SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
เมื่อ พ.ศ. 2546 หนังสือ “ค�ำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย” ได้
เปิดตัวสู่บรรณพิภพ มีคณะผู้เขียน 9 คน โดย 8 คนเป็นอาจารย์ประจ�ำภาค
วิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีสิริพรรณ
นกสวน และเอก ตั้งทรัพย์วัฒนาเป็นบรรณาธิการ หนังสือดังกล่าวได้รับการ
ต้อนรับจากตลาดดีพอสมควร ดังจะเห็นได้จากความจริงที่ว่าจ�ำนวน 2,000
เล่มได้หมดลงในระยะเวลาประมาณ 3 ปี
	 ก่อนที่หนังสือจะหมดลง บรรณาธิการทั้งสองคนของหนังสือเล่มนั้นได้
ปรึกษากับคณะผู้เขียนแล้วเห็นควรด�ำเนินการสองประการควบคู่กันไปคือ
ประการที่หนึ่ง แก้ไขปรับปรุงเล่มเดิมและตีพิมพ์ครั้งที่สองเป็นหนังสือ “ค�ำ       
และความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 1” และประการที่สอง ชักชวน
คณาจารย์จากภาควิชาอื่น ๆ ในคณะรัฐศาสตร์ คือภาควิชาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยา  มาร่วมโครงการผลิตอีกเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือ “ค�ำและ            
ความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 2” ปรากฏว่ามีผู้ร่วมเขียนเพิ่มขึ้น โดยมี               
ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล และเอก ตั้งทรัพย์วัฒนาเป็นบรรณาธิการ สัมฤทธิผล
เป็นหนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่นี้
	 หนังสือทั้งสองเล่มจึงนับว่าเป็นชุดกัน แต่ละเล่มจึงมีสารบัญค�ำของทั้ง
สองเล่มปรากฏอยู่ เพื่อให้สามารถใช้ร่วมกันได้โดยมีค�ำอธิบายวิธีการใช้อยู่ถัด
ไปจากสารบัญค�ำ แต่ท�ำดรรชนี (Index) ท้ายเล่มแยกกัน
	 ดังที่ได้ชี้แจงไว้แล้วในการพิมพ์เล่ม 1 ครั้งที่ 1 หนังสือ “ค�ำและความคิด
ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย” มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์
ที่รวบรวมค�ำและค�ำแปลสั้น ๆ ดังในพจนานุกรม และมิได้เป็นหนังสือที่เสนอ
การจัดกรอบความคิดและกรอบกระบวนทัศน์ในการวิเคราะห์ทฤษฎีรัฐศาสตร์
อย่างเป็นระบบ แต่เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับค�ำหลักและ
ค�ำน�ำพิมพ์ครั้งที่ 1
แนวคิดส�ำคัญที่จ�ำเป็นต่อการที่นิสิตนักศึกษาและผู้สนใจ จะได้ติดตามงาน
เขียนทางรัฐศาสตร์ในปัจจุบันได้อย่างไม่สับสน และสามารถที่จะผสมผสาน
เชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อต่อยอดและพัฒนาความคิดใน        
ภายหลังได้ อาจเป็นเพียงการวางรากฐานความรู้ในค�ำและแนวคิด เพื่อ       
กระตุ้นความใฝ่รู้และการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมให้รอบด้านและลึกลงไป          
ไม่ได้ต้องการที่จะให้ถือว่าเป็นความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ที่สมบูรณ์ จึงใคร่ขอให้         
ผู้อ่านได้ใช้คมดาบด้านที่เหมาะสมของหนังสือชุดนี้ให้เป็นประโยชน์
	 หนังสือเล่มนี้ บรรจุค�ำที่ใช้กันมานานในรัฐศาสตร์แต่เห็นว่าควรท�ำความ
เข้าใจกันอีกให้มั่นเหมาะและเพียงพอแก่การใช้ในปัจจุบัน และค�ำที่เป็นค�ำใหม่
หรือนิยมใช้กันมากขึ้นในสังคมไทยในงานเขียนทางการเมืองและรัฐศาสตร์ร่วม
สมัย ในประเภทแรกมีค�ำ เช่น politics (การเมือง) public opinion (มติมหาชน)
nationality (สัญชาติ) political party (พรรคการเมือง) และ culture (วัฒนธรรม)
เป็นต้น ในประเภทหลังมีค�ำ เช่น tax revolt (ไม่จ่ายภาษี) balanced scorecard
(บัตรคะแนนสูงสุด) securitization (การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์)           
organization culture (วัฒนธรรมองค์กร) terrorism (การก่อการร้าย) universal
coverage (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) World Trade System (ระบบการค้า
โลก) NGOs (องค์การพัฒนาเอกชน) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าครอบคลุมสาขาย่อย
ของรัฐศาสตร์มากขึ้นกว่าเล่ม 1 อีกทั้งเชื่อมโยงค�ำและความคิดในสาขาข้าง
เคียงเข้ามาเป็นองค์ความรู้ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย
