SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
บทที่ 1
การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
1.1 ความนา
การฝึกอบรมเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มี
ความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติงานได้ มีทักษะมีความชานาญหรือสร้างเสริมวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล
และทันสมัยทันเหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งทั้งหลาย แต่การฝึกอบรมที่ดีจะต้อง
ตอบสนองความต้องการของผู้เข้าฝึกอบรม ดังนั้น การจัดฝึกอบรมผู้จัดฝึกอบรมจะต้องอาศัย
หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาตามกระบวนการที่ถูกต้องและเหมาะสมเชื่อถือได้ จึงจะทาให้ได้หลักสูตร
ฝึกอบรมน่าสนใจและตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เข้าฝึกอบรมกระบวนการพัฒนา
หลักสูตรดังกล่าวเรียกว่าการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่จะได้กล่าวต่อไปดังนี้
1.2 ความหมายการวิจัย (Definition of Research)
การวิจัย คือ กระบวนการศึกษาค้นคว้า หาคาตอบของความรู้ใหม่ หรือยืนยันความรู้เดิม
ว่ายังถูกต้องเหมาะสมอยู่หรือไม่ โดยที่กระบวนการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวจะต้องดาเนินการอย่างเป็น
ขั้นตอนมีระบบระเบียบการดาเนินการชัดเจนตรวจสอบได้และน่าเชื่อถือนอกจากนั้นยังมีนักวิชาการ
และนักศึกษาต่าง ๆ ได้เสนอความหมายของการวิจัยเอาไว้น่าสนใจดังนี้ อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์
(2552 : 1) กล่าวว่า การวิจัย คือ กระบวนการค้นคว้า และแสวงหา เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือยืนยัน
ความรู้เดิม จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีการจดบันทึกรายงาน
และสรุปผลเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีขึ้น เพื่อนาไปอธิบาย ทานายหรือควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ
ภายใต้สมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ชวลิต
ชูกาแพง(2553:8)ได้ให้ความหมายการวิจัยไว้ว่าการวิจัยหมายถึงการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน
ตามหลักวิชาอย่างมีระบบแบบแผน
1.3 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม (Development of Training Curriculum)
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเป็นกระบวนการในการกาหนดเนื้อหาความรู้ ทักษะและ
ทัศนคติของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของบุคคล เพื่อนาไปใช้
2
ฝึกอบรมให้กับบุคลากรหรือบุคคลที่สนใจหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์
หลักสูตรฝึกอบรม 2) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์นาทางของแต่ละหน่วยฝึกอบรม
3) เนื้อหาหรือหน่วยฝึกอบรม 4) กิจกรรมฝึกอบรมหรือเทคนิคการจัดฝึกอบรม 5) สื่อการฝึกอบรม
และ6)การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม รายละเอียดของแต่ละหัวข้ออธิบายไว้ในบทที่ 3
1.4 วัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ 3 ประการ คือ
1. เพื่อค้นหาหรือการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมที่ดี
จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ฝึกอบรม ดังนั้น การค้นหาหรือการวิเคราะห์ความต้องการ
ในการฝึกอบรม (Needs Assessment) จึงถือว่าเป็นวัตถุประสงค์ต้น ๆ ของการวิจัยทางด้านพัฒนา
หลักสูตรฝึกอบรม ชูชัย สมิทธิไกร (2549 : 43) ได้แสดงความคิดเห็นว่า การวิเคราะห์ความต้องการ
ในการฝึกอบรมถือว่าเป็นขั้นตอนแรกและมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการฝึกอบรมหนึ่ง ๆ ทั้งนี้
เพราะการวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยให้ทราบข้อมูลที่จาเป็นสาหรับการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร
ฝึกอบรม เพื่อให้การฝึกอบรมสอดคล้องกับความต้องการของผู้ฝึกอบรมหรือความต้องการของ
องค์กรมากที่สุด
2. เพื่อพัฒนาหรือสร้างผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เข้าฝึกอบรม
(Needs Assessment) หรือความต้องการขององค์กร (Needs Organizational Analysis) จะนาไปเป็น
แนวทางในการพัฒนาหรือสร้างหลักสูตรฝึกอบรม (Development of Training Curriculum) ต่อไป
ไอแซคและไมเคิล (Issac and Michael, 1984: 2-3) ได้กล่าวว่า ผลที่ได้จากการศึกษาหรือวิเคราะห์
ความต้องการจะนาไปสู่การพัฒนาทางด้านการฝึกอบรมก็คือ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
3. เพื่อพิสูจน์หรือหาประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness
Index) หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมานั้นมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ถูกต้องจะต้อง
ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมขึ้นใหม่ การพิสูจน์จะพิสูจน์โดยการหาค่าประสิทธิภาพ
(Efficiency) หรือหา E1 และ E2 และหาค่าประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.)
3
วัตถุประสงค์การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สรุปเป็นกรอบเอาไว้ดังนี้
ภาพที่ 1.1 วัตถุประสงค์การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
การกาหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย นับว่าเป็นขั้นตอนที่สาคัญของการวิจัย ทั้งนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นตัวกาหนดแนวทางหรือทิศทางของการทาวิจัย ทาให้ผู้วิจัย
คาดคะเนถึงผลลัพธ์ที่จะได้รับจาการวิจัยและสามารถพิจารณาถึงตัวแปรข้อมูลประชากรตัวอย่าง
ที่จะใช้ในการวิจัย การกาหนดวัตถุประสงค์จะเป็นการเจาะจงถึงหลักการและวิธีการที่มองถึง
ความมุ่งหมายของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงขอบเขตที่จะหาคาตอบการกาหนดวัตถุประสงค์จะกาหนดให้
สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องศึกษา ความชัดเจนกับปัญหาที่ต้องการศึกษาควรมีลาดับตามความสาคัญ
ของการวิจัยและสามารถบอกรายละเอียดที่จะทาการวิจัยได้ (อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์, 2552 : 20)
การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยควรขึ้นต้นด้วยคาว่า “เพื่อ” และตามด้วยข้อความที่แสดงการกระทา
ในการวิจัยซึ่งมักจะเป็นคาต่อไปนี้ เช่นศึกษา พัฒนาหลักสูตรหาประสิทธิภาพหาดัชนีประสิทธิผล
(ชวลิต ชูกาแพง, 2553 : 36)
ตัวอย่างที่ 1.1 งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและ
การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตกาหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย
เอาไว้ดังนี้ (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557 : 4)
1. เพื่อศึกษาความต้องการฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์
วัตถุประสงค์การวิจัยและ
พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
เพื่อวิเคราะห์ความต้องการ
(needs assessment)
เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
(Development of Training
curriculum)
เพื่อพิสูจน์หรือหาประสิทธิภาพและดัชนี
ประสิทธิผลการเรียนของผู้เข้าฝึกอบรม
หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมา
(Efficiency and the effectiveness index
for the training)
4
2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์
3. เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ตามเกณฑ์ E1/E2 ไม่ต่ากว่า80/80
4. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรมแต่ละหน่วยฝึกอบรมตามเกณฑ์
มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ60(E.I.ร้อยละ60)
5. เพื่อติดตามประเมินผลหลังการทดลองการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์
1.5 แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
การวิจัยจะเริ่มจากประเด็นปัญหาที่เรียกว่า ปัญหาวิจัย ซึ่งคาว่าปัญหาวิจัยนั้นจะหมายถึง
ปัญหาที่หนักแน่น น่าสนใจ หากนาปัญหานั้นมาสู่การทาวิจัยและพัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมนั้น
ควรมีความคุ้มค่าหรือเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ ดังนั้น การกาหนดประเด็นปัญหา
วิจัยจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญของการวิจัย โดยผู้วิจัยอาจพิจารณาหรือกาหนดประเด็นปัญหาวิจัยได้
จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
1. อ่านจากแหล่งต่าง ๆ (Reading) การอ่านหนังสือ ตารา บทความอย่างกว้างขวาง
ในกลุ่มในสาขาที่ผู้วิจัยสนใจจะทาให้ได้แนวคิด ซึ่งอาจจะนามาเป็นประเด็นปัญหาวิจัยได้
2. จากประสบการณ์ของผู้ทาวิจัย (Personal Experience) การปฏิบัติงานประจาวัน
ของผู้วิจัยในแต่ละวันจะทาให้เห็นประเด็นปัญหาที่ชัดเจนและนาไปสู่การกาหนดเป็นปัญหาวิจัยได้
เช่น การทางานของพนักงานในองค์กรทางานผิดพลาดบ่อยและเกิดผลเสียหาย ผู้วิจัยอาจจะนา
ประเด็นความเสียหายที่เกิดขึ้นมาเป็นประเด็นปัญหาวิจัย หากเกิดผลเสียมากพอ
3. จากผู้นาทางวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ (Expertise) ซึ่งเป็นผู้คลุกคลีอยู่กับวงวิชาการ
ในเรื่องนั้น ๆ จะทราบจุดอ่อน จุดบกพร่อง หรือมองเห็นประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะนามาเป็น
ปัญหาวิจัยได้
4. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (Comment for the Next Research)
ในงานวิจัยแต่ละเรื่อง ในช่วงท้ายของงานวิจัยจะมีข้อเสนอแนะในการวิจัย
ครั้งต่อไปว่า ควรจะฝึกอบรมอะไรเพิ่มเติมจึงจะทาให้งานวิจัยชิ้นที่ทาไว้นี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เช่น งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์ (2557 : 283) เรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตร
5
ฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต
มีข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไปดังนี้
1) ควรมีการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบ
คุณภาพการผลิตแบบต่อเนื่อง
2) ควรมีการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบ
คุณภาพการผลิตสาหรับผู้บริหาร
3) ควรมีการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีดอดจ์และโรมิง (Dodge & Roming)
5. จากแหล่งทุนอุดหนุน (Contribution)
หน่วยงานองค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งทุนจะเป็นผู้กาหนดหัวข้อปัญหา
วิจัยให้ผู้สนใจเสนอเค้าโครงเข้ารับทุนโดยการทาวิจัยต้องทาภายใต้หัวข้อที่กาหนดเช่นบริษัทเฟสโต
(Festo) ต้องการให้ศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการขายสินค้าที่เป็นเครื่องจักรให้กับวิศวกร เพื่อพัฒนา
หลักสูตรและจัดฝึกอบรมให้กับวิศวกรต่อไป
1.6 การกาหนดตัวแปรการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
1.6.1 ลักษณะของตัวแปร
ตัวแปรในการวิจัย หมายถึง คุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา
เพื่อให้ได้ผลออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการวิจัยพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ก็คือ หลักสูตร
ฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมาและประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ โดยที่ประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลการเรียนรู้จะวัดจากผู้เข้าฝึกอบรมว่าความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างไร ซึ่งอาจจะใช้เครื่องมือเป็นแบบทดสอบดังตัวอย่างต่อไปนี้
ภาพที่ 1.2 ตัวแปรการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมา
(Development of training curriculum)
ประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม
(Efficiency of Training: E1/E2)
ประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรม
(The effective indexes (E.I.) for the training)
6
1.6.2 ประเภทของตัวแปรวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
งานวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม จะกาหนดตัวแปรเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือสิ่งที่สนใจ
ที่ผู้วิจัยกาหนดขึ้นมาก่อนเช่นถ้าผู้วิจัยสนใจหลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาว่ามีประสิทธิภาพ
เป็นเช่นไร จากข้อความจะเห็นว่ามีคาว่า “หลักสูตร” กับ “ประสิทธิภาพ” หลักสูตรเป็นสิ่งที่ผู้วิจัย
กาหนดหรือพัฒนาขึ้นมาก่อนแล้วจึงไปหาประสิทธิภาพ “หลักสูตร” จึงเป็นตัวแปรอิสระของ
งานวิจัยนี้
2) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่ผันแปรไปตามตัวแปร
อิสระ ดังนั้น ตัวแปรตามจึงเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นภายหลัง ในการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร
ฝึกอบรม เมื่อหลักสูตรฝึกอบรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้วหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาเป็นตัวแปรอิสระ
แต่ผู้วิจัยจะหาประสิทธิภาพจากหลักสูตรโดยตรงไม่ได้ จึงจาเป็นต้องนาไปทดลองกับหน่วย
ทดลอง ซึ่งก็คือ บุคคลที่มาเข้ารับการฝึกอบรมจากหลักสูตร วัดหรือเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็น
คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนหรือหลังทดลอง นาคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อตัดสิน
ประสิทธิภาพหลักสูตร ประสิทธิภาพหลักสูตรจึงเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variable)
1.6.3 กรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
กรอบแนวคิดในการวิจัยเป็นแบบจาลองที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
อิสระกับตัวแปรตาม เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมของงานวิจัยเรื่องนั้น ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
สิ่งที่ผู้วิจัยให้ความสาคัญที่สุดก็คือ หลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา แต่ก่อนที่จะนาหลักสูตร
ฝึกอบรมไปใช้จะต้องทดลองฝึกอบรมเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรว่ามีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร
ดังนั้นจะเห็นว่าประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเป็นผลที่เกิดจากหลักสูตรฝึกอบรม ผู้วิจัย
นาหลักสูตรฝึกอบรมและประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมมาแสดงเป็นภาพรวมของความสัมพันธ์
ดังภาพต่อไปนี้
ภาพที่1.3ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
หลักสูตรฝึกอบรม
ที่พัฒนาขึ้นมา
ประสิทธิภาพหลักสูตร
ฝึกอบรม
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
(กรอบแนวคิดในการวิจัย)
7
ตัวอย่างที่ 1.2 งานวิจัยเรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและ
การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตแสดงตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
เอาไว้ดังนี้ (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557 : 5-7)
ตัวแปรอิสระ ผู้วิจัยกาหนดเอาไว้ดังนี้
1) ความต้องการฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตใน3ส่วนได้แก่ ส่วนปัจจัยนาเข้าส่วนกระบวนการผลิตและส่วนผลผลิต
2) การพัฒนาหลักสูตรผู้ฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต
ตัวแปรตาม กาหนดไว้3 ตัวแปร ได้แก่ (1)ประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุม
และการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (2) ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้า
ฝึกอบรมแต่ละหน่วยฝึกอบรม และ (3) ผลการติดตามประเมินผล หลังการทดลองการควบคุมและ
การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามดังกล่าวผู้วิจัยแสดงเป็นกรอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
อิสระและตัวแปรตามดังภาพประกอบต่อไปนี้
ภาพที่ 1.4 กรอบแนวคิดการวิจัยของตัวอย่างที่ 1.2
1. ความต้องการฝึกอบรมการควบคุมและตรวจสอบ
คุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต
ใน3ส่วนได้แก่ส่วนปัจจัยนาเข้าส่วนกระบวนการผลิต
และส่วนผลผลิต
2. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบ
คุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต
1. ประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและ
การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
2. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรม
แต่ละหน่วยฝึกอบรม
3. ผลการติดตามประเมินผลหลังการทดลอง
การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต
ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม
8
1.7 สมมติฐานการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
1.7.1 ลักษณะการเขียนสมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ผู้วิจัยกาหนดขึ้นมาเพื่อใช้เป็น
แนวทางการคาดคะเนคาตอบในเรื่องของผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สมมติฐานที่ตั้งขึ้นมา
อาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ การที่ผู้วิจัยจะสรุปว่าเป็นจริงหรือไม่จริง ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบด้วย
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือการวิจัยมาวิเคราะห์ ถ้าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ตั้งแต่ต้นก็จะยอมรับสมมติฐานนั้น และหากข้อมูลที่รวบรวมมาวิเคราะห์
ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาก็จะปฏิเสธสมมติฐานนั้น ในการกาหนดสมมติฐานการวิจัย
อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ (2552 :22-23)ได้เสนอแนะแนวทางเอาไว้ดังนี้
1) สมมติฐานที่กาหนดต้องทดลองได้
2) สมมติฐานไม่ควรมีขอบเขตที่กว้างขวางไป
3) สมมติฐานต้องมีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
หรือเรื่องที่ทาวิจัย ควรหลีกเลี่ยงคาที่มีความกว้างเกินไป ซึ่งยากต่อการทดสอบ
4) ภาษาต้องง่ายและชัดเจนต่อความเข้าใจสาหรบผู้สนใจทั่วไป
5) เขียนให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรในสิ่งที่ศึกษาวิจัยนั้น
นอกจากนี้ อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ (2552 : 23) ยังเสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
การเขียนสมมติฐานกาวิจัยว่า ผู้วิจัยไม่ควรกาหนดสมมติฐานการวิจัยขึ้นภายหลังจากการเก็บ
รวบรวมข้อมูลวิจัยแล้ว ทั้งนี้ สมมติฐานควรเป็นตัวนาในการแสวงหาคาตอบที่มีทิศทาง ดังนั้น
ผู้วิจัยควรเขียนสมมติฐานการวิจัยขึ้นมากก่อนมีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.7.2 ประโยชน์ของสมมติฐานการวิจัย
1) ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นขอบเขตของการวิจัยว่ากว้างขวางมากน้อยแค่ไหน
2) สามารถกาหนดหรือเลือกตัวแปรที่ได้ว่ามีตัวแปรอะไรที่จะนามาทดสอบ
3) ช่วยเป็นแนวทางในการวิจัยของผู้วิจัยว่าจะตรวจสอบอะไรหรือจะค้นหา
คาตอบอะไรซึ่งจะช่วยให้ผู้วิจัยไม่หลงทางและพิสูจน์ในสิ่งที่ต้องการพิสูจน์
4) เลือกข้อมูลที่จะนามาศึกษาได้ตรงประเด็น
5) ช่วยในการหาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและเลือกสถิติมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
6) สามารถออกแบบงานวิจัยได้อย่างเหมาะสม
7) ช่วยให้ทราบถึงวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทดสอบ
9
8) ทาให้เกิดความชัดเจนถึงตัวสถิติอะไรที่จะนามาทดสอบ
การกาหนดสมมติฐานในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สมมติฐาน
ส่วนใหญ่มักจะยึดความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กาหนดในประเด็นที่ต้องการทดสอบ เช่น
งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์ (2557:4)ที่ทาวิจัยเรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม
การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตตามตัวอย่างที่ 1.2
กาหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเอาไว้5ข้อแต่มีวัตถุประสงค์การวิจัย2ข้อที่ต้องการ
ทดสอบหรือพิสูจน์สมมติฐาน ได้แก่ วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 และข้อที่ 4 ผู้วิจัยจึงกาหนดสมมติฐาน
การวิจัยเอาไว้ดังนี้
1) หลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 ไม่ต่ากว่า 80/80
2) ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรมแต่ละหน่วยฝึกอบรมไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 60 (E.I.  ร้อยละ 60)
1.8 ขอบเขตของการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
ในการทาวิจัยแต่ละเรื่องผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาได้ครอบคลุมในทุกประเด็นการกาหนด
ขอบเขตการวิจัยจะทาให้งานวิจัยมีความชัดเจนเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่กาหนดและผลของ
การวิจัยมีความเที่ยงตรงภายในและภายนอกสูงในการกาหนดขอบเขตของการวิจัยและพัฒนา
หลักสูตรฝึกอบรม นิยมกาหนดขอบเขตเอาไว้ 4 ด้าน ดังนี้
1. ขอบเขตด้านตัวแปรให้ระบุถึงตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด
2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเมื่อหลักสูตร
ฝึกอบรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้วผู้วิจัยจะบอกถึงจานวนตัวอย่าง (SampleSize)ที่เข้าฝึกอบรมว่ามีจานวน
เท่าใดหากงานวิจัยเป็นลักษณะของการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรมผู้วิจัยจะต้องบอกถึงประชากร
ว่าเป็นใครที่ไหนจานวนเท่าใดแล้วจึงบอกถึงจานวนของกลุ่มตัวอย่าง
3. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมขอบเขตด้านเนื้อหา
ได้แก่ เนื้อหาหรือหัวข้อในหลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา เช่น งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์
(2557:6)เรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ
การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตกาหนดขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาเอาไว้3หัวข้อดังนี้
10
1) วิธีการทางสถิติสาหรับการควบคุมคุณภาพ
2) การใช้ตารางมาตรฐาน MIL-STD-105E
3) การสร้างแผนภูมิควบคุม
4. ขอบเขตด้านระยะเวลา ผู้วิจัยอาจกาหนดขอบเขตด้านเวลาเพื่อให้มองเห็นระยะเวลา
ในการดาเนินการวิจัยหรือระยะเวลาในการฝึกอบรมว่าจะใช้เวลากี่คาบกี่ชั่วโมงเป็นเวลากี่วันเป็นต้น
1.9 ข้อจากัดหรือข้อตกลงของการวิจัย (Limitation)
ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้เสนอว่า ผู้วิจัยจะควบคุมตัวแปรอะไรเพื่อให้
ผลลัพธ์ของงานมีความถูกต้องแม่นยาสูง เช่น คุณสมบัติของผู้เข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรม
ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในการกาหนดข้อตกลงเบื้องต้นหรือข้อจากัดของการวิจัยไม่ควรตกลงเกินขอบเขต
ที่ควรตกลง หรือไม่ควรกาหนดโดยหาเหตุผลที่น่าเชื่อถือ เช่น กาหนดข้อตกลงของการวิจัยไว้ว่า
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความน่าเชื่อถือได้โดยปกติจึงไม่ต้องมีการทดลองหรือพิสูจน์หาค่า
ความเชื่อมั่น (Reliability) หรือค่าความตรง (Validity) หรือค่าอื่น ๆ ที่ควรตรวจสอบของการวิจัย
การกาหนดข้อตกลงการวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการตกลงที่ขาดเหตุผลหรือขาดความน่าเชื่อถือ
1.10 แนวทางการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
ฝึกอบรม
การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากผลของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องบอกให้ชัดเจนว่า
ใครบ้างจะได้ประโยชน์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใดทั้งแง่ของผู้วิจัย วิชาการ หลักสูตรฝึกอบรม
เมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้วจะนาไปฝึกอบรมใคร บริษัทหรือองค์กรใด ทั้งนี้เพราะงานวิจัยทางด้านพัฒนา
หลักสูตรฝึกอบรมจะมีขอบเขตที่แคบในสิ่งที่ต้องการแก้ไขปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
จึงจาเป็นต้องเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับให้ชัดเจนและตรงประเด็นมากกว่าจะเขียนลอย ๆ
ตัวอย่างที่ 1.3 งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์ (2557 :4) เรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตร
ฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต ผู้วิจัย
กาหนดประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยเอาไว้ดังนี้
1. ประโยชน์ต่อภาคเอกชน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานาเสนอต่อบริษัทผู้รับจ้างผลิต
ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้แก่ บริษัทเนาวบุตรจากัดและบริษัทไทยยางกิจไพศาล จากัดเพื่อให้เป็นข้อมูล

