SlideShare a Scribd company logo
1 of 176
Download to read offline
ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
The Satisfaction of Students toward Academic Service Center: Faculty
of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Wat
Raikhing Royal Temple Campus, Sampran, Nakhonpathom
 
 
 
 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล)
Pramaha Yota Payutto (Chaiworamankul)
 
 
 
 
 
 
การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
อ.สามพราน จ. นครปฐม
ปีการศึกษา ๒๕๕๖ 
(๑๙ เมษายน ๒๕๕๗)
ข
 
 
 
 
ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
The Satisfaction of Students toward Academic Service Center: Faculty
of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Wat
Raikhing Royal Temple Campus, Sampran , Nakhonpathom
 
 
 
 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล)
Pramaha Yota Payutto (Chaiworamankul)
 
 
การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากวัดไร่ขิง พระอารามหลวง
อ.สามพราน จ. นครปฐม
ปีการศึกษา ๒๕๕๖ 
(๑๙ เมษายน ๒๕๕๗)
ค
 
คํารับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบและข้อกําหนดในการรับทุนวิจัยของผู้รับทุน
ขอรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบข้อกําหนดในการรับทุนวิจัยทุกประการ
( พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล )
ผู้จัดทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย
๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
คํารับรองของผู้รับรอง 
 
( พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์)
ผู้อํานวยการหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
คําอนุมัติผู้อนุมัติ 
 
 
( พระราชวิริยาลังการ ) 
เจ้าอาวาส
รองประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
ง
 
ที่ปรึกษาโครงการ
พระราชวิริยาลังการ
รองประธานกรรมการบริหาร
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม 
พระวิสุทธิภัทรธาดา
ประธานกรรมการบริหาร
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้อํานวยการ
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม 
ผศ. ประสิทธิ์ ทองอุ่น
อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
ดร. ประกอบ ไชยบุญทัน
อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กรุงเทพฯ
จ
 
ชื่องานเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร.
วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม 
ชื่อผู้วิจัย พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) 
ปีที่ทําการวิจัย ตุลาคม ๒๕๕๖  - เมษายน ๒๕๕๗
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่
ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๒) เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและ
สถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคม ศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม
พราน จ. นครปฐม ข้อมูลที่ใช้ศึกษาได้จากนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ทั้งสองกลุ่มการเรียนคือ กลุ่ม
การเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ วันที่ ๑
ธันวาคม ๒๕๕๖ จํานวน ๒๕๒ รูป/คน ของจํานวนประชากรทั้งหมด โดยแบ่งประชากรที่แตกต่าง
กันในเรื่อง กลุ่มการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ในการทดสอบความแตกต่างของเพศนักศึกษาโดยใช้สถิติ t- test และใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว (One – way Analysis of Variance) สําหรับชั้นปีและคณะที่สังกัด หลังจากนั้นทําการ
ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Least Square Difference (LSD). ผลการวิจัยพบว่า
ประชากรทั้งหมดมี ๒๕๒ รูป/รายบุคคล ได้แจกแบบสอบถามจํานวน ๒๕๒ ฉบับแต่ได้รับ
กลับคืนมาเพียง ๒๕๐ ฉบับ คิดเป็น ๙๙.๒๑ เปอร์เซ็นต์ แยกเป็นบรรพชิต ๑๙๒ รูป เป็นคฤหัสถ์ ๕๘
ราย เป็นเพศชาย ๒๐๑ รูป/คน เป็นเพศหญิง ๔๙ รูป/คน กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๑ มีจํานวน ๑๑๒
ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๒ มีจํานวน ๖๕ ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๓ มีจํานวน ๗๓ ราย
ผู้ตอบแบบสอบถามสังกัดสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ๑๑๖ราย สังกัดสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
๑๐๔ ราย และ สังกัดสาขาวิชารัฐศาสตร์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.) ๓๐ ราย ได้แจก
แบบสอบถามจํานวน ๒๕๒ ฉบับแต่ได้รับกลับคืนมาเพียง ๒๕๐ ฉบับ คิดเป็น ๙๙.๒๑ เปอร์เซ็นต์
ฉ
 
แผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่อยู่ในระดับมากได้แก่อาคารเรียน, ห้อง เรียน และ
สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา ส่วนสภาพการใช้งานอาคารสถานที่จริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง
มากได้แก่อาคารเรียน, สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา, ห้องเรียน และสํานักงานให้บริการนักศึกษา
เช่น สํานักทะเบียน การเงิน และความพึงพอใจของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลําดับมาก
ไปหาน้อย ได้แก่ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ ตามด้วย อาคาร
เรียน , บริเวณสถานศึกษา , การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ,
ห้องประชุมและห้องสัมมนา,ห้องกิจกรรม,ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, โรง
อาหารหรือสถานที่ รับประทานอาหาร และ การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ
ตามลําดับ
นักศึกษาต่างสถานภาพ, ต่างเพศ, ต่างระดับชั้นปี และต่างสาขาที่สังกัดมีความพึงพอใจ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเกี่ยวกับด้านอาคารเรียน, ด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง
คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์
คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและ
ห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม, ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทย
บริการ และด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ
ผู้วิจัยขอเสนอว่า
๑. ควรพิจารณานําผลการศึกษานี้ไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผน ปรับปรุงและพัฒนา
อาคารและสถานที่ เช่น ในการจัดตารางการเรียนการสอน การวางแผนงบประมาณ การวางแผน
โครงการสนับสนุนการศึกษาต่างๆให้มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ต่อไปในหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง 
๒. ควรพิจารณาเปิดโอกาสให้ผู้ใช้อาคารและสถานที่ คือ บุคลากร และนักศึกษาของ
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ได้มีส่วนร่วมในการดําเนินงาน
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอาคารและสถานที่ และสภาพแวดล้อมของหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีมีส่วนร่วมในการ
กําหนดระเบียบการใช้อาคารและสถานที่ และการวางแผน การประเมินผลการใช้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อ
เป็นการฝึกการบริหารจัดการจริงทั้งจากการประยุกต์จากตําราเรียน และนอกเหนือจากตําราเรียน ทั้ง
ยังเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนิสิตนักศึกษา
 
ช
 
Title: The Satisfaction of Students toward Academic Service Center: Faculty
of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Wat
Raikhing Royal Temple Campus, Sampran, Nakhonpathom
Researcher: Phramaha Yota Payutto (Chaiworamankul)
Timeline: October 2013 – April 2014
ABSTRACT
This research was to investigate 1) plans of utilizing the Academic Service
Center, 2) its real utilizations and 3) satisfaction in utilizing Academic Service Center:
Faculty of Social Science of Wat Rai Khing Royal Temple Campus, Sampran,
Nakhonpathom. The research was stratifiedly conducted with 252 regular baccalaureate
students and weekend baccalaureate students of the Academic Year 2013 dated
December 1, 2013. Statistical applications were frequency, percentage, mean and
standard deviation. T-test and One-way ANOVA were use in testing their statistical
significance differences and Least Square Difference (LSD).
There were 250 respondents being 192 monks and 58 lay people who were 201
males and 49 females. 112 persons were studying in Year 1/ freshmen year; 65 persons
were studying in Year 2/sophomore year; 73 persons were studying in Year 3/ junior
year. 116 students studied the program of Buddhist Administration; 104 studied din the
program of Political Science; and 30 persons studied in the program of Certificate in
Political Science.
There was high level of planning utilization about the building for classrooms,
classrooms and the campus area. There was very high level of actual utilization about
the building for classrooms, the campus area, classrooms, and students’ service office
such as registration office and finance. There was also very high level of satisfaction
among students in the utilization of the Academic Service Center. By respective levels,
they were the classrooms, the computer laboratories and service rooms followed by the
service center building, the center campus, the environmental management and its
public utilities, the meeting room and the seminar room, the activity room, the library
and media room of the computer center, the canteen or dining room and security.
Students with different status, gender, academic year and program had different
satisfaction by statistical significance about the center building, the classrooms and
computer laboratory and service rooms, the center campus, the library and media room
of the computer center, the canteen or dining room, the meeting room and the seminar
room, the activity room, the environmental management and its public utilities, and
security.
The researcher recommended that:
1. These results should be considered to be data for planning , improving
and developing the center establishments such as for organizing instructions, budget
ซ
 
planning, and education support planning for further effective utilizations of the
Academic Center: Faculty of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya
University: Wat Raikhing Royal Temple Campus, Sampran, Nakhonpathom.
2. Opportunity should be considered to offer to its personnel and its
students to involve in running various activities related to the campus establishments
and environment in order to promoter positive understandings and to participate in
regulating of the establishment uses, common planning and the common utilization
evaluation. This will be the training for actual management, the applications from
textbooks and beyond texts where students will be actually exposed to direct
experiences.
ฌ
 
กิตติกรรมประกาศ 
การวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด
ไรขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม ฉบับนี้สําเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความอนุเคราะห์จากบุคคลหลายท่าน
ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณพระราชวิริยาลังการเจ้าอาวาสรองประกรรมการบริหารผู้ให้การสนับสนุน
หลัก พระวิสุทธิภัทรธาดาประธานกรรมการบริหาร และคณะกรรมการการวิจัยหน่วยวิทยบริการ ที่
ได้ให้โอกาสและทุนสนับสนุนในการทําวิจัย ขอบคุณอาจารย์ถาวร ทองนวลกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และเหรัญญิกมูลนิธิหลวงพ่อวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ที่อํานวยความสะดวกเรื่องทุนวิจัย ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ทองอุ่น และ ดร. ประกอบ ไชยบุญทัน ที่ให้ความช่วยเหลือ คําแนะนําในการ
ทําวิจัย การจัดทํารายงานการวิจัยครั้งนี้จะสําเร็จลงไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือและความ
อนุเคราะห์จากผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่าน ที่กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่าในการตอบแบบสอบถาม ทํา
ให้ได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ และครบถ้วน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล)
๑๙ เมษายน ๒๕๕๗
ญ
 
