SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
Download to read offline
แบบทดสอบตามตัวชี้วัดเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1
1. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสสาร
1. มีมวล 2. สัมผัสได้
3. มองเห็นได้ 4. ต้องการที่อยู่
2. ข้อใดเป็นสมบัติทางกายภาพของสาร
1. เนื้อสาร การติดไฟ และการผุกร่อน
2. สี สถานะ และการทำปฏิกิริยากับน้ำ
3. จุดเดือด จุดหลอมเหลว และการละลายน้ำ
4. ความแข็ง การนำไฟฟ้า และการทำปฏิกิริยากับกรดหรือเบส
3. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
1. มีไอเกิดขึ้น 2. มีสารใหม่เกิดขึ้น
3. มีการเปลี่ยนสถานะ 4. ลักษณะภายนอกของสารเปลี่ยนแปลง
4. การละลายของน้ำตาลทรายในน้ำได้น้ำเชื่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางเคมี เพราะ
เหตุใด
1. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะเกิดน้ำเชื่อมซึ่งเป็นสารใหม่
2. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เพราะไม่เกิดการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
3. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะเกิดการเปลี่ยนสถานะของน้ำตาลทราย
4. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เพราะองค์ประกอบภายในโมเลกุลของน้ำตาลทรายและน้ำยัง
คงเดิม
5. สารในข้อใดสามารถเกิดปรากฏการณ์ทินดอลล์ได้
1. เยลลี่ น้ำโคลน และเขม่า
2. วุ้น หมอก และน้ำซาวข้าว
3. ควัน น้ำคลอง และสารละลายกลูโคส
4. เมฆ แป้งมันในน้ำ และสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต
6. แบบจำลองขนมปังลูกเกด (plum pudding model) ของทอมสันได้มาด้วยวิธีการใด (ว 2.1 ม.1/8)
1. ศึกษาการเกิดสเปกตรัมของแก๊สไฮโดรเจน
2. รวบรวมแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น
3. ทดลองการนำไฟฟ้าของแก๊สในหลอดรังสีแคโทด
4. ทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำเปลวที่ล้อมรอบด้วยฉากเรืองแสง
7. การยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ แล้วพบว่า อนุภาคส่วนใหญ่ทะลุผ่านไปในแนวเส้นตรง
มีส่วนน้อยที่เบนไปจากแนวเส้นตรง และนาน ๆ ครั้งจึงจะสะท้อนกลับในทิศทางเกือบตรงกันข้าม
การวิเคราะห์ผลการทดลองนี้ ข้อสรุปข้อใดไม่ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/8)
1. โครงสร้างของอะตอมส่วนใหญ่เป็นที่ว่าง
2. อิเล็กตรอนมีมวลน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับโปรตอนและนิวตรอน
3. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียสเป็นวงเดียว และอยู่ห่างจากนิวเคลียสมาก
4. อะตอมมีนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดอะตอม และมีประจุไฟฟ้าเป็น
บวก
8. กำหนดให้ธาตุสมมติ X มี 19 โปรตอน 19 อิเล็กตรอน และ 20 นิวตรอน ข้อใดคือสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ของธาตุสมมติ X (ว 2.1 ม.1/8)
1. 2.
3. 4.
9. ไอออนข้อใดมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับธาตุ (ว 2.1 ม.1/8)
1. 2.
3. 4.
10. กำหนดสัญลักษณ์ของธาตุสมมติ คือ ถ้าดึงโปรตอนออกจำนวน 1 โปรตอน และดึงอิเล็กตรอนออก
2 อนุภาค สัญลักษณ์นิวเคลียร์ใหม่ที่ได้คือข้อใด และเป็นธาตุเดิมหรือธาตุใหม่ (ว 2.1 ม.1/8)
1. และเป็นธาตุเดิม 2. และเป็นธาตุเดิม
3. และเป็นธาตุใหม่ 4. และเป็นธาตุใหม่
พิจารณารูปต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 11-12
A B C D E
11. รูปใดใช้แสดงสารผสมได้ (ว 2.1 ม.1/4)
1. B 2. D
3. A และ B 4. B และ D
12. รูปใดใช้แสดงโลหะทองแดงและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ตามลำดับ (ว 2.1 ม.1/4)
1. A และ C 2. A และ D
3. C และ E 4. E และ D
13. ข้อใดจัดเป็นธาตุทั้งหมด (ว 2.1 ม.1/4)
1. เพชร เหล็ก และพลวง 2. ออกซิเจน น้ำ และปรอท
3. เหล็ก ไฮโดรเจน และเกลือ 4. ซูโครส ไอโอดีน และไฮโดรเจน
14. จากรูป แสดงการทดลองส่องลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว 2 ชนิด คือ ของเหลว ก และ ข
ข้อใดไม่ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/4)
1. ของเหลว ก จัดเป็นสารประเภทสารละลาย
2. ของเหลว ข จัดเป็นสารประเภทคอลลอยด์
3. ของเหลว ก มีสารที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 1×10–7
เซนติเมตร
4. ของเหลว ข มีสารที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า 1×10–4
เซนติเมตร
15. เมื่อนำสารไม่บริสุทธิ์ A B C และ D ไปทดสอบการกรองด้วยกระดาษกรอง แผ่นเซลโลเฟน และ
การฉายลำแสงเล็ก ๆ ผ่าน ได้ผลการทดลอง ดังนี้
สาร
ผลการทดลอง
กรองด้วยกระดาษกรอง กรองด้วยแผ่นเซลโลเฟน ฉายลำแสงเล็กๆ ผ่าน
A
มีของแข็งสีขาว
บนกระดาษกรอง
ไม่มีสารใดผ่าน
แผ่นเซลโลเฟน
แสงผ่านไม่ได้
B
ไม่มีสารใดค้าง
บนกระดาษกรอง
มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน ก
C
ไม่มีสารใดค้าง
บนกระดาษกรอง
ข
แสงทะลุผ่าน
มองไม่เห็นลำแสง
D
ไม่มีสารใดค้าง
บนกระดาษกรอง
ค
เห็นลำแสงเล็ก ๆ
ผ่านของเหลว
ข้อใดถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/4)
1. A คือ คอลลอยด์
2. B คือ สารละลาย
3. ผลการทดลอง ข คือ ไม่มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน
4. ผลการทดลอง ค คือ ไม่มีสารใดค้างบนแผ่นเซลโลเฟน
16. เมื่อนำของเหลว A B C และ D ไปให้ความร้อนแล้วบันทึกอุณหภูมิทุก ๆ 1 นาที จนกระทั่งของเหลว
เดือดและบันทึกต่อไปอีก 3 นาที นำข้อมูลที่ได้มาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา
สารในข้อใดไม่ใช่สารบริสุทธิ์ (ว 2.1 ม.1/4)
ก. ข.
ค. ง.
1. ข้อ ก 2. ข้อ ข
3. ข้อ ก และ ค 4. ข้อ ข และ ง
17. เอทานอลมีจุดเดือด 78 องศาเซลเซียส ส่วนน้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส สารละลายของเอทาน
อลในน้ำร้อยละ 40 โดยปริมาตร ควรมีจุดเดือดกี่องศาเซลเซียส (ว 2.1 ม.1/4)
1. 48 2. 57
3. 82 4. 101
18. พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
ของเหลว ก มีมวล 10 กรัม ปริมาตร 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ของเหลว ข มีมวล 10 กรัม ปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ของเหลว ค มีมวล 100 กรัม ปริมาตร 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ข้อใดเรียงลำดับของเหลวจากความหนาแน่นมากไปน้อยได้ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/5)
1. ก > ข > ค 2. ก > ค > ข
3. ค > ก > ข 4. ค > ข > ก
19. อุปกรณ์วัดปริมาตรของสารในข้อใดไม่ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/6)
1. บีกเกอร์2. หลอดฉีดยา
3. กระบอกตวง 4. เครื่องชั่งแบบดิจิทัล
20. ข้อใดคือสัญลักษณ์ของธาตุแคลเซียม คลอรีน โครเมียม และโคบอลต์ตามลำดับ (ว 2.1 ม.1/7)
1. Cr Cl Ca และ Co 2. Ca Cl Cr และ Co
3. Ca Cl Co และ Cr 4. Cl Ca Co และ Cr
21. ต (ว 2.1 ม.1/7)
1. Cuprum และ Ferrum 2. Cuprum และ Argentum
3. Natrium และ Plumbum 4. Plumbum และ Argentum
22. สารในข้อใดนำไฟฟ้าได้ (ว 2.1 ม.1/1)
1. เพชร 2. แกรไฟต์
3. กำมะถัน 4. ฟอสฟอรัส
23. ข้อใดเป็นสมบัติของอโลหะ (ว 2.1 ม.1/1)
1. เปราะและงอไม่ได้ 2. เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี
3. เป็นตัวนำความร้อนที่ดี 4. ตัดเป็นเส้นหรือหลอมเป็นรูปต่าง ๆ ได้
24. โลหะข้อใดมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง (ว 2.1 ม.1/1)
1. ดีบุก 2. ปรอท
3. สังกะสี 4. โซเดียม
พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 25-26
ธาตุ สถานะ การนำไฟฟ้า จุดเดือด (o
C) จุดหลอมเหลว (o
C)
A ของแข็ง นำไฟฟ้า 900 1,380
B ของแข็ง นำไฟฟ้า 2,120 3,890
C ของเหลว ไม่นำไฟฟ้า 53 180
25. ธาตุใดเป็นโลหะ (ว 2.1 ม.1/1)
1. A 2. B
3. C 4. A และ B
26. ธาตุใดอยู่ทางด้านขวาของตารางธาตุ (ว 2.1 ม.1/1)
1. A 2. B
3. C 4. A และ B
27. ธาตุชนิดหนึ่งเป็นของแข็งสีเงิน มันวาว เปราะ และนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย ธาตุชนิดนี้คือธาตุใด และมีสมบัติ
เป็นโลหะ กึ่งโลหะ หรืออโลหะ (ว 2.1 ม.1/1)
1. ธาตุโซเดียมและเป็นโลหะ 2. ธาตุคาร์บอนและเป็นอโลหะ
3. ธาตุซิลิคอนและเป็นกึ่งโลหะ 4. ธาตุออกซิเจนและเป็นอโลหะ
28. ธาตุในข้อใดเป็นธาตุกัมมันตรังสี (ว 2.1 ม.1/2)
1. ซิลิคอน ไอโอดีน และทอเรียม 2. โซเดียม ยูเรเนียม และแคลเซียม
3. พอโลเนียม เรเดียม และยูเรเนียม 4. คาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน
29. ข้อใดเรียงลำดับรังสีที่มีอำนาจในการทะลุทะลวงจากมากไปน้อยได้ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/2)
1. α > β > γ 2. γ > β > α
3. α > γ > β 4. γ > α > β
30. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของโคบอลต์-60 (ว 2.1 ม.1/3)
1. รักษามะเร็ง 2. เปลี่ยนสีอัญมณี
3. ดูภาพของสมอง 4. ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในแหนม
31. สารในข้อใดจัดเป็นสารประกอบ (ว 2.1 ม.1/7)
1. น้ำแป้ง 2. น้ำโคลน
3. น้ำคลอง4. กรดเกลือ
32. จากรูป สถานะของสารเรียงจากของแข็ง ของเหลว และแก๊สตรงกับข้อใด (ว 2.1 ม.1/9)
ก ข ค
1. ก ข ค 2. ข ค ก
3. ค ก ข 4. ก ค ข
33. สารที่มีรูปร่างไม่คงที่ แต่ปริมาตรคงที่ และอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง สารนั้นควรอยู่ในสถานะใด
(ว 2.1 ม.1/9)
1. แก๊ส 2. ของเหลว
3. ของแข็ง 4. ไม่สามารถระบุได้
34. สถานะของสารที่อุณหภูมิห้องแบ่งได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง (ว 2.1 ม.1/9)
1. 3 ชนิด ได้แก่ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
2. 3 ชนิด ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
3. 2 ชนิด ได้แก่ นำไฟฟ้าได้และนำไฟฟ้าไม่ได้
4. 2 ชนิด ได้แก่ สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม
35. พิจารณาตารางแสดงจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารสมมติ 4 ชนิด ดังนี้
สาร จุดหลอมเหลว (o
C) จุดเดือด (o
C)
สาร A –25 86
สาร B 120 280
สาร C –120 –56
สาร D 0 100
สารในข้อใดมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ตามลำดับ (ว 2.1 ม.1/9)
1. สาร A สาร B และสาร C 2. สาร A สาร C และสาร B
3. สาร B สาร D และสาร C 4. สาร C สาร B และสาร D
36. พิจารณาตารางแสดงจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารสมมติ 3 ชนิด ดังนี้
สาร จุดหลอมเหลว (o
C) จุดเดือด (o
C)
สาร ก 250 630
สาร ข –143 –25
สาร ค –56 256
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสถานะของสารทั้ง 3 ชนิด ที่อุณหภูมิห้อง (ว 2.1 ม.1/9)
1. สาร ก อนุภาคของสารอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด
2. สาร ข มีรูปร่างและปริมาตรคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะ
3. สาร ค มีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่
4. สารทั้ง 3 ชนิด มีสถานะเดียวกันที่อุณหภูมิห้อง
37. ข้อใดถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/10)
ก. การระเหยของน้ำเกิดได้โดยไม่จำกัดอุณหภูมิ ส่วนการเดือดของน้ำจะต้องมีอุณหภูมิถึง
จุดเดือด
ข. การระเหยของน้ำโมเลกุลของน้ำจะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าการเดือด
1. ข้อ ก 2. ข้อ ข
3. ข้อ ก และ ข 4. ไม่ถูกต้องทั้งข้อ ก และ ข
38. พิจารณาการเปลี่ยนสถานะของสาร
ก. ปรอทกลายเป็นไอปรอทที่ 25 องศาเซลเซียส เรียกว่า การระเหย
ข. เทียนไขกลายเป็นของเหลวเมื่อให้ความร้อน เรียกว่า การละลาย
ค. น้ำแข็งแห้งกลายเป็นไอ เรียกว่า การระเหิด
ง. น้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งในช่องแช่แข็ง เรียกว่า การควบแน่น
ข้อใดถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/10)
1. ข้อ ก และ ข 2. ข้อ ข และ ง
3. ข้อ ค และ ง 4. ข้อ ก และ ค
39. พิจารณากราฟการเปลี่ยนแปลงของสาร ดังนี้
อุณหภูมิ (๐
C)
เวลา (นาที)
ช่วงใดที่สารเกิดการเปลี่ยนสถานะ (ว 2.1 ม.1/10)
1. OA และ BC 2. AB และ CD
3. AB และ BC 4. CD และ DE
40. การกระทำในข้อใดไม่ทำให้สารเปลี่ยนสถานะ (ว 2.1 ม.1/10)
1. การลดอุณหภูมิ 2. การเพิ่มอุณหภูมิ
3. การเปลี่ยนขนาดของภาชนะที่บรรจุ 4. การทำให้ช่องว่างระหว่างโมเลกุลลดลง
41. ข้อใดถูกต้อง (ว 2.3 ม.1/2)
1. 100 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 273 เคลวิน
2. เครื่องมือวัดระดับความร้อน คือ บารอมิเตอร์
3. หน่วยของอุณหภูมิใช้ในหน่วยเอสไอ คือ เคลวิน
4. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
42. เครื่องมือชนิดใดที่บอกขนาดของอุณหภูมิได้ละเอียดที่สุด (ว 2.3 ม.1/2)
1. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยเคลวิน 2. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยเซลเซียส
3. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยโรเมอร์ 4. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยฟาเรนไฮต์
43. ผู้ประกาศข่าวอุตุนิยมวิทยาประกาศว่ามีลมพัดความเร็วลมระหว่าง 65-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วัดอุณหภูมิได้ 22 องศาเซลเซียส ค่าของอุณหภูมิในหน่วยอื่นเป็นเท่าไร (ว 2.3 ม.1/2)
1. 17.6 องศาโรเมอร์ 2. 71.6 องศาฟาเรนไฮต์
3. 295 เคลวิน 4. ถูกต้องทุกข้อ
44. ด้ามจับของหม้อจะทำจากพลาสติกแข็งสีดำเพื่อป้องกันสิ่งใด (ว 2.3 ม.1/6)
1. การนำความร้อน 2. การพาความร้อน
3. การแผ่รังสีความร้อน 4. ถูกต้องทุกข้อ
45. วัตถุในข้อใดเป็นตัวนำความร้อนที่ดี (ว 2.3 ม.1/6)
1. เหล็ก พลาสติก และไม้ 2. ทองแดง เงิน และเหล็ก
3. แก้ว อะลูมิเนียม และผ้า 4. กระป๋อง ไม้ และพลาสติก
46. ข้อใดเป็นลักษณะของการพาความร้อน (ว 2.3 ม.1/6)
1. ทัพพีโลหะที่จุ่มน้ำที่ร้อนจัด 2. ความร้อนผ่านบนขดลวด
3. รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ 4. การนึ่งอาหารด้วยไอน้ำร้อน
47. ทำให้ไอน้ำ 30 กรัม เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นน้ำอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีการคาย
ความร้อนออกมาเท่าไร (ว 2.3 ม.1/1)
1. 300 cal2. 2,700 cal
3. 16,200 cal 4. 16,500 cal
48. น้ำ 50 กรัม ที่ 0 องศาเซลเซียส กลายเป็นน้ำเดือด 50 กรัม ที่ 100 องศาเซลเซียส จะต้องใช้พลังงาน
ความร้อนเท่าไร (ว 2.3 ม.1/1)
1. 4,000 cal 2. 5,000 cal
3. 8,000 cal 4. 27,000 cal
49. น้ำเดือดมวล 820 กรัม ที่ 100 องศาเซลเซียส ทำให้กลายเป็นไอน้ำที่ 100 องศาเซลเซียส จะต้องใช้
ปริมาณความร้อนเท่าไร (ว 2.3 ม.1/1)
1. 54,000 cal 2. 65,600 cal
3. 442,800 cal 4. 448,200 cal
50. หาปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำแข็งมวล 110 กรัม ที่ 0 องศาเซลเซียส กลายเป็นไอน้ำเดือดที่ 100 องศา
เซลเซียส (ว 2.3 ม.1/1)
1. 8,800 cal 2. 11,000 cal
3. 19,800 cal 4. 79,200 cal
51. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/2)
1. พารามีเซียม-แว่นขยาย 2. ขามด-กล้องส่องทางไกล
3. อะมีบา-กล้องจุลทรรศน์ 4. แบคทีเรีย-กล้องโทรทรรศน์
52. พิจารณาขั้นตอนการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูวัตถุ ดังนี้
ก. นำสไลด์ที่ศึกษาวางลงบนแท่นวางสไลด์
ข. มองผ่านเลนส์ใกล้ตา หมุนปุ่มปรับภาพหยาบออกจากวัตถุทีละน้อยจนมองเห็นภาพวัตถุที่ศึกษา
ค. ตรวจสอบให้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในแนวกลางของลำกล้อง
ง. หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้วัตถุอยู่ใกล้เลนส์ใกล้วัตถุมากที่สุด
ข้อใดเรียงลำดับวิธีการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/2)
1. ก ค ข ง 2. ค ก ง ข
3. ค ก ข ง 4. ง ก ข ค
53. บุคคลใดมีวิธีการดูแลและรักษากล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/2)
1. ศิตาใช้ผ้าแห้งที่สะอาดเช็ดบริเวณแขนและฐานกล้อง
2. ธิดามองภาพจากกล้องจุลทรรศน์โดยใช้มือปิดตาข้างหนึ่ง
3. สุดาหมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงสุด เมื่อเลิกใช้งานแล้ว
4. ลดานำกระดาษชำระทำความสะอาดเลนส์ใกล้ตาและเลนส์ใกล้วัตถุ
54. บุคคลใดปฏิบัติตนได้ถูกต้องเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์ (ว 1.2 ม.1/2)
1. แก้วเกล้าใช้มือทั้ง 2 ข้างถือที่แขนกล้อง
2. กิ่งกาญจน์ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณฐานกล้อง
3. ก้อยแก้วใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณแขนกล้อง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับลำกล้อง
4. กาวใจใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณแขนกล้อง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับฐานกล้อง
55. การหยดสารละลายไอโอดีนลงไปบนสไลด์ขณะที่มีการเตรียมสไลด์สดเพื่ออะไร (ว 1.2 ม.1/2)
1. เพื่อให้เซลล์ไม่เหี่ยวเฉา
2. เพื่อให้เห็นเซลล์ชัดเจนขึ้นเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
3. เพื่อให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
4. เพื่อให้เซลล์มีขนาดและรูปร่างเหมือนของจริงมากที่สุดเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