More Related Content

Viewers also liked

9789740332923
97897403329239789740332923
9789740332923
CUPress
 

Viewers also liked (20)

9789740335863
97897403358639789740335863
9789740335863
 
9789740332923
97897403329239789740332923
9789740332923
 
9789740335627
97897403356279789740335627
9789740335627
 
9789740335719
97897403357199789740335719
9789740335719
 
9789740335580
97897403355809789740335580
9789740335580
 
9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832
 
9789740335696
97897403356969789740335696
9789740335696
 
9789740335702
97897403357029789740335702
9789740335702
 
Kako se zaštititi od zlonamjernog softvera
Kako se zaštititi od zlonamjernog softveraKako se zaštititi od zlonamjernog softvera
Kako se zaštititi od zlonamjernog softvera
 
бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17
бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17
бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17
 
Бианки. что уже случилось с политпространством и как его можно перекроить
Бианки. что уже случилось с политпространством и как его можно перекроитьБианки. что уже случилось с политпространством и как его можно перекроить
Бианки. что уже случилось с политпространством и как его можно перекроить
 
Sintomas
SintomasSintomas
Sintomas
 
бианки. политуправление. вызовы врио глав регионов сз 28.02.17
бианки. политуправление. вызовы врио глав регионов сз 28.02.17бианки. политуправление. вызовы врио глав регионов сз 28.02.17
бианки. политуправление. вызовы врио глав регионов сз 28.02.17
 
бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17
бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17
бианки. политуправление. как меняются губернаторы 28.02.17
 
Gavan Rafferty Louise O'kane - Community Participation in Planning BELFAST
Gavan Rafferty Louise O'kane - Community Participation in Planning BELFASTGavan Rafferty Louise O'kane - Community Participation in Planning BELFAST
Gavan Rafferty Louise O'kane - Community Participation in Planning BELFAST
 
José Carlos Mota Fernando Nogueira - COMMUNITY PARTICIPATION IN PLANNING – PI...
José Carlos Mota Fernando Nogueira - COMMUNITY PARTICIPATION IN PLANNING – PI...José Carlos Mota Fernando Nogueira - COMMUNITY PARTICIPATION IN PLANNING – PI...
José Carlos Mota Fernando Nogueira - COMMUNITY PARTICIPATION IN PLANNING – PI...
 