	 ในการค้นคว้าเขียนค�ำส�ำหรับเล่ม 2 และการแก้ไขปรับปรุงเล่ม 1            
ได้รับการสนับสนุนเป็นเงินทุนวิจัยจากงบประมาณรายได้ของคณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจ�ำปีการเงิน 2548 ถือได้ว่าคณะฯ ได้เล็งเห็น
ถึงประโยชน์ของโครงการนี้ในฐานะการวิจัยเพื่อการเรียนการสอนและการ
ท�ำงานร่วมกันของคณาจารย์ จึงขอขอบคุณคณะรัฐศาสตร์เป็นอย่างมาก       
รวมทั้งขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิอ่านผลงานตามค�ำขอร้องของคณะฯ ที่ได้
กรุณาให้ค�ำแนะน�ำที่เป็นประโยชน์ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
การที่คณาจารย์จ�ำนวนถึง 18 คน ได้มาร่วมงานกันในการเขียน    
หนังสือเล่มนี้ โดยสลับกันอ่านต้นร่างและให้ความเห็นเสนอแนะการปรับปรุง
ด้วย นับว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่งานก็ได้       
ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความพร้อมที่จะท�ำความเข้าใจกันระหว่างผู้เขียน          
ด้วยกันและระหว่างผู้เขียนกับบรรณาธิการ อีกทั้งด้วยความช่วยเหลืออย่าง
ขยันขันแข็งและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของนางสาวจารุวรรณ แก้วมะโน และ      
นางสาววริษา ประชาเรืองวิทย์ นิสิตปริญญามหาบัณฑิต และปริญญา     
บัณฑิต ภาควิชาการปกครอง ในการติดตามต้นฉบับจากบรรดาผู้เขียนและ
ในการบรรณาธิกร จึงขอขอบคุณทุกคนไว้ ณ ที่นี้ด้วย
	 บรรณาธิการผู้มีชื่อปรากฏเป็นชื่อแรกท้ายนี้ มีความปลื้มใจเป็นพิเศษ
ที่ได้มีส่วนท�ำให้งานนี้ส�ำเร็จลุล่วง เพราะชวนให้ระลึกถึงความร่วมมือกับของ
คณาจารย์ภาควิชาการปกครองแต่ครั้งที่ตนได้มาเป็นอาจารย์ประจ�ำใหม่ ๆ
เมื่อ 34 ปีที่แล้ว ในการผลิตหนังสือรวมบทความและหนังสือชุดในสภาพ          
การณ์ขณะนั้นที่จะหาความสนับสนุนทางการเงินอย่างเช่นปัจจุบันนี้ไม่ได้ อีก
ทั้งต้องวางตลาดเองด้วย จึงตั้งความหวังไว้ว่าจะมีโอกาสได้เห็นความร่วมมือ
กันเช่นนี้เกิดขึ้นอีกโดยต่อเนื่อง เป็นการสืบสานวัฒนธรรมองค์กร
	 สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้ให้
ความสนใจสนับสนุนการตีพิมพ์หนังสือชุด “ค�ำและความคิดในรัฐศาสตร์        
ร่วมสมัย” ด้วยดีมาตั้งแต่แรก
	 บรรณาธิการทั้งสองและผู้เขียน ขอน้อมรับผิดต่อความบกพร่องที่อาจ
มีในหนังสือเล่มนี้ หากท่านผู้อ่านจะได้กรุณาให้ข้อเสนอแนะส�ำหรับการ
ปรับปรุงก็จะเป็นพระคุณยิ่ง
ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล
เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา
คณะรัฐศาสตตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มกราคม 2551
balanced scorecard	 บัตรคะแนนสูงสุด
checks and balances	 การตรวจสอบถ่วงดุล
citizenship	 ความเป็นพลเมือง
civil religion	 ประชาศาสนา/ศาสนาของประชาสังคม
collaborative snd adversarial	 การวิเคราะห์แบบร่วมมือกับการวิเคราะห์
	 analysis	 แบบปรปักษ์
collective behavior	 พฤติกรรมรวมหมู่
corporate social responsibility	 ความรับผิดชอบของบรรษัทต่อสังคม/
	 (CSR/good corporate 	 บรรษัทภิบาล
	 governance (GCG)	
cultural capital	 ทุนทางวัฒนธรรม
culture	 วัฒนธรรม
deliberative public policy	 นโยบายสาธารณะแบบอภิปรายไตร่ตรอง
democracy, associative	 ประชาธิปไตยแบบสมาคม
democracy, deliberative	 ประชาธิปไตยแบบอภิปรายไตร่ตรอง
democracy, direct	 ประชาธิปไตยโดยตรง
democracy, participatory	 ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
democracy, reform	 การปฏิรูปประชาธิปไตย
devolution	 การปล่อยอ�ำนาจ
election and electoral system	 การเลือกตั้งและระบบเลือกตั้ง
f iscal illusion	 ภาพหลอนทางการคลัง
gender difference	 ความแตกต่างการเพศ
สารบัญค�ำ เล่ม 2
health and medicine 	 สุขภาพ-สุขภาวะ
human capital	 ทุนมนุษย์
initiative	 การใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชน
international monetary system	 ระบบการเงินระหว่างประเทศ
international political economy	 เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ
	 (IPE)