56. ข้อใดถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/4)
1. เซลล์คือหน่วยที่เล็กที่สุดของสัตว์เท่านั้น
2. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยใช้เซลล์เดียว
3. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน แต่มีหน้าที่แตกต่างกัน
4. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
57. ข้อใดแสดงส่วนประกอบที่มีในเซลล์แต่ละชนิดได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/1)
เซลล์สาหร่ายหางกระรอก เซลล์เยื่อหอมแดง เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม
1. นิวเคลียส ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์
2. เยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส ผนังเซลล์
3. ผนังเซลล์ คลอโรพลาสต์ นิวเคลียส
4. คลอโรพลาสต์ เยื่อหุ้มเซลล์ คลอโรพลาสต์
58. ส่วนประกอบของเซลล์ส่วนใดที่ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าและออกของสาร (ว 1.2 ม.1/1)
1. ผนังเซลล์ 2. แวคิวโอล
3. นิวเคลียส 4. เยื่อหุ้มเซลล์
59. ข้อใดเรียงลำดับส่วนประกอบของเซลล์จากด้านในออกสู่ด้านนอกได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/1)
1. เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ นิวเคลียส 2. นิวเคลียส ผนังเซลล์ ไซโทพลาซึม
3. นิวเคลียส เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ 4. เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม ผนังเซลล์
60. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/1)
1. นิวเคลียส-สร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์
2. แวคิวโอล-ควบคุมน้ำและของเสียภายในเซลล์
3. ผนังเซลล์-ควบคุมการผ่านเข้า-ออกของสารในเซลล์
4. เยื่อหุ้มเซลล์-ควบคุมการทำงานและกิจกรรมภายในเซลล์
61. วัตถุดิบใดที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ว 1.2 ม.1/6)
1. น้ำ 2. คาร์บอนไดออกไซด์
3. คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ 4. คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และน้ำตาลกลูโคส
62. คลอโรพลาสต์มีลักษณะคล้ายออร์แกเนลล์ชนิดใด (ว 1.2 ม.1/6)
1. แวคิวโอล 2. ไรโบโซม
3. ไลโซโซม4. ไมโทคอนเดรีย
63. สิ่งใดทำหน้าที่รับพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ว 1.2 ม.1/6)
1. น้ำ 2. คลอโรฟิลล์
3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 4. คลอโรฟิลล์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
64. คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงสีใดน้อยที่สุด (ว 1.2 ม.1/6)
1. น้ำเงิน 2. แดง
3. เขียว 4. เหลือง
65. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด (ว 1.2 ม.1/6)
1. น้ำตาลกลูโคส 2. น้ำและน้ำตาลกลูโคส
3. น้ำตาลกลูโคสและแก๊สออกซิเจน 4. น้ำตาลกลูโคส น้ำ และแก๊สออกซิเจน
66. สารชนิดใดที่ใช้สกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบ (ว 1.2 ม.1/6)
1. น้ำ 2. ไอโอดีน
3. แอลกอฮอล์ 4. แอลกอฮอล์และไอโอดีน
67. ข้อใดมีความสำคัญในด้านก่อให้เกิดพลังงานขั้นต้นแก่สิ่งมีชีวิต (ว 1.2 ม.1/7)
1. การเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
2. การเปลี่ยนพลังงานจากน้ำให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยการแยกน้ำออกเป็นออกซิเจนและ
ไฮโดรเจน
3. การเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมีในรูปอาหารโดยการสังเคราะห์
ด้วยแสง
4. การนำพลังงานสะสมจากใต้พื้นพิภพมาเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้อย่างสะดวก เช่น การกลั่น
ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
68. สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการสร้างอาหาร (ว 1.2 ม.1/7)
1. ไลเคน 2. ตะไคร่น้ำ
3. เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดหูหนู 4. สาหร่ายน้ำจืดที่พบมากในจังหวัดน่าน
69. ส่วนประกอบใดของพืชที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช (ว 1.2 ม.1/9)
1. ไซเล็ม 2. โฟลเอ็ม
3. เซลล์ขนราก 4. ถูกต้องทุกข้อ
70. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับขนราก (ว 1.2 ม.1/9)
1. มีเซลล์ที่ผลิตเมือกได้
2. ทำหน้าที่สร้างหมวกราก
3. ป้องกันอันตรายให้กับราก
4. ทำหน้าที่ในการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ
71. ทิศทางการลำเลียงของท่อลำเลียงข้อใดถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/9)
1. ท่อลำเลียงน้ำมีทิศทางการลำเลียงจากยอดไปราก
2. ท่อลำเลียงอาหารมีทิศทางการลำเลียงจากรากไปยอด
3. ท่อลำเลียงน้ำมีทิศทางการลำเลียงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง
4. ท่อลำเลียงอาหารมีทิศทางการลำเลียงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง
72. ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส อากาศสามารถรับไอน้ำได้ 160 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ในขณะนั้น
มีไอน้ำอยู่เพียง 140 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศขณะนั้นมีค่าเท่าไร (ว 3.2 ม.1/2)
1. ร้อยละ 0.87 2. ร้อยละ 8.7
3. ร้อยละ 78.5 4. ร้อยละ 87.5
73. ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ 120 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่มีไอน้ำอยู่จริง
72 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร อากาศขณะนั้นมีค่าความชื้นสัมพัทธ์เท่าไร (ว 3.2 ม.1/2)
1. 40% 2. 50%
3. 60% 4. 70%
74. ที่ยอดเขาแห่งหนึ่ง วัดความดันอากาศได้ 550 มิลลิเมตรปรอท ยอดเขาแห่งนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล
เท่าไร (ว 3.2 ม.1/2)
1. 1,500 m 2. 1,840 m
3. 2,150 m 4. 2,310 m
75. อากาศในห้องเก็บของมีความหนาแน่น 0.52 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าห้องมีปริมาตร 25 ลูกบาศก์
เมตร อากาศในห้องนี้มีมวลเท่าไร (ว 3.2 ม.1/2)
1. 5 kg 2. 10 kg
3. 13 kg 4. 28 kg
76. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความชื้นสัมพัทธ์ (ว 3.2 ม.1/2)
1. ความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้รู้สึกร้อน 2. ความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้เหงื่อระเหยยาก
3. ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ทำให้รู้สึกสบายตัว 4. ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ทำให้เหงื่อระเหยได้ง่าย
77. เมฆชนิดใดที่ทำให้เราสามารถคาดเดาได้ว่ากำลังจะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น (ว 3.2 ม.1/4)
1. เมฆสเตรตัส 2. เมฆสเตรโตคิวมูลัส
3. เมฆนิมโบสเตรตัส 4. เมฆคิวมูโลนิมบัส
78. ข้อใดเรียงลำดับความแรงของพายุหมุนเขตร้อนได้ถูกต้อง (ว 3.2 ม.1/3)
1. ดีเปรสชัน ไต้ฝุ่น โซนร้อน 2. ไต้ฝุ่น โซนร้อน ดีเปรสชัน
3. ไต้ฝุ่น ดีเปรสชัน โซนร้อน 4. ดีเปรสชัน โซนร้อน ไต้ฝุ่น
79. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลมบก (ว 3.2 ม.1/3)
1. เกิดขึ้นในเวลากลางวัน 2. อาจเรียกว่าลมประจำเวลา
3. ทำให้ลมพัดจากฝั่งออกสู่ทะเล 4. เกิดจากพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ
80. ข้อใดคือผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญต่อประเทศไทย (ว 3.2 ม.1/6)
1. มีฝนตกชุกกว่าปกติ อุณหภูมิสูงขึ้น2. มีฝนตกชุกกว่าปกติ อุณหภูมิลดลง
3. มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ อุณหภูมิลดลง 4. มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ อุณหภูมิสูงขึ้น
เฉลยแบบทดสอบตามตัวชี้วัดเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1
1. 3 2. 3 3. 2 4. 4 5. 2 6. 3 7. 2 8. 3 9. 3 10. 3
11. 1 12. 4 13. 1 14. 4 15. 3 16. 4 17. 3 18. 3 19. 4 20. 2
21. 1 22. 2 23. 1 24. 2 25. 4 26. 3 27. 3 28. 3 29. 2 30. 3
31. 4 32. 4 33. 2 34. 2 35. 3 36. 1 37. 3 38. 4 39. 2 40. 3
41. 3 42. 4 43. 4 44. 1 45. 2 46. 4 47. 4 48. 2 49. 3 50. 4
51. 3 52. 2 53. 1 54. 4 55. 2 56. 2 57. 1 58. 4 59. 3 60. 2
61. 3 62. 4 63. 2 64. 3 65. 4 66. 3 67. 3 68. 3 69. 2 70. 4
71. 4 72. 4 73. 3 74. 4 75. 3 76. 3 77. 4 78. 2 79. 1 80. 4
เฉลยพร้อมคำอธิบาย
1. ตอบข้อ 3
อธิบาย สสาร (matter) คือ สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และสามารถสัมผัสได้ หรืออาจหมายถึง
สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ อาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้
2. ตอบข้อ 3
อธิบาย สมบัติของสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมบัติทางกายภาพหรือสมบัติทางฟิสิกส์ (physical properties) หมายถึง สมบัติของสารที่
สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือจากการทดลองที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. สมบัติทางเคมี (chemical properties) หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
และองค์ประกอบทางเคมีของสาร
3. ตอบข้อ 2
อธิบาย การเปลี่ยนแปลงของสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามสมบัติของสารหลังการเปลี่ยนแปลง
คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะ
ภายนอกของสาร แต่องค์ประกอบภายในโมเลกุลไม่เปลี่ยนแปลง จึงยังคงเป็นสารเดิมอยู่ เช่น การเปลี่ยน
สถานะของน้ำแข็งเป็นน้ำและไอน้ำ ตามลำดับ
2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้
โครงสร้างหรือองค์ประกอบทางเคมีของสารนั้นเปลี่ยนแปลงไป และมีสารใหม่เกิดขึ้น
4. ตอบข้อ 4
อธิบาย การละลายของน้ำตาลทรายในน้ำได้น้ำเชื่อม ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น เพียงแต่เกิดการเปลี่ยน
สถานะของน้ำตาลทรายเท่านั้น น้ำเชื่อมยังคงมีสมบัติของน้ำตาลทรายและน้ำคงเดิม ดังนั้นจึงเป็นการ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
5. ตอบข้อ 2
อธิบาย ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (tyndall effect) คือ การเกิดลำแสงในคอลลอยด์ ซึ่งเกิดจากแสง
ตกกระทบอนุภาคคอลลอยด์ แล้วเกิดการกระเจิงแสง จากโจทย์สารที่จัดเป็นคอลลอยด์ ได้แก่ เยลลี่ วุ้น
หมอก ควัน และเมฆ
6. ตอบข้อ 3
อธิบาย ทอมสันได้ทดลองการนำไฟฟ้าของแก๊สในหลอดรังสีแคโทด เสนอว่า อะตอมมีลักษณะเป็น
ทรงกลม ประกอบด้วยเนื้ออะตอมซึ่งมีประจุบวก และอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบจำนวนเท่ากับประจุบวก
กระจายอยู่ทั่วไปสม่ำเสมอภายในอะตอม ลักษณะคล้ายแบบจำลองขนมปังลูกเกด (plum pudding
model)
7. ตอบข้อ 2
อธิบาย การยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุบวกไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ แล้วพบว่า อนุภาคส่วนใหญ่
ทะลุผ่านไปในแนวเส้นตรง มีส่วนน้อยที่เบนไปจากแนวเส้นตรง และนาน ๆ ครั้งจึงจะสะท้อนกลับ
ในทิศทางเกือบตรงกันข้าม แสดงว่า บริเวณส่วนใหญ่ของอะตอมเป็นที่ว่าง มีนิวเคลียสขนาดเล็ก มีประจุ
บวก และมีมวลมากอยู่บริเวณตรงกลางอะตอม และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นวงรอบนิวเคลียสซึ่งอยู่ห่าง
จากนิวเคลียสมาก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมวลของอิเล็กตรอน
8. ตอบข้อ 3
อธิบาย สัญลักษณ์นิวเคลียร์แสดงถึงข้อมูลของอนุภาคมูลฐานของอะตอมได้ ดังนี้
เมื่อ X คือ สัญลักษณ์ของธาตุ
Z คือ เลขอะตอม แสดงถึงจำนวนโปรตอน ถ้าอะตอมมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า จำนวน
โปรตอนจะเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
A คือ เลขมวล แสดงถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียสของอะตอม
9. ตอบข้อ 3
อธิบาย จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ มี 18 อิเล็กตรอน
ข้อ 1 มี 11–1 = 10 อิเล็กตรอน
ข้อ 2 มี 12–2 = 10 อิเล็กตรอน
ข้อ 3 มี 17+1 = 18 อิเล็กตรอน
ข้อ 4 มี 8+2 = 10 อิเล็กตรอน
ดังนั้น มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ
10. ตอบข้อ 3
อธิบาย จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ แสดงว่า
- มีจำนวนโปรตอนเท่ากับ 20 เมื่อดึงโปรตอนออกจำนวน 1 โปรตอน จะเหลือ 19
โปรตอน
- มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 20 เมื่อดึงอิเล็กตรอนออกจำนวน 2 อิเล็กตรอน จะเหลือ 18
อิเล็กตรอน
- มีจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 40–20 = 20 นิวตรอน
ดังนั้น สัญลักษณ์นิวเคลียร์ใหม่ที่ได้ คือ และเนื่องจากมีจำนวนโปรตอนต่างไปจากเดิม จึงเป็น
ธาตุใหม่
11. ตอบข้อ 1
อธิบาย สารผสม (mixture) เป็นสารไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเนื้อสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาผสมกัน
โดยมีอัตราส่วนไม่คงที่ ดังรูป B
12. ตอบข้อ 4
อธิบาย โลหะทองแดงจัดเป็นธาตุ ประกอบด้วยอะตอมของธาตุเพียงชนิดเดียว และเป็นของแข็ง
อะตอมจึงเรียงชิดกันแน่น ดังรูป E ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จัดเป็นสารประกอบ ประกอบด้วยสาร
เพียงชนิดเดียว แต่อนุภาคของสารแต่ละอนุภาคประกอบด้วยอะตอมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มารวมกันด้วย
จำนวนอะตอมคงที่ ในกรณีนี้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุล ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 1 อะตอม
และธาตุออกซิเจน 2 อะตอม ดังรูป D
13. ตอบข้อ 1
อธิบาย ข้อ 1 เพชร เหล็ก และพลวง จัดเป็นธาตุ
ข้อ 2 ออกซิเจนและปรอทจัดเป็นธาตุ ส่วนน้ำจัดเป็นสารประกอบ
ข้อ 3 เหล็กและไฮโดรเจนจัดเป็นธาตุ ส่วนเกลือจัดเป็นสารประกอบ
ข้อ 4 ไฮโดรเจนและไอโอดีนจัดเป็นธาตุ ส่วนซูโครสจัดเป็นสารประกอบ
14. ตอบข้อ 4
อธิบาย จากรูป ลำแสงเล็ก ๆ สามารถผ่านของเหลว ก ได้ แสดงว่า ของเหลว ก เป็นสารละลายซึ่งมี
ขนาดอนุภาคของสารเล็กกว่า 1×10–7
เซนติเมตร และเมื่อลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว ข แล้วเกิด
การกระเจิงของแสง แสดงว่า ของเหลว ข เป็นคอลลอยด์ซึ่งมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 1×10–7
-1×10–4
เซนติเมตร
15. ตอบข้อ 3
อธิบาย
สาร
ผลการทดลอง
กรองด้วยกระดาษกรอง กรองด้วยแผ่นเซลโลเฟน ฉายลำแสงเล็กๆ ผ่าน
A
มีของแข็งสีขาว
บนกระดาษกรอง
ไม่มีสารใดผ่าน
แผ่นเซลโลเฟน
แสงผ่านไม่ได้
B
ไม่มีสารใดค้าง
บนกระดาษกรอง
มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน ก
C
ไม่มีสารใดค้าง
บนกระดาษกรอง
ข
แสงทะลุผ่าน
มองไม่เห็นลำแสง
D
ไม่มีสารใดค้าง
บนกระดาษกรอง
ค
เห็นลำแสงเล็ก ๆ
ผ่านของเหลว
จากตาราง จะได้ว่า สาร A คือ สารแขวนลอย สาร B คือ คอยลอยด์ สาร C คือ สารละลายและสาร
D คือ คอลลอยด์
ผลการทดลอง ก คือ เห็นลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว
ผลการทดลอง ข คือ ไม่มีสารใดค้างบนแผ่นเซลโลเฟน
ผลการทดลอง ค คือ มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน
16. ตอบข้อ 4
อธิบาย สารบริสุทธิ์จะมีจุดเดือดหรืออุณหภูมิขณะเดือดคงที่
17. ตอบข้อ 3
อธิบาย เอทานอลมีจุดเดือด 78 องศาเซลเซียส ส่วนน้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส เมื่อนำ
เอทานอลผสมลงในน้ำแล้วนำไปให้ความร้อน เอทานอลซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่าจะเปลี่ยนสถานะเป็นไอ
ได้ดีกว่าน้ำทำให้มีเอทานอลในสารละลายน้อยลง จุดเดือดของสารละลายจึงมีค่าเพิ่มขึ้นและมีค่ามากกว่า
78 องศาเซลเซียส เนื่องจากน้ำมีจุดเดือดสูงกว่าเอทานอล
18. ตอบข้อ 3
อธิบาย จากสูตร ความหนาแน่นของสาร =
จะได้ ความหนาแน่นของของเหลว ก = = 1 g/cm3
ความหนาแน่นของของเหลว ข = = 0.1 g/cm3
ความหนาแน่นของของเหลว ค = = 10 g/cm3
ดังนั้น ความหนาแน่นของของเหลว ค > ก > ข
19. ตอบข้อ 4
อธิบาย เครื่องชั่งแบบดิจิทัลใช้สำหรับวัดมวลของสาร
20. ตอบข้อ 2
อธิบาย สัญลักษณ์ของธาตุแคลเซียม คลอรีน โครเมียม และโคบอลต์ คือ Ca Cl Cr และ Co
21. ตอบข้อ 1
อธิบาย ธาตุทองแดงมีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Copper และชื่อภาษาละติน คือ Cuprum
ธาตุเหล็กมีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Iron และชื่อภาษาละติน คือ Ferrum
22. ตอบข้อ 2
อธิบาย แกรไฟต์เกิดจากอะตอมของคาร์บอนใช้ 3 เวเลนซ์อิเล็กตรอนสร้างพันธะเดี่ยวภายในชั้น
และมี 1 อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อิสระระหว่างชั้น จึงทำให้แกรไฟต์นำไฟฟ้าได้ระหว่างชั้น
23. ตอบข้อ 1
อธิบาย อโลหะมีสมบัติ ดังนี้
- มีทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
- เปราะ แตกง่าย ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นไม่ได้
- ไม่นำไฟฟ้าและความร้อน ยกเว้นแกรไฟต์
- เคาะไม่มีเสียงดังกังวาน
- ผิวไม่มันวาว
- มีความหนาแน่นต่ำ
24. ตอบข้อ 2
อธิบาย โลหะส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง ยกเว้น ปรอท (Hg) ซีเซียม (Cs) และแฟรนเซียม (Cs)
มีสถานะเป็นของเหลว
25. ตอบข้อ 4
อธิบาย โลหะนำไฟฟ้าได้ในสถานะของแข็ง และมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