Primeros auxilios
Primeros auxiliosPrimeros auxilios
Primeros auxilios
 
Primeros auxilios
Primeros auxiliosPrimeros auxilios
Primeros auxilios
 
И.А. Герасимова - О реализации политики сотрудничества (“Cohesion Policy”) в ...
И.А. Герасимова - О реализации политики сотрудничества (“Cohesion Policy”) в ...И.А. Герасимова - О реализации политики сотрудничества (“Cohesion Policy”) в ...
И.А. Герасимова - О реализации политики сотрудничества (“Cohesion Policy”) в ...
 
Microbiologia relaciones con otras ciencias
Microbiologia relaciones con otras cienciasMicrobiologia relaciones con otras ciencias
Microbiologia relaciones con otras ciencias
 

Similar to 9789740335566 (20)

บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
R2R
R2RR2R
R2R
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 
บทที่ 4
บทที่ 4บทที่ 4
บทที่ 4
 
4 170819173249
4 1708191732494 170819173249
4 170819173249
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740335566

  • 1. บทที่ 1 การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 1.1 ความนา การฝึกอบรมเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มี ความรู้ความเข้าใจ ปฏิบัติงานได้ มีทักษะมีความชานาญหรือสร้างเสริมวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล และทันสมัยทันเหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งทั้งหลาย แต่การฝึกอบรมที่ดีจะต้อง ตอบสนองความต้องการของผู้เข้าฝึกอบรม ดังนั้น การจัดฝึกอบรมผู้จัดฝึกอบรมจะต้องอาศัย หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาตามกระบวนการที่ถูกต้องและเหมาะสมเชื่อถือได้ จึงจะทาให้ได้หลักสูตร ฝึกอบรมน่าสนใจและตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เข้าฝึกอบรมกระบวนการพัฒนา หลักสูตรดังกล่าวเรียกว่าการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่จะได้กล่าวต่อไปดังนี้ 1.2 ความหมายการวิจัย (Definition of Research) การวิจัย คือ กระบวนการศึกษาค้นคว้า หาคาตอบของความรู้ใหม่ หรือยืนยันความรู้เดิม ว่ายังถูกต้องเหมาะสมอยู่หรือไม่ โดยที่กระบวนการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวจะต้องดาเนินการอย่างเป็น ขั้นตอนมีระบบระเบียบการดาเนินการชัดเจนตรวจสอบได้และน่าเชื่อถือนอกจากนั้นยังมีนักวิชาการ และนักศึกษาต่าง ๆ ได้เสนอความหมายของการวิจัยเอาไว้น่าสนใจดังนี้ อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ (2552 : 1) กล่าวว่า การวิจัย คือ กระบวนการค้นคว้า และแสวงหา เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือยืนยัน ความรู้เดิม จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีการจดบันทึกรายงาน และสรุปผลเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีขึ้น เพื่อนาไปอธิบาย ทานายหรือควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ภายใต้สมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ชวลิต ชูกาแพง(2553:8)ได้ให้ความหมายการวิจัยไว้ว่าการวิจัยหมายถึงการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน ตามหลักวิชาอย่างมีระบบแบบแผน 1.3 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม (Development of Training Curriculum) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเป็นกระบวนการในการกาหนดเนื้อหาความรู้ ทักษะและ ทัศนคติของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของบุคคล เพื่อนาไปใช้
  • 2. 2 ฝึกอบรมให้กับบุคลากรหรือบุคคลที่สนใจหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ หลักสูตรฝึกอบรม 2) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือวัตถุประสงค์นาทางของแต่ละหน่วยฝึกอบรม 3) เนื้อหาหรือหน่วยฝึกอบรม 4) กิจกรรมฝึกอบรมหรือเทคนิคการจัดฝึกอบรม 5) สื่อการฝึกอบรม และ6)การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม รายละเอียดของแต่ละหัวข้ออธิบายไว้ในบทที่ 3 1.4 วัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ 3 ประการ คือ 1. เพื่อค้นหาหรือการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมที่ดี จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ฝึกอบรม ดังนั้น การค้นหาหรือการวิเคราะห์ความต้องการ ในการฝึกอบรม (Needs Assessment) จึงถือว่าเป็นวัตถุประสงค์ต้น ๆ ของการวิจัยทางด้านพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรม ชูชัย สมิทธิไกร (2549 : 43) ได้แสดงความคิดเห็นว่า การวิเคราะห์ความต้องการ ในการฝึกอบรมถือว่าเป็นขั้นตอนแรกและมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการฝึกอบรมหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ เพราะการวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยให้ทราบข้อมูลที่จาเป็นสาหรับการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรม เพื่อให้การฝึกอบรมสอดคล้องกับความต้องการของผู้ฝึกอบรมหรือความต้องการของ องค์กรมากที่สุด 2. เพื่อพัฒนาหรือสร้างผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เข้าฝึกอบรม (Needs Assessment) หรือความต้องการขององค์กร (Needs Organizational Analysis) จะนาไปเป็น แนวทางในการพัฒนาหรือสร้างหลักสูตรฝึกอบรม (Development of Training Curriculum) ต่อไป ไอแซคและไมเคิล (Issac and Michael, 1984: 2-3) ได้กล่าวว่า ผลที่ได้จากการศึกษาหรือวิเคราะห์ ความต้องการจะนาไปสู่การพัฒนาทางด้านการฝึกอบรมก็คือ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3. เพื่อพิสูจน์หรือหาประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness Index) หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมานั้นมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ถูกต้องจะต้อง ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมขึ้นใหม่ การพิสูจน์จะพิสูจน์โดยการหาค่าประสิทธิภาพ (Efficiency) หรือหา E1 และ E2 และหาค่าประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I.)