judicial review	 อ�ำนาจตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ
knowledge management	 การจัดการความรู้
medicalization	 แพทยานุวัตร
megalopolis	 อภิมหานคร
nationality	 สัญชาติ
non-govermental organization	 องค์กรพัฒนาเอกชน
	 (NGO)
organization culture	 วัฒนธรรมองค์การ
organization development	 การพัฒนาองค์การ
organization life cycle	 วงจรชีวิตองค์การ
policy network	 เครือข่ายนโยบาย
policy transfer	 การถ่ายโอนนโยบาย
political advocacy coalition	 เครือข่ายพันธมิตรนโยบาย
political party and party systems	 พรรคการเมืองและระบบพรรคการเมือง
political philosophy	 ปรัชญาการเมือง
politics	 การเมือง
politics and business	 การเมืองกับธุรกิจ
politics and media	 การเมืองกับสื่อ
politics in organizations	 การเมืองในองค์กร
program assessment rating tool	 เครื่องมือการประเมินผลงาน
public fund structure	 กองทุนสาธารณะหรือกระเป๋าเงินในภาครัฐ
public opinion	 มติมหาชน
public policy process	 กระบวนการนโยบายสาธารณะ
quality management	 การบริหารคุณภาพขององค์กร
retionalism and incrementalism	 หลักเหตุผลกับหลักการเปลี่ยนแปลงอย่าง
	 	 ค่อยเป็นค่อยไป
representatives bureaucracy	 ระบบราชการแบบตัวแทน
resource mobilization theory	 ทฤษฎีการระดมทรัพยากร
	 (RMT)
securitization	 การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์
strategic plan Vs. action plan	 แผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติการ
tax revolt	 ไม่จ่ายภาษี
terrorist	 การก่อการร้าย
universal health coverage (UC)	 หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
world trading system	 ระบบการค้าโลก
accountability	 ความตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบขึ้นต่อ
	 	 การถูก ‘คิดบัญชี’ ได้
agency and social structure	 มนุษย์และโครงสร้างสังคม
Asian Economic Crisis	 วิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย
bill of right	 กฎหมายเชิงรัฐธรรมนูญว่าด้วยเสรีภาพ
bossism	 การเมืองแบบบอส
bourgeoisie	 คนเมือง พ่อค้า ชนชั้นนายทุน ชนชั้นกลาง
	 	 กระฎุมพี
bureaucracy	 องค์กรที่มีความเป็นทางการ
cabinet collective responsibility	 ความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี
	 	 ต่อรัฐสภา
civil disobedience	 การดื้อแพ่งของพลเมือง
civil society	 ประชาสังคม ประชาคม สังคมประชา
coalition	 การมาผสมกัน ชุดผสม
collective goods, 	 ทรัพยากรร่วมของส่วนรวม/ทางเลือก
	 collective dilemma	 ที่เป็นปัญหาของทรัพยากรร่วม
conservatism	 คตินิยม อนุรักษนิยม
corporatism	 ภาคีรัฐ-สังคม
critical realism	 สัจจนิยมวิพากษ์
decentralization	 การกระจายอ�ำนาจ
determinism	 นิยัตินิยม ก�ำหนดนิยม
Environmental Impact	 การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
	 Assessment (EIA)
สารบัญค�ำ เล่ม 1
externalities	 ผลภายนอกจากกิจกรรมที่กระทบถึงผู้ที่ไม่
	 	 ได้ก่อ
federalism	 สหพันธรัฐ
freedom of information	 สิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
fundamentalism	 พวกนิยมความยึดมั่นถือมั่น
globalisation	 โลกาภิวัตน์
gavernance/good gavernance	 การจัดการปกครอง/วิธีการปกครองและ
	 	 การจัดการปกครองที่ดี/ธรรมาภิบาล
green politics	 การเมืองสีเขียว
hegemony	 ความเป็นเจ้าครอบง�ำ
hermeneutics	 ส�ำนักตีความหมายการตีความความหมาย
human rights	 สิทธิมนุษยชน
identity	 อัตลักษณ์/ตัวตน
interest (s)	 ผลประโยชน์
interest groups	 กลุ่มผลประโยชน์
liberalism	 เสรีนิยม
lobby, lobbying, lobbyists,	 การท�ำการผลักดันนโยบาย/นักล็อบบี้/
	 lobby groups	 กลุ่มล็อบบี้
market force	 พลัง/กลไกของตลาด	 	
metatheory	 อภิทฤษฎี
Middle class, middle classes	 ชนชั้นกลาง
ministerial responsibility	 ความรับผิดชอบของรัฐมนตรีต่อรัฐสภา
network	 เครือข่าย
ontology	 ภาววิทยา