26. ตอบข้อ 3
อธิบาย อโลหะไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ และมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ ซึ่งอโลหะจะอยู่ทางด้าน
ขวาของตารางธาตุ
27. ตอบข้อ 3
อธิบาย ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) เป็นธาตุที่มีสมบัติทั้งโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน เป็น
ของแข็งสีเงิน มันวาวเหมือนโลหะ แต่เปราะเหมือนอโลหะ และนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย
28. ตอบข้อ 3
อธิบาย ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสีแอลฟา (
หรือ α) บีตา ( หรือ β) หรือแกมมา (γ) ออกมาตลอดเวลา เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอม
ของธาตุกัมมันตรังสีนั้นอยู่ในสภาวะที่ไม่เสถียร จึงให้รังสีออกมาเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ เช่น พอโลเนียม
เรเดียม และยูเรเนียม
29. ตอบข้อ 2
อธิบาย อำนาจในการทะลุทะลวงของรังสีแกมมา > รังสีบีตา > รังสีแอลฟา ดังรูป
30. ตอบข้อ 3
อธิบาย โคบอลต์-60 ใช้รักษามะเร็ง เปลี่ยนสีอัญมณี และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในแหนม ส่วนการดูภาพ
ของสมองจะใช้ไอโอดีน-132
31. ตอบข้อ 4
อธิบาย สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุต่างชนิดกันมารวมกันทางเคมีเกิดเป็นสารใหม่ โดยมี
อัตราส่วนของจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุคงที่ เช่น กรดเกลือ (HCl) ซึ่งมีอะตอมของธาตุไฮโดรเจนกับ
อะตอมของธาตุคลอรีนในอัตราส่วน 1 : 1 ส่วนน้ำแป้ง น้ำโคลน และน้ำคลองจัดเป็นสารแขวนลอย
32. ตอบข้อ 4
อธิบาย ของแข็งมีการจัดเรียงอนุภาคเป็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อยมาก ของเหลวมีการ
จัดเรียงอนุภาคไม่เป็นระเบียบมีช่องว่างระหว่างอนุภาคมากกว่าของแข็ง และแก๊สมีการจัดเรียงอนุภาค
ไม่เป็นระเบียบ ฟุ้งกระจาย และมีช่องว่างระหว่างอนุภาคมากกว่าของแข็งและของเหลว
33. ตอบข้อ 2
อธิบาย ของเหลวมีรูปร่างไม่คงที่ แต่ปริมาตรคงที่ และอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง
34. ตอบข้อ 2
อธิบาย สถานะของสารแบ่งออกเป็น 3 สถานะ ได้แก่
1) ของแข็ง เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง เงิน
2) ของเหลว เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ โบรมีน
3) แก๊ส เช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
35. ตอบข้อ 3
อธิบาย การพิจารณาสถานะของสารที่อุณหภูมิห้อง (25o
C) ให้พิจารณาที่จุดเดือดและจุดหลอมเหลว
ของสารแต่ละชนิด ดังนี้
- ถ้าสารมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส จะมีสถานะเป็นแก๊ส
- ถ้าสารมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และจุดเดือดสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส
จะมีสถานะเป็นของเหลว
- ถ้าสารมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส จะมีสถานะเป็นของแข็ง
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในตารางแล้วจะได้ว่า
สาร A มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
สาร B มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
สาร C มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง
สาร D มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
36. ตอบข้อ 1
อธิบาย จากโจทย์ เมื่อพิจารณาจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสาร พบว่า
สาร ก มีสถานะเป็นของแข็ง
สาร ข มีสถานะเป็นแก๊ส
สาร ค มีสถานะเป็นของเหลว
ข้อ 1 ถูกต้อง สาร ก เป็นของแข็ง อนุภาคของสารอยู่ชิดกันมากที่สุด
ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง สาร ข มีสถานะเป็นแก๊ส รูปร่างและปริมาตรเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะ
ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง สาร ค มีสถานะเป็นของเหลว มีรูปร่างไม่คงที่ แต่ปริมาตรคงที่
ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง สาร ก สาร ข และสาร ค เป็นคนละสถานะกัน
37. ตอบข้อ 3
อธิบาย การระเหยจะเกิดขึ้นได้ แม้ว่าอุณหภูมิยังไม่ถึงจุดเดือด การระเหยจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
แต่การเดือดของของเหลวนั้นจะต้องถึงจุดเดือดของสารนั้น และโมเลกุลของสารจะเกิดการเคลื่อนที่ได้
อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีโมเลกุลเกิดการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น
38. ตอบข้อ 4
อธิบาย ข้อ ก ถูกต้อง เพราะปรอทเป็นโลหะที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และการเปลี่ยน
สถานะจากของเหลวเป็นไอ เรียกว่า การระเหย
ข้อ ข ไม่ถูกต้อง เพราะเทียนไขมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง และการเปลี่ยนสถานะจาก
ของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว ส่วนการละลายใช้สำหรับการละลายสารใน ตัวทำ
ละลาย เช่น เกลือแกงละลายในน้ำ
ข้อ ค ถูกต้อง เพราะน้ำแข็งแห้งมีสถานะเป็นของแข็ง เมื่อกลายเป็นไอ เรียกว่า การระเหิด
ข้อ ง ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การแข็งตัว ส่วนการควบแน่นใช้สำหรับ
การเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว
39. ตอบข้อ 2
อธิบาย ช่วงที่สารเกิดการเปลี่ยนสถานะจะมีอุณหภูมิคงที่ซึ่งได้แก่ ช่วง AB และ CD
40. ตอบข้อ 3
อธิบาย การลดอุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิ และการทำให้ช่องว่างระหว่างโมเลกุลลดลงจะส่งผลให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงของพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานะ จึงทำให้สารเปลี่ยนสถานะได้ แต่การ
เปลี่ยนขนาดของภาชนะที่บรรจุไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยน
สถานะ จึงไม่ทำให้สารเปลี่ยนสถานะ
41. ตอบข้อ 3
อธิบาย ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง จากความสัมพันธ์ของหน่วยของอุณหภูมิ คือ =
จะได้ว่า 100 องศาเซลเซียสเท่ากับ 373 เคลวิน
ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง เครื่องมือวัดระดับความร้อน คือ เทอร์มอมิเตอร์
42. ตอบข้อ 4
อธิบาย เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยฟาเรนไฮต์ มีจุดเดือด 212 องศาฟาเรนไฮต์ และจุดหลอมเหลว 32
องศาฟาเรนไฮต์ จึงมีขนาดสเกลถึง 180 ช่อง ซึ่งถือว่ามีความละเอียดมากที่สุด
43. ตอบข้อ 4
อธิบาย จากความสัมพันธ์ของอุณหภูมิในหน่วยต่าง ๆ ดังนี้
= = =
จะได้ว่า R : =
R = 17.6o
R
K : K = 273+22
= 295 K
F : =
F = 71.6o
F
44. ตอบข้อ 1
อธิบาย ด้ามจับหม้อทำจากพลาสติกแข็งสีดำเพื่อป้องกันการนำความร้อนของโลหะที่ใช้ทำหม้อ
โดยการนำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนจากวัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิสูงผ่านวัตถุที่เป็นตัวกลาง
ซึ่งอยู่กับที่ไปยังวัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิต่ำ
45. ตอบข้อ 2
อธิบาย ตัวนำความร้อน หมายถึง วัตถุที่ความร้อนสามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้ โลหะทุกชนิดมีสมบัติ
เป็นตัวนำความร้อนที่ดี เช่น เหล็ก ทองแดง เงิน อะลูมิเนียม ส่วนพลาสติก ไม้ และแก้วมีสมบัติเป็น
ฉนวนความร้อน ซึ่งหมายถึง วัตถุที่ความร้อนเคลื่อนที่ผ่านได้ไม่ดีหรือไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้
46. ตอบข้อ 4
อธิบาย การพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนที่ต้องมีตัวกลางพาความร้อนไปกับอนุภาคของ
ตัวกลางที่เคลื่อนที่ พาความร้อนจากวัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น
การนึ่งอาหาร ซึ่งไอน้ำเป็นตัวกลางพาความร้อนไปทำให้อาหารสุก
ทัพพีโลหะที่จุ่มน้ำที่ร้อนจัดและความร้อนผ่านบนขดลวดเป็นการนำความร้อน
รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นการแผ่รังสีความร้อน
47. ตอบข้อ 4
อธิบาย จากสูตร Q1 = mc∆t
= 30×1×(100–90)
= 30×10
= 300 cal
จากสูตร Q2 = mL
= 30×540
= 16,200 cal
รวม Q1+Q2 = 300+16,200 = 16,500 cal
48. ตอบข้อ 2
อธิบาย จากสูตร Q = mc∆t
= 50×1×100
= 5,000 cal
49. ตอบข้อ 3
อธิบาย จากสูตร Q = mL
= 820×540
= 442,800 cal
50. ตอบข้อ 4
อธิบาย จากสูตร Q1 = mL
ความร้อนแฝงน้ำแข็งเป็นน้ำ = 110×80
= 8,800 cal
จากสูตร Q2 = mc∆t
ความร้อนแฝงน้ำเป็นน้ำเดือด = 110×1×100
= 11,000 cal
จากสูตร Q3 = mL
ความร้อนแฝงน้ำเดือดเป็นไอน้ำ = 110×540
= 59,400 cal
รวม Q1+Q2+Q3 = 8,800+11,000+59,400 = 79,200 cal
51. ตอบข้อ 3
อธิบาย กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการมองเห็นวัตถุขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้
ด้วยตาเปล่า เช่น เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
52. ตอบข้อ 2
อธิบาย ขั้นตอนการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ มีดังนี้
1. ตรวจสอบให้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในแนวกลางของลำกล้อง
2. นำสไลด์ที่ศึกษาวางลงบนแท่นวางสไลด์
3. หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้วัตถุอยู่ใกล้เลนส์ใกล้วัตถุมากที่ที่สุด
4. มองผ่านเลนส์ใกล้ตา หมุนปุ่มปรับภาพหยาบออกจากวัตถุทีละน้อยจนมองเห็นภาพวัตถุ
53. ตอบข้อ 1
อธิบาย ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง การมองภาพจากกล้องจุลทรรศน์ควรลืมตาทั้ง 2 ข้าง
ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง เมื่อเลิกใช้งานกล้องจุลทรรศน์ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้
ตรงกับลำกล้อง และเลื่อนให้อยู่ในระดับต่ำสุด
ข้อ 4 การเช็ดทำความสะอาดเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ให้ใช้กระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น
54. ตอบข้อ 4
อธิบาย การยกกล้องจุลทรรศน์เพื่อเคลื่อนย้าย ให้ใช้มือหนึ่งจับที่แขนของกล้อง อีกมือหนึ่งใช้รองที่
ใต้ฐานและยกกล้องในลักษณะตั้งตรง
55. ตอบข้อ 2
อธิบาย การหยดสารละลายไอโอดีนลงไปบนสไลด์ขณะที่มีการเตรียมสไลด์สดเพื่อให้เห็นเซลล์ชัดเจน
ขึ้นเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
56. ตอบข้อ 2
อธิบาย ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง เซลล์ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืชและสัตว์
ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีขนาดและรูปร่างต่างกัน เพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่าง
เฉพาะเจาะจง
ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เกิดจากเซลล์หลาย ๆ เซลล์มาอยู่รวมกัน
57. ตอบข้อ 1
อธิบาย - จะพบคลอโรพลาสต์ในเซลล์พืชในส่วนที่มีสีเขียว ดังนั้นจะไม่พบคลอโรพลาสต์ใน
เซลล์ เยื่อหอมแดงและเซลล์เยื่อบุข้างแก้ม
- จะพบผนังเซลล์ในเซลล์พืช ดังนั้นเราจะไม่พบผนังเซลล์ในเซลล์เยื่อบุข้างแก้ม
58. ตอบข้อ 4
อธิบาย เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบเซลล์ อยู่ถัดจากผนังเซลล์เข้ามา สร้างจากสารโปรตีน
และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์
59. ตอบข้อ 3
อธิบาย ผนังเซลล์เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ถัดจากผนังเซลล์เข้าไปเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ และ
นิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์
60. ตอบข้อ 2
อธิบาย ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง นิวเคลียส-ควบคุมการทำงานและกิจกรรมภายในเซลล์
ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง ผนังเซลล์-สร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์
ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง เยื่อหุ้มเซลล์-ควบคุมการผ่านเข้า-ออกของสารในเซลล์
61. ตอบข้อ 3
อธิบาย กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืชที่เกิดขึ้นในเซลล์พืช
ที่ยังมีชีวิตและมีคลอโรฟิลล์ โดยมีวัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และ
น้ำ และให้ผลผลิตเป็นน้ำตาลกลูโคส แก๊สออกซิเจน และน้ำ ดังสมการ
6CO2(g)+12H2O(ℓ) C6H12O6(s)+6O2(g)+6H2O(ℓ)
62. ตอบข้อ 4
อธิบาย คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่อยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของคลอโรพลาสต์ ซึ่งจะทำหน้าที่รับ
พลังงานแสง แล้วทำให้คลอโรฟิลล์เอปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการตรึง
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้วสร้างเป็นน้ำตาลกลูโคสออกมา ดังนั้น คลอโรพลาสต์จึงมีลักษณะคล้าย
ไมโทคอนเดรียที่มีหน้าที่สร้างพลังงานให้แก่เซลล์
63. ตอบข้อ 2
อธิบาย ดูคำอธิบายในข้อ 62
64. ตอบข้อ 3
อธิบาย คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่สำคัญของพืชดอกที่ใช้ในการดูดกลืนแสง เพื่อนำมาใช้ในปฏิกิริยา
ขั้นตอนต่าง ๆ ของการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยคลอโรฟิลล์มีความสามารถในการดูดกลืนแสงสีน้ำเงินและ
แสงสีแดงได้มากที่สุด แต่ดูดกลืนแสงสีเขียวได้น้อยที่สุด
65. ตอบข้อ 4
อธิบาย ดูคำอธิบายในข้อ 61
66. ตอบข้อ 3
อธิบาย การสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบพืชทำได้โดยรินเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ลงใน
หลอดทดลองที่มีใบพืช แล้วนำไปต้มจนกระทั่งใบมีสีซีดจาง
67. ตอบข้อ 3
อธิบาย การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมีในรูป
อาหาร เมื่อมีสัตว์บริโภคพืชเป็นอาหาร และสัตว์ที่บริโภคทั้งพืชและสัตว์ จึงเกิดการถ่ายทอดพลังงาน
ในระบบนิเวศ
68. ตอบข้อ 3
อธิบาย เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารโดยการย่อยโมเลกุลอาหารให้มีขนาดเล็กพอกับเซลล์ และ
ไม่สามารถสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์และคลอโรพลาสต์
69. ตอบข้อ 2
อธิบาย โฟลเอ็ม คือ เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร
70. ตอบข้อ 4
อธิบาย ขนรากเป็นเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส ทำหน้าที่ในการเพิ่มพื้นที่ผิว
ในการสัมผัสกับดินให้มากขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุมากขึ้นด้วย
71. ตอบข้อ 4
อธิบาย ท่อลำเลียงน้ำ-แร่ธาตุจะลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากล่างขึ้นบนหรือจากรากไปยอด ส่วน
ท่อลำเลียงอาหารจะลำเลียงอาหารทั้งขึ้นและลงหรือทั้งจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง
72. ตอบข้อ 4
อธิบาย มวลไอน้ำจริง 140 g/cm3
มวลไอน้ำอิ่มตัว 160 g/cm3
จากสูตร ความชื้นสัมพัทธ์ = ×100
=
= 87.5
ดังนั้น ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเท่ากับ 87.5%
73. ตอบข้อ 3
อธิบาย มวลไอน้ำจริง 72 g/cm3
มวลไอน้ำอิ่มตัว 120 g/cm3
จากสูตร ความชื้นสัมพัทธ์ = ×100
=
= 60
ดังนั้น ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเท่ากับ 60%
74. ตอบข้อ 4
อธิบาย ที่ระดับน้ำทะเลปรอทสูง = 760 มิลลิเมตร
ที่ยอดเขาปรอทสูง = 550 มิลลิเมตร
ที่ยอดเขาระดับปรอทจะลดลง = 760–550 = 210 มิลลิเมตร
ระดับปรอทลดลง 1 มิลลิเมตร เมื่อมีความสูง = 11 เมตร
ระดับปรอทลดลง 210 มิลลิเมตร เมื่อมีความสูง = 210×11 เมตร
ดังนั้น ยอดเขาแห่งนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,310 เมตร
75. ตอบข้อ 3
อธิบาย จากสูตร ความหนาแน่น =
0.52=
มวล= 0.52×25
ดังนั้น อากาศในห้องนี้มีมวลเท่ากับ 13 กิโลกรัม
76. ตอบข้อ 3
อธิบาย ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ คือ ความชื้นในอากาศมีน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งและแตก
77. ตอบข้อ 4
อธิบาย เมฆคิวมูโลนิมบัสหรือเมฆฝนฟ้าคะนอง เป็นเมฆรูปทั่งขนาดใหญ่ ยอดเมฆมีลักษณะคล้าย
ขนนก พบได้บ่อยครั้งในฤดูร้อน และมักจะปรากฏพร้อมกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง
78. ตอบข้อ 2
อธิบาย พายุไต้ฝุ่นมีความเร็วเข้าใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นพายุที่มีความแรง
มากที่สุด พายุโซนร้อนมีความเร็วเข้าใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 63-118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และพายุ
ดีเปรสชันเป็นพายุที่มีความเร็วเข้าใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
79. ตอบข้อ 1
อธิบาย ลมบก เกิดขึ้นในเวลากลางคืน เนื่องจากพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อุณหภูมิ
ของอากาศเหนือพื้นดินต่ำกว่าพื้นน้ำ ความหนาแน่นของอากาศและความกดอากาศจึงสูงกว่าอากาศ
เหนือพื้นน้ำ ทำให้กระแสอากาศในระดับล่างเคลื่อนที่จากพื้นดินออกสู่ทะเลเกิดเป็นลมบก
80. ตอบข้อ 4
อธิบาย ปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีความรุนแรงทำให้ปริมาณฝนของประเทศไทยมีค่าต่ำกว่าปกติ
อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติและประสบกับสภาวะแห้งแล้ง ส่วนปรากฏการณ์ลานีญาจะทำให้
ประเทศไทยมีปริมาณฝนชุกกว่าปกติและอุณหภูมิในฤดูหนาวลดต่ำลงกว่าปกติ