  • 3. 3 วัตถุประสงค์การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สรุปเป็นกรอบเอาไว้ดังนี้ ภาพที่ 1.1 วัตถุประสงค์การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การกาหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย นับว่าเป็นขั้นตอนที่สาคัญของการวิจัย ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นตัวกาหนดแนวทางหรือทิศทางของการทาวิจัย ทาให้ผู้วิจัย คาดคะเนถึงผลลัพธ์ที่จะได้รับจาการวิจัยและสามารถพิจารณาถึงตัวแปรข้อมูลประชากรตัวอย่าง ที่จะใช้ในการวิจัย การกาหนดวัตถุประสงค์จะเป็นการเจาะจงถึงหลักการและวิธีการที่มองถึง ความมุ่งหมายของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงขอบเขตที่จะหาคาตอบการกาหนดวัตถุประสงค์จะกาหนดให้ สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องศึกษา ความชัดเจนกับปัญหาที่ต้องการศึกษาควรมีลาดับตามความสาคัญ ของการวิจัยและสามารถบอกรายละเอียดที่จะทาการวิจัยได้ (อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์, 2552 : 20) การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยควรขึ้นต้นด้วยคาว่า “เพื่อ” และตามด้วยข้อความที่แสดงการกระทา ในการวิจัยซึ่งมักจะเป็นคาต่อไปนี้ เช่นศึกษา พัฒนาหลักสูตรหาประสิทธิภาพหาดัชนีประสิทธิผล (ชวลิต ชูกาแพง, 2553 : 36) ตัวอย่างที่ 1.1 งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและ การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตกาหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย เอาไว้ดังนี้ (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557 : 4) 1. เพื่อศึกษาความต้องการฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ วัตถุประสงค์การวิจัยและ พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อวิเคราะห์ความต้องการ (needs assessment) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม (Development of Training curriculum) เพื่อพิสูจน์หรือหาประสิทธิภาพและดัชนี ประสิทธิผลการเรียนของผู้เข้าฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมา (Efficiency and the effectiveness index for the training)
  • 4. 4 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ 3. เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ตามเกณฑ์ E1/E2 ไม่ต่ากว่า80/80 4. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรมแต่ละหน่วยฝึกอบรมตามเกณฑ์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ60(E.I.ร้อยละ60) 5. เพื่อติดตามประเมินผลหลังการทดลองการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ 1.5 แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การวิจัยจะเริ่มจากประเด็นปัญหาที่เรียกว่า ปัญหาวิจัย ซึ่งคาว่าปัญหาวิจัยนั้นจะหมายถึง ปัญหาที่หนักแน่น น่าสนใจ หากนาปัญหานั้นมาสู่การทาวิจัยและพัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมนั้น ควรมีความคุ้มค่าหรือเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ ดังนั้น การกาหนดประเด็นปัญหา วิจัยจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญของการวิจัย โดยผู้วิจัยอาจพิจารณาหรือกาหนดประเด็นปัญหาวิจัยได้ จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. อ่านจากแหล่งต่าง ๆ (Reading) การอ่านหนังสือ ตารา บทความอย่างกว้างขวาง ในกลุ่มในสาขาที่ผู้วิจัยสนใจจะทาให้ได้แนวคิด ซึ่งอาจจะนามาเป็นประเด็นปัญหาวิจัยได้ 2. จากประสบการณ์ของผู้ทาวิจัย (Personal Experience) การปฏิบัติงานประจาวัน ของผู้วิจัยในแต่ละวันจะทาให้เห็นประเด็นปัญหาที่ชัดเจนและนาไปสู่การกาหนดเป็นปัญหาวิจัยได้ เช่น การทางานของพนักงานในองค์กรทางานผิดพลาดบ่อยและเกิดผลเสียหาย ผู้วิจัยอาจจะนา ประเด็นความเสียหายที่เกิดขึ้นมาเป็นประเด็นปัญหาวิจัย หากเกิดผลเสียมากพอ 3. จากผู้นาทางวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ (Expertise) ซึ่งเป็นผู้คลุกคลีอยู่กับวงวิชาการ ในเรื่องนั้น ๆ จะทราบจุดอ่อน จุดบกพร่อง หรือมองเห็นประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะนามาเป็น ปัญหาวิจัยได้ 4. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (Comment for the Next Research) ในงานวิจัยแต่ละเรื่อง ในช่วงท้ายของงานวิจัยจะมีข้อเสนอแนะในการวิจัย ครั้งต่อไปว่า ควรจะฝึกอบรมอะไรเพิ่มเติมจึงจะทาให้งานวิจัยชิ้นที่ทาไว้นี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์ (2557 : 283) เรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตร
  • 5. 5 ฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต มีข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไปดังนี้ 1) ควรมีการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบ คุณภาพการผลิตแบบต่อเนื่อง 2) ควรมีการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบ คุณภาพการผลิตสาหรับผู้บริหาร 3) ควรมีการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการตรวจสอบคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีดอดจ์และโรมิง (Dodge & Roming) 5. จากแหล่งทุนอุดหนุน (Contribution) หน่วยงานองค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งทุนจะเป็นผู้กาหนดหัวข้อปัญหา วิจัยให้ผู้สนใจเสนอเค้าโครงเข้ารับทุนโดยการทาวิจัยต้องทาภายใต้หัวข้อที่กาหนดเช่นบริษัทเฟสโต (Festo) ต้องการให้ศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการขายสินค้าที่เป็นเครื่องจักรให้กับวิศวกร เพื่อพัฒนา หลักสูตรและจัดฝึกอบรมให้กับวิศวกรต่อไป 1.6 การกาหนดตัวแปรการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 1.6.1 ลักษณะของตัวแปร ตัวแปรในการวิจัย หมายถึง คุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา เพื่อให้ได้ผลออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการวิจัยพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ก็คือ หลักสูตร ฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมาและประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ โดยที่ประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลการเรียนรู้จะวัดจากผู้เข้าฝึกอบรมว่าความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร ซึ่งอาจจะใช้เครื่องมือเป็นแบบทดสอบดังตัวอย่างต่อไปนี้ ภาพที่ 1.2 ตัวแปรการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมา (Development of training curriculum) ประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม (Efficiency of Training: E1/E2) ประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรม (The effective indexes (E.I.) for the training)