patron-client relations	 ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์
petite bourgeoise/	 ชนชั้นนายทุนน้อย
	 petty bourgeoise	
pluralism	 พหุนิยม
policy analysis	 การวิเคราะห์นโยบาย
postmodernism	 ส�ำนักยุคหลังสมัยใหม่
	 postmodernity	 ยุคหลังสมัยใหม่
	 poststructuralism	 ส�ำนักหลังโครงสร้างนิยม
power	 อ�ำนาจ
privatization	 การโอนภาระงานสู่เอกชน
proletariat	 ชนชั้นกรรมาชีพ
public choice	 การตัดสินใจเลือสาธารณะ
public hearing	 ประชาพิจารณ์
public sphere	 ความเป็นสาธารณะ/อาณาบริเวณสาธารณะ
recognition (politics of)	 การเมืองของการให้ยอมรับตน
redistribution (politics of)	 การเมืองของการกระจายทรัพยากร
reductionism	 การอธิบายแบบย่นย่อส่วน
rule of law	 การปกครองโดยหลักนิติธรรม
social capital	 ต้นทุนทางสังคม
social movement	 ขบวนการทางสังคม/ขบวนการสังคม
social welfare, welfare state	 สวัสดิการสังคม/รัฐสวัสดิการ
sovereignty	 อ�ำนาจอธิปไตย/อ�ำนาจอธิปัตย์
state	 รัฐ
status, social status	 สถานภาพ/สถานภาพทางสังคม
structuration theory,	 ทฤษฎีการก่อตัวโครงสร้างความสัมพันธ์
	 structuration 	 ทางสังคม
think tank	 ขุมความคิด/สถาบันวิจัยนโยบาย
ultra vires	 การใช้อ�ำนาจเกินกว่าที่กฎหมายให้ไว้
vision	 วิสัยทัศน์
working class	 ชนชั้นแรงงาน
หนังสือเล่มนี้เสนอค�ำต่าง ๆ ที่ได้ใช้กันอยู่ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งอาจ         
ไม่ได้เป็นศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ หากแต่เป็นศัพท์ธรรมดา หรือศัพท์เทคนิค
ของสังคมศาสตร์สาขาอื่น ๆ ก็ได้ ค�ำเหล่านี้ซึ่งเป็น entry หรือ “ค�ำที่จะอธิบาย”
เรียงตามล�ำดับอักษรภาษาอังกฤษ ดังในพจนานุกรมหรือสารานุกรมภาษา
อังกฤษ-ไทยทั่วไป และมีค�ำอธิบายความคิดที่อยู่เบื้องหลังค�ำนั้นอย่างละเอียด
พอสมควรตามหลัง ท่านผู้อ่านสนใจที่หาความหมายหลังแนวคิดของค�ำใดก็
สามารถเปิดหาค�ำนั้นได้เลย และเปลี่ยนไปหาค�ำอื่นเรื่อย ๆ ตามความสนใจ
ไม่จ�ำเป็นต้องอ่านตามล�ำดับอักษร เพราะค�ำและแนวคิดต่าง ๆ มีความเป็น
เอกเทศจากกันพอสมควร
	 เหตุที่เรียงตามล�ำดับอักษรภาษาอังกฤษ ก็เพราะมีค�ำหลายค�ำที่ยังหา         
ค�ำแปลเป็นภาษาไทยที่เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายไม่ได้ ส�ำหรับท่านผู้อ่านที่
ทราบค�ำภาษาไทยแต่ไม่ทราบค�ำภาษาอังกฤษ ท่านสามารถใช้ list of entries
หรือ “สารบัญค�ำ” ซึ่งเรียงล�ำดับค�ำและมีค�ำแปลภาษาไทยไว้ เป็นวิธีการใน
การค้นหา
	 นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้มีระบบการอ้างอิงข้ามค�ำ (cross reference)
ของค�ำที่จะอธิบาย (entry) ไว้ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของค�ำ
และความคิดที่มีความสัมพันธ์กัน ค�ำที่ถูกอ้างอิงถึงจะปรากฏเป็นค�ำหรือวลี
ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษที่มีเครื่องหมายดอกจันอยู่ข้างหน้าและอยู่ในวงเล็บ เช่น
เมื่อเปิด entry ค�ำว่า governance และในนั้นมีการกล่าวโยงไปถึง globalisation
ก็จะมี (*globalisation)
	 ส�ำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจจะหาความรู้เพิ่มเติม ก็มีการให้แหล่งข้อมูล
ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือบรรณานุกรมไว้ท้ายค�ำ ในลักษณะของรายชื่อหนังสือหรือ
วิธีการใช้
บทความ ท่านผู้อ่านสามารถไปค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติมทั้งในเชิงกว้างและลึก      
ได้จากห้องสมุดและร้านหนังสือต่าง ๆ
	 เพื่อประโยชน์ในการค้นหาความรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น หนังสือนี้มี
ดรรชนี (Index) ไว้ท้ายเล่ม ดังนั้น ผู้อ่านอาจจะใช้ดรรชนีเป็นเครื่องมือในการ
ค้นหาค�ำและความคิดต่าง ๆ ที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ใน list of entries แต่มีปรากฏ
อยู่ในเนื้อหาการอธิบายภายใน entry อย่างไรก็ตาม ค�ำที่อยู่ในดรรชนีนั้น        
อาจจะเป็นเพียงแค่การเอ่ยถึงเฉย ๆ หรืออาจจะเป็นเพียงการอธิบายคร่าว ๆ
และไม่ละเอียดเท่ากับค�ำหลักที่ปรากฏอยู่ใน list of entries