สารบัญ 
  หน้า
คําอนุมัติผู้อนุมัติ...................................................................................................................  ค
ที่ปรึกษาโครงการ.................................................................................................................. ง
บทคัดย่อภาษาไทย................................................................................................................  จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ...........................................................................................................  ช
กิตติกรรมประกาศ................................................................................................................  ฌ
สารบัญ.................................................................................................................................. ญ
สารบัญตาราง........................................................................................................................ ฐ
สารบัญภาพ....................................................................................................................... ณ
บทที่ ๑ บทนํา................................................................................................................ ๑
๑.๑. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา.............................................. ๑
๑๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................... ๓
๑.๓. สมมติฐานของการวิจัย ...................................................................  ๓
๑.๔. ขอบเขตของการวิจัย ..........................................................................  ๓
๑.๕. ระยะเวลาดําเนินการวิจัย …………………………………………..  ๔
๑.๖. สถานที่ทําการวิจัย…………………………………………………..  ๔
๑.๗. นิยามศัพท์เฉพาะ ................................................................................ ๔
๑.๘. กรอบแนวคิดในการวิจัย..................................................................... ๕
๑.๙. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย.............................................. ๖
บทที่ ๒ ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..................................................... ๗
๒.๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง
อ.สามพราน จ. นครปฐม ................................................................... ๗
๒.๒. ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่……………………… ๑๑
๒.๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา……………………………………….. ๑๗
๒.๔. การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่……………………………………... ๒๖
๒.๕. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่……………………………………….. ๒๙
๒.๖. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………….. ๓๓
 
 
ฎ
 
สารบัญ(ต่อ)
  หน้า
บทที่ ๓ วิธีดําเนินการวิจัย............................................................................................. ๓๖
๓.๑. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ................................................................... ๓๖
๓.๒. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ....................................................................  ๓๗
๓.๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล........................................................................  ๔๒
๓.๔. การวิเคราะห์ข้อมูล .............................................................................  ๔๒
บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล...................................................................................... ๔๔
๔.๑. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของกลุ่มประชากร .................. ๔๔
๔.๒. แผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม.........................  ๔๕
๔.๓. สภาพการใช้งานจริงด้านอาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม.................  ๔๗
๔.๔. ความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วย
วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม............................................................................................. ๔๘
๔.๕. การทดสอบสมมติฐาน .......................................................................  ๕๖
บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ............................................... ๙๓
๕.๑. สรุปผลการวิจัย................................................................................... ๙๔
๕.๒. อภิปรายผล .........................................................................................  ๑๐๔
๕.๓. ข้อเสนอแนะ ......................................................................................  ๑๐๙
บรรณานุกรม ........................................................................................................................ ๑๑๑
บรรณานุกรมไทย.................................................................................................... ๑๑๒
บรรณานุกรมอังกฤษ............................................................................................... ๑๑๓
ภาคผนวก ............................................................................................................................. ๑๑๕
ภาคผนวก ๑ ตัวอย่างแบบสอบถาม......................................................................... ๑๑๖
ภาคผนวก ๒ จํานวน ร้อยละแผนการใช้อาคารสถานที่........................................... ๑๒๑
ภาคผนวก ๓ จํานวน ร้อยละสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่....................... ๑๒๒
ภาคผนวก ๔ Paired Samples Statistics..................................................................  ๑๒๓
ฏ
 
สารบัญ(ต่อ)
  หน้า
ภาคผนวก ๕ Paired Samples Test.......................................................................... ๑๒๓
ภาคผนวก ๖ Independent Samples Test –Status.................................................... ๑๒๕
ภาคผนวก ๗ Independent Samples Test –Gender.................................................. ๑๓๓
ภาคผนวก ๘ โครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติ................................................................ ๑๔๒
ประวัติผู้วิจัย ......................................................................................................................... ๑๖๐
ฐ
 
สารบัญตาราง
 
ตารางที่ รายการ หน้า
๓.๑. การจัดสัดส่วนตามกลุ่มการเรียน......................................................................  ๓๖
๔.๑ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวม............. ๔๔
๔.๒ แผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ ในภาพรวมในหน่วยวิทยบริการ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....................................... ๔๕
๔.๓ สภาพการใช้อาคารสถานที่จริงในภาพรวมในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่
ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...............................................  ๔๗
๔.๔ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทย
บริการคณะสังคม ศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม...........................................................................................................  ๔๘
๔.๕ ความสัมพันธ์ระหว่างชั้นปีกับแผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ใน
หน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๕๗
๔.๖ ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาที่สังกัด กับแผนการใช้ประโยชน์อาคารและ
สถานที่ในหน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน
จ. นครปฐม.......................................................................................................  ๕๙
๔.๗ ความสัมพันธ์ระหว่างชั้นปี กับ สภาพการใช้งานจริงอาคารและสถานที่ใน
หน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๖๒
๔.๘ ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาที่สังกัด กับ สภาพการใช้งานจริงอาคารและ
สถานที่ในหน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน
จ. นครปฐม.......................................................................................................  ๖๕
๔.๙ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับการใช้
อาคารและสถานที่ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....................................................  ๖๙
๔.๑๐ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆในหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๗๐
๔.๑๑ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับบริเวณ
สถานศึกษาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .........................................................  ๗๒
ฑ
 
สารบัญตาราง (ต่อ)
 
ตารางที่ รายการ หน้า
๔.๑๒ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้องสมุด
และห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....... ๗๓
๔.๑๓ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับโรงอาหาร
หรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ....................................  ๗๕
๔.๑๔ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้องประชุม
และห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .........................................................  ๗๖
๔.๑๕ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้อง
กิจกรรมในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ....................................................................  ๗๗
๔.๑๖ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับการจัด
สภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการในหน่วยวิทย
บริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม ......................................................................................................... ๗๘
๔.๑๗ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับการรักษา
ความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .................................................. ๗๙
๔.๑๘ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับการ
ใช้อาคารและสถานที่ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ..................................................  ๘๑
๔.๑๙ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆในหน่วย
วิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน
จ. นครปฐม .....................................................................................................  ๘๒
ฒ
 
สารบัญตาราง(ต่อ) 
ตารางที่ รายการ หน้า
๒.๒๐ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
บริเวณสถานศึกษาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .................................................. ๘๓
๔.๒๑ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....... ๘๔
๔.๒๒ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม…...  ๘๗
๔.๒๓ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
ห้องประชุมและห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด
ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...........................................  ๘๘
๔.๒๔ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
ห้องกิจกรรม ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...........................................................  ๘๙
๔.๒๕ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการใน
หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม
พราน จ. นครปฐม...........................................................................................  ๙๐
๔.๒๖ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ
การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด
ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...........................................  ๙๒
๕.๑ สรุปความพึงพอใจมี่ต่างและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕...... ๙๖
ณ
 
สารบัญภาพ 
ภาพที่ รายการ หน้า
๑.๑ กรอบแนวคิด.................................................................................................... ๖
๔.๑ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาในแต่ละด้าน.... ๕๒
บทที่ ๑
บทนํา 
 
๑.๑. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
การศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นส่วนสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
และการพัฒนาประเทศจะสําเร็จด้วยดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ที่สําคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ
การศึกษา การศึกษามีหน้าที่พัฒนาคนเพื่อนําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ
ประชากรที่มีคุณภาพสูง คือ ผู้ที่มีการศึกษาสูง มีความรู้ ทักษะและความสามารถที่จะนําความรู้ที่
ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานตามอาชีพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น
สถาบันการศึกษา และการศึกษาจึงเป็นพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและ
การเมืองของประเทศ
อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการจัดได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสถานศึกษาที่
สําคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การเรียนการสอนดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากผู้บริหาร
สถาบันการศึกษารวมทั้งผู้เรียนมุ่งหวังให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างสมบูรณ์และ มี
ประสิทธิภาพนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดอาคารสถานที่ของสถานศึกษาให้อยู่ในสภาพที่ดี มี
ปริมาณเพียงพอต่อจํานวนผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์
ห้องประชุม หรือแม้กระทั่งห้องอาหารก็ตาม ควรมีสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ อย่างพอเพียง เช่น
บันไดขึ้นลง โต๊ะเก้าอี้ ห้องส้วม แม้กระทั่งระบบป้ องกันเพลิงไหม้ และสัญญาณเตือนภัยต่างๆ รวม
ไปถึงสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ทางเดินระหว่างตึก ที่นั่งรอระหว่างเรียน เป็นต้น เพื่อเอื้อ
ประโยชน์ต่อกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด อาคารและสถานที่ของสถาบัน การศึกษามี
ความสําคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก การวางแผนด้านการจัดการอาคารและสถานที่จึง
ที่เป็นปัจจัยที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สถานศึกษาดําเนินงานได้โดยสะดวก ดังนั้นผู้บริหารจึง
จําเป็นต้องให้ความสําคัญต่องานด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ ภายในสถานศึกษา เพราะเป็นแหล่งที่
ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครูผู้สอนให้เป็นแหล่งถ่ายทอดวิทยาการของ
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๒
 