  • 6. 6 1.6.2 ประเภทของตัวแปรวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม งานวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม จะกาหนดตัวแปรเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือสิ่งที่สนใจ ที่ผู้วิจัยกาหนดขึ้นมาก่อนเช่นถ้าผู้วิจัยสนใจหลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาว่ามีประสิทธิภาพ เป็นเช่นไร จากข้อความจะเห็นว่ามีคาว่า “หลักสูตร” กับ “ประสิทธิภาพ” หลักสูตรเป็นสิ่งที่ผู้วิจัย กาหนดหรือพัฒนาขึ้นมาก่อนแล้วจึงไปหาประสิทธิภาพ “หลักสูตร” จึงเป็นตัวแปรอิสระของ งานวิจัยนี้ 2) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่ผันแปรไปตามตัวแปร อิสระ ดังนั้น ตัวแปรตามจึงเป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นภายหลัง ในการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรม เมื่อหลักสูตรฝึกอบรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้วหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาเป็นตัวแปรอิสระ แต่ผู้วิจัยจะหาประสิทธิภาพจากหลักสูตรโดยตรงไม่ได้ จึงจาเป็นต้องนาไปทดลองกับหน่วย ทดลอง ซึ่งก็คือ บุคคลที่มาเข้ารับการฝึกอบรมจากหลักสูตร วัดหรือเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็น คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนหรือหลังทดลอง นาคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อตัดสิน ประสิทธิภาพหลักสูตร ประสิทธิภาพหลักสูตรจึงเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variable) 1.6.3 กรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร กรอบแนวคิดในการวิจัยเป็นแบบจาลองที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อิสระกับตัวแปรตาม เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมของงานวิจัยเรื่องนั้น ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร สิ่งที่ผู้วิจัยให้ความสาคัญที่สุดก็คือ หลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา แต่ก่อนที่จะนาหลักสูตร ฝึกอบรมไปใช้จะต้องทดลองฝึกอบรมเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรว่ามีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ดังนั้นจะเห็นว่าประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเป็นผลที่เกิดจากหลักสูตรฝึกอบรม ผู้วิจัย นาหลักสูตรฝึกอบรมและประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมมาแสดงเป็นภาพรวมของความสัมพันธ์ ดังภาพต่อไปนี้ ภาพที่1.3ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม หลักสูตรฝึกอบรม ที่พัฒนาขึ้นมา ประสิทธิภาพหลักสูตร ฝึกอบรม ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม (กรอบแนวคิดในการวิจัย)
  • 7. 7 ตัวอย่างที่ 1.2 งานวิจัยเรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและ การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตแสดงตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เอาไว้ดังนี้ (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557 : 5-7) ตัวแปรอิสระ ผู้วิจัยกาหนดเอาไว้ดังนี้ 1) ความต้องการฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตใน3ส่วนได้แก่ ส่วนปัจจัยนาเข้าส่วนกระบวนการผลิตและส่วนผลผลิต 2) การพัฒนาหลักสูตรผู้ฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต ตัวแปรตาม กาหนดไว้3 ตัวแปร ได้แก่ (1)ประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุม และการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (2) ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้า ฝึกอบรมแต่ละหน่วยฝึกอบรม และ (3) ผลการติดตามประเมินผล หลังการทดลองการควบคุมและ การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามดังกล่าวผู้วิจัยแสดงเป็นกรอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร อิสระและตัวแปรตามดังภาพประกอบต่อไปนี้ ภาพที่ 1.4 กรอบแนวคิดการวิจัยของตัวอย่างที่ 1.2 1. ความต้องการฝึกอบรมการควบคุมและตรวจสอบ คุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต ใน3ส่วนได้แก่ส่วนปัจจัยนาเข้าส่วนกระบวนการผลิต และส่วนผลผลิต 2. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบ คุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต 1. ประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและ การตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรม แต่ละหน่วยฝึกอบรม 3. ผลการติดตามประเมินผลหลังการทดลอง การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
  • 8. 8 1.7 สมมติฐานการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 1.7.1 ลักษณะการเขียนสมมติฐานการวิจัย สมมติฐานการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ผู้วิจัยกาหนดขึ้นมาเพื่อใช้เป็น แนวทางการคาดคะเนคาตอบในเรื่องของผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สมมติฐานที่ตั้งขึ้นมา อาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ การที่ผู้วิจัยจะสรุปว่าเป็นจริงหรือไม่จริง ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือการวิจัยมาวิเคราะห์ ถ้าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยตั้งไว้ตั้งแต่ต้นก็จะยอมรับสมมติฐานนั้น และหากข้อมูลที่รวบรวมมาวิเคราะห์ ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาก็จะปฏิเสธสมมติฐานนั้น ในการกาหนดสมมติฐานการวิจัย อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ (2552 :22-23)ได้เสนอแนะแนวทางเอาไว้ดังนี้ 1) สมมติฐานที่กาหนดต้องทดลองได้ 2) สมมติฐานไม่ควรมีขอบเขตที่กว้างขวางไป 3) สมมติฐานต้องมีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือเรื่องที่ทาวิจัย ควรหลีกเลี่ยงคาที่มีความกว้างเกินไป ซึ่งยากต่อการทดสอบ 4) ภาษาต้องง่ายและชัดเจนต่อความเข้าใจสาหรบผู้สนใจทั่วไป 5) เขียนให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรในสิ่งที่ศึกษาวิจัยนั้น