More Related Content

Similar to 9789740333579

Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654Gritiga Soonthorn
 
Tic 1
Tic  1Tic  1
Tic 1BTNHO
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processSakulsri Srisaracam
 
Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2BTNHO
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54นู๋หนึ่ง nooneung
 
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559Klangpanya
 
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)Kobwit Piriyawat
 
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
 
การบริหาร(เอาจริง)
การบริหาร(เอาจริง)การบริหาร(เอาจริง)
การบริหาร(เอาจริง)Yingjira Panomai
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบweeraboon wisartsakul
 
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal satisamadhi
 

Similar to 9789740333579 (20)

Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654Km subject speciallistsocial-020654
Km subject speciallistsocial-020654
 
Tic 1
Tic  1Tic  1
Tic 1
 
Japan reading policy
Japan reading policyJapan reading policy
Japan reading policy
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting process
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2Pongsiri.pdf 2
Pongsiri.pdf 2
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
 
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
 
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
 
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาเศรษกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
 
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
 
26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ
26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ
26 ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น บทนำ
 
การบริหาร(เอาจริง)
การบริหาร(เอาจริง)การบริหาร(เอาจริง)
การบริหาร(เอาจริง)
 
V 300
V 300V 300
V 300
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
2553 la786 course outline
2553 la786 course outline2553 la786 course outline
2553 la786 course outline
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ
 
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
 
29 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน บทนำ
29 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน บทนำ29 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน บทนำ
29 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน บทนำ
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333579