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศkrupornpana55
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)Napadon Yingyongsakul
 
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบssuserf8d051
 
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นแบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นChakkrawut Mueangkhon
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้าPinutchaya Nakchumroon
 
แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่
แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่
แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่nik2529
 
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะแบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะJariya Jaiyot
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์orasa1971
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศdnavaroj
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะkrupornpana55
 
บทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารบทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารPinutchaya Nakchumroon
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารdalarat
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงานdnavaroj
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพSirintip Arunmuang
 

What's hot (20)

การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)
 
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
 
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
 
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
ใบงานวิทยาศาสตร์ ป.5 ครบ
 
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นแบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
 
แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่
แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่
แบบฝึกหัดแรงและการเคลื่อนที่
 
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะแบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
แบบทดสอบ บทที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
 
งานและพลังงาน (work and_energy)
งานและพลังงาน (work and_energy)งานและพลังงาน (work and_energy)
งานและพลังงาน (work and_energy)
 
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
SlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะSlชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
Slชุดฝึกเฉลยแบบฝึกทักษะ
 
บทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารบทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสาร
 
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
 
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัวแรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
 

Similar to แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf

แนวข้อสอบโควตา
แนวข้อสอบโควตาแนวข้อสอบโควตา
แนวข้อสอบโควตาnam_supanida
 
ข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมีข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมีPorna Saow
 
ข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมีข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมีPorna Saow
 
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2ครูแป้ง ครูตาว
 
1.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 1
1.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 11.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 1
1.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 1darkfoce
 
แผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำ
แผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำแผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำ
แผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำkrupornpana55
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์oraneehussem
 
ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551
ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551
ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551blogbiology
 
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)Asah Chaithep
 
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)viewil
 
Science o net part 1
Science o net part 1Science o net part 1
Science o net part 1Asah Chaithep
 
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546Trd Wichai
 
ข้อสอบ เคมี
ข้อสอบ เคมีข้อสอบ เคมี
ข้อสอบ เคมีzweetiiz
 
เคมี
เคมี เคมี
เคมี Mu PPu
 

Similar to แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf (20)

แนวข้อสอบโควตา
แนวข้อสอบโควตาแนวข้อสอบโควตา
แนวข้อสอบโควตา
 
ข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมีข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมี
 