ชุมชน งานบริหารอาคารสถานที่จึงเป็นงานที่สําคัญที่ผู้บริหารต้องพิจารณาพินิจวิเคราะห์และบริหาร
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด๑
คณะกรรมการผู้บริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง ได้เล็งเห็น
ความสําคัญของการจัดการอาคารและสถานที่เป็นอันมาก ดังจะเห็นได้จากการวางแผนการปรับปรุง
อาคารที่มีชื่อว่า อาคารหอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารเรียน ๔ ชั้น ประกอบไปด้วย
ห้องเรียนที่ทันสมัย มีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการสอนและสิ่งอํานวย
ความสะดวกที่เพียบพร้อมและเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากอาคารเรียนที่ทันสมัยแล้ว
ทางหน่วยวิทยบริการได้ปรับขยายอาคารกิจการนักศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิด
ประโยชน์ด้วยการทํากิจกรรมที่หลากหลายตามความสามารถของนักศึกษา เช่น กิจกรรมทางวิชาการ
และกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เป็นต้น เพื่อฝึกให้นักศึกษามีกิจกรรมที่แสดงออกถึงความ
เป็นผู้นําผู้ตามที่ดี และเพื่อรองรับนักศึกษาในการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งด้านการศึกษาค้นคว้า และ
การปฏิบัติจริง นอกจากนี้ภายในหน่วยวิทยบริการมีสวนพักผ่อน ตามบริเวณหน้าอาคารเรียน เพื่อ
ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ของนักศึกษาทุกพื้นที่ของหน่วยวิทยบริการอีกด้วย ๒
ความสําคัญของการบริหารอาคารสถานที่จะมีประสิทธิภาพได้ จะต้องศึกษาความพึงพอใจของ
นักศึกษาในปัจจุบันของปัญหาและความต้องการ การวางแผน การดําเนินการตามแผน และการ
ประเมินผล เช่นเดียวกับการบริหารงานอื่นๆ๓
เพื่อการวางแผนด้านการบริหาร การจัดการอาคารและ
สถานที่ของหน่วยวิทยบริการ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องความพึงพอใจต่อ
การใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม
หลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของอาคารและสถานที่ของหน่วยวิทย
บริการ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ และเพื่อ
                                                            
๑
กรมสามัญศึกษา, แนวทางปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษาตามนโยบายการปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ลาดพร้าว.๒๕๔๐.
๒
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง, อ. สามพราน. จ. นครปฐม ๒๕๕๖
๓
  เปี่ยมศักดิ์ เหล่าอัน, ปัญหาและความต้องการด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จังหวัดขอนแก่น, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สํานักงานบัณฑิตศึกษา
สถาบันราชภัฏเลย. ๒๕๔๖.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๓
 
นําข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทย
บริการ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อการใช้งานต่อไป 
 
๑.๒. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
๑.๒.๑. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๑.๒.๒. เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิงพระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๑.๒. ๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ
มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๑.๓. สมมติฐานการวิจัย
สถานภาพนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่
ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม แตกต่างกัน
๑.๔. ขอบเขตของการวิจัย 
๑.๔.๑. ขอบเขตด้านประชากร 
ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรหลักสูตรการบริหาร
กิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง (พระ
อารามหลวง) อ.สามพราน จังหวัดนครปฐมโดยแยกเป็นสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ
และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ ประกอบด้วยบรรพชิตและคฤหัสถ์ประจําปีการศึกษา
๒๕๕๖ ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
โดยใช้จํานวนประชากรทั้งหมดจํานวน ๒๕๒ รูป/คน๔
แยกเป็นบรรพชิต ๑๙๒ รูป เป็นคฤหัสถ์ ๖๐
ราย เป็นเพศชาย ๒๐๒ รูป/คน เป็นเพศหญิง ๕๐ รูป/คน กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๑ มีจํานวน ๑๑๔
                                                            
๔
งานทะเบียนและวัดผล หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม
๑ กันยายน ๒๕๕๖
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๔
 
ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๒ มีจํานวน ๖๕ ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๓ มีจํานวน ๗๓ ราย
ผู้ตอบแบบสอบถามสังกัดสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ๑๑๘ราย สังกัดสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
๑๐๔ ราย และ สังกัดสาขาวิชารัฐศาสตร์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.) ๓๐ ราย
๑.๔.๒. ขอบเขตด้านเนื้อหา  
การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมถึงเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของ
นิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ได้แก่ สภาพการ
ใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ และความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่  
๑.๔.๓. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 
ก). ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลพื้นฐานของนิสิตนักศึกษา ได้แก่ เพศ ชั้นปีและสาขาวิชา
ที่สังกัด 
ข). ตัวแปรตาม คือ ระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่หน่วยวิทยบริการ
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๑.๕. ระยะเวลาดําเนินการวิจัย 
ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาดําเนินการวิจัย ๔ เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง เดือน เมษายน
๒๕๕๗
๑.๖. สถานที่ทําการวิจัย 
สถานที่ดําเนินการศึกษา คือ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน
จ. นครปฐม 
 
๑.๗. นิยามศัพท์เฉพาะ
๑.๗.๑.  ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกส่วนบุคคลในเชิงบวกของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อ
การใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ความรู้สึกพึงพอใจจะมีมากหรือน้อยนั้น จะขึ้นอยู่กับความต้องการ
ของบุคคลและปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการศึกษานี้หมายถึงความพึงพอใจต่อแผนผัง
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๕
 
และแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ รวม ๑๙ รายการสํารวจ และ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคาร
และสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน
จังหวัดนครปฐม รวม ๕๙ รายการสํารวจจากทั้งเก้าด้านปัจจัย
๑.๗.๒. อาคาร หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อการเรียนรู้
ในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
ประกอบด้วย อาคารหอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี
๑.๗.๓. สถานที่ หมายถึง สิ่งที่จัดทําขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนตาม
หลักสูตร และมาตรฐานสถานศึกษาระดับอุดมศึกษารวมถึงมุ่งสนองความสะดวกและความต้องการ
ของนิสิตนักศึกษาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม
พราน จ. นครปฐม
 
๑.๘. กรอบแนวคิดในการวิจัย 
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งานให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของ
ทายาททางธรรมและทายาททางโลกแห่งพุทธองค์และสนับสนุนหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอน
ในปัจจุบันและหลักสูตรอื่นที่จําเป็นและก้าวไกลกว่าในอนาคตตามพระวิสัยทัศน์แห่งพุทธองค์ที่ทรง
ประจักษ์แสดงไว้เมื่อ ๒, ๕๕๖ ปีที่ผ่านมา มจร.วัดไร่ขิง โมเดล จึงให้ความสําคัญ กับอาคารเรียน
อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆบริเวณสถานศึกษา
ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ ศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ห้อง
ประชุมและห้องสัมมนา ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ การจัดสภาพแวดล้อม
และระบบสาธารณูปโภค และการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯอันเป็นองค์ประกอบทาง
กายภาพสําคัญเหมาะสําหรับสร้างธรรมทายาทตามจิตศรัทธาในองค์พระศาสดา ดังนั้นกรอบแนวคิด
จึงสรุปได้ดังนี้
 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๖
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ภาพที่ ๑. ๑ กรอบแนวคิด
 
๑.๙. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
๑.๙.๑. ได้ข้อมูลพื้นฐานของการใช้ประโยชน์ของอาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๑.๙.๒. ทราบความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๑.๙.๓. นําข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้อาคารและสถานที่
ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งาน
ก. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง
 สถานภาพ
 เพศ
 ชั้นปี
 สาขาวิชาที่สังกัด
ข. องค์ประกอบทางกายภาพของหน่วยฯ
 อาคารเรียน อาคารประกอบ
 ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ
 บริเวณสถานศึกษา
 ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ และศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ
 โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร
 ห้องประชุมและห้องสัมมนา
 ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ
 การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค
 การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯ
ความพึงพอใจต่อการใช้อาคาร
และสถานที่ของหน่วยวิทย
บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.
สามพราน จ. นครปฐม 
บทที่ ๒
การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
 
การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ผู้ศึกษาได้ทําการศึกษา
ค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบในการศึกษาดังนี้ 
๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
๒. ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่
๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา
๔. การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่
๕. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่
๖. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๒. ๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง 
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ ณ ตําบลไร่ขิง
อําเภอ สามพราน จังหวัด นครปฐม เป็นหน่วยวิทยบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ที่เกิดจากปณิธานของพระเดชพระคุณ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส ผู้ดําริเริมก่อตั้งด้วยจุดมุ่งหมายต้องการจัดการศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษา ให้แก่พระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้นและด้วย
ความตั้งใจอันมุ่งมั่นของท่านพระเดชพระคุณ พระราชวิริยาลังการ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงองค์ปัจจุบัน
รองประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการ ต้องการสานต่อเจตนารมณ์ของท่านผู้ดําริก่อตั้ง
หน่วยวิทยบริการ ด้วยการผลักดันให้เกิดวิทยาลัยสงฆ์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม
หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง เป็นสถาบันการเรียนรู้ยุคใหม่ที่พร้อมผลิต
บัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ ความชํานาญในแต่ละวิชาชีพ สร้างคนดี มีคุณภาพ คุณธรรม
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๘ 
จริยธรรม และ ส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่
ทรงคุณค่าของสังคมไทย๑
 
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เป็นสถาบันแห่งการ
เรียนรู้ยุคใหม่มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นคนเก่งมีความรู้ ทักษะ ความชํานาญ ในแต่ละ
สาขาวิชา สร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยบัณฑิตต้อง
เป็นบุคคลที่มุ่งมั่นจะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อนําความรู้ ความสามารถ เป็นกําลัง
สําคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา
บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม”
๒.๑. ๑ วัตถุประสงค์ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม
หลวง๒
 