  • 1. เมื่อ พ.ศ. 2546 หนังสือ “ค�ำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย” ได้ เปิดตัวสู่บรรณพิภพ มีคณะผู้เขียน 9 คน โดย 8 คนเป็นอาจารย์ประจ�ำภาค วิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีสิริพรรณ นกสวน และเอก ตั้งทรัพย์วัฒนาเป็นบรรณาธิการ หนังสือดังกล่าวได้รับการ ต้อนรับจากตลาดดีพอสมควร ดังจะเห็นได้จากความจริงที่ว่าจ�ำนวน 2,000 เล่มได้หมดลงในระยะเวลาประมาณ 3 ปี ก่อนที่หนังสือจะหมดลง บรรณาธิการทั้งสองคนของหนังสือเล่มนั้นได้ ปรึกษากับคณะผู้เขียนแล้วเห็นควรด�ำเนินการสองประการควบคู่กันไปคือ ประการที่หนึ่ง แก้ไขปรับปรุงเล่มเดิมและตีพิมพ์ครั้งที่สองเป็นหนังสือ “ค�ำ และความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 1” และประการที่สอง ชักชวน คณาจารย์จากภาควิชาอื่น ๆ ในคณะรัฐศาสตร์ คือภาควิชาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มาร่วมโครงการผลิตอีกเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือ “ค�ำและ ความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 2” ปรากฏว่ามีผู้ร่วมเขียนเพิ่มขึ้น โดยมี ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล และเอก ตั้งทรัพย์วัฒนาเป็นบรรณาธิการ สัมฤทธิผล เป็นหนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่นี้ หนังสือทั้งสองเล่มจึงนับว่าเป็นชุดกัน แต่ละเล่มจึงมีสารบัญค�ำของทั้ง สองเล่มปรากฏอยู่ เพื่อให้สามารถใช้ร่วมกันได้โดยมีค�ำอธิบายวิธีการใช้อยู่ถัด ไปจากสารบัญค�ำ แต่ท�ำดรรชนี (Index) ท้ายเล่มแยกกัน ดังที่ได้ชี้แจงไว้แล้วในการพิมพ์เล่ม 1 ครั้งที่ 1 หนังสือ “ค�ำและความคิด ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย” มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ที่รวบรวมค�ำและค�ำแปลสั้น ๆ ดังในพจนานุกรม และมิได้เป็นหนังสือที่เสนอ การจัดกรอบความคิดและกรอบกระบวนทัศน์ในการวิเคราะห์ทฤษฎีรัฐศาสตร์ อย่างเป็นระบบ แต่เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับค�ำหลักและ ค�ำน�ำพิมพ์ครั้งที่ 1
  • 2. แนวคิดส�ำคัญที่จ�ำเป็นต่อการที่นิสิตนักศึกษาและผู้สนใจ จะได้ติดตามงาน เขียนทางรัฐศาสตร์ในปัจจุบันได้อย่างไม่สับสน และสามารถที่จะผสมผสาน เชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อต่อยอดและพัฒนาความคิดใน ภายหลังได้ อาจเป็นเพียงการวางรากฐานความรู้ในค�ำและแนวคิด เพื่อ กระตุ้นความใฝ่รู้และการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมให้รอบด้านและลึกลงไป ไม่ได้ต้องการที่จะให้ถือว่าเป็นความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ที่สมบูรณ์ จึงใคร่ขอให้ ผู้อ่านได้ใช้คมดาบด้านที่เหมาะสมของหนังสือชุดนี้ให้เป็นประโยชน์ หนังสือเล่มนี้ บรรจุค�ำที่ใช้กันมานานในรัฐศาสตร์แต่เห็นว่าควรท�ำความ เข้าใจกันอีกให้มั่นเหมาะและเพียงพอแก่การใช้ในปัจจุบัน และค�ำที่เป็นค�ำใหม่ หรือนิยมใช้กันมากขึ้นในสังคมไทยในงานเขียนทางการเมืองและรัฐศาสตร์ร่วม สมัย ในประเภทแรกมีค�ำ เช่น politics (การเมือง) public opinion (มติมหาชน) nationality (สัญชาติ) political party (พรรคการเมือง) และ culture (วัฒนธรรม) เป็นต้น ในประเภทหลังมีค�ำ เช่น tax revolt (ไม่จ่ายภาษี) balanced scorecard (บัตรคะแนนสูงสุด) securitization (การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์) organization culture (วัฒนธรรมองค์กร) terrorism (การก่อการร้าย) universal coverage (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) World Trade System (ระบบการค้า โลก) NGOs (องค์การพัฒนาเอกชน) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าครอบคลุมสาขาย่อย ของรัฐศาสตร์มากขึ้นกว่าเล่ม 1 อีกทั้งเชื่อมโยงค�ำและความคิดในสาขาข้าง เคียงเข้ามาเป็นองค์ความรู้ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย ในการค้นคว้าเขียนค�ำส�ำหรับเล่ม 2 และการแก้ไขปรับปรุงเล่ม 1 ได้รับการสนับสนุนเป็นเงินทุนวิจัยจากงบประมาณรายได้ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจ�ำปีการเงิน 2548 ถือได้ว่าคณะฯ ได้เล็งเห็น ถึงประโยชน์ของโครงการนี้ในฐานะการวิจัยเพื่อการเรียนการสอนและการ ท�ำงานร่วมกันของคณาจารย์ จึงขอขอบคุณคณะรัฐศาสตร์เป็นอย่างมาก รวมทั้งขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิอ่านผลงานตามค�ำขอร้องของคณะฯ ที่ได้ กรุณาให้ค�ำแนะน�ำที่เป็นประโยชน์ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
