบุตรได้รับการเลือกตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นนายกสมาคม กีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 4 ในช่วงที่พลโท เผชิญ นิมิบุตร ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคมกีฬา ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อภายใน ประเทศไทยอย่างมากมายหลายประการ ซึ่งเหตุการณ์ที่ส�ำคัญได้แก่ การแยกแผนกกีฬาตะกร้อออก จากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อกลางพ.ศ.2524เนื่องจากสมาคมกีฬาไทยในพระบรม- ราชูปถัมภ์ มีภารกิจมากเกินไปท�ำให้กีฬาเซปักตะกร้อไทยไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรและการจัด กิจกรรมของสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีเพียงการแข่งขันที่สนามหลวงปีละ 1 ครั้ง ดังนั้น พันเอก (พิเศษ) เดชา กาลบุตร เลขานุการสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ นายนพชัย วุฒิกมลชัย หัวหน้าแผนกกีฬาตะกร้อ ได้ปรึกษาหารือกันเพื่อน�ำเรื่องขออนุมัติต่อที่ประชุม คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอให้ที่ประชุมพิจารณาผลการแข่งขัน เซปักตะกร้อไทยกับมาเลเซียในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาพร้อมเสนอข้อมูลที่แท้จริงให้ที่ประชุมพิจารณา ผลสุดท้ายที่ประชุมมีมติรับหลักการในการเสนอขอแยกไปจัดตั้งเป็นสมาคมตะกร้อขึ้นอีกสมาคมหนึ่ง โดยได้มอบหมายให้พันเอก (พิเศษ) เดชา กาลบุตร กับคณะเป็นผู้ออกกฎ ข้อบังคับสมาคมตะกร้อ จนถึงเวลาในการประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติให้แยกแผนกกีฬาตะกร้อออกจาก สมาคมกีฬาไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อจดทะเบียนก่อตั้งสมาคมตะกร้อและให้สมาชิกที่มีกิจกรรม