๑. เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต, มีคุณธรรม, จริยธรรม, บูรณาการความรู้
ทางวิชาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่อย่างมีคุณภาพ  เพื่อสนองงานคณะสงฆ์ และ
ช่วยเหลือสังคมในระดับทองถิ่น, ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
๒. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้ทํางาน
วิจัยเพื่อพัฒนาคณะสงฆ์ สังคม และประเทศชาติ
๓ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้เผยแผ่
พระพุทธศาสนาและบริการวิชาการด้านพุทธศาสนาแก่สังคม
๔ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้
ตระหนักและเห็นความสําคัญในการทนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 
๕ เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต นําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม โดยอาศัยความรู้ทางพุทธศาสนาเป็นรากฐานสําคัญ
                                                            
๑
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง, อ. สามพราน, จ. นครปฐม,
๒๕๕๖.
๒
ibid/เรื่องเดียวกัน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๙ 
๒.๑.๒ คณะและสาขาวิชาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม๓
๑.   คณะสังคมศาสตร์
ก. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ข. การจัดการเชิงพุทธ
ค. ประกาศนียบัตร การบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.)
๒.๑.๓ อาคารและสถานที่
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้ใช้อาคาร
หอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี เป็นอาคารเรียน ๔ ชั้น
โดยใช้ชื่อว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี ประกอบไปด้วย
ห้องสมุดและห้องเรียนที่ทันสมัยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการสอน
และสิ่งอํานวยความสะดวกที่เพียบพร้อม มีหน่วยงานส่งเสริมทางด้านวิชาการเช่น สํานักหอสมุดที่
เป็นศูนย์ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบของ หนังสือวารสาร วีดิทัศน์ ดิสก์เก็ตเทปคาสเซ็ทที่มีระบบ
การสื่อสาร มีฐานข้อมูลในรูปของซีดีรอมและออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภายในอาคารยัง
ประกอบไปด้วยห้องประชุมและห้องสัมมนาเพื่อรองรับการจัดงาน และ กิจกรรมประเภทต่างๆ ที่
สามารถบรรจุนักศึกษาได้มากกว่า ๕๐๐ คน
นอกจากอาคารเรียนที่ทันสมัยแล้วทางหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง ได้ปรับปรุงขยายห้องเรียนภายในอาคารตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ สกอ.
หรือสํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาทํากิจกรรมทางวิชาการ และการ
พัฒนาศักยภาพที่แสดงออกถึงความเป็นผู้นําผู้ตามที่ดี ทางหน่วยวิทยบริการจึงได้จัดเตรียมสถานที่ให้
เพียงพอเพื่อรองรับนักศึกษาในการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการการศึกษาค้นคว้า และการปฏิบัติจริง
ภายในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ยังจัดให้มีสวนพักผ่อน
หน้าอาคารเรียนภายใต้แมกไม้บรรยากาศที่ร่มรื่นจัดภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่ การเรียนรู้ให้แก่
                                                            
๓
ibid/เรื่องเดียวกัน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๐ 
นักศึกษาทุกตารางนิ้ว ในพื้นที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๒.๑.๔ การตรวจรับรองมาตรฐานหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๘๑ กําหนดให้มีกฎหมาย
เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีผล
บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ในหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกัน
คุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๙ ได้กําหนดให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่
๑๑๗ ตอนที่ ๙๙ก เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤศจิกายน
๒๕๔๓โดยให้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทําการ
ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคํานึงถึงความมุ่ง
หมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย
การศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
ในทุก ๕ ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
สาธารณชน นอกจากนี้ได้กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าจะต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก
ของสถานศึกษาทุกแห่ง ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ใช้บังคับในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น จําเป็นต้องใช้หลักการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการ
บริหารหรือดําเนินกิจการต่างๆ ที่ต้องมีการดําเนินงานให้เป็นระบบครบวงจรโดยมีขั้นตอนที่สําคัญ
ประการหนึ่งคือ การประเมินผลเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงาน
ที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้เพียงใด รวมทั้งมีจุดอ่อนหรือปัญหาในเรื่องใดบ้างที่ต้อง
ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและการดําเนินงานระยะต่อไปบรรลุเป้ าหมายอย่างมีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญกับการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมิน
คุณภาพภายนอกจากหน่วยงานที่เป็นกลาง เพราะจะทําให้เกิดกลไกในการตรวจสอบอย่างจริงจัง
รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติถึงหน่วยงานที่เล็กที่สุด คือสถานศึกษา
และภายในห้องเรียนต้องมีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๑ 
ตลอดเวลาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้รับการตรวจรับรอง
มาตรฐานโดยสํานักงานรับรองมาตรฐาน และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ระดับ
สถาบันระดับกลุ่มสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ตั้งแต่วันที่ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา 
๒.๒.   ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่ 
 
การบริหารงานอาคารสถานที่ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ดําเนินงานอาคาร
สถานที่ ร่วมกับบุคลากรในหน่วยวิทยบริการให้บรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้ ประเภทและขอบข่าย
ของงานอาคารสถานที่ การที่ผู้บริหารจะสามารถบริหารงานอาคารสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น
จําเป็นที่จะต้องทราบขอบข่ายของงานว่า ครอบคลุมถึง ลักษณะงานใดบ้าง โดยทั่วไปแล้วงานอาคาร
สถานที่จะมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะงาน ๕ อย่าง ดังต่อไปนี้
๑. การจัดสร้างอาคารสถานที่ อันรวมถึงการวางผังบริเวณที่ตั้งอาคาร การควบคุมการ
ก่อสร้าง การตกแต่งจัดระเบียบ ให้เป็นไปตามหลักการจัดอาคารสถานที่ของโรงเรียนตลอดจนการรื้อ
ถอนอาคารสถานที่
๒. การใช้อาคารสถานที่ หมายถึง การกําหนดวางแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิด
ประโยชน์ใช้สอยมากที่สุดต่อการเรียนการสอนโดยตรง ต่อการเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนของ
นักเรียน และต่อชุมชน
๓. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่ การประดับตกแต่งและซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้คง
สภาพเดิม หรือ เพิ่มเติมเพื่อให้ประโยชน์ โดยคุ้มค่าที่สุด
๔.   การควบคุมดูแลอาคารสถานที่ คือ การควบคุมดูแลโดยทั่วไป เป็นการกํากับติดตาม
ผลการใช้ การบํารุงรักษา การตกแต่ง รวมถึงการควบคุมการปฏิบัติงานอาคารสถานที่ให้เป็นไปตาม
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและแบบแผนของทางราชการ ที่เกี่ยวข้อง
๕. การประเมินผลการใช้อาคารสถานที่ เป็นการดําเนินการประเมินผลการใช้เพื่อการ
ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางการดําเนินงานด้านนี้ให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุด และเพื่อ
เก็บข้อมูลสําหรับการวางแผนดําเนินงานอาคารสถานที่ของปีถัดไป
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์

More Related Content

What's hot

ระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยPrachyanun Nilsook
 
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลีรายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลีกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42ungpao
 
การเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงThunyalak Thumphila
 
งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์
งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์
งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์Jiraporn
 
ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53 เรียน ปี 54
ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53  เรียน  ปี 54ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53  เรียน  ปี 54
ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53 เรียน ปี 54Yutthana Sriumnaj
 
บทคัดย่อทานิน
บทคัดย่อทานินบทคัดย่อทานิน
บทคัดย่อทานินsuwat Unthanon
 
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดงบทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดงKrudachayphum Schoolnd
 
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษาWaraporn Phimto
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102
แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102
แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102สำเร็จ นางสีคุณ
 
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูป
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูป
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปThunyalak Thumphila
 

What's hot (18)

T5
T5T5
T5
 
Tqa panisara
Tqa panisaraTqa panisara
Tqa panisara
 
ระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยระเบียบวิธีวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัย
 
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลีรายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
No8 february2013
No8 february2013No8 february2013
No8 february2013
 
Tcas61 detail
Tcas61 detailTcas61 detail
Tcas61 detail
 
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2560 โรงเรียนพระบางวิทยา สพม.42
 
หน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญหน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญ
 
การเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลง
 
งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์
งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์
งานนำเสนอการสอนจิราภรณ์
 
ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53 เรียน ปี 54
ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53  เรียน  ปี 54ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53  เรียน  ปี 54
ติดตามผลศึกษาต่อ ม.6 ปี 53 เรียน ปี 54
 
บทคัดย่อทานิน
บทคัดย่อทานินบทคัดย่อทานิน
บทคัดย่อทานิน
 
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดงบทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
 
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการศึกษา
 
3
33
3
 
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสายพฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
 
แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102
แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102
แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนต่อครูอาสาภาษาจีน หน้า102
 
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูป
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูป
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาสู่ยุคปฏิรูป
 

Viewers also liked

ตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสาร
ตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสารตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสาร
ตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสารYota Bhikkhu
 
6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัย
6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัย6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัย
6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัยYota Bhikkhu
 
ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2
ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2
ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2Yota Bhikkhu
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6Yota Bhikkhu
 
พระวินัยปิฎกศึกษา 1
พระวินัยปิฎกศึกษา 1พระวินัยปิฎกศึกษา 1
พระวินัยปิฎกศึกษา 1Yota Bhikkhu
 
English for political+science 9
English for political+science 9English for political+science 9
English for political+science 9Yota Bhikkhu
 
1.บทที่.1 บทนำ
1.บทที่.1 บทนำ1.บทที่.1 บทนำ
1.บทที่.1 บทนำYota Bhikkhu
 
Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Yota Bhikkhu
 
3.บทที่.3 วิธีวิจัย
3.บทที่.3   วิธีวิจัย3.บทที่.3   วิธีวิจัย
3.บทที่.3 วิธีวิจัยYota Bhikkhu
 
การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์
การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์
การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์Yota Bhikkhu
 
Advance english 4[1]
Advance english 4[1]Advance english 4[1]
Advance english 4[1]Yota Bhikkhu
 
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3Yota Bhikkhu
 
English for political+science 9
English for political+science 9English for political+science 9
English for political+science 9Yota Bhikkhu
 
Advance english 2[1]
Advance english 2[1]Advance english 2[1]
Advance english 2[1]Yota Bhikkhu
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1Yota Bhikkhu
 
พระวินัย ความเข้าใจวินัยสงฆ์00
พระวินัย  ความเข้าใจวินัยสงฆ์00พระวินัย  ความเข้าใจวินัยสงฆ์00
พระวินัย ความเข้าใจวินัยสงฆ์00Yota Bhikkhu
 
Language and communication
Language and communicationLanguage and communication
Language and communicationYota Bhikkhu
 
Course syllabus basic english
Course syllabus basic englishCourse syllabus basic english
Course syllabus basic englishYota Bhikkhu
 
วินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlife
วินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlifeวินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlife
วินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlifeYota Bhikkhu
 

Viewers also liked (19)

ตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสาร
ตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสารตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสาร
ตัวอย่างข้อสอบภาษากับการสื่อสาร
 
6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัย
6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัย6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัย
6.บทที่.6 เอกสารอ้างอิง-ภาคผนวก-ประวัติผู้วิจัย
 
ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2
ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2
ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยงานสารบรรณ 8.2
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน 6
 
พระวินัยปิฎกศึกษา 1
พระวินัยปิฎกศึกษา 1พระวินัยปิฎกศึกษา 1
พระวินัยปิฎกศึกษา 1
 
English for political+science 9
English for political+science 9English for political+science 9
English for political+science 9
 
1.บทที่.1 บทนำ
1.บทที่.1 บทนำ1.บทที่.1 บทนำ
1.บทที่.1 บทนำ
 
Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Advance english 1[1]
Advance english 1[1]
 
3.บทที่.3 วิธีวิจัย
3.บทที่.3   วิธีวิจัย3.บทที่.3   วิธีวิจัย
3.บทที่.3 วิธีวิจัย
 
การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์
การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์
การสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์
 
Advance english 4[1]
Advance english 4[1]Advance english 4[1]
Advance english 4[1]
 
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
 
English for political+science 9
English for political+science 9English for political+science 9
English for political+science 9
 
Advance english 2[1]
Advance english 2[1]Advance english 2[1]
Advance english 2[1]
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน 7.1
 
พระวินัย ความเข้าใจวินัยสงฆ์00
พระวินัย  ความเข้าใจวินัยสงฆ์00พระวินัย  ความเข้าใจวินัยสงฆ์00
พระวินัย ความเข้าใจวินัยสงฆ์00
 
Language and communication
Language and communicationLanguage and communication
Language and communication
 
Course syllabus basic english
Course syllabus basic englishCourse syllabus basic english
Course syllabus basic english
 
วินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlife
วินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlifeวินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlife
วินัยสำหรับชีวิตDisciplineforlife
 

Similar to งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์

ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์
ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์
ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์joyzazaz
 
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...Sakad Rinrith
 
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลยความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลยpentanino
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์JeeraJaree Srithai
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra speerapit
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2chaiwat vichianchai
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3noeiinoii
 
ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...
ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...
ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...pentanino
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมAiphie Sonia Haji
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02Wes Yod
 
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยการอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยกฤตพร สุดสงวน
 
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
PPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการ
PPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการPPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการ
PPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการAdchara Chaisri
 

Similar to งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์ (20)

ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์
ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์
ตัวอย่างบทคัดย่อวิทยานิพนธ์
 
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...
การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็กและไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ป...
 
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลยความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
 
แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.แนะนำทุน พสวท.
แนะนำทุน พสวท.
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
 
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
 
Teachercom c
Teachercom cTeachercom c
Teachercom c
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
 
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sarรายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
 
ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...
ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...
ทัศนคติของนิสิตที่มีตอการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาธรรมะภาคปฏิบัติของวิทยาลั...
 
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วม
 
Is pre
Is preIs pre
Is pre
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02
 
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยการอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
 
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
 
PPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการ
PPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการPPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการ
PPT ประเมิน คศ.2 ครูชำนาญการ
 

งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์

  • 1. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม The Satisfaction of Students toward Academic Service Center: Faculty of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Wat Raikhing Royal Temple Campus, Sampran, Nakhonpathom         พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) Pramaha Yota Payutto (Chaiworamankul)             การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ปีการศึกษา ๒๕๕๖  (๑๙ เมษายน ๒๕๕๗)
  • 2. ข         ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม The Satisfaction of Students toward Academic Service Center: Faculty of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Wat Raikhing Royal Temple Campus, Sampran , Nakhonpathom         พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) Pramaha Yota Payutto (Chaiworamankul)     การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากวัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ปีการศึกษา ๒๕๕๖  (๑๙ เมษายน ๒๕๕๗)
  • 3. ค   คํารับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบและข้อกําหนดในการรับทุนวิจัยของผู้รับทุน ขอรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบข้อกําหนดในการรับทุนวิจัยทุกประการ ( พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล ) ผู้จัดทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย ๘/ตุลาคม/๒๕๕๖ คํารับรองของผู้รับรอง    ( พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์) ผู้อํานวยการหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๘/ตุลาคม/๒๕๕๖ คําอนุมัติผู้อนุมัติ      ( พระราชวิริยาลังการ )  เจ้าอาวาส รองประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม ๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
  • 4. ง   ที่ปรึกษาโครงการ พระราชวิริยาลังการ รองประธานกรรมการบริหาร หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม  พระวิสุทธิภัทรธาดา ประธานกรรมการบริหาร หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้อํานวยการ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม  ผศ. ประสิทธิ์ ทองอุ่น อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม ดร. ประกอบ ไชยบุญทัน อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ
  • 5. จ   ชื่องานเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม  ชื่อผู้วิจัย พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล)  ปีที่ทําการวิจัย ตุลาคม ๒๕๕๖  - เมษายน ๒๕๕๗ บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๒) เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและ สถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคม ศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม พราน จ. นครปฐม ข้อมูลที่ใช้ศึกษาได้จากนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ทั้งสองกลุ่มการเรียนคือ กลุ่ม การเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ จํานวน ๒๕๒ รูป/คน ของจํานวนประชากรทั้งหมด โดยแบ่งประชากรที่แตกต่าง กันในเรื่อง กลุ่มการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบความแตกต่างของเพศนักศึกษาโดยใช้สถิติ t- test และใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One – way Analysis of Variance) สําหรับชั้นปีและคณะที่สังกัด หลังจากนั้นทําการ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Least Square Difference (LSD). ผลการวิจัยพบว่า ประชากรทั้งหมดมี ๒๕๒ รูป/รายบุคคล ได้แจกแบบสอบถามจํานวน ๒๕๒ ฉบับแต่ได้รับ กลับคืนมาเพียง ๒๕๐ ฉบับ คิดเป็น ๙๙.๒๑ เปอร์เซ็นต์ แยกเป็นบรรพชิต ๑๙๒ รูป เป็นคฤหัสถ์ ๕๘ ราย เป็นเพศชาย ๒๐๑ รูป/คน เป็นเพศหญิง ๔๙ รูป/คน กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๑ มีจํานวน ๑๑๒ ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๒ มีจํานวน ๖๕ ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๓ มีจํานวน ๗๓ ราย ผู้ตอบแบบสอบถามสังกัดสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ๑๑๖ราย สังกัดสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ๑๐๔ ราย และ สังกัดสาขาวิชารัฐศาสตร์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.) ๓๐ ราย ได้แจก แบบสอบถามจํานวน ๒๕๒ ฉบับแต่ได้รับกลับคืนมาเพียง ๒๕๐ ฉบับ คิดเป็น ๙๙.๒๑ เปอร์เซ็นต์
  • 6. ฉ   แผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่อยู่ในระดับมากได้แก่อาคารเรียน, ห้อง เรียน และ สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา ส่วนสภาพการใช้งานอาคารสถานที่จริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง มากได้แก่อาคารเรียน, สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา, ห้องเรียน และสํานักงานให้บริการนักศึกษา เช่น สํานักทะเบียน การเงิน และความพึงพอใจของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลําดับมาก ไปหาน้อย ได้แก่ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ ตามด้วย อาคาร เรียน , บริเวณสถานศึกษา , การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ, ห้องประชุมและห้องสัมมนา,ห้องกิจกรรม,ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, โรง อาหารหรือสถานที่ รับประทานอาหาร และ การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ ตามลําดับ นักศึกษาต่างสถานภาพ, ต่างเพศ, ต่างระดับชั้นปี และต่างสาขาที่สังกัดมีความพึงพอใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเกี่ยวกับด้านอาคารเรียน, ด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์ คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและ ห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม, ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทย บริการ และด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ ผู้วิจัยขอเสนอว่า ๑. ควรพิจารณานําผลการศึกษานี้ไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผน ปรับปรุงและพัฒนา อาคารและสถานที่ เช่น ในการจัดตารางการเรียนการสอน การวางแผนงบประมาณ การวางแผน โครงการสนับสนุนการศึกษาต่างๆให้มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ต่อไปในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง  ๒. ควรพิจารณาเปิดโอกาสให้ผู้ใช้อาคารและสถานที่ คือ บุคลากร และนักศึกษาของ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ได้มีส่วนร่วมในการดําเนินงาน กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอาคารและสถานที่ และสภาพแวดล้อมของหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีมีส่วนร่วมในการ กําหนดระเบียบการใช้อาคารและสถานที่ และการวางแผน การประเมินผลการใช้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อ เป็นการฝึกการบริหารจัดการจริงทั้งจากการประยุกต์จากตําราเรียน และนอกเหนือจากตําราเรียน ทั้ง ยังเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนิสิตนักศึกษา  
  • 7. ช   Title: The Satisfaction of Students toward Academic Service Center: Faculty of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Wat Raikhing Royal Temple Campus, Sampran, Nakhonpathom Researcher: Phramaha Yota Payutto (Chaiworamankul) Timeline: October 2013 – April 2014 ABSTRACT This research was to investigate 1) plans of utilizing the Academic Service Center, 2) its real utilizations and 3) satisfaction in utilizing Academic Service Center: Faculty of Social Science of Wat Rai Khing Royal Temple Campus, Sampran, Nakhonpathom. The research was stratifiedly conducted with 252 regular baccalaureate students and weekend baccalaureate students of the Academic Year 2013 dated December 1, 2013. Statistical applications were frequency, percentage, mean and standard deviation. T-test and One-way ANOVA were use in testing their statistical significance differences and Least Square Difference (LSD). There were 250 respondents being 192 monks and 58 lay people who were 201 males and 49 females. 112 persons were studying in Year 1/ freshmen year; 65 persons were studying in Year 2/sophomore year; 73 persons were studying in Year 3/ junior year. 116 students studied the program of Buddhist Administration; 104 studied din the program of Political Science; and 30 persons studied in the program of Certificate in Political Science. There was high level of planning utilization about the building for classrooms, classrooms and the campus area. There was very high level of actual utilization about the building for classrooms, the campus area, classrooms, and students’ service office such as registration office and finance. There was also very high level of satisfaction among students in the utilization of the Academic Service Center. By respective levels, they were the classrooms, the computer laboratories and service rooms followed by the service center building, the center campus, the environmental management and its public utilities, the meeting room and the seminar room, the activity room, the library and media room of the computer center, the canteen or dining room and security. Students with different status, gender, academic year and program had different satisfaction by statistical significance about the center building, the classrooms and computer laboratory and service rooms, the center campus, the library and media room of the computer center, the canteen or dining room, the meeting room and the seminar room, the activity room, the environmental management and its public utilities, and security. The researcher recommended that: 1. These results should be considered to be data for planning , improving and developing the center establishments such as for organizing instructions, budget
  • 8. ซ   planning, and education support planning for further effective utilizations of the Academic Center: Faculty of Social Science of Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Wat Raikhing Royal Temple Campus, Sampran, Nakhonpathom. 2. Opportunity should be considered to offer to its personnel and its students to involve in running various activities related to the campus establishments and environment in order to promoter positive understandings and to participate in regulating of the establishment uses, common planning and the common utilization evaluation. This will be the training for actual management, the applications from textbooks and beyond texts where students will be actually exposed to direct experiences.
  • 9. ฌ   กิตติกรรมประกาศ  การวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด ไรขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม ฉบับนี้สําเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความอนุเคราะห์จากบุคคลหลายท่าน ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณพระราชวิริยาลังการเจ้าอาวาสรองประกรรมการบริหารผู้ให้การสนับสนุน หลัก พระวิสุทธิภัทรธาดาประธานกรรมการบริหาร และคณะกรรมการการวิจัยหน่วยวิทยบริการ ที่ ได้ให้โอกาสและทุนสนับสนุนในการทําวิจัย ขอบคุณอาจารย์ถาวร ทองนวลกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเหรัญญิกมูลนิธิหลวงพ่อวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ที่อํานวยความสะดวกเรื่องทุนวิจัย ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ ทองอุ่น และ ดร. ประกอบ ไชยบุญทัน ที่ให้ความช่วยเหลือ คําแนะนําในการ ทําวิจัย การจัดทํารายงานการวิจัยครั้งนี้จะสําเร็จลงไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือและความ อนุเคราะห์จากผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่าน ที่กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่าในการตอบแบบสอบถาม ทํา ให้ได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ และครบถ้วน พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) ๑๙ เมษายน ๒๕๕๗
  • 10. ญ   สารบัญ    หน้า คําอนุมัติผู้อนุมัติ...................................................................................................................  ค ที่ปรึกษาโครงการ.................................................................................................................. ง บทคัดย่อภาษาไทย................................................................................................................  จ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ...........................................................................................................  ช กิตติกรรมประกาศ................................................................................................................  ฌ สารบัญ.................................................................................................................................. ญ สารบัญตาราง........................................................................................................................ ฐ สารบัญภาพ....................................................................................................................... ณ บทที่ ๑ บทนํา................................................................................................................ ๑ ๑.๑. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา.............................................. ๑ ๑๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................... ๓ ๑.๓. สมมติฐานของการวิจัย ...................................................................  ๓ ๑.๔. ขอบเขตของการวิจัย ..........................................................................  ๓ ๑.๕. ระยะเวลาดําเนินการวิจัย …………………………………………..  ๔ ๑.๖. สถานที่ทําการวิจัย…………………………………………………..  ๔ ๑.๗. นิยามศัพท์เฉพาะ ................................................................................ ๔ ๑.๘. กรอบแนวคิดในการวิจัย..................................................................... ๕ ๑.๙. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย.............................................. ๖ บทที่ ๒ ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..................................................... ๗ ๒.๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ................................................................... ๗ ๒.๒. ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่……………………… ๑๑ ๒.๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา……………………………………….. ๑๗ ๒.๔. การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่……………………………………... ๒๖ ๒.๕. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่……………………………………….. ๒๙ ๒.๖. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………….. ๓๓    