  • 3. การที่คณาจารย์จ�ำนวนถึง 18 คน ได้มาร่วมงานกันในการเขียน หนังสือเล่มนี้ โดยสลับกันอ่านต้นร่างและให้ความเห็นเสนอแนะการปรับปรุง ด้วย นับว่าเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่งานก็ได้ ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความพร้อมที่จะท�ำความเข้าใจกันระหว่างผู้เขียน ด้วยกันและระหว่างผู้เขียนกับบรรณาธิการ อีกทั้งด้วยความช่วยเหลืออย่าง ขยันขันแข็งและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของนางสาวจารุวรรณ แก้วมะโน และ นางสาววริษา ประชาเรืองวิทย์ นิสิตปริญญามหาบัณฑิต และปริญญา บัณฑิต ภาควิชาการปกครอง ในการติดตามต้นฉบับจากบรรดาผู้เขียนและ ในการบรรณาธิกร จึงขอขอบคุณทุกคนไว้ ณ ที่นี้ด้วย บรรณาธิการผู้มีชื่อปรากฏเป็นชื่อแรกท้ายนี้ มีความปลื้มใจเป็นพิเศษ ที่ได้มีส่วนท�ำให้งานนี้ส�ำเร็จลุล่วง เพราะชวนให้ระลึกถึงความร่วมมือกับของ คณาจารย์ภาควิชาการปกครองแต่ครั้งที่ตนได้มาเป็นอาจารย์ประจ�ำใหม่ ๆ เมื่อ 34 ปีที่แล้ว ในการผลิตหนังสือรวมบทความและหนังสือชุดในสภาพ การณ์ขณะนั้นที่จะหาความสนับสนุนทางการเงินอย่างเช่นปัจจุบันนี้ไม่ได้ อีก ทั้งต้องวางตลาดเองด้วย จึงตั้งความหวังไว้ว่าจะมีโอกาสได้เห็นความร่วมมือ กันเช่นนี้เกิดขึ้นอีกโดยต่อเนื่อง เป็นการสืบสานวัฒนธรรมองค์กร สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้ให้ ความสนใจสนับสนุนการตีพิมพ์หนังสือชุด “ค�ำและความคิดในรัฐศาสตร์ ร่วมสมัย” ด้วยดีมาตั้งแต่แรก บรรณาธิการทั้งสองและผู้เขียน ขอน้อมรับผิดต่อความบกพร่องที่อาจ มีในหนังสือเล่มนี้ หากท่านผู้อ่านจะได้กรุณาให้ข้อเสนอแนะส�ำหรับการ ปรับปรุงก็จะเป็นพระคุณยิ่ง ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณะรัฐศาสตตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มกราคม 2551
  • 4. balanced scorecard บัตรคะแนนสูงสุด checks and balances การตรวจสอบถ่วงดุล citizenship ความเป็นพลเมือง civil religion ประชาศาสนา/ศาสนาของประชาสังคม collaborative snd adversarial การวิเคราะห์แบบร่วมมือกับการวิเคราะห์ analysis แบบปรปักษ์ collective behavior พฤติกรรมรวมหมู่ corporate social responsibility ความรับผิดชอบของบรรษัทต่อสังคม/ (CSR/good corporate บรรษัทภิบาล governance (GCG) cultural capital ทุนทางวัฒนธรรม culture วัฒนธรรม deliberative public policy นโยบายสาธารณะแบบอภิปรายไตร่ตรอง democracy, associative ประชาธิปไตยแบบสมาคม democracy, deliberative ประชาธิปไตยแบบอภิปรายไตร่ตรอง democracy, direct ประชาธิปไตยโดยตรง democracy, participatory ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม democracy, reform การปฏิรูปประชาธิปไตย devolution การปล่อยอ�ำนาจ election and electoral system การเลือกตั้งและระบบเลือกตั้ง f iscal illusion ภาพหลอนทางการคลัง gender difference ความแตกต่างการเพศ สารบัญค�ำ เล่ม 2
  • 5. health and medicine สุขภาพ-สุขภาวะ human capital ทุนมนุษย์ initiative การใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชน international monetary system ระบบการเงินระหว่างประเทศ international political economy เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ (IPE) judicial review อ�ำนาจตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ knowledge management การจัดการความรู้ medicalization แพทยานุวัตร megalopolis อภิมหานคร nationality สัญชาติ non-govermental organization องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) organization culture วัฒนธรรมองค์การ organization development การพัฒนาองค์การ organization life cycle วงจรชีวิตองค์การ policy network เครือข่ายนโยบาย policy transfer การถ่ายโอนนโยบาย political advocacy coalition เครือข่ายพันธมิตรนโยบาย political party and party systems พรรคการเมืองและระบบพรรคการเมือง political philosophy ปรัชญาการเมือง politics การเมือง politics and business การเมืองกับธุรกิจ politics and media การเมืองกับสื่อ politics in organizations การเมืองในองค์กร
  • 6. program assessment rating tool เครื่องมือการประเมินผลงาน public fund structure กองทุนสาธารณะหรือกระเป๋าเงินในภาครัฐ public opinion มติมหาชน public policy process กระบวนการนโยบายสาธารณะ quality management การบริหารคุณภาพขององค์กร retionalism and incrementalism หลักเหตุผลกับหลักการเปลี่ยนแปลงอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป representatives bureaucracy ระบบราชการแบบตัวแทน resource mobilization theory ทฤษฎีการระดมทรัพยากร (RMT) securitization การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ strategic plan Vs. action plan แผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติการ tax revolt ไม่จ่ายภาษี terrorist การก่อการร้าย universal health coverage (UC) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า world trading system ระบบการค้าโลก
  • 7. accountability ความตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบขึ้นต่อ การถูก ‘คิดบัญชี’ ได้ agency and social structure มนุษย์และโครงสร้างสังคม Asian Economic Crisis วิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย bill of right กฎหมายเชิงรัฐธรรมนูญว่าด้วยเสรีภาพ bossism การเมืองแบบบอส bourgeoisie คนเมือง พ่อค้า ชนชั้นนายทุน ชนชั้นกลาง กระฎุมพี bureaucracy องค์กรที่มีความเป็นทางการ cabinet collective responsibility ความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา civil disobedience การดื้อแพ่งของพลเมือง civil society ประชาสังคม ประชาคม สังคมประชา coalition การมาผสมกัน ชุดผสม collective goods, ทรัพยากรร่วมของส่วนรวม/ทางเลือก collective dilemma ที่เป็นปัญหาของทรัพยากรร่วม conservatism คตินิยม อนุรักษนิยม corporatism ภาคีรัฐ-สังคม critical realism สัจจนิยมวิพากษ์ decentralization การกระจายอ�ำนาจ determinism นิยัตินิยม ก�ำหนดนิยม Environmental Impact การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม Assessment (EIA) สารบัญค�ำ เล่ม 1