ข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมีข้อสอบโควต้ามช เคมี
ข้อสอบโควต้ามช เคมี
 
Solid liquid-gas
Solid liquid-gasSolid liquid-gas
Solid liquid-gas
 
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
สมบัติของธาตุและสารประกอบ2
 
เคมี ปี 55
เคมี ปี 55เคมี ปี 55
เคมี ปี 55
 
1.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 1
1.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 11.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 1
1.เก็งข้อสอบ a net วิชาเคมี ชุดที่ 1
 
แผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำ
แผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำแผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำ
แผน 1 การถ่ายโอนความร้อนของน้ำ
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
 
เคมี กสพท ปี58 พร้อมเฉลย
เคมี กสพท ปี58 พร้อมเฉลยเคมี กสพท ปี58 พร้อมเฉลย
เคมี กสพท ปี58 พร้อมเฉลย
 
ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551
ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551
ข้อสอบ Onet ม.6 วิทยาศาสตร์ ปี 2551
 
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)
วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ)
 
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
ติวมาม่า16th วิทยาศาสตร์ O-NET (ครูติ่ง)
 
Science o net part 1
Science o net part 1Science o net part 1
Science o net part 1
 
Scienceo
Scienceo Scienceo
Scienceo
 
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546
ข้อสอบเอ็นทรานซ์ เคมี มีนาคม 2546
 
แข็ง เหลว แก๊ส
แข็ง เหลว แก๊สแข็ง เหลว แก๊ส
แข็ง เหลว แก๊ส
 
ข้อสอบ เคมี
ข้อสอบ เคมีข้อสอบ เคมี
ข้อสอบ เคมี
 
เคมี
เคมี เคมี
เคมี
 
020 gas liquid-solid-3
020 gas liquid-solid-3020 gas liquid-solid-3
020 gas liquid-solid-3
 

แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf

  • 1. แบบทดสอบตามตัวชี้วัดเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 1. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสสาร 1. มีมวล 2. สัมผัสได้ 3. มองเห็นได้ 4. ต้องการที่อยู่ 2. ข้อใดเป็นสมบัติทางกายภาพของสาร 1. เนื้อสาร การติดไฟ และการผุกร่อน 2. สี สถานะ และการทำปฏิกิริยากับน้ำ 3. จุดเดือด จุดหลอมเหลว และการละลายน้ำ 4. ความแข็ง การนำไฟฟ้า และการทำปฏิกิริยากับกรดหรือเบส 3. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 1. มีไอเกิดขึ้น 2. มีสารใหม่เกิดขึ้น 3. มีการเปลี่ยนสถานะ 4. ลักษณะภายนอกของสารเปลี่ยนแปลง 4. การละลายของน้ำตาลทรายในน้ำได้น้ำเชื่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางเคมี เพราะ เหตุใด 1. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะเกิดน้ำเชื่อมซึ่งเป็นสารใหม่ 2. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เพราะไม่เกิดการเปลี่ยนสถานะของน้ำ 3. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะเกิดการเปลี่ยนสถานะของน้ำตาลทราย 4. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เพราะองค์ประกอบภายในโมเลกุลของน้ำตาลทรายและน้ำยัง คงเดิม 5. สารในข้อใดสามารถเกิดปรากฏการณ์ทินดอลล์ได้ 1. เยลลี่ น้ำโคลน และเขม่า 2. วุ้น หมอก และน้ำซาวข้าว 3. ควัน น้ำคลอง และสารละลายกลูโคส 4. เมฆ แป้งมันในน้ำ และสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต
  • 2. 6. แบบจำลองขนมปังลูกเกด (plum pudding model) ของทอมสันได้มาด้วยวิธีการใด (ว 2.1 ม.1/8) 1. ศึกษาการเกิดสเปกตรัมของแก๊สไฮโดรเจน 2. รวบรวมแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น 3. ทดลองการนำไฟฟ้าของแก๊สในหลอดรังสีแคโทด 4. ทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำเปลวที่ล้อมรอบด้วยฉากเรืองแสง 7. การยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ แล้วพบว่า อนุภาคส่วนใหญ่ทะลุผ่านไปในแนวเส้นตรง มีส่วนน้อยที่เบนไปจากแนวเส้นตรง และนาน ๆ ครั้งจึงจะสะท้อนกลับในทิศทางเกือบตรงกันข้าม การวิเคราะห์ผลการทดลองนี้ ข้อสรุปข้อใดไม่ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/8) 1. โครงสร้างของอะตอมส่วนใหญ่เป็นที่ว่าง 2. อิเล็กตรอนมีมวลน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับโปรตอนและนิวตรอน 3. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียสเป็นวงเดียว และอยู่ห่างจากนิวเคลียสมาก 4. อะตอมมีนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดอะตอม และมีประจุไฟฟ้าเป็น บวก 8. กำหนดให้ธาตุสมมติ X มี 19 โปรตอน 19 อิเล็กตรอน และ 20 นิวตรอน ข้อใดคือสัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุสมมติ X (ว 2.1 ม.1/8) 1. 2. 3. 4. 9. ไอออนข้อใดมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับธาตุ (ว 2.1 ม.1/8) 1. 2. 3. 4. 10. กำหนดสัญลักษณ์ของธาตุสมมติ คือ ถ้าดึงโปรตอนออกจำนวน 1 โปรตอน และดึงอิเล็กตรอนออก 2 อนุภาค สัญลักษณ์นิวเคลียร์ใหม่ที่ได้คือข้อใด และเป็นธาตุเดิมหรือธาตุใหม่ (ว 2.1 ม.1/8) 1. และเป็นธาตุเดิม 2. และเป็นธาตุเดิม 3. และเป็นธาตุใหม่ 4. และเป็นธาตุใหม่
  • 3. พิจารณารูปต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 11-12 A B C D E 11. รูปใดใช้แสดงสารผสมได้ (ว 2.1 ม.1/4) 1. B 2. D 3. A และ B 4. B และ D 12. รูปใดใช้แสดงโลหะทองแดงและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ตามลำดับ (ว 2.1 ม.1/4) 1. A และ C 2. A และ D 3. C และ E 4. E และ D 13. ข้อใดจัดเป็นธาตุทั้งหมด (ว 2.1 ม.1/4) 1. เพชร เหล็ก และพลวง 2. ออกซิเจน น้ำ และปรอท 3. เหล็ก ไฮโดรเจน และเกลือ 4. ซูโครส ไอโอดีน และไฮโดรเจน 14. จากรูป แสดงการทดลองส่องลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว 2 ชนิด คือ ของเหลว ก และ ข ข้อใดไม่ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/4) 1. ของเหลว ก จัดเป็นสารประเภทสารละลาย 2. ของเหลว ข จัดเป็นสารประเภทคอลลอยด์ 3. ของเหลว ก มีสารที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 1×10–7 เซนติเมตร 4. ของเหลว ข มีสารที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า 1×10–4 เซนติเมตร
  • 4. 15. เมื่อนำสารไม่บริสุทธิ์ A B C และ D ไปทดสอบการกรองด้วยกระดาษกรอง แผ่นเซลโลเฟน และ การฉายลำแสงเล็ก ๆ ผ่าน ได้ผลการทดลอง ดังนี้ สาร ผลการทดลอง กรองด้วยกระดาษกรอง กรองด้วยแผ่นเซลโลเฟน ฉายลำแสงเล็กๆ ผ่าน A มีของแข็งสีขาว บนกระดาษกรอง ไม่มีสารใดผ่าน แผ่นเซลโลเฟน แสงผ่านไม่ได้ B ไม่มีสารใดค้าง บนกระดาษกรอง มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน ก C ไม่มีสารใดค้าง บนกระดาษกรอง ข แสงทะลุผ่าน มองไม่เห็นลำแสง D ไม่มีสารใดค้าง บนกระดาษกรอง ค เห็นลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว ข้อใดถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/4) 1. A คือ คอลลอยด์ 2. B คือ สารละลาย 3. ผลการทดลอง ข คือ ไม่มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน 4. ผลการทดลอง ค คือ ไม่มีสารใดค้างบนแผ่นเซลโลเฟน 16. เมื่อนำของเหลว A B C และ D ไปให้ความร้อนแล้วบันทึกอุณหภูมิทุก ๆ 1 นาที จนกระทั่งของเหลว เดือดและบันทึกต่อไปอีก 3 นาที นำข้อมูลที่ได้มาเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา สารในข้อใดไม่ใช่สารบริสุทธิ์ (ว 2.1 ม.1/4) ก. ข. ค. ง.
  • 5. 1. ข้อ ก 2. ข้อ ข 3. ข้อ ก และ ค 4. ข้อ ข และ ง 17. เอทานอลมีจุดเดือด 78 องศาเซลเซียส ส่วนน้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส สารละลายของเอทาน อลในน้ำร้อยละ 40 โดยปริมาตร ควรมีจุดเดือดกี่องศาเซลเซียส (ว 2.1 ม.1/4) 1. 48 2. 57 3. 82 4. 101 18. พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ ของเหลว ก มีมวล 10 กรัม ปริมาตร 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ของเหลว ข มีมวล 10 กรัม ปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ของเหลว ค มีมวล 100 กรัม ปริมาตร 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ข้อใดเรียงลำดับของเหลวจากความหนาแน่นมากไปน้อยได้ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/5) 1. ก > ข > ค 2. ก > ค > ข 3. ค > ก > ข 4. ค > ข > ก 19. อุปกรณ์วัดปริมาตรของสารในข้อใดไม่ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/6) 1. บีกเกอร์2. หลอดฉีดยา 3. กระบอกตวง 4. เครื่องชั่งแบบดิจิทัล 20. ข้อใดคือสัญลักษณ์ของธาตุแคลเซียม คลอรีน โครเมียม และโคบอลต์ตามลำดับ (ว 2.1 ม.1/7) 1. Cr Cl Ca และ Co 2. Ca Cl Cr และ Co 3. Ca Cl Co และ Cr 4. Cl Ca Co และ Cr 21. ต (ว 2.1 ม.1/7) 1. Cuprum และ Ferrum 2. Cuprum และ Argentum 3. Natrium และ Plumbum 4. Plumbum และ Argentum 22. สารในข้อใดนำไฟฟ้าได้ (ว 2.1 ม.1/1) 1. เพชร 2. แกรไฟต์ 3. กำมะถัน 4. ฟอสฟอรัส 23. ข้อใดเป็นสมบัติของอโลหะ (ว 2.1 ม.1/1) 1. เปราะและงอไม่ได้ 2. เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี 3. เป็นตัวนำความร้อนที่ดี 4. ตัดเป็นเส้นหรือหลอมเป็นรูปต่าง ๆ ได้
  • 6. 24. โลหะข้อใดมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง (ว 2.1 ม.1/1) 1. ดีบุก 2. ปรอท 3. สังกะสี 4. โซเดียม พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 25-26 ธาตุ สถานะ การนำไฟฟ้า จุดเดือด (o C) จุดหลอมเหลว (o C) A ของแข็ง นำไฟฟ้า 900 1,380 B ของแข็ง นำไฟฟ้า 2,120 3,890 C ของเหลว ไม่นำไฟฟ้า 53 180 25. ธาตุใดเป็นโลหะ (ว 2.1 ม.1/1) 1. A 2. B 3. C 4. A และ B 26. ธาตุใดอยู่ทางด้านขวาของตารางธาตุ (ว 2.1 ม.1/1) 1. A 2. B 3. C 4. A และ B 27. ธาตุชนิดหนึ่งเป็นของแข็งสีเงิน มันวาว เปราะ และนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย ธาตุชนิดนี้คือธาตุใด และมีสมบัติ เป็นโลหะ กึ่งโลหะ หรืออโลหะ (ว 2.1 ม.1/1) 1. ธาตุโซเดียมและเป็นโลหะ 2. ธาตุคาร์บอนและเป็นอโลหะ 3. ธาตุซิลิคอนและเป็นกึ่งโลหะ 4. ธาตุออกซิเจนและเป็นอโลหะ 28. ธาตุในข้อใดเป็นธาตุกัมมันตรังสี (ว 2.1 ม.1/2) 1. ซิลิคอน ไอโอดีน และทอเรียม 2. โซเดียม ยูเรเนียม และแคลเซียม 3. พอโลเนียม เรเดียม และยูเรเนียม 4. คาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน 29. ข้อใดเรียงลำดับรังสีที่มีอำนาจในการทะลุทะลวงจากมากไปน้อยได้ถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/2) 1. α > β > γ 2. γ > β > α 3. α > γ > β 4. γ > α > β 30. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของโคบอลต์-60 (ว 2.1 ม.1/3) 1. รักษามะเร็ง 2. เปลี่ยนสีอัญมณี 3. ดูภาพของสมอง 4. ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในแหนม
  • 7. 31. สารในข้อใดจัดเป็นสารประกอบ (ว 2.1 ม.1/7) 1. น้ำแป้ง 2. น้ำโคลน 3. น้ำคลอง4. กรดเกลือ 32. จากรูป สถานะของสารเรียงจากของแข็ง ของเหลว และแก๊สตรงกับข้อใด (ว 2.1 ม.1/9) ก ข ค 1. ก ข ค 2. ข ค ก 3. ค ก ข 4. ก ค ข 33. สารที่มีรูปร่างไม่คงที่ แต่ปริมาตรคงที่ และอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง สารนั้นควรอยู่ในสถานะใด (ว 2.1 ม.1/9) 1. แก๊ส 2. ของเหลว 3. ของแข็ง 4. ไม่สามารถระบุได้ 34. สถานะของสารที่อุณหภูมิห้องแบ่งได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง (ว 2.1 ม.1/9) 1. 3 ชนิด ได้แก่ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ 2. 3 ชนิด ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส 3. 2 ชนิด ได้แก่ นำไฟฟ้าได้และนำไฟฟ้าไม่ได้ 4. 2 ชนิด ได้แก่ สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม 35. พิจารณาตารางแสดงจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารสมมติ 4 ชนิด ดังนี้ สาร จุดหลอมเหลว (o C) จุดเดือด (o C) สาร A –25 86 สาร B 120 280 สาร C –120 –56 สาร D 0 100 สารในข้อใดมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ตามลำดับ (ว 2.1 ม.1/9) 1. สาร A สาร B และสาร C 2. สาร A สาร C และสาร B
  • 8. 3. สาร B สาร D และสาร C 4. สาร C สาร B และสาร D 36. พิจารณาตารางแสดงจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารสมมติ 3 ชนิด ดังนี้ สาร จุดหลอมเหลว (o C) จุดเดือด (o C) สาร ก 250 630 สาร ข –143 –25 สาร ค –56 256 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสถานะของสารทั้ง 3 ชนิด ที่อุณหภูมิห้อง (ว 2.1 ม.1/9) 1. สาร ก อนุภาคของสารอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด 2. สาร ข มีรูปร่างและปริมาตรคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะ 3. สาร ค มีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ 4. สารทั้ง 3 ชนิด มีสถานะเดียวกันที่อุณหภูมิห้อง 37. ข้อใดถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/10) ก. การระเหยของน้ำเกิดได้โดยไม่จำกัดอุณหภูมิ ส่วนการเดือดของน้ำจะต้องมีอุณหภูมิถึง จุดเดือด ข. การระเหยของน้ำโมเลกุลของน้ำจะเกิดการสั่นสะเทือนน้อยกว่าการเดือด 1. ข้อ ก 2. ข้อ ข 3. ข้อ ก และ ข 4. ไม่ถูกต้องทั้งข้อ ก และ ข 38. พิจารณาการเปลี่ยนสถานะของสาร ก. ปรอทกลายเป็นไอปรอทที่ 25 องศาเซลเซียส เรียกว่า การระเหย ข. เทียนไขกลายเป็นของเหลวเมื่อให้ความร้อน เรียกว่า การละลาย ค. น้ำแข็งแห้งกลายเป็นไอ เรียกว่า การระเหิด ง. น้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งในช่องแช่แข็ง เรียกว่า การควบแน่น ข้อใดถูกต้อง (ว 2.1 ม.1/10) 1. ข้อ ก และ ข 2. ข้อ ข และ ง 3. ข้อ ค และ ง 4. ข้อ ก และ ค
  • 9. 39. พิจารณากราฟการเปลี่ยนแปลงของสาร ดังนี้ อุณหภูมิ (๐ C) เวลา (นาที) ช่วงใดที่สารเกิดการเปลี่ยนสถานะ (ว 2.1 ม.1/10) 1. OA และ BC 2. AB และ CD 3. AB และ BC 4. CD และ DE 40. การกระทำในข้อใดไม่ทำให้สารเปลี่ยนสถานะ (ว 2.1 ม.1/10) 1. การลดอุณหภูมิ 2. การเพิ่มอุณหภูมิ 3. การเปลี่ยนขนาดของภาชนะที่บรรจุ 4. การทำให้ช่องว่างระหว่างโมเลกุลลดลง 41. ข้อใดถูกต้อง (ว 2.3 ม.1/2) 1. 100 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 273 เคลวิน 2. เครื่องมือวัดระดับความร้อน คือ บารอมิเตอร์ 3. หน่วยของอุณหภูมิใช้ในหน่วยเอสไอ คือ เคลวิน 4. ไม่มีข้อใดถูกต้อง 42. เครื่องมือชนิดใดที่บอกขนาดของอุณหภูมิได้ละเอียดที่สุด (ว 2.3 ม.1/2) 1. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยเคลวิน 2. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยเซลเซียส 3. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยโรเมอร์ 4. เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยฟาเรนไฮต์ 43. ผู้ประกาศข่าวอุตุนิยมวิทยาประกาศว่ามีลมพัดความเร็วลมระหว่าง 65-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วัดอุณหภูมิได้ 22 องศาเซลเซียส ค่าของอุณหภูมิในหน่วยอื่นเป็นเท่าไร (ว 2.3 ม.1/2) 1. 17.6 องศาโรเมอร์ 2. 71.6 องศาฟาเรนไฮต์ 3. 295 เคลวิน 4. ถูกต้องทุกข้อ
  • 10. 44. ด้ามจับของหม้อจะทำจากพลาสติกแข็งสีดำเพื่อป้องกันสิ่งใด (ว 2.3 ม.1/6) 1. การนำความร้อน 2. การพาความร้อน 3. การแผ่รังสีความร้อน 4. ถูกต้องทุกข้อ 45. วัตถุในข้อใดเป็นตัวนำความร้อนที่ดี (ว 2.3 ม.1/6) 1. เหล็ก พลาสติก และไม้ 2. ทองแดง เงิน และเหล็ก 3. แก้ว อะลูมิเนียม และผ้า 4. กระป๋อง ไม้ และพลาสติก 46. ข้อใดเป็นลักษณะของการพาความร้อน (ว 2.3 ม.1/6) 1. ทัพพีโลหะที่จุ่มน้ำที่ร้อนจัด 2. ความร้อนผ่านบนขดลวด 3. รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ 4. การนึ่งอาหารด้วยไอน้ำร้อน 47. ทำให้ไอน้ำ 30 กรัม เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นน้ำอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส แสดงว่ามีการคาย ความร้อนออกมาเท่าไร (ว 2.3 ม.1/1) 1. 300 cal2. 2,700 cal 3. 16,200 cal 4. 16,500 cal 48. น้ำ 50 กรัม ที่ 0 องศาเซลเซียส กลายเป็นน้ำเดือด 50 กรัม ที่ 100 องศาเซลเซียส จะต้องใช้พลังงาน ความร้อนเท่าไร (ว 2.3 ม.1/1) 1. 4,000 cal 2. 5,000 cal 3. 8,000 cal 4. 27,000 cal 49. น้ำเดือดมวล 820 กรัม ที่ 100 องศาเซลเซียส ทำให้กลายเป็นไอน้ำที่ 100 องศาเซลเซียส จะต้องใช้ ปริมาณความร้อนเท่าไร (ว 2.3 ม.1/1) 1. 54,000 cal 2. 65,600 cal 3. 442,800 cal 4. 448,200 cal 50. หาปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำแข็งมวล 110 กรัม ที่ 0 องศาเซลเซียส กลายเป็นไอน้ำเดือดที่ 100 องศา เซลเซียส (ว 2.3 ม.1/1) 1. 8,800 cal 2. 11,000 cal 3. 19,800 cal 4. 79,200 cal 51. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/2) 1. พารามีเซียม-แว่นขยาย 2. ขามด-กล้องส่องทางไกล 3. อะมีบา-กล้องจุลทรรศน์ 4. แบคทีเรีย-กล้องโทรทรรศน์
  • 11. 52. พิจารณาขั้นตอนการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูวัตถุ ดังนี้ ก. นำสไลด์ที่ศึกษาวางลงบนแท่นวางสไลด์ ข. มองผ่านเลนส์ใกล้ตา หมุนปุ่มปรับภาพหยาบออกจากวัตถุทีละน้อยจนมองเห็นภาพวัตถุที่ศึกษา ค. ตรวจสอบให้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในแนวกลางของลำกล้อง ง. หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้วัตถุอยู่ใกล้เลนส์ใกล้วัตถุมากที่สุด ข้อใดเรียงลำดับวิธีการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/2) 1. ก ค ข ง 2. ค ก ง ข 3. ค ก ข ง 4. ง ก ข ค 53. บุคคลใดมีวิธีการดูแลและรักษากล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/2) 1. ศิตาใช้ผ้าแห้งที่สะอาดเช็ดบริเวณแขนและฐานกล้อง 2. ธิดามองภาพจากกล้องจุลทรรศน์โดยใช้มือปิดตาข้างหนึ่ง 3. สุดาหมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงสุด เมื่อเลิกใช้งานแล้ว 4. ลดานำกระดาษชำระทำความสะอาดเลนส์ใกล้ตาและเลนส์ใกล้วัตถุ 54. บุคคลใดปฏิบัติตนได้ถูกต้องเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์ (ว 1.2 ม.1/2) 1. แก้วเกล้าใช้มือทั้ง 2 ข้างถือที่แขนกล้อง 2. กิ่งกาญจน์ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณฐานกล้อง 3. ก้อยแก้วใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณแขนกล้อง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับลำกล้อง 4. กาวใจใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณแขนกล้อง ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับฐานกล้อง 55. การหยดสารละลายไอโอดีนลงไปบนสไลด์ขณะที่มีการเตรียมสไลด์สดเพื่ออะไร (ว 1.2 ม.1/2) 1. เพื่อให้เซลล์ไม่เหี่ยวเฉา 2. เพื่อให้เห็นเซลล์ชัดเจนขึ้นเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ 3. เพื่อให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ 4. เพื่อให้เซลล์มีขนาดและรูปร่างเหมือนของจริงมากที่สุดเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ 56. ข้อใดถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/4) 1. เซลล์คือหน่วยที่เล็กที่สุดของสัตว์เท่านั้น 2. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยใช้เซลล์เดียว 3. เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน แต่มีหน้าที่แตกต่างกัน 4. สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