  • 11. ฎ   สารบัญ(ต่อ)   หน้า บทที่ ๓ วิธีดําเนินการวิจัย............................................................................................. ๓๖ ๓.๑. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ................................................................... ๓๖ ๓.๒. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ....................................................................  ๓๗ ๓.๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล........................................................................  ๔๒ ๓.๔. การวิเคราะห์ข้อมูล .............................................................................  ๔๒ บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล...................................................................................... ๔๔ ๔.๑. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของกลุ่มประชากร .................. ๔๔ ๔.๒. แผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม.........................  ๔๕ ๔.๓. สภาพการใช้งานจริงด้านอาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม.................  ๔๗ ๔.๔. ความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม............................................................................................. ๔๘ ๔.๕. การทดสอบสมมติฐาน .......................................................................  ๕๖ บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ............................................... ๙๓ ๕.๑. สรุปผลการวิจัย................................................................................... ๙๔ ๕.๒. อภิปรายผล .........................................................................................  ๑๐๔ ๕.๓. ข้อเสนอแนะ ......................................................................................  ๑๐๙ บรรณานุกรม ........................................................................................................................ ๑๑๑ บรรณานุกรมไทย.................................................................................................... ๑๑๒ บรรณานุกรมอังกฤษ............................................................................................... ๑๑๓ ภาคผนวก ............................................................................................................................. ๑๑๕ ภาคผนวก ๑ ตัวอย่างแบบสอบถาม......................................................................... ๑๑๖ ภาคผนวก ๒ จํานวน ร้อยละแผนการใช้อาคารสถานที่........................................... ๑๒๑ ภาคผนวก ๓ จํานวน ร้อยละสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่....................... ๑๒๒ ภาคผนวก ๔ Paired Samples Statistics..................................................................  ๑๒๓
  • 12. ฏ   สารบัญ(ต่อ)   หน้า ภาคผนวก ๕ Paired Samples Test.......................................................................... ๑๒๓ ภาคผนวก ๖ Independent Samples Test –Status.................................................... ๑๒๕ ภาคผนวก ๗ Independent Samples Test –Gender.................................................. ๑๓๓ ภาคผนวก ๘ โครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติ................................................................ ๑๔๒ ประวัติผู้วิจัย ......................................................................................................................... ๑๖๐
  • 13. ฐ   สารบัญตาราง   ตารางที่ รายการ หน้า ๓.๑. การจัดสัดส่วนตามกลุ่มการเรียน......................................................................  ๓๖ ๔.๑ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวม............. ๔๔ ๔.๒ แผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ ในภาพรวมในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....................................... ๔๕ ๔.๓ สภาพการใช้อาคารสถานที่จริงในภาพรวมในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...............................................  ๔๗ ๔.๔ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทย บริการคณะสังคม ศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...........................................................................................................  ๔๘ ๔.๕ ความสัมพันธ์ระหว่างชั้นปีกับแผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ใน หน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๕๗ ๔.๖ ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาที่สังกัด กับแผนการใช้ประโยชน์อาคารและ สถานที่ในหน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม.......................................................................................................  ๕๙ ๔.๗ ความสัมพันธ์ระหว่างชั้นปี กับ สภาพการใช้งานจริงอาคารและสถานที่ใน หน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๖๒ ๔.๘ ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาที่สังกัด กับ สภาพการใช้งานจริงอาคารและ สถานที่ในหน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม.......................................................................................................  ๖๕ ๔.๙ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับการใช้ อาคารและสถานที่ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....................................................  ๖๙ ๔.๑๐ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๗๐ ๔.๑๑ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับบริเวณ สถานศึกษาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .........................................................  ๗๒
  • 14. ฑ   สารบัญตาราง (ต่อ)   ตารางที่ รายการ หน้า ๔.๑๒ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้องสมุด และห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....... ๗๓ ๔.๑๓ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับโรงอาหาร หรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ....................................  ๗๕ ๔.๑๔ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้องประชุม และห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .........................................................  ๗๖ ๔.๑๕ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับห้อง กิจกรรมในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ....................................................................  ๗๗ ๔.๑๖ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับการจัด สภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการในหน่วยวิทย บริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ......................................................................................................... ๗๘ ๔.๑๗ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละชั้นปี กับการรักษา ความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .................................................. ๗๙ ๔.๑๘ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับการ ใช้อาคารและสถานที่ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ..................................................  ๘๑ ๔.๑๙ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆในหน่วย วิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .....................................................................................................  ๘๒
  • 15. ฒ   สารบัญตาราง(ต่อ)  ตารางที่ รายการ หน้า ๒.๒๐ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ บริเวณสถานศึกษาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม .................................................. ๘๓ ๔.๒๑ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม....... ๘๔ ๔.๒๒ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม…...  ๘๗ ๔.๒๓ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ ห้องประชุมและห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...........................................  ๘๘ ๔.๒๔ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ ห้องกิจกรรม ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...........................................................  ๘๙ ๔.๒๕ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการใน หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม พราน จ. นครปฐม...........................................................................................  ๙๐ ๔.๒๖ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่สังกัดกับ การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม...........................................  ๙๒ ๕.๑ สรุปความพึงพอใจมี่ต่างและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕...... ๙๖
  • 16. ณ   สารบัญภาพ  ภาพที่ รายการ หน้า ๑.๑ กรอบแนวคิด.................................................................................................... ๖ ๔.๑ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาในแต่ละด้าน.... ๕๒
  • 17. บทที่ ๑ บทนํา    ๑.๑. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา การศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นส่วนสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และการพัฒนาประเทศจะสําเร็จด้วยดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ที่สําคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ การศึกษา การศึกษามีหน้าที่พัฒนาคนเพื่อนําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ ประชากรที่มีคุณภาพสูง คือ ผู้ที่มีการศึกษาสูง มีความรู้ ทักษะและความสามารถที่จะนําความรู้ที่ ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานตามอาชีพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สถาบันการศึกษา และการศึกษาจึงเป็นพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและ การเมืองของประเทศ อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการจัดได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสถานศึกษาที่ สําคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การเรียนการสอนดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากผู้บริหาร สถาบันการศึกษารวมทั้งผู้เรียนมุ่งหวังให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างสมบูรณ์และ มี ประสิทธิภาพนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดอาคารสถานที่ของสถานศึกษาให้อยู่ในสภาพที่ดี มี ปริมาณเพียงพอต่อจํานวนผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องประชุม หรือแม้กระทั่งห้องอาหารก็ตาม ควรมีสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ อย่างพอเพียง เช่น บันไดขึ้นลง โต๊ะเก้าอี้ ห้องส้วม แม้กระทั่งระบบป้ องกันเพลิงไหม้ และสัญญาณเตือนภัยต่างๆ รวม ไปถึงสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ทางเดินระหว่างตึก ที่นั่งรอระหว่างเรียน เป็นต้น เพื่อเอื้อ ประโยชน์ต่อกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด อาคารและสถานที่ของสถาบัน การศึกษามี ความสําคัญและมีอิทธิพลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก การวางแผนด้านการจัดการอาคารและสถานที่จึง ที่เป็นปัจจัยที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สถานศึกษาดําเนินงานได้โดยสะดวก ดังนั้นผู้บริหารจึง จําเป็นต้องให้ความสําคัญต่องานด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ ภายในสถานศึกษา เพราะเป็นแหล่งที่ ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครูผู้สอนให้เป็นแหล่งถ่ายทอดวิทยาการของ
  • 18. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๒   ชุมชน งานบริหารอาคารสถานที่จึงเป็นงานที่สําคัญที่ผู้บริหารต้องพิจารณาพินิจวิเคราะห์และบริหาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด๑ คณะกรรมการผู้บริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง ได้เล็งเห็น ความสําคัญของการจัดการอาคารและสถานที่เป็นอันมาก ดังจะเห็นได้จากการวางแผนการปรับปรุง อาคารที่มีชื่อว่า อาคารหอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารเรียน ๔ ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องเรียนที่ทันสมัย มีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการสอนและสิ่งอํานวย ความสะดวกที่เพียบพร้อมและเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากอาคารเรียนที่ทันสมัยแล้ว ทางหน่วยวิทยบริการได้ปรับขยายอาคารกิจการนักศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ด้วยการทํากิจกรรมที่หลากหลายตามความสามารถของนักศึกษา เช่น กิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เป็นต้น เพื่อฝึกให้นักศึกษามีกิจกรรมที่แสดงออกถึงความ เป็นผู้นําผู้ตามที่ดี และเพื่อรองรับนักศึกษาในการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งด้านการศึกษาค้นคว้า และ การปฏิบัติจริง นอกจากนี้ภายในหน่วยวิทยบริการมีสวนพักผ่อน ตามบริเวณหน้าอาคารเรียน เพื่อ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ของนักศึกษาทุกพื้นที่ของหน่วยวิทยบริการอีกด้วย ๒ ความสําคัญของการบริหารอาคารสถานที่จะมีประสิทธิภาพได้ จะต้องศึกษาความพึงพอใจของ นักศึกษาในปัจจุบันของปัญหาและความต้องการ การวางแผน การดําเนินการตามแผน และการ ประเมินผล เช่นเดียวกับการบริหารงานอื่นๆ๓ เพื่อการวางแผนด้านการบริหาร การจัดการอาคารและ สถานที่ของหน่วยวิทยบริการ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาในเรื่องความพึงพอใจต่อ การใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม หลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของอาคารและสถานที่ของหน่วยวิทย บริการ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ และเพื่อ                                                              ๑ กรมสามัญศึกษา, แนวทางปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษาตามนโยบายการปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ลาดพร้าว.๒๕๔๐. ๒ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง, อ. สามพราน. จ. นครปฐม ๒๕๕๖ ๓   เปี่ยมศักดิ์ เหล่าอัน, ปัญหาและความต้องการด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ ศึกษา จังหวัดขอนแก่น, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สํานักงานบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏเลย. ๒๕๔๖.
  • 19. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๓   นําข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทย บริการ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อการใช้งานต่อไป    ๑.๒. วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ๑.๒.๑. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑.๒.๒. เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิงพระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑.๒. ๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑.๓. สมมติฐานการวิจัย สถานภาพนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม แตกต่างกัน ๑.๔. ขอบเขตของการวิจัย  ๑.๔.๑. ขอบเขตด้านประชากร  ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรหลักสูตรการบริหาร กิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง (พระ อารามหลวง) อ.สามพราน จังหวัดนครปฐมโดยแยกเป็นสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ ประกอบด้วยบรรพชิตและคฤหัสถ์ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ โดยใช้จํานวนประชากรทั้งหมดจํานวน ๒๕๒ รูป/คน๔ แยกเป็นบรรพชิต ๑๙๒ รูป เป็นคฤหัสถ์ ๖๐ ราย เป็นเพศชาย ๒๐๒ รูป/คน เป็นเพศหญิง ๕๐ รูป/คน กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๑ มีจํานวน ๑๑๔                                                              ๔ งานทะเบียนและวัดผล หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม ๑ กันยายน ๒๕๕๖