  • 8. externalities ผลภายนอกจากกิจกรรมที่กระทบถึงผู้ที่ไม่ ได้ก่อ federalism สหพันธรัฐ freedom of information สิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร fundamentalism พวกนิยมความยึดมั่นถือมั่น globalisation โลกาภิวัตน์ gavernance/good gavernance การจัดการปกครอง/วิธีการปกครองและ การจัดการปกครองที่ดี/ธรรมาภิบาล green politics การเมืองสีเขียว hegemony ความเป็นเจ้าครอบง�ำ hermeneutics ส�ำนักตีความหมายการตีความความหมาย human rights สิทธิมนุษยชน identity อัตลักษณ์/ตัวตน interest (s) ผลประโยชน์ interest groups กลุ่มผลประโยชน์ liberalism เสรีนิยม lobby, lobbying, lobbyists, การท�ำการผลักดันนโยบาย/นักล็อบบี้/ lobby groups กลุ่มล็อบบี้ market force พลัง/กลไกของตลาด metatheory อภิทฤษฎี Middle class, middle classes ชนชั้นกลาง ministerial responsibility ความรับผิดชอบของรัฐมนตรีต่อรัฐสภา network เครือข่าย ontology ภาววิทยา patron-client relations ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์
  • 9. petite bourgeoise/ ชนชั้นนายทุนน้อย petty bourgeoise pluralism พหุนิยม policy analysis การวิเคราะห์นโยบาย postmodernism ส�ำนักยุคหลังสมัยใหม่ postmodernity ยุคหลังสมัยใหม่ poststructuralism ส�ำนักหลังโครงสร้างนิยม power อ�ำนาจ privatization การโอนภาระงานสู่เอกชน proletariat ชนชั้นกรรมาชีพ public choice การตัดสินใจเลือสาธารณะ public hearing ประชาพิจารณ์ public sphere ความเป็นสาธารณะ/อาณาบริเวณสาธารณะ recognition (politics of) การเมืองของการให้ยอมรับตน redistribution (politics of) การเมืองของการกระจายทรัพยากร reductionism การอธิบายแบบย่นย่อส่วน rule of law การปกครองโดยหลักนิติธรรม social capital ต้นทุนทางสังคม social movement ขบวนการทางสังคม/ขบวนการสังคม social welfare, welfare state สวัสดิการสังคม/รัฐสวัสดิการ sovereignty อ�ำนาจอธิปไตย/อ�ำนาจอธิปัตย์ state รัฐ status, social status สถานภาพ/สถานภาพทางสังคม structuration theory, ทฤษฎีการก่อตัวโครงสร้างความสัมพันธ์ structuration ทางสังคม
  • 10. think tank ขุมความคิด/สถาบันวิจัยนโยบาย ultra vires การใช้อ�ำนาจเกินกว่าที่กฎหมายให้ไว้ vision วิสัยทัศน์ working class ชนชั้นแรงงาน
  • 11. หนังสือเล่มนี้เสนอค�ำต่าง ๆ ที่ได้ใช้กันอยู่ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งอาจ ไม่ได้เป็นศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ หากแต่เป็นศัพท์ธรรมดา หรือศัพท์เทคนิค ของสังคมศาสตร์สาขาอื่น ๆ ก็ได้ ค�ำเหล่านี้ซึ่งเป็น entry หรือ “ค�ำที่จะอธิบาย” เรียงตามล�ำดับอักษรภาษาอังกฤษ ดังในพจนานุกรมหรือสารานุกรมภาษา อังกฤษ-ไทยทั่วไป และมีค�ำอธิบายความคิดที่อยู่เบื้องหลังค�ำนั้นอย่างละเอียด พอสมควรตามหลัง ท่านผู้อ่านสนใจที่หาความหมายหลังแนวคิดของค�ำใดก็ สามารถเปิดหาค�ำนั้นได้เลย และเปลี่ยนไปหาค�ำอื่นเรื่อย ๆ ตามความสนใจ ไม่จ�ำเป็นต้องอ่านตามล�ำดับอักษร เพราะค�ำและแนวคิดต่าง ๆ มีความเป็น เอกเทศจากกันพอสมควร เหตุที่เรียงตามล�ำดับอักษรภาษาอังกฤษ ก็เพราะมีค�ำหลายค�ำที่ยังหา ค�ำแปลเป็นภาษาไทยที่เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายไม่ได้ ส�ำหรับท่านผู้อ่านที่ ทราบค�ำภาษาไทยแต่ไม่ทราบค�ำภาษาอังกฤษ ท่านสามารถใช้ list of entries หรือ “สารบัญค�ำ” ซึ่งเรียงล�ำดับค�ำและมีค�ำแปลภาษาไทยไว้ เป็นวิธีการใน การค้นหา นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้มีระบบการอ้างอิงข้ามค�ำ (cross reference) ของค�ำที่จะอธิบาย (entry) ไว้ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของค�ำ และความคิดที่มีความสัมพันธ์กัน ค�ำที่ถูกอ้างอิงถึงจะปรากฏเป็นค�ำหรือวลี ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษที่มีเครื่องหมายดอกจันอยู่ข้างหน้าและอยู่ในวงเล็บ เช่น เมื่อเปิด entry ค�ำว่า governance และในนั้นมีการกล่าวโยงไปถึง globalisation ก็จะมี (*globalisation) ส�ำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจจะหาความรู้เพิ่มเติม ก็มีการให้แหล่งข้อมูล ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือบรรณานุกรมไว้ท้ายค�ำ ในลักษณะของรายชื่อหนังสือหรือ วิธีการใช้
  • 12. บทความ ท่านผู้อ่านสามารถไปค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติมทั้งในเชิงกว้างและลึก ได้จากห้องสมุดและร้านหนังสือต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการค้นหาความรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น หนังสือนี้มี ดรรชนี (Index) ไว้ท้ายเล่ม ดังนั้น ผู้อ่านอาจจะใช้ดรรชนีเป็นเครื่องมือในการ ค้นหาค�ำและความคิดต่าง ๆ ที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ใน list of entries แต่มีปรากฏ อยู่ในเนื้อหาการอธิบายภายใน entry อย่างไรก็ตาม ค�ำที่อยู่ในดรรชนีนั้น อาจจะเป็นเพียงแค่การเอ่ยถึงเฉย ๆ หรืออาจจะเป็นเพียงการอธิบายคร่าว ๆ และไม่ละเอียดเท่ากับค�ำหลักที่ปรากฏอยู่ใน list of entries