  • 12. 57. ข้อใดแสดงส่วนประกอบที่มีในเซลล์แต่ละชนิดได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/1) เซลล์สาหร่ายหางกระรอก เซลล์เยื่อหอมแดง เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม 1. นิวเคลียส ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ 2. เยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส ผนังเซลล์ 3. ผนังเซลล์ คลอโรพลาสต์ นิวเคลียส 4. คลอโรพลาสต์ เยื่อหุ้มเซลล์ คลอโรพลาสต์ 58. ส่วนประกอบของเซลล์ส่วนใดที่ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าและออกของสาร (ว 1.2 ม.1/1) 1. ผนังเซลล์ 2. แวคิวโอล 3. นิวเคลียส 4. เยื่อหุ้มเซลล์ 59. ข้อใดเรียงลำดับส่วนประกอบของเซลล์จากด้านในออกสู่ด้านนอกได้ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/1) 1. เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ นิวเคลียส 2. นิวเคลียส ผนังเซลล์ ไซโทพลาซึม 3. นิวเคลียส เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ 4. เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม ผนังเซลล์ 60. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/1) 1. นิวเคลียส-สร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ 2. แวคิวโอล-ควบคุมน้ำและของเสียภายในเซลล์ 3. ผนังเซลล์-ควบคุมการผ่านเข้า-ออกของสารในเซลล์ 4. เยื่อหุ้มเซลล์-ควบคุมการทำงานและกิจกรรมภายในเซลล์ 61. วัตถุดิบใดที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ว 1.2 ม.1/6) 1. น้ำ 2. คาร์บอนไดออกไซด์ 3. คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ 4. คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และน้ำตาลกลูโคส 62. คลอโรพลาสต์มีลักษณะคล้ายออร์แกเนลล์ชนิดใด (ว 1.2 ม.1/6) 1. แวคิวโอล 2. ไรโบโซม 3. ไลโซโซม4. ไมโทคอนเดรีย
  • 13. 63. สิ่งใดทำหน้าที่รับพลังงานแสงเพื่อนำมาใช้ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ว 1.2 ม.1/6) 1. น้ำ 2. คลอโรฟิลล์ 3. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 4. คลอโรฟิลล์และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  • 14. 64. คลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงสีใดน้อยที่สุด (ว 1.2 ม.1/6) 1. น้ำเงิน 2. แดง 3. เขียว 4. เหลือง 65. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด (ว 1.2 ม.1/6) 1. น้ำตาลกลูโคส 2. น้ำและน้ำตาลกลูโคส 3. น้ำตาลกลูโคสและแก๊สออกซิเจน 4. น้ำตาลกลูโคส น้ำ และแก๊สออกซิเจน 66. สารชนิดใดที่ใช้สกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบ (ว 1.2 ม.1/6) 1. น้ำ 2. ไอโอดีน 3. แอลกอฮอล์ 4. แอลกอฮอล์และไอโอดีน 67. ข้อใดมีความสำคัญในด้านก่อให้เกิดพลังงานขั้นต้นแก่สิ่งมีชีวิต (ว 1.2 ม.1/7) 1. การเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า 2. การเปลี่ยนพลังงานจากน้ำให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยการแยกน้ำออกเป็นออกซิเจนและ ไฮโดรเจน 3. การเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมีในรูปอาหารโดยการสังเคราะห์ ด้วยแสง 4. การนำพลังงานสะสมจากใต้พื้นพิภพมาเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้อย่างสะดวก เช่น การกลั่น ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม 68. สิ่งมีชีวิตในข้อใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงจากดวงอาทิตย์ในการสร้างอาหาร (ว 1.2 ม.1/7) 1. ไลเคน 2. ตะไคร่น้ำ 3. เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดหูหนู 4. สาหร่ายน้ำจืดที่พบมากในจังหวัดน่าน 69. ส่วนประกอบใดของพืชที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช (ว 1.2 ม.1/9) 1. ไซเล็ม 2. โฟลเอ็ม 3. เซลล์ขนราก 4. ถูกต้องทุกข้อ 70. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับขนราก (ว 1.2 ม.1/9) 1. มีเซลล์ที่ผลิตเมือกได้ 2. ทำหน้าที่สร้างหมวกราก 3. ป้องกันอันตรายให้กับราก 4. ทำหน้าที่ในการเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ
  • 15. 71. ทิศทางการลำเลียงของท่อลำเลียงข้อใดถูกต้อง (ว 1.2 ม.1/9) 1. ท่อลำเลียงน้ำมีทิศทางการลำเลียงจากยอดไปราก 2. ท่อลำเลียงอาหารมีทิศทางการลำเลียงจากรากไปยอด 3. ท่อลำเลียงน้ำมีทิศทางการลำเลียงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง 4. ท่อลำเลียงอาหารมีทิศทางการลำเลียงจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง 72. ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส อากาศสามารถรับไอน้ำได้ 160 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ในขณะนั้น มีไอน้ำอยู่เพียง 140 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศขณะนั้นมีค่าเท่าไร (ว 3.2 ม.1/2) 1. ร้อยละ 0.87 2. ร้อยละ 8.7 3. ร้อยละ 78.5 4. ร้อยละ 87.5 73. ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ 120 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่มีไอน้ำอยู่จริง 72 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร อากาศขณะนั้นมีค่าความชื้นสัมพัทธ์เท่าไร (ว 3.2 ม.1/2) 1. 40% 2. 50% 3. 60% 4. 70% 74. ที่ยอดเขาแห่งหนึ่ง วัดความดันอากาศได้ 550 มิลลิเมตรปรอท ยอดเขาแห่งนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล เท่าไร (ว 3.2 ม.1/2) 1. 1,500 m 2. 1,840 m 3. 2,150 m 4. 2,310 m 75. อากาศในห้องเก็บของมีความหนาแน่น 0.52 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าห้องมีปริมาตร 25 ลูกบาศก์ เมตร อากาศในห้องนี้มีมวลเท่าไร (ว 3.2 ม.1/2) 1. 5 kg 2. 10 kg 3. 13 kg 4. 28 kg 76. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความชื้นสัมพัทธ์ (ว 3.2 ม.1/2) 1. ความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้รู้สึกร้อน 2. ความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้เหงื่อระเหยยาก 3. ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ทำให้รู้สึกสบายตัว 4. ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ทำให้เหงื่อระเหยได้ง่าย 77. เมฆชนิดใดที่ทำให้เราสามารถคาดเดาได้ว่ากำลังจะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น (ว 3.2 ม.1/4) 1. เมฆสเตรตัส 2. เมฆสเตรโตคิวมูลัส 3. เมฆนิมโบสเตรตัส 4. เมฆคิวมูโลนิมบัส
  • 16. 78. ข้อใดเรียงลำดับความแรงของพายุหมุนเขตร้อนได้ถูกต้อง (ว 3.2 ม.1/3) 1. ดีเปรสชัน ไต้ฝุ่น โซนร้อน 2. ไต้ฝุ่น โซนร้อน ดีเปรสชัน 3. ไต้ฝุ่น ดีเปรสชัน โซนร้อน 4. ดีเปรสชัน โซนร้อน ไต้ฝุ่น 79. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลมบก (ว 3.2 ม.1/3) 1. เกิดขึ้นในเวลากลางวัน 2. อาจเรียกว่าลมประจำเวลา 3. ทำให้ลมพัดจากฝั่งออกสู่ทะเล 4. เกิดจากพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ 80. ข้อใดคือผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญต่อประเทศไทย (ว 3.2 ม.1/6) 1. มีฝนตกชุกกว่าปกติ อุณหภูมิสูงขึ้น2. มีฝนตกชุกกว่าปกติ อุณหภูมิลดลง 3. มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ อุณหภูมิลดลง 4. มีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติ อุณหภูมิสูงขึ้น
  • 17. เฉลยแบบทดสอบตามตัวชี้วัดเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 1. 3 2. 3 3. 2 4. 4 5. 2 6. 3 7. 2 8. 3 9. 3 10. 3 11. 1 12. 4 13. 1 14. 4 15. 3 16. 4 17. 3 18. 3 19. 4 20. 2 21. 1 22. 2 23. 1 24. 2 25. 4 26. 3 27. 3 28. 3 29. 2 30. 3 31. 4 32. 4 33. 2 34. 2 35. 3 36. 1 37. 3 38. 4 39. 2 40. 3 41. 3 42. 4 43. 4 44. 1 45. 2 46. 4 47. 4 48. 2 49. 3 50. 4 51. 3 52. 2 53. 1 54. 4 55. 2 56. 2 57. 1 58. 4 59. 3 60. 2 61. 3 62. 4 63. 2 64. 3 65. 4 66. 3 67. 3 68. 3 69. 2 70. 4 71. 4 72. 4 73. 3 74. 4 75. 3 76. 3 77. 4 78. 2 79. 1 80. 4 เฉลยพร้อมคำอธิบาย 1. ตอบข้อ 3 อธิบาย สสาร (matter) คือ สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และสามารถสัมผัสได้ หรืออาจหมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ อาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ 2. ตอบข้อ 3 อธิบาย สมบัติของสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สมบัติทางกายภาพหรือสมบัติทางฟิสิกส์ (physical properties) หมายถึง สมบัติของสารที่ สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือจากการทดลองที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2. สมบัติทางเคมี (chemical properties) หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี และองค์ประกอบทางเคมีของสาร
  • 18. 3. ตอบข้อ 2 อธิบาย การเปลี่ยนแปลงของสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามสมบัติของสารหลังการเปลี่ยนแปลง คือ 1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะ ภายนอกของสาร แต่องค์ประกอบภายในโมเลกุลไม่เปลี่ยนแปลง จึงยังคงเป็นสารเดิมอยู่ เช่น การเปลี่ยน สถานะของน้ำแข็งเป็นน้ำและไอน้ำ ตามลำดับ 2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้ โครงสร้างหรือองค์ประกอบทางเคมีของสารนั้นเปลี่ยนแปลงไป และมีสารใหม่เกิดขึ้น 4. ตอบข้อ 4 อธิบาย การละลายของน้ำตาลทรายในน้ำได้น้ำเชื่อม ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น เพียงแต่เกิดการเปลี่ยน สถานะของน้ำตาลทรายเท่านั้น น้ำเชื่อมยังคงมีสมบัติของน้ำตาลทรายและน้ำคงเดิม ดังนั้นจึงเป็นการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 5. ตอบข้อ 2 อธิบาย ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (tyndall effect) คือ การเกิดลำแสงในคอลลอยด์ ซึ่งเกิดจากแสง ตกกระทบอนุภาคคอลลอยด์ แล้วเกิดการกระเจิงแสง จากโจทย์สารที่จัดเป็นคอลลอยด์ ได้แก่ เยลลี่ วุ้น หมอก ควัน และเมฆ 6. ตอบข้อ 3 อธิบาย ทอมสันได้ทดลองการนำไฟฟ้าของแก๊สในหลอดรังสีแคโทด เสนอว่า อะตอมมีลักษณะเป็น ทรงกลม ประกอบด้วยเนื้ออะตอมซึ่งมีประจุบวก และอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบจำนวนเท่ากับประจุบวก กระจายอยู่ทั่วไปสม่ำเสมอภายในอะตอม ลักษณะคล้ายแบบจำลองขนมปังลูกเกด (plum pudding model) 7. ตอบข้อ 2 อธิบาย การยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุบวกไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ แล้วพบว่า อนุภาคส่วนใหญ่ ทะลุผ่านไปในแนวเส้นตรง มีส่วนน้อยที่เบนไปจากแนวเส้นตรง และนาน ๆ ครั้งจึงจะสะท้อนกลับ ในทิศทางเกือบตรงกันข้าม แสดงว่า บริเวณส่วนใหญ่ของอะตอมเป็นที่ว่าง มีนิวเคลียสขนาดเล็ก มีประจุ บวก และมีมวลมากอยู่บริเวณตรงกลางอะตอม และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นวงรอบนิวเคลียสซึ่งอยู่ห่าง จากนิวเคลียสมาก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมวลของอิเล็กตรอน
  • 19. 8. ตอบข้อ 3 อธิบาย สัญลักษณ์นิวเคลียร์แสดงถึงข้อมูลของอนุภาคมูลฐานของอะตอมได้ ดังนี้ เมื่อ X คือ สัญลักษณ์ของธาตุ Z คือ เลขอะตอม แสดงถึงจำนวนโปรตอน ถ้าอะตอมมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า จำนวน โปรตอนจะเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน A คือ เลขมวล แสดงถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียสของอะตอม 9. ตอบข้อ 3 อธิบาย จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ มี 18 อิเล็กตรอน ข้อ 1 มี 11–1 = 10 อิเล็กตรอน ข้อ 2 มี 12–2 = 10 อิเล็กตรอน ข้อ 3 มี 17+1 = 18 อิเล็กตรอน ข้อ 4 มี 8+2 = 10 อิเล็กตรอน ดังนั้น มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 10. ตอบข้อ 3 อธิบาย จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์ แสดงว่า - มีจำนวนโปรตอนเท่ากับ 20 เมื่อดึงโปรตอนออกจำนวน 1 โปรตอน จะเหลือ 19 โปรตอน - มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 20 เมื่อดึงอิเล็กตรอนออกจำนวน 2 อิเล็กตรอน จะเหลือ 18 อิเล็กตรอน - มีจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 40–20 = 20 นิวตรอน ดังนั้น สัญลักษณ์นิวเคลียร์ใหม่ที่ได้ คือ และเนื่องจากมีจำนวนโปรตอนต่างไปจากเดิม จึงเป็น ธาตุใหม่ 11. ตอบข้อ 1
  • 20. อธิบาย สารผสม (mixture) เป็นสารไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเนื้อสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาผสมกัน โดยมีอัตราส่วนไม่คงที่ ดังรูป B 12. ตอบข้อ 4 อธิบาย โลหะทองแดงจัดเป็นธาตุ ประกอบด้วยอะตอมของธาตุเพียงชนิดเดียว และเป็นของแข็ง อะตอมจึงเรียงชิดกันแน่น ดังรูป E ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จัดเป็นสารประกอบ ประกอบด้วยสาร เพียงชนิดเดียว แต่อนุภาคของสารแต่ละอนุภาคประกอบด้วยอะตอมตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มารวมกันด้วย จำนวนอะตอมคงที่ ในกรณีนี้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุล ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 1 อะตอม และธาตุออกซิเจน 2 อะตอม ดังรูป D 13. ตอบข้อ 1 อธิบาย ข้อ 1 เพชร เหล็ก และพลวง จัดเป็นธาตุ ข้อ 2 ออกซิเจนและปรอทจัดเป็นธาตุ ส่วนน้ำจัดเป็นสารประกอบ ข้อ 3 เหล็กและไฮโดรเจนจัดเป็นธาตุ ส่วนเกลือจัดเป็นสารประกอบ ข้อ 4 ไฮโดรเจนและไอโอดีนจัดเป็นธาตุ ส่วนซูโครสจัดเป็นสารประกอบ 14. ตอบข้อ 4 อธิบาย จากรูป ลำแสงเล็ก ๆ สามารถผ่านของเหลว ก ได้ แสดงว่า ของเหลว ก เป็นสารละลายซึ่งมี ขนาดอนุภาคของสารเล็กกว่า 1×10–7 เซนติเมตร และเมื่อลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว ข แล้วเกิด การกระเจิงของแสง แสดงว่า ของเหลว ข เป็นคอลลอยด์ซึ่งมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 1×10–7 -1×10–4 เซนติเมตร 15. ตอบข้อ 3 อธิบาย สาร ผลการทดลอง กรองด้วยกระดาษกรอง กรองด้วยแผ่นเซลโลเฟน ฉายลำแสงเล็กๆ ผ่าน A มีของแข็งสีขาว บนกระดาษกรอง ไม่มีสารใดผ่าน แผ่นเซลโลเฟน แสงผ่านไม่ได้ B ไม่มีสารใดค้าง บนกระดาษกรอง มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน ก C ไม่มีสารใดค้าง บนกระดาษกรอง ข แสงทะลุผ่าน มองไม่เห็นลำแสง
  • 21. D ไม่มีสารใดค้าง บนกระดาษกรอง ค เห็นลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว จากตาราง จะได้ว่า สาร A คือ สารแขวนลอย สาร B คือ คอยลอยด์ สาร C คือ สารละลายและสาร D คือ คอลลอยด์ ผลการทดลอง ก คือ เห็นลำแสงเล็ก ๆ ผ่านของเหลว ผลการทดลอง ข คือ ไม่มีสารใดค้างบนแผ่นเซลโลเฟน ผลการทดลอง ค คือ มีสารค้างบนแผ่นเซลโลเฟน 16. ตอบข้อ 4 อธิบาย สารบริสุทธิ์จะมีจุดเดือดหรืออุณหภูมิขณะเดือดคงที่ 17. ตอบข้อ 3 อธิบาย เอทานอลมีจุดเดือด 78 องศาเซลเซียส ส่วนน้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส เมื่อนำ เอทานอลผสมลงในน้ำแล้วนำไปให้ความร้อน เอทานอลซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่าจะเปลี่ยนสถานะเป็นไอ ได้ดีกว่าน้ำทำให้มีเอทานอลในสารละลายน้อยลง จุดเดือดของสารละลายจึงมีค่าเพิ่มขึ้นและมีค่ามากกว่า 78 องศาเซลเซียส เนื่องจากน้ำมีจุดเดือดสูงกว่าเอทานอล 18. ตอบข้อ 3 อธิบาย จากสูตร ความหนาแน่นของสาร = จะได้ ความหนาแน่นของของเหลว ก = = 1 g/cm3 ความหนาแน่นของของเหลว ข = = 0.1 g/cm3 ความหนาแน่นของของเหลว ค = = 10 g/cm3 ดังนั้น ความหนาแน่นของของเหลว ค > ก > ข 19. ตอบข้อ 4 อธิบาย เครื่องชั่งแบบดิจิทัลใช้สำหรับวัดมวลของสาร 20. ตอบข้อ 2 อธิบาย สัญลักษณ์ของธาตุแคลเซียม คลอรีน โครเมียม และโคบอลต์ คือ Ca Cl Cr และ Co 21. ตอบข้อ 1 อธิบาย ธาตุทองแดงมีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Copper และชื่อภาษาละติน คือ Cuprum
  • 22. ธาตุเหล็กมีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Iron และชื่อภาษาละติน คือ Ferrum