นอกจากนี้ อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ (2552 : 23) ยังเสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การเขียนสมมติฐานกาวิจัยว่า ผู้วิจัยไม่ควรกาหนดสมมติฐานการวิจัยขึ้นภายหลังจากการเก็บ รวบรวมข้อมูลวิจัยแล้ว ทั้งนี้ สมมติฐานควรเป็นตัวนาในการแสวงหาคาตอบที่มีทิศทาง ดังนั้น ผู้วิจัยควรเขียนสมมติฐานการวิจัยขึ้นมากก่อนมีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.7.2 ประโยชน์ของสมมติฐานการวิจัย 1) ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นขอบเขตของการวิจัยว่ากว้างขวางมากน้อยแค่ไหน 2) สามารถกาหนดหรือเลือกตัวแปรที่ได้ว่ามีตัวแปรอะไรที่จะนามาทดสอบ 3) ช่วยเป็นแนวทางในการวิจัยของผู้วิจัยว่าจะตรวจสอบอะไรหรือจะค้นหา คาตอบอะไรซึ่งจะช่วยให้ผู้วิจัยไม่หลงทางและพิสูจน์ในสิ่งที่ต้องการพิสูจน์ 4) เลือกข้อมูลที่จะนามาศึกษาได้ตรงประเด็น 5) ช่วยในการหาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและเลือกสถิติมาใช้ได้อย่างเหมาะสม 6) สามารถออกแบบงานวิจัยได้อย่างเหมาะสม 7) ช่วยให้ทราบถึงวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทดสอบ
  • 9. 9 8) ทาให้เกิดความชัดเจนถึงตัวสถิติอะไรที่จะนามาทดสอบ การกาหนดสมมติฐานในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สมมติฐาน ส่วนใหญ่มักจะยึดความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กาหนดในประเด็นที่ต้องการทดสอบ เช่น งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์ (2557:4)ที่ทาวิจัยเรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตตามตัวอย่างที่ 1.2 กาหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเอาไว้5ข้อแต่มีวัตถุประสงค์การวิจัย2ข้อที่ต้องการ ทดสอบหรือพิสูจน์สมมติฐาน ได้แก่ วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 และข้อที่ 4 ผู้วิจัยจึงกาหนดสมมติฐาน การวิจัยเอาไว้ดังนี้ 1) หลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 ไม่ต่ากว่า 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เข้าฝึกอบรมแต่ละหน่วยฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 (E.I.  ร้อยละ 60) 1.8 ขอบเขตของการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ในการทาวิจัยแต่ละเรื่องผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาได้ครอบคลุมในทุกประเด็นการกาหนด ขอบเขตการวิจัยจะทาให้งานวิจัยมีความชัดเจนเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่กาหนดและผลของ การวิจัยมีความเที่ยงตรงภายในและภายนอกสูงในการกาหนดขอบเขตของการวิจัยและพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรม นิยมกาหนดขอบเขตเอาไว้ 4 ด้าน ดังนี้ 1. ขอบเขตด้านตัวแปรให้ระบุถึงตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเมื่อหลักสูตร ฝึกอบรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้วผู้วิจัยจะบอกถึงจานวนตัวอย่าง (SampleSize)ที่เข้าฝึกอบรมว่ามีจานวน เท่าใดหากงานวิจัยเป็นลักษณะของการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรมผู้วิจัยจะต้องบอกถึงประชากร ว่าเป็นใครที่ไหนจานวนเท่าใดแล้วจึงบอกถึงจานวนของกลุ่มตัวอย่าง 3. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาหรือหัวข้อในหลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา เช่น งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์ (2557:6)เรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิตกาหนดขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาเอาไว้3หัวข้อดังนี้
  • 10. 10 1) วิธีการทางสถิติสาหรับการควบคุมคุณภาพ 2) การใช้ตารางมาตรฐาน MIL-STD-105E 3) การสร้างแผนภูมิควบคุม 4. ขอบเขตด้านระยะเวลา ผู้วิจัยอาจกาหนดขอบเขตด้านเวลาเพื่อให้มองเห็นระยะเวลา ในการดาเนินการวิจัยหรือระยะเวลาในการฝึกอบรมว่าจะใช้เวลากี่คาบกี่ชั่วโมงเป็นเวลากี่วันเป็นต้น 1.9 ข้อจากัดหรือข้อตกลงของการวิจัย (Limitation) ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้เสนอว่า ผู้วิจัยจะควบคุมตัวแปรอะไรเพื่อให้ ผลลัพธ์ของงานมีความถูกต้องแม่นยาสูง เช่น คุณสมบัติของผู้เข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในการกาหนดข้อตกลงเบื้องต้นหรือข้อจากัดของการวิจัยไม่ควรตกลงเกินขอบเขต ที่ควรตกลง หรือไม่ควรกาหนดโดยหาเหตุผลที่น่าเชื่อถือ เช่น กาหนดข้อตกลงของการวิจัยไว้ว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความน่าเชื่อถือได้โดยปกติจึงไม่ต้องมีการทดลองหรือพิสูจน์หาค่า ความเชื่อมั่น (Reliability) หรือค่าความตรง (Validity) หรือค่าอื่น ๆ ที่ควรตรวจสอบของการวิจัย การกาหนดข้อตกลงการวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการตกลงที่ขาดเหตุผลหรือขาดความน่าเชื่อถือ 1.10 แนวทางการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรม การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากผลของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องบอกให้ชัดเจนว่า ใครบ้างจะได้ประโยชน์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใดทั้งแง่ของผู้วิจัย วิชาการ หลักสูตรฝึกอบรม เมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้วจะนาไปฝึกอบรมใคร บริษัทหรือองค์กรใด ทั้งนี้เพราะงานวิจัยทางด้านพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมจะมีขอบเขตที่แคบในสิ่งที่ต้องการแก้ไขปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ จึงจาเป็นต้องเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับให้ชัดเจนและตรงประเด็นมากกว่าจะเขียนลอย ๆ ตัวอย่างที่ 1.3 งานวิจัยของยุทธ ไกยวรรณ์ (2557 :4) เรื่องการพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตร ฝึกอบรมการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทผู้รับจ้างผลิต ผู้วิจัย กาหนดประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยเอาไว้ดังนี้ 1. ประโยชน์ต่อภาคเอกชน ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานาเสนอต่อบริษัทผู้รับจ้างผลิต ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้แก่ บริษัทเนาวบุตรจากัดและบริษัทไทยยางกิจไพศาล จากัดเพื่อให้เป็นข้อมูล