  • 20. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๔   ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๒ มีจํานวน ๖๕ ราย กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๓ มีจํานวน ๗๓ ราย ผู้ตอบแบบสอบถามสังกัดสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ๑๑๘ราย สังกัดสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ๑๐๔ ราย และ สังกัดสาขาวิชารัฐศาสตร์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.) ๓๐ ราย ๑.๔.๒. ขอบเขตด้านเนื้อหา   การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมถึงเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของ นิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ได้แก่ สภาพการ ใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ และความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่   ๑.๔.๓. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  ก). ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลพื้นฐานของนิสิตนักศึกษา ได้แก่ เพศ ชั้นปีและสาขาวิชา ที่สังกัด  ข). ตัวแปรตาม คือ ระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑.๕. ระยะเวลาดําเนินการวิจัย  ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาดําเนินการวิจัย ๔ เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง เดือน เมษายน ๒๕๕๗ ๑.๖. สถานที่ทําการวิจัย  สถานที่ดําเนินการศึกษา คือ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม    ๑.๗. นิยามศัพท์เฉพาะ ๑.๗.๑.  ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกส่วนบุคคลในเชิงบวกของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อ การใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ความรู้สึกพึงพอใจจะมีมากหรือน้อยนั้น จะขึ้นอยู่กับความต้องการ ของบุคคลและปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการศึกษานี้หมายถึงความพึงพอใจต่อแผนผัง
  • 21. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๕   และแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ รวม ๑๙ รายการสํารวจ และ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคาร และสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม รวม ๕๙ รายการสํารวจจากทั้งเก้าด้านปัจจัย ๑.๗.๒. อาคาร หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อการเรียนรู้ ในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ประกอบด้วย อาคารหอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี ๑.๗.๓. สถานที่ หมายถึง สิ่งที่จัดทําขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนตาม หลักสูตร และมาตรฐานสถานศึกษาระดับอุดมศึกษารวมถึงมุ่งสนองความสะดวกและความต้องการ ของนิสิตนักศึกษาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม พราน จ. นครปฐม   ๑.๘. กรอบแนวคิดในการวิจัย  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งานให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของ ทายาททางธรรมและทายาททางโลกแห่งพุทธองค์และสนับสนุนหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอน ในปัจจุบันและหลักสูตรอื่นที่จําเป็นและก้าวไกลกว่าในอนาคตตามพระวิสัยทัศน์แห่งพุทธองค์ที่ทรง ประจักษ์แสดงไว้เมื่อ ๒, ๕๕๖ ปีที่ผ่านมา มจร.วัดไร่ขิง โมเดล จึงให้ความสําคัญ กับอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆบริเวณสถานศึกษา ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ ศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ห้อง ประชุมและห้องสัมมนา ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ การจัดสภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภค และการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯอันเป็นองค์ประกอบทาง กายภาพสําคัญเหมาะสําหรับสร้างธรรมทายาทตามจิตศรัทธาในองค์พระศาสดา ดังนั้นกรอบแนวคิด จึงสรุปได้ดังนี้  
  • 22. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๑ บทนํา / ๖                                 ภาพที่ ๑. ๑ กรอบแนวคิด   ๑.๙. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ๑.๙.๑. ได้ข้อมูลพื้นฐานของการใช้ประโยชน์ของอาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑.๙.๒. ทราบความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๑.๙.๓. นําข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้อาคารและสถานที่ ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ. นครปฐม เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งาน ก. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง  สถานภาพ  เพศ  ชั้นปี  สาขาวิชาที่สังกัด ข. องค์ประกอบทางกายภาพของหน่วยฯ  อาคารเรียน อาคารประกอบ  ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ  บริเวณสถานศึกษา  ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ และศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ  โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร  ห้องประชุมและห้องสัมมนา  ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ  การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค  การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคาร และสถานที่ของหน่วยวิทย บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม 
  • 23. บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง    การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ผู้ศึกษาได้ทําการศึกษา ค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบในการศึกษาดังนี้  ๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ๒. ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่ ๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา ๔. การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ ๕. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่ ๖. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒. ๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง  หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ ณ ตําบลไร่ขิง อําเภอ สามพราน จังหวัด นครปฐม เป็นหน่วยวิทยบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ที่เกิดจากปณิธานของพระเดชพระคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส ผู้ดําริเริมก่อตั้งด้วยจุดมุ่งหมายต้องการจัดการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา ให้แก่พระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้นและด้วย ความตั้งใจอันมุ่งมั่นของท่านพระเดชพระคุณ พระราชวิริยาลังการ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงองค์ปัจจุบัน รองประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการ ต้องการสานต่อเจตนารมณ์ของท่านผู้ดําริก่อตั้ง หน่วยวิทยบริการ ด้วยการผลักดันให้เกิดวิทยาลัยสงฆ์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง เป็นสถาบันการเรียนรู้ยุคใหม่ที่พร้อมผลิต บัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ ความชํานาญในแต่ละวิชาชีพ สร้างคนดี มีคุณภาพ คุณธรรม
  • 24. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๘  จริยธรรม และ ส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่ ทรงคุณค่าของสังคมไทย๑   หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เป็นสถาบันแห่งการ เรียนรู้ยุคใหม่มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นคนเก่งมีความรู้ ทักษะ ความชํานาญ ในแต่ละ สาขาวิชา สร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยบัณฑิตต้อง เป็นบุคคลที่มุ่งมั่นจะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อนําความรู้ ความสามารถ เป็นกําลัง สําคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” ๒.๑. ๑ วัตถุประสงค์ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม หลวง๒   ๑. เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต, มีคุณธรรม, จริยธรรม, บูรณาการความรู้ ทางวิชาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่อย่างมีคุณภาพ  เพื่อสนองงานคณะสงฆ์ และ ช่วยเหลือสังคมในระดับทองถิ่น, ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ๒. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้ทํางาน วิจัยเพื่อพัฒนาคณะสงฆ์ สังคม และประเทศชาติ ๓ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้เผยแผ่ พระพุทธศาสนาและบริการวิชาการด้านพุทธศาสนาแก่สังคม ๔ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้ ตระหนักและเห็นความสําคัญในการทนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ  ๕ เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต นําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม โดยอาศัยความรู้ทางพุทธศาสนาเป็นรากฐานสําคัญ                                                              ๑ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง, อ. สามพราน, จ. นครปฐม, ๒๕๕๖. ๒ ibid/เรื่องเดียวกัน
  • 25. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๙  ๒.๑.๒ คณะและสาขาวิชาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม๓ ๑.   คณะสังคมศาสตร์ ก. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ข. การจัดการเชิงพุทธ ค. ประกาศนียบัตร การบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.) ๒.๑.๓ อาคารและสถานที่ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้ใช้อาคาร หอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี เป็นอาคารเรียน ๔ ชั้น โดยใช้ชื่อว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี ประกอบไปด้วย ห้องสมุดและห้องเรียนที่ทันสมัยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการสอน และสิ่งอํานวยความสะดวกที่เพียบพร้อม มีหน่วยงานส่งเสริมทางด้านวิชาการเช่น สํานักหอสมุดที่ เป็นศูนย์ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบของ หนังสือวารสาร วีดิทัศน์ ดิสก์เก็ตเทปคาสเซ็ทที่มีระบบ การสื่อสาร มีฐานข้อมูลในรูปของซีดีรอมและออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภายในอาคารยัง ประกอบไปด้วยห้องประชุมและห้องสัมมนาเพื่อรองรับการจัดงาน และ กิจกรรมประเภทต่างๆ ที่ สามารถบรรจุนักศึกษาได้มากกว่า ๕๐๐ คน นอกจากอาคารเรียนที่ทันสมัยแล้วทางหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ได้ปรับปรุงขยายห้องเรียนภายในอาคารตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ สกอ. หรือสํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาทํากิจกรรมทางวิชาการ และการ พัฒนาศักยภาพที่แสดงออกถึงความเป็นผู้นําผู้ตามที่ดี ทางหน่วยวิทยบริการจึงได้จัดเตรียมสถานที่ให้ เพียงพอเพื่อรองรับนักศึกษาในการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการการศึกษาค้นคว้า และการปฏิบัติจริง ภายในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ยังจัดให้มีสวนพักผ่อน หน้าอาคารเรียนภายใต้แมกไม้บรรยากาศที่ร่มรื่นจัดภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่ การเรียนรู้ให้แก่                                                              ๓ ibid/เรื่องเดียวกัน
  • 26. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๐  นักศึกษาทุกตารางนิ้ว ในพื้นที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๒.๑.๔ การตรวจรับรองมาตรฐานหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๘๑ กําหนดให้มีกฎหมาย เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ในหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกัน คุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๙ ได้กําหนดให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๗ ตอนที่ ๙๙ก เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓โดยให้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทําการ ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคํานึงถึงความมุ่ง หมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในทุก ๕ ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ สาธารณชน นอกจากนี้ได้กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าจะต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่ง ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น จําเป็นต้องใช้หลักการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการ บริหารหรือดําเนินกิจการต่างๆ ที่ต้องมีการดําเนินงานให้เป็นระบบครบวงจรโดยมีขั้นตอนที่สําคัญ ประการหนึ่งคือ การประเมินผลเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงาน ที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้เพียงใด รวมทั้งมีจุดอ่อนหรือปัญหาในเรื่องใดบ้างที่ต้อง ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและการดําเนินงานระยะต่อไปบรรลุเป้ าหมายอย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญกับการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมิน คุณภาพภายนอกจากหน่วยงานที่เป็นกลาง เพราะจะทําให้เกิดกลไกในการตรวจสอบอย่างจริงจัง รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติถึงหน่วยงานที่เล็กที่สุด คือสถานศึกษา และภายในห้องเรียนต้องมีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  • 27. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๑  ตลอดเวลาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้รับการตรวจรับรอง มาตรฐานโดยสํานักงานรับรองมาตรฐาน และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ระดับ สถาบันระดับกลุ่มสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา  ๒.๒.   ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่    การบริหารงานอาคารสถานที่ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ดําเนินงานอาคาร สถานที่ ร่วมกับบุคลากรในหน่วยวิทยบริการให้บรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้ ประเภทและขอบข่าย ของงานอาคารสถานที่ การที่ผู้บริหารจะสามารถบริหารงานอาคารสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จําเป็นที่จะต้องทราบขอบข่ายของงานว่า ครอบคลุมถึง ลักษณะงานใดบ้าง โดยทั่วไปแล้วงานอาคาร สถานที่จะมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะงาน ๕ อย่าง ดังต่อไปนี้ ๑. การจัดสร้างอาคารสถานที่ อันรวมถึงการวางผังบริเวณที่ตั้งอาคาร การควบคุมการ ก่อสร้าง การตกแต่งจัดระเบียบ ให้เป็นไปตามหลักการจัดอาคารสถานที่ของโรงเรียนตลอดจนการรื้อ ถอนอาคารสถานที่ ๒. การใช้อาคารสถานที่ หมายถึง การกําหนดวางแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิด ประโยชน์ใช้สอยมากที่สุดต่อการเรียนการสอนโดยตรง ต่อการเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนของ นักเรียน และต่อชุมชน ๓. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่ การประดับตกแต่งและซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้คง สภาพเดิม หรือ เพิ่มเติมเพื่อให้ประโยชน์ โดยคุ้มค่าที่สุด ๔.   การควบคุมดูแลอาคารสถานที่ คือ การควบคุมดูแลโดยทั่วไป เป็นการกํากับติดตาม ผลการใช้ การบํารุงรักษา การตกแต่ง รวมถึงการควบคุมการปฏิบัติงานอาคารสถานที่ให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและแบบแผนของทางราชการ ที่เกี่ยวข้อง ๕. การประเมินผลการใช้อาคารสถานที่ เป็นการดําเนินการประเมินผลการใช้เพื่อการ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางการดําเนินงานด้านนี้ให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุด และเพื่อ เก็บข้อมูลสําหรับการวางแผนดําเนินงานอาคารสถานที่ของปีถัดไป