  • 23. 22. ตอบข้อ 2 อธิบาย แกรไฟต์เกิดจากอะตอมของคาร์บอนใช้ 3 เวเลนซ์อิเล็กตรอนสร้างพันธะเดี่ยวภายในชั้น และมี 1 อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อิสระระหว่างชั้น จึงทำให้แกรไฟต์นำไฟฟ้าได้ระหว่างชั้น 23. ตอบข้อ 1 อธิบาย อโลหะมีสมบัติ ดังนี้ - มีทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส - เปราะ แตกง่าย ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นไม่ได้ - ไม่นำไฟฟ้าและความร้อน ยกเว้นแกรไฟต์ - เคาะไม่มีเสียงดังกังวาน - ผิวไม่มันวาว - มีความหนาแน่นต่ำ 24. ตอบข้อ 2 อธิบาย โลหะส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง ยกเว้น ปรอท (Hg) ซีเซียม (Cs) และแฟรนเซียม (Cs) มีสถานะเป็นของเหลว 25. ตอบข้อ 4 อธิบาย โลหะนำไฟฟ้าได้ในสถานะของแข็ง และมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง 26. ตอบข้อ 3 อธิบาย อโลหะไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ และมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ ซึ่งอโลหะจะอยู่ทางด้าน ขวาของตารางธาตุ 27. ตอบข้อ 3 อธิบาย ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) เป็นธาตุที่มีสมบัติทั้งโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน เป็น ของแข็งสีเงิน มันวาวเหมือนโลหะ แต่เปราะเหมือนอโลหะ และนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย 28. ตอบข้อ 3 อธิบาย ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสีแอลฟา ( หรือ α) บีตา ( หรือ β) หรือแกมมา (γ) ออกมาตลอดเวลา เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอม ของธาตุกัมมันตรังสีนั้นอยู่ในสภาวะที่ไม่เสถียร จึงให้รังสีออกมาเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ เช่น พอโลเนียม เรเดียม และยูเรเนียม
  • 24. 29. ตอบข้อ 2 อธิบาย อำนาจในการทะลุทะลวงของรังสีแกมมา > รังสีบีตา > รังสีแอลฟา ดังรูป 30. ตอบข้อ 3 อธิบาย โคบอลต์-60 ใช้รักษามะเร็ง เปลี่ยนสีอัญมณี และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในแหนม ส่วนการดูภาพ ของสมองจะใช้ไอโอดีน-132 31. ตอบข้อ 4 อธิบาย สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุต่างชนิดกันมารวมกันทางเคมีเกิดเป็นสารใหม่ โดยมี อัตราส่วนของจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุคงที่ เช่น กรดเกลือ (HCl) ซึ่งมีอะตอมของธาตุไฮโดรเจนกับ อะตอมของธาตุคลอรีนในอัตราส่วน 1 : 1 ส่วนน้ำแป้ง น้ำโคลน และน้ำคลองจัดเป็นสารแขวนลอย 32. ตอบข้อ 4 อธิบาย ของแข็งมีการจัดเรียงอนุภาคเป็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อยมาก ของเหลวมีการ จัดเรียงอนุภาคไม่เป็นระเบียบมีช่องว่างระหว่างอนุภาคมากกว่าของแข็ง และแก๊สมีการจัดเรียงอนุภาค ไม่เป็นระเบียบ ฟุ้งกระจาย และมีช่องว่างระหว่างอนุภาคมากกว่าของแข็งและของเหลว 33. ตอบข้อ 2 อธิบาย ของเหลวมีรูปร่างไม่คงที่ แต่ปริมาตรคงที่ และอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง 34. ตอบข้อ 2 อธิบาย สถานะของสารแบ่งออกเป็น 3 สถานะ ได้แก่ 1) ของแข็ง เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง เงิน 2) ของเหลว เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ โบรมีน 3) แก๊ส เช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  • 25. 35. ตอบข้อ 3 อธิบาย การพิจารณาสถานะของสารที่อุณหภูมิห้อง (25o C) ให้พิจารณาที่จุดเดือดและจุดหลอมเหลว ของสารแต่ละชนิด ดังนี้ - ถ้าสารมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส จะมีสถานะเป็นแก๊ส - ถ้าสารมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส และจุดเดือดสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส จะมีสถานะเป็นของเหลว - ถ้าสารมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส จะมีสถานะเป็นของแข็ง ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในตารางแล้วจะได้ว่า สาร A มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง สาร B มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง สาร C มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง สาร D มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง 36. ตอบข้อ 1 อธิบาย จากโจทย์ เมื่อพิจารณาจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสาร พบว่า สาร ก มีสถานะเป็นของแข็ง สาร ข มีสถานะเป็นแก๊ส สาร ค มีสถานะเป็นของเหลว ข้อ 1 ถูกต้อง สาร ก เป็นของแข็ง อนุภาคของสารอยู่ชิดกันมากที่สุด ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง สาร ข มีสถานะเป็นแก๊ส รูปร่างและปริมาตรเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะ ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง สาร ค มีสถานะเป็นของเหลว มีรูปร่างไม่คงที่ แต่ปริมาตรคงที่ ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง สาร ก สาร ข และสาร ค เป็นคนละสถานะกัน 37. ตอบข้อ 3 อธิบาย การระเหยจะเกิดขึ้นได้ แม้ว่าอุณหภูมิยังไม่ถึงจุดเดือด การระเหยจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่การเดือดของของเหลวนั้นจะต้องถึงจุดเดือดของสารนั้น และโมเลกุลของสารจะเกิดการเคลื่อนที่ได้ อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีโมเลกุลเกิดการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น
  • 26. 38. ตอบข้อ 4 อธิบาย ข้อ ก ถูกต้อง เพราะปรอทเป็นโลหะที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และการเปลี่ยน สถานะจากของเหลวเป็นไอ เรียกว่า การระเหย ข้อ ข ไม่ถูกต้อง เพราะเทียนไขมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง และการเปลี่ยนสถานะจาก ของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว ส่วนการละลายใช้สำหรับการละลายสารใน ตัวทำ ละลาย เช่น เกลือแกงละลายในน้ำ ข้อ ค ถูกต้อง เพราะน้ำแข็งแห้งมีสถานะเป็นของแข็ง เมื่อกลายเป็นไอ เรียกว่า การระเหิด ข้อ ง ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การแข็งตัว ส่วนการควบแน่นใช้สำหรับ การเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว 39. ตอบข้อ 2 อธิบาย ช่วงที่สารเกิดการเปลี่ยนสถานะจะมีอุณหภูมิคงที่ซึ่งได้แก่ ช่วง AB และ CD 40. ตอบข้อ 3 อธิบาย การลดอุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิ และการทำให้ช่องว่างระหว่างโมเลกุลลดลงจะส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนสถานะ จึงทำให้สารเปลี่ยนสถานะได้ แต่การ เปลี่ยนขนาดของภาชนะที่บรรจุไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยน สถานะ จึงไม่ทำให้สารเปลี่ยนสถานะ 41. ตอบข้อ 3 อธิบาย ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง จากความสัมพันธ์ของหน่วยของอุณหภูมิ คือ = จะได้ว่า 100 องศาเซลเซียสเท่ากับ 373 เคลวิน ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง เครื่องมือวัดระดับความร้อน คือ เทอร์มอมิเตอร์ 42. ตอบข้อ 4 อธิบาย เทอร์มอมิเตอร์ในหน่วยฟาเรนไฮต์ มีจุดเดือด 212 องศาฟาเรนไฮต์ และจุดหลอมเหลว 32 องศาฟาเรนไฮต์ จึงมีขนาดสเกลถึง 180 ช่อง ซึ่งถือว่ามีความละเอียดมากที่สุด
  • 27. 43. ตอบข้อ 4 อธิบาย จากความสัมพันธ์ของอุณหภูมิในหน่วยต่าง ๆ ดังนี้ = = = จะได้ว่า R : = R = 17.6o R K : K = 273+22 = 295 K F : = F = 71.6o F 44. ตอบข้อ 1 อธิบาย ด้ามจับหม้อทำจากพลาสติกแข็งสีดำเพื่อป้องกันการนำความร้อนของโลหะที่ใช้ทำหม้อ โดยการนำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนจากวัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิสูงผ่านวัตถุที่เป็นตัวกลาง ซึ่งอยู่กับที่ไปยังวัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิต่ำ 45. ตอบข้อ 2 อธิบาย ตัวนำความร้อน หมายถึง วัตถุที่ความร้อนสามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้ โลหะทุกชนิดมีสมบัติ เป็นตัวนำความร้อนที่ดี เช่น เหล็ก ทองแดง เงิน อะลูมิเนียม ส่วนพลาสติก ไม้ และแก้วมีสมบัติเป็น ฉนวนความร้อน ซึ่งหมายถึง วัตถุที่ความร้อนเคลื่อนที่ผ่านได้ไม่ดีหรือไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ 46. ตอบข้อ 4 อธิบาย การพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนที่ต้องมีตัวกลางพาความร้อนไปกับอนุภาคของ ตัวกลางที่เคลื่อนที่ พาความร้อนจากวัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุหรือระบบที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น การนึ่งอาหาร ซึ่งไอน้ำเป็นตัวกลางพาความร้อนไปทำให้อาหารสุก ทัพพีโลหะที่จุ่มน้ำที่ร้อนจัดและความร้อนผ่านบนขดลวดเป็นการนำความร้อน รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นการแผ่รังสีความร้อน
  • 28. 47. ตอบข้อ 4 อธิบาย จากสูตร Q1 = mc∆t = 30×1×(100–90) = 30×10 = 300 cal จากสูตร Q2 = mL = 30×540 = 16,200 cal รวม Q1+Q2 = 300+16,200 = 16,500 cal 48. ตอบข้อ 2 อธิบาย จากสูตร Q = mc∆t = 50×1×100 = 5,000 cal 49. ตอบข้อ 3 อธิบาย จากสูตร Q = mL = 820×540 = 442,800 cal 50. ตอบข้อ 4 อธิบาย จากสูตร Q1 = mL ความร้อนแฝงน้ำแข็งเป็นน้ำ = 110×80 = 8,800 cal จากสูตร Q2 = mc∆t ความร้อนแฝงน้ำเป็นน้ำเดือด = 110×1×100 = 11,000 cal จากสูตร Q3 = mL ความร้อนแฝงน้ำเดือดเป็นไอน้ำ = 110×540 = 59,400 cal รวม Q1+Q2+Q3 = 8,800+11,000+59,400 = 79,200 cal
  • 29. 51. ตอบข้อ 3 อธิบาย กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการมองเห็นวัตถุขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เช่น เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 52. ตอบข้อ 2 อธิบาย ขั้นตอนการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ มีดังนี้ 1. ตรวจสอบให้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในแนวกลางของลำกล้อง 2. นำสไลด์ที่ศึกษาวางลงบนแท่นวางสไลด์ 3. หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้วัตถุอยู่ใกล้เลนส์ใกล้วัตถุมากที่ที่สุด 4. มองผ่านเลนส์ใกล้ตา หมุนปุ่มปรับภาพหยาบออกจากวัตถุทีละน้อยจนมองเห็นภาพวัตถุ 53. ตอบข้อ 1 อธิบาย ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง การมองภาพจากกล้องจุลทรรศน์ควรลืมตาทั้ง 2 ข้าง ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง เมื่อเลิกใช้งานกล้องจุลทรรศน์ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้ ตรงกับลำกล้อง และเลื่อนให้อยู่ในระดับต่ำสุด ข้อ 4 การเช็ดทำความสะอาดเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ให้ใช้กระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น 54. ตอบข้อ 4 อธิบาย การยกกล้องจุลทรรศน์เพื่อเคลื่อนย้าย ให้ใช้มือหนึ่งจับที่แขนของกล้อง อีกมือหนึ่งใช้รองที่ ใต้ฐานและยกกล้องในลักษณะตั้งตรง 55. ตอบข้อ 2 อธิบาย การหยดสารละลายไอโอดีนลงไปบนสไลด์ขณะที่มีการเตรียมสไลด์สดเพื่อให้เห็นเซลล์ชัดเจน ขึ้นเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ 56. ตอบข้อ 2 อธิบาย ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง เซลล์ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืชและสัตว์ ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีขนาดและรูปร่างต่างกัน เพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่าง เฉพาะเจาะจง ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เกิดจากเซลล์หลาย ๆ เซลล์มาอยู่รวมกัน 57. ตอบข้อ 1 อธิบาย - จะพบคลอโรพลาสต์ในเซลล์พืชในส่วนที่มีสีเขียว ดังนั้นจะไม่พบคลอโรพลาสต์ใน เซลล์ เยื่อหอมแดงและเซลล์เยื่อบุข้างแก้ม - จะพบผนังเซลล์ในเซลล์พืช ดังนั้นเราจะไม่พบผนังเซลล์ในเซลล์เยื่อบุข้างแก้ม
  • 30. 58. ตอบข้อ 4 อธิบาย เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบเซลล์ อยู่ถัดจากผนังเซลล์เข้ามา สร้างจากสารโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ 59. ตอบข้อ 3 อธิบาย ผนังเซลล์เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ ถัดจากผนังเซลล์เข้าไปเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ และ นิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ 60. ตอบข้อ 2 อธิบาย ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง นิวเคลียส-ควบคุมการทำงานและกิจกรรมภายในเซลล์ ข้อ 3 ไม่ถูกต้อง ผนังเซลล์-สร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ ข้อ 4 ไม่ถูกต้อง เยื่อหุ้มเซลล์-ควบคุมการผ่านเข้า-ออกของสารในเซลล์ 61. ตอบข้อ 3 อธิบาย กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืชที่เกิดขึ้นในเซลล์พืช ที่ยังมีชีวิตและมีคลอโรฟิลล์ โดยมีวัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และ น้ำ และให้ผลผลิตเป็นน้ำตาลกลูโคส แก๊สออกซิเจน และน้ำ ดังสมการ 6CO2(g)+12H2O(ℓ) C6H12O6(s)+6O2(g)+6H2O(ℓ) 62. ตอบข้อ 4 อธิบาย คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่อยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของคลอโรพลาสต์ ซึ่งจะทำหน้าที่รับ พลังงานแสง แล้วทำให้คลอโรฟิลล์เอปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการตรึง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้วสร้างเป็นน้ำตาลกลูโคสออกมา ดังนั้น คลอโรพลาสต์จึงมีลักษณะคล้าย ไมโทคอนเดรียที่มีหน้าที่สร้างพลังงานให้แก่เซลล์ 63. ตอบข้อ 2 อธิบาย ดูคำอธิบายในข้อ 62 64. ตอบข้อ 3 อธิบาย คลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่สำคัญของพืชดอกที่ใช้ในการดูดกลืนแสง เพื่อนำมาใช้ในปฏิกิริยา ขั้นตอนต่าง ๆ ของการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยคลอโรฟิลล์มีความสามารถในการดูดกลืนแสงสีน้ำเงินและ แสงสีแดงได้มากที่สุด แต่ดูดกลืนแสงสีเขียวได้น้อยที่สุด
  • 31. 65. ตอบข้อ 4 อธิบาย ดูคำอธิบายในข้อ 61 66. ตอบข้อ 3 อธิบาย การสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบพืชทำได้โดยรินเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ลงใน หลอดทดลองที่มีใบพืช แล้วนำไปต้มจนกระทั่งใบมีสีซีดจาง 67. ตอบข้อ 3 อธิบาย การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมีในรูป อาหาร เมื่อมีสัตว์บริโภคพืชเป็นอาหาร และสัตว์ที่บริโภคทั้งพืชและสัตว์ จึงเกิดการถ่ายทอดพลังงาน ในระบบนิเวศ 68. ตอบข้อ 3 อธิบาย เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารโดยการย่อยโมเลกุลอาหารให้มีขนาดเล็กพอกับเซลล์ และ ไม่สามารถสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากไม่มีคลอโรฟิลล์และคลอโรพลาสต์ 69. ตอบข้อ 2 อธิบาย โฟลเอ็ม คือ เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร 70. ตอบข้อ 4 อธิบาย ขนรากเป็นเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส ทำหน้าที่ในการเพิ่มพื้นที่ผิว ในการสัมผัสกับดินให้มากขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุมากขึ้นด้วย 71. ตอบข้อ 4 อธิบาย ท่อลำเลียงน้ำ-แร่ธาตุจะลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากล่างขึ้นบนหรือจากรากไปยอด ส่วน ท่อลำเลียงอาหารจะลำเลียงอาหารทั้งขึ้นและลงหรือทั้งจากล่างขึ้นบนและจากบนลงล่าง 72. ตอบข้อ 4 อธิบาย มวลไอน้ำจริง 140 g/cm3 มวลไอน้ำอิ่มตัว 160 g/cm3 จากสูตร ความชื้นสัมพัทธ์ = ×100 = = 87.5 ดังนั้น ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเท่ากับ 87.5%
  • 32. 73. ตอบข้อ 3 อธิบาย มวลไอน้ำจริง 72 g/cm3 มวลไอน้ำอิ่มตัว 120 g/cm3 จากสูตร ความชื้นสัมพัทธ์ = ×100 = = 60 ดังนั้น ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเท่ากับ 60% 74. ตอบข้อ 4 อธิบาย ที่ระดับน้ำทะเลปรอทสูง = 760 มิลลิเมตร ที่ยอดเขาปรอทสูง = 550 มิลลิเมตร ที่ยอดเขาระดับปรอทจะลดลง = 760–550 = 210 มิลลิเมตร ระดับปรอทลดลง 1 มิลลิเมตร เมื่อมีความสูง = 11 เมตร ระดับปรอทลดลง 210 มิลลิเมตร เมื่อมีความสูง = 210×11 เมตร ดังนั้น ยอดเขาแห่งนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,310 เมตร 75. ตอบข้อ 3 อธิบาย จากสูตร ความหนาแน่น = 0.52= มวล= 0.52×25 ดังนั้น อากาศในห้องนี้มีมวลเท่ากับ 13 กิโลกรัม 76. ตอบข้อ 3 อธิบาย ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ คือ ความชื้นในอากาศมีน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งและแตก 77. ตอบข้อ 4 อธิบาย เมฆคิวมูโลนิมบัสหรือเมฆฝนฟ้าคะนอง เป็นเมฆรูปทั่งขนาดใหญ่ ยอดเมฆมีลักษณะคล้าย ขนนก พบได้บ่อยครั้งในฤดูร้อน และมักจะปรากฏพร้อมกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง
  • 33. 78. ตอบข้อ 2 อธิบาย พายุไต้ฝุ่นมีความเร็วเข้าใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นพายุที่มีความแรง มากที่สุด พายุโซนร้อนมีความเร็วเข้าใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 63-118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และพายุ ดีเปรสชันเป็นพายุที่มีความเร็วเข้าใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 79. ตอบข้อ 1 อธิบาย ลมบก เกิดขึ้นในเวลากลางคืน เนื่องจากพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อุณหภูมิ ของอากาศเหนือพื้นดินต่ำกว่าพื้นน้ำ ความหนาแน่นของอากาศและความกดอากาศจึงสูงกว่าอากาศ เหนือพื้นน้ำ ทำให้กระแสอากาศในระดับล่างเคลื่อนที่จากพื้นดินออกสู่ทะเลเกิดเป็นลมบก 80. ตอบข้อ 4 อธิบาย ปรากฏการณ์เอลนีโญที่มีความรุนแรงทำให้ปริมาณฝนของประเทศไทยมีค่าต่ำกว่าปกติ อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติและประสบกับสภาวะแห้งแล้ง ส่วนปรากฏการณ์ลานีญาจะทำให้ ประเทศไทยมีปริมาณฝนชุกกว่าปกติและอุณหภูมิในฤดูหนาวลดต่ำลงกว่าปกติ